You are on page 1of 6

แบบทดสอบวัดความรู้ก่อนเรียน

วิชาภาษาไทย
1. ประโยคในข้อใดใช้คำผิด
1. แม่ชอบกินแกงเรียงหัวปลี 2. ลูกของเสี่ยเมฆาถูกลักพาตัวไป
3. นกกวักบินฮือลงจิกบัวกันขวักไขว่ 4. เขาตรมตรอมเพราะติดตรวน

2. ข้อใดผู้พูดออกเสียงไม่ถูกต้อง
1. รอนแรมในเรือลอยไปลุเวลารุ่งอรุณ
2. นักเรียนรวมเหล่ารุ่นเล็กแอบรอดรั้วไปเล่นเรือ
3. ชาวเรือลอยลำร้องเพลงรักเรียกสาวหนุ่มมารุมล้อม
4. เราเดินลุยลงทะเลเพื่อไปเล่นเรือใบให้ร่าเริงสุขสำราญ

3. คำที่พิมพ์ตัวหนาในข้อใด แม้จะออกเสียงพยัญชนะเพี้ยนไปก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป
1. แม่ค้าขายขนมมีลูกสาวสวย (ซวย)
2. ใครว่าเขาเป็นนักร้อง ไม่ใช่สกั หน่อย (ซัก)
3. เกสรดอกไม้เป็นอาหารอันโอชะของผึง้ น้อย (พึ่ง)
4. โปรโมชั่นชาบู มาคู่จ่ายคี่ วันนี้วันเดียว (ขี้)

4. คำที่พิมพ์ตัวหนาในข้อใดออกเสียงต่างจากพวก
1. แทรกซอนเก็บพุทรา 2. มัทรีหยุดใต้ต้นไทร
3. อินทรียค์ ือกายา 4. จงนิทราเถอะเจ้า

5. ประโยคใดประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งหมด
1. น้ำท่วมสะพานหัก 2. แม่ขาหนูปวดท้อง
3. พรุ่งนี้เป็นวันหยุด 4. เขาชอบเล่นกระดานหก

6. คำว่า “สัน” ในข้อใดเขียนผิด


1. หล่อนช่วยเพิ่มสีสันต์ให้แก่งาน 2. เขาทำตัวเหมือนวัวสันหลังหวะ
3. เธอช่างสรรหาถ้อยคำไพเราะมาร้อยเรียง 4. ผลงานสร้างสรรค์อย่างนี้ต้องได้รางวัลแน่ ๆ

7. “เขาเป็นเด็กขยันมีความอดทนต่อการเรียนและรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย” ข้อความข้างต้นมีคำนาม
ทั้งหมดกี่คำ
1. 4 คำ 2. 5 คำ
3. 6 คำ 4. 7 คำ
8. “เธอผุดลุกไปผัดเสื้อผ้าแล้วปะแป้ง” ข้อความนี้มีคำสะกดผิดกี่คำ
1. 1 คำ 2. 2 คำ
3. 3 คำ 4. 4 คำ

9. คำว่า “ล้าง” ในข้อใดมีความหมายต่างจากข้ออื่น


1. เมื่อไหร่มีงานเลี้ยงเขาจะเตรียมล้างท้องรอทันที
2. ธุรกิจเกี่ยวกับการล้างพิษ ได้รับความนิยมในหมู่คนอ้วน
3. หลังจากทานอาหารคาวเสร็จแล้วบางคนล้างปากด้วยของหวาน
4. นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วมักจะล้างมือจากวงการ

10. เนื้อความต่อไปนี้ ข้อใดควรมาเป็นลำดับก่อน – หลังจึงถูกต้อง


1) รับประทานบ่อย ๆ ทำให้ผิวอ่อนนุ่ม และมีน้ำมีนวล
2) เพราะอุดมด้วยธาตุซีลีเนียม
3) ช่วยบำรุงผิวพรรณ
4) บร็อคโคลีเป็นผักที่เหมาะสมกับสุภาพสตรี

1. 4) – 2) – 3) – 1) 2. 1) – 2) – 3) – 4)
3. 4) – 3) – 2) – 1) 4. 2) – 3) – 1) – 4)

11. โสภาสสวยกว่าโสภิณ แต่สวยกว่าโสภี โสภีสวยเท่าโสพิศ


1. โสภี 2. โสภิณ
3. โสภา 4. โสพิศ

12. “สิ่งนี้เป็นขวากหนามได้” คำใดมีความหมายใกล้เคียงกันมากที่สุด


1. กั้น 2. รอ
3. ปัญหา 4. อุปสรรค

13. สำนวนในข้อใดที่เติมคำในช่องว่างด้วยคำบุพบท
1. ลาง_____เนื้อชอบ_____ 2. พบไม้_____เมื่อขวาน_____
3. น้ำขุ่นไว้_____น้ำใสไว้_____ 4. อย่า_____ทองไป_____กระเบื้อง

14. ...........ใช้น้ำและไฟฟ้าอย่างประหยัด ............ท่านไม่ต้องอยู่อย่างแห้งแล้ง มืดมน ...........ไม่สะดวกสบาย


1. ควร เมื่อ หรือ 2. จง เพราะ และ
3. จง ถ้า และ 4. ต้อง เพราะ หรือ
15. คำในข้อใดอ่าน 2 พยางค์ทุกคำ
1. ตลาด ผลึก 2. กฤษณา ผลิ
3. สร้าง ปรอท 4. พุทธ ตราด

16. คำในข้อใดมีตัวการันต์ต่างจากข้ออื่น
1. กาฬปัก___ 2. ทิวทัศ___
3. กัลปพฤก___ 4. มงคลฤก___

17. “เขาต้อง คิดบัญชี กับคนที่มารังแกน้องสาวของเขาแน่ ๆ” คำที่ขีดเส้นใต้มีความหมายตรงกับข้อใด


1. คิดเลข 2. แก้แค้น
3. ทำบัญชีรับ – จ่าย 4. ปกป้อง

อ่านสารคดีต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 18
“ตุ๊กตาเด็กเล่นนิยมทำเป็นรูปนก ลิง และสัตว์อื่น ๆ เคลือบด้วยน้ำยาสีเขียว คนไทยได้ทำตุ๊กตา
สืบต่อมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งมีคำพังเพยว่า “อยู่บ้านท่านอย่านิ่ง
ดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น” ตุ๊กตาไทยมี 4 ประเภทคือ ตุ๊กตาใช้ในพิธีกรรม ใช้สำหรับเด็กเล่น
ตุ๊กตาศิลปกรรมและตุ๊กตาอื่นๆ”
(สุทธิลักษณ์ อำพันวงศ์)
18. สารคดีนี้ควรตั้งชื่อใดจึงจะเหมาะสม
1. ตุ๊กตาเสียกบาล 2. ตุ๊กตาเด็กเล่น
3. ตุ๊กตาไทย 4. ของเล่นเด็กไทย

19. เพราะสาวิตรีทำงานอย่าง............ จึงทำให้งานเสร็จเร็วกว่ากำหนด


1. ขะมักเขม้น 2. ขมีขมัน
3. กุลีกุจอ 4. ทะมัดทะแมง

20. “จะขอพันธุ์ฟักแฟงแตงน้ำเต้า ที่ออเจ้าไปปลูกในไร่ข้า” ข้อความนี้หมายถึงข้อใด


1. มาเจรจาขอลูกสาวเขาให้ลูกชายตน 2. มาขอพันธุ์ผักต่าง ๆ ไปปลูก
3. นำลูกชายมาให้ใช้สอย 4. มาขอแลกเปลี่ยนพันธุ์ผักต่าง ๆ ไปปลูก

21. สำนวนใดไม่มีเสียงวรรณยุกต์โท
1. ตีงูข้างหาง 2. ปลาติดร่างแห
3. คาบลูกคาบดอก 4. ตีเรือทั้งโกลน
22. ข้อใดสะกดไม่ถูกต้องทุกคำ
1. ไล่ สำอาง บันเทิง 2. เบญจเพส เผอเรอ ยานัตถุ์
3. รสชาติ แผนการ ประนม 4. ศีรษะ บังสุกุล ประสพการณ์

23. ประโยคใดมีคำที่สะกดไม่ถูกต้อง
1. ตำรวจกำลังชันสูตรศพ 2. เขาพูดจาคลุมเครือมาก
3. ทุกคนต้องการอิสรภาพ 4. เธอควรทำงานให้ละเอียดลออ

24. คำในข้อใดอ่านไม่ถูกต้อง
1. วิตถาร อ่านว่า วิด – ถาน 2. พรรณนา อ่านว่า พัน – นะ – นา
3. โฆษณา อ่านว่า โค – สะ – นา 4. กุลสตรี อ่านว่า กุน – ละ – สัด – ตรี

25. “18.30 น.” อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง


1. สิบ – แปด – นา – ลิ – กา – ครึ่ง
2. สิบ – แปด – จุด –สาม – สูน – นอ
3. สิบ – แปด – นา – ลิ – กา – สาม – สิบ – นา – ที
4. สิบ – แปด – นา – ลิ – กา – สาม – สูน – นา – ที

26. คำต่อไปนี้มีคำที่สะกดไม่ถูกต้องกี่คำ
วิ่งเปี้ยว พังทลาย เลือกสรร พรรณนา ราคาเยา อเนก ทะเลสาป
1. 2 คำ 2. 3 คำ
3. 4 คำ 4. 5 คำ

27. ข้อใดสะกดถูกต้องทุกคำ
1. สถิตย์ สังเกต จำนง 2. ประดิดประดอย ผาสุก กงสุล
3. ปะรำพิธี บ่วงบาศ เกสร 4. เมตตาปรานี บิณฑบาต สะดวก

28. ข้อใดเรียงลำดับคำถูกต้องตามพจนานุกรม
1. ทอฟฟี่ ทยอย เทคนิค แท็กซี่ โทษ 2. รหัส ระหัด รำไพ แร็กเกต เริศร้าง
3. คนโท ครุฑ คิมหันต์ แคลอรี่ โคม่า 4. มัคคุเทศก์ มลทิน มาลัย มิตรา ไมล์
29. ข้อใดคือจุดประสงค์ของบทอ่านนี้

1. โน้มน้าวให้ทำบุญ 2. ชี้ให้เห็นการทำบาป
3. เตือนสติในการดื่มสุรา 4. เสนอแนะในการปฏิบัติ

30. จากข้อ 29 จากข้อความ “เลี้ยงเหล้าในงานบุญ = บาป” มีความหมายสอดคล้องกับข้อใด


1. การเลี้ยงเหล้าถือว่าเป็นการทำบาป
2. การดื่มเหล้าในงานบุญ คือ คนบาป
3. การทำบุญไม่ควรมีการเลี้ยงเหล้าเพราะไม่ได้บุญ
4. การเลี้ยงเหล้าและดื่มเหล้าในงานบุญนับเป็นบาป

31. ใจความสาคัญของบทอ่านนี้ คืออะไร

ขนมไทย เป็น ของหวานที่น ิย มทำและรับ ประทานกัน ในประเทศไทย สะท้อนถึ งเอกลั ก ษณ์


ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ โดยแสดงถึงความละเอียดอ่อน ความพิถีพิถัน และความประณีตตั้งแต่การเลือก
วัตถุดิบจนถึงขั้นตอนการทำ เป็นความกลมกลืนของศาสตร์และศิลป์ ส่งผลให้ขนมไทยโดดเด่นในด้านรสชาติ
ที่อร่อยหอมหวาน สีสัน รูปลักษณ์สวยงามน่ารับประทาน เป็นที่ต้องตาต้องลิ้นแก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และ
ชาวต่างชาติ
สืบค้นจาก http://www.ezythaicooking.com/thai_dessert/about_thai_dessert.html
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561

1. รสชาติ สีสันขนมไทย 2. ขัน้ ตอนการทาขนมไทย


3. การรับประทานขนมไทย 4. ความสาคัญของขนมไทย

32. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงในบทอ่านข้างต้น
1. การเลือกวัตถุดิบที่พิถีพิถนั 2. การเผยแพร่ขนมไทยให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป
3. ขั้นตอนการทำใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่โดดเด่น 4. ความอร่อย สีสันน่าสนใจ มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม

33. ข้อความในข้อใดที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติ
1. คนไทยชอบรับประทาน 2. เป็นอาหารประจำชาติไทย
3. ความละเอียดประณีตแบบไทย 4. ทำตามรสนิยมทั้งคนไทยและต่างชาติ
34. จากบทอ่านนี้ สื่อให้เห็นถึงอารมณ์ใด

ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำแสนลำบาก ทนเหนื่อยยากต้องสู้ความรู้ต่ำ
แท้เหนื่อยกายเพราะความจนต้องทนทำ แรงแลกเงินเช้าค่ำทำแต่งาน
หมดแรงล้าต้องหมั่นขยันสู้ ต้องเรียนรู้ความอดทนก้าวพ้นผ่าน
เคยท้อแท้ลำเค็ญเช่นวันวาน เพื่อลูกหลานคนข้างหลังยังรอคอย
๓๐
อภิชากฤต อินทหอม

1. เศร้าใจ 2. เสียใจ
3. ท้อใจ 4. รันทดใจ

35. ข้อใดไม่ได้กล่าวถึงจากบทอ่านนี้
1. ความขยันหมั่นเพียร 2. ความพากเพียรพยายาม
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 4. การไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

You might also like