You are on page 1of 28

ประเทศพม่า

จากวิกพ
ิ ีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า

(พม่า)

ธงชาติ ตราแผ่นดิน

เพลงชาติ:

 กะบามะเจ
 ตราบโลกแหลกสลาย

MENU

0:00

ทีต
่ ง้ ั ของประเทศพม่า (เขียว)
เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ (สีเทาเข้ม)
เมืองหลวง เนปยีดอ
เมืองใหญ่สุด ย่างกุง้
ภาษาราชการ ภาษาพม่า
ภาษาพื้นเมือง  ภาษากะฉิ่น
 ภาษากะยา
 ภาษากะเหรีย่ ง
 ภาษาฉิ่น
 ภาษามอญ
 ภาษายะไข่
 ภาษาไทใหญ่
อักษรราชการ อักษรพม่า
กลุม ั ธุ์ ([1])
่ ชาติพน  68% พม่า
 9% ไทใหญ่
 7% กะเหรีย่ ง
 4% ยะไข่
 2% มอญ
 10%
อืน
่ ๆ (รวม. กะฉิ่ น,ชิน, กะยา, จีน, อินเดี
ย)
เดมะนิม ชาวพม่า
การปกครอง รัฐเดีย่ ว ระบบรัฐสภาสาธารณรัฐ
- ประธานาธิบดี ทีนจอ

- ทีป
่ รึกษาแห่งรัฐ ออง ซาน ซูจี

- รองประธานาธิบดีคนทีห่ นึ่ มยินซเว



- รองประธานาธิบดีคนทีส
่ อ เฮนรี บาน ทียู

นิตบ
ิ ญ
ั ญัติ รัฐสภาแห่งสหภาพ
- สภาสูง สภาแห่งชาติ

- สภาล่าง สภาผูแ
้ ทนราษฎรพม่า

ประวัตศ
ิ าสตร์
- อาณาจักรพุกาม 23 ธันวาคม 1392

- ราชวงศ์ตองอู 16 ตุลาคม 2053

- ราชวงศ์คองบอง 29 กุมภาพันธ์ 2295

- เอกราช 4 มกราคม 2491


(จาก สหราชอาณาจักร)
- รัฐประหาร 2 มีนาคม 2505

- รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 30 มีนาคม 2554

พื้นที่
- รวม 676,578 ตร.กม. (39)
261,227 ตร.ไมล์
- แหล่งน้า (%) 3.06

ประชากร
- 2557 (สามะโน) 51,486,253[2] (25)

- ความหนาแน่ น 76 คน/ตร.กม. (125)


196.8 คน/ตร.ไมล์
จีดพ
ี ี (อานาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
- รวม 334.856 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

- ต่อหัว 6,360 ดอลลาร์สหรัฐ

จีดพ
ี ี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
- รวม 72.368 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

- ต่อหัว 1,374 ดอลลาร์สหรัฐ

HDI (2558) 0.556 (ปานกลาง) (145)


บทความนี้อกั ษรพม่าปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นเครือ
่ งหมายคาถามหรือสัญลัก
ษณ์ อืน
่ แทนตัวอักษร
หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลอักษรพม่าได้อย่างถูกต้อง
สกุลเงิน จัต (K) ( MMK )
เขตเวลา MMT (UTC+06:30)
ขับรถด้าน ขวามือ
รหัส ISO 3166 MM
โดเมนบนสุด .mm
รหัสโทรศัพท์ +95

พม่า[3] หรือ เมียนมา[4] (พม่า: မြန်ြာ, [mjəmà], มฺยะหฺมา่ )


มีชือ
่ ทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมีย
นมา (พม่า: မြည်ထ ာင်စု သြမတ မြန်ြာနင ု င
် ထ
ံ တာ်, [pjìdàuɴzṵ
θàɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀]ปหฺยเี่ ด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺมา่
ไหฺน่หฺง่น
ั ด่อ) เป็ นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้
มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแด
นพม่าทีม ่ ีความยาว 1,930
กิโลเมตรเป็ นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่
676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็ นประเทศทีใ่ หญ่เป็ นอันดับที่ 40
ของโลก และใหญ่เป็ นอันดับที่ 2
ในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ สามะโนของประเทศในปี 2557
เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าทีค ่ าดการณ์ โดยมีบน
ั ทึกประชากร 51
ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุง้ [1]
อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูทพ ี่ ูดภาษาตระกูลทิเบต-
พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง
ในคริสต์ศตวรรษที่
9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุม ่ แม่น้าอิรวดีตอนบน
และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050
ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ
ครอบงาในประเทศ
อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกาเนิด
้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครัง้ และช่วงสัน
ขึน ้ ๆ
เป็ นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัตศ ิ าสตร์เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้[5] ต้นศตวรร
ษที่
19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นทีป ่ ระเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสั
มในช่วงสัน ้ ๆ ด้วย บริตช ิ พิชต
ิ พม่าหลังสงครามอังกฤษ-
พม่าทัง้ สามครัง้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
และประเทศกลายเป็ นอาณานิคมบริตช ิ ประเทศพม่าได้รบ ั เอกราชใน ค.ศ.
1948 ช่วงต้นปกครองแบบชาติประชาธิปไตย และหลังรัฐประหารใน ค.ศ.
1962 เป็ นการปกครองแบบเผด็จการทหาร
แม้เผด็จการทหารสิน ้ สุดลงอย่างเป็ นทางการใน ค.ศ. 2011
แต่ผนู้ าพรรคการเมืองส่วนใหญ่ยงั เป็ นอดีตนายทหาร
ประเทศพม่าอยูภ ่ ายใต้การต่อสูช ้ าติพน
ั ธุ์ทรี่ ุนแรง
กลุม่ ชาติพน ั ธุ์มากมายของพม่าเกีย่ วข้องกับสงครามกลางเมืองทีด ่ าเนินอยูย่ าว
่ ุดสงครามหนึ่งของโลก
ทีส
ระหว่างช่วงนี้ สหประชาชาติและอีกหลายองค์การรายงานการละเมิดสิทธิมนุษ
ยชนอย่างต่อเนื่องภายในประเทศ[6][7][8] ใน ค.ศ. 2011
มีการยุบคณะทหารผูย้ ด ึ อานาจการปกครองอย่างเป็ นทางการหลังการเลือกตัง้
ทั่วไป ค.ศ. 2010 และมีการตัง้ รัฐบาลในนามพลเรือน
แต่อดีตผูน ้ าทหารยังมีอานาจภายในประเทศ
กองทัพพม่าดาเนินการสละการควบคุมรัฐบาล ร่วมถึงการปล่อยตัวออง ซาน
ซูจแ ี ละนักโทษทางการเมือง
มีการปรับปรุงสิทธิมนุษยชนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
จนนาไปสูก ่ ารผ่อนปรนการลงโทษทางการค้าและเศรษฐกิจอืน ่ ๆ[9][10] ทว่ายังมี
การวิจารณ์ การปฏิบตั ต ิ อ่ ชนกลุม
่ น้อยโรฮีนจาของรัฐบาลและการสนองต่อการ
ปะทะกันทางศาสนา [11][12][13]

ประเทศพม่าอุดมด้วยหยก อัญมณี น้ามัน


แก๊สธรรมชาติและทรัพยากรแร่อืน
่ ๆ ใน ค.ศ. 2013 จีดพ ี ี (ราคาตลาด) อยูท
่ ี่
56,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีดพ
ี ี (อานาจซื้อ) อยูท
่ ี่ 221,500
[14]
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่องว่างรายได้ของประเทศพม่ากว้างทีส ่ ุดประเทศหนึ่งใ
นโลก
้ นับสนุนอดีตรัฐบาลทหารควบคุม[15][16] ใน
เพราะเศรษฐกิจสัดส่วนใหญ่ถูกผูส
ค.ศ. 2014 จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ (HDI)
ประเทศพม่ามีระดับการพัฒนามนุษย์ต่า โดยจัดอยูอ ่ น
ั ดับที่ 148 จาก 188
ประเทศ [17]

เนื้อหา
[ซ่อน]

 1ประวัตศ ิ าสตร์
o 1.1มอญ
o 1.2ปยู
o 1.3อาณาจักรพุกาม
o 1.4อังวะและหงสาวดี
o 1.5ราชวงศ์ตองอู
o 1.6ราชวงศ์คองบอง
o 1.7สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอา
ณาจักร
o 1.8เอกราช
o 1.9การปกครองโดยทหาร
 2ภูมศิ าสตร์
o 2.1การแบ่งเขตการปกครอง
o 2.2เมืองใหญ่สุด 10 อันดับแรก
 3การเมืองการปกครอง
 4เศรษฐกิจ
 5สกุลเงิน
 6ประชากรศาสตร์
o 6.1เชื้อชาติ
o 6.2ศาสนา
o 6.3ภาษา
 7วัฒนธรรม
 8การคมนาคม
 9อ้างอิง
 10บรรณานุกรม
 11ดูเพิม่
 12แหล่งข้อมูลอืน ่
ประวัตศ
ิ าสตร์[แก้]
ประวัตศ ิ าสตร์ของพม่านัน ้ มีความยาวนานและซับซ้อน
มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยูใ่ นดินแดนแห่งนี้
เผ่าพันธุ์เก่าแก่ทส
ี่ ุดทีป
่ รากฏได้แก่ชาวมอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13
ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสูท ่ รี่ าบลุ่
มแม่น้าอิรวดี และได้กลายเป็ นชนเผ่าส่วนใหญ่ทป ี่ กครองประเทศในเวลาต่อม

ความซับซ้อนของประวัตศ ้ จากกลุม
ิ าสตร์พม่ามิได้เกิดขึน ่ ชนทีอ ่ าศัยอยูใ่ นดินแ
ดนพม่าเท่านัน ้
แต่เกิดจากความสัมพันธ์กบ ั เพือ
่ นบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว แ
ละไทย
มอญ[แก้]
ดูบทความหลักที:่ อาณาจักรมอญ
มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยูใ่ นดินแดนของประเทศพม่าเมือ ่ ราว 11,000
ปี มาแล้ว
แต่มนุษย์ทส ี่ ามารถสร้างอารยธรรมขึน ้ เป็ นเอกลักษณ์ ของตนได้ก็คอ ื ชาวมอญ
ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยูใ่ นดินแดนแห่งนี้เมือ ่ ราว 2,400
ปี ก่อนพุทธกาล
และได้สถาปนาอาณาจักรสุธรรมวดี อันเป็ นอาณาจักรแห่งแรกขึน ้ ในราวพุทธ
ศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton)
ชาวมอญได้รบ ั อิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2
ซึง่ เชือ
่ ว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหา
ราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทาลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมขอ
งชาวมอญเกิดขึน ้ จากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเ
ป็ นเอกลักษณ์ ของตนเองจนกลายเป็ นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม
ในราวพุทธศตวรรษที่ 14
ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอท ิ ธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่า
ปยู[แก้]
ชาวปยูเข้ามาอาศัยอยูใ่ นดินแดนประเทศพม่าตัง้ แต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4
และได้สถาปนานครรัฐขึน ้ หลายแห่ง
เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) อาณาจักรศรีเกษตร (S
ri Ksetra) เปี ยทะโนมโย (Peikthanomyo) และฮะลีนจี (Halingyi)
ในช่วงเวลาดังกล่าว
ดินแดนพม่าเป็ นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนกับอินเดีย
จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยูภ ่ ายใต้อานาจปกครองของชาวปยู 18
เมือง และชาวปยูเป็ นชนเผ่าทีร่ กั สงบ
ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึน ้ ระหว่างชนเผ่าปยู
ข้อขัดแย้งมักยุตด ิ ว้ ยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน
ชาวปยูสวมใส่เครือ ่ งแต่งกายทีท ่ าจากฝ้ าย
อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจาขัง
เว้นแต่ได้กระทาความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวต ิ
ชาวปยูนบ ั ถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ
ได้รบ ั การศึกษาทีว่ ดั ตัง้ แต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
นครรัฐของชาวปยูไม่เคยรวมตัวเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แต่นครรัฐขนาดใหญ่มกั มีอท ิ ธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึง่ แสดงออกโดยการ
ส่งเครือ ่ งบรรณาการให้ นครรัฐทีม ่ ีอท
ิ ธิพลมากทีส่ ุดได้แก่ศรีเกษตร
ซึง่ มีหลักฐานเชือ ่ ได้วา่ เป็ นเมืองโบราณทีม ่ ีขนาดใหญ่ทส ี่ ุดในประเทศพม่า
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึน ้ เมือ่ ใด
แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลีย่ นราชวงศ์เกิดขึน ้ ในปี พุทธศักราช
637
ซึง่ แสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รบ ั การสถาปนาขึน ้ ก่อนหน้านัน

มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิง้ ไปในปี พุทธศักราช 1199
เพือ ่ อพยพย้ายขึน ้ ไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ
แต่ยงั ไม่ทราบอย่างแน่ ชดั ว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด
นักประวัตศ ิ าสตร์บางท่านเชือ ่ ว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองฮะลีนจี
อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่ านเจ้าในราวพุทธศตวรร
ษที่ 15 จากนัน ้ ก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวปยูอีก
อาณาจักรพุกาม[แก้]
ดูบทความหลักที:่ อาณาจักรพุกาม

แผนทีท่ วีปเอเชียใน พ.ศ. 1743 แสดงถึงขอบเขตอาณาจักรต่าง ๆ


(พุกามอยูใ่ กล้กบ
ั เลขที่ 34 ทางขวา)
ชาวพม่าเป็ นชนเผ่าจากทางตอนเหนือทีค
่ อ่ ยๆ
อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย
กระทั่งปี พุทธศักราช 1392
จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอานาจซึ่งมีศนู ย์กลางอยูท
่ เี่ มือง "พุกาม"
(Pagan)
โดยได้เข้ามาแทนทีภ่ าวะสุญญากาศทางอานาจภายหลังจากการเสือ ่ มสลายไป
ของอาณาจักรชาวปยู
อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนัน ้ อย่างเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกั
้ มิได้เติบโตขึน
น กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620)
พระองค์จงึ สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันสาเร็จ
และเมือ
่ พระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปี พุทธศักราช 1600
อาณาจักรพุกามก็กลายเป็ นอาณาจักรทีเ่ ข้มแข็งทีส ่ ุดในดินแดนพม่า อาณาจัก
รพุกามมีความเข้มแข็งเพิม ้ ในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา (พ.ศ.
่ มากขึน
1624–1655) และพระเจ้าอลองสิธู (พ.ศ. 1655–1710)
ทาให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17
ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมเิ กือบทัง้ หมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพีย
งสองแห่ง คืออาณาจักรเขมรและอาณาจักรพุกาม
อานาจของอาณาจักรพุกามค่อย ๆ เสือ ่ มลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ
ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงาโดยของคณะสงฆ์ผม ู้ ีอานาจ
และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลทีเ่ ข้ามาทางตอนเหนือ
พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830)
ได้ทรงนาทัพสูย่ ุนนานเพือ ่ ยับยัง้ การขยายอานาจของมองโกล
แต่เมือ
่ พระองค์แพ้สงครามทีง่ าซองจาน (Ngasaunggyan) ในปี พุทธศักราช
1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่าระสายเกือบทัง้ หมด
พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปี พุทธศักราช 1830
กลายเป็ นตัวเร่งทีท
่ าให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปี
เดียวกันนัน
้ ภายหลังสงครามครัง้ นี้
อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทง้ ั
หมด
ราชวงศ์พุกามสิน ้ สุดลงเมือ่ มองโกลได้แต่งตัง้ รัฐบาลหุน ้ บริหารดินแดนพม่
่ ขึน
าในปี พุทธศักราช 1832
อังวะและหงสาวดี[แก้]
หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม
พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครัง้ ราชวงศ์องั วะซึ่งได้รบ ั อิทธิพลทางวัฒนธร
รมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึน ้ ทีเ่ มืองอังวะในปี พุทธศักราช 1907
ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้ นฟูจนยุคนี้กลายเป็ นยุคทองแห่งวรร
ณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตทีย่ ากต่อป้ องกันการรุกรานจากศัตรู
เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปี พุทธศักราช 2070
สาหรับดินแดนทางใต้
ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึน ้ ใหม่อีกครัง้ ทีห
่ งสาวดี โดยมะกะ
โทหรือพระเจ้าฟ้ ารั่ว เป็ นจุดเริม
่ ต้นยุคทองของมอญ
ซึง่ เป็ นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาด
ใหญ่ในเวลาต่อมา
ราชวงศ์ตองอู[แก้]
ดูบทความหลักที:่ ราชวงศ์ตองอู

พระเจ้าบุเรงนอง "พระมหากษัตริย์พม่าจากราชวงศ์ตองอู"
หลังจากถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจัก
รแห่งใหม่โดยมีศน ู ย์กลางทีเ่ มืองตองอูในปี พุทธศักราช 2074
ภายใต้การนาของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093)
ซึง่ สามารถรวบรวมพม่าเกือบทัง้ หมดให้เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครัง้
ในช่วงระยะเวลานี้
ได้มีการเปลีย่ นแปลงขนานใหญ่เกิดขึน ้ ในภูมภ
ิ าค ชาวไทใหญ่มีกาลังเข้มแข็งเ
ป็ นอย่างมากทางตอนเหนือ
การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่ม่น ั คง
ในขณะทีโ่ ปรตุเกสได้เริม ่ มีอทิ ธิพลในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้และสามารถเข้า
ครอบครองมะละกาได้
เกีย่ วกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็ นศูนย์กลางทางการ
ค้าทีส ่ าคัญอีกครัง้ หนึ่ง
การทีพ ่ ระเจ้าตะเบงชะเวตีไ้ ด้ตแ
ี ละย้ายเมืองหลวงจากตองอูมาอยูท่ เี่ มืองหงสาว
ดีซงึ่ เป็ นเมืองของชาวมอญ
เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทาเลทางการค้าและการกดให้ชาวมอญอยูภ ่ ายใต้อา
นาจ พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็ นพระเทวัน
(พีเ่ ขย) ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
ได้ขน ้ึ ครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ(พ.ศ.
2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112)
ราชการสงครามของพระองค์ทาให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลทีส ่ ุด
อย่างไรก็ตาม ทัง้ มณี ปุระและอยุธยา
ต่างก็สามารถประกาศตนเป็ นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน
เมือ
่ ต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึน ้ หลายแห่ง
ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจาเป็ นต้องถอ
นตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้
โดยย้ายเมืองหลวงไปอยูท ่ เี่ มืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun
) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง
สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครัง้ ในพุทธศักราช
2156
พระองค์ตดั สินใจทีจ่ ะใช้กาลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าทาลุ
น (Thalun) ผูส ้ ืบทอดราชบัลลังก์
ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า
แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรือ ่ งศาสนามากเกินไป
จนละเลยทีจ่ ะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายทีส ่ ุด หงสาวดี
ทีไ่ ด้รบั การสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตัง้ มั่นอยูใ่ นอินเดีย
ก็ได้ทาการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนัน ้ อาณาจักรของชาวพม่าก็คอ่ ยๆ
อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปี พุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
ราชวงศ์คองบอง[แก้]
ดูบทความหลักที:่ ราชวงศ์คองบอง
ราชวงศ์คองบอง หรือ ราชวงศ์อลองพญา
ได้รบ ั การสถาปนาขึน ้ และสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรว
ดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึง่ เป็ นผูน้ าทีไ่ ด้รบ
ั ความนิยมจากชาวพม่า
ได้ขบั ไล่ชาวมอญทีเ่ ข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ.
2296 จากนัน ้ ก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครัง้ ในปี พ.ศ.
2302 ทัง้ ยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน
หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim)
พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา
แต่ตอ ้ งประสบความล้มเหลวเมือ ่ พระองค์สวรรคตระหว่างการสูร้ บ พระเจ้าเซง
พะยูเชง (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส
ได้โปรดให้สง่ ทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครัง้ ในปี พ.ศ. 2309
ซึง่ ประสบความสาเร็จในปี ถัดมา ในรัชสมัยนี้
แม้จีนจะพยายามขยายอานาจเข้าสูด ่ น
ิ แดนพม่า
แต่พระองค์ก็สามารถยับยัง้ การรุกรานของจีนได้ทง้ ั สีค ่ รัง้ (ในช่วงปี พ.ศ.
2309–2312)
ทาให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ตอ ้ งยุตลิ ง
ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา(Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–
2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา
พม่าต้องสูญเสียอานาจทีม ่ ีเหนืออยุธยาไป
แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim)
เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลาดับ
ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366
ซึง่ อยูใ่ นรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ. 2362–
2383) ขุนนางชือ ่ มหาพันธุละ (Maha Bandula)
นาทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สาเร็จ
ทาให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษทีค ่ รอบครองอินเดียอยูใ่ นขณะนัน

สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักร[แก้]
่ นึ่ง, สงครามพม่า-
ดูบทความหลักที:่ สงครามพม่า-อังกฤษครัง้ ทีห
อังกฤษครัง้ ทีส่ อง, สงครามพม่า-
อังกฤษครัง้ ทีส่ าม และ พม่าภายใต้การปกครองของอังกฤษ

พระเจ้าธีบอ และพระนางศุภยาลัต
ภาพเจดีย์ชเวดากอง วาดโดยศิลปิ นชาวอังกฤษ เมือ
่ ปี พ.ศ. 2368
สืบเนื่องจากการพยายามขยายอานาจของอังกฤษ
กองทัพอังกฤษได้เข้าทาสงครามกับพม่าในปี พ.ศ.
2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครัง้ ทีห ่ นึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369)
ยุตลิ งโดยอังกฤษเป็ นฝ่ ายได้รบ ั ชัยชนะ
ฝ่ ายพม่าจาต้องทาสนธิสญ ั ญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ
ทาให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณี ปุระ ยะไข่ และตะนาวศรีไป
ซึง่ อังกฤษก็เริม ่ ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นน ้ั
เพือ ่ เป็ นหลักประกันสาหรับวัตถุดบ ิ ทีจ่ ะป้ อนสูส
่ งิ คโปร์สร้างความแค้นเคืองให้
กับทางพม่าเป็ นอย่างมาก กษัตริย์องค์ตอ ่ มาจึงทรงยกเลิกสนธิสญ ั ญายันดาโบ
และทาการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ ายอังกฤษ ทัง้ ต่อบุคคลและเรือ
เป็ นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครัง้ ทีส ่ อง
ซึง่ ก็จบลงโดยชัยชนะเป็ นของอังกฤษอีกครัง้ หลังสิน ้ สุดสงครามครัง้ นี้
อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นทีใ่ กล้เคียงเข้าไว้กบ ั ตน
โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่วา่ พม่าตอนใต้ สงครามครัง้ นี้กอ ่ ให้เกิดกา
รปฏิวตั ค ิ รัง้ ใหญ่ในพม่า เริม
่ ต้นด้วยการเข้ายึดอานาจโดยพระเจ้ามินดง
(Mindon Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin
Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึง่ เป็ นพระเชษฐาต่างพระชนนี
พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพือ ่ ต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ
พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึง่ ยากต่อการรุกรานจากภายนอก
ขึน้ เป็ นเมืองหลวงแห่งใหม่
แต่ก็ยงั ไม่เพียงพอทีจ่ ะหยุดยัง้ การรุกรานจากอังกฤษได้
รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428)
ซึง่ เป็ นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอทีจ่ ะควบคุมพระราชอา
ณาจักรได้ จึงทาให้เกิดความวุน ้ ไปทั่วในบริเวณชายแดน
่ วายขึน
ในทีส ่ ุดพระองค์ได้ตดั สินพระทัยยกเลิกสนธิสญ ั ญากับอังกฤษทีพ
่ ระเจ้ามินดงไ
ด้ทรงกระทาไว้
และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็ นครัง้ ทีส ่ ามในปี พุทธศักราช 2428
ผลของสงครามครัง้ นี้ทาให้องั กฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่
าส่วนทีเ่ หลือเอาไว้ได้
เอกราช[แก้]
ดูบทความหลักที:่ การยึดครองพม่าของญีป
่ ุ่ น
พม่าตกเป็ นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ.
2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครัง้ ที่
2 เล็กน้อย ญีป
่ ุ่ นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ โดยได้ตด ิ ต่อกั
บพวกตะขิน ่ ซึ่งเป็ นกลุม่ นักศึกษาหนุ่มทีม
่ ีหวั รุนแรง มีออง ซาน นักชาตินิยม
และเป็ นผูน
้ าของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุง้ เป็ นหัวหน้า
พวกตะขิน ้ เข้าใจว่าญีป ่ ุ่ นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤ
ษ แต่เมือ
่ ญีป่ ุ่ นยึดครองพม่าได้แล้ว
กลับพยายามหน่ วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช
และได้สง่ อองซานและพวกตะขิน ่ ประมาณ 30 คน
เดินทางไปญีป ่ ุ่ นเพือ
่ รับคาแนะนาในการดาเนินการเพือ ่ เรียกร้องอิสรภาพจาก
อังกฤษ
เมือ
่ คณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485
อองซานได้กอ ่ ตัง้ องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (A
nti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL)
เพือ่ ต่อต้านญีป ่ ุ่ นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็ นพรรคการเมือง ชือ ่
พรรค AFPFL เมือ ่ ญีป
่ ุ่ นแพ้สงครามโลกครัง้ ที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค
AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ
โดยอังกฤษยืนยันทีจ่ ะให้พม่ามีอส ิ รภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ
และมีขา้ หลวงใหญ่องั กฤษประจาพม่าช่วยให้คาปรึกษา
แต่อองซานมีอุดมการณ์ ทต ี่ อ้ งการเอกราชอย่างสมบูรณ์
อังกฤษได้พยายามสนันสนุ นพรรคการเมืองอืน ้ แข่งอานาจกับพรรค
่ ๆ ขึน
AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็ นผลสาเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL
้ บริหารประเทศโดยมีอองซานเป็ นหัวหน้า
ขึน
อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวธิ ี
จึงทาให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL
อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมือ ่ วันที่ 19
กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะทีเ่ ดินออกจากทีป ่ ระชุมสภา
ต่อมาตะขิน ้ นุหรืออูนุได้ขน ึ้ เป็ นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รฐั ธร
รมนูญเมือ ่ วันที่ 17 ตุลาคม 2490
โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยงั รักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4
มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์
การปกครองโดยทหาร[แก้]
ดูบทความหลักที:่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (พ.ศ. 2491–
2505), การก่อการกาเริบ 8888 และ การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า
พ.ศ. 2550
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลในพม่า พ.ศ. 2550
ใน พ.ศ. 2501 ประเทศพม่าประสบความล้มเหลวในการฟื้ นฟูเศรษฐกิจ
นอกจากนัน ้ สันนิบาตเสรีภาพประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ยงั แตกแยกออกเป็ น
สองส่วน กลุม่ หนึ่งนาโดยอูนุและติน
อีกกลุม
่ นาโดยบะส่วยและจอเย่ง แม้อูนุจะประสบความสาเร็จในการนาประชา
ธิปไตยเข้าสูย่ ะไข่โดยอูเซนดา แต่เกิดปัญหากับชาวปะโอ ชาวมอญ
และชาวไทใหญ่ ปัญหาเหล่านี้ทาให้รฐั สภาไม่มีเสถียรภาพ
แม้อูนุจะผ่านการลงมติไม่ไว้วางใจโดยได้รบ ั การสนับสนุนจากแนวร่วมสหชา
ติ
กองทัพได้เจรจาปัญหาเกีย่ วกับพรรคคอมมิวนิสต์พม่ากับรัฐบาลของอูนุ
ทาให้อูนุเชิญเน วิน ผูบ
้ ญ
ั ชาการทหารเข้ามาจัดตัง้ รัฐบาล
กลุม่ แนวร่วมสหชาติถูกจับกุม 400 คน และมี 153
คนถูกส่งไปยังหมูเ่ กาะโกโกในทะเลอันดามัน ในกลุม ่ ทีถ
่ ูกจับกุมมีอองทาน
พีช
่ ายของอองซานด้วย หนังสือพิมพ์ Botahtaung Kyemon Rangoon
Daily ถูกสั่งปิ ด
รัฐบาลของเน วินประสบความสาเร็จในการทาให้สถานการณ์ ม่น ั คง
และเกิดการเลือกตัง้ ใน พ.ศ. 2503 ซึง่ พรรคสหภาพของอูนุได้เสียงข้างมาก
แต่เสถียรภาพไม่ได้เกิดขึน ้ นาน
เมือ ่ ขบวนการสหพันธ์ฉานนาโดยเจ้าส่วยใต้ เจ้าฟ้ าเมืองยองห้วยทีเ่ ป็ นประธา
นาธิบดีคนแรกของพม่า ต้องการสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490
ทีข ่ อแยกตัวออกไปได้เมือ ่ รวมตัวเป็ นสหภาพครบสิบปี เน
วินพยายามลดตาแหน่ งเจ้าฟ้ าของไทใหญ่โดยแลกกับสิทธิประโยชน์ตา่ งๆใน
พ.ศ. 2502 ในทีส ่ ุด เน วินได้กอ่ รัฐประหารในวัที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2505 อูนุ
เจ้าส่วยใต้ และอีกหลายคน ถูกจับกุม
เจ้าส่วยใต้ถูกยิงเสียชีวติ เจ้าจาแสง เจ้าฟ้ าเมืองสีป้อหายตัวไปอย่างไร้รอ
่ งรอย
ทีจ่ ุดตรวจใกล้ตองจี
การปฏิวตั ริ ะดับชาติเพือ ่ เรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศพม่า เมือ ่
ค.ศ. 1988 การก่อการปฏิวตั น ิ ี้เริม
่ ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.
1988 และจากวันทีน ่ ี้ (8-8-88) ทาให้เหตุการณ์ นี้มกั เป็ นทีร่ จู ้ กั ในชือ

"การก่อการปฏิวตั ิ 8888"
ประเทศพม่าปกครองด้วยพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าในฐานะรัฐทีม ่ ีพรรคก
ารเมืองเดียวมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2505
การปกครองเน้นชาตินิยมและรัฐเข้าควบคุมการวางแผนทุกประการ
การลุกฮือครัง้ นี้เริม่ จากนักศึกษาในย่างกุง้ เมือ
่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531
การประท้วงของนักศึกษาได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศ[18] ต่อมามีคนเรือนแ
สนทีเ่ ป็ นพระภิกษุ เยาวชน นักศึกษา แม่บา้ นและหมอ
ออกมาประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง[19] การประท้วงสิน ้ สุดลงในวันที่
18 กันยายน
หลังจากเกิดรัฐประหารทีน ่ องเลือดของสภาฟื้ นฟูกฎหมายและกฎระเบียบแห่งรั
ฐซึง่ เป็ นองค์กรทีเ่ ปลีย่ นรูปมาจากพรรคโครงการสังคมนิยมพม่า
มีผเู้ สียชีวต
ิ นับพันคนจากปฏิบตั ก ิ ารทางทหารระหว่างการก่อการปฏิวตั [18][20][

21] ในขณะทีใ ิ 350 คน[22][23]
่ นพม่ารายงานว่ามีผเู้ สียชีวต
การประท้วงเพือ่ ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าทีน
่ าโดยคณะพระภิกษุ สงฆ์ แม่
ชี นักศึกษาและประชาชน ซึง่ เริม ่ ต้นตัง้ แต่วน
ั ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.
2550 จากการไม่พอใจของประชาชนต่อการประกาศขึน ้ ราคาน้ามันเชื้อเพลิงเ
กือบเท่าตัว และขึน ้ ราคาก๊าซหุงต้มถึง 5
เท่าอย่างฉับพลันโดยมิได้ประกาศแจ้งบอกของรัฐบาลทหารพม่า[24] การประท้
วงเริม
่ รุนแรงขึน ้ เรือ
่ ยมา จนถึงวันที่ 5
กันยายน มีการชุมนุ มประท้วงทีว่ ดั แห่งหนึ่งในเมืองพะโคกกุ ทางตอนกลางขอ
งประเทศ เจ้าหน้าทีเ่ ข้าสลายการชุมนุม และมีผบ ู้ าดเจ็บจานวนมาก
รวมทัง้ พระสงฆ์จานวน 3 รูป
สือ
่ มวลชนบางแห่งเรียกเหตุการณ์ ครัง้ นี้วา่ Saffron Revolution หรือ
การปฏิวตั ผิ า้ กาสาวพัสตร์[25][26]
คณะพระภิกษุ
ซึง่ เป็ นสถาบันทีไ่ ด้รบ ั ความเคารพอย่างสูงจากชาวพม่า ประกาศ "ปฐม
นิคหกรรม" ไม่รบ ั บิณฑบาตจากผูท ้ เี่ กีย่ วข้องกับรัฐบาลทหารพม่า ทหาร
และครอบครัว และเรียกร้องให้ทางการพม่า
ขอโทษองค์กรสงฆ์อย่างเป็ นทางการภายในวันที่ 17
กันยายน แต่ไม่ได้รบ ั การตอบสนอง ภิกษุ สงฆ์จงึ เริม ่ เข้าร่วมการประท้วงด้วย
ตัง้ แต่วน ั ที่ 18 กันยายน เมือ ่ รวมผูป ้ ระท้วงแล้วมากกว่า 1 แสนคน
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเผด็จการครัง้ นี้จงึ นับว่าเป็ นการประท้วงต่อต้านครัง้
ใหญ่ทส ี่ ุดตัง้ แต่การประท้วงเมือ ่ ปี พ.ศ. 2531 ซึง่ มีผเู้ สียชีวต ิ กว่า 3,000 คน
ในการใช้กาลังทหารเข้าสลายการประท้วง [27]
ภูมศ
ิ าสตร์[แก้]
ประเทศพม่า ซึง่ มีพื้นทีท
่ ง้ ั หมด 676,578 ตารางกิโลเมตร
เป็ นประเทศใหญ่ทสี่ ุดในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้แผ่นดินใหญ่
(หรือคาบสมุทรอินโดจีน) และใหญ่เป็ นอันดับที่ 40 ของโลก
ตัง้ อยูร่ ะหว่างละติจูด 9° และ 29° เหนือ และลองติจูด 92° และ 102°
ตะวันออก
ประเทศพม่ามีพรมแดนติดต่อกับบังกลาเทศยาว 271 กิโลเมตร (168
ไมล์) ติดกับอินเดียทางตะวันตกเฉี ยงเหนือยาว 1,468 กิโลเมตร (912 ไมล์)
พรมแดนทางเหนือและตะวันออกเฉี ยงเหนือติดต่อกับทิเบตและมณฑลยูนนาน
ของจีนยาว 2,129 กิโลเมตร (1,323 ไมล์) ติดกับลาวยาว 238 กิโลเมตร
(148 ไมล์) และติดกับไทยยาว 2,416 กิโลเมตร (1,501 ไมล์)
พม่ามีแนวชายฝั่งต่อเนื่องตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทางตะวันตกเฉี ย
งใต้และใต้ ซึ่งเป็ นหนึ่งในสีข
่ องพรมแดนทัง้ หมด[28]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศพม่าแบ่งเขตการปกครองในระดับภูมภ ิ าคออกเป็ น 7 เขต
(region) สาหรับพื้นทีซ่ งึ่ ประชากรส่วนใหญ่เป็ นกลุม
่ ชาติพนั ธุ์พม่า และ 7 รัฐ
่ ง่ึ ประชากรส่วนใหญ่เป็ นชนกลุม
(states) สาหรับพื้นทีซ ่ น้อย และ 1
ดินแดนสหภาพ ได้แก่
เขตการปกครองของประเทศพม่า

เขต

พื้นที่ ประชากร
เมืองหล
ชือ
่ (ตารางกิโลเม (พ.ศ.
วง
ตร) 2557)

1,408,401
1. เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) ทวาย 44,344.9 [29]
4,867,373
2. เขตพะโค (Bago) พะโค 39,402.3 [29]

มัณฑะเ 6,165,723
3. เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) 37,945.6 [29]
ลย์

3,917,055
4. เขตมาเกว (Magway) มาเกว 44,820.6 [29]

7,360,703
5. เขตย่างกุง้ (Yangon) ย่างกุง้ 10,276.7 [29]

5,325,347
6. เขตสะกาย (Sagaing) สะกาย 93,704.8 [29]

6,184,829
7. เขตอิรวดี (Ayeyarwady) พะสิม 35,031.8 [29]

รัฐ

พื้นที่ ประชากร
เมืองหล
ชือ
่ (ตารางกิโลเม (พ.ศ.
วง
ตร) 2557)

1,689,441
1. รัฐกะฉิ่ น (Kachin) มิตจีนา 89,041.8 [29]

หลอยก่ 286,627[29
2. รัฐกะยา (Kayah) 11,731.5 ]

1,574,079
3. รัฐกะเหรีย่ ง (Kayin) พะอาน 30,383 [29]

5,824,432
4. รัฐชาน (Shan) ตองยี 155,801.3 [29]

478,801[29
5. รัฐชิน (Chin) ฮาคา 36,018.8 ]

เมาะลาเ 2,054,393
6. รัฐมอญ (Mon) 12,296.6 [29]
ลิง

3,188,807
7. รัฐยะไข่ (Rakhine) ซิตตเว 36,778.0 [29]

ดินแดนสหภาพ

พื้นที่ ประชากร
เมืองหล
ชือ
่ (ตารางกิโลเม (พ.ศ.
วง
ตร) 2557)

1. ดินแดนสหภาพเนปยีดอ (Nay 1,160,242


เนปยีดอ 7,054 [29]
pyidaw Union Territory)

เมืองใหญ่สุด 10 อันดับแรก[แก้]

ด•พ•ก

เมืองใหญ่ทส
ี่ ุดในพม่า
http://www.geohive.com/cntry/myanm
ที่ เมือง เขตการปกครอง
1 ย่างกุง้ เขตย่างกุง้
2 มัณฑะเลย์ เขตมัณฑะเลย์
3 เนปยีดอ ดินแดนสหภาพเนปยีดอ
4 พะโค เขตพะโค
ย่างกุง้ 5 พะอาน รัฐกะเหรีย่ ง
6 ตองยี รัฐฉาน
7 โมนยวา เขตสะกาย
8 มิตจีนา รัฐกะฉิ่ น
มัณฑะเลย์ 9 เมาะลาเลิง รัฐมอญ
10 มาเกว เขตมาเกว

การเมืองการปกครอง[แก้]
ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองทีย่ ืดเยื้อทีส ่ ุดท่ามกลางกลุ่
มชาติพน ั ธุ์ทม
ี่ ีอยูม่ ากมายซึง่ ยังแก้ไม่ตก ตัง้ แต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554
ประเทศพม่าอยูภ ่ ายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผูย้ ด ึ อานาจการปกครองถูก
ยุบอย่างเป็ นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตัง้ ทั่วไปใน พ.ศ.
2553 และมีการตัง้ รัฐบาลพลเรือนในนามแทน
แต่ทหารยังมีอท ิ ธิพลอยูม ่ าก สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานกา
รละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็ นระบบในพม่า
รวมทัง้ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การข่มขืน แรงงานเด็ก ทาส การค้ามนุษย์ และการ
ขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปี หลัง
พม่าและผูน ้ าทหารได้ผอ ่ นปรนต่อนักเคลือ ่ นไหวประชาธิปไตยและกาลังพัฒน
าความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอานาจและสหประชาชาติ
เศรษฐกิจ[แก้]

นครย่างกุง้
ประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร
แต่เศรษฐกิจพม่าเป็ นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาทีส
่ ุดในโลก
จีดพ
ี ีของพม่าอยูท
่ ี่ 42,953 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และเติบโตด้วยอัตราเฉลีย่ ร้อยละ 2.9 ต่อปี
ซึง่ เป็ นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่าสุดในอนุภูมภ ิ าคลุม
่ น้าโขง สหภาพยุโร
ป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กาหนดการลงโทษทางเศรษ
ฐกิจต่อพม่า
ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็ นหนึ่งในระบบสาธารณสุขทีเ่ ลวร้ายทีส ่ ุดในโลก อ
งค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อน ั ดับที่ 190
ซึง่ เป็ นอันดับสุดท้าย เกษตรกรรม เป็ นอาชีพหลัก
เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลีย่ มปากแม่น้าอิรวดี แม่น้าสะโตง แ
ม่น้าทวาย-มะริด ปลูกข้าวเจ้าปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอืน ่ ๆ
ส่วนเขตฉาน อยูต ่ ด
ิ แม่น้าโขงปลูกพืชผักจานวนมาก
ทาเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ามันปิ โตรเลียม ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือ
ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉี ยงใต้
ทาเหมืองดีบุกทางตอนใต้เมืองมะริดมีเพชรและหยกจานวนมาก
การทาป่ าไม้ มีการทาป่ าไม้สกั ทางภาคเหนือ
ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้าอิรวดีเข้าสูย่ า่ งกุง้ อุตสาหกรรม กาลังพัฒนา
อยูบ ่ ริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุง้ และ มะริด และทวาย
เป็ นอุตสาหกรรมต่อเรือเดินสมุทรทีใ่ หญ่ของพม่า
สกุลเงิน[แก้]
สกุลเงินของประเทศพม่า คือ จัต (Kyat) อัตราแลกเปลีย่ นประมาณ
39.73 จัตต่อ 1 บาท[30] หรือประมาณ 1358.34 จัตต่อ 1
ดอลลาร์สหรัฐ[31] (ข้อมูลเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560)
ประชากรศาสตร์[แก้]
ดูบทความหลักที:่ ประชากรศาสตร์พม่า
เชื้อชาติ[แก้]
ดูบทความหลักที:่ เชื้อชาติในประเทศพม่า
เชื้อชาติในประเทศพม่า
(ประมาณการคร่าว ๆ)
เชื้อชาติ เปอร์เซ็นต์
พม่า   68.00%
ไทใหญ่   9.00%
กะเหรีย่ ง   7.00%
ยะไข่   3.50%
จีน   2.50%
มอญ   2.00%
กะฉิ่น   1.50%
อินเดีย   1.25%
ชิน   1.00%
กะยา   0.75%
เชื้อชาติอืน
่ ๆ   4.50%
จานวนประชากรประมาณ 56,400,000 คน มีชาติพน ั ธุ์พม่า
68% ไทใหญ่ 9% กะเหรีย่ ง 7% ยะไข่ 3.50% จีน 2.50% มอญ 2% คะฉิ่
น 1.50% อินเดีย 1.25% ชิน 1% คะยา 0.75% อืน่ ๆ 4.50%
ศาสนา[แก้]
ดูบทความหลักที:่ ศาสนาในประเทศพม่า
ศาสนาในประเทศพม่า[32]

พุทธ   80%
คริสต์   7%
พื้นบ้าน   6%
อิสลาม   4%
ฮินดู   2%
อืน
่ ๆ   1%
ในปี ค.ศ. 2010[33] ประเทศพม่ามีประชากรทีน่ บ
ั ถือศาสนา
แบ่งได้ดงั นี้ ศาสนาพุทธ 80% ศาสนาคริสต์ 7%
(นิกายโปรเตสแตนต์5% นิกายโรมันคาทอลิก 2%) ศาสนาพื้นบ้านพม่า 6%
ศาสนาอิสลาม 4% ศาสนาฮินดู 2% และศาสนาอืน ่ ๆ 1%
ภาษา[แก้]
นอกจากภาษาพม่า ซึง่ เป็ นภาษาทางการแล้ว
พม่ามีภาษาหลักทีใ่ ช้งานในประเทศถึงอีก 18
ภาษา[34] โดยแบ่งตามตระกูลภาษาได้ดงั นี้

 ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ได้แก่ ภาษามอญ


ภาษาปะหล่อง ภาษาปลัง (ปะลัง) ภาษาปะรวก
(สาเนียงมาตรฐานของภาษาว้า) และภาษาว้า
 ตระกูลภาษาจีน-
ทิเบต ได้แก่ ภาษาพม่า (ภาษาทางการ) ภาษากะเ
หรีย่ ง ภาษาอารากัน (ยะไข่) ภาษาจิงผ่อ (กะฉิ่น)
และภาษาอาข่า
 ตระกูลภาษาไท-
กะได ได้แก่ ภาษาไทใหญ่ (ฉาน) ภาษาไทลื้อ ภา
ษาไทขึน ภาษาไทคาตี่ มีผพู้ ูดหนาแน่ นในรัฐฉาน
และรัฐกะฉิ่น ส่วนภาษาไทยถิน ่ ใต้ ภาษาไทยกลา
ง และภาษาไทยถิน ่ อีสาน มีผพ
ู้ ูดในเขตตะนาวศรี
 ตระกูลภาษาม้ง-
เมีย่ น ได้แก่ ภาษาม้งและภาษาเย้า (เมีย่ น)
 ตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ได้แก่ ภาษามอเกน
และภาษามลายู ในเขตตะนาวศรี
วัฒนธรรม[แก้]
วัฒนธรรมของพม่าได้รบ ั อิทธิพลทัง้ จากมอญ จีน อินเดีย มาช้านาน
ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สาหรับศิลปะของพม่านัน ้ ได้
รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตัง้ แต่ครัง้ โบราณ
ในปัจจุบน ั นี้วฒั นธรรมพม่ายังได้รบั อิทธิพลจากตะวันตกมากขึน ้
ซึง่ เห็นได้ชดั จากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย
ชาวพม่าทัง้ หญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า โลนจี (longyi)
ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลูนตะยาอะเชะ (lun taya acheik)
การคมนาคม[แก้]

สถานีรถไฟย่างกุง้
การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ
ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้า ทอดไปตามความ
ยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ทีส ่ าคัญมีดงั นี้
ถนนสายพม่า เป็ นถนนสายสาคัญทีเ่ ชือ่ มต่อระหว่างย่างกุง้ กับเมืองคุนหมิง
ซึง่ อยูท
่ างตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองหมูแจ้ ประมาณ
1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากหมูแจ้ถงึ คุนหมิง ประมาณ 90
กิโลเมตร ถนนสายนี้ผา่ นเมืองต่าง ๆ คือ หงสาวดี-ตองอู-ปยินมะนา-เมะทีลา-
มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ล่าเสี้ยว-แสนหวี-
หมูแจ้ รวมความยาวทัง้ สิน้ ประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล
ทางรถไฟ ทางรถไฟของพม่าได้เปิ ดดาเนินการตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2481
การขนส่งทางน้า การคมนาคมขนส่งทางน้าภายในประเทศ
นับว่ามีความสาคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็ นอย่างมาก
และยังเป็ นเส้นทางคมนาคมหลักมาตัง้ แต่อดีต
เนื่องจากพื้นทีบ
่ ริเวณปากแม่น้าอิรวดีมีทางน้าอยูม
่ ากมาย
และเป็ นเขตทีม
่ ีประชาชนพลเมืองอาศัยอยูห
่ นาแน่ นทีส
่ ุด
ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจากัด
อ้างอิง[แก้]

1. ↑ กระโดดขึน้ ไป:1.0 1.1 "The World Factbook –


Burma". cia.gov. สืบค้นเมือ ่ 4 May 2016.
2. กระโดดขึน ้ ↑ The 2014 Myanmar
Population and Housing Census
Highlights of the Main Results Census
Report Volume 2 – A. Department of
Population Ministry of Immigration and
Population. 2015.
3. กระโดดขึน ้ ↑ "คนสวีเดน หรือ
คนสวีดชิ ". สานักราชบัณฑิตสภา. แสงจันทร์
แสนสุภา. สืบค้นเมือ ่ 28 มีนาคม 2559.
4. กระโดดขึน ้ ↑ "ราชบัณฑิตฯ-กอ.รมน.ให้ใช้
“โรฮีนจา” แทน “โรฮิงญา”". สปริงนิวส์. 8
พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมือ ่ 8 พฤษภาคม
2558.
5. กระโดดขึน ้ ↑ Lieberman, p. 152
6. กระโดดขึน ้ ↑ "Burma". Human Rights
Watch. สืบค้นเมือ ่ 6 July 2013.
7. กระโดดขึน ้ ↑ "Myanmar Human Rights".
Amnesty International USA. สืบค้นเมือ ่ 6
July 2013.
8. กระโดดขึน ้ ↑ "World Report 2012: Burma".
Human Rights Watch. Archived from the
original on 30 June 2013. สืบค้นเมือ ่ 6 July
2013.
9. กระโดดขึน ้ ↑ Madhani, Aamer (16
November 2012). "Obama
administration eases Burma sanctions
before visit". USA Today.
10. กระโดดขึน ้ ↑ Fuller, Thomas; Geitner,
Paul (23 April 2012). "European Union
Suspends Most Myanmar
Sanctions". The New York Times.
11. กระโดดขึน ้ ↑ Greenwood, Faine (27
May 2013). "The 8 Stages of Genocide
Against Burma's Rohingya | UN
DispatchUN Dispatch". Undispatch.com.
สืบค้นเมือ
่ 13 April 2014.
12. กระโดดขึน ้ ↑ "EU welcomes "measured"
Myanmar response to rioting". Retuer.
11 June 2012.
13. กระโดดขึน ้ ↑ "Q&A: Communal violence
in Burma". BBC. สืบค้นเมือ ่ 14 October
2013.
14. กระโดดขึน ้ ↑ อ้างอิงผิดพลาด:
ป้ ายระบุ <ref> ไม่ถก ู ต้อง
ไม่มีการกาหนดข้อความสาหรับอ้างอิงชือ ่ imf2
15. กระโดดขึน ้ ↑ Eleven Media (4
September 2013). "Income Gap 'world's
widest'". The Nation. สืบค้นเมือ ่ 15
September 2014.
16. กระโดดขึน ้ ↑ McCornac, Dennis (22
October 2013). "Income inequality in
Burma". Democratic Voice of Burma.
สืบค้นเมือ่ 15 September 2014.
17. กระโดดขึน ้ ↑ "2015 Human
Development Report Summary". United
Nations Development Programme.
2015. p. 210. สืบค้นเมือ ่ 9 November
2016.
18. ↑ กระโดดขึน้ ไป:18.0 18.1 Ferrara (2003), pp.
313
19. กระโดดขึน ้ ↑ Aung-Thwin, Maureen.
(1989). Burmese Days. Foreign Affairs.
20. กระโดดขึน ้ ↑ Fogarty, Phillipa (7 August
2008). Was Burma's 1988 uprising worth
it?. BBC News.
21. กระโดดขึน ้ ↑ Wintle (2007)
22. กระโดดขึน ้ ↑ Ottawa Citizen. 24
September 1988. pg. A.16
23. กระโดดขึน ้ ↑ Associated Press. Chicago
Tribune. 26 September 1988.
24. กระโดดขึน ้ ↑ http://www.manager.co.th/I
ndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=950
0000100787 พม่าอ้างขึน ้ ราคาน้ามันเพือ่ แบ่งเบ
าภาระประเทศ
25. กระโดดขึน ้ ↑ "Military junta threatens
monks in Burma".
26. กระโดดขึน ้ ↑ "100,000 Protestors Flood
Streets of Rangoon in "Saffron
Revolution"".
27. กระโดดขึน ้ ↑ http://www.voanews.com/t
hai/2007-09-20-
voa2.cfm พระสงฆ์หลายร้อยรูปในพม่า
เดินขบวนประท้วงรัฐบาลทหารเป็ นครัง้ ที่ 2
28. กระโดดขึน ้ ↑ [1], Geography of
Myanmar.
29. ↑ กระโดดขึน้ ไป:29.00 29.01 29.02 29.03 29.04 29.05 29.
The
06 29.07 29.08 29.09 29.10 29.11 29.12 29.13 29.14

Union Report: Census Report Volume 2.


The 2014 Myanmar Population and
Housing Census. Nay Pyi Taw: Ministry
of Immigration and Population. 2015.
p. 12.
30. กระโดดขึน้ ↑ http://th.coinmill.com/MMK
_THB.html#THB=1
31. กระโดดขึน ้ ↑ http://th.coinmill.com/MMK
_USD.html#USD=1
32. กระโดดขึน ้ ↑ Pew Research Center's
Religion & Public Life Project: Burma.
Pew Research Center. 2010.
33. กระโดดขึน ้ ↑ [2] Religion in Myanmar
34. กระโดดขึน ้ ↑ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรน
ิ ธร
(องค์กรมหาชน). นิทรรศการถาวร กลุม ่ ชาติพน
ั ธุ์
และโบราณคดี (ชัน ้ 5)
บรรณานุกรม[แก้]
 Lieberman, Victor B. (2003). Strange
Parallels: Southeast Asia in Global
Context, c. 800–1830, volume 1,
Integration on the Mainland. Cambridge
University Press. ISBN 978-0-521-
80496-7.
 Myint-U, Thant (2006). The River of Lost
Footsteps—Histories of Burma. Farrar,
Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-
16342-6.

You might also like