You are on page 1of 84

สธ มส
หน่วยที่ 9
การงบประมาณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาตรีหญิงอรชร โพธิสุข


สธ


สธ


มส

มส

ชื่อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นาวาตรีหญิงอรชร โพธิสุข


วุฒิ บช.บ. ประกาศนียบัตรบัณฑิต (สอบบัญชี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
M.B.A. (Accounting) University of Bridgeport U.S.A.
ต�ำแหน่ง อดีตผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจ�ำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
หน่วยที่ปรับปรุง หน่วยที่ 9


9-2 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
แผนการสอนประจ�ำหน่วย

ชุดวิชา การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

หน่วยที่ 9 การงบประมาณ


ตอนที่
สธ
9.1 แนวคิดเกี่ยวกับการงบประมาณ
9.2 การจัดท�ำงบประมาณด�ำเนินการ


9.3 การจัดท�ำงบประมาณการเงิน
9.4 การจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่น

แนวคิด
1. การงบประมาณเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญของการบริหาร ช่วยฝ่ายบริหารในด้านการวางแผนของ
องค์กรธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ก่อให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ รวมทัง้
ช่วยให้การควบคุมติดตามผลการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การจัดท�ำ
งบประมาณจึงต้องเตรียมความพร้อมขององค์กรธุรกิจ และจัดขัน้ ตอนในการจัดท�ำงบประมาณ
สธ

อย่างมีประสิทธิภาพ
2. งบประมาณทัง้ หมดขององค์กรธุรกิจทีจ่ ดั ท�ำขึน้ เป็นงบประมาณหลัก ประกอบด้วยงบประมาณ

2 ประเภทคือ งบประมาณด�ำเนินการ และงบประมาณการเงิน งบประมาณด�ำเนินการเป็นงบ
ประมาณที่เกี่ยวข้องกับการแสดงผลการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจในช่วงระยะเวลาใด
ธ เวลาหนึ่งในอนาคต ประกอบด้วยงบประมาณก�ำไรขาดทุนและงบประมาณย่อย ซึ่งถือเป็น
ส่วนประกอบของงบประมาณก�ำไรขาดทุน
3. งบประมาณการเงินเป็นงบประมาณทีเ่ กีย่ วข้องกับการวางแผนทางการเงินขององค์กรธุรกิจใน
ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ประกอบด้วย งบประมาณแสดงฐานะการเงินและงบประมาณย่อย
มส

ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบของงบประมาณแสดงฐานะการเงิน
4. งบประมาณยืดหยุน่ เป็นงบประมาณทีจ่ ดั ท�ำใน ณ ระดับการผลิตหลายๆ ระดับเพือ่ ให้สามารถ
มส

เปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง ณ ระดับการผลิตหลายๆ ระดับนั้น ทั้งนี้เพื่อ


ประโยชน์ในการควบคุมผลการด�ำเนินงานองค์กรธุรกิจ


การงบประมาณ 9-3

สธ มส
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาหน่วยที่ 9 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการงบประมาณได้
2. จัดท�ำงบประมาณด�ำเนินการได้
3. จัดท�ำงบประมาณการเงินได้
4. จัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นได้

กิจกรรมระหว่างเรียน


สธ
1. ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนหน่วยที่ 9
2. ศึกษาเอกสารการสอนตอนที่ 9.1-9.4
3. ปฏิบัติกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมายในเอกสารการสอนแต่ละตอน


4. ท�ำกิจกรรมประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
5. ชมรายการสอนเสริมทางไกล

6. เข้ารับการสอนเสริม (ถ้ามี)
7. ท�ำแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนหน่วยที่ 9

สื่อการสอน
1. เอกสารการสอน
2. แบบฝึกปฏิบัติ
สธ

3. กิจกรรมประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)
4. รายการสอนเสริมทางไกล

5. การสอนเสริม (ถ้ามี)

การประเมินผล
ธ 1. ประเมินผลจากแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากกิจกรรมและแนวตอบท้ายเรื่อง
มส
3. ประเมินผลจากการท�ำกิจกรรมประจ�ำชุดวิชา (ถ้ามี)

4. ประเมินผลจากการสอบไล่ประจ�ำภาคการศึกษา
มส

เมื่ออ่านแผนการสอนแล้ว ขอให้ท�ำแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียน
หน่วยที่ 9 ในแบบฝึกปฏิบัติ แล้วจึงศึกษาเอกสารการสอนต่อไป


9-4 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตอนที่ 9.1
แนวคิดเกี่ยวกับการงบประมาณ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 9.1 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
9.1.1 ความส�ำคัญ ความหมาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการงบประมาณ


9.1.2 โครงสร้างงบประมาณ
สธ
9.1.3 การจัดท�ำงบประมาณ


แนวคิด
1. งบประมาณเป็นระบบการวางแผนงานทีเ่ กีย่ วข้องกับตัวเลขทางการเงินส�ำหรับการด�ำเนิน

ธุรกิจทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต นับเป็นส่วนหนึง่ ของการวางแผนทีจ่ ะท�ำให้องค์กรธุรกิจบรรลุ
เป้าหมายตามทีก่ ำ� หนดไว้ วัตถุประสงค์ทสี่ ำ� คัญของงบประมาณคือ ช่วยในการวางแผน
ช่วยในการประสานงานและก่อให้เกิดความร่วมมือ ช่วยในการแบ่งสรรทรัพยากรที่มีอยู่
อย่างจ�ำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ช่วยในการควบคุมการด�ำเนินงาน และช่วยในการ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจอีกมากมาย
2. โครงสร้างงบประมาณขององค์กรธุรกิจ จะครอบคลุมงบประมาณทัง้ หมดขององค์กรธุรกิจ
สธ

ทีจ่ ดั ท�ำขึน้ โดยมีองค์ประกอบ 2 ส่วนคือ งบประมาณด�ำเนินการและงบประมาณการเงิน


รูปแบบการจัดท�ำงบประมาณในองค์กรท�ำได้หลายลักษณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์

ในการจัดท�ำ
3. การจัดท�ำงบประมาณจ�ำเป็นต้องสร้างพืน้ ฐานและเตรียมความพร้อมให้บคุ ลากรในองค์กร
ธุรกิจตั้งแต่ระดับผู้บริหารลงมาถึงพนักงาน โดยผู้บริหารทุกระดับของแต่ละหน่วยงาน
ในองค์กรจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณ ส�ำหรับขั้นตอนในการจัดท�ำงบ
ธ ประมาณจะเริ่มตั้งแต่ ก�ำหนดนโยบายและแนวทางในการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจ
คาดคะเนหรือพยากรณ์ยอดขาย จัดท�ำงบประมาณประเภทอื่นๆ ประสานงานและ
มส

ตรวจสอบงบประมาณ อนุมตั งิ บประมาณ การจัดท�ำและแจกจ่ายงบประมาณฉบับสมบูรณ์


และควบคุมและติดตามผลงาน
มส


การงบประมาณ 9-5

สธ มส
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 9.1 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความส�ำคัญของการงบประมาณในการบริหารจัดการธุรกิจได้
2. อธิบายความหมาย วัตถุประสงค์และประโยชน์ของการงบประมาณได้
3. อธิบายโครงสร้างงบประมาณได้
4. อธิบายการจัดท�ำงบประมาณได้


สธ


สธ


มส

มส


9-6 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
เรื่องที่ 9.1.1
ความส�ำคัญ ความหมาย วัตถุประสงค์ และประโยชน์ของการงบประมาณ

ความส�ำคัญของการงบประมาณต่อการบริหารจัดการธุรกิจ
ในปัจจุบนั สภาพแวดล้อมในการด�ำเนินธุรกิจมีการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วและสลับซับซ้อนมากขึน้
องค์กรธุรกิจต้องด�ำเนินงานภายใต้ความเสีย่ งหรือความไม่แน่นอนสูง ดังนัน้ จึงอาจเกิดปัญหาหรือเหตุการณ์


สธ
ทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ได้ตลอดเวลา เพือ่ ให้องค์กรธุรกิจรอดพ้นจากเหตุการณ์ดงั กล่าว ในการบริหารจัดการธุรกิจ
จึงจ�ำเป็นต้องมีการวางแผนการด�ำเนินงานทีด่ ไี ว้ลว่ งหน้า เพือ่ ให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ทไี่ ม่แน่นอนอัน
อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงทีและดีที่สุด อันจะส่งผลให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและด�ำเนินธุรกิจต่อไปเพื่อให้


บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้
ในการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจนัน้ กระบวนการบริหาร ซึง่ ประกอบด้วย การวางแผน (Planning)

การจัดองค์กร (Organizing) การจัดบุคคลเข้าท�ำงาน (Staffing) การอ�ำนวยการ (Directing) และการ
ควบคุม (Controlling) มีการวางแผน เป็นขั้นตอนแรก และขั้นตอนที่ส�ำคัญที่สุดในการบริหาร และ
เนื่องจากการงบประมาณนับเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนที่ดี ดังนั้น องค์กรธุรกิจที่มีการวางแผนที่ดีจะ
ท�ำให้ประสบผลส�ำเร็จตามความมุง่ หมายทีต่ งั้ ไว้ได้ หากองค์กรธุรกิจขาดการวางแผนทีด่ แี ล้ว จะส่งผลท�ำให้
กระบวนการบริหารงานไม่อาจด�ำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผลได้
ในระบบการวางแผนรวมขององค์กรธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมและแผนต่างๆ หลายระดับ
สธ

การวางแผนจะเริ่มต้นจากการ วางแผนพื้นฐาน (Substantive Plan) ซึ่งจะระบุถึงลักษณะหรือประเภท


ของธุรกิจอันเป็นภารกิจหลักขององค์การ (Mission) วัตถุประสงค์และเป้าหมายรวมทั้งนโยบายหรือ

แนวทางในการด�ำเนินงานไปสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ การวางแผนโครงการ (Project
Plan) ซึ่งนับเป็นแผนที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งส�ำคัญองค์กรธุรกิจในการด�ำรงอยู่และเจริญเติบโตในระยะยาว
การวางแผนระยะยาว (Long-range Plan) ซึง่ เป็นแผนปฏิบตั กิ ารขององค์กรธุรกิจซึง่ มีระยะเวลายาวกว่า
1 ปี และโดยปกติจะใช้เป็นพื้นฐานในการจัดท�ำแผนระยะสั้น และการวางแผนระยะสั้น (Short-range

Plan) ซึง่ ถือเป็นแผนปฏิบตั กิ ารขององค์กรธุรกิจในรอบปีหนึง่ ๆ หรือทีเ่ รียกว่าแผนประจ�ำปี จะเห็นได้วา่ งบ
ประมาณจะเข้ามามีบทบาทส�ำคัญในการวางแผนรวมขององค์กรธุรกิจในระดับแผนระยะสั้นนั่นเอง เพราะ
มส

แผนระยะสัน้ หรือแผนประจ�ำปีนนั้ ก็คอื งบประมาณประจ�ำปีนน่ั เอง (มารวย ผดุงสิทธิ,์ 2539, น. 482-483)


แผนระยะสัน้ หรืองบประมาณประจ�ำปีนี้ จึงเป็นเครือ่ งมือหรือกลไกทีจ่ ะน�ำเอาวัตถุประสงค์เป้าหมาย
มส

นโยบายขององค์กรธุรกิจ และการจัดสรรทรัพยากรในรูปของตัวเงินและสิง่ ทีค่ าดหวังว่าจะได้ในรูปของก�ำไร


การเติบโต และฐานะการเงินซึ่งก�ำหนดไว้ในแผนโครงการและในแผนระยะยาว มาสู่การปฏิบัติ และจาก
การควบคุมติดตามและประเมินผลการปฏิบตั กิ ารของทุกหน่วยงานขององค์กร เปรียบเทียบกับงบประมาณ
ทีต่ งั้ ไว้ ข้อมูลทีไ่ ด้กจ็ ะน�ำไปสูก่ ารวิเคราะห์เพือ่ หาสาเหตุทที่ ำ� ให้การปฏิบตั งิ านแตกต่างไปจากงบประมาณ
และก�ำหนดแนวทางและวิธีการแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ใน


การงบประมาณ 9-7

สธ มส
งบประมาณ และในบางกรณีก็เพื่อก�ำหนดหรือปรับปรุง วัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบายและแผนงาน
ต่างๆ ในปีต่อไปเสียใหม่ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อประโยชน์ที่องค์กรนั้นๆ
จะบรรลุถึงประโยชน์ให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ฉะนั้นการงบประมาณจึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการ
บริหารงานและการประกอบการขององค์กรธุรกิจทุกประเภท (มารวย ผดุงสิทธิ์, 2539, น. 482-483)
ดังนัน้ ในการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจ ผูบ้ ริหารจึงต้องจัดท�ำแผนรวมทัง้ องค์กรเพือ่ เป็นแนวทาง
ในการด�ำเนินงานให้บรรลุวตั ถุประสงค์หรือเป้าหมายทีก่ ำ� หนดไว้ พร้อมทัง้ จัดท�ำงบประมาณควบคูก่ นั ไปด้วย
เพื่อเป็นการน�ำแผนนั้นไปสู่การปฏิบัติ โดยการก�ำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ แสดงรายละเอียดของแต่ละ
หน่วยงาน ในรูปของปริมาณงานและปริมาณเงินทีเ่ กีย่ วข้องอย่างละเอียด ซึง่ แผนทีไ่ ด้ของแต่ละหน่วยงานจะ


สธ
สอดคล้องกันและสอดคล้องกับแผนรวมขององค์กร อันจะน�ำไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่วางไว้

ความหมายของการงบประมาณ


จากความส�ำคัญของงบประมาณดังกล่าวข้างต้น จึงสามารถสรุปได้วา่ การงบประมาณ (Budgetary)
หมายถึง ระบบการวางแผนงานที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินส�ำหรับการด�ำเนินธุรกิจที่จะเกิดขึ้นใน

อนาคต โดยครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการด�ำเนินงานขององค์กร การจัดสรร
ทรัพยากรไปใช้เพือ่ บรรลุถงึ วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร และผลทีค่ าดว่าจะได้รบั จากการด�ำเนินงาน
ตามแผนนั้นๆ
เนือ่ งจากการงบประมาณเป็นเครือ่ งมือทีส่ ำ� คัญในการบริหาร ทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ทางด้านการวางแผน
องค์กรธุรกิจ (Organization’s Planning) และกระบวนการควบคุม (Control Process) ดังนั้น การ
งบประมาณจึงหมายรวมถึง การจัดท�ำงบประมาณ (Budget Preparation) และการควบคุมโดยงบประมาณ
สธ

(Budgetary Control) ด้วย



วัตถุประสงค์ของการงบประมาณ
จากบทบาทและความส�ำคัญของการงบประมาณดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าการงบประมาณ
มีประโยชน์ตอ่ การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจให้ประสบผลส�ำเร็จตามความมุง่ หมายขององค์กรได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าการงบประมาณมีวัตถุประสงค์ที่ส�ำคัญดังนี้คือ
1. เพื่อให้เกิดการวางแผน (Planning) การงบประมาณช่วยให้การวางแผนขององค์กรธุรกิจเป็น
รูปธรรมน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ทิ เี่ ป็นจริงต่อไป กระบวนการจัดท�ำงบประมาณจะมีสว่ นผลักดันให้ทกุ คนในองค์กร
มส

ธุรกิจต้องวางแผนการล่วงหน้า ส�ำหรับช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ท�ำให้ได้แผนรวมขององค์กรธุรกิจที่


เหมาะสม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดขององค์กร
มส

2. เพื่อให้เกิดการประสานงานและก่อให้เกิดความร่วมมือ (Facilitating Communication and


Coordination) องค์กรธุรกิจจะประสบผลส�ำเร็จในการด�ำเนินงานได้ หน่วยงานต่างๆ ในองค์กรต้องทราบ
แผนงานของตนเองและหน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้สามารถปฏิบตั ไิ ด้อย่างเป็นผลส�ำเร็จ กระบวนการ
จัดท�ำงบประมาณจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการประสานงานกันระหว่างแผนงานของหน่วยงานต่างๆ


9-8 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ในองค์กร ก่อให้เกิดการแลกเปลีย่ นข้อคิดเห็นระหว่างบุคคลในองค์กร ลดความขัดแย้งและก่อให้เกิดความ
ร่วมมือกันในการท�ำงานอีกด้วย
3. เพื่อให้เกิดการแบ่งสรรทรัพยากร (Allocating Resources) เนือ่ งจากองค์กรธุรกิจมีทรัพยากร
อยูอ่ ย่างจ�ำกัด และจะต้องถูกน�ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สงู สุด กระบวนการจัดท�ำงบประมาณจึงมีสว่ นช่วยให้
หน่วยงานต่างๆ ในองค์กรธุรกิจได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. เพื่อให้เกิดการควบคุมการด�ำเนินงาน (Controlling Operations) ผลการปฏิบตั งิ านทีเ่ กิดขึน้
จริงเมื่อเปรียบเทียบกับแผนงบประมาณที่วางไว้ ท�ำให้ทราบถึงผลการด�ำเนินงานว่าประสบผลส�ำเร็จมาก
น้อยเพียงใด บรรลุเป้าหมายขององค์กรธุรกิจหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เกิดจากการปฏิบตั งิ าน


ของหน่วยงานใด ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
สธ
5. เพือ่ ให้เกิดการประเมินผลการปฏิบตั งิ านและท�ำให้เกิดแรงกระตุน้ ในการท�ำงาน (Evaluating
Performance and Providing Incentive) การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับแผนงานที่


ก�ำหนดไว้ในงบประมาณ ท�ำให้การประเมินผลการปฏิบัติงานท�ำได้ดีขึ้นและทั่วถึงทั้งองค์กร ตั้งแต่ ฝ่าย
แผนก ไปจนถึงแต่ละบุคคลในองค์กร เนือ่ งจากการงบประมาณช่วยในการประเมินผลการปฏิบตั งิ านนีเ้ อง
ส่งผลท�ำให้เกิดการกระตุ้นให้บุคลากรในองค์กรให้แข่งขันกันปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายหรือเกิน

เป้าหมายที่ก�ำหนดไว้ เพื่อตนเองจะได้รับผลตอบแทนจากการประเมินผลการปฏิบัติงานให้อยู่ในเกณฑ์
ที่ดีอยู่ตลอดเวลา

ประโยชน์ของการงบประมาณ
จากความหมายและวัตถุประสงค์ของการงบประมาณ จะเห็นได้วา่ งบประมาณก่อให้เกิดประโยชน์
สธ

ที่ส�ำคัญต่อ การวางแผน การประสานงาน การแบ่งสรรทรัพยากร การควบคุมการด�ำเนินงาน และการ


ประเมินผลการปฏิบัติงาน นอกจากนี้งบประมาณยังมีประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจในด้านอื่นๆ ดังนี้
1. ช่วยท�ำให้เกิดการประสานแผนการด�ำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรธุรกิจให้สอดคล้อง

กันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2. ช่วยกระตุ้นให้ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาวางแผนการด�ำเนินงานในอนาคตขององค์กรธุรกิจไว้
ตลอดเวลา
ธ 3. เป็นเครือ่ งมือในการแบ่งสรรทรัพยากรให้กระจายไปยังหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรธุรกิจได้อย่าง
ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
มส
4. ช่วยให้บุคลากรทุกระดับในองค์กรมีส่วนร่วมในการวางแผนการด�ำเนินงานของธุรกิจ

5. ช่วยให้ฝา่ ยบริหารมีการพิจารณาจัดระบบบัญชีขององค์กรธุรกิจให้สอดคล้องกับการใช้งบประมาณ
6. ช่วยท�ำให้พนักงานขององค์กรปฏิบัติงานได้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร
มส

ธุรกิจ เนื่องจากผลการปฏิบัติงานจริงจะถูกน�ำมาเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ก�ำหนดจากแผนการ
ด�ำเนินงานที่วางไว้


การงบประมาณ 9-9

สธ มส
กิจกรรม 9.1.1
1. การงบประมาณ หมายถึงอะไร
2. การงบประมาณมีความส�ำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจอย่างไร อธิบายมาพอสังเขป
3. จงบอกวัตถุประสงค์ของการงบประมาณที่ส�ำคัญ
4. จงบอกถึงประโยชน์ของการงบประมาณมา 3 ข้อ

แนวตอบกิจกรรม 9.1.1
1. การงบประมาณ หมายถึง ระบบการวางแผนทีเ่ ป็นตัวเลขเกีย่ วกับการด�ำเนินธุรกิจขององค์กร


สธ
ธุรกิจใดธุรกิจหนึง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ภายในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึง่ ในอนาคต การงบประมาณนีจ้ ะครอบคลุม
ไปถึงการจัดท�ำงบประมาณและการควบคุมโดยงบประมาณด้วย


2. งบประมาณนับเป็นส่วนหนึง่ ของการวางแผนทีด่ ขี ององค์กรธุรกิจ ในอันทีจ่ ะน�ำนโยบายในการ
ด�ำเนินงานที่ก�ำหนดไว้ในแผนพื้นฐาน แผนโครงการ และแผนระยะยาว ไปสู่การปฏิบัติ โดยจัดท�ำเป็น
แผนระยะสั้นหรืองบประมาณประจ�ำปีขึ้น นอกจากนี้งบประมาณยังเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมการ

ด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจ กล่าวคือ การควบคุมโดยงบประมาณ จะช่วยติดตามและประเมินผลการ
ปฏิบัติการของทุกหน่วยงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่ก�ำหนดไว้ในงบประมาณ
อันจะน�ำไปสูเ่ ป้าหมายขององค์กรทีว่ างไว้ ดังนัน้ การงบประมาณจึงมีความส�ำคัญยิง่ ต่อการบริหารจัดการ
ธุรกิจ
3. วัตถุประสงค์ของการงบประมาณที่ส�ำคัญนี้
สธ

3.1 เพื่อให้เกิดการวางแผน
3.2 เพื่อให้เกิดการประสานงานและก่อให้เกิดความร่วมมือ
3.3 เพื่อให้เกิดการแบ่งสรรทรัพยากร

3.4 เพื่อให้เกิดการควบคุมการด�ำเนินงาน
3.5 เพื่อให้เกิดการประเมินผลการปฏิบัติงานและก่อให้เกิดแรงจูงใจในการท�ำงาน
4. ประโยชน์ของการงบประมาณ
ธ 4.1 ช่วยท�ำให้เกิดการประสานแผนการด�ำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรธุรกิจให้
สอดคล้องกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
มส
4.2 ช่วยกระตุ้นให้ฝ่ายบริหารต้องพิจารณาวางแผนการด�ำเนินงานในอนาคตขององค์กร

ธุรกิจไว้ตลอดเวลา
4.3 เป็นเครือ่ งมือในการแบ่งสรรทรัพยากรให้กระจายไปยังหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรธุรกิจ
มส

ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ


9-10 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
เรื่องที่ 9.1.2
โครงสร้างงบประมาณ

ดังได้กล่าวมาแล้วว่างบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของระบบการวางแผนรวมขององค์กรธุรกิจ ซึ่ง
ประกอบด้วยแผนงานต่างๆ หลายชนิดทีม่ คี วามต่อเนือ่ งและสนับสนุนซึง่ กันและกัน แผนงานทีส่ ำ� คัญเหล่านี้
ได้แก่ แผนพื้นฐานซึ่งใช้เป็นแนวทางหรือพื้นฐานในการจัดท�ำแผนอื่นๆ แผนพื้นฐานนี้ประกอบด้วย


วัตถุประสงค์กว้างๆ เป้าหมายเจาะจง นโยบายขององค์กรธุรกิจ และแนวทางในการจัดท�ำแผน แผนระยะ
สธ
ยาว ซึง่ ใช้เป็นแนวทางในการจัดท�ำแผนระยะสัน้ และแผนระยะสัน้ หรืองบประมาณประจ�ำปีซงึ่ ใช้เป็นเครือ่ ง
มือทีจ่ ะน�ำวัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบายขององค์กรธุรกิจในแผนพืน้ ฐาน แผนโครงการและแผนระยะยาว


นีไ้ ปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติการนั้น
จะเห็นได้วา่ แผนระยะสัน้ หรืองบประมาณประจ�ำปีนนั้ ถือเป็น งบประมาณหลัก (Master Budget)

ในการงบประมาณขององค์กรธุรกิจ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงแผนขององค์กรโดยส่วนรวมในช่วงระยะเวลาใด
ระยะเวลาหนึง่ งบประมาณหลักนีจ้ ะประกอบด้วยงบประมาณประเภทต่างๆ ทัง้ หมดขององค์กร ซึง่ สามารถ
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ งบประมาณด�ำเนินการ และงบประมาณการเงิน
งบประมาณด�ำเนินการ (Operating Budget) เป็นงบประมาณทีเ่ กีย่ วข้องกับการด�ำเนินงานของ
องค์กรธุรกิจ ซึ่งได้แก่ งบประมาณเกี่ยวกับรายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งจะแสดงผลการด�ำเนินงานหรือก�ำไร
ขาดทุนขององค์กรธุรกิจในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง งบประมาณด�ำเนินการ ประกอบด้วย งบประมาณ
สธ

ดังนี้
1. งบประมาณขาย (Sales Budget)
2. งบประมาณการผลิต (Production Budget)

3. งบประมาณวัตถุใช้ไป ( Materials Used Budget)
4. งบประมาณจัดซื้อวัตถุ (Materials Purchased Budget)
5. งบประมาณค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor Budget)
ธ 6. งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead Budget)
7. งบประมาณสินค้าคงเหลือ (Inventory Budget)
มส

8. งบประมาณต้นทุนขาย (Cost of Sales Budget)


9. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expense Budget)
10. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative Expense Budget)
มส

11. งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น (Other Income and Expense Budget)


12. งบประมาณก�ำไรขาดทุน (Budgeted Income Statement)
รายละเอียดของงบประมาณด�ำเนินการ จะได้ศึกษาต่อไปในตอนที่ 9.2


การงบประมาณ 9-11

สธ มส
งบประมาณการเงิน (Financial Budget) เป็นงบประมาณทีแ่ สดงถึงการวางแผนทางการเงินของ
องค์กรธุรกิจในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึง่ งบประมาณการเงินประกอบด้วยงบประมาณประเภทต่างๆ ดังนี้
1. งบประมาณเงินสด (Cash Budget)
2. งบประมาณรายจ่ายลงทุน (Capital Budget)
3. งบประมาณแสดงฐานะการเงิน (Budgeted Statement of Financial Position)
รายละเอียดของงบประมาณการเงิน จะได้ศึกษาต่อไปในตอนที่ 9.3
นอกจากนี้ในงบประมาณหลักขององค์กรธุรกิจยังสามารถจัดท�ำงบประมาณอื่นหรืองบวิเคราะห์
อื่นนอกเหนือจากงบประมาณด�ำเนินการและงบประมาณการเงินได้ ทั้งนี้เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์


สธ
งบประมาณหรืองบวิเคราะห์อื่นที่อาจจัดท�ำขึ้น เช่น งบการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณและก�ำไร เป็นต้น
เพื่อให้เข้าใจรูปแบบแผนของงบประมาณได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ภาพที่ 9.1 จึงได้แสดงภาพของระบบ
การวางแผนรวมขององค์กรธุรกิจไว้ โดยมีงบประมาณเป็นส่วนหนึง่ ของแผนรวมขององค์กรธุรกิจทีจ่ ดั ท�ำขึน้


แผนพื้นฐาน

(Substantive Plan)

แผนโครงการ แผนระยะยาว
(Project Plan) (Long-Range Plan)

แผนระยะสั้นหรืองบประมาณประจ�ำปี
(Annual Budget)
สธ

งบประมาณด�ำเนินการ งบประมาณการเงิน งบประกอบอื่น ๆ



(Operating Budget) (Financial Budget) - งบประมาณยืดหยุ่น
- งบประมาณขาย - งบประมาณรายจ่ายลงทุน - งบการวิเคราะห์ต้นทุน
- งบประมาณการผลิต - งบประมาณเงินสด ปริมาณ และก�ำไร
- งบประมาณวัตถุใช้ไป - งบประมาณแสดงฐานะการเงิน
- งบประมาณจัดซื้อวัตถุ
ธ - งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
- งบประมาณสินค้าคงเหลือ
- งบประมาณต้นทุนขาย
มส

- งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
- งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
- งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น
มส

- งบประมาณก�ำไรขาดทุน

ภาพที่ 9.1 งบประมาณเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานขององค์กรธุรกิจ




9-12 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

มส
ความสัมพันธ์ภายในงบประมาณหลักขององค์กรธุรกิจ
ในการจัดท�ำงบประมาณขององค์กรธุรกิจ ขั้นตอนแรกของการจัดท�ำงบประมาณหลักคือ การจัด
ท�ำงบประมาณขาย ซึง่ ได้คาดคะเนหรือพยากรณ์ยอดขายด้วยการวิเคราะห์ปจั จัยแวดล้อมต่างๆ ทัง้ ภายใน
และภายนอกองค์กรธุรกิจ ทีม่ ผี ลกระทบต่อการขายสินค้าหรือบริการขององค์กรธุรกิจในช่วงปีงบประมาณ
นั้นๆ ไว้อย่างถูกต้อง แล้วน�ำมาจัดท�ำงบประมาณขาย จากนั้นจึงน�ำข้อมูลจากงบประมาณขายมาจัดท�ำ
งบประมาณอื่นๆ ดังนั้น งบประมาณขายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดท�ำงบประมาณอื่นๆ ในงบประมาณ
หลัก หากข้อมูลที่น�ำมาใช้ในการจัดท�ำงบประมาณขายมีความถูกต้อง แม่นย�ำ ย่อมส่งผลให้ขัอมูลในการ
จัดท�ำงบประมาณอื่นๆ ในงบประมาณหลักมีความถูกต้องแม่นย�ำตามไปด้วย นั่นหมายความว่าข้อมูลใน

มส

งบประมาณก�ำไรขาดทุน งบประมาณเงินสด และงบประมาณงบแสดงฐานะการเงิน ซึ่งเป็นงบประมาณ
ส�ำคัญในงบประมาณหลัก ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นย�ำสอดคล้องกับแผนรวมขององค์กรธุรกิจ อันน�ำไปสู่
วัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรธุรกิจและผลที่คาดว่าจะได้รับจากการด�ำเนินงานตามแผนที่วางไว้
มส
ดังนั้น งบประมาณขายจึงเป็นงบประมาณที่มีความส�ำคัญที่สุดในการจัดท�ำงบประมาณหลัก และ
มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ งบประมาณอื่ น ๆ ชึ่ ง มี ค วามสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั น ซึ่ ง กั น และกั น ภายใน
งบประมาณหลัก (The master Budget Interrelationships) ดังแสดงในภาพที่ 9.2
งบแรกที่ต้องทำ
ธ งบประมาณขาย

งบประมาณ งบประมาณค่าใช้จ่าย
สินค้าคงเหลือ ในการขายและบริหาร
งบประมาณการผลิต
มส
สธ

(สินค้าส�ำเร็จรูป)
งบประมาณรายได้
และค่าใช้จ่ายอื่น

งบประมาณเงินสด
งบประมาณ
สินค้าคงเหลือ งบประมาณวัตถุ งบประมาณ งบประมาณ งบประมาณ
(วัตถุทางตรง
คงเหลือ)
ทางตรงใช้ไป ค่าแรงทางตรง

ค่าใช้จ่ายการผลิต รายจ่ายลงทุน
มส

งบประมาณ
สินค้าคงเหลือ
มส

งบประมาณต้นทุนขาย
(งานระหว่างท�ำและ
สินค้าส�ำเร็จรูป) งบประมาณแสดง
งบประมาณก�ำไรขาดทุน ฐานะการเงิน

ภาพที่ 9.2 ความสัมพันธ์ของงบประมาณขายและงบประมาณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันในงบประมาณหลัก




การงบประมาณ 9-13

สธ มส
รูปแบบการจัดท�ำงบประมาณในองค์กร
งบประมาณต่างๆ ทีก่ ล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถจัดท�ำได้หลายลักษณะ ทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั วัตถุประสงค์
ในการจัดท�ำงบประมาณ เช่น งบประมาณส่วนเพิ่ม งบประมาณฐานกิจกรรม งบประมาณฐานศูนย์
งบประมาณคงที่ งบประมาณยืดหยุ่น เป็นต้น
งบประมาณส่วนเพิ่ม (Incremental Budget) เป็นงบประมาณที่จัดท�ำขื้นโดยใช้เกณฑ์ส่วนเพิ่ม
(Incremental Approach) กล่าวคือ งบประมาณที่จัดท�ำในปีหน้า จะใช้งบประมาณในปีปัจจุบันเป็นฐาน
แล้วปรับด้วยการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่พยากรณ์ไว้ในปีหน้า เช่น การเพิ่มขึ้นของยอดขายที่พยากรณ์
ไว้ ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น อัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น


สธ
งบประมาณฐานกิจกรรม (Activity-Based Budget) เป็นงบประมาณที่จัดท�ำขื้นโดยใช้เกณฑ์
ฐานกิจกรรม (Activity-Based Approach) ซึ่งถือว่ากิจกรรมเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่
ถูกต้องและเหมาะสม ข้อมูลของงบประมาณฐานกิจกรรมจึงมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร


งบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based Budget) เป็นงบประมาณที่จัดท�ำขื้นโดยใช้เกณฑ์ฐานศูนย์
(Zero-Based Approach) หมายความว่า งบประมาณทีจ่ ดั ท�ำขืน้ ในปีหน้า จะไม่อาศัยข้อมูลในงบประมาณ

ปีปัจจุบัน แต่จะตั้งต้นจากศูนย์ แล้วใช้การวิเคราะห์โครงการหรือกิจกรรมที่ทำ� ในปัจจุบัน เป็นฐานในการ
จัดท�ำงบประมาณ โดยโครงการหรือกิจกรรมใดที่ไม่คุ้มค่าก็จะยกเลิกไป
งบประมาณคงที่ (Fixed Budget) เป็นงบประมาณทีจ่ ดั ท�ำในลักษณะทีก่ ารก�ำหนดการผลิตคงที่
ณ ระดับการผลิตระดับหนึ่ง แล้ววัดผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณ ณ ระดับการผลิตนั้น
ระดับเดียว
งบประมาณยืดหยุ่น (Flexible Budget) เป็นงบประมาณที่จัดท�ำขื้น ณ ระดับการผลิตหลายๆ
สธ

ระดับ เพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตในระดับนั้นๆ เมื่อเกิดผลการปฏิบัติจริง ณ ระดับการผลิตใด ก็จะ


เปรียบเทียบกับงบประมาณ ณ ระดับการผลิตนั้น ผลต่างที่เกิดขึ้นจะให้ความหมายและสามารถน�ำไป

วิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุต่อไป
ส�ำหรับรูปแบบการจัดท�ำงบประมาณในองค์กร ในหน่วยนี้จะกล่าวเฉพาะงบประมาณคงที่และ
งบประมาณยืดหยุ่นเท่านั้น ซึ่งจะได้ศึกษารายละเอียดของงบประมาณทั้ง 2 ชนิดต่อไปในตอนที่ 9.4

กิจกรรม 9.1.2
มส

1. งบประมาณหลักขององค์กรธุรกิจหมายถึงอะไร ประกอบด้วยงบประมาณอะไรบ้าง
2. งบประมาณใดเป็นงบประมาณที่ส�ำคัญที่สุดในการจัดท�ำงบประมาณหลัก
มส


9-14 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.1.2
1. งบประมาณหลักขององค์กรธุรกิจ หมายถึง งบประมาณย่อยต่างๆ ทั้งหมดขององค์กรที่มา
รวมกันเป็นระบบงบประมาณขององค์กรธุรกิจซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาพของการวางแผนรวมขององค์กรใน
ช่วงระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่ง
งบประมาณหลัก ประกอบด้วยงบประมาณใหญ่ 2 ประเภทคือ งบประมาณด�ำเนินการและ
งบประมาณการเงิน
2. งบประมาณขาย เป็นงบประมาณที่ส�ำคัญที่สุดในงบประมาณหลัก


สธ

เรื่องที่ 9.1.3
การจัดท�ำงบประมาณ

ในการจัดท�ำงบประมาณทีด่ นี นั้ ผูบ้ ริหารจ�ำเป็นต้องสร้างพืน้ ฐานและเตรียมความพร้อมขององค์กร
ธุรกิจให้เพียงพอ ก�ำหนดความรับผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณ รวมทั้งจัดท�ำขั้นตอนในการจัดท�ำ
งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะท�ำให้ได้งบประมาณที่ดีที่สามารถน�ำไปใช้ได้อย่างประสบผลส�ำเร็จ
ในทางปฏิบัติ
สธ

1. การสร้างพื้นฐานและเตรียมความพร้อมขององค์กรธุรกิจ งบประมาณจะประสบผลส�ำเร็จได้
ด้วยองค์กรธุรกิจต้องมีสภาพการด�ำเนินงานทีพ่ ร้อมและเอือ้ ต่อการน�ำงบประมาณมาใช้ในการวางแผนการ

ด�ำเนินธุรกิจ ดังนั้น ผู้บริหารจึงมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสร้างพื้นฐานและเตรียมความพร้อมของ
องค์กรธุรกิจในสิ่งต่างๆ ดังนี้
ธ 1.1 ผูบ้ ริหารจะต้องสร้างทัศนคติทดี่ ตี อ่ งบประมาณ กล่าวคือ ผูบ้ ริหารจะต้องมีความเชือ่ มัน่
ในการงบประมาณ วิธกี ารปฏิบตั ิ และผลลัพธ์ทจ่ี ะเกิดขึน้ ในทางทีด่ ใี นเบือ้ งต้นก่อน งบประมาณจึงจะประสบ
ผลส�ำเร็จได้
มส
1.2 ผู้บริหารต้องจัดโครงสร้างองค์กรที่ดี และก�ำหนดอ�ำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบของ

หน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจน เพราะงบประมาณจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องสอดคล้องกับการจัดโครงสร้าง


องค์กรที่ดี
มส

1.3 ผูบ้ ริหารจะต้องจัดท�ำระบบบัญชีขององค์กรให้เป็นแบบระบบการบัญชีตามความรับผิดชอบ


เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถได้ข้อมูลได้ตรงตามความต้องการในการจัดท�ำงบประมาณ
1.4 ผูบ้ ริหารจะต้องจัดท�ำงบประมาณทีส่ อดคล้องและเหมาะสมกับลักษณะขององค์กรธุรกิจ
เพื่อให้สามารถน�ำไปใช้ได้ผลดีในทางปฏิบัติ


การงบประมาณ 9-15

มส
1.5 ผู้บริหารจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับในองค์กร มีส่วนร่วมในการ
จัดท�ำงบประมาณ
1.6 ผู้บริหารจะต้องจัดการศึกษาอบรมเกี่ยวกับการงบประมาณให้แก่บุคลากรทุกระดับ
ในองค์กร ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้เข้าใจถึง วัตถุประสงค์ ขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ ตลอดจนวิธปี ฏิบตั ิ
รวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการงบประมาณ
2. ความรับผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณ การจัดท�ำงบประมาณเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ
ของผูบ้ ริหารหน่วยงานต่างๆ ทุกระดับขององค์กรธุรกิจทีจ่ ะต้องจัดท�ำงบประมาณในหน่วยงานของตน แล้ว
น�ำมารวมกันเข้าเป็นงบประมาณรวมขององค์กรธุรกิจ โดยมีผอู้ ำ� นวยการงบประมาณหรือผูอ้ ำ� นวยการฝ่าย

มส

บัญชีซึ่งได้รับมอบหมายโดยตรงจากผู้บริหารระดับสูง จะเป็นผู้รวบรวมงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ
แล้วจัดท�ำเป็นงบประมาณรวมขององค์กรธุรกิจเสนอผู้บริหารระดับสูงต่อไป
ดังนั้น ผู้อ�ำนวยการงบประมาณจึงมีหน้าที่ในการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กร
มส
สนับสนุนข้อมูล วิเคราะห์หรือการเปรียบเทียบข้อมูลหรือผลที่จะเกิดขึ้นจากการด�ำเนินงานตามทางเลือก
ต่างๆ รวมทั้งการเสนอแนะในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดท�ำงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ส่วน
การจัดท�ำการปฏิบตั แิ ละการตัดสินใจจะเป็นหน้าทีข่ องผูบ้ ริหารทีร่ บั ผิดชอบในหน่วยงานต่างๆ และผูบ้ ริหาร
ระดับสูงขององค์กรธุรกิจ
ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบในการจั ด ท� ำ งบประมาณในองค์ ก รธุ ร กิ จ อาจจั ด ตั้ ง เป็ น รู ป ของคณะกรรมการ

งบประมาณ ซึง่ ประกอบด้วยหัวหน้าผูบ้ ริหาร ท�ำหน้าทีเ่ ป็นประธานและมีรองหัวหน้าผูบ้ ริหารและผูอ้ ำ� นวย
การฝ่ายต่างๆ ท�ำหน้าที่เป็นกรรมการ และมีผู้อ�ำนวยการฝ่ายงบประมาณเป็นเลขานุการ คณะกรรมการ
งบประมาณนี้จะมีหน้าที่ช่วยเหลือในการจัดท�ำงบประมาณและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ดังนี้คือ
มส
สธ

2.1 ก�ำหนดนโยบายและระยะเวลาในการจัดท�ำงบประมาณ ว่าจะต้องจัดท�ำงบประมาณอะไร


บ้าง ในช่วงระยะเวลาใด โดยระบุวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดในการจัดท�ำงบประมาณ
2.2 จัดท�ำคู่มืองบประมาณ คู่มืองบประมาณถือเป็นเอกสารที่ใช้เป็นแนวทางในการจัดท�ำ
งบประมาณ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อก�ำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณของ
หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เกิดการประสานงานที่ดีร่วมกันในการจัดท�ำงบประมาณ
2.3 จัดหาข้อมูลให้หน่วยงานต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดท�ำงบประมาณ

2.4 ให้คำ� แนะน�ำและปรึกษาแก่ผบู้ ริหารทุกระดับของหน่วยงานต่างๆ ในการจัดท�ำงบประมาณ
2.5 รวบรวมงบประมาณของหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งทดสอบถึงความสอดคล้องของ
มส

งบประมาณกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์กรธุรกิจ แล้วจัดท�ำเป็นงบประมาณรวมของ


องค์กรธุรกิจ
มส

2.6 ให้ค�ำแนะน�ำในการแก้ไขงบประมาณของหน่วยงานบางหน่วยงานได้
2.7 พิจารณารวบรวมรายงานผลปฏิบตั งิ านจริงเปรียบเทียบกับงบประมาณ เพือ่ ด�ำเนินการ
วิเคราะห์และหาแนวทางแก้ไข
2.8 ให้ข้อแนะน�ำในการปรับปรุงแก้ไข หากผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานใดไม่เป็นไป
ตามงบประมาณ แล้วเสนอผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเพื่อพิจารณา


9-16 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

มส
3. ขั้นตอนการจัดท�ำงบประมาณ เมื่อองค์กรธุรกิจมีความพร้อมที่จะน�ำงบประมาณมาใช้ในการ
วางแผนการด�ำเนินธุรกิจเพือ่ ให้บรรลุตามเป้าหมายทีว่ างไว้แล้ว ขัน้ ต่อไปเป็นการก�ำหนดขัน้ ตอนการจัดท�ำ
งบประมาณ ซึ่งนับว่ามีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ การก�ำหนดขั้นตอนการจัดท�ำงบประมาณที่เหมาะสม
จะช่วยให้ได้งบประมาณทีด่ แี ละสามารถน�ำไปใช้ให้เกิดสัมฤธิผลได้ดอี ย่างยิง่ ขัน้ ตอนการจัดท�ำงบประมาณมี
ดังนี้
3.1 ก�ำหนดนโยบายและแนวทางการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจ โดยการประชุมร่วมกัน
ของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนในการจัดท�ำงบประมาณ โดยเริ่มจาก
การประเมินสภาวะแวดล้อมขององค์กรธุรกิจ เพื่อประเมินผลกระทบของปัจจัยทั้งภายในและภายนอก

มส

องค์กรธุรกิจ และสิง่ แวดล้อมต่างๆ ทีม่ ตี อ่ การด�ำเนินงานทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตว่าจะมีผลกระทบต่อองค์กร
ธุรกิจโดยส่วนรวมเป็นอย่างใด ด้วยการวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยต่างๆ เหล่านั้นทั้งในระยะสั้นและ
ระยะยาว แล้วน�ำมาใช้ในการจัดท�ำแผนหรืองบประมาณขององค์กรธุรกิจ เพื่อให้องค์กรธุรกิจสามารถ
มส
ด�ำเนินงานได้อย่างราบรืน่ และประสบผลส�ำเร็จ จากการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของปัจจัยดังกล่าว
องค์กรธุรกิจก็สามารถก�ำหนดเป็นวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายในการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจ
ได้ตามล�ำดับ หน่วยงานต่างๆ ก็จะใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางในการจัดท�ำงบประมาณในหน่วยงานของ
ตนเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายขององค์กรธุรกิจที่ตั้งไว้ต่อไป
3.2 คาดคะเนหรือพยากรณ์ยอดขาย ผู้บริหารระดับสูงจะต้องค�ำนึงถึงสถานการณ์และ

ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจดังกล่าวข้างต้น จากนั้นน�ำมาพิจารณาก�ำหนดเป็น
ประมาณการยอดขายหรือรายได้ขึ้น แล้วจัดท�ำเป็นงบประมาณขาย
3.3 จัดท�ำงบประมาณอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้งบประมาณขายที่ได้รับความเห็นชอบจาก
มส
สธ

คณะกรรมการงบประมาณแล้ว หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณก็จะน�ำไป


จัดท�ำงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องของตน รวมทั้งงบประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์และควบคุมการ
ด�ำเนินงานตามงบประมาณ
3.4 ประสานงานและตรวจสอบงบประมาณ งบประมาณที่จัดท�ำเสร็จเรียบร้อยแล้วของ
แต่ละหน่วยงานจะน�ำมารวบรวมเพื่อตรวจสอบว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และนโยบายของ
องค์กรธุรกิจหรือไม่ หากมีข้อขัดแย้งก็ต้องด�ำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อแก้ไขให้เสร็จสิ้น แล้วน�ำมา
จัดท�ำเป็นงบประมาณรวมขององค์กรธุรกิจต่อไป

3.5 อนุมัติงบประมาณ งบประมาณรวมขององค์กรธุรกิจที่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก
มส

คณะกรรมการงบประมาณเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการงบประมาณจะน�ำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงเพื่อ
อนุมัติในขั้นสุดท้ายต่อไป
มส

3.6 จัดท�ำและแจกจ่ายงบประมาณฉบับสมบูรณ์ คณะกรรมการงบประมาณจะจัดท�ำ


งบประมาณทีไ่ ด้รบั อนุมตั จิ ากผูบ้ ริหารระดับสูงแล้วเป็นงบประมาณฉบับสมบูรณ์ แจกจ่ายให้แก่ผทู้ เี่ กีย่ วข้อง
เพือ่ ใช้ในการปฏิบตั งิ านตามแผนงานหรืองบประมาณทีต่ นได้รบั อนุมตั ิ นอกจากนีเ้ พือ่ ใช้ในการเปรียบเทียบ
ผลการปฏิบัติงานกับงบประมาณที่ก�ำหนดไว้


การงบประมาณ 9-17

สธ มส
3.7 ควบคุมและติดตามผลงาน งบประมาณที่จัดท�ำขึ้น นอกจากจะใช้ป็นแผนงานในการ
ปฏิบตั งิ านแล้ว ยังใช้เปรียบเทียบกับผลการปฏิบตั งิ านจริง เพือ่ ใช้ในการควบคุมและติดตามการด�ำเนินงาน
ให้เป็นไปตามแผนงานหรืองบประมาณอีกด้วย ผลการด�ำเนินงานที่แตกต่างจากแผนงานหรืองบประมาณ
ที่ไม่น่าพอใจ ควรต้องมีการวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ผู้บริหารอาจปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงแผนงานหรืองบประมาณใหม่ได้หากพิจารณาเห็นว่าแผนงานหรืองบประมาณที่วางไว้ไม่
เหมาะสม


สธ
กิจกรรม 9.1.3
1. เหตุใดจึงกล่าวว่างบประมาณจะดีและใช้ได้ผล ผู้บริหารจ�ำเป็นต้องสร้างพื้นฐานส�ำหรับความรู้
ความเข้าใจให้กับผู้บริหารทุกระดับรวมทั้งพนักงานขององค์กรธุรกิจ


2. ผู้ใดมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณรวมขององค์กรธุรกิจ
3. จงระบุขั้นตอนในการจัดท�ำงบประมาณ

แนวตอบกิจกรรม 9.1.3
1. เหตุทกี่ ล่าวว่างบประมาณจะดีและใช้ได้ผล ผูบ้ ริหารจ�ำเป็นต้องสร้างพืน้ ฐานส�ำหรับความรูค้ วาม
เข้าใจให้กบั ผูบ้ ริหารทุกระดับรวมทัง้ พนักงานขององค์กรธุรกิจนัน้ ก็เพราะว่าการจัดท�ำงบประมาณจ�ำเป็น
ต้องได้รบั ความร่วมมือจากผูบ้ ริหารทุกระดับและพนักงานขององค์กรธุรกิจ การให้ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ ว
กับวัตถุประสงค์ วิธีการปฏิบัติ ความรับผิดชอบและผลประโยชน์ที่แต่ละคนจะได้รับจากการงบประมาณ
สธ

จะช่วยส่งเสริมให้การจัดท�ำงบประมาณเกิดการประสานงานที่ดี ด�ำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบผล
ส�ำเร็จในการน�ำไปใช้

2. ผูอ้ ำ� นวยการงบประมาณหรือคณะกรรมการงบประมาณ เป็นผูม้ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบในการจัดท�ำ
งบประมาณรวมขององค์กรธุรกิจ
3. ขั้นตอนในการจัดท�ำงบประมาณมีดังนี้
3.1 ก�ำหนดนโยบายและแนวทางในการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจ
ธ 3.2 คาดคะเนหรือพยากรณ์ยอดขาย
3.3 จัดท�ำงบประมาณอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
มส

3.4 ประสานงานและตรวจสอบงบประมาณ
3.5 อนุมัติงบประมาณ
มส

3.6 จัดท�ำและแจกจ่ายงบประมาณฉบับสมบูรณ์
3.7 ควบคุมและติดตามผลงาน


9-18 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตอนที่ 9.2
การจัดท�ำงบประมาณด�ำเนินการ
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 9.2 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
9.2.1 งบประมาณขาย


9.2.2 งบประมาณเกี่ยวกับการผลิต
สธ
9.2.3 งบประมาณสินค้าคงเหลือและงบประมาณต้นทุนขาย
9.2.4 งบประมาณค่าใช้จ่าย


9.2.5 งบประมาณก�ำไรขาดทุน

แนวคิด

1. งบประมาณขายเป็นงบประมาณหลักในการจัดท�ำงบประมาณอื่นที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น
กิจการต้องประมาณการยอดขายให้ใกล้เคียงความเป็นจริง โดยใช้วิธีการต่างๆ และ
พิจารณาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจประกอบด้วย
2. งบประมาณเกี่ยวกับการผลิต ได้แก่ งบประมาณการผลิต งบประมาณวัตถุใช้ไป
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต งบประมาณการผลิต
สธ

แสดงปริมาณผลิตสินค้าแต่ละชนิดในช่วงเวลาต่างๆ กัน ข้อมูลจากงบประมาณการผลิต


เป็นข้อมูลที่ใช้ในการจัดท�ำงบประมาณวัตถุใช้ไป งบประมาณค่าแรงงานทางตรง และ
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

3. งบประมาณสินค้าคงเหลือจะแสดงสินค้าคงเหลือ 3 ประเภท ได้แก่ วัตถุคงเหลือ งาน
ระหว่างท�ำคงเหลือ และสินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือ ข้อมูลจากงบประมาณนี้จะน�ำไปใช้ใน
การจัดท�ำงบประมาณต้นทุนขาย นอกจากนี้งบประมาณต้นทุนขายยังใช้ข้อมูลจาก
ธ งบประมาณวัตถุใช้ไป งบประมาณค่าแรงงานทางตรง และงบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต
ด้วย
4. งบประมาณค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและงบประมาณ
มส

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ส�ำหรับงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นจะแสดงรายได้และ
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
มส

5. งบประมาณก�ำไรขาดทุนเป็นงบประมาณที่แสดงผลการด�ำเนินงานล่วงหน้า การจัดท�ำ
งบประมาณนีจ้ ะใช้ขอ้ มูลจากงบประมาณขาย งบประมาณต้นทุนขาย งบประมาณค่าใช้จา่ ย
ในการขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร และงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น


การงบประมาณ 9-19

สธ มส
วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 9.2 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. จัดท�ำงบประมาณขายได้
2. จัดท�ำงบประมาณเกี่ยวกับการผลิตได้
3. จัดท�ำงบประมาณสินค้าคงเหลือและงบประมาณต้นทุนขายได้
4. จัดท�ำงบประมาณค่าใช้จ่ายได้
5. จัดท�ำงบประมาณก�ำไรขาดทุนได้


สธ


สธ


มส

มส


9-20 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
เรื่องที่ 9.2.1
งบประมาณขาย

งบประมาณขาย (Sales Budget) ในการจัดท�ำงบประมาณขององค์กรธุรกิจ ขัน้ ตอนแรกของการ


จัดท�ำงบประมาณหลักคือ การจัดท�ำงบประมาณขาย ซึ่งได้คาดคะเนหรือพยากรณ์ยอดขายด้วยการ
วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรธุรกิจ ที่จะมีผลกระทบต่อการขายสินค้าหรือ


บริการขององค์กรธุรกิจในช่วงปีงบประมาณนั้นๆ แล้วน�ำมาจัดท�ำงบประมาณขาย จากนั้นจึงน�ำข้อมูล
สธ
จากงบประมาณขายมาจัดท�ำงบประมาณอื่นๆ ดังนั้น งบประมาณขายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดท�ำ
งบประมาณอื่นๆ ในงบประมาณหลัก


ในการคาดคะเนหรือพยากรณ์ยอดขายนัน้ ผูบ้ ริหารระดับสูงจะต้องค�ำนึงถึงสถานการณ์และปัจจัย
แวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจดังกล่าวข้างต้น เช่น นโยบายทางการตลาดขององค์กรธุรกิจ

ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้า คูแ่ ข่งขัน สภาพเศรษฐกิจ เหตุการณ์ทางการเมือง และสภาวะการแข่งขันใน
ตลาดโลก เป็นต้น จากนัน้ ก็นำ� มาพิจารณาก�ำหนดเป็นประมาณการยอดขายหรือรายได้ขนึ้ แล้วส่งประมาณ
การยอดขายที่ได้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดท�ำงบประมาณขาย เช่น ฝ่ายขาย หรือฝ่ายการตลาด เพื่อ
พิจารณาตรวจสอบดูว่าสามารถขายได้ตามที่ฝ่ายบริหารระดับสูงได้ประมาณไว้หรือไม่ โดยความร่วมมือ
กันระหว่างผู้บริหารและพนักงานขายของฝ่ายขาย หรือฝ่ายการตลาด เป็นต้น
การพยากรณ์หรือการคาดคะเนยอดขายอาจใช้เทคนิคการพยากรณ์ทางสถิตเิ ข้าช่วยได้ เช่น การ
สธ

วิเคราะห์อนุกรมเวลา (Time Series Analysis) การใช้รูปแบบพยากรณ์ (Forecasting Models) และ


การใช้การพยากรณ์เชิงเศรษฐมิติ (Econometric Forecasting) เป็นต้น
เมื่อคาดคะเนหรือการพยากรณ์ยอดขาย และปรับด้วยผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ

และกลยุทธ์เกี่ยวกับการตลาดและการขาย ก็จะได้ข้อมูลของยอดขายทั้งหมด ซึ่งสามารถน�ำมาใช้ในการ
จัดท�ำงบประมาณขายได้ตอ่ ไป งบประมาณขายทีจ่ ดั ท�ำขึน้ จะแสดงจ�ำนวนหน่วยของสินค้าทีข่ าย ราคาขาย
สินค้าต่อหน่วย และจ�ำนวนเงินยอดขายสินค้าทัง้ หมดทีค่ าดว่าจะขายได้ในอนาคต ซึง่ อาจจะแยกตามชนิด

ของสินค้า เขตขายสินค้า หรือพนักงานขายก็ได้
งบปประมาณขายสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.1
มส

มส


การงบประมาณ 9-21

สธ มส
ตารางที่ 9.1 งบประมาณขาย

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณขาย
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

รายการ สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ค. สินค้า ง. รวม


ปริมาณสินค้าขาย (หน่วย) 20,000 30,000 50,000 5,000 105,000


สธ
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) 20 30 15 50 -
ยอดขาย (บาท) 400,000 900,000 750,000 250,000 2,300,000


นอกจากนี้งบประมาณขายอาจแยกตามระยะเวลา เช่น เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส เป็นต้น
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมในรายละเอียดเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น งบประมาณขายแยกเป็นรายไตรมาส

ดังแสดงในตารางที่ 9.2

ตารางที่ 9.2 งบประมาณขาย แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณขาย
สธ

ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1



รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
สินค้า ก.
ปริมาณสินค้าขาย (หน่วย) 4,000 5,000 4,000 7,000 20,000
ธราคาขายต่อหน่วย (บาท)
ยอดขาย (บาท)
20
80,000
20
100,000
20
80,000
20
140,000
20
400,000
มส

สินค้า ข.
ปริมาณสินค้าขาย (หน่วย) 8,000 7,000 6,000 9,000 30,000
มส

ราคาขายต่อหน่วย (บาท) 30 30 30 30 30
ยอดขาย (บาท) 240,000 210,000 180,000 270,000 900,000


9-22 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.2 (ต่อ)
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
สินค้า ค.
ปริมาณสินค้าขาย (หน่วย) 13,000 11,000 12,000 14,000 50,000
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) 15 15 15 15 15
ยอดขาย (บาท) 195,000 165,000 180,000 210,000 750,000
สินค้า ง.


ปริมาณสินค้าขาย (หน่วย) 2,000 1,000 500 1,500 5,000
สธ
ราคาขายต่อหน่วย (บาท) 50 50 50 50 50
ยอดขาย (บาท) 100,000 50,000 25,000 75,000 250,000


รวม ยอดขายสินค้า 615,000 525,000 465,000 695,000 2,300,000
(ก. ข. ค. และ ง.)

กิจกรรม 9.2.1
บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด ผลิตสินค้า 2 ชนิด คือสินค้า ก. และสินค้า ข. โดยแบ่งเขตการขาย
เป็น 2 เขต คือเขตที่ 1 และเขตที่ 2
การวางแผนการขายส�ำหรับปีหน้าคาดว่ายอดขายจะเป็นดังนี้
สธ

สินค้า ก. (หน่วย) สินค้า ข. (หน่วย)



เขตที่ 1 เขตที่ 2 เขตที่ 1 เขตที่ 2
มกราคม 2,000 3,000 3,000 4,000
กุมภาพันธ์
ธ 2,200 3,400 3,300 4,500
มีนาคม 2,300 3,400 3,500 4,600
งวดที่ 2 6,600 9,000 8,000 10,000
งวดที่ 3 7,000 9,900 8,500 10,300
มส

งวดที่ 4 5,000 7,000 6,000 8,000


ข้อมูลเพิ่มเติม:
มส

ราคาทีค่ าดว่าจะขาย 3.30 บาท 3.40 บาท 4.30 บาท 4.40 บาท

ให้ท�ำ: งบประมาณขายแยกตามระยะเวลา เขตขาย และประเภทสินค้า




การงบประมาณ 9-23

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.2.1

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณขาย
แยกตามเขตขาย ตามประเภทสินค้า ตามระยะเวลา
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: ร้อยบาท


สธ
เขตขายที่ 1 เขตขายที่ 2 รวม

สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ก. สินค้า ข.


จ�ำนวน จ�ำนวน จ�ำนวน จ�ำนวน จ�ำนวน จ�ำนวน
หน่วย หน่วย หน่วย หน่วย หน่วย หน่วย
เงิน เงิน เงิน เงิน เงิน เงิน

มกราคม 20 66 30 129 30 102 40 176 50 168.0 70 305
กุมภาพันธ์ 22 72.6 33 141.9 34 115.6 45 198 56 188.2 78 339.9
มีนาคม 23 75.9 35 150.5 34 115.6 46 202.4 57 191.5 81 352.9

งวดที่ 1 65 214.5 98 421.4 98 333.2 131 576.4 163 547.7 229 997.8
งวดที่ 2 66 217.8 80 344.0 90 306 100 440.0 156 523.8 180 784.0
งวดที่ 3 70 231.0 85 365.5 99 336.6 103 453.2 169 567.6 188 818.7
งาดที่ 4 50 165.0 60 258.0 70 238.0 80 352.0 120 403.0 140 610
251 828.3 323 1,388.9 357 1,213.8 414 1,821.6 608 2,042.10 737 3,210.5
สธ


มส

มส


9-24 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
เรื่องที่ 9.2.2
งบประมาณเกี่ยวกับการผลิต

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะปรากฏอยู่ในงบประมาณเกี่ยวกับการผลิต ซึ่งได้แก่ งบประมาณ


การผลิต งบประมาณวัตถุใช้ไป งบประมาณจัดซื้อวัตถุ งบประมาณค่าแรงงานทางตรง และงบประมาณ
ค่าใช้จ่ายการผลิต ดังนี้


สธ
งบประมาณการผลิต
งบประมาณการผลิต (Production Budget) เป็นงบประมาณทีแ่ สดงปริมาณสินค้าทีต่ อ้ งการผลิต


แต่ละชนิด เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณความต้องการในการขายสินค้าในปีงบประมาณนั้นๆ ดังนั้น ในการ
จัดท�ำงบประมาณการผลิตจึงจ�ำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากงบประมาณขาย ที่จัดท�ำเสร็จเรียบร้อยและผ่าน
การอนุมตั แิ ล้ว รวมทัง้ ข้อมูลเกีย่ วกับสินค้าทีต่ อ้ งการคงเหลือไว้สนิ้ ปีงบประมาณ และสินค้าคงเหลือยกมา

เมือ่ ต้นปีงบประมาณนัน้ ๆ น�ำมาประกอบกันเพือ่ ให้สามารถค�ำนวณหาปริมาณสินค้าทีต่ อ้ งการผลิต ได้ดงั นี้

ปริมาณขาย XX
บวก สินค้าที่ต้องการให้คงเหลือสิ้นปีงบประมาณ XX
ปริมาณสินค้าที่ต้องการทั้งหมด XX
สธ

หัก สินค้าที่คงเหลืออยู่เมื่อต้นปีงบประมาณ XX
ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต XX

ฝ่ายผลิตมีหน้าทีร่ บั ผิดชอบในการจัดท�ำงบประมาณการผลิต โดยอาศัยข้อมูลจากงบประมาณขาย
มาเป็นฐานในการจัดท�ำงบประมาณการผลิต ในขณะเดียวกันฝ่ายผลิตต้องท�ำหน้าที่ในการก�ำหนดจ�ำนวน
สินค้าทีต่ อ้ งการคงเหลือไว้ตอนสิน้ ปีงบประมาณ ให้อยูใ่ นระดับทีเ่ หมาะสมสอดคล้องกับนโยบายสินค้าคงเหลือ

และก�ำลังการผลิตของฝ่ายบริหาร การก�ำหนดระดับสินค้าคงเหลือมีความส�ำคัญมาก กิจการไม่ควรเก็บ
สินค้าไว้มาก เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสูง ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเก็บสินค้าคงเหลือไว้น้อย
มส

เพราะจะท�ำให้เสียโอกาสที่จะได้รับรายได้จากลูกค้า ในกรณีที่ไม่มีสินค้าไว้ขายเพียงพอเช่นเดียวกัน
การก�ำหนดปริมาณสินค้าคงเหลือไว้ในระดับที่เหมาะสม ช่วยให้การประมาณปริมาณการผลิตสินค้าใน
แต่ละเดือนใกล้เคียงกันตลอดปี ซึ่งส่งผลท�ำให้งบประมาณที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุ การว่าจ้าง
มส

แรงงาน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการผลิต อยู่ในระดับที่สม�่ำเสมอด้วย ทั้งนี้เนื่องจากงบประมาณการผลิต


เป็นงบประมาณที่ใช้เป็นพื้นฐานในการจัดท�ำงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ได้แก่ งบประมาณเกี่ยว
กับวัตถุ งบประมาณค่าแรงงานทางตรง และงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต


การงบประมาณ 9-25

มส
งบประมาณการผลิตสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.3

ตารางที่ 9.3 งบประมาณการผลิต

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

มส
ธปริมาณสินค้าขาย
รายการ สินค้า ก.
20,000
สินค้า ข.
30,000
สินค้า ค.
50,000
สินค้า ง.
5,000
มส
(จากตารางที่ 9.1)
บวก สินค้าที่ต้องการให้เหลือสิ้นงวด 5,000 5,000 10,000 500
ปริมาณสินค้าที่ต้องการ 25,000 35,000 60,000 5,500
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 3,000 2,000 8,000 1,000
ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต (หน่วย) 22,000 33,000 52,000 4,500

งบประมาณการผลิตอาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสได้ เช่นเดียวกับ
งบประมาณขาย งบประมาณการผลิตแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.4
มส
สธ

ตารางที่ 9.4 งบประมาณการผลิต แยกเป็นรายไตรมาส


บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1ธ
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
สินค้า ก.
มส

ปริมาณสินค้าขาย 4,000 5,000 4,000 7,000 20,000


(จากตารางที่ 9.2)
มส

บวก สินค้าทีต่ อ้ งการให้เหลือสิน้ งวด 5,000 5,000 7,000 5,000 5,000


ปริมาณสินค้าที่ต้องการ 9,000 10,000 11,000 12,000 25,000
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 3,000 5,000 5,000 7,000 3,000
ปริมาณสินค้าทีต่ อ้ งการผลิต (หน่วย) 6,000 5,000 6,000 5,000 22,000


9-26 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.4 (ต่อ)
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
สินค้า ข.
ปริมาณสินค้าขาย 8,000 7,000 6,000 9,000 30,000
(จากตารางที่ 9.2)
บวก สินค้าทีต่ อ้ งการให้เหลือสิน้ งวด 3,000 5,000 4,000 5,000 5,000
ปริมาณสินค้าที่ต้องการ 11,000 12,000 10,000 14,000 35,000
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 2,000 3,000 5,000 4,000 2,000


สธ
ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต 9,000 9,000 5,000 10,000 33,000
สินค้า ค.


ปริมาณสินค้าขาย 13,000 11,000 12,000 14,000 50,000
(จากตารางที่ 9.2)
บวก สินค้าทีต่ อ้ งการให้เหลือสิน้ งวด 6,000 8,000 11,000 10,000 10,000

ปริมาณสินค้าที่ต้องการ 19,000 19,000 23,000 24,000 60,000
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 8,000 6,000 8,000 11,000 8,000
ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต 11,000 13,000 15,000 13,000 52,000
สินค้า ง.
ปริมาณสินค้าขาย 2,000 1,000 500 1,500 5,000
(จากตารางที่ 9.2)
สธ

บวก สินค้าทีต่ อ้ งการให้เหลือสิน้ งวด 1,200 300 1,000 500 500


ปริมาณสินค้าที่ต้องการ 3,200 1,300 1,500 2,000 5,500
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,000 1,200 300 1,000 1,000

ปริมาณสินค้าทีต่ อ้ งการผลิต (หน่วย) 2,200 100 1,200 1,000 4,500

งบประมาณวัตถุใช้ไป
ธ งบประมาณวัตถุใช้ไป (Materials Used Budget) เป็นงบประมาณที่ต้องอาศัยข้อมูลจาก
งบประมาณการผลิตเป็นฐานในการจัดท�ำ เมือ่ องค์กรธุรกิจได้จดั ท�ำงบประมาณการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว
มส

จะท�ำให้ทราบว่าจะต้องผลิตสินค้าชนิดใดบ้าง และเป็นจ�ำนวนเท่าใด จากนั้นก็ต้องจัดหาวัตถุมาเพื่อใช้ใน


การผลิตสินค้าแต่ละชนิดและตามจ�ำนวนที่ได้จัดท�ำไว้ในงบประมาณการผลิต โดยการจัดท�ำงบประมาณ
มส

วัตถุใช้ไป จ�ำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการออกแบบสินค้าแต่ละชนิดว่า
สินค้าชนิดใดต้องใช้วตั ถุอะไรบ้าง และอย่างละเท่าใด โดยการก�ำหนดเป็นอัตราการใช้วตั ถุตอ่ การผลิตสินค้า
1 หน่วย แล้วน�ำปริมาณสินค้าที่ต้องผลิตแต่ละชนิดจากงบประมาณการผลิต คูณด้วยอัตราการใช้วัตถุของ
สินค้าชนิดนั้นๆ ก็จะได้ปริมาณวัตถุที่ต้องใช้ในการผลิตส�ำหรับสินค้าชนิดนั้นๆ ดังนี้


การงบประมาณ 9-27

สธ มส
ปริมาณวัตถุที่ต้องการใช้ = ปริมาณการผลิตสินค้า × อัตราการใช้วัตถุ

งบประมาณวัตถุใช้ไป โดยปกติจะแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้


วัตถุให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด โดยอาจแยกเป็นปริมาณการใช้วตั ถุแต่ละชนิด ปริมาณการใช้วตั ถุตามประเภท
ของสินค้าแต่ละชนิด หรือตามแผนกการผลิตที่ต้องการใช้วัตถุนั้นๆ
งบประมาณวัตถุใช้ไปสามารถจัดท�ำได้ดังแสดงในตารางที่ 9.5


ตารางที่ 9.5 งบประมาณวัตถุใช้ไป
สธ
บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด


งบประมาณวัตถุใช้ไป
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

รายการ สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ค. สินค้า ง. รวม
วัตถุ A
ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต (หน่วย) 22,000 33,000 - 4,500
(จากตารางที่ 9.3)
อัตราการใช้วัตถุ A (หน่วย) 0.5 1 - 2
สธ

ปริมาณวัตถุ A ที่ต้องการใช้ (หน่วย) 11,000 33,000 9,000 53,000


ราคาวัตถุ A ต่อหน่วย (บาท) 4 4 4 4
ต้นทุนวัตถุ A ที่ใช้ไป (บาท) 44,000 132,000 36,000 212,000

วัตถุ B
ธ ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต(หน่วย) 22,000 - 52,000 4,500
(จากตารางที่ 9.3)
อัตราการใช้วัตถุ B (หน่วย) 1 - 1 2
ปริมาณวัตถุ B ที่ต้องการใช้ (หน่วย) 22,000 52,000 9,000 83,000
มส

ราคาวัตถุ B ต่อหน่วย (บาท) 2 2 2 2


ต้นทุนวัตถุ B ที่ใช้ไป (บาท) 44,000 104,000 18,000 166,000
มส


9-28 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.5 (ต่อ)

รายการ สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ค. สินค้า ง. รวม


วัตถุ C
ปริมาณสินค้าที่ต้องการผลิต (หน่วย) 22,000 33,000 52,000 4,500
(จากตารางที่ 9.3)
อัตราการใช้วัตถุ C (หน่วย) 0.5 2 2 1
ปริมาณวัตถุ C ที่ต้องการใช้ (หน่วย) 11,000 66,000 104,000 4,500 185,500
ราคาวัตถุ C ต่อหน่วย (บาท) 1 1 1 1 1


สธ
ต้นทุนวัตถุ C ที่ใช้ไป (บาท) 11,000 66,000 104,000 4,500 185,500
รวม ต้นทุนวัตถุ A, B และ C 99,000 198,000 208,000 58,500 563,500


ใช้ไป (บาท)         

นอกจากนีง้ บประมาณวัตถุใช้ไป อาจแยกตามระยะเวลา เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส เช่นเดียวกับ
งบประมาณการผลิต งบประมาณวัตถุใช้ไปแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.6

ตารางที่ 9.6 งบประมาณวัตถุใช้ไป แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
สธ

งบประมาณวัตถุใช้ไป
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
วัตถุ A

ปริมาณสินค้า ก. ที่ต้องการผลิต 6,000 5,000 6,000 5,000 22,000
(หน่วย)
(จากตารางที่ 9.4)
มส

อัตราการใช้วัตถุ A 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5


ปริมาณวัตถุ A ที่ต้องการใช้ 3,000 2,500 3,000 2,500 11,000
มส


การงบประมาณ 9-29

สธ มส
ตารางที่ 9.6 (ต่อ)

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


ปริมาณสินค้า ข. ที่ต้องการผลิต 9,000 9,000 5,000 10,000 33,000
(จากตารางที่ 9.4)
อัตราการใช้วัตถุ A 1 1 1 1 1
ปริมาณวัตถุ A ที่ต้องการใช้ 9,000 9,000 5,000 10,000 33,000
ปริมาณสินค้า ง. ที่ต้องการผลิต 2,200 100 1,200 1,000 4,500
(จากตารางที่ 9.4)


สธ
อัตราการใช้วัตถุ A 2 2 2 2 2
ปริมาณวัตถุ A ที่ต้องการใช้ 4,400 200 2,400 2,000 9,000


รวม ปริมาณวัตถุ A ทีต่ อ้ งการใช้ 16,400 11,700 10,400 14,500 53,000
ราคาวัตถุ A ต่อหน่วย (บาท) 4 4 4 4 4
ต้นทุนวัตถุ A ที่ใช้ไป (บาท) 65,600 46,800 41,600 58,000 212,000

วัตถุ B
ปริมาณสินค้า ข. ทีต่ อ้ งการผลิต 6,000 5,000 6,000 5,000 22,000
(หน่วย)
(จากตารางที่ 9.4)
อัตราการใช้วัตถุ B 1 1 1 1 1
ปริมาณวัตถุ B ที่ต้องการใช้ 6,000 5,000 6,000 5,000 22,000
สธ

ปริมาณสินค้า ค. ที่ต้องการผลิต 11,000 13,000 15,000 13,000 52,000


(จากตารางที่ 9.4)

อัตราการใช้วัตถุ B 1 1 1 1 1
ปริมาณวัตถุ B ที่ต้องการใช้ 11,000 13,000 13,000 15,000 52,000
ปริมาณสินค้า ง. ที่ต้องการผลิต 2,200 100 1,200 1,000 4,500
(จากตารางที่ 9.4)
ธ อัตราการใช้วัตถุ B
ปริมาณวัตถุ B ที่ต้องการใช้
2
4,400
2
200
2
2,400
2
2,000
2
9,000
มส

รวม ปริมาณวัตถุ B ทีต่ อ้ งการใช้ 21,400 18,200 23,400 20,000 83,000


ราคาวัตถุ B ต่อหน่วย (บาท) 2 2 2 2 2
ต้นทุนวัตถุ B ที่ใช้ไป (บาท) 42,800 36,400 46,800 40,000 166,000
มส


9-30 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.6 (ต่อ)

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


วัตถุ C
ปริมาณสินค้า ค. ทีต่ อ้ งการผลิต 6,000 5,000 6,000 5,000 22,000
(หน่วย)
(จากตารางที่ 9.4)
อัตราการใช้วัตถุ C 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5
ปริมาณวัตถุ C ที่ต้องการใช้ 3,000 2,500 3,000 2,500 11,000


สธ
ปริมาณสินค้า ข. ที่ต้องการผลิต 9,000 9,000 5,000 10,000 33,000
(จากตารางที่ 9.4)


อัตราการใช้วัตถุ C 2 2 2 2 2
ปริมาณวัตถุ C ที่ต้องการใช้ 18,000 18,000 10,000 20,000 66,000
ปริมาณสินค้า ค. ที่ต้องการผลิต 11,000 13,000 15,000 13,000 52,000

(จากตารางที่ 9.4)
อัตราการใช้วัตถุ C 2 2 2 2 2
ปริมาณวัตถุ C ที่ต้องการใช้ 22,000 26,000 30,000 26,000 104,000
ปริมาณสินค้า ง. ที่ต้องการผลิต 2,200 100 1,200 1,000 4,500
(จากตารางที่ 9.4)
อัตราการใช้วัตถุ C 1 1 1 1 1
สธ

ปริมาณวัตถุ C ที่ต้องการใช้ 2,200 100 1,200 1,000 4,500


รวม ปริมาณวัตถุ C ทีต่ อ้ งการใช้ 45,200 46,600 44,200 49,500 185,500
ราคาวัตถุ C ต่อหน่วย (บาท) 1 1 1 1 1

ต้นทุนวัตถุ C ที่ใช้ไป (บาท) 45,200 46,600 44,200 49,500 185,500

งบประมาณจัดซื้อวัตถุ
ธ งบประมาณจัดซื้อวัตถุ (Materials Purchased Budget) เป็นงบประมาณที่แสดงปริมาณและ
มูลค่าของวัตถุที่ต้องการจัดซื้อแต่ละชนิด เพื่อให้เพียงพอกับปริมาณการผลิตในปีงบประมาณนั้นๆ
มส

ดังนั้น ในการจัดท�ำงบประมาณจัดซื้อวัตถุ จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากงบประมาณวัตถุใช้ไปที่ได้จัดท�ำ


ไว้แล้วมาเป็นฐานในการค�ำนวณ รวมทัง้ ข้อมูลเกีย่ วกับจ�ำนวนวัตถุคงเหลือเมือ่ ตอนสิ้นปีงบประมาณ และ
มส

วัตถุคงเหลือยกมาเมื่อต้นปีงบประมาณนั้นๆ น�ำมาประกอบกันเพื่อให้สามารถค�ำนวณปริมาณวัตถุที่
ต้องการจัดซื้อได้ดังนี้


การงบประมาณ 9-31

สธ มส
ปริมาณวัตถุที่ต้องการใช้ XX
บวก วัตถุคงเหลือเมื่อสิ้นปีงบประมาณ XX
ปริมาณวัตถุที่ต้องการทั้งหมด XX
หัก วัตถุคงเหลือเมื่อต้นปีงบประมาณ XX
ปริมาณวัตถุที่ต้องการซื้อ XX

การจัดท�ำงบประมาณจัดซือ้ วัตถุ นอกจากจะต้องทราบปริมาณวัตถุทตี่ อ้ งการใช้แล้ว การก�ำหนด


ระดับวัตถุคงเหลือตอนสิ้นปีก็มีความส�ำคัญมากเช่นกัน กล่าวคือต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้อง


สธ
กับนโยบายเกีย่ วกับสินค้าคงเหลือขององค์กรธุรกิจด้วย นอกจากนีอ้ งค์กรธุรกิจยังต้องตรวจสอบราคาวัตถุ
ที่ต้องการใช้แต่ละชนิดว่าเหมาะสมหรือไม่ และควรจัดซื้อในช่วงเวลาใดอีกด้วย


งบประมาณจัดซื้อวัตถุสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.7

ตารางที่ 9.7 งบประมาณจัดซื้อวัตถุ



บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณจัดซื้อวัตถุ
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
สธ

รายการ วัตถุ A วัตถุ B วัตถุ C รวม


ปริมาณวัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 53,000 83,000 185,500
(จากตารางที่ 9.5)

บวก วัตถุคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 2,000 5,000 20,000
วัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 55,000 88,000 205,500
หัก วัตถุคงเหลือต้นงวด (หน่วย) 3,000 10,000 20,000

ปริมาณวัตถุที่ต้องการซื้อ (หน่วย)
ราคาวัตถุต่อหน่วย (บาท)
52,000
4
78,000
2
185,500
1
มส
จ�ำนวนเงินที่ซื้อ (บาท) 208,000 156,000 185,500 549,500

งบประมาณจัดซื้อวัตถุที่จัดท�ำขึ้นอาจแยกแสดงเป็นวัตถุแต่ละชนิด หากวัตถุที่ใช้ในการผลิตมี
มส

หลายชนิด หรือแยกตามระยะเวลาเช่นเดียวกับงบประมาณอืน่ ๆ งบประมาณจัดซือ้ วัตถุแยกเป็นรายไตรมาส


แสดงในตารางที่ 9.8


9-32 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.8 งบประมาณจัดซื้อวัตถุแยกเป็นรายไตรมาส
บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณจัดซื้อวัตถุ
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


วัตถุ A
ปริมาณวัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 16,400 11,700 10,400 14,500 53,000


สธ
(จากตารางที่ 9.6)
บวก วัตถุคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 11,700 10,000 11,500 2,000 2,000


วัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 28,100 21,700 21,900 16,500 55,000
หัก วัตถุคงเหลือต้นงวด (หน่วย) 3,000 11,700 10,000 11,500 3,000
ปริมาณวัตถุที่ต้องการซื้อ (หน่วย) 25,100 10,000 11,900 5,000 52,000

ราคาวัตถุต่อหน่วย (บาท) 4 4 4 4 4
จ�ำนวนเงินที่ซื้อ (บาท) 100,400 40,000 47,600 20,000 208,000
วัตถุ B
ปริมาณวัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 21,400 18,200 23,400 20,000 83,000
(จากตารางที่ 9.6)
บวก วัตถุคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 31,100 32,900 19,500 5,000 5,000
สธ

วัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 52,500 51,100 42,900 25,000 88,000


หัก วัตถุคงเหลือต้นงวด (หน่วย) 10,000 31,100 32,900 19,500 10,000

ปริมาณวัตถุที่ต้องการซื้อ (หน่วย) 42,500 20,000 10,000 5,500 78,000
ราคาวัตถุต่อหน่วย (บาท) 2 2 2 2 2
ธ จ�ำนวนเงินที่ซื้อ (บาท) 85,000 40,000 20,000 11,000 156,000
วัตถุ C
ปริมาณวัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 45,200 46,600 44,200 49,500 185,500
(จากตารางที่ 9.6)
มส

บวก วัตถุคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 100,000 80,000 50,000 20,000 20,000


วัตถุที่ต้องการใช้ (หน่วย) 145,200 126,600 94,200 69,500 205,500
มส

หัก วัตถุคงเหลือต้นงวด (หน่วย) 20,000 100,000 80,000 50,000 20,000


ปริมาณวัตถุที่ต้องการซื้อ (หน่วย) 125,200 26,600 14,200 19,500 185,500
ราคาวัตถุต่อหน่วย (บาท) 1 1 1 1 1
จ�ำนวนเงินที่ซื้อ (บาท) 125,200 26,600 14,200 19,500 185,500
รวมจ�ำนวนเงินทีซ่ อื้ วัตถุทงั้ หมด (บาท) 310,600 106,600 81,800 50,500 549,500


การงบประมาณ 9-33

สธ มส
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor Budget) เป็นงบประมาณทีเ่ กีย่ วข้องกับการผลิต
ต้องอาศัยข้อมูลจากงบประมาณการผลิตเป็นฐานในการจัดท�ำ เมื่อองค์กรธุรกิจได้จัดท�ำงบประมาณการ
ผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว เช่นเดียวกันกับวัตถุ ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ในการจัดท�ำงบประมาณค่าแรงงานทางตรง
โดยจะต้องก�ำหนดคนงานที่จะใช้ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับจ�ำนวนสินค้าที่ต้องการผลิต
ตามงบประมาณการผลิต ในขณะเดียวกันก็ต้องก�ำหนดอัตราชั่วโมงแรงงานมาตรฐานต่อการผลิตสินค้า
หนึ่งหน่วยส�ำหรับสินค้าแต่ละชนิด และอัตราค่าแรงงานเฉลี่ยต่อหนึ่งชั่วโมงที่จะต้องจ่ายให้แก่คนงานใน
การผลิตสินค้าในปีงบประมาณนัน้ ๆ จากนัน้ ก็นำ� ปริมาณสินค้าทีต่ อ้ งผลิตแต่ละชนิดจากงบประมาณการผลิต


สธ
คูณด้วยอัตราชั่วโมงแรงงานทางตรงมาตรฐานต่อการผลิตสินค้าหนึ่งหน่วยของสินค้าแต่ละชนิด ก็จะได้
ชัว่ โมงแรงงงานทีต่ อ้ งการใช้ทงั้ หมด เสร็จแล้วน�ำจ�ำนวนชัว่ โมงแรงงานทีต่ อ้ งการใช้ทงั้ หมดของสินค้าแต่ละ
ชนิดคูณกับอัตราค่าแรงงานต่อหนึ่งชั่วโมง ผลลัพธ์ที่ได้คือค่าแรงงานทางตรงทั้งหมดที่ต้องใช้ในการผลิต


สินค้าแต่ละชนิดในปีงบประมาณนั้นๆ ดังนี้

ค่าแรงงานทางตรง = ปริมาณการผลิตสินค้า × อัตราชั่วโมงแรงงานทางตรง ×
อัตราค่าแรงงานทางตรง

งบประมาณค่าแรงงานทางตรงสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.9


สธ

ตารางที่ 9.9 งบประมาณค่าแรงงานทางตรง

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด

งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
ธ รายการ
ปริมาณสินค้าที่ผลิต (หน่วย)
สินค้า ก.
22,000
สินค้า ข.
33,000
สินค้า ค.
52,000
สินค้า ง.
4,500
รวม
111,500
มส

(จากตารางที่ 9.3)
อัตราชั่วโมงแรงงานทางตรง (ชม.) 0.5 0.5 0.25 1 -
จ�ำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ (ชม.) 11,000 16,500 13,000 4,500 45,000
มส

อัตราค่าแรงงานทางตรง (บาท) 10 10 10 10 10
รวม ค่าแรงงานทางตรง (บาท) 110,000 165,000 130,000 45,000 450,000


9-34 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง อาจแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและ
การด�ำเนินงานตามงบประมาณ โดยอาจแยกค่าแรงงานตามหน่วยงานผลิต หรือตามระยะเวลาเป็นรายเดือน
หรือรายไตรมาสได้ งบประมาณค่าแรงงานทางตรงแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.10

ตารางที่ 9.10 งบประมาณค่าแรงงานทางตรง แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง


ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
สธ
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


สินค้า ก.
ปริมาณสินค้าที่ผลิต (หน่วย) 6,000 5,000 6,000 5,000 22,000

(จากตารางที่ 9.4)
อัตราชั่วโมงแรงงานทางตรง (ชม.) 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5
จ�ำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ (ชม.) 3,000 2,500 3,000 2,500 11,000
อัตราค่าแรงงานทางตรง (บาท) 10 10 10 10 10
รวม ค่าแรงงานทางตรง (บาท) 30,000 25,000 30,000 25,000 110,000
สินค้า ข.
สธ

ปริมาณสินค้าที่ผลิต (หน่วย) 9,000 9,000 5,000 10,000 33,000


(จากตารางที่ 9.4)
อัตราชั่วโมงแรงงานทางตรง (ชม.) 0.5 0.5 0.5 0.5 0.5

จ�ำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ (ชม.) 4,500 4,500 2,500 5,000 16,500
อัตราค่าแรงงานทางตรง (บาท) 10 10 10 10 10
ธรวม ค่าแรงงานทางตรง (บาท) 45,000 45,000 25,000 50,000 165,000
สินค้า ค.
ปริมาณสินค้าที่ผลิต (หน่วย) 11,000 13,000 15,000 13,000 52,000
(จากตารางที่ 9.4)
มส

อัตราชั่วโมงแรงงานทางตรง (ชม.) 0.25 0.25 0.25 0.25 0.25


จ�ำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ (ชม.) 2,750 3,250 3,750 3,250 13,000
มส

อัตราค่าแรงงานทางตรง (บาท) 10 10 10 10 10
รวม ค่าแรงงานทางตรง (บาท) 27,500 32,500 37,500 32,500 130,000


การงบประมาณ 9-35

สธ มส
ตารางที่ 9.10 (ต่อ)

รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


สินค้า ง.
ปริมาณสินค้าที่ผลิต (หน่วย) 2,200 100 1,200 1,000 4,500
(จากตารางที่ 9.4)
อัตราชั่วโมงแรงงานทางตรง (ชม.) 1 1 1 1 1
จ�ำนวนชั่วโมงแรงงานที่ใช้ (ชม.) 2,200 100 1,200 1,000 4,500
อัตราค่าแรงงานทางตรง (บาท) 10 10 10 10 10


สธ
รวม ค่าแรงงานทางตรง (บาท) 22,000 1,000 12,000 10,000 45,000
รวม ค่าแรงงานทางตรงทัง้ หมด (บาท) 124,500 103,500 104,500 117,500 450,000


งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead Budget) เป็นงบประมาณเกี่ยวกับ

การผลิตเช่นเดียวกันกับวัตถุและค่าแรงงานทางตรง ดังนั้น การจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตจึง
จ�ำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากงบประมาณการผลิตเช่นเดียวกัน ค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิด
ขึน้ ในการผลิตสินค้านอกเหนือไปจากค่าวัตถุทางตรงและค่าแรงงานทางตรง เช่น ค่าวัตถุทางอ้อม ค่าแรงงาน
ทางอ้อม ค่าเบีย้ ประกันภัย ค่าเสือ่ มราคา ค่าภาษีโรงเรือน ค่าซ่อมแซม และค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น
ฝ่ายผลิตมีหน้าที่ในการประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตสินค้าทั้งหมดให้สอดคล้องกับปริมาณสินค้าที่ต้องผลิต
สธ

ตามงบประมาณการผลิต เนื่องจากค่าใช้จ่ายการผลิตดังกล่าวมีจ�ำนวนมาก ยากที่จะจ�ำแนกออกตาม


ประเภทสินค้าแต่ละชนิด ดังนัน้ ในการจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต ฝ่ายผลิตควรจ�ำแนกค่าใช้จา่ ย
การผลิตออกเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่กับค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร หรือจ�ำแนกค่าใช้จ่ายการผลิตตาม

หน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นค่าใช้จ่ายการผลิตที่ควบคุมได้กับค่าใช้จ่ายการผลิตที่ควบคุมไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อ
เป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายการผลิตให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมกับปริมาณการผลิตสินค้าทั้งหมด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.11

มส

มส


9-36 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.11 งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท
รายการ จ�ำนวนเงิน


สธ
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
ค่าวัตถุทางอ้อม 35,400
ค่าใช้จ่ายสวัสดิการและผลตอบแทนอื่นให้แก่พนักงาน 47,000


ค่าพลังงาน - ส่วนที่ผันแปร 37,500
ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษา - ส่วนที่ผันแปร 43,500
รวม 163,400

ค่าใช้จ่ายผลิตคงที่
ค่าแรงงานทางอ้อม 71,500
ค่าพลังงาน - ส่วนที่คงที่ 19,000
ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษา - ส่วนที่คงที่ 24,400
ค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักรอุปกรณ์ 41,000
สธ

ค่าภาษีทรัพย์สิน 8,900
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยทรัพย์สิน 6,500
ค่าใช้จ่ายในการควบคุมการผลิต 25,300

รวม 196,600
รวม ค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งหมด
ธ 360,000

งบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิตอาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส เช่นเดียวกับ


งบประมาณอื่น งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.12
มส

มส


การงบประมาณ 9-37

สธ มส
ตารางที่ 9.12 งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท

รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


สธ
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
ค่าวัตถุทางอ้อม 9,558 8,142 8,142 9,558 35,400
ค่าใช้จ่ายสวัสดิการและผลตอบ- 12,690 10,810 10,810 12,690 47,000


แทนอื่นให้แก่พนักงาน
ค่าพลังงาน - ส่วนที่ผันแปร 10,125 8,625 8,625 10,125 37,500
ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษา - 11,745 10,005 10,005 11,745 43,500

ส่วนที่ผันแปร
รวม 44,118 37,582 37,582 44,118 163,400
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
ค่าแรงงานทางอ้อม 19,305 16,445 16,445 19,305 71,500
ค่าพลังงาน - ส่วนที่คงที่ 5,130 4,370 4,370 5,130 19,000
สธ

ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษา - 6,588 5,612 5,612 6,588 24,400


ส่วนที่คงที่
ค่าเสื่อมราคาโรงงานและ- 11,070 9,430 9,430 11,070 41,000

เครื่องจักรอุปกรณ์
ค่าภาษีทรัพย์สิน 2,403 2,047 2,047 2,403 8,900
ธค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยทรัพย์สิน 1,755 1,495 1,495 1,755 6,500
ค่าใช้จ่ายในการควบคุมการผลิต 6,831 5,819 5,819 6,831
รวม 53,082 45,218 45,218 53,082 196,600
มส
รวม ค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งหมด 97,200 82,800 82,800 97,200 360,000

มส


9-38 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
กิจกรรม 9.2.2
1. บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด มีงบประมาณขายของปี 25X1 ดังนี้

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณขาย
ส�ำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 25X1

สินค้า ก. สินค้า ข. รวม


สธ
ไตรมาสที่
หน่วย จ�ำนวนเงิน หน่วย จ�ำนวนเงิน หน่วย จ�ำนวนเงิน
1 2,000 120,000 5,000 450,000 7,000 570,000


2 6,000 360,000 2,000 180,000 8,000 540,000
3 5,000 300,000 1,000 90,000 6,000 390,000

4 4,000 240,000 7,000 630,000 11,000 870,000
17,000 1,020,000 15,000 1,350,000 32,000 2,370,000

ให้ท�ำ: งบประมาณการผลิต โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
1) นโยบายถือสินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือ จะถือ ณ ระดับ 25% ของยอดขายงวดถัดไป
2) สินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือยกมา 1 มกราคม 25X1 ประมาณว่า
สธ

สินค้า ก. = 800 หน่วย หน่วยละ 42 บาท เป็นจ�ำนวนเงิน 33,600 บาท


สินค้า ข. = 1,200 หน่วย หน่วยละ 65 บาท เป็นจ�ำนวนเงิน 78,000 บาท

2. จากงบประมาณการผลิตส�ำหรับปี 25X1 ของบริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด ในข้อ 1. และมี
ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
ธ 1) อัตราการใช้วัตถุเป็นดังนี้
สินค้า ก. 1 หน่วยใช้วัตถุ ชนิดที่ 1 = 10 หน่วย
สินค้า ข. 1 หน่วยใช้วัตถุ ชนิดที่ 2 = 12 หน่วย
2) ราคา วัตถุชนิดที่ 1 = 1.60 บาท ต่อหน่วย
มส

วัตถุชนิดที่ 2 = 2.00 บาท ต่อหน่วย


3) วัตถุคงเหลือจะถือ 50% ของปริมาณวัตถุที่จะใช้ในงวดถัดไป
มส

4) วัตถุคงเหลือยกมาต้นงวดประมาณว่ามีดังนี้
วัตถุชนิดที่ 1 = 10,500 หน่วย ราคาหน่วยละ 1.60 บาท
วัตถุชนิดที่ 2 = 24,600 หน่วย ราคาหน่วยละ 2.00 บาท
5) ใช้หลักเกณฑ์เข้าก่อนออกก่อนในการค�ำนวณต้นทุนวัตถุ


การงบประมาณ 9-39

สธ มส
ให้ท�ำ:
2.1 งบประมาณวัตถุใช้ไป
2.2 งบประมาณวัตถุคงเหลือ
2.3 งบประมาณจัดซื้อวัตถุ
2.4 งบประมาณต้นทุนวัตถุใช้ไป
3. จากงบประมาณการผลิตส�ำหรับปี 25X1 ของบริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด ในข้อ 1. และมี
ข้อมูลค่าแรงงานทางตรงดังนี้
สินค้า ก. 1 หน่วย ใช้ 2 ชั่วโมงแรงงานทางตรง ชั่วโมงแรงงานทางตรงละ 6 บาท


สธ สินค้า ข. 1 หน่วย ใช้ 3 ชั่วโมงแรงงานทางตรง ชั่วโมงแรงงานทางตรงละ 6 บาท
ให้ท�ำ: งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
4. จากงบประมาณค่าแรงงานทางตรงของบริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด ในข้อ 3.


ให้ท�ำ งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงบประมาณค่าใช้จ่ายผันแปร
ของฝ่ายผลิต ดังนี้

หน่วย: บาท
รายการ ค่าใช้จ่ายคงที่ต่องวด ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง
วัตถุทางอ้อม - 0.50
ค่าแรงงานทางอ้อม 18,000 1.00
สธ

ค่าใช้จ่ายบริหารโรงงาน 4,912 2.50


ค่าบ�ำรุงรักษา 9,000 0.40
ค่าน�้ำค่าไฟ - 0.60

ค่าเสื่อมราคา 24,000 -
ค่าเบี้ยประกันภัย 3,000 -
ธ 58,912 5.00
มส

มส


9-40 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.2.2
1. งบประมาณการผลิตจัดท�ำได้ดังนี้

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

ไตรมาสที่


รายการ
สธ รวม
1 2 3 4
สินค้า ก.


ปริมาณขาย 2,000 6,000 5,000 4,000 17,000
บวก สินค้าคงเหลือปลายงวด 1,500 1,250 1,000 500 500

ปริมาณที่ต้องการ 3,500 7,250 6,000 4,500 17,500
หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 800 1,500 1,250 1,000 800
ปริมาณผลิต (หน่วย) 2,700 5,750 4,750 3,500 16,700
สินค้า ข.
ปริมาณขาย 5,000 2,000 1,000 7,000 15,000
บวก สินค้าคงเหลือปลายงวด 500 250 1,750 1,250 1,250
สธ

ปริมาณที่ต้องการ 5,500 2,250 2,750 8,250 16,250


หัก สินค้าคงเหลือต้นงวด 1,200 500 250 1,750 1,200
ปริมาณผลิต (หน่วย) 4,300 1,750 2,500 6,500 15,050

ธ 2. การจัดท�ำงบประมาณที่เกี่ยวกับวัตถุทางตรง ท�ำได้ดังนี้
2.1 งบประมาณวัตถุใช้ไป
มส

มส


การงบประมาณ 9-41

สธ มส
บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณวัตถุใช้ไป
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

ไตรมาสที่ รวม
รายการ
1 2 3 4 (หน่วย)
สินค้า ก.
ปริมาณผลิต 2,700 5,750 4,750 3,500 16,700


สธ
อัตราการใช้วัตถุชนิดที่ 1 10 10 10 10 10
ปริมาณวัตถุชนิดที่ 1 ที่จะใช้ 27,000 57,500 47,500 35,000 167,000


สินค้า ข.
ปริมาณผลิต 4,300 1,750 2,500 6,500 15,050
อัตราการใช้วัตถุชนิดที่ 2 12 12 12 12 12

ปริมาณวัตถุชนิดที่ 2 ที่จะใช้ 51,600 21,000 30,000 78,000 180,600

2.2 งบประมาณวัตถุคงเหลือ

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
สธ

งบประมาณวัตถุคงเหลือ
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1


วัตถุชนิดที่ 1 วัตถุชนิดที่ 2
งวด รวม (บาท)
ธ หน่วย บาท หน่วย บาท
ต้นงวดที่ 1 10,500 16,800 24,600 49,200 66,000
ปลายงวดที่ 1 28,750 46,000 10,500 21,000 67,000
ปลายงวดที่ 2 23,750 38,000 15,000 30,000 68,000
มส

ปลายงวดที่ 3 17,500 28,000 39,000 78,000 106,000


ปลายงวดที่ 4 13,500 21,600 25,800 51,600 73,200
มส




9-42 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
2.3 งบประมาณจัดซื้อวัตถุ

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณจัดซื้อวัตถุ
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

ไตรมาสที่
รายการ รวม
1 2 3 4


สธ
วัตถุชนิดที่ 1
ปริมาณการใช้วัตถุ 27,000 57,500 47,500 35,000 167,000


บวก วัตถุคงเหลือปลายงวด 28,750 23,750 17,500 13,500 13,500
ปริมาณวัตถุที่ต้องการ 55,750 81,250 65,000 48,500 180,500
หัก วัตถุคงเหลือต้นงวด 10,500 28,750 23,750 17,500 10,500

ปริมาณซื้อ (หน่วย) 45,250 52,500 41,250 31,000 170,000
ต้นทุนซื้อ (หน่วยละ 1.60 บาท) 72,400 84,000 66,000 49,600 272,000
วัตถุชนิดที่ 2
ปริมาณการใช้วัตถุ 51,600 21,000 30,000 78,000 180,600
บวก วัตถุคงเหลือปลายงวด 10,500 15,000 39,000 25,800 25,800
ปริมาณวัตถุที่ต้องการ 62,100 36,000 69,000 103,800 206,400
สธ

หัก วัตถุคงเหลือต้นงวด 24,600 10,500 15,000 39,000 24,600


ปริมาณซื้อ (หน่วย) 37,500 25,500 54,000 64,800 181,800

ต้นทุนซื้อ (หน่วยละ 2.00 บาท) 75,000 51,000 108,000 129,600 363,600
รวมต้นทุนซื้อวัตถุทั้งสิ้น (บาท) 147,400 135,000 174,000 179,200 635,600


มส

มส


การงบประมาณ 9-43

สธ มส
2.4 งบประมาณต้นทุนวัตถุใช้ไป

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณต้นทุนวัตถุใช้ไป
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

วัตถุชนิดที่ 1 วัตถุชนิดที่ 2
ไตรมาส ราคาต่อ ต้นทุน ราคาต่อ ต้นทุน รวม
ปริมาณใช้ ปริมาณใช้


ที่
สธ หน่วย วัตถุ หน่วย วัตถุ (บาท)
(หน่วย) (หน่วย)
(บาท) (บาท) (บาท) (บาท)


1 27,000 1.60 43,200 51,600 2 103,200 146,400
2 57,500 1.60 92,000 21,000 2 42,000 134,000
3 47,500 1.60 76,000 30,000 2 60,000 136,000

4 35,000 1.60 56,000 78,000 2 156,000 212,000
รวม 167,000 267,200 180,600 361,200 628,400

3. งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
สธ

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าแรงงานทางตรง
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

ไตรมาสที่
รายการ รวม
1 2 3 4

สินค้า ก.
ปริมาณผลิต 2,700 5,750 4,750 3,500 16,700
มส

อัตราการใช้ 2 2 2 2 2
ชั่วโมงแรงงานทางตรงที่ต้องการ 5,400 11,500 9,500 7,000 33,400
มส

อัตราค่าแรงงานทางตรง 6 6 6 6 6
ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง (บาท) 32,400 69,000 57,000 42,000 200,400


9-44 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตาราง (ต่อ)
ไตรมาสที่
รายการ รวม
1 2 3 4
สินค้า ข.
ปริมาณผลิต 4,300 1,750 2,500 6,500 15,050
อัตราการใช้ 3 3 3 3 3
ชั่วโมงแรงงานทางตรงที่ต้องการ 12,900 5,250 7,500 19,500 45,150
อัตราค่าแรงงานทางตรง 6 6 6 6 6


สธ
ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง (บาท) 77,400 31,500 45,000 117,000 270,900
ชั่วโมงแรงงานทางตรงทั้งสิ้น 18,300 16,750 17,000 26,500 78,550


ต้นทุนค่าแรงงานทางตรงทั้งสิ้น (บาท) 109,800 100,500 102,000 159,000 471,300

4. งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท
สธ

ไตรมาสที่
รายการ รวม
1 2 3 4

ค่าใช้จ่ายคงที่
ค่าแรงงานทางอ้อม 18,000 18,000 18,000 18,000 72,000
ค่าใช้จ่ายบริหารโรงงาน 4,912 4,912 4,912 4,912 19,648
ธ ค่าบ�ำรุงรักษา
ค่าเสื่อมราคา
9,000
24,000
9,000
24,000
9,000
24,000
9,000
24,000
36,000
96,000
มส

ค่าเบี้ยประกันภัย 3,000 3,000 3,000 3,000 12,000


รวมค่าใช้จ่ายคงที่ 58,912 58,912 58,912 58,912 235,648
มส


การงบประมาณ 9-45

สธ มส
ตาราง (ต่อ)

ไตรมาสที่
รายการ รวม
1 2 3 4
ค่าใช้จ่ายผันแปร
วัตถุทางอ้อม 9,150 8,375 8,500 13,250 39,275
ค่าแรงงานทางอ้อม 18,300 16,750 17,000 26,500 78,550
ค่าใช้จ่ายบริหารโรงงาน 45,750 41,875 42,500 66,250 196,375


สธ
ค่าบ�ำรุงรักษา 7,320 6,700 6,800 10,600 31,420
ค่าน�ำ้ ค่าไฟ 10,980 10,050 10,200 15,900 47,130
รวมค่าใช้จ่ายผันแปร 91,500 83,750 85,000 132,500 392,750


รวมค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งสิ้น (บาท) 150,412 142,662 143,912 191,412 628,398
628,398
ดังนั้น อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตจัดสรร ต่อ 1 ชั่วโมงแรงงาน 78,550 = 8.00 บาท

เรื่องที่ 9.2.3
สธ

งบประมาณสินค้าคงเหลือและงบประมาณต้นทุนขาย

งบประมาณสินค้าคงเหลือ
งบประมาณสินค้าคงเหลือ (Inventory Budget) เป็นงบประมาณที่แสดงปริมาณและมูลค่าของ

สินค้าคงเหลือขององค์กรธุรกิจ ซืง่ ได้แก่ วัตถุคงเหลือ งานระหว่างท�ำคงเหลือ และสินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือ
หลังจากทีฝ่ า่ ยผลิตได้จดั ท�ำงบประมาณการผลิตและงบประมาณจัดซือ้ วัตถุเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะน�ำข้อมูล
มส

จากงบประมาณดังกล่าวมาจัดท�ำงบประมาณสินค้าคงเหลือเพือ่ การควบคุมสินค้าคงเหลือทีม่ อี ยูท่ งั้ หมดใน


องค์กรธุรกิจ และเพื่อน�ำไปใช้ประกอบในการจัดท�ำงบประมาณต้นทุนขายและงบประมาณแสดงฐานะการ
มส

เงินต่อไป
งบประมาณสินค้าคงเหลือจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.13


9-46 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.13 งบประมาณสินค้าคงเหลือ

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณสินค้าคงเหลือ
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

รายการ วัตถุ A วัตถุ B วัตถุ C รวม


วัตถุ


สธ
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 2,000 5,000 20,000
(จากตารางที่ 9.7)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 4 2 1


ต้นทุนวัตถุคงเหลือปลายงวด (บาท) 8,000 10,000 20,000 38,000
งานระหว่างท�ำ สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ค. สินค้า ง.

งานระหว่างท�ำปลายงวด (บาท) 1,500 1,000 1,500 1,000 5,000
สินค้า ก. สินค้า ข. สินค้า ค. สินค้า ง.
สินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือ
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 5,000 5,000 10,000 500
(จากตารางที่ 9.3)
สธ

ราคาต่อหน่วย (บาท) 13.5 15 8.5 31


ต้นทุนสินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือ- 67,500 75,000 85,000 15,500 243,000
ปลายงวด (บาท)

รวมสินค้าคงเหลือ (บาท) 286,000
ธ งบประมาณสินค้าคงเหลืออาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสได้ เช่นเดียวกับ
งบประมาณอื่นๆ งบประมาณสินค้าคงเหลือแยกเป็นรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.14
มส

มส


การงบประมาณ 9-47

สธ มส
ตารางที่ 9.14 งบประมาณสินค้าคงเหลือ แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณสินค้าคงเหลือ
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


วัตถุ A


สธ
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 11,700 10,000 11,500 2,000 2,000
(จากตารางที่ 9.8)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 4 4 4 4 4


ต้นทุนวัตถุคงเหลือปลายงวด (บาท) 46,800 40,000 46,000 8,000 8,000
วัตถุ B

ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 31,100 32,900 19,500 5,000 5,000
(จากตารางที่ 9.8)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 2 2 2 2 2
ต้นทุนวัตถุคงเหลือปลายงวด (บาท) 62,200 65,800 39,000 10,000 10,000
วัตถุ C
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 100,000 80,000 50,000 20,000 20,000
สธ

(จากตารางที่ 9.8)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 1 1 1 1 1
ต้นทุนวัตถุคงเหลือปลายงวด (บาท) 100,000 80,000 50,000 20,000 20,000

งานระหว่างท�ำ (บาท) 1,250 1,250 1,250 1,250 5,000
สินค้าส�ำเร็จรูป ก.
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 5,000 5,000 7,000 5,000 5,000

(จากตารางที่ 9.4)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 13.50 13.50 13.50 13.50 13.50
มส
ต้นทุนสินค้า ก. (บาท) 67,500 67,500 94,500 67,500 67,500

สินค้าส�ำเร็จรูป ข.
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 3,000 5,000 4,000 5,000 5,000
มส

(จากตารางที่ 9.4)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 15 15 15 15 15
ต้นทุนสินค้า ข. (บาท) 45,000 75,000 60,000 75,000 75,000


9-48 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

มส
ตารางที่ 9.4 (ต่อ)
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
สินค้าส�ำเร็จรูป ค.
ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย) 6,000 8,000 11,000 10,000 10,000
(จากตารางที่ 9.4)
ราคาต่อหน่วย (บาท) 8.50 8.50 8.50 8.50 8.50
ต้นทุนสินค้า ค. (บาท) 51,000 68,000 93,500 85,000 85,000
สินค้าส�ำเร็จรูป ง.

มส
ธ ปริมาณคงเหลือปลายงวด (หน่วย)
(จากตารางที่ 9.4)
1,200 300 1,000 500 500
มส
ราคาต่อหน่วย (บาท) 31 31 31 31 31
ต้นทุนสินค้า ง. (บาท) 37,200 9,300 31,000 15,500 15,500

งบประมาณต้นทุนขาย
งบประมาณต้นทุนขาย (Cost of Sales Budget) เป็นงบประมาณที่ใช้ในการจัดท�ำงบประมาณ
ก�ำไรขาดทุนขององค์กรธุรกิจ โดยน�ำงบประมาณขายมาหักด้วยงบประมาณต้นทุนขาย ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็น

ก�ำไรหรือขาดทุนขั้นต้นโดยประมาณ แสดงอยู่ในงบประมาณก�ำไรขาดทุน งบประมาณต้นทุนขายจะใช้
ข้อมูลจากงบประมาณวัตถุใช้ไป งบประมาณค่าแรงงานทางตรง งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต และงบ
มส
สธ

ประมาณสินค้าคงเหลือ น�ำมาประกอบกันจัดท�ำเป็นงบประมาณต้นทุนขาย
งบประมาณต้นทุนขายสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.15


มส

มส


การงบประมาณ 9-49

สธ มส
ตารางที่ 9.15 งบประมาณต้นทุนขาย

บริษัท สุโขทัยการผลิต จ�ำกัด


งบประมาณต้นทุนขาย
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท
รายการ จ�ำนวนเงิน


สธ
วัตถุทางตรงใช้ไป (จากตารางที่ 9.5) 563,500
ค่าแรงงานทางตรง (จากตารางที่ 9.9) 450,000
ค่าใช้จ่ายการผลิต (จากตารางที่ 9.11) 360,000


รวมต้นทุนการผลิตในระหว่างงวด 1,373,500
บวก งานระหว่างท�ำต้นงวด (1 มกราคม 25X1) 6,000
1,379,500

หัก งานระหว่างท�ำปลายงวด (31 ธันวาคม 25X1) 5,000
รวมต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จ 1,374,500
บวก สินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือต้นงวด (1 มกราคม 25X1) 169,500
1,544,000
หัก สินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือปลายงวด (31 ธันวาคม 25X1) (จากตารางที่ 9.13) 243,000
ต้นทุนขาย 1,301,000
สธ

งบประมาณต้นทุนขายอาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสได้ เช่นเดียวกับ

งบประมาณอื่นๆ งบประมาณต้นทุนขายแยกเป็นรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.16

มส

มส


9-50 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.16 งบประมาณต้นทุนขาย แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณต้นทุนขาย
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


วัตถุทางตรงใช้ไป (จากตารางที่ 9.6) 153,600 129,800 132,600 147,500 563,500


สธ
ค่าแรงงานทางตรง 124,500 103,500 104,500 117,500 450,000
(จากตารางที่ 9.10)
ค่าใช้จ่ายการผลิต 97,200 82,800 82,800 97,200 360,000


(จากตารางที่ 9.12)
รวมต้นทุนการผลิตในระหว่างงวด 375,300 316,100 319,900 362,200 1,373,500
บวก งานระหว่างท�ำต้นงวด 6,000 - - - 6,000

381,300 316,100 319,900 362,200 1,379,500
หัก งานระหว่างท�ำปลายงวด - - - 5,000 5,000
รวมต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จ 381,300 316,100 319,900 357,200 1,374,500
บวก สินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือต้นงวด 169,500 200,700 219,800 279,000 169,500
550,800 516,800 539,700 636,200 1,544,000
หัก สินค้าส�ำเร็จรูปคงเหลือปลายงวด 200,700 219,800 279,000 243,000 243,000
สธ

(จากตารางที่ 9.14)
ต้นทุนขาย (บาท) 350,100 297,000 260,700 393,200 1,301,000

ในการจัดท�ำงบประมาณต้นทุนขายบางครัง้ อาจจะน�ำข้อมูลจากงบประมาณวัตถุใช้ไป งบประมาณ
ค่าแรงงานทางตรงและงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตไปจัดท�ำเป็นงบประมาณต้นทุนการผลิตก่อน แล้วจึง

น�ำข้อมูลจากงบประมาณต้นทุนการผลิตทีไ่ ด้และงบประมาณสินค้าคงเหลือมาจัดท�ำเป็นงบประมาณต้นทุน
ขายในภายหลังก็ได้
มส

กิจกรรม 9.2.3
มส

จากงบประมาณต้นทุนวัตถุใช้ไป งบประมาณค่าแรงงานทางตรง และงบประมาณค่าใช้จ่ายการ


ผลิต ของบริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด ในกิจกรรม 9.2.2 ให้จัดท�ำงบประมาณต้นทุนการผลิตและ
งบประมาณต้นทุนขาย ส�ำหรับปี 25X1 โดยแยกตามประเภทสินค้า


การงบประมาณ 9-51

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.2.3
งบประมาณต้นทุนการผลิตและงบประมาณต้นทุนขาย ท�ำได้ดังนี้

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณต้นทุนการผลิต
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท


สธ สินค้า ก. สินค้า ข. รวม
วัตถุทางตรง 267,200 361,200 628,400


ค่าแรงงานทางตรง 200,400 270,900 471,300
ค่าใช้จ่ายการผลิต 267,200 361,200 628,400
รวม 734,800 993,300 1,728,100

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณต้นทุนขาย
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
สธ

สินค้า ก. สินค้า ข. รวม



สินค้าส�ำเร็จรูปต้นงวด 33,600 78,000 111,600
บวก ต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จระหว่างงวด 734,800 993,300 1,728,100
ต้นทุนสินค้ามีไว้เพื่อขาย
ธ 768,400 1,071,300 1,839,700
หัก สินค้าส�ำเร็จรูปปลายงวด 22,000 82,500 104,500
ต้นทุนขาย 746,400 988,800 1,735,200
มส

มส


9-52 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

มส
เรื่องที่ 9.2.4
งบประมาณค่าใช้จ่าย

ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะปรากฏอยู่ในงบประมาณค่าใช้จ่าย ซึ่งได้แก่
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร ส�ำหรับรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นที่
มีจ�ำนวนมากจะแยกแสดงไว้ในงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น ดังนี้

มส

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling Expense Budget) เป็นงบประมาณที่แสดงเกี่ยวกับ
มส
ค่าใช้จา่ ยในการขายสินค้า ค่าใช้จา่ ยทางการตลาด เช่น ค่าใช้จา่ ยในการส่งเสริมการขาย ค่าโฆษณา เป็นต้น
การประมาณค่าใช้จา่ ยในการขายจะอาศัยข้อมูลจากงบประมาณขาย เช่น การกะประมาณค่าใช้จา่ ยในการ
ขายที่จะเกิดขึน้ จากยอดขาย ณ ระดับต่างๆ ว่าจะเสียค่าใช้จา่ ยป็นจ�ำนวนเท่าใด เป็นต้น ค่าใช้จา่ ยในการ
ขายนับว่ามีความส�ำคัญต่อยอดขายตามงบประมาณขายเป็นอย่างมาก หากองค์กรธุรกิจมีคา่ ใช้จา่ ยในการ
ขายเป็นจ�ำนวนมาก การจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขายควรแสดงรายละเอียดแยกออกเป็น ค่าใช้จา่ ย
ในการขายผันแปร และค่าใช้จ่ายในการขายคงที่ นอกจากนี้อาจแยกรายละเอียดของค่าใช้จ่ายในการขาย

ตามหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขาย หรือตามพนักงานขาย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมค่าใช้จ่าย
ในการขายให้เกิดประสิทธิภาพต่อยอดขายมากที่สุด
มส
สธ

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.17

ตารางที่ 9.17 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย

ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท
มส

รายการ จ�ำนวนเงิน
เงินเดือนและค่าจ้าง 78,000
มส

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่ารับรอง 36,500
ค่านายหน้าในการขาย 33,500
ค่าขนส่งสินค้า 35,700
ค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย 39,300


การงบประมาณ 9-53

สธ มส
ตารางที่ 9.17 (ต่อ)

รายการ จ�ำนวนเงิน
ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ 6,500
ค่าโทรศัพท์และไปรษณียากร 9,800
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 7,200
รวม 246,500


สธ
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายอาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ได้
เช่นเดียวกับงบประมาณอืน่ ๆ งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขายแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.18


ตารางที่ 9.18 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
สธ

เงินเดือนและค่าจ้าง 19,500 19,500 19,500 19,500 78,000


ค่าใช้จา่ ยในการเดินทางและค่ารับรอง 9,125 9,125 9,125 9,125 36,500

ค่านายหน้าในการขาย 10,050 6,700 6,700 10,050 33,500
ค่าขนส่งสินค้า 10,710 7,140 7,140 10,710 35,700
ธค่าโฆษณาและส่งเสริมการขาย 9,825 9,825 9,825 9,825 39,300
ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ 1,625 1,625 1,625 1,625 6,500
ค่าโทรศัพท์และไปรษณียากร 2,450 2,450 2,450 2,450 9,800
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 1,800 1,800 1,800 1,800 7,200
มส

รวม 65,085 58,165 58,165 65,085 246,500


มส

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร (Administrative Expense Budget) เป็นงบประมาณที่
แสดงเกีย่ วกับค่าใช้จา่ ยในการบริหารทัว่ ไปขององค์กรธุรกิจนอกเหนือไปจากค่าใช้จา่ ยการผลิตและค่าใช้จา่ ย
ในการขาย เช่น เงินเดือนฝ่ายจัดการ เงินเดือนพนักงานในส�ำนักงานบริหาร ค่าโทรศัพท์ ค่าพาหนะ


9-54 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ค่าเบี้ยประกันภัย ค่ารับรอง ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษาส�ำนักงาน และค่าเสื่อมราคาอาคารส�ำนักงาน
เป็นต้น ค่าใช้จา่ ยในการบริหารเหล่านีจ้ ะเกีย่ วข้องกับค่าใช้จา่ ยของแผนกต่างๆ หลายแผนกในองค์กรธุรกิจ
ดังนั้น ในการจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารนี้ จึงควรแยกรายละเอียดค่าใช้จ่ายตามหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบ เช่น แผนกการเงิน แผนกบัญชี แผนกจัดการทั่วไป เป็นต้น หัวหน้าแผนกของแต่ละแผนก
จะเป็นผู้รับผิดชอบในการประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแผนกของตน จากนั้นก็จะ
น�ำค่าใช้จ่ายในการบริหารของแต่ละแผนกที่จัดท�ำเสร็จเรียบร้อยแล้วมารวมกับค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนกลาง
แล้วน�ำมาจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารรวม
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร สามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.19


สธ
ตารางที่ 9.19 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร


บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
รายการ จ�ำนวนเงิน
เงินเดือนและค่าจ้าง 113,400
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากร 20,600
สธ

ค่าโทรศัพท์และไปรษณียากร 11,500
ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ 8,300
ค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย 3,000

ค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์สิน 2,200
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ 14,300
ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษาส�ำนักงาน 7,700
ธ ค่าเสื่อมราคาส�ำนักงานและครุภัณฑ์
ค่าไฟฟ้าและค่าน�้ำประปา
ค่าสอบบัญชี
20,500
12,700
3,000
มส

หนี้สูญ 23,300
รวม 240,500
มส

งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารอาจแยกตามระยะเวลา เป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส ได้


เช่นเดียวกับงบประมาณอืน่ งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริหารแยกตามรายไตรมาส แสดงในตารางที่ 9.20


การงบประมาณ 9-55

สธ มส
ตารางที่ 9.20 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท

รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


สธ
เงินเดือนและค่าจ้าง 28,350 28,350 28,350 28,350 113,400
ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาบุคลากร 5,150 5,150 5,150 5,150 20,600


ค่าโทรศัพท์และไปรษณียากร 2,875 2,875 2,875 2,875 11,500
ค่าเครื่องเขียนและแบบพิมพ์ 2,075 2,075 2,075 2,075 8,300
ค่าที่ปรึกษาทางกฎหมาย 750 750 750 750 3,000

ค่าเบี้ยประกันภัยทรัพย์สิน 2,200 - - - 2,200
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ 3,575 3,575 3,575 3,575 14,300
ค่าซ่อมแซมและบ�ำรุงรักษาส�ำนักงาน 1,925 1,925 1,925 1,925 7,700
ค่าเสื่อมราคาส�ำนักงานและครุภัณฑ์ 5,125 5,125 5,125 5,125 20,500
ค่าไฟฟ้าและค่าน�้ำประปา 3,175 3,175 3,175 3,175 12,700
ค่าสอบบัญชี - - - 3,000 3,000
สธ

หนี้สูญ - - - 23,300 23,300


รวม 55,200 53,000 53,000 79,300 240,500


งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น
ธ งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น (Other Income and Expense Budget) เป็นงบประมาณ
ที่แสดงรายได้อื่นและค่าใช้จ่ายอื่นซึ่งไม่ใช่รายได้และค่าใช้จ่ายจากการประกอบธุรกิจตามปกติขององค์กร
ธุรกิจ เช่น รายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินลงทุนระยะสั้น เงินปันผลจากการน�ำเงินไปลงทุนในธุรกิจอื่น หรือ
ค่าใช้จ่ายที่เป็นดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินที่องค์กรธุรกิจกู้ยืมเงินมาใช้ในการด�ำเนินธุกิจ เป็นต้น
มส

หากองค์กรธุรกิจมีรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นเป็นจ�ำนวนไม่มากนัก ก็สามารถน�ำยอดรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น
เหล่านีไ้ ปรวมแสดงไว้ในงบประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริหารได้ แต่ถา้ ทีร่ ายได้และค่าใช้จา่ ยอืน่ เป็นจ�ำนวน
มส

มากก็ต้องแยกแสดงไว้เป็นงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น การจัดท�ำงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่าย
อื่นนี้ ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดท�ำอาจจะประมาณการจากยอดรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นในปีที่ผ่านมา
หรือใช้กิจกรรมในปีงบประมาณนั้นๆ เป็นฐานในการประมาณได้
งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.21


9-56 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.21 งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
รายการ จ�ำนวนเงิน


สธ รายได้อื่น
ดอกเบี้ยรับ 15,000


ค่าเช่ารับ 6,000
เงินปันผลรับ 550
รายได้เบ็ดเตล็ด 130

รวม 21,680
ค่าใช้จ่ายอื่น
ดอกเบี้ยจ่าย (3,150)
รายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิ 18,530

งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นอาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสได้
สธ

เช่นเดียวกับงบประมาณอื่นๆ งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตาราง


ที่ 9.22


มส

มส


การงบประมาณ 9-57

สธ มส
ตารางที่ 9.22 งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
รายการ ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


สธ
รายได้อื่น
ดอกเบี้ยรับ 3,844 3,844 3,844 3,468 15,000


ค่าเช่ารับ 1,500 1,500 1,500 1,500 6,000
เงินปันผลรับ 550 - - - 550
รายได้เบ็ดเตล็ด 32 32 32 34 130

รวม 5,926 5,376 5,376 5,002 21,680
ค่าใช้จ่ายอื่น
ดอกเบี้ยจ่าย - (800) - (2,350) (3,150)
รายได้ (ค่าใช้จ่าย) สุทธิ 5,926 4,576 5,376 2,652 18,530
สธ

กิจกรรม 9.2.4
องค์กรธุรกิจสามารถจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหาร รวมทัง้ รายได้และค่าใช้จา่ ย

อื่นได้อย่างไรบ้าง

แนวตอบกิจกรรม 9.2.4
ธ การจัดท�ำงบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขายและบริหาร รวมทัง้ รายได้และค่าใช้จา่ ยอืน่ สามารถแยก
ได้เป็น 2 กรณีคือ
1. ถ้าค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายและบริหาร รวมทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายอื่นมีจ�ำนวน
มส

ไม่มากนัก จะแสดงรวมไว้ในงบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
2. ถ้าค่าใช้จา่ ยต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการขายและบริหาร รวมทัง้ รายได้และค่าใช้จา่ ยอืน่ มีจำ� นวนมาก
มส

ต้องแสดงแยกเป็น งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหาร และงบประมาณ


รายได้และค่าใช้จ่ายอื่น


9-58 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

มส
เรื่องที่ 9.2.5
งบประมาณก�ำไรขาดทุน

งบประมาณก�ำไรขาดทุน (Budgeted Income Statement) เป็นงบประมาณที่แสดงเกี่ยวกับ


ผลการด�ำเนินงานขององค์กรธุรกิจในปีถัดไป ว่าได้จะรับก�ำไรตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ การจัดท�ำ
งบประมาณก�ำไรขาดทุนจะจัดท�ำโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับงบก�ำไรขาดทุนตามมาตรฐานการรายงาน
ทางการเงิน ข้อมูลที่ใช้ในการจัดท�ำงบประมาณก�ำไรขาดทุนจะอาศัยข้อมูลจากงบประมาณต่างๆ ที่ได้จัด

มส

ท�ำมาแล้วมา ซึง่ ได้แก่ ข้อมูลจากงบประมาณขาย งบประมาณต้นทุนขาย งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการขาย
งบประมาณค่าใช้จ่ายในการบริหารและงบประมาณรายได้และค่าใช้จ่ายอื่น น�ำมาประกอบกันจัดท�ำเป็น
มส
งบประมาณก�ำไรขาดทุน ซึง่ จะแสดงผลลัพธ์เป็นก�ำไรขัน้ ต้นและก�ำไรสุทธิ โดยอาจแยกตามระยะเวลาเป็น
รายไตรมาส หรือแสดงผลการด�ำเนินงานเป็นงวดประจ�ำปีกไ็ ด้
งบประมาณก�ำไรขาดทุนแสดงผลการด�ำเนินงานเป็นงวดประจ�ำปีสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงใน
ตารางที่ 9.23
ตารางที่ 9.23 งบประมาณก�ำไรขาดทุน
บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
ธ งบประมาณก�ำไรขาดทุน
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
มส
สธ

หน่วย: บาท
รายการ จ�ำนวนเงิน
ขาย (จากตารางที่ 9.1) 2,300,000
หัก ต้นทุนขาย (จากตารางที่ 9.15) 1,301,000
ก�ำไรขั้นต้น 999,000
หัก ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายในการขาย (จากตารางที่ 9.17)
ธ 246,500
มส

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (จากตารางที่ 9.19) 240,500 487,000


ก�ำไรจากการด�ำเนินงาน 512,000
บวก รายได้อื่น (จากตารางที่ 9.21) 21,680
มส

533,680
หัก ค่าใช้จ่ายอื่น (จากตารางที่ 9.21) 3,150
ก�ำไรก่อนหักภาษีเงินได้ 530,530
หัก ภาษีเงินได้ 30% 159,159
ก�ำไรสุทธิ 371,371


การงบประมาณ 9-59

สธ มส
กิจกรรม 9.2.5
ให้ทำ� : งบก�ำไรขาดทุนโดยประมาณของบริษทั สามศรการผลิต จ�ำกัด โดยใช้ขอ้ มูลจากงบประมาณ
ต่างๆ ที่ได้ทำ� แล้ว ตั้งแต่กิจกรรม 9.2.2-9.2.3 และมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
1. ราคาขายสินค้า ก. ต่อหน่วยเท่ากับ 60 บาท
สินค้า ข. ต่อหน่วยเท่ากับ 90 บาท
2. ค่าใช้จ่ายในการขายปี 25X1 เท่ากับ 260,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในการบริหารปี 25X1 เท่ากับ 240,000 บาท
3. อัตราภาษีเงินได้ 20%


สธ
แนวตอบกิจกรรม 9.2.5


บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณก�ำไรขาดทุน

ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
ขาย 2,370,000
หัก ต้นทุนขาย 1,735,200
สธ

ก�ำไรขั้นต้น 634,800
หัก ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 240,000
ค่าใช้จ่ายในการขาย 260,000 500,000

ก�ำไรก่อนภาษีเงินได้ 134,800
ภาษีเงินได้ 20% 26,960
ก�ำไรสุทธิ
ธ 107,840
มส

มส


9-60 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตอนที่ 9.3
การจัดท�ำงบประมาณการเงิน
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 9.3 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
9.3.1 งบประมาณรายจ่ายลงทุน


9.3.2 งบประมาณเงินสด
สธ
9.3.3 งบประมาณแสดงฐานะการเงิน


แนวคิด
1. งบประมาณรายจ่ายลงทุนเป็นงบประมาณทีแ่ สดงรายการเกีย่ วกับการลงทุนในสินทรัพย์

ไม่หมุนเวียนต่างๆ โดยแสดงรายละเอียดแยกตามระยะเวลา การจัดท�ำงบประมาณ
รายจ่ายลงทุน จะท�ำให้กิจการวางแผนการใช้เงินสดได้
2. งบประมาณเงินสดเป็นงบประมาณที่จัดท�ำเพื่อแสดงรายการรับเงินสดและจ่ายเงินสด
โดยแสดงรายละเอียดแยกตามระยะเวลา การจัดท�ำงบประมาณนี้จะท�ำให้กิจการทราบ
ฐานะเงินสดได้ล่วงหน้า
3. งบประมาณแสดงฐานะการเงินเป็นงบประมาณที่แสดงฐานะของกิจการล่วงหน้า ท�ำให้
สธ

กิจการทราบยอดคงเหลือของบัญชีเกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
โดยประมาณ

วัตถุประสงค์
ธ เมื่อศึกษาตอนที่ 9.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ
1. จัดท�ำงบประมาณรายจ่ายลงทุนได้
2. จัดท�ำงบประมาณเงินสดได้
3. จัดท�ำงบประมาณแสดงฐานะการเงินได้
มส

มส


การงบประมาณ 9-61

สธ มส
เรื่องที่ 9.3.1
งบประมาณรายจ่ายลงทุน

งบประมาณรายจ่ายลงทุน (Capital Budget) เป็นงบประมาณที่แสดงการจ่ายเงินลงทุนใน


สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น การสร้างโรงงาน การซื้อเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่า การซื้ออุปกรณ์
เพิม่ เติม การขยายการผลิต หรือการผลิตสินค้าใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะก�ำหนดไว้ในแผนการด�ำเนินธุรกิจ โดย
เฉพาะในแผนโครงการ ซึง่ นับเป็นแผนทีส่ ำ� คัญในการด�ำรงอยูแ่ ละเจริญเติบโตในระยะยาวขององค์กรธุรกิจ


สธ
แผนโครงการขององค์กรธุรกิจในการจัดหาสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนี้ องค์กรธุรกิจจ�ำเป็นต้องตัดสินใจอย่างดี
ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินเป็นจ�ำนวนมากและจะผูกพันกับองค์กรธุรกิจในระยะยาว ดังนั้น


แผนการจัดหาสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนีจ้ งึ ถือเป็นการตัดสินใจรายจ่ายลงทุนในระยะยาวซึง่ ต้องเกีย่ วข้องกับ
การจัดท�ำงบประมาณรายจ่ายลงทุนเป็นส�ำคัญ การจัดท�ำงบประมาณรายจ่ายลงทุนจะอาศัยข้อมูลจากการ
วิเคราะห์การลงทุนในรูปของแผนโครงการที่ได้ผ่านความเห็นชอบและอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงของ

องค์กรธุรกิจแล้ว มาจัดท�ำเป็นงบประมาณรายจ่ายลงทุนในปีงบประมาณที่ก�ำหนดไว้ และจะผูกพันกับงบ
ประมาณไปจนกระทัง่ การจ่ายช�ำระเงินตามงบประมาณทีก่ ำ� หนดไว้สนิ้ สุดลง นอกจากนีข้ อ้ มูลในงบประมาณ
รายจ่ายลงทุนจะใช้ในการจัดท�ำงบประมาณเงินสดและงบประมาณแสดงฐานะการเงินอีกด้วย
งบประมาณรายจ่ายลงทุนสามารถจัดท�ำได้ ดังแสดงในตารางที่ 9.24
ตารางที่ 9.24 งบประมาณรายจ่ายลงทุน
สธ

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณรายจ่ายลงทุน

ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

ธ หน่วย: บาท
ล�ำดับที่ วันแล้ว มูลค่าทั้งหมด เงินที่จ่ายช�ำระ เงินที่จ่ายช�ำระ เงินที่จ่าย
ชื่อโครงการ วันเริ่ม
โครงการ เสร็จ ของโครงการ ปีที่แล้ว ปีนี้ ช�ำระปีหน้า
มส
1 ปรับปรุงและ 1 ม.ค. 30 พ.ย. 122,500 60,000 62,500 -

ขยายอาคาร 25X0 25X1


2 ซื้อเครื่องจักรใหม่ 1 ก.พ. 30 มิ.ย. 155,000 - 155,000 -
มส

1 เครื่อง 25X0 25X1


3 สร้างโรงงานผลิต 1 มิ.ย. 30 เม.ย. 89,000 - 40,000 49,000
สินค้า 1 หลัง 25X0 25X1
รวม 366,500 60,000 257,500 49,000


9-62 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
งบประมาณรายจ่ายลงทุนอาจแยกตามระยะเวลาเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสได้เช่นเดียวกับ
งบประมาณอื่นๆ งบประมาณรายจ่ายลงทุนแยกตามรายไตรมาส ดังแสดงในตารางที่ 9.25

ตารางที่ 9.25 งบประมาณรายจ่ายลงทุน แยกเป็นรายไตรมาส

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณรายจ่ายลงทุน
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1


สธ หน่วย: บาท
ล�ำดับ โครงการ ไตรามาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม


1 ปรับปรุงและขยายอาคาร - - - 62,500 62,500

2 ซื้อเครื่องจักรใหม่ 1 เครื่อง - 155,000 - - 155,000
3 สร้างโรงงานผลิตสินค้า 1 หลัง - - - 40,000 40,000
รวม - 155,000 - 102,500 257,500
สธ

กิจกรรม 9.3.1
บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด มีแผนการซื้อสินทรัพย์ ในปี 25X1 ดังนี้

งวดที่ 1 ซื้อรถบรรทุก 43,000 บาท
ซื้อเครื่องใช้ส�ำนักงาน 6,000 บาท
ซื้ออุปกรณ์โรงงาน 22,000 บาท
งวดที่ 2 ซื้อเครื่องใช้ส�ำนักงาน 6,000 บาท

งวดที่ 3
ซื้ออุปกรณ์โรงงาน
ซื้อเครื่องใช้ส�ำนักงาน
22,000 บาท
6,000 บาท
มส

งวดที่ 4 ซื้อรถบรรทุก 86,000 บาท


ซื้อเครื่องใช้ส�ำนักงาน 6,000 บาท
มส

ให้ท�ำ: งบประมาณรายจ่ายลงทุน


การงบประมาณ 9-63

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.3.1

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณรายจ่ายลงทุน
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

งวดที่ รวม
รายการ (บาท)
1 2 3 4


สธ
รถบรรทุก 43,000 - - 86,000 129,000
เครื่องใช้ส�ำนักงาน 6,000 6,000 6,000 6,000 24,000


อุปกรณ์โรงงาน 22,000 22,000 - - 44,000
71,000 28,000 6,000 92,000 197,000

สธ


มส

มส


9-64 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
เรื่องที่ 9.3.2
งบประมาณเงินสด

งบประมาณเงินสด (Cash Budget) เป็นงบประมาณที่แสดงรายการเงินสดรับและเงินสดจ่าย


รวมทั้งเงินสดคงเหลือปลายงวด ไว้ล่วงหน้าส�ำหรับปีงบประมาณที่จัดท�ำ ดังนั้น งบประมาณเงินสดจึงถือ
เป็นเครื่องมือส�ำหรับการวางแผนเงินสดที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งจะท�ำให้ทราบสภาพคล่องทางการเงินของ


องค์กรธุรกิจ การขาดสภาพคล่องขององค์กรธุรกิจ ไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะช�ำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ย่อมส่ง
สธ
ผลให้องค์กรธุรกิจต้องถูกฟ้องร้องให้ช�ำระหนี้หรือถูกฟ้องร้องให้ล้มละลายจนถึงต้องเลิกกิจการไปในที่สุด
แม้วา่ กิจการจะมีกำ� ไรมากเพียงใดก็ตาม ดังนัน้ ฝ่ายบริหารจึงจ�ำเป็นต้องทราบสถานภาพเงินสดขององค์กร


ธุรกิจอยูต่ ลอดเวลาเพือ่ ป้องกันมิให้เกิดสภาพเงินสดขาดมืออันจะน�ำมาซึง่ ความเสียหายทีจ่ ะเกิดขึน้ ดังกล่าว
การจัดท�ำงบประมาณเงินสดจะอาศัยข้อมูลจากงบประมาณต่างๆ ทีท่ ำ� เสร็จแล้ว ได้แก่ งบประมาณ

ด�ำเนินการและงบประมาณรายจ่ายลงทุน รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ เช่น นโยบายของผู้บริหารระดับสูงเกี่ยวกับ
การลงทุน การออกหุ้น และการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น จากนั้นก็น�ำมาจัดท�ำเป็นงบประมาณเงินสด ดังนี้
1. น�ำตัวเลขรายได้และค่าใช้จ่ายจากงบประมาณด�ำเนินการที่ได้จัดท�ำไว้แล้ว ได้แก่ งบประมาณ
ขาย งบประมาณจัดซื้อวัตถุ งบประมาณค่าแรงงานทางตรง งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต งบประมาณ
ค่าใช้จา่ ยในการขาย งบประมาณค่าใช้จา่ ยในการบริหาร และงบประมาณรายได้และค่าใช้จา่ ยอืน่ ซึง่ ได้จดั
ท�ำตามเกณฑ์คงค้างมาปรับปรุงให้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือเงินสดรับและ
สธ

เงินสดจ่ายในแต่ละงวดของปีงบประมาณที่จัดท�ำ
2. น�ำจ�ำนวนเงินที่จ่ายลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจากงบประมาณรายจ่ายลงทุน มาปรับปรุง
ให้เป็นเงินสดจ่ายในแต่ละงวดของปีงบประมาณที่จัดท�ำเช่นกัน

3. ก�ำหนดปริมาณเงินสดคงเหลือขั้นต�่ำในแต่ละงวดของปีงบประมาณที่จัดท�ำ
4. น�ำยอดเงินสดคงเหลือต้นงวดจากงบแสดงฐานะการเงินปีก่อนมาใช้ประกอบในการจัดท�ำ
งบประมาณ
ธ 5. ค�ำนวณหายอดเงินสดคงเหลือปลายงวดในแต่ละงวดของงบประมาณที่จัดท�ำ โดยใช้ข้อมูลใน
ข้อ 1-4 ผลลัพธ์ที่ได้ คือยอดเงินสดรับสุทธิในแต่ละงวดของงบประมาณที่จัดท�ำ ซึ่งอาจเกิดเงินสดรับ
มส

มากกว่าเงินสดจ่ายหรือเงินสดจ่ายมากกว่าเงินสดรับก็ได้ หากเงินสดจ่ายมากกว่าเงินสดรับแสดงว่าเกิด
สภาพเงินสดขาดมือหรือมีเงินสดไม่เพียงพอต่อความต้องการ ผูบ้ ริหารก็สามารถเตรียมการวางแผนจัดหา
เงินสดจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ได้ล่วงหน้า และถ้าเงินสดรับมากกว่าเงินสดจ่าย แสดงว่าเกิดสภาพเงินสด
มส

คงเหลือเกินตามความต้องการ ผูบ้ ริหารก็จะได้เตรียมน�ำเงินสดทีเ่ หลือเกินความต้องการนีไ้ ปลงทุนเพือ่ ให้


ได้รบั ผลตอบแทนทีด่ ี ในขณะเดียวกันก็สามารถเปลีย่ นกลับมาเป็นเงินสดเพือ่ ไว้ใช้ในกิจการได้อกี ครัง้ เมือ่
มีความจ�ำเป็น โดยไม่เสียผลประโยชน์และทันเวลา


การงบประมาณ 9-65

สธ มส
งบประมาณเงินสดรวมทั้งปีสามารถจัดท�ำได้ดังแสดงในตารางที่ 9.26

ตารางที่ 9.26 งบประมาณเงินสด

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณเงินสด
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท


สธ รายการ จ�ำนวนเงิน
เงินสดคงเหลือยกมาต้นงวด 12,000


ประมาณการเงินสดรับ
เก็บเงินจากลูกค้า 2,296,250
รายได้อื่นๆ 21,680

เงินกู้ยืมตามตั๋วสัญญาใช้เงิน 63,000
รวม เงินสดรับ 2,380,930
ประมาณการเงินสดจ่าย
ค่าวัตถุทางตรง 547,300
ค่าแรงงานทางตรง 450,000
ค่าใช้จ่ายการผลิต 360,000
สธ

ค่าใช้จ่ายในการขาย 246,500
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 240,500
ภาษีเงินได้ 82,000

รายจ่ายลงทุน 257,500
จ่ายคืนเงินกู้ 63,000
ดอกเบี้ยจ่าย 3,150
ธ รวม เงินสดจ่าย
เงินสดคงเหลือยกไปปลายงวด
2,249,950
142,980
มส

งบประมาณเงินสดอาจแยกตามระยะเวลาได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนทางการเงินของ
มส

องค์กรธุรกิจ ซึง่ อย่างน้อยควรจะแยกเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาส งบประมาณเงินสดแยกเป็นรายไตรมาส


ดังแสดงในตารางที่ 9.27


9-66 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตารางที่ 9.27 งบประมาณเงินสด แยกเป็นรายไตรมาส
บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณเงินสด
ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1

หน่วย: บาท
รายการ ไตรามาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4
เงินสดคงเหลือยกมาต้นงวด 12,000 10,821 81,633 71,305


สธ
บวก รายการรับ
เก็บเงินจากลูกค้า 631,250 547,500 480,000 637,500


รายได้อื่นๆ 5,926 5,377 5,377 5,000
รวมเงินสดที่มีอยู่ก่อนกู้ยืม 649,176 563,698 567,010 713,805
หัก รายการจ่าย

ค่าวัตถุทางตรง 230,370 167,800 89,240 59,890
ค่าแรงงานทางตรง 124,500 103,500 104,500 117,500
ค่าใช้จ่ายการผลิต 97,200 82,800 82,800 97,200
ค่าใช้จ่ายในการขาย 65,085 58,165 58,165 65,085
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 55,200 53,000 53,000 79,300
ภาษีเงินได้ 82,000 - -
สธ

รายจ่ายลงทุน - - 155,000 102,500


เงินกันไว้ส�ำหรับลงทุน - 49,000 49,000 49,000
เงินสดที่ต้องด�ำรงไว้ 10,000 12,000 12,000 12,000

รวมเงินสดที่ต้องการไว้ใช้จ่าย 664,355 526,265 603,705 582,475
เงินสดเกินมือ (ขาดมือ) (15,179) 37,433 (36,695) 131,330
บวก เงินกู้ยืม (ณ ต้นงวด) 16,000 47,000

หัก จ่ายคืนเงินกู้ยืม (ณ สิ้นงวด)
ดอกเบี้ยจ่าย
821
-
-
16,000
800
10,305
-
-
47,000
2,350
มส

เงินสดคงเหลือ 821 20,633 10,305 81,980


บวก เงินสดที่กันไว้เป็นเงินที่ต้องด�ำรงไว้ 10,000 12,000 12,000 12,000
มส

เงินกันไว้ส�ำหรับลงทุน - 49,000 49,000 49,000


เงินสดคงเหลือปลายงวด 10,821 81,633 71,305 142,980


การงบประมาณ 9-67

สธ มส
กิจกรรม 9.3.2
บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด มียอดลูกหนี้ยกมา 228,000 บาท มีงบประมาณขาย ดังนี้

งวดที่ 1 570,000 บาท


งวดที่ 2 540,000 บาท
งวดที่ 3 390,000 บาท
งวดที่ 4 870,000 บาท
2,370,000 บาท


สธ
การเก็บเงินจากการขายเป็นดังนี้


เก็บได้ในงวดที่ขาย 70%
ที่เหลือเก็บในงวดถัดไป 30%
ให้ท�ำ: งบประมาณเงินสดแสดงเฉพาะเงินสดรับจากการขาย

แนวตอบกิจกรรม 9.3.2
งบประมาณเงินสดแสดงเฉพาะเงินสดรับจากการขาย จัดท�ำได้ดังนี้

บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณเงินสด (บางส่วน)
สธ

ส�ำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25X1



หน่วย: บาท
งวดที่
รายการ รวม
1 2 3 4

เงินสดต้นงวด
บวก เงินสดรับระหว่างงวด
31,000 82,200 120,100 25,500 31,000
มส

จากการขายงวดที่แล้ว 30% 228,000 171,000 162,000 117,000 678,000


จากการขายงวดปัจจุบัน 70% 399,000 378,000 273,000 609,000 1,659,000
มส

รวมเงินสดรับ 658,000 631,200 555,100 751,500 2,368,000




9-68 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
เรื่องที่ 9.3.3
งบประมาณแสดงฐานะการเงิน

งบประมาณแสดงฐานะการเงิน (Budgeted Statement of Financial Position) เป็น


งบประมาณที่แสดงเกี่ยวกับฐานะการเงินขององค์กรธุรกิจว่ามียอดคงเหลือของสินทรัพย์ หนี้สิน และ
ส่วนของเจ้าของเป็นจ�ำนวนเท่าใด ณ วันสิ้นงวด ในปีถัดไป จะจัดท�ำหลังจากงบประมาณด�ำเนินการและ


งบประมาณอื่นท�ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่ใช้ในการจัดท�ำงบประมาณแสดงฐานะการเงินจะอาศัยข้อมูล
สธ
จากงบประมาณต่างๆ ที่ได้จัดท�ำมาแล้วมา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลจากงบประมาณด�ำเนินการ งบประมาณ
รายจ่ายลงทุน และงบประมาณเงินสด น�ำมาประกอบกันจัดท�ำเป็นงบประมาณแสดงฐานะการเงิน หาก


องค์กรธุรกิจได้ปฏิบตั งิ านตามแผนงานทีว่ างไว้ งบประมาณแสดงฐานะการเงินทีไ่ ด้จะสอดคล้องกับแผนการ
ด�ำเนินธุรกิจและบรรลุเป้าหมายขององค์กรธุรกิจที่วางไว้ งบประมาณแสดงฐานะการเงินสามารถจัดท�ำได้

ดังแสดงในตารางที่ 9.28

ตารางที่ 9.28 งบประมาณแสดงฐานะการเงิน

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณแสดงฐานะการเงิน
สธ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1


หน่วย: บาท

สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (จากตารางที่ 9.26) 142,980
ธ ลูกหนี้การค้า
สินค้าคงเหลือ
173,750
มส
วัตถุ (จากตารางที่ 9.13) 38,000

งานระหว่างท�ำปลายงวด (จากตารางที่ 9.13) 5,000


สินค้าส�ำเร็จรูป (จากตารางที่ 9.13) 243,000 286,000
มส

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 602,730


การงบประมาณ 9-69

สธ มส
ตารางที่ 9.28 (ต่อ)
สินทรัพย์
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่ดิน 100,000
ปรับปรุงอาคารส�ำนักงาน (จากตารางที่ 9.24) 122,500
อาคาร อุปกรณ์และเครื่องจักร 400,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 85,000 315,000
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 537,500


สธ
รวมสินทรัพย์ 1,140,230
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน


เจ้าหนี้การค้า 53,600
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (จากตารางที่ 9.23) 159,159

รวมหนี้สินหมุนเวียน 212,759
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น: หุ้นสามัญจดทะเบียนและเรียกช�ำระเต็มมูลค่าแล้ว 5,000 หุ้น 500,000
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
ก�ำไรสะสมต้นงวด 56,100
บวก ก�ำไรสุทธิ (จากตารางที่ 9.23) 371,371 427,471
สธ

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 927,471
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,140,230

กิจกรรม 9.3.3
จงใช้ข้อมูลจากกิจกรรม 9.2.2–9.3.2 จัดท�ำงบประมาณแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม

25X1 ของบริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด โดยมีข้อมูลงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X0
ดังนี้
มส

มส


9-70 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X0

หน่วย: บาท
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด 31,000


สธ
ลูกหนี้ 228,000
สินค้าคงเหลือ


วัตถุ 66,000
สินค้าส�ำเร็จรูป 111,600
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 436,600

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่ดิน 60,000
อาคาร 780,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 200,000 580,000
อุปกรณ์และเครื่องใช้ส�ำนักงาน 383,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 96,000 287,000
สธ

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 927,000
รวมสินทรัพย์ 1,363,600

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ธ ทุนหุ้นสามัญ 600,000
ก�ำไรสะสม 763,600
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,363,600
มส

มส


การงบประมาณ 9-71

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.3.3
งบประมาณแสดงฐานะการเงิน จัดท�ำได้ดังนี้
บริษัทสามศรการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณแสดงฐานะการเงิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25X1
หน่วย: บาท
สินทรัพย์


สธ
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสด (งบประมาณเงินสด) 73,700


ลูกหนี้ (งบประมาณขาย กิจกรรม 9.2.2) 261,000
สินค้าคงเหลือ
วัตถุ (งบประมาณวัตถุคงเหลือ กิจกรรม 9.2.2) 73,200

สินค้าส�ำเร็จรูป (งบประมาณต้นทุนขาย กิจกรรม 9.2.3) 104,500
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 512,400
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
ที่ดิน 60,000
อาคาร 780,000
หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 290,000 490,000
สธ

รถบรรทุก อุปกรณ์และเครื่องใช้ส�ำนักงาน
(งบประมาณรายจ่ายลงทุน กิจกรรม 9.3.1) 580,000

หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม 144,000 436,000
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 986,000
รวมสินทรัพย์
ธ 1,498,400
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สิน
มส
ภาษีเงินได้ค้างจ่าย (งบประมาณก�ำไรขาดทุน กิจกรรม 9.2.5) 26,960

ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนหุ้นสามัญ 600,000
มส

ก�ำไรสะสม (763,600 + งบประมาณก�ำไรขาดทุน 107,840 จาก 871,440 1,471,440


กิจกรรม 9.2.5)
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,498,400


9-72 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
ตอนที่ 9.4
การจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่น
โปรดอ่านหัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนที่ 9.4 แล้วจึงศึกษารายละเอียดต่อไป

หัวเรื่อง
9.4.1 ความส�ำคัญ ความหมาย และประโยชน์ของงบประมาณยืดหยุ่น


9.4.2 วิธีการจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่น
สธ
แนวคิด


1. งบประมาณยืดหยุน่ เป็นงบประมาณทีจ่ ดั ท�ำขึน้ ไว้ ณ ระดับการผลิตหลายๆ ระดับ เพือ่
ให้เหมาะสมกับระดับการผลิตนั้นๆ ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหารในการ

ควบคุมการด�ำเนินงานและประเมินประสิทธิภาพในการท�ำงาน
2. การจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นสามารถน�ำไปใช้ในการจัดท�ำงบประมาณต่างๆ ของ
หน่วยงานในองค์กรธุรกิจได้โดยแยกต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายออกเป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
คงที่และต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายผันแปร แล้วค�ำนวณหาอัตราต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายผันแปร
ต่อหน่วย จากนั้นจัดท�ำงบประมาณการผลิต ณ ระดับการผลิตต่างๆ
สธ

วัตถุประสงค์
เมื่อศึกษาตอนที่ 9.4 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความส�ำคัญของงบประมาณยืดหยุ่นได้
2. อธิบายความหมายของงบประมาณยืดหยุ่นได้
ธ 3. อธิบายประโยชน์ของงบประมาณยืดหยุ่นได้
4. จัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นได้
มส

มส


การงบประมาณ 9-73

มส
เรื่องที่ 9.4.1
คาวามส�ำคัญ ความหมาย และประโยชน์ของงบประมาณยืดหยุ่น

ความส�ำคัญของงบประมาณยืดหยุ่น
งบประมาณต่างๆ ทีก่ ล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถจัดท�ำได้หลายลักษณะทัง้ นีข้ นึ้ อยูก่ บั วัตถุประสงค์
ในการจัดท�ำงบประมาณ เช่น งบประมาณตามความรับผิดชอบ งบประมาณตามกิจกรรม งบประมาณฐาน
ศูนย์ งบประมาณคงที่ งบประมาณยืดหยุ่น เป็นต้น

มส
ธ การจัดท�ำงบประมาณในลักษณะที่มีการก�ำหนดการผลิตคงที่ ณ ระดับการผลิตระดับหนึ่ง แล้ว
วัดผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณ ณ ระดับการผลิตนั้นระดับเดียว เรียกว่าเป็นการจัดท�ำ
มส
งบประมาณคงที่ (Fixed Budget)
ส่วนการจัดท�ำงบประมาณทีส่ ามารถเปรียบเทียบผลการปฏิบตั งิ านทีเ่ กิดขึน้ จริงกับงบประมาณ ณ
ระดับการผลิตจริงได้หลายๆ ระดับ เรียกว่าเป็นการจัดท�ำงบประมาณแบบยืดหยุน่ (Flexible Budget)
ในกรณีที่ระดับการผลิตจริงไม่เป็นไปตามงบประมาณที่ก�ำหนดไว้หรือแตกต่างจากงบประมาณที่
ก�ำหนดไว้ ผลต่างทีเ่ กิดขึน้ จากการวิเคราะห์งบประมาณคงทีอ่ าจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดน�ำไปสูก่ ารตัดสินใจ
ที่ผิดพลาดได้ ในทางตรงกันข้ามผลต่างที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์งบประมาณยืดหยุ่น ย่อมให้ข้อมูลที่มี

ความหมายมากกว่าและเป็นประโยชน์ในการควบคุมการด�ำเนินงาน ทั้งนี้เนื่องจากผลต่างที่ได้เป็นข้อมูล
เปรียบเทียบระหว่างงบประมาณและข้อมูลจริงในระดับการผลิตระดับเดียวกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
มส
สธ

ตัวอย่างที่ 9.1 กิจการวางแผนการผลิต 900 หน่วยต่อเดือน งบประมาณคงที่ส�ำหรับค่าใช้จ่าย


การผลิต ณ ระดับการผลิต 900 หน่วย ในเดือนมิถุนายน เป็นดังนี้

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25XX

ค่าวัตถุทางอ้อม
ธ หน่วย: บาท
4,500
มส

ค่าแรงงานทางอ้อม 3,600
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 2,700
มส

ค่าสาธารณูปโภค 2,250
เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000
ค่าเสื่อมราคา 2,500
ค่าเบี้ยประกันภัย 1,000
รวม 19,550


9-74 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
หากถ้ากิจการผลิตได้จริงในเดือนมิถุนายนเพียง 600 หน่วย เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายการผลิต
ที่เกิดขึ้นจริงกับค่าใช้จ่ายการผลิตตามงบประมาณคงที่ที่ก�ำหนดไว้ ผลต่างที่เกิดขึ้นจะเป็นดังนี้

หน่วย: บาท
งบประมาณคงที่ ผลการปฏิบัติงานจริง
ผลต่าง
(ณ ระดับ 900 หน่วย) (ณ ระดับ 600 หน่วย)
ค่าวัตถุทางอ้อม 4,500 3,200 1,300 (น่าพอใจ)


ค่าแรงงานทางอ้อม 3,600 2,500 1,100 (น่าพอใจ)
สธ
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 2,700 2,000 700 (น่าพอใจ)
ค่าสาธารณูปโภค 2,250 3,150 (900) (ไม่น่าพอใจ)


เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000 3,000 -
ค่าเสื่อมราคา 2,500 2,500 -
ค่าเบี้ยประกันภัย 1,000 1,000 -

รวม 19,550 17,350 2,200 (น่าพอใจ)

จากตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นว่ามีผลต่างเกิดขึ้น 2,200 บาท เป็นผลต่างที่น่าพอใจซึ่งเสมือน


ให้ความหมายว่ากิจการมีการผลิตทีม่ ปี ระสิทธิภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วผลการปฏิบตั งิ านทีเ่ กิดขึน้ จริง
ณ ระดับการผลิตที่ 600 หน่วยย่อมเสียค่าใช้จา่ ยการผลิตน้อยกว่า ณ ระดับการผลิตที่ 900 หน่วยอยูแ่ ล้ว
สธ

ดังนัน้ ผลต่างดังกล่าวจึงไม่ได้ให้ความหมายว่ากิจการมีการผลิตทีม่ ปี ระสิทธิภาพแต่อย่างใด


ตัวอย่างที่ 9.2 จากตัวอย่างที่ 9.1 ถ้ากิจการจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นแทนงบประมาณคงที่ โดย
จัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิต ณ ระดับการผลิต 600 หน่วย 900 หน่วย และ 1200

หน่วย ในเดือนมิถุนายน ดังนี้

มส

มส


การงบประมาณ 9-75

สธ มส
บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25XX

หน่วย: บาท
ระดับการผลิต
600 หน่วย 900 หน่วย 1,200 หน่วย


สธ
ค่าวัตถุทางอ้อม 3,000 4,500 6,000
ค่าแรงงานทางอ้อม 2,400 3,600 4,800
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 1,800 2,700 3,600


ค่าสาธารณูปโภค 1,500 2,250 3,000
เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000 3,000 3,000
ค่าเสื่อมราคา 2,500 2,500 2,500

ค่าเบี้ยประกันภัย 1,000 1,000 1,000
รวม 15,200 19,550 23,900

ถ้ากิจการผลิตได้จริงในเดือนมิถุนายนเท่ากับ 600 หน่วย เมื่อน�ำค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริง


เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายการผลิตตามงบประมาณยืดหยุ่น ณ ระดับการผลิตเดียวกันคือที่ 600 หน่วย
สธ

ผลต่างที่เกิดขึ้นจะเป็นดังนี้

หน่วย: บาท

งบประมาณ ผลการปฏิบัติงานจริง
ผลต่าง
ธ (ณ ระดับ 600 หน่วย) (ณ ระดับ 600 หน่วย)
ค่าวัตถุทางอ้อม 3,000 3,200 (200) (ไม่น่าพอใจ)
ค่าแรงงานทางอ้อม 2,400 2,500 (100) (ไม่น่าพอใจ)
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 1,800 2,000 (200) (ไม่น่าพอใจ)
มส

ค่าสาธารณูปโภค 1,500 3,150 (1,650) (ไม่น่าพอใจ)


เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000 3,000 -
มส

ค่าเสื่อมราคา 2,500 2,500 -


ค่าประกันภัย 1,000 1,000 -
15,200 17,350 (2,150) (ไม่น่าพอใจ)


9-76 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
จากตัวอย่างข้างต้น ผลต่างเกิดขึน้ 2,150 บาท เป็นผลต่างทีไ่ ม่นา่ พอใจเป็นผลต่างทีเ่ กิดจากการ
เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริงกับงบประมาณยืดหยุ่น ณ ระดับการผลิตที่ 600 หน่วย ระดับ
เดียวกันกับการผลิตจริง ผลต่างทีเ่ กิดขึน้ จึงให้ความหมายแก่กจิ การ แสดงให้เห็นถึงผลการด�ำเนินงานของ
กิจการไม่มปี ระสิทธิภาพ ซึง่ ฝ่ายบริหารของกิจการสามารถน�ำผลต่างนีไ้ ปใช้ในการวิเคราะห์เพือ่ หาสาเหตุ
ต่อไป

ความหมายของงบประมาณยืดหยุ่น
จากทีก่ ล่าวมาข้างต้น อาจกล่าวได้วา่ งบประมาณยืดหยุน่ หมายถึง งบประมาณทีจ่ ดั ท�ำขึน้ ณ ระดับ


สธ
การผลิตหลายๆ ระดับ เพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตในระดับนั้นๆ เมื่อเกิดผลการปฏิบัติจริง ณ ระดับการ
ผลิตใด ก็จะเปรียบเทียบกับงบประมาณ ณ ระดับการผลิตนั้น ผลต่างที่เกิดขึ้นจึงจะให้ความหมายและ
สามารถน�ำไปวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุต่อไป


ประโยชน์ของงบประมาณยืดหยุ่น

ประโยชน์ของงบประมาณยืดหยุน่ ทีส่ ำ� คัญคือช่วยในการควบคุมผลการด�ำเนินงาน ผลต่างทีเ่ กิดขึน้
จากการเปรียบเทียบระหว่างงบประมาณยืดหยุ่นกับผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริง ทั้งแบบน่าพอใจและไม่น่า
พอใจ จะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ฝ่ายบริหารใช้ในการบริหารจัดการและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ถูกต้อง
นอกจากนี้งบประมาณยืดหยุ่นยังมีประโยชน์ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพในการท�ำงาน
เนื่องจากข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างงบประมาณและข้อมูลจริงในระดับการผลิตเดียวกัน
สธ

กิจกรรม 9.4.1

การจัดท�ำงบประมาณแบบใดที่มีประโยชน์ต่อการควบคุมผลการด�ำเนินงาน เพราะเหตุใด

แนวตอบกิจกรรม 9.4.1
ธ การจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นมีประโยชน์ต่อการควบคุมผลการด�ำเนินงาน เพราะงบประมาณ
ยืดหยุน่ จะประมาณข้อมูลไว้ ณ ระดับการผลิตหลายๆ ระดับ ท�ำให้ผลต่างทีเ่ กิดขึน้ เป็นข้อมูลเปรียบเทียบ
ระหว่างงบประมาณและข้อมูลจริงในระดับการผลิตระดับเดียวกันได้ ข้อมูลที่ได้จึงมีความหมายและเป็น
มส

ประโยชน์ต่อการควบคุมผลการด�ำเนินงาน
มส


การงบประมาณ 9-77

สธ มส
เรื่องที่ 9.4.2
วิธีการจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่น

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า งบประมาณยืดหยุ่น เป็นงบประมาณที่จัดท�ำขึ้นส�ำหรับการผลิตหลายๆ


ระดับ แทนที่จะท�ำขึ้นส�ำหรับระดับการผลิตเพียงระดับเดียว ทั้งนี้เพื่อให้สามารถน�ำผลการปฏิบัติงานที่
เกิดขึ้นจริง ณ ระดับการผลิตใดๆ มาเปรียบเทียบกับงบประมาณ ณ ระดับการผลิตเดียวกันนั้นได้
การจัดท�ำงบประมาณในรูปของงบประมาณยืดหยุ่น สามารถน�ำไปใช้ในการจัดท�ำงบประมาณ


สธ
ต่างๆ ของหน่วยงานในองค์กรธรุกจิ ได้ เช่น งบประมาณการผลิต งบประมาณค่าใช้จา่ ยการผลิต งบประมาณ
ก�ำไรขาดทุน เป็นต้น งบประมาณดังกล่าวสามารถจัดท�ำในรูปแบบงบประมาณยืดหยุ่นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ


ลักษณะของงานและความต้องการของฝ่ายบริหารขององค์กรธุรกิจ
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของงบประมาณต่างๆ ที่จัดท�ำในรูปของงบประมาณยืดหยุ่น
1. งบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับงบประมาณก�ำไรขาดทุน

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณก�ำไรขาดทุน
ส�ำหรับปีงบประมาณ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25XX

ราคาต่อหน่วย ระดับ
สธ

(บาท) (หน่วย)
ปริมาณขาย 600 900 1,200

ขาย 150 90,000 135,000 180,000
หัก ต้นทุนผันแปร
ธต้นทุนขาย 60 36,000 54,000 72,000
ค่าใช้จ่ายในการขาย 5.5 3,300 4,950 6,600
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 4.5 2,700 4,050 5,400
รวม 42,000 63,000 84,000
มส

ก�ำไรส่วนเกิน 48,000 72,000 96,000


หัก ต้นทุนคงที่
มส

ต้นทุนขาย 20,000 20,000 20,000


ค่าใช้จ่ายในการขาย 16,000 16,000 16,000
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 8,000 8,000 8,000
รวม 44,000 44,000 44,000
ก�ำไรจากการด�ำเนินงาน 4,000 28,000 52,000


9-78 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
2. งบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มิถุนายน 25XX

หน่วย: บาท

ระดับการผลิต


สธ
600 หน่วย 900 หน่วย 1,200 หน่วย
ค่าวัตถุทางอ้อม 3,000 4,500 6,000


ค่าแรงงานทางอ้อม 2,400 3,600 4,800
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 1,800 2,700 3,600

ค่าสาธารณูปโภค 1,500 2,250 3,000
เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000 3,000 3,000
ค่าเสื่อมราคา 2,500 2,500 2,500
ค่าเบี้ยประกันภัย 1,000 1,000 1,000
รวม 15,200 19,550 23,900
สธ

ส�ำหรับวิธกี ารจัดท�ำงบประมาณยืดหยุน่ ทีจ่ ะกล่าวต่อไป จะแสดงวิธกี ารจัดท�ำงบประมาณยืดหยุน่


ส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นตัวอย่าง
วิธีการจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่น

ในการจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิต กิจการต้องแยกค่าใช้จ่ายการผลิต
ทั้งหมดของกิจการออกเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่และค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่คงที่ทุก ณ ระดับการผลิตไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณ

การผลิต ดังนั้นจะน�ำยอดรวมค่าใช้จ่ายคงที่ทั้งหมดมาใช้ในการจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่น
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิต เมื่อผลิตมาก
มส

ย่อมเกิดมากและเมื่อผลิตน้อยย่อมเกิดน้อย ดังนั้น จึงน�ำมาค�ำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร


โดยอาศัยข้อมูลและการก�ำหนดของฝ่ายบริหารขององค์กรธุรกิจเพือ่ ค�ำนวณอัตราค่าใช้จา่ ยการผลิตผันแปร
แต่ละรายการ
มส

จากข้อมูลตัวอย่างที่ 9.1 สามารถจัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิต ได้ดังนี้


1) แยกค่าใช้จ่ายการผลิตของบริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด ออกเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่และ
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรได้ดังนี้


การงบประมาณ 9-79

สธ มส
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ ประกอบด้วย
เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000 บาท
ค่าเสื่อมราคา 2,500 บาท
ค่าเบี้ยประกันภัย 1,000 บาท
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร ประกอบด้วย
ค่าวัตถุทางอ้อม 4,500 บาท
ค่าแรงงานทางอ้อม 3,600 บาท
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 2,700 บาท


สธ ค่าสาธารณูปโภค 2,250 บาท
2) ค�ำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร เนื่องจากค่าใช้จ่ายผลิตผันแปรดังกล่าวก�ำหนดขึ้น
ณ ระดับการผลิตสินค้าจ�ำนวน 900 หน่วย อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรค�ำนวณได้ดังนี้


อัตราค่าแรงงานทางอ้อม = 4,500
900 = 5 บาทต่อหน่วย
= 3,600

อัตราค่าวัตถุทางอ้อม 900 = 4 บาทต่อหน่วย
อัตราค่าซ่อมแซมเครื่องจักร = 2,700
900 = 3 บาทต่อหน่วย
อัตราค่าสาธารณูปโภค = 2,250
900 = 2.5 บาทต่อหน่วย
3) จัดท�ำงบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิต ณ ระดับการผลิตต่างๆ โดยน�ำอัตรา
สธ

ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรต่อหน่วยแต่ละรายการคูณกับปริมาณการผลิต ณ ระดับการผลิตต่างๆ แล้ว


หายอดรวมค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งหมด ณ ระดับการผลิตต่างๆ โดยน�ำค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่รวมกับ
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร ณ ระดับการผลิตนั้นๆ

บริษทั สุโขทัยการผลิต จ�ำกัด สามารถจัดท�ำงบประมาณยืดหยุน่ ส�ำหรับค่าใช้จา่ ยการผลิต ณ ระดับ
การผลิตสินค้า 600, 900 และ 1,200 หน่วย ได้ดังนี้

มส

มส


9-80 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
งบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิต
บริษัทสุโขทัยการผลิต จ�ำกัด
งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต
ส�ำหรับเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 25XX
หน่วย: บาท

อัตรา ระดับการผลิต (หน่วย)


ผันแปร/หน่วย 600 900 1,200


สธ
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร:
ค่าวัตถุทางอ้อม 5 3,000 4,500 6,000


ค่าแรงงานทางอ้อม 4 2,400 3,600 4,800
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 3 1,800 2,700 3,600
ค่าสาธารณูปโภค 2.5 1,500 2,250 3,000

รวม 14.5 8,700 13,050 17,400
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่:
เงินเดือนผู้ควบคุม 3,000 3,000 3,000
ค่าเสื่อมราคา 2,500 2,500 2,500
ค่าประกันภัย 1,000 1,000 1,000
รวม 6,500 6,500 6,500
สธ

รวมค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งหมด 15,200 19,550 23,900



การค�ำนวณ
ณ ระดับการผลิต 600 หน่วย
ธ ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรค�ำนวณได้ดังนี้
ค่าวัตถุทางอ้อม = 5 × 600 = 3,000 บาท
ค่าแรงงานทางอ้อม = 4 × 600 = 2,400 บาท
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร = 3 × 600 = 1,800 บาท
มส

ค่าสาธารณูปโภค = 2.5 × 600 = 1,500 บาท


ณ ระดับการผลิต 900 หน่วย
มส

ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรค�ำนวณได้ดังนี้
ค่าวัตถุทางอ้อม = 5 × 900 = 4,500 บาท
ค่าแรงงานทางอ้อม = 4 × 900 = 3,600 บาท
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร = 3 × 900 = 2,700 บาท
ค่าสาธารณูปโภค = 2.5 × 900 = 2,250 บาท


การงบประมาณ 9-81

สธ มส
ณ ระดับการผลิต 1,200 หน่วย
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปรค�ำนวณได้ดังนี้
ค่าวัตถุทางอ้อม = 5 × 1,200 = 6,000 บาท
ค่าแรงงานทางอ้อม = 4 × 1,200 = 4,800 บาท
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร = 3 × 1,200 = 3,600 บาท
ค่าสาธารณูปโภค = 2.5 × 1,200 = 3,000 บาท

ส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ยอดรวมทั้งสิ้น 6,500 บาท จะเกิดเท่ากันทุก ณ ระดับการผลิต


สธ
กิจกรรม 9.4.2


ให้ท�ำ: งบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิตของบริษัทแห่งหนึ่ง ณ ระดับการผลิต 500,
700 และ 900 หน่วย โดยก�ำหนดค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นดังนี้

หน่วย: บาท
อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
ต่อหน่วย ค่าใช้จ่ายคงที่
ค่าวัตถุทางอ้อม 4
ค่าแรงงานทางอ้อม 3
สธ

ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 2
ค่าสาธารณูปโภค 1

เงินเดือนผู้ควบคุม 5,000
ค่าเสื่อมราคา 4,000
ค่าเบี้ยประกันภัย 3,000
10 12,000

มส

มส


9-82 การบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการจัดการ

สธ มส
แนวตอบกิจกรรม 9.4.2
งบประมาณยืดหยุ่นส�ำหรับค่าใช้จ่ายการผลิต

หน่วย: บาท
อัตราผันแปร
ระดับการผลิต (หน่วย)
ต่อหน่วย
500 700 900


สธ
ค่าใช้จ่ายการผลิตผันแปร
ค่าวัตถุทางอ้อม 4 2,000 2,800 3,600


ค่าแรงงานทางอ้อม 3 1,500 2,100 2,700
ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร 2 1,000 1,400 1,800
ค่าสาธารณูปโภค 1 500 700 900

รวม 10 5,000 7,000 9,000
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่
เงินเดือนผู้ควบคุม 5,000 5,000 5,000
ค่าเสื่อมราคา 4,000 4,000 4,000
ค่าเบี้ยประกันภัย 3,000 3,000 3,000
รวม 12,000 12,000 12,000
สธ

รวมค่าใช้จ่ายการผลิตทั้งหมด 17,000 19,000 21,000






มส

มส


การงบประมาณ 9-83

สธ มส
บรรณานุกรม

เพ็ญแข สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. (2539). การงบประมาณ (พิมพ์ครัง้ ที่ 7). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2550). ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบัญชีตน้ ทุนและการบัญชีเพือ่ การจัดการ
(พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มารวย ผดุงสิทธิ์. (2539) การงบประมาณ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการบัญชีต้นทุนและการบัญชีเพื่อการ
จัดการ. นนทบุรี: สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Hilton, Ronald W. (2009). Managerial Accounting (8th ed.). McGraw-Hill, Inc.
สธ
Garrison, Ray H., Noreen, Eric W., and Brewer, Peter C. (2010). Managerial Accounting (5th ed.).
New York, NY: U.S.A.: McGraw-Hill Irwin.


Raibarn, Cecily A. Barfield Jesse T. and Kinney, Michael R. (1996). Managerial Accounting
(2nd ed.). West Publishing Company.

สธ


มส

มส

สธ
มส
ธ ม สธ
ธ ม สธ มส
มส ม ธ
ธ ส

You might also like