You are on page 1of 101

โลกาภิวัตน์และการเมืองสมัยโบราณ

ย่ำ�เยือนเรือนสมเด็จพระนารายณ์
ต้นเดือนธันวาคม 2549 ผู้เขียนและเพื่อนอีก
2 คน ได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองเก่าในลพบุรีกับศูนย์มานุษยวิทยา
สิรินธร โดยมีอาจารย์ปรีดี พิศภูมิวิถี นักศึกษาปริญญาเอกสาขา
ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพอร์โต โปรตุเกส ซึ่งปัจจุบันสอนอยู่ที่
มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวิทยากรนำ�เทีย่ ว ทริปทีเ่ ราไปเป็นส่วนหนึง่
ของโครงการ “วัฒนธรรมสัญจร” ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ซึ่ง
วันที่เราไปจัดเป็นครั้งที่ 16 แล้ว เนื่องจากผู้เขียนและเพื่อนๆ ได้
รับความประทับใจจากทริปนี้มากมาย

ก็ขอโฆษณาตรงนีก้ อ่ นเลยว่า โครงการนีเ้ ป็นทัวร์ประวัตศิ าสตร์


ทีส่ นุกสนาน ทัง้ สมองและท้องได้เต็มอิม่ กับความรูอ้ นั น่าทึง่ ของ
อาจารย์ ข้าวกลางวันอร่อยๆ และขนมตลอดการเดินทาง ใน
สนนราคาเพียงคนละ 950 บาทเท่านัน้ ใครทีส่ นใจเชิญติดตาม
กำ�หนดการ “วัฒนธรรมสัญจร” ครัง้ ต่อๆ ไป ได้จากเว็บไซต์ของ
ศูนย์ฯ ที่ http://www.sac.or.th/
2
ใครที่ ช อบดู วั ด ดู วั ง และคิ ด ว่ า
อยุ ธ ยาและสุ โ ขทั ย เป็ น ‘เมื อ ง
โบราณ’ เพียงสองเมืองในประเทศ
ไทยที่ น่าเที่ ยว ขอแนะนำ � ให้ ล อง
ไปเยือนเมืองลพบุรี กำ�แพงเพชร
และพิ ษ ณุ โ ลกดู เพราะยั ง มี ข อง
สวยๆ งามๆ ตัง้ แต่สมัยก่อนอยุธยา
หลงเหลืออยู่อีกมาก

ใครที่เคยไปลพบุรีแล้วแต่ไม่เคยไป
เยือน ‘เมืองเก่า’ ในจังหวัด ขอแนะนำ�ให้ลองไปเที่ยวดูเป็นการ
เปลี่ยนบรรยากาศ แทนที่จะไปดูลิงที่เขาวัง ถ่ายรูปทุ่งทานตะวัน
เที่ยวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หรือนมัสการเจ้าพ่อพระกาฬเพียงเท่านั้น
แล้วก็กลับ

เพราะถ้าไม่ไปเยือนเมืองเก่าในลพบุรีตอนนี้ อีกไม่เกิน 10 ปี
อาจไม่มีอะไรเหลือให้ดูแล้ว เพราะรัฐบาลไทยที่ผ่านมาไม่เคยให้
ความสำ�คัญกับโบราณคดีอย่างจริงจัง กรมศิลปากรไม่เคยมีกำ�ลัง
คนกำ�ลังทรัพย์ และกำ�ลังความรู้เพียงพอที่จะอนุรักษ์โบราณสถาน
อันล้ำ�ค่าเหล่านี้ให้เป็นบุญตาลูกหลาน มิหนำ�ซ้ำ�ยังต้องเผชิญกับ
ปัญหาทีร่ า้ ยแรงทีส่ ดุ นัน่ คือการกระทำ�ย่�ำ ยีของคนไทยด้วยกันทีไ่ ม่รู้
คุณค่าของประวัติศาสตร์ส่วนรวม เพราะไม่ว่ากรมศิลปากรและ
ตำ�รวจจะทำ�งานหนักเพียงใด ก็ดูเหมือนจะไม่มีทางตามทัน ‘มาร
3
ศาสนา’ ทั้งหลาย ที่ชอบตัด ขูด และเลื่อยพุทธศิลปะจากวัดเก่าแก่
ไปขายต่อให้กับเศรษฐีนักสะสมทั้งไทยและเทศ รวมทั้งร้านอาหาร
หรือโรงแรมที่เห็นพุทธศิลปะโบราณเป็นเพียง ‘ของตกแต่ง’ ที่ดูดีมี
ระดับพอที่จะดึงดูดลูกค้าเท่านั้น

สื่อมวลชนและคนทั่วไปมักจะพุ่งเป้าการประณามไปที่แก๊ง
ทำ�ลายพุทธศิลปะ แต่หลักเศรษฐศาสตร์พนื้ ฐานสอนเราว่า ถ้าไม่มี
คนซื้อ ก็ย่อมไม่มีคนขาย หรือที่สุภาษิตโบราณเรียกว่า ‘ตบมือข้าง
เดียวไม่ดัง’

คนจนทีห่ ากินแบบ ‘มักง่าย’ กับพุทธศิลปะโบราณน่าประณาม


ก็จริง แต่เศรษฐีที่เช่าพุทธศิลปะเหล่านั้นไปเพื่อประดับบารมีหรือ
สนองตัณหาส่วนตัว ก็น่าประณามไม่น้อยไปกว่ากัน หรืออาจจะ
มากกว่าด้วยซ้ำ� เมื่อคำ�นึงว่าการนำ�พุทธศิลปะไปประดับบ้านนั้น
เป็น ‘ความฟุ่มเฟือย’ ที่ไม่จำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิตเลยแม้แต่น้อย
ในขณะที่หัวขโมยบางคนตัดเศียรพระเพียงเพื่อเอาตัวรอด แม้รู้ว่า
ไม่ใช่อาชีพสุจริตก็ตาม

โบราณสถานสำ�คัญๆ ในลพบุรที เี่ ราไปเยือนในวันนัน้ ล้วนเต็ม


ไปด้วยซากปรักหักพังของพระพุทธรูปเศียรขาด แขนขาด ขาขาด
หลายครั้งกองสุมกันอยู่ในมุมตึกอย่างไร้คนเหลียวแล หญ้ายาว
ปกคลุมจนมองแทบไม่เห็น ลายปูนปั้นสวยๆ ในวัดวาก็ถูกคนขูด
ส่วนต่างๆ ไปขาย เห็นทีไรให้อดเศร้าใจไม่ได้้
4

ลพบุรเี ป็นหนึง่ ในเมืองเก่าแก่ทมี่ ปี ระวัตศิ าสตร์
อารยธรรมต่ อ เนื่ อ งยาวนานกว่ า 3,000 ปี ตั้ ง แต่ ยุ ค ก่ อ น
ประวัติศาสตร์ ดินแดนแถบนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของมอญและขอม
สมัยยุคทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ซึ่งเรียกลพบุรีว่า “ละโว้”
จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีบทบาทในลพบุรี

ลพบุรีรุ่งเรืองถึงขีดสุดในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์
มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) ซึ่งทรงดำ�ริให้ลพบุรีเป็น ‘ราชธานี
แห่งที่สอง’ รองจากอยุธยา จึงทรงบัญชาให้สร้างพระราชวัง ป้อม
ปราการ และอาคารต่างๆ มากมายทั่วเมือง ด้วยความช่วยเหลือ
จากช่างและวิศวกรชาวฝรั่งเศสและอิตาเลียน หลังจากสร้างเสร็จ
แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ และเสด็จ
สวรรคตในเมืองนี้ด้วย

ยุคของพระนารายณ์คือยุคที่คนไทยเริ่มเรียนรู้เทคนิคการ
ต่อรองผลประโยชน์กบั นานาประเทศอย่างเข้มข้น ทัง้ ในด้านการเมือง
และเศรษฐกิจ ทั้งยังรับเอาศิลปวัฒนธรรมของชนชาติเหล่านั้น
มาผสมผสานในศิลปะไทยอีกด้วย

5
เนื่องจากสถานที่ส่วนใหญ่ที่เราจะไปเยือนในวันนี้เป็นเพียง
ซากปรักหักพังธรรมดาๆ ทีแ่ ทบไม่เหลือริว้ รอยของความโอ่อา่ และ
‘ลมหายใจ’ ของราชสำ�นักทีถ่ อื เป็น ‘ยุคทอง’ ยุคหนึง่ ในประวัตศิ าสตร์
ไทย ผู้ เ ขี ย นขอสรุ ป ประวั ติ ศ าสตร์ ช่ ว งนี้ โ ดยสั ง เขปก่ อ น จาก
การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์ ของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์
หนังสือทีว่ เิ คราะห์การเมืองไทยในช่วงนีไ้ ด้อย่างยอดเยีย่ ม เพือ่ สร้าง
ราชสำ�นักของสมเด็จพระนารายณ์ ให้ลอยเด่นแจ่มชัดอยูใ่ นมโนภาพ
ก่อนที่จะไปเยือนพระตำ�หนักของพระองค์จริงๆ

บางที ท่านอาจจะเห็นว่าปรากฏการณ์ ‘ประวัตศิ าสตร์ซ�้ำ รอย’


ไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างเดียว แต่ ‘กระแสโลกาภิวัตน์’ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่
ด้วย หากเป็นปรากฏการณ์โบราณที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน
หลายพันปี นับตัง้ แต่มนุษย์เริม่ เดินทางท่องโลกและพบปะผูค้ นต่าง
เผ่าพันธุ์

6
การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์
การตัดสินใจเลือกลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สอง
ของพระนารายณ์ มีรากมาจากการทำ�รัฐประหารของพระองค์เพื่อ
ขึ้นครองราชย์ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็น ‘รัฐประหารซ้อน’ ด้วยซ้ำ� เพราะ
หลั ง จากที่ พ ระเจ้ า ปราสาททองสิ้ น พระชนม์ เจ้ า ฟ้ า ไชย พระ
ราชโอรสองค์หนึง่ ของพระเจ้าปราสาททองก็ทรงสัง่ ให้ทหารล้อมวัง
เอาไว้ และสถาปนาพระองค์เองขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน

(ถึงตรงนี้ควรกล่าวเสริมว่า รัฐประหารเกิดขึ้นบ่อยในประวัติ
ราชสำ � นั ก อยุ ธ ยาช่ ว งนี้ จ นเป็ น เรื่ อ ง ‘ธรรมดา’ ยิ่ ง กว่ า การทำ �
รัฐประหารหลังระบอบการปกครองไทยกลายเป็นประชาธิปไตย
เสียอีก พระเจ้าปราสาททองเองก็ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ด้วยการ
ทำ�รัฐประหารเช่นกัน และกลยุทธ์ของพระองค์กอ่ นลงมือนัน้ ก็คอ่ น
ข้างแยบคาย คือวัดกำ�ลังของบรรดาพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ด้วยการ
สังเกตดูวา่ ใครมางานศพพระมารดาบ้าง (ขณะนัน้ ทรงดำ�รงตำ�แหน่ง
ออกญากลาโหม) นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า อุบายดังกล่าว
ของพระเจ้าปราสาททอง น่าจะเป็นต้นกำ�เนิดของประเพณีการ
‘ตบเท้า’ เข้าให้กำ�ลังใจนายในโอกาสต่างๆ ของทหารในปัจจุบัน)

หลังจากเจ้าฟ้าไชยเสด็จขึน้ ครองราชย์ได้ไม่นาน พระนารายณ์


กับพระศรีสุธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ชั้น ผู้ใหญ่ผู้มีสิทธิใน
ราชบัลลังก์เช่นเดียวกัน ก็รว่ มกับเหล่าขุนนางทำ�การรัฐประหารเจ้า
ฟ้าไชยเสีย

8
การทำ�รัฐประหารในครั้งนั้น ตามหลักฐานปรากฏว่ากำ�ลังพล
ส่วนใหญ่เป็นของพระนารายณ์ และพระนารายณ์เองก็ทรงเป็นผูน้ �ำ
อย่างชัดแจ้ง โดยพระสุธรรมราชามีบทบาทไม่มาก แต่ขุนนางส่วน
ใหญ่ที่ร่วมก่อการในครั้งนั้นไม่อยากให้พระนารายณ์ขึ้นครองราชย์
เพราะรู้ดีว่าพระนารายณ์ทรงเข้มแข็งกว่าพระสุธรรมราชามาก
ขุนนางทัง้ หลาย ‘ควบคุม’ ไม่ได้ เพราะฉะนัน้ ถ้าพระนารายณ์ได้เป็น
กษัตริยอ์ าจกระทบต่อผลประโยชน์ของเหล่าขุนนาง ดังนัน้ หลังจาก
ทำ�รัฐประหารสำ�เร็จ เหล่าขุนนางจึงพร้อมใจกันยกบัลลังก์ให้กับ
พระศรีสุธรรมราชา

พระศรีสธุ รรมราชาครองบัลลังก์ได้ไม่นาน เพราะพระนารายณ์


ทีท่ รงผิดหวังจากการเอาใจออกห่างของเหล่าขุนนาง ได้น�ำ ทัพทหาร
ชาวต่างชาติซึ่งมีอาวุธทันสมัยและความชำ�นาญในการรบมากกว่า
ทหารไพร่พื้นเมือง โดยเฉพาะแขกมัวร์ ที่ลือกันว่ามีถึง 500 นาย
ตามด้วยกองกำ�ลังทหารต่างชาติอกี หลายเชือ้ ชาติ สมทบด้วยไพร่พล
ของขุนนางบางส่วนที่ยังสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ เข้ายึดอำ�นาจจาก
พระศรีสุธรรมราชาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้า
แผ่นดิน

กองกำ � ลั ง ทหารต่ า งชาติ มี บ ทบาทสำ � คั ญ ในการเมื อ งสมั ย


อยุธยา เพราะสามารถช่วยกษัตริย์ลดหรือคานอำ�นาจของเหล่า
ขุนนางผู้มีอิทธิพล อาจารย์นิธิได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
ดังต่อไปนี้:
9
“...มีหลักฐานมานานแล้วถึงการใช้กองทหารจ้างต่างชาติของ
กษัตริย์ไทย เหตุฉะนั้นพระเจ้าปราสาททองจึงมิใช่กษัตริย์องค์แรก
ที่ดำ�เนินนโยบายใช้ทหารจ้างชาวต่างชาติ ทหารจ้างเหล่านี้ หรือ
ผู้อพยพอื่นๆ มักจะถูกจัดเป็นกองอาสา และมักจะถูกใช้เป็น
ราชองครักษ์ไปด้วยในตัว ...ประโยชน์ของทหารองครักษ์ต่างชาติ
เหล่านี้นอกจากมีความสามารถ หรือความชำ�นัญพิเศษที่ไม่อาจหา
ได้ในหมู่คนไทยแล้ว (เช่นการใช้ปืนไฟ) ก็ยังมีข้อดีอยู่ตรงที่มักจะมี
ความพร้อมเพรียงกว่ากรมกองธรรมดา หลายกรมกองของทหาร
จ้างมิได้ใช้เกณฑ์การ “เข้าเดือน” เหมือนไพร่ธรรมดา แต่เพราะมี
รายได้โดยตรงจากกษัตริย์ จึงเท่ากับเป็นทหารประจำ�การเพียง
หน่วยเดียวท่ามกลางกองทัพชาวนาของอยุธยา ในขณะทีก่ องกำ�ลัง
ในความควบคุมของขุนนางฝ่ายปกครองนั้นออกจะ “งุ่มง่าม” กว่า
กันมาก เนื่องจากการ “เข้าเดือน” และการทุจริตทำ�ให้การระดม
กำ�ลังทำ�โดยเร็ววันไม่ได้ ...เหตุฉะนั้นแม้ว่าโดยจำ�นวนแล้ว ทหาร
องครักษ์ต่างชาติจะมีกำ�ลังน้อยกว่าไพร่ของขุนนางมากนัก แต่
สามารถปฏิบัติการได้เฉียบพลันในลักษณะการเมืองที่การโค่น
อำ�นาจส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการเกาะกลุ่มกันอย่างลับๆ และการ
ทำ�รัฐประหารในพระราชสำ�นัก กองกำ�ลังองครักษ์จงึ มีประสิทธิภาพ
มากกว่าในการช่วงชิงชัยชนะ

...ชาวต่างชาติเป็นบุคคลที่น่าไว้วางใจแก่กษัตริย์มากกว่าชาวพื้น
เมือง ด้วยเหตุผลอีกประการหนึ่งด้วยว่า ชาวต่างชาติไม่มีฐาน
10
อำ�นาจที่ฝังลึกในประเทศนี้ ฐานะตำ�แหน่งในราชการก็ขึ้นอยู่กับ
พระมหากรุณาธิคุณอย่างสมบูรณ์ กองอาสาไม่ได้รับอนุญาตให้ได้
คุมไพร่ที่เป็นชาวพื้นเมือง ไพร่ในกองอาสาก็คือชนชาติเดียวกับ
เจ้ากรม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือลูกน้องส่วนตัว...

ทั้งหมดเหล่านี้เป็นเสน่ห์แก่กษัตริย์ไทยอยู่แล้วที่จะใช้กอง
ทหารต่างชาติ ยิ่งในสมัยที่กษัตริย์ต้องพยายามลดอำ �นาจของ
ขุนนางฝ่ายปกครองลง การสั่งสมเพิ่มพูนชาวต่างชาติเข้ามาใน
ราชการฝ่ายผู้ชำ�นัญการ และในที่สุดแทรกเข้าไปในฝ่ายปกครอง
ด้วยก็ยิ่งเป็นสิ่งที่ทรงกระทำ�อย่างตั้งพระทัยขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม กองอาสาต่างชาตินี้อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นได้
เหมือนกัน เนื่องจากความคล่องตัวของหน่วย ฉะนั้นถ้าในกลุ่ม
ต่างชาติใดมีจ�ำ นวนมากเกินไปและมีความกลมเกลียวกันสูง (เพราะ
เพิง่ อพยพเข้ามาใหม่ เพราะวัฒนธรรมเดิม หรือเหตุใดก็ตาม) ก็อาจ
ปฏิบัติการทางการเมืองเป็นอิสระจากพระราชประสงค์ได้ ตัวอย่าง
ทีร่ กู้ นั ดีกเ็ ช่นกองอาสาญีป่ นุ่ และชาวมักกะสันซึง่ ก่อการกบฏในสมัย
พระนารายณ์...”

การจ้างทหารต่างชาติมิได้เป็น ‘แฟชั่น’ แต่ในเมืองไทยเท่านั้น


แต่ยังเป็นที่นิยมในหลายประเทศในยุโรปสมัยนั้น (ซึ่งยังปกครอง
ด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์) เพราะเหตุผลทีว่ า่ ทหารต่างชาติ
จะไม่กบฏหรือชิงราชบัลลังก์นั้น เป็นเหตุผล ‘สากล’ ที่ใช้ได้กับทุก
11
ประเทศ เช่น พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ของฝรั่งเศส ก็ทรงนิยมจ้างทหาร
รับจ้างจากสวิสเซอร์แลนด์ เพราะราชบัลลังก์ไม่มั่นคง ไว้ใจคน
ฝรั่งเศสด้วยกันไม่ได้

การทำ�รัฐประหารซ้อนของพระนารายณ์และสถานการณ์
การเมืองอันอึมครึม ทำ�ให้พระองค์ทรงตกที่นั่งลำ�บาก เพราะไม่
สามารถวางพระทัยได้วา่ ขุนนางและเชือ้ พระวงศ์คนใดจะคิดร้ายต่อ
พระองค์เมื่อใดบ้าง และอยุธยาก็เป็นฐานกำ�ลังของเหล่าขุนนาง
ทำ�ให้สามารถก่อการรัฐประหาร หรือลอบปลงพระชนม์อีกเมื่อไร
ก็ตามที่สบโอกาส ความเสี่ยงในข้อนี้ทำ�ให้พระราชดำ�ริที่จะสร้าง
พระราชวังที่ลพบุรี และว่าราชการที่นั่น เป็นความคิดที่มีเหตุผล
เพราะการที่ลพบุรีเป็น ‘ราชธานีแห่งใหม่’ ที่ไม่เคยเป็นขุมกำ�ลังของ
ใคร ทำ�ให้พระนารายณ์สามารถคัดเลือกแต่ขนุ นาง(ทัง้ ต่างชาติและ
ไทย)ที่ทรงวางใจได้เท่านั้น ให้ตามเสด็จและว่าราชการที่ลพบุรี

เมื่ อ ดำ � ริ ไ ด้ ดั ง นั้ น พระนารายณ์ จึ ง ทรงโปรดฯ ให้ ส ร้ า ง


พระราชวัง วัดวาอาราม ป้อมปราการ และกำ�แพงเมืองขึน้ ในลพบุรี
ให้ราชธานีแห่งนี้มีความมั่นคงแข็งแรงและเพียบพร้อมไม่ต่างจาก
อยุธยา สาเหตุที่เลือกลพบุรีส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะเป็นเมืองที่มี
ลักษณะทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม กล่าวคือมีแม่น้ำ�ลพบุรีและ
แม่น้ำ�ป่าสักโอบรอบ และตั้งอยู่ไม่ไกลจากอยุธยามากนัก ใช้ฝีพาย
แจวเรือล่องแม่น้ำ�ขึ้นมาจากอยุธยาไม่ทันข้ามคืนก็ถึง

12
เมื่อพระนารายณ์ทรงต้องการทหารและขุนนางต่างชาติเป็น
กำ�ลังสนับสนุนราชบัลลังก์ พระองค์จึงทรงอนุญาตให้ชาวต่างชาติ
เหล่านั้นทำ�ในสิ่งที่อยากทำ� ไม่ว่าจะเป็นการเผยแผ่ศาสนาคริสต์
หรือการทำ�มาค้าขาย ทำ�ให้การค้าระหว่างประเทศเจริญรุง่ เรืองมาก
ในสมัยพระนารายณ์ มีชาวต่างชาติหลากหลายเชือ้ ชาติเข้ามาพำ�นัก
ในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชาวอังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส โปรตุเกส
ญี่ปุ่น จีน มลายู และแขกมัวร์เชื้อสายต่างๆ โดยเฉพาะอิหร่าน (คำ�
ว่า ‘มัวร์’ (Moor) เป็นคำ�เรียกชาวอาหรับของคนยุโรป หมายถึง
ชาวอินเดียไปจนถึงตะวันออกกลาง ทีเ่ รียกว่าอาณาจักรเปอร์เซียใน
สมัยนั้น)

อิทธิพลของฝรั่งเศสในการเมืองสยาม ซึ่งทั้งเริ่มต้นและจบลง
ภายในรัชกาลของพระนารายณ์เอง เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจไม่
น้อย (และมีนยั ยะเกีย่ วโยงกับอิทธิพลของคอนสแตนติน ฟอลคอน
หรือออกญาวิชาเยนทร์ ซึ่งจะกล่าวถึงตอนไปเยือนบ้านของเขา)
เรื่องของเรื่องมีชนวนมาจากความขัดแย้งระหว่างพระนารายณ์กับ
หัวหน้าแขกมัวร์ชาวอิหร่าน เนื่องจากข่าวลือหนาหูว่าพวกอิหร่าน
กำ � ลั ง พยายามสนั บ สนุ น เจ้ า ฟ้ า อภั ย ทศ ซึ่ ง เป็ น พระอนุ ช าของ
พระนารายณ์ทำ�รัฐประหารด้วยการลอบสังหารพระนารายณ์

อันตรายข้อนีท้ �ำ ให้พระนารายณ์ทรงเริม่ แสวงหาทหารต่างชาติ


กลุ่มอื่นเข้ามาแทนที่แขกมัวร์ แต่ในขณะนั้นพระองค์ไม่มีตัวเลือก
มากนัก เพราะพวกญี่ปุ่นเพิ่งหมดอำ�นาจลงหลังสิ้นยุคยามาดา
13
รูปสลักจารึกการเข้าเฝ้าของคณะทูตจากฝรั่งเศส ตั้งโชว์ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ทำ�ให้
หลายๆ คนเข้าใจผิดคิดว่า เดอ โชมองต์ เข้าเฝ้าที่ลพบุรี ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วเข้าเฝ้า
พระนารายณ์ที่อยุธยา
ฮอลันดาก็เพิ่งทำ�สงครามกับไทย (เพราะเอาใจออกห่างไปช่วย
สงขลาให้ลกุ ฮือขึน้ ก่อการกบฏต่ออยุธยา) โปรตุเกสก็มสี ายสัมพันธ์
ค่อนข้างลึกกับขุนนางหลายคนเพราะอยู่ในสยามมานาน ทำ� ให้
ไม่น่าไว้วางใจ

การได้รับพระราชสาส์นตอบรับคำ�ขอเจริญสัมพันธไมตรีจาก
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสในช่วงนั้นพอดี จึงเป็นโอกาสดีที่
ทำ�ให้พระนารายณ์ทรงหันไปหาฝรัง่ เศสในฐานะพันธมิตรใหม่ทอี่ าจ
ช่วยคุม้ ครองราชบัลลังก์ของพระองค์ได้ ด้วยเหตุนนั้ จึงทรงแต่งคณะ
ทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำ�นักฝรั่งเศสหลายครั้ง ส่งผลให้
ชาวฝรั่งเศสแห่กันเข้ามาแสวงหาประโยชน์ในสยามกันขนานใหญ่
ทั้งพ่อค้า มิชชันนารี และทหารรับจ้าง แต่สุดท้าย แม้กระทั่งทหาร
ฝรั่งเศสก็ไม่สามารถคุ้มครองพระองค์ได้ เมื่อออกพระเพทราชา
ประสบความสำ�เร็จในการปลุกระดมประชาชนด้วยความสนับสนุน
ของพระสงฆ์ และวาทกรรม ‘คลั่งชาติ’ ให้ลุกฮือขึ้นจับอาวุธเพื่อ
ขั บ ไล่ ฝ รั่ ง เศสออกนอกประเทศ ออกพระเพทราชาบุ ก เข้ า ยึ ด
พระราชวังที่ลพบุรี ทำ�การรัฐประหารพระนารายณ์ ขึ้นครองราชย์
เป็นกษัตริย์นามสมเด็จพระเพทราชา ก่อนหน้าที่พระนารายณ์ซึ่ง
ทรงประชวรหนักจะเสด็จสวรรคตเพียง 2 เดือนเท่านั้น

เมื่ อ สิ้ น รั ช กาลพระนารายณ์ ลพบุ รี ก็ ห มดความสำ � คั ญ ลง


สมเด็จพระเพทราชาได้ทรงย้ายหน่วยราชการทั้งหมดกลับกรุง
ศรีอยุธยา ไม่มีกษัตริย์ไทยองค์ใดสนใจมาประทับที่เมืองนี้อีก จน
15
กระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ในปี พ.ศ. 2406 ทรงมีรับสั่ง
ให้บูรณะเมืองลพบุรี ซ่อมกำ�แพง ป้อม และพระราชวังที่ชำ�รุด
ทรุดโทรม และสร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎขึ้นในบริเวณพระราชวัง
เดิม เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์
ราชนิเวศน์” ต่อมาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จอมพล ป.
พิบูลสงครามได้สั่งให้สร้าง ‘เมืองทหาร’ ขึ้นทางด้านทิศตะวันออก
ของทางรถไฟ (เมืองเก่าอยูท่ างทิศตะวันตกของรางรถไฟ) ลพบุรจี งึ
กลายเป็นที่ตั้งของกองกำ� ลั ง ทหารบกที่ อ ยู่ ใกล้ ก รุ ง เทพฯ ที่ สุ ด
จวบจนทุกวันนี้
จนเป็นที่รู้กันดีในหมู่ ‘คอการเมือง’ และนักข่าวว่า คำ�สั่งจาก
เบื้องบนให้เคลื่อนกำ�ลังพลจากลพบุรี มุ่งหน้าลงใต้มาสู่กรุงเทพฯ
จะเป็นหนึ่งในสัญญาณอันดับต้นๆ ที่ส่อเค้าว่ารัฐประหารกำ�ลังจะ
เกิดขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า

17
วัดไลย์
หลังจากออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ในรถโค้ช
ปรับอากาศตัง้ แต่เช้าตรู่ เราก็มาถึงวัดไลย์ อำ�เภอท่าวุง้ จังหวัดลพบุรี
จุดหมายแรกของโปรแกรม ‘ย่�ำ เยือนเรือนสมเด็จพระนารายณ์’ เวลา
แปดโมงเช้ากว่าๆ แดดออกแล้วแต่ยังไม่จ้าจนเกินไป เป็นใจให้
ช่างภาพทั้งหลายเตรียมถ่ายรูปกันสนุกมือ

เมื่ อ พวกเราเข้ า ไปในบริ เ วณวั ด อ.ปรี ดี ก็ ชี้ ใ ห้ ดู อ าคาร


พระอุโบสถ และพระวิหาร แล้วบอกว่าในสมัยอยุธยานั้น พระ
อุ โ บสถไม่ ค่ อ ยมี ค วามสำ � คั ญ เท่ า ไหร่ เพราะเป็ น เพี ย งสถานที่
ประกอบพิธที างศาสนา พระวิหารมีความสำ�คัญกว่ามาก เพราะเป็น
ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป

อาจารย์ยังชี้ให้ดูใบเสมาที่เป็นเครื่องชี้อาณาเขตของวัด แล้ว
อธิบายว่าสิ่งที่สำ�คัญไม่ใช่ใบเสมา แต่เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ข้างล่าง คือลูก
นิมติ ใบเสมาเป็นเพียงลูกศรทีช่ บี้ อกว่ามีลกู นิมติ อยูต่ รงนี้ เนือ่ งจาก
คนโบราณถือว่ากษัตริย์เป็น ผู้ปกครองที่ดินทั้งหมด (‘อาณาจักร’)
การจะสร้างวัดจึงต้องขอพระบรมราชานุญาตให้พระราชทานที่ดิน
บางส่วนมาทำ�เป็น ‘พุทธจักร’ ดังนัน้ จึงมีพธิ เี รียกว่า “ทักเสมา” เพือ่
ขานอาณาเขตของวัด ทำ�ด้วยการเดินตามเข็มนาฬิกาไปทางทิศ
ตะวันออกจากลูกนิมติ ลูกแรก วัดสมัยอยุธยานิยมใช้ลกู นิมติ ทัง้ หมด
8 ลูก ฝังประจำ�ทิศทัง้ 8 ส่วนการใช้ลกู นิมติ ลูกที่ 9 (ปกติฝงั บริเวณ
ที่จะประดิษฐานพระประธาน) และการปิดทองลูกนิมิตนั้น เป็น
ธรรมเนียมสมัยใหม่ทั้งคู่
19
ลายปูนปั้นภาพทศชาติ ผนังพระวิหารด้านหน้า วัดไลย์

อาจารย์อธิบายว่า วัดไลย์เป็นวัดสมัยอยุธยาที่มีชื่อเสียงมาก
ในเรื่องลายปูนปั้นตกแต่งพระวิหารที่มีความสวยงามและสมบูรณ์
มากที่สุดแห่งหนึ่งที่ยังเหลือมาให้เราเห็น และเป็นที่ประดิษฐานรูป
พระศรีอาริย์ซึ่งชาวบ้านแถบลพบุรีและสิงห์บุรีนับถือมาก

ผนังด้านหน้าพระวิหารมีลายปูนปั้นละเอียดงดงามสมคำ�
ร่ำ�ลือ เป็นลายทศชาติที่จัดองค์ประกอบภาพอย่างชาญฉลาดให้
แต่ละพระชาติอยูภ่ ายในกรอบสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ทัง้ หมด 10 ภาพ ด้าน
ละ 5 ภาพ แต่ละกรอบกว้างน้อยกว่าสองไม้บรรทัด แปลว่าศิลปิน
ต้องเลือกเฟ้น ‘ฉากเด่น’ เพียง 1-2 ฉากจากทศชาติแต่ละเรื่องที่
20
ไม่มีในเรื่องอื่น เพื่อให้คนดูมองออกว่าแต่ละกรอบเล่าเรื่องอะไร
เช่ น กรอบเรื่ อ งพระเวสสั น ดรเล่ า ตอนที่ บุ ต รสองคนของพระ
เวสสันดรซ่อนตัวอยูใ่ นสระบัว ใครก็ตามทีเ่ คยอ่านทศชาติจะดูออก
ทันที

อาจารย์บอกว่า ลายทศชาติทคี่ นโบราณนิยมจารึกตามผนังวัด


ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากทีส่ ดุ 2 ลาย คือ มโหสถชาดก (แสดง
ปัญญา) และเวสสันดรชาดก (ให้ทาน) สะท้อนให้เห็นว่าปัญญาและ
ทาน เป็นคุณธรรมที่คนโบราณมองว่าสำ�คัญที่สุด

ลายปูนปั้นตรงกลางผนั ง ที่ ล้ อ มด้ ว ยภาพทศชาติ เป็ นภาพ


พุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระอาทิตย์และ
พระจันทร์ตามมาส่งเสด็จ มีรอ่ งรอยว่าภาพส่วนนีค้ รัง้ หนึง่ เคยลงรัก
ปิดทองด้วย

ลายปูนปั้นภาพมารวิชัย(?) ผนังพระวิหารด้านหลัง วัดไลย์


ลายปูนปั้นแสดงอิทธิพลมัวร์ ในวัดไลย์ โดนมารศาสนาขูดส่วนหัวไปขายแล้ว
เมื่อชมผนังด้านหน้าแล้ว อาจารย์ก็พาเรามาชมผนังด้านหลัง
ต่อ ผนังตอนบนมีลายปูนปั้นที่งดงามไม่แพ้กัน แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมี
ความเห็นไม่ตรงกันว่าเป็นลายอะไร บ้างก็วา่ เป็นภาพมารวิชยั บ้าง
ก็วา่ เป็นภาพพุทธประวัตติ อนโธนพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีรกิ ธาตุ
บ้างก็ว่าเป็นฉากหนึ่งในมโหสถชาดก

วัดไลย์หนีไม่พ้นเงื้อมมือของมารศาสนา เช่นเดียวกับวัด
โบราณอื่นๆ ในประเทศ ส่วนหัว ลำ�ตัว หรืออวัยวะอื่นๆ ของลาย
ปูนปัน้ หลายแห่งเห็นได้ชดั ว่าถูกคนกะเทาะออกไป ไม่ได้เสือ่ มสภาพ
ลงเองตามกาลเวลา อาจารย์บอกว่าหัวขโมยพวกนี้ขยันมาก ลาย
ปูนปัน้ พวกนีบ้ างทีเห็นอยูต่ �ำ ตา พอพานักศึกษามาอีกไม่ถงึ 3 เดือน
กลับหายไปแล้วเรียบร้อย

นอกจากลายปูนปัน้ เหล่านีจ้ ะมีความอ่อนช้อยสวยงามแล้ว ถ้า


สังเกตรายละเอียดดีๆ ก็จะพบอิทธิพลของศิลปะจากวัฒนธรรม
ต่างด้าวจำ�นวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็น ‘กระแสโลกาภิวัตน์’ ที่มีชีวิต
ชีวาอย่างยิ่งในสมัยพระนารายณ์ อาทิเช่น:

เทวดามีหนวด ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดี
เทวดา/นางฟ้าใส่กระโปรงมีระบาย ถือร่ม และลาย
‘เซี่ยวกาง’ (ลายค้างคาวตามมุมกรอบสี่เหลี่ยม)
ได้จากจีน
ลวดลาย สัญลักษณ์ต่างๆ ได้จากอินเดีย
23
การใช้นกยูงเป็นสัญลักษณ์แทนพระอาทิตย์ และ
กระต่ายเป็นสัญลักษณ์แทนพระจันทร์ ได้จากพม่า
ลวดลายเรขาคณิต เช่นลายไขว้สาน ได้จากแขกมัวร์
(เปอร์เซีย)

การผสมผสานศิลปะจากนานาประเทศอย่างกลมกลืนในลาย
ปูนปั้นวัดไลย์ เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่ยืนยันชัดเจนว่า ‘การผสม
ปนเปทางวัฒนธรรม’ นัน้ เกิดขึน้ มานานแล้วและจะเกิดขึน้ อีกตลอด
ไป ในทุกหนแห่งที่วัฒนธรรมต่างถิ่นได้มีโอกาสมาพบปะสังสรรค์
กัน

มีแต่คนใจคับแคบหวงอำ�นาจเช่นชนชัน้ ปกครองบางคนเท่านัน้
ที่มองเห็นแต่อันตรายของการคบค้าสมาคมกับชาวต่างด้าว ศิลปิน
“รู้จัก” กันผ่านงานศิลปะมาช้านานแล้ว

การผสมปนเปทางวั ฒนธรรมช่ ว ยเสริ ม สร้ า งความเข้ า ใจ


ระหว่างคนต่างถิ่น และด้วยเหตุนั้น ศิลปะจึงมีความสำ�คัญไม่แพ้
ศาสตร์อื่นๆ ในโลก

24
พระประธานและพระศรีอาริย์ในพระวิหารมีความสง่างาม
พระพักตร์แลดูอ่อนโยนคล้ายคลึงกัน รัศมีรูปเปลวไฟที่รายล้อม
พระประธานช่วยขับเน้นให้พระพุทธรูปดูงดงามมากขึน้ อ่านคูม่ อื ที่
เจ้าหน้าทีศ่ นู ย์ฯ แจกก่อนขึน้ รถก็ได้ความเพิม่ เติมว่า คนโบราณสมัย
พระนารายณ์ นิ ย มทำ � พระพุ ท ธรู ป ปางสมาธิ พระพั ก ตร์ รู ป ไข่
พระโมลี (จุกผม) รูปชามคว่ำ� ขมวดพระเกศาเล็กเรียงกันเป็น
ระเบี ย บ ต่ า งจากพระพุ ท ธรู ป หน้ า แป้ น ยิ้ ม เป็ น เรี ย วโค้ ง สมั ย
รัตนโกสินทร์

25
พระนารายณ์ราชนิเวศน์์
ทันทีที่เราเข้าเขตวังพระนารายณ์ ซึ่งรัชกาล
ที่ 4 ทรงขนานนามให้ใหม่ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ผู้เขียนก็
สะดุดตาทันทีกับต้นจามจุรีต้นใหญ่และสวยที่สุดตั้งแต่เคยเห็นมา
แผ่กิ่งก้านกว้างใหญ่ไพศาล ให้ร่มเงาปกคลุมพื้นหญ้าตรงข้ามกับ
ลานจอดรถนักท่องเที่ยว และสำ�นักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีคุณลุงแก่ๆ
นั่งทำ�หน้าเบื่ออยู่ข้างใน คอยเก็บค่าเข้าชมจากนักท่องเที่ยว ใน
สนนราคาเพียง 10 บาทสำ�หรับคนไทย และ 30 บาทสำ�หรับชาว
ต่างชาติเท่านั้น

ต้นจามจุรีสวยที่สุดเท่าที่เคยเห็น ในบริเวณวัง
27
พระราชวังทีพ่ ระนารายณ์ทรงรักและโปรดปราน ถือเป็น ‘บ้าน’
แท้ๆ ของพระองค์มากกว่าวังหลวงในอยุธยาที่ไว้ใจใครไม่ได้ ที่พึ่ง
ทัง้ ทางกายและใจทีพ่ ระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึน้ ในปี พ.ศ. 2209
หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ 10 ปี ปัจจุบันนี้เหลือเพียงแต่ซากปรัก
หักพัง อย่าว่าแต่หลังคาเลย กำ�แพงของอาคารส่วนใหญ่ก็ยังเหลือ
ไม่ครบทั้งสี่ด้าน

สิ่งเดียวที่ยังดูมีชีวิตชีวาในเขตพระราชฐานคือต้นจามจุรี และ
ต้นไม้ใหญ่อีกหลายชนิด ซึ่งล้วนแล้วแต่ใหญ่โตมโหฬาร ขนาดของ
มันทำ�ให้คิดว่าหลายต้นน่าจะอยู่มาตั้งแต่สมัยพระราชวังแห่งนี้เริ่ม
สร้างเสร็จใหม่ๆ ซึง่ เท่ากับว่าเป็นพยานแห่งความยิง่ ใหญ่และเสือ่ ม
สลายของพระราชวังแห่งนี้ เพียงปากเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่สืบมา
จนปัจจุบัน

ถ้าต้นไม้พูดได้ ความลับคงไม่มีในโลก เว้นแต่เฉพาะคนไม่


สนใจธรรมชาติที่ไม่เคยคิดอยากจะทำ�สวนเอาไว้นั่งมองกิ่งไม้ไหว
ตามสายลม หรือสูดกลิ่นหอมของดอกไม้ยามเช้า

28
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ดูเหมือนชาวกรุงจำ�นวนมากขึ้นเรื่อยๆ จะ
เลือกปลูกบ้านใหญ่โตจนเต็มพื้นที่ ผนังบ้านห่างจากรั้วไม่ถึงเมตร
แทบไม่เหลือที่ให้ปลูกต้นไม้หรือสนามหญ้าเล็กๆ หน้าบ้าน พืชผัก
สวนครัวยิ่งไม่ต้องพูดถึง

ก็เข้าใจว่าทีด่ นิ สมัยนีแ้ พง จะปลูกบ้านทัง้ ทีกค็ วรมีพนื้ ทีใ่ ช้สอย


เยอะๆ แต่เราเหินห่างธรรมชาติถงึ ขนาดมองไม่เห็นความสำ�คัญของ
ต้นไม้ใบหญ้าเชียวหรือ?

นักจิตวิทยาหลายคนยืนยัน ผลจากการทดลองว่า ประสาท


สั ม ผั ส ของคนเราสมั ย นี้ ‘ไว’ ต่ อ วั ต ถุ ที่ ค นสร้ า งขึ้ น มากกว่ า
ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าใครทำ�เหรียญบาทหล่น
กระทบพื้นดัง ‘แก๊ง’ เรามักจะได้ยินและหันขวับไปหาต้นตอทันที
แต่เรามักไม่ค่อยได้ยิน หรือถึงได้ยินก็ไม่มีปฏิกิริยา ต่อเสียงสั่นไหว
ของใบไม้ เสียงแมลงบนต้นไม้ และเสียงสวบสาบของฝีตีนสัตว์ใน
ป่า
เศร้าแต่จริง

ในเมือ่ ต้นไม้พดู ไม่ได้ นักประวัตศิ าสตร์จงึ ต้องอาศัยบันทึกของ


คนโบราณ แม้แต่การรำ�พึงรำ�พันในไดอารีส่ ว่ นตัวก็มคี า่ ต่อการศึกษา
ประวัติศาสตร์ของคนรุ่นหลัง โชคดีที่ฝรั่งมิชชันนารีชอบจดบันทึก
อย่างละเอียดลออ ตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนถึงอาหารการกินของ
ชาวสยาม เรื่ อ งราวของยุ ค พระนารายณ์ จึ ง โลดแล่ น ผ่ า นหน้ า
29
กระดาษซีดๆ ออกมาให้เราเห็นอย่างเด่นชัด น่าจะมีผู้กำ�กับมือดี
จับประวัตศิ าสตร์ชว่ งนีม้ าทำ�เป็นหนัง รับรองว่าสนุกกว่าเรือ่ งสมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชหลายเท่า และมีโอกาสจะ ‘โกอินเตอร์’ กว่า
ด้วย เพราะต้องใช้นักแสดงหลากหลายเชื้อชาติมารับบทเป็นพ่อค้า
ขุนนาง ทหาร และมิชชันนารีที่รอนแรมมาทำ�งานในสยาม

ทางเดินและประตูวัง
ถ้าภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำ�ให้สมจริง ก็ต้องใช้ภาษาโปรตุเกส
กับภาษามลายูเป็นหลัก เพราะนั่นคือสอง ‘ภาษาราชการ’ ประจำ�
ราชสำ�นักของพระนารายณ์

อาจารย์ชี้ให้ดูประตูวังด้านที่ติดถนน บอกว่าหลักในการสร้าง
คือต้องกว้างพอให้ชา้ งหนึง่ เชือกเดินผ่านได้ เพราะโรงช้างอยูข่ า้ งใน
เขตพระราชฐาน ติดกับประตูทางเข้าพระราชฐานชั้นในซึ่งแคบกว่า
กันมาก (เพราะไม่ต้องการให้ช้างผ่านเข้าไปได้)

ยอดแหลมโค้งของประตูวังและช่องหน้าต่างของอาคาร (ที่
ภาษาอังกฤษเรียกว่า pointed arc) แสดงอิทธิพลของแขกมัวร์ชาว
มุสลิมอย่างชัดเจน ไม่ใช่สไตล์บาร็อค (Baroque) ของฝรั่งเศสใน
ยุคนั้น ช่องหน้าต่างในแต่ละอาคารนั้นเป็นยอดแหลมแต่ภายนอก
เท่านั้น กรอบหน้าต่างในตัวอาคารยังเป็นทรงสี่เหลี่ยมอยู่ เพื่อให้
ช่างใส่บานกระจกสี่เหลี่ยมเข้าไปได้

ทางเดินติดประตูปูอิฐเรียงสลับกันเป็นฟันปลา ฝังเอาสันอิฐ
ขึ้นข้างบนแทนที่จะเอาด้านแบนขึ้นตามปกติ อาจารย์บอกว่านี่ก็
เป็นการปูพนื้ แบบแขกมัวร์เช่นกัน ปูแบบนีท้ �ำ ให้พนื้ มีความทนทาน
มากกว่าเอาด้านแบนขึ้น สามารถรับน้ำ�หนักช้างได้ ทางเดินอิฐนี้
หลายส่วนเห็นชัดว่าเป็นของใหม่ที่กรมศิลปากรมาบูรณะ แต่ของ
เดิมก็พอมีให้เห็นอยู่บ้าง

31
ผูเ้ ขียนนึกชมรสนิยมของพระนารายณ์อยูใ่ นใจ แบบมีอคติเล็ก
น้อยเพราะตัวเองก็ชอบสถาปัตยกรรมแบบมุสลิมมากกว่าแบบยุโรป
ตะวันตกหลายเท่า (ถ้าใครนึกไม่ออกว่าสถาปัตยกรรมแบบมุสลิม
ที่ไม่ใช่สุเหร่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร ลองนึกภาพทัชมาฮาล สิ่งปลูก
สร้างสไตล์มุสลิมที่โด่งดังที่สุดในโลก)

ประตูวงั และกำ�แพงอิฐถูกเจาะเป็นช่องๆ คนโบราณเรียกช่อง


เหล่านีว้ า่ “ช่องตามประทีป” เอาไว้ใส่ถว้ ยตะไลจุดเทียน ยามค่�ำ คืน
เปลวเทียนนับพันคงทอแสงสีนวลสว่างไปค่อนบริเวณ 42 ไร่ของ
พระราชวังแห่งนี้

ตามแนวกำ�แพงมีป้อมปืน 7 แห่ง อาจารย์อธิบายว่าที่เรารู้ว่า


เป็นป้อมปืนเพราะมีรูเจาะตรงฐาน เอาไว้ใส่ปากกระบอกปืนใหญ่
ป้อมปืนสมัยนั้นจะสร้างเป็นรูปตัว V คว่ำ� เพื่อให้หันปากกระบอก
ปืนไปคนละทิศกันได้ ถ้าไม่สร้างป้อมแบบนี้แต่เจาะกำ�แพงเป็นรู
เฉยๆ ก็จะยิงปืนใหญ่ได้เพียงทิศเดียว คือทิศทีท่ �ำ มุมฉากกับกำ�แพง
พอดีเท่านั้น

เนื่องจากอาคารทุกหลังถูกออกแบบและกำ�กับการก่อสร้าง
โดยสถาปนิกและวิศวกรชาวอิตาเลียนและฝรัง่ เศส โดยใช้ ‘เทคโนโลยี’
ที่ทันสมัยที่สุดของโลกตะวันตกในขณะนั้น หลายสิ่งหลายอย่างใน
พระนารายณ์ราชนิเวศน์จึงเป็น ‘ของใหม่เอี่ยม’ ที่ไม่เคยมีในสยาม
มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นอาคารอิฐ (ก่อนหน้านั้นราชวงศ์นิยมสร้างวัง
32
ท่อส่งน้ำ�ประปาดินเผา วางโชว์หน้าอ่างเก็บน้ำ�

จากไม้ เหมือนบ้านของราษฎร) ที่คนโบราณเรียกว่า “อาคารตึก”


และระบบท่อน้ำ�ประปาฝังดินที่แจกจ่ายน้ำ�จากถังเก็บน้ำ�ไปทั่วเขต
พระราชฐาน น้ำ � ในถั ง นี้ ไ หลมาตามท่ อ ประปาดิ น เผาจากอ่ า ง
ซับเหล็ก อ่างเก็บน้ำ�ธรรมชาติที่อยู่ห่างออกไปกว่า 10 กิโลเมตร

แต่สงิ่ ทีน่ า่ ตืน่ ตาทีส่ ดุ ในเขตพระราชฐานชัน้ นอกน่าจะเป็นน้�ำ พุ


20 แห่ง ในคูน้ำ�ที่รายรอบตึกรับรองแขกเมือง สถานที่เลี้ยงรับรอง
แขกบ้านแขกเมือง รวมทั้งคณะทูตจากประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ.
2228 และ พ.ศ. 2230 ตึกนี้อยู่ในสภาพแตกหักทรุดโทรมไม่ต่าง
33
จากอาคารอื่นๆ แต่ถ้ามองเค้าโครงของตึกนี้แล้วลองหลับตาวาด
ภาพตามคำ�บรรยายของบาทหลวงฝรัง่ เศสในบันทึก จะจินตนาการ
ได้ไม่ยากว่าตึกนี้คงดูอลังการไม่น้อยในสมัยโบราณ มีน้ำ�พุพวยพุ่ง
อยู่ตลอดเวลา ในสระมีการเลี้ยงปลาทองอวดแขกผู้มาเยือนด้วย

พูดถึงอาหารเลีย้ งแขกทำ�ให้นกึ ถึงเรือ่ งสนุกๆ เกีย่ วกับการกิน


อยู่ของพวกฝรั่งในแผ่นดินพระนารายณ์ โดยเฉพาะเรื่องปลาร้า
รศ.ดร.ประจักษ์ สายแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านคติชนวิทยา (folklore
studies) เล่าเรื่องนี้ไว้อย่างสนุกสนานในรายการวิทยุของแกชื่อ
“วรรณกรรมสองแคว” ตอน “จดหมายเหตุลาลูแบร์ 1 : ปลาร้า”
ดังต่อไปนี้: (คัดลอกและเรียบเรียงมาบางตอน)

“...เรือ่ งทีน่ า่ สนใจมากทีล่ าลูแบร์เขียนไว้ และผมนำ�มากราบเรียน


เสนอท่านคือเรือ่ งทีว่ า่ ด้วย “สำ�รับกับข้าวของชาวสยาม” ในนัน้ บอก
ว่าชาวสยามบริโภคอาหารน้อย กินข้าวไม่มาก (หัวเราะ) ...แล้วก็
บอกว่าอาหารหลักของเค้าคือข้าวกับปลา ข้าวแล้วก็ปลาเนีย่ ! อาหาร
หลักของคนสยาม ท้องทะเลก็จะมีหอยนางรมเล็กๆ มีรสชาติดมี าก
นี่ฝรั่งเศสว่า และก็มีเต่าขนาดย่อมเนื้อรสดี ไอ้พวกนี้ก็กินเต่าเมือง
ไทย กุ้งทุกขนาด มีปลาเนื้อดีอีกเป็นอันมาก ซึ่งพวกเราไม่สามารถ
ทราบว่าเป็นพันธุ์อะไร ส่วนในแม่น้ำ�ลำ�คลองก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วย
ปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาไหลตัวงามๆ

34
แต่ชาวสยามไม่สู้จะนิยมบริโภคปลาสดกันนัก นี่ลาลูแบร์ว่า
อย่างนั้น ในเมื่อไม่นิยมบริโภคปลาสดก็มักจะเอาปลาเนี่ยมาทำ�
ปลาแห้งทำ�ปลาเค็ม ลาลูแบร์กบ็ อกว่าชาวสยามนัน้ หมักเค็มไม่คอ่ ย
จะเป็น ...และก็ชอบปลาแห้ง ชอบกินปลาแห้งยิ่งกว่าปลาสดๆ
แม้กระทั่ง “ปลาเน่า” อันนี้พูดเสียหายเลย ปลาเน่าที่จริงก็คือ
“ปลาร้า” หลายคนคิดว่าปลาร้าเป็นอาหารของทางประเทศลาว
ที่จริงไม่ใช่ ปลาร้าเนี่ยเป็นอาหารของคนไทยแท้ๆ เลย

ปลาร้าต่างจากปลาแดกนะท่านนะ เพราะปลาร้าเนี่ย เค้าทำ�


จากปลา ติ๋งต่างว่าเป็นปลากระดี่ก็นำ�มาขอดเกล็ด ผ่าท้อง เอาไส้
ออกล้างให้สะอาด จากนั้นจึงเอาเกลือเคล้าให้ดีแล้วก็หมักในไห
ประมาณ 5 เดือน พอ 5 เดือนก็นำ�ออกมาใส่กับข้าวซึ่งคั่วเป็น
อย่างดี เอาข้าวสารเนีย่ มาคัว่ แล้วก็มาโขลกให้ละเอียดเลย ทีเ่ ราเรียก
ว่าข้าวคั่วหรือข้าวเบือนั่นแหละ เนี่ยผสมกับปลาที่หมักเอาไว้ ก็จะ
เป็นปลาร้า เป็นอาหารชั้นดีที่สุด น่าคิดนะครับ

ครั้นปลาเน่าและค่อนข้างจะเป็นน้ำ�แล้ว น้ำ�ปลาเน่าหรือ
ปลาร้านี้จะนูนฟอดขึ้น และก็ยุบลงตรงกับเวลาที่ระดับกระแสน้ำ�
ทะเลขึน้ -ลง เออ! นัง่ ดูดว้ ย …เพือ่ นของลาลูแบร์คนหนึง่ ชือ่ เมอสิเยอ
แวงซัง ได้ให้ปลาร้าแก่ลาลูแบร์เนี่ย 1 ไห เมื่อกลับมาถึงประเทศ
ฝรัง่ เศส ของทีร่ ะลึกนีน้ า่ รักมากเลย กลับจากอยุธยาไปฝรัง่ เศสเนีย่ !
สิ่งที่ให้กันเป็นที่ระลึกก็คือปลาร้า 1 ไห แล้วมิหนำ�ซ้ำ� เมอสิเยอ
แวงซัง ยังยืนยันกับลาลูแบร์ดว้ ยว่า การทีน่ �้ำ ปลาร้าในไหขึน้ -ลงตาม
35
น้ำ�ทะเลได้นั้นเป็นความจริง โอ้โฮ! ไม่ใช่กินอย่างเดียว นั่งดูน้ำ�ปลา
ร้าในไหด้วย แปลว่ามีความรักมาก รักปลาร้าเหลือเกิน

ลาลูแบร์ยังบอกว่า ชาวสยามไม่ค่อยชอบบริโภคเนื้อสัตว์และ
ไม่มโี รงฆ่าสัตว์ ฟังดีๆ นะครับ ชาวสยามแต่กอ่ นนีไ้ ม่คอ่ ยเป็นมะเร็ง
นะท่านนะ เพราะไม่ค่อยบริโภคอาหารเนื้อ ลาลูแบร์บอกว่าชาว
สยามไม่คอ่ ยนิยมบริโภคเนือ้ สัตว์แม้จะมีผนู้ �ำ มาให แ้ ต่ถา้ จะบริโภค
บ้างก็พอใจจะบริโภคแต่ลำ�ไส้และเครื่องในทั้งหลาย ซึ่งเป็นของที่
พวกทางฝรั่งเศสเค้าไม่บริโภคกัน ไม่ชอบ แต่ชาวสยามชอบ และ
บอกว่าในตลาดของอยุธยาจะมีตัวแมลงต่างๆ ปิ้งบ้าง ย่างบ้างวาง
ขายแต่ไม่เห็นมีร้านไหนขายเนื้อย่าง และก็ไม่มีโรงฆ่าสัตว์สักแห่ง
และบอกว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดพระราชทานเป็ดไก่
และอืน่ ๆ ทีย่ งั เป็นๆ ให้พวกเรา ให้พวกฝรัง่ เศสทีม่ าอยู่ พระราชทาน
ให้เลยเป็นภาระของพวกเรา ที่จะต้องเชือดคอทำ�อาหารบริโภค
กันเอง

จากนัน้ บอกว่าคนสยามกินตัก๊ แตน กินหนูพกุ แย้ งู ตัวด้วงและ


แมลงอีกหลายชนิด ลาลูแบร์เลยบอกว่าไม่นา่ สงสัยเลยว่า ธรรมชาติ
เนี่ยคงจะทำ�ให้ชาวสยามหันไปบริโภคแต่อาหารประเภทที่ย่อยง่าย
และบอกว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะมีรสชาติดีก็ได้...”

36
เป็นเรื่องน่าคิดไม่น้อยที่สถานภาพของปลาร้า ‘อาหารชาววัง’
สมัยอยุธยา จะตกต่ำ�จนกลายเป็น ‘อาหารบ้านนอก’ ในสายตาของ
คนกรุงส่วนใหญ่ในปัจจุบันไปได้

นั บ เป็ น ตั ว อย่ า งเล็ ก ๆ อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ที่ แ สดงให้ เ ห็ นว่ า


ค่านิยม ทัศนคติ และภาพพจน์ ล้วนเป็น ‘เปลือกนอก’ ที่เปลี่ยนไป
ไม่หยุดยั้งตามกาลเวลา ซึ่งไม่ได้สะท้อน ‘เนื้อแท้’ ของอะไรทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นของฝากมีระดับสำ�หรับทูตฝรั่ง หรือกับข้าวยาม
ยากสำ�หรับคนจน ปลาร้าก็ยังคงรสชาติความอร่อยแบบเค็มปร่า
เช่นเดิม ไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนไปกี่พันกี่ร้อยปี

ถ้าจะว่ากันให้ถึงที่สุด ‘รสชาติ’ ของปลาร้าก็ไม่มีอยู่จริง หาก


แตกต่างกันไปตามต่อมรู้รสของคนแต่ละคน ฉะนั้นปลาร้าจึงเป็น
ของอร่อยสำ�หรับผู้เขียน แต่เป็นของน่าขยะแขยงสำ�หรับเพื่อนที่ไม่
ชอบอาหารเค็มเลย

อาจารย์ปรีดเี ล่าว่า อาหารสยามทีช่ าวฝรัง่ เศสโปรดปรานทีส่ ดุ


คือ “ผลไม้ลกู เล็ก” ซึง่ ทีจ่ ริงก็คอื ‘ลูกชุบ’ นัน่ เอง เพียงแต่ฝรัง่ ไม่รจู้ กั
ชื่อไทย

‘เทคโนโลยีฝรั่ง’ เช่นน้ำ�พุและระบบน้ำ�ประปา เป็นหลักฐาน


แสดงความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระนารายณ์กับพระเจ้าหลุยส์
37
ที่ 14 ที่ แ นบแน่ น เสี ย จนทำ � ให้ ป ระชาชนจำ � นวนมากรู้ สึ ก ว่ า
พระนารายณ์ทรงยอมให้พ่อค้าฝรั่งเศสกดขี่และเอาเปรียบราษฎร
ซึ่งความไม่พอใจของประชาชนที่ขยายวงกว้างขึ้นนั้นก็กลายเป็น
ชนวนสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ออกพระเพทราชาสามารถขับไล่ฝรัง่ เศสและโค่น
ราชบัลลังก์ได้สำ�เร็จ

รัฐบาลปัจจุบนั น่าจะจ้างนักออกแบบหรือศิลปินคอมพิวเตอร์
สร้างแบบจำ�ลองของพระราชวังแห่งนีเ้ ป็นโมเดล 3 มิติ ให้คนเข้าไป
เยือนได้ในโลกเสมือนจริง เผยแพร่โมเดลนี้ทางอินเทอร์เน็ตให้คน
ดาวน์โหลดไปดูฟรีๆ อาจจะช่วยกระตุ้นจิตสำ�นึกของการอนุรักษ์
โบราณสถานขึ้นมาได้บ้าง

เพราะตราบใดคนไทยยังไม่สนใจมาเยือน รัฐบาลก็คงไม่มแี รง
จูงใจหรือแรงกดดันใดๆ ให้ดูแลรักษาอย่างจริงจัง โบราณสถานอัน
ล้ำ�ค่าแห่งนี้ก็รังแต่จะทรุดโทรมลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลา

เพราะประวัติศาสตร์ที่ทาบทออยู่บนซากปรักหักพังที่แลดู
ไร้ชวี ติ ไม่มวี นั ‘มีชวี ติ ’ ขึน้ มาหรือมีความสำ�คัญต่อนักท่องเทีย่ วชาว
ต่างชาติ ได้เท่ากับชนพืน้ เมืองผูซ้ งึ่ ประวัตศิ าสตร์นนั้ ไหลเวียนอยูใ่ น
เส้นเลือด แต่หลายคนไม่เคยล่วงรูเ้ พราะไม่เคยสนใจ และเมือ่ ไม่เคย
สนใจ ก็ได้แต่ฉงนใจแต่ไม่เคยค้นหาคำ�ตอบที่แท้จริงว่า เหตุใด
ประวัติศาสตร์จึงซ้ำ�รอยอยู่เสมอ และเราจะหาทางป้องกันไม่ให้

38
กงล้อประวัติศาสตร์หมุนวนมาย่ำ�ยีผู้ด้อยโอกาสในสังคมซ้ำ�แล้ว
ซ้ำ�เล่าได้อย่างไร

สิบสองท้องพระคลัง
ถัดจากตึกรับรองแขกเมือง คือกลุ่มอาคารสิบสองหลังที่เรียง
กันเป็นสองแถว แถวละหกหลัง สองข้างทางเดินไปจนสุดเขตพระ
ราชฐานชัน้ นอก ตึกเหล่านีเ้ อาไว้เก็บทรัพย์สมบัตขิ องพระนารายณ์
มีชื่อเรียกตามประเภทของสมบัติ เช่น พระคลังสวน เอาไว้เก็บ
ผลผลิตจากสวนต่างๆ เช่น มะพร้าว มะม่วง ฯลฯ ของบางส่วนคง
กันไว้เป็นสินค้าทีล่ �ำ เลียงลงเรือเพือ่ ไปค้าขายกับประเทศอืน่ ๆ และ
อีกบางส่วนก็กันไว้เลี้ยงรับรองแขกเมือง
39
สิบสองท้องพระคลังตอนนีด้ เู ล็กกระจ้อยร่อยเมือ่ เทียบกับศูนย์
กระจายสินค้าของเซเว่นอีเลฟเว่น ใช้คอนเทนเนอร์ตู้เดียวก็ใส่ของ
ในตึกเหล่านี้ได้ทั้งหมด

ทางระหว่างพระราชฐานชั้นนอกกับชั้นในเป็นทางลาดขึ้นลง
คล้ายคลื่นยามทะเลสงบ แทนที่จะเป็นทางเรียบๆ อาจารย์อธิบาย
ว่าสถาปนิกจงใจออกแบบทางให้ลาดแบบนี้เพื่อทุ่นแรงคนหาม
เสลีย่ ง เพราะขาลงจะหามได้เร็วกว่าขาขึน้ พร้อมกันนัน้ ก็เป็นเทคนิค
ในการออกแบบด้วย เพราะทางลาดทำ�ให้ทางเดินดู ‘ลึก’ กว่าความ
เป็นจริง

ในร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ริม
กำ�แพง มีอาคารตึกอีกหลัง
หนึ่งแอบอยู่ ตึกนี้มีชื่อว่า
“ตึกพระเจ้าเหา” มิชชันนารี
ชาวฝรัง่ เศสบันทึกไว้วา่ เป็น
หอพระประจำ�พระราชวัง
ตึกนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปชื่อ พระเจ้าหาว (หาวที่แปลว่า
ท้องฟ้า) แต่คนเรียกเพี้ยนจนกลายเป็น ‘พระเจ้าเหา’

ต่อไปเวลาได้ยินใครใช้คำ�ว่า ‘พระเจ้าเหา’ ในบทสนทนา เช่น


“โฮ้ย ชั้นแต่งตัวแบบนี้มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาแล้ว” ท่านผู้อ่านก็

40
สามารถตอบเขาว่า “โอ้โห อยู่มากว่า 340 ปีแล้วหรือ” อย่างมั่นใจ
ถ้าไม่กลัวอีกฝ่ายหนึ่งคิดว่าท่านแกล้งกวนอวัยวะเบื้องล่างเล่นๆ

นอกจากจะเป็นทีม่ าของหนึง่ ในสำ�นวนยอดฮิตแล้ว ตึกพระเจ้า


เหายังเป็นที่ซึ่งพระเพทราชาและขุนหลวงสรศักดิ์ใช้เป็นสถานที่
นัดแนะประชุมขุนนางและทหารเพือ่ วางแผนแย่งชิงราชสมบัติ ขณะ
ที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระประชวรหนัก

พระพุทธรูปในตึกนีห้ ายไป(คงถูกขโมยไป)นานแล้ว เหลือเพียง


ห้องโล่งๆ และร่องรอยการประดิษฐานคือฐานรองพระพุทธรูปที่
เรียกว่า ‘ฐานชุกชี’ คำ�ว่า ‘ชุกชี’ คือ ‘ที่นั่ง’ ในภาษาแขกมัวร์

โรงช้างหลวงข้างประตูทางเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลาง
เมื่อพาดูเขตพระราชฐานชั้นนอกจนทั่วแล้ว อาจารย์ก็พาเรา
เดินเข้าเขตพระราชฐานชั้นกลาง ผ่านโรงช้างหลวงและประตูที่ช้าง
เข้าไม่ได้ ตรงดิ่งเข้าไปยังพระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
‘ท้องพระโรง’ ประจำ�พระราชวัง สถานที่ซึ่งพระนารายณ์ทรงเสด็จ
ออกให้คนเข้าเฝ้า ตรงกลางท้องพระโรงมี ‘สีหบัญชร’ สำ�หรับทรงมี
พระราชปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้า ยกสูงจากพื้นหลายเมตร ตอนนี้ยัง
พอเห็นเป็นโครงหน้าต่างอยู่ เมื่อเราปีนขึ้นไปชะโงกหน้าดูข้างใน ก็
พบแต่ซากอิฐก่อเป็นชัน้ ๆ เหมือนปิระมิด นึกภาพไม่ออกว่าตรงไหน
เป็นบันไดให้พระนารายณ์ เดิ นไปตรงหน้าต่าง เพราะไม่ เห็นมี
สะพานเชื่อม ถ้ามีก็คงจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ถูกคนขโมยหรือไม่ก็
ผุพังไปหมดแล้ว

ซาก ‘ปิระมิด’ ในห้องหลัง


สีหบัญชร พระที่นั่งดุสิตสวรรค์
ธัญญมหาปราสาท
42
หน้าสีหบัญชรมีรูปปั้นพระนารายณ์และรูปสลักนูนสูงตั้งอยู่
เต็มไปด้วยทองทีค่ นไปปิดและธูปเทียนบูชาในกระถาง ป้ายข้างล่าง
รูปแกะสลักระบุว่า พระนารายณ์เคยเสด็จออกรับคณะราชทูต
ฝรั่งเศสที่นำ�โดย เชอวาเลีย เดอ โชมองต์ ณ พระที่นั่งองค์นี้ในปี
พ.ศ. 2228 อาจารย์บอกว่าป้ายนี้ให้ข้อมูลผิด เพราะพระนารายณ์
ทรงออกรับ เดอ โชมองต์ และคณะทูตอื่นๆ ที่กรุงศรีอยุธยา ไม่ใช่
ที่ลพบุรี นักประวัติศาสตร์หลายคนทักท้วงเรื่องรูปสลักนี้หลายหน
แล้ว แต่ ททท. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ก็ไม่เคยสนใจจะ
แก้ไขให้ถูกต้อง (ผู้เขียนเดาว่า ททท. อาจตั้งใจโกหกเพื่อดึงดูดให้
คนมาเที่ยวก็ได้ เพราะขนาดเว็บไซต์ของ ททท. เอง ยังให้ข้อมูลผิด
เลย)

จากพระที่นั่งดุสิตฯ อาจารย์พาเราเดินเลี้ยวซ้ายเข้าไปในเขต
พระราชฐานชัน้ ใน บรรยากาศร่มรืน่ กว่าข้างนอกมาก เพราะบริเวณนี้
เป็นทีป่ ระทับส่วนพระองค์ของพระนารายณ์ อากาศเย็นสบายเพราะ
จงใจสร้างวังนี้ตรงช่องลมพอดี แสดงภูมิปัญญาของคนโบราณอีก
ตัวอย่างหนึ่ง

ลาลูแบร์บันทึกไว้ว่า “พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยูใ่ นพระราชอุทยาน


ที่ร่มรื่น [พระนารายณ์]ทรงปลูกพรรณไม้ต่างๆ ด้วยพระองค์เอง
หลังคาพระทีน่ งั่ มุงด้วยกระเบือ้ งเคลือบสีเหลือง ทีม่ มุ ทัง้ สีม่ สี ระน้�ำ
ใหญ่สสี่ ระ เป็นทีส่ รงสนานของพระเจ้าแผ่นดิน” อาจารย์บอกว่า ไม่
ได้มีแต่สระอย่างเดียว แต่มีภูเขาไกรลาสจำ�ลองทำ�จากอิฐ ต่อท่อ
43
ส่งน้�ำ ประปาจากอ่างเก็บน้�ำ ข้างนอกมาจำ�ลองเป็นน้�ำ ตกแม่น�้ำ หลาย
สาย ไหลลงสระจากทุกทิศทาง

หลังจากครองราชย์นาน 32 ปี สิริรวมพระชนมายุได้ 56
พรรษา พระนารายณ์ก็ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ เมื่อ
วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 ด้วยสาเหตุไม่แน่ชัดซึ่งยังเป็นที่
ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ ว่าสวรรคตด้วยอาการประชวร
หรือถูกปลงพระชนม์โดยคณะรัฐประหารทีน่ �ำ โดยออกพระเพทราชา
ที่ยึดอำ�นาจได้สำ�เร็จในเดือนก่อนหน้า อาจารย์ชี้ให้ดูบริเวณที่พระ
ปีย์ โอรสบุญธรรมทีพ่ ระนารายณ์ทรงรักมาก ถูกทหารของพระเพท
ราชาลอบสังหาร และบริเวณทีค่ อนสแตนติน ฟอลคอน ถูกซุม่ โจมตี
ก่อนจะนำ�ตัวไปประหารชีวติ บุคคลใกล้ชดิ พระนารายณ์ทงั้ สองคน
นี้ตายภายในเวลาไล่เลี่ยกัน

พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ จุดที่พระปีย์ถูกปลงพระชนม์โดยออกพระเพทราชา
สำ � หรั บ สาเหตุ แ ละปั จ จั ย แห่ ง ความสำ � เร็ จ ของการทำ � รั ฐ
ประหารในครัง้ นัน้ ผูเ้ ขียนจะเก็บไว้เล่าตอนพวกเราไปเยือนบ้านของ
คอนสแตนติน ฟอลคอน ในช่วงบ่าย เพราะชีวติ ของขุนนางชาวกรีก
ผู้นี้เกี่ยวพันกับเหตุการณ์บ้านเมืองในสมัยนั้นอย่างลึกซึ้ง

ปัจจุบันพระที่นั่งสุทธาสวรรย์แทบไม่เหลือเค้าความอลังการ
ให้เห็น มีเพียงซากผนังเตี้ยๆ หญ้าขึ้นรกรุงรัง เห็นชัดว่าแทบไม่ได้
รับการเหลียวแลจากทางการ อาจารย์บอกว่าอาคารหลังนี้ไม่ได้
เสื่อมโทรมเร็วกว่าหลังอื่น แต่เป็นเพราะศิลาแลงของพระที่นั่ง
จำ�นวนมากถูกรื้อไปสร้างวัดสระเกศ และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1
ต้นรัตนโกสินทร์ มีใบบอกไปตามหัวเมืองต่างๆ ให้รื้อและลำ�เลียง
อิฐตามแม่น้ำ�ลงไปยังกรุงเทพฯ เพื่อใช้สร้างวัดภูเขาทอง ยังดีที่
พระราชวังนี้ไม่ได้อยู่ติดแม่น้ำ� ไม่อย่างนั้นคงเหลือซากให้เราดูน้อย
กว่านี้อีก

เดินกลับออกมาเข้าเขตพระราชฐานชัน้ กลาง เพือ่ ไปเยือนกลุม่


อาคารค่อนข้างใหม่ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ชื่อหมู่พระที่นั่ง
พิมานมงกุฎ ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ จัดแสดง
นิทรรศการถาวรเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย มีโบราณ
วัตถุตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 11 มากมาย ทั้งที่พบในลพบุรี และ
จากภาคอื่นๆ ของประเทศ เช่น รูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหล่อ
สำ�ริดแบบศรีวิชัยจากสุราษฎร์ธานี พระพุทธรูปแบบสุโขทัย และ
พระพุทธรูปแบบล้านนาจากเชียงใหม่
45
ผู้เขียนคิดว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดแสดงไม่ค่อยดี ของทุกอย่าง
ดูเคล้าคละปะปนกันไปหมด ทำ�ให้ไม่มจี ดุ เด่นทีจ่ ะดึงความสนใจคน
ลำ�พังโบราณวัตถุที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยพระนารายณ์ก็มีมากมาย
สวยๆ ทั้งนั้น น่าจะเอามาจัดแสดงที่นี่ ไม่ต้องไปสนใจศิลปะภาค
อื่น
หลังจากสิ้นสมัยพระนารายณ์แล้ว กษัตริย์องค์ใหม่คือพระ
เพทราชาไม่สนพระทัยทีจ่ ะใช้ลพบุรเี ป็นราชธานีแห่งทีส่ องอีก เมือง
ลพบุรกี ซ็ บเซาลง พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถกู ทิง้ รกร้าง ราษฎรหลาย
ครัวเรือนเข้าไปจับจองเป็นที่อยู่อาศัย ผ่านไป 300 ปี ก็กลายเป็น
ซากปรักหักพังอย่างที่เห็น

ก่อนรถจะแล่นออก ผู้เขียนเหลียวมองไปยังประตูวังเป็นครั้ง
สุดท้าย นึกถึงกลอนสองบทจาก นิราศภูเขาทอง ของท่านสุนทรภู่
ขึ้นมาจับใจ…

ทั้งองค์ฐานราญร้าวถึงเก้าแสก
เผลอแยกยอดสุดก็หลุดหัก
โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก
เสียดายนักนึกน่าน้ำ�ตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ
จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น
คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น
กว่าเราจะออกจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ก็เลยเที่ยงวันไป
แล้วครึง่ ค่อนชัว่ โมง ทุกคนจึงตัง้ หน้าตัง้ ตารอโปรแกรมถัดไป คือแวะ
รับประทานอาหารเที่ยงกันอย่างใจจดใจจ่อ ร้านที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ
พาไปชื่อร้านมัดหมี่ ร้านอาหารพื้นเมืองมีชื่อของที่นี่ จานที่ผู้เขียน
ประทับใจทีส่ ดุ คือ ‘ปลาส้มฟัก’ (ส้ม แปลว่า เปรีย้ ว) เสิรฟ์ มาในจาน
เป็นแท่งๆ เหมือนหมูยอ แต่รสชาติดกี ว่า ปลาส้มฟักถือเป็น ‘ของดี’
ของเมืองลพบุรี ทำ�จากปลาตะเพียนหมักเกลือ กระเทียมบด และ
ข้าวสุก หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็น “แหนมปลา” นั่นเอง เป็นของฝาก
น่าซื้อติดมือกลับบ้าน

ระหว่างทานอาหารอร่อยๆ ผู้เขียนก็นั่งทบทวนความจำ� จด
บันทึกเกร็ดความรู้ที่อาจารย์ปรีดีเล่าให้ฟังตอนพาชมพิพิธภัณฑ์
สมเด็จพระนารายณ์ไปพลางๆ เพราะอาจารย์เล่าเรื่องสนุกมาก
ทำ�ให้นทิ รรศการในพิพธิ ภัณฑ์ดนู า่ เบือ่ น้อยกว่าความเป็นจริง เพราะ
นอกจากจะจัดแสดงของไม่ดีแล้ว ของหลายชิ้นก็ยังไม่มีป้ายบอก
แถมป้ายส่วนใหญ่ก็ไม่มีภาษาอังกฤษกำ�กับด้วย ไม่คิดถึงแขกชาว
ต่างชาติเสียเลย

47
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยบางประการเกี่ยวกับของแสดง
ที่อาจารย์เล่าให้ฟัง:


ตูพ้ ระธรรมลายเทวดาหน้าฝรัง่ เป็นหลักฐานอีกชิน้ หนึง่ ทีแ่ สดง
ว่าการผสมปนเปทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว ที่เรารู้ว่า
เทวดาองค์นเี้ ป็นฝรัง่ ก็เพราะถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าผมเป็นหลอดๆ
เหมือนชาวยุโรปที่นิยมใส่วิกในสมัยนั้น

‘ตุ๊กตาเจ้าพราหมณ์’ เป็นของเล่นเด็กสมัยโบราณทำ�จาก
ดินเผา ส่วนใหญ่ปั้นเป็นเด็กผมจุกหน้าตาจิ้มลิ้ม ตอนนี้หลายตัวที่
พบเหลือแต่หัว เพราะตัวของตุ๊กตาชนิดนี้จะบอบบางมาก จึง
แตกหักและหายง่าย พวกนี้ไม่น่าจะเป็น ‘ตุ๊กตาเสียกบาล’ เพราะ
ชื่อของตุ๊กตาเสียกบาลก็บอกอยู่แล้วว่าตั้งใจทำ�ให้เสียกบาล ฉะนั้น
ตุก๊ ตาเสียกบาลทีต่ กทอดมาถึงรุน่ เราส่วนใหญ่จะเหลือแต่ตวั ไม่มีหัว

พู ด ถึ ง ตุ๊ ก ตาเสี ย กบาลก็ มี เ รื่ อ ง
สนุกๆ อีกเหมือนกัน เพราะตุก๊ ตา
นี้ ไ ม่ ใ ช่ ข องเล่ น เด็ ก หากเป็ น
‘เครื่ อ งเซ่ น ผี ’ ที่ สำ � คั ญ ในสมั ย
โบราณ ข้อมูลจากเว็บไซตศูนย์
บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำ�เภอบ้านแพรก (ที่
ตั้งของพิพิธภัณฑ์บ้านแพรก อีกหนึ่ง ‘พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน’ คุณภาพ
ของไทย) อธิบายว่า “จากหลักฐานพออ้างอิงได้ว่า ตุ๊กตาเสียกบาล
เริม่ ทำ�กันตัง้ แต่สมัยทวาราวดี สร้างขึน้ ตามความเชือ่ เรือ่ งผีเกีย่ วกับ
ประเพณีการเกิด บ้านใดมีเด็กเกิดใหม่ มักนิยมปั้นตุ๊กตาตามเพศ
ของเด็กที่เกิดขึ้น มองเห็นอวัยวะเพศเด่นชัด นำ�ไปทำ�พิธีกรรมทาง
ไสยศาสตร์ เรียกว่า การเสียกบาล เช่น ตัดแขน ตัดขา ตัดคอ หรือ
ปาดหน้าตุ๊กตาตัวนั้น แล้วนำ�เครื่องเซ่น ผีกับตุ๊กตาใส่กระบะหรือ
ภาชนะ นำ�ไปวางไว้ที่ทางสามแพร่ง หรือนำ�ไปลอยน้ำ� เป็นการตั้ง
ตุ๊กตาแทนตัวเด็กที่เกิด ผีเห็นแล้วถือว่าน่าเกลียด ผีจะได้ไม่มาเอา
ชีวิตเด็กที่เกิดใหม่ ถือว่าตุ๊กตาตายแทนเด็ก”

คนรุน่ ใหม่อาจนึกดูถกู คนโบราณว่าโง่งมงาย นับถือผีมากกว่า


พระ แต่เมือ่ คำ�นึงถึงข้อเท็จจริงทีว่ า่ ทารกแรกเกิดในสมัยโบราณนัน้
มีอัตราการตายสูงมาก เพราะยังไม่มีเทคนิคการทำ�คลอดที่ถูก
สุขอนามัยและปลอดภัย การทำ�พิธเี สียกบาลก็ดู ‘มีเหตุผล’ ในบริบท
ของสมัยนั้นไม่น้อย และต่อมา หลังจากที่วิทยาศาสตร์การแพทย์
พัฒนาขึ้นมากจนการคลอดลูกไม่ใช่เรื่องอันตรายอีกต่อไป ก็ไม่มี
เหตุผลทีจ่ ะทำ�พิธเี สียกบาลอีก ตุก๊ ตาเสียกบาลจึงค่อยๆ เสือ่ มความ
นิยมลงจนคนเลิกทำ�ในที่สุด

ด้วยเหตุนผี้ เู้ ขียนจึงคิดว่า คนปัจจุบนั น่าจะ ‘โง่’ กว่าคนโบราณ


หลายเท่า เพราะถึงแม้เราจะรูแ้ ล้วว่าความร่�ำ รวยทีม่ าจากความขยัน
หมั่นเพียรนั้น มีความเป็นไปได้สูงกว่าและยั่งยืนกว่าความร่ำ�รวย
ที่มาจากการซื้อหวยหรือส่งฝาเครื่องดื่มไปชิงรางวัล เครื่องราง
ของขลังอย่างจตุคามรามเทพที่ร่ำ�ลือกันว่าจะช่วยให้ ‘รวยทางลัด’
ได้โดยไม่ตอ้ งทำ�งาน ยังขายดีเป็นเทน้�ำ เทท่า คนแย่งกันเป็นเจ้าของ
ถึงขนาดเหยียบกันตายก็มี

กริชที่พวกแขกมัวร์ใช้ในกบฏมักกะสัน อาจารย์บอกว่าการ
แปลงกริชนีใ้ ห้เป็นกริชอาบยาพิษทำ�ได้งา่ ยมาก แค่เอาไปครูดกับกิง่
ยี่โถเท่านั้น

เบี้ยที่ใช้เป็นเงินในสมัยโบราณ สั่งนำ�เข้าจากหมู่เกาะมัลดีฟส์
มาประทับตรา เพราะถ้าใช้หอยเบี้ยแบบที่หาได้ทั่วไปในประเทศมี
หวังเงินเฟ้อพุ่งกระฉูดจนเงินไร้ค่า เพราะใครๆ ก็ไปเก็บหอยตาม
ชายหาดมาปลอมใช้เป็นเงินได้
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า
เมื่ อ อิ่ ม ท้ อ งกั น ดี แ ล้ ว จุดหมายต่อไปของเราคือ
พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ วัดเชิงท่า หนึ่งใน ‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น’ ที่
ดีที่สุดในประเทศ บริหารจัดการโดยวัดและชุมชน เปิดทุกวันตั้งแต่
8.30 – 16.30 น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ประวัติของพิพิธภัณฑ์ใน
ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของศูนย์ฯ ระบุว่า พิพิธภัณฑ์แห่งนี้
“...ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยพระครูโสภณธรรมรัต เจ้าอาวาสวัดเชิง
ท่า เพือ่ ใช้เป็นสถานทีร่ วบรวมและจัดแสดงโบราณวัตถุทที่ รงคุณค่า
ทางศาสนา ศิลปกรรม ประวัติศาสตร์ อันเป็นสมบัติเก่าแก่ของวัด
และของส่วนตัวของท่านพระครูโสภณธรรมรัต

ตู้เก็บพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลาน ผ้าห่อคัมภีร์


52
การจัดแสดงศิลปกรรมโบราณวัตถุเริ่มเมื่อ พ.ศ. 2542 และ
สำ�เร็จเรียบร้อยใน พ.ศ. 2544 ด้วยความร่วมมือของบุคคลหลาย
ฝ่าย อาทิ คณะสงฆ์วัดเชิงท่า ชุมชนวัดเชิงท่า ...รวมถึงนักวิชาการ
ด้านต่างๆ จากภายนอก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี เสด็จพระราชทานดำ�เนินเปิดพิพิธภัณฑ์หอโสภณ
ศิลป์เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545

พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์มีพื้นที่จัดแสดง 253 ตารางเมตร


วัตถุต่างๆ รวบรวมมาจากสองแหล่งสำ�คัญคือ สมบัติของวัดเชิงท่า
ที่มีมาแต่เดิม และสมบัติส่วนตัวของท่านพระครูโสภณธรรมรัต แม้
วัตถุทจี่ ดั แสดงในพิพธิ ภัณฑ์จะมีลกั ษณะทีค่ ล้ายคลึงกับพิพธิ ภัณฑ์
วัดอืน่ ๆ อีกหลายแห่ง ไม่วา่ จะเป็นพระพุทธรูป พระคัมภีร์ พระบฏ
เครื่องถ้วย ตู้คัมภีร์ ตาลปัตร แต่การจัดแสดงด้วยเรื่องราวของวัด
และพระพุทธศาสนาได้ยึดโยงและสอดผสานไปกับสิ่งของจนทำ�ให้
ผู้ชมได้เข้าใจชีวิตทางสังคมชาวพุทธได้อย่างลงตัว

พระสงฆ์ พระรัตนตรัยดวงแรก อันหมายถึงนักบวชผู้เชื่อฟัง


คำ�สอนและปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็น
ส่วนจัดแสดงถัดมาทีเ่ ล่าถึงวัตถุทเี่ ข้ามาเกีย่ วข้องกับวัตรปฏิบตั ขิ อง
ภิกษุ เครื่องบริขารของสงฆ์ เช่น ไตรจีวร บาตร และตาลปัตร โดย
ประกอบประวัติศาสตร์ที่มาของวัตถุเหล่านี้ เช่น พัดรองที่สร้างขึ้น
ในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ของสะสมของท่านเจ้าอาวาส อาทิ
เครื่องเคลือบจีน เครื่องเคลือบไทย ธรรมาสน์ที่ได้รับการนำ�เสนอ
53
ด้วยการกล่าวถึงหน้าทีใ่ ช้งาน ประวัติ ลักษณะศิลปะ และสัญลักษณ์
ที่เชื่อมโยงกับคติพุทธศาสนา รวมถึงความสัมพันธ์กับพิธีกรรม
ต่างๆ กับผู้คนในสังคม เช่น การแสดงธรรมเทศนา การเทศน์
มหาชาติ ซึ่ ง เป็ น เสมื อ นสื่ อ กลางที่ เ ชื่ อ มโยงชาวพุ ท ธเข้ า สู่ พ ระ
รัตนตรัยดวงที่สอง หรือ พระธรรม อันเป็นเนื้อหาการจัดแสดงใน
ส่วนต่อไป
วัตถุที่ผูกโยงกับเนื้อหาการ
จั ด แสดงส่ ว นนี้ น อกจากพระ
ไตรปิฎกแล้ว ยังรวมถึงตู้เก็บ
คัมภีร์ที่ถูกอธิบายถึงความเป็น
มา สัญลักษณ์ และความหมาย
ที่ สั ม พั นธ์ กั บพุ ทธประวั ติ หรื อ
เรื่องราวอื่นๆ คัมภีร์ใบลาน ผ้า
ห่อคัมภีรท์ แี่ สดงถึงความศรัทธา
ของชาวพุทธในการเลือกผ้าห่อ
คัมภีรท์ มี่ คี วามวิจติ รงดงาม เพือ่
ปกป้อง “ของสูงของศักดิ์สิทธิ์”
ให้พ้นจากการเปื้อนเปรอะจาก
ฝุ่นละออง การกัดทำ�ลายของ
มดหรือแมลง นอกจากนีย้ งั จัดแสดงสมุดไทยทีเ่ ป็นคลังของวิชาการ
ทางโลก เวทมนต์คาถา ตำ�ราหมอดู ตำ�ราเรียนภาษาไทย กฎหมาย
วรรณกรรมท้องถิ่น

54
พระรัตนตรัยคงจะไม่ครบองค์สามหากไม่กล่าวถึง พระพุทธ
มหาเวสสันดรชาดกซึ่งเป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อน
จะเสวยพระชาติถัดมาเป็นพระพุทธเจ้า ถูกเรียบเรียงผ่านภาพ
พระบฏ 13 ผืน อันหมายถึงกัณฑ์ทงั้ 13 ในการเทศน์มหาชาติ เรือ่ ง
ราวนี้เป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาในส่วนสุดท้ายของการจัดแสดง ซึ่ง
อยูบ่ นชัน้ ลอยในตัวอาคาร จากนัน้ เป็นการจัดแสดงพระพุทธรูปทีม่ ี
รูปแบบศิลปกรรมแตกต่างกันไป พระพุทธรูปปางสมาธินาคปรก
อิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน อายุราว พ.ศ. 1750-1800 พระพุทธ-
รูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย อายุราว พ.ศ. 2200-
2300 เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์แห่งนี้สร้างสรรค์ให้วัตถุที่จัดแสดง
มิใช่เพียง “ศิลปวัตถุ” ที่เดินเรื่องด้วยยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
ศิลปะ หรือพยายามกลายสภาพศาสนวัตถุให้เป็น
ประติมากรรม หรือสิ่งของที่สร้างความตื่นตา
ตื่นใจหากแต่เป็นการนำ�แก่นวิถีของชาวพุทธ
มาผูกโยงเป็นเรื่องราวให้เกิดปัญญาญาณแก่
ผู้เข้าชม ความลงตัวระหว่างโบราณวัตถุและ
เนื้อหาที่นำ�เสนอเช่นนี้คงทำ�ให้ใครหลายๆ คน
อยากย้อนกลับมาชมพิพิธภัณฑ์วัดกันอีกครั้ง
พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าถึงชีวิตของวัดและพุทธ
ศาสนา”
พระพุทธรูป พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์
55
‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น’ ที่ ‘มือสมัครเล่น’ ในวัดและชุมชนช่วยกัน
ดูแลแห่งนี้ ทำ�ได้ดีกว่าพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์ที่บริหาร
จัดการโดยผู้ดูแล ‘มืออาชีพ’ หลายเท่า ไม่ว่าจะเป็นในด้านการ
จัดวาง การจัดแสง หรือการจัดหมวดหมู่ ของแทบทุกชิน้ มีปา้ ยบอก
ชือ่ ทัง้ ภาษาไทยและอังกฤษ ทัง้ หมดประกอบกันขึน้ เป็นบรรยากาศ
ที่รู้สึกได้ถึง ‘ความรัก’ ของผู้จัดทำ�ทุกฝ่าย

ในชีวิตของคนสมัยใหม่ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ในที่ทำ�งาน การได้
ทำ�งานที่ใจรักจริงๆ ไม่ใช่เพราะอยากได้เงินเป็นจุดมุ่งหมายหลัก
(หรือในภาษาพุทธคือ งานทีท่ �ำ ด้วยฉันทะ ไม่ใช่ตณ ั หา) และทำ�งาน
นัน้ ด้วยสติและสมาธิ อาจเป็นวิธี ‘ปฏิบตั ธิ รรม’ ทีเ่ ป็นไปได้มากทีส่ ดุ
ในโลกปัจจุบัน ดังคำ�สอนของท่านพุทธทาสภิกขุที่ว่า “การทำ�งาน
คือการปฏิบัติธรรม”

‘ความสำ�เร็จ’ ของพิพธิ ภัณฑ์หอโสภณศิลป์อยูท่ กี่ ารทำ�ให้ผชู้ ม


สัม ผัสได้ถึงศรัทธาในพุทธศาสนาของคนโบราณ ที่ถ่ายทอดผ่าน
ความประณีตและความละเอียดอ่อนของศิลปวัตถุแต่ละชิ้น ไม่แต่
เฉพาะของทีใ่ ช้ในการประกอบพิธกี รรมทางศาสนาหรือชีวติ ประจำ�
วันของพระสงฆ์เท่านั้น แต่ของที่ฆราวาสใช้ในชีวิตประจำ�วันหลาย
ชิ้นก็มีกลิ่นอายของไสยและพุทธประทับอยู่ปะปนกัน เช่น ก่อนที่
คนโบราณจะกินหมากพลู จะเอาใบพลูสอ่ งกับแดดก่อน ถ้ามองเห็น
ใบหน้าพระหรือเทวดาปรากฏอยู่บนใบไม้นั้น ก็จะไม่กิน

56
เครื่ อ งอบ เป็ น ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ที่ ส ะท้ อ นความประณี ต และ
ภูมปิ ญ ั ญาของคนโบราณ อาจารย์เล่าว่าเครือ่ งอบทีใ่ ช้ตอนกลางคืน
จะใส่ดอกไม้ที่ส่งกลิ่นหอมตอนกลางคืน เช่น ดอกการเวก แล้วพอ
ถึงรุง่ สาง ก็จะเปลีย่ นเอาดอกไม้ทบี่ านตอนกลางวันมาใส่ลงไปแทน

เมือ่ เราเดินผ่านพระพุทธรูปแบบลาว อาจารย์กเ็ ล่าว่า คนลาว


นิยมสร้างพระพุทธรูปที่หัวโตกว่าสัดส่วนปกติ เพราะเชื่อว่าเศียร
ของพระพุทธเจ้ามีขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไปจริงๆ เพราะช่วยคนได้
มาก ยิ่งหัวใหญ่เท่าไรก็แปลว่ายิ่งช่วยคนได้มากเท่านั้น

57
บ้านหลวงรับราชทูต หรือบ้านวิชาเยนทร์
บ้านหลวงรับราชทูต

บ้านของออกญาวิชาเยนทร์หรือ คอนสแตนติน
ฟอลคอน ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านหลวงรับราชทูต ตรงข้ามประตูทาง
เข้าพระราชวังชั้นกลางพอดี สุดถนนเล็กๆ ที่รัฐบาลไทยตั้งชื่อในปี
พ.ศ. 2526 ว่า “ถนนฝรัง่ เศส” เพือ่ เป็นเกียรติแด่ฝรัง่ เศส (แต่ฝรัง่ เศส
มี “ถนนสยาม” มาแล้วกว่า 300 ปี) สองข้างถนนปลูกต้นมะกอก
ที่ฝรั่งเศสมอบแด่รัฐบาลไทยเมื่อหลายปีก่อน

บ้านหลวงรับราชทูตอยูใ่ นสภาพชำ�รุดทรุดโทรม แต่ยงั ดูดกี ว่า


วังพระนารายณ์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ด้านตะวันออกเป็นบ้านพัก
ของคณะทูตชาวฝรัง่ เศส ด้านตะวันตกเป็นบ้านพักของคอนสแตนติน
ฟอลคอน ชาวตะวันตกคนแรกและคนเดียวที่ได้รับตำ�แหน่งสูงสุด
ในระบบราชการไทย คือได้เป็นถึงสมุหนายก หน้าบ้านฟอลคอนยัง
มีซากของอ่างน้ำ�พุรูปไข่ และสวนมุมห้องด้วย ตอนที่ฟอลคอนยัง
เฟื่องฟูอยู่ บ้านนี้คงดูอลังการไม่น้อย

59
ไม้โบราณ 300 ปี เหนือประตูบ้าน

ทั้งบ้านพักของคณะทูตและบ้านของฟอลคอนสร้างเป็นตึก
แบบยุโรปแท้ ตามสไตล์เรอเนสซองซ์ (Renaissance) ซึ่งยังเป็นที่
นิยมในสมัยนั้น บ้านนี้ไม่มีอิทธิพลของแขกมัวร์ ไม่เหมือนกับวัง
พระนารายณ์ ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เมื่อคำ�นึงว่าแขกมัวร์เป็น
เผ่าพันธุ์ที่คนยุโรปโบราณ (และแม้กระทั่งบางคนในสมัยนี้) มองว่า
เป็น ‘ศัตรูคู่อาฆาต’ เพราะแขกมัวร์ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามทำ�
‘สงครามทางศาสนา’ (the crusades) กับฝรั่งยุโรปซึ่งเป็นชาว
60
คริสเตียนและคริสตัง ต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง 200 ปี ระหว่าง
ปลายคริสตศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสตศตวรรษที่ 13 แต่การ
สู้รบทางศาสนานอก ‘ดินแดนศักดิ์สิทธิ์’ (Holy Land) ที่ปะทุขึ้น
ตามสมรภูมริ ะดับหัวเมืองตามชนบทก็ยงั ดำ�เนินต่อเนือ่ งมาอีกหลาย
ร้อยปี

ใครที่ เ ชื่ อ ว่ า คริ ส ต์ ที่ เ คร่ ง ครั ด ไม่ มี วั น อยู่ ร่ ว มกั บ มุ ส ลิ ม ที่
เคร่งครัดได้ โดยเฉพาะในโลกที่ ‘บรรยากาศแห่งความหวาดระแวง’
กำ�ลังแผ่ไปทั่วโลกหลังเกิดโศกนาฏกรรม 9/11 ผู้เขียนขอแนะนำ�
ให้ไปเยือนบริเวณ Sicily ในอิตาลี และรัฐ Andalusia ทางตอนใต้
ของสเปน โดยเฉพาะเมือง Granada, Cordoba และ Seville เพราะ
เมืองเหล่านั้นเคยเป็นที่มั่นสำ�คัญในยุโรปของแขกมัวร์ และในเมือง
เหล่านั้น ความสำ�เร็จของ ‘การผสมปนเปทางวัฒนธรรม’ ระหว่าง
อาหรับและยุโรป มองเห็นอยู่ทั่วไปในรูปของโบสถ์สไตล์อาหรับ
อาหารผสมระหว่างแขกและสเปน และชาวพื้นเมืองสเปนผู้นับถือ
ศาสนาอิสลามจำ�นวนนับแสนคนที่ยังรักษาประเพณีของแขกมัวร์
เอาไว้อย่างเหนียวแน่น

พระเจ้าโรเดอริค (Roderic) แห่งสเปน ซึ่งกรีฑาทัพเข้ายึด


หัวเมืองคืนจากชาวมัวร์ได้ในสมัยยุคกลาง ทรงเลื่อมใสเป็นอย่าง
มากในอารยธรรมอันสูงส่งของอาหรับมุสลิม ถึงขนาดสั่งให้สร้าง
โบสถ์คริสต์ในสไตล์มุสลิม และพระองค์เองก็ลงทุนเรียนภาษา
อาหรับ เพื่ออ่านหนังสือปรัชญากรีกโบราณที่ชาวมัวร์เป็น ผู้เก็บ
61
รักษาเอาไว้ระหว่างทีย่ โุ รปต้องตกอยูใ่ นยุคมืด นอกจากนัน้ พระเจ้า
โรเดอริคยังเลือกทีจ่ ะสวดภาวนาต่อพระผูเ้ ป็นเจ้าเป็นภาษาอาหรับ
ทั้งๆ ที่พระองค์นับถือศาสนาคริสต์

โบสถ์คริสต์สไตล์ยุโรปปนไทยแห่งแรกของไทยและโลก
ถึงแม้ว่าบ้านพักทั้งสองหลังจะเป็นสไตล์ยุโรปล้วน ก็ใช่ว่า
บ้านหลวงรับราชทูตจะปราศจากหลักฐานของ ‘การผสมปนเปทาง
วัฒนธรรม’ เสียทีเดียว – ซากของโบสถ์คริสต์ตงั้ เด่นอยูก่ ลางบริเวณ
บ้าน ตามสมัยนิยมของเศรษฐียโุ รปทีช่ อบสร้างโบสถ์ในบริเวณบ้าน
โบสถ์นี้ดูเผินๆ ไม่ต่างจากโบสถ์ยุโรปทั่วไป แต่เมื่อสังเกตซุ้มประตู
หน้าต่างดีๆ ก็จะพบว่าเป็นซุม้ เรือนแก้ว ปลายเสามีลายกลีบบัวยาว
ซึ่งเป็นศิลปะแบบไทย

นับว่าอาคารหลังนี้เป็นโบสถ์คริสต์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ
Renaissance ผสมไทย แห่งแรกของไทยและของโลก

แล้วฟอลคอนทำ�อะไร จึงได้เป็นทีโ่ ปรดปรานของพระนารายณ์


แต่เป็นทีเ่ กลียดชังของคนกลุม่ อืน่ ในวงกว้าง ไม่วา่ จะเป็นขุนนาง ชาว
บ้าน พระเยซูอิต หรือแม้กระทั่งชาวต่างชาติด้วยกันที่มาค้าขายใน
สยาม?

เพื่อตอบคำ�ถามนี้ จำ�เป็นที่เราต้องหมุนเข็มนาฬิกากลับไป
300 กว่าปี ถึงยุคที่อาคารแห่งนี้ยังสว่างไสวด้วยแสงไฟยามค่ำ�คืน
รุ่งโรจน์เหมือนหน้าที่การงานของเจ้าของตึกนาม คอนสแตนติน
ฟอลคอน ที่พุ่งสู่จุดสูงสุดในราชสำ�นักสยาม ก่อนที่จะปักหัวตกสู่
ดินเหมือนผีพุ่งไต้

63
ประวัตขิ องฟอลคอนน่าสนใจสำ�หรับคนรุน่ ใหม่ เพราะสะท้อน
ให้เห็นสัจธรรมที่ว่า กงล้อประวัติศาสตร์ไม่เคยหมุนไปไหนไกล
เพราะไม่ว่า ‘ความเจริญทางวัตถุ’ ของมนุษย์จะก้าวหน้าไปเพียงใด
กิเลสหลักๆ ทีล่ อ่ ลวงให้มนุษย์ประพฤติผดิ ในธรรม ก็ยงั คงเป็นกิเลส
เดิมๆ คือเงินและอำ�นาจ ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

ประวัตขิ องฟอลคอนยังสอนให้รวู้ า่ หนึง่ ในค่านิยมของคนไทย


คือ ‘โกงบ้างไม่เป็นไร ขอให้ท�ำ งานเก่งก็พอ’ นัน้ เป็นค่านิยมยอดฮิต
มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

ออกญาวิชาเยนทร์ หรือนามเดิม คอนสแตนติโย เยรากี หรือ


คอนสแตนติน ฟอลคอน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2190 ที่เกาะเซฟาโลเนีย
ประเทศกรีก ออกเดินทางแสวงโชคในโลกกว้างเมือ่ อายุเพียง 13 ปี
เท่านั้น ในตำ�แหน่งเด็กรับใช้ประจำ�เรือสินค้าของอังกฤษ เด็กชาย
ฟอลคอนเป็นเด็กฉลาด ขยั นขั นแข็ ง และกระตื อ รื อ ร้ นในการ
หาความรู้ ทำ�งานในเรือไม่นานก็สามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษา
โปรตุเกสได้ ต่อมาเมื่อล่วงเข้าวัยหนุ่ม ฟอลคอนได้งานกับบริษัท
อินเดียตะวันออก (East India) ของอังกฤษ ที่สาขาเกาะชวา ทำ�ให้
เรียนรู้ภาษามลายูอีกภาษาหนึ่ง

ความเชี่ยวชาญในภาษามลายูและโปรตุเกส สอง ‘ภาษา


ราชการ’ ประจำ�ราชสำ�นักของพระนารายณ์ เป็น ‘ความบังเอิญที่มี
ประโยชน์’ ข้อสำ�คัญทีช่ ว่ ยให้ฟอลคอนรุง่ เรืองก้าวหน้าในเวลาต่อมา
64
ฟอลคอนเดินทางมาประจำ�สาขาอยุธยาของบริษัทอินเดีย
ตะวันออกในปี พ.ศ. 2221 ต่อมาอีก 2 ปีลาออกจากบริษัท ไปเข้า
รับราชการในกรมพระคลังสินค้า ทำ�งานเป็นที่พอใจของราชการ
จนได้รับตำ�แหน่งเป็นออกหลวงสุระสงคราม เริ่มมีโอกาสเข้าเฝ้า
พระนารายณ์เพื่อกราบทูลเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของโลก
ตะวันตก ในปี พ.ศ. 2228 ได้เลือ่ นยศเป็นออกพระฤทธิก�ำ แหงภักดี

ฟอลคอนไม่ได้เป็น ‘พ่อค้า’ ที่หลักแหลมเพียงอย่างเดียว แต่


ยังเป็น ‘นักฉวยโอกาส’ ตัวยงที่ไม่เคยคิดว่าจรรยาบรรณหรือ
คุณธรรมเป็นเรื่องสำ�คัญ (แต่สมัยนั้นปัญหาเรื่อง ‘ผลประโยชน์
ทับซ้อน’ ก็ยังไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ด้วย) ดังสะท้อนจากการที่เขา
ลักลอบทำ�การค้าส่วนตนตัง้ แต่สมัยอยูบ่ ริษทั อินเดียตะวันออก และ
เมือ่ รับราชการแล้วก็แอบแฝงค้าขายกับกรมพระคลังสินค้าจนร่�ำ รวย
สร้างคฤหาสน์หลังใหญ่พร้อมโบสถ์ประจำ�บ้านตามความนิยมของ
เศรษฐียุโรปในสมัยนั้น ทั้งที่อยุธยาและลพบุรี

ตัง้ แต่เริม่ รับราชการ ฟอลคอนได้พสิ จู น์ให้ราชสำ�นักสยามเห็น


ว่าเล่ห์เหลี่ยมและความเจนจัดด้านการเจรจาทางธุรกิจของเขานั้น
เป็นประโยชน์ต่อสยามในการค้าระหว่างประเทศ ฟอลคอนช่วย
เจรจาการค้ากับต่างชาติ ส่งผลให้อยุธยาได้รับประโยชน์มากกว่า
ทีเ่ คยได้ถงึ สองเท่า นอกจากนี้ เขาก็มบี ทบาทอย่างยิง่ ในการส่งคณะ
ทูตไทยไปเจริญไมตรีกับฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2227 และหลังจากนั้น
เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ส่งคณะทูตนำ�โดย เชอวาเลีย เดอ โชมองต์
65
มายังอยุธยาในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2228 ฟอลคอนก็เป็นคนสำ�คัญ
ในการรั บ คณะทู ต ชุ ด นี้ ซึ่ ง มี จุ ด ประสงค์ ห ลั ก คื อ โน้ ม น้ า วให้
พระนารายณ์เข้ารีต ให้ฝรั่งเศสมีอิทธิพลในการสอนศาสนา ให้มี
สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้ผูกขาดการค้าดีบุกที่ภูเก็ต ให้ได้
รับประโยชน์ทางการค้าเท่าเทียมฮอลันดา และให้ตั้งกองทัพทหาร
ฝรั่งเศสที่เมืองสงขลา

ดังที่ได้เล่าไปแล้วก่อนหน้านี้ว่า พระนารายณ์ทรงยินดีที่จะ
ผูกมิตรกับฝรั่งเศส เพราะขณะนั้นกำ�ลังมองหาประชาคมต่างชาติ
ที่ไว้ใจได้มาแทนอิหร่าน (แขกมัวร์) และอังกฤษ ซึ่งความสัมพันธ์
ระหว่างสองประเทศนี้กับสยามกำ�ลังเข้าขั้นวิกฤต โดยแขกมัวร์ได้
ก่อกบฏมักกะสันในปี พ.ศ. 2229 และในเวลาไล่เลี่ยกันนั้นก็เกิด
จลาจลซึ่งมีเหตุมาจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ด้านการค้า
ขึน้ ในเมืองมะริด ซึง่ เป็นเมืองท่าด้านตะวันตกของอยุธยา อันนำ�ไปสู่
การสังหารชาวอังกฤษ 60 คนทีข่ ดั ขวางผลประโยชน์ทางการค้าของ
พระนารายณ์ และฟอลคอน หลังจากนัน้ พระนารายณ์ทรงประกาศ
ยกเมืองมะริดให้ฝรั่งเศสไปตั้ง (กล่าวคือมีเจ้าเมืองเป็นคนฝรั่งเศส
และให้กองทหารฝรั่งเศสอยู่ประจำ�ได้) เหตุการณ์นี้เป็นเหตุให้
อยุธยาอยู่ในสภาพสงครามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
นายจ้างเดิมของฟอลคอน ไปจนสิ้นสุดรัชกาลพระนารายณ์

ฟอลคอนเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทำ�หน้าที่เป็น ‘ตัวเชื่อม’
สายสัมพันธ์ระหว่างราชสำ�นักสยามและฝรั่งเศส เนื่องจากเป็น
66
ประโยชน์ตอ่ ทัง้ สองฝ่าย กล่าวคือ พระนารายณ์สามารถใช้ประโยชน์
จากความเชีย่ วชาญด้านการค้าและการทูตของฟอลคอน โดยไม่ตอ้ ง
กังวลว่าจะมีกำ�ลังก่อกบฏเนื่องจากฟอลคอนเป็นพ่อค้าชาวกรีก
ไม่มีฐานอำ�นาจของตนเอง ด้านฝรั่งเศสเองก็มองว่าสามารถใช้
ฟอลคอนเป็น ‘สะพานเชื่อม’ ในการเกลี้ยกล่อมให้พระนารายณ์
ยอมเข้ารีตเป็นคริสต์ และแม้กระทั่งช่วยยึดอาณาจักรสยามหาก
สบโอกาส ฟอลคอนเองก็เหลี่ยมจัดถึงขนาดยอมเปลี่ยนศาสนา
เป็นคริสต์นกิ ายคาทอลิก เพือ่ ให้บาทหลวงฝรัง่ เศสไว้วางใจในตัวเขา
มากขึ้น

เมื่ อ ผลประโยชน์ ข องทุ ก ฝ่ า ยลงตั ว การเถลิ ง อำ � นาจของ


ฟอลคอนและประชาคมฝรั่งเศสจึงได้เริ่มขึ้นและจบลงพร้อมๆ กัน
ทันทีที่พระนารายณ์สิ้นพระชนม์ที่พระตำ�หนักเย็นในลพบุรีนั่นเอง

ในปี พ.ศ. 2230 อาชีพการงานของฟอลคอนรุ่งเรืองถึงที่สุด


โดยได้รบั ตำ�แหน่งราชการสูงสุดฝ่ายพลเรือน คือเป็นถึงทีส่ มุหนายก
ได้รับราชทินนาม “ออกญาวิชาเยนทร์” ฟอลคอนได้รับอำ�นาจมาก
เสียจนสามารถลงนามในสนธิสัญญาต่างๆ แทนสยามได้

อาจารย์นธิ ิ เอียวศรีวงศ์ ได้สรุปปัญหาในการเมืองภายในสยาม


และอธิบายพฤติกรรม ‘โลภไร้ขีดจำ�กัด’ และ ‘ลุแก่อำ�นาจ’ ของ
ฟอลคอน ผนวกกับการ ‘ลำ�เอียง’ เข้าข้างฟอลคอนของพระนารายณ์
อันเป็นสาเหตุสำ�คัญที่ทงั้ พระนารายณ์และฟอลคอนถูก ‘โดดเดีย่ ว’
67
ทางการเมือง จนนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จของออกพระเพทราชาในการ
ทำ�รัฐประหาร ไว้ในหนังสือเรื่อง การเมืองไทยสมัยพระนารายณ์
ดังต่อไปนี้

“...ความหวังของพระนารายณ์ ในอั นที่ จะใช้ ฟ อลคอนเป็ น


เครือ่ งมือเพือ่ สร้างพันธมิตรระหว่างพระองค์กบั ประชาคมคริสเตียน
นั้นเป็นความหวังที่จะสำ�เร็จได้ยาก สาเหตุส่วนหนึ่งที่จะต้องล้ม
เหลวก็เพราะมีปัญหาแตกร้าวระหว่างพวกคริสตังเองจนเกินกว่า
ฟอลคอนหรือบุคคลใดจะสามารถประสานได้ ศาสนาเป็นเพียงด้าน
เดียวของมนุษย์ มิใช่ทงั้ หมดของชีวติ ด้านอืน่ ๆ นัน่ เองทีท่ �ำ ให้คนใน
ศาสนาเดียวกันไม่กลมเกลียวกันเสมอไป เป็นต้นว่าการอุดหนุน
พระฝรั่ ง เศสเป็ น พิ เ ศษ ก็ ทำ � ให้ พวกโปรตุ เ กสไม่ ช อบฟอลคอน
[เพราะ]คริสตจักรในอยุธยาเคยเป็นเขตอิทธิพลของพระโปรตุเกส
มาก่อน พระเยซูอิตโปรตุเกสและเยซูอิตฝรั่งเศสก็เช่นเดียวกัน ...
ต่างแข่งดีกันอยู่ในทีทั้งสิ้น อีกประการหนึ่ง ไม่มีมนุษย์คนใดเป็น
เครื่องมือให้แก่ใครได้เต็มที่บริบูรณ์ เพราะมนุษย์มีความต้องการ
ส่วนตัวทีไ่ ม่จ�ำ เป็นต้องสอดคล้องกับแผนการทีเ่ ขาเป็นเพียงเครือ่ งมือ
อยูเ่ สมอไป ฟอลคอนก็มคี วามต้องการ ความหวัง ความโลภซึง่ เป็น
ส่วนตัวของเขา ไม่เกีย่ วกับบทบาททีเ่ ขาควรจะเป็นตามพระราโชบาย
เช่นกัน ในกรณีที่บาทหลวงขัดแย้งกันเช่นนี้ เขาก็หาได้พยายาม
ประสานรอยร้ า วอย่ า งเป็ น ธรรมไม่ เขาได้ ตั ด สิ น ใจละทิ้ ง พวก
บาทหลวงจากคณะต่ า งประเทศเกื อ บทั น ที ที่ บ าทหลวงเยซู อิ ต
ฝรัง่ เศสเดินทางเข้ามา เพราะบาทหลวงเยซูอติ กำ�ลังเป็นทีโ่ ปรดปราน
68
ในราชสำ�นักพระเจ้าหลุยส์ในช่วงนั้น จึงจะสามารถทำ�ประโยชน์ให้
แก่เขาในฝรั่งเศสได้มากกว่า ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ

...กรณีออื้ ฉาวทีร่ ฐั บาลในสมัยพระนารายณ์ได้น�ำ เอากองทหาร


ฝรั่งเศสเข้ามาตั้งในประเทศนั้น มิใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
หรือลักลอบกระทำ�การล่วงพระราชอำ�นาจโดยฟอลคอน กองทหาร
นั้นเข้ามาอย่างเปิดเผยใน ค.ศ. 1687 (พ.ศ. 2230) ไม่มีใคร
ประหลาดใจว่าราชทูตฝรั่งเศสนำ�กองทหารเข้ามาประจำ�การใน
ประเทศ ...ความคิดเรื่องการนำ�กองทหารฝรั่งเศสเข้ามานี้ (และไม่
ว่าใครจะเป็น ผู้ต้นคิด แต่ก็ไม่ “แหวกแนว” ไปกว่าการที่เคยทรง
สัญญาจะยกเมืองให้ฝรั่งเศสมากนัก) ฟอลคอนได้แสดงให้ปรากฏ
ตัง้ แต่เมือ่ เดอ โชมองต์เข้ามาใน ค.ศ. 1685 (พ.ศ. 2228) แล้ว และ
เจาะจงจะให้อยู่ที่บางกอกโดยจะสร้างขึ้นใหม่ให้เป็นป้อมใหญ่
...ประชากรที่หนาแน่นในบริเวณนี้ซึ่งไม่ไกลจากอยุธยาจะใช้เป็น
ประโยชน์ได้อย่างดีในการทำ�รัฐประหาร ...การจัดกองทหารฝรัง่ เศส
ให้เข้าประจำ�ทีบ่ างกอก จึงมีประโยชน์ในการเมืองภายในอยูอ่ ย่างยิ่ง
ถ้ากษัตริย์สามารถคุมบางกอกทางใต้ไว้ได้ พร้อมกับคุมลพบุรีทาง
เหนือ ขุนนางในอยุธยาจะไม่สามารถทำ�รัฐประหารภายในพระราชวัง
ได้สะดวกอีกต่อไป

เพื่อเสริมความมั่งคั่งแห่งอำ �นาจทั้งของพระนารายณ์และ
ฟอลคอน แผนการทีจ่ ะแทรกซึมชาวฝรัง่ เศสเข้าไปคุมระบบราชการ
อย่างกว้างขวางก็ถกู เสนอให้ฝรัง่ เศส ในนามของความพยายามทีจ่ ะ
69
สถาปนาศาสนาคริสต์ในประเทศไทย เมือ่ บาทหลวงตาชารด์เดินทาง
กลับฝรั่งเศสพร้อมกับทูตเดอ โชมองต์ เขาได้ถือเอาคำ�สั่งลับของ
ฟอลคอนไปเสนอแผนการนีแ้ ก่บาทหลวงเดอ ลาแชส นัน่ ได้แก่การ
ส่งลูกผูด้ ชี าวฝรัง่ เศสสัก 60-70 คนมาเมืองไทย พร้อมทัง้ กองทหาร
ฝรั่งเศส ฟอลคอนสัญญาว่าจะช่วยให้พวกเหล่านี้ได้รับตำ�แหน่ง
มีหน้ามีตา...

...ความโลภของฟอลคอนบวกกั บ ความเป็ น ไปไม่ ไ ด้ ข อง


พระราโชบายนี้ ทำ�ให้ทงั้ พระนารายณ์และฟอลคอนยิง่ อยูโ่ ดดเดีย่ ว
ทางการเมืองมากขึน้ พวกโปรตุเกสไม่ชอบฟอลคอน พวกมุสลิมถูก
แย่งผลประโยชน์ทางการค้าไปไม่นอ้ ย บางกลุม่ ยังหวาดหวัน่ ต่อการ
เฟื่องฟูของคริสต์ศาสนาและฝรั่ง พวกกองอาสาทั้งหลายพบว่า
ความสำ�คัญของตนด้อยลงถนัดเพราะพระเจ้าแผ่นดินและเสนาบดี
คนโปรดเชือ่ ฝีมอื และไว้ใจแต่กองทหารฝรัง่ และแน่นอนขุนนางฝ่าย
ปกครองซึ่งเสียผลประโยชน์ตลอดมา ก็จ้องคอยโอกาสอันเหมาะ
เพื่อล้มล้างทั้งพระนารายณ์และฟอลคอนลง

70
แนวร่วม พระสงฆ์-ขุนนาง-ประชาชน
เนื่องจากฟอลคอนเป็น ผู้มีผลประโยชน์
ทางการค้าอย่างมาก และใช้ฐานะหน้าทีข่ องตนในการค้าอยูไ่ ม่นอ้ ย
เพียงใน ค.ศ. 1682 (พ.ศ. 2225) ก็มีรายงานแล้วว่าเขามีกิจการ
ค้ามากกว่าพ่อค้าทุกคนในสยามรวมกัน เหตุฉะนั้นนโยบายการค้า
ของรัฐบาลในสมัยของเขาจึงหันกลับมาสู่การผูกขาดการค้าอย่าง
เด็ดขาดโดยพระคลังหลวงอีก ...ผลของการที่[พระคลัง]ได้ผูกขาด
การค้ากับต่างประเทศโดยสิ้นเชิงนี้ คือความพินาศของการค้าใน
ประเทศสยาม พ่อค้าต่างชาติ จำ� นวนน้ อ ยลงๆ เดิ นทางมายั ง
ประเทศไทย พระเจ้าปราสาททองก็ทรงเคยใช้นโยบายนีม้ าก่อนและ
ก่อให้เกิดผลเสียแก่การค้าต่างประเทศเช่นกัน ในด้านการนำ�เข้า
รัฐบาลสมัยพระนารายณ์ภายใต้ฟอลคอนก็ใช้สทิ ธิของการเลือกซือ้
ก่อนของพระคลังสินค้า กดขี่พ่อค้าเพื่อจะทำ�ให้พระคลังได้กำ�ไร
มากๆ และยิ่งทำ�ให้พ่อค้าต่างชาติรังเกียจการค้ากับไทยมากขึ้น

...ผลแห่งความพินาศของการค้าต่างประเทศตกหนักแก่ทั้ง
ขุนนางและประชาชนกลุ่มหนึ่ง เพราะมีผลกระทบถึงการค้าภายใน
และความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของบุคคลอยู่ด้วย ...ความทรุดโทรม
ด้านการค้านี้มีผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง แม้ว่าเงินตรามิใช่
เป็นเครื่องยังชีพของประชาชนในสมัยนั้น แต่ภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้น
น่าจะทำ�ให้ทาสราคาตกลงอย่างมาก ยิ่งกิจการค้าขายถูกจำ�กัดลง
เช่ น นี้ ความต้ อ งการใช้ ท าสยิ่ ง ลดลง ทาสเป็ น ทางออกให้ แ ก่
ประชาชนทีท่ นทุกข์ในระบบไพร่ สถาบันทาสเป็นสิง่ จำ�เป็นในระบบ

72
ไพร่ เพราะช่วยผ่อนปรนความตึงเครียดในระบบนัน้ ภาวะเศรษฐกิจ
ทีก่ ระทบถึงการขายตัวลงเป็นทาสจึงนับว่าเป็นผลร้ายแก่ประชาชน
ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นไพร่อยู่ด้วย

นอกจากผลร้ายโดยทางอ้อมเช่นนีจ้ ะตกเป็นของประชาชนแล้ว
ฟอลคอนเองก็ยังมีส่วนทำ�ให้ความทุกข์ยากของประชาชนเพิ่มมาก
ขึ้นอีกด้วย เพื่อทำ�ให้ท้องพระคลังมั่งคั่งขึ้น เขาดำ�เนินการทุก
ประการเท่าที่จะทำ�ได้เพื่อเพิ่มความโปรดปรานของพระนารายณ์
แม้แต่เรือเล็กๆ ของชาวบ้าน ฟอลคอนก็จดั ให้ตอ้ งเสียภาษีตามด่าน
ขนอนต่างๆ ...ลาลูแบร์ตั้งข้อสังเกตว่า การเงินของประเทศถูกเรียก
เก็บเข้าท้องพระคลังหมด และจ่ายกลับไปสู่ประชาชนน้อยและช้า
มาก ซ้ำ�ยังมีวิธีหมุนเอาเงินที่จ่ายไปนั้นกลับมาสู่ท้องพระคลังเสีย
อีก ผลจากการกระทำ�เหล่านี้ทำ�ให้ฟอลคอน “เป็นคนที่ชาวสยาม
ทุกคนเกลียดชังมาก” (บันทึกของบาทหลวงเดอ ลิยอน) ในขณะ
เดียวกันการจะถวายฎีกาก็เป็นสิ่งที่ห่างไกลจากสามัญสำ�นึกของ
คนในสมัยนัน้ เนือ่ งจากมีตวั อย่างหลายครัง้ ทีข่ นุ นางได้ทลู ฟ้องร้อง
ความผิ ด ของฟอลคอน แต่ พ ระนารายณ์ ก ลั บ ลงราชทั ณ ฑ์ แ ก่
ผู้ฟ้องร้อง บางครั้งรุนแรงถึงขนาดประหารชีวิตทีละมากๆ ...แม้แต่
เมืองลพบุรที โี่ ปรดเสด็จมาประทับปีละนานเดือนนีก้ ต็ อ้ งได้รบั ความ
เดือดร้อน ...ตามปกติแล้วเมืองลพบุรกี ม็ พี ลเมืองหนาแน่น เมือ่ เสด็จ
แปรพระราชฐานเช่นนีก้ ย็ งิ่ เพิม่ จำ�นวนประชากรของเมืองขึน้ จนเป็น
ผลให้ราคาอาหารในลพบุรีแพงกว่าที่อื่น

73
นอกจากความเดือดร้อนเพราะการปกครองของพระองค์แล้ว
ยังไม่จำ�เป็นต้องกล่าวอีกด้วยว่า การเข้ามาของทหารต่างชาติและ
การเฟื่องฟูของพวกคริสเตียนจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บช้ำ�น้ำ�ใจแก่
ประชาชนสักเพียงใด กองทหารต่างชาติที่ตั้งอยู่บางกอกนั้นได้รับ
คำ�สั่งให้ “ยึดครอง” เมืองบางกอกถ้าจำ�เป็น ...กองทหาร “ยึดครอง”
ที่ใดสมัยใดก็มีลักษณะเหมือนกัน กล่าวคือไม่มีทางที่จะเป็นมิตร
ของประชาชนได้ แม้วา่ ประเทศไทยขณะนัน้ ยังไม่มลี ทั ธิชาตินยิ มอยู่
เลยก็ตาม ความรู้สึกของทหารที่เห็นชาวพื้นเมืองเป็น “เชลย” ช่วย
เพิม่ ความยโสแก่กองทหารยึดครองเป็นอันมาก มีรายงานในหลักฐาน
ชั้นต้นอยู่ไม่น้อยที่กล่าวถึงปัญหาของความประพฤติของทหารที่
กระทำ�ต่อประชาชนไทย เช่น เมาเหล้าอาละวาด ความไม่เคารพใน
วัฒนธรรมของเจ้าของบ้าน รวมทั้งทัศนคติที่ยโสของนายทหารฝรั่ง
เองที่เหยียดหยามทหารชาวพื้นเมือง ตลอดจนถืออำ�นาจขนาดคิด
จะขับไล่ประชาชนเมืองธนบุรีออกไปจากบริเวณใกล้ป้อม และใน
ความขมขืน่ ทีเ่ กิดจากการกระทำ�ของทหารต่างชาตินี้ ประชาชนไทย
ได้พบว่าทหารต่างชาติเหล่านี้เป็นอภิสิทธิ์ชน เพราะเป็นคนของ
พระเจ้าแผ่นดิน ...ทหารต่างชาติผู้ไม่ได้ถือศักดินา มิได้มีเครื่องยศ
เช่นคานหามฝีพาย ฯลฯ เพือ่ แสดงบารมี ผูไ้ ม่กราบไหว้พระสงฆ์ จะ
แสดงความกดขีข่ เู่ ข็ญตนได้อย่างไร อำ�นาจทีม่ อี ยูเ่ หนือประชาชนจึง
เป็นอำ�นาจที่ขาดเหตุผลอธิบาย ตั้งอยู่ได้ด้วยอาวุธปืนคมหอก
คมดาบเท่านัน้ อำ�นาจเช่นนีใ้ นทัศนะของประชาชนไม่นา่ จะต่างจาก
อำ�นาจของโจรเท่าใดนัก

74
บัดนี้เห็นได้แล้วว่าพระราโชบายทางการเมืองของพระนารายณ์นั้น
เป็นผลให้พระองค์ได้ศัตรูถึง 3 ฝ่าย คือ พระสงฆ์ ขุนนาง และ
ประชาชน ความไม่พอใจของคนทั้ง 3 ฝ่ายนั้นอาจจะมีที่มาต่างกัน
แต่เป้าหมายก็ดเู หมือนไม่ไกลกันนัก กล่าวคือกวาดล้างพวกขุนนาง
ต่ า งชาติ ฝ่ า ยผู้ ชำ � นั ญ การเหล่ า นี้ อ อกไป และถ้ า จำ � เป็ น ก็ ข จั ด
พระนารายณ์ออกจากราชสมบัติด้วย ยกเจ้านายองค์อื่นขึ้นเป็น
กษัตริย์แทน...”

สมาชิกแนวร่วม 3 ฝ่ายคือ พระสงฆ์-ขุนนาง-ประชาชน พบผู้น�ำ


ที่จะทำ�ให้เป้าหมายของพวกเขาบรรลุผลในตัวออกพระเพทราชา
เจ้ากรมช้างและเชือ้ พระวงศ์ทมี่ อี ทิ ธิพลสูงมากในขณะนัน้ เมือ่ พระ
นารายณ์ทรงประชวรในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2231 พระเพทราชาได้
รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทน แต่ในขณะที่พระนารายณ์ยังมิทัน
มอบราชสมบัตใิ ห้ผใู้ ด พระเพทราชาก็ฉวยโอกาสทำ�รัฐประหาร ยึด
อำ�นาจได้สำ�เร็จในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2231 ที่เมืองลพบุรี
ระดมกำ�ลังทหาร 5,000 นายล้อมจับทหารฝรั่งเศส ส่งทหารอีก
จำ�นวนหนึ่งไปดักจับตัวฟอลคอนที่ใต้ต้นไม้หน้าพิพิธภัณฑ์สมเด็จ
พระนารายณ์ในบริเวณพระราชวัง นำ�ตัวไปประหารชีวิตที่วัดซาก
ข้างทะเลชุบศร ลพบุรี ในวันที่ 5 มิถุนายน เป็นอันปิดฉากชีวิตของ
นักผจญภัยผู้เลื่องลือไว้เพียง 41 ปี หลังจากที่ได้ไต่เต้าบันไดชีวิต
อย่างระหกระเหิน จากเด็กรับใช้ผู้ไร้การศึกษาประจำ�เรืออังกฤษ
จนได้เป็นถึงสมุหนายกแห่งสยาม

75
เมื่อพระนารายณ์สวรรคตในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
พระเพทราชาก็ขึ้นครองราชสมบัติ และสำ�เร็จโทษพระอนุชาของ
พระนารายณ์ เป็นอันสิ้นราชวงศ์ปราสาททองและเริ่มต้นราชวงศ์
บ้านพลูหลวงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเพท
ราชาเจรจาให้กองทหารฝรั่งเศสถอยออกไปจากเมืองบางกอกใน
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2231 เป็นอันสิ้นสุดยุคแห่งการ ‘แทรกแซง’
การเมืองภายในประเทศของชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา

น่าสังเกตว่า ความเดือดร้อนของพ่อค้าและประชาชนไทย ซึ่ง


เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้การก่อรัฐประหารของพระเพทราชาได้รับ
การสนับสนุนอย่างกว้างขวางนัน้ มีชนวนมาจากการทีพ่ ระนารายณ์
ยอมให้ ฟ อลคอนเปลี่ ย นระบบเศรษฐกิ จ ของประเทศเป็ น แบบ
‘ทุนนิยมผูกขาด’ หรือทีน่ กั วิชาการสมัยใหม่บางคนเรียกว่า ‘ทุนนิยม
สามานย์’ ซึ่งเป็นรูปแบบของทุนนิยมที่ ‘เลวที่สุด’ ในบรรดารูปแบบ
ต่างๆ เพราะทำ�ให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกระจุกตัวอยูใ่ นมือคน
ไม่กี่คน และยอมให้คนเหล่านั้น ‘ค้ากำ�ไรเกินควร’ ไปมากมาย
มหาศาล ในทางทีเ่ อาเปรียบคนส่วนใหญ่ในตลาด แถมฟอลคอนเอง
ก็เกิดอาการความโลภบังตา เบียดบังเงินตราและผลประโยชน์ใน
ตำ�แหน่งหน้าที่ เข้าสู่กระเป๋าตัวเองในแทบทุกโอกาสที่ทำ�ได้

ถ้ามองในแง่นี้ เมืองไทยสมัยพระนารายณ์ กับเมืองไทยใน


ศตวรรษที่ 21 ก็ดเู หมือนจะไม่ตา่ งกันเท่าไรนัก ทุกชนชัน้ และเชือ้ ชาติ
มี ทั้ ง คนสุ จริ ต และทุ จริ ต ปะปนกั น ไม่ ว่ า จะเป็ น ชนชั้ น ปกครอง
76
ขุนนาง พ่อค้า ไพร่ และชนต่างชาติ ไม่สามารถเหมารวมคนกลุม่ ใด
กลุม่ หนึง่ ว่า ‘เลว’ ได้ทงั้ หมด ถ้าฟอลคอนรูจ้ กั ยับยัง้ ชัง่ ใจ เพลาความ
โลภของตัวเองลงบ้าง ชะตากรรมของเขา ฝรัง่ เศส และพระนารายณ์
อาจเปลีย่ นไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ และประวัตศิ าสตร์อาจจารึก
ชือ่ ของเขาว่าเป็นหนึง่ ในชาวต่างชาติคนแรกๆ ทีส่ อนชาวไทยให้รจู้ กั
วิธีเจรจาต่อรองผลประโยชน์กับมหาอำ�นาจต่างชาติก็เป็นได้

แต่หากมองอีกมุม ถ้าราชสำ�นักสยามสนใจที่จะวางกลไก
ป้องกันการแสวงหา ‘กำ�ไรส่วนเกิน’ จาก ‘ผลประโยชน์ทับซ้อน’
ระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่ากิเลสของ
ฟอลคอน(และอาจจะรวมของพระนารายณ์ดว้ ย)จะหนาหนักเพียงใด
ก็คงจะไม่สามารถแสดงพิษสงทำ�ร้ายสังคมได้ถึงเพียงนี้

ระหว่างการคาดหวังว่าจะมี ‘คนดี’ มาทำ�งานใน ‘ระบบเลว’


กับการออกแบบ ‘ระบบดี’ ที่ป้องกันไม่ให้ ‘คนเลว’ ทำ�เลวได้มาก
นัก ผู้เขียนเชื่อมั่นในอย่างหลังมากกว่า เพราะมีโอกาสเป็นไปได้สูง
กว่าหลายเท่า แต่ดูเหมือนว่าสังคมไทยจะไม่เคยเรียนรู้ข้อนี้จาก
ประวัติศาสตร์จริงๆ

หลังคฤหาสน์ของฟอลคอน อาจารย์ชี้ให้ดูซากห้องใต้ดิน ซึ่ง


เรารู้ว่าเคยใช้เก็บเหล้าไวน์ เพราะพบเศษขวดแก้วสีเขียวหลายร้อย
ชิ้น และซากเตาเผาขนม ซึ่งมารี ฟอลคอน (หรือ ดอญา กีมาร์ เดอ
ปีนา หรือมารี กีมาร์) ภรรยาของฟอลคอนซึ่งเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นและ
77
โปรตุเกส เคยใช้ทำ�ขนมโปรตุเกสนานาชนิดซึ่งได้รับความนิยมจน
เป็นที่รู้จักในนาม ‘ขนมไทย’ ในปัจจุบัน เช่น ทองหยิบ ทองหยอด
และฝอยทอง นอกจากนี้ เธอยังเป็นคนแรกที่สอนคนไทยทำ�และใช้
สบู่อาบน้ำ� ซึ่งคำ�ว่า “สบู่” นั้นก็เพี้ยนมาจากคำ�ว่า sabão ในภาษา
โปรตุเกส

คนไทยเรียกมารี ฟอลคอน ว่า “ท้าวทองกีบม้า” ชะตากรรม


ของเธอโชคดีกว่าสามีมาก หลังจากสามีถูกประหาร เธอก็ถูกนำ�ตัว
กลับอยุธยาไปขังคุกเกือบ 2 ปี เมือ่ พ้นโทษแล้วไปอาศัยอยูท่ หี่ มูบ่ า้ น
โปรตุเกส มีหน้าที่ทำ�ของหวานส่งเข้าวัง ทำ�ของหวานเก่งจนได้รับ
แต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าห้องเครื่องในโรงครัวหลวง ในรัชสมัยของ
พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบในกรุงศรีอยุธยา
จนถึงแก่กรรม

78
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือเรียกย่อว่า “วัด
มหาธาตุ” เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในเมืองลพบุรีตั้งแต่สมัยโบราณสืบมา
จนปัจจุบัน พระปรางค์องค์ประธาน (องค์หลักที่บรรจุพระสารีริก
ธาตุ) และเจดียร์ ายหลายองค์สร้างในสมัยก่อนพระนารายณ์ แต่ต่ วั
วิหารสร้างใ่นสมัยพระนารายณ์ อาจารย์อธิบายว่า ที่เรารู้ว่าวิหาร
สร้างในสมัยพระนารายณ์กเ็ พราะหน้าต่างเป็นแบบโค้งแหลม สไตล์
เดียวกันกับหน้าต่างในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ วัดนีเ้ ป็น ‘วัดหลวง’
ในรัชสมัยพระนารายณ์ มีเนื้อที่พอๆ กับพระราชวัง แต่ซากปรัก
หักพังอยู่ในสภาพดีกว่า เสียแต่น่าเศร้าที่พระพุทธรูปและลายปูน
ปั้นต่างๆ ถูกมารศาสนาเลื่อยหรือขูดไปขายเยอะมาก หาพระพุทธ
รูปที่เหลือครบ 32 ให้ดูไม่ค่อยได้ เห็นแล้วให้นึกสะท้อนใจไม่ต่าง
จากตอนที่เห็นสภาพของพระพุทธรูปในวัดไลย์

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

80
เจดีย์ราย รอบวัดมหาธาตุ

วัดนีเ้ ก็บค่าเข้าชมจากนักท่องเทีย่ วไทยคนละ 10 บาท ต่างชาติ


คนละ 30 บาท ผูเ้ ขียนนึกในใจว่า จะให้จา่ ยมากกว่านีห้ ลายสิบเท่า
ก็ยอม ถ้าจะทำ�ให้รัฐลงทุนจ้างยามหรือตำ�รวจมาเฝ้าป้องกันมาร
ศาสนาบุกรุก เพราะถ้าปล่อยไปอย่างนี้อีกไม่ถึง 10-15 ปีอาจไม่มี
ศิลปวัตถุเหลือให้ดแู ล้ว ขนาดวันทีเ่ ราไปเยือนเป็นวันสุดสัปดาห์ ยัง
ดู เ หมื อ นวั ด ร้ า ง มี ค นเก็ บ เงิ น ค่ า ตั๋ ว นั่ ง ทำ � หน้ า เบื่ อ อยู่ ค นเดี ย ว
อาจารย์เสริมว่า ขนาดต้นไม้สวยๆ ในวัดนี้ยังถูกมือดีโค่นไปขาย
หลังจากทีท่ างการประกาศเปลีย่ นชือ่ ต้นไม้จากชือ่ ไม่เป็นมงคลอย่าง
“ลั่นทม” เป็น “ลีลาวดี”
81
ผู้เขียนถามอาจารย์ว่าทำ�ไมกรมศิลปากรไม่ขนพระพุทธรูป
โบราณไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ ปั๊มของปลอมมาตั้งโชว์ในวัดแทน
จะได้ไม่หาย อาจารย์ยิ้มแล้วตอบว่า “ไม่ดีหรอก ถ้าทำ�แบบนั้น
จิตวิญญาณของวัดจะหาย”

ผู้เขียนนึกแย้งในใจว่า ก็ยังดีกว่าปล่อยให้จิตวิญญาณถูก
กะเทาะไปขายทุกๆ 2-3 เดือน แต่ก็พอเข้าใจว่าในสายตาของ
นักโบราณคดีอย่างอาจารย์ พุทธศิลปะทุกชิ้นก็ควรจะอยู่ในวัด

ของทุกอย่างย่อมมี ‘ที่ทาง’ ที่มันอยู่ได้อย่าง ‘เหมาะสม’ และ


‘ลงตัว’ ที่สุด คนก็คงไม่ต่างกัน

คงไม่ใช่เรือ่ งบังเอิญทีม่ นุษย์เรามักจะรูส้ กึ เครียดน้อยลง สมอง


และหั ว ใจปลอดโปร่ ง สดชื่ น ขึ้ น อย่ า งน่ า ประหลาดเมื่ อ ได้ อ ยู่
ท่ามกลางป่าไม้เขียวขจี ต่างจากตอนอุดอู้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
ในป่าคอนกรีต

อาจารย์บอกว่า ในสมัยโบราณเวลาสร้างเมืองใหม่ คนไทยถือ


คติวา่ ควรสร้างวัด 3 แห่งให้เป็นศรีแก่เมือง คือวัดมหาธาตุ (ไว้บรรจุ
พระบรมสารีริกธาตุตามชื่อ), วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์

ซากอาคารผนังสูงทีต่ งั้ ประจันหน้าเราจากทางเข้าวัดพอดีเรียก


ว่า “วิหารเก้าห้อง” คำ�ว่า “ห้อง” สำ�หรับคนไทยโบราณนั้นหมายถึง
82
ไม้ค้ำ�ยันปรางค์ประธาน
พื้นที่ด้านยาวของอาคารหนึ่งช่วงเสา ไม่ได้หมายถึงห้องที่มีผนัง
สี่ด้านอย่างในปัจจุบัน ดังนั้น วิหารเก้าห้องจึงหมายถึงวิหารใหญ่
ยาวเก้าช่วงเสา ความกว้างและเพดานสูงทำ�ให้อากาศภายในวิหาร
เย็ น สบาย พระประธานถู ก ขโมยลั ก ไปขายนานแล้ ว เหลื อ แต่
พระพุ ท ธรู ป ทองเหลื อ งสมั ย ใหม่ อ งค์ เ ล็ ก ๆ ตั้ ง พอให้ รู้ ว่ า พระ
ประธานเคยอยู่ตรงไหน

ตรงหน้าวิหารเก้าห้อง อาจารย์ชี้ให้ดูซากตึกที่ตอนนี้เหลือแต่
เสา ตึกนีเ้ รียกว่า “ศาลาเปลือ้ งเครือ่ ง” เป็นทีส่ ำ�หรับให้พระเจ้าแผ่น
ดินเปลื้องฉลองพระองค์ออก เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวก่อนจะเข้าไปทำ�
พิธีทางศาสนาในวิหาร

หลังวิหารเก้าห้องพอดีคือพระมหาธาตุ เจดีย์หลักของวัดนี้
มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 สร้างเป็นรูปพระปรางค์องค์ใหญ่
ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางของวัดพอดี ก่อด้วยศิลาแลงตั้งแต่ฐาน
ถึงหน้าบัน เหนือขึน้ ไปก่อด้วยอิฐจนถึงยอด ประดับด้วยลายปูนปัน้
งดงามตัง้ แต่ฐานถึงยอด องค์พระปรางค์มลี กั ษณะ ‘ย่อมุม’ มากกว่า
และสูงชะลูดกว่าปรางค์สามยอดและปรางค์แขก ปรางค์โบราณสอง
แห่งที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบเขมร ทำ�ให้นักโบราณคดีเห็นพ้อง
ต้องกันว่า ปรางค์องค์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของพระปรางค์ ‘แบบไทย’ ที่
หลุดจากกรอบการสร้างปรางค์แบบเขมรเป็นครัง้ แรก เป็นหลักฐาน
ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเริ่มมีอิทธิพลเหนือเขมร (คืออาณาจักร
ขอมในสมัยโบราณ) ในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 19
84
หรือ 300 ปีก่อนพระนารายณ์จะทรงประกาศสร้างลพบุรีให้เป็น
ราชธานีแห่งที่สอง

การใช้ ‘จุดเปลี่ยน’ ทางศิลปะเป็นหลักฐานประกอบการ


วิเคราะห์อทิ ธิพลของอารยธรรมแต่ละแห่ง เป็นประโยชน์อกี ข้อหนึง่
ของศิลปะ หนึ่งในอาชีพดั้งเดิมของมนุษย์ที่คนปัจจุบัน โดยเฉพาะ
คนที่เรียนมาทาง ‘สายวิทย์’ มักจะมองไม่ค่อยเห็นความสำ�คัญ

อิฐจารึกชื่อกรมศิลปากรบนทางเดิน

85
เจดีย์ทรงมะเฟือง

ผูเ้ ขียนสังเกตว่าพระปรางค์องค์นดี้ เู หมือนจะทรุดตัวลงเรือ่ ยๆ


กรมศิลปากรเอาไม้ไปค้ำ�ยันข้างหนึ่งเอาไว้ แต่ดูเหมือนจะทำ�แบบ
‘ขอไปที’ มากกว่า ไม่มีความสวยงามหรือแม้แต่มั่นคงเท่าไร เทียบ
86
กับฝีมือการซ่อมแซมวัดของชาวตุรกีในเมืองอิสตันบูล หรือชาว
ฝรั่งเศสในนครวัดของเขมรไม่ได้เลย แถมอิฐใหม่ๆ บนทางเดินที่ปู
แทนของโบราณก็ยงั สลักชือ่ กรมศิลปากรไว้อกี คงกลัวว่าใครจะแงะ
อิฐไปหลอกขายว่าเป็นของโบราณ แต่เมือ่ อิฐแทบทุกก้อนสลักชือ่ ไว้
แบบนี้ ก็ทำ�ให้ดูน่าเกลียดมากกว่าน่าชื่นชม

อาจารย์อธิบายว่า วิธบี รรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุของคนโบราณ


คือ เอาใส่ผอบเป็นชั้นๆ 6 ชั้น ฝังใส่ปูนปั้นลงไปในดิน ฉะนั้น
พระบรมสารีริกธาตุในพระมหาธาตุทุกองค์จะอยู่ลึกมาก

ก่อนออกจากวัด อาจารย์ชใี้ ห้ดเู จดียร์ ายทรงกลีบมะเฟือง นับ


เป็นนวัตกรรมชิน้ สำ�คัญของสถาปัตยกรรมแบบไทย มีไม่ถงึ 10 แห่ง
ในประเทศ ปัจจุบนั หาดูได้แต่ทเี่ มืองลพบุรแี ละสวรรคโลก (ชัยนาท)
เท่านั้น

87
พระที่นั่งไกรสรสีหราช (พระตำ�หนักเย็น)
สถานที่ โ บราณแห่ ง สุ ด ท้ า ย ที่เราไปเยือน คือ
พระที่นั่งไกรสรสีหราชหรือพระตำ�หนักเย็น ตั้งอยู่กลางทะเลสาบ
ชุบศร ห่างจากพระนารายณ์ราชนิเวศน์ออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร
พระนารายณ์ทรงใช้เป็นที่สำ�ราญพระราชอิริยาบถและต้อนรับ
แขกเมืองส่วนพระองค์ บรรยากาศร่มรื่นและเย็นสบายสมชื่อ

พระตำ�หนักเย็น
89
นอกจากจะเป็ น สถานที่ เ สด็ จ สวรรคตของพระนารายณ์
พระตำ�หนักเย็นยังมีความสำ�คัญในแง่เป็นสถานที่ที่พระนารายณ์
ทรงใช้สอ่ งกล้องทอดพระเนตรจันทรุปราคาและสุรยิ ปุ ราคา ร่วมกับ
บาทหลวงเยซูอิต นับเป็นจุดเริ่มต้นของวงการดาราศาสตร์ไทย ใน
ยุคปัจจุบัน ในโอกาสครบรอบ 300 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส
สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด า ก็ ท รงเสด็ จ มาทอดพระเนตร
จันทรุปราคา ณ ที่แห่งนี้ด้วย

น้อยหน่าทีป่ ลูกบริเวณพระตำ�หนักนีม้ รี าคาแพงมาก ตกกิโลละ


300-400 บาท เป็นพันธุท์ ขี่ นึ้ ชือ่ ว่าอร่อยทีส่ ดุ ของเมืองลพบุรี (ปกติ
น้อยหน่าก็ได้ชื่อว่าเป็น ‘ของดี’ ของที่นี่อยู่แล้ว)

อาจารย์เล่าว่าพระตำ�หนักเย็นนี้นอกจากจะเผชิญกับปัญหา
โบราณสถานทรุดโทรมลงเรื่อยๆ แล้ว ยังเผชิญกับปัญหาชาวบ้าน
บริเวณนีบ้ กุ รุกเข้ามาใช้เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ส่วนหนึง่ เป็นปัญหาการเมือง
ท้องถิน่ เพราะแทนทีน่ กั การเมืองจะหาเสียงด้วยการหาทีอ่ ยูใ่ หม่ให้
ชาวบ้าน กลับสัญญาว่าจะให้อยู่ต่อ แต่อาจารย์กล่าวปิดท้ายว่า
“อย่างน้อย คนลพบุรีก็รักของของตัวเองมากกว่าคนอยุธยา”

ผู้เขียนถามอาจารย์ว่า แล้วเราจะทำ�อะไรได้เพื่อกระตุ้นให้
รัฐบาลสนใจรักษาโบราณสถานให้ดีกว่านี้ อาจารย์ยิ้มเศร้าๆ แล้ว
ตอบว่า “ก็ต้องช่วยกันโฆษณาให้มีคนมาเที่ยวเยอะๆ”

90
ผู้เขียนหวังว่า บทความเรื่องนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง แม้เพียงส่วน
น้อย ในการช่วยโฆษณาให้คนไทยอยากไปเที่ยวเมืองเก่าในลพบุรี
เยอะๆ ไปแล้วก็ขอให้ประทับใจในกลิ่นอายของโลกาภิวัตน์โบราณ
และการเมืองอันน่าระทึกใจสมัยอยุธยา เช่นเดียวกันกับผู้เขียน

เพราะเราเรียนรูจ้ ากอดีตได้เสมอ โดยเฉพาะอดีตช่วงทีม่ คี วาม


ละม้ายคล้ายคลึงกับปัจจุบัน เช่นกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช.

91
ขอปิดท้ายด้วยบทความน่าสนใจของมอร์กาน สปอร์แตซ ผู้
ประพันธ์นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง Pour la plus grande
gloire de Dieu ซึ่งได้รับการแปลเป็นไทยแล้วในชื่อ รุกสยาม ใน
พระนามของพระเจ้า โดยกรรณิกา จรรย์แสง สำ�นักพิมพ์มติชน
จัดพิมพ์

จากสยามประเทศถึงไทยแลนด์ : ความในใจ
“มอร์กาน สปอร์แตซ”
กรรณิกา จรรย์แสง แปล
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หน้า 33

ตุลาคม ปี พ.ศ. 2516

ผมเดินทางถึงเมืองสยามซึ่งมีชื่อเรียกว่าประเทศไทยแล้ว
ตอนนั้นอายุได้ 23 ปี กำ�ลังอยู่ในวัยคะนองเหมือนเช่นหนุ่มฝรั่ง
ตะวันตกโดยทั่วไป ผมเข้ามาในสถานะอาสาสมัคร เวลานั้นรัฐบาล
ฝรั่งเศสมีนโยบายเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ไม่ประสงค์จะถูกเกณฑ์
เป็นทหารอาสา ไปทำ�งานเป็นครูสอนหนังสือในต่างประเทศมี
กำ�หนดสองปี

สำ�หรับคนหนุ่มฝรั่งเศสในปี 2516 ประเทศไทยเป็นอย่างไร


น่ะหรือ คุณต้องเข้าใจนะครับว่าพวกเรานึกภาพไม่ออกหรอกว่า
เมืองไทยหน้าตาเป็นอย่างไร บอกไม่ได้ดว้ ยซ้�ำ ว่าตัง้ อยู่ ณ ทีไ่ หนใน
โลกใบนี้ เหมือนภาพความฝันที่มีต่อดินแดนบูรพาห่างออกไปไกล
ลิบ คลับคล้ายคลับคลาว่าน่าจะอยู่ติดพรมแดนเวียดนามที่เรารู้จัก
เพราะเรื่องสงคราม เป็นที่รู้กันคร่าวๆ ว่าพวกทหารอเมริกันเข้าไป
ตั้งฐานทัพไว้ให้เครื่องบินรบ บี 52 ขนระเบิดนาปาล์มเข้าไปปูพรม
ถล่มมาตุภูมิของโฮจิมินห์ และโง เหวียน เกี๊ยบ

เวลานั้ น ที่ เ มื อ งไทยยั ง ไม่ มี ก ระแสท่ อ งเที่ ย วเชิ ง พาณิ ช ย์


ประเภทขนกั น เข้ า มาเป็ น หมู่ เ ป็ น คณะ ยั ง ไม่ มี บ ริ ษั ท หากิ น กั บ
นักท่องเที่ยว อย่างนูแวล ฟร็องติแยร์ หรือคลับเมด

กว่าผมจะข้ามน้ำ�ข้ามทะเลมาถึง ต้องใช้เวลาเดินทางยืดยาว
จนดูเหมือนจะไม่จบสิ้น จากปารีส ผมต้องเปลี่ยนเครื่องบินหลาย
ครั้งกว่าจะมาถึงกรุงเทพฯ ตำ�แหน่งงานที่รอรับผมอยู่คือ เป็น
อาจารย์สอนวรรณคดีฝรั่งเศสที่เชียงใหม่

ประสบการณ์ในดินแดนเขตร้อนทีป่ ระทับใจเมือ่ แรกสุด เห็นจะ


เป็นเรื่องไอ้เจ้ามวลความร้อนชื้นที่เข้ามาปะทะและห่อหุ้มตัวเราไว้
พอหลุดออกมาจากเครื่องบิน

ถัดมา ก็เรื่องการได้พบปะกับผู้คน คนไทยส่วนใหญ่ตามต่าง


จังหวัดไม่เคยได้พบเห็นคนตะวันตก ฝรั่งผิวขาวตาน้ำ�ข้าวอย่าง
พวกเราเลย ผมยังจำ�ได้จนถึงทุกวันนี้ว่า พอขี่มอเตอร์ไซค์เข้าไปใน
หมู่บ้านตรงแถบทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ เด็กๆ ตัวเล็ก
ตัวน้อยก็จะคอยวิง่ ล้อมหน้าล้อมหลังมารุมดูตวั ประหลาด อีที หรือ
จะเป็นไอ้ตัวการ์ตูนมิกกี้ เม้าส์ พวกแกพากันจับกลุ่มล้อมวงรอบ
ตัวผม ส่งเสียงหัวเราะหัวใคร่ ร้องเพลงเอะอะมะเทิ่งสนุกกันใหญ่

ลองหวนย้อนไปในอดีตกว่าสามร้อยปีก่อน นึกไปถึงตอนที่
ทหารมูสเกอแตร์ในกองทัพพระเจ้าหลุยส์ทสี่ บิ สี่ พวกสวมหมวกปัก
ขนนกในชุดเครื่องแบบกรุยกรายมาถึงเมืองสยาม คงจะเป็นภาพ
การ “ปะทะสังสรรค์” ทางวัฒนธรรมประเภท “เหนือจริง” (ก่อน
ศิลปะแนวเซอร์เรียลิสต์จะเกิด) นั่นทีเดียว

และนี่คือเรื่องราวของทหารเสือจากราชสำ�นักฝรั่งเศสในช่วง
ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ทีผ่ มเล่าไว้ในหนังสือ รุกสยามในพระนาม
ของพระเจ้า เป็นการผจญภัยทีง่ ดงามบันเทิงใจอย่างยิง่ เท่าทีม่ นุษย์
เราจะพึงประสบ คือการพบปะ “ปะทะ” กันระหว่างสองโลก ระหว่าง
สองวัฒนธรรม

นอกไปจากเรือ่ งของการแย่งชิงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและ
การเมืองกันแล้ว ในยุคนั้น เรื่องที่เกิดขึ้น คือการได้เข้าครอบครอง
เอาชนะเหนือดินแดนในซีกโลกอเมริกาใต้ คือการล่าอาณานิคมที่
ดำ�เนินไปด้วยหยาดเหงื่อและรอยเลือด แต่ขณะเดียวกันก็เป็นการ
เผชิญหน้ากันระหว่างคนจากสองวัฒนธรรมที่แตกต่าง เป็นผู้คนที่
แตกต่างกันอย่างยิ่ง
เป็นเสน่ห์อันเร้นลับที่เผยโฉมให้เราได้สัมผัส แม้ในงานเขียน
จากตะวันตกทีไ่ ม่ได้เรือ่ งทีส่ ดุ หรือทีส่ ะท้อนทรรศนะเหยียดเชือ้ ชาติ
ในยุคล่าอาณานิคม ผมจะพูดอย่างไรดี คุณถึงจะเข้าใจ เอาเป็นว่า
แม้ในงานเขียนเรือ่ ง “Madame Chrysantheme” ผลงานของปิแยร์
โลติ (Pierre Loti) ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ซึ่ง Puccini
นำ�มาดัดแปลงเป็นละครโอเปร่าเรื่อง Madame Butterfly) อันเป็น
งานที่สะท้อนทัศนคติเหยียดสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นของผู้เขียน
อย่างยิ่ง ก็ยังมีอะไรดีอยู่ในตัวมันเอง

ด้วยเหตุที่ว่า แม้ตัวผู้เขียนจะมีอคติจนแสดงความเขลาออก
มาในงานมากนักก็ตาม แต่ความลึกซึง้ ในตัวเขาก็ยงั มิวายจะประทับ
รับความงามละเมียดละไมของความเป็นญี่ปุ่นจนปรากฏให้เรา
คนอ่านสัมผัสได้

ในทำ�นองเดียวกัน เวลาเราศึกษางานเขียนที่ตีพิมพ์แล้ว อีก


ทั้งเอกสารต้นฉบับลายมือเขียนของพวกนักการทูต พระนักบวช
หรือนายทหารฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังสยามในปลายสมัยคริสต์
ศตวรรษที่ 17 แม้จะสัมผัสถึงอคติทางเชือ้ ชาติทมี่ ปี รากฏให้เห็นโดย
ตลอด แต่อะไรดีๆ ที่น่าสนใจนอกไปจากนั้น เห็นจะเป็นชั่วขณะ
อันดีงามที่มนุษย์จากสองซีกโลกได้สัมผัสสัมพันธ์กัน

เป็นความงามทีป่ รากฏให้เห็น ให้คน้ พบ ให้รสู้ กึ ใน “ความเป็น
อื่ น ” คื อ ความแปลกแตกต่ า งอั น ชวนดึ ง ดู ด ใจในตั ว ผู้ ค นจาก
“วัฒนธรรมอื่น”
พระนักบวชบางรูปบันทึกไว้วา่ ผูห้ ญิงชาวสยามแลดูอปั ลักษณ์
เหมือนลิง...

แต่มาถึงเวลานี้ อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง

จริงๆ แล้ว เห็นจะต้องตัง้ คำ�ถามกันล่ะว่า ความก้าวหน้า หรือ


อะไรที่เรียกกันว่าความเจริญมีอยู่จริงหรือ

ลองนึกภาพดูสวิ า่ บรรดานักท่องเทีย่ ว มนุษย์ยคุ สมัยใหม่ผนู้ า่


สงสารที่มีพื้นเพมาจากคนชั้นกลางระดับล่างจากตะวันตก ถูกเขา
จับต้อนไปต้อนมา จากพัทยาไปถึงภูเก็ต อยุธยาไปสุโขทัย มีเวลา
เที่ยวเมืองไทยอยู่แค่ 15 วัน เพราะขอลางาน (ที่รายได้น้อยจน
น่าตกใจ) มาได้ตามสิทธิที่กฎหมายแรงงานกำ�หนด ขึ้นรถไฟ นั่งรถ
ทัวร์ ล่องเรือไปที่โน่นที่นี่ ดูละม้ายคล้ายฝูงแกะ เหงื่อไหลไคลย้อย
เนื้อตัวส่งกลิ่นสาบ คอย “เบิ่ง” ดูโน่นดูนี่ แต่ไม่ “เห็น” อะไรเลย
เหมือนเช่นที่คอยเงี่ยหูฟัง แต่ไม่เข้าใจอะไรเลย

ผมว่านักท่องเที่ยวในยุคนี้ซึ่งมีโอกาสได้เดินทางจากซีกโลก
หนึ่งไปอีกซีกโลกหนึ่ง ดูไปแล้วไม่เห็นจะแตกต่างไปจากชาวนา
ตาสีตาสาจากแคว้นโอแว็ญหรือเซแว็ญเมื่อร้อยสองร้อยปีก่อนที่
ไม่เคยมีโอกาสไปไหนๆ ไกลนอกเขตหมู่บ้านของตัวเอง
ผมกลับเห็นว่า บรรดาตัวละครไม่วา่ จะเป็นนักการทูต นักบวช
หรือเหล่าทหารหาญที่ปรากฏตัวในเรื่อง รุกสยามในพระนามของ
พระเจ้า แม้จะดูวา่ เป็นคนโหดร้าย คับแคบ ดือ้ หัวชนฝา แต่พวกเขา
นับว่าเป็นนักผจญภัยตัวจริง

ลองคิดดูวา่ การเดินทางมาสยามในครัง้ กระนัน้ เป็นการตัดสินใจ


ครัง้ สำ�คัญยิง่ ในชีวติ เพราะนัน่ หมายถึงการเลือกทีจ่ ะหลุดออกจาก
โลกทีต่ นคุน้ เคย ตัดขาดจากญาติพนี่ อ้ ง วัฒนธรรมและบ้านเกิดเมือง
นอน เสี่ยงต่อความตายและโรคร้ายสารพัด เป็นเวลานานนับเป็น
ปีๆ หรืออาจจะชั่วชีวิต

เฉพาะแค่การเดินทางก็กนิ เวลาถึงหก-เจ็ดเดือน แถมต้องผ่าน


เส้นทางเมืองกัป-อ้อมแหลมกู๊ดโฮปโน่น กว่าจะมาถึงเมืองสยาม
พวกเขาก็พากันล้มตายด้วยโรคลักปิดลักเปิดไปกว่าร้อยชีวติ ทีเ่ หลือ
อีกจำ�นวนหนึ่งตายเมื่อมาถึงจุดหมายด้วยโรคท้องร่วงและไข้ป่า

ผมเองตอนที่มาถึงกรุงเทพฯครั้งแรกเมื่อปี 2516 นั้น ก็เกิด


ความรู้สึกเทียบเคียงได้กับทหารเสือของพระเจ้าหลุยส์ โดยเฉพาะ
เมื่อได้พบเห็นมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่นี่ ทั้งป่าดิบ ป่าร้อนชื้นใน
เขตร้อนอันอุดมไปด้วยสรรพสิ่ง สรรพสัตว์ และสรรพเสียงอันลี้ลับ
สิ่งมีชีวิตทั้งที่เรามองเห็นตัวและที่มองไม่เห็น มีทั้งสัตว์ใหญ่น้อยใน
ป่า ตัวเลื้อยคลาน นก และแมลงนานาชนิด
แน่ล่ะ พวกนักท่องเที่ยวที่มากรุงเทพฯหรือพัทยาในทุกวันนี้
คงแทบจะไม่ได้พบเจอประสบการณ์ทำ�นองนี้อีกแล้ว

เมื่ อ สามสิ บ กว่ า ปี ก่ อ น ผมได้ พ บได้ เ ห็ น ด้ ว ยตั ว เองตอน


ขีม่ อเตอร์ไซค์ลดั เลาะไปตามชนบททีเ่ ชียงใหม่ ยังจำ�ได้แม่นถึงความ
รูส้ กึ อัศจรรย์ใจขณะขับขีโ่ ขยกเขยก หัวโยกหัวโคลงไปตามทางลูกรัง
สีแดงที่เพิ่งจะตัดใหม่ฝ่าเข้าไปในแนวป่า...จู่ๆ ทางสายนั้นก็จบลง
เอาดื้อๆ ตรงโคนต้นไม้ใหญ่ พอมองไปข้างหน้า คุณก็จะเห็นแต่ป่า
ทึบทะมึนทอดยาวไปไม่จบสิ้น

ทางลูกรังสีแดง เปรียบเสมือนรอยแผลเป็นสีแดงๆ สัญลักษณ์


ตัวแทนของ “อารยธรรม” หรือ “วัฒนธรรม” แล้วแต่จะเรียกกันว่า
อย่างไร มันหยุดจบลงทีต่ รงนัน้ เบือ้ งหน้าคือผืนป่า คือธรรมชาติซงึ่
เป็นเจ้าของผู้ครอบครองตัวจริง

เส้นทางขรุขระ บางครั้งก็เฉอะแฉะ เป็นหล่มเป็นโคลน พอ


ผ่านห้วยน้�ำ ลำ�คลอง ก็เพียงอาศัยท่อนไม้พาดผ่านสักสองสามท่อน
พอให้ขรี่ ถข้ามไปอย่างน่าหวาดเสียว ทีผ่ มได้พบได้เจอมานัน้ มาถึง
เวลานี้ ได้กลับกลายเป็นถนนลาดยาง มีหลักกิโล และป้ายบอกทาง
ประดับเรียงรายอยู่สองข้างทาง

นี่คืออะไรที่คนในยุคเรา เรียกกันว่า “ความเจริญ” บ้างก็ว่าคือ


เครื่องชี้ให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ทั้งถนน ทั้งทางด่วน
ทางรถไฟสารพัดที่ผุดขึ้นมาบนผืนดิน เหมือนริ้วรอย(เหี่ยวย่น)ที่
โรยตัวลงบนพื้นผิว(หน้า)โลกที่เราอยู่ ขณะที่ตัวมนุษย์เองก็แก่ชรา
ไปพร้อมๆ กับโลกใบนี้

เราปรับตัวเอง ร่วงโรย และเปลี่ยนแปลง

สังคมสมัยใหม่ทั่วทุกมุมโลก จากไมอามี่ถึงเซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ


ไปปารีส จนถึงคาซาบลังกา กำ�ลังผ่องผลิตชนชัน้ กลางพันธุใ์ หม่ เป็น
คนจำ�พวกมีรสนิยมเดียวกัน เสพสินค้า (ทั้งวัตถุและปัญญา) ชนิด
เดียวกัน ไม่วา่ จะเป็นฮีโร่แมทริกซ์ หรืออุลตร้าแมน กินอาหารฟาสต์
ฟู้ดแมคโดนัลด์ หรือไก่ทอดจานด่วนเคนตั๊กกี้ อ่านหนังสือและ
ดูหนังยอดฮิตติดอันดับ เรื่องรหัสลับดาวินชี หรือแฮร์รี่ พอตเตอร์
ทั้งใส่เสื้อผ้าแต่งเนื้อตัว และวิธีคิดก็เป็นแบบเดียวกัน

นี่นับเป็นเรื่องที่ดี ที่เจริญหรอกหรือไม่

ผมว่าเราจงมาคารวะนักประวัติศาสตร์ นักชาติพันธุ์วรรณนา
นักมานุษยวิทยา และนักเขียนกันเถอะ พวกเขาได้ชว่ ยให้เรามีโอกาส
ได้รับรู้และเข้าใจว่ายังมีมนุษย์พันธุ์อื่นๆ ที่ผิดแผกไปจากนี้

ผมเองก็ได้ทำ�หน้าที่อันน้อยนิดในส่วนของตัว บอกเล่าให้ฟัง
ว่า ในกาลครั้งหนึ่ง เมื่อสามร้อยกว่าปีก่อน ยังมีมนุษย์แปลกๆ อยู่
ชุดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า ฝา-หรั่ง-เศษ (ซึ่งแตกต่างไปจากคนฝรั่งเศสที่
เราเห็นกันทุกวันนี)้ ใส่หมวกปักขนนกฟูฟ่ า่ หลากสี สวมรองเท้าบูต๊
ขนาดมหึมา หน้าตาท่าทางพึลึกพิลั่น ได้พากันรอนแรมมาถึงเมือง
สยาม

ตั้งใจจะหว่านล้อมให้คนสยาม “เจ้าเล่ห์แสนกล” พวก “บูชา


พระอิฐพระปูน” เชือ่ ว่าในโลกนี้ มีพระเจ้าอยูเ่ พียงหนึง่ เดียว คือพระ
เยซูคริสโตเจ้าของชาวคริสต์ ถ้าลงใครไม่ยอมหันมาเคารพบูชา
พระเจ้าองค์นี้ ก็จะให้มีอันเป็นไป ตกนรกไปพบไฟบรรลัยกัลป์ถึง
เจ็ดชั่วโคตร

คุณจอร์ช บุช ประธานาธิบดีอเมริกา ท่านก็ได้แสดงวาทศิลป์


(ซึง่ ตัวเองจะเชือ่ ดังทีพ่ ดู หรอกหรือ!) เอากับพวกเราทัว่ โลก เพียงแต่
ท่านเปลี่ยนชื่อจากในนามแห่งองค์พระเป็นเจ้า มาเป็นในนามแห่ง
ระบอบประชาธิปไตย!

แต่ลกู ระเบิดทีข่ นไปบอมบ์ทอี่ ริ กั ก็ท�ำ เอาผูค้ นล้มตายมากกว่า


ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ องค์ราชันแห่งแสงอาทิตย์นักต่อนัก

ซ้ำ�ร้าย เหล่าทหารจีไอ ซึ่งต้องเดินทางเข้าไปเสี่ยงตายใน


ดินแดนตะวันออกกลาง คงยังไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะได้ชื่นชมความ
งามของความเป็นอื่น -เสน่ห์แห่งความลี้ลับอันคนเราอาจพบพาน
จากการพบปะกับผู้คนจากวัฒนธรรมอื่น จากดินแดนอื่น-
แม้นว่าจุดหมายของการ “ปะทะสังสรรค” นั้นจะเป็นไปเพื่อ
เข่นฆ่า.

มอร์กาน สปอร์แตซ
ธันวาคม 2549

You might also like