You are on page 1of 17

เรื่อง เมืองโบราณ

เสนอ
คุณครู สถาพร เหมหงษ์

จัดทาโดย
นาย เตชธรรม ตาดี เลขที่ 2
นาย ปิยวัฒน์ สมดวงศรี เลขที่ 3
นาย เมธา แซ่ตั้น เลขที่ 4
นาย ชนิณพงษ์ สัมพันธวงศ์กวี เลขที่ 6
นางสาว ณัชริณ พรมด้วง เลขที่ 14
นางสาว รุจิรา อิ้งเพ็ชร เลขที่ 18
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการใช้ห้องสมุดยุคใหม่ (ท30203)
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา2565
โรงเรียนสมุทรปราการ
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ
กระทรวงศึกษาธิการ
คานา

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการใช้ห้องสมุดยุคใหม่ (ท20203) เพื่อให้สอดคล้องกับ


จุดมุ่งหมายของการเรียนวิชานี้ที่ต้องฝึกให้ผู้เรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดสมุทรปราการ และนามาต่อยอด
ในการใช้ชีวิตประจาวัน คณะผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ เพื่อให้ชัดเจนในเรื่อง แหล่งศึกษาเรียนรู้
เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
รายงานฉบับนี้ได้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะได้รับการอนุเคราะห์จากคุณครูสถาพร เหมหงษ์ สมาชิก
กลุ่มทุกคนและสถานที่ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จดั ทำ
สารบัญ
เรื่อง หน้า
หน้าปก ก
คานา ข
สารบัญภาพ ค
ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณ ๑
แผนที่เมืองโบราณ ๒
สถานที่สาคัญในเมืองโบราณ ๓-๕
ค่าเข้าชมเมืองโบราณ ๖
ข้อปฏิบัติในการเยี่ยมชมเมืองโบราณ ๗
วิธีการเดินทางไปเมืองโบราณ ๘
บรรณานุกรม ๙
ภาคผนวก ๑๐-๑๓
สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
๑ เมืองโบราณ ๑
๒ แผนที่เมืองโบราณ ๒
๓ อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน ณ เมืองโบราณ ๓
๔ เจดีย์เจ็ดยอด ณ เมืองโบราณ ๔
๕ พระธาตุยาคู ณ เมืองโบราณ ๔
๖ พระบรมธาตุไชยา ณ เมืองโบราณ ๕
ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณ
เมืองโบราณ เป็นเป็นพิพิธภัณฑ์จาลองสถานพื้นที่กว่า 800 ไร่ ตั้งอยู่ติดถนนสุขุมวิท ตาบลบางปูใหม่
อาเภอเมืองสมุทรปราการ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยนายเล็ก วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะ
ประกันภัยและเครือธนบุรีพานิช จากัด เมืองโบราณ เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515ลักษณะ
ที่ดินมีผังบริเวณคล้ายรูปขวานและได้มีการจัดวางสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สาคัญของ
ประเทศในทุกภาคตามผังที่ดิน ภายในประกอบด้วยโบราณสถาน ปูชนียสถาน วัดโบราณ ตลาดน้า ตลาดบก
พระราชวังต่างๆ เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วยอาคารที่สร้างจาลองขึ้นใหม่ ด้วยการลดทอนสเกลลง หรือ อาคารจริง
ที่ย้ายมาตั้งไว้ยังเมืองโบราณเองภายในเมืองโบราณยังมีที่พักแรมชื่อว่า "นครริมขอบฟ้า" อีกด้วย ความประสงค์
การสร้างเมืองโบราณ โดยคุณเล็ก และคุณประไพ วิริยะพันธุ์

ภาพที่ ๑ เมืองโบราณ


แผนที่เมืองโบราณ

ภาพที่ ๒ แผนที่เมืองโบราณ


สถานที่สาคัญในเมืองโบราณ
ที่เมืองจาลองจะมีสถาปัตยกรรมจาลองอยู่มากกว่า 100 แบบ แบ่งออกเป็นโซนๆ ได้แก่ โซนสุวรรณภูมิ โซน
ภาคใต้ และพุทธาวาสแห่งอนัตตาจักรวาล(ฟรีโซน) โซนภาคกลาง โซนภาคเหนือโซนภาคอีสาน ซึ่งโซนที่เปิดให้
นักท่องเที่ยวเข้าเที่ยวชมฟรี แบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และที่จอดรถ จะอยู่บริเวณประตูทางเข้า โซนตลาด
โบราณ โซนตลาดน้า ภาคใต้ รวมถึงเขตพุทธาวาสด้วย ส่วนที่เหลือจะมีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม

โซนภาคกลาง
อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของคนบ้านบางระจัน เมืองสิงห์บุรี
สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ที่ร่วมกันต่อต้านข้าศึกคือ พม่าที่มารุกราน อนุสาวรีย์สร้างขึ้นสะท้อนวีรกรรม
ชุมชนที่มีทั้งชาย หญิง คนเฒ่าคนแก่ หนุ่มสาว เด็กรวมถึงพระสงฆ์ที่ร่วมมือกันเพื่อปกป้องชุมชน

ภาพที่ ๓ อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน ณ เมืองโบราณ


โซนภาคเหนือ
เจดีย์เจ็ดยอด ถ่ายแบบจากจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์ราชวงศ์มังรายเมือง
เชียงใหม่ ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรล้านนา ทรงให้หมื่นด้ามพร้าคด(ดา)ไปนารูปแบบมาจากเจดีย์พุทธคยา
ประเทศอินเดียและเคยใช้เป็นสถานที่ทาการสังคายนาพระไตรปิฎกของอาณาจักรล้านนา

ภาพที่ ๔ เจดีย์เจ็ดยอด ณ เมืองโบราณ


โซนภาคอีสาน
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบ
หลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็น
พระธาตุที่บรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ จึงเรียกกันว่า พระธาตุยาคู ถ่ายแบบจาก
จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระธาตุในเขตโบราณสถานเมืองฟ้าแดดสงยาง อันเป็นร่องรอยของชุมชนโบราณที่นับถือ
พระพุทธศาสนาในวัฒนธรรมแบบทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 รูปแบบเป็นทรงแปดเหลี่ยมตัวเรือนธาตุ
มีลักษณะเป็นเต้าคล้ายกับหม้อน้า

ภาพที่ ๕ พระธาตุยาคู ณ เมืองโบราณ


โซนภาคใต้
พระบรมธาตุไชยา ถือว่าเป็นเจดียสถานอันศักดิ์สิทธิ์และสาคัญของทางภาคใต้ เป็นเจดีย์ทรงมณฑปเลียบแบบ
เจดีย์จันทิเมนดุทในชวาและมีอายุเก่าแก่กว่าบุโรพุทโธด้วยองค์พระบรมธาตุเป็นสี่เหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานธาตุ
สี่เหลี่ยม ทั้งหมดก่อด้วยอิฐปั้นสาเร็จรูป ไม่สอปูน มีเจดีย์จาลองอยู่ที่มุมทั้งสี่ยอดแหลมเป็นรูปพระโพธิสัตว์อว
โลกิเตศวรสี่พักตร์ ตามคติพุทธศาสนามหายาน ตามมุมบนที่องค์พระธาตุมีเกียรติมุขประดับองค์ระฆังตามคติที่
นิยมกันในชวา หน้าบันด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรประทับนั่งห้อยพระ
บาท ทางทิศใต้เป็นรูปนางตาราประทับนั่งขัดสมาธิ ยกพระหัตถ์ทาปางเทศนา พระเจดีย์ได้รับการปฏิสังขรณ์
ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุนี้ลวดลายที่ซุ้มบางแห่งจึงมีลวดลายใน สมัยรัตนโกสินทร์แทรกปะปนอยู่
ด้วย เมืองโบราณได้สร้างพระบรมธาตุไชยาขึ้นตามแบบอย่างเก่าสุดที่พบในชวา

ภาพที่ ๖ พระบรมธาตุไชยา ณ เมืองโบราณ


ค่าเข้าชมเมืองโบราณ
ตั๋วเข้าชม
สาหรับบุคคลทั่วไป เที่ยวชม ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐-๑๘.๐๐ น.
บัตรคุ้มสยาม (คนไทย)
-ผู้ใหญ่ ท่านละ ๔๐๐ บาท

-เด็ก (๖-๑๔ ปี) ท่านละ ๒๐๐ บาท

ค่าเข้าชมสาหรับบุคคลทั่วไป (ชาวต่างประเทศ)
-ผู้ใหญ่ ท่านละ ๗๐๐ บาท

-เด็ก (๖-๑๔ ปี) ท่านละ ๓๕๐ บาท

บริการอื่นๆ
๑.เช่าจักรยาน คันละ ๑๕๐ บาท
๒.เช่าจักรยานไฟฟ้า ๑ ชั่วโมง ๑๐๐ บาท ๓ ชั่วโมง ๒๕๐ บาท
๓.เช่ารถกอล์ฟไฟฟ้า
-รถกอล์ฟ ๔ ที่นั่ง ชั่วโมงแรก ๓๕๐ บาท (ชั่วโมงถัดไป ชั่วโมงละ ๑๐๐ บาท)
-รถกอล์ฟ ๖ ที่นั่ง ชั่วโมงแรก ๕๐๐ บาท (ชั่วโมงถัดไป ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท)
๔.บัตรรถยนต์ คันละ ๔๐๐ บาท กรณีนารถยนต์ส่วนตัวเข้าเที่ยวชม เที่ยวได้ตั้งแต่ ๐๙.๐๐-๑๘.๐๐ น.


ข้อปฏิบัติในการเยี่ยมชมเมืองโบราณ
๑.โปรดแต่งกายสุภาพ และรักษามารยาทในการเยี่ยมชม
๒.ห้ามนาสัตว์เลี้ยงเข้าพื้นที่พิพิธภัณฑ์ และกรุณาช่วยกันรักษาความสะอาด
๓.ห้ามพกอาวุธ และวัตถุอันตรายเข้าในพื้นที่พิพิธภัณฑ์โดยเด็ดขาด
๔.ห้ามถ่ายภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพภาพถ่ายทางอากาศทุกชนิด โดยใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพ
ทุกประเภท เพื่อการค้าหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด (นอกเหนือจากการถ่ายภาพทั่วไป) ภายใน
เมืองโบราณก่อนได้รับอนุญาต
๕.การขับขี่ยานพาหนะต่าง ๆ ให้ใช้ความเร็วที่กาหนดเท่านั้น และโปรดปฏิบัติตามคาแนะนาของ
เจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
๖.บุคคลซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย และไม่สามารถปฏิบัติตามข้อปฏิบัติดังกล่าวได้ เจ้าหน้าที่จะไม่
อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชม


วิธีการเดินทางไปเมืองโบราณ
การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว : ใช้เส้นทางด่วน ปลายทางที่สาโรง-สมุทรปราการ ถึงสามแยกสมุทรปราการ
เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท (ไปทางบางปู) ประมาณ กม. 33 เมืองโบราณจะอยู่ทางซ้ายมือ
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารนะ : ใช้รถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ. 511 (สายใต้ใหม่-ปากน้า) ลงที่สุดทาง
แล้วต่อรถสองแถวสาย 36 ซึ่งจะวิ่งผ่านหน้าทางเข้าเมืองโบราณ


บรรณานุกรม
เมืองโบราณ. (๒๕๖๕). “ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณ”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เมืองโบราณ สืบค้น ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕.

Muzika. (๒๕๖๓). “เมืองโบราณ สมุทรปราการ ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ ถ่ายรูปสวย ไปที่เดียวเที่ยวทั่วไทย”.


[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://travel.trueid.net/detail/kXLa46JQR4xE
สืบค้น ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕.

ธีรายุ นราฤทธิ์.(๒๕๕๙). “เมืองโบราณแลนด์มาร์คสาคัญ จังหวัดสมุทรปราการ” . [ออนไลน์].


เข้าถึงได้จาก : https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=8442 สืบค้น ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕.

เมืองโบราณ.(ม.ป.ป.). ” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.muangboranmuseum.com/#


สืบค้น ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕.

Snigdha Jaiswal.(ม.ป.ป.). “ข้อมูล ทุกอย่ างเกี่ยวกับการเยี่ยมชมเมืองโบราณ”.[ออนไลน์].


เข้าถึงได้จาก : https://www.thestupidbear.com/เที่ยวเมืองโบราณ/
สืบค้น ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕.


ภาคผนวก
๑๑
๑๒
๑๓

You might also like