You are on page 1of 64

คู่มือการขอเหรียญกาชาด

แบบบุรุษ แบบสตรี แบบบุรุษ แบบสตรี

ด้านหน้าบุรุษ ด้านหน้าสตรี ด้านหลังบุรุษ

แบบบุรุษ แบบสตรี แบบบุรุษ แบบสตรี แบบบุรุษ แบบสตรี

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด
สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
คู่มือการขอเหรียญกาชาด

พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๕๔
จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม
ผู้จัดพิมพ์ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด
สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
พิมพ์ท ี่ ห้างหุุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้าเมืองไทย)
เลขที่ ๘๕, ๘๗, ๘๙, ๙๑ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๔๐
ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐
โทร. ๐-๒๔๒๔-๔๕๕๗, ๐-๒๔๒๔-๐๖๙๔ โทรสาร ๐-๒๔๓๓-๒๘๕๘
นายณัฐ ปวิณวิวัฒน์ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา
คำนำ
คู่ มื อ การขอเหรี ย ญกาชาดเล่ ม นี้ จั ด ทำขึ้ น เพื่ อ เผยแพร่ ใ ห้ ห น่ ว ยงาน

ทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด ได้รับทราบหลักเกณฑ์การเสนอ

ขอพระราชทานเหรียญกาชาด ตามที่สภากาชาดไทยได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับสภากาชาดไทย
หมวดที่ ๑๑ เหรี ย ญกาชาด หมวดที่ ๑๒ เหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ หมวดที่ ๑๓

เหรียญกาชาดสดุดี และคำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด ซึ่งถือเป็นระเบียบปฏิบัติตั้งแต่
วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๓
เนื้ อ หาภายในเล่ ม นอกจากนำเสนอหลั ก เกณฑ์ ก ารเสนอขอพระราชทาน

เหรียญกาชาด ยังได้ประมวลความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ความหมาย ลักษณะเหรียญ
ลำดับชั้นเหรียญ ผู้พิจารณามอบเหรียญ การมอบเหรียญ และการประดับเหรียญกาชาด

เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความสำคัญของเหรียญกาชาดทั้ง ๓ ประเภท มาเสนอไว้

ในส่วนที่ ๑ รวมทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจการเสนอขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ
เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด ในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนหลักสูตรยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด จึงได้สรุปลักษณะการปฏิบัติงาน
ปริมาณงาน และระยะเวลาปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ฯ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลช่องทาง
ติดต่อหน่วยงานของสภากาชาดไทยที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขอพระราชทานเหรียญกาชาด
มานำเสนอไว้ในส่วนภาคผนวกอีกด้วย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการ
นักเรียน ขอขอบคุณคณะทำงานผลิตสื่อคู่มือการขอเหรียญกาชาด ที่จัดผลิตสื่อคู่มือฯ

เป็นที่เรียบร้อย และหวังว่าคู่มือฯ เล่มนี้ จักเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อหน่วยงานทางการศึกษา
เจ้าหน้าที่ และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด ทั่วประเทศ




(นายอภิชาติ จีระวุฒิ)
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สารบัญ
หน้า
คำนำ
ส่วนที่ ๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหรียญกาชาด ๑
๑.๑ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ๑
๑.๒ เหรียญกาชาดสรรเสริญ ๔
๑.๓ เหรียญกาชาดสดุดี ๗
ส่วนที่ ๒ คำชี้แจงเรื่องการขอพระราชทานเหรียญกาชาด ๑๑
๒.๑ การขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ๑๑
๒.๒ การขอพระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญ ๒๖
๒.๓ การขอพระราชทานเหรียญกาชาดสดุดี ๒๗
บรรณานุกรม ๓๐
ภาคผนวก ๓๑
- สรุปลักษณะการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน และระยะเวลาปฏิบัติงาน
ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด เพื่อขอพระราชทาน
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ๓๓
- แบบรายงานประกอบคำขอประเมินบุคคล ผู้ช่วยเหลือกิจการ
ของสำนักงานยุวกาชาด เพื่อพิจารณาขอพระราชทาน
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่...... (๓) ๓๘
- ทำเนียบหน่วยงานสภากาชาดไทยที่เกี่ยวข้องกับการเสนอ
ขอพระราชทานเหรียญกาชาด ๔๕
- หนังสือสภากาชาดไทย ด่วนที่สุด ที่ กช ๕๐๖/๒๕๕๓
เรื่อง ขอส่งข้อบังคับสภากาชาดไทยและคำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด
ลงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๓ ๔๖
- คำสั่งสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน ที่ ๒๙/๒๕๕๔
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานผลิตสื่อคู่มือการขอเหรียญกาชาด
ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ๔๘
- เหรียญกาชาด ๕๐
- เครื่องหมายยุวกาชาด ๕๖

ส่วนที่ ๑
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเหรียญกาชาด
เหรียญกาชาด
พระราชบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยสภากาชาดไทย (ฉบั บ ที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐ กำหนด

เหรียญกาชาดไว้ ๓ ประเภท (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๐ ก วันที่ ๑๒
เมษายน ๒๕๕๐) คือ เหรียญกาชาดสมนาคุณ เหรียญกาชาดสรรเสริญ และเหรียญกาชาดสดุดี

๑.๑ เหรียญกาชาดสมนาคุณ
ความเป็นมาเหรียญกาชาดสมนาคุณ
เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ จั ด เป็ น เหรี ย ญราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ประเภทเหรี ย ญ
พระราชทานเป็นที่ระลึก เพื่อตอบแทนและเชิดชูคุณความดีแก่ผู้มีจิตกุศลที่อุทิศกำลังกาย
กำลั ง ทรั พ ย์ ปั ญ ญา และเวลาอั น มี ค่ า ช่ ว ยเหลื อ กิ จ การของสภากาชาดไทย เหรี ย ญนี้

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ จากคำกราบบังคมทูลของนายแพทย์ เอ็ม.อี.บาร์นส์ ผู้อำนวยการ
กองสุ ข าภิ บ าล สภากาชาดสยาม ขอพระราชทานพระอนุ ญ าตพระบาทสมเด็ จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภก สร้างเหรียญเพื่อมอบแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ที่มีความชอบในกิจการของสภากาชาดสยาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ทรงเห็นว่าเหรียญนี้
ควรเป็นเหรียญของสภากาชาดสยาม และให้ใช้ทุกกองแยกของสภากาชาด และควรให้แก่

ผู้ ที่ อุ ด หนุ น สภากาชาดสยาม ด้ ว ยการให้ เ งิ น ทรั พ ย์ สิ น และช่ ว ยเหลื อ ด้ ว ยแรงงาน



หรือความสะดวก กำลังความคิด หรือช่วยชักชวนให้บริจาคเงินให้สภากาชาดสยาม ต่อมา
จึงได้มีการออกข้อบังคับของอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามว่าด้วยเหรียญสมนาคุณ
ของสภากาชาดสยามขึ้น เมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๕ (กรมพลศึกษา กองยุวกาชาด,
๒๕๔๓ : ๒๕)

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 
ความหมายเหรียญกาชาดสมนาคุณ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ตามประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๗๒) พุทธศักราช ๒๕๕๓ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง

วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) คือเหรียญพระราชทานที่ระลึกมอบให้แก่ผู้ที่ช่วยเหลือ
สภากาชาดไทยด้ ว ยกำลั ง ทรั พ ย์ กำลั ง กาย และปั ญ ญา อั น เป็ น ประโยชน์ ยิ่ ง

แก่สภากาชาดไทย
ลักษณะเหรียญกาชาดสมนาคุณ
ลักษณะเหรียญกาชาดสมนาคุณ เป็นเหรียญโลหะกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง
๒๗ มิลลิเมตร
ด้านหน้ามีรูปกาชาดและรูปนางพยาบาลประคองทารกกับคนชรา
ด้านหลังกลางเหรียญมีที่ว่างสำหรับจารึกนามผู้ได้รับเหรียญและพุทธศักราช
ภายในวงขอบเหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า “สภากาชาด”
ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า “สมนาคุณ”
ด้านหน้ามีห่วงเป็นรูปกระหนก
(ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓)
ลำดับชั้นของเหรียญกาชาดสมนาคุณ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ มี ๓ ลำดับชั้น (ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย

แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓) คือ
ชั้ น ที่ ๑ ทองคำลงยาที่ ก าชาด ด้ า นหลั ง เหรี ย ญให้ จ ารึ ก นามผู้ ไ ด้ รั บ และ

พุทธศักราชที่ได้รับ ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีเครื่องหมายกาชาดขอบทอง
ชั้ น ที่ ๒ เงิ น กาไหล่ ท อง ด้ า นหน้ า แพรแถบตรงกลางมี เ ครื่ อ งหมายกาชาด

ขอบสีทองบนวงกลมพื้นสีขาวขอบสีทอง
ชั้นที่ ๓ เงินรมดำ ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีเครื่องหมายกาชาดขอบสีเงิน

บนวงกลมพื้นสีขาวขอบสีเงิน

 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ผู้พิจารณามอบเหรียญกาชาดสมนาคุณ
คณะกรรมการเป็นผู้พิจารณามอบเหรียญกาชาดสมนาคุณ ซึ่งคณะกรรมการ

เจ้ า หน้ า ที่ ที่ ตั้ ง ขึ้ น เป็ น ผู้ ก ำหนดหลั ก เกณฑ์ ก ารบริ จ าคเงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น ลั ก ษณะงาน

การช่ ว ยเหลื อ และคุ ณ สมบั ติ ข องผู้ ที่ ส มควรได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ และเป็ น

ผู้พิจารณาว่าผู้มีความชอบสมควรให้เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นใด แล้วเสนอที่ประชุม

คณะกรรมการเจ้าหน้าที่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด (ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ ๗๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓)
การมอบเหรียญกาชาดสมนาคุณ
การมอบเหรียญกาชาดสมนาคุณทั้ง ๓ ลำดับชั้น ให้มีประกาศนียบัตรกำกับทุกชั้น
และเหรียญกาชาดสมนาคุณทุกลำดับชั้นมีเหรียญจำลองและดุมเสื้อ (พระราชบัญญัติ

ว่าด้วยสภากาชาดไทย ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐)
อนึ่ง ผู้ที่ช่วยเหลือกิจการต่าง ๆ ของสภากาชาดไทยจนเป็นผลดียิ่ง แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์
ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓ อาจได้รับประกาศนียบัตรชมเชยได้
(ประกาศข้ อ บั ง คั บ สภากาชาดไทย แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ฉบั บ ที่ ๗๒ พุ ท ธศั ก ราช
๒๕๕๓)
การประดับเหรียญกาชาดสมนาคุณ
ผู้ที่ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ สามารถประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มีเครื่องหมายประดับแพรแถบ และให้เป็นสิทธิ์แก่ผู้รับ เมื่อผู้ได้รับวายชนม์ ให้ตกทอด

แก่ทายาทเพื่อรักษาไว้เป็นที่ระลึก
บุรุษ ใช้ห้อยกับแพรแถบสีขาวกว้าง ๓๐ มิลลิเมตร ด้านหน้าแพรแถบตรงกลาง
มีเครื่องหมายกาชาดลำดับชั้นที่ได้รับ ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
สตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย





คู่มือการขอเหรียญกาชาด 
๑.๒ เหรียญกาชาดสรรเสริญ
ความเป็นมาเหรียญกาชาดสรรเสริญ
เหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ จั ด เป็ น เหรี ย ญราชอิ ส ริ ย าภรณ์ ประเภทเหรี ย ญ
พระราชทานเป็นที่ระลึก เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่ทำการช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งตกอยู่ในเขตอันตราย

ถึงเสียชีวิตได้ ให้รอดพ้นอันตราย ด้วยความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง มิได้เห็นแก่สินจ้างรางวัล
และมิได้นำพาต่อความยากหรืออันตรายอันพึงมีแก่ตนได้ แม้ไม่ถึงกับเอาชีวิตเข้าแลก

รวมไปถึงผู้ซึ่งมีความเมตตากรุณาแก่เพื่อนมนุษย์ และผู้ซึ่งได้ทำการให้แก่สภากาชาดไทย
ในเวลาสงครามหรือจลาจล โดยไม่คิดประโยชน์ตอบแทน เหรียญนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙
ด้วยเหตุที่พระยาไพศาลศิลปศาสตร์ ผู้อำนวยการกองอนุสภากาชาดสยาม ได้มีหนังสือ
กราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยามว่า มีสมาชิกอนุสภากาชาด ได้ช่วยชีวิตเด็กตกน้ำ
และทำการปฐมพยาบาลเด็กนั้น จนรอดชีวิต และมีอาการทั่วไปเป็นปกติ จึงสมควรที ่

สภากาชาดสยามจะมอบเครื่องหมายให้เป็นที่ระลึก องค์อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม
ได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการเจ้าหน้าที่สรุปผล ต่อมาสภากาชาดสยามได้ออก

เป็นข้อบังคับว่าด้วยเหรียญกาชาดสรรเสริญขึ้น โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
องค์พระบรมราชูปถัมภก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต

ให้สร้างเหรียญนี้ขึ้น เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ (กรมพลศึกษา กองยุวกาชาด,
๒๕๔๓ : ๒๕)
ความหมายเหรียญกาชาดสรรเสริญ
เหรียญกาชาดสรรเสริญ เป็นเครื่องหมายสรรเสริญของสภากาชาดไทยมอบให้กับ
ผู้ที่ได้กระทำความดี ตามประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๗๒)
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ดังนี้
๑. ผู้ที่ได้ช่วยเหลือผู้ซึ่งตกอยู่ในเขตอันตรายถึงเสียชีวิตได้ ให้รอดพ้นอันตราย
ด้วยความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง มิได้เห็นแก่สินจ้างรางวัล และมิได้นำพาต่อความยากหรือ
อันตรายอันพึงมีแก่ตนได้ แม้ไม่ถึงกับเอาชีวิตเข้าแลกก็อยู่ในลักษณะที่จะรับเหรียญนี้ได้
และต้องกระทำโดยมิใช่เพื่อความจำเป็นในตำแหน่งหน้าที่ในเวลาปกติของผู้ทำนั้น

 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๒. ผู้ซึ่งมีความเมตตากรุณาแก่เพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นการกระทำโดยมิใช่เพื่อ
ความจำเป็นในตำแหน่งหน้าที่ในเวลาปกติของผู้ทำนั้น เป็นต้นว่า ตั้งโรงรับเลี้ยงรักษา

ผู้กำพร้าอนาถา โดยมิได้คิดเอาประโยชน์ส่วนตัว หรือได้ทำประโยชน์ยิ่งในยามเกิดวิบัติต่าง ๆ

เช่น ทุพภิกขภัย และโรคภัยไข้เจ็บชุกชุมที่มีขึ้นเป็นครั้งคราว ซึ่งผู้นั้นได้บริจาคทรัพย์ของตน
ช่วยเหลือ เลี้ยงรักษา ด้วยน้ำใจกรุณาเป็นที่ตั้ง
๓. ผู้ซึ่งได้ทำการให้แก่สภากาชาดไทยตามหน้าที่ของสภากาชาดไทย ภายใน
เขตกระสุนปืนของข้าศึกในเวลาสงครามหรือจลาจล
๔. ผู้ ที่ ท ำการให้ แ ก่ ส ภากาชาดไทยตามหน้ า ที่ ข องสภากาชาดไทยแต่ แรก

เวลาเกิ ด สงคราม หรื อ การจลาจล หรื อ ในเวลาที่ มี โรคภั ย ไข้ เจ็ บ เกิ ด ชุ ก ชุ ม โดยไม่ คิ ด
ประโยชน์ ต อบแทนจากสภากาชาดไทย จนถึ ง เวลาเหตุ นั้ น สงบเรี ย บร้ อ ยและได้ ผ ลดี

เป็นที่พอใจของคณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาด
ลักษณะเหรียญกาชาดสรรเสริญ
ลักษณะเหรียญกาชาดสรรเสริญ เป็นเหรียญทองแดงแบนรูปกาชาด มีวงกลม

เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ มิลลิเมตร ทับอยู่
ด้านหน้ามีรูปนางเมขลาอุ้มพระชนกขึ้นจากมหาสมุทร
ด้านหลังกลางเหรียญมีข้อความว่า “กาชาดสรรเสริญ” มีห่วงห้อย
(ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓)
ลำดับชั้นของเหรียญกาชาดสรรเสริญ
- มิได้กำหนดลำดับชั้นเหรียญกาชาดสรรเสริญ -
ผู้พิจารณามอบเหรียญกาชาดสรรเสริญ
ผู้ที่มีหน้าที่เสนอความชอบของบุคคลอันสมควรที่จะได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ
ตามประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๗๒) พุทธศักราช ๒๕๕๓ คือ
๑. กรรมการสภากาชาดไทย เลขาธิการ เหรัญญิก และผู้อำนวยการสำนักงาน
ของสภากาชาดไทย หรือเทียบเท่า เสนอต่ออุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย หรือ
๒. ผู้ที่เห็นว่าตนสมควรจะได้รับเหรียญตามเกณฑ์ที่กล่าวแล้วก็ให้ชี้แจงมายัง
สภากาชาดไทย เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 
ผู้เสนอความชอบต้องพิจารณาตรวจสอบแสดงเหตุผลต่อไปโดยละเอียดชัดเจน
โดยเสนอความชอบมายังอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เมื่ออุปนายกผู้อำนวยการฯ
ได้รับรายงานความชอบนี้แล้ว จะได้ให้คณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาด พิจารณา
แล้วเสนอที่ประชุมคณะกรรมการเจ้าหน้าที่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
การมอบเหรียญกาชาดสรรเสริญ
การมอบเหรียญกาชาดสรรเสริญ ให้มีประกาศนียบัตรกำกับ เหรียญจำลอง

และดุ ม เสื้ อ ทั้ ง นี้ ตามที่ ก ำหนดในข้ อ บั ง คั บ สภากาชาดไทย (พระราชบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ย
สภากาชาดไทย ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐)
ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ จะได้ รั บ ประกาศนี ย บั ต รประกอบเหรี ย ญ

ที่ได้รับ กรณีผู้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญได้บำเพ็ญคุณความดีและรับการสรรเสริญของ
สภากาชาดไทยตามความในข้อบังคับนี้สืบไปในเบื้องหน้าอีกครั้งหนึ่ง ก็ให้เพิ่มเครื่องหมาย
กาชาดลงยาบนแพรแถบอีกอันหนึ่ง และต่อไปถ้าได้รับสรรเสริญอีกกี่ครั้ง ก็เพิ่มจำนวน
เครื่องหมายกาชาดลงยาขึ้นเป็นลำดับทุกครั้ง
ถ้ า ผู้ ใ ดได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ เป็ น ครั้ ง ที่ ๒ และต่ อ ๆ ไป จะได้
เครื่องหมายกาชาดติดแถบเหรียญกับประกาศนียบัตรทุกครั้ง
ถ้าผู้ใดช่วยชีวิตมนุษย์ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ อาจได้รับ
ประกาศนียบัตรชมเชยได้
(ประกาศข้ อ บั ง คั บ สภากาชาดไทย แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม ฉบั บ ที่ ๗๒ พุ ท ธศั ก ราช
๒๕๕๓)
การประดับเหรียญกาชาดสรรเสริญ
ผู้ที่ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญ สามารถประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มีเครื่องหมายประดับแพรแถบ และให้เป็นสิทธิ์แก่ผู้รับ เมื่อผู้ได้รับวายชนม์ ให้ตกทอด

แก่ทายาทเพื่อรักษาไว้เป็นที่ระลึก
บุรุษ ใช้ห้อยกับแพรแถบสีขาวกว้าง ๓๐ มิลลิเมตร มีริ้วสีแดงใกล้ขอบทั้งสองข้าง
ด้านหน้าแพรแถบตรงกลางมีกาชาดลงยา ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย
สตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๑.๓ เหรียญกาชาดสดุดี
ความเป็นมาเหรียญกาชาดสดุดี
เหรียญกาชาดสดุดี จัดเป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ประเภทเหรียญพระราชทาน
เป็นที่ระลึก เพื่อมอบให้แก่ผู้ประกอบคุณงามความดีช่วยเหลือหรือส่งเสริมสนับสนุนกิจการ
อั น เป็ น การอำนวยประโยชน์ แ ก่ ส ภากาชาดไทย เหรี ย ญนี้ ส ร้ า งขึ้ น เมื่ อ พ.ศ. ๒๕๕๐

ตามประกาศพระราชบั ญ ญั ติ ว่ า ด้ ว ยสภากาชาดไทย (ฉบั บ ที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐

เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงดำรงตำแหน่ง

สภานายิ ก าสภากาชาดไทยที่ ย าวนานที่ สุ ด เนื่ อ งในโอกาสพระราชพิ ธี ม หามงคล

เฉลิ ม พระชนมพรรษา ๖ รอบ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชิ นี น าถ ในวั น ที่

๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
ความหมายเหรียญกาชาดสดุดี
เหรี ย ญกาชาดสดุ ดี คื อ เหรี ย ญพระราชทานแก่ ผู้ ป ระกอบคุ ณ งามความดี

ช่วยเหลือหรือส่งเสริมสนับสนุนกิจการอันเป็นการอำนวยประโยชน์แก่สภากาชาดไทย

ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภากาชาดไทย (พระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย ฉบับที่ ๔

พ.ศ. ๒๕๕๐) ผู้ ที่ นั บ ว่ า ต้ อ งด้ ว ยลั ก ษณะอั น สมควรที่ จ ะได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสดุ ดี

ตามประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๗๒) พุทธศักราช ๒๕๕๓ คือ
๑. พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระคุณูปการอย่างยิ่งต่อสภากาชาดไทย
๒. พระมหากษัตริย์และพระราชินีต่างประเทศ
๓. ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศและภรรยา
๔. หัวหน้ารัฐบาลประเทศไทย
๕. หัวหน้ารัฐบาลต่างประเทศ บุคคลในระดับรัฐมนตรีของต่างประเทศและ
ภรรยาที่เป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชิ นี น าถ สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ที่ ม าเยี่ ย ม

และดูกิจกรรมของสภากาชาดไทย
๖. หัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ หัวหน้าคณะทูต

ต่ า งประเทศ และองค์ ก รในขบวนการกาชาดและเสี้ ย ววงเดื อ นแดงระหว่ า งประเทศ

อั น ประกอบด้ ว ย คณะกรรมการกาชาดระหว่ า งประเทศ สหพั น ธ์ ส ภากาชาดและ

เสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ และสภากาชาด สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 
๗. พระราชวงศ์ต่างประเทศ ที่เสด็จฯ เยี่ยมกิจการของสภากาชาดไทย
๘. กรรมการสภากาชาดไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า ๕ วาระ และได้รับ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ มาแล้ว
๙. ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด นายกเหล่ า กาชาดจั ง หวั ด ที่ ป ฏิ บั ติ ง านให้ แ ก่
สภากาชาดไทย ตามภารกิจที่สภากาชาดไทยมอบหมายโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ตอบแทน
นั บ รวมเวลาไม่ น้ อ ยกว่ า ๒๕ ปี และได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ ชั้ น ที่ ๑ มาแล้ ว

โดยคณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาด เป็นผู้พิจารณาเสนอตามผลงานที่ปรากฏชัดเจน
๑๐. ผู้ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้สภากาชาดไทย เป็นมูลค่าตามที่กำหนด

ไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ทั้งนี้ เป็นการขอรับพระราชทาน


อย่างใดอย่างหนึ่ง
๑๑. ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสภากาชาดไทยที่เกษียณอายุและได้ทำการมาแล้ว

กอปรด้วยความดีความชอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้เข้ารับตำแหน่งหนึ่ง
ตำแหน่งใดในกิจการของสภากาชาดไทย
๑๒. ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทย กอปรด้วยความดีความชอบ นอกเหนือจาก

ที่ระบุแล้ว สภากาชาดไทยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
๑๓. เจ้ า หน้ า ที่ ร ะดั บ สู ง ขององค์ ก ารระหว่ า งประเทศ คณะทู ต คณะกงสุ ล

ต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติและขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่าง
ประเทศ อันประกอบด้วย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สหพันธ์สภากาชาด

และเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ และสภากาชาด สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ
๑๔. ผู้ ที่ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น กิ จ การของสภากาชาดไทยที่ อ ำนวยประโยชน์

แก่ความเจริญก้าวหน้าแก่สภากาชาดไทยเป็นอย่างยิ่ง
๑๕. ผู้ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้สภากาชาดไทย เป็นมูลค่าตามที่กำหนด

ไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ ทั้งนี้ เป็นการขอรับพระราชทาน


อย่างใดอย่างหนึ่ง

 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๑๖. ผู้ ที่ มี ต ำแหน่ ง หน้ า ที่ ใ นสภากาชาดไทย แพทย์ สั ง กั ด คณะแพทยศาสตร์
จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย และได้ ท ำการมาแล้ ว กอปรด้ ว ยความดี ค วามชอบเป็ น เวลา

ไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้เข้ารับตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในกิจการของสภากาชาดไทย
ลักษณะเหรียญกาชาดสดุดี
ลักษณะเหรียญกาชาดสดุดี ตามประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๗๒) พุทธศักราช ๒๕๕๓ เป็นเหรียญกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๓๐ มิลลิเมตร
ด้านหน้ากลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

ทรงฉลองพระองค์ ชุ ด ไทยประยุ ก ต์ ทรงสายสะพายและสายสร้ อ ยแห่ ง เครื่ อ งขั ต ติ ย -

ราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระอังสาเบื้องซ้ายประดับ
ดวงตราปฐมจุลจอมเกล้า เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙
ชั้นที่ ๑ ภายในวงขอบเหรียญมีข้อความว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สภานายิกาสภากาชาดไทย”
ด้ า นหลั ง กลางเหรี ย ญมี รู ป ตราสั ญ ลั ก ษณ์ ง านเฉลิ ม พระเกี ย รติ ส มเด็ จ

พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ เนื่ อ งในโอกาสพระราชพิ ธี ม หามงคลเฉลิ ม


พระชนมพรรษา ๖ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ ขนาบด้านขวาและซ้ายด้วยเครื่องหมาย
กาชาด ด้านล่างมีข้อความว่า “กาชาดสดุดี” เหนือขอบเหรียญมีอักษรพระนามาภิไธย
“ส.ก.” ไขว้ ภายใต้พระมหามงกุฎ ด้านหลังมีห่วง
ลำดับชั้นของเหรียญกาชาดสดุดี
เหรียญกาชาดสดุดี มี ๓ ลำดับชั้น (ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม
ฉบับที่ ๗๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓) คือ
ชั้นพิเศษ ทองคำ
ชั้นที่ ๑ เงิน
ชั้นที่ ๒ บรอนซ์

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 
ผู้พิจารณามอบเหรียญกาชาดสดุดี
ผู้มีหน้าที่เสนอความชอบของบุคคลที่กระทำความดีตามที่ระบุไว้ในความหมาย
ของเหรียญกาชาดสดุดี (ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗๒

พุทธศักราช ๒๕๕๓) คือ
๑. กรรมการสภากาชาดไทย เลขาธิการ เหรัญญิก ผู้อำนวยการสำนักงาน

ของสภากาชาดไทยหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเหล่ากาชาดจังหวัด

เสนอต่ออุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย หรือ
๒. ผู้ที่เห็นว่าตนสมควรจะได้รับเหรียญตามเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว ก็ให้ชี้แจง
มายังสภากาชาดไทยเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป
การเสนอความชอบมายังอุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ผู้เสนอต้อง
พิจารณาตรวจสอบแสดงเหตุผลโดยละเอียดชัดเจน เมื่ออุปนายกผู้อำนวยการฯ ได้รับรายงาน
ความชอบนี้แล้ว จะได้ให้คณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาดพิจารณา แล้วเสนอ

ที่ประชุมคณะกรรมการเจ้าหน้าที่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
การมอบเหรียญกาชาดสดุดี
การมอบเหรียญกาชาดสดุดีทั้ง ๓ ลำดับชั้น ให้มีประกาศนียบัตรกำกับทุกชั้น
และเหรี ย ญกาชาดสดุ ดี ทุ ก ลำดั บ ชั้ น มี เ หรี ย ญจำลองและดุ ม เสื้ อ (พระราชบั ญ ญั ต ิ

ว่าด้วยสภากาชาดไทย ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐)


การประดับเหรียญกาชาดสดุดี
ผู้ที่ได้รับเหรียญกาชาดสดุดี สามารถประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์

มีเครื่องหมายประดับแพรแถบ และให้เป็นสิทธิ์แก่ผู้รับ เมื่อผู้ได้รับวายชนม์ ให้ตกทอด

แก่ทายาทเพื่อรักษาไว้เป็นที่ระลึก
บุ รุ ษ ใช้ ห้ อ ยกั บ แพรแถบกว้ า ง ๓๐ มิ ล ลิ เ มตร พื้ น ของแพรแถบเป็ น สี ข าว

และตรงกลางแพรแถบมีริ้วสีแดง ประดับที่อกเสื้อด้านซ้าย
สตรี ใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าวผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย
(ประกาศข้อบังคับสภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๗๒ พุทธศักราช ๒๕๕๓)

10 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ส่วนที่ ๒
คำชี้แจงเรื่องการขอพระราชทานเหรียญกาชาด
สภากาชาดไทย ได้แจ้งข้อบังคับสภากาชาดไทย หมวดที่ ๑๑ เหรียญกาชาด
หมวดที่ ๑๒ เหรียญกาชาดสรรเสริญ และหมวดที่ ๑๓ เหรียญกาชาดสดุดี และคำชี้แจง
เรื่องการขอเหรียญกาชาด ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการเสนอ
ขอเหรียญกาชาด ซึ่งข้อบังคับและหลักเกณฑ์นี้ สภากาชาดไทยประกาศใช้ตั้งแต่วันที่

๗ มกราคม ๒๕๕๓ และถือเป็นแนวปฏิบัติ โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๓
เป็นต้นไป
คำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

๒.๑ การขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ
๑. หลักเกณฑ์ทั่วไปของผู้ที่อยู่ ในเกณฑ์ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ
๑.๑ ผู้ ที่ จ ะได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ คื อ ผู้ ที่ ช่ ว ยเหลื อ สภากาชาดไทย

จนเป็นผลดี อันได้แก่
- บริจาคเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่บริจาค
- การช่วยเหลือด้านกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงาน
- การบริจาคโลหิต
๑.๒ ผู้ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ หรือชั้นที่ ๒
- บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน
- สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์แก่สภากาชาดไทย
ส่วนผู้จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓ ขึ้นอยู่กับผลงานเป็นหลัก
ทั้งนี้ อาจมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยกำหนดขึ้น
๑.๓ ผู้ที่ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓ อาจได้รับการพิจารณาให้ได้รับ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๑ ได้โดยยึดหลักเกณฑ์ทั่วไป ข้อ ๑.๒

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 11
๑.๔ พระภิ ก ษุ ส ามเณร ซึ่ ง ช่ ว ยเหลื อ กิ จ การของสภากาชาดไทย จนได้ รั บ

การพิ จ ารณาให้ ไ ด้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ ทุ ก ชั้ น สภากาชาดไทยจะจั ด ถวายเป็ น

“พัดกาชาด” แทนเหรียญกาชาดสมนาคุณในทุกชั้น
๑.๕ ผู้ช่วยเหลืองานของสภากาชาดไทย เช่น เหล่ากาชาดจังหวัด สำนักงาน
บริ ห าร สำนั ก งานจั ด หารายได้ และสำนั ก งานยุ ว กาชาด เป็ น ต้ น จนมี ป ริ ม าณงาน

และผลงานชัดเจนเป็นที่ยอมรับถึงเกณฑ์ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณไม่จำเป็นจะต้อง

เป็นสมาชิกสภากาชาดไทย
๑.๖ ผู้ได้รับค่าตอบแทนหรือเงินเดือนจากสภากาชาดไทย และเหล่ากาชาด
จังหวัดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ
๑.๗ เจ้ า หน้ า ที่ ส ภากาชาดไทย ไม่ มี สิ ท ธิ์ ที่ จ ะได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ
นอกจากจะเป็ น ผู้ บ ริ จ าคโลหิ ต ทรั พ ย์ สิ น ส่ ว นตั ว ตามเกณฑ์ ที่ ก ำหนดไว้ และเป็ น ผู ้

ทำคุณประโยชน์ให้แก่สภากาชาดไทยเป็นอเนกประการจึงจะได้รับการพิจารณาให้ได้รับ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ
๒. คุณสมบัติของผู้ที่อยู่ ในเกณฑ์ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ
๒.๑ คุณสมบัติทั่วไป
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ (เหรียญทองคำลงยาที่กาชาด)
๑. ผู้ ที่ บ ริ จ าคเงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น แก่ ส ภากาชาดไทยในคราวเดี ย ว

เป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๖๐๐,๐๐๐ บาท และไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอย่างอื่น

จากสภากาชาดไทย
๒. ผู้ที่บริจาค
๒.๑ ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ ๑๐๐ ครั้ง
๒.๒ ผู้ที่บริจาคพลาสมาแก่สภากาชาดไทยครบ ๑๐๐ ครั้ง
๒.๓ ผู้ที่บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
๓. ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และได้รับ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ อาทิ
การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต การหารายได้ การหาสมาชิก การประชาสัมพันธ์

การยุวกาชาด หรืออื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยมอบหมายจนเป็นที่ยอมรับ

12 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๔. ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่วยชักชวนและจัดการให้มีผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน

แก่สภากาชาดไทยในคราวเดียวเป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าตั้งแต่ ๖๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป

จนได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒ แล้ว แต่ยังช่วยแนะนำให้มีผู้บริจาคทรัพย์สินใหม่
ต่อไปอีกภายในระยะเวลาไม่เกิน ๘ ปี เป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๘๐๐,๐๐๐ บาท
จะพิจารณาให้ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑
๕. ผู้ เ ป็ น ประธานในการจั ด หารายได้ ใ ห้ ส ภากาชาดไทย อาจจะได้ รั บ

การพิจารณาให้ได้รับเหรียญฯ แล้วแต่กรณี
๖. ผู้เป็นประธานในการจัดหารายได้ให้สภากาชาดไทยของคณะภริยาทูต
จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ เป็นกรณีพิเศษ
๗. ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเหล่ากาชาดจังหวัด

เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี โดยมีผลงานเป็นที่ประจักษ์
๘. เจ้ า หน้ า ที่ ส ภากาชาดไทยและข้ า ราชการคณะแพทยศาสตร์

ผู้ทำคุณประโยชน์แก่สภากาชาดไทยเป็นอเนกประการ ดังนี้
๘.๑ ผู้พ้นจากหน้าที่เนื่องจากเกษียณอายุ
๘.๑.๑ ต้ อ งดำรงตำแหน่ ง หนึ่ ง ตำแหน่ ง ใดในสภากาชาดไทย

ตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการขึ้นไปเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๘.๑.๒ รองผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการที่มีผลงานดีเด่น
ประกอบด้วยคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์จะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ
๘.๒ ผู้พ้นจากหน้าที่เนื่องจากดำรงตำแหน่งโดยมีวาระ
๘.๒.๑ ต้องดำรงตำแหน่งในระดับผู้อำนวยการ
๘.๒.๒ ต้องดำรงตำแหน่งครบตามวาระหรือออกโดยเกษียณอายุ
ก่อนครบวาระ
๘.๒.๓ ต้องไม่ดำรงตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในสภากาชาดไทย
ต่อไปอีก
๘.๓ ผู้ดำรงตำแหน่งในระดับผู้อำนวยการที่พ้นจากหน้าที่ด้วยสาเหตุอื่น
(นอกจากในข้ อ ๘.๑ และข้ อ ๘.๒) ที่ มี ผ ลงานดี เ ด่ น และกอปรด้ ว ยคุ ณ งามความดี

เป็นที่ประจักษ์และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสภากาชาดไทย

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 13
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒ (เหรียญเงินกาไหล่ทอง)
๑. ผู้ ที่ บ ริ จ าคเงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น แก่ ส ภากาชาดไทยในคราวเดี ย ว

เป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท และไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอย่างอื่น
จากสภากาชาดไทย
๒. ผู้ที่เป็นหัวหน้าช่วยชักชวนและจัดการชักชวนให้มีผู้บริจาคเงินหรือ
ทรัพย์สินแก่สภากาชาดไทยในคราวเดียวเป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๖๐๐,๐๐๐ บาท
๓. ผู้ที่บริจาค
๓.๑ ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ ๗๕ ครั้ง
๓.๒ ผู้ที่บริจาคพลาสมาแก่สภากาชาดไทยครบ ๗๕ ครั้ง
๔. ผู้ ที่ ช่ ว ยเหลื อ สภากาชาดไทยด้ ว ยกำลั ง กาย กำลั ง ปั ญ ญา แรงงาน

และได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ
อาทิ การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต การหารายได้ การหาสมาชิก การประชาสัมพันธ์

การยุวกาชาด หรืออื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยมอบหมายจนเป็นที่ยอมรับ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓ (เหรียญเงินรมดำ)
๑. ผู้ที่บริจาค
๑.๑ ผู้ที่บริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทยครบ ๕๐ ครั้ง
๑.๒ ผู้ที่บริจาคพลาสมาแก่สภากาชาดไทยครบ ๕๐ ครั้ง
๒. ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทยด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงาน

ไม่น้อยกว่า ๔ ปี โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต

การหารายได้ การหาสมาชิก การประชาสัมพันธ์ การยุวกาชาด หรืออื่น ๆ ที่สภากาชาดไทย
มอบหมายจนเป็นที่ยอมรับ
๓. วิธีการเสนอขอเหรียญกาชาดสมนาคุณ
๓.๑ ขอได้ตลอดปี โดยรวบรวมเป็นครั้ง ๆ ละไม่ต่ำกว่า ๓-๑๐ ราย เป็นอย่างน้อย
ในแต่ละชั้น
๓.๒ ต้องกรอกรายละเอียดผลงานลงในแบบฟอร์มที่สภากาชาดไทยกำหนดไว้
เป็นรายบุคคลตามที่ปฏิบัติจริง โดยหัวหน้าหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้นสังกัด
เป็นผู้ลงนามรับรองรายละเอียดผลงาน

14 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๓.๓ ต้ อ งระบุ ปี ที่ ป ฏิ บั ติ ง านพร้ อ มรายละเอี ย ดผลงานในแต่ ล ะปี และ

เป็นผลงานเกี่ยวกับสภากาชาดไทยเท่านั้น โดยจะพิจารณาจากความรับผิดชอบและผลงาน
๓.๔ ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สินแก่สภากาชาดไทย ต้องมีหลักฐานการบริจาค
ประกอบการพิจารณา เช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือรับรองการบริจาค แต่หากผู้บริจาคได้รับ
สิ่งตอบแทนอย่างอื่นจากสภากาชาดไทยแล้ว จะไม่ได้รับการพิจารณาให้ได้รับเหรียญ
กาชาดสมนาคุณ
๓.๕ บริ ษั ท ฯ ห้ า งร้ า น และนิ ติ บุ ค คล ที่ บ ริ จ าคเงิ น หรื อ ทรั พ ย์ สิ น ให้ แ ก่
สภากาชาดไทยในคราวเดียวเป็นจำนวนเงินหรือมีมูลค่าตั้งแต่ ๖๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป

มี สิ ท ธิ เ สนอขอเหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ ชั้ น ที่ ๑ ให้ ผู้ แ ทนนิ ติ บุ ค คลได้ เ พี ย ง ๑ คน

โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บริหารสูงสุดของบริษัทฯ ห้างร้าน และนิติบุคคลนั้นประกอบ

การพิจารณาด้วย
๓.๖ ผู้ บ ริ จ าคโลหิ ต ให้ ส ภากาชาดไทยจนครบตามเกณฑ์ ที่ จ ะได้ รั บ เหรี ย ญ
กาชาดสมนาคุณ ให้ต้นสังกัดตรวจสอบความถูกต้องและรวบรวมชื่อเสนอให้สภากาชาดไทย
พิจารณา
๓.๗ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เสนอขอให้แก่บุคคล

ซึ่งปฏิบัติงานให้เหล่ากาชาดจังหวัด, กิ่งกาชาดอำเภอตามที่เห็นสมควรได้โดยต้องเป็นไป
ตามหลักเกณฑ์
๓.๘ หน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชน ที่ช่วยเหลือกิจการของสภากาชาดไทย
ให้เสนอขอเหรียญกาชาดสมนาคุณให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดหน่วยงานนั้นได้ โดยผู้เสนอขอเหรียญ
กาชาดสมนาคุณจะต้องเป็นผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานนั้น และหากผลงานที่เสนอขอ
เกี่ยวข้องกับภารกิจของสำนักงานใดของสภากาชาดไทย เช่น สำนักงานบริหาร สำนักงาน
ยุ ว กาชาด ศู น ย์ บ ริ ก ารโลหิ ต แห่ ง ชาติ สำนั ก งานจั ด หารายได้ ฯลฯ ให้ เ สนอขอผ่ า น

สำนักงานนั้น

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 15
๔. คุณสมบัติเฉพาะกิจ
๔.๑ ผู้ช่วยเหลือกิจการของเหล่ากาชาดจังหวัด
ผู้ที่ช่วยเหลือเหล่ากาชาดจังหวัด ด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา และแรงงาน
อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานในด้านต่าง ๆ อาทิ การบรรเทาทุกข์ การรับบริจาคโลหิต

การหารายได้ การหาสมาชิ ก การประชาสั ม พั น ธ์ งานในโครงการพระราชดำริ

ด้านกิจกรรมทั่วไปหรืออื่น ๆ ที่สภากาชาดไทยมอบหมาย โดยมีผลงานอย่างน้อย ๕ ด้าน
และมีเวลาของการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ ข้อ ๒ (๒.๑)
๔.๒ ผู้ช่วยเหลือกิจการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
ผู้บริหารและผู้ประสานงานของหน่วยงานที่ช่วยเหลือสนับสนุนกิจการ

ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย จะได้รับการพิจารณาดังต่อไปนี้
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑
หน่วยงานนั้นต้องมีการบริจาคโลหิตได้ตั้งแต่ ๘,๐๐๐ ยูนิตขึ้นไป
และได้รับชั้นที่ ๒ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๘ ปี เสนอขอได้ไม่เกิน ๒ ราย
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒
หน่วยงานนั้นต้องมีการบริจาคโลหิตได้ตั้งแต่ ๖,๐๐๐ ยูนิตขึ้นไป
และได้รับชั้นที่ ๓ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ ปี เสนอขอได้ไม่เกิน ๓ ราย
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓
หน่วยงานนั้นต้องมีการบริจาคโลหิตได้ตั้งแต่ ๒,๐๐๐ ยูนิตขึ้นไป
และช่วยงานมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ปี เสนอขอได้ไม่เกิน ๕ ราย
๔.๓ ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
เป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด ในการจัดกิจกรรม

การเรียนการสอน หลักสูตรยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด มีปริมาณงานในระยะเวลาตามเกณฑ์
จนมีผลงานที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์

16 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะกิจ
ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
ที่สมควรจะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ

ตำแหน่ หน้าที่ หมายเหตุ
๑. ผู้บริหาร ๑. เป็ น ผู้ มี ศ รั ท ธา ความรู้ ค วามเข้ า ใจในหลั ก การ
๑.๑ ผู้อำนวยการ อุดมการณ์ของกาชาด และนำไปบูรณาการในการ
๑.๒ รองผู้อำนวยการ กำหนดนโยบายของหน่ ว ยงานและใช้ ใ นการ

๑.๓ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ จัดอบรมเยาวชนให้เป็นคนดี
ทำหน้าที่เป็น ๒. ต้อนรับ ปฐมนิเทศ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการฝึก
ผู้อำนวยการฝึกอบรม อบรม เกณฑ์การผ่านการฝึกอบรมและแนะนำ
ยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด/ วิทยากร
วิทยากรยุวกาชาด ๓. ควบคุม อำนวยการ ชี้แนะแนวทางแก้ไขปรับปรุง
และประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ให้การฝึกอบรม
ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตามเป้าหมาย
๔. ต้อนรับ อำนวยความสะดวก จัดหาวัสดุอุปกรณ์
ให้แก่วิทยากรพิเศษที่เชิญมา
๕. เข้ า ฟั ง การบรรยายของวิ ท ยากรและบั น ทึ ก

สรุปใจความสำคัญไว้เพื่ออ้างอิง
๖. จั ด วิ ท ยากรบรรยายแทน ถ้ า วิ ท ยากรที่ เชิ ญ มา

ไม่สามารถบรรยายได้
๗. ประชุ ม คณะวิ ท ยากรทุ ก วั น เพื่ อ ประเมิ น ผล

การฝึกอบรมและเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปรับปรุง
๘. ทำความรู้จัก ให้ความเป็นกันเอง และให้คำปรึกษา
แก่สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
๙. สนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ เข้ า รั บ การฝึ ก อบรมได้ มี
โอกาสแสดงความคิดเห็นและความสามารถ
๑๐. สร้างเสริมความเข้าใจ ความสามัคคี และความ
สัมพันธ์อันดีในหมู่สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
คณะวิ ท ยากร และระหว่ า งสมาชิ ก ผู้ เข้ า รั บ

การฝึกอบรมกับวิทยากร
๑๑. รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ปั ญ หาข้ อ เสนอแนะของ
สมาชิกผู้เข้ารับการฝึกอบรมและวิทยากร

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 17

ตำแหน่ หน้าที่ หมายเหตุ
๑๒. ระหว่างการฝึกอบรม จัดวิทยากร ประชุมหัวหน้าหน่วย
เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคในแต่ละวัน
๑๓. ส่งตัวผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลับต้นสังกัด หลังจาก
เสร็จสิ้นการฝึกอบรม
๑๔. เป็นวิทยากรบรรยายภาควิชาการหรือภาคปฏิบัติ
อย่างน้อย ๑ วิชา
๑๕. ประเมินผลการฝึกอบรม สรุปผล การจัดดำเนิน
การฝึกอบรม ข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะ
๑๖. เป็นผู้พิจารณาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมออกนอกค่าย
ในกรณี จ ำเป็ น เท่ า นั้ น และไม่ เ กิ น หลั ก เกณฑ์

ที่กำหนดไว้

๒. อาจารย์ วิทยากร ๑. ทำหน้ า ที่ ใ นการฝึ ก อบรมในวิ ช าหรื อ กิ จ กรรม

ต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในตารางอบรม
๒. ทำหน้าที่ด้านวิชาการ วัดผลและประเมินผลโดย
- จัดทำเอกสารสำหรับผู้เข้ารับการอบรม
- ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการเตรียม

เอกสารวิ ช าการให้ กั บ วิ ท ยากรและผู้ เข้ า รั บ

การอบรม
- จัดบอร์ดวิชาการ นิทรรศการ
- วั ด ผลและรวบรวมผลการทดสอบ รั บ ผิ ด ชอบ
ตารางกิจกรรมประจำวัน สรุปผลผู้ผ่านการอบรม
และประเมินผลการอบรม
๓. ทำหน้ า ที่ ใ นการจั ด กิ จ กรรมและนั น ทนาการ

ในระหว่างการอบรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ทั้งนี้ โดยรวมไปถึงการทำหน้าที่ด้านพิธีการต่าง ๆ
ของการอบรมยุวกาชาดนอกโรงเรียน ตลอดจน

จั ด นั น ทนาการสอดแทรกในช่ ว งเวลาว่ า งตาม

ความเหมาะสม

18 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ตำแหน่ง หน้าที่ หมายเหตุ
๔. ทำหน้าที่ด้านสวัสดิการและอาหาร ดูแลอำนวย
ความสะดวกเรื่องอาหาร น้ำดื่ม สำหรับผู้เข้ารับ
การอบรมและคณะวิทยากร ตลอดทั้งเตรียมยา
และเวชภั ณ ฑ์ ที่ จ ำเป็ น ในการปฐมพยาบาล

เมื่อมีผู้เจ็บป่วยในระหว่างอบรม
๕. ทำหน้าที่ด้านสถานที่และอุปกรณ์ ดูแลอำนวย
ความสะดวกในการใช้สถานที่และอุปกรณ์ต่าง ๆ
สำหรั บ การอบรม เช่ น สถานที่ อ บรม ไฟฟ้ า
เครื่องเสียง ที่พักผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร
อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ใ นพิ ธี ก ารของยุ ว กาชาด อุ ป กรณ์
เครื่องใช้สำหรับผู้เข้ารับการอบรม เป็นต้น
๖. ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ วางแผนการจัดอบรม
ทั้งหมด การกำหนดตัวบุคคลเชิญเป็นวิทยากร
กรรมการฝ่ า ยต่ า ง ๆ การบริ ห ารงบประมาณ

จั ด อบรมให้ กั บ ฝ่ า ยต่ า ง ๆ ควบคุ ม การใช้

ยานพาหนะในการอบรม การทำหนังสือเชิญ หนังสือ
ขอบคุณ เตรียมวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนและอำนวย
ความสะดวกให้กับฝ่ายต่าง ๆ ทั้งนี้ ให้อยู่ในความ
ดู แ ลและได้ รั บ คำปรึ ก ษาแนะนำจากที่ ป รึ ก ษา

ผู้อำนวยการฝึกอบรม และรองผู้อำนวยการฝึกอบรม
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
และบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดอบรมยุวกาชาด
นอกโรงเรียน
๗. ทำหน้าที่เป็นพิธีกรประจำวัน รับผิดชอบกำกับ
รายการหรื อ กิ จ กรรมการอบรมในแต่ ล ะวั น

ให้เป็นไปตามกำหนดการ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 19
ตำแหน่ง หน้าที่ หมายเหตุ
๘. ทำหน้าที่เป็นวิทยากรประจำหน่วยสี ประสานงาน
ระหว่ า งคณะวิ ท ยากรและสมาชิ ก หน่ ว ยสี

เปรี ย บเสมื อ นเป็ น พี่ เ ลี้ ย งอำนวยความสะดวก
ดู แ ลทุ ก ข์ สุ ข ของสมาชิ ก ในหน่ ว ยสี เป็ น ผู้ ใ ห้

คำปรึ ก ษาแนะนำ และเสนอแนะแก่ ส มาชิ ก

ผู้เข้ารับการอบรมในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ดูแล
ให้สมาชิกปฏิบัติตามระเบียบการอยู่ค่าย หากมี
ปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นกับสมาชิกในหน่วยสี

ที่รับผิดชอบดูแล วิทยากรประจำหน่วยสีจะต้อง
รายงานให้ผู้อำนวยการฝึกอบรมทราบ เพื่อหา
ทางแก้ไขต่อไป
๙. ทำหน้าที่เป็นวิทยากรตรวจเยี่ยมเยียนความเป็นอยู่
ของสมาชิ ก หน่ ว ยสี ต่ า ง ๆ ซึ่ ง การตรวจเยี่ ย ม

เป็ น กิ จ กรรมหนึ่ ง ในระหว่ า งการอบรมแบบ

อยู่ค่ายพักแรม การตรวจเยี่ยมจะแบ่งเป็น ๒ สาย

มี วิ ท ยากรตรวจเยี่ ย มสายละอย่ า งน้ อ ย ๒ คน
ตรวจเยี่ยมสมาชิกหน่วยสีต่าง ๆ ที่หน้าที่พัก เวลา
๐๗.๓๐ น. ของทุกวัน ยกเว้นวันพิธีเปิดการอบรม
และให้รายงานการตรวจเยี่ยมในพิธีหน้าเสาธง
เวลา ๐๘.๐๐ น.
๑๐. ทำหน้าที่เป็นวิทยากรกิจกรรมและนันทนาการ
ทำงานเป็ น ที ม ตลอดการอบรม บทบาทหน้ า ที่

ของวิทยากรชุดนี้ใช้กิจกรรมเป็นสื่อในการสร้าง
สัมพันธภาพอันดี สร้างความประทับใจในกลุ่ม

ผู้เข้ารับการอบรมตลอดทั้งคณะวิทยากร โดยจัด
กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ พิธีต้อนรับ การปฐมนิเทศ
กิ จ กรรมยามว่ า ง การแสดงรอบกองไฟ

การประกวดขวั ญ ใจ การประกวดเพลงประจำ
หน่วยสี กิจกรรมพัฒนาค่าย การจัดนันทนาการ
เพลงเกมในค่าย

20 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ตำแหน่ง หน้าที่ หมายเหตุ
๑๑. ทำหน้าที่เป็นวิทยากรฝึกระเบียบแถวและนำกาย
บริหาร นำสมาชิกฝึกกายบริหารและฝึกระเบียบแถว
ที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างการอบรม
๑๒. ทำหน้าที่วิทยากรบรรยาย รับผิดชอบกิจกรรม
การเรียนรู้ตามรายวิชาหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้

ทั้งวิชาและกิจกรรมบังคับ หรือวิชาและกิจกรรมเลือก
ในการจั ด กิ จ กรรมควรเน้ น ให้ ส มาชิ ก ได้ ม ี

ส่วนร่วมในการอภิปราย ประชุมกลุ่มแสดงความ
คิ ด เห็ น อาจใช้ ก ารอบรม แบบบทบาทสมมติ

บทละคร การใช้สถานการณ์จำลอง โดยสอดแทรก
กิ จ กรรมเพลง-เกม เพื่ อ ให้ บ รรยากาศเรี ย นรู้

มีความสนุกสนาน และได้สาระความรู้ในเรื่องนั้น ๆ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 21
ปริมาณงานที่จะเสนอขอในแต่ละราย
สำหรับผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด

เหรียญกาชาด ลักษณะงานและปริมาณงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
สมนาคุณ ที่จะเสนอขอในแต่ละราย

ชั้นที่ ๓ ได้ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนา ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน


หลั ก สู ต รต่ า ง ๆ รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า ๓๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี
เป็นเวลาอย่างน้อย ๔ ปี
ด้านจัดการเรียนการสอน หลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาด/ และไม่น้อยกว่า ๓๖๐ ชั่วโมง
อาสายุ ว กาชาด รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า ๓๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี

การจั ด กิ จ กรรมบำเพ็ ญ ประโยชน์ รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า

๔ ครั้งต่อปี การจัดงานชุมนุมและค่ายพักแรม รวมแล้ว

ไม่ต่ำกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อปี การสนับสนุนกิจกรรมของ
สำนักงานยุวกาชาดและสภากาชาดไทย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๔ ครั้งต่อปี

ชั้นที่ ๒ ได้ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนา ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน
หลั ก สู ต รต่ า ง ๆ รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า ๓๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี
เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ ปี
ด้านจัดการเรียนการสอน หลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาด/ และไม่น้อยกว่า ๕๔๐ ชั่วโมง
อาสายุ ว กาชาด รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า ๓๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี

การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ครั้ง
ต่อปี การจัดงานชุมนุมและค่ายพักแรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า

๓๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี การสนั บ สนุ น กิ จ กรรมของสำนั ก งาน

ยุวกาชาดและสภากาชาดไทย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ครั้งต่อปี

ชั้นที่ ๑ ได้ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนา ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน
หลั ก สู ต รต่ า ง ๆ รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า ๔๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี
เป็นเวลาอย่างน้อย ๘ ปี
ด้านจัดการเรียนการสอน หลักสูตรกิจกรรมยุวกาชาด/ และไม่น้อยกว่า ๖๔๐ ชั่วโมง
อาสายุ ว กาชาด รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า ๒๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี

การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ครั้ง
ต่อปี การจัดงานชุมนุมและค่ายพักแรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๒๐ ชั่ ว โมงต่ อ ปี การสนั บ สนุ น กิ จ กรรมของสำนั ก งาน

ยุวกาชาดและสภากาชาดไทย รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ครั้งต่อปี

22 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๔.๔ ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานจัดหารายได้
เป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานจัดหารายได้ ในการจัดงานกาชาด
ประจำปีเป็นระยะเวลา ๙ วัน ๙ คืนในแต่ละปี และมีปริมาณงานตามที่สภากาชาดไทย
กำหนด ซึ่งการปฏิบัติงานดังกล่าวนี้มิใช่การปฏิบัติตามหน้าที่โดยปกติ เป็นการอุทิศกำลังกาย
กำลังทรัพย์ สติปัญญา และเวลาอันมีค่า เพื่อช่วยเหลือให้การจัดงานกาชาด จนประสบ
ความสำเร็จมียอดรายได้ทูลเกล้าฯ ถวาย โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย

เป็นจำนวนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี

หลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะกิจ
ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานจัดหารายได้
ที่สมควรจะได้รับเหรียญกาชาดสมนาคุณ
ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ หมายเหตุ
ประธานร้าน ๑. ทำหน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ ก ำหนดนโยบาย
กรณีนายกสมาคมแม่บ้านเหล่าทัพ
ในการจัดกิจกรรมภายในร้าน ต่าง ๆ สำนักงานตำรวจแห่งชาติที่พ้นวาระ
๒. ควบคุ ม กำกั บ ดู แ ล วางแผน
ตาม ผบ.เหล่ า ทั พ และตำรวจแห่ ง ชาติ

ให้คำปรึกษา รับผิดชอบแก้ไขปัญหา แม้ ป ฏิ บั ติ ง านน้ อ ยกว่ า ๔ ปี อาจขอ
ต่าง ๆ ภายในร้าน เหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นต่าง ๆ ตาม
๓. จัดสรรงบประมาณ ความเหมาะสมได้เป็นกรณีพิเศษ
๔. รับผิดชอบในการดำเนินงานจัดหา
รายได้
๕. แต่ ง ตั้ ง คณะกรรมการดำเนิ น งาน
ฝ่ายต่าง ๆ ของร้าน
กรรมการ/ รั บ ผิ ด ชอบดู แ ลการดำเนิ น งาน
อนุกรรมการ ภายในร้านของหน่วยงานต้นสังกัด ตามที่
ฝ่ายต่าง ๆ ประธานฯ มอบหมาย อาทิ :-
๑. กำกั บ ดู แ ลการจำหน่ า ยสิ น ค้ า

ของร้าน
๒. รับผิดชอบการจำหน่ายบัตร เล่นเกม
ตลอดจนการจ่ายรางวัลผู้เล่นเกม
๓. ควบคุมและจัดซื้อของรางวัล
๔. จัดตกแต่งร้าน/สถานที่

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 23
ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ หมายเหตุ
๕. จัดสรรของรางวัลสำหรับจับสลาก
ประจำคืน
๖. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
๗. รวบรวมเงินประจำวัน
๘. จั ด ทำบอร์ ด นิ ท รรศการให้ ค วามรู้
เกี่ยวกับหน่วยงานต้นสังกัด
๙. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมร้าน
เพื่อเชิญชวนประชาชนมาเที่ยวชมงาน
เป็นต้น

24 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ปริมาณงานที่จะเสนอขอในแต่ละราย
สำหรับผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานจัดหารายได้
เหรียญกาชาด
หลักเกณฑ์/ปริมาณงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
สมนาคุณ ที่จะเสนอขอในแต่ละราย
ชั้นที่ ๓ ตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ปฏิบัติงานตามลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
จากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหลายลักษณะเป็นเวลาอย่างน้อย ๔ ปี
และไม่น้อยกว่า ๓๖๐ ชั่วโมง

ชั้นที่ ๒ ตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ปฏิบัติงานตามลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
จากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหลายลักษณะเป็นเวลาอย่างน้อย ๖ ปี
และไม่น้อยกว่า ๔๕๐ ชั่วโมง

ชั้นที่ ๑ ตามลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ปฏิบัติงานตามลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
จากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหลายลักษณะเป็นเวลาอย่างน้อย ๘ ปี
และไม่น้อยกว่า ๕๔๐ ชั่วโมง

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 25
๒.๒ การขอพระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญ
๑. คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับ
ผู้ ที่ นั บ ว่ า ต้ อ งด้ ว ยลั ก ษณะอั น สมควรที่ จ ะได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ

ของสภากาชาดไทย คือ
๑.๑ ได้ช่วยเหลือผู้ซึ่งตกอยู่ในเขตอันตรายถึงเสียชีวิตได้ให้รอดพ้นอันตราย

ด้วยความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง มิได้เห็นแก่สินจ้างรางวัล และมิได้นำพาต่อความยาก

หรืออันตรายอันพึงมีแก่ตนได้แม้ไม่ถึงกับเอาชีวิตเข้าแลก ก็อยู่ในลักษณะที่จะรับเหรียญนี้ได้
๑.๒ ผู้ซึ่งมีความเมตตากรุณาแก่เพื่อนมนุษย์เป็นต้นว่า ตั้งโรงรับเลี้ยงรักษา

ผู้กำพร้าอนาถา โดยมิได้คิดเอาประโยชน์ส่วนตัวหรือได้ทำประโยชน์ยิ่ง ในยามเกิดวิบัติต่าง ๆ
เช่น ทุพภิกขภัย และโรคภัยไข้เจ็บชุกชุมที่มีขึ้นเป็นครั้งคราว ซึ่งผู้นั้นได้บริจาคทรัพย์

ของตนช่วยเหลือเลี้ยงรักษาด้วยน้ำใจกรุณาเป็นที่ตั้ง
๑.๓ ได้ทำการให้แก่สภากาชาดไทย ตามหน้าที่ของสภากาชาดไทยภายในเขต
กระสุนปืนของข้าศึกในเวลาสงครามหรือจลาจล
๑.๔ ผู้ที่ทำการให้แก่สภากาชาดไทย ตามหน้าที่ของสภากาชาดไทยแต่แรก

เวลาเกิ ด สงครามหรื อ การจลาจล หรื อ ในเวลาที่ มี โรคภั ย ไข้ เจ็ บ เกิ ด ชุ ก ชุ ม โดยไม่ คิ ด
ประโยชน์ ต อบแทนจากสภากาชาดไทย จนถึงเวลาเหตุนั้ น สงบเรี ย บร้ อ ย และได้ ผ ลดี

เป็นที่พอใจของคณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาด
อนึ่ง ความชอบที่กล่าวใน (๑.๑) และ (๑.๒) แห่งข้อนี้ เฉพาะต้องกระทำโดยมิใช่
เพื่ อ ความจำเป็ น ในตำแหน่ ง หน้ า ที่ ใ นเวลาปกติ ข องผู้ ท ำนั้ น จึ ง จะนั บ ว่ า เป็ น ผู้ ส มควร

ได้รับเหรียญ ถ้าผู้รับเหรียญได้บำเพ็ญคุณความดี และรับการสรรเสริญของสภากาชาด

ตามความในข้อบังคับนี้สืบไปในเบื้องหน้าอีกครั้งหนึ่ง ก็ให้เพิ่มเครื่องหมายกาชาดลงยา

บนแพรแถบอีกอันหนึ่ง และต่อไปถ้าได้รับสรรเสริญอีกกี่ครั้ง ก็เพิ่มจำนวนเครื่องหมาย
กาชาดลงยาขึ้ น เป็ น ลำดั บ ทุ ก ครั้ ง และผู้ ที่ ไ ด้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ จะได้ รั บ
ประกาศนียบัตรประกอบเหรียญที่ได้รับด้วย ถ้าผู้ใดได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญเป็นครั้งที่ ๒
และต่อ ๆ ไป จะได้เครื่องหมายกาชาด ติดแถบเหรียญกับประกาศนียบัตรทุกครั้ง และถ้าผู้ใด
ช่วยชีวิตมนุษย์ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญอาจได้รับประกาศนียบัตรชมเชย
ก็ได้

26 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๒. วิธีการเสนอขอเหรียญกาชาดสรรเสริญ
๒.๑ ขอได้ตลอดปี
๒.๒ ผู้ ที่ เ ห็ น ว่ า ตนสมควรจะได้ รั บ เหรี ย ญตามเกณฑ์ ที่ ก ล่ า วแล้ ว ก็ ใ ห้ ชี้ แจง

มายังสภากาชาดไทยเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป
๒.๓ เมื่ อ พบผู้ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ที่ ต้ อ งลั ก ษณะอั น สมควรของสภากาชาดไทย

ให้ทำเรื่องเสนอต่ออุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
๓. ผู้ที่มีหน้าที่เสนอขอ
๓.๑ กรรมการสภากาชาดไทย เลขาธิการ เหรัญญิก และผู้อำนวยการสำนักงาน
ของสภากาชาดไทยหรือเทียบเท่า เสนอต่ออุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย

๒.๓ การขอพระราชทานเหรียญกาชาดสดุดี
๑. คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับ
ผู้ที่นับว่าต้องด้วยลักษณะอันสมควรที่จะได้รับเหรียญกาชาดสดุดี คือ
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นพิเศษ
๑.๑ พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ทรงมีพระคุณูปการอย่างยิ่งต่อสภากาชาดไทย
๑.๒ พระมหากษัตริย์และพระราชินีต่างประเทศ
๑.๓ ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศและภรรยา
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ ๑
๑.๑ หัวหน้ารัฐบาลประเทศไทย
๑.๒ หัวหน้ารัฐบาลต่างประเทศ บุคคลในระดับรัฐมนตรีของต่างประเทศและ
ภรรยาที่เป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชิ นี น าถ สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ที่ ม าเยี่ ย ม

และดูกิจกรรมของสภากาชาดไทย
๑.๓ หัวหน้าองค์การระหว่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ หัวหน้าคณะทูต
ต่ า งประเทศ และองค์ ก รในขบวนการกาชาดและเสี้ ย ววงเดื อ นแดงระหว่ า งประเทศ

อั น ประกอบด้ ว ย คณะกรรมการกาชาดระหว่ า งประเทศ สหพั น ธ์ ส ภากาชาดและ

เสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ และสภากาชาด สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 27
๑.๔ พระราชวงศ์ต่างประเทศ ที่เสด็จฯ เยี่ยมกิจการของสภากาชาดไทย
๑.๕ กรรมการสภากาชาดไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่น้อยกว่า ๕ วาระ และได้รับ
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ มาแล้ว
๑.๖ ผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด นายกเหล่ า กาชาดจั ง หวั ด ที่ ป ฏิ บั ติ ง านให้ แ ก่
สภากาชาดไทย ตามภารกิจที่สภากาชาดไทยมอบหมายโดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ตอบแทน
นั บ รวมเวลาไม่ น้ อ ยกว่ า ๒๕ ปี และได้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ ชั้ น ที่ ๑ มาแล้ ว

โดยคณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาด เป็นผู้พิจารณาเสนอตามผลงานที่ปรากฏชัดเจน
๑.๗ ผู้ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้สภากาชาดไทย เป็นมูลค่าตามที่กำหนด

ไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ทั้งนี้ เป็นการขอรับพระราชทาน


อย่างใดอย่างหนึ่ง
๑.๘ ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสภากาชาดไทยที่เกษียณอายุและได้ทำการมาแล้ว

กอปรด้วยความดีความชอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๓๐ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้เข้ารับตำแหน่งหนึ่ง
ตำแหน่งใดในกิจการของสภากาชาดไทย
๑.๙ ผู้ที่ช่วยเหลือสภากาชาดไทย กอปรด้วยความดีความชอบ นอกเหนือจาก

ที่ระบุแล้ว สภากาชาดไทยจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ ๒
๑.๑ เจ้ า หน้ า ที่ ร ะดั บ สู ง ขององค์ ก ารระหว่ า งประเทศ คณะทู ต คณะกงสุ ล

ต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติและขบวนการกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่าง
ประเทศ อันประกอบด้วย คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ สหพันธ์สภากาชาด

และเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ และสภากาชาด สภาเสี้ยววงเดือนแดงประจำชาติ
๑.๒ ผู้ ที่ ส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น กิ จ การของสภากาชาดไทยที่ อ ำนวยประโยชน์

แก่ความเจริญก้าวหน้าแก่สภากาชาดไทยเป็นอย่างยิ่ง
๑.๓ ผู้ที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้สภากาชาดไทย เป็นมูลค่าตามที่กำหนด

ไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์

อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ชั้นทุติยดิเรกคุณาภรณ์ ทั้งนี้ เป็นการขอรับพระราชทาน



อย่างใดอย่างหนึ่ง

28 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๑.๔ ผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในสภากาชาดไทย แพทย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์
จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย และได้ ท ำการมาแล้ ว กอปรด้ ว ยความดี ค วามชอบเป็ น เวลา

ไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้เข้ารับตำแหน่งหนึ่งตำแหน่งใดในกิจการของสภากาชาดไทย
๒. วิธีการเสนอขอเหรียญกาชาดสดุดี
๒.๑ ขอได้ตลอดปี
๒.๒ ตรวจสอบคุณสมบัติให้ถูกต้องตามที่สภากาชาดไทยกำหนด ให้ทำเรื่อง
เสนอต่ออุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย
๓. ผู้ที่มีหน้าที่เสนอขอ
๓.๑ กรรมการสภากาชาดไทย เลขาธิการ เหรัญญิก ผู้อำนวยการสำนักงาน

ของสภากาชาดไทยหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายกเหล่ากาชาดจังหวัด

เสนอต่ออุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย หรือ
๓.๒ ผู้ที่เห็นว่าตนสมควรจะได้รับเหรียญตามเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้ว ก็ให้ชี้แจง
มายังสภากาชาดไทยเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจะได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป














คู่มือการขอเหรียญกาชาด 29
บรรณานุกรม



กรมพลศึ ก ษา. (๒๕๔๓). คู่ มื อ การขอเหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ และเหรี ย ญกาชาด
สมนาคุณ. กรุงเทพฯ : เลขานุการคณะกรรมการ กองยุวกาชาด. (เอกสาร

อัดสำเนาเผยแพร่).
ข้ อ บั ง คั บ สภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่ม เติม (ฉบั บที่ ๗๒) พุ ท ธศั ก ราช ๒๕๕๓. (๒๕๕๓,

๒๔ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๗ ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง.

พระราชบั ญญัติว่าด้วยสภากาชาดไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐. (๒๕๕๐, ๑๒ เมษายน).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๒๐ ก.
สภากาชาดไทย. (๒๕๕๓). คำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการ
พิจารณาให้เหรียญกาชาด สภากาชาดไทย. (เอกสารอัดสำเนาเผยแพร่).





30 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ภาคผนวก
สรุปลักษณะการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน และระยะเวลาปฏิบัติงาน
ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
เพื่อขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ

การขอเหรียญกาชาดสมนาคุณสำหรับผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
ตามหลักเกณฑ์พิจารณาผู้ช่วยเหลือกิจการสำนักงานยุวกาชาดที่สมควรจะได้รับ
พระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ คือ ผู้ที่ได้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หลักสูตรยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด ประกอบด้วย

ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร (ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ/ผู้ช่วยผู้อำนวยการ) ซึ่งทำหน้าที่
เป็ น ผู้ อ ำนวยการฝึ ก อบรมยุ ว กาชาด/อาสายุ ว กาชาด/วิ ท ยากรยุ ว กาชาด หรื อ ผู้ ด ำรง
ตำแหน่งอาจารย์/วิทยากร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ผู้สมควรจะได้รับพระราชทาน
เหรียญกาชาดสมนาคุณที่กำหนด
การขอพระราชทานเหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ ผู้ ที่ ไ ด้ ช่ ว ยเหลื อ กิ จ การของ
สำนักงานยุวกาชาด ให้เสนอขอตามลำดับชั้นเหรียญ เริ่มจากเหรียญกาชาดสมนาคุณ

ชั้ น ที่ ๓ ต่ อ มาจึ ง เสนอขอชั้ น ที่ ๒ และชั้ น ที่ ๑ ตามลำดั บ โดยจั ก ต้ อ งเสนอลั ก ษณะ

การปฏิบัติงาน ปริมาณงาน และระยะเวลาปฏิบัติงานตามเกณฑ์ จนมีผลงานที่ประสบ

ผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ สรุปได้ดังนี้

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 33
ลักษณะการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน และระยะเวลาปฏิบัติงาน
ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
เพื่อขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ

เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓ (เหรียญเงินรมดำ)
ลักษณะการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
- ด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนาหลักสูตรต่าง ๆ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน
๓๐ ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลาอย่างน้อย ๔ ปี
- ด้านจัดการเรียนการสอน หลักสูตรกิจกรรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า และไม่น้อยกว่า ๓๖๐ ชั่วโมง
ยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด ๓๐ ชั่วโมงต่อปี
- ด้านการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๔ ครั้งต่อปี
- ด้านการจัดงานชุมนุมและค่ายพักแรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๓๐ ชั่วโมงต่อปี
- ด้านการสนับสนุนกิจกรรมของสำนักงานยุวกาชาด รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
และสภากาชาดไทย ๔ ครั้งต่อปี

34 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒ (เหรียญเงินกาไหล่ทอง)
ลักษณะการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
- ด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนาหลักสูตรต่าง ๆ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน
๓๐ ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลาอย่างน้อย ๖ ปี
- ด้านจัดการเรียนการสอน หลักสูตรกิจกรรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า และไม่น้อยกว่า ๕๔๐ ชั่วโมง
ยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด ๓๐ ชั่วโมงต่อปี
- ด้านการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๔ ครั้งต่อปี
- ด้านการจัดงานชุมนุมและค่ายพักแรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๓๐ ชั่วโมงต่อปี
- ด้านการสนับสนุนกิจกรรมของสำนักงานยุวกาชาด รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
และสภากาชาดไทย ๔ ครั้งต่อปี

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 35
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑ (เหรียญทองคำลงยาที่กาชาด)
ลักษณะการปฏิบัติงาน ปริมาณงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน
- ด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนาหลักสูตรต่าง ๆ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน
๔๐ ชั่วโมงต่อปี เป็นเวลาอย่างน้อย ๘ ปี
- ด้านจัดการเรียนการสอน หลักสูตรกิจกรรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า และไม่น้อยกว่า ๖๔๐ ชั่วโมง
ยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด ๒๐ ชั่วโมงต่อปี
- ด้านการจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๔ ครั้งต่อปี
- ด้านการจัดงานชุมนุมและค่ายพักแรม รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
๒๐ ชั่วโมงต่อปี
- ด้านการสนับสนุนกิจกรรมของสำนักงานยุวกาชาด รวมแล้วไม่ต่ำกว่า
และสภากาชาดไทย ๔ ครั้งต่อปี

36 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ลำดับการเสนอขอเหรียญกาชาดสมนาคุณ

ชั้นที่ ๓ ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๑


ปฏิบัติงานช่วยเหลือ ปฏิบัติงานช่วยเหลือ ปฏิบัติงานช่วยเหลือ
กิจการสำนักงานยุวกาชาด กิจการสำนักงานยุวกาชาด กิจการสำนักงานยุวกาชาด
อย่างน้อย ๔ ด้าน อย่างน้อย ๔ ด้าน อย่างน้อย ๔ ด้าน
ตามเกณฑ์ปริมาณงาน ตามเกณฑ์ปริมาณงาน ตามเกณฑ์ปริมาณงาน
ที่กำหนด เป็นเวลา ที่กำหนด เป็นเวลา ที่กำหนด เป็นเวลา
- อย่างน้อย ๔ ปี และ - อย่างน้อย ๖ ปี และ - อย่างน้อย ๘ ปี และ
- ไม่น้อยกว่า ๓๖๐ ชั่วโมง - ไม่น้อยกว่า ๕๔๐ ชั่วโมง - ไม่น้อยกว่า ๖๔๐ ชั่วโมง

“สำนักงานยุวกาชาด” หมายความรวมถึง ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ยุวกาชาดที่ปฏิบัติงาน


ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 37
แบบรายงานประกอบคำขอประเมินบุคคล
ผู้ช่วยเหลือกิจการของสำนักงานยุวกาชาด
เพื่อพิจารณาขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่...... (๓)





ของ






ชื่อ-สกุล.......................................
ตำแหน่ง.......................................







สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.................................เขต.......
อำเภอ............................จังหวัด............................

38 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
แบบขอรับเหรียญกาชาดสมนาคุณ

ส่วนที่ ๑ ข้อมูลส่วนบุคคล
๑. ชื่อ.........................................................นามสกุล............................................................
๒. สถานภาพ โสด................................สมรส................................หย่า..............................
๓. ตำแหน่งทางด้านกิจการยุวกาชาด..................................................................................
๔. ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. สถาบัน เอกสาร



๕. ประวัติการรับราชการ
ปี พ.ศ. ตำแหน่ง ระยะเวลา



๖. สถานที่ติดต่อ..................................................................................................................

………………………………………………………………………………..……………………………………………
………………………………………………………………………………………..………………..……………………

๗. ประวัติการดำรงตำแหน่งทางยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด สภากาชาดไทย
วัน เดือน ปี ตำแหน่ง สังกัด/สถาบัน

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 39
๘. ประวัติการเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานเกี่ยวกับยุวกาชาด/อาสายุวกาชาด

ปี พ.ศ. รายงานฝึกอบรมดูงาน ระยะเวลา สังกัด/สถาบัน



ข้าพเจ้าขอรับรองว่า ข้อความที่แจ้งข้างต้นถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ
ลงชื่อ...................................................ผู้เสนอขอเหรียญกาชาด
(..................................................)
ตำแหน่ง...............................................
วัน...........เดือน...............................ปี...............
ลงชื่อ...................................................
(..................................................)
ผู้บังคับบัญชา
วัน...........เดือน...............................ปี...............

40 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ส่วนที่ ๒ รายการปฏิบัติงาน ผลงาน (ขอพระราชทานเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓)
๑. การช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมวิชาการและสัมมนาหลักสูตรต่าง ๆ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า

๓๐ ชั่วโมงต่อปี
๒. การจั ด การเรี ย นการสอนกิ จ กรรมยุ ว กาชาด/อาสายุ ว กาชาด รวมแล้ ว ไม่ ต่ ำ กว่ า

๓๐ ชั่วโมงต่อปี
๓. การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ครั้งต่อปี
๔. การเข้ า ร่ ว มงานชุ ม นุ ม ยุ ว กาชาดและค่ า ยพั ก แรมของผู้ น ำและสมาชิ ก ยุ ว กาชาด

รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๓๐ ชั่วโมงต่อปี
๕. การสนับสนุนกิจกรรมของสำนักงานยุวกาชาดและสภากาชาดไทยในเรื่องทั่ว ๆ ไป

เช่น การรับบริจาคเงิน หรือด้านการประชาสัมพันธ์ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า ๔ ครั้งต่อปี

หมายเหตุ : ได้ช่วยงานอย่างน้อย ๔ ด้าน เป็นเวลาอย่างน้อย ๔ ปี และไม่น้อยกว่า

๓๖๐ ชั่วโมง

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 41
ด้านที่ ๑ การช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมและสัมมนาหลักสูตรต่าง ๆ

ปี พ.ศ. การช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมและสัมมนาหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน คำสั่ง

ชั่วโมง เอกสารอ้างอิง






ด้านที่ ๒ การจัดการเรียนการสอน

ปี พ.ศ. จำนวน คำสั่ง

การจัดการเรี ยนการสอน ชั่วโมง เอกสารอ้างอิง





42 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ด้านที่ ๓ การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์

ปี พ.ศ. การจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ จำนวน คำสั่ง
ครั้งต่อปี เอกสารอ้างอิง







ด้านที่ ๔ การเข้าร่วมงานชุมนุมยุวกาชาดและค่ายพักแรมของผู้นำและสมาชิกยุวกาชาด

ปี พ.ศ. การเข้าร่วมงานชุมนุมยุวกาชาดและค่ายพักแรมของผู้นำ จำนวน คำสั่ง
และสมาชิกยุวกาชาด ชั่วโมง เอกสารอ้างอิง

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 43
ด้านที่ ๕ การสนับสนุนกิจกรรมของสำนักงานยุวกาชาดและสภากาชาดไทยในเรื่อง
กิจกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น การรับบริจาคเงิน หรือด้านการประชาสัมพันธ์

ปี พ.ศ. การสนับสนุนกิจกรรมของสำนักงานยุวกาชาด จำนวน คำสั่ง



และสภากาชาดไทยในเรื่องกิจกรรมทั่ว ๆ ไป ครั้งต่อปี เอกสารอ้างอิง







หมายเหตุ : โปรดเขียนลำดับที่ของคำสั่งเอกสารอ้างอิง เรียงตามลำดับเริ่มจากด้านที่ ๑

ไปจนถึงด้านที่ ๕






44 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
ทำเนียบหน่วยงานสภากาชาดไทย
ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขอพระราชทานเหรียญกาชาด

สภากาชาดไทย ๑๘๗๓ ถนนพระราม ๔ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐
สำนักงานยุวกาชาด
o ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
โทร. ๐-๒๒๕๒-๕๐๐๒ ถึง ๓ กด ๑
www.Thaircy.org
o สำนักงานจัดหารายได้
- ฝ่ายผู้มีอุปการคุณ
โทร. ๐-๒๒๕๖-๔๐๓๑, ๐-๒๒๕๒-๔๔๐๗
โทรสาร ๐-๒๒๕๒-๔๔๐๗
www.redcrossfundraising.org
- หน่วยเหรียญกาชาด
โทร. ๐-๒๒๕๖-๔๐๓๑, ๐-๒๒๕๒-๔๔๐๗
http://chaper.redcross.or.th

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 45
ด่วนที่สุด ร

ciety ฆ นแ
ที่ กช ๕๐๖/๒๕๕๓ สภากาชาดไทย
Thaสภากา ช าดไ ทยSo

The
i Red Cross ๑๘๗๓ ถนนพระราม ๔ แขวงปทุมวัน
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐

๒๐ มกราคม ๒๕๕๓

เรื่อง ขอส่งข้อบังคับสภากาชาดไทยและคำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด
เรียน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. ข้อบังคับสภากาชาดไทย หมวดที่ ๑๑ เหรียญกาชาด หมวดที่ ๑๒

เหรียญกาชาดสรรเสริญ และหมวดที่ ๑๓ เหรียญกาชาดสดุดี
๒. คำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด

ด้วยสภากาชาดไทยได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับสภากาชาดไทย หมวดที่ ๑๑
เหรียญกาชาด หมวดที่ ๑๒ เหรียญกาชาดสรรเสริญ และหมวดที่ ๑๓ เหรียญกาชาดสดุดี
และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาให้เหรียญกาชาด ใช้ในการพิจารณาเรื่องการขอ
เหรียญกาชาดต่าง ๆ ดังนี้
๑. เพิ่มยอดเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคขอเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑

จากจำนวนไม่ ต่ ำ กว่ า ๔๐๐,๐๐๐ บาท เป็ น จำนวนไม่ ต่ ำ กว่ า ๖๐๐,๐๐๐ บาท

ขอเหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒ จากจำนวนไม่ต่ำกว่า ๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็นจำนวน

ไม่ต่ำกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท
๒. เพิ่มยอดเงินของผู้เป็นหัวหน้าชักชวน และจัดการหาเงินให้สภากาชาดไทย
เพื่ อ ให้ ไ ด้ รั บ เหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ ชั้ น ที่ ๒ จากเดิ ม จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท

เป็นจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ บาท และต้องเป็นการชักชวนหรือจัดการในคราวเดียวกัน

46 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
พร้อมนี้ ได้แนบข้อบังคับสภากาชาดไทย หมวดที่ ๑๑ เหรียญกาชาด หมวดที่ ๑๒
เหรียญกาชาดสรรเสริญ หมวดที่ ๑๓ เหรียญกาชาดสดุดี และคำชี้แจงเรื่องการขอเหรียญกาชาด
มาให้ เ พื่ อ เป็ น แนวทางในการเสนอขอเหรี ย ญกาชาด ซึ่ ง จะช่ ว ยในการดำเนิ น การ

ของท่านได้อย่างเข้าใจ ชัดเจน สะดวก และรวดเร็วต่อการพิจารณายิ่งขึ้น สำหรับข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์นี้ สภากาชาดไทยประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๓ และถือเป็น
ระเบียบปฏิบัติ ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป

จึ ง เรี ย นมาเพื่ อ ทราบ และขอความกรุ ณ าโปรดแจ้ ง หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง

ทราบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

ขอแสดงความนับถือ


(หม่อมราชวงศ์ปรียางค์ศรี วัฒนคุณ)
ผู้ช่วยเลขาธิการฯ ปฏิบัติการแทน
เลขาธิการสภากาชาดไทย
ฝ่ายผู้มีอุปการคุณ สำนักงานจัดหารายได้
โทร. ๐-๒๒๕๖-๔๐๓๑, ๐-๒๒๕๒-๔๔๐๗
โทรสาร ๐-๒๒๕๒-๔๔๐๗

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 47





คำสั่งสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
ที่ ๒๙/๒๕๕๔
เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานผลิตสื่อคู่มือการขอเหรียญกาชาด

ด้ ว ยคู่ มื อ การขอเหรี ย ญกาชาดสรรเสริ ญ และเหรี ย ญกาชาดสมนาคุ ณ

งานเลขานุ ก ารคณะกรรมการกองยุ ว กาชาด กรมพลศึ ก ษา ได้ จั ด ทำไว้ เ พื่ อ อำนวย

ความสะดวกแก่ผู้ให้การช่วยเหลือกิจการสภากาชาดไทยด้านยุวกาชาดของกองยุวกาชาด/
สำนักงานยุวกาชาด ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๓ ซึ่งได้ถือเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันเป็นเวลานาน
ต่ อ มาได้ มี ก ารปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ตามระเบี ย บบริ ห ารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับสภากาชาดไทยได้กำหนดข้อบังคับ
สภากาชาดไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๗๒) พุทธศักราช ๒๕๕๓ พร้อมคำชี้แจงเรื่องการขอ
เหรียญกาชาด ดังนั้น เพื่อปรับปรุงพัฒนาคู่มือการขอเหรียญกาชาดให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง

ดังกล่าว อันนำมาซึ่งประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด สำนักการลูกเสือ
ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน จึงแต่งตั้งคณะทำงานผลิตสื่อคู่มือการขอเหรียญกาชาด

ดังนี้
คณะที่ปรึกษา
๑. ผู้อำนวยการสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
๒. หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด
คณะกรรมการ
๑. นางชลรส นงค์ภา ประธานคณะทำงาน
๒. นายวิรัตน์ ปองเปี่ยม รองประธานคณะทำงาน
๓. นางพรทิพย์ บุญก่อ รองประธานคณะทำงาน

48 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
๔. นางสาวสกุลวรา ชื่นค้า คณะทำงาน
๕. นางขนิษฐา คร้ามศรี คณะทำงาน
๖. นางดรุณี ปองเปี่ยม คณะทำงาน
๗. นางสาวเมทินี บุญเกตุ คณะทำงาน
๘. นางสาววราลักษณ์ ดุรงค์กาญจน์ คณะทำงานและเลขานุการ
๙. นายนพดล เลี้ยงเจริญทรัพย์ คณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔



(นายสายัณห์ สันทัด)
ผู้อำนวยการสำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน


สำเนาถูกต้อง

(นางชลรส นงค์ภา)
หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 49
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ ๑

แบบสตรี

แบบบุรุษ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 51
เหรียญกาชาดสดุดี ชั้นที่ ๒

แบบสตรี

แบบบุรุษ

52 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
เหรียญกาชาดสรรเสริญ

ด้านหน้าสตรี

ด้านหน้าบุรุษ ด้านหลังบุรุษ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 53
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑

แบบสตรี

แบบบุรุษ

54 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒

แบบสตรี

แบบบุรุษ

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 55
เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓

แบบสตรี
แบบบุรุษ

56 คู่มือการขอเหรียญกาชาด
เครื่องหมายยุวกาชาด

ผู้อำนวยการฝึกอบรม ผู้ให้การอบรมเจ้าหน้าที่
และผู้บังคับบัญชายุวกาชาด

ผู้บริหารงานยุวกาชาด ผู้นำยุวกาชาด

ครูผู้สอนยุวกาชาด สมาชิกยุวกาชาด ระดับ ๑-๓

สมาชิกยุวกาชาด ระดับ ๔

คู่มือการขอเหรียญกาชาด 57
จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย : กลุ่มส่งเสริมและพัฒนายุวกาชาด
สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
www.bureausrs.org

You might also like