You are on page 1of 14

1

การควบคุมป้องกันโรคบิดในไก่
Controlling Coccidiosis in Poultry: In Ovo Technology
ภัทรกิจ กิจธรรมกูลนิจ 1 นพมาศ ตระการรังสี2 พัชราภรณ์ อนันต์เกียรติ
กุล 3
1,2,3
25/25 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
73170

บทคัดย่อ (Abstract)

คำาสำาคัญ: In Ovo Vaccination, Coccidiosis

บทนำา (Introduction)

โปรโตซั ว ที่ มี ค วามสำา คั ญ ในการก่ อ โรคในไก่ อ ยู่ ใ นไฟลั ม Apicomplexa แฟมิ ลี่
Eimeriidae ได้ แ ก่ โปรโตซั ว ในจี นั ส Eimeria ซึ่ ง มี อ ยู่ ห ลาย species เช่ น E. tenella, E.
acervulina, E.maxima, E.necatrix, E.brunetti, E. mitis และ E.praecox เป็นต้น โดยเชื้อเหล่านี้
เป็นสาเหตุทำาให้ความสามารถในการใช้อาหารและการเจริญของไก่ที่ติดเชื้อลดลง (Williams et
al., 2002) เพราะร่างกายไก่ไม่สามารถดูดซึมอาหารได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งผลกระทบต่อเรื่องนำ้า
หนักตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่สำาคัญในการเลี้ยงไก่เนื้อด้วย
เชื้อบิดเมื่อเข้าไปในร่างกายไก่จะเพิ่มจำานวนอย่างรวดเร็วในลำา ไส้และในไส้ตัน ในขณะ
เดียวกันเชื้อบิดจะทำาลายเซลล์ของผนังลำาไส้ที่ทำาหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหารที่ย่อย และเซลล์ส่วน
ที่มีหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่ย่อยแล้วให้เป็นเนื้อเยื่อของร่างกายเสีย ในรายที่ร้ายแรงจะทำา ให้ผนัง
ลำาไส้อักเสบชำ้าบวมมีเลือดคั่ง (Hemorrhage) และตายในที่สุด ในฝูงที่ติดเชื้อร้ายแรงไก่จะตาย
มาก ส่วนไก่ที่เหลือรอดตายจะอ่อนแอและแคระแกร็น ส่วนฝูงที่เป็นโรคบิดชนิดเรื้อรังจะทำาให้ไก่
ผอมและไข่น้อย นอกจากนั้นยังทำาให้ไก่อ่อนแอมีความต้านทานต่อโรคอื่นตำ่าทำาให้เกิดโรคได้ง่าย
โดยความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายชนิด เช่น จำานวน oocyst ที่ได้รับเข้าไป พันธุ์ไก่
อายุ อาหาร สภาพของไก่และสายพันธุ์ของเชื้อบิดด้วย
โรคบิดในไก่นั้นยังส่งผลทำาให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ทั่วโลก
เป็นอย่างมาก สำาหรับประเทศไทยในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อยังไม่มีปัญหาถึงกับต้องใช้ยา
รักษาโรคบิด เพราะยาต้านบิดที่ใช้ยังไม่มีปัญหาเรื่ องการดื้ อยามากนัก ส่วนในไก่ท ดแทนนั้น
ปัญหาเรื่องโรคบิดเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย (Manop et al., 1991) การรักษามักจะให้ยาผสมนำ้า
2

มากว่า เนื่องจากไก่ที่ป่วยจะกินนำ้ามากกว่าอาหาร หรือไม่ก็มีการผสมยาต้านบิดลงในอาหารด้วย


นอกจากนี้ก็ต้องมีการจัดการที่ดีควบคู่กันไปด้วย
ในปัจ จุ บั น ได้ มีก ารเพิ่ ม การควบคุ มและมี ข้ อ จำา กั ด ในการใช้ ย าต้ า นบิ ด ในไก่ รวมทั้ ง
ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีอยู่อย่างจำากัดในการควบคุมโรค จึงได้มีการพัฒนาหาทางเลือกใหม่ใน
การควบคุมป้องกันโรคบิดในไก่ (Lillehoj et al., 2000) เนื่องจากยาต้านบิดบางชนิดอาจมีผลลบ
ต่อการเพิ่มนำ้า หนักตัวไก่และอาจมีฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งเชื้อมักจะดื้อยาได้ง่าย
ส่วนวัคซีนชนิดต่างๆนั้นก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำาดับ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการต้านทานโรค
บิดในไก่และเพื่อลดปัญหาการดื้อยา แต่การผลิต live vaccine ที่ใช้ในปัจจุบันก็ยังมีราคาสูงอยู่
และไม่สามารถป้องกันเชื้อบิดข้ามสายพันธุ์ได้
จุดประสงค์ของการศึกษาเชิงทบทวนวรรณกรรมในครั้งนี้ คือ เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยว
กับการควบคุมและป้องกันโรคบิดในไก่ว่ามีวิวัฒนาการเป็นอย่างไร ทัง้ การใช้ยาต้านบิดและการใช้
วัคซีน อีกทั้งงานวิจัยที่ทำาการทดลองเกี่ยวกับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในไก่ในรูปแบบต่างๆ รวม
ทั้งสารชีวภาพที่มีผลในการป้องกันโรคบิด ที่จะเป็นแนวทางในอนาคตในการคิดค้นหาวิธีการ
ใหม่ๆสำาหรับการควบคุมป้องกันโรคบิดและศึกษาว่าปัจจัยใดเป็นผลให้ไม่สามารป้องกันบิดข้าม
สายพันธุ์ได้

วงจรชีวิตเชื้อบิด
3

เชื้อบิดเริ่มต้นชีวิตด้วยโอโอซิสท์ (oocyst) ทีม่ ีผนังหุ้มแข็งแรง ภายในประกอบด้วย


โปรโตพลาส (protoplasm) นิวเคลียส (nucleus) และอาหาร ถุงไข่นี้จะปนออกมากับอุจจาระ
ของไก่ที่เป็นโรคภายในเวลา 2-4 วัน เมื่อได้รับความชื้น ออกซิเจน และอุณหภูมิที่เหมาะสม ถุงไข่
ก็จะเริ่มฟัก ตัว แบ่ง เซลล์ ออกเป็น 4 สปอร์ (sporocysts) แต่ละสปอร์ ประกอบ ด้วยลู กสปอร์
(sporozoites) ที่มีลักษณะคล้ายกล้วยหอมอีก 2 อัน เมื่อไก่จิกกินถุงไข่ในระยะนี้เข้าไป ด้วย
อุณหภูมิ ที่เหมาะสม ในร่างกายไก่และนำ้า ย่อยในลำา ไส้ไก่ ก็จะช่วยให้ถุงไข่ (oocyst) แตกออก
ปล่อยลูกสปอร์ทั้ง 8 ออกมาทำาลายผนังลำาไส้ในเซลล์ของผนังลำาไส้ เชื้อบิดจะเพิ่มจำานวน โดย
วิธีแบ่งตัว(asexual reproduction) จำา นวนมาก เชื้อบิดจะทำา ลายส่วนผนังของลำา ไส้และไส้ตัน
มากที่สุด และในระยะต่อไปเชื้อบิดมีการผสม (sexual reproduction) ระหว่าง microgamete
กับ macrogamete ผลิตเป็นถุงไข่ (oocyst) ปนออกมากับอุจจาระลงไปในพื้นคอกอีก เป็นการ
เริ่มต้นของชีวิตเชื้อบิดอีก หมุนเวียนอยู่อย่างนี้

ยาต้านบิด (Anticoccidial Drugs)


การใช้ ยาต้า นบิดนั้นมีมานานกว่ า 50 ปีแล้ ว โดยมีส่ วนสำา คั ญอย่า งมากในการเจริ ญ
เติบโตของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ และอนุญาตให้เพิ่มการใช้ได้เพื่อที่จะได้ผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อ
ผู้บริโภค มียาหลายตัวที่ผลิตออกมาเป็นจำานวนมาก ซึ่งมียาบางส่วนที่เหมาะสมและมีการแนะนำา
ให้ใช้ในปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตามได้มีความกังวลในส่วนของเชื้อที่ดื้อยาและสารตกค้างในเนื้อไก่
มากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ คือ เพื่อป้องกันโรคบิดและเพื่อรักษาโรคบิด
โดยยาต้านบิดสามารถจำาแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. Synthetic drugs (Chemicals)


เป็นยากลุ่มแรกที่มีการนำา ไปใช้ มีการใช้มานาน ออกฤทธิ์ได้ดี แต่มักมีข้อเสียเรื่องการ
ดื้อยา (Drug Resistance) ยากลุ่มนี้จะมีการออกฤทธิ์ที่ไม่เหมือนกันและออกฤทธิ์ต่อเชื้อบิดใน
ระยะที่แตกต่างกัน ที่มีการใช้ในประเทศไทยขณะนี้ คือ Diclazuril โดยปริมาณสูงสุดที่กำาหนดให้มี
ในอาหารสัตว์ผสมสำา เร็จรู ป คือ 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และ Nicarbazin ไม่เกิน 50
มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนยาชนิดอื่นๆ ได้แก่ Amprolium, Decoquinate, Dinitolmide,
Halofuginone
Toltrazuril เริ่ มมีก ารใช้เ มื่อไม่นานมานี้ในการควบคุ มโรคบิด (Chapman, 1999) โดย
ผสมกั บนำ้า ให้ไ ก่ กิน ติ ด ต่ อ กัน 2 วัน ในระหว่ า งวั นที่ 10 ถึ ง 14 ซึ่ งเป็นช่ วงเวลาที่ ดี ที่ สุด ในการ
ควบคุ ม โรค (Mathis et al., 2004) และมี ผ ลต่ อ ทุ ก ๆ species ของ Eimeria ในไก่ ที่ ติ ด เชื้ อ
(Mehlhorn et al.,1988) ยังมีรายงานอีกว่า Toltrazuril มีผลในการต้านการพัฒนาภายในเซลล์ใน
4

ระยะต่ า งๆของเชื้ อ นั่ น คื อ schizogony และ gametogoy (Mehlhorn et al,. 1984) ปั จ จุ บั น


Toltrazuril ใช้เป็นยารักษาโรคบิดเท่านั้น
Roxarsone เป็ น สารเคมี ที่ มี ค วามสามารถในการป้ อ งกั น โรคบิ ด ได้ ดี โดยเฉพาะ E.
tenella และจะมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดี ม ากเมื่ อ มี ก ารใช้ ร วมกั น กั บ Ionophores (Chapman et al.,
2004) ตั ว อย่ า งเช่ น การรวมกั น ของ Salinomycin และ Roxarsone กั บ Bacitracin ที่ เ ป็ น ยา
ปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถผสมในอาหารไก่เนื้อเพื่อควบคุมโรคบิดได้ 2 ระยะ คือ อาหารไก่
ระยะแรก (starter) กับ อาหารไก่ระยะที่สอง (grower) และสามารถทำาให้การเจริญเติบโตของไก่
เนื้อดีขึ้นด้วย (Chapman et al., 2002) แต่ปัจจุบันพบว่า Roxarsone ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสารหนูที่
มีความเป็นพิษตำ่า สามารถที่จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปที่มีความเป็นพิษสูงได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้
บริโภค (Hileman B., 2007)
เพื่อลดปัญหาการดื้อยาที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ ผู้เลี้ยงไก่จะต้อง
ใช้กลยุทธ์การหมุนเวียนสลับสับเปลี่ยนการใช้ยา (Shuttle program) หรือใช้ยาต่างกลุ่มกันในการ
เลี้ ย งไก่ แ ต่ ล ะชุ ด (Rotation) หรื อใช้ ย ากลุ่ มหนึ่ ง ในช่ ว งการให้ อ าหารระยะแรก (Starter) และ
เปลี่ยนมาใช้อีกกลุ่มหนึ่งในช่วงการให้อาหารในระยะที่สอง (grower) ส่วนช่วงระยะทีีี่สาม
(finisher) ก็ เ ปลี่ ย นมาใช้ ย าเหมื อ นในช่ ว ง ระยะแรก ก่ อ นจะเข้ า สู่ ช่ ว งระยะหยุ ด ยาต่ อ ไป
(Sangster 2001)
ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาโรคบิดในไก่ทดแทน ได้แก่ Sulfadimethoxine, Amprolium
และ Toltrazuril โดย Amprolium เท่านั้นที่อนุญาตให้ใช้ได้จนถึงระยะออกไข่ในไก่ไข่

2. Polyether ionophores
ยากลุ่มนี้บางชนิดมีผลต่อการเพิ่มนำ้าหนักของตัวไก่ด้วย ยากลุ่มนี้จะมีการออกฤทธิ์ต่อเชื้อ
บิดระยะ Sporozoites ที่จะเข้าเซลล์หรือ trophozoite ระยะแรกเริ่ม โดยไปจับกับ cation ที่สำาคัญ
คือ Na+ K+ และ Ca++ เป็นต้น เกิดเป็น complex พร้อมกับการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่วนผนัง
เซลล์ของ sporozoite หรือ trophozoite ทำาให้ cation complex จากภายนอกเซลล์ สามารถเข้าสู่
ภายในเซลล์ได้ ทำาให้ปริมาณ cation มากกว่าปกติและมีการดึงนำ้าตามมาด้วย ทำาให้เซลล์ของเชื้อ
แตกออก ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ Salinomycin, Narasin, Monensin, Lasalocid, Maduramicin และ
Semduramicin
มีการใช้ยาในกลุ่มนี้ เช่น Salinomycin, Narasin และ Monensin ร่วมกับ วัคซีนเชื้อเป็น
ชนิดรุนแรง (Nobilis® COX ATM) ซึ่งสามารถป้องกันโรคบิดได้รวมทั้งโรคลำาไส้อักเสบ (Necrotic
enteritis) ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ สามารถป้องกันการเกิดโรคบิดได้ (เนื่องจากวัคซีนทำาจากเชื้อที่มี
ความรุนแรง) ก่อนช่วงระยะเวลาที่ระบบภูมิคุ้มกันจะพัฒนาได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพใน
5

การป้องกันโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น โรคลำา ไส้อักเสบ เนื่องจากคุณสมบัติของ Ionophores


(Chapman et al., 2002; Vermeulen et al., 2000ab)

3. Drug combination
เนื่องจากการใช้ยาในกลุ่ม Synthetics บางชนิดอาจมีฤทธิ์ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
รวมทั้งกลุ่ม Ionophores เช่นกัน เพื่อทำา ให้การดื้อยาของเชื้อบิดเกิดช้าลง จึงได้มีการผสมยา 2
ชนิดเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีการลดขนาดของยาแต่ละชนิดลงและจะเป็นการขยายขอบเขตการออก
ฤทธิ์ของยาด้วย ยาในกลุ่มนี้ ได้แก่
1) Amprolium และ Ethopabate 2) Narasin และ Nicarbazin
3) Miduramicin และ Nicarbazin 4) Clopidol และ Methylbenzoquate

สำา หรับประเทศไทยนั้นได้ออกพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ โดยกำา หนด


ระยะงดใช้ยาป้องกันโรคบิดก่อนส่งโรงฆ่าเพื่อบริโภคไม่น้อยกว่า 5 วัน ซึ่งมีเงื่อนไขการใช้ คือ ห้าม
ใช้ในไก่ไข่อายุเกิน 16 สัปดาห์

วัคซีนโรคบิด (Vaccine against Eimeria parasites)


มีความรู้ความเข้าใจกันว่า ไก่ที่ได้รับเชื้อบิดในปริมาณเล็กน้อยเป็นเวลาติดต่อกัน 2-3
ครั้งนั้น สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไก่ต่อโรคบิดได้ ดังนั้นจึงมีความคิดเห็นว่าการ
ใช้วัคซีนน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการป้องกันโรคบิด ด้วยเหตุนั้นจึงเริ่มมีการใช้วัคซีน
ชนิด live vaccine ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ ซึ่งการผลิตวัคซีนนี้เป็นพื้นฐานมาจากความรู้ใน
เรื่องระบบภูมิคุ้มกัน ที่จะพัฒนาหลังจากได้รับเชื้อบิดไปในครั้งแรกในไก่ (Williams 2002) และ
เนื่องจากปัญหาการดื้อยาต้านบิดข้ามชนิดในยากลุ่มเดียวกัน (Cross contaminate) ที่เพิ่มมาก
ขึ้นด้วย

1. Virulent Oocyst Vaccine


วัคซีนเชื้อเป็นชนิดรุนแรง ทำาจากเชื้อที่มีความรุนแรงเป็นปกติ ทำาจากเชื้อบิดที่ไม่เคยได้รับ
ยาใดเลย มักประกอบไปด้วยเชื้อบิดหลายชนิดในวัคซีน 1 ตัวขึ้นกับสูตรและขอบเขตในการใช้
(Lee, 1987)
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ให้ผลเทียบเท่าหรือมากกว่าการป้องกันหรือรักษาด้วยยา เมื่อให้
ในรูปของเจลในลูกไก่อายุ 1 วัน โดยวิธีการนี้รับรองด้วยผลของจำา นวน oocyst ที่ได้ให้ยาและ
วัคซีนในช่วงเวลาเดียวกัน (Danforth et al., 1997a) ส่วนข้อเสียของวัคซีนชนิดนี้ คือ มีความเสี่ยง
6

ที่จะทำาให้เกิดเชื้อบิดที่ไม่ต้องการแพร่กระจายออกไปในสิ่งแวดล้อมได้ คือ สามารถที่จะก่อโรคบิด


ในไก่ได้ด้วย ตัวอย่างวัคซีน ได้แก่
Coccivac®D เป็น virulent oocyst vaccine ชนิดแรกที่ผลิตออกมาจำาหน่าย จดทะเบียนครั้งแรก
ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.1952) ประกอบด้วยเชื้อบิดทั้งหมดของไก่ 8 ชนิด คือ E. tenella, E.
acervulina, E.maxima, E.necatrix, E.brunetti, E. mivati, E.hagani และ E.praecox ไม่ มี
เพียงชนิดเดียว คือ E. mitis ซึ่งในวัคซีนไม่ได้บอกรายละเอียดจำานวน oocyst ของเชื้อแต่ละชนิด
ไว้ และอายุของลูกไก่ที่เหมาะสมในการทำาวัคซีน คือ 1-14 วัน ให้โดยการหยอดตา ผสมนำ้า ผสม
อาหาร หรือฉีดพ่น เหมาะสำา หรับลูกไก่ breeders หรือลูกไก่ไข่ที่ต้องการเลี้ยงบนพื้นตลอด แต่
ปัจจุบันนี้เริ่มใช้สำาหรับลูกไก่ไข่ขึ้นกรงสำาหรับออกไข่ (battery)ด้วย
Coccivac®B เป็ น virulent oocyst vaccine จดทะเบี ย นครั้ ง แรกที่ ป ระเทศสหรั ฐ อเมริ ก า
(ค.ศ.1952) เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยเชื้อบิด 4 ชนิด คือ E. tenella, E.maxima, E. acervulina
และ E. mivati เหมาะสำา หรับใช้กับไก่เนื้อ ในกรณีที่ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาการตกค้างของยา
ต้านบิด หรือการแทนที่เชื้อบิดที่เกิดการดื้อยาต่อยาต้านบิด อายุของลูกไก่ที่เหมาะสมในการทำา
วัคซีน คือ 1-14 วัน โดยให้ผ่านทางการหยอดตา ผสมนำ้า ผสมอาหาร หรือฉีดพ่น
Immucox®I เป็น virulent oocyst vaccine จดทะเบียนครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา (ค.ศ.1985)
ประกอบด้วยเชื้อบิด 4 ชนิด คือ E. tenella, E. acervulina, E.maxima และ E.necatrix อายุของ
ลูกไก่ที่เหมาะสมในการทำา วัคซีน คือ 1-4 วัน ให้โดยการผสมนำ้า หรือหยอดปาก บริ ษัท ที่ผลิ ต
แนะนำาให้ใช้ในไก่เนื้อ ในประเทศไทยสามารถนำาวัคซีนนี้มาใช้ในไก่ทดแทนได้ดี
Immucox®II เป็น virulent oocyst vaccine จดทะเบียนครั้งแรกที่ประเทศแคนาดา (ค.ศ.1985)
เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยเชื้อบิด 5 ชนิดคือ E. tenella, E. acervulina, E.maxima, E.brunetti
และ E.necatrix เหมาะสำา หรับลูกไก่ broiler breeder หรือลูกไก่ไข่ที่ต้องการเลี้ยงบนพื้นตลอด
หรือขึ้นกรงสำาหรับออกไข่ด้วย อายุของลูกไก่ที่เหมาะสมในการทำา วัคซีน คือ 1-4 วัน ให้โดยการ
ผสมนำ้า หรือหยอดปาก
Advent® เป็นวัคซีนตัวใหม่ที่ผลิตขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ให้โดยการหยอดปากหรือฉีดพ่น
ผสมอาหารก็ได้ มีความน่าเชื่อถือเนื่องจากมีจำานวนของ sporulated oocysts ที่แน่นอนในการให้
ในแต่ละครั้ง มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคและมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

2. Attenuated Oocyst Vaccine


วัคซีนเชื้อเป็นชนิดอ่อนแรง เป็นวัคซีนชนิดที่มีความรุนแรงน้อย
7

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ ทำาให้เกิดการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม ซึ่งทำาให้เกิด


ความเสียหายต่อเนื้อเยื่อน้อยที่สุด (Williams, 1994) ซึ่งข้อดีหลักของการใช้วัคซีนเชื้อเป็นชนิด
อ่อนแรง คือ ไม่ทำาให้เชื้อเกิดการดื้อยา (Williams, 1992)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) Precocious line vaccine เป็นวัคซีนที่ได้จากการ infect เชื้อบิดเข้าไปในไก่ตามปกติ และเก็บ
oocyst ที่ได้มาโดยเลือก oocyst ที่มีระยะก่อนปรากฏสั้นกว่าปกติ เพราะจะเกิด mutation ในเชื้อ
บิดบางกลุ่มซึ่งจะไปลดจำานวนรอบของการเจริญในระยะไม่มีเพศ (Schizogony cycle) หรือมีการ
เจริญทีใ่ ห้ schizont มีขนาดเล็กลงและมีการเจริญที่เร็วขึ้น ถ้านำา oocyst ดังกล่าว passage เข้าสู่
ไก่ต่อไปเรื่อยๆ จะทำาให้ระยะก่อนปรากฏสั้นลงเรื่อยๆ จนถึงระยะหนึ่งก็จะคงที่และมีคุณสมบัติที่
จะนำา มาทำา วัคซีนได้ ซึ่งวัคซีนนี้มีการใช้กันในประเทศแถบทวีปยุโรป เพราะไม่ก่อโรคแม้ว่าจะมี
ต้นทุนในการผลิตสูงกว่าวัคซีนเชื้อเป็นชนิดรุนแรงที่สามารถก่อโรคได้
2) Chick embryo attenuated vaccine เป็นวัคซีนที่ได้จากการฉีด sporozoite ของเชื้อบิด เข้าไป
ในไข่ฟัก (Chick embryo) หลายๆครั้ง จนเชื้อบิดอ่อนกำาลังลงแล้วจึงนำามาทำาเป็นวัคซีน
ตัวอย่างวัคซีน ได้แก่
Livacox® เป็ น attenuated oocyst vaccine ประกอบด้ ว ยเชื้ อ บิ ด 3 ชนิ ด คื อ E. tenella,
E.maxima แ ล ะ E. acervulina โ ด ย E. tenella เ ป็ น chick embryo attenuated สำา ห รั บ
E.maxima และ E. acervulina เป็น precocious line (Bedrnik, 1989) เหมาะสมในการใช้กับไก่
เนื้อ อายุของลูกไก่ที่เหมาะสมในการทำาวัคซีน คือ 1-10 วัน ให้โดยผสมนำ้าหรือหยอดตา
Paracox® เป็ น Precocious line vaccine จดทะเบี ย นครั้ ง แรกที่ ป ระเทศเนเธอร์ แ ลนด์
(ค.ศ.1989) ประกอบด้วยเชื้อบิด 7 ชนิด คือ E. tenella, E. acervulina, E.maxima, E.necatrix,
E.brunetti, E. mitis และ E.praecox (Shirley and Millard 1986; Shirley 1989; Williams 1992)
เหมาะสำาหรับลูกไก่ breeders หรือลูกไก่ไข่ที่ต้องการเลี้ยงบนพื้นตลอดหรือขึ้นกรงสำาหรับออกไข่
ด้วย อายุของลูกไก่ที่เหมาะสมในการทำา วัคซีน คือ 1-9 วัน ให้โดยผสมกับนำ้า หรืออาหาร ยังไม่มี
การใช้ในประเทศไทย

3. Live, tolerant to Ionophores Vaccine


เป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยทำา มาจากเชื้อบิดที่มีความทนทานต่ อ
Ionophores วัคซีนที่ใช้ทดลองประกอบไปด้วย เชื้อ E. tenella, E. acervulina และ E.maxima
โดยเชื้ อ มี ส่ ว นที่ มี ค วามทนทานต่ อ Salinomycin ที่ เ คยมี ก ารใช้ ใ นประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า
(Danforth, 2000) โ ด ย ส า มา รถ ใ ช้ วั ค ซี น ร่ ว ม กั บ Ionophores ไ ด้ (Nobilis® COX ATM)
8

(Schetters et al. 1999) มีรายงานการใช้ Nobilis® COX ATM ร่วมกับ Narasin ซึ่งให้ผลเป็นที่
น่าพอใจในการป้องกันไก่ติดเชื้อบิด (Vermeulen et al. 2000ab)
ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ คือ สามารถใช้ร่วมกับ Ionophores ได้ในช่วง 3-4 สัปดาห์แรกที่
ระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ การใช้ในลักษณะนี้จะจำา กัดการเพิ่มจำา นวนในการติดเชื้อ
เนื่องจากการเพิ่มจำานวนของเชื้อที่มากขึ้น ในช่วงระหว่างที่มีการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะไป
ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค (Vermeulen et al. 2001) ดังนั้น วัคซีนชนิดนี้ก็สามารถที่จะนำา
มาใช้ป้องกันโรคบิดได้รวมทั้งโรคลำาไส้อักเสบด้วย

4. Subunit Vaccine
วัคซีนที่เตรียมจากบางส่วนของบางระยะของเชื้อบิด นำา มาฉีดเข้าไก่ สามารถที่จะสร้าง
ภูมิคุ้มกันได้ ตัวอย่างวัคซีน ได้แก่
CoxAbic® เป็ น subunit vaccine ที่ เ ตรี ย มจาก gametocyte ของ E.maxima (APGA, affinity
purified gametocyte antigens) โดยผสมกั บ Freund adjuvant ใช้ ฉี ด เข้ า กล้ า มเนื้ อ ของแม่ไ ก่
broiler breeder ครั้ ง ละ 0.5 มล. จำา นวน 2 ครั้ ง เมื่ อ อายุ 17-18 สั ป ดาห์ และ 21-22 สั ป ดาห์
ภู มิ คุ้ ม กั น จะผ่ า นไข่ ไ ปยั ง ลู ก ไก่ ไ ด้ (Maternal (Passive) Immunity) (Wallach, 2002) และ
สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อ E. tenella, E. acervulina และ E.maxima โดยดูได้จากปริมาณของ
oocyst ที่ ล ดลงถึ ง 50% ซึ่ ง ผลของการป้ อ งกั น โรคบิ ด จะคล้ า ยคลึ ง กั บ การให้ ย าป้ อ งกั น ด้ ว ย
Polyether ionophores antibiotics วั ค ซี น ชนิ ด นี้ ยั ง ไม่ มี ก ารจำา หน่ า ยในประเทศไทย ส่ ว นต่ า ง
ประเทศก็มีการใช้แค่ในบางประเทศเท่านั้น

5. Recombinant Vaccine
เนื่องจากมีปัญหาเรื่องการดื้อยาต้านบิดเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ และการผลิต
live vaccine มีราคาสูง งานวิจัยหลายชิ้นจึงมุ่งเน้นไปที่การทำา recombinant vaccine ที่เป็นทาง
เลือกใหม่ในการควบคุมโรค แม้ว่าจะมีงานวิจัยมานานกว่า 10 ปี แต่ว่าก็ยังไม่มีการใช้ในทางการ
ค้า ซึ่งอุปสรรคสำา คัญในการพัฒนาวัคซีนชนิดนี้ คือ ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถป้องกันบิดข้าม
species ได้ ส่วนปัจจัยอื่นที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาวัคซีนก็มีการรายงานเมื่อเร็วๆนี้ (Jenkins
M.C. 1998 และ Vermeulen A.N. 1998) คือ การจำาแนกชนิดแอนติเจนที่จะใช้ในการป้องกันโรค
บิด ซึ่งมีแอนติเจนอยู่จำานวนมากที่ถูกนำามาใช้ในการทดลอง ทั้งที่เป็นโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบ
โครงสร้ า งภายนอกและภายในของเชื้ อ เช่ น micronemes (Tomley et al. 1996), rhoptries
(Tomley F.M. 1994) และ refractile bodies (Vermeulen et al. 1994) เป็นต้น อีกทั้งมีรายงาน
การใช้ แ อนติ เ จนที่ มี นำ้า หนั ก โมเลกุ ล ตำ่า ร่ ว มกั บ โปรตี น ที่ มี ค วามเป็ น แอนติ เ จนที่ ดี ก ว่ า
(immunodominant epitope) ที่ พ บอยู่ ใ นทุ ก ระยะของ E. tenella ด้ ว ย ซึ่ ง แอนติ เ จนในระยะ
9

sporozoites, merozoites และ gamete ก็พบว่ามีความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่หลาก


หลาย
Recombinant vaccine ที่ป้องกันโรคบิดในไก่เป็นวัคซีนที่พัฒนาจากการตัดต่อพันธุกรรม
เพื่อฝากยีนที่สร้างแอนติเจนจากเชื้อบิด ไปใส่ไวในส่วนจีโนม (genome) ของ biological vector
ได้แก่ เชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ไม่มีความสามารถในการก่อโรคในโฮสต์ แต่มีความสามารถที่จะติด
เข้ า สู่ โ ฮสต์ แ ละเพิ่ ม จำา นวนภายในโฮสต์ นั้ น ได้ เช่ น Escherichia coli, Salmonella enterica
serovar Typhimurium, Poxvirus, fowlpox virus แ ล ะ Turkey herpesvirus เ มื่ อ ใ ห้
recombinant vector เข้าไปในโฮสต์ มันก็จะทำา การสร้างโปรตีนและเพิ่มจำานวนภายในโฮสต์ ซึ่ง
ในขณะเดียวกันก็จะสร้างแอนติเจนขึ้นภายในตัวไก่ที่ได้รับวัคซีนนั้นด้วย
โดยเพี ย งส่ ว นน้ อ ยของแอนติ เ จน (E. tenella) ในวั ค ซี น เท่ า นั้ น ก็ ส ามารถที่ จ ะกระตุ้ น
ภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งดูจากจำา นวน T-cell ที่เพิ่มมากขึ้น การสร้าง IFN-gamma และการทำา งานของ
activated macrophage ด้วย อีกทั้งยังพบว่า คะแนนรอยโรคในไส้ตันลดลงหลังจากมีการให้ติด
เชื้อซำ้า (Breed et al., 1997)

การกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านไข่ฟัก (In Ovo technology)


Webber และ Evanst ในปี 2003 ได้ทำาการศึกษาเกี่ยวกับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการ
ฉีด sporozoites, sporocysts และ oocysts ของ E. tenella ในไข่ไก่อายุ 18 วัน ในจำานวนที่แตก
ต่างกันและทำา การให้ sporulated oocysts ซำ้า โดยให้ผ่านทางปากเพื่อดูการตอบสนองต่อระบบ
ภูมคุ้มกันในสัปดาห์ที่ 2 ในไก่ที่เลี้ยงบน wire และสัปดาห์ที่ 3 ในไก่ที่เลี้ยงใน litter หลังจากฟัก
ออกมาจากไข่ พบว่ามีรอยโรคที่ไส้ตันลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้นโดยการ
ฉีด sporozoites, sporocysts และ oocysts ของ E. tenella ในไข่ไก่อายุ 18 วัน นอกจากนี้ผลที่
ได้พบว่าจำานวนของ sporozoites, sporocysts และ oocysts ที่ให้ในระดับที่แตกต่างกันมีผลต่อ
การเกิดรอยโรคที่ไส้ตันด้วย แต่ผลต่อนำ้าหนักตัวของไก่นั้นยังเป็นที่ทราบไม่แน่ชัด
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ในอนาคตที่จะนำา Eimeria oocysts มาใช้ในการทำาเป็นวัคซีน
กระตุ้ น ภู มิ คุ้ ม กั น โรคบิ ด ผ่ า นไข่ ไ ก่ อี ก ทั้ ง เป็ น การยื น ยั น ผลงานวิ จั ย ของ Provaznikova และ
Bedrnik ในปี 1997 ทีก่ ระตุน้ ภูมิคุ้มกันไก่ด้วย sporozoites ของ E. tenella

Ding และคณะในปี 2004 ศึก ษาการป้อ งกั น การติ ด เชื้ อ Eimeria acervulina โดยให้
recombinant subunit vaccine และ cytokine genes กระตุ้ น ภู มิ คุ้ ม กั น ผ่ า นไข่ ฟั ก มี ก ารใช้
purified recombinant protein จาก E. acervulina (3-1E) มาฉี ด ทั้ ง แบบเดี่ ย วและรวมกั น กั บ
plasmid ที่มียีนของ อินเตอร์ลิว คิน (Interleukin) ได้แก่ IL-1, IL-2, IL-6, IL-8, IL-15, IL-16, IL-
10

17, IL-18 และ แกมมา อินเตอร์เฟียรอน (IFN-gamma) พบว่า การใช้ 3-1E เดี่ยวๆในขนาด 100
และ 500 ไมโครกรัม ช่วยลดปริมาณ oocysts ที่ปนออกมากับอุจจาระเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ให้
และการให้ 3-1E พร้อมกับยีนของ IL-1, IL-15, IL-16 หรือ IL-17 จะมีการตอบสนองของระบบ
ภูมิคุ้มกันโดยดูจากแอนติบอดีในซีรั่มที่มีค่าสูงกว่าการให้ 3-1E อย่างเดียว
ไก่ที่ฉีดวัคซีนได้รับ Oocysts ของ E. acervulina หลังฟักเป็นเวลา 14 วัน ถูกประเมินด้วย
จำานวน oocysts ที่ปนออกมากับอุจจาระและนำ้าหนักตัว พบว่าไก่ที่ฉีดวัคซีนด้วยโปรตีน 3-1E จะมี
จำานวน oocysts ปนมากับอุจจาระน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและมีนำ้า หนักเป็นปกติ ส่วนไก่ที่
ได้รับวัคซีน 3-1E พร้อมกับยีนของ IL-2, IL-15, IL-17, IL-18 หรือ IFN-gamma พบว่ามีปริมาณ
oocysts น้อยกว่ากลุ่มที่ได้ 3-1E กระตุ้นเพียงอย่างเดียว
ดังนั้น จากผลการทดลองที่ได้จึงเป็นสิ่งที่แสดงได้ว่า การกระตุ้นภูมิคุ้มกันผ่านไข่ฟักด้วย
โปรตีน Recombinant 3-1E สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันภายในลำาไส้ต่อการติดเชื้อบิดได้ และผลที่
ได้จะดีมากขึ้นเมื่อให้ร่วมกับ ยีนของ cytokine ชนิดต่างๆ

Ding และคณะในปี 2005 ศึ ก ษาการใช้ Eimeria tenella microneme recombinant


gene (EtMIC2) และ encoded protein ที่ จ ะนำา มาทำา เป็ น วั ค ซี น ป้ อ งกั น โรคบิ ด โดยการฉี ด
EtMIC2 gene ลงไปไข่ฟัก พบว่าระดับของ anti-EtMIC2 antibody เพิ่มขึ้น รวมทั้งไก่ที่ได้รับวัคซีน
จะมีการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อบิด E. tenella นอกจากนี้ยังประเมินพบว่านำ้า หนัก
ของไก่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำา คัญและจำา นวน oocysts ที่ออกมาพร้อมกับมูลมีน้อยลง เมื่อเปรียบ
เทียบกับกลุ่มทีไ่ ม่ได้รับวัคซีน การให้วัคซีนด้วย EtMIC2 gene ยังจะสามารถป้องกันการติดเชื้อบิด
E. acervulina ได้ แต่ไม่กับ E. maxima
การให้ ร่ว มกั น ของ DNA vaccine ผ่านไข่ฟั กร่ ว มกั บการให้ EtMIC2 DNAหรื อโปรตี น
EtMIC2 กระตุ้ นหลั งไข่ ฟัก ไม่สามารถทำา ให้ ระดับความเข้ มข้ น ของแอนติ บอดี เ พิ่ มขึ้ น หรื อไม่
สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้เท่ากับการทำาวัคซีนผ่านไข่ฟักเพียงอย่างเดียว
ดั ง นั้ น ผลจากการทดลองที่ ไ ด้ แ สดงว่ า การกระตุ้ น ภู มิ คุ้ ม กั น ผ่ า นไข่ ไ ก่ ฟั ก ด้ ว ย
Recombinant Eimeria microneme gene สามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อบิดได้

เดื อ นเมษายน ค.ศ. 2006 กระทรวงเกษตรของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า (The U.S.


Department of Agriculture, USDA) ได้ ยื น ยั น การใช้ วั ค ซี น Embrex's Inovocox vaccine ที่
สามารถแก้ไขปัญหาโรคบิดในไก่ได้ ซึ่ ง Inovocox(TM) vaccine เป็นวัคซีนตัวใหม่ที่ใช้ กระตุ้ น
ภู มิ คุ้ ม กั น ผ่ า นไข่ ฟั ก (in ovo vaccine) โดยใช้ เ ทคนิ ค AAC Technology (Antigen-Antibody
Complex Technology) ที่ อ นุ ญ าตให้ ผู้ ผ ลิ ต สามารถใช้ ไ ด้ โ ดยกระทำา ภายใต้ ร ะบบ Embrex
Inovoject(R) injection ที่ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ อั ต โนมั ติ ที่ ใ ช้ ใ นการฉี ด วั ค ซี น ในไก่ ข ณะที่ เ ป็ น ไข่ ไ ด้ ถึ ง
11

60,000 ฟองต่อชั่วโมง Inovocox(TM) สามารถนำา ส่งไปยังไก่ได้อย่างปลอดภัย แม่นยำา แน่นอน


และไม่มีความแตกต่างกันภายใต้ระบบที่ได้รับการควบคุม โดย Inovocox(TM) vaccine สามารถ
ให้ร่วมกับวัคซีนชนิดอื่นได้ (combination) เช่น Marek's vaccine

กลยุ ท ธ์ ก ารใช้ วั ค ซี น ในการควบคุ ม ป้ อ งกั น โรคบิ ด (Vaccination strategies against


coccidiosis)

การให้วัคซีนมีความสำา คัญอย่างมาก กรณีการให้วัคซีนที่ต้องผสมนำ้า ให้ไก่ดื่ม มัก พบ


ว่าการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคบิดภายในฝูงนั้น ไม่มีความสมำ่าเสมอ เนื่องจากไก่ได้รับวัคซีนจากการ
ดื่ ม นำ้า ไม่ เ ท่ า กั น ดั ง นั้ น จึ ง มี ก ารให้ วั ค ซี น ซำ้า ในช่ ว งอายุ อื่ น ด้ ว ยวิ ธี ก ารที่ แ ตกต่ า งกั น เช่ น
Coccivac® ให้โดยการฉีดพ่นในลูกไก่อายุ 1 วัน ให้โดยการพ่นผสมลงไปในอาหาร (feed spray)
ในช่วงอายุ 1-3 วัน และให้ผสมนำ้าดื่ม ช่วงอายุ 3-14 วัน ส่วนการให้วัคซีนผสมนำ้าแล้วหยอดให้ไก่
กินเป็นรายตัวนั้น วิธีนี้จะได้ผลดี แต่ต้องแรงงานจำานวนมาก
การที่ไก่ได้รับวัคซีนในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็สามารถก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ กรณีที่
ไก่ได้รับวัคซีนเชื้อเป็นชนิดรุนแรงมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดรอยโรคที่ลำา ไส้ได้ ส่วนการให้
วัคซีนเชื้อเป็นชนิดอ่อนแรงในปริมาณทีไ่ ม่เหมาะสม อาจทำาให้ไก่มีความไวต่อการติดเชื้อบิดได้
สิ่ ง แวดล้ อ มเป็ น ส่ ว นสำา คั ญ ที่ ทำา ให้ โ อโอซิ ส ท์ เ จริ ญ เติ บ โตได้ ดี สามารถฟั ก ตั ว เป็ น
Sporulated oocysts ได้ เมื่อได้รับ ความชื้น อุณหภูมิ และออกซิเจนที่เหมาะสม วัสดุรองนอนนั้น
จึงต้องมีการเปลี่ยนไม่ให้มีการเปียกชื้นมากจนเกินไป หลังจากการทำาวัคซีนไก่จะปล่อยโอโอซิสท์
ออกมาปนเปื้อนวัสดุรองนอน และไก่ก็จะจิกกินโอโอซิสท์เหล่านี้อีกครั้ง (Second cycle) ซึ่งจะ
ทำาให้เกิดการป้องกันต่อเชื้อบิดได้ดีขึ้น
การให้วัคซีนกระตุ้นซำ้านั้นปกติมักไม่มีการทำากัน ในไก่เนื้อที่มีวงจรชีวิตสั้นมักไม่มีการให้
วัคซีนกระตุ้นซำ้า เนื่องจากการได้รับเชื้อบิดซำ้า เป็นไปได้ยากและเป็นการสิ้นเปลืองด้วย ส่วนไก่
ทดแทนทั้งไก่ไข่ระยะก่อนขึ้นกรงตับและไก่พันธุ์ที่เลี้ยงบนพื้นตลอดชีวิตนั้น มักให้ความสำาคัญเป็น
อย่างมากในการสร้างภูมิคุ้มกัน เนื่องจากโอกาสการเกิดโรคบิดมักเกิดได้มากกว่า 1 ครั้งขึ้นไป

ความก้าวหน้าในเรื่องการใช้สารชีวภาพเพื่อให้ เกิ ดการตอบสนองต่ อ ระบบ


ภูมิคุ้มกันในการควบคุมป้องกันโรคบิด (Recent advances in immunomodulation against
coccidiosis)

ผลิตผลจากธรรมชาติที่นำา มาเป็นอาหารเสริมในไก่มีการใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อการ
เจริญเติบโตและทำาให้มีสุขภาพดี มีการประมาณกันว่าจำานวนผลิตผลจากธรรมชาติที่นำามาใช้ใน
12

การกระตุ้นภูมิคุ้มกันไก่มีมากถึง 200-300 ชนิด โดยมากมาจากพืชและเชื้อรา ที่มีส่วนประกอบ


จำา พวก polysaccharides, glycosides, alkaloids, volatile oils และ organic acids จากการ
ศึกษาของ Xue และ Meng ในปี 1996 พบว่า polysaccharides เป็นส่วนที่มีความสำา คั ญ มาก
เนื่องจากมีหน้าที่เป็นตัวเพิ่มภูมิคุ้มกัน (Immunomodulators) และส่วนประกอบอื่นๆก็มีหน้าที่เป็น
ตัวยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย รวมทั้งยังมีผลต่อทั้ง innate และ adaptive immunity ด้วย
มี ก ารใช้ เ ห็ ด บางชนิ ด และ polysaccharide ของสมุ น ไพรบางอย่ า งเป็ น อาหารเสริ ม หรื อ เป็ น
vaccine adjuvant ที่สามารถป้องกันแบคทีเรีย ราและพยาธิได้
จากการศึกษาของ Guo และคณะในปี 2004 พบว่า polysaccharides ที่สกัดจากเห็ด 2
ช นิ ด คื อ Lentinus edodes (LenE) แ ล ะ Tremella fuciformis (TreF) กั บ ส มุ น ไ พ ร คื อ
Astragalus membranaceus (AstE) ที่ให้เป็นอาหารเสริมในไก่มีผลอย่างมากในการเหนี่ยวนำา
การตอบสนองต่อการติดเชื้อ E. tenella โดยการเพิ่มทั้ง cellular และ humoral immunity
แหล่งของไขมันที่มีความเข้มข้นของ n-3 fatty acids ในปริมาณสูง (Docosahexaenoic
acid, Eicosapentaenoic acid และ Linolenic acid) เช่น นำ้า มันตับปลา นำ้า มันเมล็ดป่าน และ
เมล็ดป่าน เมื่อให้ในอาหารระยะแรกและเริ่มให้ในไก่อายุ 1 วัน พบว่ามีรอยโรคลดลงหลังจากการ
ติดเชื้อบิด E. tenella แต่ไม่ใช่กับ E. maxima (Allen et al., 1997)
สมุนไพรจีน Artemesia annua ที่นำา มาสกัดได้เป็นสาร Arteminisin ที่มีผลในการลดลง
ของ oocysts ของเชื้ อ บิด E. tenella และ E. acervulina เมื่อให้ในขนาด 8.5 และ 17 ppm ใน
อาหารไก่ระยะแรก (Allen et al., 1997) โดยมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการ oxidative stress
วิตามินเอ มีส่วนสำา คัญในการเปลี่ยนแปลง Epithelial cells และมีความจำา เป็นต่อการ
รักษาสภาพของ mucosal surface (Chew and Park, 2004) การขาดวิตามินเอ จะทำาให้ตัวโฮสต์
มีความไวต่อการติดเชื้อบิดมากขึน้ (Chew 1995; Dalloul et al. 2002)
เบทาอีน (Betaine) เป็นอาหารเสริมอีกตัวหนึ่งที่เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน ซึ่งพบว่าเป็น
สารที่มีศักยภาพในการต้านทานโรคบิด โดยพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ได้กำาหนด
ระดับตำ่าสุดที่ใช้ผสมอาหารสัตว์สำาเร็จรูปไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม
สารเสริมชีวนะ (Probiotics) เป็นผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์หรือจุลินทรีย์ซึ่งใช้เป็นอาหารได้
โดยตรงหรือใช้เป็นอาหารเสริม จุลินทรีย์ในอาหารสัตว์ไปกดการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อ
ให้ เ กิ ด โรคในไก่ ร วมทั้ ง Eimeria ด้ ว ย (Dalloul et al., 2003ab) อี ก ทั้ ง ยั ง รั ก ษาสมดุ ล ของ
จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร และช่วยกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของไก่ ให้
ต้านทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค มีการศึกษาเป็นอย่างมากในเรื่องการนำา Lactobacillus มาเป็น
สารเสริ ม ชี ว นะในการกระตุ้ น ภูมิ คุ้ มกั น ในไก่ เ นื้ อ และมี ค วามสามารถในการต้ า นทานต่ อ E.
acervulina (Dalloul et al. 2003ab และ Lillehoj et al. 2003)
13

การใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือสารชีวภาพมาเป็นอาหารเสริมในอาหารสัตว์นั้น เป็นอีก
แนวทางหนึ่ ง สำา หรั บ การพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมอาหารสั ต ว์ เพราะในปั จ จุ บั น การใช้ ย า
ปฏิชีวนะ (Antibiotic) ผสมในอาหารสัตว์นั้นก่อให้เกิดปัญหามาก เช่น การดื้อยาของสัตว์ สาร
ตกค้างในเนื้อสัตว์ ดังนั้น การเลือกใช้สารชีวภาพเสริมในอาหารสัตว์น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า แต่ในทาง
ปฏิบัติจริงนั้น พบว่ายังมีผู้ใช้สารชีวภาพเสริมผสมในอาหารสัตว์น้อยมาก อาจจะเป็นเพราะเห็น
ผลช้ากว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ และบางครั้งการใช้สารชีวภาพมาเสริมก็ไม่ให้ผลชัดเจนเหมือนดังผล
ทดลองที่ได้ ดังนั้น การพัฒนาการใช้สารชีวนะเสริมในอาหารสัตว์ จึงมีความสำาคัญและควรมีการ
ศึกษาต่อไปในอนาคต

แนวทางการควบคุมป้องกันโรคบิดในอนาคต

วั ค ซี น เชื้ อ เป็ น (Live vaccine) จะยั ง คงมี ใ ช้ ใ นการควบคุ ม ป้ อ งกั น โรคบิ ด ในไก่ อ ยู่ ใ น
อนาคต แต่ มี ค วามเป็น ไปได้ ม ากที่ จ ะนำา เทคโนโลยี ก ารกระตุ้ น ภู มิ คุ้ ม กั น ผ่ า นไข่ ฟั ก (In Ovo
vaccination) คื อ ฉี ด วั ค ซี น ผ่ า นทางไข่ ม าเป็ น ทางเลื อ กใหม่ ใ นการป้ อ งกั น โรค ในประเทศ
สหรัฐอเมริกาที่ยังคงพื้นที่ที่มีความสนใจในการพัฒนาวัคซีน แม้ว่าการฉีด sporocysts เข้าไปใน
ไข่ไก่ฟักโดยตรงจะเป็นวิธีทไี่ ม่ค่อยนิยมปฏิบัติก็ตาม
การพัฒนา Subunit vaccine และ Recombinant vaccine ยังคงมีการดำา เนินต่อไป แม้
จะมีการนำาไปใช้จริงในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่น้อยมากก็ตาม ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้มีข้อดี คือ ไม่มี
การนำาเชื้อบิดเข้ามา และ vector ที่ใช้มีความปลอดภัยและเคยมีการนำามาใช้ในวัคซีนเป็นประจำา
อยู่แล้ว และอาจมีการพัฒนาเป็นวัคซีนที่สามารถป้องกันเชื้อบิดข้ามสายพันธุ์ได้ แม้ว่าปัจจุบันจะ
ยังไม่ทราบแน่ชัดในสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำาให้ไม่สามารถป้องกันบิดข้ามสายพันธุ์
ส่วนการผลิตยาต้านบิดหรือยารักษาโรคบิดตัวใหม่ๆขึ้นมานั้น พบว่ามีปริมาณน้อยมาก
เนื่องจากจะต้องผ่านการอนุมัติจาก FDA (Food and Drug Administration) ซึ่งมีความเข้มงวด
มาก อีกทั้งการพัฒนายาตัวใหม่ขึ้นมานั้นต้องใช้จำานวนเงินมหาศาลด้วย ดังนั้น ยาต้านบิดหรือยา
รักษาโรคบิดที่จะผลิตออกมาใหม่นั้น ต้องมีคุณสมบัติป้องกันโรคจากเชื้อบิดได้ทุกชนิด เพิ่มนำ้า
หนักได้ดี มีอัตราการแลกเนื้อที่ดีขึ้น สามารถที่จะผสมกับวัตถุดิบ ยา หรือส่วนประกอบในอาหารที่
ให้ไก่กินได้ดี โดยไม่ตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะปลอดภัยต่อผู้บริโภค อีกทั้งยังต้องมีความคงตัวอยู่
ในอาหารที่ผสมได้นาน สามารถตรวจสอบถึงปริมาณของยาได้
สำา หรั บ ประเทศไทยนั้ น เริ่ ม มีแ นวโน้ มการใช้วั ค ซี น เชื้ อ เป็น เพิ่ ม มากขึ้ น ในการเลี้ ย งไก่
ทดแทนและไก่เนื้อในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ ส่วนอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ขนาดเล็ก
ยังคงเน้นไปในเรื่องการจัดการที่เหมาะสม ร่วมกับการใช้ยาป้องกันและรักษาโรคบิด
14

You might also like