You are on page 1of 4

ใบกิจกรรมที่ 2.

1 โครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีลักษณะอย่างไร
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่ม 1 ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) สสวท. กระทรวงศึกษาธิการ หน้า 18

กิจกรรมที่ 2.1 โครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีลักษณะอย่างไร?


จุดประสงค์ สังเกตและบรรยายลักษณะของโครโมโซมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์

วัสดุอุปกรณ์ วัสดุที่ใช้ต่อกลุ่ม

1) กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง 1 กล้อง

2) สไลด์ถาวรเซลล์ปลายรากหอม 1 แผ่น

วิธีดำเนินกิจกรรม 1. สังเกตโครงสร้างภายในเชลล์ปลายรากหอมจากสไลด์ถาวรด้วยกล้องจุลทรรศน์

ใช้แสง โดยใช้เลนส์ใกล้วัตถุก่าลังขยายต่่าสุด แล้วเลือกบริเวณที่เห็นเชลล์แต่ละ


เชลล์ชัดเจน

2. เปลี่ยนเลนส์ใกล้วัตถุที่มีก่าลังขยายสูงขึ้น ปรับภาพจนเห็นภาพชัดเจน บันทึกผล

โดยการวาดภาพหรือถ่ายภาพ และระบุโครโมโชมที่เห็นภายในเชลล์โดยการ
เปรียบเทียบกับภาพ 2.2 ในหนังสือเรียนหน้า 19

ข้อเสนอแนะใน 1) ครูแนะน่าให้นักเรียนใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูเซลล์ปลายรากหอมด้วยเลนส์ใกล้
กำรทำกิจกรรม
วัตถุก่าลังขยายต่่าเพื่อตรวจดูเซลล์ โดยเลื่อนสไลด์เพื่อตรวจหาเซลล์ที่มีโครงสร้าง
ภายในต่างจากเซลล์อื่น เช่น โครงสร้างที่เป็นเส้นหรือท่อนซึ่งติดสีได้ดีภายในเซลล์
จากนั้นจึงใช้เลนส์ใกล้วัตถุก่าลังขยายสูงเพื่อตรวจดูรายละเอียดของเซลล์นั้น ครู
เน้นย้่าให้นักเรียนปรับภาพโดยใช้ปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจน

2) ครูควรให้ความรู้กับนักเรียนเรื่องการศึกษาโครโมโซม โดยควรศึกษาขณะที่เซลล์

มีการแบ่งตัว เพราะเป็นช่วงที่โครโมโซมมีการขดตัวท่าให้สามารถสังเกตลักษณะ
ได้ง่าย
3) ในกรณีที่ไม่มีสไลด์ถาวร ครูอาจเตรียมสไลด์ของเซลล์ปลายรากหอมเองซึ่งมี
วิธีการ

ดังนี้

3.1) เพาะหอมแดงหรือหอมใหญ่ โดยตัดรากเก่า ๆ ของหัวหอมทิ้ง น่าไปวางบน

ขวดปากกว้างหรือบีกเกอร์ที่มีน้่าอยู่เต็ม หรือเพาะในกระบะทรายและรดน้่า
อย่างสม่่าเสมอ ระวังอย่าให้ทรายแห้ง ทิ้งไว้จนรากงอกยาวประมาณ 1-2

กิจกรรมที่ 2.1 โครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีลักษณะอย่างไร?


ข้อเสนอแนะใน 3.2) ตัดปลายรากยาวประมาณ 1 เซนติเมตรจากปลายราก แช่ในสารละลายตรึง
กำรทำกิจกรรม
สภาพ (fixative) ซึ่งเตรียมโดยผสมเอทิลแอลกอฮอล์ 3 ส่วน กับกรดแอซิติก
เข้มข้น 100% (glacial acetic acid) 1 ส่วน ควรเตรียมใหม่ทุกครั้งก่อนใช้
แช่รากไว้ในสารละลายตรึงสภาพ 1 คืนในตู้เย็น

3.3) ถ้าต้องการเก็บปลายรากไว้ใช้ครั้งต่อไปให้เก็บปลายรากไว้ในสารละลาย

เอทิลแอลกอฮอล์ 70%

3.4) ใช้ปากคีบคีบรากจากข้อ 3) วางบนสไลด์ ตัดส่วนปลายรากที่มีสีขาวขุ่นยาว


ประมาณ 2-3 มิลลิเมตรมาใช้ ส่วนที่เหลือด้านบนให้ทิ้งไป ล้างส่วนปลาย
รากด้วยน้่ากลั่นโดยหยดน้่ากลั่นให้ท่วมราก ทิ้งไว้ 5 นาที แล้วซับน้่าด้วย
กระดาษเยื่อ หยดกรดไฮดรอคลอริกเข้มข้น 1 N. (Normality) ประมาณ 1-
2 หยดให้พอท่วมเพื่อให้ผนังเซลล์อ่อนตัว ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีระวังอย่าให้
กรดแห้ง จากนั้นซับกรดออกด้วยกระดาษเยื่อ แล้วล้างด้วยน้่ากลั่นอีก 1-2
ครั้ง เพื่อล้างกรดออกให้หมด

3.5) หยดสีอะซิโทคาร์มีน (acetocarmine) บนปลายรากหอมเพื่อย้อมสี

โครโมโซม แล้วผ่านสไลด์บนเปลวไฟ ระวังอย่าให้สีเดือดและแห้ง ปิดด้วย


กระจกปิดสไลด์
3.6) ใช้ปลายแท่งแก้วหรือปลายดินสอด้านที่มียางลบกดเบา ๆ บนกระจกปิด

สไลด์เพื่อให้ปลายรากหอมแตกออกและให้เซลล์กระจาย จากนั้นใช้กระดาษ
เยื่อซับสีส่วนเกินบริเวณข้าง ๆ กระจกปิดสไลด์ น่าไปส่องดูด้วยกล้อง
จุลทรรศน์

คาถามท้ายกิจกรรม

1. สิ่งที่เห็นภายในเซลล์แต่ละเซลล์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
2. ลักษณะของโครโมโซมที่สังเกตได้ มีลักษณะอย่างไร
3. จากกิจกรรม สรุปได้ว่าอย่างไร

You might also like