You are on page 1of 7

ปฏิบตั กิ ารบทที่2 เรื่องการศึกษาสิ่งมีชีวิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ใช้แสง

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1. นายเตชธรรม ตาดี เลขที่ 2
2. นายปิยวัฒน์ สมดวงศรี เลขที่ 3
3. นายเมธา แซ่ตั้น เลขที่ 4
4. นางสาวณัฏฐริดา สิญจวัตร์ เลขที่ 7
5. นางสาวรุจิรา อิ้งเพ็ชร เลขที่ 18
6. นางสาวกนกวรรณพร แสงพล เลขที่31
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

จุดประสงค์
1. เปรียบเทียบภาพตัวอักษรภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
2. เตรียมตัวอย่างสิ่งมีชวี ิตเพื่อศึกษาโครงสร้างภายนอกโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิง
ประกอบ
3.วาดภาพและบันทึกสิง่ ที่ได้จากการสังเกตและชี้ส่วนต่าง ๆ ของโครงสร้างเซลล์ที่
สามารถมองเห็นได้
4.ศึกษาปรากฏการณ์การไหลเวียนของไซโทพลาซึมในใบสาหร่ายหางกระรอก
5.เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ ขนาดและโครงสร้างภายในของเซลล์พชื และเซลล์สัตว์
วัสดุและอุปกรณ์
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ
2. สไลด์และกระจกปิดสไลด์
3. จานเพาะเชือ้
4. เข็มเขี่ย
5. หลอดหยด
6. ไม้จิ้มฟันหัวแบน
7. กระดาษเยื่อ
8. น้ำ
9. โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตละลายน้ำ
10. ตัวอักษร
11. หอมแดงหรือหอมใหญ่
12. เยื่อบุข้างในแก้ม
13. สาหร่ายหางกระรอก
วิธีการดำเนินการ
ตอนที่ 1 การศึกษาภาพตัวอักษรและเปรียบเทียบภาพตัวอักษรภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ใช้แสงเชิงประกอบ
ขั้นตอน
นำตัวอักษรที่ต้องการศึกษาวางบนสไลด์ แล้วนำไปศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง
เชิงประกอบ

ตอนที่ 2 การศึกษาสิ่งมีชีวิตโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ ศึกษาโครงสร้าง


ภายในของเซลล์สิ่งมีชีวติ ต่าง ๆ ดังนี้
2.1 การศึกษาเซลล์เยื่อหอมแดง
1. หยดน้ำ 1 หยดบนสไลด์ที่ 1
2. ลอกเยือ่ ด้านในของกลีบหอมแดงแบ่งเป็น 2 ชิ้น แช่ในโพแทสเซียมเปอร์แมงกา
เนตละลายน้ำเป็นเวลา 30วินาทีจากนั้นนำไปชะน้ำ และวางบนสไลด์ทมี่ ีหยดน้ำ
3. นำสไลด์ทั้ง 2 แผ่นไปศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
สังเกตการณ์เรียง ตัวของเซลล์ ส่วนประกอบของเซลล์ วาดภาพที่เห็นภายใต้
กล้องจุลทรรศน์ พร้อมระบุ กำลังขยายที่ใช้และเปรียบเทียบการเปลีย่ นแปลงของ
ไซโทพลาซึมระหว่างเยือ่ หอม ทั้ง 2 ชิ้น

2.2 การศึกษาเซลล์สาหร่ายหางกระรอก
1. หยดน้ำ 1 หยดบนสไลด์
2. นำใบอ่อนสาหร่ายหางกระรอกมาวางบนสไลด์ที่มีหยดน้ำแล้วปิดด้วยกระจกปิด
สไลด์
3. ศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ สังเกตส่วนประกอบของเซลล์
จากการศึกษาการไหลเวียนของไซโทพลาสซึม (สังเกตคลอโรพลาสต์ และ
ขอบเขตของแวคิวโอลจากการไหล) วาดภาพที่เห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พร้อม
ระบุกำลังขยายที่ใช้และระบุทิศทางของการไหล
2.3 การศึกษาเซลล์เยื่อบุด้านในข้างแก้ม
1. หยดน้ำกลั่น 1 หยดบนสไลด์ 2 แผ่น
2. ทำความสะอาดไม้จิ้มฟันชนิดหัวแบน แล้วนำไปขูดเบา ๆ ที่เยือ่ บุด้านในแก้ม
นำมาวางที่หยดน้ำบนสไลด์ทั้ง 2 แผ่น หยดน้ำลงบนสไลด์ 1 แผ่น ปิดด้วยกระจก
ปิดสไลด์
3. ศึกษาเปรียบเทียบเยือ่ บุด้านในข้างแก้มภายใต้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ

กำหนดตัวแปร
ตัวแปรต้น : สาหร่ายหางกระรอก เยื่อหอมแดง เยื่อบุด้านในข้างแก้ม
ตัวแปรตาม : โครงสร้างภายในเซลล์
ตัวแปรควบคุม : ชนิดของกล้องจุลทรรศน์
คำถามท้ายหน่วย
1. ถ้าต้องการให้ภาพทีอ่ ยู่มมุ บนด้านซ้ายของจอภาพมาอยู่ตรงกลางจอภาพ จะปรับ
เลื่อนส่วนใดของกล้อง และปรับเลือ่ นอย่างใด
ตอบ Knobs controlling the X and Y movement of mechanical stage (ลูกบิด
ควบคุมการเคลื่อนที่ X และ Y ของสเตจเชิงกล) โดยจะหมุนไปทางซ้ายและหมุนลง
เพื่อให้ภาพอยู่ตรงกลาง

2. นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างภายในเซลล์สาหร่ายหางกระรอก
ตอบ นิวเคลียสและการแบ่งห้องของเซลล์สาหร่ายหางกระรอก

3. ถ้าวัตถุที่นำมาศึกษามีความบางและใสมาก เช่น เซลล์เยื่อบุด้านในข้างแก้มที่ไม่ย้อม


สารละลายไอโอดีน เมื่อต้องการให้เห็นวัตถุที่ชัดเจนขึ้น จะต้องปรับส่วนประกอบใดของ
กล้องและปรับอย่างไร
ตอบ เลนส์ใกล้วัตถุและปุ่มปรับภาพ
เลนส์ใกล้วัตถุ : ปรับกำลังขยายคามความเหมาะสม
ปุ่มปรับภาพ : ปรับช่วยทำให้ภาพชัดขึ้น

4. จากการศึกษาเซลล์เยื่อหอม สาหร่ายหางกระรอก และเยื่อบุด้านในข้างแก้มภายใต้


กล้องจุลทรรศน์พบโครงสร้างของเซลล์เหล่านี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ เซลล์เยื่อหอมและสาหร่ายหางกระรอก แตกต่างจากเยื่อบุด้านในข้างแก้ม
เนื่องจาก เซลล์เยือ่ หอมและสาหร่ายหางกระรอกเป็นเซลล์พืช มีผนังเซลล์ ส่วนเยือ่ บุ
ด้านในข้างแก้มเป็นเซลล์สัตว์ ซึ่งไม่มีผนังเซลล์
ผลจากการศึกษากล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงเชิงประกอบ

โครงสร้างของเซลล์เยื่อหอมแดง

โครงสร้างของเซลล์สาหร่ายหางกระรอก

โครงสร้างของเซลล์เยื่อบุด้านในข้างแก้ม
โครงสร้างของตัวอักษร

You might also like