You are on page 1of 31

ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

ที่มาของทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
หลังจากที่วงการตำรวจได้รู้จักและนำ
หลั ก การตำรวจชุ ม ชนสั ม พั น ธ์ ไ ปใช้ อ ย่ า ง
แพร่หลาย ความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจและ
ประชาชนได้ รั บ การพั ฒ นาดี ขึ้ น แต่ ปั ญ หา
อาชญากรรมยั งไม่ ไ ด้ รั บ การแก้ ไ ขเท่ า ที่ ค วร
อาชญากรรมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและ
มี แ นวโน้ ม เพิ่ ม สู ง ขึ้ น ผู้ บ ริ ห าร นั ก วิ ช าการ Èาสตราจารย์
ตำรวจต่ า งศึ ก ษาวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาแนวทาง โรเบิ ร์ต โทรจาโนวิคซ์
ป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมให้ดีขึ้น ในช่วงปลายทศวรรษที่
๖๐ วงการตำรวจได้ เ รี ย นรู้ ห ลั ก การใหม่ ที่ มี แ นวคิ ด และวิ ธี ท ำงาน
แตกต่างออกไปจากแนวทางแบบเดิมๆ (เป็นไปในลักษณะตรงกันข้าม)
นั่นคือ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) ซึ่งคิดค้น
และพัฒนาโดย Èาสตราจารย์ โรเบิร์ต โทรจาโนวิคซ์ และคณะทำงาน

ทฤษฎีพื้น°านของงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
หากถามว่าทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนอธิบายได้ด้วยทฤษฎีอะไร
ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต โทรจาโนวิคซ์ อธิบายว่า ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้

136 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

ชุมชนนั้นตั้งอยู่บนทฤษฎีสังคมวิทยาสองทฤษฎีด้วยกัน ได้แก่ ทฤษฎี


Normative Sponsorship และทฤษฎี Critical Social
ทฤษฎี Normative Sponsorship: ทฤษฎีนี้มีสมมติฐานว่า คนเรา
ทุกคนมีจิตใจดีและยินดีที่จะร่วมมือกับผู้อื่นเพื่อช่วยทำประโยชน์ต่อ
สังคม (โซเวอร์ ๑ù๕๓) ยิ่งกลุ่มต่างๆ มีคุณค่า ความเชื่อและเป้าหมาย
ที่ตรงกันมากเพียงใด โอกาสที่กลุ่มเหล่านั้นจะตกลงตั้งเป้าหมายร่วมกัน
เพื่อประโยชน์ในการยกระดับชุมชนของตนก็จะมีมากยิ่งขึ้น
ทฤษฎี Critical Social: ทฤษฎีนี้มุ่งสนใจว่าทำไมผู้คนจึงรวมตัว
กั น เพื่ อ แก้ ไ ขและเอาชนะอุ ป สรรคในเชิ ง สั ง คม เศรษฐกิ จ หรื อ เชิ ง
การเมือง ที่ขัดขวางไม่ให้ได้รับสิ่งที่ตนต้องการ และเขาหรือกลุ่มคน
ดำเนินการกันอย่างไร (เฟ ๑ù๘๔)

ความหมายของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
สมาคมตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing Con-
sorium) ให้คำนิยามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไว้ว่า “ËÁÒ¶֧ ¡ÒÃ
ÊÌҧ¤ÇÒÁËÇÁÁ×Í (Collaboration) ÃÐËÇ‹Ò§µÓÃǨáÅЪØÁª¹ 㹡ÒÃ
º‹ § ªÕé á ÅÐá¡Œ ä ¢»˜ Þ ËҢͧªØ Á ª¹ «Öè § µÓÃǨ¨ÐäÁ‹ à »š ¹ à¾Õ  §¼ÙŒ ÃÑ ¡ ÉÒ
¡®ËÁÒÂáÅФÇÒÁàÃÕºÌÍ¢ͧÊѧ¤Áà¾Õ§½†ÒÂà´ÕÂÇ áµ‹ÊÁÒªÔ¡¨Ò¡
ÀҤʋǹµ‹Ò§æ ¢Í§ªØÁª¹¨Ð໚¹¾Ñ¹¸ÁԵ÷ÕèÊÓ¤ÑޡѺ½†ÒµÓÃǨã¹
¡ÒáÃдѺ¤ÇÒÁ»ÅÍ´ÀÑÂáÅФسÀÒ¾ªÕÇÔµ¢Í§ªØÁª¹”
สรุปแนวคิดทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้ง่ายๆ คือหลักการ
ทำงานใหม่ของตำรวจที่เพิ่มเติมจากการทำงานของตำรวจแบบเดิมที่มุ่ง
เพียงมีสายตรวจป้องกัน แก้ไขเหตุร้าย และสืบสวนจับกุมคนร้าย แต่
ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนต้องมุ่งเข้าหาประชาชนและต้องทำงานร่วมกันเพื่อ
รักษาความสงบสุขของสังคม

อ่างทอง :: 137
เซอร์โรเบิร์ต พีล
กับทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ที่ จ ริ ง แล้ ว ทฤษฎี ต ำรวจผู้ รั บใช้
ชุมชนไม่ใช่หลักการใหม่ แต่มีมาตั้งแต่
สองร้อยปีที่แล้ว ดังที่ เซอร์โรเบิร์ต พีล
ผู้ก่อตั้งตำรวจมหานครลอนดอน เจ้าของ
คำพู ด ว่ า “ตำรวจคื อ ประชาชน และ
ประชาชนคื อ ตำรวจ” พี ลได้ ใ ห้ ค วาม
สำคัญทั้งตำรวจและประชาชน และทั้ง
สองฝ่ายต้องทำงานร่วมกันในการรักษา
เซอร์โรเบิร์ต พีล
ผู้ก่อตั้งตำรวจมหานครลอนดอน ความสงบสุขของสังคม แต่ต่อมาตำรวจ
เองกลั บ แยกตั ว ออกจากประชาชน
พยายามใช้แต่เทคโนโลยีสมัยใหม่ มองข้ามความสำคัญของประชาชน
ดังที่พีลเคยกล่าวไว้

หลักการตำรวจอาชีพ ๙ ประการ ของ เซอร์โรเบิร์ต พีล

• การป้องกันอาชญากรรมถือเป็นภารกิจพื้นฐานของตำรวจควบคู่กับ
การปราบปรามอาชญากรรมและการจั บ กุ ม คนร้ า ยมาลงโทษตาม
กฎหมาย

• ขีดความสามารถของตำรวจขึ้นอยู่กับการได้รับการยอมรับจาก
ประชาชนต่อตำรวจจากการปฏิบัติงาน พฤติกรรมเจ้าหน้าที่ และการ
สร้างความเคารพจากประชาชน

138 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

• ตำรวจต้องรักษาไว้ซึ่งความร่วมมือจากประชาชนในการรักษาความ
สงบสุขของสังคม

• ความร่วมมือจากสาธารณชนจะลดน้อยลงเป็นสัดส่วน หากตำรวจ
ปฏิบัติหน้าที่เชิงบังคับขู่เข็ญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

• ตำรวจต้ อ งสร้ า งและรั ก ษาความชื่ น ชมที่ ป ระชาชนมี ต่ อ ตำรวจ


ซึ่งไม่ใช่เกิดจากการชักจูง แต่เกิดจากการให้บริการอย่างเป็นธรรมและ
เท่าเทียม

• ตำรวจพึงใช้กำลังในกรณีจำเป็นสุดวิสัย ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และ


เมื่อมีวิธีอื่น เช่น การโน้มน้าว การตักเตือน ไม่เป็นผล การใช้กำลังต้อง
เป็นไปเท่าที่จำเป็นและน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้

• ตำรวจและประชาชนต้องสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ดังที่เคยเกิดขึ้นในอดีต หรือที่กล่าวไว้ว่า “ตำรวจคือประชาชน และ
ประชาชนคือตำรวจ” ตำรวจก็คือประชาชนที่เป็นสมาชิกในสังคมที่ได้
รับค่าจ้างให้ทำหน้าที่รักษาความสงบสุขของสังคม

• ตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเคร่งครัด ไม่ก้าวล่วงนอกกรอบ
หน้าที่ ไม่รังแกผู้อื่น ไม่ตัดสินความผิดหรือลงโทษคนร้ายเอง

• สังคมที่ปลอดจากอาชญากรรมและความยุ่งเหยิง คือ บททดสอบ


ตำรวจ มิใช่วัดจากการใช้กำลังของตำรวจ
·ÕèÁÒ : Melvil e (ñùðñ) A History of Police in England. London: Methuen

อ่างทอง :: 139
เปรียบเทียบหลักการตำรวจแบบดั้งเดิมกับทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ทฤษฎี ต ำรวจผู้ รั บใช้ ชุ ม ชนมิ ใ ช่ แ ทคติ ก (Tactic) เทคนิ ค
(Technique) มีไว้แก้ปัญหา หรือโครงการ (Program) ที่มีเริ่มต้น
และสิ้ น สุ ด แต่ ท ฤษฎี ต ำรวจผู้ รั บใช้ ชุ ม ชนเป็ น ปรั ช ญาขององค์ ก ร
(Philosophy) ที่ จ ะเปลี่ ย นวิ ธี ใ นการคิ ด วิ ธี ก ารทำงานของตำรวจ
ทุกคนรวมทั้งชุมชน ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงองค์กรครั้งสำคัญ ซึ่ง
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแนวคิดแนวปฏิบัติแบบเก่าและแบบใหม่
ตามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน สรุปได้ดังนี้

คำถาม แนวคิดแบบเดิม ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน


(Traditional Policing) (Community Policing)
ตำรวจ คือ เจ้าพนักงาน ตำรวจ คือประชาชนที่ได้รับ
ตำรวจคือใคร ของรัฐที่มีหน้าที่บังคับใช้ เงินเดือน โดยมีหน้าที่ดูแล
กฎหมาย ความสงบสุขของสังคม
ความสัมพันธ์ ตำรวจเป็นหนึ่งในหน่วยงาน
ระหว่างตำรวจ มักมีความขัดแย้งเกิดขึ้น รัฐที่มีหน้าที่ให้บริการ
กับหน่วยงานรั°อื่น ที่ดีแก่ประชาชน
หน้าที่ของตำรวจ จับกุมคนร้าย แก้ไขปัญหาชุมชน
ตัวชี้วัดประสิทธิผล สถิติการจับกุม สถิติการเกิดเหตุ/
ของตำรวจ การออกตรวจป้องกันเหตุ การแจ้งเหตุ
สิ่งสำคัญสูงสุด อาชญากรรม โดยเฉพาะ ปัญหาใดๆ ก็ตามที่ส่ง
อาชญากรรมร้ายแรง ผลร้ายแรงต่อชุมชน
ของตำรวจ (เช่น ปล้นธนาคาร)

140 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

คำถาม แนวคิดแบบเดิม ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน


(Traditional Policing) (Community Policing)
สิ่งที่ตำรวจตอบโต้ เหตุร้าย ปัญหาและความต้องการ
ของชุมชน
เวลาที่ใช้ในการไปถึง
ตัวชี้วัดประสิทธิ- ความร่วมมือจากชุมชน
ภาพตำรวจ ที่เกิดเหตุ
มุมมองตำรวจ งานบริ การไม่สำคัญ การบริการเป็นหน้าที่
ต่อการบริการ จะทำงานด้านการบริการ สำคัญและเป็นโอกาส
ต่อเมื่อไม่มีงานหลัก ที่ดีของตำรวจ
ความเป็นวิชาชีพ การไปถึงที่เกิดเหตุ การมีความใกล้ชิดกับชุมชน
ตำรวจ อย่างรวดเร็ว ทันการณ์
อาชญากร หรือผู้อยู่ สิ่งใดๆ ก็ตามที่ก่อให้เกิด
Èัตรูของตำรวจ ในเครือข่ายคนร้าย ปัญหาชุมชนซึ่งส่งผลให้
คนกระทำความผิด
ตำรวจทำงาน ผู้บังคับบัญชา ประชาชน ชุมชน
ให้แก่ผู้ใด
บทบาทหน้าที่ กำหนดกฎเกณ±์และ ปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยม
ของส่วนกลาง ระเบียบสำคัญต่างๆ ขององค์กร
ขององค์กร
- แจ้งเหตุ - แจ้งเหตุและข้อมูลข่าวสาร
บทบาท/หน้าที่ - เชื่อฟัง ปฏิบัติตาม - ปฏิบัติตามกฎระเบียบสังคม
ของชุมชน คำสั่งของตำรวจ - ให้ความร่วมมือและช่วย
เหลือตำรวจ หากกระทำได้

อ่างทอง :: 141
“ปกป้องคุ้มครอง และให้บริการ (Protect & Serve)”
แนวคิดเดิมตำรวจที่ดีต้องเก่งงานปราบปราบ ต้องจับโจรเก่ง แต่
คิดแบบใหม่นั้น ตำรวจที่ดีไม่เพียงแค่เก่งงานปราบปราม สืบสวนจับกุม
คนร้ายได้ แต่ต้องเก่งงานป้องกันและงานบริการด้วย คือต้องทำงาน
ป้องกันก่อนที่เหตุจะเกิดและให้ความสำคัญกับการบริการ ช่วยเหลือ
ประชาชน
โดยเฉพาะมุมมองต่อการบริการนั้น ตำรวจแบบเดิมอาจมองว่า
ไม่สำคัญ จะทำงานบริการต่อเมื่อไม่มีงานหลัก แต่ตำรวจแบบใหม่
หรือตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มองว่างานบริการเป็นงานที่สำคัญ และเป็น
โอกาสที่ดีของตำรวจที่จะสร้างความคุ้นเคย สร้างความสัมพันธ์กับ
ประชาชน
การขอรับการบริการ ขอความช่วยเหลือ หรือหากไม่ได้ร้องขอ
แต่เห็นได้ว่าประชาชน สังคมกำลังเดือดร้อน เช่น น้ำท่วมบ้านเรือน ถือ
เป็นโอกาสที่ดีมากของตำรวจ ที่จะให้บริการ แสดงความจริงใจผูกมิตร
กับประชาชน

เหมือนหรือต่าง....
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ และตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing) พัฒนาขึ้น
มาจากพื้นฐานความเชื่อเดิมของทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในส่วนที่มุ่ง
เน้นให้เกิดสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างตำรวจกับประชาชน
โดยเชื่อมั่นว่า ความร่วมมือร่วมใจของตำรวจและสุจริตชน คือ สิ่ง
สำคัญที่สามารถเอาชนะปัญหาอาชญากรรมส่วนใหญ่ได้ อย่างไรก็ตาม
พัฒนาการที่แตกต่างอย่างชัดเจนของแนวทางตำรวจผู้รับใช้ชุมชนก็คือ
“การเข้าไปฝังตัวทำงานในชุมชนเป็นระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน และ

142 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

การทำงานร่วมกันของตำรวจและชุมชน” แทนที่จะเป็น “การเข้าร่วม


กิจกรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อการไปถึงที่
เกิดเหตุอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับแจ้ง” เช่นงานตำรวจชุมชนสัมพันธ์แบบเดิม
ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนระหว่างทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้
ชุมชน และทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ขอนำเสนอข้อแตกต่างของทั้ง
สองทฤษฎี ดังนี้

เปรียบเทียบทฤษฎีตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (Police Community Relations)


กับ ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน (Community Policing)
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ตำรวจ ผู้รับใช้ชุมชน
(Police Community Relations) (Community Policing)
๑ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปลี่ยน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ปัญหา
ทัศนคติและแก้ไขภาพลักษณ์ ความเดือดร้อนของชุมชน ความ
ของตำรวจให้ดีขึ้น ความสัมพันธ์ สัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชน
ระหว่างตำรวจกับประชาชนที่ดีขึ้น ที่ดีขึ้นเป็นผลพลอยได้ที่น่ายินดี
เป็นผลสำเร็จของงานโดยตรง
๒ ตำรวจมักคิดว่าเป็นงานของชุด เป็นงานของฝ่ายปฏิบัติการ
ชุมชนสัมพันธ์โดยเฉพาะ ตำรวจ ผู้ปฏิบัติกับประชาชนมีการติดต่อ
สายงานอื่นคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ กันอย่างสม่ำเสมอ
หรือไม่ใช่หลักการที่ทุกส่วนต้อง
ปฏิบัติ ทำให้ตำรวจกับประชาชน
มีการติดต่อกันเป็นครั้งคราว
ไม่สม่ำเสมอ ไม่ไว้วางใจกัน

อ่างทอง :: 143
๓ ได้รับการยอมรับเฉพาะแต่ภายใน เป็นปรัชญาในการทำงาน และ
ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์เท่านั้น ได้รับการยอมรับภายในหน่วยงาน
ตำรวจโดยทั่วไป
๔ เจ้าหน้าที่ได้รับการยอมรับ เจ้าหน้าที่ได้รับการยอมรับ
ความเชื่อถือศรัทธาและ ความเชื่อถือ ศรัทธา เคารพยำเกรง
เคารพยำเกรงบ้างพอสมควร ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร
๕ เจ้าหน้าที่มีบทบาทในเชิงตั้งรับ เจ้าหน้าที่มีบทบาทที่ชัดเจน
โดยมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้าง ในการปฏิบัติงาน ทั้งในเชิงรุก
ความเข้าใจระหว่างตำรวจกับ และตั้งรับควบคู่กัน
ประชาชนให้ดีขึ้น และรณรงค์
ป้องกันอาชญากรรม
๖ เป็นการให้บริการโดยอ้อม เป็นการให้บริการโดยตรง
ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
คำแนะนำในการป้องกัน ที่รับแจ้งความและให้คำแนะนำ
อาชญากรรม ส่วนสายตรวจ ในการป้องกันอาชญากรรม
ธรรมดามีหน้าที่รับแจ้งความ เป็นบุคคลเดียวกัน
๗ คณะกรรมการระดับชาติ วิเคราะห์ ประชาชนวิเคราะห์ปัญหา
ปัญหาและสั่งการให้หน่วยตำรวจ และความร่วมมือกับตำรวจ
ดำเนินการตามที่สั่งการ ในกระบวนการวางนโยบาย
๘ ความรับผิดชอบของตำรวจ ความรับผิดชอบของตำรวจ
ต่อสังคมสามารถตรวจสอบได้ ต่อสังคมสามารถตรวจสอบได้
โดยคณะกรรมการตรวจสอบ โดยประชาชนผู้รับบริการและ
พลเรือนและการปกครองบังคับ โดยกลไกทางการบริหาร
บัญชาตามลำดับชั้น

144 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

๙ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็น
คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหา ผู้นำและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยน
อาชญากรรม โดยไม่มีเขตพื้นที่ แปลง เพื่อลดความหวาดกลัวภัย
รับผิดชอบในการตรวจ สภาพไร้ระเบียบ ความเสื่อมโทรม
ทางสังคม และอาชญากรรม
๑๐ หัวหน้าตำรวจตอบสนองเฉพาะ หัวหน้าตำรวจเป็นผู้สนับสนุน
เรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อ นโยบายและกำหนดทิศทางให้
แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ บริการประชาชน ด้านการบังคับ
กลุ่มเป้าหมายพิเศษเท่านั้น ใช้กฎหมายและการบริการสังคม
๑๑ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้ความ
ให้ความสำคัญของปัญหา รู้แก่ประชาชนในประเด็นปัญหาต่างๆ
ในชุมชนทั่วๆ ไป เช่น ระยะเวลาไปถึงที่เกิดเหตุ การ
ตรวจป้องกันและความจำเป็นในการ
จัดลำดับความสำคัญประเภทบริการ
๑๒ ตำรวจกับประชาชนมีความ ตำรวจกับประชาชนมีการติดต่อกัน
สัมพันธ์อันดีต่อกัน แต่มีความ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอในระยะยาว
ไว้วางใจต่อกันอย่างผิวเผิน จนเกิดความไว้วางใจต่อกันเพิ่มมาก
จึงได้รับเพียงข่าวสารทั่วๆ ไป ขึ้น ส่งผลให้ตำรวจได้รับข่าวสาร
จากประชาชนเพิ่มมากขึ้นด้วย
๑๓ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ติดต่อกับ ประชาชนสามารถเข้าพบเจ้าหน้าที่
ประชาชนเป็นครั้งคราว เนื่องจาก ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้อย่าง
มีเขตรับผิดชอบครอบคลุมทั่วทั้ง สม่ำเสมอขณะปฏิบัติงานในเขตรับ
สถานีตำรวจ ประชาชนสามารถเข้า ผิดชอบหรือทางโทรศัพท์ หรือโดย
พบได้ที่สถานีตำรวจเป็นส่วนใหญ่ การเข้าพบ ณ ที่ทำการในชุมชน

อ่างทอง :: 145
๑๔ พบเห็นชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สามารถพบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ในพื้นที่นานๆ ครั้ง ผู้รับใช้ชุมชนเป็นประจำในพื้นที่
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์
๑๕ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ถูกมองว่าเป็นบุคคลภายนอก ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
๑๖ ประชาชนไม่รู้จักชุดชุมชนสัมพันธ์ ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมีการติดต่อกับ
อย่างลึกซึ้ง ประชาชนเป็นประจำ และเป็นแบบ
อย่างที่ดีต่อกลุ่มเด็กและเยาวชน
๑๗ อิทธิพลหรืออำนาจมาจากเบื้องบน อิทธิพลหรืออำนาจมาจากเบื้องล่าง
ลงสู่เบื้องล่าง คือ ผู้บังคับบัญชา สู่เบื้องบน คือ ประชาชนเป็นผู้
มีส่วนให้ข้อมูลและร่วมตัดสินใจ จัดลำดับความสำคัญและชี้นำ
นโยบายการทำงานของตำรวจ
๑๘ มีการจัดทำโครงการใหม่ๆ มีการเปลี่ยนแปลงองค์กรและ
เป็นครั้งคราว โดยปราศจาก กระบวนการบริหารงานตั้งแต่
การเปลี่ยนแปลงองค์กรและ การสรรหา ฝึกอบรม ประเมินผล
กระบวนการบริหารงาน และเลื่อนตำแหน่งเจ้าหน้าที่
๑๙ เมื่อมีความจำเป็นต้องแทรกแซง เมื่อมีความจำเป็นต้องบังคับให้เป็น
จะเลือกใช้มาตรการการควบคุม ไปตามกฎหมาย เรียบร้อย จะเลือก
อย่างเป็นทางการ ใช้มาตรการการควบคุมกติกาทาง
สังคมอย่างไม่เป็นทางการ
๒๐ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์สนับสนุน เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ให้ประชาชนสมัครเป็นอาสาสมัคร สนับสนุนให้ประชาชนแก้ไขปัญหา
โดยประชาชนยังคงเรียกร้องและ ต่างๆ ด้วยตนเองและให้อาสา
คาดหวังบริการจากรัฐบาลมากขึ้น สมัครช่วยเหลือเพื่อนบ้าน

146 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

๒๑ เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
มีบทบาทเช่นเดิม สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่หน่วยงาน
อื่นๆ เช่น เทศกิจ ฝ่ายปกครอง
ขนส่ง แขวงการทาง และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามี
ส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน
๒๒ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ไม่มี เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนระดม
เขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงไม่สามารถ ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดในชุมชน
ระดมทรัพยากรที่มีอยู่มาช่วย อาทิ ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ
และเอกชน และธุรกิจต่างๆ
๒๓ ความสำเร็จวัดได้ด้วยสถิติ ความสำเร็จวัดจากระดับความ
อาชญากรรมและความพึงพอใจ หวาดกลัวภัย ความไร้ระเบียบของ
ของประชาชนต่องานตำรวจ ชุมชน และอาชญากรรมที่ลดลง
๒๔ ชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็น
เป็นตำรวจในเครื่องแบบ โดยมี ตำรวจในเครื่องแบบทั้งหมด
บางส่วนเป็นพลเรือน

ปรัชญาของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน เป็นปรัชญาของตำรวจบนพื้นฐานของ
ความเชื่อที่ว่า การที่ตำรวจกับประชาชนทำงานร่วมกันโดยใช้ความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาชญา-
กรรม ความรู้สึกหวาดกลัวภัยอาชญากรรม ตลอดจนสภาพความไร้
ระเบียบและความเสื่อมโทรมทางสังคมและทางกายภาพในชุมชนต่างๆ

อ่างทอง :: 147
ได้ การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น หน่วยงานตำรวจจะต้อง
เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสุจริตชนที่อยู่อาศัยในชุมชนนั้นๆ โดย
เปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอแนะในการจัด
ลำดับความสำคัญเร่งด่วนของปัญหา และร่วมพัฒนาสภาพความเป็นอยู่
โดยรวมของชุมชน ซึ่งเท่ากับเป็นการเปลี่ยนปรัชญาในการทำงานจาก
เดิมที่ใช้มาตรการตั้งรับ (Reactive) ด้วยการไปถึงที่เกิดเหตุอย่าง
รวดเร็วเพื่อระงับเหตุ มาเป็นการใช้มาตรการเชิงรุก (Proactive) ที่เน้น
การแก้ปัญหาต่างๆ ในชุมชน
การนำปรัชญาตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปเป็นแนวทางการทำงาน
สามารถสังเกตได้จากการที่หน่วยงานตำรวจปรับยุทธศาสตร์ในการ
ทำงานใหม่เพื่อนำแนวคิดของตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปสู่การปฏิบัติ อาทิ
การกำหนดหน้าที่ของสายตรวจโดยไม่ต้องทำงานภายในรถยนต์สาย
ตรวจที่รอรับฟังคำสั่งทางวิทยุให้ไประงับเหตุตลอดเวลา ให้สายตรวจ
มีเวลาทำงานมากขึ้น สามารถสัมผัสกับประชาชนภายในเขตพื้นที่
รับผิดชอบของตนได้โดยตรงและใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือการ
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนที่เรียกว่า Community Policing
Officers (CPO) ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รอบรู้ทั่วไป (Generalist) ในฐานะ
เจ้าพนักงานซึ่งมีภาระหน้าที่ในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ
ตามความต้องการของชุมชนโดยใช้หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน การให้
เจ้าหน้าที่ตำรวจมีพื้นที่รับผิดชอบในการทำงานนั้นจะทำให้เกิดความ
รู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนสามารถเข้าถึง
รู้จัก และสัมผัสโดยตรงอย่างใกล้ชิด สม่ำเสมอกับประชาชนในชุมชน
อันจะนำไปสู่ความรู้สึกเชื่อมั่นไว้วางใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ซึ่งมีฐานะเป็นผู้แทนของหน่วยงานตำรวจประจำชุมชนนั้นๆ โดยมี
หน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในการแก้ไขปัญหา

148 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

ความเดือดร้อนต่างๆ ของชุมชน เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนจะต้อง


รับฟังความคิดเห็นและรวบรวมข้อเสนอแนะ นำมาวิเคราะห์จัดลำดับ
ความสำคัญเร่งด่วนในการทำงานให้ตรงกับความต้องการของชุมชน
อันจะนำไปสู่การเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือของประชาชน
ในการทำงานกับตำรวจ
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรตำรวจผู้รับใช้ชุมชนจึงต้องมีการ
เปลี่ ย นปรั ช ญาและมุ ม มองในการคิ ด เกี่ ย วกั บ ภารกิ จ ของหน่ ว ยงาน
ตำรวจ และมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานอย่างจริงจัง
หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้เสนอแนวทางการทำงานใหม่ ซึ่งเน้นการ
ทำงานภายใต้รูปแบบของการกระจายบริการลงสู่ระดับชุมชน (De-
centralized) และถึงประชาชนเป็นรายบุคคล (Personalized) โดยให้
โอกาสประชาชนทุกคนได้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการทำงานของ
ตำรวจ

บัญญัติ ๑๐ ประการ ของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน


หลักการสำคัญของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ประกอบด้วยหัวข้อ
ใหญ่ๆ ๒ ข้อ ข้อแรกคือ ตำรวจเป็นหุ้นส่วนกับประชาชนเกาะติดพื้นที่
อย่างทั่วถึง ข้อที่สองคือ ตำรวจนำชุมชนและหน่วยงานอื่นแก้ต้นเหตุ
อาชญากรรม หรือความไม่เป็นระเบียบในชุมชน หลักการสำคัญของ
ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ๒ ข้อดังกล่าว แยกย่อยได้ ๑๐ หลักการ (บัญญัติ
๑๐ ประการ) ดังนี้

๑.การนำหลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนเป็นแนวคิดหรือกลยุทธ์
หลักในการทำงาน (Core Strategy) ที่ตำรวจทุกคนในองค์กรจะต้อง
นำไปใช้เป็นหลักในการทำงาน ตั้งแต่หัวหน้าหน่วยหรือผู้บังคับบัญชา

อ่างทอง :: 149
ทุกระดับชั้น จนถึงตำรวจทุกฝ่ายทุกแผนก (ไม่ใช่มีความคิดว่า เฉพาะ
ตำรวจชุดชุมชนสัมพันธ์เท่านั้นที่ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน แต่
พนักงานสอบสวนที่เป็นร้อยเวรสอบสวนหรือตำรวจสายตรวจไม่สนใจ
รับฟังแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
มาแจ้งความ)
การจะแสดงออกว่า หน่วยตำรวจใดนำแนวคิดตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ไปเป็นแนวคิดหลักในการทำงานหรือไม่ ให้ดูจากการกำหนดวิสัยทัศน์
ค่านิยมของหน่วยว่า มีการกำหนดแนวคิดหลักในการทำงานร่วมมือกับ
ประชาชน หรือให้ประชาชนศรัทธา หรือใช้พลังมวลชนมาร่วมแก้ปัญหา
อาชญากรรมหรือไม่ หรือมีนโยบายยุทธศาสตร์ในการนำหลักการตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชนทั้ง ๑๐ ข้อนี้ไปกำหนดหรือนำไปใช้เป็นหลักทำงานหรือไม่
งานตำรวจผู้ รั บใช้ ชุ ม ชนไม่ ใ ช่ โ ครงการชั่ ว คราวที่ ห มดเวลาหรื อ งบ
ประมาณหมดแล้วเลิกทำ เช่น โครงการปราบโจรฤดูแล้ง หรือโครงการ
นำตำรวจไปทำบุญร่วมกับประชาชนทุกวันพระ เป็นต้น แต่เป็นหลัก
การทำงานสำคัญที่ต้องทำตลอดไปจึงจะเป็น “ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน”

๒.การกระจายอำนาจให้ตำรวจผู้ปฏิบัติงาน (Decentralized)
ตำรวจสายตรวจหรือตำรวจที่ทำงานสัมผัสกับประชาชน เช่น สายตรวจ
ตำบล หรือตำรวจที่รับผิดชอบพื้นที่ จะต้องได้รับการกระจายอำนาจ
หรือมีอำนาจนำเสนอในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกับชุมชนให้
ได้มากที่สุด แทนวิธีการทำงานแบบเดิมที่อำนาจการตัดสินใจแก้ไข
ปัญหาต่างๆ อยู่ที่ส่วนกลาง เช่น ปัจจุบันหน่วยงานตำรวจไทยมอบ
อำนาจให้หัวหน้าสถานีตำรวจมีอำนาจมากขึ้นกว่าเดิมมาก เช่น การสั่ง
คดี การปล่ อ ยชั่ ว คราว การอนุ มั ติ ใ ห้ ข้ า ราชการตำรวจเดิ น ทางไป
ราชการ เป็นต้น

150 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

๓.การเกาะติดพื้นที่และกระจายความรับผิดชอบให้ตำรวจแต่ละ
พื้นที่ (Fixed Geographic and Accountability) ในระบบตำรวจผู้รับใช้
ชุมชน ตำรวจทุกคน ไม่ว่าสายตรวจรถยนต์ สายตรวจรถจักรยานยนต์
สายตรวจตำบล หรือตำรวจประจำตู้ยาม ฝ่ายอำนวยการ หรือผู้บังคับ
บัญชาระดับต่างๆ จะได้รับมอบการกระจายอำนาจให้แบ่งรับผิดชอบ
พื้นที่เป็นระยะเวลานานๆ เช่น จะไม่เปลี่ยนสายตรวจแต่ละผลัดหรือ
แต่ละเขตบ่อยจนทำให้ตำรวจสายตรวจไม่มีความคุ้นเคย หรือชาวบ้าน
ไม่ “เชื่อใจ” หรือเห็นตำรวจเป็นคนแปลกหน้า โดยควรจัดตำรวจแบบ
“เกาะติดพื้นที่” การแบ่งมอบพื้นที่หรือเขตตรวจยึดถือชุมชนเป็นหลัก
มากกว่าสถิติคดี

๔.ใช้พลังความร่วมมือของประชาชนและอาสาสมัคร (Volunteers)
ในระบบตำรวจผู้ รั บใช้ ชุ ม ชน มุ่ ง เน้ นให้ มี ก ารใช้ ค วามร่ ว มมื อ จาก
ประชาชน เป็นอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ ตามที่ชุมชนหรือในพื้นที่มี
ต้นทุนทางสังคม หรือมีการจัดตั้ง หรือมีความเหมาะสม ตำรวจมีหน้าที่
ให้ความรู้และสร้างความร่วมมือ กำหนดวิธีการจัดตั้ง เพื่อให้ประชาชน
มีโอกาสช่วยเหลืองานป้องกันอาชญากรรม และแก้ไขความไม่เป็น
ระเบียบของชุมชนตามความเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ตำรวจมีเวลาไป
ทำงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรมอื่นได้มากขึ้น
รูปแบบของอาสาสมัครจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ชุมชน บาง
แห่งอาจจะเป็นการใช้อาสาสมัครที่มีหน่วยงานอื่นจัดตั้งไว้แล้วหรือตำรวจ
จัดตั้งขึ้นเอง แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่และชุมชน รวมถึงความ
พร้อมของสภาพชุมชน เช่น อาสาสมัครตำรวจชุมชน (ตชต.) สมาชิก
แจ้งข่าวอาชญากรรม เหยี่ยวเวหา อาสาจราจร ตำรวจบ้าน สายตรวจ
ประชาชน สมาชิกกู้ภัย สมาชิกชมรมเพื่อนบ้านเตือนภัย อาสาสมัคร

อ่างทอง :: 151
ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) และลูกเสือชาวบ้าน เป็นต้น

๕.ใช้ผู้สนับสนุน (Enhancer) ในระบบตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ตำรวจจะต้องหาความร่วมมือในการสนับสนุนงานตำรวจจากชุมชนและ
องค์กรปกครองในพื้นที่ ไม่เฉพาะงานหลักคือการป้องกันอาชญากรรม
หรือการเป็นอาสาสมัครป้องกันอาชญากรรมเท่านั้น แต่ในระบบตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชน หน่วยตำรวจต้องแสวงหาทรัพยากรจากชุมชนมาช่วยเหลือ
งานตำรวจอื่นๆ เช่น การจัดอาสาสมัครช่วยแจ้งข่าวเว็บไซต์ลามก การ
ให้ประชาชนเป็นอาสาสมัครประชาสัมพันธ์ช่วยเหลือบริการผู้มาแจ้ง
ความที่สถานีตำรวจ การจัดอาสาสมัครช่วยรับโทรศัพท์ที่ศูนย์วิทยุ การ
จัดอาสาสมัครลงข้อมูลสถิติคดี การจัดคณะกรรมการหาทุนช่วยเหลือ
เหยื่ออาชญากรรม และการรับการสนับสนุนงบประมาณจากชุมชนหรือ
ท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลืองานตำรวจในด้านต่างๆ

๖.การบั ง คั บใช้ ก ฎหมายเป็ น เครื่ องมื อ แก้ ปั ญ หาชุ ม ชน (Law
Enforcement) งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชนยังถือว่า การสืบสวน จับกุม
คนร้าย เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหา
ความไม่เป็นระเบียบในชุมชน โดยมุ่งเน้นการจับกุมเพื่อแก้ปัญหาที่ถือ
เป็นความเดือดร้อนของชุมชนเป็นลำดับแรกสุด และตำรวจมีหน้าที่ใน
การรักษาความสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายหรือการจับกุม กับ
ความร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขต้นเหตุของปัญหาอาชญากรรม หรือ
ความไม่เป็นระเบียบของชุมชน

๗.เน้นป้องกันปัญหาอาชญากรรมมากกว่ารอให้เกิดเหตุ (Pro-
active Crime Prevention) ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน มุ่งเน้นการ

152 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

ป้องกันเพื่อไม่ให้อาชญากรรมเกิด มากกว่าการรอให้อาชญากรรมเกิด
แล้ว จึงคิดติดตามจับกุมคนร้ายเพื่อฟ้องศาล กิจกรรมส่วนใหญ่ของ
ตำรวจที่ทำร่วมกับชุมชน คือ สนับสนุนให้ชุมชนมีความเข้มเข็งในการ
ป้องกันอาชญากรรมด้วยชุมชนเองโดยใช้เทคนิคแก้ต้นเหตุปัญหา การ
ควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม การจัดระบบเพื่อนบ้านเตือน
ภัย หรือจัดสายตรวจประชาชน เป็นต้น เพื่อมุ่งเป้าประสงค์ในการลด
อาชญากรรมและความหวาดกลัวภัยอาชญากรรม

๘.ใช้เทคนิคแก้ปัญหา (Problem Solving) ตำรวจ สมาชิกชุมชน


และหน่วยงานอื่นๆ ทำงานร่วมกัน เพื่อกำหนดต้นเหตุของปัญหา
อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน หรือปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชุมชน
(Scanning) แล้ววิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analysis) แสวงหาแนวทาง
ในการแก้ไขปัญหา (Response) ดำเนินการแก้ไขปัญหา แล้วประเมินผล
(Assessment) เทคนิคในการแก้ปัญหานี้เป็นการระดมความร่วมมือ
ระหว่างตำรวจกับชุมชน เป็นการคิดแก้ปัญหานอกกรอบความคิดการ
ทำงานแบบเดิมของตำรวจที่ถือว่า การสืบสวนจับกุมคนร้ายได้ ก็นับ
เป็นการบรรลุภารกิจแล้ว แต่ถ้าตำรวจมีแนวคิดและทำงานตามความ
เชื่อแบบเดิม ปัญหาอาชญากรรมหรือความเดือดร้อนของชุมชนก็จะ
กลับมาอีก เพราะการจับกุมคนร้ายไม่ใช่การแก้ต้นเหตุของปัญหาที่แท้
จริ ง การใช้ เ ทคนิ ค แก้ ปัญ หาลั ก ษณะนี้ ควรถื อเป็น หลั ก การสำคั ญ
เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยใช้ชุดชุมชนสัมพันธ์เข้าไปสร้างความ
สัมพันธ์ที่ดีระหว่างตำรวจกับประชาชนได้แล้ว แต่ไม่ได้นำชุมชนมา
ระดมความร่วมมือกับตำรวจ เพื่อแก้ไขปัญหาอาชญากรรมหรือความ
เดือดร้อนของชุมชน

อ่างทอง :: 153
๙.การเป็นหุ้นส่วนและสร้างความร่วมมือระหว่างตำรวจและ
ชุมชน (Partnerships) ในระบบตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ประชาชนในชุมชน
คือหุ้นส่วนของตำรวจ ในการร่วมรับผิดชอบป้องกันอาชญากรรม หรือ
ปัญหาความไม่เป็นระเบียบในชุมชน (ไม่ใช่เป็นปัญหาของตำรวจฝ่าย
เดียว) ตำรวจและประชาชนในชุมชนต้องร่วมกันสำรวจปัญหาและความ
ต้องการของชุมชนเกี่ยวกับความเดือดร้อน หรือความหวาดกลัวภัย
อาชญากรรม และให้ชุมชนร่วมใช้เทคนิคแก้ปัญหา เพื่อร่วมแก้ต้นเหตุ
ปัญหาความเดือดร้อนจากอาชญากรรมดังกล่าว และตำรวจต้องสร้าง
ความร่วมมือหรือเป็นแกนนำในการระดมทรัพยากร ความร่วมมือ หรือ
ให้ประชาชนร่วมเป็นอาสาสมัครเพื่อดำเนินกิจกรรมป้องกันอาชญากรรม
ได้ด้วยตัวชุมชนเอง

๑๐.ตำรวจต้องบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Integration)
ในการบังคับใช้กฎหมายหรือแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหลาย
อย่าง โดยเฉพาะการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา (ไม่ใช่เพียงแค่การจับ
คนร้าย) ตำรวจไม่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงจะเข้าไปจัดการได้ เช่น
หอพักที่เป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่นติดยาเสพติด เจ้าหน้าที่พัฒนา
สังคมและทรัพยากรมนุษย์หรือประชาสงเคราะห์มีหน้าที่ตามกฎหมาย
โดยตรงในการจัดระเบียบ หรือการติดตั้งไฟฟ้าส่องสว่างบริเวณที่เกิด
เหตุชิงทรัพย์หรือข่มขืนเสมอ เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น การถอนใบอนุญาตให้บุคคลที่มีพฤติการณ์ลักเล็กขโมยน้อย มี
และใช้อาวุธปืน เป็นอำนาจของนายทะเบียนอาวุธปืน คือนายอำเภอ
ท้องที่ (ต่างจังหวัด) การอนุญาตให้รถเร่ขายสุราตามงานเทศกาลหรือ
งานรื่นเริงต่างๆ ที่เป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นซื้อสุราได้ทุกเวลา นำไปสู่เหตุ
ทำร้ายร่างกาย เป็นอำนาจของสรรพสามิต รถที่หายส่วนมากเป็นรถ

154 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

จักรยานยนต์ใหม่ที่ยังไม่ได้รับป้ายทะเบียนจากหน่วยงานขนส่งทางบก
และสถานที่ที่หายมากสุดคือตลาดนัด ที่ฝ่ายพาณิชย์จังหวัดมีอำนาจ
กำหนดเงื่อนไขอนุญาตให้เปดตลาดนัดได้ ดังนี้เป็นต้น

การเริ่มต้นงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
การทำความเข้าใจ หรือยอมรับในทางทฤษฎีของตำรวจผู้รับใช้
ชุมชนไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติมักถามว่า หากต้องการนำ
ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปใช้จริง ต้องทำอย่างไร ความรู้ส่วนนี้จะ
กล่าวถึงสิ่งสำคัญในการนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปสู่การปฏิบัติจริง
ซึ่งถือเป็น “หัวใจ” ของคู่มือเล่มนี้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นหัวข้อสำคัญ คือ
เรื่องตัวผู้นำตำรวจ ผู้ปฏิบัติหรืออาจเรียกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้
ชุมชน (CPO) และภาคชุมชน
องค์ประกอบสำคัญของการนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนสู่การปฏิบัติ

ขั้นตอนการปฏิบัติและวิธีดำเนินงานของ “ผู้นำ” ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน


การนำปรัชญาตำรวจผู้รับใช้ชุมชนไปใช้จะสำเร็จมากน้อยเพียงใด
นั้น อยู่ที่หัวหน้าตำรวจผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญาในการทำงาน

อ่างทอง :: 155
ผู้นำต้องแสดงความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะใช้นโยบายตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชนให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม โดยการแถลงนโยบายตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชนอย่างเป็นทางการ เปิดโอกาสให้ทุกฝ่าย มีส่วนร่วมกำหนด
วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการวางแผน และลงไปติดตามกำกับดูแล
การปฏิบัติถึงระดับผู้ปฏิบัติอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้องทำหน้าที่เป็นครู
เป็นพี่เลี้ยง ให้ความรู้ที่จำเป็นแก่ผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งชุมชนได้
ผู้นำมีความประสงค์หรือมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบดูแลการจัดหน่วย
ตามหลักการ “งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน” จำเป็นต้องมีความรู้ในวิธีจัดการ
และดำเนินงาน ดังนี้
๑. มีความเชื่อและศรัทธาในทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
๒. จัดการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความไม่เป็นธรรมในหน่วยงาน
๓. กระทำด้วยวิธีการต่างๆ ให้ตำรวจทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่าของ

สถาบันตำรวจที่มีต่อสังคม (จะทำให้เกิดความรักความศรัทธาต่อ

สถาบัน)
๔. ให้ความรู้ในการควบคุมสังคม ตามหลักการที่ถูกต้องและเข้าใจ

อย่างแท้จริงโดยเหตุผลที่ว่า “ตำรวจได้อำนาจมาจากสังคม” การ

ทำงานก็มีวัตถุประสงค์เพื่อ “สนองตอบต่อสังคม” ด้วยเช่นกัน


๕. ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีสร้างอุดมการณ์สร้างคุณธรรม และวิธีรักษา

อุดมการณ์รักษาคุณธรรมแก่ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
๖. บำรุงขวัญให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติด้วยความจริงใจ
๗. คัดเลือกตำรวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่พบปะประชาชนภายในชุมชน

อย่างเหมาะสม
๘. ให้ความรู้เพิ่มเติมที่จำเป็นแก่การปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน

เช่น พฤติกรรมวัยรุ่น (Juvenile Procedures) ปฐมพยาบาล

(First Aid) ฯลฯ

156 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

ù. แบ่งชุดปฏิบัติการรับผิดชอบแต่ละพื้นที่ (โดยปกติ ๑ ชุดจะมีตำรวจ


๖-๘ นาย กลางคืน ๓ นาย กลางวัน ๒ นาย เน้นการแบ่งพื้นที่
ปฏิบัติให้แคบลง)

คุณสมบัติของ “ผู้ถูกคัดเลือก” ให้ทำงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน


ผู้ปฏิบัติงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน หรือเรียกว่า Community
Policing Officers (CPO) ต้องเข้าทำงานและอยู่ประจำในชุมชนเป็น
ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน (ไม่ต่ำกว่า ๑๘ เดือน) ดังนั้น พฤติการณ์
ต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงานจึงมักมีผล (ทั้งด้านดีและด้านไม่ดี) ต่อความ
นึกคิดของประชาชนในชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนรู้เห็นอื่นๆ ในเบื้องต้น
ตัวผู้ปฏิบัติงานรับใช้ชุมชนย่อมเป็น “เป้าแห่งความรู้สึก” โดยตรง แต่
ท้ายที่สุดก็จะขยายไปถึงสถาบันตำรวจในภาพรวมด้วย
เพื่อให้บังเกิดเป็นผลดี จึงควรคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติดังนี้
๑. ผู้ถูกคัดเลือก ควรเป็นผู้สามารถทำงานประสานภายในชุมชนได้
อย่างเหมาะสม
ò. มีความเข้าใจในงานบริการ (Service Mind) สามารถค้นหาและ
ตอบสนองความต้องการของชุมชนได้
๓. เป็นผู้มีความสามารถวิเคราะห์วิจัย และเข้าชุมชนนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
๔. สามารถประสานงานกับผู้นำชุมชน นักการเมือง (ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น
จนกระทั่งถึงระดับชาติ) เจ้าของธุรกิจ เจ้าของร้านค้าย่อยบริเวณ
ปากซอยหรือหัวมุมถนน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่
เกี่ยวข้อง ตลอดจนต้องเข้าใจทรัพยากรในชุมชนนั้นๆ เป็นอย่างดี
๕. สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่มย่อยๆ
๖. สามารถแนะนำให้ประชาชนมีการเลือกหัวหน้ากลุ่ม
๗. สามารถจัดความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากลุ่ม

อ่างทอง :: 157
๘. สามารถจัด แบ่ง ความรั บผิด ชอบในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
อาชญากรรมในชุมชนได้
ù. สามารถหาแหล่งสนับสนุนเงิน อุปกรณ์ และเครื่องมือเครื่องใช้
ñð. สามารถกระตุ้น หรือทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในชุมชนได้
อย่างแนบเนียน
ññ. สามารถให้คำปรึกษาได้ตลอดทุกขั้นตอน โดยแสดงให้เห็นถึงความ
จริงใจ
ñò. สามารถทำให้ประชาชนในชุมชนทุกคนทุกกลุ่มยึดหลักการของ
ระบอบและวิธีการประชาธิปไตยอย่างเคร่งครัด

การวิเคราะห์สถานภาพของ “ชุมชน” และการเข้ามีส่วนร่วม


ความแตกต่างที่เด่นชัดของวิธีทำงานแบบเดิมกับทฤษฎีตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชนคือ มุมมองต่อชุมชน เดิมเคยเชื่อว่าตำรวจที่เก่ง (จับ
คนร้ายได้มาก ไปถึงที่เกิดเหตุได้เร็ว) พร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย
จะสามารถทำให้สังคมสงบสุขได้ แต่มุมมองของทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้
ชุมชนมองตรงกันข้าม ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ตำรวจไม่
สามารถทำงานเพียงลำพังและไม่ควรห่างจากประชาชน ตำรวจไม่ควร
คิดแทนประชาชน แต่ตำรวจต้องทำงานร่วมกันกับชุมชน (Community
Involvement)
คำว่า “ชุมชน” ในที่นี้ไม่ได้จำกัดเพียงกลุ่มคนทางภูมิÈาสตร์หรือ
เขตการปกครอง แต่หมายถึง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ได้รับผลกระทบ ผู้ได้รับ
ประโยชน์ รวมทั้งมีผู้มีส่วนแก้ไขปัญหา ซึ่งแบ่งได้เป็น ๖ กลุ่ม ด้วยกัน
๑.หน่ ว ยงานตำรวจ ผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ผู้ บ ริ ห ารระดั บ กลาง
หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ผู้แทนฝ่ายพลเรือน ผู้แทนหน่วยพิเศษ
ทุกหน่วย เช่น ฝ่ายสืบสวน ฝ่ายปราบปรามยาเสพติดให้โทษ ฝ่าย

158 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

อบายมุข ฝ่ายป้องกันอาชญากรรม ฝ่ายวิทยุตำรวจ ฯลฯ ควรมีส่วน


ร่วมในกระบวนการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับ
ทราบแนวนโยบาย ให้ข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ
๒.ชุมชน วิธีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอต่างๆ ดำเนิน
การได้โดยการวิจัยสำรวจความคิดเห็นและการประชุมผู้แทนชุมชน ซึ่ง
มีความสำคัญในขั้นตอนการวางแผน และการนำนโยบายการตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชนไปปฏิบัติ
ó.นักบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อได้กำหนดนโยบายตำรวจ
ผู้รับใช้ชุมชนแล้ว จะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่านักบริหารฝ่าย
การเมือง เช่น นายกเทศมนตรี จะเข้ามามีส่วนร่วมเมื่อใดและอย่างไร
เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนในระดับนโยบายต่อไป
๔.ชุมชนธุรกิจ การเชิญผู้แทนจากกลุ่มนักธุรกิจต่างๆ เข้ามามี
ส่วนร่วมในขั้นตอนแรกๆ จะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ทั้งในด้าน
การเงิน การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างตำรวจกับพนักงานรักษา
ความปลอดภัยของเอกชน ความร่วมมือในการส่งพนักงานบริษัทมาเป็น
อาสาสมัคร เครื่องมืออุปกรณ์ ที่ทำการ การทำงานร่วมกับผู้ประกอบ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
๕.หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน จะต้องขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
อื่นๆ เช่น การรณรงค์ปรับปรุงสภาพทรุดโทรมของชุมชนที่อยู่อาศัย
การแก้ไขปัญหาแหล่งจำหน่ายยาเสพติด ที่สำคัญสถาบันการศึกษา
โรงเรียนในพื้นที่ และสถาบันทางศาสนา วัด มัสยิด เป็นหุ้นส่วนหลักที่
ตำรวจต้องให้ความเอาใจใส่และขอความร่วมมือ
๖.สื่อมวลชน การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับ
สื่อมวลชนท้องถิ่นเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานร่วมกัน โดยสื่อมวลชน

อ่างทอง :: 159
สามารถช่วยสร้างความเข้าใจให้สาธารณชนรับทราบปรัชญาในการ
ทำงานใหม่นี้ และผลที่ชุมชนจะได้รับจากงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชนนี้

การทำงานภายใต้ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชนจะต้องรับฟังแนว
ความคิด ความต้องการ และข้อเสนอแนะต่างๆ จากทุกฝ่ายโดยตรง
ตำรวจต้องไม่คิดแทน สำหรับหน่วยงานตำรวจขนาดใหญ่อาจใช้วิธีการ
มีตัวแทนในการวางแผนหรือด้วยการบันทึกแสดงข้อคิดเห็นต่างๆ เสนอ
เข้ามาเพื่อพิจารณา ซึ่งจะต้องรับฟังอย่างเปิดกว้าง ภายใต้เงื่อนไขที่ต่าง
ฝ่ายต่างเคารพและให้เกียรติต่อกัน ซึ่งขั้นตอนการเข้ามีส่วนร่วม มีด้วย
กัน ๘ ขั้นตอนได้แก่
• รวบรวมข้อมูล
• วิเคราะห์สถานภาพของชุมชน
• การระบุรายชื่อกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
• การคัดเลือกผู้นำกลุ่มแต่ละฝ่าย
• การประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มทุกฝ่าย
• การหาข้อสรุปว่ามีเรื่องใดบ้างที่เห็นด้วยและที่ขัดแย้งกัน
• การนำเรื่องที่ทุกฝ่ายเห็นด้วยไปปฏิบัติ
• การควบคุมคุณภาพและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ระดับความก้าวหน้าของงานตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
เพื่อช่วยในการประเมินการเปลี่ยนแปลงไปสู่ตำรวจผู้รับใช้
ชุมชนอย่างถูกทิศ ถูกทาง และเพื่อใช้วัดระดับความเป็น “ตำรวจผู้รับ
ใช้ชุมชน” ว่ามากหรือน้อย สำนักงานยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกาได้
ศึกษาและกำหนดระดับของการพัฒนาของการนำทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้
ชุมชนไปปฏิบัติ โดยแบ่งความก้าวหน้าไว้ ๕ ระดับ ดังนี้

160 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

ระดับขั้น กิจกรรมที่ดำเนินการ
ขั้นที่ ๑ จัดตั้งหน่วยเ©พาะทำงานด้านตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
หรืออาจจัดตั้งÈูนย์ประสานงานกับชุมชน
• การทำงานตามหลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนถูกมองว่า
เป็นภารกิจพิเศษ โดยถูกแยกออกจากงานประจำ
• งานสายตรวจยังถือเป็นภารกิจหลักของตำรวจ
• สิ่งสำคัญสูงสุด คือการไปถึงที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็ว

อ่างทอง :: 161
ขั้นที่ ๒ ชุมชนเริ่มเข้ามีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ
• การออกตรวจยังคงเป็นงานหลัก แต่จะเป็นไปตามสภาพ

พื้นที่ สภาพอาชญากรรม เช่น เพิ่มความถี่การตรวจใน

จุดที่เกิดอาชญากรรมบ่อยครั้ง
• สิ่งสำคัญสูงสุดคือ การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิด

เหตุร้ายบ่อยครั้ง (Hot spot)



ขั้นที่ ๓ ปัญหาได้รับการแก้ไขโดยการประสานงาน
และความร่วมมือของตำรวจและชุมชน
• ตำรวจและชุมชนร่วมมือกันแก้ปัญหา อาจเป็นปัญหาไม่

ซับซ้อน ใช้ระยะเวลาแก้ไขไม่นานนัก
• การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุถือเป็นสิ่งสำคัญขององค์กรตำรวจ

ขั้นที่ ๔ ความร่วมมือของตำรวจและชุมชน
ขยายไปสู่เรื่องการป้องกันและการกระทำผิดต่างๆ
• เกิดการรวมพลังของชุมชน หน่วยงานส่วนต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตำรวจ
• สิ่งสำคัญสูงสุดคือความร่วมมือระยะยาว

ขั้นที่ ๕ หลักการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนถูกกำหนด
• เรื่องการป้องกันและการกระทำผิดต่างๆ
• แนวคิดและวิธีทำงานของตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้รับการ

ยอมรับและเผยแพร่ทั่วองค์กรตำรวจ
• สิ่งสำคัญสูงสุด คือ การทำงานโดยอ้างอิงข้อมูลข่าวสาร

ความต้องการของชุมชน

162 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

ตัวชี้วัดความสำเร็จของตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
หลุยส์ ราดิเลท์ (Louis Radelet) และ เดวิด คาร์เตอร์ (David
L. Carter) ได้วิจัยพบว่า งานตำรวจผู้รับใช้ชุมชนจะประสบผลสำเร็จ
หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้
๑.คำแถลงภารกิจ หน่วยงานตำรวจมีคำแถลงภารกิจที่ชัดเจน
หรือไม่ ได้ตระหนักถึงพันธมิตรเชิงหุ้นส่วนระหว่างตำรวจกับชุมชน
หรือไม่
๒.การกระจายอำนาจ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้รับมอบ
อำนาจในการพิจารณาแก้ไขปัญหาชุมชนมากน้อยเพียงใด
๓.การแก้ปัญหา การตรวจท้องที่ของสายตรวจเป็นการตรวจ
ลาดตระเวนไปตามสถานที่ต่างๆ หรือเป็นการตรวจเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหา
ในวันหนึ่งๆ ตำรวจสายตรวจตระเวนไปตามถนนหนทางเพื่อรอวิทยุแจ้ง
ให้ระงับเหตุ หรือใช้เวลาส่วนใหญ่ในการแก้ไขปัญหา
๔.การมีส่วนร่วมของชุมชน ตำรวจได้พัฒนาเครื่องมือหรือกลไก
ให้ชุมชนได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เครื่องมือ
หรือกลไกเหล่านี้ประชาชนผู้อยู่อาศัยในชุมชนทราบหรือไม่ ประชาชน
หรือผู้แทนชุมชนสามารถเข้ามีส่วนในกระบวนการวางนโยบายหรือไม่
ผู้บริหารให้ความสนใจมาร่วมประชุมพบปะกับประชาชนหรือผู้แทน
ชุมชนบ้างหรือไม่ หรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้
ชุมชนเท่านั้น
๕.ทัÈนคติที่ตำรวจมีต่อประชาชน เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติ
หน้าที่อยู่บนสถานีตำรวจจะต้องมีทัศนคติที่ดีต่อประชาชน กรณีรับแจ้ง
ความทางโทรศัพท์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องชี้แจงแก่ผู้แจ้งให้รับทราบถึง
แนวทางการปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงไป เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องมีความ
รู้สึกยอมรับประชาชนในชุมชน

อ่างทอง :: 163
๖.ระบบการจัดการ หน่วยงานตำรวจจะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบ
การจัดการให้สอดคล้องกับปรัชญาตำรวจผู้รับใช้ชุมชน การบังคับ
บัญชาระดับต่างๆ จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน มีการปรับ
บทบาทหน้าที่ของสายตรวจตำรวจให้สามารถทำงานร่วมกับชุมชนใน
การแก้ไขปัญหาได้ สร้างระบบการประสานงานกันระหว่างเจ้าหน้าที่
ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนที่รับผิดชอบพื้นที่ปฏิบัติการกับสายตรวจตำรวจ
ปกติ ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารให้สอดคล้องกับภารกิจ
หน่วยงานตำรวจจะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดบรรยากาศในการ
ทำงานร่วมกับชุมชนอย่างจริงจัง
๗.การประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้รางวัล จะต้องมี

การปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยวัดจากคุณภาพ
ชีวิตของชุมชนที่ดีขึ้น มิใช่วัดจากสถิติตัวเลขการจับกุมหรือการออก
ใบสั่งจราจร พัฒนาระบบการให้รางวัลและประกาศชมเชยผู้มีผลงานดี
เน้นการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบพื้นที่ทำงานระยะยาวให้รู้จัก
ชุมชน
๘.การฝึกอบรม จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับใช้ชุมชนให้มี
ความรู้ที่จำเป็น และเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของชุมชน หน่วยงาน
ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา
๙.การกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบ การพิจารณากำหนดชุมชน
เป้าหมายเพื่อมอบหมายพื้นที่รับผิดชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจตาม
สภาพความเป็นจริงของชุมชน มิให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกัน
ระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับชุมชนเป้าหมาย
๑๐.ฝ่ายการเมือง เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งฝ่ายการเมือง มี
ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาตำรวจผู้รับใช้ชุมชนหรือไม่ และให้การ
สนับสนุนมากน้อยเพียงใด

164 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี


: หลักวิชาการที่ใชในการทำ Community Policing

๑๑.เป็ น ปรั ช ญาในการทำงานหรื อ เป็ น เพี ย งโปรแกรมพิ เ Èษ


การนำปรัชญาตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้นั้น นำมาใช้เป็นปรัชญาการ
ทำงานของหน่วยงานตำรวจทุกฝ่าย หรือเป็นเพียงโปรแกรมพิเศษของ
หน่วยตำรวจชุมชนสัมพันธ์หรือหน่วยป้องกันอาชญากรรมเท่านั้น หาก
นำมาใช้เฉพาะหน่วยย่อย โอกาสที่จะสำเร็จเป็นไปได้ยาก กรณีมีการ
ประชุมร่วมกับผู้แทนชุมชนเพื่อวิเคราะห์ปัญหาหรือกำหนดแนวทาง
แก้ไขปัญหา เป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่ายที่จะต้องเข้าร่วม
๑๒.สื่อมวลชน ท่าทีของสื่อมวลชนต่อหน่วยงานตำรวจในการนำ
ปรัชญาตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้แก้ไขปัญหาอาชญากรรมเป็นอย่างไร
สื่อมวลชนพิจารณาผลการทำงานของตำรวจจากดัชนีชี้วัดตัวใด สถิติ
อาชญากรรม ผลการจับกุม หรือสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนที่ดีขึ้น
๑๓.การเลือกรูปแบบของการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนที่แตกต่างกัน
มาใช้ตามความเหมาะสม หน่วยงานตำรวจย่อมมีข้อแตกต่างกันในการ
นำรูปแบบของการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนมาใช้ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับวิธีการ
ที่จะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางนโยบายและแก้ไขปัญหาชุมชน
ได้ดีที่สุดตามความเหมาะสม

อ่างทอง :: 165
ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในไทย
• ตำรวจไทย เริ่มรู้จักและใช้ทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์ มาตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๓๑
• เกือบทุกโรงพักมีชุดตำรวจชุมชนสัมพันธ์ แต่ตำรวจส่วนใหญ่
ทำงานแบบเก่า (ตระเวนตรวจ คอยเหตุ สืบสวน จับคนร้าย)
• ผู้ปฏิบัติส่วนมากเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าทฤษฎีชุมชนสัมพันธ์
(Police Community Relations) คือทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้
ชุมชน (Community Policing)
• อาชญากรรมประเทÈไทยเกิดสูงขึ้นทุกป‚ และอยู่ในลำดับต้นๆ
ของโลก ขณะที่อาชญากรรมในหลายประเทÈเริ่มคงที่และลดลง
• อาชญากรรมทั่วโลกไม่ต่างกันมากนัก แต่ต่างกันตรงเทคนิควิธี
การที่ตำรวจใช้
• ตำรวจทั่วโลกหันไปใช้วิธีการทำงานแบบใหม่ อาชญากรรมมี
แนวโน้มคงที่ หรือลดลง
• ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ได้รับการพิสูจน์และยอมรับว่า
สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมได้จริง
• ตำรวจไทยเริ่มรู้จักและพยายามเผยแพร่ทฤษฎีตำรวจชุมชน
สัมพันธ์มากว่ายี่สิบป‚ แต่ตำรวจส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและยัง
ทำงานแบบเก่า ที่สำคัญอาชญากรรมยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และมีแนวโน้มสูงขึ้น หากวิธีที่ใช้อยู่ไม่ได้ผล ก็ควรใช้วิธีใหม่
ดูบ้าง ทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ได้รับการพิสูจน์แล้วทั่วโลก
ว่ า สามารถลดความหวาดระแวงภั ย และลดอาชญากรรม
(พงศ์พัฒน์ ๒๕๕๓)

166 :: ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน : ชุมชนบ้านรอ และชุมชนอ่างทองธานี

You might also like