You are on page 1of 6

งานมวลชน ๗ ขัน

้ ตอน

ช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม
ของทุกปี จะเป็ นวงรอบของการตรวจกิจกรรมต่าง ๆ
ในระดับสถานีตารวจ เพือ ่ จัดอันดับ ให้คะแนน ในระดับ บก. จนถึง
บช. ใครทีไ่ ด้คะแนนอันดับ 1 ก็จะได้รบั โล่
หรือใบประกาศฯ ถ่ายรูปกันไป ส่วนเรือ่ งแต่งตัง้
และเรือ
่ งขัน
้ นัน
้ ไม่เกีย่ ว 555

ชมส. หรือ
ชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ เป็ นอีกหนึ่งกิจกรรมหลักทีท ่ ก
ุ สถานีตารวจ
จะต้องทาโดยมีงบประมาณจาก ตร.
ลงมาทีห ่ น่ วยในแต่ละปี ไม่น้อย ทัง้ เบี้ยเลี้ยงและน้ามัน เพือ ่ ให้เจ้าหน้
าทีต่ ารวจได้ใกล้ชด ิ กับชุมชน ประชาชนมากขึน ้ สามารถเข้าใจปัญหา
ความต้องการของพีน ่ ้องประชาชนในเรือ ่ งทีต
่ ารวจสามารถเข้าไปดาเ
นินการแก้ไขให้ได้อย่างเป็ นรูปธรรม โดยในยุค
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็ น ผบ.ตร. ได้ทาวีดที ศั น์
อธิบายถึงการดาเนินโครงการ ชมส. 7
ขัน
้ ตอน เพือ ่ ให้มค
ี วามเข้าใจและการปฏิบตั ท ิ เี่ ป็ นแนวทางเดียวกันทั่ว
ประเทศ โดยได้ดารานักแสดงชือ ่ ดังมาร่วมงานมากมาย

เรียกว่าเป็ นการทา ชมส. แนวใหม่ ทีก ่ อ


่ นหน้านี้การตรวจ ชมส.
ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาราวง กลองยาว มีรถไถนา หาบขนม
กับข้าว แต่งตัวไทยพื้นบ้านมาโชว์แข่งกัน ลาบากชาวบ้านให้เป็ นที่
นินทา(เห็นว่าบางทีก็ยงั นิยมทาแบบนัน ้ อยู)่ มาดู 7 ขัน ้ ตอนชัด ๆ
กันดีกว่าครับ ว่าจะต้องดาเนินการอย่างไรบ้าง บางขัน ้ ตอนอาจปรับเ
ปลีย่ นตามความเหมาะสมแต่ละพื้นทีค ่ รับ

ขัน
้ ตอนที่ 1 ค้นหาแกนนา

ในขัน ้ แรกนี้ หลังจากการคัดเลือกหมูบ ่ า้ น/ชุมชุน ทีจ่ ะเข้า


ดาเนินการ หลักสาคัญอยูท ่ ก
ี่ ารทางานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าทีต ่ ารวจ
กับผูน
้ าหมูบ ่ า้ น/ชุมชน ผูน
้ าองค์กรส่วนท้องถิน ่ เช่น กานัน ผูใ้ หญ่บา้ น
หรือทีน่ กั วิชาการเรียกว่า “ผูน ้ าทางธรรมชาติ” เช่น พระ ผูอ ้ าวุโส
พ่อเฒ่า แม่แก่ ทีช
่ าวบ้านให้การยอมรับนับถือ
โดยสัมพันธภาพระหว่างแกนนา หรือผูน
้ ากับสมาชิกในชุมชน
จะเป็ นจุดเริม
่ ต้นในการสร้างความเข้มแข็ง ให้กบั ชุมชน

ขัน
้ ตอนที่ 2 จุดประกายความคิด

ในขัน้ ตอนของการจุดประกายความคิด
เจ้าหน้าทีต
่ ารวจต้องเชือ่ ถือในศักยภาพของแกนนา
ว่าหากกระตุน ้ ให้แต่ละคนมีโอกาสใช้ภูมปิ ญ
ั ญา
ความรู ้ ความสามารถ อย่างเต็มทีแ
่ ล้ว
ก็เท่ากับเป็ นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

การอบรมเพิม่ เติมความรู ้ และนาแกนนา


และชาวบ้านไปทัศนศึกษาดูงาน อาทิ โดยพาแกนนา ผูน
้ า
ไปศึกษาดูงานชุมชนเข้มแข็ง
ชุมชนต้นแบบทีส่ ามารถจัดการตัวเองได้ตวั อย่าง เช่น
ชุมชนบ้านสามขา ชุมชนไม้เรียง เพือ่ ศึกษาขัน้ ตอน
วิธก ี ารทีช
่ ุมชนดังกล่าวดาเนินการ
ตลอดจนเป็ นการกระตุน ้ และจุดประกายให้ผนู้ าเกิดแนวคิดในการพัฒ
นาชุมชนของตนเอง(หรืออาจนาเรือ ่ งราวของชุมชน หมูบ่ า้ น
ทีไ่ ด้ดาเนินการ ชมส. ในปี ก่อน ๆ มาเล่าสูก ่ น ั ฟังก็ได้ครับ)

ขัน
้ ตอนที่ 3 ศึกษาพื้นฐานชุมชน

ในการจัดทาประชาคม เป็ นขัน้ ตอนของการจัดประชุมเวทีชาวบ้าน


รวมทัง้ การประชุมกลุม่ ย่อย
การปรับแนวคิดของคนในชุมชนให้รูจ้ กั คิดเอง ทาเอง
และการให้โอกาสคนในชุมชนในการพูด นาเสนอ เข้าร่วมกิจกรรม
อาทิ การร่วมกันนาเสนอประวัตศ
ิ าสตร์ชุมชน การสารวจ
ข้อมูลจัดเก็บข้อมูลครัวเรือน รายรับรายจ่าย
และการค้นหาศักยภาพทุนของชุมชนในรูปแบบต่าง ๆ
กระตุน ้ ให้ชุมชนเห็นถึง สิง่ ทีม
่ ีในชุมชน
ไม่ใช่การเน้นให้เห็นว่าชุมชนขาดแคลนสิง่ ใด
การให้ชุมชนร่วมกันค้นหาองค์ประกอบทีท ่ าให้ชุมชนสามารถดารงอ
ยูไ่ ด้ โดยใช้เวทีประชาคมร่วมกันทาตาราง บัญชี หรือแผนทีท ่ น
ุ ชุมชน
จาแนกตามประเภท อย่างละเอียด เช่น ทุนบุคคล ปราชญ์ชาวบ้าน
ทรัพยากรธรรมชาติ ความรูท ้ กั ษะ ภูมป
ิ ญั ญา ของชุมชน เป็ นต้น

ขัน
้ ตอนที่ 4 สนทนา และวิเคราะห์ปญ
ั หา

ขัน
้ ตอนนี้เป็ นการใช้เวทีประชาคม
ให้ชุมชนร่วมกันเสนอปัญหาทีเ่ กิดขึน ้ ในชุมชน อาทิ
การทะเลาะวิวาทของกลุม ่ เด็กวัยรุน
่ ปัญหายาเสพติด ปัญหา เศรษฐกิจ
และร่วมกันจัดลาดับความสาคัญ
ความจาเป็ นเร่งด่วนของปญหาทีต ่ อ้ งดาเนินการแก้ไขก่อน - หลัง
นอกจากนี้ใช้เวทีประชาคมค้นหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญ
หา

ขัน
้ ตอนที่ 5 การตัดสินใจ และกาหนดโครงการ

ขัน
้ ตอนการยกร่างกิจกรรม/โครงการ
เป็ นขัน้ ของการแก้ปญ ั หาอย่างเป็ นรูปแบบ มีการกาหนด
กิจกรรมทีส่ ามารถปฏิบตั แ ิ ล้วเกิดผลเป็ นรูปธรรมได้เช่น
มาตรการทางสังคมของชุมชน
อาสาสมัครตารวจบ้านโครงการพัฒนาผูน ้ าหมูบ
่ า้ นชุมชน
เพือ่ เพิม่ ศักยภาพในการป้ องกันอาชญากรรมและยาเสพติด
โครงการค่ายผูน ้ าเยาวชนป้ องกันอาชญากรรมและปัญหายาเสพติด เ
พือ
่ ให้เยาวชนได้ทราบถึงโทษของยาเสพติด เป็ นต้น
นอกจากนี้ชุมชนต้องสามารถจัดลาดับความสาคัญ
และร่วมพิจารณาว่า
แผน/โครงการใดชุมชนสามารถดาเนินการได้เอง
หรือต้องขอรับการสนับสนุนจาก
อบต.หรือต้องขอรับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าทีต ่ ารวจ
ซึง่ จะทาให้ทก
ุ คนในชุมชนได้รบั รู ้ ร่วมคิด ร่วมทา ร่วมเป็ นเจ้าของ
ร่วมรับผลประโยชน์ จากแผนงาน/โครงการทีก ่ าหนดขึน้ อย่างแท้จริง

ขัน
้ ตอนที่ 6 นากิจกรรมไปสูก
่ ารปฏิบตั ิ

ขัน
้ ตอนในการดาเนินกิจกรรม
จนเกิดเป็ นลักษณะของหมูบ ่ า้ น/ชุมชนเข้มแข็ง
สมาชิกมีความสัมพันธ์กน ั อย่างแน่ นแฟ้ น เข้าใจกัน มีความสามัคคี
เกิดการมีสว่ นร่วม
รูส้ ก ึ ว่าตนเองเป็ นส่วนหนึ่งของชุมชนทีม ่ ีศกั ยภาพสามารถพึง่ ตนเองไ
ด้
มีความสามารถทีจ่ ะสนองตอบต่อความต้องการในการใช้ชีวต ิ ประจาวั

ทัง้ ยังสามารถทีจ่ ะร่วมกันใช้กติกาทีเ่ ป็ นบรรทัดฐานของสังคมในการตั
ดสินใจ
โดยมีอานาจการจัดการตามข้อกาหนดและมาตรการทีไ่ ด้รว่ มกันจัดท
าขึน ้ เพือ
่ แก้ไขปัญหาของชุมชนได้ดว้ ยตนเองตามกรอบกฎหมาย
มีบทลงโทษเมือ ่ มีผฝู้ ่ าฝื น
โดยจะมีเจ้าหน้าทีฝ ่ ่ ายรัฐเป็ นทีป ่ รึกษาในระหว่างดาเนินโครงการเช่น
มาตรการตัดความช่วยเหลือของชุมชนต่อครอบครัวและตัวผูเ้ สพ
ผูค ้ า้ ยาเสพติดในชุมชน

ขัน
้ ตอนที่ 7 ติดตามประเมินผล

การติดตามประเมินผล
ถือได้วา่ เป็ นขัน
้ ตอนสุดท้ายในการเข้าดาเนินโครงการ
เจ้าหน้าทีต่ ารวจ และชุมชน
ร่วมกันประเมินผลโดยใช้แบบสารวจความคิดเห็น (โพล)
หรือการสัมภาษณ์บุคคลว่า ภายหลังจากทีด
่ าเนินโครงการไปแล้ว
ชุมชนเกิดความปลอดภัยในชีวต ิ ทรัพย์สน

ลดความหวาดระแวงอาชญากรรมลงได้เพียงใด

งาน ชมส. ส่วนมากจะให้ รอง ผกก.ป.


ของแต่ละสถานีเป็ นหัวหน้าผูร้ บั ผิดชอบ โดยแต่ละสถานีจะต้องทากัน
ประมาณ 5
หมูบ
่ า้ น/ชุมชน มีการทาแฟ้ มเพือ่ รอตรวจจากหน่ วยเหนือ และอาจ
มีการลงพื้นทีพ่ บปะประชาชนเพือ ่ ถามความพึงพอใจประกอบ

ชุมชนเข้มแข็งเพือ ่ การป้ องกันอาชญากรรม


เป็ นทัง้ ปรัชญาและยุทธศาสตร์ทเี่ ป็ นภูมป ิ ญ
ั ญาท้องถิน ่ ตะวันออก เน้น
ความรับผิดชอบร่วมกันของประชาชนในท้องถิน ่
โดยการเพิม ่ ศักยภาพของคนและชุมชนให้เข้มแข็ง
พร้อมเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในลักษณะร่วมคิด ร่วมทา
ร่วมแก้ไข ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมพัฒนา
จนเกิดเป็ นพลังชุมชนซึง่ เป็ นรากฐานการสร้างภูมค ิ ม
ุ้ กันชุมชนให้แข็ง
แรงยั่งยืนและปลอดจากอาชญากรรม
หลักการนี้จะสอดคล้องกับหลักการ “การตารวจชุมชน”(Community
Policing) ทีม่ ีตน
้ กาเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา
และได้รบั การพัฒนามาจากแนวความคิดของหลักการตารวจชุมชนสั
มพันธ์ (Police Community Relations)
แล้วนามาปรับปรุงเพิม ่ เติมแนวความคิดใหม่จนกลายเป็ นแนวความคิ
ดในการป้ องกันอาชญากรรมทีม ่ ีประสิทธิภาพโดยกาหนดให้ตารวจแล
ะชุมชน ร่วมกันทางานอย่างใกล้ชด ิ
เสมือนหนึง่ ว่าเป็ นหุน้ ส่วนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด
ปัญหาความ เสือ่ มโทรมของความไร้ระเบียบชุมชน
ปัญหาคุณภาพชีวต ิ และความรูส้ ก ึ หวาดกลัวภัยอาชญากรรม
ทาให้ประชาชนมีความรูส้ ก ึ ทีด่ ต
ี อ ่ ตารวจและใส่ใจในปัญหาอาชญากร
รมมากขึน ้ เสมือนเป็ นหน้าทีข ่ องตนเอง

อย่างไรก็ตามหัวใจสาคัญทีจ่ ะทาให้งานชุมชนเข้มแข็งเพือ ่ การป้ อ


งกันอาชญากรรมประสบผลสาเร็จได้
สานักงานตารวจแห่งชาติจะต้องกาหนดหลักการดังกล่าวนี้เป็ นยุทธศา
สตร์ขององค์กร เพือ ่ พัฒนาไปสูก ่ ารปฏิบตั ใิ นรูปแบบกิจกรรมต่างๆ
ทุกๆ ระดับ โดยเฉพาะผูบ ้ งั ค ับบัญชาจะต้องมีความรู ้
ความเข้าใจในบทบาทของหลักการตารวจชุมชน
เพือ
่ บูรณาการ(Integrate)
ทุนทางสังคมทุกภาคส่วนในลักษณะพหุภาคี(Multilateral) ได้แก่
- ตารวจ
- ผูน
้ าชุมชน (ผูน้ าธรรมชาติ/ทางการ)
- เครือข่ายชุมชน
- ภาคเอกชน
- หน่ วยงานอืน ่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง
- สือ
่ มวลชนแขนงต่างๆ
ให้หนั มาผนึกกาลังกันในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนสมดังเจ
ตนารมณ์ ตอ ่ ไป

You might also like