You are on page 1of 14

บทที ๕

ชนิดของคํา

คําในภาษาไทยแบ่งเป็ น ๗ ชนิด ตามหน้าทีห รือความหมายในประโยค ได้แก่


๑. คํานาม
๒. คําสรรพนาม
๓. คํากริยา
๔. คําวิเศษณ์
๕. คําบุพบท
๖. คําสันธาน
๗. คําอุทาน

คํานาม
คํานาม หมายถึง คําทีใ ช้เรียกแทนคน สัตว์ สิง ของ สถานที และธรรมชาติต่าง ๆ คํานามใช้ทํา
หน้าทีเ ป็ นประธาน หรือกรรมของประโยค คํานามมีทงั 8 หมด ๕ ชนิด คือ
๑. นามทัวไป  (สามานยนาม) คือ นามทีใ ช้เรียกชือทัว ๆ ไป ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คน ช้าง
ม้า โรงเรียน ตลาด ถนน โต๊ะ เก้าอี8 บ้าน ฝน ฟ้า ลม ดาว
๒. นามเฉพาะ (วิ สามานยนาม) คือ นามทีเ ป็ นชือเฉพาะของนามทัวไป  เช่น
กลาง ศิรริ าช จุฬา เลิดสิน เป็ นชือโรงพยาบาล
เทพศิรนิ ทร์ ศึกษานารี สามเสนวิทยาลัย เป็ นชือโรงเรียน
โบ๊เบ๊ เก่า สะพานใหม่ สะพานควาย เป็ นชือตลาด
วิภา สมชาย แดง นฤมล อุดม เป็ นชือคน
เดอะมอลล์ เซ็นทรัล บิกA ซี โรบินสัน เป็ นชือห้างสรรพสินค้า
๓. นามบอกอาการ (อาการนาม) คือ คํานามทีส ร้างจากคํากริยาหรือวิเศษณ์ โดยเติม “การ”
หน้ าคํากริยา เช่น การกิน การเดิน การพูด การละเล่น และเติม “ความ” หน้ าคําวิเศษณ์
เช่น ความดี ความเจริญ ความรู้
ข้อสังเกต ถ้า การ และ ความ เติมหน้ าคํานาม ไม่จดั เป็ นอาการนาม แต่เป็ นนามทัวไป 
เช่น การประปา การรถไฟ การบ้าน ความวัว ความควาย
๔. นามบอกหมวดหมู่ (สมุหนาม) คือ คําทีบ อกให้รวู้ ่านามนัน8 อยูร่ วมกันเป็ นหมวดหมู่ กลุ่ม
ก้อน โดยตําแหน่ งของสมุหนามจะต้องอยู่หน้ าคํานาม เช่น กองทัพ กองทราย กองทหาร
กองลูกเสือ หมู่บา้ น หมู่คน หมู่นักเรียน หมู่โจร ฝูงนก ฝูงลิง ฝูงปลา ฝูงคน คณะนักเรียน
คณะครู คณะลูกเสือ คณะรัฐมนตรี ฯลฯ
๒๖

ข้อ สัง เกต ถ้าคําสมุห นามเหล่ านี8 เช่ น กอง พวก หมู่ เหล่ า กลุ่ ม คณะ อยู่ห ลัง คํานาม
จัดเป็ นลักษณนาม ไม่ใช่สมุหนาม เช่น ลูกเสือ ๑ คณะ ลิง ๑ ฝูง โจร ๑ กลุ่ม
๕. ลักษณนาม คือ คํานามทีบ อกลักษณะรูปร่างของสามานยนาม (นามทัวไป)  ข้างหน้า เช่น
คัน ตัว เล่ม ดอก ดวง ฉบับ กล่อง กลุ่ม ก้อน แพ เลา ปื8น เครือ หวี พวง ฯลฯ
ตําแหน่ งของลักษณนาม จะอยู่หลังคํานามและหลังจํานวนนับ เช่น รถ ๑ คัน ม้า ๒ ตัว
กล้วย ๕ หวี
ปั ญ หาของลัก ษณนาม คือ นามบางตัว มีรู ป ร่ า งลัก ษณะต่ า งกัน แต่ ใ ช้ ล ัก ษณนาม
เหมือนกัน เช่น หนังสือ สมุด เข็ม เกวียน มีด ใช้ลกั ษณนาม “เล่ม” ร่ม ฉัตร รถ จักรยาน
ช้อน เบ็ด คันธนู หน้าไม้ ใช้ลกั ษณนาม “คัน” ดังนัน8 ลักษณนามจึงเป็ นเรือ งทีค วรท่องจํา

ตัวอย่าง
ลักษณนาม นามทัวไป
 (สามานยนาม)
ใบ จาน แจกัน ตะกร้า ตุ่ม ตู้ ถัง บัตร ตั Jว ใบไม้ ระฆัง ฆ้อง
หลัง เรือน บ้าน เก๋ง (ทีน งบนเรืั อมีหลังคา) ตึก กูบ (ทีน งบนหลั
ั งช้าง) มุง้ ลังถึง (ภาชนะใช้นึง
อาหารเป็ นชัน8 ๆ) เปียโน ยุง้ (ทีเ ก็บข้าวเปลือก) จักรเย็บผ้า หีบเพลง
บาน ประตู หน้าต่าง กระจกเงา กรอบรูป
ลํา อ้อย ไม้ไผ่ เรือ เครือ งบิน
ปาก แห อวน สวิง ยอ โพงพาง (เป็ นเครือ งมือในการจับสัตว์น8ํา มีปากกว้าง)
คัน ร่ม ฉัตร ธนู แร้ว ช้อน ส้อม หน้าไม้ ธนู ซอ เบ็ด คันไถ จักรยาน รถ
ต้น ซุง ต้นไม้ เสา เสาโทรเลข เสาโทรศัพท์
ตน ยักษ์ ภูตผีปีศาจ ฤๅษี วิทยาธร คนธรรพ์ (เทวดาชัน8 ตํา) ผีเสือ8 สมุทร
ตัว สัตว์ต่าง ๆ โต๊ะ เก้าอี8 ตุ๊กตา ตะปู เสือ8 กางเกง เงือก
รูป ภิกษุ สามเณร นักบวช นักพรตต่าง ๆ ชีปะขาว แม่ชี
องค์ หม่ อ มเจ้ า เจ้ า ป่ า เจ้ า เขา เทวดา สิง ของต่ า ง ๆ ทีเ กี ย วข้ อ งกับ พระราชา หรือ
พระพุทธเจ้า เช่น พระทีน งั  ๑ องค์
พระองค์ ใช้กบั พระพุทธเจ้า เทพผูเ้ ป็ นใหญ่ พระราชา
อัน ใช้กบั นามทัวไปที
 อ าจเป็ นนามเกิดใหม่ และไม่มหี ลักการใช้ลกั ษณนามอืนเป็ นแนวเทียบ
ได้ เช่น นกหวีด ไม้เมตร ไม้บรรทัด เข็มทิศ
ฉบับ ใช้กบั สิง พิมพ์ทมี ตี วั เลขกําหนด เช่น ธนบัตร หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ประกาศ สลากกิน
แบ่ง จดหมาย โทรเลข รัฐธรรมนูญ
ดวง รอยด่ า ง รอยเปื8 อ น รอยไฟไหม้ อาทิต ย์ จัน ทร์ ดาว ของที ม ีล ัก ษณะกลม เช่ น
ตราประทับ โคมไฟ จิต วิญญาณ แสตมป์
ดอก ธูป ดอกไม้ พลุ ดอกไม้ไฟ ประทัด
เล่ม หนังสือ สมุด เข็ม มีด เกวียน พัด ตะไบ เคียว ดาบ สิว เทียนไข
๒๗

ลักษณนาม นามทัวไป
 (สามานยนาม)
ตับ พลุ ปลาย่าง จาก ประทัด ของทีเ รียงติดต่อกันยาว ๆ
เส้น เชือก ด้าย ลวด ยางรถ สร้อย เนคไท เข็มขัด
สาย ถนน แม่น8ํา คลอง คู ลําธาร
เชือก ช้างบ้านทีน ํามาฝึก ช้างเลีย8 ง
ช้าง ช้างหลวง เช่น ช้างเผือก ๑ ช้าง
โขลง ช้างปา่ หลายตัวอยูร่ วมกันเป็ นฝูง
ฝูง สัตว์ทอี ยูร่ วมกันเป็ นจํานวนมาก ๆ เช่น ปลา ๑ ฝูง
มัด ใช้กบั ของทีน ํามาผูกรวม ๆ กันด้วยเชือก เช่น หญ้า ๑ มัด
โรง โรงเรียน โรงละคร โรงภาพยนตร์
ผืน ผ้า บังตา ม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูทนี อน เสือ พรม
ก้อน ดิน หิน อิฐ ผลึก อาหารทีม ลี กั ษณะกลมใหญ่
นาม นามปากกา นามแฝง
ด้าม อัน ไม้พาย ไม้กวาด ไม้ถูพน8ื
ทะลาย หมาก มะพร้าว
เครือ ง ระหัดวิดนํ8า เครือ งยนต์ โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครือ งเล่นวีดทิ ศั น์ (VDO)
เครือ งโทรสาร (Fax) เรดาร์
วง ดนตรี ลําตัด ตะกร้อ รําวง มโหรี ดุรยิ างค์
คณะ ลิเก งิว8 กลองยาว สิงโตเชิด
ปื8น เลือย ตอก (ไม้ไผ่ทจี กั เป็ นเส้นยาวบาง)
เลา ขลุ่ย ปี
แพ ฝอยทอง ข้าวเม่าทีท อดติดกันหลายลูก แพทีใ ช้ในนํ8า
ตู้ ตูเ้ ย็น ตูก้ บั ข้าว ตูใ้ ส่เสือ8 ผ้า
กระบอก ปืน ข้าวหลาม
เม็ด หยาดฝน เพชร พลอย ก้อนกรวด เม็ดในของผลไม้ ไฝ
ชิน8 ขนมหรืออาหารทีม ลี กั ษณะเป็ นชิน8 ทองรูปพรรณ
เครือ กล้วยหลายหัวติดอยูก่ บั แกนอันเดียวกัน
ขุม นรก
เถา ปินโต
๒๘

คําสรรพนาม
คําสรรพนาม คือ คําทีใ ช้แทนคํานาม มี ๗ ชนิด คือ
๑. บุรษุ สรรพนาม แบ่งเป็ นบุรษุ ที ๑, ๒ และ ๓ เช่น ฉัน เรา ท่าน เธอ คุณ
๒. วิ ภาคสรรพนาม คือ คําทีใ ช้แทนคํานามเพือแยกนามเป็ นส่วน ๆ ได้แก่คําว่า ต่าง บ้าง กัน
เช่น นักเรียนต่างคนต่างทํางาน คนงานบ้างเล่นบ้างทํางาน แม่คา้ ทะเลาะกัน
๓. นิ ยมสรรพนาม ได้แก่ คําสรรพนามทีบอกระยะใกล้ไกลของคํานาม (ตําแหน่ งของนิยม
สรรพนามจะอยูห่ น้านาม) เช่น นี8สมุด นันครู  โน่ นบ้าน
๔. อนิ ยมสรรพนาม ได้ แ ก่ สรรพนามทีใ ช้ เ ป็ น คํ า ถาม ใช้ คํ า ว่ า ใคร อะไร ทีไ หน เช่ น
ใคร ๆ ก็มาได้ อะไรก็กนิ เถอะ ไหน ๆ ก็ไปมาหมดแล้ว
๕. ปฤจฉาสรรพนาม ได้แก่ สรรพนามทีใ ช้เป็ นคําถาม ใช้คําว่ า ใคร อะไร ทีไหน เหมือ น
อนิ ย มสรรพนาม แต่ ค วามหมายเป็ น คํ า ถาม เช่ น ใครมาหา อะไรอยู่ใ นตู้ ในตู้ ม ีอ ะไร
เธออยากไปไหน
๖. ประพันธสรรพนาม ได้แก่ สรรพนามคําว่า ที ซึง อัน ผู้ ทําหน้าทีเ ชือมประโยค ๒ ประโยค
ทีม คี าํ นามซํ8ากันให้รวมกันเป็ นประโยคใหม่ โดยใช้ ที ซึง อัน ผู้ แทนทีค ํานามตัวใดตัวหนึง
เช่น
พ่อสร้างบ้าน + บ้านตัง8 อยูบ่ นภูเขา = พ่อสร้างบ้านทีต งั 8 อยูบ่ นภูเขา
แม่ตหี มา + หมามากัดแมวทีบ า้ น = แม่ตหี มาทีม ากัดแมวทีบ า้ น
นักเรียนรักครู + ครูสอนภาษาไทย = นักเรียนรักครูทสี อนภาษาไทย
แม่ซอ8ื ขนม + ขนมขายในตลาด = แม่ซอ8ื ขนมทีข ายในตลาด
๗. สรรพนามเน้ นความรู้สึกของผูพ้ ดู ทีมีต่อนามนัน8 ได้แก่
ถ้าผูพ้ ดู รัก เคารพ อาจใช้คาํ ยกย่อง เช่น ท่าน
ถ้าผูพ้ ดู ไม่ชอบ เกลียด อาจใช้คาํ ไม่ยกย่อง เช่น มัน
ถ้าผูพ้ ดู มีความรูส้ กึ กลาง ๆ อาจใช้คาํ ว่า แก
เช่น พระท่านน่ าเคารพมาก ขโมยคนนี8มนั เลว ตามานะแกขยัน
สรุป คํานามและคําสรรพนาม ทําหน้าทีเ ป็ นประธานและกรรมในประโยค

คํากริ ยา
คํากริ ยา หมายถึง คําทีแ สดงสภาพหรืออาการเคลือนไหวของคํานาม
• คําแสดงสภาพ เช่น ใหญ่ กว้าง ผอม อ้วน ตาย ฯลฯ
• คําแสดงอาการ เช่น กิน พูด วิง บิน หัวเราะ ถือ ฯลฯ
คํากริยาแสดงสภาพจะมีลกั ษณะเหมือนคําวิเศษณ์ แต่จะทําหน้าทีต ่างกันเมือ อยูใ่ นประโยค เช่น
คํากริยา เด็กอ้วน สะพานสูง นํ8าเย็น
คําวิเศษณ์ ฉันชอบเด็กอ้วน ม้าข้ามสะพานสูง แม่ดมื นํ8าเย็น
๒๙

คํากริยามี ๔ ชนิด คือ


๑. กริ ยาไม่มีกรรมมารับ (อกรรมกริยา) เช่น ม้าวิง นกบิน ไก่ขนั ฝนตก
๒. กริ ยามีกรรมมารับ (สกรรมกริยา) เช่น แม่หุงข้าว ครูสอนนักเรียน หมากัดแมว
๓. กริ ยาอาศัยส่วนเติ มเต็ม (วิกตรรถกริยา) ได้แก่คําว่า เป็ น คือ เหมือน คล้าย เท่า แปลว่า
คํ า ทีเ ติม หลัง กริย าเหล่ า นี8 เรีย กว่ า ส่ ว นเติม เต็ม ไม่ เ รีย กกรรม เช่ น แม่ เ ป็ น พยาบาล
แดงคล้ายพ่อ เขาคือตํารวจ สุชาดาคล้ายเสาวนีย์ โอรสแปลว่าลูกชาย
๔. กริ ย าช่ ว ย (กริย านุ เ คราะห์ ) หมายถึ ง กริย าที ทํ า หน้ า ที ช่ ว ยกริย าแท้ ใ นประโยค
(อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา) ให้ได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
ทําหน้าทีเ พือบอกเวลา (จะ กําลัง แล้ว)
ทําหน้าทีเ พือบอกการขอร้อง (เถอะ ซิ นะ)
ทําหน้าทีเ พือบอกการบังคับ (ควร ต้อง)
ทําหน้าทีเ พือบอกการคาดคะเน (อาจ)
กริยาช่วยจะช่วยตามลําพังไม่ได้ ต้องใช้รว่ มกับกริยาแท้เสมอ เช่น
เขาจะมา เขากําลัง เขามาแล้ว (บอกเวลา)
เธอมาเถอะ เธอมาซิ เธอมานะ (ขอร้อง ชักชวน)
เธอควรมา เธอต้องมา (บังคับ)
เธออาจมา (คาดคะเน)
นอกจากนี8มคี าํ ว่า โปรด น่ า เคย ถูก อย่า เป็ นต้น

คําวิ เศษณ์
คําวิ เศษณ์ คําทีท าํ หน้าทีข ยายคําให้ได้ใจความชัดเจนยิง ขึน8 เพือบอกลักษณะรูปร่าง ขนาด สี
กลิน รส คุณภาพ ปริมาณ เวลา สถานที จํานวน คําขานรับ เป็ นต้น
คําวิเศษณ์จะขยายคํานาม สรรพนาม กริยา และวิเศษณ์ เช่น
ขยายนาม เช่น เขาเป็ นคนดี ม้าอ้วนวิง ปลาใหญ่กนิ ปลาเล็ก
ขยายสรรพนาม เช่น เธอคนนี8 เขาคนนัน8 ฉันเอง
ขยายกริยา เช่น วิง เร็ว กินมาก พูดน้อย
ขยายวิเศษณ์ เช่น ดีทสี ุด เลวมาก สวยจริง ๆ
คํานามอาจทําหน้าทีเ ป็ นคําวิเศษณ์ได้ เช่น อาหารปา่ ต้มยําทะเล คนภูเขา อาหารไทย
คําวิเศษณ์แบ่งออกเป็ น ๑๐ ชนิด ได้แก่
๑. ลักษณวิ เศษณ์ บอกรูปร่าง ลักษณะ เช่น ชัว ดี ใหญ่ กว้าง ยาว กลม ทุย อ้วน ผอม ช้า
เร็ว หอม เหม็น ร้อน เย็น
๒. กาลวิ เศษณ์ บอกเวลา เช่น อดีต ปจั จุบนั อนาคต เช้า สาย บ่าย เย็น คํา โบราณ เดียJ วนี8
วานนี8 พรุง่ นี8
๓. สถานวิ เศษณ์ บอกสถานที เช่น ใกล้ ไกล นอก ใน เหนือ ใต้ บน ล่าง ซ้าย ขวา
๓๐

๔. ประมาณวิ เศษณ์ บอกจํานวน เช่น 1 2 3 4 ทัง8 หมด บ้าง บางคน เกือบ หลายวัน
๕. นิ ยมวิ เศษณ์ บอกความชีเ8 ฉพาะ หรือบอกระยะ เช่น นี8 นัน โน่ น เอง
๖. อนิ ยมวิ เศษณ์ บอกความไม่ชเ8ี ฉพาะ ไม่แน่ นอน เช่น ใคร ไหน อะไร ทําไม
๗. ปฤจฉาวิ เศษณ์ บอกความถาม ใช้คําเหมือนอนิยมวิเศษณ์ คือ ใคร ไหน อะไร ทําไม แต่
ใจความต่างกัน เช่น
อนิยมวิเศษณ์ ปฤจฉาวิเศษณ์
ใคร ของของใคร ใครก็ตอ้ งหวง หนังสือของใคร
ไหน คนไหนขยันก็จะสบาย คนไหนเป็ นคนขยัน
อะไร ขนมอะไรก็ได้ฉนั กินทัง8 นัน8 ขนมอะไรอยูบ่ นโต๊ะ
๘. ประติ ชญาวิ เศษณ์ เป็ นคําขานรับ (คนไทยเรียกคําหางเสียง) เช่น ค่ะ ขา จ๋า จ๊ะ ครับ ขอ
คับ โว้ย วะ
๙. ประติ เษธวิ เศษณ์ (ปฏิเสธ) เป็ นคําบอกความไม่ยอมรับ เช่น ไม่ มิได้ ไม่ใช่ บ บ่ หามิได้
อย่า
๑๐. ประพันธวิ เศษณ์ เป็ นคําวิเศษณ์ ทขี ยายคํา และเชือมประโยค ได้แก่คําว่า อย่างที ดังที
ชนิดที เพือว่า เช่น
แดงเป็ นคนดีอย่างทีใ คร ๆ ก็นึกไม่ถงึ “อย่างที” ขยายดี และเชือม ๒ ประโยค
เขากินจุมากชนิดทีท ุกคนต้องยอมแพ้ “ชนิดที” ขยายมาก และเชือม ๒ ประโยค
ข้อสังเกต วิเศษณ์บางชนิด (สถานวิเศษณ์) จะมีลกั ษณะคล้ายคําบุพบทบอกสถานที ดังนัน8 จึง
มีหลักสังเกตว่า ถ้าคําว่า บน ใต้ เหนือ ใกล้ ไกล ล่าง ข้าง ริม ฯลฯ มีคํานามตามหลัง จัดเป็ นบุพบท
เช่น
วิ เศษณ์ บุพบท
๑. เขาเดินมาใกล้ ๆ ๑. เขาเดินใกล้ฉนั
๒. หยิบขนมชิน8 บน ๒. ขนมวางบนโต๊ะ
๓. เขาไปไกล ๓. เขาไปไกลบ้าน
๔. เขาเป็ นคนใต้ ๔. แม่นงอยู
ั  ใ่ ต้บนั ได
๕. ฉันชอบกอดหมอนข้าง ๕. พ่อนังข้  างแม่
อนิ ยมวิ เศษณ์ อนิ ยมสรรพนาม
๑. ขนมอะไร ฉันก็กนิ ได้ ๑. อะไร ๆ ฉันก็กนิ ได้
๒. เด็กคนไหนก็ได้ มาหาครู ๒. ใครก็ได้ มาหาครู
๓. ร้านไหน ๆ ก็ไปมาแล้ว ๓. ไหน ๆ ก็ไปมาแล้ว
ปฤจฉาวิ เศษณ์ ปฤจฉาสรรพนาม
๑. เธอชอบกินอะไร ๑. อะไรทีเ ธอชอบกิน
๒. หนังสือของใครวางบนโต๊ะ ๒. ใครวางหน้าหนังสือไว้บนโต๊ะ
๓. ประเทศไหนทีเ ธอชอบไป ๓. ทีไ หนทีเ ธอเคยไป
๓๑

ตํ า แหน่ ง ของคํ า วิ เ ศษณ์ มัก อยู่ ข้ า งหลัง คํ า ที ม ัน ทํ า หน้ า ที ข ยาย แต่ อ าจมีบ างคํ า เช่ น
ประมาณวิเศษณ์ กาลวิเศษณ์ ทีอาจอยู่ข้างหน้ าคําทีขยาย เช่น บางคน หลายวัน สายวันนี8 เช้าวันนี8
เป็ นต้น

คําบุพบท
คําบุพบท หมายถึง คําทีมาข้างหน้ าคํานาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ หรือกลุ่มคํา บุพบทจะ
บอกความสัมพันธ์ของคําทีอ ยูห่ น้าและหลังคํา เพือแสดงความหมายต่าง ๆ เช่น
๑. แสดงความเป็ นเจ้ าของ ได้แ ก่ ของ แห่ ง เช่ น หนัง สือ ของฉัน วิทยุก ระจายเสียงแห่ ง
ประเทศไทย
๒. บอกเวลา ได้แก่ เมือ ตัง8 แต่ เช่น เขามาตัง8 แต่เช้า เขามาเมือ วาน
๓. แสดงอาการกระทําร่วมกัน ได้แก่
• กับ เช่น ผมเห็นกับตา พ่อไปกับแม่ พีด กี บั น้อง ไทยกับลาวร่วมมือกัน
• แก่ เช่น เราควรเห็นแก่ส่วนรวม อย่าเห็นแก่ตวั ผูใ้ หญ่ให้ของแก่เด็ก
• แด่ ใช้เหมือนแก่ แต่ใช้ในลักษณะของผูน้ ้อยต่อผูใ้ หญ่ และแสดงความเคารพ เช่น
นักเรียนมอบของขวัญแด่คุณครู ถวายเครืองไทยทานแด่พระสงฆ์ อุทศิ ส่วนกุศลแด่
คุณพ่อคุณแม่ผลู้ ่วงลับ
• แต่ ใช้ ใ นความหมายว่ า จาก มาจาก ตั ง8 แต่ เฉพาะ เช่ น เขาทํ า แต่ ง าน
เธอมาแต่ทศิ เหนือ เขาตืนแต่ไก่โห่
หมายเหตุ แต่ ในทีน8ีไม่ใช่สนั ธาน เพราะไม่ได้เชือมประโยค ถ้าเชือมประโยคจึง
จัดเป็ นสันธาน เช่น เขาทํางานแต่น้องเขานังเล่
 น
• ต่ อ ใช้ แ สดงความเกี ย วข้ อ ง ติ ด ต่ อ เฉพาะหน้ า เช่ น เขายืน คํ า ร้ อ งต่ อ ศาล
ชกกันตัวต่อตัว นายกแถลงต่อสภา
๔. บอกให้ร้วู ่าเป็ นเครืองใช้ เครืองมือ การเดิ นทางโดยพาหนะใด ได้แก่
• ด้วย เช่น ของนี8ทาํ ด้วยมือ เสือ8 ทําด้วยฝ้าย โต๊ะทําด้วยไม้ กินข้าวด้วยช้อน
• โดย เช่น มาโดยรถไฟ ไปโดยเครือ งบิน
๕. บอกสถานที ได้ แ ก่ ใกล้ ไกล เหนื อ ใต้ บน ล่ า ง นอก ใน ฯลฯ เช่ น ของอยู่ ใ นตู้
เสือ8 อยูใ่ ต้โต๊ะ น้องอยูบ่ นบ้าน แม่อยูน่ อกบ้าน
๖. บอกสาเหตุ ได้แ ก่ เพราะ เพือ เช่ น ปลาหมอตายเพราะปาก นํ8 าผลไม้เ พือ สุ ขภาพ
เขาทํ า เพือ ลู ก แต่ ถ้ า คํ า ว่ า เพราะ เชือ มประโยค ๒ ประโยค จัด เป็ น สัน ธาน เช่ น
เพราะฝนตกหนัก รถจึงติด
๓๒

คําสันธาน
คําสันธาน คือ คําทีท าํ หน้าทีเ ชือมประโยคกับประโยคให้รวมกัน ได้ใจความเป็ น ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ใจความคล้อยตามกัน ใช้สนั ธาน พอ…ก็ ครัน8 …ก็ เมือ …ก็ และ
เช่น พอพ่อกลับบ้าน แม่กอ็ อกมาต้อนรับ
ครัน8 ฉันทานข้าวเสร็จแล้ว ฉันก็รบี ไปทําการบ้าน
เมือ แดงทํางานเสร็จแล้ว เขาก็ไปเทีย วต่อ
พ่อและแม่รกั ลูก
๒. ใจความเป็ นเหตุเป็ นผล ใช้สนั ธาน เพราะ…จึง เพราะ…ฉะนัน8 …จึง ประโยคเหตุจะมา
ก่อนประโยคผล
เช่น เพราะฉันไม่อาจหนังสือ ฉันจึงสอบตก
เพราะเขายากจน ฉะนัน8 เขาจึงต้องทํางานหนัก
หมายเหตุ ใจความคล้อยตามกัน หมายถึง เหตุการณ์ ๒ เหตุการณ์ทําต่อกัน แต่ไม่ได้เป็ น
เหตุและผลต่อกันอย่างประโยคใจความเป็ นเหตุผล
๓. ใจความเลือกอย่างใดอย่างหนึ ง ใช้สนั ธาน หรือ หรือไม่ก็ มิฉะนัน8
เช่น เธอจะอยูห่ รือจะไป คุณต้องขยันมิฉะนัน8 คุณจะอดตาย
คุณจะเข้ามาหรือไม่กต็ อ้ งออกไป
๔. ใจความขัดแย้งกัน ใช้สนั ธาน แต่ แต่ทว่า แต่…ก็ ถึง…ก็ กว่า…ก็
เช่น ถึงเขาจะขยันอย่างมาแต่เขาก็ยงั ยากจนอยู่
เขารูปไม่หล่อแต่ทว่าพ่อเขารวย

คําอุทาน
คําอุท าน คือ คําทีเ ปล่ ง ออกมาเพือ แสดงอารมณ์ ต่ าง ๆ เช่ น ดีใ จ เสียใจ สงสัย ไม่แ น่ ใ จ
ประหลาดใจ ไม่พอใจ ตกใจ เจ็บปวด ปลอบโยน หลังคําอุทานต้องมีเครือ งหมายอัศเจรีย์ (!) กํากับ เช่น
ดีใจ เอ้! โอ้โอ! ไชโย! ว้าว! วู!
เสียใจ โธ่! พุทโธ่! พุทโธ่เอ๊ย!
ปลอบโยน โอ๋!
ขอความช่วยเหลือ, เจ็บปวด โอ๊ย! อุ๊ย!
แปลกใจ เอ๊ะ! เฮ้ย!
โกรธ เฮ้ย! อุบ๊ะ! หนอย! ชิชะ! อุเหม่! อุวะ!
ไม่แน่ ใจ เอ!
รังเกียจ อี!A ยี!8 อี!J
๓๓

แบบฝึ กหัด
ตอนที ๑ จงเติ มลักษณนามของนามต่อไปนี8
๑. จาน แจกัน ……………………………. ๒๑. ไม้พาย ไม้กวาด …………………………
๒. จักรเย็บผ้า ลังถึง ………………………… ๒๒. นามปากกา นามแฝง ……………………
๓. ร่ม ฉัตร ………………………… ๒๓. หมาก มะพร้าว …………………………
๔. ซุง เสาโทรเลข ………………………… ๒๔. ดอกไม้ไฟ ประทัด ………………………
๕. ยักษ์ ผี ………………………… ๒๕. คันไถ จักรยาน …………………………
๖. อาทิตย์ จันทร์ ………………………… ๒๖. คนธรรพ์ วิทยาธร ………………………
๗. เข็ม มีด ………………………… ๒๗. กระจกเงา กรอบรูป ………………………
๘. เชือก สร้อย ………………………… ๒๘. อ้อย ไม้ไผ่ …………………………
๙. ช้างหลวง ………………………… ๒๙. แห อวน …………………………
๑๐. โรงเรียน โรงละคร ………………………… ๓๐. ยอ โพงพาง …………………………
๑๑. ผ้าม่าน พรม ………………………… ๓๑. ซอ เบ็ด …………………………
๑๒. โทรทัศน์ วิทยุ ………………………… ๓๒. เปียโน ลังถึง …………………………
๑๓.ข้าวเม่า ฝอยทอง ………………………… ๓๓. เสือ ผ้าปูโต๊ะ …………………………
๑๔.ตูเ้ ย็น ตูเ้ สือ8 ผ้า ………………………… ๓๔. ช้างหลวง …………………………
๑๕. ปินโต ………………………… ๓๕. ช้างบ้าน …………………………
๑๖. นรก ………………………… ๓๖. ธนบัตร หนังสือพิมพ์ ………………….
๑๗. ขลุ่ย ปี ………………………… ๓๗. แสตมป์ วิญญาณ ……………………
๑๘.เลือย ตอก ………………………… ๓๘. พลุ ปลาย่าง …………………………
๑๙. ดนตรี ตะกร้อ ………………………… ๓๙. เกวียน พัด …………………………
๒๐.เรดาร์ เครือ งโทรสาร ………………………… ๔๐. สลากกินแบ่ง ประกาศ …………………..
ตอนที ๒ จงเลือกคําตอบทีถกู ต้องทีสดุ เพียงคําตอบเดียว
๑. ข้อใดไม่ใช่นามทัวไปทุ
 กคํา ๓. คําในข้อใดไม่ใช่อาการนาม
ก. ช้าง กระดาษ สบู่ ก. ความรักทําให้ตาบอด
ข. ดวงอาทิตย์ ดาว อุกกาบาต ข. ความวัวยังไม่ทนั หาย
ค. เสือ8 รถ เรือ ค. ความหมายเข้ามาแทรก
ง. ตลาด ถนน โรงพยาบาล ง. ข้อ ข และ ค ถูก
๒. ข้อใดมีนามเฉพาะ ๔. คําในข้อใดไม่ใช่อาการนาม
ก. เด็ก ๆ เดินไปตามถนน ก. การรถไฟ
ข. ย่าไปตลาดนัดสวนจตุจกั ร ข. การไฟฟ้า
ค. แม่ไปทําบุญทีว ดั ค. การประปา
ง. พ่อไปโรงพยาบาล ง. ถูกทุกข้อ
๓๔

๕. ข้อใดไม่ใช่สมุหนาม ๘. ข้อใดใช้ลกั ษณนามผิด


ก. โขลงช้าง ก. ช้างบ้าน ๑ เชือก
ข. กองทหาร ข. ช้างป่า ๑ เชือก
ค. นก ๑ ฝูง ค. ช้างหลวง ๑ ช้าง
ง. คณะผูแ้ ทน ง. ช้างไม้ ๑ แท่ง
๖. ข้อใดใช้ลกั ษณนามผิด ๙. คํานามแบ่งออกเป็ นกีช นิด
ก. พระ ๒ นิกาย ก. ๓ ชนิด
ข. ละคร ๒ โรง ข. ๔ ชนิด
ค. แห ๒ อัน ค. ๕ ชนิด
ง. ไม้ไผ่ ๒ ลํา ง. ๖ ชนิด
๗. ข้อใดใช้ลกั ษณนามผิด ๑๐. คํานามทําหน้าทีอ ย่างไรในประโยค
ก. ยักษ์ ๓ ตน ก. ประธาน
ข. เลือย ๓ ปื8น ข. กริยา
ค. ขลุ่ย ๓ เลา ค. กรรม
ง. ดินสอ ๓ ด้าม ง. ข้อ ก และ ค ถูก

ตอนที ๓ จงเลือกคําตอบทีถกู ต้องทีสดุ เพียงคําตอบเดียว


๑. คําว่า “ท่าน” ในข้อใดเป็ นบุรุษที ๓ ๔. ข้อใดเป็ นนิยมสรรพนาม
ก. ท่านอยูไ่ หมครับ ก. ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ข. ท่านครับผมมาหา ข. โน่ นแน่ ะนกเขาคู
ค. ท่านคะตืนเถิดค่ะ ค. เด็กคนนี8เป็ นคนดี
ง. ท่านผูฟ้ งั ทีเ คารพ ง. ท่านผูใ้ ดทราบข้อมูล
๒. คําว่า “ต่าง” ข้อใดเป็ นวิภาคสรรพนาม ๕. ข้อใดเป็ นอนิยมสรรพนาม
ก. ฝาแฝด ๒ คนต่างกันมาก ก. ใครมาหาแม่
ข. เขาให้รปู ไว้ดตู ่างหน้า ข. แม่ทําอะไร
ค. เธอเดินไปทีห น้าต่าง ค. อะไร ๆ แม่กท็ าํ เป็ น
ง. นักเรียนต่างคนต่างเรียน ง. แม่ชอบไปไหน
๓. คําว่า “กัน” ข้อใดเป็ นวิภาคสรรพนาม ๖. คําว่า “ที” ข้อใดไม่ใช่ประพันธสรรพนาม
ก. นักเรียนคุยกัน ก. เขามาหาฉันทีต ลาด
ข. แม่เธอกีดกันผม ข. ครูรกั นักเรียนทีต งั 8 ใจเรียน
ค. แล้วกันจะมาหาแกทีหลัง ค. คนทีย นื อยูเ่ ป็ นครู
ง. ตํารวจกันฝูงชนออกไป ง. เขาทาสีบา้ นทีต งั 8 อยูบ่ นเนิน
๓๕

๗. ข้อใดไม่มบี ุรษุ สรรพนาม ๙. ข้อใดเป็ นปฤจฉาสรรพนาม


ก. จะล่วงได้ยนิ เราพาที ก. ใครจะมาหาก็เข้ามา
ข. ข้านี8ลมื พวงบุปผา ข. อะไร ๆ ก็ใส่ไว้ในตูห้ มด
ค. ลับตาหามีใครเห็นไม่ ค. เธอชอบอะไร
ง. ท่านผูเ้ รืองฤทธาดังเพลิงกรด ง. ท่านอยูใ่ นห้อง
๘. ข้อใดไม่ใช่สรรพนามเน้นความรูส้ กึ ๑๐. นามบอกระยะ เรียกว่าอะไร
ก. ท่านมาหาใคร ค. ตาบัวแกขีโ8 มโห ก. อนิยมสรรพนาม ค. ปฤจฉาสรรพนาม
ข. คุณแม่ท่านใจดี ง. ไอ้แดงมันขีข8 โมย ข. นิยมสรรพนาม ง. วิภาคสรรพนาม

ตอนที ๔ จงเลือกคําตอบทีถกู ต้องทีสดุ เพียงคําตอบเดียว


๑. ข้อใดมีกริยาแสดงสภาพ ๖. ข้อใดเป็ นอกรรมกริยา
ก. นกบิน ก. หนุ มานขยีด8 วงใจของทศกัณฐ์
ข. ม้าวิง ข. ทศกัณฐ์แค้นใจมาก
ค. สะพานกว้าง ค. สีดาลบรูปทศกัณฐ์
ง. สุนขั หอน ง. ทศกัณฐ์โกรธพิเภก
๒. ข้อใดเป็ นสกรรมกริยา ๗. ข้อใดไม่มกี ริยาช่วย
ก. อิเหนาประคองบุษบา ก. ยายทําขนมเสร็จแล้ว
ข. บุษบาเป็ นคู่หมัน8 อิเหนา ข. เล่าซูเป็ นชาวไทยภูเขา

ค. ปนหยีคอื อิเหนา ค. ธนาอาจไม่เรียนพิเศษ
ง. อุณากรรณหลบหนี ง. พวงทองจะเป็ นนางพยาบาล
๓. ข้อใดมีกริยาช่วย ๘. ข้อใดไม่มคี ํากริยา
ก. ลูกคนเป็ นหอยน่ าน้อยใจ ก. นอนขวางอยูก่ ลางกระแสชล
ข. โอรสนัน8 จะมีบุญ ข. ยิม8 แล้วก็กล่าววาจา
ค. ให้หาโทรเข้ามาเฝา ้ ค. ตัวข้าปว่ ยอยูห่ ลายวัน
ง. มเหสีตระหนกอกสัน ง. อันองค์มหาอุปราช
๔. คําว่า “ต้อง” ข้อใดเป็ นกริยาช่วย ๙. ข้อใดมีกริยามากทีส ุด
ก. ลมพัดมาต้องตัว ก. กุณฑลขนเพชรรูจ ี
ข. อย่ามาแตะต้องของชิน8 นัน8 ข. ให้ลบั ตานางในทัง8 สี
ค. เราต้องทํางานให้เสร็จ ค. ร้องกรีดหวีดหวาดวิง ไป
ง. ฉันมีเพือนชือต้อง ง. นางหนึงหยุดเลือกบุษบง
๕. ข้อใดไม่มวี กิ ตรรถกริยา ๑๐. คํากริยาในข้อใดเป็ นได้ทงั 8 อกรรมและ
ก. ดาราคือพระบุตรี สกรรมกริยา

ข. เสนาเข้าเฝาก็กราบกราน ก. กิน ค. เปิด
ค. กุมารากําบังเป็ นสังข์ทอง ข. สร้าง ง. ตาย
ง. แม้นพระบุตราเป็ นมนุ ษย์
๓๖

ตอนที ๕ จับคู่คาํ และความหมายต่อไปนี8 ให้สมั พันธ์กนั


……………… ๑. ลักษณวิเศษณ์ ก. ดอกไม้อะไรหอมมาก
……………… ๒. กาลวิเศษณ์ ข. รถคันโน้นชนรถคันนี8
……………… ๓. สถานวิเศษณ์ ค. ใกล้ ไกล ห่าง ชิด เหนือ ใต้
……………… ๔. ประมาณวิเศษณ์ ง. อ้วน ผอม ช้า เร็ว หอม เหม็น
……………… ๕. นิยมวิเศษณ์ จ. 1 2 3 บางคน หลายคน มาก น้อย
……………… ๖. อนิยมวิเศษณ์ ฉ. เช้า สาย บ่าย วันนี8 โบราณ
……………… ๗. ปฤจฉาวิเศษณ์ ช. เสือ8 ของใครต่อใครก็มากองอยูน่ ี
……………… ๘. ประติชญาวิเศษณ์ ซ. ค่ะ ครับ ขอรับ จ๊ะ จ๋า
……………… ๙. ประติเษธวิเศษณ์ ฌ. เขาทําเร็วมากอย่างทีไ ม่มใี ครเคยทําได้
……………… ๑๐. ประพันธวิเศษณ์ ญ. ไม่ มิได้ ไม่ใช่ บ บ่

ตอนที ๖ จงเลือกคําตอบทีถกู ต้องทีสดุ เพียงคําตอบเดียว


๑. สํานวนไทยในข้อใดมีคาํ วิเศษณ์ ๕. ข้อใดเป็ นอนิยมวิเศษณ์
ก. นํ8าพึง เรือ เสือพึง ปา่ ก. ใคร ๆ ก็ไปเทีย ว
ข. นํ8านิงไหลลึก ข. เสือ8 ของใครหาย
ค. นํ8าท่วมปาก ค. ใครมาหาพ่อ
ง. นํ8าตาลใกล้มด ง. สมบัตใิ ครก็หากันเอาเอง
๒. ข้อใดมีวเิ ศษณ์บอกสี ๖. “ประทานโทษโปรดด้วยเถิดเจ้าข้า” คําว่า “เจ้า
ก. ให้อาบนํ8าชําระกายหมดจด ข้า” เป็ นวิเศษณ์ชนิดใด
ข. ขมิน8 สดปรุงประทินกลิน บุปผา ก. ปฤจฉาวิเศษณ์ ค. ประมาณวิเศษณ์
ค. หอมชืนรืน รวยสวยกายา ข. ประติชญาวิเศษณ์ ง. กาลวิเศษณ์
ง. นุ่ งผ้าฮอลีสแี ดง ๗. “เราทัง8 หลายยินดีหาน้อยไม่” คําว่า
๓. ข้อใดมีวเิ ศษณ์บอกกลิน “ทัง8 หลาย” เป็ นวิเศษณ์ชนิดใด
ก. ช้านิดแม่ชนื จิตเอย ก. ปฤจฉาวิเศษณ์ ค. ประมาณวิเศษณ์
ข. อย่าใส่จริตกระตุง้ กระติง8 ข. ประติชญาวิเศษณ์ ง. กาลวิเศษณ์
ค. ดอกไม้หอมกรุ่นฉุ นหรือจะทิง8 ๘. “พลัดพรากปรางค์ไปทางไกล” คําว่า “ไกล”
ง. ไม่มขี อ้ ถูก เป็ นคําวิเศษณ์ชนิดใด
๔. ข้อใดมีวเิ ศษณ์ขยายวิเศษณ์ ก. สถานวิเศษณ์ ค. ลักษณวิเศษณ์
ก. เด็กอ้วนกินจุ ข. ประมาณวิเศษณ์ ง. นิยมวิเศษณ์
ข. ม้าขาววิง เร็ว
ค. รถเล็กชนคน
ง. เขาพูดเก่งมาก
๓๗

๙. ข้อใดมีวเิ ศษณ์บอกความปฏิเสธ ๑๓.วิเศษณ์แสดงคําขานรับ เรียกว่าอะไร


ก. อย่าเลยจะจุตพิ ลัน ก. นิยมวิเศษณ์
ข. ถอดแหวนส่งให้มไิ ด้ชา้ ข. ประติเษธวิเศษณ์
ค. ครัน8 มีมาเล่าไม่เป็ นผล ค. ปฤจฉาวิเศษณ์
ง. ถูกทุกข้อ ง. ประติชญาวิเศษณ์
๑๐. ข้อใดเป็ นนิยมวิเศษณ์ ๑๔.ข้อใดมีประมาณวิเศษณ์
ก. นีคอื บ้านของฉัน ค. ขนมนี8แม่ทํา ก. ราชาผูค้ รองเมืองชือท้าวยศเกียน
ข. โน่ นพ่อมาแล้ว ง. นันรถเมล์ ข. ทัง8 สองพระองค์ทรงมีคุณความดี
๑๑. ข้อใดเป็ นความหมายของคําวิเศษณ์ ค. นางสิรวิ ตั ทรงพระครรภ์
ก. ขยายคําอืนให้ได้ใจความยิง ขึน8 ง. ท้าวเทวัตไม่เห็นท้าวยศเกียนออกรบ
ข. ขยายนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ ๑๕. จากข้อ ๑๔ ข้อใดมีประติเษธวิเศษณ์
ค. คําวิเศษณ์ม ี ๑๐ ชนิด ก. ข้อ ก
ง. ถูกทุกข้อ ข. ข้อ ข
๑๒. “ลุงปอเป็ นผูใ้ หญ่ทใี คร ๆ ต่างนับถือ” ค. ข้อ ค
คําว่า “ใคร” เป็ นคําวิเศษณ์ชนิดใด ง. ข้อ ง
ก. ใช้ถาม ค. แสดงคําขานรับ
ข. ไม่เจาะจง ง. เจาะจง

ตอนที ๗ จงเลือกคําตอบทีถกู ต้องทีสดุ เพียงคําตอบเดียว


๑. ข้อใดใช้บุพบทผิด ๔. คําว่า “แก่” ข้อใดเป็ นบุพบท
ก. แม่ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ ก. กาแฟนี8แก่นมไปหน่ อย
ข. ฉันมาโดยรถประจําทาง ข. เลือกมะม่วงลูกแก่ ๆ หน่ อย
ค. เขาให้การต่อศาล ค. วัวแก่ชอบกินหญ้าอ่อน
ง. พ่อทําเพือลูก ง. เขาเป็ นคนเห็นแก่ตวั
๒. คําว่า “เมือ ” ข้อใดไม่ใช่บุพบท ๕. คําว่า “บน” ข้อใดไม่ใช่คําบุพบท
ก. เมือ เช้าแม่มาหาผม ก. เด็กยืนบนเก้าอี8
ข. เด็กรีบเข้าห้องเรียนเมือ ถึงเวลา ข. หนังสือวางอยูบ่ นห้อง
ค. เมือ นัน8 ทศเศียรสุรยิ ว์ งศ์ยกั ษี ค. แดงรําแก้บนเจ้าพ่อ
ง. อาหารหมดเมือ คืน ง. ช่วยหยิบของบนโต๊ะ
๓. ข้อใดใช้บุพบทผิด ๖. คําว่า “ใต้” ข้อใดไม่ใช่บุพบท
ก. เขาเดินทางโดยรถไฟ ก. เก้าอีอ8 ยูใ่ ต้โต๊ะ
ข. ผ้าทอด้วยมือ ข. รถแล่นผ่านใต้สะพาน
ค. ครูให้รางวัลแด่นกั เรียน ค. อาหารใต้มรี สจัด
ง. นํ8าไหลมาจากภูเขา ง. น้องชอบนอนใต้เตียง
๓๘

๗. ข้อใดไม่มคี ําบุพบท ๙. ข้อใดมีบุพบท


ก. คมในฝกั ก. ใจดีสเู้ สือ
ข. นํ8าตาลใกล้มด ข. จับเสือมือเปล่า
ค. นํ8าลดตอผุด ค. ชุบมือเปิ บ
ง. หักด้ามพร้าด้วยเข่า ง. รีดเลือดกับปู
๘. ข้อใดไม่ใช่บุพบทบอกสถานที ๑๐. “พยานให้การ…..ศาลว่า เธอเห็น….ตาว่า
ก. หนังสือใต้ตู้ จําเลยลักของมา….ร้านค้า” ข้อใดเป็ นตัวเลือก
ข. แม่ให้เงินแก่ลกู ทีถ ูกต้องทีจ ะใส่ในช่องว่าง
ค. ดาวบนท้องฟ้า ก. ต่อ กับ จาก
ง. เขาเดินใกล้ฉนั ข. กับ ด้วย แต่
ค. โดย กับ จาก
ง. แต่ ด้วย แห่ง

ตอนที ๘ จงบอกใจความของประโยคความรวมต่ อไปนี8


……………………………………. ๑. เธอชอบกินข้าวหรือขนม
……………………………………. ๒. พอกินข้าวเสร็จเขาก็ไปดูโทรทัศน์
……………………………………. ๓. ครัน8 พ่อมา ฉันก็ชวนไปเทีย ว
……………………………………. ๔. เพราะเขามาช้า เขาจึงขึน8 รถไม่ทนั
……………………………………. ๕. เขาตัวใหญ่แต่เขาใจน้อย
……………………………………. ๖. ผมห้ามเธอแล้วแต่เธอไม่เชือ
……………………………………. ๗. พีแ ละน้องไปเทีย ว
……………………………………. ๘. ฉันชอบอ่านหนังสือเรียน แต่น้องชอบดูการ์ตูน
……………………………………. ๙. เธอชอบดูละครหรือดูภาพยนตร์
……………………………………. ๑๐. พ่อทํางานนอกบ้านแต่แม่ทํางานในบ้าน

ตอนที ๙ จงเติ มคําอุทานลงในช่องว่างให้ตรงกับความหมาย


๑. ………….. ! ชนะแล้ว ๖. ………….. ! ช่วยด้วย
๒. ………….. ! น่ าสงสารจริง ๗. ………….. ! เงียบซะ
๓. ………….. ! ไม่จริงมัง8 ๘. ………….. ! จริงหรือ
๔. ………….. ! สกปรก ๙. ………….. ! เหม็นจัง
๕. ………….. ! ทํายังงีไ8 ด้ยงั ไง ๑๐. ………….. ! ไม่น่าเลย

You might also like