You are on page 1of 19

การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม

โดย ผศ.อนุรกั ษ์ ทองสุโขวงศ์

งบประมาณ (Budgeting) เป็นแผนงานโดยละเอียดในรูปตัวเลขทัง้ จํานวนหน่วยและจํานวนเงินตาม


แผนการดําเนินงานของกิจการสําหรับระยะเวลาใดเวลาหนึง่ ในอนาคต การ จัดทํางบประมาณเป็นการ วางแผน
อย่างมีหลักเกณฑ์เพือ่ ให้หน่วยงานสามารถดําเนินงานได้ผลสําเร็จตามเป้าหมาย ในการพิจารณาโครงการฝ่าย
จัดการจะต้องคาดคะเนรายได้ทจ่ี ะได้รบั แต่ละโครงการ และกําหนดงบประมาณต้นทุนทีต่ อ้ งใช้จ่าย เพือ่ นํามาใช้
ในการตัดสินใจลง ทุนในโครงการที่ เหมาะสม นอกจากนัน้ งบประมาณยังเป็น การประมาณการ งบการเงินของ
กิจการไว้ลว่ งหน้า โดยเฉพาะ การวางแผนกําไรของกิจการ ซึ่ง เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการจัดทํางบประมาณ
ดําเนินงานและงบประมาณเงินสด ในเรือ่ งนี้กล่าวถึงหัวข้อ ลักษณะ และรูปแบบของงบประมาณ งบประมาณ
ดําเนินงาน และงบประมาณการเงิน ดังนี้

1. ลักษณะและรูปแบบของงบประมาณ

งบประมาณ ( Budget) หมายถึง การประมาณการทางการเงินหรือทรัพยากรอืน่ ทีก่ าํ หนดขึน้ อย่างมี


ระบบ เพื่อใช้เป็นเครือ่ งมือควบคุมการดําเนินงานในอนาคต 1 งบประมาณ จึง ช่วยให้ทกุ แผนกงานทํางานอย่างมี
เป้าหมาย ทัง้ แผนกการตลาด แผนกการบริหารงานบุคคล แผนกการผลิต แผนกการจัดซือ้ แผนกการควบคุม
คุณภาพ แผนกการวิจยั และพัฒนา แผนกการจัดจําหน่าย แผนกกฎหมาย และแผนกวิศวกร ผูจ้ ดั การแต่ล ะคน
จะต้องจัดลําดับการใช้จา่ ยงบประมาณ และศึกษาวิธกี ารทีจ่ ะจัดการงบประมาณให้รดั กุม ผูจ้ ดั การจะต้องมี
วิสยั ทัศน์ในเป้าหมายโดยรวมทัง้ หมดของกิจการ และค้นหาวิธกี ารทีจ่ ะทําให้บรรลุความสําเร็จเหล่านัน้
งบประมาณนัน้ มีประโยชน์ต่อการดําเนินงานขององค์กรหรือหน่วยงานทุกชนิด ไม่วา่ จะเป็นกิจการที่
หวังผลกําไรหรือไม่หวังผลกําไร ซึ่งพอสรุปได้ดงั นี้
1. ช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถเห็นปญหาที ั ่จะเกิดขึน้ และเป็นการ สร้างแนวทางการตัดสินใจทีถ่ กู ต้อง
ของฝ่ายจัดการโดยให้ทาํ การศึกษาปญหาอย่ ั างรอบคอบก่อนทีจ่ ะทําการตัดสินใจ
2. เป็นการช่วยให้ฝายดําเนินงานทุกฝ่ายมีโอกาสร่วมมือกันทัง้ กิจการให้มากทีส่ ดุ ซึง่ แตกต่างจากการ

ดําเนินงานในสมัยก่อนทีม่ กี ารตัดสินใจเพียงคนเดียว หรือเฉพาะกลุ่มเดียว ซึ่งอาจไม่ กอ่ ประโยชน์แก่กจิ การ ใน
ภาพรวม เพราะผลประโยชน์บางส่วนจะขึน้ อยู่กบั คนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านัน้
3. ช่วยให้กจิ การใช้เงินทุนซึง่ เป็นทรัพยากรทีจ่ าํ กัดให้เป็นประโยชน์ตอ่ กิจการมากทีส่ ดุ
4. ช่วยเป็นเครือ่ งมือเพื่อวางนโยบายขันพื้ ้นฐานทีจ่ ะช่วยตรวจสอบ สรุปและสร้างแนวทางในการดําเนิน
กิจการมากขึน้
5. ช่วยประสานงานความร่วมมือกันทุกด้านทําให้การควบคุมการดําเนินงานของฝ่ายจัดการดําเนินไป
อย่างมีประสิทธิภาพ
1.1 วัตถุประสงค์ของการจัดทํางบประมาณ
การงบประมาณเป็นเครือ่ งมือของฝ่ายบริหารทีม่ งุ่ ใช้ในการวางแผน การประสานงาน และการควบคุม
เพือ่ ให้บรรลุถงึ เป้าหมายทีก่ จิ การต้องการ ซึ่ง โดยปกติจาํ ดําเนินการ จัดทํางบประมาณ ทุก ปีต่อเนื่องกันไป
งบประมาณประจําปีนนั ้ มีวตั ถุประสงค์ทสี่ าํ คัญดังนี้

1
สมาคมนัก บัญชีและผู้สอบบัญชีรบั อนุญาตแห่งประเทศไทย“ศัพท์บญ
ั ชี” บริษทั พี.เอ.ลีฟวิ่ง จํา กัด 2538, หน้า 25.

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 1


1. เพื่อ เป็นเครือ่ งมือ ให้ฝ่ายบริหารได้ตรวจสอบวัตถุประสงค์ วิธกี าร และต้นทุนใหม่ทกุ ครังที
้ ่ม ี การ
จัดทํางบประมาณ
2. เพื่อสนับสนุนให้ฝ่ายบริหารแสดงผลงานออกมาเป็นตัวเลข ทีส่ ามารถวัดและประเมินผลความสําเร็จ
ของแผนงานกับวัตถุประสงค์หลักทีต่ อ้ งการได้อย่างชัดเจน และเป็นตัวเลขชีว้ ดั ว่าแผนงานนัน้ สามารถดําเนินการ
ได้หรือไม่
3. เพือ่ ให้โอกาสฝ่ายบริหารได้ศกึ ษาและคาดคะเนการเปลีย่ นแปลงภาวะแวดล้อมเพือ่ นําไปปรับปรุง ทิศ
ทางการดําเนินงานของกิจการในอนาคตอย่างต่อเนื่อง
4. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินงาน และใช้เป็นเครือ่ งมือในการวัดผลการสําเร็จของดําเนินงาน

1.2 พฤติ กรรมที่มีอิทธิ พลต่อการจัดทํางบประมาณ


การจัดทํางบประมาณและการดําเนินงานตามงบประมาณจะสําเร็จได้ตอ้ งคํานึงถึงข้อสําคัญ ดังนี้
1. การสนับสนุนจากผู้ บริหาร ระดับสูง หากผ่ายบริหารหรือเจ้าหน้าทีร่ ะดับสูงไม่ ให้ความสําคัญ การ
จัดทํางบประมาณก็จะไม่ประสบผลสําเร็จโดยเฉพาะการควบคุมจะไม่เกิดผลดีเท่าทีค่ วรหากฝ่ายบริหารไม่มคี วาม
กระตือรือร้น ทีจ่ ะค้นหา สาเหตุของความแตกต่างในงบประมาณกับผลการดําเนินงานจริงเพือ่ ปรับปรุงแก้ไข

งบประมาณที่จดั ทําขึน้ ก็ไม่มปี ระโยชน์ การสนับสนุนเอาใจใส่ดแู ลควบคุมของฝายบริหารจึงเป็นเรือ่ งสําคัญอย่าง
ยิง่ ในการทีจ่ ะใช้งบประมาณเป็นเครือ่ งมือในการควบคุมการดําเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ
2. การมีสว่ นร่วมและความ เข้าใจอันดีระหว่างพนักงานทุกฝ่าย งบประมาณ ที่จดั ทําขึน้ ต้องได้รบั การ
ยอมรับและปฏิบตั ติ ามจากผูป้ ฏิบตั งิ าน ทุกฝ่ายทีม่ สี ว่ นร่วมในการจัดทํางบประมาณ การจัดทํางบประมาณจาก
การมีสว่ นร่วมทุกฝ่ายจะทําให้ผปู้ ฏิบตั มิ คี วามเข้าใจในงานและเกิดความ ร่วมมือซึง่ กันและกันเพื่อปฏิบตั งิ าน ให้
เป็นไปตามแผนงานทีไ่ ด้ประมาณการไว้
3. การจัดระบบงานทีด่ ี ระบบงานทีด่ ปี ระกอบด้วยการจัดหมวดหมูก่ ารทํางาน แบ่งสายงาน และกําหนด
อํานาจหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบไว้โดยชัดเจนในการดําเนินงานทุกหน้าที่ ระบบงานดังกล่าวจะช่วยให้กาํ หนด
ผูร้ บั ผิดชอบและรายละเอียดของตัวเลขทีเ่ กีย่ วข้องได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
4. ระบบการบัญชีท่ ดี แี ละรัดกุม การทํางบประมาณต้องอาศัยข้อมูลทีถ่ กู ต้อง จากระบบบัญชี ในอดีตที่
บันทึกไว้โดยแผนกบัญชี หากระบบบัญชี เกิดข้อผิดพลาด หรือไม่สอดคล้องกับการดําเนินงานข้อมูลทีไ่ ด้จะไม่
สามารถนํามาจัดทํางบประมาณทีถ่ กู ต้อง และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดส่งผลต่อการตัดสินใจทีผ่ ดิ พลาดใน
การบริหารจัดการได้

1.3 การควบคุมและการงบประมาณ
ในการปฏิบตั งิ านแต่ละขันตอน
้ ต้องมีการควบคุม การดําเนินงาน ให้เป็นไปตามแผนหรืองบประมาณที่
กําหนดไว้ ลักษณะการควบคุมที่ดจี ะต้อง ส่งเสริมให้ การปฏิบตั งิ านเป็นไปตามเป้าหมาย เพือ่ ลดความเสียหายที่
อาจเกิดขึน้ และช่วยให้ ให้พนักงานทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ แผนงาน ที่กาํ หนดไว้ การควบคุมจะได้ผลดีก็
ต่อเมือ่ ทุกคนเข้าใจการทํางาน และรูจ้ กั หน้าทีข่ องตนเอง ตลอดจนการจัดรูปแบบขององค์การต้องมีความสัมพันธ์
กับการปฏิบตั งิ านของหน่วยงานนัน้ การควบคุมรวม ถึง การติดต่อ ติดตาม และแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความ
คล่องตัวในการทํางานตลอดจนการใช้จา่ ยเงินให้เป็นไปตามงบประมาณทีก่ าํ หนด โดยผูป้ ฏิบตั ติ ามแผนงานจะใช้
แผนงานหรืองบประมาณเป็นเข็มชีท้ างปฏิบตั ิ เพือ่ ให้งานทีส่ าํ เร็จออกมาเป็นไปตามงบประมาณทีว่ างไว้ และเมือ่
หน่วยงานแต่ละหน่วยงานลงมือปฏิบตั ติ ามแผนทีว่ างไว้ ผูบ้ ริหารจะได้มโี อกาสทราบว่าหน่วยงานใดสามารถ
ปฏิบตั งิ านได้ตามแผนหรือไม่ หรือมีหน่วยงานใดที่ปฏิบตั งิ านจริงแล้วเกิดผลต่างขึน้ ถ้าผลต่างเกิดขึน้ มีจาํ นวน
มาก ผูบ้ ริหารจะได้ทาํ การวิเคราะห์หาสาเหตุ และผลกระทบจากผลต่างนัน้ ว่าเป็น ผลดีหรือผลเสียต่อ กิจการ ถ้า

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 2


เป็นผลเสียจะได้กาํ หนดแนวทางแก้ไขได้ทนั ท่ว งที โดยอาจจะเปลีย่ นแผนการทํางานใหม่บางส่วนหรือทัง้ หมด
หรืออาจปรับเปลีย่ นการควบคุมการดําเนินงานในส่วนใดส่วนหนึง่ ให้มากขึน้ หรือลดลง

1.4 ความไม่แน่ นอนและการงบประมาณ


งบประมาณจะมีผลดีและให้ประโยชน์กต็ ่อเมือ่ งบประมาณนัน้ ได้จดั ทําขึน้ อย่างรอบคอบและถูกต้อง โดย
พิจารณาเหตุการณ์หรือความไม่แน่นอนทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ในอนาคต รวมทัง้ ความเปลีย่ นแปลงทีไ่ ม่คาดหมายจะ
เกิดขึน้ จากปจจั ั ยต่างๆ ทัง้ จากภายนอกและภายในกิจการประกอบในการจัดทํางบประมาณ โดยเฉพาะ
เหตุการณ์ภายนอกทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้อง เช่น การเปลีย่ นแปลงทางเทคโนโลยี คู่แข่งขัน สภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ
รสนิยมของลูกค้า ทัศนคติทางสังคม และปจจั ั ยทางการเมืองทีม่ อี ทิ ธิพลอย่างรุนแรงต่อกิจการ และเป็นเหตุการณ์
ทีม่ ผี ลกระทบกระเทือนโดยตรง ปจจั ั ยเหล่านี้เป็นปจจัั ยที่ กิจการควบคุมไม่ได้ และส่ง ผลโดยตรงต่อการ จัดทํา
งบประมาณเนื่องจาก กิจการจําเป็นต้องตัง้ งบประมาณบางส่วนเกีย่ วกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ ตัวอย่าง ปจจั ั ย
สําคัญที่ควรพิจารณา ได้แก่
1. ข้อมูลเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ เริม่ จากช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
เข้าสูต่ ลาด ช่วงทีส่ องคือผลิตภัณฑ์เริม่ เจริญเติบโตในตลาด ช่วงที่สาม คือผลิตภัณฑ์เจริญเติบโตในตลาดอย่าง
สมบูรณ์เต็มที่ ช่วงที่สค่ ี อื ช่วงการเสือ่ มถอยของผลิตภัณฑ์ และช่วงที่หา้ คือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมให้
เป็นทีต่ อ้ งการของตลาดเหมือนเดิม ซึ่งในแต่ละช่วงอายุของผลิตภัณฑ์การใช้งบประมาณแตกต่างกันไป ซึ่งต้อง
พิจารณาควบคูก่ บั ลักษณะของผลิตภัณฑ์เช่นเป็นสินค้าตามฤดูกาลหรือไม่ การล้าสมัยของสินค้าและบริการ เป็น
ต้น
2. กลยุทธ์การตลาด ซึ่งต้องพิจารณาพืน้ ฐานด้านผูบ้ ริโภคเป้าหมาย เช่น รสนิยมการบริโภคและการ
เปลีย่ นแปลงรสนิยม ระดับการแข่งขันและอัตราส่วนแบ่งในตลาด และการตัง้ ราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น
3. ต้นทุนของสินค้าและบริการ ได้แก่ วัตถุดบิ แรงงานและค่าใช้จา่ ยการผลิต ทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์
ทีต่ อ้ งการใช้ในการผลิต จุดคุม้ ทุนและหน่วยขายทีจ่ ะทําให้คมุ้ ต้นทุน ระดับของสินค้าคงคลังที่ตอ้ งเก็บรักษาและ
รอบการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ตอ้ งสอดคล้องกับการกําหนดราคาสินค้าและบริการเพื่อ
ก่อให้เกิดกําไรที่เพียงพอที่จะจ่ายเงินปนผลต่ ั อผูถ้ อื หุน้ ซึง่ เป็นผลตอบแทนทีเ่ หมาะสม และมีกาํ ไรคงเหลือตาม
ความต้องการในอนาคต
4. รูปแบบการดําเนินงานของธุรกิจ เช่นลักษณะของธุรกิจและความเสีย่ งภัยทางการเงินและความ
ต้องการทางการเงิน แหล่งทีม่ าของเงินทุน เทคโนโลยีทเี่ กีย่ วข้อง การบริหารงานบุคคล และสภาวะการจ้างงาน
กฎระเบียบของทางราชการทีเ่ กีย่ วข้อง รวมถึงปจจั ั ยภายนอกโดยเฉพาะปจจั ั ย ด้านเศรษฐกิจและการเมือง
การเปรียบเทียบผลการปฏิบตั งิ านกับงบประมาณทีต่ งั ้ ไว้ ต้องคํานึงถึงเหตุการณ์หรือความไม่แน่นอนที่
อาจจะเกิดขึน้ ในอนาคตทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างเป็นสาระสําคัญ โดยเฉพาะงบประมาณทีจ่ ดั ทําขึน้ ในลักษณะคงที่
เพราะงบประมาณทีจ่ ดั ทําไว้ อาจไม่สามารถใช้เปรียบเทียบกันได้

1.5 รูปแบบของงบประมาณ
รูปแบบของงบประมาณมีหลายรูปแบบ ที่สาํ คัญได้แก่ งบประมาณคงที่และงบประมาณยืดหยุน่
งบประมาณฐานศูนย์ งบประมาณส่วนเพิม่ งบประมาณตามงวดระยะเวลาและงบประมาณต่อเนื่อง งบประมาณ
ตามกิจกรรม ทัง้ นี้ การใช้งบประมาณแบบใดขึน้ อยู่กบั ลักษณะและวัตถุประสงค์ในการจัดทํา ดังนี้

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 3


1.5.1 งบประมาณคงที่ และงบประมาณยืดหยุ่น
งบประมาณคงที่ (Fixed budget) คือ งบประมาณทีว่ างไว้ตายตัวสําหรับกิจกรรมใดๆ ถึงแม้ขนาดของ
กิจกรรมนัน้ จะเปลีย่ นก็จะไม่เปลีย่ นแปลงงบประมาณ 2 ในกรณีทก่ี จิ กรรมไม่แตกต่างไปจากระดับกิจกรรมทีไ่ ด้
ประมาณไว้ งบประมาณคงทีจ่ ะมีประโยชน์ถา้ หากต้นทุนทีเ่ กิดขึน้ เป็นต้นทุนคงทีเ่ กือบทัง้ หมด เพราะต้นทุนคงที่
จะไม่เปลีย่ นแปลงแม้ระดับการผลิตจะเปลีย่ นแปลงไป งบประมาณคงทีจ่ ะมีประโยชน์ในแง่การควบคุมต้นทุน
เท่านัน้ แต่ไม่ได้แสดงการกะประมาณค่าใช้จา่ ยทีจ่ ะเกิดขึน้ เมือ่ กิจการดําเนินกิจกรรมในระดับ ณ ระดับอื่น ดังนัน้
ถ้ากิจการคาดว่าจะมีการผลิตเกิดขึน้ ในช่วงกว้างๆ ก็ควรจะใช้งบประมาณยืดหยุ่น ซึง่ งบประมาณยืดหยุ่น
(Flexible budget) คือ งบประมาณทีเ่ ปลีย่ นแปลงได้ตามขนาดของกิจกรรม 3 โดยปกติ จะอยู่ ณ ระดับการผลิต
หรือการขาย ณ หน่วยที่ผลิตหรือขายที่เกิดขึน้ จริง ดังนัน้ ในการจัดทํางบประมาณยืดหยุน่ จึงต้องศึกษาพฤติกรรม
ต้นทุนอย่างละเอียด งบประมาณทีจ่ ดั ทําจึงจะใช้ได้กบั ทุกระดับกิจกรรมเพราะเป็นงบประมาณทีใ่ ช้ในการควบคุม
เชิงเปลีย่ นแปลงมากกว่าจะคงทีจ่ งึ ใช้ในการวางแผน ควบคุมและวัดผลการปฏิบตั งิ านจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5.2 งบประมาณฐานศูนย์
งบประมาณฐานศูนย์ คือ งบประมาณที่จดั ทําขึน้ โดย มิได้คาํ นึงถึงประมาณค่าใช้จ่ายเดิมของปีกอ่ นๆ
แต่จะเริม่ ลงมือพิจารณาและวิเคราะห์ขอ้ มูลใหม่ทงั ้ หมดซึ่ง ผูเ้ สนอของบประมาณต้องแสดงรายละเอียดเกีย่ วกับ
โครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ทีก่ จิ การต้องดําเนินการในปีงบประมาณอย่างชัดเจนพร้อมเหตุผลและ วงเงินทีเ่ สนอ
โดยมีการ วิเคราะห์ ประเมินค่า และจัดลําดับความสําคัญของโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ก่อนหลังตาม
ผลตอบแทนหรือประโยชน์ทมี่ ตี ่อกิจการ พร้อมจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสมตามทีไ่ ด้วเิ คราะห์
1.5.3 งบประมาณส่วนเพิ่ ม
งบประมาณส่วนเพิ่ม คือ งบประมาณทีช่ ว่ ยในการตัดสินใจในกรณีทม่ี ที างเลือกตัง้ แต่ 2 ทางเลือก โดย
งบประมาณส่วนเพิ่มนี้จะ แสดงความแตกต่างของต้นทุนในระหว่างทางเลือก 2 ทางเลือกถึงต้นทุนส่วนเพิ่มซึ่ง
เป็นต้นทุนในอนาคตทีจ่ ะเกิดขึน้ หรือต้นทุนทีป่ ระหยัดได้หรือลดลงจากต้นทุนรวมเนื่องจากรายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ เมือ่
ระดับกิจกรรมเปลีย่ นแปลงไปหรือเมือ่ มีการตัดสินใจกระทําการเปลีย่ นแปลงทางธุรกิจอย่างหนึ่ง การประมาณ
ต้นทุนส่วนเพิม่ อาจวิเคราะห์เป็นต้นทุนต่อหน่วย หรือเปรียบเทียบต้นทุนต่างๆ เป็นยอดรวมก็ได้
1.5.4 งบประมาณตามงวดระยะเวลาและงบประมาณต่อเนื่ อง
งบประมาณตามงวดระยะเวลา คือ งบประมาณทีจ่ ดั ทําขึน้ สําหรับช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งอาจเป็น
ระยะสันคื ้ อ 6 เดือน หรือ 1 ปี หรือระยะยาวคือ 3 ปี 5 ปี หรือมากกว่านัน้ ในการวางแผนประจํางวดนัน้ จะต้องมี
การวางแผนทุกขันตอนของกิ้ จกรรมทีค่ วรมี และคํานึงถึงค่าใช้จา่ ยต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ประจําในแต่ละงวด ส่วน
งบประมาณต่อเนื่อง คือ งบประมาณทีจ่ ดั ทําขึน้ อย่างต่อเนื่องในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึ่งเพื่อให้กจิ การบรรลุวตั ถุประสงค์
ทีต่ งั ้ ไว้และดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เช่น เมือ่ ได้มกี ารจัดทํางบประมาณในการจัดซือ้ คอมพิวเตอร์
ต่อมาจะมีการตัง้ ประมาณการเกีย่ วกับค่าใช้จา่ ยในการซ่อมแซม บํารุงรักษาและอัพเกรดคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
1.5.5 งบประมาณตามกิ จกรรม
งบประมาณตามกิจกรรม คือ งบประมาณทีเ่ น้นกิจกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในองค์กร เป็นกระบวนการการ
วางแผนและควบคุมกิจกรรมต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึน้ ในองค์กร เช่น การขาย การผลิต การกําหนดปริมาณสินค้า
คงเหลือ เป็นต้น เมือ่ ระบุกจิ กรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึน้ ได้แล้วจึงจะประมาณต้นทุนที่จะเกิดขึน้ สําหรับกิจกรรมนัน้
1.5.6 งบประมาณตามช่วงระยะเวลา
การวางแผนงบประมาณ ต้องการวางระยะสันและระยะยาวให้
้ สอดคล้องกัน เนื่องจากการวางแผนระยะ
ยาวเป็นการคาดหวังกําไรและการเติบโตในอนาคตโดยจะประสบผลสําเร็จได้ตอ้ งมาจาก การบรรลุผลสําเร็จ อย่าง

2
สมาคมนัก บัญชีและผู้สอบบัญชีรบั อนุญาตแห่งประเทศไทย“ศัพท์บญ
ั ชี” บริษทั พี.เอ.ลีฟวิ่ง จํา กัด 2538, หน้า 49.
3
สมาคมนัก บัญชีและผู้สอบบัญชีรบั อนุญาตแห่งประเทศไทย“ศัพท์บญั ชี” บริษทั พี.เอ.ลีฟวิ่ง จํา กัด 2538, หน้า 91.

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 4


ต่อเนื่องในระยะสัน้ ช่วงเวลางบประมาณระยะสันหรื ้ อระยะยาวขึน้ อยู่กบั ลักษณะของการประกอบธุรกิจและ
รายละเอียดที่ตอ้ งการซึง่ สัมพันธ์โดยตรงกับการวางแผนองค์กร (Corporate plan) ในภาพรวมทัง้ หมด
งบประมาณระยะสัน้ เป็นชุดงบประมาณทีส่ มบูรณ์เกีย่ วกับการ ดําเนินงาน ในปจจุ ั บนั โดยทั ่วไป
งบประมาณระยะสันมี ้ ระยะเวลาประมาณ 1 ปีหรือน้อยกว่า ฝ่ายจัดการอาจจะจัดทํางบประมาณแบ่งทอนเวลา
ตลอดทัง้ ปีให้เป็นระยะเวลาสันๆ ้ หลายช่วงเวลา เช่น งบประมาณ 3 เดือน 6 เดือน หรือ อาจขยายเป็น 18 เดือน
โดย 3 เดือนแรกเป็นงบประมาณของปีกอ่ น จัดทํางบประมาณ 12 เดือนของปีปจจุ ั บนั และ 3 เดือนหลังเป็น
งบประมาณปีต่อไป การทํางบประมาณให้คาบเกีย่ วช่วงเดือนกันสามารถปรับเปลีย่ นแผนงานและแก้ปญหาใน ั
สถานการณ์ตา่ งๆ ได้ และเพื่อให้สมั พันธ์กบั การ ควบคุม ภายในควรจะกําหนดวัด ผลการดําเนินงาน 3 เดือน 6
เดือนและ12 เดือนขึน้ อยู่กบั ลักษณะของธุรกิจและประสิทธิภาพในการวางแผนกําหนดการผลิตให้เพียงพอในแต่
ละผลิตภัณฑ์
งบประมาณระยะยาว อาจแบ่งช่วงเวลางบประมาณเป็นระยะปานกลางมีระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี โดย
ั บนั และมุ่ง ดําเนินโ ครงการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของกิจการในระยะยาว การ
พิจารณาถึงสิง่ ที่เกิดขึน้ ในปจจุ
วางแผนกําไรระยะยาวเป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตัดสินใจในปจจุ ั บนั และคาดการณ์สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ในอนาคต
อย่างดีท่สี ดุ ซึ่งแสดงในรูปการขาย การจ่ายลงทุน กิจกรรมการวิจยั และพัฒนาและความต้องการเงินลงทุน ดังนัน้
งบประมาณระยะยาวจึงมีระยะเวลาประมาณ 3 ปีขน้ึ ไป เป็นโครงการลงทุนทีม่ ลี กั ษณะเป็นการจ่ายเงินจํานวน
มากโดยหวังประโยชน์ทธี่ ุรกิจจะได้รบั เป็นระยะเวลานาน เช่น โครงการลงทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์ใหม่แทนสินทรัพย์
เดิม โครงการซือ้ เครือ่ งจักรใหม่ สร้างโรงงานหรือสํานักงานใหม่เพิม่ เติมเพือ่ ขยายกิจการ เป็นต้น งบประมาณ
ระยะยาวเป็นการวางกรอบโดยกว้างและต้องอาศัย ความต่อเนื่องในการปฏิบตั งิ าน ที่สอดคล้องกับแผนงานที่
กําหนดไว้ เพื่อสามารถจัดทํางบประมาณระยะปานกลางและระยะสันให้ ้ รองรับแผนงานตามงบประมาณระยะยาว
1.6 ขันตอนการจั
้ ดทํางบประมาณ
ขันตอนในการจั
้ ดทํางบประมาณในแต่ละธุรกิจแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของธุรกิจนัน้ อย่างไรก็
ตามขันตอนสํ
้ าคัญทีค่ วรจะมีประกอบด้วย
1. การประเมินสภาวะแวดล้อมขององค์กร (Environmental analysis) เช่น สภาวะแวดล้อมภายนอก
องค์กร (External analysis) สภาพอุตสาหกรรม (Industrial analysis) คู่แข่งขัน (Competitive analysis) ลูกค้า
(Customer analysis) เป็นต้น
2. การกําหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร (Organization objectives) ให้สอดคล้องกับวิสยั ทัศน์ (Vision)
และพันธะกิจ (Mission) ขององค์กร
3. การกําหนดเป้าหมายการดําเนินงาน (Goals) ให้สอดคล้องและสามารถบรรลุผลสําเร็จตาม
วัตถุประสงค์ขององค์กรได้
4. การกําหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์ (Strategies) เพื่อให้การปฏิบตั งิ านบรรลุวตั ถุประสงค์และเป้าหมาย
ที่วางไว้
5. การประเมินและจัดทําแผนโครงการ (Evaluating and planning projects)
6. การจัดทําแผนงบประมาณ ทัง้ งบประมาณระยะยาว (Strategic plan) และงบประมาณระยะสัน้
(Tactical plan) ซึง่ ประกอบด้วยงบประมาณดําเนินงาน (Operation plan) และงบประมาณการเงิน (Financial
plan)
เมือ่ จัดทํางบประมาณเสร็จ และนําไปใช้ในการดําเนินงานแล้ว ในระหว่างการดําเนินงานตามแผนงาน
ต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ (Analysis report) และรายงานผลการปฏิบตั งิ าน (Performance report) เพื่อ
ติดตามผลการปฏิบตั งิ านตามงบประมาณด้วย ซึง่ รายงานเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความสําเร็จในการดําเนินงาน
ขององค์กรเพื่อนําไปสูก่ ารปรับปรุงและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง (Continuous development)

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 5


2. งบประมาณดําเนิ นงาน
งบประมาณดําเนินงานเป็นการแสดงถึงการดําเนินงานของกิจการในงวดต่อไป แนวคิดในการจัดทํา
งบประมาณการดําเนินงานนัน้ ได้มาจากการจัดทํางบกําไรขาดทุน ดังนัน้ อาจกล่าวได้วา่ งบประมาณดําเนินงาน
คืองบกําไรขาดทุนโดยประมาณ ต่างกันเพียง งบประมาณการดําเนินงานนัน้ ใช้ขอ้ มูลทีค่ าดไว้ล่วงหน้า ส่วนงบ
การเงินนัน้ ใช้ขอ้ มูลในอดีตที่กจิ การได้จดบันทึกไว้แล้ว การจัดทํางบประมาณโดยประมาณ ในแต่ละกิจการ
แตกต่างกันไปตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ในทีน่ ้ีขอนําเสนอเฉพาะกิจการผลิตสินค้า เท่านัน้ โดยงบประมาณ
ดําเนินงาน ประกอบด้วย การจัดทํางบประมาณขาย งบประมาณการผลิต งบประมาณวัตถุดบิ ทางตรง
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง งบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขาย งบประมาณ
ค่าใช้จา่ ยในการบริหาร งบประมาณต้นทุนขาย และงบประมาณงบกําไรขาดทุน ส่วนงบประมาณของกิจการขาย
สินค้า หรือให้บริการ การจัดทํางบประมาณดําเนินงานไม่ตอ้ งจัดทํางบประมาณทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิต ซึง่ ในการ
จัดทํางบประมาณหลักเหล่านี้จะมีขนตอนที ั้ เ่ กีย่ วข้องกันตามลําดับ งบประมาณที่ทาํ ขึน้ ลําดับหลังจะต้องนําผล
จากการจัดทํางบประมาณในขันตอนก่ ้ อนมาคํานวณ ดังนัน้ หากคํานวณและทําการคาดคะเนผิดพลาดจะต้อง
จัดทํางบประมาณใหม่ทงั ้ หมด ดังภาพที่ 1
งบประมาณขาย
งบประมาณ
งบประมาณต้นทุนขาย วัตถุดิบทางตรง
งบประมาณ งบประมาณค่าแรงงาน
งบกําไรขาดทุน งบประมาณการผลิต
ทางตรง
งบประมาณค่าใช้จ่าย งบประมาณค่าใช้จ่าย
ในการบริหาร ในการผลิต

งบประมาณค่าใช้จ่าย
ในการขาย

ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ของงบประมาณดําเนินงาน
ที่มา: อนุรกั ษ์ ทองสุโขวงศ์, มกราคม 2553

2.1 งบประมาณการขาย (Sales budget)


งบประมาณการขาย เป็นงบประมาณแรกทีจ่ ะต้องจัดทําก่อนงบประมาณอื่นเพราะการจัดทํา
งบประมาณหลักทุกงบประมาณขึน้ อยูก่ บั การคาดคะเนการขาย รายละเอียดงบประมาณการขายประกอบด้วย
การคาดคะเนการขาย แยกเป็นหน่วยขาย ราคาขายในช่วงระยะเวลาตามงบประมาณนัน้ งบประมาณการขาย
อาจจัดทําได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ เช่น ตามเขตหรือภาคการขาย ตามประเภทของ
สินค้าที่ขาย ตามชนิดของลูกค้า ตามความสามารถของพนักงานขาย หรือตาม เขตภาคการขายและประเภท
สินค้าประกอบกัน จากนัน้ จึงกําหนดราคาขายทีเ่ หมาะสม ที่ทาํ ให้ลกู ค้าพอใจ และทําให้หน่วยขายเป็นไปตามที่
ประมาณการไว้และก่อให้เกิดกําไรเบือ้ งต้นสูงที่สดุ เมือ่ ทราบราคาขายต่อหน่วยและจํานวนหน่วยทีจ่ ะขายแล้วจึง
สามารถทราบค่าขายตามงบประมาณได้
ตัวอย่า งที่ 1 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด ผลิตและขาย สินค้า 2 ชนิดคือ สินค้า A และสินค้า B
ข้อมูลทีน่ ํามาใช้ในการคาดคะเนการขาย ปี 2555 ประกอบด้วยข้อมูล จากการสํารวจตลาดโดยพนักงานขาย
ั ยต่างๆ ในอดีตที่มอี ทิ ธิพลต่อการขาย เงือ่ นไขทางด้านเศรษฐกิจโดยทั ่วไป และเป้าหมายการ
ข้อมูลเกีย่ วกับปจจั

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 6


ขายในอนาคตทีค่ าดหวังของฝ่ายบริหาร โดยนํายอดสถิตกิ ารขายในอดีตมาวิเคราะห์แนวโน้มในปี 2555 ข้อมูล
การขาย เป็นดังนี้
สิ นค้า A สิ นค้า B
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) 72 42
ยอดขาย ไตรมาสที่ 1 (หน่วย) 4,800 7,200
ยอดขาย ไตรมาสที่ 2 (หน่วย) 7,200 9,600
ยอดขาย ไตรมาสที่ 3 (หน่วย) 7,800 10,200
ยอดขาย ไตรมาสที่ 4 (หน่วย) 6,000 8,400
การจัดทํางบประมาณการขาย เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณการขาย
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ไตรมาส
รายการ
1 2 3 4 รวม
สิ นค้า A
หน่วยขายตามงบประมาณ 4,800 7,200 7,800 6,000 25,800
ราคาขายตามงบประมาณ 72 72 72 72 72
จํานวนเงิน 345,600 518,400 561,600 432,000 1,857,600
สิ นค้า B
หน่วยขายตามงบประมาณ 7,200 9,600 10,200 8,400 35,400
ราคาขายตามงบประมาณ 42 42 42 42 42
จํานวนเงิน 302,400 403,200 428,400 352,800 1,486,800
รวม 648,000 921,600 990,000 784,800 3,344,400

2.2 งบประมาณการผลิ ต (Production budget)


จัดทําขึน้ เพือ่ ประมาณการยอดการผลิตให้เพียงพอต่อการขาย การคํานวณจํานวนสินค้าทีต่ อ้ งผลิต จึง
กําหนดสินค้าสําเร็จรูปคงเหลือปลายงวดก่อนเพื่อรักษาระดับสินค้าปลายงวดให้เพียงพอกับการขยายตัวของยอด
การขายในอนาคต นอกจากนี้สนิ ค้าคงเหลือปลายงวดยัง เป็นปจจั ั ยสําคัญในการวัดสมรรถภาพในการสร้างกําไร
เพราะถ้าเก็บสินค้าไว้มากต้องเสียต้นทุนในการเก็บรักษา ค่าประกันภัย และเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสทีเ่ งินลงทุน
จมในสินค้าไม่ได้ใช้เงินทุนไปลงทุนในโครงการลงทุนอืน่ ทีส่ ร้างกําไรได้มากกว่า แต่ถ า้ เก็บสินค้าสําเร็จรูปไว้นอ้ ย
ในขณะทีภ่ าวะตลาดขณะนัน้ มีความต้องการสินค้าสูงกว่าทีค่ าดคะเนไว้ เกิดสินค้าขาดตลาด และไม่เพียงพอต่อ
การส่งมอบสินค้าแก่ลกู ค้าได้ในเวลาทีก่ าํ หนดลูกค้าย่อมไม่พอใจ และหากเร่งการผลิต จะมีผลกระทบต่อตาราง
การผลิต การกําหนดจํานวนสินค้าคงเหลือในระดับทีเ่ หมาะสม จึง เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งจัดทําก่อนการจัดทํางบประมาณ
การผลิต การคํานวณจํานวนสินค้าทีต่ อ้ งผลิต เป็นดังนี้

จํานวนสินค้าทีต่ อ้ งผลิต = จํานวนหน่วยขาย + จํานวนหน่วยสินค้าสําเร็จรูปปลายงวดทีต่ อ้ งการ - จํานวน


หน่วยสินค้าสําเร็จรูปต้นงวด

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 7


ตัวอย่างที่ 2 จากตัวอย่างที่ 1 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด ต้องการทีจ่ ะกําหนดจํานวนสินค้า
สําเร็จรูปคงเหลือในแต่ละไตรมาสเท่ากับปริมาณการขายในเดือนแรกของไตรมาสถัดไป ดังนี้
เดือน สิ นค้า A สิ นค้า B
เมษายน 2555 3,600 3,000
กรกฎาคม 2555 2,580 3,600
ตุลาคม 2555 1,980 3,000
มกราคม 2556 2,340 2,880
ณ 1 มกราคม 2555 สินค้า A มีจํานวน 1,620 หน่วย สินค้า B มีจํานวน 2,400 หน่วย
การจัดทํางบประมาณการผลิต เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณการผลิต
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ไตรมาส
รายการ
1 2 3 4 รวม
สิ นค้า A
หน่วยขายตามงบประมาณ 4,800 7,200 7,800 6,000 25,000
บวก สินค้าสําเร็จรูปปลายงวด 3,600 2,580 1,980 2,340 2,340
รวม 8,400 9,780 9,780 8,340 28,140
หัก สินค้าสําเร็จรูปต้นงวด 1,620 3,600 2,580 1,980 1,620
จํานวนที่ตอ้ งผลิต 6,780 6,180 7,200 6,360 26,520
สิ นค้า B
หน่วยขายตามงบประมาณ 7,200 9,600 10,200 8,400 35,400
บวก สินค้าสําเร็จรูปปลายงวด 3,000 3,600 3,000 2,880 2,880
รวม 10,200 13,200 13,200 11,280 38,280
หัก สินค้าสําเร็จรูปต้นงวด 2,400 3,000 3,600 3,000 2,400
จํานวนที่ตอ้ งผลิต 7,800 10,200 9,600 8,280 35,880

2.3 งบประมาณวัตถุดิบทางตรง (Direct material budget)


ั ยการผลิต อันได้แก่
เมือ่ ทราบจํานวนสินค้าสําเร็จรูปที่ตอ้ งผลิต แล้ว จะจัดทํางบประมาณเกีย่ วกับปจจั
งบประมาณวัตถุดบิ ทางตรง งบประมาณแรงงานทางตรง และงบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต การจัดทํา
งบประมาณวัตถุดบิ ทางตรง จะต้องทําการกําหนดวัตถุดบิ คงเหลือปลายงวดก่อน เพื่อ ต้องรักษาระดับวัตถุด บิ
ปลายงวดให้เพียงพอกับการขยายตัวของยอดการผลิตในอนาคต จํานวนวัตถุดบิ คงเหลือปลายงวดเป็นปจจั ั ยที่
สําคัญในการวัดสมรรถภาพในการสร้างกําไร เช่นเดียวกับสินค้าสําเร็จรูปคือหาก เก็บวัตถุดบิ ไว้มากจะต้องเสีย
ต้นทุนในการเก็บรักษา ค่าประกันภัย และเกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสทีเ่ งินลงทุนจมในสินค้า ไม่ได้ใช้เงินทุน ไป
ลงทุนในโครงการลงทุนอืน่ ทีส่ ร้างกําไรได้มากกว่า แต่ถา้ เก็บวัตถุดบิ ไว้นอ้ ยภาวะตลาดขณะนัน้ มีความต้องการ
ผลิตสินค้าสูงกว่าที่คาดคะเนไว้ วัตถุด บิ อาจไม่เพียงพอในการผลิตมีผลให้กระทบกระเทือนต่อตารางการผลิต
การกําหนดจํานวนวัตถุดบิ คงเหลือในระดับทีเ่ หมาะสมเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งจัดทําก่อนการจัดทํางบประมาณวัตถุดบิ
ทางตรง การคํานวณจํานวนวัตถุดบิ ทีต่ อ้ งซื้อและจํานวนเงินทีจ่ ะซื้อวัตถุดบิ เป็นดังนี้

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 8


จํานวนวัตถุดบิ ทีต่ อ้ งจัดซื้อ = จํานวนหน่วยวัตถุดบิ ที่ตอ้ งใช้ผลิต+จํานวนหน่วยวัตถุดบิ ปลายงวดทีต่ อ้ งการ
- จํานวนหน่วยวัตถุดบิ ทีม่ ตี น้ งวด

ตัวอย่างที่ 3 จากตัวอย่างที่ 2 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด กําหนดมาตรฐานการผลิตสินค้า 1


หน่วย โดยใช้วตั ถุดบิ ดังนี้
สินค้า A ใช้วตั ถุดบิ 5 กก.ๆ ละ 2 บาท (มีวตั ถุดบิ คงเหลือ 1 มกราคม 2555 จํานวน 10,500 กก.)
สินค้า B ใช้วตั ถุดบิ 4 กก.ๆ ละ 2 บาท (มีวตั ถุดบิ คงเหลือ 1 มกราคม 2555 จํานวน 13,900 กก.)
ทัง้ นี้ กําหนดจํานวนวัตถุดบิ คงเหลือในแต่ละไตรมาสไว้ ดังนี้
สิ นค้า A สิ นค้า B
ไตรมาสที่ 1 (กก.) 10,200 13,500
ไตรมาสที่ 2 (กก.) 12,000 12,800
ไตรมาสที่ 3 (กก.) 10,700 11,000
ไตรมาสที่ 4 (กก.) 11,200 11,700
การจัดทํางบประมาณวัตถุดบิ ทางตรง เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณวัตถุดบิ ทางตรง
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ไตรมาส
รายการ
1 2 3 4 รวม
สิ นค้า A
หน่วยผลิต 6,780 6,180 7,200 6,360 26,520
คูณ จํานวนวัตถุดบิ ที่ใช้ผลิตสินค้า 1 หน่วย 5 5 5 5 5
จํานวนวัตถุดบิ ที่ตอ้ งการใช้ในการผลิต 33,900 30,900 36,000 31,800 132,600
บวก จํานวนวัตถุดบิ ปลายงวดทีต่ ้องการ 10,200 12,000 10,700 11,200 11,200
รวม 44,100 42,900 46,700 43,000 143,800
หัก จํานวนวัตถุดบิ ต้นงวด 10,500 10,200 12,000 10,700 10,500
จํานวนวัตถุดบิ ทีต่ ้องซื้อ 33,600 32,700 34,700 32,300 133,300
คูณ ราคาซือ้ ต่อหน่วย 2 2 2 2 2
งบประมาณจ่ายซือ้ วัตถุดบิ 67,200 65,400 69,400 64,600 266,600
สิ นค้า B
หน่วยผลิต 7,800 10,200 9,600 8,280 35,880
คูณ จํานวนวัตถุดบิ ที่ใช้ผลิตสินค้า 1 หน่วย 4 4 4 4 4
จํานวนวัตถุดบิ ที่ตอ้ งการใช้ในการผลิต 31,200 40,800 38,400 33,120 143,520
บวก จํานวนวัตถุดบิ ปลายงวดทีต่ ้องการ 13,500 12,800 11,000 11,700 11,700
รวม 44,700 53,600 49,400 44,820 155,220
หัก จํานวนวัตถุดบิ ต้นงวด 13,900 13,500 12,800 11,000 13,900
จํานวนวัตถุดบิ ทีต่ ้องซื้อ 30,800 40,100 36,600 33,820 141,320
คูณ ราคาซือ้ ต่อหน่วย 2 2 2 2 2
งบประมาณจ่ายซือ้ วัตถุดบิ 61,600 80,200 73,200 67,640 282,640
รวมงบประมาณการซือ้ วัตถุดบิ ทัง้ หมด 128,800 145,600 142,600 132,240 549,240

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 9


2.4 งบประมาณค่าแรงงานทางตรง (Direct labor budget)
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง ให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับการใช้แรงงานทีเ่ หมาะสมในแต่ละระยะเวลา โดยอาศัย
ข้อมูลจากงบประมาณการผลิต หากมีการ จ้างงานมากเกินไปจะเกิดต้นทุนสูญเปล่า แต่ หากพนักงานมีน้อยไม่
เหมาะสมกับการผลิตจะทําให้เสียค่าล่วงเวลามาก ดังนัน้ จึงต้องคํานวณหาจํานวนชั ่วโมงทีต่ อ้ งการใช้ในการผลิต
และจํานวนเงินอัตราจ้างต่อชั ่วโมง
ตัวอย่างที่ 4 จากตัวอย่างที่ 2 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด กําหนดมาตรฐานการผลิตสินค้า 1
หน่วย โดยสินค้า A ใช้แรงงาน 2 ชั ่วโมง ๆ ละ 10 บาท และสินค้า B ใช้แรงงาน 1 ชั ่วโมง ๆ ละ 10 บาท
การจัดทํางบประมาณค่าแรงงานทางตรง เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ไตรมาส
รายการ
1 2 3 4 รวม
สิ นค้า A
จํานวนการผลิต 6,780 6,180 7,200 6,360 26,520
คูณ อัตราชั ่วโมงที่ใช้ผลิต 2 2 2 2 2
รวมชั ่วโมงทีต่ อ้ งการใช้ 13,560 12,360 14,400 12,720 53,040
คูณ อัตราจ้าง 10 10 10 10 10
จํานวนเงินจ่ายค่าแรง (บาท) 135,600 123,600 144,000 127,200 530,400
สิ นค้า B
จํานวนการผลิต 7,800 10,200 9,600 8,280 35,880
คูณ อัตราชั ่วโมงที่ใช้ผลิต 1 1 1 1 1
รวมชั ่วโมงทีต่ อ้ งการใช้ 7,800 10,200 9,600 8,280 35,880
คูณ อัตราจ้าง 10 10 10 10 10
จํานวนเงินจ่ายค่าแรง (บาท) 78,000 102,000 96,000 82,800 358,800
รวมจํานวนเงินค่าแรง (บาท) 213,600 225,600 240,000 210,000 889,200
ชั ่วโมงแรงงานทางตรง (ชั ่วโมง) 21,360 22,560 24,000 21,000 88,920

2.5 งบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิ ต (Manufacturing overhead budget)


งบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต คือค่าใช้จา่ ยการผลิตทีโ่ รงงานจ่ายไป สําหรับ การผลิต สินค้า ในส่วนที่
ไม่ใช่คา่ วัตถุดบิ ทางตรง และค่าแรงงานทางตรง โดยแยกเป็นค่าใช้จา่ ยคงทีแ่ ละค่าใช้จา่ ย ผันแปรเนื่องจากการ
คํานวณต้นทุนสินค้าโดยวิธตี น้ ทุน รวมเหมาะกับการนําเสนอ รายงานแก่ภายนอกองค์กร ส่วนการบริหารจัดการ
ภายในองค์กรการรายงานโดยระบบต้นทุนผันแปรจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า
ตัวอย่างที่ 5 จากตัวอย่างที่ 2 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด มีคา่ ใช้จา่ ยการผลิต ดังนี้
ค่าใช้จา่ ยการผลิตผันแปร
ค่าแรงงานทางอ้อม 0.60 บาท/ชั ่วโมงแรงงานทางตรง
ค่าวัตถุดบิ ทางอ้อม 0.30 บาท/ชั ่วโมงแรงงานทางตรง
ค่าสวัสดิการพนักงาน 1.60 บาท/ชั ่วโมงแรงงานทางตรง
ค่าสิง่ อํานวยความสะดวก 0.50 บาท/ชั ่วโมงแรงงานทางตรง

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 10


ค่าใช้จา่ ยการผลิตคงที่ท่เี กิดขึน้ แต่ละไตรมาส เป็นดังนี้
ค่าผูค้ วบคุมงาน 50,600 บาท
ค่าภาษีทรัพย์สนิ 6,500 บาท
ค่าประกันภัย 7,200 บาท
ค่าซ่อมบํารุง 11,500 บาท
ค่าสาธารณูปโภค
ไตรมาสที่ 1 10,600 บาท
ไตรมาสที่ 2 6,600 บาท
ไตรมาสที่ 3 9,600 บาท
ไตรมาสที่ 4 6,600 บาท
ค่าเสือ่ มราคา 24,000 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 3,000 บาท
การจัดทํางบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ต้นทุน ไตรมาส
รายการ
ต่อหน่ วย 1 2 3 4 รวม
ค่าใช้จา่ ยการผลิ ตผันแปร
ค่าแรงงานทางอ้อม 0.60 12,816 13,536 14,400 12,600 53,352
ค่าวัตถุดบิ ทางอ้อม 0.30 6,408 6,768 7,200 6,300 26,676
ค่าสวัสดิการพนักงาน 1.60 34,176 36,096 38,400 33,600 142,272
ค่าสิง่ อํานวยความสะดวก 0.50 10,680 11,280 12,000 10,500 44,460
รวมค่าใช้จ่ายผันแปร 3.00 64,080 67,680 72,000 63,000 266,760
ชั ่วโมงแรงงานทางตรง 21,360 22,560 24,000 21,000 88,920
อัตราค่าใช้จา่ ยการผลิตผันแปรต่อชั ่วโมง 3 3 3 3 3
ค่าใช้จา่ ยการผลิ ตคงที่
ค่าผูค้ วบคุมงาน 50,600 50,600 50,600 50,600 202,400
ค่าภาษีทรัพย์สนิ 6,500 6,500 6,500 6,500 26,000
ค่าประกันภัย 7,200 7,200 7,200 7,200 28,800
ค่าซ่อมบํารุง 11,500 11,500 11,500 11,500 46,000
ค่าสาธารณูปโภค 10,600 6,600 9,600 6,600 33,400
ค่าเสือ่ มราคา 24,000 24,000 24,000 24,000 96,000
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 3,000 3,000 3,000 3,000 12,000
รวมค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ 113,400 109,400 112,400 109,400 444,600
รวมค่าใช้จา่ ยการผลิต 177,480 177,080 184,400 172,400 711,360

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 11


2.6 งบประมาณต้นทุนสิ นค้าขาย (Cost of goods sold budget)
เป็นงบประมาณทีแ่ สดงต้นทุนสินค้าทีเ่ กิดขึน้ ซึง่ ต้องนําข้อมูลทีไ่ ด้จากการทํางบประมาณการผลิต
งบประมาณวัตถุด บิ ทางตรง งบประมาณค่าแรงงาน และงบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิตมาแสดงเป็นต้นทุนสินค้า
ตัวอย่างที่ 6 จากตัวอย่างที่ 2–5 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด มีตน้ ทุน สินค้าสําเร็จรูปต่อ หน่วยจาก
วัตถุดบิ ทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรดังนี้
ต้นทุนสิ นค้าสําเร็จรูปต่อหน่ วย สิ นค้า A สิ นค้า B
ค่าวัตถุดบิ ทางตรง 5 กก. ๆ ละ 2 บาท = 10 บาท 4 กก. ๆ ละ 2 บาท = 8 บาท
ค่าแรงงานทางตรง 2 ชม. ๆ ละ 10 บาท = 20 บาท 1 ชม. ๆ ละ 10 บาท = 10 บาท
ค่าใช้จา่ ยการผลิตผันแปร 2 ชม. ๆ ละ 3 บาท = 6 บาท 1 ชม. ๆ ละ 3 บาท = 3 บาท
ต้นทุนต่อหน่วย = 36 บาท = 21 บาท
ข้อมูลดังกล่าวสามารถจัดทํางบประมาณต้นทุนสินค้าทีข่ าย ได้ดงั นี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณต้นทุนสินค้า ทีข่ าย
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
สิ นค้า A สิ นค้า B รวม
1 2
สินค้าสําเร็จรูปต้นงวด 58,320 50,400 108,720
บวก วัตถุดบิ ทางตรงใช้ไป
วัตถุดบิ ทางตรงต้นงวด 21,0003 27,8004 48,800
บวก ซือ้ 266,600 282,640 549,240
5 6
หัก วัตถุดบิ ทางตรงปลายงวด 22,400 23,400 45,800
วัตถุดบิ ใช้ไป 265,200 287,040 552,240
บวก ค่าแรงงานทางตรง 530,400 358,800 889,200
ค่าใช้จา่ ยการผลิตผันแปร
(ชั ่วโมงแรงงานทางตรง x 3บาท) 159,1207 107,6408 266,760
รวมต้นทุนการผลิต 954,720 753,480 1,708,200
9
หัก สินค้าสําเร็จรูปปลายงวด 84,240 60,48010 144,720
ต้นทุนสินค้าขาย 928,800 743,400 1,672,200
หมายเหตุ: 1=(1,620 x 36) 2=(2,400 x 21) 3=(11,200 x 2) 4=(13,900 x 2) 5=(11,200 x 2) 6=(11,700 x 2) 7=(53,040 x 3) 8=(35,800 x
3) 9=(2,340 x 36) 10=(2,880 x 21)

2.7 งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขาย (Selling expenses budget)


ค่าใช้จา่ ยทางการตลาดของธุรกิจมีอทิ ธิพลต่อการเพิม่ และลดจํานวนหน่วยการขาย ดังนัน้ การประ มาณ
การค่าใช้จา่ ยในการขายจึงใช้จาํ นวนหน่วยขายเป็นฐานในการคํานวณ ซึง่ จะต้องมีการประเมินผลอย่าง
ระมัดระวัง
ตัวอย่างที่ 7 จากตัวอย่างที่ 2 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด มีคา่ ใช้จา่ ยในการขาย ดังนี้
ค่าใช้จา่ ยในการขายผันแปรประกอบด้วยค่าโฆษณา ร้อยละ 2 ของมูลค่าขาย และ ค่านายหน้า ร้อยละ
8 ของมูลค่าขาย ส่วนค่าใช้จา่ ยในการขายคงทีใ่ นแต่ละไตรมาสประกอบด้วย
เงินเดือนผ่ายขาย 38,000 บาท
ค่าเดินทาง 3,600 บาท
ค่ารับรอง 2,400 บาท

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 12


ค่าประกันภัย 600 บาท
ค่าภาษีทรัพย์สนิ 400 บาท
ค่าสิง่ อํานวยความสะดวก 300 บาท
ค่าเสือ่ มราคา 3,000 บาท
ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ 700 บาท
การจัดทํางบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขาย เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขาย
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
รายการ ไตรมาส
1 2 3 4 รวม
ค่าโฆษณา 12,960 18,432 19,800 15,696 66,888
ค่านายหน้า 51,840 73,728 79,200 62,784 267,552
เงินเดือนผ่ายขาย 38,000 38,000 38,000 38,000 152,000
ค่าเดินทาง 3,600 3,600 3,600 3,600 14,400
ค่ารับรอง 2,400 2,400 2,400 2,400 9,600
ค่าประกันภัย 600 600 600 600 2,400
ค่าภาษีทรัพย์สนิ 400 400 400 400 1,600
ค่าสิง่ อํานวยความสะดวก 300 300 300 300 1,200
ค่าเสือ่ มราคา 3,000 3,000 3,000 3,000 12,000
ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ 700 700 700 700 2,800
รวมค่าใช่จา่ ยในการขาย 113,800 141,160 148,000 127,480 530,440

2.8 งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริ หาร (Administrative expenses budget)


งบประมาณค่าใช่จา่ ยในการบริหาร เป็นการประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริหารงานทั ่วไปของ กิจการ โดย
ปกติคา่ ใช้จา่ ยในการบริหารเป็นค่าใช้จา่ ยคงทีท่ งั ้ หมด เนื่องจากค่าใช้จา่ ยในการบริหารที่เกิดขึน้ ไม่ได้ผนั แปรตาม
ยอดขาย มีเพียงบางรายการทีเ่ ป็นค่าใช้จา่ ยผันแปร เช่น ค่าโบนัสฝ่ายบริหารทีค่ าํ นวณโดยใช้อตั ราร้อยละต่อ
ยอดขาย เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 8 จากตัวอย่างที่ 2 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด มีคา่ ใช้จา่ ยในการบริหารในแต่ละไตร
มาส ดังนี้
เงินเดือนผูบ้ ริหาร 40,848 บาท
เงินเดือนพนักงานประจําสํานักงาน 17,000 บาท
ค่าประกันภัย 2,150 บาท
ค่าภาษีทรัพย์สนิ 1,200 บาท
ค่าสือ่ อํานวยความสะดวก 600 บาท
ค่าวัสดุสน้ิ เปลือง 1,400 บาท
ค่าเสือ่ มราคา 10,000 บาท
ค่าใช่จ่ายอื่น ๆ 800 บาท
การจัดทํางบประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริหาร เป็นดังนี้

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 13


บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํากัด
งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริหาร
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
รายการ ไตรมาส
ค่าใช้จา่ ยในการบริ หาร 1 2 3 4 รวม
เงินเดือนผูบ้ ริหาร 40,848 40,848 40,848 40,848 163,392
เงินเดือนพนักงานประจําสํานักงาน 17,000 17,000 17,000 17,000 68,000
ค่าประกันภัย 2,150 2,150 2,150 2,150 8,600
ค่าภาษีทรัพย์สนิ 1,200 1,200 1,200 1,200 4,800
ค่าสือ่ อํานวยความสะดวก 600 600 600 600 2,400
ค่าวัสดุสน้ิ เปลือง 1,400 1,400 1,400 1,400 5,600
ค่าเสือ่ มราคา 10,000 10,000 10,000 10,000 40,000
ค่าใช่จา่ ยอืน่ ๆ 800 800 800 800 3,200
รวมค่าใช้จา่ ยในการบริหาร 73,998 73,998 73,998 73,998 295,992
2.9 งบประมาณกําไรขาดทุน (Budgeted income statement)
เป็นงบประมาณทีร่ วบรวม และสรุป ข้อมูลจากงบประมาณดําเนินงาน ทัง้ หมดมาจัดทํางบกําไรขาดทุน
โดยประมาณ ได้แก่งบประมาณขาย งบประมาณต้นทุนขาย งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขายและการบริหาร เพื่อ
แสดงให้เห็นถึงผลจากการดําเนินงานตามงบประมาณ
ตัวอย่างที่ 9 จากตัวอย่างที่ 1– 8 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด สามารถจัดทํางบประมาณกําไร
ขาดทุนได้ดงั นี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํากัด
งบประมาณกําไรขาดทุน
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
สิ นค้า A สิ นค้า B รวม
หน่วยขาย 25,800 35,400 61,200
ค่าขาย 1,857,600 1,486,800 3,344,400
หัก ต้นทุนสินค้าขาย 928,800 743,400 1,672,200
ส่วนชดเชยจากการผลิต 928,800 743,400 1,672,200
1 2
หัก ค่าใช้จา่ ยในการขาย 185,760 148,680 334,440
กําไรส่วนเกิน 743,040 594,720 1,337,760
หัก ต้นทุนคงที่
การผลิต 444,600
การขาย 196,000
การบริหาร 295,992
รวมต้นทุนคงที่ 936,592
กําไรจากการดําเนินงาน 401,168
หัก ดอกเบีย้ จ่าย 2,2273
กําไรก่อนหักภาษี 398,941
หัก ภาษี 162,0004
กําไรหลังหักภาษี 236,941
หมายเหตุ : 1=(1,857,600 x 10%) 2=(1,486,800 x 10%) 3= จากงบประมาณเงินสด 4 = สมมติมกี ารจ่ายภาษีจริงจํานวน 162,000 บาท

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 14


3. งบประมาณการเงิ น

งบประมาณการเงิน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้จา่ ยเงินและฐานะทางการเงิน แนวคิดในการจัดทํา


ได้มาจากงบแสดงฐานะการเงินหรืออาจกล่าวได้วา่ งบประมาณการเงินคือ งบแสดงฐานะการเงินโดยประมาณและ
งบกระแสเงินสดโดยประมาณต่างกันเพียงงบประมาณการเงินนัน้ ใช้ขอ้ มูลที่คาดไว้ลว่ งหน้า ส่วนงบการเงินนัน้ ใช้
ข้อมูลในอดีตที่กจิ การได้จดบันทึกไว้แล้ว โดยปกติงบประมาณการเงิน ประกอบด้วย งบประมาณจ่ายลงทุน
งบประมาณเงินสด งบแสดงฐานะการเงินโดยประมาณ และงบกระแสดเงินสดโดยประมาณ โดยนําข้อมูลจาก
งบประมาณดําเนินงานมาเป็นข้อมูลในการจัดทําด้วย ความสัมพันธ์เป็นดังภาพที่ 2

งบประมาณดําเนินงาน งบประมาณการเงิน
งบประมาณขาย
งบประมาณ
งบประมาณต้นทุนขาย วัตถุดบิ ทางตรง
งบประมาณ งบประมาณค่าใช้จา่ ย
งบประมาณจ่ายลงทุน
งบประมาณการผลิต
งบกําไรขาดทุน ในการผลิต
งบประมาณค่าใช้จา่ ย งบประมาณค่าแรงงาน
ในการบริหาร ทางตรง
งบประมาณค่าใช้จา่ ย
ในการขาย

งบประมาณเงินสด

งบประมาณงบแสดงฐานะ
การเงินโดยประมาณ

งบกระแสเงินสดโดยประมาณ
ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ของงบประมาณดําเนินงานและงบประมาณการเงิน
ที่มา: อนุรกั ษ์ ทองสุโขวงศ์, มกราคม 2553

3.1 งบประมาณจ่ายลงทุน (Capital expenditure หรือ Capital budget)


ในกรณีทก่ี จิ การมีการลงทุนจํานวนมากและอาจมีการกูย้ มื ระยะยาวเพื่อการลงทุน ซึง่ ระยะเวลามากกว่า
1 งวดบัญชี คือ 2 ปี 3 ปี 5 ปี หรือ 10 ปี งบประมาณจ่ายลงทุนจะแสดงรายการการลงทุนด้านต่างๆ ของกิจการ
โดยทั ่วไปจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาว ดังนัน้ หากมีการจ่ายลงทุนต้องคํานึงถึงแหล่งทีม่ าของเงินทุน
รวมถึงภาระดอกเบีย้ ทีจ่ ะเกิดขึน้ อันมีผลกระทบต่องบประมาณเงินสด และงบกระแสเงินสดด้วย
ตัวอย่างที่ 10 จากตัวอย่างที่ 1 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด มีการลงทุนในไตรมาสที่ 4 ในการ
จัดซือ้ ชุดคอมพิวเตอร์ 80,000 บาท และ ยานพาหนะ 70,000 บาท
การจัดทํางบประมาณจ่ายลงทุน เป็นดังนี้

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 15


บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณจ่ายลงทุน
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ไตรมาส
รายการ
1 2 3 4 รวม
ชุดคอมพิวเตอร์ - - - 80,000 80,000
ยานพาหนะ - - - 70,000 70,000
รวม 150,000 150,000

3.2 งบประมาณเงิ นสด (Cash budget)


เป็นการประมาณการวางแผนเกีย่ วกับการรับ และจ่ายเงินสดในงวดระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เพือ่ ให้การ
บริหารเงินสดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ขาดแคลนเงินสดทีจ่ ะใช้หมุนเวียน หรือเมือ่ มีการจัดทํา

งบประมาณไว้ลว่ งหน้าแล้วจะช่วยชีใ้ ห้เห็นว่าการขาดแคลนเงินสดเกิดขึน้ ช่วงใด ฝายบริหารจะได้วางแผนการ
จัดหาเงินสด นอกจากนี้งบประมาณเงินสดยังสามารถบอกถึงระยะเวลาทีจ่ ะได้เงินสดกลับคืนมาด้วย
ตัวอย่างที่ 11 จากตัวอย่างที่ 1 และ 3 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด ขายสินค้า เป็นเงินเชือ่ และซือ้
วัตถุด บิ เป็นเงินเชือ่ โดยมีเงือ่ นไขการจ่ายชําระเงินและการรับชําระเงิน ดังนี้
เงินสดรับ 60% ของยอดขาย ได้รบั ในไตรมาสทีข่ าย
30% ของยอดขาย ได้รบั หลังไตรมาสที่ขาย 1 ไตรมาส
10% ของยอดขาย ได้รบั หลังไตรมาสที่ขาย 2 ไตรมาส
(ยอดขายปี 2554 ไตรมาสที่ 3 เท่ากับ 730,000 บาท ไตรมาสที่ 4 เท่ากับ 760,000 บาท)
เงินสดจ่าย 80% ของยอดซื้อวัตถุ จ่ายชําระในไตรมาสทีซ่ ้อื
20% ของยอดซื้อวัตถุ จ่ายชําระหลังไตรมาสทีท่ ซี่ ้อื
(ยอดซื้อวัตถุดบิ ปี 2554 ไตรมาสที่ 4 เท่ากับ 140,000 บาท)
นอกจากนี้ กําหนดการจ่ายเงินปนผลแก่ ั ผถู้ อื หุน้ ในไตรมาสที่ 1 – 3 ไตรมาสละ 20,000 บาท ส่วนไตร
มาสที่ 4 จ่ายจํานวน 40,000 บาท และตัง้ ประมาณการจ่ายภาษีไว้ไตรมาสละ 40,000 บาท ทัง้ นี้บริษทั มีนโยบาย
เงินสดขันตํ้ ่าจํานวน 30,000 บาท (ดอกเบีย้ เงินกูร้ ะยะสันร้ ้ อยละ 6 ต่อไตรมาส)
การคํานวณหาเงินสดรับชําระจากลูกหนี้คาํ นวณดังนี้
2554 2555 ยอด
รายการ
ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 คงเหลือ
ยอดขาย 730,000 760,000 648,000 921,600 990,000 784,800
รับชําระไตรมาสที่ขาย 60% 438,000 456,000 388,800 552,960 594,000 470,880
รับชํา ระไตรมาสถัดไป 30% 219,000 228,000 194,400 276,480 297,000 235,440
รับชํา ระ 2 ไตรมาส ถัดไป 10% 73,000 76,000 64,800 92,160 177,480
รวมเงินสดรับจากการขาย 689,800 823,360 935,280 860,040 412,920

จํานวนลูกหนี้คงเหลือต้นงวด = 377,000 บาท (73,000+288,000+76,000) และจํานวนลูกหนี้คงเหลือ


ปลายงวด = 412,920 บาท

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 16


การคํานวณหาเงินสดจ่ายชําระเจ้าหนี้วตั ถุดบิ คํานวณดังนี้
2554 2555 ยอด
รายการ
ไตรมาส 4 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 คงเหลือ
ยอดซื้อวัตถุดบิ 140,000 128,800 145,600 142,600 132,240
จ่ายชําระไตรมาสที่ขาย 80% 112,000 103,040 116,480 114,080 105,792
จ่ายชําระไตรมาสถัดไป 20% 28,000 25,760 29,120 28,520 26,448
รวมเงินสดจ่ายซือ้ วัตถุดบิ 131,040 142,240 143,200 134,312 26,448
จํานวนเจ้าหนี้คงเหลือต้นงวด = 28,000 บาท และจํานวนเจ้าหนี้คงเหลือปลายงวด = 26,448 บาท
การจัดทํางบประมาณเงินสด เป็นดังนี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบประมาณเงินสด
ประจําปี สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
ไตรมาส
รายการ
1 2 3 4 รวม
เงินสดคงเหลือต้นงวด 36,000 30,000 30,937 153,619 36,000
เงิ นสดรับ:-
รับชําระหนี้จากลูกหนี้ 689,800 823,360 935,280 860,040 3,308,480
รวมเงินสดรับ 725,800 853,360 966,217 1,013,659 3,344,480
เงิ นสดจ่าย:-
จ่ายชําระหนี้ 131,040 142,240 143,200 134,312 550,792
จ่ายค่าแรง 213,600 225,600 240,000 210,000 889,200
ค่าใช้จา่ ยการผลิต 153,480 153,080 160,400 148,400 615,360
ค่าใช้จา่ ยในการขาย 110,800 138,160 145,000 124,480 518,440
ค่าใช้จา่ ยในการบริหาร 63,998 63,998 63,998 63,998 255,992
จ่ายลงทุน - - - 150,000 150,000
จ่ายเงินปนผลั 20,000 20,000 20,000 40,000 100,000
ประมาณการจ่ายภาษี 40,000 40,000 40,000 40,000 160,000
รวมเงินสดจ่าย 732,918 783,078 812,598 911,190 3,239,784
เงินสดคงเหลือ (7,118) 70,282 153,619 102,469 104,696
กูย้ มื เพิ่ม 37,118 - - - 37,118
ชําระหนี้ – เงินต้น - (37,118) - - (37,118)
หัก ดอกเบีย้ จ่าย (6%) - (2,227) - - (2,227)
เงินสดคงเหลือปลายงวด 30,000 30,937 153,619 102,469 102,469

3.3 งบแสดงฐานะการเงิ นโดยประมาณ (Budgeted balance sheet)


เป็นการ นําข้อมูลจากงบประมาณต่างๆ มา จัดทํางบแสดงฐานะการเงิน โดยประมาณ โดยงบกําไร
ขาดทุนโดยประมาณจะแสดงให้เห็นว่างบประมาณที่เกิดขึน้ นัน้ มีผลทําให้กาํ ไรสะสม ค่าเสือ่ มราคา ภาษี
เปลีย่ นแปลงไปอย่างไร งบประมาณเงินสดแสดง ข้อมูลเกีย่ วกับเงินสดคงเหลือ ตั ๋วเงินจ่าย หนี้สนิ ระยะยาว
บัญชีลกู หนี้ บัญชีเจ้าหนี้ งบประมาณจ่ายลงทุนจะทําให้ทราบถึงการเปลีย่ นแปลงของสินทรัพย์ประจําทีค่ าดว่าจะ
เกิดขึน้ ส่วนงบแสดงฐานะการเงินของงวดบัญชีกอ่ นจะแสดงยอดคงเหลือในบัญชีต่างๆ ณ วันต้นงวด เมือ่ นําการ

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 17


เปลีย่ นแปลงในรายการทีเ่ กีย่ วข้องมากระทบยอดจะได้ขอ้ มูลยอดคงเหลือ ณ วันสิน้ งวดเพื่อนํามาจัดทํา งบแสดง
ฐานะการเงินโดยประมาณ
ตัวอย่างที่ 12 จากตัวอย่างที่ 1–11 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด สามารถจัดทํางบประมาณงบแสดง
ฐานะการเงินได้ดงั นี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบแสดงฐานะการเงินโดยประมาณ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555
สิ นทรัพย์ 2554 2555
สิ นทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด 36,000 102,469
ลูกหนี้ 377,000 412,920
สินค้าสําเร็จรูป 108,720 144,720
1
วัตถุดบิ 48,800 45,8002
รวมรวมสินทรัพย์หมุนเวียน 570,520 705,909
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
ทีด่ นิ 550,000 550,000
3
อาคารและอุปกรณ์ 1,330,932 1,480,932
หัก ค่าเสือ่ มราคาสะสมอาคารและอุปกรณ์ (620,000) 710,932 (768,000) 4 712,932
รวมทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์ 1,260,932 1,262,932
รวมสินทรัพย์ 1,831,452 1,968,841
หนี้ สินและส่วนของผูถ้ ือหุ้น
หนี้ สินหมุนเวียน
เจ้าหนี้ 28,000 26,448
ภาษีคา้ งจ่าย .0 2,000
รวมหนี้สนิ หมุนเวียน 28,000 28,448
ส่วนของผูถ้ อื หุ้น
หุน้ สามัญ(500หุน้ ) 500,000 500,000
กําไรสะสม 1,303,452 1,440,3935
รวมส่วนของถือหุน้ 1,803,452 1,940,393
รวมหนี้สนิ และส่วนของเจ้าของ 1,831,452 1,968,841
หมายเหตุ: 1=(10500 x 2)+(13,900 x 2) 2= (11,200 x 2)+(11,700 x 2) 3=(1,330,932 + 150,000) 4=(620,000 + 96,000 + 12,000 + 40,000)
5=(1,303,452 + 236,941 - 100,000)

3.4 งบกระแสเงิ นสดโดยประมาณ (Cash budget)


การวางแผนการขายและการผลิตของบริษทั ทีจ่ ดั ทําตามเกณฑ์คงค้าง (Accrual basis) จะถูกนํามา
จัดทําตามเกณฑ์เงินสด (Cash basis) ในรูปงบกระแสเงินสดโดยประมาณ โดยอาจจัดทําเป็นระยะเวลา 3 เดือน
6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อ จะทําให้ทราบถึงจํานวนเงินสดรับและเงินสดจ่ายโดยจะใช้ขอ้ มูลจากงบประมาณ กําไร
ขาดทุน งบแสดงฐานะการเงินโดยประมาณ และงบประมาณการจ่ายลงทุน มาจัดทํา ซึง่ สามารถจัดทําได้ทงั ้ แบบ
ทางตรงและแบบทางอ้อม

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 18


ตัวอย่างที่ 13 จากตัวอย่างที่ 1 – 12 บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด สามารถจัดทํางบกระแสเงินสด
โดยประมาณได้ดงั นี้
บริษทั พรรณนา โปรดิวส์ จํา กัด
งบกระแสเงินสดโดยประมาณ
สิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555
เงิ นสดจากกิ จกรรมดําเนิ นงาน:-
กําไรสุทธิหลังหักภาษี 236,941
รายการทีป่ รับปรุงจากกําไรสุทธิ
ค่าเสือ่ มราคา (96,000+12,000+40,000) 148,000
ลูกหนี้เพิ่มขึน้ (35,920)
สินค้าสําเร็จรูปเพิ่มขึน้ (36,000)
วัตถุดบิ ลดลง 3,000
เจ้าหน้าทีล่ ดลง (1,552)
ภาษีคา้ งจ่ายเพิ่มขึน้ 2,000 79,528
เงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน 316,469
เงิ นสดจากกิ จกรรมทุน:-
ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพิม่ ขึน้ (150,000)
เงิ นสดจากกิ จกรรมทางการเงิ น:-
เงินสดจากการกูย้ มื 37,118
จ่ายชําระหนี้เงินกู้ (พร้อมดอกเบีย้ ) (37,118)

จ่ายเงินปนผลเงิ นสด (100,000) (100,000)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึน้ 66,469
บวก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือต้นงวด 36,000
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือปลายงวด 102,469

ข้อสรุป
งบประมาณเป็นการประมาณการทางการเงินหรือทรัพยากรอืน่ ทีก่ าํ หนดขึน้ อย่างมีระบบ ซึง่ ช่วยให้
กิจการได้พจิ ารณาและทบทวนข้อมูลรายละเอียดทีเ่ กีย่ วข้อง งบประมาณจึงกลายเป็นเครือ่ งมือพื้นฐานในการ
สร้างความร่วมมือและสร้างความเข้าใจอันดีของทุกส่วนงาน ทัง้ นี้การจัดทํางบประมาณทีม่ ปี ระสิทธิภาพต้อง
ได้รบั การสนับสนุนจากผูบ้ ริหารระดับสูงให้ทกุ ส่วนงานได้มสี ว่ นร่วมในการจัดทําบนพืน้ ฐานของระบบงานและ
ระบบบัญชีทด่ี ี ซึง่ งบประมาณดังกล่าว มุง่ ใช้ในการวางแผน การประสานงาน และการควบคุม เพื่อให้บรรลุถงึ
เป้าหมายทีก่ จิ การต้องการ งบประมาณทีต่ อ้ งจัดทําประกอบด้วยงบประมาณดําเนินงาน และงบประมาณการเงิน
งบประมาณดําเนินงานเป็นข้อมูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการดําเนินกิจกรรมในกิจการหรืออาจกล่าวได้วา่ เป็นการจัดทํา
งบประมาณงบกําไรขาดทุน ส่วนงบประมาณการเงินมุง่ แสดงฐานะและกระแสเงินสดทีเ่ กิดขึน้ ของกิจการหรืออาจ
กล่าวได้วา่ เป็นงบประมาณงบแสดงฐานะการเงินและงบประมาณงบกระแสเงินสดนั ่นเอง อย่างไรก็ตาม
งบประมาณย่อยจะมีงบประมาณใดบ้างขึน้ อยู่กบั ลักษณะของธุรกิจ

185 742 Energy project appraisal and Management: การจัดทํางบประมาณเพือ่ การวางแผนและควบคุม 19

You might also like