You are on page 1of 218

ศิลปะไม่ใช่ความบังเอิญ

Art is not coincidental.

ประพัทธ จิวะรังสรรค
คํานํา

“ศิลปะไมใชความบังเอิญ” เปนวลีของศิลปนเยอรมัน เกอรฮารด ริชเตอร (Gerhard Richter) ซึ่งมีผลงานมีชื่อเสียง


เปนที่รูจักไปทั่วโลก มาจากประโยคเต็มที่วา “ศิลปะไมใชผลิตผลที่เกิดจากความบังเอิญ และความบังเอิญในตัวมันเองไม
สามารถที่จะเปนงานศิลปะได” หากจะลองใชแคความรูสึกตีความประโยคขางตน โดยที่ยังไมตองอธิบายความหมายอยาง
จริงจัง อาจจะรูสึกไดหลายทาง เชน ศิลปะเปนเรื่องยากที่จะเขาใจ แถมยังบังเอิญเขาใจและยังรูจักไมไดอีก อีกทางหนึ่งก็คือ
ทําไมศิลปะถึงยุงยาก จะทําอะไรใหสบายใจ เพลิดเพลินอารมณไมไดหรืออยางไร อาจจะมีอีกหลายคําถามในความคิด
ความรูสึกกับงานศิลปะวาเปนเรื่องไกลตัว ไกลชีวิตสําหรับคนที่ไมคุนเคยหรือไมคอยไดประสบในชีวิตประจําวันเทาไหรนัก ซึ่ง
การตั้งคําถามก็อาจจะเปนงานศิลปะไดอีกเชนกัน

ทีนี้ เรามาลงรายละเอียดถึงเรื่องที่วา เหตุใดความบังเอิญจึงไมสามารถกอเกิดซึ่งงานศิลปะขึ้นมาได จากบทความใน


หนังสือเลมนี้จะทําใหผูอานเขาใจวา ศิลปะนั้น กวาที่จะผานกระบวนการตางๆออกมาเปนงานสักชิ้นหนึ่ง หลายชิ้น หรือไมเปน
ชิ้นเปนอัน ยอมจะเกิดจากกระบวนการคิด วิจัย วิเคราะห หาขอมูลผสมไปกับความรูสึกนึกคิดและการตีความ ตลอดจน
พัฒนาความคิดนั้นออกมาเปนผลงานได ไมตางอะไรกับงานทางวิชาการในศาสตรอื่นๆ เชนกัน ลองลบความคิดเรื่อง “จิต
วิญญาณ ตัวตนขางใน” อะไรเทือกนี้ที่เรามักจะไดยินจากศิลปนไทยสวนหนึ่ง ที่มักใชบริภาษคนอื่นวาไมมีวันเขาใจในเรื่องพวก
นี้ ซึ่งอาจเพราะศิลปนนั้นคิดไปเอง หรือพยายามทําสิ่งที่บังเอิญใหออกมาเปนงาน เลยตองกลบความบังเอิญนี้ดวยถอยแถลงที่
ไมมีใครสามารถรับรูได มาลองอานความคิดของศิลปน เนื้อหาศิลปะในหนังสือเลมนี้ ที่คุณจะเขาใจวาการทําศิลปะนั้นยอม
ไมใชเรื่องบังเอิญอยางแนนอน

จากบทความที่เขียนขึ้นชวงที่ผูเขียนเปนนักศึกษาปริญญาโทดานวิจิตรศิลป (Fine Arts) ที่สถาบันรอยัล อคาเดมี


ออฟ อารท (Royal College of Art) ในลอนดอน ชวงป 2010 – 2011 และเขียนเพิ่มหลังจากกลับมาปฏิบัติงานเปนอาจารย
สาขาสหศาสตรศิลป คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม ในชวงป 2012 บทความเหลานี้รวบรวมขอมูลจากการศึกษา
คนควาทั้งในมหาวิทยาลัยและการไปดูงานในพิพิธภัณฑศิลปะ แกลลอรี สถานที่แสดงงานศิลปะตางๆทั้งในลอนดอนและ
ประเทศอื่นๆ เขียนอธิบายความคิด เนื้อหาของงานศิลปะ จากการทํางานของศิลปนใหออกมาเปนเนื้อหาที่อานงาย โดยไม
จําเปนตองมีพื้นฐานศิลปะมากอน เปนบทความกึ่งวิชาการผสมไปกับบทวิจารณจากผูเขียน เพื่อใหไดเนื้อหาที่คลี่คลายใน
ระดับที่ไมเฉพาะนักศึกษาศิลปะและผูที่เกี่ยวของจะอานได หากผูอานทั่วไปก็สามารถเขาใจไดเชนกัน

ทั้งนี้ ผูเขียนเองตระหนักดีวา “ศิลปะ” จะถูกมองจากสองฝง ทั้งจากผูที่เคยสัมผัสและไมเคย หรือผูที่อยากจะรูจัก


แตไมกลา กับผูกลาที่ไมรูจัก หากบทความที่นํามานี้ จะทําใหมุมมองจากสองฝงไดเห็นคํานี้ใกลขึ้น จนเกือบจะเห็นในมุม
คลายกัน หรือมุมตางกันโดยมีพื้นฐานความคิดที่ผูเขียนสอดแทรกเขาไปในเนื้อหานั้นได ก็เทากับวาเปนการดีที่จะทําใหคนรูจัก
และเขาใจศิลปะมากขึ้นอีกทางหนึ่ง
“ศิลปะไมใชผลิตผลที่เกิดจากความบังเอิญ และความบังเอิญในตัวมันเองไมสามารถที่จะเปนงานศิลปะได”

ประพัทธ จิวะรังสรรค
กุมภาพันธ 2014
Leonews22@hotmail.com
นําคํา ‘ประพัทธ์ ’

เสียงเพลงทอดเนิบ อาบฉากแม่นํ ้ากว้ างใต้ สะพานเก่า

สัมพันธภาพก่อนโน้ นนานมา ในวงขบเคี ้ยวเม็ดทานตะวันใต้ แดดตะวันออก

แก้ วทรงกลมสีฟ้าอ่อน เนื ้อผิวบนใสเหมือนนํ ้าสะท้ อนภวังค์นาร์ ซิสซัส ในความโล่งว่างของห้ อง


แสดงสีขาว

เรี ยงจุดสีจากการคิดคํานวณของจิตรกรผู้เคยวาดภาพเสนอความจริ งได้ ราวกับภาพถ่าย

แง่มมุ งดงามเหล่านี ้ชวนพิศวง ว่า...อย่างไรเล่าที่เจ้ าของงานศิลปะเหล่านี ้ได้ บม่ เพาะ เคลือ่ น


ความคิดคํานึงของพวกเขา

อาจจะน้ อยเกินไปที่จะยืนยันนํ ้าหนักทางความคิดในงานศิลปะ จากผลงานข้ างต้ น

“ตกลงคุณอยากจะบอกอะไรเรากันแน่ ทั ้งมหภาค จุลภาค ที่มีอยูใ่ นงานของคุณ” คําถาม


ปราดเปรื่ องของผู้ฟังบรรยายของศิลปิ นในโรงละครต่างแดนต้ นปี ค.ศ. 2014 ไม่นํามาซึง่ คําตอบชัดใดจาก
ศิลปิ นเจ้ าของงานนอกจากคําอธิบายเป็ นเศษเสี ้ยวของศิลปิ นที่แทบจับความไม่ได้

“งานชิ ้นนี ้เศร้ ามาก ฉันมองแล้ วนํ ้าตาไหล” กับ

“คุณเคยสังเกตเห็นมัย้ ช้ างร้ องไห้ ตลอดเวลา”

หนึง่ ชัว่ โมงครึ่งกับถ้ อยความของศิลปิ นทําให้ บรรยากาศกลางคืนบนถนนกลางเมืองกรุ่นกลิน่

เบียนาเลเก่าแก่เหมือนอยูใ่ นภวังค์มวลมัวของความนึกคิด แม้ จะเดินผ่านความเคลือ่ นไหวของกลุม่ หนุม่


สาวคนกลางคืนกับนักท่องเที่ยวหิวเมือง ในแสงสีและตึกอร่าม เหล่านี ้กลับไม่ซมึ สูร่ ้ ูสกึ นึกคิดไปได้ ก็ใน
สมองอิ่มเอิบอะไรไม่ร้ ู เพราะอย่างนี ้กระมังทางออกของศิลปิ นกลุม่ หนึง่ จึงคือวลี..จากจิตวิญญาณภายใน
ตามที่ประพัทธ์ กล่าวไว้ ในคํานํา

“นานเท่าไหร่กว่าที่นํ ้าตาจะริ น - ไหล” เป็ นอีกการคิดคํานวณหนึง่ ในคําเล่าถึงวันวัยเด็กของศิลปิ น


ไม่ตา่ งจากรํ าพึงในประโยคของนักเขียนหญิง
“ดาวตกวาดผ่านฟ้า เหมือนกับนํ ้าตาไหลผ่านแก้ ม”

ถ้ าศิลปะไม่ใช่ความบังเอิญ ความครุ่ นคิดของคนทํางานศิลปะก็เบี่ยงเหจากการคิดคํานวณของ


นักวิจยั (ตัวอย่างใกล้ ที่สดุ ในพื ้นที่มหาวิทยาลัย)

ถ้ าผู้ศกึ ษาศิลปะต้ องแจกแจงละเอียดยิบ ข้ อ 1 – 3 ถึงวัตถุประสงค์ที่คาดว่าจะได้ รับ เขา/เธอควร


เฉลียวใจที่จะเลิกทํางานศิลปะไปเลย (เสียแต่เนิ่นๆ) ในเมื่อเวลาของการกลัน่ นํ ้าตากับความควบนิ่งทาง
ความรู้สกึ ขณะถูกลงโทษหน้ าชันเรี
้ ยนของเด็กน้ อยฝั งเนียนในความทรงจําสูภ่ าพสังเกตของนัยน์ตาฉํ่านํ ้า
ของสัตว์ใหญ่สะท้ อนในกระจกเงาสลัวตรงมุมห้ องเคล้ ากลิน่ เผาไหม้ คลอเสียงดนตรี ใสนั ้นเข้ าใกล้ การ
บําบัดทางจิตให้ กบั ผู้สญ
ู เสียอวัยวะที่ความเจ็บปวดของส่วนตัดขาดยังคงอยู่

...แล้ วเราจะแน่ใจได้ อย่างไรว่าความปวดร้ าวนั ้นไม่เพียงแค่ถกู ตีความถึงการขาดหายของอวัยวะ


หนึง่ แต่ยงั หมายถึงการยํ่ายี การตกใต้ อํานาจ ความเล็กจ้ อย ความฝั งจมทางความรู้สกึ กับวัฒนธรรมสืบ
ทอดที่ไม่อาจคัดง้ างได้ งา่ ยๆโดยความลําพังตัวของปั จเจก คํา ‘ความเจ็บปวด’ เพียงพอหรื อที่จะใช้ อธิบาย
งานศิลปะในวัตถุประสงค์ที่คาดว่าจะได้ รับ ก็...ในเมื่อศิลปะไม่ใช่เรื่ องของความบังเอิญ

คํารวบ – รวมความจึงละไว้ ซงึ่ ความเข้ าใจในจุลภาคกับความซับซ้ อนซ่อนนัยในส่วนย่อย หรื อเรา


จะแค่สอื่ สารกับพอประมาณเมื่อพูดถึงงานศิลปะ ทําอย่างนันได้
้ หรื อ ก็...ในเมื่อศิลปะไม่ใช่ความบังเอิญ

...

เสียงเรี ยกผู้โดยสารของสายการบินระหว่างประเทศขึ ้นเครื่ อง เก็บกระดาษปากกาในมือ

ละจากความคลาสสิคของเสียงเพลงใต้ สะพานเก่าเหนือแม่นํ ้าในจินตนาการของศิลปิ นใน


บทความของประพัทธ์ ไปสูป่ นเสียงเคาะกระทะผัดอาหารตามสัง่ เคล้ าสะอื ้นและแผดเสียงจากละครทีวีใน
ร้ านข้ างทางแข่งกับเสียงรถวิ่งจอแจ คิดถึงผัดกระเพรา

หันหลังให้ วงเมล็ดทานตะวันในอีกบทความหนึง่ ไปสูก่ ลิน่ ส้ มตําแนมโค๊ กแซบซ่า ใต้ แดดตะวันออก


เหมือนกัน แต่ทําไมถึงต่างกันนัก? ตรงจิตวิญญาณภายในหรื อเปล่า

แล้ วภวังค์ของศิลปะที่ตกอยูก่ บั เรา กลายสูผ่ ลึก ตะกอน เป็ นเราอย่างไร ในเมื่อเราไม่ได้ หยุดอยู่ ดู
งานศิลปะ จับจิตหรื อตระหนกจริ ตเพียงหนสองหน
คนทํางานศิลปะยังคงเดินทางท่องดูงานศิลปะอยู่

บางทีเล่มหน้ าประพัทธ์ อาจบังเอิญพบความบังเอิญก็เป็ นได้

อารยา ราษฎร์ จําเริ ญสุข


สารบัญ

อนิช คาพัวร (Anish Kapoor )


อาย เหวย เหวย เมล็ดทานตะวัน (Ai Wei Wei, Sunflower seeds)
กาเบรียล ออรอสโค (Gabriel Orozco)
ศิลปะของผูไมปฏิบัติตาม (Glasnost)
รางวัล เธอรเนอร ป 2009 (Turner Prize 2009)
รางวัล เธอรเนอร ป 2010 (Turner Prize 2010)
ศิลปะหลักสูตร Andy Warhol (Pop Life: Art in a Material World)
นักทําศิลปะมืออาชีพ (The Making of Art)
ยุคของความตาง (Altermodern)
เราคือใคร (Identity 8 rooms 9 lives)
ฮีโรตนแบบ (Gay Icon)
สิ่งมีคาที่หาเจอ (Found)
นิทานออกแบบปรัมปรา (Telling Tales: Fantasy and Fear in Contemporary Design)
ศิลปะโต เมื่อฝนตก (TH.2058)
ศิลปะไมใชความบังเอิญ (Yellow and Green)
วากันดวยเรื่องของสงครามกับศิลปะ (We are the world)
ปลดผาคลุมหนา (Unveiled: New Art From the Middle East)
ปลดผาคลุมหนา: (ตอ) (Unveiled: New Art From the Middle East)
เอกลักษณคือสายน้ํา (RONI HORN AKA RONI HORN)
ศิลปะของหนังสือพิมพ (Damián Ortega: The Independent)
แดผูผูผลิตและผูบริโภค (YOU_ser: The Century of the Consumer)
ศิลปะเยอรมันหลังมานสงคราม (Extended)
ถอดรหัสดิจิตอล (Decode: Digital Design Sensations)
ยูนิลีเวอร ซีรีย (The Unilever Series)
สรางสรรคอยางยั่งยืน (Sustainable art and design)
ไดอารีของแอนน แฟรงค (Anne Frank 1929 – 1945)
ภาควิชาศตวรรษที่ 21 (Department 21)
ภาควิชาศตวรรษที่ 21(ตอ) (Department 21)
ความหวังภายใตความหวาดกลัวและความฝนอันสูงสุด
(Hope to dwell in fear and The Impossible Dream.)
Anish Kapoor
อนิช คาพัวร์
Royal Academy of Arts, London.

กว่าสามสิบปี ที่ผา่ นมา อนิช คาพัวร์ (Anish Kapoor) คือศิลปิ นต่างชาติที่ได้ รับการกล่าวถึงและ
มีอิทธิพลเป็ นที่ร้ ูจกั เป็ นอย่างมากในช่วงศตวรรษที่ 1980 มาจนถึงปั จจุบนั ในยุคที่มีศิลปิ นอังกฤษรุ่น
เดียวกับเขา ไม่วา่ จะเป็ นริ ชาร์ ด เวนต์เวิร์ท (Richard Wentworth), ริ ชาร์ ด ดีคอน (Richard Deacon),
แอนโทนี กอร์ มลีย์ (Antony Gormley) และบิลล์ วูดโรว์ (Bill Woodrow) คาพัวร์ ทํางานที่เกี่ยวข้ อง
กับรูปทรง ที่วา่ ง สี และวัสดุ ได้ อย่างลุม่ ลึก ทรงพลัง ซึง่ มันก็สง่ ผลต่องานศิลปะร่วมสมัยใน
ปั จจุบนั อีกด้ วย

ประติมากรชาวอังกฤษ เชื ้อสายอินเดียและอิรัก เกิดปี ค.ศ.1954 ที่เมืองบอมเบย์ ประเทศ


อินเดีย เขาได้ เริ่ มเรี ยนที่โรงเรี ยนดูน (Doon School) ตั ้งอยูท่ ี่เมืองเดฮราดูน (Dehradun) ใน
อินเดีย และเริ่ มย้ ายไปที่องั กฤษเมื่อปี ค.ศ. 1972 โดยเริ่ มศึกษาศิลปะแห่งแรกที่วิทยาลัยศิลปะ
ฮอร์ นซีย์ (The Hornsey College of Art) และต่อมาที่โรงเรี ยนศิลปะและการออกแบบเชลซี
(Chelsea School of Art and Design)

แรงบันดาลใจที่เป็ นพลังขับเคลือ่ นในการทํางานศิลปะของเขา มาจากเสียงสะท้ อนของ


เทพนิยายที่เมื่อตอนเขากลับไปยังอินเดีย วัสดุจากธรรมชาติ เช่น หินทราย หินอ่อน กระดานชนวน
ซึง่ เต็มไปด้ วยผงสีที่มีความสดใส สว่าง ส่งผลให้ งานมีความรู้สกึ สดชื่นและมีพลัง ในช่วงทศวรรษที่
90 เขาสนใจในเรื่ องความไร้ นํ ้าหนักของสิง่ ที่คล้ ายก้ าน ลําต้ น เช่น งานที่โด่งดังอย่าง Marsyas
(2002)[1] ซึง่ เป็ นประติมากรรมจัดวางที่เทอร์ ไบน์ฮอลล์ (Turbine Hall) ในพิพิธภัณฑ์เทต โมเดิร์น
(Tate modern) ในปี 2002

อีกทังงานของเขายั
้ งสามารถเปลีย่ นทัศนธาตุด้วยกระบวนการใช้ สที าทับเป็ นสีฟ้าที่
หมายถึงท้ องฟ้า เป็ นต้ น สีที่สง่ ผลในวัสดุที่นํามาใช้ บางครัง้ ยังมีความหมายในการเยียวยา การ
รักษา ซึง่ สามารถโฟกัสไปที่ความสมดุลและความเป็ นอยูท่ ี่สมบูรณ์ ปั จจุบนั เขายังคงทํางานใน
ลอนดอน และยังคงท่องเที่ยวในอินเดีย ซึง่ เป็ นแหล่งความรู้และแรงบันดาลใจของเขาและเป็ นจุด
เชื่อมโยงระหว่างฝั่ งตะวันออกและตะวันตก โดยมีบุคคลที่มีอิทธิพลในงานของเขาคือมันเทนยา
(Mantegna), โจเซฟ บอยส์ (Joseph Beuys), บาร์ เนตต์ นิวแมน (Barnett Newman) และ อีฟส์
ไคลน์ (Yves Klein)

นิทรรศการไม่มีชื่อของอนิช คาพัวร์ จัดขึ ้นที่รอยัล อคาเดมี ออฟอาร์ ท (Royal Academy


of Arts) ณ กรุงลอนดอน ซึง่ แค่นี ้ก็บง่ บอกถึงตัวตนและชื่อเสียงของเขาได้ เป็ นอย่างดี ช่วงก่อนที่จะ
เริ่ มงานของเขา สือ่ ทังโทรทั
้ ศน์และหนังสือพิมพ์ตา่ งประโคมข่าว อีกทั ้งมีป้ายโฆษณาที่ติดตาม
สถานที่ตา่ งๆ ทัว่ ลอนดอน นัน่ เป็ นการประกาศศักดาของศิลปิ นผู้นี ้ได้ เป็ นอย่างดี ไหนจะการต่อ
แถวซื ้อบัตรเข้ าชมงานที่เป็ นไปอย่างคึกคัก ทั ้งยังต้ องต่อแถวยาวนับชัว่ โมง ซึง่ สมกับเป็ น
นิทรรศการศิลปะที่ผ้ คู นทังหลายรวมถึ
้ งตัวของผมนั ้นตั ้งหน้ าตั ้งตารอชมกับพลังอัจฉริ ยะในงาน
ศิลปะของเขา

งานชิ ้นแรกซึง่ หลายคนคงรู้จกั หรื อเคยเห็นเป็ นอย่างดี กับงานในชุดที่ชื่อว่า Pigment


Works ซึง่ มีหลายชิ ้นงานด้ วยกัน แต่จะขอหยิบยกงานที่เป็ นที่ร้ ูจกั กันดีคือ As if to Celebrate, I
Discovered a Mountain Blooming with Red Flowers (1981) ซึง่ คาพัวร์ สร้ างขึ ้นในงาน
ประติมากรรมแห่งประเทศอังกฤษในศตวรรษที่ 20 (British Sculpture 20th century) ที่แกลเลอรี
ศิลปะไวท์ ชาเพล (Whitechapel Art Gallery) ในปี 1981–1982 ผลงานประกอบด้ วยงาน 3 ส่วน
ซึง่ มาจากองค์ประกอบทางเรขาคณิต ที่อิงมาจากยอดเขา 3 ยอดของวัดในศาสนาฮินดู หรื อ
ความหมายเปรี ยบอีกนัยคือส่วนของร่างกาย งาน 2 ชิ ้นที่มีรูปทรงคล้ ายถ้ วยสีแดง 2 ใบ เปรี ยบได้
กับกลีบของดอกไม้ หรื ออีกนัยหนึง่ คือหน้ าอกของผู้หญิง ส่วนอันเล็กสีเหลือง เปรี ยบเหมือนกับเรื อ
ที่มีความเคลือ่ นไหว ชื่อของประติมากรรมนี ้มาจากที่มา 2 ส่วน ส่วนแรก As if to celebrate..[2]
มาจากบทกลอนไฮกุที่เขาอ่านขณะนัง่ รถไฟ ส่วนที่ 2 เกี่ยวข้ องกับ เทพนิยายของฮินดู เรื่อง
เกี่ยวกับเทวีฮินดูที่เกิดมาจากภูเขาที่ร้อนเหมือนไฟ งานของเขามีการอิงถึงนัยยะของการมีอยูใ่ น
รูปทรงของธรรมชาติ ที่มีความเกี่ยวข้ องกันของทีว่ า่ ง รูปทรง และความสัมพันธ์ ซึง่ กันและกัน

Yellow (1999) คืองานที่เป็ นฉากหลังของงานชิ ้นแรกที่กล่าวมา งานนี ้คาพัวร์ ใช้ สเี พื่อให้
สือ่ ความหมายถึงความเพ้ อฝั นในขนาดที่ใหญ่มากเหมือนเป็ นภูมิสถาปั ตยกรรมที่ลอ่ งลอย
ท่ามกลางวิญญาณและพื ้นผิว ตลอดจนมันยังแสดงถึงความคงอยูข่ องมนุษย์ อีกทั ้งหลักเหตุผล
ของความขัดแย้ งระหว่างการนูนเข้ าและเว้ าออกที่ขดั แย้ งกันอย่างรุนแรง นักปรัชญาในยุคศตวรรษ
ที่ 18 ได้ ค้นพบว่า เรามักจะยําเกรงหรื อเกรงกลัวต่อสภาวะการเผชิญหน้ ากับปรากฏการณ์
ธรรมชาติและขนาด เฉกเช่นเดียวกับภูเขาหรื อธารนํ ้าแข็ง ดังเช่นงานชิ ้นนี ้ ที่คาพัวร์ เปรี ยบเหมือน
การจุ่มตัวเองลงไปในท้ องทุง่ กว้ างของสี ใช้ ประสบการณ์กบั ความรู้สกึ นั ้นเพื่อให้ เกิดความเคารพ
ต่องานศิลปะเช่นเดียวกับความรู้สกึ ถึงการเคารพธรรมชาติ

งานที่ได้ รับความสนใจจากผู้ชมมากที่สดุ เห็นจะเป็ นงานชิ ้นที่ชื่อว่า Shooting into the


Corner (2008-09) งานชิ ้นนี ้จัดแสดงครัง้ แรกเมื่อต้ นปี ที่ผา่ นมาในกรุงเวียนนา เมืองที่ซิกมุนด์
ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึง่ เป็ นนักจิตวิทยาชื่อดังเคยอาศัย การใช้ หลักจิตวิทยาหลายครัง้ เฝ้า
วิเคราะห์ถึงจิตของมนุษย์ จวบจนมาถึงปื นใหญ่ที่เตรี ยมจะยิงขี ้ผึ ้งสีแดงออกมาทุกๆ 20 นาที ใน
ห้ องเวสตัน (Weston Room) ด้ วยนํ ้าหนักของก้ อนสีแต่ละก้ อนกว่า 20 ปอนด์ ด้ วยความเร็ ว 50
ไมล์ตอ่ ชัว่ โมง จะถูกยิงลงบนกําแพงเบื ้องหน้ าอย่างซํ ้าแล้ วซํ ้าเล่าจนกว่าจะจบนิทรรศการ ซึง่ การ
ทําอย่างนันต้
้ องใช้ ขี ้ผึ ้งถึง 30 ตัน เขาได้ เปรี ยบเทียบว่า งานนี ้เป็ นเหมือนกล่องใส่แหวนของเจ้ าสาว
ในพิธีกรรมการสมรส ซึง่ เป็ นสัญลักษณ์อะไรบางอย่างที่เป็ นเรื่ องปกติ ที่เจ้ าบ่าวกําลังเตรี ยมตัว
เผชิญหน้ ากับเจ้ าสาวในสถานการณ์ที่เป็ นดังตัวละครในจักรภพ เฉกเช่น งานของ มาร์ เซล ดูชองป์
(Marcel Duchamp) ที่ชื่อว่า Stripped Bare by Her Bachelors, Even หรื อที่มกั รู้จกั กันในชื่อ
The large glass งานนี ้ยังเป็ นทังงานประติ
้ มากรรมและงานจิตรกรรม ซึง่ การกระทําของปื นใหญ่
เปรี ยบเหมือนเป็ นฝี แปรงอย่างรุนแรงดังเช่นงานของ แจ็กสัน พอลล็อก (Jackson Pollock) ซึง่ คา
พัวร์ ได้ กล่าวว่า “ความรุนแรงนันเป็
้ นเครื่ องหมายที่ปรากฏให้ เห็นในงานของเขาแต่หลังจากนั ้นแล้ ว
เราจะพบเห็นความงดงามบังเกิดขึ ้นทีละเล็กทีละน้ อยจากความรุนแรงนัน”
้ [3] มาจนงานที่ใช้ ขี ้ผึ ้งสี
แดงเป็ นสือ่ เหมือนกัน กับงานที่ชื่อว่า Svayambh (2007) งานชิ ้นนี ้เหมือนเป็ นกระดูกสันหลังของ
นิทรรศการนี ้เลยก็วา่ ได้ เพราะว่าใช้ พื ้นที่จดั แสดงถึง 5 ห้ องแสดง เครื่ องอัดขี ้ผึ ้งขนาดมหึมากําลัง
เคลือ่ นที่เหมือนคอยจัดรูปทรงให้ กบั ขี ้ผึ ้งเพื่อสร้ างรูปทรงอะไรบางอย่าง ขี ้ผึ ้งสีแดงกว่าสามสิบตัน
ถูกบังคับรูปทรงตามเครื่ องจักรให้ ผา่ นประตูโค้ งไปเรื่ อยๆ อย่างเชื่องช้ า จนขี ้ผึ ้งนั ้นสามารถสร้ าง
รูปทรงเป็ นประติมากรรมขนาดใหญ่มหึมาตามทรงโค้ งของประตูห้องนิทรรศการ ชื่อของงานนี ้มา
จากภาษาสันสกฤต โดยมีความหมายว่าการถือกําเนิดด้ วยตัวเอง เหมือนเป็ นการบ่งบอกว่า งานนี ้
ใช้ ตวั ของอาคารเป็ นตัวกําหนดรูปร่างของงานประติมากรรมที่เขาสร้ างขึ ้น เฉกเช่นสมัยฟื น้ ฟูศิลปวิ
ยาการ (Renaissance) ที่ทําขี ้ผึ ้งหล่อแม่พิมพ์เพื่อสร้ างประติมากรรมจากสําริ ดนัน่ เอง
ผ่านมากับงานที่ใช้ สอื่ สร้ างงานด้ วยสีและทัศนธาตุกนั มาแล้ วนะครับ ต่อมาจะเป็ นงานที่
ใช้ วสั ดุเป็ นตัวผลงานหลักกันบ้ าง

Greyman Cries, Shaman Dies, Billowing Smoke, Beauty Evoked (2008-09) ใน


หน้ าประวัติศาสตร์ ศิลปะที่ถกู สร้ างโดยฝี มือของศิลปิ นเองนั ้นเป็ นงานที่นา่ ยกย่อง แต่ถ้าทําโดย
ปราศจากมือของศิลปิ นแล้ ว ศิลปะนอกเหนือจากนั ้นจะยังคงน่ายกย่องต่อไปอีกหรื อไม่ งานชิ ้น
ใหม่นี ้ของคาพัวร์ เป็ นประติมากรรมทําจากซีเมนต์ ผ่านการพัฒนาของเทคโนโลยี โดยมาจาก
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะควบคุมซีเมนต์เหล่านี ้ให้ ออกมาเป็ นรูปทรงสามมิติ โดยการออกแบบ
ของศิลปิ นเอง ซึง่ ก็ถือความหมายว่า ระบบการผลิตได้ ถกู ทําลายไปด้ วยงานศิลปะ ผลของวัตถุนั ้น
เป็ นการท้ าทายความคิดของรูปทรงใหม่ จากงานสถาปั ตยกรรมสูข่ องโบราณไปสูร่ ่างกายและ
ความตํ่าช้ า มันคือความเกี่ยวเนื่องและเกี่ยวข้ องกันของธรรมชาติมากกว่าเป็ นงานออกแบบ การ
คดเคี ้ยวของซีเมนต์คือการเหนือการควบคุมหรื อการมีตวั ตน บางทีเราก็ใช้ เทคโนโลยีที่แสนฉลาด
เพื่อประดิษฐ์ สงิ่ ต่างๆ และเป็ นการเตือนความทรงจําของรูปทรงโบราณ งานนี ้เหมือนเป็ นการ
สะท้ อนงานยุคแรกๆ จากชุด Pigment Works ที่เขาได้ ทําเองทั ้งหมดจนพัฒนามาถึงการทํางาน
โดยใช้ ความคิดควบคุมเท่านัน้

Hive (2009) สร้ างขึ ้นที่อู่ตอ่ เรื อในฮอลแลนด์ ด้ วยรูปทรงที่สมมาตรและเรขาคณิตของ


ประติมากรรม งานนี ้เหมือนเป็ นการถามถึงการมองเห็นรูปทรงที่ตรงข้ ามกัน หนึง่ คือที่วา่ งภายใน
หรื อถํ ้า และอีกอันคือตัววัตถุในที่วา่ งนัน้ รูปทรงเหมือนเป็ นการสร้ างระนาบให้ มีนํ ้าหนักและ
ปริ มาณ คล้ ายกับเป็ นผิวหนังของมนุษย์ เป็ นการนํากลับมาทําใหม่ในชุดงาน L’Origine du
monde arise ของกุสตาฟ คูเบต์ (Gustave Courbet) ซึง่ เน้ นจุดเชื่อมโยงระหว่างด้ านในและนอก
นัน่ เอง กับอีกผลงานที่ใช้ คณ
ุ สมบัติของวัสดุและรูปทรงสร้ างผลงานนัน่ คือ Tall tree and the eye
(2009) เป็ นประติมากรรมอลูมิเนียมทรงสูงด้ านนอกลานที่ตอ่ แถวซื ้อบัตรเข้ าชมงาน สร้ างขึ ้นเพื่อ
ระลึกถึงรูปทรงเรขาคณิต ทรงกลมแต่ละอันจะสะท้ อนไม่เพียงแต่ตวั ของมันเอง แต่ยงั สะท้ อนสิง่ ที่
อยูใ่ กล้ ๆ กันเหมือนสะท้ อนความเป็ นเพื่อนบ้ านของกันและกันอีกด้ วย เป็ นงานที่ก้าวข้ ามความ
เป็ นสมมาตรกันของรูปทรงเรขาคณิตและเป็ นการนําฟ้าและเมฆเบื ้องบนลงมายังโลกเบื ้องล่างอีก
ด้ วย
สุดท้ าย หลังจากการดูงานเสร็ จ ผมคิดถึงเรื่ องของเวลาในการทํางานศิลปะของคนทัว่ ไป
ว่าจะเท่ากับของคาพัวร์ หรื อไม่ หรื อเขาอยูใ่ นอีกโลกหนึง่ โลกที่เราไม่สามารถล่วงรู้ถึงสภาวะแห่ง
การมีตวั ตนในการเป็ นมนุษย์นอกจากทํางานศิลปะเพียงเท่านั ้น แล้ ววันนี ้ผมก็มาใช้ ชีวิตอยูใ่ นโลก
ของเขาเช่นเดียวกับผู้ชมที่เข้ ามาดูในงานแสดงนี ้ วัสดุและสีที่เขานํามาใช้ เป็ นแค่สอื่ ของศิลปะใน
โลกใบนี ้ แต่กบั อีกโลกหนึง่ ที่เขาสร้ างขึ ้นนันมั
้ นก้ าวข้ ามวัสดุและสือ่ พวกนี ้ไปจนหมดสิ ้น ถ้ าเราลอง
นึกภาพงานของเขาทุกชิ ้นเป็ นสีขาวทั ้งหมด เรายังจะเข้ าใจความคิดของเขาหรื อไม่ สําหรับตัวผม
คิดแค่วา่ สือ่ สี และวัสดุที่เขาใช้ นั ้นเพียงเพื่อสื่อสารกับผู้ชมให้ เดินตามเขามาอย่างถูกทางโดยไม่
ต้ องปี นบันไดเท่านัน้ ซึง่ สําหรับผมนั ้น แค่หลับตาแล้ วใช้ ความคิดร่วมกับงานของเขานั ้นก็เพียงพอ

“I have often said that I have nothing to say as an Artist” [4] “ผมมักพูดอยูบ่ อ่ ยๆ ว่า
ไม่มีอะไรจะกล่าวในฐานะศิลปิ นคนหนึง่ ” จากคําพูดอนิช คาพัวร์ การไม่ร้ ูที่จะกล่าวอะไรเป็ นนัยยะ
ถึงงานของเขามากกว่าการค้ นหาความหมายจากคําพูดของศิลปิ น เพียงเท่านี ้เราก็สามารถรับรู้ได้
ถึงสิง่ ที่เขาสือ่ สารทางกายภาพและจิตวิทยา ซึง่ จะนําพาให้ ผ้ ชู มที่อยูใ่ นโลกแห่งนี ้เข้ าไปค้ นหา
ภาษา บทกวี ที่มีอยูใ่ นงานศิลปะในอีกโลกหนึง่ ของเขา โลกที่ไร้ ตวั ตนของความเป็ นมนุษย์

[1]
ตามอ่านรายละเอียดได้ ในตอน ยูนิลเี วอร์ ซีรีส์ (The Unilever Series)
[2]
Simon Wilson, Tate Gallery: An Illustrated Companion, Tate Gallery, London, revised edition 1991, p.293
[3]
Hatje Cantz, Anish Kapoor: Shooting Into the Corner, FALL 2009 p. 82
[4]
http://rexile.wordpress.com/tag/anish-kapoor
ภาพประกอบจาก Royal Academy of Arts

As if to Celebrate, I Discovered a Mountain Blooming with Red Flowers (1981)

Hive (2009)
Yellow (1999)

Svayambh (2007)
Shooting into the Corner (2008-2009)

Greyman Cries, Shaman Dies, Billowing Smoke, Beauty Evoked (2008-2009)


Tall tree and the eye (2009)

อนิช คาพัวร
Ai Wei Wei, Sunflower Seeds.

เมล็ดทานตะวัน
The Unilever Series, Tate Modern, London.

Sunflower Seeds (2010) หรือ เมล็ดทานตะวัน ผลงานชุดใหมลาสุดของศิลปนจีนที่เปนที่รูจักกันดี


อยางอาย เวย เวย จัดขึ้นที่ พิพิธภัณฑเทต โมเดิรน (Tate Modern) ณ กรุงลอนดอน รวมกับเดอะ ยูนิลีเวอร
(The Unilever) แบรนดสินคายักษใหญเปนผูสนับสนุน โดยในครั้งนี้นับเปนครั้งที่ 11 ที่มอบหมายใหศิลปน
ทํางานเพื่อนํามาจัดแสดงในเดอะยูนิลีเวอรซีรีส (The Unilever Series) เมล็ดทานตะวันที่ถูกจัดวางเหมือนกับ
เปนงานภูมิสถาปตยกรรมตั้งอยูทางฝงตะวันออกของเทอไบน ฮอลล (Turbine hall) โดยที่ผูชมสามารถเดิน
เหยียบย่ําลงบนผลงานที่ทําจากดินพอรซเลนจากงานฝมือลวนๆ กวา 100 ลานเมล็ด

นับเปนผลงานที่ใหญที่สุดที่ศิลปนไดเคยทํามาจากดินพอรซเลน ซึ่งเปนสินคาที่มีมูลคาสงออกมาก
ที่สุดของจีน เมล็ดทานตะวันทุกเมล็ดนั้นจะไมมีความเหมือนกัน ซึ่งแตกตางจากการผลิตในระบบของโรงงาน
อุตสาหกรรม เหมือนกับงานที่เปน “readymade” หรือ “found object” (สิ่งของที่อยูในชีวิตประจําวันจะ
กลายเปนงานศิลปะได) ของศิลปนฝงตะวันตก แตนี่คืองานหัตถศิลป (craft) อยางประณีตของแรงงานภาค
หัตถกรรมของจีนที่เกิดขึ้นทั้งหมดที่จิ๋นเตอเจิ้น (Jingdezhen) ซึ่งเปนแหลงผลิตงานเครื่องปนดินเผาที่มี
ชื่อเสียงของจีน ทุกๆ เมล็ดเผาดวยไฟสูงถึง 1,300 องศาเซลเซียส เพนทสีทีละเมล็ด จากนั้นจึงนําเขาเตาเผา
อีกครั้งที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ใชเวลาในกระบวนการทําจนเสร็จสิ้นกวาสองป ถึงจะไดเมล็ดทานตะวัน
กวา 100 ลานเมล็ด หนักกวา 150 ตัน จากนั้นจึงถูกนํามาจัดวางบนพื้นที่ 1,000 ตารางเมตรของเทอรไบน
ฮอลล

สําหรับอายแลว เมล็ดทานตะวันเปนของขบเคี้ยวยามวางของคนจีนที่กินรวมกันระหวางเพื่อนฝูง
กิจกรรมนี้เกี่ยวของกับการปฏิวัติวัฒนธรรมในชวงป ค.ศ. 1966-76 ซึ่งชวงนัน้ ความเปนสวนตัวของผูคนถูก
จํากัดไวซึ่งอิสรภาพ ภาพของโฆษณาชวนเชื่อ โดยทานประธานเหมา เจอ ตุง ซึ่งเปรียบเสมือนเปนแสงอาทิตย
ในขณะที่ประชาชนเปนเพียงแคเมล็ดทานตะวัน ซึ่งตัวเขายังจําไดดีวา การกินเมล็ดทานตะวันรวมกันเปนการ
แสดงออกถึงความเมตตาของผูคน ซึ่งสรางสัมพันธภาพระหวางเพือ่ นฝูง ในชวงภาวะของความยากจนที่ตอง
อดทนอดกลั้นกับสภาวะทางการเมืองที่ไมมีความมั่นคง ในชวงของการปฏิวัตินั้น นี่ก็คือเสียงสะทอนรวมสมัย
ในผลงานซึ่งเปนการผลิตจํานวนมากแบบแรงงานฝมือหัตถกรรม ซึ่งผลงานไดเชื้อเชิญใหผูคนไดเขามาดูอยาง
ใกลชิดในงานแตละเมล็ดที่เสมือนมีแบรนดติดวา “Made in China” ปรากฏการณเชนนี้เปนการเปลี่ยนแปลง
ภูมิศาสตรทางการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของจีนเลยทีเดียว
ซึ่งถามองจริงๆแลว เมล็ดทานตะวันเหลานี้คือตัวแทนของประชาชนชาวจีน ซึ่งอายตั้งคําถามถึงตัวตน
ของตัวเองผานผลงานที่แตกตางกันในแตละเมล็ดวา “ความเปนตัวตนในสังคมปจจุบันนั้นหมายถึงอะไร เรา
ยังคงมีความสําคัญ มีพลังที่สามารถแสดงออกหรือไม ในตอนที่เรายังเปนวัยรุน เราเริ่มที่จะรูสึกถึงการมีตัวตน
ในสังคมหรือเปลา ซึ่งสังคมเองก็มักตั้งคําถามกับเราเชนกันวา คุณคือใคร สังคมแบบไหนที่คุณตองการ” [1]
เมล็ดทานตะวันซึ่งไมอาจจะงอกเงยเปนดอกไมที่สวยงามได เพราะตองถูกเหยียบย่ําจากผูนําของจีนเองและ
จากคนตะวันตก ซึ่งการเปรียบเปรยนี้เปนนัยยะทางการเมือง ตลอดจนคําถามจากแรงงานชาวจีนซึ่งสวนใหญ
ยังคงอยูในภาคหัตถกรรม แตตอมาเมื่อระบบอุตสาหกรรมเขามาแทนที่ คนเหลานี้ตองปรับตัว และตกงาน ก็
เหมือนกับการถูกเหยียบย่ําใหกลายเปนเพียงแคเมล็ดทานตะวัน เปนของวางยามสนทนา ซึ่งงานนี้หลังจากที่
จัดแสดงใหผูชมไดมาเดินสัมผัสผลงานลงบนทุงเมล็ดทานตะวันไดแคเพียงสี่วัน ในวันที่ 15 ตุลาคม 2010 ทาง
พิพิธภัณฑเทตก็ไมอนุญาตใหผูชมเขาไปเดินไดอีก แตสามารถดูและหยิบเมล็ดจากรอบๆ มาดูได โดยที่ให
เหตุผลวา “ฝุนซึ่งเกิดจากดินพอรซเลนอาจจะเปนอันตรายเมื่อสูดดม”[2] นี่อาจจะเปนเหตุผลที่บังเอิญ แตมัน
ชางเขากับบริบททางการเมืองของตัวศิลปนเสียจริง จนทุกวันนี้ก็ยังมีคนหลายคนที่พยายามฝาฝนเขาไปเหยียบ
ย่ําเมล็ดทานตะวันเปนประจํา หรือนี่จะเปนการบอกวา ไมมีทางหรอกที่ตะวันตกจะหยุดย่ํายีชาติที่ดอยกวา
แมวาเมล็ดนั้นจะอยูที่ไหนก็ตาม และถึงอยางไรพวกเขาก็ยังตองพึ่งพาแรงงานชาวจีนผลิตสินคาอยูดี พวกเขา
ไมเคยคิดเลยวาแรงงานจีนจะไดรับมลพิษมากเทาไรเพื่อผลิตสินคาสนองความสุขสบายของชาวตะวันตก หรือ
เพราะแรงงานพวกนี้เปนเพียงแคเปลือกเมล็ดทานตะวันที่หลนตามพื้นเทานั้น

อาย เวย เวย หรือที่ชาวตะวันตกตั้งฉายาใหวาแอนดี วอรฮอล (Andy Warhol) ของจีน เขามีสตูดิโอ


กึ่งโรงงานซึง่ ตั้งอยูหางจากปกกิ่งไวสําหรับทํางานศิลปะหลากหลายสื่อ เขาเรียกสตูดิโอนี้วา “Fake” หรือ
แปลวาการหลอกลวง เขาใชประโยชนจากสื่อสาธารณะ เชน ยูทูบและทวิตเตอร ในการสื่อสารสงขอความ
สวนตัวไปยังทั่วโลก เสมือนแอนดี วอรฮอล ใชกลองโพลารอยดและโทรทัศนในการแสดงออกถึงประชาธิปไตย
ในยุคนั้น ดวยการพยายามแยกความแตกตางระหวางศิลปะกับสิ่งที่ไมใชศิลปะ ความแตกตางของทั้งสองคนคือ
แอนดี วอรฮอล เปน “ศิลปนการเมือง” ในขณะที่สําหรับอาย เวย เวย นั้น “การเมืองและศิลปะไมไดแยกออก
จากกัน” เขากลาววา “ศิลปะสวนใหญ ไมใชเฉพาะแคของผม มันคือการเมืองทั้งสิ้น หรือถาคุณบอกวาศิลปะ
ของคุณไมใชงานการเมือง แตถึงอยางไรมันก็ยงั คงอยูในสถานะเปนการเมืองอยูดี และผมยังคิดดวยวา “ปอป
อารท” (Pop Art) หรือศิลปะสมัยนิยม โดยตัวมันเองแลวเปนงานทางการเมืองอยางแนนอน เพราะวา
แนวความคิดของมันคือการตอตานงานศิลปะชั้นสูง มันคือศิลปะที่เกี่ยวของกับชีวิต ผูคน และวัฒนธรรม ” [3]

แมวาทางการจีนจะพยายามบล็อกเว็บไซตยูทูบ, เฟซบุก และทวิตเตอร แตมันก็เหมือนกับเปนการยิ่ง


ยั่วยุ โดยอายกลาววา “เรามีสิ่งที่ดีเหมือนกําแพงเมืองจีน ทุกๆ วันทางการจีนสรางมันขึ้นมา แตเราบางคนก็
สามารถกระโดดขามมันได ในจีนเองมีจํานวนประชากรแค 50,000 คน ที่สามารถใชเน็ตเวิรกที่ถูกบล็อกได ซึ่ง
มันก็นอยมากถาเทียบกับจํานวนประชากรที่มี เรามีกลุมที่จะใชพูดคุยกันถึงเรื่องการเมือง เชน การรุกรานในธิ
เบต โดยที่ตัวเขาเองก็มีบล็อกเว็บไซตสวนตัวของเขาไวเปนแกนนําในการตอสูกับเสรีภาพในการสื่อสาร ระบบ
เซ็นเซอรก็เปนแคเครื่องมือของทางการจีน แตอินเทอรเน็ตนั้นมันกาวหนาจนกลายเปนเครื่องมือของ
คอมมิวนิสตไปแลว” [4] พอของเขาอาย ฉิง (Ai Qing) ซึ่งเปนนักประพันธ ถูกจับเมื่อ 20 ปกอนและถูกสงไปใช
แรงงานเปนกรรมกรในชวงการปฏิวัติวฒ ั นธรรมของทานเหมา หนังสือของพอเขาถูกสั่งหามผลิตและจําหนาย
นี่คือเหตุผลที่ตัวเขาสนใจในการเมืองตลอดมา

ในชวงงานโอลิมปกป 2008 อาย เวย เวย ไดรวมทํางานออกแบบกับสถาปนิกชาวสวิส แฮรซ็อก และ


เดอ เมอฆ็อง (Herzog & de Meuron) พวกเขาไดชวยกันออกแบบสนามกีฬาซึ่งรูจักกันดีในชื่อของสนามกีฬา
รังนก (Bird’s Nest) รัฐบาลจีนตองการโชวแคการพัฒนาความเจริญกาวหนาของประเทศอวดตอชาวโลก
เทานั้น แตจริงๆ แลวประชาชนก็ยังคงอยูโดยปราศจากการมีปกซึ่งเปนตัวแทนของความอิสระ เรามีรังนกแตไร
นก และทายที่สุดแลวตัวเขาเองก็ถูกหามไปรวมพิธีเปดเนื่องจากการวิพากษวิจารณการทํางานของรัฐบาล

ในสวนตัว ถาถามวางานชิ้นไหนที่เขาภูมิใจมากที่สุด คําตอบคือ Remembering 2009 ในชวง


แผนดินไหวป 2008 ที่เมืองซีฉวน (Sichuan) ในละแวกนั้นเปนที่ตั้งของโรงเรียนหลายแหง และนักเรียนกวา
หาพันคนก็ไดหายสาบสูญไปในใตซากปรักหักพัง ซึ่งเกิดจากการคอรรัปชันของนักการเมืองทองถิ่นในการ
กอสรางอาคารในพื้นที่เกิดเหตุ งาน Remembering 2009 ประกอบไปดวยเปเด็กหลายพันใบจัดวางบนผนัง
ตึกหลายชั้น หลังจากที่เขาแสดงงาน อายถูกตํารวจจีนทุบตีในโรงแรมที่พัก เนื่องจากเขาเปดโปงเรื่องการคอร
รัปชันที่ทําใหโครงสรางอาคารไมไดมาตรฐานจนมีคนเสียชีวิตเปนจํานวนมากจากเหตุการณแผนดินไหว ครั้ง
นั้นเขาบาดเจ็บมากจนขนาดตองรับการผาตัดที่เมืองมิวนิก (Munich) และหมอตองเจาะกะโหลกเพื่อเอาน้ําคั่ง
ออกถึง 30 มิลลิลิตร เขาเกือบตายจากเหตุการณในครั้งนั้น และในเดือนสิงหาคมของปนี้ เขาไดกลับไปยัง
สถานีตํารวจที่เคยเกือบจะฆาเขา เพื่อถามถึงการรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น โดยมีผูชวยถือกลองถายรูปและ
ทนายตามไปดวย แตแอบซอนกลองวีดีโอไวถายในมุมไกลออกไป เจาหนาที่ตํารวจพยายามจะยึดกลองถายรูป
และดาเขา พรอมกับบอกวา “ถาคุณตองการหาความรับผิดชอบใหกลับไปอเมริกา (เขาเคยใชชีวิตอยูที่นั่นเปน
เวลานานหลายป) ที่นี่คุณคงไมไดอะไรอยางทีอ่ ยากได” เขาใชวิดีโอที่ไดจากอีกกลองสงเผยแพรความอ
ยุติธรรมไปยังทั่วโลก พรอมทั้งตะโกนในคลิปวา “ตํารวจทํารายประชาชน”

นับตั้งแตป 1995 กับงานภาพถายขาวดํา ซึ่งตัวเขากําลังปลอยแจกันสมัยราชวงศฮั่นลงบนพื้น จนถึงป


2006 แจกัน 39 ใบ ถูกเพนตดวยสีสดใส ป 2007 ประตูและหนาตางไมจํานวน 1,001 บาน ซึ่งเอามาจากตึก
รางไดถูกกอสรางเปนประติมากรรมทรงพายุ ทั้งหมดนี้คือการกอสรางและทําลายวัฒนธรรมเดิมที่มีอยูดวย
ศิลปะรวมสมัย “ทุกสิ่งคือศิลปะ ทุกสิ่งคือการเมือง คุณสามารถเรียกมันวาศิลปะหรือไมก็ได ผมคงไมสามารถ
ประณามคุณได” อาย เวย เวย ในวัยหกสิบซึ่งยังคงมองโลกอยางแงดีกลาว
บทสัมภาษณใน Arts Review ระหวางอาย เวย เวย และจอหน ซันเยอร (John Sunyer) วันที่ 12
ตุลาคม 2010 [5]

ซันเยอร: คุณยังคงตองการเปนศิลปนตลอดเวลาหรือเปลา
อาย: ไมเลย ผมตัดสินใจเปนศิลปนชวงตอนปลายของยุคป 70 เพื่อนตองการหลบหลีกเงื่อนไขทางเผด็จการ
ของจีน ทุกคนตองการที่จะเปนสวนหนึ่งของพลังการเมืองนัน้ ซึ่งมันเปนเรื่องของการโกหกและเปน
ขอผิดพลาดทุกหนแหง สําหรับตัวผมศิลปะคือการหลบหนีจากระบบนั้น
ซันเยอร: มีขอแตกตางระหวางงานศิลปะกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองไหม
อาย: ศิลปะและการเมืองเปนสวนหนึ่งของสิ่งเดียวกัน เปนสวนที่เขาใจซึ่งกันและกันของสภาพแวดลอม
บางครั้งงานของผมเปนการเมือง บางครั้งเปนงานสถาปตยกรรม บางครั้งก็เปนแคความงดงามของศิลปะ ผม
เห็นมันเหมือนความไมลงตัวของรัฐบาลเชนเดียวกัน
ซันเยอร: ความสนใจในการเมืองสงผลตอความสนใจในศิลปะของคุณอยางไร
อาย: ศิลปะของผมมันจะดีที่สุดภายใตรากเหงาของการเมือง ผมตองการใหความพยายามทางการเมืองของผม
กลายเปนงานศิลปะ ผมตองการรับผิดชอบตอการพูดตอหนาผูคนรอบๆ ตัว ผูคนซึ่งหวาดกลัวและผูซึ่งมี
ความหวัง ผมอยากจะบอกวา พวกคุณสามารถทําได มันโอเคที่จะพูด แตมันก็ไมไดเปนเหตุผลอะไรที่สําคัญ
มากกวาผมเปนคนอยางไร
ซันเยอร: ผูคนอธิบายวาคุณคือผูนําของศิลปนที่จะตอสูกับอิสรภาพและการแสดงออก
อาย: มันพูดยาก คตินิยมในจีนไมสามารถที่จะมีอิสระในการพูดในที่สาธารณะ เราไมมีอิสระในการรับรูขอมูล
ทุกๆ คนรูวาอินเทอรเน็ตและหนังสือพิมพถูกเซ็นเซอรอยางหนัก ผมคิดวาศิลปนควรจะยืนหยัดในพลังและรวม
เปนสวนหนึ่งที่จะเรียกรองซึ่งอิสรภาพ ซึ่งศิลปนทางตะวันตกไมตองตอสูเพื่อสิ่งนี้ แตสังคมประชาธิปไตย
อยางไรก็มีปญหาอยางอืน่

ซันเยอร: คุณรูสึกอยางไรถึงการพัฒนาของจีนนับตั้งแตเมื่อตอนเปนเด็ก
อาย: เทคโนโลยีใหมๆ ไดทําใหจีนตองอยูในฐานะที่เปดมากขึ้น แตมันก็ไมไดเปนความตั้งใจของรัฐบาล
โครงสรางทางการเมืองยังคงเปนเหมือนสมัยที่ผมยังเปนเด็ก แตอยางไรก็ตามทุกๆ วันของชีวิตก็ยังดีขึ้นสําหรับ
ผูคน มีงานทํามากขึ้น แตอยางไรผูคนยังคงระมัดระวังวิกฤติการณทางการเมืองที่ยังคงเกิดขึ้น
ซันเยอร: คุณมองอนาคตของจีนในแงดีอยางไร
อาย: ในระยะยาวนัน้ รัฐบาลไมสามารถหยุดชาวจีนไมใหพูดถึงอิสรภาพและประชาธิปไตยได การอาศัยอยูที่นี่ก็
เหมือนเปนการเสี่ยงแตก็นาตื่นเตน คุณมองเห็นความเปนไปไดและเลนตามเกม
ซันเยอร: พวกเราถูกลงโทษหรือเปลา
อาย: ผมไมใชคนมองโลกในแงดีเกี่ยวกับอนาคต ชีวิตทั้งชีวิตถูกออกแบบโดยโชคชะตา แตถึงอยางไรมนุษยก็
ยังคงมีจิตแจมใส ทุกๆ อยางเหมือนเปนการจัดไวแลวทั้งสิ้น
ศิลปะและการเมืองไมอาจจะถูกแยกออกจากกันได ตราบใดที่ศิลปนเองยังตองใชพลังการเคลื่อนไหว
ของสังคมในการสรางสรรคศิลปะ ในขณะที่ศิลปนเองกําลังเรียกรองอิสรภาพจากประเทศที่เปนสาธารณรัฐ อีก
ประเทศซึ่งเรียกตัวเองวาเปนประชาธิปไตยตางมีบทบาทหนาที่ไมตางอะไรกับเผด็จการในการเซ็นเซอรและปด
กั้นขอมูลขาวสารเชนเดียวกัน สิ่งนี้หรือเปลาคือสิ่งที่ศิลปนควรรวมกันเรียกรองถึงอิสรภาพมากกวาการยอม
จํานนเพื่อบอกวาเรามีสันติภาพจากการปรองดองอันเปนมายาคติที่ทางรัฐไดพยายามสรางมันตลอดมา ถาการ
ทํางานศิลปะคือการตองมีเงื่อนไขภายใตความหวาดกลัวและแวดระวัง งานนัน้ จะยังคงมีพลังเพื่อสงสารตอ
ผูคนวา “เสรีภาพของงานศิลปะมันคือความกลัวที่รอการปลดปลอยใหเปนอิสระหรือไม” จนกวาวันนั้นจะ
มาถึง วันที่ศิลปนในประเทศไมไดทํางานเพื่อปากทองและสรางภาพแตอยางเดียว แตมันคือการทํางานเพื่อ
รับผิดชอบตอสังคมที่เปนอยู ที่ซึ่งเกิดและตายอยางมีเกียรติและศักดิ์ศรี หรือเปนที่เกิดและตายอยางนาสมเพช
ของศิลปนอีกมาก สวนนอยนั้นคงตายตาหลับ

[1]
http://artasiapacific.com/Magazine/72/SunflowerSeedsAiWeiwei
[2]
http://www.guardian.co.uk/artanddesign/2010/oct/15/tate-modern-sunflower-seeds-ban
[3]
http://www.timeout.com/newyork/art/review-ai-weiwei-sunflower-seeds
[4]
http://metro.co.uk/2010/10/08/ai-weiwei-on-being-the-chinese-andy-warhol-539853/
[5]
http://www.newstatesman.com/blogs/cultural-capital/2010/10/chinese-artist-china-freedom
ภาพประกอบจาก Tate Modern

อาย เวย เวย

Sunflower Seeds (2010) ที่เทอรไบนฮอลล พิพิธภัณฑเทต โมเดิรน


Sunflower Seeds 2010
Bird’s Nest (2008)

Remembering (2009)
Dropping Vase (1995)

Colored Vases (2010)


Gabriel Orozco
กาเบรี ยล โอรอสโค
Tate Modern, London.

คนทั่วไปมักจะกลาววาพิพิธภัณฑเทต โมเดิรน (Tate Modern) ณ กรุงลอนดอน เปนหนึ่งในแกลลอรี


ที่ดีที่สุดในโลกที่ตอนรับศิลปนจากทุกเชื้อชาติมาเปนเวลานานหลายป ดังเชนงานศิลปะที่ไมควรมีเรื่องเชื้อชาติ
วัฒนธรรม ศาสนา และภาษามาเปนตัวแบงกั้นนั้น ในคราวที่ภัณฑารักษของเทต โมเดิรน ประชุมกันถึง
นิทรรศการครั้งหนาของตัวแกลลอรีหลักที่เทต โมเดิรน นั้น ศิลปิ นหรื อกลุม่ ศิลปิ นจากต่างชาติที่ไม่ได้ มี
สัญชาติองั กฤษว่า มีชาติไหนบางที่ทางเทตยังไมเคยจัดนิทรรศการใหเลย และเมื่อดูรายชื่อแลวก็เปนที่เห็น
พองตองกันวาศิลปนสัญชาติเม็กซิกันนั้น เรายังไมเคยเชิญมาเลยสักคน แมเมื่อปที่แลวที่นิทรรศการยิ่งใหญ
ของฟรานซิส อลิส (Francis Alÿs) ศิลปนสัญชาติเบลเยียมที่ยายไปตั้งรกรากที่เม็กซิโก และทํางานที่สะทอน
เกี่ยวกับทองถิ่นสังคมที่นั่นก็ตาม แตครั้งนี้ภัณฑารักษตองการศิลปนที่มีรากเหงาความเปนคนเม็กซิกันอยาง
แทจริง และใครคนนั้นที่มีผลงานที่โดดเดนในรอบหลายทศวรรษที่ผานมาก็คือการเบรียล โอรอซโค (Gabriel
Orozco)

โอรอสโคเกิดที่ซาลาปา (Xalapa) เมืองหลวงของรัฐเบรากรุซ (Veracruz) ในเม็กซิโก เมื่อป 1962


งานของเขาเปนที่รูจักอยางกวางขวางในชวงยุคป 90 เขาไดยายไปทํางานเพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณในหลายที่
ไมวาจะเปนนิวยอรก ปารีส และเบอรลิน และยังมีนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองที่มีชื่อเสียงตามแกลลอรีและ
พิพิธภัณฑในประเทศตางๆ อีกหลายนิทรรศการ โดยที่งานหลักๆ ของเขานั้นจะเปนการบอกเลาเรื่องราว
เกี่ยวกับสถานที่และเวลาในตัวชิ้นงาน เขากลาววา “เขาไมใชนักคิดคน แตเปนนักตีความ” [1] นั่นหมายถึงเขา
มักเก็บเกี่ยววัตถุดิบที่มีอยูแลวรอบตัวมาใชในงาน นํามาดัดแปลง สรางองคประกอบ หรือแทนที่ในบริบทใหม
ใหกับมัน งานของเขาจึงเปนการเลนกับบริบทและวัตถุที่มีอยูแลว นํามาตีความใหมใหตางออกไปตามแนวทาง
ของเขา เชน บางทีงานประติมากรรมของเขาก็เปนเพียงแคภาพถายที่ถายวัตถุที่มีอยูแลวตามซูเปอรมาเก็ต
เพียงแตหยิบมันมาสรางบริบทใหมกับวัตถุขางเคียงแลวถายภาพของการเปนงานประติมากรรมชั่วคราวเก็บไว
เทานั้น โดยเขากลาววา บางทีประติมากรรมที่เขาสรางก็เปนเพียงแคแมลงที่มีวงจรชีวิตสั้นๆ เทานั้นนั่นเอง
ดังนั้นทุกอยางจึงนาสนใจจากการตีความในรูปความหมายใหม เพราะมันคือการเชื่อมโยงวัฒนธรรม ผูคน
การศึกษา ที่เมื่อนํามาจัดองคประกอบใหมแลวเกิดเปนอัตลักษณชิ้นใหมในรูปแบบของเขานั่นเอง

My hands are my heart (1991) เปนงานยุคแรกๆ ของเขาที่ใชดินจากขางๆ โรงงานมากกวาที่จะ


ใชดินที่ใชทําประติมากรรมมาบีบโดยใชสองมือใหมีลักษณะคลายหัวใจ แสดงความสัมพันธระหวางตัววัสดุที่
สงผานไปยังคุณคาของจิตใจของคนทํางานศิลปะ งานที่เปนที่กลาวขานมากที่สุดคือ LA DS (1993) งานซึ่ง
กลายเปนลายเซ็นของเขาในเวลาตอมา ซึ่งความคิดที่จะเปลี่ยนวัตถุจากระบบอุตสาหกรรมใหกลายเปนงาน
ศิลปะเกิดขึ้นเมื่อเขาไดคนพบรถซีตรอง ดีเอส (Citroen DS) รุนเกาในสุสานรถในปารีส จากนั้นจึงไดทดลอง
ตัดรถออกเปนสามสวน เอาสวนตรงกลางออก และประกอบอีกสองสวนใหเปนรถคันใหมซึ่งไมมีเครื่องยนต
กลไกอะไรและนั่งไดคนเดียว มันคือการแปรสภาพของประโยชนใชสอยของรถยนตใหหายไป โดยแทนที่
คุณสมบัติดวยความเปนงานประติมากรรมเขามาแทน และในป 1997 กับงานวาดเสนดวยดินสอลงบนหัว
กะโหลกของจริงเพื่อเปรียบเหมือนการเผชิญหนากับความตาย ศิลปนที่มีชื่อเสียง เชน เดเมียน เฮิรสท
(Damien Hirst) ก็นําหัวกะโหลกมาใชในงานของเขาเชนเดียวกันโดยฝงเพชรแท 8,601 เม็ด ประดับลงบน
กะโหลกและไดรับเงินไป 50 ลานปอนดจากการประมูล สิ่งที่เปนสัญลักษณที่เชื่อมโยงระหวางความเปนความ
ตายของมนุษยนั่นคือหัวกะโหลกที่เปนเศษซากของชีวิต ซึ่งโอรอสโคไดวาดลวดลายเหมือนตารางหมากรุกลง
บนกะโหลกนั้นเพื่อใหเปนตัวแทนของความตาย การกลับมามีชีวิตที่มีคุณคาและสวยงามอีกครั้ง

Carambole with Pendulum (1990) ไดแรงบันดาลใจมาจากโตะบิลเลียดของฝรั่งเศส โดยได


ดัดแปลงใหมใหเปนรูปวงรี และที่ดานขางไมมีถุงตาขายสําหรับใสลูกบิลเลียต แตสามารถใชเลนไดจริง โดยได
แนวความคิดมาจาก Foucault’s Pendulum ในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปนงานวิทยาศาสตรที่ใชในการทดลองการ
หมุนของโลก โดยใชหลักการที่วา โลกยอมหมุนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเปนหลักตายตัว แตโตะนี้ไมสามารถที่
จะกําหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของลูกไดเนื่องจากจะมีลูกหนึ่งที่ผูกเชือกหอยไว เวลาเลนก็ใชไมสอยไปที่ลูกนี้
ใหไปกระทบลูกขางๆ เปนการตีความที่ทําใหบิดเบือนประโยชนใชสอยตามที่เขาเคยไดทําในงานกอนหนานั้น
มาถึงงานที่มักพบไดทั่วไปบนทองถนนกับงาน Chicotes (2010) เขาไดพบซากยางที่ระเบิดหลงเหลือไว
มากมายบนทองถนนในเมืองเม็กซิโก และไดเริ่มเก็บสะสมจากนั้นเปนตนมา เขากลาววา “ซากยางนั้นมีคุณคา
เพราะมันผานกาลเวลาของลอที่หมุนไปยังสถานที่ตางๆ ผานชวงเวลาและมีประวัติศาสตรที่จารึกไวเปน
รองรอยของความทรงจําบนเศษซากนั้น เขาจัดวางงานนี้อยางเรียบงายในหองโลงๆ เพียงแคจัดองคประกอบ
ใหสวยงามเทานั้น งานที่สวนตัวผูเขียนชอบมากที่สุดคืองาน Dial Tone (1992) เปนการตัดเบอรโทรศัพทจาก
สมุดโทรศัพทในนิวยอรกมาติดลงบนกระดาษสาญี่ปุนทีละชื่อ ทีละหมายเลข เรียงรอยอยางเปนระเบียบมี
ความยาวกวา 10 เมตร เปรียบเหมือนการนําคนที่ไมรูจักกันมาติดตอกัน มาใกลชิดกัน เปนการสรางสภาวะ
ความสัมพันธของคนในนิวยอรกและเกี่ยวของกับการวัดปริมาตรในเชิงศิลปะอีกดวย ทั้งหมดนี้ไดตอบโจทย
ความสัมพันธของมนุษยถึงการมีตัวตนที่บันทึกไว แตไรซึ่งการมีปฏิสัมพันธของกันและกันของคนในเมืองใหญ

นอกจากนี้ยังมีงานทดลองที่เขาไดทําการวาดและระบายสีอีกหลายภาพ โดยภาพสวนใหญมักเปน
ลวดลายกราฟกธรรมดา แตสรางสถานะใหมีความเชื่อมโยงของกันและกัน รวมถึงงานภาพถายในหลายๆ
ชวงเวลาที่เขาไดอยูในเมืองใหญ ผานประสบการณใชชีวิตและนําเอาวัตถุดิบในเมืองนั้นมาเลนมาตีความใน
รูปแบบของเขาได สิ่งหนึ่งที่คนพบในผลงานของเขาอาจจะไมใชเปนการคนหาสิ่งแปลกใหมที่บังเกิดในงาน
ศิลปะที่มีมาชานานแลวดังที่เขาไดกลาวออกตัวไวแตตนวาเขาไมใชนักคิดคน แตเปนนักการตีความ การตีความ
ในรูปแบบใหมซึ่งเปนการยากในการทําใหมุมมองนั้นมีความแหลมคมเฉกเชนงานของเขา และมันก็ไมไดมี
ความสําคัญอะไรเลยกับผลงานของเขาถาคุณไมไดรูสึกอะไรกับสิ่งที่เขาทํา แตหลังจากที่ผูชมงานกลับบานไป
แลว มุมมองของคนเหลานั้นเมื่อไดเห็นวัสดุเหลานี้อีกครั้งจะเปลี่ยนไป หรือแมกระทั่งวัสดุอื่นๆ ที่
นอกเหนือจากงานของเขาก็ตาม คนเหลานั้นจะสามารถมีจินตนาการมองไปไดมากขึ้นวาวัสดุทั่วๆ ไปที่พบเห็น
เหลานี้มันสามารถเปลี่ยนประโยชนใชสอยอยางพลิกหนาพลิกหลังได นั่นคือสิ่งที่ควรจะไดจากผลงานของเขา

ดังเชนที่ไอนสไตนเคยบอกวาจินตนาการสําคัญที่สุด ซึ่งเขาก็นําคํากลาวนี้มาตีความในรูปแบบของเขา
เชนเดียวกัน จึงเกิดเปนงานชิ้นใหมที่พลิกประโยชนใชสอยใหตางไปจากเดิมได เปนการตอยอดความคิดของสิ่ง
หนึ่งสิ่งใดที่มีการผลิตซ้ําๆ มาแตเดิมดวยฝมือของเครื่องจักรใหกลายเปนงานศิลปะโดยผานกระบวนการ
ความคิดของศิลปนนั่นเอง

[1]
Gabriel Orozco, Artist, In conversation with Michelle Kuo, Editor in Chief, Artforum, New York, 2011.
http://www.telegraph.co.uk/culture/art/art-reviews/8264987/Gabriel-Orozco-Tate-Modern-review.html
ภาพประกอบจาก Tate Modern

Gabriel Orozco

My Hands Are My Heart (1991)


La DS (1993)

Until You Find Another Yellow Schwalbe (1995)


Carambole with Pendulum (1996)

Chicotes (2010)
Black Kites (1997)

Sleeping Dog (1990)


Glasnost
ศิลปะของผูไ้ ม่ปฏิบตั ิตาม
Haunch of Venison, London.

กลาสนอสต (Glasnost) คือ นโยบายสาธารณะอันสําคัญ ที่แสดงใหเห็นถึงการเปดเผยและโปรงใส


อยางเห็นไดชัดในกิจกรรมการบริหารของหนวยงานรัฐบาลสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (USSR)
นโยบายนี้ประกอบดวย การลดความเขมงวดในการเซ็นเซอร การลดอํานาจหนวยเคจีบี (KGB) และการ
เสริมสรางความเปนประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงเหลานี้นั้นมีจุดประสงคเพื่อกําจัดการตอตานการปฏิรูป
ทางเศรษฐกิจจากกลุมอํานาจฝายอนุรักษนิยมภายในพรรคคอมมิวนิสต ภายใตการปฏิรูปนี้ ผูที่ดํารงตําแหนง
สําคัญๆ ในพรรคคอมมิวนิสตจะตองมาจากการเลือกตั้ง (โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสตเอง) โดยเปนการใช
ระบบนี้ครั้งแรก ทามกลางการคัดคานจากกลุมอนุรักษนิยม ซึ่งผูที่ใหนโยบายนี้คือ มิคาอิล กอรบาชอฟ
(Mikail Gorbachev) ประธานาธิบดีในสมัยนั้น (1988-1991) [1]

ในชวงหลังของยุค 1980 คําวากลาสนอสตเปนคําที่มิคาอิล กอรบาชอฟ ใชบอย[2] เพื่อใหเห็นคําจํากัด


ความของนโยบายที่เขาเชื่อวาจะลดการคอรรัปชันของพรรคคอมมิวนิสตและจะเปนกลางในการปกครอง
ประเทศ ในเวลานั้นเอง กอรบาชอฟก็ไดสนับสนุนนโยบายที่จะนําไปสูการลมสลายทางการเมืองของสหภาพโซ
เวียตในเวลาตอมา โดยการควบคุมเศรษฐกิจผานทางนโยบายกลาสนอสต (การเปดกวางทางการเมือง) เป
เรสตรอยกา (การวางโครงสรางเศรษฐกิจใหม) และอุสโคเรนิเย (การเรงพัฒนาการทางเศรษฐกิจ) เศรษฐกิจ
ของสหภาพโซเวียตกอนหนานั้นไดรับผลเสียจากอัตราเงินเฟอและการขาดแคลนวัตถุดิบอันเนื่องมาจากการ
บริหารที่ไมมีประสิทธิภาพ

นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนของรัสเซียและผูรวมตอตานอธิบายวา กลาสนอสตเปนภาษารัสเซียมา
นานกวาศตวรรษ มันอยูในพจนานุกรมและอยูในหนังสือกฎหมาย เปนคําธรรมดาไมไดแยกประเภทไว เปนคํา
ที่จะอางถึงกระบวนการการตัดสินของอํานาจการปกครองในระบบเปด คํานี้จะใชจําเพาะในยุคสมัยใน
ประวัติศาสตรของสหภาพโซเวียตชวงยุคป 1980 ซึ่งเปนยุคที่มีการเซ็นเซอรนอยและขอมูลขาวสารตางๆ มี
อิสระเปนอยางมาก กลาสนอสต ใหอิสรภาพสําหรับประชาชนทั้งขอมูลขาวสาร บทความ วรรณกรรม รวมถึง
สื่อตางๆ และการพูดในที่สาธารณะ ที่สามารถวิพากษวิจารณการทํางานของรัฐบาลได ดังเชนอุดมคติของเล
นินที่กอรบาชอฟใชในการปฏิรูปนโยบายนี้

การผอนปรนการเซ็นเซอรสงผลใหสื่อมวลชนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น โดยสื่อเริ่มที่จะเปดโปงปญหา
เศรษฐกิจ ที่รัฐบาลมักจะปกปดมาตลอด เชน ปญหาของคนจนไรที่อยูอาศัย การขาดแคลนอาหาร ประชากร
ติดสุราเปนจํานวนมาก และอัตราการตายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเสียเปรี ยบในสังคมและความไม่เท่าเทียมกัน
ของสตรี อยางไรก็ตาม การลดความเขมงวดในการเซ็นเซอรและความพยายามที่จะสรางการเมืองที่เปดกวาง
มากขึ้น ไดปลุกความรูสึกชาตินิยมและตอตานรัสเซียในสาธารณรัฐเล็กๆ ที่เปนชนกลุมนอยในสหภาพโซเวียต
ในคริสตทศวรรษ 1980 เสียงที่เรียกรองอิสรภาพจากการปกครองจากมอสโกไดดังขั้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะใน
สาธารณรัฐแถบทะเลบอลติก คือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย ที่รวมกับสหภาพโซเวียตตั้งแตป 1940 โดย
โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) ความรูสึกชาตินิยมนั้นก็ยังไดแพรหลายในสาธารณรัฐอื่นๆ เชน ยูเครน
จอรเจีย และอาเซอรไบจาน ขบวนการชาตินิยมเหลานี้ไดเขมแข็งขึ้นอยางมากเมื่อเศรษฐกิจของโซเวียตตกต่ํา
รัฐบาลที่กรุงมอสโกนั้นกลายเปนแพะรับบาปของภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา แสดงวา กอรบาชอฟนั้นไดปลดปลอย
พลังที่จะทําลายสหภาพโซเวียตไปแลวโดยไมไดตั้งใจ ทําใหเกิดการลมสลายของสหภาพโซเวียตในป ค.ศ.
1991 ในที่สุด[3]

ผลงานกวา 125 ชิ้นจาก 60 ศิลปนในแกลลอรีของนิทรรศการกลาสนอสตซึ่งจัดขึ้นที่ฮอนช ออฟ เวนิ


ซัน (Haunch of Venison) ในกรุงลอนดอน[4] โดยที่แกลลอรีแรกนั้นจะเปนการแนะนําขอมูลที่เปนกุญแจ
สําคัญของสหภาพโซเวียตจากศิลปนรุนเกาในชวงยุคป 1960-1970 ซึ่งศิลปนยุคนี้ยังคงเปนแรงบันดาลใจ
ใหกับศิลปนรุนหลังนับตั้งแตชวงปลายยุค 1960 เปนตนมา เชน อีลียา คาบาคอฟ (Ilya Kabakov), เอริก บูลา
ตอฟ (Erik Bulatov), อเล็ก วาซิลีเยฟ (Oleg Vasiliev), อิวาน ชุยคอฟ (Ivan Chuikov) และวลาดิมีร ยาคิ
เลียฟสกิ (Vladimir Yankilevsky) พวกเขาไดทํางานในสตูดิโอแถวถนนซรีเทนสกิ (Sretensky Boulevard)
และรวมกลุมกันเปนชุมชนในมอสโก

ผานมาจนถึงงานยุคคอนเซปชวล (Conceptual) มอสโก ผลงานจะมุงเนนไปที่โรงเรียนที่สอน


ทางดานแนวความคิดเปนหลัก โรงเรียนที่มุงลบลางแนวความคิดสังคมอุดมคติ โดยการปรับใชกลยุทธของงาน
ศิลปะแนวความคิดใหเหมาะสมกับงาน I sleep in the Orchard (1991/2008) โดยอีลียาและเอมิเลีย โคบา
คอฟ (Ilya and Emilia Kabakov) ผลงานศิลปะจัดวางที่เปนดั่งบทกวีที่สุขุม ไดรับแรงบันดาลใจมาจาก
ธรรมชาติของกลุมผูคนในอพาทเมนตที่โซเวียต จินตนาการของคาบาคอฟนั้น เตียงที่ตั้งอยูทามกลางสวนที่มี
อากาศสดชื่น เปนดั่งความฝนที่ตองการความจริง เปนนัยยะของการปลดปลอยความเปนอิสระ งานนี้เปนสวน
หนึ่งของโปรเจกต Ten Characters ซึ่งสํารวจผูอยูอาศัยในอพารตเมนตของผูคนที่นี่ถึงสภาพความเปนอยูและ
ความตองการตางๆ กับสภาพความเปนจริงของผูคนในชวงนั้นๆ

มาถึงการเยยหยันของศิลปะแบบขี้เมา ซึ่งกลุมผูนําในความคิดนี้ ไดแก เกอมาดและเมลามิด (Komar


& Malamid), เลียนิด โซคอฟ (Leonid Sokov), อเล็กซานเดอร คาซาลาพอฟ (Alexander Kosolapov), บา
ริส อาโลฟ (Boris Orlov) และ ราติสลาฟ เลบีเดียฟ (Rostislav Lebedev) ศิลปนกลุมนี้ทํางานศิลปะที่
ตองการอธิบายความเคลื่อนไหวของสุนทรียะแหงการโฆษณาศิลปะแบบปอปอารท ศิลปะที่ดูเหมือนเปนของ
ศิลปนขี้เมาทําใหมที่เรียกวา “ซอตอารท” (Sots Art) นั้นตอบโจทยของงานใตดิน ซึ่งมีสวนผสมระหวางการ
รวมวัฒนธรรมและความกาวหนาทางศิลปะ และตอตานสิ่งที่เปนอุดมคติของโซเวียตที่พยายามหอหุมความคิด
ที่เปนการโฆษณาชวนเชื่อใหลุมหลงดวยการผลิตและใชกราฟกที่เปนสัญลักษณใหจดจําและคําพูดที่ทําให
คลอยตาม เพื่อใหทั้งหมดนี้เปนพลังของการโฆษณาชวนเชื่อที่รัฐมีตอมวลชน

ภาพถายเหนือความจริงของศิลปนสองคน คือ เซรกี บาริซอฟ (Sergey Borisov) และอันดรีย บีซู


คลาดนิคอฟ (Andrey Bezukladnikov) ซึ่งมักจะทําการทดลองในบริบทของการสํารวจความเปนไปไดของสื่อ
ในงานถายภาพ และมักใชศิลปนที่ไมเปนที่รูจักในงานของพวกเขาโดยถายทอดถึงการมีอิสรภาพของยุคกลา
สนอสต เชน ภาพรวงขาวของบาริซอฟซึ่งถายทั้งในความเกาและใหม เปรียบเปรยถึงการตอตานยุคสมัยของ
สังคมเมืองสมัยใหมในกรุงมอสโก มาถึงศิลปนรุนใหมของกลุมแนวความคิดของมอสโก ซึ่งสวนมากเปนสมาชิก
ของอวัง การดิสต คลับ (Avant Gardist Club) ศิลปนที่เปนแรงขับเคลื่อนของกิจกรรมตางๆ ที่สําคัญ ในยุค
ปลาย 1980 นั้นดูจะแตกตางจากศิลปนกลุมอื่นๆ เชน แสดงงานในอพารตเมนตที่ไมเปนที่รูจักในชวงป 1982-
1984 ซึ่งเปนอพารตเมนตของนิกิตา อเล็กซีฟ (Nikita Alexeev) และคนสวนใหญมักจะรูจักในนามกลุม
“แอปตอารท” (APT ART) อีกทั้งยังเชื้อเชิญผูคนจากแวดวงตางๆ เชน นักดนตรีร็อก คนทําแฟชั่น คนทํา
ภาพยนตร มารวมงานดวย ปรากฏการณนี้ถือไดวาเปนจุดเปลี่ยนของศิลปะโซเวียตที่หลุดจากกรอบ
พันธนาการนับตั้งแตนนั้ มา

การแสดงงานศิลปะในยุคตนป 1980 ไดเพิ่มจํานวนมากขึ้นจนสามารถรวมกลุมอื่นๆ ทั้งหนาเกาและ


หนาใหมมาได เชน กลุมคอลเลกทีฟ แอ็กชัน (Collective Actions), เดอะ เพพเพอรส (The Peppers) และ
กลุม แชมเปยนส ออฟ เดอะ เวิลด (Champions of the world) ศิลปนหนาใหมหลายคนไดพัฒนาผลงานจน
นาทึ่ง ทั้งความฉลาดและเนื้อหาในผลงานซึ่งเปนดั่งสัญลักษณของความเคลื่อนไหว เชน งานของอิกอร มากาเร
วิช (Igor Makarevich) ที่มีชื่อวา USSR-Bastion of peace (1989) ที่รวมเขาทั้งเคียวและคอนในการ
แสดงออกถึงความรูสึกของมวลชนในสหภาพโซเวียตเปนตน

สําหรับกลุมศิลปนใหมที่เรียกวา “กลุมศิลปนแหงเลนินกราด” (Artists of Leningrad) คนพบโดย


ชิมูร นาวิคอฟ (Timur Novikov) ป 1982 กลุมนี้มักใชผาและงานประยุกตศิลปมาใช เพื่อเปนการยอนกลับ
ความสนใจของคนรัสเซียซึ่งมีความสนใจในงานประดิษฐแบบหัตถกรรมเปนทุนเดิม อีกทั้งพวกเขามักแสดงงาน
ในพื้นที่ที่ไมคอยธรรมดา มักจะขามเขตแดนไปแสดงงานแบบไมมีใครสังเกตได เพื่อใหเขาถึงคอนเซ็ปตของ
ความขาดแคลน ความหายากของวัสดุ พวกเขาจึงมักใชผาคลุมเตียงแทนผาใบ การใชสีน้ําผสมยางไมแทนการ
ใชสีอะคลิริกและสีน้ํามัน อีกทั้งติดตั้งผลงานในที่ที่เหมาะสม แปลกใหมเขากับงานที่สรางสรรค เชน งานของ
เซรกี มีโรเนียนกา (Sergey Mironenko) กับงาน Hero’s Corner (1989) งานศิลปะจัดวางที่สื่อถึงการเยย
หยันวีรบุรุษในเตียงโรงพยาบาล เตียงที่วางเปลาบงบอกถึงความลมเหลวของรัฐในการดูแลสาธารณสุขของ
ประชาชน
ในป 1988 หนึ่งปกอนที่กําแพงเบอรลินจะพังทลาย สถาบันซอทเทอบี (Sotheby Institute) ได
จัดการประมูลศิลปะรวมสมัยและสมัยใหมของศิลปนรัสเซียในกรุงมอสโก สิ่งนี้สามารถบงบอกไดวางานศิลปะ
ของโซเวียตในชวงนั้นไดกลายมาเปนสินคาเรียบรอยแลว เปนสัญญาณบงบอกถึงจุดจบของงานใตดินของ
ศิลปนกวาสามสิบปที่ผานมา ศิลปนตอจากนี้ไปยอมจะมีโอกาสที่ดีขึ้นในยุคใหม หรือ โพสตเปเรสตรอยกา
(Post-Perestroika, เปเรสตรอยกา - การวางโครงสรางเศรษฐกิจใหม) ศิลปนจะมีบทบาทหนาที่ที่ชัดเจนขึ้น
ในยุคสมัยภายใตผูนําคนใหม บอริส เยลตซิน (Boris Yeltsin) ซึ่งปกครองรัสเซียจนถึงป 1999 ตอจากมิคาอิล
กอรบาชอฟ ผูนําคนกอน ผูซึ่งเปนจุดเปลี่ยนแปลงทั้งหมดของสหภาพโซเวียตเกา (กอรบาชอฟไดรับรางวัล
โนเบลสาขาสันติภาพประจําป ค.ศ. 1990 และรอดจากการรัฐประหารเมื่อเดือนสิงหาคมป 1991 มาไดใน
ชวงเวลาสั้นๆ แตในที่สุดก็ถูกบังคับใหลาออกหลังจากการยุบพรรคคอมมิวนิสตและการสลายตัว ของสหภาพ
เมื่อเดือนธันวาคมปเดียวกัน)

Milestones in Glasnost and Perestroyka: Politics and People. Brookings Institution Press. 1991. ISBN 0-8157-3623-1.
[1]

[2]
Alexeyeva, Lyumila and Paul Goldberg The Thaw Generation: Coming of Age in the Post-Stalin Era Pennsylvania: University
of PIttsburg Press, 1990
[3]
Shane, Scott (1994). "A Normal Country: The Pop Culture Explosion". Dismantling Utopia: How Information Ended the Soviet Union. Chicago: Ivan R.
Dee. pp. 182 to 211. ISBN 1-56663-048-7.
[4]
http://haunchofvenison.com/exhibitions/past/2010/glasnost/
ภาพประกอบจาก Haunch of Venison

God! Help Me to Survive Amongst This Deathly Love (1991–2000) โดย ดมิทรี วรูเบล (Dmitry
Vrubel)

Untitled (Stalin) 1987 โดย เอ็ดดวร์ ด กาโรคอฟสกิ (Eduard Gorokhovsky)


Molotov Cocktail (1989) โดย อเล็กซานเดอร์ คาซาลาพอฟ (Alexander Kosolapov)

Perestroika (1989) โดย เอริ ก บูลาตอฟ (Erik Bulatov)

USSR – Bastion of Peace (1989) โดย อิกอร์ มากาเรวิช (Igor Makarevich)


I Sleep in the Orchard (2008-2009) โดย อีลยี าและเอมิเลีย โคบาคอฟ (Ilya and Emilia Kabakov)

Corpse could be artful (1989) โดย นิโกไล กาสลอฟ (Nikolai Kozlov)


The Last Supper (1989) โดย อันดรี ย์ ฟิ ลปิ พอฟ (Andrey Filippov)

Area hero(1988) โดย เซรกี เมโรเนียนกา (SERGEY MIRONENKO)

Dialogue (1983) โดย เซรกี บาริซอฟ (Sergey Borisov)


Turner Prize 2009
รางวัลเทอร์เนอร์ ปี 2009
Tate Britain, London.

รางวัลเทอรเนอร (Turner Prize) ซึ่งถือเปนเกียรติยศของศิลปนชาวอังกฤษไดประกาศผลออกมาแลว


ในเดือนธันวาคมที่ผานมาของป 2009 รางวัลนี้เริ่มกอตั้งตั้งแตป 1984 โดยจะคัดเลือกศิลปนชาวอังกฤษอายุ
ต่ํากวา 50 ป ที่มีผลงานโดดเดนในชวงปที่ผานมานับตั้งแตชวงกอน 21 เมษายนปที่แลว ศิลปนตองมีสัญชาติ
อังกฤษที่ทํางานที่นี่ หรือมีงานแสดงในตางประเทศก็ได รางวัลนี้จัดตั้งโดย “เดอะ แพทรอน ออฟ นิว อารท”
(The Patrons of New Art) ซึ่งเปนผูสนับสนุนและพัฒนาศิลปะรวมสมัยของอังกฤษโดยไดคัดเลือกศิลปนที่มี
ผลงานโดดเดนรอบสุดทาย 4 คน คือ เอนริโค เดวิด (Enrico David), โรเจอร ไฮออนส (Roger Hiorns), ลูซี
สแกร (Lucy Skaer) และริชารด ไรท (Richard Wright).

ศิลปนที่ไดรับรางวัลในชวงปกอนหนานั้น ลวนแลวแตเปนศิลปนผูที่ประสบความสําเร็จทั้งสิ้น เชน ป


1984 มัลคอลม มอรเลย (Malcolm Morley), ป 1985 โฮเวิรด ฮอดจคิน (Howard Hodgkin), ป 1986 กิล
เบิรตและจอรจ (Gilbert & George), ป 1987 ริชารด ดีคอน (Richard Deacon), ป 1988 โทนี แครกก
(Tony Cragg), ป 1989
ริชารด ลอง (Richard Long), ป 1990 ระงับการออกรางวัล, ป 1991 อนิช คาพัวร (Anish Kapoor), ป
1992 เกรนวิลล เดวีย (Grenville Davey), ป 1993 ราเชล ไวทรีด (Rachel Whiteread), ป 1994 แอนโทนี
กอรมลีย (Antony Gormley), ป 1995 เดเมียน เฮิรสท (Damien Hirst), ป 1996 ดักลาส กอรดอน
(Douglas Gordon), ป 1997 กิลเลียน แวริง (Gillian Wearing), ป 1998 คริส โอฟลิ (Chris Ofili), ป 1999
สตีฟ แมคควีน (Steve McQueen) ป 2000 วูลฟกัง ทิลลแมนส (Wolfgang Tillmans), ป 2001 มารติน
ครีด (Martin Creed), ป 2002 คีท ไทสัน (Keith Tyson), ป 2003 เกรสัน เพอรรี (Grayson Perry), ป
2004 เจเรมี เดลเลอร (Jeremy Delle), ป 2005 ไซมอน สตารลิง (Simon Starling), ป 2006 ทอมมา
แอบส (Tomma Abts), ป 2007 มารก วอลลิงเจอร (Mark Wallinger), ป 2008 มารก เลกคีย (Mark
Leckey) [1]

โดยศิลปนที่ไดรับคัดเลือกในปนี้คือริชารด ไรท ซึ่งจะไดรับเงินรางวัลทั้งสิ้น 25,000 ปอนด และคนที่


เหลือจะไดรับรางวัลคนละ 5,000 ปอนด
ริชารด ไรท เกิดที่ลอนดอน ป 1960 ในวัยปจจุบัน 49 ป ซึ่งปนี้เขาก็จะหมดโอกาสที่จะไดเสนอชื่อ
เขาชิงรางวัลพอดี จากนั้นไดยายไปอยูที่สกอตแลนดนับตั้งแตยังเด็ก โดยศึกษาศิลปะที่วิทยาลัยศิลปะ
เอดินบะระ (Edinburgh College of Art) และโรงเรียนศิลปะกลาสโกว (Glasgow School of Art) โดยที่เขา
กลาววา “ตนรูสึกประหลาดใจกับผูคนที่เขามาเพื่อที่จะชมผลงานของเขาที่ไดรับรางวัลนี้ บางทีการคาดหวังตอ
งานศิลปะก็เปนสิ่งที่นากลัว ศิลปนก็เหมือนคนอาชีพอื่นๆ ที่ตองการรางวัลและเงิน เพราะตัวเขาเองก็ยังมี
ภาระคาใชจายในชีวิตประจําวันดวยเชนกัน”[2] นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเทคนิคที่ใชในงานก็ยังเปนแบบดั้งเดิม
คือ การใชสีเฟรสโกแบบเรอเนสซองซ (Renaissance fresco) โดยเขาไดรางแบบบนกระดาษ แลวเจาะรูตาม
แบบที่รางไว แลวใชกาวน้ําทาลอกลายบนกระดาษ จากนั้นจึงเปนการปดทองทับอีกที ซึ่งเขาเรียกวิธีการนี้วา
the ghost of the work ซึ่งงานของเขาแสดงจนถึงวันที่ 3 มกราคม 2010 จากนั้นก็จะหายไปตลอดกาล

การตั้งอยูอยางชั่วคราวของธรรมชาตินั่นคือความตั้งใจที่เกิดขึ้น ไมมีงานชิ้นไหนของเขาที่จะปรากฏอยู
อยางถาวร ไรทสนใจในเรื่องของความเปราะบางในชั่วขณะหนึ่งของการผูกมัด นั่นก็เหมือนการมีชีวิตอยูหรือ
การดํารงชีวิตนั่นเอง และเมื่อถามถึงความรูสึกของเขาหลังจากงานที่เขาทํานั้นจะถูกรื้อถอนทําลายลงวารูสึก
อยางไร เขากลาววา “บางครั้งก็รูสึกสูญเสีย แตอีกขณะหนึ่งมันก็เหมือนเปนการบําบัดอยางหนึ่งเชนกัน”[3]

ในชวงเริ่มแรกของการทํางานไรทวาดภาพลงบนผาใบเฉกเชนศิลปนคนอื่นๆ แตหลังจากที่เขาได
เปลี่ยนแนวทางการทํางานมาทําลงบนผนังทั้งหมด เขาก็ไดทําลายภาพที่วาดบนผาใบทั้งหมด “ภาพวาดคือ
ขยะ” ไรทกลาวเชนนั้น เขารูสึกวาหลายสิ่งนั้นเปนแรงบันดาลใจใหกับความคิดของเขาซึ่งเชื่อมตอกับเวลา เขา
ตองการที่จะทํางานของเขาใหกลายเปนแคสวนหนึ่งของโลกใบนี้เทานั้น เหมือนเปนการปลอยใจใหเปนอิสระ
เพราะวางานของเขานั้นไมสามารถนําติดตัวไปไหนมาไหนกับเขาไดนั่นเอง โดยปกติแลวงานของเขาไมสามารถ
ซื้อหรือขายได ซึ่งมันเปนเรื่องไมปกติในตลาดของงานศิลปะทั่วไป ซึ่งตองการใหมีการคาขายผลงานของศิลปน
สําหรับงานที่ไดจัดแสดงที่พิพิธภัณฑเทต บริเทน (Tate Britain) กับรางวัลเทอรเนอรนี้ ไดรับแรงบันดาลใจมา
จากความทรงจําตอนทองเที่ยวจากสกอตแลนดมายังลอนดอนและไดเขาเยี่ยมชมแกลลอรีเทต (Tate gallery)
หนึ่งคืนในลอนดอน หนึ่งวันในแกลลอรี และอีกหนึ่งคืนคือการเดินทางกลับ เขาเปรียบงานวาเหมือน
แสงอาทิตยที่ปรากฏผานมานหมอกดวยเทคนิคสีเฟรสโกทองคํา (Golden fresco) เปนงานนามธรรมซึ่งบาง
คนก็บอกวามันคือภูมิทัศนศิลปะ ซึ่งสามารถมองเห็นไดแคที่แกลลอรีนี้เทานั้น

สําหรับงานของศิลปนที่เขารอบมีดังนี้เอนริโก เดวิด (Enrico David) กับผลงาน Absuction


Cardigan (2009) งานศิลปะจัดวางแบบใหม ซึ่งประกอบไปดวยภาพวาด “คอลลาจ” (Collages) และงาน
ประติมากรรม และยังมี “เปเปอรมารเช” (papier-mâché) รูปไขอีกสองอันจากนิทรรศการ How Do You
Love Dzzzzt By Mammy? ที่พิพิธภัณฑศิลปะรวมสมัย (Museum für Gegenwartskunst) ณ เมืองบาเซิล
ประเทศสวิตเซอรแลนด เขาตองการที่จะปรับใชสไตลและรูปแบบดวยการอธิบายแบบใหมที่เปนเอกลักษณ
เฉพาะของเขา โดยไดความคิดมาจากนิตยสาร โฆษณา และงานออกแบบในยุคโมเดิรนตอนตน โดยเสนอถึง
ความไมมั่นคงและความเหินหางของการอยูรวมกันของมนุษย โรเจอร ไฮออนส กับงาน Untitled (2008) ฝุน
ของเศษโลหะจากซากเครื่องบินเจ็ท ซึ่งเปนสวนหนึ่งของนิทรรศการที่คอรว-ี โมรา (Corvi-Mora) ณ กรุง
ลอนดอน และยังมีผลงานประติมากรรมจากสมองวัว พลาสติก และเหล็ก เขาไดนําเสนองานแนวใหมซึ่งไม
สามารถกําหนดกะเกณฑไดจนเกิดคําถามใหมเกี่ยวกับการตีความของสิ่งรอบๆ ตัวในโลกนี้ ลูซี สแกร กับงาน
Thames and Hudson (2009) ประกอบไปดวยงานปจจุบัน Leviathan Edge (2009) ซึ่งเปนหัวกะโหลก
ของปลาวาฬซอนอยูใตฉาก และงานประติมากรรมจํานวน 26 ชิ้นที่ทําจากฝุนของถานหิน เปนการถายทอด
สถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง และยังเปนการทําความเขาใจกับสิ่งที่เรากําลังเพงมองถึง วาตรงกับการตั้งใจ
จริงๆ ในการมองนัน้ หรือไม

ทั้งหมดนี้คือความเคลื่อนไหวของงานศิลปะจากฝงอังกฤษ ซึ่งมีสวนผสมของกลิ่นอายทางวัฒนธรรม
ความคิด ยุคสมัย และการตีความในรูปแบบใหมจากงานศิลปะในรูปแบบเดิม ที่คงเหลือทิ้งไวแคเทคนิควิธีการ
เทานั้น ศิลปะของปนี้จะเปนอยางไรติดตามผลของผูเขาเสนอชิงของปนี้ 2010 ซึ่งไดแก เด็กซเตอร ดัลวูด
(Dexter Dalwood), อังเคลา เด ลา กรุซ (Angela de la Cruz), ซูซาน ฟลิช (Susan Philipsz) และ ดิ โอโท
ลิท กรุป (The Otolith Group) ซึ่งจะมีการประกาศผลรางวัลชวงปลายปครับ

[1]
http://www.tate.org.uk/download/file/fid/21749
[2] [3]
http://www.guardian.co.uk/artanddesign/2009/dec/07/turner-prize-winner-richard-wright
ภาพประกอบจาก Tate Britain.

No Title (2009) โดย ริ ชาร์ ด ไรท์


Absuction Cardigan (2009) โดย เอนริ โก เดวิด

Thames and Hudson (2009) โดย ลูซี สแกร์

Untitled (2008) โดย โรเจอร์ ไฮออนส์


Turner Prize 2010
รางวัลเทอร์เนอร์ ปี 2010
Tate Britain, London.

ในชวงเย็นวันจันทรที่ 6 ธันวาคม นักศึกษาและผูสอนจากหลายสถาบันการศึกษาศิลปะในลอนดอน


กําลังประทวงการตัดงบประมาณสําหรับการศึกษาจากรัฐบาล การประทวงที่ยืดเยื้อผานมานานนับเดือนยังไม
มีทีทาวาจะมีคําตอบหรือการเจรจาตกลงประณีประนอมกันอยางไร ในเวลาเดียวกันมีผูคนอีกกลุมหนึ่งกําลัง
จิบไวน แชมเปญ พูดคุยกันอยางออกรส ณ สถานที่ทางศิลปะอันทันสมัยในลอนดอนอยางพิพิธภัณฑเทต บริ
เทน (Tate Britain) ซึ่งเปนแกลลอรีรวมสมัยเครือเดียวกับเทต โมเดิรน (Tate Modern) คนทั้งสองกลุมตาง
อยูในงานประกาศผลรางวัลเทอรเนอรประจําป 2010 (Turner Prize 2010)
รางวัลเทอรเนอรซึ่งถือเปนเกียรติยศของศิลปนชาวอังกฤษไดประกาศผลออกมาแลวในเดือนธันวาคม
2010 รางวัลนี้เริ่มกอตั้งเมื่อป 1984 โดยจะคัดเลือกศิลปนชาวอังกฤษอายุต่ํากวา 50 ป ที่มีผลงานโดดเดน
ในชวงปที่ผานมานับตั้งแตชวงกอน 21 เมษายนปที่แลว ศิลปนตองมีสัญชาติอังกฤษทํางานที่นี่ หรือมีงานแสดง
ในตางประเทศก็ได รางวัลนี้จัดตั้งโดยเดอะ แพทรอน ออฟ นิว อารท (The Patrons of New Art) ซึ่งเปน
ผูสนับสนุนและพัฒนาศิลปะรวมสมัยของอังกฤษ โดยไดคัดเลือกศิลปนที่มีผลงานโดดเดนเขารอบสุดทาย 4 คน
คือ เด็กซเตอร ดัลวูด (Dexter Dalwood), อังเคลา เด ลา กรุซ (Angela de la Cruz), ซูซาน ฟลิช (Susan
Philipsz) และ ดิ โอโทลิท กรุป (The Otolith Group) โดยศิลปนที่ไดรับรางวัลในชวงปกอนหนานั้นลวน
แลวแตเปนศิลปนผูที่ประสบความสําเร็จ
และแลวเวลาประกาศผลก็มาถึง นิโคลัส เซโรตา (Nicholas Serota) ผูอํานวยการของเทตไดกลาว
ความเห็นอกเห็นใจกับเหลานักศึกษาที่มาประทวง และกลาวถึงศิลปนที่ควรไดรับรางวัลอันทรงเกียรติที่มีเงิน
รางวัลถึง 25,000 ปอนด ไดแก ศิลปนสาวชาวกลาสโกว ซูซาน ฟลิช งานของเธอเปนเสียงรองที่นมุ กังวานใน
แบบฉบับของนักรองแบบชาวสกอตดั้งเดิม เพลงที่รองเหนือแมน้ําไคลด (Clyde) เหมือนเปนประสบการณที่
เหนือจริง เหมือนอยูในความฝน ความสุข ดั่งการสวดมนตที่นําพางานของเธอมาสูผูชมในแกลลอรี
ทามกลางการประทวงซึ่งยังคงดําเนินตอไป ซึง่ เธออาจจะรูสึกเหมือนกับถูกปลนรางวัลอยู แตการรับ
รางวัลของเธอนั้นก็ผานพนอุปสรรคไปได โดยการพูดแสดงความเห็นใจเกี่ยวกับการศึกษาวา “เปนสิ่งที่
เหมาะสมสําหรับทุกคน ไมใชเฉพาะผูที่มีอภิสิทธเทานั้นที่สมควรจะไดรับมัน”[1] แทจริงแลว กอนที่เธอจะเขา
เรียนเมื่ออายุได 23 นั้น เธอเปนนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมืองในบานเกิดที่กลาสโกว ซึ่งความตองการ
เปนศิลปนยังคงอยูในใจเสมอมา แตในชวงนั้นอีกบทบาทนอกเหนือจากศิลปะก็นําพาเธอมาสูวิถีของการเมือง
ในชวงกลางของยุคป 80 ในปจจุบันเธอมีอายุ 45 ป และยังคงมีสวนรวมกับกิจกรรมทางสังคมอยางตอเนื่อง
เธอเชื่อวาสังคมแบบอุดมคติจะสามารถดํารงอยูในโลกปจจุบัน แลวสิ่งใดจะเกิดขึ้นกับงานของเธอ ตองเขาใจ
กอนวา งานของเธอไมใชเรื่องของการเมืองทั้งหมด แตซูซานก็ไดใชเพลงของกลุมนักปฏิวัติในงานของเธอ และ
รองเพลงนัน้ ดวยเสียงที่หวานไพเราะ
“ลุกขึ้นเถิดแรงงานจากการหลับใหล
ลุกขึ้นเถิด เหลาเชลยของความตองการ
ผลของการปฏิวัติ จะเปนดั่งพายุที่โหมกระหน่ํา”

ในตอนทาย คนที่ทําใหซูซานไดเรียนโรงเรียนศิลปะก็คือพี่สาวของเธอ บารบารา หนึ่งในพี่นองหาคน


บารบาราเคยเรียนอยูที่ศูนยศิลปะเบลลารไมน (Bellarmine Arts Center) ที่กลาสโกว และตอมาซูซานก็
ตามมาเรียนที่เดียวกัน จากนั้นพี่สาวของเธอไดยายไปเรียนที่วิทยาลัยศิลปะดันแคนแหงจอรแดนสโตน
(Duncan of Jordanstone College of Art) ซึ่งเปนสวนหนึง่ ของมหาวิทยาลัยดันดี (The University of
Dundee) ซึ่งในชวงนัน้ เธอกําลังประทวงเรือ่ งการตัดงบการใหทุนเชนเดียวกัน เธอหวนรําลึกถึงความหลังที่
ตองนอนในหองสมุดทั้งคืนเพื่อทําการประทวง หลังจากนั้นเธอไดเขาศึกษาตอที่กรุงเบลฟาสต ในไอรแลนด
เหนือ เธอเปนคนจากกลาสโกวเชนเดียวกับผูที่เขาชิงรางวัลเทอรเนอรในปกอนๆ เชน ริชารด ไรท ในป 2009,
ไซมอน สตารลิง ในป 2005, และดักลาส กอรดอน ในป 1996 ซึ่งทําใหมีภูมิหลังที่แตกตางจากศิลปนคนอื่นๆ
ที่จบการศึกษาในเมือง[2]

งานในป 1999 ซูซานไดอัดเสียงขณะรองเพลงประจําชาติ และไดจัดแสดงเปนศิลปะแบบจัดวางใน


เมืองลูบลิยานา (Ljubljana) ซึ่งเปนเหมือนทางเดินผานที่สโลเวเนีย เมื่อตอนนั้นฉันเห็นกลุมคนที่รองเพลงนี้
มันทําใหฉันเกือบหลั่งน้ําตา และเมื่อตอนที่ฉันไดรองเดี่ยว มันมีนัยยะของความเคลือบแคลง ไมชัดแจง ในเสียง
โหยหวนซึ่งเปนการแสดงออกในเสียงของเธอ หรือมันจะสื่อถึงความโศกเศราในอดีตเมื่อครั้งที่เธอระลึกถึงหญิง
ชราซึ่งกําลังรองไหอยูตรงหนาของเธอและกําลังรองเพลงที่เธอก็ไมแนใจวาเปนเพลงของคนสโลเวเนียหรือ
รัสเซีย

งาน Lowlands Away ถูกจัดวางที่ใตสะพานของแมน้ําไคลดในกลาสโกว ซึ่งจัดขึ้นเพื่องานเทศกาล


ศิลปะนานาชาติ (Art Festival International) เพียงสองสัปดาห และเปนที่โชครายที่ในขณะนั้นมีเถาจาก
ภูเขาไฟในไอซแลนดระเบิด ทําใหคนจํานวนมากไมมีโอกาสมางานนี้ งานซึ่งเปนผลใหเธอไดรับรางวัลเทอร
เนอร

ในชวงที่ซูซานทํางานประติมากรรมที่เบลฟาสต ขณะนั้นเหมือนกับมีแรงดึงดูดอะไรบางอยางให
ทํางานเชนนั้น แตหลังจากที่เริ่มมาทํางานเกี่ยวกับเสียง เธอก็ไดคนพบอะไรบางอยางที่เปลี่ยนไป ซึ่งเธอชอบที่
จะรองเพลง เธอเริ่มดึงกายภาพทางการเปลงเสียงซึ่งตองคํานึงถึงที่วาง ทั้งที่จริงๆ แลวเสียงของเธอไมไดฝกฝน
สําหรับการรองเพลงที่ตองใชพลังที่ตองนํามาแสดงในงาน แตมันก็ทําใหมีขอดีคือ น้ําเสียงที่ดูเปราะบาง คง
ความเปนธรรมชาติ และสามารถเปลี่ยนทิศทางไปสูผูฟงไดงาย ตลอดจนความลึกซึ้งของอารมณและความมี
น้ําหนักในเสียงของเธอ ทําใหเกิดความมีชีวิตชีวา สามารถมองเห็นภาพจากเสียงของเธอได
ชวง 9 ปที่ผานมาจนปจจุบัน เธออาศัยอยูที่เบอรลินกับคูชีวิตของเธอโออัน แมคทีก (Eoghan
Mctigue) เบอรลินเปนเมืองที่มีศิลปนชาวอังกฤษอาศัยอยูมากที่สุด และในตอนนี้เธอยังไมมีแผนที่จะกลับไป
ยังที่นั่น ซึ่งบางครั้งเธอคิดถึงสามีของเธอถึงสิ่งที่เขามักจะหัวเราะ เชน การไมสามารถเปลี่ยนหลอดไฟดวย
ตัวเองได “บางครั้งฉันก็พลาดทําอะไรดวยตัวเองไปเชนกัน” เธอกลาวเชนนั้น

สวนผูที่ถูกเสนอชื่อเขาชิงอีก 3 คน ไดแก เด็กซเตอร ดัลวูด ซึ่งทํางานดานจิตรกรรมที่เกี่ยวกับ


ทัศนศิลปยุคใหมจากคัมภีรไบเบิลที่รูจักกันในประวัติศาสตรปจจุบัน ภาพวาดซึ่งไดรับแรงบันดาลใจมาจาก
วรรณคดี เชน งาน Burroughs in Tangiers (2005) และ Herman Melville (2005) ซึ่งจัดแสดงกับงานชิ้น
ใหม White Flag (2010) งานที่ไดรับอิทธิพลจากภาพคอลลาจ เปนการนํารูปที่หาไดทั่วไปมาซอนทับกันจน
เกิดเปนงานที่มีลักษณะเฉพาะและบงบอกความเปนสังคมคนตะวันตกในยุคศตวรรษที่ 20, อังเคลา เด ลา กรุซ
ศิลปนหญิงที่เลนเกี่ยวกับเรื่องทางกายภาพกับความออนแอของมนุษย จากผลงาน Deflated IX (2010) และ
Super Clutter XXL (Pink and Brown) (2006) เธอเริ่มทํางานดวยเทคนิคภาพวาดโมโนโครม
(Monochrome) แบบดั้งเดิม กอนที่จะมาเปลี่ยนเปนงานที่บิดเบี้ยวอันสงผลมาจากความรุนแรงที่ผิดปกติ งาน
Untitled (Hold no.1) (2005) เปนตัวอยางที่เธอทํางานรวมกับวัตถุและเฟอรนิเจอร และไดใชทั้งงาน
จิตรกรรมและประติมากรรมผนวกเขากับทั้งสองสื่อ, ดิ โอโทลิท กรุป กับผลงาน Otolith III (2009) ไดรับแรง
บันดาลใจจากบทภาพยนตรเรื่อง The Alien (1967) ของสัตยจิต เรย (Satyajit Ray) ที่ไมไดถูกนํามาสราง ซึ่ง
ไดจัดแสดงที่ “Showroom in London” กับวีดีโอจัดวาง และงาน Inner Time of Television (2007-
2010) ที่ไดรวมงานกับผูผลิตชาวฝรั่งเศส คริส มารกเกอร (Chris Marker) ดิ โอโทลิท กรุป ประกอบไปดวย
ศิลปนโคดโว เอชชุน (Kodwo Eshun) และอันชลิกา ซาการ (Anjalika Sagar) ซึ่งทํางานรวมกันแบบขาม
สาขาทั้งภาพยนตรและประวัติศาสตร จนเกิดเปนงานรวมสมัยแบบใหมขึ้นมา

[1]
http://www.guardian.co.uk/education/2010/dec/06/student-protests-turner-prize
[2]
http://www.guggenheim.org/new-york/collections/collection-online/show-full/bio/?artist_name=Susan%20Philipsz&page=1&f=Name&cr=1
ภาพประกอบจาก Tate Britain.

Lowlands Away โดย ซูซาน ฟิ ลิช

Lowlands โดย ซูซาน ฟิ ลิช


Burroughs in Tangiers (2005) โดย เด็กซเตอร์ ดัลวูด

Deflated (yellow) (2010) โดย อังเคลา เด ลา กรุซ


Otolith III (2009) โดย ดิ โอโทลิท กรุ๊ป

ภาพยนตร์ A Long Time Between Suns โดย ดิ โอโทลิท กรุ๊ป


Pop Life: Art in a Material World
ศิลปะหลักสูตรแอนดี วอร์ฮอล
Tate Modern, London.

“Pop Life: Art in a Material World” งานนีต้ องบอกกอนวา จัดเพื่อเอาใจคนชื่นชอบแอนดี วอร


ฮอล (Andy Warhol) โดยเฉพาะ จนมีคนกลาววา เขาคือ “Saint” หรือนักบุญของวงการศิลปะเลยทีเดียว ที่
ทําใหงานของเขามีอิทธิพลกับศิลปนจากอดีตมาจนถึงปจจุบัน โดยพิพิธภัณฑเทต โมเดิรน กรุงลอนดอน ไดนํา
งานยุคหลังของเขาในชวงทศวรรษ 1980 มาใหชม ตามมาดวยศิลปนซึ่งไดอิทธิพลหรือมีแนวโนมทางเดียวกับ
เขา ไมวาจะเปน เทรซีย เอมิน (Tracey Emin), คีท แฮริง (Keith Haring), เดเมียน เฮิรสท (Damien Hirst),
มารติน คิปเพนแบรเกอร (Martin Kippenberger), เจฟฟ คูนส (Jeff Koons), ทาคาชิ มูราคามิ (Takashi
Murakami) และริชารด พรินซ (Richard Prince) สิ่งหนึ่งที่ศิลปนพวกนี้มีเหมือนกันนัน่ คือ “ทําศิลปะให
กลายเปนสินคา ไมใชเพียงแคทําขึ้นมา แตตองใหมันขายไดดวย” [1]

ในยุคทศวรรษ 1970 และ 1980 แอนดี วอรฮอล ดูจะเปนศิลปนอาวองต-การด (Avant-Garde) ดวย


การอุทิศตัวใหกับงานปารตี้ ไลลาเหลาเซเลบ (celebrity) มาเพนตและพิมพหนาตัวเองขายซึ่งสรางความ
ร่ํารวยมหาศาลใหกับเขา และตอมายังสงเผื่อแผมายังอาชีพลอกงานของเขาขายในภายหลังอีกดวย แตเปนที่รู
กันดีวาคนที่เพนตเหลานั้นก็คือผูชวยของเขา หาใชตัวเขาไม เขาเพียงแคมาเจิมลายเซ็นตอนทายใหสวยงาม
เหมาะแกการครอบครองเทานั้น แลวแคบอกวารูปพวกนี้มีเพียงจํากัด รีบจับจองซะ เพียงเทานั้นก็จบขั้นตอน
การทําศิลปะแบบวอรฮอล อยางไรก็ตาม ก็ตองชื่นชมในความเปนนักประดิษฐคิดคนสิ่งใหมๆ ใหกับวงการ
ศิลปะ จนเหลานิตยสารหลายหัวตองการตัวเขามาสัมภาษณ นั่นก็ยิ่งสงผลใหชื่อเสียงของเขาโดงดังไปไกล โดย
มีผูชักใยอยูเบื้องหลังคือผูจัดการของเขา พอล มอริสซีย (Paul Morrissey) นั่นเอง

ไมมีใครรูดีในกลยุทธของเขามากกวาตัวเขาอีกแลว จากกลองบริลโล (Brillo) และกระปองซุปแคมป


เบลล (Campbell) นั่นคือสินคาที่ตองมีแบรนดซึ่งแอนดี วอรฮอล เองก็ตระหนักดีวาภาพลักษณของศิลปนก็
ตองเปนเชนนั้น ซึง่ หมายความวาตองซื้อขายไดเหมือนสินคาเชนกัน ซึ่งคนสวนใหญจะจําภาพลักษณของเขาได
จากการใสแวนตากันแดด หนาที่ซีดเผือด สวมวิกสีเงินโดยเขาเหมือนเลนเปนตัวเอกในหนังสักเรื่อง และ
ตระเวนโปรโมตตัวเองดวยการไปบรรยายตามที่ตางๆ รอบอเมริกา ขณะเดียวกันก็เซ็นสัญญากับบริษัทโมเดล
ลิ่ง เพื่อถายโฆษณาใหกับสินคาตัวหนึ่งที่เขาตองใสเสื้อขนมิงคออกทางทีวี ตลอดจนการไดเปนดารารับเชิญใน
ละครตลก เดอะ เลิฟ โบต (The Love Boat) และทายสุดก็มีรายการทอลกโชวของตัวเองที่ชื่อวา วอร์ ฮอล ทีวี
(Warhol TV) ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ทําใหตัวเขากลายเปนเซเลบขึ้นมาทันที เหมือนกับ มาริลิน มอนโร, เอลิซาเบท
เทยเลอร และเอลวิส เพรสลีย นั่นเอง
ในป 1986 ศิลปนรุนใหมของนิวยอรก คีธ แฮริง ไดเปดราน “ปอป ชอป” (Pop Shop) บนถนน
ลาฟาเย็ตต (Lafayette Street) เพื่อขายผลิตภัณฑที่เขาทําขึ้น เชน เสื้อยืด หมวกเบสบอล และโปสเตอร ซึ่ง
ทั้งหมดจะพิมพภาพที่เขาวาด เชน รูปสุนัขเหา คนเตนทาตางๆ โดยใชเทคนิคเดียวกับวอรฮอลนั่นคือซิลก
สกรีน (Silkscreen) ซึ่งเปนเทคนิคที่วอรฮอลยืมมาจากโลกของธุรกิจเพื่อใชกับงานศิลปะ และมันก็ประสบ
ความสําเร็จตามหลักสูตรของเขาดวยเชนกัน ที่จะเปลี่ยนภาพของงานศิลปะและเทคนิคจากรานขายของและ
แฟชั่นใหกลายเปนศิลปะ และทั้งรานขายของและแฟชั่นก็ทําใหศิลปะถูกขายเฉกเชนหนาที่ของสินคาเชนกัน
นั่นคือเหตุผลที่ทําใหศิลปนคาขายเปน เชนเดียวกับทาคาชิ มูราคามิ เจาพ่อ Pop Art ของญี่ปุน ที่นาํ สินคาของ
เขาที่ออกแบบใหกับแบรนดหรูอยางหลุยส วิตตอง (Louis Vuitton) มาตั้งขายกลางงานแสดงของเขาที่
พิพิธภัณฑบรูคลิน (Brooklyn Museum) อีกทั้งการที่เขาลงทุนแสดงในมิวสิควีดีโอรวมทั้งเอาดาราฮอลลีวูดมา
เลนเปนสาวญี่ปุนกําลังสนุกสนานแตงตัวเหมือนเปนตัวการตูนดังไปรอบๆ โตเกียว นั่นยิง่ เปนการเสริม
ภาพลักษณของวัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ที่ขยายตัวเขามาเอเชียไดอยางชัดเจน

ศิลปนรุนใหมเรียนรูยุทธศาสตรที่วอรฮอลใชในการนํามาซึ่งชื่อเสียงและความมั่งคั่ง เชน เจฟฟ คูนส


เขาไดอาศัยจังหวะสั้นๆ ที่จะมีชื่อเสียง ดวยการซื้อโฆษณาในนิตยสาร กลอซซีย์ อาร์ ท (Glossy Art) ในป
1988 เพื่อที่จะลงโฆษณาภาพถายธรรมดาๆ ของเขาแตไมธรรมดาในแงการโปรโมตและอีกเชนเดียวกันกับ
โฆษณาเหลาวอดกายี่หอหนึ่ง เทรซีย เอมิน ตองเพงไปที่ผูชมทางโทรทัศนเปนเวลาหนึ่งนาที และเธอยังตองทํา
ตัวเสมือนเพิ่งเมามายดาทอแขกในรายการโทรทัศนดวยทาทีผยอง ก็ไมรูวาเปนการดีหรือไม แตทายที่สุด เธอก็
กลายเปนเซเลบสมใจมาอีกหนึ่งคน

มาพูดถึงเจฟฟ คูนส ตอ ซึ่งตัวเขาเองนั้นรูหนาที่อยางหนึ่งของงานศิลปะนั่นคือ “ตองทําใหคนดูสนใจงานที่อยู


เบื้องหนาใหได” จึงกลายเปนที่มาของ Made in Heaven series ซึ่งเปนงานชุดที่สุดอื้อฉาวของเขาและ อิโล
นา สตอลเลอร (Ilona Staller) ภรรยาผูเปนดาราหนังโปและใชชื่อในการแสดงวาชิโชลีนา (Cicciolina) มา
กอน ตัวเขาและเธอกําลังโชวลีลาการมีเซ็กซซึ่งนํามาโชวเปนงานศิลปะทั้งภาพ ปายโฆษณา และเปนแมกระทั่ง
ประติมากรรมหลากหลายวัสดุ เขาฉลาดที่จะบอกวา งานของเขานั้นลามกอนาจาร แตกลับบอกวา “นี่คือ
ศิลปะชั้นสูงของคูรักที่กําลังเสพสมกันในวันแตงงาน” และเขาก็ทําใหการกลาวหางานของเขาถูกบิดเบือนดวย
ภาพที่นาตื่นตาตรงหนาเปนผลสําเร็จ

แตก็ใชวาทุกคนจะทําไดอยางวอรฮอลทั้งหมด ในการรับผิดชอบชั่วดีของการเปนศิลปน เมื่อศิลปน


อังกฤษ โคซีย แฟนนี ตุตติ (Cosey Fanni Tutti) และศิลปนอเมริกา แอนเดีรย เฟรเซอร (Andrea Fraser)
พรอมที่จะมีเซ็กซเพื่อเงินจํานวนสองหมื่นเหรียญกับนักสะสมงานศิลปะ (collector) และโชวภาพและวีดีโอ
ขณะที่ทั่งคูมีความสัมพันธกันเหมือนเปนงานศิลปะ โดยทั้งคูคิดวาเซ็กซและศิลปะก็เหมือนกันคือเปนสินคาที่มี
ไวซื้อขายเพียงแตตางกันที่ เธอทั้งคูยอมขายศักดิ์ศรีเพื่อคาบริการที่ตองจายเงินเทานั้น
ในนิทรรศการนี้ยังอื้อฉาวสมคําวาปอปเขาไปอีก เมื่อตํารวจไดสั่งปดนิทรรศการนี้ชั่วคราว เพื่อใหนํา
งานของริชารด พรินซ ที่มีชื่อวา Spiritual America (1983) ซึ่งเปนงานที่แกรรี กรอสส (Garry Gross)
ถายภาพเปลือยของบรูก ชิลส (Brook Shields) ดาราดังซึ่งเธอเคยถายภาพใหกับนิตยสาร เพลย์บอย
(Playboy) สมัยเนิ่นนานมาแลว ริชารด พรินซ ไดนํารูปนั้นมาใสกรอบอยางงดงาม ในหองที่แบงเปนสีแดง ไฟ
นุมนวล เหมือนเปนภาพที่ดูฝนหวานของคนชาติอเมริกาในชวงนั้น

“ธุรกิจที่ดีที่สุดก็คือศิลปะ”[2] เปนคํากลาวของวอรฮอล โดยที่เดเมียน เฮิรสท สามารถเรียนรูและซึม


ซับไดอยางรวดเร็ว ในยุคกลางทศวรรษ 1990 เขาไดปฏิเสธที่จะไปแสดงงานของเขาที่ “เบียนนาเล ดี เวเน
เซีย” (Biennale di Venezia) ซึ่งเปนเทศกาลศิลปะนานาชาติที่ดีแหงหนึ่ง เพราะเขามัวแตยุงอยูกับการหา
เงินจากผลงานชุดใหมของเขา “restaurant และ Pharmacy” ซึ่งมันทําเงินใหเขาอยางมหาศาลจากการ
ประมูลขายมากกวาที่จะไปโชวแคงานเทศกาลศิลปะ โดยในนิทรรศการนี้ เขาไดนําเอางานซึ่งเพิง่ จะขายไดจาก
การประมูลผานซอทเทอบีเมื่อปที่แลวไป 120 ลานปอนด (เอาหาสิบบาทคูณครับ) เชนเดียวกับงานหัวกะโหลก
ฝงเพชร 8,601 เม็ด ก็ทําใหเขาไดรับเงินไปอีกกวา 50 ลานปอนด นี่ยิ่งเปนเรื่องเหลือเชื่อของงานศิลปะเขาไป
อีก แตไมนาแปลกใจในทฤษฎีของวอรฮอลซึ่งเขาไดเปนคนวางหลักสูตรการคาขายนี้ไวตั้งแตเริ่ม

“เพื่อที่จะขายงานศิลปะได ก็จําเปนที่จะตองขายตัวเองดวย ในทุกวิถีทางที่จะพึงกระทําได” นั่นคือสิ่ง


ที่ศิลปนรุนใหมพึงทําตาม หรืออีกความหมาย นั่นคือการขายศักดิ์ศรีของตัวเอง เชน งานที่บอกวาขายเซ็กซ
แลวเรียกวาศิลปะ แตทั้งหมดนั้นก็ทําใหศิลปะดูเปนกลุมกอนของยุคสมัยเฉกเชนในปจจุบัน “ชีวิตตามอยาง
สมัยนิยม” (Pop Life) นั้นแสนจะสนุก บันเทิง เจาเลห และสวยงาม นี่ก็คือนิยามของศิลปะในความเปนสมัย
นิยม ที่สําคัญคือมันเปลี่ยนชะตาชีวิตของศิลปนธรรมดาๆ คนหนึ่งใหกลายเปนเศรษฐีในชั่วพริบตา มากกวา
การรอทํางานศิลปะจนเกิดแลวตายไปหลายชาติก็ไมเทากับขายหัวกะโหลกแคอันเดียวจนรวย ซึ่งถาจะมีใคร
เอาเนื้อเรื่องนี้ไปทําเปนละครน้ําเนาบางก็นาจะสนุกดีนะครับ ทั้งหมดที่เลามาก็เปนแคโครงคราวๆ ของ
นิทรรศการนี้ เพื่อใหพอมองออกถึงศิลปะที่เปลี่ยนแปลงจนกลายมาเปนวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึง่ ซึ่งสงผล
มายังปจจุบัน จนงานศิลปะและธุรกิจนั้นเริ่มประสานรวมกันอยางที่ไมเคยเปนมากอน ผูผลิตและผูซื้อตาง
เขาใจในวัตถุประสงคของสินคาวา “ทุกสิ่งที่ผลิตขึ้นมานั้นก็เพื่อการคาขาย หาใชตั้งดูเพลิดเพลินไม”

กลับมามองศิลปะบานเรา ในขณะที่ศิลปนไทยบางกลุมกําลังทําตัวตามอยางสมัยนิยมกันบาง นั่นคือ


แคภาพลักษณที่จะพยายามทําตัวใหกลายเปนเซเลบคนดัง เพื่อที่จะขายงานได เหมือนการขยันออกงาน จิบ
ไวน ดื่มเหลา เมาทกันเรื่องอื่นที่ไมเกี่ยวกับศิลปะ ในงานแสดงศิลปะหรือเปลา ถาใชคงตองบอกวา คุณคิดถูก
แลวที่ทําตามหลักสูตรของวอรฮอลเมื่อเกือบหาสิบปมาแลว แตคุณแคตามหลังเขาหรืออยู “หลังเขา” ไปก็แค
นั้น และยังไมเห็นมีใครในบานเราที่สามารถขายหนาตาของตัวเองใหโดงดังดวยการบอกวา “ขาพเจาคือ
ศิลปน” มากกวาขายคุณภาพของงาน

“Pop Life” ของศิลปะบานเราก็เปนเพียงแคฟองสบูที่เมื่อยังลองลอยอยูก็ดูสวยสีรุง แตเมื่อถึงจุดหนึ่ง


ฟองก็แตกกระจาย ก็จะไดเห็นแคอากาศธาตุ ไมมีแกนสารอันใด

[1] [2]
http://www.telegraph.co.uk/culture/art/art-reviews/6262559/Pop-Life-at-Tate-Modern-review.html
ภาพประกอบจากพิพิธภัณฑ Tate Modern

Made in Heaven (1989) โดย เจฟฟ์ คูนส์

Dirty - Jeff on Top (1991) โดย เจฟฟ์ คูนส์

Violet - Ice (Kama Sutra) (1991) โดย เจฟฟ์ คูนส์


Bourgeois Bust - Jeff and Ilona (1991) โดย เจฟฟ์ คูนส์

Rabbit (1986) โดย เจฟฟ์ คูนส์


Giant Magical Princess! She’s Walking Down The Streets Of Akihabara! (2009) โดย ทาคาชิ มู
ราคามิ

Aurothioglucose (2008) โดย เดเมียน เฮิร์สท์

Pop Shop โดย คีท แฮริ ง


The Shop (1993) โดย เทรซีย์ เอมิน และซารา ลูคสั (Sarah Lucas)

Wall Relief with Bird (1991) โดย เจฟฟ์ คูนส์


The Makingof Art
นักทําศิลปะมืออาชีพ
Schirn Kunsthalle Museum, Frankfurt.

“จากตรงนี้เราจะไปไหนกัน”[1] นั่นคือสิ่งที่ มารเซล ดูชองป (Marcel Duchamp) ตั้งคําถามเกี่ยวกับ


ศิลปะในชวงป 60 ของการบรรยายที่ The Philadelphia Museum College of Art ในป 1961 จาก
วิกฤติการณภาวะเงินเฟอ ซึ่งทําใหวงการศิลปะรวมถึงทุกอาชีพตองประสบกับความสั่นคลอนทางเศรษฐกิจ แม
จะมีคําพูดที่วา “เปลี่ยนวิกฤติใหเปนโอกาส” ซึ่งไดยินออกจะบอย ก็ยังไมสามารถแกปญหาตรงนี้ได

ชวงนั้น ในยุคทศวรรษ 1960 งานแสดงสินคาศิลปะ (Art Fair) ไดผุดขึ้นเหมือนดอกเห็ด เพื่อที่จะขาย


งานของศิลปน จนกลาวไดวาเปนยุคทองของงานแสดงสินคาศิลปะจริงๆ จนเปนแรงบันดาลใจใหศิลปนยุค
ปจจุบันอยางมารติน พาร (Martin Parr) จนถึงเจสซิกา เครก-มารติน (Jessica Craig-Martin) ไดทํางานโดย
ถายภาพงานปารตี้ งานแสดงสินคาศิลปะตามที่ตางๆ เชน เดอะฟรีซ (The Frieze), งานเปดของพิพิธภัณฑกุก
เกนไฮม (Guggenheim Museum) หรืออารท บาเซิล ที่ไมอามี (Art Basel, Miami) และที่ดูไบก็ตาม
ปรากฏการณเชนนี้ทําใหเกิดการครอบงําในตลาดแวดวงศิลปะ จนทําใหผูที่สะสมงานศิลปะกลายเปนผูนําซึ่ง
สามารถขับเคลื่อนศิลปนและการตลาดใหกาวไปตามใจนึก จนเกิดคําถามที่วา “ราคาที่ตั้งสูงลิบลิ่วนั้น เพื่อเปน
การปลอบประโลมศิลปน หรือทําใหผูคนเกิดความออนไหวในอิทธิพลของงานศิลปะ หรือทําเพื่อใครกันแน”

ในป 1971 ยอรก อิมเมนดอรฟ (Jörg Immendorff) จิตรกรผูโดงดังไดกลาววา “ไมตองการใหงาน


ของตัวเขาเองเปนเพียงเพื่อประดับหองที่ผูคนไวใชจัดงานเฉลิมฉลองหรือเพียงเพื่อเจรจาทางธุรกิจเทานั้น”[2]
หรือบรูซ นิวมัน (Bruce Nauman) ซึ่งทํางานโดยใชไฟนีออนจนกลายเปนเอกลักษณของงานเขา หรือเพราะ
นั่นเปนเพราะเขาผูซึ่งมีนัยนตาพิเศษ ที่สามารถเชื่อมงานยุคสมัยใหมของศิลปนใหเขากับรสนิยมคนดูได จนมี
คํากลาวที่วา “ศิลปนที่แทจริงก็คือผูซึ่งผลิตสินคาที่มีชื่อเสียง” เทานั้นหรือ

และนี่คือนิทรรศการที่เขาใจในบทบาทหนาที่ของทั้งศิลปะ ศิลปน ตลาด ธุรกิจ นักสะสม สังคม และ


ผูชม ไดดีที่สุดวาในทายที่สุดแลว ระบบของศิลปะนั้นก็มีหลายขั้นตอน หลายชั้น ซับซอน เชื่อมโยงกันทุก
ระบบทุกหนวย จนกวาคนอยางเราๆ จะคาดคิดวามันก็เปนเชนนั้นจริงๆ ไมตางอะไรกับธุรกิจเม็ดเงินสะพัด
อยางที่เขาใจกันวาแวดวงศิลปะของศิลปนจะบริสุทธิ์กวาวงการอื่นๆ ก็คงจะเขาใจกันไปเอง ซึ่งคําตอบที่ไดหา
ไดจากนิทรรศการ The Making of Art พิพิธภัณฑเชิรน คุนสทัลเลอ (Schirn Kunsthalle Museum) เมือง
แฟรงกเฟรต ประเทศเยอรมัน
เปนที่ถกเถียงกันมานานวา ตําแหนงของศิลปนในสังคมนั้นอยูตรงไหน ศิลปนที่เปนเหมือนความฝน
ของใครหลายๆ คนวาอยากจะเปนอยางเขา ทั้งในแงของชื่อเสียงและเงินทอง ไมวาจะเปนปกัสโซ, วอรฮอล ,
เจฟฟ คูนส หรือกระทั่งเดเมียน เฮิรสท ตัวอยางคนกลุมนี้คือฮีโรของศิลปนรุนใหม ของการดํารงชีวิตดวยการ
ทํางานราวกับเปนซูเปอรสตาร ซึ่งยอมมีทั้งคนชื่นชมและหมั่นไสในคราวเดียวกัน แตนี่คือเบื้องหลังทั้งหมดทั้ง
มวลหลังจากที่พวกเขาประสบความสําเร็จแลว จนเกิดคําถามที่วา “ทําไมศิลปนพวกนี้เปนคนพิเศษ ทั้งที่
แทจริงแลวก็แคอีกอาชีพหนึ่งเทานั้น”[3] แตในอีกดานหนึ่ง มันก็เปนการดีที่จะทําใหผูคนไมดูแคลนอาชีพนี้วา
“ดีแตเพอฝน ทํางานทําการอะไรไมเปน” ในเมื่อมีตัวอยางของคนที่ประสบความสําเร็จใหเห็นอยูวา “ชื่อเสียง
และเงินทองนั้นสามารถหาไดจากการเปนศิลปนที่ทําศิลปะลวนๆ ”
และเมื่อยุคของงานแสดงสินคาศิลปะไดซบเซาลง ตั้งแตเริ่มมีงาน “อารท โคโลญ” (Art Cologne)
ครั้งแรกในป 1965 และระบบของแกลอรีเขามาแทนที่ ซึ่งสามารถจัดการทุกอยางมาจนถึงทุกวันนี้ มันสามารถ
ทําใหงานศิลปะถูกจองและมีระบบซื้อขายเหมือนเปนการตลาดแบบมืออาชีพมากขึ้น จนเรื่องการซื้อขายงาน
ศิลปะแบบนี้ถูกเรียกวาเปนระบบ “Classical” กันเลยทีเดียว ในป 1913 มารเซล ดูชองป ไดประกาศวา
“สิ่งของที่อยูในชีวิตประจําวันจะกลายเปนงานศิลปะได” นั่นก็เปนการแบงแยกความคิดที่วาศิลปนเปนแค
ชางฝมือกันอีกตอไป ซึ่งงานหลังจากนั้นจะไมมีการระบุชื่อของศิลปนในผลงาน ซึ่งเหมือนเปนการแหกกฎกัน
เลยทีเดียว หรือแมกระทั่งโจเซฟ บอยส (Joseph Beuys) ก็ไดกลาววา “ทุกคนคือศิลปน” เพื่อปฏิวัติกับระบบ
นายทุนที่ครอบครองการตลาดศิลปะในขณะนั้น โดยที่เขากลาววา “ความคิดสรางสรรคนั่นแหละคือทุนทรัพย
ที่สําคัญ” ไมใชระบบทุนนิยม นี่คือการขับเคลื่อนของศิลปนที่ไมใชมาจากนักสะสม นักการตลาดทางศิลปะอีก
ตอไป

ศิลปนปแอโร มันโซนี (Piero Manzoni) กับงาน Merda d’artista (1961) หรือ Artist’s Shit งานที่
ไมนาเชื่อวามันจะเปลี่ยนของสกปรกที่เรียกวาอุจจาระใหกลายเปนทองไปได นั่นก็เปนเรื่องจริงขึ้นมา จาก
ความคิดที่วา การคิดทําศิลปะนั้นไมมีที่สิ้นสุด มันนาตื่นเตน ถางานนั้นไมอยูในกฎเกณฑที่วางไว ทุกสิ่งที่คุณ
ปฏิเสธวามันไมใชงานศิลปะแตมันคือศิลปะ ดวยการนําเอาอุจจาระของศิลปนไปบรรจุกระปองทั้งสิ้น 90
กระปอง และไมนาเชื่อวา การเลนแรแปรธาตุของศิลปนในครั้งนี้ก็เปนจริงดังความคิดเปลี่ยนของสกปรกให
กลายเปนทอง เมื่อกระปองเบอร 57 ถูกประมูลโดย ซอทเทอบีที่มิลานไปในราคาถึง 110,000 ยูโร (เอา 50
บาทคูณเขาไปนะครับ) เปนเงินไทยแลวจะตกใจ ซึ่งงานนี้ไดทําลายกฎของตลาดศิลปะไปโดยสิ้นเชิงวาจริงๆ
แลว หลักเกณฑและกลไกของตลาดงานศิลปะอยูตรงไหน มันยอมอยูน อกกฎเกณฑ (บางครั้ง) ใชหรือไม หรือ
การตั้งคําถามของศิลปนวาความสัมพันธของศิลปะ ศิลปน และนักสะสมงานนั้นมีความสัมพันธกนั อยางไร ซึ่ง
มันกําลังจะกลายเปนสัญลักษณอยางหนึ่งของงานศิลปะไปแลว

แอนเดรีย เฟรเซอร ตั้งคําถามขางตนระหวางศิลปนทั้งหญิงและชาย ตลาด พิธีรีตอง และการบรรลุ


วัตถุประสงคในงาน Untitled (2004) ซึ่งเธอไดใหแกลลอรีของเธอถามนักสะสมงานผูซึ่งสามารถยอมจาย
คาจางทํางานแกศิลปน โดยเปนงานความสัมพันธทางสังคมในบริบทของงานศิลปะ โดยที่เธอจะยอมมีเซ็กซกับ
นักสะสมงานคนนั้น โดยจะบันทึกเทปหนึ่งชุดใหแกเขาและตัวเธอเองก็เก็บไวหนึ่งชุด งานชุดนี้เปนที่ฮือฮามาก
ในขณะนั้นมันถูกนําออกแสดงไปทั่วโลก คําถามที่วา “สัญญาวาจางของศิลปน ศิลปะ นักสะสมที่ไรกฎเกณฑ
เหนือจริง ยอมอยูเหนือความคาดหมายของตลาด” อีกเชนเคย

มาถึงการเยยหยันคําวาศิลปะกันบาง “ชิกส ออน สปด” (Chicks on Speed) คือกลุมคนทํางานที่


เมืองมิวนิค (Munich) ในป 1997 หลังจากพวกเขาไดพบกันที่ดิ อคาเดมี ออฟ ไฟน อารท (The Academy
of Fine Arts) ซึ่งประกอบไปดวยผูคนที่หลากหลาย มีทั้งนักดนตรี ผูกํากับ ศิลปน นักออกแบบกราฟก คนทํา
ภาพยนตร เปนตน In Art Rules (2006) ชื่องานซึง่ กลุมของเธอเปรียบเปรยวา ศิลปะนั้นก็คือกฎหมายดีๆ นี่เอง
แตสิ่งที่พวกเธอทํานั้นกลับตรงกันขามทั้งสิ้น เหมือนเปนการเยยกฎ เชน การรองรําทําเพลง เตน เพนตตัว
หรือทําอะไรที่มันแปลกแหวกแนว วิตถารก็มี ซึ่งการแสดงของกลุมชิกส ออน สปด ไดรับการยอมรับและแสดง
ไปทั่วโลกในพิพิธภัณฑที่ดังๆ มากมาย

How to work better (1991) จากศิลปน ปเตอร ฟชลิ (Peter Fischli) และ เดวิด ไวส (David
Weiss) ซึ่งไดเขียนเหมือนเปนลายแทงสอนศิลปนวาจะทํางานใหดีนั้นตองทําอยางไร กลาวคือ 1. ทํางานอยาง
เดียวในชวงเวลาหนึ่ง 2. รูจักปญหา 3. พรอมที่จะฟง 4. พรอมที่จะถาม 5. แยกความรูสึกออกจากเรื่อง
เหลวไหล 6. ยอมรับโอกาสถามันไมสามารถเลี่ยงได 7. ยอมรับขอผิดพลาด 8. แลวพูดวามันเปนเรื่องงายๆ 9.
อยูในความสงบ 10. แลวยิ้มซะ หรือจะเปนงาน How to make more money ของศิลปน วิลเลียม พาวฮิดา
(William Powhida) เริ่มที่วลี หยุดวาดเขียน, แลวมาเพนต, จากนั้นเพิ่มราคาเปนสองเทา, แลวจาง
ผูเชี่ยวชาญที่มีประสบการณ, ดูพวกเขาทํางาน, ลงชื่อเมื่อพวกเขาวาดเสร็จ, ขายมันในงานแสดงสินคาศิลปะ,
จากนั้นอัพราคาเพิ่มอีก, เตรียมแสดงงานเดี่ยว, จูบกนนักวิจารณซะ, เก็บงานที่ทําสะสมเอาไว, แลวแสรงทํา
เปนวาจะฆาตัวตาย, ขายงานที่หมกเม็ดเอาไวใหกับการประมูลงาน

จากตัวอยางแบบเสียดสีการทํางานศิลปะของศิลปน ก็ทําใหเราไดเห็นอะไรหลายๆ อยางที่เปนเรื่อง


จริงและเปนระเบียบที่ศิลปนบางคนมีและขาดหรือวาทั้งสองอยางมากบางนอยบางแตกตางกันไป ซึ่งถามอง
ของอันแรกดูจะสอนใหศิลปนทําตัวเปนผูเปนคน ซึ่งคนสวนใหญจะไมไดมองพวกเราวาเปนเชนนัน้ กับอันที่
สองที่กลับตรงขามดวยการเยยหยันศิลปนที่ทําตัวเกินผูเกินคนวาตองทํางานอยางไรจึงจะเปนผูเปนคนที่ร่ํารวย
จากงานศิลปะ ตอนอานตอนแรกก็อดขําไมได แตลองมาตีความอีกทีนี่มันแสบยิ่งนัก

เคียรี ซัมบา (Chéri Samba) ศิลปนชาวแอฟริกา ตั้งคําถามวา ถาเปนศิลปนจากฝรั่งเศส เชน ปกัสโซ


ซึ่งเขาลอเลียนปกัสโซในงานของเขาไวหลายภาพวา “จะตองเปนศิลปนฝรั่งเศสงานจึงจะดูดี ขายได ไดแสดง
งาน ใชไหม” แลวศิลปนจากแอฟริกาละ ทําไมถึงตรงกันขาม ในป 1992 ศิลปน มลาเด็น สติลิโนวิช (Mladen
Stilinović) กับประโยคบนผาสีชมพูที่เขียนวา “An Artist Who cannot Speak English is No Artist”
(ศิลปนที่ไมไดพูดภาษาอังกฤษนั้นไมใชศิลปน) ทั้งสองตัวอยางนี้คือการเยยหยันทางเชื้อชาติ วาที่บอกวาศิลปะ
ไมมีพรมแดนกั้น แทจริงนั้น เมื่อมองในแงของความจริงก็ตองยอมรับวา ในแงของการตลาด ศิลปะคือการกีด
กัน ความไมยุติธรรมจริงๆ จนศิลปนหลายคนมองวา กลไกการทํางานของศิลปนคือแคมาจากฝงตะวันตกและ
อเมริกาแคนั้นหรือ คนทําศิลปะที่อยูที่อื่นๆ ละ พวกเขายังสามารถทํางานศิลปะแลวเรียกตัวเองวาเปนศิลปน
เหมือนชาติมหาอํานาจไดหรือไม
[เรียบเรียงจากบทความ The Making of Art ของมารตินา ไวนฮารท (Martina Weinhart)]

ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือสิ่งที่อยูในนิทรรศการ The Making of Art เมื่อดูจนจบ ในฐานะที่เปนศิลปนนั้น


คุณจะเกิดคําถามบางไหมวาทุกวันนี้เราทําศิลปะไปทําไม เราคือมืออาชีพหรือแคสมัครเลน โลกของศิลปะนั้น
ชางเปนโลกที่นาพิศวง ไรกฎเกณฑ นาเยยหยัน รันทด ในอีกขณะหนึ่งก็เบิกบาน งอกงาม สมบูรณสุข เราอยู
ฝงไหนของศิลปะ หรือก็เปนแคคนผานมาแลวเฝาดูแคนั้น แลวในฐานะของคนอื่นที่ไมใชศิลปน เขามองศิลปะ
วาอยางไร ภัณฑารักษของนิทรรศการนี้ตีความไดดีมาก ที่รวบรวมความเปนจริง ความเพอฝน เหมือนมือซาย
และมือขวาบนลําตัวเดียวกัน จนเหมือนนอนเคลิ้มอยูดีๆ แลวโดนตบหนาใหตื่นอยางไรอยางนัน้ จนถึงตอนนี้ก็
ยังเจ็บๆ คันๆ แตมีความสุขกับมัน กับ “ศิลปะ”

[1]
Marcel Duchamp, “Where Do We Go from Here?”lecture at the Philadelphia Museum College of Art, March 20, 1961,
trans. Helen Meakins, Studio International 189, no. 973 (January–February 1975), p. 28.
[2]
Jörg Immendorff, Hier und jetzt, das tun, was zu tun ist:Materialien zur Diskussion, Kunst im politischen Kampf; auf
welcher Seite stehst Du, Kulturschaffender?(Cologne: König, 1973), p. 208.
[3]
Andy Warhol, The Philosophy of Andy Warhol: From A to B and Back Again (New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1975), p. 178.
ภาพประกอบจาก Schirn Kunsthalle Museum.

Merda d’artista (1961) โดย ปิ แอโร มันโซนี

Creativity = Capital (1983) โดย โจเซฟ บอยส์

An Artist Who Cannot Speak English (1994), โดย มลาเด็น สติลิโนวิช


Art Rules (2006–09) โดย ชิกส์ ออน สปี ด

Art Magazine Ads (Art in America) (1988) โดย เจฟฟ์ คูนส์


Teacup Pug โดย เจสซิกา เครก-มาร์ ติน

Untitled Z2004) โดย แอนเดรี ย เฟรเซอร์

Triptych no. 1 in 3 (1997) โดย เคียรี ซัมบาCheri Samba


Altermodern
ยุคของความตาง
Tate Britain, London.

เทต บริเทน (Tate Britain) คืออีกหนึ่งหอศิลปของลอนดอนซึ่งตัง้ อยูยานมิลแบงก (Millbank) ผูคน


สวนมากมักจะรูจักแคเทต โมเดอรน (Tate Modern) ซึ่งตั้งอยูริมแมน้ําเทมสเทานั้น และยังมีในตระกูลเทตอีก
สองแหงคือ เทต เซนต อีฟส (Tate St Ives) และเทต ลิเวอรพูล (Tate Liverpool)ผมเพิ่งจะเคยมาที่นี่เปน
ครั้งแรกทั้งๆ ที่เคยอยูลอนดอนมาเปนเวลาหลายเดือน เพราะไดโบชัวรจากตอนที่ไปที่เทต โมเดิรน วามี
นิทรรศการที่นาสนใจเปนอยางมาก และมีคนไทยคือ นาวิน ลาวัลยชัยกุล ไดรับเลือกมารวมแสดงกับศิลปนคน
อื่นอีกดวย นั่นเปนเหตุผลที่ทําใหผมรูจักกับเทต บริเทน

ทุกสามป เทต บริเทน จะมีนิทรรศการการเฉลิมฉลองแนวโนมของงานศิลปะในอังกฤษ จึงไดมี


นิทรรศการ“อัลเทอรโมเดิรน” (Altermodern) ซึ่งไดจัดขึ้นเปนครั้งที่ 4 งานนี้ประกอบไปดวยศิลปน 28 คน
ทั้งจากฝงของอังกฤษและอีกหลายชาติ โดยไดรับการคัดเลือกจากนิโกลา บูรริเออด (Nicolas Bourriaud) ซึ่ง
เปนภัณฑารักษของ แกลลอรี ปาเลส เดอ โตเกียว (Palais de Tokyo) ในกรุงปารีส

อัลเทอรโมเดิรน [1][2] คือความกาวหนาของยุคสมัยโลกาภิวัตน ซึ่งประกอบไปดวยชวงเวลา ที่วาง และ


สถานะ คําวาอัลเทอรโมเดิรนมาจากรากศัพทลาติน ซึ่งแปลเปนนัยแลวคือ “ความตาง” กลาวถึงชวงเวลาที่ยุค
ของโพสตโมเดิรนใกลจะสิ้นสุดลง แตจะมียุคสมัยใดเขามาแทนที่นั้นคือสิ่งที่เรากําลังคนหา บางทีมันอาจจะ
เปนการผสมกันระหวางเศรษฐกิจ การเมือง รวมจนถึงเงื่อนไขทางวัฒนธรรม จนเกิดเปนสัญลักษณของวิกฤติ
เศรษฐกิจโลกก็ได ถาศิลปะในยุคศตวรรษที่ 20 กลาวถึงวัฒนธรรมทางตะวันตกเปนสวนใหญ แตสําหรับ
นิทรรศการนี้ เราจะกาวขามชวงเวลานั้น กามขามวัฒนธรรม ภาษา และรูปรางที่เคยเห็นมา ศิลปนอาจจะตอง
รูเรื่องเกี่ยวกับธรณีวิทยาดีพอๆ กับประวัติศาสตร และตองเรียนรูการซึมซับการสรางสิ่งใหมระหวางความคิด
กับการสื่อสาร มาใชในงานศิลปะยุคใหมนี้

ขอหยิบยกงานของศิลปนบางทานที่นาสนใจมาใหชม เพื่อจะไดเห็นแนวทางของอัลเทอรโมเดิรน
ชัดเจนขึ้น คนแรกคือ สุพธ คุปตะ (Subodh Gupta) กับงาน Line Of Control (2008) เขาเกิดและทํางานที่
อินเดียและนับถือศาสนาพุทธ เขาเองก็เหมือนอีกหลายๆ คนที่มาจากชนบท เขามาสูชุมชนเมืองในนิวเดลีซึ่ง
เปนมหานครแหงอินเดีย ความรูสึกของการบริโภคนิยม ซึ่งไดรับอิทธิพลจากทางตะวันตกทําใหเกิดวงจรสั้นๆ
ของการเปลี่ยนขนบประเพณีซึ่งสงผลกระทบตอผูคนในเชื้อชาติ งานที่ชื่อวา Line Of Control เหมือนเปน
กลุมเมฆความเจริญที่ระเบิดไปสูความสงบสุขและความสามัคคีจากการรองขอของอาหารและภาชนะที่ทํา
จากสแตนเลสหลายพันชิ้นประกอบกันขึ้นเปนงานประติมากรรม ซึ่งเปนเรื่องใกลตัวของคนอินเดีย แรงบันดาล
ใจเบื้องลึกมาจากสงครามฉนวนแบงกั้นระหวางบอสเนียและแคชเมียรที่ซึ่งถูกจํากัดสิทธิทางการเมืองจนเกิด
ชองวางของความปรารถนา ความเชื่อ ความฝน ความจริง กลางคืน และฝนราย งานของเขาเหมือนเปนการ
ปลดปลอยสิ่งที่ยุงยากใหเปนอิสระในโลกของการครอบงํา โดยการระเบิดของกลุมเมฆซึ่งคลายเห็ดมหึมา เพื่อ
สดุดีความสงบสุข ซึ่งมาจากจิตสํานึกที่ดีงามของศิลปน งานชิ้นนี้ใชเวลาการติดตั้งเปนเวลาหลายเดือน มีความ
สูงเทากับตึกสามชั้น และติดตั้งอยูกลางหอศิลปนี้

ศิลปะที่ใชเรื่องของวิทยาศาสตรสัมพันธกับเทคโนโลยี ศิลปน โลริส เกรโยด (Loris Gréaud) กับงาน


Frequency of an Image (2008) เขาเกิดและเติบโตที่ฝรั่งเศส ปจจุบันทํางานทั้งที่ปารีสและโฮจิมินหที่
เวียดนาม งานของเขามักจะใชทักษะมากกวาสองอยางขึ้นไปมาประกอบกันเปนงานศิลปะ ไมวาจะเปนเรื่อง
ของสถาปตยกรรม ดนตรี ภาพยนตร เปนตน งานชิ้นนี้เกิดจากการรักษาโรคประสาทอักเสบ ซึ่งเขาไดบันทึก
การทํางานของสมองเขาเปนเวลา 30 นาที คลื่นสมองของเขาที่ถูกบันทึกไดถายทอดเปนพลังงานไฟฟา และ
แพรภาพออกมาเปนการสั่นสะเทือนและติดตั้งมันเขาไวกับที่วางของงานชิ้นนี้ สมองของเขาไดถูกกําหนดให
ผูชมรับรูโดยผานทางรางกายจําลองของเครื่องแสดง ซึ่งเปนสิ่งที่ละเอียดออนของความรูสึกจากพลังงานใน
สมองของเขา งานชิ้นนี้จะเห็นไดวามีการทดลองใชเครื่องมือวิทยาศาสตรการแพทยมาทํางานรวมกับความรูสึก
และพลังงานของมนุษย จนสามารถถายทอดสิ่งที่อยูภายในออกมาสูภายนอก เชื่อมตอปฏิกิริยาความรูสึกของ
ศิลปนกับผูชมใหรับรูความรูสึกรวมกันได

กับเรื่องราวที่ศิลปนพยายามปะติดปะตอความทรงจําที่ดีในอดีต ใหเกิดขึ้นอีกครั้งเหมือนเปนการสราง
ความสัมพันธระหวางงานรวมสมัยไปสูอดีต และใชเทคโนโลยีผสมงานหัตถศิลปใหเปนงานศิลปะขึ้นมาได ไซ
มอน สตารลิง (Simon Starling) เกิดที่อังกฤษ ปจจุบันอาศัยและทํางานที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมารก
กับผลงาน Three White Desks (2008-2009) เขาหลงใหลกับงานที่เปนทักษะฝมือของมนุษยในงาน
ออกแบบ จนนําจุดนั้นมาเปนกระบวนการทํางานศิลปะ เพื่อใหเกิดการเปลี่ยนแปลง การทําใหม และการ
จัดการใหเปนรูปรางขึ้นมา งานของเขาชิ้นนี้ไดกลาวถึงโตะตัวหนึ่งซึง่ ออกแบบโดยฟรานซิส เบคอน (Francis
Bacon) เพื่อนักเขียนชาวออสเตรเลียที่ชื่อ แพทริก ไวท (Patrick White) ในชวงที่เบคอนยังคงทํางาน
ออกแบบในยุคตนป 1930 และในชวงป 1947 แพทริก ไวท ไดเดินทางกลับไปยังออสเตรเลียโดยที่ไมไดนําโตะ
ตัวนั้นกลับบานเกิดดวย แตเขาไดนํารูปภาพของโตะตัวนีไ้ ปใหชางที่ซิดนียทําขึ้นมาใหมแตก็ไมเปนผลสําเร็จ
ศิลปนจึงอยากจะสานเรื่องราวนี้ใหเปนความจริงขึ้นมา จากรูปถายใบเดียวกัน โดยสงไปใหชางที่เบอรลินซึ่ง
เปนที่ผลิตโตะตัวแรกใหทําขึ้นมาใหม จากนั้นจึงสงรูปไปใหชางที่ซิดนียทําขึ้นเปนตัวที่สอง และสงไปใหชางที่
ลอนดอนทําเปนตัวที่สาม และนําโตะทั้งหมดที่สั่งทําจากแตละที่มาจัดแสดงเพื่อใหความทรงจําจากอดีตปรากฏ
ขึ้นอีกครั้ง
ศิลปนเปรียบเปนเหมือนนักทองเที่ยว และเปรียบเทียบงานภาพวาดเหมือนเปนเทคโนโลยี GPS
(Satellite Navigation) ที่สื่อสารอยางไรพรมแดน ฟรันซ อัคเคอรมานน (Franz Ackermann) เกิดและ
ทํางานที่เบอรลิน กับงาน Gateway-Getaway (2008-2009) งานของเขาสวนมากเปนการจัดวางของสังคม
เมือง และมีขนาดใหญซึ่งเปนตัวเปรียบเทียบกับลักษณะงานจิตรกรรม (painting) แบบประชดประชัน งานสี
น้ําของเขาเปรียบเหมือนเปนแผนที่ทางจิต (mental maps) การจัดวางงานตองการที่จะใหคนดูเผชิญหนากับ
งานสองมิติที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนมุมมองในระยะที่เดินดู การวาดภาพที่เปนแนวราบเหมือนเปนที่วางที่
บังคับคนดูใหเขาไปและใชประสบการณกับมัน เปนเหมือนการบังคับการมองเห็นที่นําไปสูสภาวะแวดลอมที่
ลวงตาในงานของเขา ดวยวิธีการวาดและใชเสนสายตาเปนตัวชี้นําประสบการณของศิลปนใหกับคนดูไดคลอย
ตามและถูกลอลวงดวยมิติระนาบของงานศิลปะ

วาเลด เบชที (Walead Beshty) เกิดที่ลอนดอนอาศัยและทํางานที่เมืองลอสแอนเจลิส ประเทศ


สหรัฐอเมริกา เขาทํางานเปนชางภาพที่มีเอกลักษณเฉพาะตัว โดยสวนใหญจะใชกระบวนการลางฟลมในหอง
มืด งานแสดงของเขามีทั้งภาพถายและวัตถุจัดแสดง เมื่อเร็วๆ นี้งานของเขาไดทํางานที่ระลึกถึงแมน เรย
(Man Ray) และโมโฮลี นาชิ (Moholy-Nagy) สําหรับงานชุดนี้ Transparency (Negative) (2006) เขาไดใช
ฟลมซึ่งผานกระบวนการเอ็กซเรยที่สนามบินซึ่งทําใหเกิดสีและเงาที่ภาพ และเมื่อมาขยายใหญจะเห็นความผิด
ปกติที่เกิดจากแสงเอ็กซเรย ลงบนตัวภาพที่ลางมาแลว อีกผลงานที่ชื่อวา FedEx (2005) เปนประติมากรรม
ซึ่งประกอบไปดวยกลองแกวหลายใบที่ถูกขนสงผานทาง “เฟดเอ็กซ” (FedEx) จากสตูดิโอของเขามายัง
แกลลอรีและมาถึงยังหอศิลปนี้ โดยมีชื่อจากแหลงกําเนิดผลงานเปนตัวลําดับเหตุการณของการขนสงนี้ large
Kraft boxes ©2005 FedEx 330508, International Priority, Los Angeles-Tijuana, Tijuana-Los
Angeles, Los Angeles-London, October 28, 2008-January 16, 2009 โดยสื่อถึงเหตุการณที่เมื่อของ
ดานในถูกกระทบกระเทือนจะแตกหักขณะทําการขนสง เหมือนเปนการบอกวาไมมีอะไรดํารงอยูอยางจีรัง
ภายใตทองฟาแหงนี้ การครอบครองปริมาตรภายในมีเพียงเจาของเดียวนั่นคือ FedEx รอยแตกราวพวกนี้ก็
เปนเหมือนการเดินทาง ไมมีสิ่งใดสมบูรณแบบไปซะหมด ทุกอยางยอมมีประวัติศาสตรที่ผานการเกิดขึ้นและ
เปลี่ยนแปลงแทบทั้งสิ้น

ภาพยนตรเรื่อง Salo (1975) ซึ่งเปนผลงานกํากับชิ้นสุดทายของปแอร เปาโล ปาโซลินี (Pier Paolo


Pasolini) และนวนิยายเรื่อง กากันตัวร์ และแพนทากรูเอล (Gargantua & Pantagruel) (1532-1564)
ของฟรองซัวร ราเบลส (François Rabelais) ทําใหเกิดงานของศิลปนนาทาเนียล เมลเลอส (Nathaniel
Mellors) เขาเกิดที่ประเทศอังกฤษ ปจจุบันอาศัยและทํางานที่อัมสเตอรดัมและลอนดอน งานของเขามักใช
ภาพยนตรในรูปแบบของการลอเลียนในประเด็นซึ่งเปนที่นิยมของผูคนมาเลน เชน สารคดี การเมือง การ
วิเคราะห วิจารณ หรือแมกระทั่งการลอเลียนบุคคลที่มีความกาวหนาทางอาชีพศิลปน โดยนํามายําเปนรูปแบบ
ของละครที่มีความหมายและยากที่จะคาดเดาหรือเขาใจในสิ่งที่ทํา งานที่ชื่อวา Giantbum (2009) กลาวถึง
ความไรแกนสารของความเปนมนุษย ซึ่งเขียนบทดวยตัวเขาเอง งานชุดนี้เปนทั้งวิดีโอจัดวางและหุนยนตที่มีแต
หนากําลังทําทาทางตางๆ โดยมีนัยยะกลาวถึงกลุมคนยุคกลางซึ่งเปนยุคแหงการแสวงหาไดสูญเสียรางกาย
พวกเขาอดอยากและแยกตัวเองเพื่อหาทางออก เมื่อผูนําทางศาสนาซึ่งพวกเขาเรียกวา “บิดา” ไดเดินทาง
กลับไปสูลําไสในรางกายในทายที่สุด เนื้อเรื่องคลายกับคนซึ่งสติฟนเฟอนไดกลายมาเปนมนุษยกินคนและ
หมกมุนอยูกับสิ่งลามกและของเนาเสียเพื่อนําไปสูการรอดชีวิตได เรื่องที่กลาวมาดูจะเพี้ยนๆ แตเขาก็อุปมาวา
เหมือนเปนวัฒนธรรมหมุนเวียนที่ซ้ําซาก เหมือนกับผูซึ่งเปน “บิดา” ของสรรพสิ่ง ไดดําเนินชีวิตที่เกิดใหมอยู
ตลอดเวลาดวยการบริโภคของเสียตอเนื่องไปจนถึงการยอย หมุนเวียนกันเปนวงจรเรื่อยไป

เรื่องเลาในตํานานผสมผสานกับจินตนาการสวนตัว ทําใหชารลส เอเวอรี (Charles Avery) ศิลปนที่


เกิดที่สกอตแลนด อาศัยและทํางานอยูในลอนดอนชวงป 2004 เปนตนมา ไดสรางโปรเจกต The Islander
ขึ้นมา ซึ่งยากที่จะอธิบายในโลกของความเปนจริง Untitled (The head of an Aleph) (2008-2009) เปน
รูปรางและรูปทรงของสัตวชนิดหนึ่งกอนประวัติศาสตร เหมือนแมวที่มีงวงเปนชาง โดยญาติที่ใกลชิดของเขา
ยืนยันวามันมีอยูจริง เขาทําตัวเปนนักลาเพื่อที่จะพิสูจนใหไดวามันมีอยูจริง เขายังเชื่อวาขณะเดินในวันหนึง่
เขาไดฆามันและหัวของมันไดตกลงมา ทําใหเขาเชื่อวาความโหดรายในครั้งนั้นติดตัวของเขาอยูเปนเวลาหลาย
ป จนกระทั่งตํานานนี้ไดรับการกลาวขานไปทั่ว เปนงานที่อาศัยจินตนาการรวมกับวิธีคิดทางศิลปะบวกกับ
ตํานานความเชื่อที่ถายทอดออกมาเปนงานประติมากรรม สาระอาจจะอยูตรงที่รูปลักษณของงานมากกวาที่จะ
ไปคนเรื่องของความจริงหรือที่มา

งานของศิลปนฝงเอเชียเพียงคนเดียวและเปนคนไทยนั่นคืองานของนาวิน ลาวัลยชัยกุล เกิดและอาศัย


ที่เชียงใหมและฟูกูโอกะ งานของเขามักจะเปนคําถามถึงเอกลักษณทางวัฒนธรรม โดยมีสวนของภาพยนตร
บอลลีวูด (Bollywood) หนังสือการตูน และงานโฆษณามาเกี่ยวของ งานของนาวินแบงออกเปนสามสวนใน
นิทรรศการนี้คือ Places of Rebirth (2009) แรงบันดาลใจมาจากการที่เขากลับไปยังสถานที่เกิดของบรรพ
บุรุษเปนครั้งแรกคือที่ปากีสถาน โดยงานนี้เปนการเพนตลงบนบิลบอรดสไตลหนังอินเดีย ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับ
ครอบครัวของเขา และผูคนที่เขาพบในปากีสถาน ทามกลางประวัติศาสตรของอินเดียในยุคป 1947 ซึ่งเปน
เวลาที่ครอบครัวของเขายายมาที่ไทย เหมือนเปนการตั้งคําถามทางเชื้อชาติและเอกลักษณเฉพาะของผูคนใน
ยุคปจจุบันนี้ที่เขาประสบดวยตนเองและครอบครัว โดยผานการเดินทางของรถตุกตุก กับอีกผลงาน Hong
Rub Khaek (2008) เปนบทสัมภาษณคนรุนเกาชาวอินเดียซึ่งอาศัยอยูที่เชียงใหม โดยเลาถึงความทรงจําของ
สถานที่เกิดและที่เมืองไทย อีกผลงาน From Puk-kun to Mari (2008) เปนการเขียนจดหมายถึงนองสาวที่
อาศัยอยูที่ญี่ปุน เขาไดเลาเรื่องตอนเด็ก เรื่องของความสับสนทางเชื้อชาติของเขา เพื่อที่จะชวยใหเธอยอมรับ
การเปนคนสามสัญชาตินั่นคือ ไทย อินเดีย และญี่ปุนนั่นเอง
อัลเทอรโมเดิรนอาจจะไมไดแตกตางในเรื่องของเทคนิคและวัสดุในการทํางาน ซึ่งถามองภาพรวมของ
งานก็เปนงานที่คุนชินตาของใครอีกหลายคน แตในเรื่องของมุมมองและความคิดของภัณฑารักษงานนี้ที่ให
ศิลปนพยายามใชโอกาสของสิ่งที่พวกเขาถนัด ประสบการณและความคุนเคย ตลอดจนเทคโนโลยี การเดินทาง
ความแตกตางกันของวัฒนธรรมก็มีสวนใหงานของศิลปนนั้นมีแนวความคิดที่แตกตางจากงานของศิลปนรุน
กอนๆ แตก็ไมละเลยในเรื่องของความรูสึก เรื่องของคุณธรรมที่มีผลตอจิตใจ บางทีศิลปนในโลกยุคขางหนา
อาจไมใชแคสนใจศิลปะในแงของความงามกันอยางเดียวจนละเลยสิ่งที่สําคัญกวานั่นคือความคิด แตควรจะ
ศึกษา คนควา และหัดสังเกตความเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้มากกวาจะอยูในโลกของตัวเอง
เพียงอยางเดียว การลืมตา เงี่ยหูฟง และเปดใจเพื่อยอมรับการเปลี่ยนแปลงและสิ่งที่แตกตางในความรูสึกและ
เรื่องที่เกิดขึ้นในโลกของความจริง นั่นอาจจะเปนยุคที่ภัณฑารักษทานนี้กําลังทํานายก็เปนได

[1]
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-britain/exhibition/altermodern/explain-altermodern/altermodern-explained-manifesto
[2]
http://www.phaidon.com/agenda/art/articles/2012/march/14/the-phaidon-guide-to-art-speak-altermodern/
ภาพประกอบจาก Tate Britain

Giantbum (2009) โดย นาทาเนียล เมลเลอส์

Line Of Control (2008) โดย สุพธ คุปตะ


Frequency of an Image (2008) โดย โลริ ส เกรโยด์

Three White Desks (2008-2009) โดย ไซมอน สตาร์ ลงิ

Untitled (The head of an Aleph) (2008-2009) โดย ชาร์ ลส์ เอเวอรี


Gateway-Getaway (2008-2009) โดย ฟรันซ์ อัคเคอร์ มานน์

Transparency (Negative) (2006) และ FedEx (2005), โดย วาเลด เบชที


Places of Rebirth (2009) โดย นาวิน ลาวัลย์ชยั กุล

From Puk-kun to Mari (2008) และ Hong Rub Khaek (2008) โดย นาวิน ลาวัลย์ชยั กุล
Identity 8 rooms 9 lives
เราคือใคร
Wellcome Collection, London.

เราทุกคนรูวา “เราคือใคร”[1] และเราก็เขาใจวาเรามีเอกลักษณเฉพาะของแตละคน นั่นคือสิ่งที่เราใช


จําแนกแตละบุคคลในสังคม เอกลักษณเฉพาะของแตละบุคคลนั้นเปนเรื่องที่ซับซอน ซึ่งอาจจะมีติดตัวเรามา
ตั้งแตเกิดเลยทีเดียวไปจนกระทั่งตาย และลักษณะบางอยางนั้นเปนสิ่งที่ติดตัวมาอยางถาวร ในอีกมุมหนึ่งเราก็
เลือกที่จะเปลี่ยนมันไดเชนกัน เหมือนกับความคิดที่วา “คุณคือใคร” ถาเราลองถามตัวเองวา “เราคือใคร”
คําตอบที่ไดจะชัดเจนจริงๆ หรือไม ไมเหมือนกับโทรศัพทที่มี หมายเลขพิน (Pin Number) ที่จะสามารถระบุ
ไดเลยวาตัวเลขบนเครื่องนี้คือรุนนี้ยี่หอนี้เทานั้น แลวสําหรับมนุษยละ เราใชอะไรในการบงบอกเอกลักษณ
เฉพาะตัว นิทรรศการนี้ไดนําเอาเอกลักษณที่นาสนใจและนาศึกษาทั้งหมด 8 หองแสดง ซึ่งแตละบุคคลหรือ
กลุมบุคคลจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่นาสนใจในเรื่องราวของประวัติศาสตรความเปนมนุษย ใหไดโตแยง ได
ถกเถียงกันถึงเอกลักษณวา แทที่จริงแลว “เราก็เปนเชนนั้นใชหรือไม”

เอพริล แอชลีย (April Ashley) เปนบุคคลแรกของอังกฤษที่ไดรับการผาตัดแปลงเพศตั้งแตป 1960


เมื่ออายุได 25 ป ชื่อเดิมของเธอคือ จอรจ เจมีสัน (George Jamieson) เกิดที่เมืองลิเวอรพูล อาศัยอยูกับ
ครอบครัวซึ่งเปนโรมันคาทอลิกที่เครงครัดในชวงสงครามโลกครั้งที่ 2 เธอกลาววา “ฉันรูตัวดีวาตัวฉันเปน
ผูหญิง”[2] จากนั้นเธอจึงเขาไปทํางานกับพาณิชยนาวีเมื่ออายุได 15 ป แลวจึงไดไปทํางานในไนตคลับที่ปารีส
ซึ่งเปนคลับของคนรักรวมเพศ ในชวงนั้นเธอไดเปลี่ยนชื่อเปน โทนี เอพริล (Toni April) และตอนอายุได 25 ป
จึงเดินทางไปโมร็อกโกเพื่อแปลงเพศ เธอโดงดังอยางมากไดขึ้นปก หนังสือพิมพ์ซนั เดย์ (Sunday
Newspaper) เปนนางแบบใหกับนิตยสาร โวก (Vogue) ซึ่งถายภาพโดย เดวิด ไบลีย (David Bailey) และ
รูจักกับนักแสดงรวมทั้งคนดังหลายคน เชน ปกัสโซ, ซัลวาดอร ดาลี (Salvador Dali), เอลวิส เพรสลีย และ
เดอะ บีเทิลส (The Beatles) อีกดวย ดวยความสวยสงาของตัวเธอ ซึ่งดูไมออกเลยวาเคยเปนผูชายมากอน
รวมถึงหนาที่การงานที่ดี เปนเจาของรานอาหาร ทํางานใหกับกลุม “กรีนพีซ” (Greenpeace) แตชีวิตของเธอ
ก็ผานมรสุมหลายครั้ง เชน ถูกฟองหยาจากสามีซึ่งมารูทีหลังวาเธอเปนผูชายมากอน สังคมในยุคนั้นก็ยังไมได
ยอมรับการแปลงเพศวาเปนเรื่องปกติเหมือนสมัยนี้ แตทายที่สุดแลวเธอก็ไดใชเอกลักษณเฉพาะตัวในเรื่องของ
ความสามารถลบปมพวกนั้นใหกลับโดดเดนขึ้นมาได เธอกลาววา “เพศที่ติดตัวมาไมใชขอสรุปของลักษณะ
เฉพาะตัวของเธอ” ในหองนี้ผมยังพบภาพบุคคลที่แปลงเพศแลวมีชื่อเสียงอีกหลายคน รวมทั้งนองตุม นักมวย
ของเราดวยครับ

ฟรันซ โยเซฟ ไกล (Franz Joseph Gall, 1758-1828) ” เขาไดพัฒนาทฤษฎีการทํางานของสมองซึ่ง


สัมพันธกับความเชื่อที่เกี่ยวกับกะโหลกมนุษยที่มีพื้นที่สวนตางๆ ทํางานเหมือนอวัยวะมนุษย ตามทฤษฎีเขา
กลาววา “ศีลธรรม จริยธรรม จิตวิทยา และคุณสมบัติความฉลาดรอบรู เปนสวนที่ติดตัวมาตั้งแตเกิด และถูก
ควบคุมใหใชงานภายใตพื้นที่สวนสมองสวนตางๆ 27 สวนซึ่งมีความสัมพันธกับขนาดและรูปรางตางๆ กันไป
ตามพื้นที่กะโหลกแตละคนนั่นเอง”[3] ซึ่งเขาไดขอสังเกตจากกะโหลกอันหลากหลายของบุคคลที่มีชื่อเสียง คน
วิกลจริต ฆาตกร และอัจฉริยบุคคล ทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับสัญชาติญาณวาไดถูกกําหนดไวแลวนั้นไดรับการ
ยอมรับ ในขณะที่ทฤษฎีเกี่ยวกับการทํางานสวนสมองทั้ง 27 สวนนั้นยังไมสามารถพิสูจนได ซึ่งยังตองคนควา
หาคําตอบกันตอไป เขาพยายามจะบงบอกวาเอกลักษณของบุคคลที่ติดตัวมานั้นถูกสั่งจากสมองซึ่งแบงหนาที่
ตางๆ กันออกไป 27 สวน ตามแผนภาพซึ่งทฤษฎีนี้หลายคนอาจจะไมเชื่อวาทุกอยางนั้นขึ้นอยูกบั สมองเพียง
อยางเดียวหรือ แลวดานจิตใจที่เปนนามธรรมจะพิสูจนอยางไร นั่นละครับสิ่งที่นักวิทยาศาสตรยังไมสามารถ
พิสูจนได

ฟรานซิส กัลตัน (Francis Galton) เปนแมแบบของนักวิทยาศาสตรในสมัยวิกตอเรีย (Victoian era)


เขามีผลงานที่ทั้งแปลกแหวกแนวเปนจํานวนมาก เฉกเชนเดียวกับหลานของเขา ชารลส ดารวิน (Charles
Darwin) ซึ่งเปนนักวิทยาศาสตรที่ดังเชนกัน กัลตันไมไดศึกษาเฉพาะเจาะจงแตเขาศึกษาทั้งชีววิทยา อุตรุนิยม
วิทยา จิตวิทยา และสถิติ ซึ่งเขามีความเชื่อวา “มนุษยนั้นไดถูกแบงประเภทไวแลวตั้งแตตน” โดยเขายังเปนผู
บุกเบิกความคิดที่วามนุษยเปนศูนยกลางของจักรวาลโดยใชการวัดรางกายของมนุษยประกอบทฤษฎี เขายังใช
งานภาพถายหลายบุคคล ตางอาชีพ เปนตัวแบงแยกประเภท เชน คนที่อยูในคุก นักศึกษา รวมถึงการ
วิเคราะหลายนิ้วมือประกอบกันดวย แมทายที่สุดแลว สิ่งที่เขาคิดขึ้นมานั้นเปนการเขาใจผิดทางวิทยาศาสตร
แตนักวิทยาศาสตรปจจุบันยังคงพัฒนากระบวนความคิดเกี่ยวกับวิชาสถิติของเขา เพื่อใชในการวัดตวงขอมูล
มาจนปจจุบัน จะเห็นไดวาเพียงแครูปลักษณภายนอกของมนุษย ไมสามารถบงบอกถึงนิสัยใจคอได เหมือน
ภาษิตไทย “รูหนาไมรูใจนั่นเอง”

ชารลอต ลอตต (Charlotte Lotte) และ เอมิลี ฮินช (Emily Hinch) ฝาแฝดเปนตนแบบที่ดีของการ
ตามหาเอกลักษณเฉพาะตัว เพราะฝาแฝดนั้นมีอะไรหลายอยางที่ทั้งเหมือนและไมเหมือนนอกจากหนาตาและ
นิสัยใจคอ ซึ่งเรามักคิดวาฝาแฝดมักจะตองคิดหรือทําอะไรหลายๆ อยางเหมือนกันหรือทําแทนกันได ซึง่
นักวิทยาศาสตรไดพยายามศึกษาทั้งแฝดเหมือนและแฝดคลายซึ่งเกิดจากไขใบเดียวกันและคนละใบตามลําดับ
ในเรื่องของสุขภาพ นิสัย และลักษณะเฉพาะตัว ครอบครัวตระกูลฮินชมีฝาแฝดถึงสามรุน โดยที่แตละรุนจะมี
แฝดที่แตกตางกันออกไป เริ่มจาก (Julian) และเจเรมี (Jeremy) เปนแฝดเหมือนทุกอยางที่ตอนนี้ทั้งคูมีอายุ
40 ปตนๆ แตก็ยังอาศัยอยูดวยกัน ทั้งคูในวัยเด็กนั้นเลนของเลนเหมือนกัน แตงตัวเหมือนกัน แตพอโตขึ้นก็เริ่ม
มีความคิดที่แตกตางกัน เชน ฟงเพลงคนละแนว เขียนหนังสือดวยภาษาความคิดตางกัน เปนตน โดยที่แมของ
พวกเขาก็เปนฝาแฝด จนมาถึงรุนลูกของ Julian ซึ่งเปนแฝดที่เกิดจากการผสมในหลอดแกว ลูกสาวของเขาจึง
ไมเหมือนแฝดรุนพอ ชารลอตและเอมิลีไมเหมือนกันทั้งรูปรางหนาตาและนิสัยซึ่งแตกตางจากแฝดรุนพอ สิ่งนี้
เปนสิ่งที่นาแปลกใจของนักวิทยาศาสตรวา เหตุใดแฝดแตละคูจึงไมเหมือนกัน แมจะเกิดในตระกูลเดียวกัน
การเลี้ยงดูแบบเดียวกันก็ตาม

ฟโอนา ชอว (Fiona Shaw) ตระกูลของเธอนัน้ เปนนักแสดงชั้นนํามาตลอดในชวงยุคสมัยที่ผานมา


เธอแสดงไดทุกบทบาท ไมวาจะเปนบทโศกเศรายันบทตลก บทบาทที่คุนตาคือบทปาเพตทูเนีย (Petunia)
จากภาพยนตร แฮร์ รี พอตเตอร์ (Harry Potter, 1997-2007) นั่นเอง เธอกลาววา “การแสดงของเธอก็
เหมือนกับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการของความเปนตัวเอง” นั่นคือการควบคุมตัวเองใหเลนไปตามเกมของ
ตัวละครที่ปรากฏ บางตัวละครก็เหมือนเลนเปนตัวเอง ที่ตองคนหา สํารวจ ในขณะที่หลายตัวละครก็เปนเพียง
แคการสมมติขึ้นมา เธอกลาววา “ลักษณะเฉพาะของบุคคลก็คือการแสดง เหมือนกับการใชชีวิตนั่นเอง เรา
พัฒนาบุคลิกของตัวละครดวยสติ และความรูสึกเหมือนสวมบทบาทเปนตัวละครในโรงละครอยางไรอยางนั้น
เราจะหลุดจากบทบาทเปนบางคราวจากการดื่ม กิน ทําสมาธิ การอยูในทามกลางคนหมูมาก หรือการแตงกาย
นั่นคือเรื่องปกติของชีวิต” อีกแงมุมของการคนหาลักษณะเฉพาะ ซึ่งเหตุผลของเธอนั้นนาสนใจ บางทีเราอาจ
ไมตองไปคํานึงวาเรามีเอกลักษณเฉพาะเปนอยางไร เพราะนั่นก็คือการแสดงนั่นเอง

ตัวอยางที่ยกมานั้น พอจะเปนขอมูลใหไดศึกษาวิเคราะหถึงลักษณะเฉพาะของมนุษยวามีความ
เชื่อมโยงอยางไรกับทั้งดานวิทยาศาสตรและมานุษยวิทยา และถาเราเอามาเชื่อมโยงกับงานศิลปะ เราจะพอ
มองออกไหมวา ลักษณะเฉพาะของงานศิลปะของแตละศิลปนนั้นบงบอกอะไรหรือไมอยางไร นาลองคิด
เหมือนกันนะครับวาทุกวันนี้ศิลปนหลายคนพยายามบงบอกวางานของตัวเองมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งใครก็ไม
สามารถทําไดเหมือนเจาของ บางทีเขาอาจจะคิดผิดเหมือนนักวิทยาศาสตรสมัยโบราณก็เปนได หรืออาจจะ
เปนแคบทบาทการแสดงอยางหนึ่งในชีวิตประจําวันเทานั้นเอง ในมุมกลับกัน ลักษณะเฉพาะของศิลปนหลาย
คนก็โดดเดนจนเปนที่ยอมรับทั้งในวงการศิลปะและกับสังคมปจจุบัน ทั้งๆ ที่ตอนตนอาจจะไมไดเรียนศิลปะมา
เลยก็ตาม นาสนใจไหมครับวาจริงๆ แลวเอกลักษณเฉพาะของแตละคนนั้นมาจากไหน ถึงตอนนี้ผมก็ไดแตหวัง
วาลักษณะเฉพาะที่กลาวมาทั้งหมดจะทําใหศิลปนหลายๆ คนกลับมามองยอนดูงานของตัวเองวาเปนเรื่องจริง
หรือลวง

[1]
http://www.bionews.org.uk/page_54471.asp
[2]
http://www.theguardian.com/artanddesign/2009/nov/29/identity-eight-rooms-nine-lives
[3]
http://www.theguardian.com/artanddesign/2009/nov/29/identity-eight-rooms-nine-lives
ภาพประกอบจาก Wellcome Collection

เอพริล แอชลีย
ฟรันซ โยเซฟ ไกล

ฟโอนา ชอว
ภาพการทํางานสมองโดย ฟรันซ โยเซฟ ไกล

สมอง 27 สวน โดย ฟรันซ โยเซฟ ไกล


ภาพถายพลทหารแหงเมืองชัทแฮม (Chatham Privates) โดย ฟรานซิส กัลตัน

ภาพถายฆาตกรจากเรือนจํามิลลแบงก (murderers from Millbank prison) โดย ฟรานซิส กัลตัน


Gay Icon
ฮีโรตนแบบ
National Portrait Gallery, London.

ศิลปน ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ผูมีผลงานภาพวาดใบหนาคนที่บิดเบี้ยวเปนที่เลื่องลือ


เพราะงานติดอันดับตนๆ ของภาพวาดที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ผูซึ่งเคยใหโจรที่ขึ้นบานมารวมใชชีวิตรวมกัน
ฉันคูรัก จนกลายเปนภาพยนตรที่มีพระเอกเจมส บอนด อยาง แดเนียล เคร็ก (Daniel Craig) รับบทเปนโจร
คนนั้น, เดวิด ฮอกนีย (David Hockney) วาดภาพชีวิตสวนใหญเกี่ยวกับตัวเองและคูรักที่ซอนเรน ซึ่งประกาศ
ตัวเองอยางโจงแจงในงานวาเปนเพศที่สาม แตถึงกระนัน้ เขาก็ไดรับการยกยองในฝมือและความเปนอัจฉริยะ
ทางศิลปะจากคนอังกฤษ นักสู และนักการเมือง เพื่อเรียกรองเสรีภาพใหกับสังคมชาวเกยอยาง ฮารวีย มิลก
(Harvey Milk) จบชีวิตลงดวยความเศรา เพราะถูกนักการเมืองที่ไมชอบยิงตาย เรื่องนี้เคยเปนภาพยนตรที่โดง
ดัง นําแสดงโดย ฌอน เพนน (Sean Penn)
นักเขียนบทโทรทัศนใหกับ BBC อยาง โจ ออรตัน (Joe Orton) ก็จบชีวิตลงดวยการฆาตกรรมอยาง
โหดเหี้ยมทั้งอายุยังนอย, นักเขียนหญิง เควนติน คริสป (Quentin Crisp) ในยุคป 70 ที่ประกาศตัวเองเปนเล
สเบี้ยน กับงานเขียนหลายเลมที่เปนหนาประวัติศาสตร, นักประพันธเพลงชาวเกยจากรัสเซียอยาง ปออตร ไช
คอฟสกี (Pyotr Tchaikovsky) กับผลงานเพลงที่เปนที่รูจักอยาง Swan Lake (1876) และ The Sleeping
Beauty (1889), ศิลปนนักรองเลสเบี้ยนอยาง เค.ดี. แลง (k.d. lang) ซึ่งไดรับรางวัลแกรมมี (Grammy
Award) มาหลายปติดตอกัน, กลุมนักดนตรี วิลเลจ พีเพิล (Village People) ซึ่งเปนขวัญใจเพลงนักเตนยุคดิส
โกยังรุงเรือง ยุคป 70 กับเสื้อผาที่มีสีสันบาดตา, เบอรนี ทอพิน (Bernie Taupin) นักแตงเพลงที่มีหลายเพลง
โดงดัง เชน Tiny Dancer และ “Candle in the Wind” ใหกับ เอลตัน จอหน (Elton John) และนักแสดง
เชื้อสายอเมริกัน อิตาเลียน โจ ดัลเลสซานโดร (Joe Dallesandro) หนึ่งในนักแสดงที่มีผลงาน Flesh (1968)
และ Trash (1970) อันเปนที่กลาวถึงจนทุกวันนี้กับผูกํากับศิลปนแนวศิลปะสมัยนิยม (Pop Art) อยาง แอนดี
วอรฮอล (Andy Warhol) ทั้งหมดนี้คือสวนหนึ่งของผูเปนตนแบบในนิทรรศการนี้
การแสดงภาพเหมือนของบุคคลที่เปนตนแบบในหนาประวัติศาสตรและวัฒนธรรม ในชวงกวา 150 ป
ที่ผานมาของบทบาทหนาที่เพศที่สามที่มีความสําคัญตอสังคมและเปนบุคคลที่มีอิทธิพลมีชื่อเสียงในวงการ
ตางๆ กวา 60 ภาพที่ผานการคัดเลือกโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคมจํานวน 10 คน ไดแก วาฮีด แอลลี
(Waheed Alli), อลัน ฮอลลิงเฮิรสต (Alan Hollinghurst), เอลตัน จอหน, แจ็กกี เคย (Jackie Kay), บิลลี
จีน คิง (Billie Jean King), เอียน แมคเคลเลน (Ian McKellen), คริส สมิท (Chris Smith), เบ็น ซัมเมอรสคิล
(Ben Summerskill), แซนดี ทอกสวิก (Sandi Toksvig) และ ซาราฮ วอเตอรส (Sarah Waters) โดยแตละ
คนจะเลือกเกยตนแบบ 6 คนจากประวัติศาสตรชวง 150 ปที่ผานมา เพราะถือวาเปนชวงเวลาที่ประเทศ
อังกฤษไดยอมรับคนกลุมนี้ทางกฎหมาย โดยจัดแสดงที่ เนชันแนล พอรเทรต แกลลอรี (National Portrait
Gallery) ในกรุงลอนดอน
Gay Icons คือการคัดสรรบุคคลที่เปนตนแบบของชาวเกย ไมวาเขาผูนั้นจะมีรสนิยมทางเพศแบบใด
แตถาพวกเขามีความนาสนใจและสามารถเปนแรงบันดาลใจใหกับเพศที่สามและกับคนอื่น ก็ถือวาพวกเขามี
คุณคาสําหรับนิทรรศการนี้ ไมวาพวกเขาจะยังมีชีวิตอยูหรือไม หลายคนเปนบุคคลที่มีชื่อเสียง เปนฮีโรขวัญใจ
ชาวเกย มีบทบาทในทางสังคม ทางการเมือง หรือเปนจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร หรือบางคนแทบจะไมเปน
ที่รูจักหรือคุนหนาตาวาเขาคือใคร แตพวกเขาก็เปนเสมือนฮีโรในใจของบุคคลที่เลือกมาในครั้งนี้ อีกทั้งจะเห็น
ไดจากบุคคลหลากหลายอาชีพ หลายสาขา ทั้งที่เปนบุคคลรักรวมเพศและไมใช แตเปนขวัญใจชาวเกย
อยางเชน ประธานาธิบดี เนลสัน แมนเดลา (Nelson Mandela) และเจาหญิงไดอานา เปนตน
โปรเจกตนี้ไดรับการเสนอโดย Bernard Horrocks โดยมี Sandy Nairne ผูอํานวยการของเนชันแนล
พอรเทรต แกลลอรี กลาววา “เกย ไอคอนส เปนเสมือนนิทรรศการที่จะใหแรงบันดาลใจ ทั้งในเรื่องราวสวนตัว
และสาธารณะเพื่อเปนการแชรประสบการณรวมกัน หลากหลายเรื่องราวจากบุคคลเหลานี้ ลวนเปนเรื่องราวที่
กลาหาญและเปนเรื่องที่กลาพลิกประวัติศาสตรบางหนาของสังคม”
นิทรรศการนี้เปนการเปดหนาประวัติศาสตรที่สงถึงคนในสังคมใหไดตระหนักถึงการยอมรับบุคคลที่มี
ความแตกตางกับพวกเขาแตสามารถอยูและไดรับการยอมรับยกยองเหมือนเปนตนแบบ เฉกเชนบุคคลใน
สังคมอื่น ถึงเวลาที่จะยกยองบุคคลเหลานี้ใหมีความสําคัญกับสังคม เพราะคุณคาและความดีงามของพวกเขา
นั้นก็เปนสิ่งที่เปนประโยชนกับสังคมเชนกัน ถาในอนาคตประธานาธิบดีหรือผูนําชาติใดเปนเพศที่สาม คนผูนั้น
คงจะเปนคนตนแบบที่โดดเดนมากที่สุดของบุคคลในโลกที่หลากหลายดังเชนทุกวันนี้

http://www.npg.org.uk/gayicons/exhib.htm
http://www.pinknews.co.uk/2009/07/24/review-national-portrait-gallery-salutes-gay-icons/
http://www.wexphotographic.com/blog/gay-icons-national-portrait-gallery
ภาพประกอบจาก National Portrait Gallery

โจ ดัลเลสซันโดร

เค.ดี. แลง
โจ ออรตัน

ฮารวีย มิลก
ฟรานซิส เบคอน

เดวิด ฮอกนีย
Found
สิ่งมีคาที่หาเจอ
Haunch of Venison, London

หลายปที่ผานมา เรื่องของปญหาสิ่งแวดลอม มลพิษ ขยะลนโลก ก็ยังเปนเรื่องที่สื่อและผูคนยังให


ความสนใจ แตลึกๆ นั้น ยังปฏิเสธไมไดวา มนุษยยังคงเปนผูทําใหโลกใบนี้เต็มไปดวยมลพิษตางๆ คุณเคย
สังเกตรอบตัวเองบางไหมวา ในหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห หนึ่งเดือน ขยะตอคนหนึ่งคนนั้นมีปริมาณเทาใด ซึ่งถาเอา
ปริมาณนั้นมาคํานวณกับประชากรทั้งประเทศ ทั้งโลก จะมากมายมหาศาลแคไหน จึงไมนาแปลกใจวา “ของที่
ผลิตขึ้นมาทุกวันนี้มีความสําคัญกับมนุษยจริงๆ หรือไม หรือเปนแคการแสดงความฉลาด ความสามารถของ
มนุษย” เพราะทายที่สุดแลว เมื่อมันไมมีความสําคัญมันก็จะกลายเปนขยะรกโลกนั่นเอง

สจวรต เฮยการท (Stuart Haygarth) นักออกแบบและศิลปนเชื้อสายอังกฤษ ไดสนใจใน


ความสัมพันธตอสิ่งของที่ถูกทิ้งขวาง เขาไดนําความคิดนี้มาตอยอดเปนความคิดวา “ของที่มีคาและสวยงาม
จําเปนตองมาจากของราคาแพงเทานั้นหรือ” เขาไดใชเวลาหลายปเริ่มเก็บสะสมสิ่งตางๆ ไมวาจะเปนงานเซรา
มิก ตุกตา แวนตา แกว พลาสติก ที่ทิ้งแลว จากการตระเวนไปตามที่ตางๆ เชน เดินเลนตามชายหาด ขี่
จักรยาน เดินไปตลาด หรือแมแตการเดินผานสุสานรถยนตก็ตาม สิ่งของเหลานี้ไดใหแรงบันดาลใจใหมๆ
สําหรับเขา เมื่อสามารถนํามันมาทําใหมใหมีประโยชนใชสอย สัมผัสได เปลี่ยนจากสิ่งของไรคา กลายเปนงาน
ที่มีความสําคัญ

งานโชวชิ้นใหมของสจวรตที่ ฮอนช ออฟ เวนชัน (Haunch of Venison) ในลอนดอน ชื่อนิทรรศการ


วา Found กับผลงานชุด Lighthouse (2009) นั้นประกอบไปดวยโคมไฟจากหลากหลายวัสดุ ที่เขาบอกวา
เปนตัวสะทอนพฤติกรรมและนิสัยของผูคนในทุกวันนี้ เชน การนําเอากระจกขางรถยนตกวา 350 อันมา
ประกอบกันเปนโคมไฟขนาดใหญ ที่เมื่อแสงสองกระทบจะเปลงประกายสะทอนกระจกไปรอบๆ หอง หรือการ
เอาเศษกระจกรถที่แตกประกอบขึ้นมาใหมใหกลายเปนโตะวางของสุดโมเดิรน ทั้งหมดนี้เพื่อสะทอนวา “โลก
สมัยใหมกับพฤติกรรมการบริโภคของมนุษยที่รวดเร็วนั้นชางนากลัวเหลือเกิน”

เมื่อตอนที่เขาเดินชายหาดที่เมืองดันเจเนสส (Dungeness) ของอังกฤษ เขาไดพบกับฝาขวดและขวด


ตางๆ ลอยอยูในทะเล และเมื่อนํามันมาประกอบเขากับขวดพลาสติกแบบตางๆ ก็กลายเปนโคมไฟตั้งพืน้ ที่มี
สีสันแสบตา และกับงานชุด Barnacle (2009) ซึ่งนําเอาแผนพลาสติกสีดําจากซากเรือมาประกอบเขากันใหม
กับเรซิน กลายเปนตูใสของที่มีลิ้นชัก บานเปด เปรียบเหมือนเปนสวนหนึ่งของอนุสรณรําลึกถึงซากเรือ
ปรักหักพังที่ดําดิ่งลงทะเล สิง่ ที่เขาสะสมทั้งตุกตาเซรามิกที่นารักรูปแมวและสุนัข นํามาประกอบเปนฐานโคม
ไฟตั้งโตะ และโคมไฟเบื้องหนาที่เหมือนแมงกะพรุน แทจริงแลวคือโคมไฟที่ทําจากขาแวนตาหลายพันอัน
ประกอบกัน อีกทั้งเขายังเอาเลนสหลากสีของแวนตามารอยกันเปนรูปทรงกลมแขวนหอยไวยังกึง่ กลางหอง

สจวรตกลาววา “กวาที่ผมจะทํางานใหออกมาอยางที่เห็นไดตองอาศัยเวลาหลายป จากการที่คอยๆ


เริ่มเก็บสะสมงานอันหลากหลายรูปแบบ นํามาประกอบ มาทดลองอยูในสตูดิโอของผมอยูนานจนเปนที่พอใจ
แตดวยความที่ผมไมไดเรียนออกแบบผลิตภัณฑมาโดยตรง จึงไมมีความคิดที่จะตอบสนองการออกแบบใน
ระบบอุตสาหกรรมที่ตองผลิตจํานวนมากเพื่อจําหนาย และดวยเพื่อนสนิทของผมทํางานดวยกันเปนศิลปน
งานของผมจึงออกมาประหนึง่ เปนงานประติมากรรมไปดวย ซึ่งนัน่ เปนขอดีขอหนึ่ง ที่ทําใหผลงานทั้งหมดของ
ผมดูแตกตางจากนักออกแบบคนอื่นๆ ที่นําวัสดุที่ใชแลวมาออกแบบใหม แตนั้นก็เหมือนเปนแคการตอบสนอง
ทางธุรกิจในระบบอุตสาหกรรมอยูดี เพราะทายที่สุดแลววันหนึ่งงานพวกนัน้ ก็ยอนกลับมากลายเปนขยะอยาง
เดิมนั่นเอง แตงานของผมไมไดมีความคิดเชนนั้น เนื่องจากทําออกมาจํากัด (limited edition) ใหนักสะสมได
ซื้อเหมือนงานศิลปะ ซึ่งก็ปฏิเสธไมไดวาคุณซื้อความคิดของผม มากกวาซื้อวัสดุที่ครั้งหนึ่งเปนแคขยะ”

สจวรต เฮยการท จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบเอ็กเซตเตอร (Exeter


College of Art and Design) ในป 1988 เขาใชเวลาถึง 15 ป ทํางานเปนนักออกแบบกราฟกอิสระใหกับ
หลายบริษัท เชน โซนี (Sony), พอรช (Porsche) และ บีบีซี (BBC) จนกระทั่งในป 2003 จึงไดเริ่มทํางาน
ทดลองชุดแรกในชื่อวา Lost and Found ซึ่งเปนงานโคมไฟจัดวาง และเมื่อป 2004 ไดแสดงงานในอีกหลาย
ประเทศทั้งแถบยุโรป อเมริกา และเอเชีย อีกทั้งยังแสดงงานเดี่ยวในอีกหลายแกลลอรีในลอนดอน ซึ่งเขาอาศัย
และทํางานในปจจุบัน

http://www.modemonline.com/art/modem-mag/news/438

http://www.dezeen.com/2009/12/04/found-by-stuart-haygarth-at-haunch-of-venison/
ภาพประกอบจาก Haunch of Venison

โคมไฟจากกระจกขางรถยนต

โคมไฟจากขาแวนตา
โตะจากเศษกระจกแตก โคมไฟจากแวนตา

โคมไฟฐานตุกตาเซรามิก โคมไฟจากฝาขวด
TellingTales: Fantasy and Fear in Contemporary Design
นิทานออกแบบปรัมปรา
V&A Museum, London

ชวงสองสามปที่ผานมา งานที่เรียกวา “ดีไซนอารท” (Design Art) ซึ่งมักจะใชเรียกกับงานที่มี


สวนผสมระหวางศิลปะ หัตถกรรม และงานออกแบบ มักจะไดรับความสนใจจากนักสะสมชิ้นงาน งานซึง่
ออกแบบหรือทําขึ้นโดยนักออกแบบ โดยมากจะทําขึ้นเพียงแคชิ้นเดียวหรือชุดเดียว เฉกเชนงานศิลปะชิ้นหนึ่ง
ซึ่งถาจะเปรียบวาเปนประติมากรรมในทางศิลปะหรือไม ก็ตองบอกวา “ไมใช” เพราะถึงอยางไรดีไซนอารทก็
ยังคงมีประโยชนใชสอยในทางออกแบบมากกวาจะเปนแคงานศิลปะเทานั้น

Telling Tales นิทานปรัมปรา ซึ่งนําโลกของงานออกแบบรวมสมัยสูจินตนาการอันทาทาย ตอกรกับ


ความกลัว กับผลงานกวา 50 ชิ้น ซึ่งมีทั้งงานเฟอรนิเจอร เซรามิก โคมไฟ และงานออกแบบจัดวาง โดยมี
ศิลปนและนักออกแบบซึ่งเปนที่รูจักกันอยางดีนําผลงานมาแสดง เชน ทอรด บุนชิ (Tord Boontje), มารเตน
บาสส (Maarten Baas), เยอรเกน เบย (Jurgen Bey) และ สตูดิโอ จ็อบ (Studio Job) เปนตน โดยไดรับการ
เลือกสรรผลงานจากภัณฑารักษ กาเร็ท วิลเลียมส (Gareth Williams)

นิทรรศการนี้แบงออกเปนสวนแสดง 3 สวนดวยกัน โดยสวนแรกนัน้ ใชชื่อวา The Forest Glade


ไดรับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติผสมกับจินตนาการ โดยไดรับอิทธิพลมาจากเทพนิยายในการสรางสรรค
ผลงาน เชน ทอรด บุนชิ กับผลงาน The Fig Leaf wardrobe (2008) เปนเสมือนตูเสื้อผาจากจินตนาการ
ประกอบไปดวย 616 แผนทองแดงเพนตสีรูปใบไม เหมือนกับเปนตูเสื้อผาของเจาหญิงที่เปนตัวละครของเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่ง ดานในมีไมแขวนเสื้อที่เปนกิ่งไม เสมือนมีบานอยูในปา และอีกชิ้นงานเปนเกาอี้ Petit Armchair
(2006) ซึ่งทําจากแผนเหล็กฉลุลายโดยชางฝมือ ออกแบบเพื่อใชนั่งทามกลางสวนที่มีความเขียวสะพรั่งของ
ธรรมชาติแวดลอม

สวนที่สอง The Enchanted Castle เปนงานที่ลอเลียนความเกินจริงกับประวัติศาสตรการออกแบบ


และสไตลงานโบราณ งานชิ้นแรกของสตูดิโอจ็อบ กับผลงาน Robber Baron (2006) เปนเฟอรนิเจอรทําจาก
การหลอสัมฤทธิ์ชุบทอง เหมือนทําเพื่อลอเลียนการออกแบบที่ฟุมเฟอยของยุคสมัยหลังวิกตอเรียที่มี
รายละเอียดมากมายเกินความจําเปนและประโยชนใชสอยที่ไมเอื้อกับคนธรรมดา หรืออีกชิ้นงานเฟอรนิเจอรที่
นั่งคูรัก (loveseat) ที่ชื่อวา Lathe Chair VIII (2008) โดย เซบาสเตียน บราชโควิก (Sebastian Brajkovic)
ที่ไดรับอิทธิพลมาจากยุคศตวรรษที่ 19 โดยรวมเอาเกาอี้สองตัวเขาดวยกันเปน Love Seat ชิ้นใหมที่รวมสมัย
ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งประยุคการนั่งของคนสองคนจากเกาอี้ธรรมดานํามาขยายไอเดียตอเปนงานคลาสสิก
รวมจนถึง Cinderella Table (2005) ของ เยคุน เฟโฮเฟน (Jeroen Verhoeven) ที่ทําจากหินออนสีขาวตัด
ทอนรายละเอียดและทําโครงสรางโชวเนื้อแทของวัสดุใหเขากับยุคสมัย แทนคาวัสดุที่มีราคาใหตรงขามกับ
รายละเอียดของชิ้นงาน เปนตน

มาถึงสวนสุดทายกับ Heaven and Hell ซึ่งจะนําพาไปสูการระลึกถึงความตายและชีวิตหลังความ


ตาย เปนงานของ ลุก เมิรกซ (Luc Merx) ชื่อวา The fall of the damned เปน โคมระยา (Chandelier) ซึ่ง
ประกอบไปดวยรูปรางของมนุษย 170 ชีวิต ลองลอยกลางอากาศ เมื่อแสงลอดมาจะเหมือนสภาวะหลังความ
ตาย และผลงานเฟอรนิเจอรสําหรับสองชีวิตรูปทรงหัวกะโหลกที่ชื่อวา Sensory Deprivation Skull (2007)
ของ โยป ฟาน ลีเชาท (Joep Van Lieshout) ซึง่ ทําจากไฟเบอรกลาสงานนี้อาจจะตั้งคําถามกันไปวา ชีวิตกับ
ความตายนั้นคือแหลงพักพิงของมนุษยหรืออยางไร ซึ่งภาพรวมของสวนนี้อาจจะไมไดหมายถึงการตายเพียง
อยางเดียว แตรวมถึงการใชชีวิตทั้งกอนหนานั้นและหลังจากนั้นดวย

จากคํากลาวของภัณฑารักษ กาเร็ท วิลเลียมส ที่วา “จุดประสงคของนิทรรศการนี้เปนการนําเสนอ


หนทางของงานออกแบบในชวงปที่ผานมาซึ่งงานทุกชิ้นนั้นมีเรื่องราวที่ตองการจะบอกตอกับผูชมและเราก็
ตองการที่จะนําเสนอผลงานนั้นเพื่อเปนตัวอยางของงานที่สรางสรรคและเพื่อเปนการจุดประกายการ
สรางสรรคการออกแบบสิ่งใหมๆ ใหกับวงการออกแบบตอไป”

จากนิทรรศการ Telling Tales จะเห็นไดวา จินตนาการนั้นสําคัญที่สุด เมื่อนักออกแบบตองการที่จะ


หลุดพนจากกรอบที่เคยทํามา ตองการที่จะหลุดพนจากประโยชนใชสอยที่ไดเคยร่ําเรียนกันมา สิ่งที่จะเปนตัว
ชวยไดนั้น นั่นคือ กลับไปสูโลกของนิทานเมื่อตอนเปนเด็ก โลกที่ไมมีเสนของความถูกผิด มีแคเรื่องของความดี
งามเทานั้น จากนั้นเก็บเกี่ยวความฝนจินตนาการของโลกเสมือนจริงมาใชกับโลกแหงความเปนจริง เพราะนั่น
คือชวงเวลาที่มีความสุขมากที่สุด

http://www.iconeye.com/read-previous-issues/icon-076-|-october-2009/telling-tales

http://www.theguardian.com/artanddesign/2009/jul/17/victoria-and-albert-telling-tales

http://www.dezeen.com/2009/07/15/telling-tales-at-the-va/
ภาพประกอบจาก V&A Museum

Telling Tales
The Fig Leaf Wardrobe (2008) โดย ทอร์ ด บุนชิ

Pyramid of Makkum (2008) โดย สตูดิโอ จ็อบ


Robber Baron (2006) โดย สตูดิโอ จ็อบ

Robber Baron Cabinet (2006) โดย สตูดิโอ จ็อบ


Lathe Chair VIII (2008) โดย เซบาสเตียน บราชโควิก

Cinderella Table (2005) โดย เยคุน เฟโฮเฟน


Sensory Deprivation Skull (2007) โดย โยป ฟาน ลีเชาท

The fall of the damned โดย ลุก เมิรกซ


TH.2058
ศิลปะโต เมื่อฝนตก
Tate Modern, London

ตุลาคม ป ค.ศ. 2058 ณ พิพิธภัณฑเทต โมเดิรน (Tate Modern)


เสียงเพลงจากวิทยุบรรเลงเพลงจังหวะบอสซาโนวาที่ดูโศกเศราของชวงป 1958 ทามกลางฝนที่ตก
กระหน่ําอยางบาคลั่ง ไมมีสักวินาทีไหนที่ไมไดยินเสียงของมัน ผูคนตางเปลี่ยนวิถีทางในความเปนมนุษย ไมวา
จะเปนเรื่องของการแตงกาย การทองเที่ยว หรือกิจกรรมตางๆ เพื่อใหเขากับภาวะเชนนี้ ความฝนหนึ่งเดียว
ของชาวลอนดอนนั่นคือ “ทะเลทรายที่แหงแลง” [1]

เฉกเชนเดียวกับสิ่งอื่นที่ไดรับผลกระทบจากเม็ดฝนที่ถาโถม การกัดเซาะของน้ําฝนกับประติมากรรม
ทําใหเกิดสนิม และเหตุการณประหลาดก็เกิดขึ้น เมื่อพวกมันเริ่มโตขึ้นและโตขึ้นเหมือนตนไมที่กระหายน้ํามา
เปนเวลานานแสนนาน เตียงนับรอยเตียงทามกลางประติมากรรมหลายชิ้นเพื่อเตือนความทรงจําของศิลปน เฮ
นรี มัวร (Henry Moore) กับงานชุด The Shelter Drawings (1940-1941) แอปเปลถูกกัดกิน Apple Core
(1992) ศิลปน แคลส โอลเดนเบิรก (Claes Oldenburg) แมงมุมยักษของคุณยายหลุย บูรชัวส (Louise
Bourgeois) และนกฟลามิงโกสีแดงของ
อเล็กซานเดอร คัลเดอร (Alexander Calder) เตียงเหลานั้นถูกบรรจุดวยผูคนที่อพยพเขามายังโถงกลางแหงนี้
เตียงแตละเตียงถูกวางดวยหนังสือหนึ่งเลมใหอาน เพื่อลดความหดหู จอภาพที่อยูเบื้องหนาฉายหนังที่ดูแปลก
แหวกจากการตัดตอหนังวิทยาศาสตรเรื่อง Solaris (1972), Fahrenheit 451 (1966) และ Planet of the
Apes (1968) ผสมปนเปไปกับงานนามธรรมของ โจอันนา โวด (Johanna Vaude) ชิ้นที่ชื่อวา L'Oeil
Sauvage (1998) สลับกับรูปภาพจากนิยายวิทยาศาสตรเรื่อง La Jetée (1962) ซึ่งดําเนินเรื่องดวยรูปถาย
เกือบทั้งเรื่องและกํากับโดยคริส มารกเกอร (Chris Marker) ในตอนนี้ที่นี่ถูกปดมากวาป เพื่อปองกันการทวม
ของน้ําฝน จนงานศิลปะกลายเปนเรื่องนาฉงนของภาวะเชนนี้ ภาพที่ซอนกันเหมือนหยดน้ํากระเพือ่ ม ซึ่งมีทั้ง
งานประติมากรรม วรรณกรรม ดนตรี ภาพยนตร ภาพของผูคนและเสียงสายฝน ถูกรวมไว ณ ที่นี้ [2]

โดมินิก กอนซาเลซ ฟอสเตอร (Dominique Gonzalez-Foerster) เกิดที่เมืองสตราสบวรก


(Strasbourg) ในป 1965 ปจจุบันอาศัยและทํางานที่ปารีสและบราซิล งานชุดนี้เกิดจากความรวมมือของ “ยูนิ
ลีเวอร” (Unilever) แบรนดยักษใหญซึ่งรวมกับทางพิพิธภัณฑเทต โมเดิรน ใหทุนศิลปนทํางานศิลปะที่
สรางสรรคชิ้นนี้ และจัดขึ้นเปนครั้งที่ 9 แลว โดยไดภัณฑารักษ เจสซิกา มอรแกน (Jessica Morgan) เปนผู
คัดเลือกศิลปนและควบคุมงาน ถาจะกลาวถึงผลตอบรับซึ่งมีทั้งนาชื่นชมและอีกสวนก็ไดรับเสียงคอนขอด
จํานวนเอาการ ตามจริงแลวผลงานของเธอ มักจะไดรับความนาสนใจในเรื่องของแนวความคิดที่คมและลึก
นองชายของผมบอกวาปนดวยความโรแมนติกอีกตางหาก และไมนิยมทํางานแบบลางผลาญวัสดุเชนงานชุดนี้
มากอน (เธอเคยทํางานชุดนี้ขนาดเล็กมากอนแลวครั้งหนึ่ง) จึงนาแปลกใจที่งานนี้เธอกลับใชพลังของขนาดให
ล้ําหนากวาแนวทางที่เธอเคยทํา บางคนตั้งขอสงสัยวา งบของงานศิลปะที่อยูเบื้องหนาอันแสนอลังการงานนี้
หมดไปเทาไหร บางคนตั้งคําถามวาศิลปะแปลวาอะไร อีกหลายคนก็ตระหนักในอนาคตอีกหลายสิบปที่จะ
มาถึง ดังจินตนาการที่เธอคาดการณไว ทั้งหมดทั้งมวลคือประเด็นที่นาสนใจ สําหรับตัวผม ผมชอบงานชุดนี้
ชอบแนวความคิดของเธอและหลายงานกอนหนานั้น มีขอสงสัยขอเดียวคือ ทําไมสปอนเซอรที่นี่ใจดีอยาง
มหาศาลถึงกับยอมลงทุนเนรมิตงานศิลปะใหออกมาไมเปนศิลปะเชนนี้ เหมือนสงงานศิลปะเขาประกวดบาน
เราที่เนนปริมาณเขาวาอยางไรอยางนั้น

ชวงเวลานี้เทต โมเดิรน ไดปรับเปลี่ยนนิทรรศการถาวรอยางสิ้นเชิง ตางจากเมื่อสองปกอนที่เคยมา


ผมเคยใชเวลาอยูที่นี่เปนวันและหลายๆ วันมาชมนิทรรศการหลายครั้งดวยความชื่นชม นึกฝนเหมือน โดมินิก
กอนซาเลซ วา ในอีก 50 ปขางหนา บานเมืองของเราจะมีงานศิลปะชั้นดีมาอยูในหอศิลปชั้นดี ที่ซึ่งตอนนี้หอ
ศิลปกลายเปนหางสรรพสินคาตามละแวกไปเสียฉิบ กรุงเทพฯ คงไมมีน้ําทวมจนประติมากรรมสามารถ
เจริญเติบโตใหญยักษตามงานของเธอ เพราะเราคงไมมีสปอนเซอรเจาไหนจะมาสนใจงานศิลปะ มากกวาสราง
ปายโฆษณาที่ไมสรางสรรคตามทองถนน ในมุมกลับกัน ถาน้ําทวมกรุงเทพฯ จริง คงมีสิ่งที่งอกเงยที่เรียกวา
“ขยะ” มากกวาจะเปนงานศิลปะที่ตองโผลพนเหนือน้ํา

ในสวนนิทรรศการถาวร ตอนนี้ยังเปดไมครบทุกสวน แตมีงานที่นาสนใจชั้นที่ 3 โดยมีการแบงสวน


การแสดงออกเปนหัวเรื่องตางๆ เชน Poetry and Dream จัดแสดงนิทรรศการรวมสมัยโดยเชื่อมโยงถึง
รากเหงาที่มา ซึ่งเชื่อมโยงถึงศิลปะในอดีต ตรงกลางหองหลักแสดงงานแนว Surrealism ในขณะที่รอบขาง
เปนงานที่เกี่ยวกับโลกของความฝน สิ่งลี้ลับ และสัญลักษณที่แปลกประหลาด เปนตน มีงานนับรอยๆ ชิ้นใหได
ชมกัน เชน ในหองที่ 5 เปนงานของสองศิลปนปาโบล ปกัสโซ (Pablo Picasso) และ ฟรานซิส เบคอน
(Francis Bacon) ซึ่งโดดเดนที่ทั้งสองวาดภาพที่เกี่ยวกับรูปรางของมนุษยและมักจะมีการบิดเบือนรูปทรงที่
แทจริงอยางสุดขั้ว บางทีก็เกี่ยวของกับแงของอารมณที่ผสมหลักจิตวิทยามาเกี่ยวของดวย โดยมีคํากลาวของ
เบคอนที่เกี่ยวกับงานหลอนของเขาวา “เหมือนกับความเปนมนุษยไดเคลื่อนผานอยางชาๆ เฉกเชนดังหอยทาก
เคลื่อนออกจากทางเดินของผูคนที่ปรากฏ และบันทึกซากความทรงจําของเหตุการณในอดีตไว” และในหองที่
6 งานของ โจเซฟ บอยส (Joseph Beuys) ศิลปนชาวเยอรมันซึ่งมีความสําคัญในยุคศตวรรษที่ 20 เขาเปน
ศิลปนที่รูจักกันดีในฐานะศิลปนที่ทํางานแนวแสดงสด (Performances) ประติมากรรมจัดวาง (Installation)
และงานแนวความคิด (Conceptual) ซึ่งทั้งหมดนี้ไดเปดโลกของสิ่งลี้ลับ การเมือง และความสําคัญของผูคน สู
โลกของธรรมชาติ งานที่แสดงในที่นี้ 2 ชุด คือ The Pack (1969) และ Lightning with Stag in its Glare
(1958–1985) เขามักใชวัสดุที่พบไดทั่วๆ ไป พรอมทั้งใชสัญลักษณบางอยางในงานที่เกี่ยวของทั้งกับ
วิทยาศาสตร มานุษยวิทยา และเรื่องราวของชีวิตตนเองชวงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เขาไดถูกชวยชีวิตโดยกลุม
“ทาทารส” (Tatars) ดวยการใชไขมันสัตวรักษาชีวิต งานสวนใหญยังเกี่ยวของกับพลังงานธรรมชาติ โดย
สัมพันธกับความตายมาพวงอยูกับงานดวยเสมอ

ในชั้นเดียวกันนี้เอง ยังมีงานอีกสวนที่ชื่อวา Material Gestures ในสวนนี้มีทั้งงานประติมากรรมและ


จิตรกรรม รวมทั้งงานอืน่ ๆ ในชวงป 1940–1950 โดยแสดงงานแนวนามธรรมหลังชวงสงครามยุโรปและ
อเมริกา โดยจะใชศักยภาพของศิลปนผูซึ่งสามารถพัฒนางานของตัวเองไปสูหนทางใหมๆ ที่ไมอาจคาดการณ
ไดแนนอน มีศิลปนทั้ง อองรี มาติส (Henri Matisse), ปาโบล ปกัสโซ และมิโร (Miró) เปนตน พวกเขาเหลานี้
สามารถคนพบแนวทางใหมของตัวเองในการทํางานยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองเปนตนมา แตผมกลับสนใจ
งานที่อยูในหองที่ 9 เปนของศิลปน พอล แมคคารทีย (Paul McCarthy) เกิดในชวงป 1945 ในเมืองซอลตเลก
(Salt Lake City) อเมริกา งานของเขามักไดอิทธิพลของรายการโทรทัศน หนังโป เรื่องเขยาขวัญ สวนสนุก
และนิทานปรัมปรา เพื่อเปนการสะทอนสังคม โดยงานที่แสดงที่นี่ Projection Room (1971–2006) เปนงาน
ที่รวบรวมวีดีโอทั้งหมด 17 ชิ้น ทําตั้งแตป 1972 ถึง 1978 ตลอดจนสไลดกวา 170 ชิ้น ซึ่งมักถายทําขึ้นใน
สตูดิโอของเขาเองทั้งที่เมืองพาซาเดนา (Pasadena) และลอสแอนเจลิส ผูที่แสดงมักจะเปนเพื่อนสนิท เปน
ภรรยา (คาเรน แมคคารทีย, Karen McCarthy) และศิลปน อัลลัน คาโพรว (Allan Kaprow) ผมดูผลงานชิ้น
นี้ดวยความอึ้งหลายประการ เหมือนดูหนังสยองขวัญของพวกฮอลลีวูดที่มักฉายใหเห็นเลือดเห็นเนื้อสะใจคนดู
ในขณะหนึ่งก็อยากจะรูเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันทั้งงานวีดีโอและสไลด วามันบงบอกความคลั่งอะไรสักอยางของ
คนอเมริกันในงานศิลปะ หรือที่เห็นเปนแคฝนรายที่บังเอิญผานเขามาดู

บทสรุปของงานศิลปที่เทต โมเดิรน หลังจากใชเวลานานโข เฝาเดินดูงานอีกหลายชิ้นที่ไมไดนํามา


กลาวขางตน ดวยอารมณอันเบิกบาน อยากจะเขียนถึงความเกงกลาสามารถของศิลปนทุกผูทุกนาม แตขอละ
เอาไวกอน เพราะคงจะไดมาที่นี่อีกหลายครั้งอยางแนนอน และในอนาคตก็คงมีงานดีๆ อีกหลายงานใหไดมี
โอกาสแวะเวียนมาชมที่นี่อีกแนนอน

[1]
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series-dominique-gonzalez-foerster/dominique-gonzalez-0
[2]
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series-dominique-gonzalez-foerster/dominique-gonzalez-0
http://www.telegraph.co.uk/culture/art/3562113/TH.2058-A-nightmare-unleashed-at-Tate-Moderns-Turbine-Hall.html
ภาพประกอบจาก Tate Modern

TH.2058, THE UNILEVER SERIES


Projection Room (1971–2006) โดย พอล แมคคาร์ ทีย์
Thirty Pieces of Silver (1988-1989) โดย คอร์ นีเลีย ปาร์ กเกอร์ (Cornelia Parker)

The Studio and Goat's Skull, Bottle and Candle (1952) โดย ปื กัสโซ
The Pack (1969) โดย โจเซฟ บอยส์

Three Figures and Portrait (1975) โดย ฟรานซิส เบคอน


Yellowand Green
ศิลปะไมใชความบังเอิญ
Museum für Moderne Kunst Frankfurt am Main, Frankfurt.

แฟรงกเฟรตเปนเมืองธุรกิจไมตางอะไรกับเมืองหลวงเมืองอื่นๆ ในประเทศที่เจริญแลว ตึกสูงระฟา


ของที่นี่ก็ติดอันดับสูงที่สุดเปนรองแคที่ปารีสเทานั้นในยุโรป ที่นี่ยังเปนเมืองที่ใหญที่สุดของรัฐเฮสสและใหญ
เปนอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยูริมฝงแมน้ําไมน (Main river) และเปนที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย
แฟรงกเฟรตและธนาคารกลางยุโรป และเมืองนี้ยังมีรายไดจากนักธุรกิจที่มาออกงานแฟรที่มีชื่อของที่นี่ปละ
หลายงานอีกดวย ผมไมไดสนใจประวัติศาสตรอันใดมีของเมืองนี้มากนัก นอกจากจะใชเวลาสองวันที่อยูที่นี่ให
คุมดวยการตระเวนดูงานศิลปะใหมากที่สุด เรื่องอื่นๆ เชน อาหาร ช็อปปง ทองเที่ยว คงปลอยไปตามเวลาที่
ควรจะเปนไปมากกวา และที่นี่ก็ไมไดทําใหผมผิดหวังเพราะมีพิพิธภัณฑศิลปะและอื่นๆ ใหผมดูอยางจุใจบน
ถนนเรียบแมน้ําไมนนั่นเอง เรียกวามีพิพธิ ภัณฑตึกเวนตึก เหมือนเปนยานพิพิธภัณฑเลยทีเดียว

พิพิธภัณฑแรกที่ผมมาเยือนคือพิพิธภัณฑศิลปะสมัยใหม (Museum für Moderne Kunst) ที่นี่ถูก


กอตั้งขึ้นเมื่อป 1983 หลังจากการประกวดแบบชนะเลิศของ ฮันส ฮอลไลน (Hans Hollein) สถาปนิกชาว
เวียนนา ซึ่งชนะการประกวดอาคารศิลปะแหงใหมของเมืองแฟรงกเฟรต ดวยรูปทรงที่เปนเหมือนชิ้นเคกที่ถูก
แบงซึ่งตั้งอยางพอดิบพอดีในที่ดินสามเหลี่ยมบนหัวถนนดอมสทราส 10 (Domstrasse 10) โดยเปดอยางเปน
ทางการเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 1991 ดวยพื้นที่จัดแสดงกวา 4,150 ตารางเมตร

นิทรรศการ “Yellow and Green” เปนนิทรรศการที่รวบรวมงานของศิลปนฝงอเมริกันและยุโรป


ในชวงป 1960 ซึ่งเปนคอลเลกชันของ “The Former Ströher” ซึ่งงานยุคนี้จะเปนตัวอยางของงานปอป
อารทและมินิมัลลิสม (Minimalism) ซึ่งมีงานชุดที่เกาที่สุดของ โรเบิรต ราวเชนแบรก (Robert
Rauschenberg) และ จอหน แชมเบอรเลน (John Chamberlain) และศิลปนปอปอารทชาวอเมริกัน เชน
รอย ลิชเทนสไตน (Roy Lichtenstein), แคลส โอลเดนเบิรก (Claes Oldenburg), จอรก ซีกัล (George
Segal) และ แอนดี วอรฮอล อีกทั้งยังมีงานของศิลปนรวมสมัยในยุคใหมอีกหลายคน เชน ฟชลิและเดวิดไวสส
(Fischli & David Weiss), เจฟฟ คูนส (Jeff Koons) โทมัส ดีมานด (Thomas Demand), อารเนาต มิก
(Aernout Mik) และ โทเบียส เรแบรการ (Tobias Rehberger) โดยที่งานพวกนี้จะไมจํากัดสื่อในการ
สรางสรรคดังเชนศิลปนปอปอารทในยุคกอนๆ ไดทํากัน ยังมีงานแนวมินิมัลลิสมของ โดนัลด จัดด (Donald
Judd), แดน ฟลาวิน (Dan Flavin), ลี โลซาโน (Lee Lozano), เฟรด แซนดแบก (Fred Sandback), บลิงกี
ปาเลอโม (Blinky Palermo) และ ชารลอตต โพสเนนสเคอ (Charlotte Posenenske) งาน มินิมัลลิสมที่
เหมือนจะฝงรากลึกลงไปในภาษาของงานศิลปะรวมสมัยเสียแลว งานหลายชิ้นเปนงานที่พบเห็นตามหนังสือ
ศิลปะหรือนิทรรศการที่อื่นๆ บาง แตอีกหลายงานก็เปนงานใหมที่มีความนาสนใจสามารถนําเอามารอยเรียง
เปนประวัติศาสตรการพัฒนางานยุคปอปอารทและมินิมัลลิสมมาจนยุคปจจุบันที่เราไมไดบงชัดวามันอยูในยุค
อะไรก็ตาม โดยที่ Yellow and Green เปนชื่องานหนึ่งของรอย ลิชเทนสไตน นั่นเอง งานที่คัดเลือกมาใหชม
เปนตัวอยางของแนวทางและแนวความคิดของงานนี้

อารเนาต มิก (Aernout Mik) เกิดที่เมืองโครนิงเกน (Groningen) ปจจุบันทํางานและอาศัยที่


อัมสเตอรดัม เนเธอแลนด กับงาน Middlemen (2001) เปนภาพจริงๆ จากตลาดหลักทรัพยหรือตลาดหุนที่
เรารูจักกันดี เขาเปรียบที่นี่เปนเหมือนโรงละครขนาดใหญมีผูคนที่แสดงอากัปกิริยาตางๆ นอกบท บางทีก็ดูนา
หัวเราะขบขันกับทาทางของพวกเขาที่เหมือนเปนตัวละครตัวหนึ่งที่ใสเสื้อแจ็กเก็ตลายตารางหมากรุก
เหมือนกันทุกคนจนกลายเปนการโคลนนิงลักษณะกันไป ภาพของผูคนที่อยูในอาการกระวนกระวาย บางเฉื่อย
ชา มีอารมณหลากหลาย กลับกลายเปนสัญลักษณบางอยางของสินคา การซื้อขาย และเงินตรา เหมือนเปน
การคลั่งในการบูชาหรือศรัทธาโลกที่ขับเคลื่อนโดยวัตถุนิยม จนมีคํากลาวเปรียบไดวาโลกนี้และโรงละครก็มีสิ่ง
ที่เหมือนกันอยางหนึ่ง นั่นก็คือ บทบาทที่เปนมายา ลวงตา และหลอกลวงดวยกันทั้งนั้น งานนี้ถูกนําเสนอผาน
จอฉายที่ไมไดตั้งไวติดกับผนัง แตตั้งไวกึ่งกลางหอง เพื่อใหผูเขาชมสามารถเดินดูฉากหลัง ซึ่งเปนแนวความคิด
ของศิลปนที่ตองการใหผูชมไดเห็นสิ่งที่อยูภายในหรือดานหลังของจอภาพ ไมไดมองมุมเดียวแงเดียวของชีวิต
ซึ่งอาจจะหมายถึงการสะทอนเขาไปในบทบาทของตัวละครที่มีทั้งเบื้องหนาเบื้องหลังในโลกแหงความเปนจริง
อีกดวย

สตีเวน พารริโน (Steven Parrino) เกิดและทํางานที่นิวยอรก คํากลาวที่วา “ภาพวาดก็ดูเปนแค


สี่เหลี่ยมผืนผาที่แขวนอยูบนผนัง” นาจะใชไมไดกับงานของเขา พารริโนไดกลาวไววา “ในอดีตซาตานคือผู
ทรยศตอพระเจา แตกับปจจุบันทุกคนไมวาจะเปนผูขับขี่ นักรองเพลงร็อก ผูไมศรัทธารัฐบาล หรือทุกคนที่พูด
วา “Fuck You” ก็ลวนเปนผูทรยศทั้งสิ้น” งานของเขาดูเปนการกบฏตองานจิตรกรรมที่ยุคนั้นผูคนตางทํางาน
ในลักษณะแสดงอารมณแนวนามธรรม (Abstract Expression) โดยมีการกลาวติดตลกวา สีดํานั้นดูจะเปน
หัวใจของงานจิตรกรรมนามธรรม (Abstract Painting) “สีดํา” สีที่สื่อถึงการเคารพ สิ่งลี้ลับ และการเครงครัด
แตสําหรับการเพนตของเขาดูจะเปนงานศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual Art) เสียมากกวา ไมวาจะเปนการ
เพนตลงบนเทปกาวที่ยับยน บนผา หรือแมกระทั่งบนโลหะ โดยเขามักจะเลาเรื่องและสื่อถึงการเปนหนุมนัก
บิดของเขาที่มีความแขงแกรง ดุดัน เหมือนรถมอเตอรไซตชอปเปอรซึ่งจริงๆ แลวมันก็เปนรถที่นอกกฎหมาย
ไมใชรถที่ขับไปตามทองถนนเหมือนงานของเขาที่ไมไดทําตามกฎ หรือวาดโดยคํานึงถึงประวัตศิ าสตรหรือ
ทฤษฎี เขาทําเพื่อที่จะเคารพตัวเองทั้งสิ้น ไมไดตองการทําเพื่อพระสันตะปาปา พระราชา หรือรัฐบาลใดๆ บาง
ทีงานของเขาก็ไดรับอิทธิพลจากงาน Silver clouds (1966) ของแอนดี วอรฮอล ซึ่งเปนลอโลหะของ
มอเตอรไซคที่สองแสงสวาง สุกใส หรืองานของมาเนต (Manet) ซึ่งเขาถือวางานของ มาเนตเปนงานที่ปะทะ
กับอิทธิพลของสังคม เหมือนมอเตอรไซคของเขานั่นเอง นาเสียดายที่เขาเสียชีวิตจากการประสบอุบัติเหตุทาง
มอเตอรไซคในป 2005 ไมเชนนั้นเราคงจะไดเห็นงานศิลปะจากศิลปนผูเปนกบฏแตเคารพตนเองอีกแนแท

แคลส โอลเดนเบิรก (Claes Oldenburg) ศิลปนชาวสวีเดน ทํางานชุด Bedroom Ensemble,


Replica I(1969) เพื่อจัดแสดงที่แกลลอรีซิดนีย จานิส (The Sidney Janis Gallery) นิวยอรก โดยแสดง
รวมกับศิลปนอีกสามคนคือ จิม ไดน (Jim Dine), เจมส โรเซนควิสต (James Rosenquist) และจอรจ ซีกัล
(George Segal) ในป 1964 โดยงานที่นํามาแสดงที่พิพิธภัณฑนี้เปนการทําจําลองจากที่แกลลอรีที่นิวยอรกมา
อีกทีหนึ่ง โดยศิลปนกลาววา “ตองการที่จะทํางานอะไรสักอยางที่แตกตางไปจากที่เคยทํา ซึ่งมันจะเปน
สวนผสมระหวางงานทดลองแนวมินิมัลลิสมและสิ่งที่เขาตองการทํานั่นก็คือเฟอรนิเจอรนั่นเอง” หองนอนที่
ประกอบไปดวยเฟอรนิเจอรที่ลวนเปนวัสดุที่ไมเกี่ยวของกับธรรมชาติเลย แตลวนเปนวัสดุที่สังเคราะหขึ้นมา
โดยฝมือมนุษย เชน เตียงที่คลุมดวยผาไวนิลและมีลายมาลายที่ดานบน โตะขางหัวเตียงที่ทําจากฟอรไมกาลาย
หินออนสีฟาที่มีขนาดไมเทากันโดยขางซายจะกวางกวาขางขวา โคมไฟทรงกระบอกที่ปราศจากหลอดไฟ วิทยุ
ที่ปราศจากปุมกด จนถึงนาฬิกาตั้งโตะที่ไมมีหนาปด โตะเครื่องแปงที่ลิ้นชักไมสามารถเปดได พรอมกระจกทรง
กลมที่เปนฝา ทั้งหมดถูกจัดอยูในพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เขาทํางานออกแบบนี้ในฐานะศิลปน แตถูกทําใหเปน
จริงไดโดยคนอื่นนัน่ ก็คือชางทําเฟอรนิเจอรนั่นเอง งานนีไ้ ดรับอิทธิพลมาจากสังคมของอเมริกันชนซึ่งเขามัก
เก็บใบโฆษณาจากหนังสือพิมพเกี่ยวกับเครื่องเรือนของชาวอเมริกันที่มีขนาดใหญยักษและมีเสนทแยงมุม
ซอนทับกันอีกดวย งานนี้ถูกติดตั้งคราวแรกที่แกลลอรีซิดนีย จานิส หลังจากกอนหนานั้นพื้นที่เดียวกันนี้เคย
แสดงงานของมารเซล ดูชองป ศิลปนแนว “เหนือจริง” (Surrealism) เหมือนเปนนัยบอกวา งานนี้ไดอยูใน
บรรยากาศซึ่งถูกสรางมาใหมจากของเดิม โดยใชโทนสีหองแสดงเดิม ผนังเดิมซึ่งเปนสีเทา ไมมีที่วางของงาน
ศิลปะใดที่จะดํารงอยูไดอยางยาวนานในที่วางนี้ งานของเขาจึงเหมือนเปนการซอนทับที่วาง เฉกเชนแนวทแยง
มุมเฟอรนิเจอรที่เขาไดสรางขึ้นมานั่นเอง

เกอรฮารด ริชเตอร (Gerhard Richter) ศิลปนชาวเยอรมันที่ทํางานรวมสมัยเปนที่รูจักระดับโลก งาน


ของเขามีลักษณะเฉพาะตัวที่สามารถบงบอกวานี่คือผลงานของเขา เขาเคยไดกลาววา “ศิลปะไมใชผลิตผลที่
เกิดจากความบังเอิญ และความบังเอิญในตัวมันเองไมสามารถที่จะเปนงานศิลปะได” งานชุด Color Fields:
Six Arrangements of 1,260 Colors (1974) เปนงานชุดสุดทายของงานชุด Colors Panels ในป 1966
จากนั้นไดหยุดไปและกลับมาทําอีกในป 1971 งานนี้เหมือนเปนงานทดลองและวิจัยเกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งเปนวิธี
ที่แสนฉลาดในการคิดงานใหมๆ ของเขาที่ไมไดมาจากความบังเอิญหรือโชคชวย เขาไดนําแผนโทนสี 6 แผนซึ่ง
บรรจุ 1,260 สีตามลําดับตัวเลข มาจัดการในระบบใหมเพื่อใหไดงานที่มีลักษณะเฉพาะโดยจัดกลุมใหม โดย
วางในแนวนอน 42 แถว แนวตั้ง 32 แถว โดยไมสามารถจะนําเอาสีมาทั้งหมดจาก 1,260 สีไดจึงเลือกนํามา
แค 999 สี โดยมีวิธีคิดแทนคาคือ สมมติหมายเลข 258 เลข 2 แทนคาสีแดงตามตารางสี เลข 5 แทนคาสีฟา
และเลข 8 แทนคาสีเหลือง ซึ่งทั้งหมดตองดูตามตารางหมายเลขสี เมื่อเอาสีทั้งหมดมาผสมรวมกัน จะออกมา
เปนสีเขียวโอลีฟ จากนั้นก็นําสีนั้นมาแทนตําแหนงที่ 258 เดิมก็จะไดสีใหมขึ้นมา สามารถเรียงสลับกันไปมาก็
จะไดงานที่มีคาสีแตกตางกันออกไปอีกหาชุดที่เขาทําขึ้นมา ผมมองวาเปนงานทดลองที่ไดทั้งศิลปะเชิงแนวคิด
และมินิมัลลิสมเลยทีเดียว ดูทันสมัยเหมือนตัวเขาเองเปนนักวิจัย นักคณิตศาสตร และศิลปน อยูในคนเดียวกัน
ความคิดที่เขากลาวตั้งแตตนวา “ศิลปะไมใชความบังเอิญ” นั้นปรากฏในงานของเขาแบบเต็มๆ

เอาละครับ ผมเดินดูงานอีกหลายงานดวยความชื่นชมกับศิลปะของศิลปนในยุคนั้น ที่รอยเรียงมา


จนถึงศิลปนหนาใหมในยุคปจจุบันที่สามารถนํางานมาแสดงรวมกันไดอยางมีความหมายของรอยตอของ
ชวงเวลาแตคงความเปนงานศิลปะแบบปอปอารทและมินิมัลลิสมที่ดูมีแงคิดในผลงาน ศิลปนหลายคนได
เสียชีวิตไปแลว แตผลงานกลับโชติชวง สวางไสว สองแสงมายังปจจุบัน อีกทั้งพิพิธภัณฑนี้ยังนาชื่นชมที่มี
คําอธิบายงานพิมพแจกประกอบผลงานแตละชิ้นวางไวใหหยิบไปอานในเนื้อหาของงานศิลปนแตละคนอยางจุ
ใจ และหวังวาจะไดกลับมาดูงานดีๆ ที่นี่อีกในอนาคต

http://www.mmk-frankfurt.de/en/ausstellung/current-exhibitions/exhibition-details/exhibition_uid/1197/
ภาพประกอบจาก Museum für Moderne Kunst Frankfurt am Main

Middlemen (2001) โดย อาร์ เนาต์ มิก

Bedroom Ensemble, Replica I (1969) โดย แคลส์ โอลเดนเบิร์ก


Color Fields: Six Arrangements of 1,260 Colors (1974) โดย เกอร์ ฮาร์ ด ริ ชเตอร์

Yellow and Green Brushstrokes (1966) โดย รอย ลิชเทนสไตน์


Bunny Glamazon (1992) โดย สตีเวน พาร์ ริโน

Bradley “The Beast“ Field R.I.P. (1997) โดย สตีเวน พาร์ ริโน
Green Disaster 2 โดย แอนดี วอร์ ฮอล

บรูซ นิวมัน
(We are the world) Somethinghas to change for everythingto stay the same.
วากันดวยเรื่องของสงครามกับศิลปะ
The Hayward Project Space, London.

ชวงที่กําลังเขียนตนฉบับอยูนี้ ขาวสถานการณบานเมืองของเรากําลังรอนระอุไปดวยกลิ่นของการสูรบและคาว
เลือด ขาวจากสื่อตางๆ ทั้งในและตางประเทศดูจะมีความคลาดเคลื่อนกันอยางกับอยูคนละสถานการณ จน
แยกไมออกวาจริงๆ แลวเราควรที่จะเชื่อใคร หรือไมควรที่จะเชื่อใคร แตสิ่งที่เชื่อที่สุดคือ สงครามในใจของคน
ในชาติกันเอง แทจริงแลวพวกเราทําสงครามกันทุกวันตั้งแตเกิด การดิ้นรน การแกงแยง ซึง่ เจอะเจอไดในทุก
ชนชั้น แตเราไมเคยรูเลยวานั่นคือสงคราม จนกระทั่งเราเห็นความตาย

งานวิดีโอโดยศิลปนชาวอุรุกวัย มารติน ซัสเตร (Martin Sastre) เปนงานภาพเคลื่อนไหว (Animation) ที่มีชื่อ


วา KIM X LIZ (2008) และ วีดีโอจัดวาง (Video Installation) ชื่องาน Ride with Obama (2009) งานทั้ง
สองของเขานั้นเลนกับวัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) ที่เขาเติบโตมากับสิ่งเหลานี้ ไมวาจะเปนในเรื่อง
ของนักรอง เครื่องแตงกาย การกินอยู ทุกอยางถูกหลอมรวมใหเกิดวัฒนธรรมนี้ขึ้นมา โดยยากที่จะแบงใหชัด
ระหวางโลกแหงความเปนจริงและโลกของนิยาย
ตอไปนี้เปนบทสัมภาษณระหวางภัณฑารักษ ทอม มอรตัน (Tom Morton) และตัวศิลปน มารติน ซัสเตร จาก
สูจิบัตรของงานนี้
ทอม มอรตัน: ชวยบอกถึงชื่อของนิทรรศการนี้ We are the world รูสึกวามันจะเหมือนเพลงของ ไมเคิล
แจ็กสัน (Michael Jackson) ในป 1985 ที่แตงโดย ไลโอเนล ริชชี (Lionel Richie) เพื่อเปนงานการกุศลของ
อเมริกาตอแอฟริกา
มารติน ซัสเตร: ใชแลวครับ คุณรูหรือเปลาวา We are the world เปนเพลงที่ขายดีตลอดกาล สําหรับคนในรุน
ผมแลวนั้น นี่คือสิ่งแรกที่ผมรูสึกไดถึงโลกาภิวัตน ยกเวนวงพรินซ (Prince) และ มาดอนนา (Madonna) ซึ่ง
ไมตองการที่จะรวมดวย ที่จะตองรองเพลงมองโลกในแงดี เหมือนกับการที่จะชวยแอฟริกาใหรอดพนความอด
อยากโดยอเมริกา โลกของสงครามเย็นนั้นนาตื่นเตนมากสําหรับผม และในทายที่สุด เด็กทุกคนก็สามารถรอง
เพลงนี้ได เหมือนเปนเพลงที่แตงขึ้นมาเพื่อโลกหนาโดยเฉพาะ ซึ่งผมจําไดวาเมื่อตอน โรนัลด เรแกน (Ronald
Reagan) ตาย มารกาเรต แทตเชอร (Margaret Thatcher) กลาววา “เขาชนะสงครามเย็นโดยปราศจากการ
ตอสูแมเพียงกระสุนนัดเดียวก็ไมม”ี ซึ่งผมยังเห็นเพิ่มไปดวยวา เขาชนะเพราะเขารองเพลง We are the
world สําหรับสวนที่สองของชื่องาน ซึ่งอางอิงมาจากภาพยนตรของ ลูชิโน วิสคอนติ (Luchino Visconti)
เรื่อง The Leopard (1963) ซึ่งผูคนชั้นสูงชาวซิซลิ ี (Sicilian) เผชิญหนากับความเปลี่ยนแปลงที่อิตาลี ที่กําลัง
จะกลายเปนประเทศสาธารณรัฐ โดยพวกเขาไดกลาววา “บางสิ่งตองเปลี่ยนแปลงเพื่อใหทุกสิ่งยังเหมือนเดิม”
(Something has to change for everything to stay the same.)
ทอม มอรตัน: วีดีโอของคุณมีลักษณะผสมระหวางนิยายกับบุคคลตนแบบ เชน จากเจาหญิงไดอานาถึงเฮลโล
คิตตี (Hello Kitty), โยโกะ โอโนะ (Yoko Ono) ถึง พีกาจู (Pikachu) ในการตูนเรื่องโปเกมอน (Pokemon)
และ แมททิว บารนีย (Matthew Barney) ถึง บารนีย (Barney) ซึ่งเปนไดโนเสาร ทําไมบุคคลเหลานี้ถึงมี
ความสัมพันธกัน
มารติน ซัสเตร: คุณลองคิดถึงอาณาจักรซัสเตร (Sastreland) ที่ซึ่งเจาหญิงไดอานาโบกมือใหกับเฮลโล คิตตี
และ อัลฟ (ALF: Alfred) เปนเพื่อนที่สนิทที่สุดของแมททิว บารนีย มันนาแปลกใชไหม ในใจของผมอาณาจักร
ซัสเตรยังคงตั้งอยู และผมก็คิดวาแมททิว บารนีย และโยโกะ โอโนะ คือคนคนเดียวกัน
ทอม มอรตัน: อนิเมชัน KIM X LIZ เมื่อยูเอ็น (UN: United Nation, สหประชาชาติ) ไดสงเอลิซาเบท เทย
เลอร มายังเปยงยางในเกาหลีเหนือ ซึ่งผูนํา คิม จอง อิล เปนแฟนคลับเทยเลอรสัญญาวาจะยกเลิกการทดลอง
นิวเคลียรถาไดเธอมา ดังเชนการลักพาตัวผูกํากับเกาหลีใต ชิน ซัง อก (Shin-Sang-Ok) โดยเกาหลีเหนือในป
1978 ในระหวางที่หลบหนีเขาไดกลาววา คิม จอง อิล เปนแฟนพันธแทของการดูหนังชนิดที่เรียกวา มีหนัง
กวา 15,000 เรื่องในหองสมุดภาพยนตรของเขา แตเขาไมรูเลยวานิยายนั้นถูกทําใหเปนภาพยนตรโดยใชตัว
แสดงคนจริงๆ มาเลน เขายังคงคิดวานั่นคือเหตุการณจริงที่เกิดขึ้น
มารติน ซัสเตร: ใชแลวครับ พวกเราก็เหมือนคิม จอง อิล ผมจําไดวาเมื่ออายุ 8 ขวบ ดูละครทีวีเรื่อง Chips
(1977-1983) ซึ่งมีตัวละครชื่อวา “พอนเชเรลโล” (Poncherello) ผมยังเชื่อวาเขาเห็นผมจากทีวี และผมก็
อยากที่จะเปนเด็กดี เพราะวาตัวละครนั้นเปนตํารวจ ผมยังคงทํางานก้ํากึ่งระหวางนิยายและเรื่องจริง ซึ่งผม
เชื่อวาในอนาคตพวกเรา จะเขาใจวาทั้งสองอยางก็เหมือนกับเหรียญแตมีสองดานที่ตางกันเทานั้น และ KIM X
LIZ ในภาคของการตูนที่แสดงโดย คิม จอง อิล และเอลิซาเบท เทยเลอร ซึ่งทั้งสองตางมีตัวตนจริงๆ ในโลก
ปจจุบัน แตในบทบาทที่สรางขึ้นมาในโลกของนิยาย ซึ่งบุคคลทั้งสองก็เปนผูนําในโลกของตัวเอง เอลิซาเบท
เทยเลอร เปนผูนําในโลกมายา คิม จอง อิล ก็เปนผูนํามหาอํานาจในเกาหลีเหนือ ซึ่งเปนโลกของความเปนจริง
และโลกของจินตนาการตามลําดับ ซึ่งมันยากที่จะเขาใจในทั้งสองโลกนี้
ทอม มอรตัน: สําหรับงานวีดีโอ Ride with Obama เหมือนกับประธานาธิบดี บารัก โอบามา (Barack
Obama) เขาไปเลนเครื่องเลนในสวนสนุกที่กรุงมาดริด (Madrid) ในจํานวนผลงานของคุณนั้นเหมือนเปนการ
รีเมก (remake) หรือ ทําขึ้นมาใหม ไมก็โกหกไปเลย อะไรเปนสิ่งที่คุณหลงใหลกับการทําอยางนี้
มารติน ซัสเตร: การเติบโตในอเมริกา ผมหมายถึงการเปนอเมริกาใตขยายไปสูอารเจนตินาถึงแคนาดา สราง
ความเคยชินดวยไอเดียของการรีเมก เชนเดียวกับอเมริกาก็มีโบสถแบบโกทิก แตเพิ่งสรางเมื่อ 50 ปที่ผานมา
อเมริกามีรัฐสภาดวยรูปแบบสถาปตยกรรมกรีก โรมัน หรือการตั้งชื่อเมืองใหดูใหม เชน นิวยอรก (New York),
นิวอัมสเตอรดัม (New Amsterdam), นิวสเปน (New Spain) เปนตน ซึ่งอาจจะไมแปลกใจอีกเหมือนกันวา
ดิสนียแลนด (Disneyland) นั้น เปนประดิษฐกรรมของอเมริกันชน เหนือและใต (North and South) ของ
ทวีปอเมริกาก็คือทวีปที่มันรีเมกใหเปนเวอรชันใหมของมัน หลังจากนั้นเสนแบงระหวางความจริงและนิยายก็
จะเลือนรางจางหายไปนั่นเอง
(บทสัมภาษณนี้ถูกบันทึกในอีเมลชวงเดือนสิงหาคม 2009)

อีกนิทรรศการที่มีประเด็นเกี่ยวเนื่องกัน “The worst condition is to pass under a sword which is not


one’s own traces” ที่พิพิธภัณฑเทต โมเดิรน ลอนดอน
ไมเคิล ราโควิช (Michael Rakowitz) ทํางานเปนนักโบราณคดีทางดานวัฒนธรรม เขาดูจะเหมือนเปนผู
เชื่อมตอระหวางโลกของประวัติศาสตรและเรื่องของจินตนาการ สําหรับชื่อนิทรรศการของเขานั้น เปน
เรื่องราวที่เชื่อมตอระหวางวิทยาศาสตรของตะวันตกและกิจการธุรกิจของทหารอิรักระหวางและหลังจากอยู
ภายใตการปกครองของ ซัดดัม ฮุสเซน (Saddam Hussein)
ไมเคิลไดนําเสนอผลงานผานเรื่องราวที่รอยเรียงของหลายสิ่งเขาไวดวยกัน ไมวาจะเปนภาพของผูนําอิรักกับ
การนํามาทําเปนการตูนอธิบายผสมปนเปไปกับนวนิยายของ จูลส เวิรน (Jules Verne) และภาพยนตรเรื่อง
สตาร วอรส (Star Wars) และยังผสมเขาไปกับการแขงขันมวยปล้ําระดับโลก ตลอดจนสงครามอาวเปอรเซีย
เขาไปอีก
โปรเจกตเริ่มที่อนุสรณสถานคาดิสซิยาห (Qadisiyyah) รูปดาบไขวกันเหมือนในภาพยนตรเรื่องสตาร วอรส
กลางเมืองแบกแดก ในอิรัก นี่คือประตูชัย ซึ่งเปนที่รูจักกันในนามของ “The hand of Victory” ซึ่งเริ่มใชเมื่อ
วันที่ 8 สิงหาคม 1989 เสียงสะทอนของประตูชัยแหงนี้ ดูเหมือนจะเปนความภูมิใจของบรรดาทหารอเมริกัน
มากกวาที่สามารถยึดอิรักได เพราะพวกเขาหลายคนมักจะมาถายรูปที่อนุสรณสถานแหงนี้พรอมทั้งกางมือ
เหมือนกําลังถือดาบในหนังเรื่องสตาร วอรส และเมื่อไมเคิลไปเห็นรูปนี้ที่อีเบย (eBay) เขาซึ่งมีคนประกาศขาย
ชุดทหารเหมือนของอิรัก จึงเกิดเปนเรื่องราวขึ้นมา ตลอดจนภาพวาดเรื่องราวเหมือนกับเปนการตูนซึ่งมีเนื้อหา
ชวนตลกเกี่ยวกับเรื่องสงคราม ภาวะผูนําทั้งชาติตะวันออกกลางและจากอเมริกา ตางขึ้นสังเวียนมวยปล้ํา และ
ยังตอสูกันทั้งในโลกและกาแลกซีจักรวาลอีก เนื้อเรื่องเหมือนเยาะเยยการแบงแยก และกลาวหาถึงความ
แตกตางระหวางฝงตะวันตกและฝงตะวันออกที่ไมมีทางจะเดินเปนคูขนานได
โลกของความเปนจริงและนิยาย ในแงมุมของศิลปะก็มีเสนแบงที่ก้ํากึ่งกันเหมือนเหรียญที่มีสองดาน ซึ่งบางที
ความจริงก็ตองมีความฝนไวเติมเต็ม ในขณะที่โลกของนิยายก็ยังตองมีเรื่องจริงใหดูมีน้ําหนัก โลกทั้งสองนั้น
สามารถเดินทางไปดวยกัน แตไมมีวันเดินมาจนถึงจุดหมายปลายทางรวมกันได
โลกของสงคราม สิ่งที่สามารถเดินไปดวยกันหลังจากจบสงครามไดนั้นมีแตความสูญเสีย และความตาย ขอไว
อาลัยแดผูที่จากไปไมวาจะอยูฝายไหนก็ตาม เพราะทุกคนก็เปนคนเหมือนกัน

http://www.theguardian.com/artanddesign/2010/feb/03/artist-michael-rakowitz
http://artpulsemagazine.com/michael-rakowitz-star-wars-meets-saddam
http://www.e-flux.com/announcements/martin-sastre/
KIM X LIZ (2008) โดย มาร์ ติน ซัสเตร
Ride with Obama (2009) โดย มาร์ ติน ซัสเตร

The worst condition is to pass under a sword which is not one's own (2009) โดย ไมเคิล ราโควิช
Coming Soon - The Moon, The Stars and The Sun (Strike the Empire Back Series) (2009) โดย
ไมเคิล ราโควิช

Victory Arch (2009) โดย ไมเคิล ราโควิช


Unveiled:ǿNewǿArtǿFromǿtheǿMiddleǿEast
ปลดผาคลุมหนา
The Saatchi Gallery, London.

ซาทชิ แกลลอรี (Saatchi Gallery) เปนแกลลอรีที่สนับสนุนศิลปนแนวรวมสมัยรุนใหมที่ยังไมเคย


แสดงงานที่ไหนมากอนในอังกฤษ โดยมีผูชมมากถึงกวา 6 แสนคนตอป ศิลปนเริ่มตนที่ยังไมเปนที่รูจักในแวด
วงศิลปะจากทั่วโลก หลังจากไดมาแสดงงานที่นี่ก็จะกลายเปนที่รูจักอยางกวางขวางขึ้น ทั้งในแงการตลาดและ
ชื่อเสียงจากทั้งพิพิธภัณฑศิลปะทั่วโลกและแกลลอรีทั่วไป และดวยพื้นที่กวา 70,000 ตารางฟุต ของตึกดยุก
ออฟ ยอรก (Duke of York) ยานเชลซี (Chelsea) ซึ่งเปนยานสุดหรูของลอนดอน ก็ทําใหแกลลอรีนี้ยิ่งเปนที่
นาสนใจ ที่สําคัญ งานศิลปะที่นี่ยังเปดใหเขาชมฟรี สามารถถายรูปไดตามสะดวก เพียงแตหามจับตองผลงาน
เทานั้น แคนี้ก็นับวาไดใจจากผูชื่นชมศิลปะทุกคน

โดยมีนิทรรศการเปดตัวครั้งแรกหลังจากยายมาตึกใหม ดวยนิทรรศการ Revolution Continues:


New Chinese Art จากศิลปิ นจีนจํานวน 24 คน ที่เพิ่งแสดงเสร็ จสิ ้นไปเมื่อปลายปี ที่ผา่ นมา ซึง่ ได้ รับความ
สนใจอย่างท่วมท้ น จนมาถึงนิทรรศการ Unveiled: New Art From the Middle East ซึ่งเปนผลงานของ
ศิลปนชาวตะวันออกกลางจากไคโร อิรัก เบรุต จอรแดน เปนตน ซึ่งเรามักจะไมคอยไดเห็นศิลปนกลุมนี้สัก
เทาไหรในแวดวงศิลปะ นับเปนการดีที่จะไดชมงานศิลปะจากประเทศที่มีความขัดแยงอยางรุนแรงในเรื่องของ
ศาสนา การเมือง เพศ และวัฒนธรรมของกลุมประเทศเหลานี้ นิทรรศการแบงเปนหองแสดงทั้งหมด 13 หอง
แสดง และมีหองแสดงของศิลปนที่คัดเลือกมาอีกหองใหญดานบน รวมถึงงานแสดงอื่นๆ ที่คัดเลือกงานโดย
ฟลลิปส เด พิวรี และคณะ (Phillips de Pury & Company) อีกหนึ่งหองแสดง

ทั้งๆ ที่วันนี้ไมใชวันหยุด และเปนชวงบายสามโมงเย็นกอนเวลาที่จะปดในชวงหกโมงนั้น ที่นี่ยังมีผชู ม


จํานวนมากทั้งผูใหญและเด็กๆ ที่ใหความสนใจมาดูงานศิลปะ งานที่หองแสดงแรกซึ่งเปนของศิลปนชาว
เลบานอนชื่อ มารวัน เรชมาอุย (Marwan Rechmaoui) เขาทํางานเกี่ยวกับการพัฒนาของสังคมเมืองและ
ประวัติศาสตรของชุมชน กับงานชิ้นแรก Beirut Caoutchouc (2004–2008) ซึ่งคําวา “Caoutchouc”
แปลวายางพารา โดยที่งานของศิลปนเปรียบเสมือนเปนแผนที่เมืองเบรุต เมืองหลวงประเทศเลบานอน ซึ่งใน
แผนที่จะมีถนนสายเล็กๆ บานเมืองชุมชนตางๆ ในแผนที่นั้น เขาตองการจะถามถึงสาเหตุและผลของ
วัฒนธรรมที่มีความแตกตางกันของเมืองที่มีปญหาความขัดแยงอยางมากแหงหนึ่งของโลก ตลอดจนการอยู
รวมกันของผูที่อาศัยบนแผนที่เดียวกันในงานศิลปะชิ้นนี้ วาสามารถอยูรวมกันบนความขัดแยงไดอยางไร งาน
ชิ้นที่สอง ชื่อวา Spectre (The Yacoubian Building, Beirut) (2006-2008) เปนอพารตเมนตของศิลปน
กอนที่จะโดนยายออกไปในป 2006 เนื่องจากปญหาความขัดแยงกับทหารอิสราเอล ซึ่งตอนนี้ไดกลายเปนตึก
ราง งานทําขึ้นจากคอนกรีต กระจก เชื่อมกันดวยปูนและปดทับดวยไมบางๆ ภายในมีการบิดโคงของผนังทําให
ไมสมดุล เนื่องจากตองการจะสื่อถึงสถานการณในตอนนั้น ที่มีความเสื่อมของวัฒนธรรม การเมือง และ
เศรษฐกิจที่ไมมีอะไรแนนอนของผูอยูอาศัยกับสถานที่พักพิงในเมืองนี้ เดินถัดมายังหองที่ 2 เปนของศิลปนชาว
อิหราน อาฮหมัด มอรเชดลู (Ahmad Morshedloo) กับงานที่ชื่อวา Untitled (2008) เขาวาดภาพของผูคน
ทั่วๆ ไปในชีวิตประจําวันตามทองถนน ศิลปนไดใชการมองเห็นและใชจิตวิทยาในงานวาดของเขาซึ่งทําใหโทน
สีในภาพมีความขัดแยงเสมือนเปนสภาวะกดดัน ภาพหญิงสวมผาคลุมดําเหมือนลอยอยูบนพื้นที่สวาง และการ
วางตําแหนงที่สลับกันระหวางมืด สวาง ผูหญิง ผูชาย และภาพของตะขอเหล็กดานซายที่ไมมีสวนเกี่ยวของกับ
ผูคน ตองการเปรียบเทียบสัญลักษณของการกดขี่และสิ่งที่ยั่วใจของผูคนอีกดวย ยังมีงานบางสวนที่ศิลปนพูด
ถึงในลักษณะคลายๆกัน นั่นคือ ความไมเทาเทียมกันทางเพศในโลกมุสลิม การแบงแยกหญิงและชาย ใน
ขนบประเพณี

หองที่ 3 รอกนี ฮาริซาเดห (Rokni Haerizadeh) ศิลปนชาวอิหรานกับงาน Shomal (Beach at the


Caspian) (2008) เหมือนเปนการรําลึกอยางขบขันกับภาพวาดบนชายหาดของ เอริก ฟชล (Eric Fischl) ซึ่ง
ศิลปนไดเปรียบเทียบโดยใชหาดของทะเลแคสเปยนเปนฉากหลัง หยิบยกเรื่องความไมเทาเทียมกันทางเพศ
เรื่องการแตงกายที่ผูชายสามารถเลนน้ําไดอยางสนุกสนานในชุดวายน้ํา ในขณะที่ผูหญิงทําไดเพียงเดินเลนไมก็
ตระเตรียมอาหารในชุดคลุมสีดําเทานั้น กับอีกงาน Typical Iranian Wedding (2008) ศิลปนตองการที่จะ
เยาะเยยงานแตงงานของชาวเปอรเซีย ในพิธีรีตองที่ยืดยาวดวยการแบงแยกฝายชายและหญิงดวยมานทั้งสอง
ฝง โดยที่ฝายชายนั้นสามารถสนุกสนานไดเต็มที่ ทามกลางโตะอาหารแบบบุฟเฟต ดนตรี การตกแตงของ
ดอกไมในงาน ในขณะที่ฝายหญิงตองระมัดระวังแตงตัวอยางเรียบรอย บนโตะมีเพียงไกตัวเดียวกับบรรยากาศ
ที่ดูไมเหมือนงานรื่นเริง ชางเปนศิลปนที่แสดงออกเรื่องความไมเทาเทียมกันของเพศในโลกของมุสลิมอยาง
ชัดเจน มาถึงหองถัดไป กับศิลปนชาวอิรัก ฮาลิม อัล-คาริม (Halim Al-Karim) ในผลงาน Hidden Victims
(2008) เปนภาพถายทาทางของผูหญิงชาวมุสลิมกลุมหนึ่ง เกี่ยวกับความเชื่อวาพระผูเปนเจาเปนหนึ่งเดียว
และความลาสมัยของประเพณี โดยเฉพาะกลุมชนเมโสโปเตเมีย ในชวงป 6000-4000 กอนคริสตกาล
สัญลักษณของชนกลุมนี้มักปรากฏในงานของเขา โดยที่ภาพถายของผูหญิงมักไดรับแรงบันดาลใจจากพิธีกรรม
ที่จะยกระดับเด็กผูหญิงใหกลายเปนหญิงที่สงางาม กับอีกงาน Hidden Doll (2008) ซึ่งเปนภาพถายที่ผานใต
ผาไหมสีขาวที่รัดแนนหลายชั้น ปกปดหนาตาของหญิงสาวในภาพ เปรียบเสมือนการมีฉากกั้น อุปสรรค
ระหวางผูชมกับภาพที่มองเขาไปทําใหเกิดความรูสึกเกี่ยวกับที่วาง ขอบเขตของงาน ระหวางความเปนอยูจริง
และความเหมาะสม และความแปลกประหลาดที่มีเงื่อนงํา นอกจากนี้ยงั มีภาพของซัดดัม ฮุสเซน ในภาพที่
เปรียบเหมือนผูนํากับปศาจรายวาใครคือตัวจริง จัดแสดงใหชมอีกดวย

หองแสดงงานหองสุดทายของชั้นแรกนั่นคือหองที่ 5 อาฮเหม็ด อัลซูดานี (Ahmed Alsoudani)


ศิลปนชาวอิรัก กับงาน Untitled (2008) เหมือนเปนการสะกดจิตของพลังงานและความยุงเหยิงจากการ
ระเบิดซึ่งเกิดจากเชื้อเพลิงทางศิลปะ ศิลปนตองการที่จะสะทอนภาพของสงครามที่มีอยูทุกหยอมหญา เขาไม
เขาใจในเรื่องของการรบราฆาฟนกันซึ่งสะทอนในการวาดแบบสะทอนกลับและเศษที่แตกหักออกมาซึ่ง
หมายถึงการจัดองคประกอบของภาพ และภาพที่ชื่อวา Baghdad (2008) นั้นบอกเลาถึงการปกครองที่ไมมี
ประสิทธิภาพและลมเหลวสิ้นเชิงของซัดดัม ซึ่งเปรียบไกตัวผูเหมือนชาติอเมริกา ที่ไดรับบาดเจ็บและขาดการ
ควบคุม ไกที่ไมสามารถกกไขไดก็เสมือนคลังอาวุธที่ออนแอ อีกทั้งยังเปรียบสภาพบานเมืองในอิรักที่ไมมีสิ่งใดที่
ดีที่เจริญใหหลงเหลืออีก และขึ้นมาตอดวยหองที่ 6 ของศิลปน คาเด อัตเทีย (Kader Attia) ซึ่งทํางานและ
อาศัยอยูที่ฝรั่งเศส กับผลงานศิลปะจัดวางที่แสดงเต็มทั้งหองแสดงที่ชื่อวา Ghost (2007) โดยเปนการจัดวาง
ในรูปแบบของกลุมผูหญิงชาวมุสลิมขณะกําลังสวดมนตซึ่งตัวชิ้นงานทําจาก ฟรอยดีบุก เปนรูปคนกําลังนั่งสวด
มนตแตดานในกลวง ซึ่งศิลปนตองการใชวัสดุที่เหลือทิ้งทุกวัน โดยที่รูปรางของผูหญิงเหลานี้ดูเหมือนตัวเอ
เลี่ยนในอนาคตที่ผานการสังเคราะหของความหดหูและความตาย การคํานับเปนเพียงการลอลวงเหมือนเปน
หลุมพรางในพิธีกรรมจากศาสนาสูมนุษยชาติและไปจนถึงการบริโภคนิยม งานชิ้นนี้ปลุกความมุงมั่นของผูคน
ในเงื่อนไขของความออนแอและความตาย จากการใชวัสดุที่เสื่อมสภาพไดงายก็เปนการเขาใจในการ
เปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตรและของโลกใบนี้ ผานประสบการณของกาลเวลานั่นเอง ผูคนที่เขามาชมหองนี้
ไดเพียงแคเดินไปรอบๆ งาน เหมือนอยูในสวนหนึง่ ของพิธีกรรมความหดหูและความตาย เพราะใบหนานั้นวาง
เปลาแตเปนสีดําที่เกิดจากเงาของหุนนั้นแทน ถัดมาเปนศิลปนชาวอิหรานที่พํานักอยูที่เนเธอรแลนดชื่อ ทาลา
มาดานี (Tala Madani) กับภาพวาดตัวอยางสามภาพจากหลายภาพในชื่อวา Pose (2006), Braided Beard
(2007) และ Pink Cake (2008) ศิลปนตองการประชดประชันโลกของผูชายซึ่งบางครั้งดูเปนโลกของความปา
เถื่อนโหดราย โลกของการใชกําลังรุนแรง ดวยการจัดลักษณะทาทางของผูชายเสียใหมในงานของเธอใหมี
บรรยากาศแบบผูหญิงที่แสนหวาน โรแมนติก ดวยลักษณะทาทางและการกระทํา เชน ภาพชายที่กําลังเสริม
สวยถอนขน การถักเปยที่เคราในรานทําผมของผูชาย หรือการเลนเคกในงานวันเกิด สิ่งเหลานี้เปนเรื่องที่เธอ
ประชดประชันผูชายในมุมมองสวนตัวแบบขบขัน วาในโลกของความเปนจริง ผูชายก็มีนิสัยไมตางอะไรไปจาก
ผูหญิงเหมือนกัน

ชมงานไปครึ่งหนึ่งแลว ศิลปนสวนใหญหลายคน โดยเฉพาะศิลปนหญิง มักจะหยิบยกประเด็นเรือ่ ง


ของการกดขี่ทางเพศ ความไมเทาเทียมกันมาพูดถึงในงานศิลปะเปนสวนใหญ เหมือนกับชื่อของงานที่แปลเปน
ไทยแลวหมายถึงการปลดผาคลุมหนาออก เพื่อใหมองเห็นโลกในความเปนจริง อยางที่ควรจะเปนนั่นเอง

http://www.theguardian.com/artanddesign/2009/feb/01/unveiled-saatchi-gallery-review-art
http://www.telegraph.co.uk/journalists/richard-dorment/4346252/Unveiled-New-Art-from-the-Middle-East-at-the-Saatchi-Gallery.html
http://www.saatchigallery.com/artists/unveiled/
ภาพประกอบจาก Saatchi Gallery

Beirut Caoutchouc (2004–2008) โดย มาร์ วนั เรชมาอุย

Spectre (The Yacoubian Building, Beirut) (2006-2008) โดย มาร์ วนั เรชมาอุย
(Untitled 2008) โดย อาฮ์หมัด มอร์ เชดลู

Shomal (Beach at the Caspian) (2008) โดย รอกนี ฮาริ ซาเดห์


Hidden Victims (2008) โดย ฮาลิม อัล-คาริ ม

Hidden Doll (2008) โดย ฮาลิม อัล-คาริ ม


Baghdad (2008) โดย อาฮ์เหม็ด อัลซูดานี

Ghost (2007) โดย คาเด อัตเทีย


Pose (2006), Braided Beard (2007) และ Pink Cake (2008) โดย ทาลา มาดานี

งานอื่นๆ ของ ทาลา มาดานี


Unveiled:ǿNewǿArtǿFromǿtheǿMiddleǿEast
ปลดผาคลุมหนา (ตอ)
The Saatchi Gallery, London.

ตอจากคราวที่แลวที่พาชมนิทรรศการ “Unveiled: ปลดผาคลุมหนา” ที่ ซาทชิแกลลอรี (The


Saatchi Gallery) มาจนถึงครึ่งนิทรรศการแลว ครั้งนี้จะมาตอสวนที่เหลือซึ่งยังมีศิลปนตะวันออกกลางที่
นาสนใจอีกหลายทาน มาตอที่หองที่ 8 ศิลปนชาวไซเรียน-อเมริกัน ซึ่งอาศัยและทํางานอยูที่นิวยอรก ไดอานา
อัล-ฮาดิด (Diana Al-Hadid) กับผลงาน The tower of infinite problems (2008) งานของเธอสวนใหญจะ
เกี่ยวของกับ เทคโนโลยี พลังงาน ความอุดมสมบูรณ และการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ งานประติมากรรมชิ้น
นี้เลาถึงความนากลัวของตึกเวิลเทรดเซ็นเตอรซึ่งพังทลายลงเมื่อหลายปกอนและยังคงเปนปญหาของความ
ขัดแยงของเหลามนุษยชาติในหลายประเทศอีกดวย ประติมากรรมชิ้นนี้จึงเปรียบเสมือนอนุสาวรียที่นอนไม
เปนทาเหมือนเปนความลมเหลวของมนุษย และเปนการไวอาลัยใหกับอดีตที่เจริญรุงเรืองอันแสนบัดซบอีกดวย
อีกผลงานของเธอชื่อวา All the stops (2007) เธอกลาวถึงงานประติมากรรมชิ้นนีว้ า เสมือนเปนงานที่ไม
สามารถสรางขึ้นมาไดในโลกความเปนจริง เปนเพียงจินตนาการที่แตงขึ้น ไดรับแรงบันดาลใจมาจากโบสถยุค
กลางและสนามกีฬาในอนาคต โดยที่มีรูปลักษณคลายกับทรัมเปตและเปยโน เพื่อสื่อถึงพลังงานที่ออนแรงและ
ความเงียบที่คอยๆ ดังขึ้นจากความรูสึก ตลอดจนความพินาศ และความรกรางวางเปลา

หองถัดมาเปนศิลปนชาวปาเลสไตน วาฟา ฮูรานี (Wafa Hourani) ทํางานและอาศัยอยูที่เมืองรามัล


ลาห (Ramallah) ในปาเลสไตน ผลงานชื่อ Qalandia 2067 (2008) ชิ้นนี้ใชทั้งภาพถายประกอบกับงาน
ประติมากรรม เลาเรื่องถึงอนาคตของคายอพยพของผูลี้ภัยที่เปนเขตเวสตแบงก (West Bank) ซึ่งแบงแยก
ดินแดนออกเปนสองเมืองคือรามัลลาหและอัล-รามม (al-Ramm) เปนเขตที่มีปญหาความขัดแยงอยางรุนแรง
ทั้งในเรื่องของการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยที่เขาจําลองเมืองนี้ในอนาคตอีก 100 ปขางหนา นับจากหลัง
สงคราม Six-Day War ป 2007 โมเดลจําลองแบงออกเปน 5 สวน โดยเปรียบเทียบใหเห็นวาในโลกอนาคต
แทนที่บานเมืองจะเจริญกาวหนากลับถดถอยลงอยางเห็นไดชัดจากสภาพแวดลอมที่เปนอยู มาถึงหองที่ 10 รา
มิน ฮาริซาเดห (Ramin Haerizadeh) ศิลปนชาวอิหรานกับผลงานที่ชื่อวา Men of Allah (2008) งานของ
เขาเลาเรื่องเปรียบเทียบของตัวละครในโรงละครที่แสดงโดยผูชาย แตใชทาทางและองคประกอบการแสดงของ
ผูหญิงในการแสดง โดยที่หนาตาของตัวละครจะเปนใบหนาของเขาเอง ภาพที่สื่อออกมาจะเห็นวาลักษณะ
ทาทางออนชอยของผูชายนั้นเหมือนกับตุกตาเพื่อซอนเรื่องราวของตัณหา ความราเริง การเหยียดเพศ ซึ่งจะมี
รายละเอียดเล็กๆ นอยๆ ตามรางกายของตัวละครที่บงบอก เชน รอยสัก ลายผาคลุมหนา และเสื้อผาเปนตน
ในหองเดียวกันมีงานของ ชิริน ฟาคิม (Shirin Fakhim) ศิลปนหญิงชาวอิหรานอีกเชนกัน พูดถึงเรื่องคลายๆ
กันคือการเหยียดเพศ และความไมเทาเทียมกันของหญิงและชายกับงานชื่อ Tehran Prostitute (2008) โดย
ทําประติมากรรมตุกตาที่เหมือนจะวิตถารคลายกับตุกตายางที่ใชสนองกิจกรรมทางเพศของผูชายจากวัสดุที่พบ
ไดทั่วๆ ไป เธอเปรียบวาผูหญิงชาวอิหรานก็เปนไดแคโรงงานเซ็กสเทานั้น ทั้งยังพูดถึงเรื่องของความขัดแยง
ของชาวตะวันตกกับตะวันออกกลางผานทางเสื้อผาที่เปนของตะวันตกแตเอามาใชใสแบบหญิงชาวมุสลิมอีก
ดวย

ศิลปนหญิงชาวอิหราน ชาดี กาดีเรียน (Shadi Ghadirian) ในหองที่ 11 กับงานชุด Untitled from


the Like Everyday Series (2000-2001) ประกอบไปดวยภาพถายจํานวน 7 ภาพ โดยใชอุปกรณที่พบเห็น
ในชีวิตประจําวันของผูหญิงในโลกตะวันออกกลางเปนสื่อในงานของเธอ โดยที่สิ่งของเหลานี้ดูเปนเอกลักษณ
ของผูหญิงโดยรวม ซึ่งเปรียบวาผูหญิงเหลานี้ก็เปนเพียงแคทาสรับใชของสังคมพวกผูชายไดแคนั้น กับอีก
ผลงานในชุด Untitled from the Ghajar Series (1998-1999) ประกอบดวยภาพถาย 3 ภาพ โดยเธอใช
สิ่งของที่ตกยุคเปนตัวเปรียบเทียบสังคมของหญิงชาวอิหรานวา ความทันสมัยของเทคโนโลยีปจจุบัน กลายเปน
แคของในยุคป 1980 ของผูหญิงที่นี่เทานั้น ผูคนที่นี่ยังใชวิทยุ โทรศัพท เครื่องดูดฝุนแบบโบราณในชนบทของ
ที่นี่อยูเลย การโพสตทาที่เหมือนทันสมัยเปนการเยยหยันและแดกดันความลาหลังของสังคมผูหญิงที่ถูกกดไว
ไมใหรับรูความเจริญของโลกใบนี้อีกดวย หองถัดมาศิลปน นาเดีย อะยารี (Nadia Ayari) ศิลปนหญิงชาว
ตูนิเซีย อาศัยและทํางานที่นิวยอรก กับงาน WshhWshh (2008) เธอเติบโตในสังคมที่เครงครัดศาสนา ใน
ตูนิเซีย กฎขอบังคับตางๆ ในสังคมคือการหมายถึงไมเปดเผยตัวตนในสังคม ซึ่งทําใหเธอรูสึกถึงความสบายใจ
ภายใตผาคลุมสีดํา ภาพวาดผูหญิงสองคนบนฉากสีดํา มีดวงตาที่ใหญโต ซึ่งสื่อถึงวา พวกเธอไมไดแคมองเห็น
แตกลับเปนการสังเกตการณสิ่งรอบๆ ตัว เพื่อพูดถึงความลับ และสิ่งที่ลี้ลับภายใตผาคลุมหนา กับอีกภาพวาด
ที่ชื่อวา The Fence (2007) ซึ่งเธอมักจะวาดภาพดวงตาเพื่อตองการสื่อถึงความหมายอะไรสักอยาง ดวงตา
และรั้วสื่อถึงคายกักขังผูอพยพ ที่ซึ่งวิญญาณสามารถออกจากที่นี่ไดเทานั้น โดยไดรับอิทธิพลมาจากตัวอักษร
อาราบิกและเซรามิกโบราณของตูนิเซีย

ซุน หยวน (Sun Yuan) และ เผิง หยู (Peng Yu) ศิลปนจากจีนในหองแสดงที่ 13 ชั้นใตดิน หองแสดง
นี้มาจากการแสดงของนิทรรศการครั้งที่แลว “The Revolution Continues: New Chinese Art” ที่
แนวความคิดยังเขากับการแสดงครั้งนี้ เลยยังเก็บไวอยู สองศิลปนที่มักพูดเรื่องของความขัดแยง เขามักใชวัสดุ
ที่ดูตื่นตาตื่นใจ เชน เนื้อมนุษยที่มีแตไขมัน ศพเด็กทารกและสัตวเปนๆ เพื่อสื่อถึงเรื่องของความตายและ
เงื่อนไขของการเปนมนุษย ในงานชุดนี้ Old Persons Home (2007) เขาตองการใหผูคนประหลาดใจในภาพ
ของผูนําประเทศที่มีบทบาทในสงครามที่มีแตความโหดราย เมื่อถึงวัยชรากลับทําอะไรไมไดกับรางกายของ
ตัวเอง ฟนหัก น้ําลายไหล ตองนั่งบนรถเข็นที่เคลื่อนที่ชนกัน เหมือนหอยทากเดิน การลอเลียนภาพของผูนํา
เชนนี้เพื่อใหเห็นสัจธรรมของชีวิตวา ในที่สุดแลว ผูนําเหลานี้ก็ไมอาจอยูกับสงครามไปตลอด ตองมีวันหมด
สมรรถภาพ เปนคนชราไรเรี่ยวแรงอยูวนั ยังค่ํา เหมือนกับสงครามที่ตองรางราเมื่อไรผูนํา งานนี้ดูจะมี
ความหมายที่ลึกซึ้งมากกวาตองการสื่อถึงเทคโนโลยีที่ใชจัดแสดงที่ดูนาเขาไปมีสวนรวมกับงานศิลปะที่กําลัง
เคลื่อนไหวนี้ หลายคนเฝาสังเกตการณวารถเข็นของผูนําคนใดจะชนกับรถเข็นใคร จะเคลื่อนที่ไปทางไหน ซึง่ ก็
ตรงกับจุดมุงหมายของศิลปนที่ตองการใหเห็นถึงสัจธรรมของมนุษยในเรื่องของการเกิด แก เจ็บ และตาย

หองแสดงสุดทาย “โปรเจกตรูม” (Project Room) หองแสดงของศิลปนที่คัดเลือกมาอีกหองใหญ


ดานบนสุด ศิลปน วิลล ไรแมน (Will Ryman) เขาเคยเปนผูเขียนบทละครเวทีมากอน เปนศิลปนชาวอเมริกัน
เกิดและทํางานที่นิวยอรก โดยที่พอของเขาเปนศิลปนชื่อดัง โรเบิรต ไรแมน (Robert Ryman) งาน The Bed
(2007) ของเขานั้นไดรับอิทธิพลมาจากละครเวที เตียงซึ่งเปนงานประติมากรรมเปรียบเสมือนอนุสาวรียขนาด
ใหญที่ทําจากกระดาษ ซึ่งมีตัวของเขาเองนอนอยูใ นโลกของความฝน ในวันอาทิตยยามเชา แดดอุน ทามกลาง
ขาวของระเกะระกะ ไมวาจะเปนโนตบุก กระปองเบียร ถุงมันฝรั่ง นี่เปนนิทรรศการครั้งแรกของเขา ที่ไดรับ
แรงบันดาลใจสมัยเปนเด็กที่เมื่อเขาไปในหองนอนของพอแลวเห็นทุกอยางมีขนาดใหญเกินตัวเอง ซึ่งถือวาเปน
ความทรงจําที่ดีชวงหนึ่งในชีวิต

โลกศิลปะของชาวตะวันออกกลาง โลกที่เต็มไปดวยความขัดแยงอยางรุนแรงทั้งในเรื่องการเมือง
เศรษฐกิจ ศาสนา และในเรื่องเพศ ศิลปนไดเปดเผยตัวตนที่แทจริงในโลกอีกใบหนึ่งที่เราไมคอยจะไดพบเห็น
มากนักกับงานศิลปะแบบนี้ ในโลกของความเปนจริงอาจจะมีความโหดราย หดหูตามภาพขาวทางโทรทัศน
มากกวาที่เห็นในงานศิลปะ ซึ่งศิลปนเปนไดเพียงผูสังเกตการณที่สะทอนภาพเหลานั้นเผยแพรสูสายตาผูคน
จากทั่วโลก งานของพวกเขาเปรียบเสมือนเปนกระบอกเสียงที่สําคัญใหกับประชาชนในดินแดนที่ตองการความ
สงบและเสรีภาพ นี่คือความยิ่งใหญของศิลปะที่สวยงามและมีพลังแหงอิสรภาพที่แฝงตัวอยู นิทรรศการ
“Unveiled: ปลดผาคลุมหนา” ไดเปดเผยถึงเสรีภาพในใจของชาวตะวันออกกลางเฉกเชนผูคนจากทุก
ประเทศที่ตองการสันติภาพ อิสรภาพ และความเทาเทียมในความเปนมนุษย ที่จะสามารถดํารงชีวิตนี้ไดอยาง
ไมตองปดบังภายใตผาคลุมผืนนั้นอีกตอไป

http://www.theguardian.com/artanddesign/2009/feb/01/unveiled-saatchi-gallery-review-art
http://www.telegraph.co.uk/journalists/richard-dorment/4346252/Unveiled-New-Art-from-the-Middle-East-at-the-Saatchi-Gallery.html
http://www.saatchigallery.com/artists/unveiled/
ภาพประกอบจาก Saatchi Gallery

The tower of infinite problems (2008) โดย ไดอานา อัล-ฮาดิด

All the stops (2007) โดย ไดอานา อัล-ฮาดิด


Qalandia 2067 (2008) โดย วาฟา ฮูรานี

WshhWshh (2008) and The Fence (2007) โดย นาเดีย อะยารี


Men of Allah (2008) โดย รามิน ฮาริ ซาเดห์

Tehran Prostitute (2008) โดย ชิริน ฟาคิม


Untitled from the Like Everyday Series (2000-2001) โดย ชาดี กาดีเรี ยน

Untitled from the Ghajar Series (1998-1999) โดย ชาดี กาดีเรี ยน


Old Persons Home (2007) โดย ซุน หยวน และ เผิง หยู่

The Bed (2007) โดย วิลล์ ไรแมน


RONI HORN AKA RONI HORN
เอกลักษณคือสายน้ํา
Tate Modern, London.

ตอนนี้ที่ เทต โมเดิรน (Tate Modern) ลอนดอน กําลังมีนิทรรศการพิเศษที่ตองเสียคาเขาชม ผม


กําลังคิดวาจะเขาชมดีหรือไม เพราะดูจากโปสเตอรของงานแลวก็ธรรมดาสามัญมากๆ ไมมีอะไรสะดุดตาสะดุด
ใจ ไมหวือหวาเหมือนกับงานศิลปนคนอื่นๆ แตคิดในมุมกลับกันวา มันตองมีความพิเศษในเนื้องานอะไรสัก
อยาง ศิลปนถึงไดมาแสดงงานที่นี่ ผมจึงไมรอชากาวขามความคิดที่ปดกั้นตัวเองจากงานศิลปะแบบเดิมๆ
กลับไปดูงานที่คิดวาไมมีอะไร แตมันตรงขามกับที่ผมคิดโดยสิ้นเชิง เพราะจากแคประโยคเดียวในสูจิบัตรนั้นคือ
“Identity is a River” ก็ทําใหผมพบถึงสิ่งที่ผมตองเขาไปคนหาในงานของเธอ

โรนี ฮอรน (Roni Horn) เกิดที่นิวยอรก ในป 1955 จบปริญญาตรีที่โรงเรียนการออกแบบ


โรดไอแลนด (Rhode Island School of Design) และปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเยล (Yale University) เธอ
ไดเริ่มทํางานศิลปะในชวงกลางของยุคป 1970 และไดแสดงงานไปทั่วโลกตลอดระยะเวลา 30 ปที่ผานมา งาน
ของเธอคอนขางจะหลากหลายซึ่งมีทั้งงานวาดเสน หนังสือ ภาพถาย งานจัดวาง และประติมากรรม ในหอง
แสดงงานหองหนึ่ง คุณอาจจะเจองานจากหลากหลายสื่อของเธอในหองเดียวกันก็ได ในขณะเดียวกันก็จะเจอ
งานที่เหมือนกับที่เคยเห็นในหองที่ผานมาปรากฏอยูอีกหองหนึ่งก็ไดเชนกัน

“Identity is a River” เธอไดกลาววา เอกลักษณเฉพาะก็เหมือนกับสายน้ําซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง


เคลื่อนไหวไดตลอดเวลา ในสิ่งๆ หนึ่งอาจจะมีเอกลักษณหลากหลายปรากฏอยูก็เปนไปได โดยที่เราไมตอง
บอกวาสิ่งนั้นตองเปนอยางนัน้ อยางนี้ ตัวอยางเชน งานภาพถายของเธอซึ่งสวนใหญจะเกี่ยวของกับธรรมชาติ
และน้ํา งานประติมากรรมจะบงบอกเวลาและการเคลื่อนไหว และในสวนอื่นๆ ยังสัมพันธกับสถานที่อีกดวย
ในขณะที่ศิลปนรุนราวคราวเดียวกับเธอนั้นมักจะมีเอกลักษณเฉพาะในงานที่เกี่ยวของกับการเมืองและ
สภาพแวดลอมของตัวเอง แตเธอกลับใชสถานที่เปนตัวบงบอกใหคนดูไดเผชิญหนากับงานและใชแค
ประสบการณรูสึกกับสิ่งที่เห็นเบื้องหนาก็เพียงพอ

เราลองมาดูงานของเธอไปเรื่อยๆ แวบแรกที่เห็นวัตถุสีทองก็ไมไดสังเกตอะไรมากกับวัตถุตรงหนา ดู
แลวก็เดินเลยผานไปกับงานที่ชื่อวา Things that happen again (1986) เธอสรางงานชุดนี้จากหนึ่งในสี่งาน
ที่เปนงานจัดวาง ในปลายชวงป 1980 แทงทองแดงปลายตัดทั้งสองขาง ซึ่งขางหนึ่งเล็กกวาอีกขางหนึ่งถูกวาง
อยูในหองสองหอง เมื่อผูชมเดินผานหองแรกจะเห็นงานชิ้นที่หนึ่ง จากนั้นเมื่อเดินผานไปอีกหองหนึ่งที่อยู
ติดกันก็จะเห็นงานที่เหมือนกันอยูในหองนั้นเชนเดียวกัน ผูชมทั่วไปอาจจะเถียงในใจวามันตองมีอะไรที่ไม
เหมือนกับในหองแรกอยางแนนอน จากนั้นจึงเฝาสังเกตความแตกตางของงานทั้งสองชิ้น ทั้งๆ ที่ทั้งสองชิ้นนั้น
เหมือนกันทุกประการ เหตุผลเนื่องมาจากสมองไดถูกปดกั้นความคิดจากงานชิ้นแรกไปแลววามันเสร็จสิ้นแลว
ทําใหเรารูสึกวาชิ้นที่สองจะตองไมเหมือนเดิม และที่วางระหวางงานทั้งสองชิ้นไดกลายมาเปนสวนหนึ่งของงาน
แทนที่งานประติมากรรมไปสูอีกสถานะหนึ่ง ที่สภาพแวดลอมของงานก็กลายเปนงานดวย

ในชวงปลายป 1980 เธอทํางานประติมากรรมโดยไดรับแรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ เอมิลี ดิกคิน


สัน (Emily Dickinson) งานชุดนี้ White Dickinson (2006) ทําจากพลาสติกหลอแข็งฝงบนอะลูมิเนียม วาง
ค้ํากับกําแพงไว ซึ่งเมื่อมองจากดานหนาและหลังจะสามารถอานเปนประโยคไดชัดเจน แตถามองจากดานขาง
จะเปนแคเสนสีขาวหรือดําเทานั้น เธอเขียนประโยคที่ออนไหวตอการรับรูจากบทกวี บทกลอนซึ่งสามารถ
มองเห็นไดและขณะเดียวกันก็ไมสามารถมองเห็นไดถึงเหตุการณและบางสิ่งที่สงเสียงสะทอนใหกับศิลปนไดจด
จออยูกับมัน โดยขอความที่นํามามักจะเปนตัวแทนของสัญลักษณบางอยาง ที่สามารถเปลี่ยนงานนามธรรมให
สามารถจับตองได และเปลี่ยนสถานะจากบทกวีสูงานศิลปะ

งานชิ้นตอมาก็ยังเหมือนเดิม คือ เรียบงายจนตองคิดแลวคิดอีกวาจะตีความอะไรอีกกับงานที่ชื่อวา


Paired Gold Mats, for Ross and Felix (1994-1995) งานชิ้นนี้เปนสวนหนึ่งของงานชิ้นที่ผานมาในชุด
“Asphere” เหมือนกับงานที่จํากัดขอบเขตในตัวงานใหเทากัน แตจริงๆ แลวเมื่อสังเกตดีๆ จะพบวาขางหนึ่ง
ไมเทากับอีกขางหนึ่ง Asphere คือการกลาวอางถึงเรื่องเอกลักษณในชิ้นงานหนึ่งอาจจะมีหลายเอกลักษณก็ได
มันไดใหประสบการณแรกเริ่มที่คลายคลึงกัน แตถาเราใหเวลาอยูกับมันไปสักระยะ คุณก็จะมองออกวามัน
คลายคลึงกันนอยลงเฉกเชนเดียวกับภาพถายบุคคลที่ไมมีวันเหมือนกันในแตละภาพ แนวโนมในงาน
ประติมากรรมของเธอมีแนวโนมใกลกับลัทธิมินิมัลลิสม สําหรับงานชิ้นนี้เธอทําขึ้นเพื่ออุทิศใหกับสองศิลปน
รอสสและฟลิกซ (Ross and Felix) ซึ่งเสียชีวิตดวยโรคเอดส เธอกลาววา “อยากใหความรุงโรจนของทองนี้
เขามาแทนที่สังคมอันโสมม และกลับไปสูโลกที่ธรรมดาเรียบงายอีกครั้ง” ตัวงานประกอบไปดวยแผนทองแผน
ใหญสองแผนวางซอนทับกัน เมื่อเวลาที่ตองแสงจะเหมือนแสงอาทิตยสองประกายไปทั่วทั้งหอง เหมือนเปน
การระลึกถึงเพื่อนทั้งสองผูจากไปนั่นเอง

งานประติมากรรมที่เปนคอลเลกชันชุดใหญที่เปนงานแกวชิ้นนี้ชื่อวา Pink Tons (2008) รูปรางของ


งานนี้คลายกับสระน้ําที่ดานขางของงานจะทึบ ไมโปรงแสง ในขณะที่ดานบนจะใสเหมือนน้ําที่สะทอนโลก
ภายนอก เธอตองการที่จะใหคนดูมองเห็นดานตางๆ ที่ไมเหมือนกัน ไมอยากใหงานตองถูกจําเพาะเจาะจงใน
เอกลักษณหรือเงื่อนไขของความเปนวัตถุ งานชิ้นนี้ตองการใหเหมือนกับกระจกที่สะทอนความเขาใจของผูชม
ในการดูเอาเอง ตัดสินเอาเอง และตีความเอาเองจากงานที่วางตรงหนา และงานอีกหลายชิ้นที่คลายคลึงกันใน
แตละหองจัดแสดง งานชุดนี้ก็เฉกเชนงานขางตนในหมวดของงานประติมากรรมที่ผานมา เธอคอนขางที่จะให
อิสระกับคนดู ไมชี้นํากับความคิดมากนัก งานศิลปะของเธอบางทีอาจจะไมตองคิดใหมันซับซอนเหมือนกับที่
เธอคิด แคปลอยใจใหเปนอิสระกับสิ่งที่อยูเบื้องหนาก็เพียงพอ

มาถึงงานที่เปนชุดของภาพถายที่มีความนาสนใจอีกเหมือนกัน กับงานที่ชื่อวา You Are the


Weather (1994-1995) เธอถายภาพหญิงสาวคนเดียวกันนับรอยภาพในสระวายน้ําที่แตกตางกันทั่วทั้ง
ไอรแลนดในสภาวะฝนตก มีหมอก มีลมและแสงแดด การแสดงออกที่เปลี่ยนแปลงไปเหมือนเปนการ
ตอบสนองของสภาพอากาศ เมื่อคุณเดินอยูในหองจัดแสดงพรอมภาพหญิงสาวที่จองมองคุณอยู คุณจะรูสึกถึง
การทาทายและตัวคุณนั้นจะกลายเปนสภาพอากาศไปแทนที่ เธอกลาววางานชิ้นนี้เปนงานที่อีโรติกลึกจนลบ
เลือนเรื่องทางเพศออกไปได ผูชมจะไมสามารถคิดเรื่องอยางวาจากงานของเธอ เพราะผูชมจะถูกจองมองจาก
สายตานับรอยคูผานภาพถายของเธอ ความรูสึกแรกที่ผมรูสึกกับงานชิ้นนี้คือ เธอถายไดสวยงามและเปน
ธรรมชาติ ไมไดคิดถึงเรื่องสรีระเบื้องลางมากกวาบรรยากาศและสายตาหญิงสาวที่จองมอง นี่เองที่เปน
จุดประสงคหลักของศิลปน

Pi (1998) ประกอบไปดวยภาพถายจํานวน 45 ภาพ สวนใหญถายที่อารกติกเซอรเคิล (Arctic


Circle) ในไอซแลนดตอนเหนือ เปนระยะเวลากวาหกป งานชุดนี้เหมือนเปนวงจรชีวิตที่หมุนเวียนกลับไป
กลับมา ประกอบไปดวยภาพถายบุคคล สภาพแวดลอม เหมือนกับงานที่ผานๆ มา งานชิ้นนี้พูดถึงครอบครัว ฮี
ดูร (Hidur) และ บยอรน (Bjorn) และลูกชายของพวกเขา ซึ่งเก็บขนเปดจากรังและนั่งดูรายการละครน้ําเนา
ของอเมริกาเรื่อง Guiding Light วงจรธรรมชาติก็เหมือนวงการบันเทิงที่วนเวียนซ้ําไปซ้ํามา งานถูกจัดวางใน
แนวนอนซึ่งผูชมจะไมสามารถรูวางานชิ้นไหนเปนงานเริ่มตนและงานจบ ซึ่งนั่นก็เปนจุดประสงคของศิลปน ที่
ตองการใหคนดูสนใจภาพรวมของงานมากกวาจะโฟกัสแคสวนใดสวนหนึ่ง โดยเธอไมไดสนใจในเรื่องเทคนิค
หรือการเลาเรื่องที่พิสดารในงานของเธอ โดยเธอกลาววา “การเลาเรื่องเปนแควิธีหนึ่งที่ดึงดูดใหผูคนมาสนใจ
ในงาน แตสาระของมันจริงๆ นาจะมาจากการตีความของภาพรวมทั้งหมดในเนื้องานมากกวา” กับอีกผลงานที่
ชื่อวา Cabinet of (2001) เธอมักจะทํางานกับภาพถายหลายๆ ภาพ โดยใชภาพคนเหมือนซึ่งดูไมสมบูรณเพื่อ
แสดงสภาวะลักษณะบางอยางของสิ่งที่นํามาถาย งานชุดนี้ประกอบไปดวยภาพที่ดูคลุมเครือ 36 ภาพของตัว
ตลกในอิริยาบถตางๆ กัน ภาพหัวของตัวตลกที่ดูคลุมเครือสามารถบรรยายใหเห็นถึงสภาพภายในของตัวตน
มากกวาที่เห็นแคศีรษะ กับงานอีกชุดที่เปนการถายภาพหลายๆ ชิ้นประกอบกัน This is me, This is you
(1998-2000) เธอไดถายภาพหลานสาวของเธอจํานวน 48 ภาพ ซึ่งเริ่มถายตั้งแตวัยเด็กจนถึงวัยรุน ซึ่งเปนการ
เปลี่ยนเอกลักษณของชวงวัยในเวลานั้นๆ ซึ่งถาคนดูไมสังเกตก็จะไมทราบเลยวา ภาพที่ถายนั้นเปนคนละ
ชวงเวลากันจริงๆ

นี่ก็เปนแคตัวอยางงานบางสวนของเธอที่นํามาจัดแสดงครั้งนี้ที่ผมเห็นวามีความพิเศษตอการรับรูทาง
ศิลปะและการตีความในมุมมองของศิลปนซึ่งบอกแตขางตนวา เอกลักษณไมจําเปนตองคงอยูกับที่ หากแตมัน
มีความเคลื่อนไหวไดนั้น ผมมองวาถาเปนในเรื่องของวัสดุ เทคนิค กระบวนการทํางานนั้นเปนเรื่องดังที่เธอ
กลาวมาทั้งสิ้น แตในเรื่องของความคิดนั้นความเปนเอกลักษณของเธอกลับเดนชัดในงานที่แสดงออกมา
เหลือเกิน ดังเชนสระน้ําที่สะทอนเรื่องราวตางๆ ความคิดที่ตองใชการสังเกต วิเคราะหเหตุผลที่มาที่ไปในตัว
ชิ้นงาน หรือในทางตรงกันขามคุณก็ไมตองทําอะไรเลยกับความคิดนั้น แคเปนผูสังเกตการณและใช
ประสบการณที่มีมองดูงานศิลปะของเธอใหเปนอิสระจากพันธนาการทั้งปวง นาจะเปนการดีทั้งสองแบบ ดังที่
เธอไดเสนอแนวทางเอาไว สําหรับตัวผมไดมุมมองที่เพิ่มขึ้นในการดูงานศิลปะอยางเห็นไดชัดวา ไมควรที่จะ
มองขามงานศิลปะชิ้นใดๆ ไมวางานนั้นจะมีเอกลักษณหรือไมก็ตาม เพราะประสบการณและเวลานั้นจะเปนตัว
บอกคุณคาของงานชิ้นนั้นผานสถานที่และคุณคาของตัวมันเอง “เอกลักษณคือสายน้ํา” ที่ไมไหลยอนกลับ แต
มันจะนําพาประสบการณที่มากขึ้นไหลผานเสนทางศิลปะของศิลปนตอไป

http://www.artinamericamagazine.com/news-features/news/roni-horn-aka-roni-horn-/
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/roni-horn-aka-roni-horn
http://www.theguardian.com/artanddesign/2009/mar/14/roni-horn-tate-modern-exhibition
http://artpulsemagazine.com/roni-horn-aka-roni-horn-at-the-tate-modern-level-4
ภาพประกอบจาก Tate Modern

Things that happen again (1986)

Paired Gold Mats, for Ross and Felix (1994-95)


Pink tons (2008)

Pink tons (2008)


You are the weather (1994-1995)

You Are the Weather (1994-1995)


Pi (1998)

This is me, This is you (1998-2000)


Cabinet of (2001)

White Dickinson (2006


Damián Ortega: The Independent
ศิลปะของหนังสือพิมพ
The Curve, Barbican, London

ดาเมียน ออรเตกา (Damián Ortega) เปนที่รูจักในนามประติมากรผูชอบแยกชิ้นสวนของงานเปน


ชิ้นๆ มาจัดแสดง งานของเขามักเกี่ยวกับเครื่องมือเกาๆ รถยนต กระจกหนาตาง อิฐสรางบาน งานของเขา
มักจะมีองคประกอบของงานจัดวางซึ่งมีทั้งงานวาดเสน ภาพถาย ฟลม 8 มม. และวีดีโอ ซึ่งเปนสิ่งที่เขาให
ความสนใจในบริบทของความรวมสมัย จากพื้นฐานการเปนนักวาดภาพการตูนการเมืองในชวงยุคป 1980 ที่
เม็กซิโก ประเด็นที่เขานําเสนอจึงมักเปนเรื่องของการเมือง สังคม ความเปนมนุษย ทั้งหมดถูกถายทอดใหเปน
ภาษาของงานที่เรียกวา “ประติมากรรมแนวมินมิ ัลลิสม” (Minimalist Sculpture) งานประติมากรรมและ
การจัดวางของเขาเหมือนเชนงานทดลองสําหรับโปรเจกตในอนาคต ซึ่งไดรับแรงบันดาลใจมาจากขาวตางๆ
เชน นิยาย ภาพถาย กราฟก หรือโฆษณา จากหนาหนังสือพิมพในทุกๆ วัน ที่เปนแหลงอางอิงถึงความเปนชาติ
อังกฤษไดอยางดีจากขาวเหลานี้ เขาไดวางตัวเองอยางเปนอิสระกับหนังสือพิมพในยุคกลางป 80 ที่มีการ
เคลื่อนไหวแบบสงบ นําเสนอขาวที่เปนกลางและอิสระจากสังคมอุดมคติ การเฝาตรวจสอบเนื้อหา
ภาพประกอบ ประโยชนใชสอยจากเนื้อหาของขาวทําใหเขาเขาไปมีสวนรวมกับสื่อถึงการแสดงออกใน
ทายที่สุดของกระบวนการทํางาน

โดยธรรมชาติของขาวแลวนั้นมันรวดเร็วมาก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งสอดคลองกับวิถีชีวิต


และการบริโภคในชีวิตประจําวัน นักขาวมักมีการตอบสนองในบทความที่สําคัญตอสถานการณปจจุบันไดอยาง
ทันทวงทีซึ่งมักจะแตกตางกับศิลปนซึ่งมักใชเวลาคิดในการทํางานเปนเวลานาน บทความจากนักเขียน
ขอคิดเห็น กราฟก ภาพประกอบ ถูกออกแบบใหสะทอนกับโลกภายนอกที่มีความสมบูรณ จนบทความที่กลาว
มาบางทีก็ดูลนโลกเสียดวยซ้ํา จากนิทรรศการของเขา เขาเพียงแคหยิบบางสวนของขาวมาจากเหตุการณที่
เกี่ยวของกับเรื่องศาสนา กีฬา การบริโภค ทองเที่ยว ภาพโป นํามาทําเปนปริศนาใหปะติดปะตอกันไปตาม
เนื้อหาที่นําเสนอ

งานชิ้นแรกของเขาในแกลลอรีคือ Immigrant Song (2010) ผนังซึ่งยาว 7 เมตร สูง 2 เมตร ทําจาก


อิฐวางตัวซิกแซก ซึ่งไดแนวความคิดมาจากจํานวนของแรงงานขามชาติที่เขามาในอเมริกาแบบผิดกฎหมาย
เหมือนเปนการเตือนความทรงจําของความขัดแยงที่นํามาซึ่งที่แบงแยกดินแดนของอเมริกากับเม็กซิโกดวย
กําแพงที่รูจักกันในชื่อ เวสตแบงก (West Bank) ซึ่งมีความยาว 1,951 ไมล งานที่มีประเด็นอันละเอียดออน
กลาวถึงกายภาพและเศรษฐกิจทางพรมแดน อิสรภาพ การเคลื่อนไหว และความปลอดภัย กอนอิฐแตละกอน
จะมีรูปทรงที่แตกตางกัน การใชอิฐนี้ยอนถึงงานเกา Project for Social Housing (2007) ซึ่งมีรปู ทรงเหมือน
เสาที่ทําจากอิฐสูงจรดผนังดังเชนหินงอกหินยอยในหมูบานเล็กๆ ของเมืองรีโอเดจาเนโร (Rio de Janeiro)

Greed or Graft บทกวีที่สะทอนถึงคนงานในเหมือง 33 คนในชิลีที่ติดอยูในเหมืองถ้ําตั้งแตเดือน


สิงหาคม 2010 งานชิ้นนี้เลือกใชน้ํามันบรรจุคอนกรีต ทราย และหิน ขางกันเปนบานซึ่งมีหองเล็กๆ ซึ่งมีเทียน
ที่คอยๆ ละลายจากการจุดเทียนวางอยู ซึ่งเปรียบเสมือนแสงเล็กๆ จากถ้ําใตดินของแรงงานในชิลี การติดอยู
ในนั้นคือการตองทําใหที่นั่นกลายเปนทั้งบานและคุกในเวลาเดียวกันที่มีทั้งความหวังและความมืดมน ซึ่ง
ทั้งหมดนี้เกิดจากการแคตองการพลังงานน้ํามันและเชื้อเพลิงของมนุษย และยังเชื่อมโยงมาถึงงาน British
Petrol : Dirty Martini กับการอางถึงการรั่วไหลของน้ํามันจากบริษัทผลิตชื่อดังในอังกฤษที่อาวเม็กซิโก ซึ่งครา
ชีวิตของคนงานถึง 11 คน และยังทําลายระบบนิเวศทางทะเล ทั้งหมดนี้เพื่อตอบสนองความตองการเพียงแค
น้ํามัน งาน Ulysses Way (2010) จักรยานซึ่งขนสัมภาระทั้งเกาอี้เกา ตูเย็น เตา โตะ หมอ กระทะ ตั้งอยูบน
อานของจักรยานนั้น ไดสะทอนการเกิดวาตภัยครั้งรุนแรงของปากีสถาน ซึ่งเปนภัยธรรมชาติครั้งรายแรง มันได
สะทอนถึงธรรมชาติและมนุษย ซึ่งเปนการตั้งคําถามถึงบานและขาวของสัมภาระของมนุษยวามีความสมดุล
หรือไมในชีวิตปจจุบันที่เราบริโภคกันอยางฟุมเฟอย

หนังสือพิมพไมใชเปนเพียงแคแหลงความรูแตมันยังเปนพื้นที่ของผูบริโภค การไวเนื้อเชื่อใจในหนา
โฆษณาเหมือนเปนการตออายุสมาชิกโดยอัตโนมัติ ในงาน In Watching You without me (2010) ซึ่งเปน
งานที่รําลึกถึง ไดเทอร รอท (Dieter Roth) กับโปรเจกต The sea of tears งานที่สัมพันธกับการโฆษณาที่มี
คติคําพังเพยในนั้น และออรเตกานํากลับมาทําใหมโดยเขาไดซื้อรองเทาบูทสีน้ําตาลจากหนาโฆษณาใน
หนังสือพิมพอินดีเพนเดนต (Independent) เมื่อสัปดาหกอนที่เขาจะนํารองเทานี้กลับมาประกาศขายอีกครั้ง
ในหนาหนังสือพิมพเดียวกัน ไอเดียนี้เปนการทําลายโครงสรางของหนังสือพิมพกับไอเดียของเขาซึ่งถือเปนการ
แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจมากกวาการซื้อขายจริง

ผลงานที่มีชื่อมากที่สุดของเขาคือ Cosmic Thing (2002) เขาเลือกใชรถโฟลคสวาเกน บีเทิล


(Volkswagen Beetle) ซึ่งเปนรถที่เปนไอคอนของความเปนประชาธิปไตยในงานออกแบบอุตสาหกรรม เขา
แยกสวนรถบีทเทิลอยางพิถีพิถันทีละชิ้นและติดตั้งโยงลงมาจากเพดาน รถบีทเทิลเปนรถที่พัฒนาตนแบบมา
จากนาซีเยอรมันในชวงทศวรรษที่ 1930 ดวยราคาที่ไมแพงมันจึงเปนรถของประชาชนอยางแทจริง ในป 1970
โฟลคกลายเปนรถที่ผลิตในประเทศเม็กซิโกและบราซิล เครื่องกลที่ประกอบงายราคาถูกพรอมใชงานทําให
อะไหลการซอมแซมนัน้ สามารถประกอบและทําเองได และมันก็ไดกลายเปนรถยอดนิยมในเม็กซิโกซิตี ซึ่ง
ทั้งหมดนี้สะทอนใหเห็นถึงสภาพสังคม การเมือง และภาคของเศรษฐกิจจากรถรุนนี้ไดในชวงนั้น
แนวคิดการแยกชิ้นสวนของโครงสรางรูปทรงเปนการขยายวัตถุหนึ่ง เหมือนกับเปนการขยายชองทาง
ในสถานการณที่เจาะจงเพื่อความเปนไปไดของกระบวนการวิเคราะห เชน งาน Controller of the Universe
(2007) หรือ Cosmic Thing (2002) ซึ่งพิถีพิถันในการแยกชิ้นสวนรถบีเทิล ซึ่งเปนสัญลักษณของ
ประชาธิปไตยในงานออกแบบอุตสาหกรรม มันคือสวนสําคัญที่จะเขาใจเรื่องของพื้นที่และวัตถุที่ถูกแทนที่ ซึ่งมี
ความสัมพันธซึ่งกันและกัน สิ่งที่นาสนใจคือหนังสือพิมพ ดวยความที่มันเปนสิ่งสวยงามของระบบที่มีการ
เปลี่ยนภาพลักษณทุกๆ วัน ในเรื่องของความสัมพันธของขอมูลขาวสารที่อยูในนั้น คนทั่วไปมักจะนํา
หนังสือพิมพไปรอบๆ กับเขาตลอดทั้งวัน ในระหวางที่เขากําลังรออะไรบางอยาง มันอยูในมือ ในกระเปาดวย
หมึกที่สกปรกสีดํา นั่นคือความสัมพันธของวัตถุและเนื้อหา หนังสือพิมพคือเครื่องมือฉบับพกพา เปน
ประติมากรรมที่มีความตางของการแจกและแบงปน ซึ่งถือเปนศิลปะของสาธารณะชน

หนังสือพิมพยังเปนสิ่งที่นาหลงใหลของศิลปน เชน ศิลปน อีฟส ไคล (Yves Klein) ที่เขาไดทํา


หนังสือพิมพของตัวเอง ในป 1960 หรือคุณหมอของศิลปน โรเบิรต โกเบอร (Robert Gober) ก็ทํา
หนังสือพิมพเชนเดียวกัน และที่พิพิธภัณฑศิลปะรวมสมัยที่นิวยอรก หรือ MoMA (Museum of Modern
Art) ยังเปดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปนที่มีบทบาทเกี่ยวกับหนังสือพิมพดวย สิ่งที่ออรเตกาสนใจมักจะเปน
องคประกอบจากหนังสือพิมพที่ทําใหประหลาดใจ เชน เขาไมเคยสนใจเลยวาแอปเปลนั้นเติบโตไดอยางไร ใน
ระหวางกระบวนการของมัน เขาไดอานบทความเรื่องการเก็บเกี่ยวผลแอปเปลในแตละปวาฤดูไหนที่เหมาะ
ที่สุด ที่จะทําใหรสชาดของแอปเปลนั้นดีที่สุดดวย จากนั้นเขาเลยออกไปซื้อแอปเปลมากิน โดยธรรมชาติแลว
เขาสนใจในเรื่องของวิทยาศาสตร และมักจะอานบทความที่เกี่ยวกับประดิษฐกรรมใหมๆ ซึ่งสามารถวัดหรือ
สรางความเปนจริงได เหมือนเชนงานของไอนสไตน ถึงแมวามันจะมีความคลาดเคลื่อนในชวงเวลาระหวางบน
พื้นกับชั้นบนสุดของตึกบางก็ตาม เขายังสนใจขาวคราวของเม็กซิโกอยางใกลชิดในเรื่องของ
มหันตภัย สถิติ และกราฟเชิงขอมูลตางๆ รวมถึงการตูนและงานโฆษณา สําหรับเขาแลวโปรเจกตที่ทําใหจดจํา
มักจะเปนเรื่องที่เขาตั้งตารอและติดตามในเรื่องความชอบสวนตัว สิ่งใดที่เกิดขึ้นทันทีและมีความหมายกับ
วัฒนธรรมรวมสมัยในปจจุบัน

อิฐกอสราง คอนกรีต ไม วัสดุภายในทองถิ่น ของสําเร็จรูป และอื่นๆ ที่พบในชีวิตประจําวัน คือ


สุนทรียภาพของงานศิลปะ อีกทั้งศิลปนยังเพิ่มหนังสือพิมพเขาไปในนั้นดวย เขามีความเขาใจในวัตถุที่มีความ
สมบูรณและซับซอนเสมอๆ หนังสือพิมพเปนการผลิตของสวนผสมหลายๆ อยาง เชน ขาวสาร ขอความ
การเมือง รูปภาพ โฆษณา มันสะทอนถึงตนกําเนิด วัฒนธรรม เชนเดียวกับเทคโนโลยี นิเวศวิทยา ธุรกิจและ
การตลาด ทามกลางสิ่งอื่นๆ อีกหลายแงมุม ในชวงปลายของวัน หนังสือพิมพก็กลายเปนแคกระดาษจากตน
กําเนิดทางกายภาพของมัน บางครั้งการรีไซเคิลก็เปนการกลับเขาไปในโลกอีกครั้ง เขาชอบไอเดียพวกนี้ ในโปร
เจกตนี้เขาไดพยายามสรางบางอยางกับวัสดุพวกนี้ เชน การทํากระดาษใหเปนเปเปอรมาเช หรือการใชซัง
ขาวโพด เปนตน ทายที่สุดของเดือนหนังสือพิมพมากมายที่ถูกทิ้งกระจายอยูรอบๆ เหมือนกับขอมูลขาวสารที่
ไมตองการ ซึ่งเขาสามารถเห็นถึงการสะสมของพลังงานจากสิ่งเหลานี้ ในภาษาสเปน มีคําวา PILA ซึ่งแปลวา a
pile (เครื่องกําเนิดไฟฟา) ของหนังสือพิมพ เชนเดียวกับแบตเตอรี ดังนั้นเมื่อ
PILA คือ แบตเตอรี (Battery)
PILA คือ เครื่องกําเนิดไฟฟา (a pile)

ในเรื่องของกระบวนการคิด การผลิตและเวลา เรื่องของพื้นที่และองคประกอบในงานสถาปตยกรรมที่


เขามาเกี่ยวของกับงาน เชน พื้นที่ของ “เดอะเคิรฟ” (The Curve) ซึ่งเปนแกลลอรีในหอศิลปบารบิคัน เปน
สถานที่ที่ประหลาด มันสมบูรณแบบไมสมบูรณ เป็ นพื ้นที่ที่ใหญ่โดยที่ถกู ออกแบบให้ แก้ ปัญหาเรื่ องของเสียง
ที่กั ้นระหว่างคอนเสิร์ตฮอลของบาร์ บิคนั (The Barbican Concert Hall) และภายนอก มันจึงเปนพื้นที่ที่มี
ความเฉพาะตัวที่มีความโคงเปนแนวยาวหลายสิบเมตร ศิลปนตองการใหมีความถูกตองแมนยําในการเขาถึง
การผลิตงานใหมใหตรงตามคอนเซปตเดิมที่ตั้งไว โดยเขากลาววา “แทจริงแลวควรจะตองทําสวนที่สําคัญที่ผม
สนใจที่สุดกอนนั่นเอง บางวันผมก็ไมไดสนใจในเนื้อหาอะไรในหนังสือพิมพเลย แลวก็ปลอยใหมันผานไปโดยที่
ไมไดทําอะไรใหมๆ กับมัน การกําหนดขอบเขตของงานนั้นก็เปนขั้นตอนที่สําคัญเหมือนกัน การไมทําก็สําคัญ
เทากับการทําเหมือนกัน”

ตอนที่ออรเตกาเปนนักวาดการตูนการเมืองในเม็กซิโก เขาทํางานในฐานะนักขาวที่ตองตอบสนอง
ความเปนจริงในสังคม ประสบการณนี้ชวยพัฒนาโปรเจกตของเขา อารมณของนักเขียนการตูนที่ทั้งขบขันและ
กดดันนั่นคืออาวุธในงานศิลปะ เมื่อเร็วๆ นี้เขาไดไปพูดที่สถาบันศิลปะรวมสมัย (ICA: Institute of
Contemporary Art) ที่เมืองบอสตัน และมีใครคนหนึ่งในจํานวนผูมาฟงกลาวถึงงานของเขาวา รูสึกถึงความ
นากลัวทางกายภาพในงาน บางทีประสบการณของความกลัวอาจจะมาจากการแตกหักผุพังของอะไรบางอยาง
ในธรรมชาติ การใชชีวิตประจําวันของสิ่งของในงาน มันไดแปรเปลี่ยนไปสูโครงสรางภายใน วัตถุนั้นดูแตกตาง
และบางทีเปนการกระทําของมนุษยที่ไมไดเคยคิดมากอนวามันจะเกิดอะไรขึน้ และบางครั้งสิ่งของวัตถุคือการ
พัฒนาของสิ่งมีชีวิต การปรับเปลี่ยนประโยชนใชสอยและเปดเผยอีกดานของพวกมัน เขายังไมแนใจวา
ความคิดนี้มันกระจางหรือยัง แตก็คิดวาสิ่งขบขันและความกลัวไดผลิตบางอยางที่มันไมแนนอน บังคับใหคนดู
ตั้งคําถามและสอบถามกลับไปถึงวัตถุเหลานั้น มันก็เหมือนกับการพลิกเหรียญอีกดานเพื่อดู ซึ่งนาสนใจที่เปน
การสรางองคความรูใหมๆ และมันก็เหมือนเปนการบังคับคนดูใหสงสัยในสิ่งที่เขาทํา ใหพวกเขาไดคิดตาม นั่น
คือสิ่งที่นาสนใจในงานศิลปะ

ในงาน Matter/Energy (solid, liquid, gas) (2003) อิฐแตละกอนทําหนาที่เหมือนอะตอม บางสวน


ของสิ่งเล็กๆ พวกนี้มันคือของแข็ง น้ํา และแกส มันก็เหมือนกับสิ่งของนามธรรมที่มีอยู ที่เกี่ยวของกับสังคม
การเมือง ที่สามารถสะทอนสังคมได สิ่งของเหลานี้มีการอางอิงที่รวบรวมไวแลว มันเปนเรื่องของสังคมและ
สาธารณะ สําหรับเขาแลวมันยังเปนเรื่องของการเมืองอีกดวย ซึ่งเขามักจะสงผานขอความสวนตัวผานวัตถุนั้น
แตในนิทรรศการนี้วัตถุนั้นทําใหเกิดคนอานจํานวนมาก ขึ้นอยูกับวาพวกเขาจะสนใจมากนอยแคไหนในบริบท
ของการเปลี่ยนแปลงโมเลกุล สิ่งที่นาสนใจสํารวจนั้นคือการที่สสารเปลี่ยนรูปทรงไดอยางไร และมันเปนไปใน
การเปลี่ยนสถานะและโครงสรางไดอยางไร ที่กลาวมามันเกี่ยวของกับเรื่องของการเมืองในวาระของความ
เปนไปไดของอนาคต การพัฒนาของกระบวนการที่เกิดขึ้นของพลังงาน หรือไมมีอะไรเกิดขึ้นเลย

เมื่อพูดถึงอิทธิพลเรื่องของการเมืองที่สงผลตอความคิด การตัดสินใจ หรือการมีสังคมแบบอุดมคตินั้น


เขามักรูสึกถึงการเยาะเยยถากถาง มันเปนเรื่องสําคัญที่กดดันความคิดเห็น เขากลาววา “ผมไมไดเปนแฟนของ
งานศิลปะแบบการเมือง ผมคิดวามันเปนการชักจูงจนเกินไป แนนอนวามันมีงานที่ทรงพลังและดีเยี่ยมทาง
การเมือง ซึ่งเปนกุญแจสําคัญในเรื่องของประวัติศาสตร ผมกลับชอบงานพิมพและกราฟกที่เห็นไดจากการ
โฆษณาชวนเชื่อมากกวา งานที่แข็งแกรงของที่มาจากรากเหงาของผูที่เคลื่อนไหวทางการเมือง เชน ใบประกาศ
และแผนพับโฆษณาตางๆ เชน งานที่ผลิตโดย แบล็ก แพนเทอรส (Black Panthers) ในชวงป 1960 และผม
ยังมองวาสถานการณการเมืองในเม็กซิโกบานเกิดของผมยังนาผิดหวัง มันทําใหผมหมดกําลังใจในเรื่องของ
กระบวนการการจัดการทางเศรษฐกิจวาทําไมแรงงานมากมายตองการขามเขตแดนเพื่อการอยูรอดและใชชีวิต
ในอเมริกา นี่คือปญหาที่ใหญมาก ถาคุณดูในกราฟก็จะพบวามันมีจํานวนมากขึ้นทุกป และมันยังเกิด
กระบวนการคามนุษยโดยพวกมาเฟย นั่นก็เปนเรือ่ งที่แยเขาไปใหญ”

มองยอนกลับไปถึงผลงานกวา 20 ชิ้นที่เขาสราง มันไมไดกลาวถึงการเมืองของเม็กซิโก สําหรับการ


ฉลองครบรอบสองศตวรรษ ในชวงการติดตั้งผลงานของเขา ซึ่งเขาใหเหตุผลมาจากความไมแนใจวาการติดตั้ง
งานนี้จะมีเนื้อหาที่ถูกตองเหมาะสมเกี่ยวกับปญหาในเม็กซิโกหรือไม เหตุการณมันคอนขางยาก และเขาก็ไม
ตองการที่จะทําใหงานของเขามีความแปลกที่มาจากตางถิ่นตางแดน ถาจะทําอยางจริงจังก็ตองเขาไปคลุกคลี
กับพื้นที่และใชภาษาของที่นั่น และการตัดสินใจที่จะไมทํางานที่อางถึงชาวอังกฤษอยางเดนชัดเชนกัน เขาไม
อยากเปนเพียงนักทองเที่ยวที่มาสังเกตการณ และไมตองการที่จะสรางเรื่องราวตลกโปกฮาอันใด เหมือนที่
เพื่อนเขาคนหนึ่ง กอนที่เขาจะผานดานตรวจคนเขาเมือง เจาหนาที่คนหนึ่งบอกเขาวา “เรื่องของคุณผมไมได
ตลกดวยนะ” นั่นคือสิ่งที่ศิลปนไมอยากใหเกิดขึ้นในงานของเขา

หนังสือพิมพ ขาวสารที่เกิดขึ้นทุกขณะในระหวางที่กําลังหายใจคือปจจัยสําคัญและเปนแหลงขอมูลอัน
ดีของศิลปนในการสรางสรรคผลงาน คําถามที่ถามกลับไปวาในปจจุบันนี้ขอมูลขาวสารนั้นมีน้ําหนักและความ
นาเชื่อถือ รวมถึงมีขอเท็จจริงมากนอยแคไหน หรือการที่หนังสือพิมพไมมีปจจัยตามที่กลาวมานั้น ก็เปนขอมูล
ใหศิลปนไดหยิบยกมาทํางานไดเชนเดียวกัน ทั้งหมดนี้คือการทํางานที่มีสวนรวมและรับผิดชอบตอสังคม ถาม
กลับมาที่สังคมบานเรา ทุกวันนี้ศิลปนและนักออกแบบมีสวนรวมและรับผิดชอบตอสังคมและสวนรวมแคไหน
หรือแคอานหนังสือพิมพนั้นเพื่อหาปจจัยของความบันเทิงแคนั้น ทั้งหมดนี้เมื่อมองยอนกลับมาดูตัวเองและ
บทบาทหนาที่ของสังคมนั้น จะเหมือนกับการอานหนังสือพิมพที่สะทอนเรื่องราวความเปนไปเปนมาหรือไม
คําตอบนั้นอยูที่กระบวนการคิดที่ไดหลังจากการอานหนังสือพิมพ

http://we-make-money-not-art.com/archives/2010/11/damian-ortega-the-independent.php#.UyZ74oWJnms
http://www.thisistomorrow.info/viewArticle.aspx?artId=520
http://www.independent.co.uk/arts-entertainment/art/features/art-thats-making-the-headlines-the-independent-
inspires-damin-ortegas-latest- sculptures-2105953.html
ภาพประกอบจาก Barbican, London

Damián Ortega, The Independent.


Cosmic Thing (2002)
Greed or Graft
Ulysses Way (2010)

Controller of the Universe (2007)


Immigrant Song (2010) และ Greed or Graft
YOU_ser: The Century of the Consumer
แดผูผลิตและผูบริโภค
ZKM | Center for Art and Media, Karlsruhe, Germany.

ศูนยสื่อและศิลปะเซทคาเอ็ม (ZKM: Center for Art and Media) เมืองคารลสรูห ประเทศเยอรมนี


กอตั้งในป 1980 ซึ่งเปนการเริ่มนําเอางานศิลปะและสื่อมีเดียใหมๆ เขามาศึกษา จนถึงป 1989 ศาสตราจารย
ไฮนริช คลอตซ (Prof. Heinrich Klotz) ซึ่งเปนผูอํานวยการมูลนิธิไดริเริ่มโครงการนี้และกอตั้งขึ้นโดยใช
โรงงานเกาที่ตั้งอยูทางใตของเมืองคารลสรูหมาปรับปรุงใหมใหกลายเปนศูนยศิลปะสื่อสมัยใหมที่เรียกไดวาเปน
ที่แรกของโลก โดยมีหลายสวนที่อยูในศูนยแหงนี้ ไดแก พิพิธภัณฑศิลปะรวมสมัย (Museum of
Contemporary Art), พิพิธภัณฑสื่อ (Media Museum), สถาบันสื่อทัศนศิลป (The Institute for Visual
Media) และ สถาบันสําหรับวิชาวาดวยเสียงและดนตรี (The Institute for Music and Acoustics), สถาบัน
สําหรับสื่อ การศึกษา และเศรษฐศาสตร (The Institute for Media), Education, and Economics) โดยที่
พิพิธภัณฑสื่อจะอยูในตึกทรงโมเดิรนและสวนอื่นๆ จะอยูในตึกที่เคยเปนโรงงานเกานั่นเอง โดยเปดอยางเปน
ทางการเมื่อป 1997

ตอนนี้มีนิทรรศการครั้งสําคัญซึ่งเหมือนเปนการเฉลิมฉลองครบรอบสิบปของการเปดที่นี่ ที่ซึ่งมีสวน
สําคัญกับงานศิลปะ สังคม และปรากฏการณบนโลกใบนี้ จึงไดจัดใหมีนิทรรศการ “YOU_ser. The Century
of the Consumer” ขึ้น โดยที่หลายปที่ผานมาไดมีงานทั้ง Op-Art, Kinetic and Cybernetic Art, Arte
Programmatic, Conceptual art, Fluxus, ,Happenings and interactive computer-aided
installations ผานสายตาผูชมมาตลอดสิบป ซึ่งศูนยศิลปะแหงนี้เปดโอกาสใหผูชมมีสวนรวมได ใน
ขณะเดียวกันทางฟากของอินเทอรเน็ตก็ไดแบงพื้นที่ไวใหไดสรางสรรคผลงานกันโดยผานทางเว็บไซตเชน
www.flickr.com, www.youtube.com, www.myspace.com และ www.secondlife.com จะเห็นไดวา
ศิลปนไมไดถูกจํากัดการสรางสรรคผลงานอีกตอไป และทุกคนตางเขารวมเปนสวนหนึ่งสวนใดของงานได ไมวา
จะมาเปนผูกํากับ ผูออกแบบ ผูรวมแขงขันทางสื่อโทรทัศน วิทยุ และหนังสือพิมพ ทุกคนลวนเกี่ยวของกัน ไม
เฉพาะแตโลกไซเบอรเทานั้นที่เจริญถึงขีดสุด แตกับตัวศูนยศิลปะเองนั้นก็สงผลใหมีความเจริญและมีแนวโนม
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม สังคมของผูบริโภค จึงทําใหเกิดการศึกษา การเรียนรูใหมๆ ที่ครอบคลุมมาก
ยิ่งขึ้น นิทรรศการนี้ผูชมจึงเปนเหมือนการชมงานเพื่อปลดปลอยตัวเอง พวกเขาสามารถทําตัวเปนศิลปน
ภัณฑารักษ และผูผลิต ดังคํากลาวที่วา “YOU are the content of the exhibition” (คุณคือเนื้อหาของ
งานนิทรรศการนี)้ ไมวาคุณจะเปนใคร คุณก็สามารถมีสวนรวมในงานนี้ได นิทรรศการซึ่งจัดใหเพื่อผูบริโภคงาน
ศิลปะลวนๆ
แวบแรกที่เดินผานประชาสัมพันธ เมื่อเงยหนาขึ้นไปก็พบกับรูปทรงคลายๆ กระปองพลาสติกสองแสง
ไดนับพันๆ ใบอยูบนหัว ตอนแรกคิดวานี่คือการตกแตงเพื่อใหสวยงามเฉยๆ พอมาอานเจอวาเปนโปรเจกตหนึ่ง
ที่ชื่อวา “HYPERION Fragment, 2008” โปรเจกตนี้เปนการทํางานรวมกับศิลปนเมืองซตุตตการต
(Stuttgart) และนักประพันธเพลง กีออรก ฟรีดิช ฮาส (Georg Friedrich Hass) เพื่อใชแสดงในงานเทศกาล
ดนตรีโดเนาเอชิงเกน (The Donaueschingen Music Festival) ในป 2006 ในครั้งนั้นประกอบไปดวยแสงสี
ตางๆ ถึง 3,150 จุดในกระปองพลาสติกสีขาวขุน ซึ่งจะเปลี่ยนสีไปตามจังหวะดนตรีที่ตั้งโปรแกรมเอาไว และมี
ขนาดถึง 9.25 x 27 เมตร โดยไดแนวความคิดจาก "Light Music for a Large Orchestra" (ดนตรีเบาๆ เพื่อ
วงออเคสตราขนาดใหญ) ซึ่งหลังจากงานนั้นจบลง งานชิ้นนี้ก็กลายมาเปนงานแสดงศิลปะการจัดวางแสง
(Light Installation) ใหกับศูนยศิลปะแหงนี้เปนตนมา เสียดายที่ปจจุบันเคาไมไดเปดเพลงประกอบตามแสงสี
แลว เลยเหมือนไมครบองคประกอบที่สมบูรณ
งานชิ้นแรกเปนงานของ ไอราน คัง (Airan Kang) กับงาน The space of book-The Sublime
(2009) เปนการนําเอางานมีเดียผสมกับงานของหนังสือทําใหผูชมเสมือนอยูในโลกของหนังสือที่สามารถสัมผัส
ไดจริง โดยที่จะตองนําเอาหนังสือที่สรางขึ้นเปนรูปทรงกลองที่มีแสงไฟและชื่อหนังสือตรงสัน หยิบเขามาใน
หองและยืนตรงตําแหนงที่สามารถสัมผัสกับการระบุตัวตนดวยคลื่นวิทยุ (RFID: Radio Frequency
Identification) ซึ่งเมื่อระบบไดรับขอมูลมันก็จะทําการแพรภาพขอมูลบนจอสกรีนที่อยูเบื้องหนาจะปรากฏ
เนื้อหาของหนังสือบนจอนั้น ในขณะที่ 3 จอรอบขางก็จะมีภาพเนื้อหาที่เกี่ยวของใหไดชมดวยเชนกัน โดยมี
หนังสือ 5 เลมประกอบของ คาสปาร ดาวิด ฟรีดิช (Caspar David Friedrich, 1774-1840) , โจเซฟ มัลล
อรด วิลเลียม เทอรเนอร (Joseph Mallord William Turner, 1775-1851) , มารก รอทโก (Mark Rothko,
1903-1970) , บารเน็ตต นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970) , เจมส เทอรเรล (James Turrell,
1943) ในอนาคตการอานหนังสือจึงไมจํากัดแคในกระดาษหรือคอมพิวเตอรอีกตอไป สื่อในอนาคตจะทําให
หนังสือมีชีวิตเสมือนของจริงมากยิ่งขึ้น เปนโปรเจกตที่ทําออกมาแลวสวยในแงที่เปนทั้งประติมากรรม มีเดีย
และการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเขากับศิลปะ

ตอมาเปนงานของ คริสตา ซอมเมอเรอร และ โลรอง มีญงโน (Christa Sommerer & Laurent
Mignonneau) กับงาน Life Writer (2006) เปนการผสมผสานกันระหวางสิ่งของโบราณกับเทคโนโลยี การ
นําเอาพิมพดีดรุนเกาที่เชื่อมตอกับระบบคอมพิวเตอร เมื่อคุณพิมพบนแปนพิมพจะปรากฏรูปทรงคลายกับตัว
แมงมุมและตัวอักษรออกมาตามจํานวนการพิมพ แมงมุมพวกนี้จะคอยกัดกินตัวอักษรบนหนาจอสกรีนที่ดู
คลายกับกระดาษพิมพดีด พวกมันจะแพรพันธุไดรวดเร็วมากจนเต็มหนากระดาษ วิธีที่จะกําจัดมันคือการหมุน
กระดาษกลับเขาแปนพิมพใหเหมือนเดิมนั่นเอง ในแนวความคิดนี้เปนการกําเนิดสิ่งมีชีวิตไปสูแนวความคิด
และนําความคิดนี้เพื่อสงผลตอการพัฒนาการกาวหนา การหลบเรน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง โปรเจกตที่
พิเศษนี้ไมใชเพียงการใชเทคโนโลยีสมัยใหมไปสูฟอรมของงานประติมากรรมเทานั้น แตมันเปนการรวมความ
เกาและใหมของเทคโนโลยีไปสูการพัฒนาตอของสื่อทางโบราณคดีอีกดวย ตามแนวความคิด "Living Art"
(ศิลปะมีชีวิต) ที่สําคัญยังเปนการตั้งเงื่อนงําคําถามถึงอนาคตเกี่ยวกับการที่มนุษยมีความสัมพันธกับสมองกล
และระดับความสัมพันธของการอยูรวมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษยและเครื่องจักรอีกดวย ผมเห็นเด็กๆ เลนกัน
อยางสนุกสนานกับงานชิ้นนี้ งานซึ่งแฝงไปดวยคมความคิดของการใชชีวิตของมนุษยกับเทคโนโลยี

เบื้องหนามีงานที่หลายคนยกโทรศัพทมือถือเขาเลนกะแสงสีแดงนับพันดวง งานนั้นชื่อวา Cell


Phone Disco (2007) ของกลุมอินฟอรเมชันแล็บ (Informationlab) ซึ่งกอตั้งขึ้นในป 2004 โดย เอาก โทอุ
สลาแกร (Auke Touwslager) และ อูรซูลา ลาวเรนซิก (Ursula Lavrencic) ในทุกวันนี้เราใชโทรศัพทมือถือ
จนกลายเปนเรื่องที่ปกติแทบทุกคนจะตองมีไวขางกายเพื่อติดตอสื่อสารและใชสันทนาการอื่นๆ จนเกิดคลื่น
ของโทรศัพทที่เราไมสามารถมองเห็นได แตศิลปนกลับมองเห็นในจินตนาการวามันมีความซับซอนเปนชั้นๆ
คลายกับงานภูมิสถาปตยของชุมชนเมืองที่มีความซับซอนและยุงเหยิง ดังนัน้ พวกเขาจึงคิดโปรเจกตนี้ขึ้นมา
เพื่ออยากใหทุกคนไดมองเห็นคลื่นพลังงานนี้วามันจะมีรูปทรง รูปรางอยางไรถาสามารถสัมผัสมันได โดยการ
นําเอาตัวเซ็นเซอรที่มีความไวตอคลื่นโทรศัพทมาตอเขากับหลอดไฟแอลอีดี (LED) ซึ่งเปนแสงไฟสีแดงและจะ
สวางวาบเหมือนกับคุณอยูในดิสโก ใหไดสนุกสนาน เพลิดเพลินกับงานศิลปะที่อยูเบื้องหนา ศิลปนไมได
ตองการใหขอสังเกตวาโทรศัพทหรือเทคโนโลยีนั้นดีหรือไมดีเพราะก็คงมีทั้งสองปจจัยในตัวเอง แตตองการที่
จะสื่อถึงการมีตัวตนของมันตอการสื่อสารที่ไมสามารถมองเห็นใหไดรับรูและเขาใจถึงการมีตัวตนของมัน
เทานั้น

คุณเคยเดินเขาไปชมงานศิลปะที่สวนใหญจะมีปายเขียนวา “หามจับ” ไหมครับ แนนอนวาตาม


พิพิธภัณฑที่มีผลงานแสดงสวนใหญจะตองมีปายนี้กํากับกับผลงานศิลปนดังๆ หรือไมดังดวยทุกงาน เพราะ
ผลงานนั้นชางมีมูลคามากมายหากเสียหายไป เหตุนี้เองศิลปน อารมิน ลิงเคอร (Armin Linke) กับผลงาน
Phenotypes/Limited Forms (2007) กลับคิดตรงกันขามโดยที่อยากใหงานของเขามีผูชมมาหยิบมาจับ มา
สนุกกับมัน และสามารถนํามันกลับไปไดดวย นี่คือที่มาที่ไปโดยที่ผนังของหองจะมีชั้นวางรูปถายที่เขาไดถายไว
หลายสถานที่ เชน ไนจีเรีย, จีน, ไซปรัส, การประชุมจีแปด (G8) ในเจโนอาและฐานนาซาในแคลิฟอรเนีย เปน
ตน แตละรูปจะมีรหัสเขียนไว จากนั้นเมื่อนํารูปเหลานี้มาสัมผัสกับหนาจอภาพ มันก็จะสงผลไปยังเครื่องปริน
เตอรใหพิมพภาพผลงานที่มีชื่อศิลปน ชื่อภาพ ใหคุณนํากลับไปเชยชมและเปนที่ระลึกที่บานอีกดวย โดยที่
ศิลปนกลาววา การที่คุณนําผลงานของเขากลับบานไปก็เปนเหมือนการทําศิลปะจัดวางไปทุกหนทุกแหงอีก
ดวย ถือเปนงานศิลปะที่ผูชมไดรวมกันทํางานกับศิลปน

ยังมีอีกหลายผลงานเทาที่ผมจะมีเวลาเลนกับงานศิลปะที่ดูสนุกเชนนี้ เชน งาน Luma2solator


(2004) ของกลุม พิปส:แล็บ (PIPS:lab) ของศิลปนชาวดัชต เปนทั้งดาบ ทั้งกระบอง ไฟฉายที่เมื่อคุณเอาไป
ใกลกับจอภาพก็จะปรากฏเปนแสงสีตามทาทางที่คุณเลนกับอุปกรณพวกนั้น จากแนวความคิดของงานกราฟฟ
ติ (Graffiti) ตามทองถนน นํามาปรับใหเปนงานเทคนิคแสงสีเสียงที่สนุก แถมตอนทายจะมีเวลาบอกใหคุณ
หยุดนิ่งเพื่อบันทึกภาพตัวคุณกับแสงสีบนหนาจอใหเก็บภาพเปนที่ระลึกอีกดวย และงานกลองที่จะบันทึกภาพ
ตัวคุณเมื่อเดินเขาไปใกลๆ และจะปรากฏภาพตัวเองใหญยักษบนผนัง หรือแมกระทั่งการกระโดดโลดเตนเลน
กับลูกบอลที่เปนกราฟกบนผนังก็ทําใหสนุกสนานจนลืมเวลาไปเสียหมด ชั้นที่สองและสามก็ยังมีงานแนววิดีโอ
อารท และภาพถายรวมทั้งสื่ออื่นๆ ใหไดเดินชมและมีสวนรวมไปกับงานศิลปะเหลานั้นไดอีกหลายชิ้น

เปนการยากที่จะทํางานศิลปะโดยการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับความคิดของศิลปนที่จินตนาการเปน
รูปราง มีแนวความคิดใหสอดคลองกัน และยากขึ้นไปอีกที่จะตองตอบโจทยของงานนี้ที่จัดขึ้นเพื่อผูบริโภคหรือ
คนดูใหสามารถเขาไปมีสวนรวมกับงาน ที่จะตองดูสนุก เพลิดเพลิน แตก็แฝงดวยความคิดที่เมื่อชมเสร็จ เลน
เสร็จ อาจจะตองมองยอนมาที่งานวา ศิลปนและผูชมไดรวมกันทํางานศิลปะเปนไปตามจุดมุงหมาย และได
คํานึงถึงงานศิลปะวามันมีความสําคัญกับมนุษย สังคม และโลกใบนี้อยางไร และเทคโนโลยีและสื่อนั้นจะมี
บทบาททั้งในแงมุมที่ดีและไมดีอยางไรตอไปในอนาคตภายหนา มนุษยเทานั้นที่จะเปนตัวกําหนดบทบาทของ
สิ่งเหลานี้ไมใชสื่อหรือเทคโนโลยีที่เปนตัวกําหนดบทบาทของมนุษย

http://www02.zkm.de/you/
http://www.goethe.de/kue/bku/kpa/en2945010.htm
ภาพประกอบจาก ZKM: Center for Art and Media

The space of book-The Sublime (2009) โดย ไอราน คัง

Life Writer (2006) โดย คริ สตา ซอมเมอเรอร์ และ โลรอง มีญงโน
Cell Phone Disco (2007) โดย อินฟอร์ เมชันแล็บ

Phenotypes/Limited Forms (2007) โดย อาร์ มิน ลิงเคอร์


Luma2solator (2004) โดย พิปส์:แล็บ

Mikrogalleri.es (2007) โดย เม หยาง (Mehi Yang) และ แอกเซิล โรช (Axel Roch)

ReacTable (2005) โดย เซอร์ จี จอร์ ดา (Sergi Jordà)


Extended (Collection Landesbank Baden-Württemberg)
ศิลปะเยอรมันหลังมานสงคราม
ZKM | Museum of Contemporary Art, Karlsruhe, Germany.

จากคราวที่แลว พาไปสนุกกับงานมีเดียอารทของศูนยสื่อและศิลปะเซทคาเอ็ม (ZKM Center for Art


and Media) ที่เมืองคารลสรูหกันแลว งานศิลปะที่ทําใหเหมือนกลับไปเปนเด็กเลนกับของเลนทางความคิด ที่
แฝงแงมุมความสัมพันธของมนุษยกับเทคโนโลยีไปแลว มาคราวนี้จะพาไปชมงานศิลปะรวมสมัยของตึกอีกฟาก
ที่เคยเปนโรงงานเกาแลวมาปรับปรุงใหกลายเปนพิพิธภัณฑกันบาง ที่นี่ก็มีงานดีๆ ไมแพทางฝงมีเดียเหมือนกัน

พิพิธภัณฑศิลปะรวมสมัย (Museum of Contemporary Art) ซึ่งเปนสวนหนึ่งของ ศูนยสื่อและ


ศิลปะเซทคาเอ็ม ทําการเปดเปนทางการในชวงป 1999 ดวยพื้นที่ที่มากกวา 7,000 ตารางเมตร ที่สามารถจุ
งานศิลปะไดมากกวาพันชิ้น โดยไดรับความรวมมือจาก เฟาอาเอฟ-สติฟตัง/มารท (VAF-Stiftung/MART), ลัน
เดสแบงก บาเดน-วูรตเทนแบรก (Landesbank Baden-Württemberg) และ ฟรานเซสกา ฟอน แฮบสเบิรก
(Francesca von Habsburg), ผูกอตั้งมูลนิธิศิลปะรวมสมัย ทุสเซน บอรเนมิสซา (Thyssen-Bornemisza
Art Contemporary) ซึ่งเปนหนวยงานที่มีคอลเลกชันงานศิลปะใหนํามาจัดแสดง โดยที่งานสวนใหญจะเปน
งานรวมสมัยของทั้งฝงยุโรปและอเมริกา มีงานของศิลปนที่ทํางานชวงหลังป 1960 เปนตนมา แคเดินมาทาง
ปกซายของทางดานฝงมีเดียก็จะเจอพื้นที่แสดงงานขนาดใหญ 3 ชั้น ที่มีงานแสดงในตอนนี้นั่นคืองาน
“Extended” ผลงานชุดนี้เปนการรวบรวมผลงานของศิลปนชาวเยอรมันที่ทํางานชวงหลังป 1945 และเปน
งานรูปแบบรวมสมัยอีกเชนกัน ไมจํากัดสื่อในการนําเสนอ โดยไดรับความรวมมือจาก ลันเดสแบงก บาเดน-วูร
ตเทนแบรก (The Landesbank Baden-Württemberg (LBBW) ซึ่งเปนเจาของคอลเลกชันเหลานี้ โดยจะ
เห็นไดจากการแสดงงานอันหลากหลาย อาทิเชน Light Art from Artificial Light (2005-2006), Faster!
Bigger! Better! (2009), Clio. A short history of art in Euramerica (2009) และ Vertrautes Terrain
– Collectors’ Choice (2009) ซึ่งไดรับการตอบรับที่ดีจากผูเขาชมงาน แนวความคิดของงานนี้เสมือนเปน
การรอยเรียงเรื่องราวงานศิลปะของเยอรมันตั้งแตชวงตนยุคป 1980 งานชวงที่ศิลปนทํางานอยูหลังมานของ
สงคราม เปนการนําเสนอการทํางานของกาลเวลาตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบัน โดยประกอบไปดวยผลงานของ
ศิลปนเยอรมันที่เปนที่รูจัก เชน ฟรันซ แอกเคอรมานน (Franz Ackermann), โทมัส ดีมานด (Thomas
Demand), กุนเทอร เฟรก (Günther Förg), คริสเตียน จันโควสกี (Christian Jankowski), มารติน คิปเพน
เบอรเกอร (Martin Kippenberger), มิเชล มาเจรัส (Michel Majerus), อัลเบิรต โอเลน (Albert Oehlen),
โทเบียส เรหแบรการ (Tobias Rehberger), และ วูลฟกัง ทิลลแมนส (Wolfgang Tillmans) และยังมีศิลปน
รุนใหมอีก เชน อังเดร บุตซาร (André Butzer), โจเซฟน เมกเซปเปอร (Josephine Meckseper), จูลิกา รูเด
เลียส (Julika Rudelius), และ โครีน วาชมูหท (Corinne Wasmuht) เปนตน ซึ่งผลงานทั้งหมดที่แสดงใหชม
มีมากกวา 250 ชิ้นเลยทีเดียว จะขอยกตัวอยางงานที่นาสนใจมาใหชมและเขาถึงความคิดที่พวกเขานําเสนอใน
ผลงานกัน

โจเซฟน เมกเซปเปอร (Josephine Meckseper) เกิดป 1964 ในชนบทของเยอรมัน เธอเติบโตมา


ทามกลางความรุนแรงของสงครามของฝายกองทัพแดงและคอมมิวนิสตฝงตะวันตกของเยอรมัน เธอกลาววา
“เธอไมเคยไดดู เซซามี สตรีท (Sesame Street) ซึ่งเปนรายการเด็กยอดนิยมในโรงเรียนของเธอเลย ทั้งๆ ที่
มันฉายอยู” จากนั้นในป 1992 เธอไดยายไปนิวยอรก ระบบการเมืองของอเมริกาเปนสวนหนึง่ ที่เธอไดรับ
อิทธิพล ตลอดจนการบริโภคและระบบทุนนิยมยังเปนแนวความคิดที่เธอมักจะใชในงานของเธออีกดวย
สําหรับผลงานชุดนี้ Blow Up (Michelli, Body) (2007) เธอกลาวถึงการปลดแอกของแรงงานในศตวรรษที่
19 เหมือนเปนการปลดปลอยแรงขับเคลื่อนทางเพศ ความรักไดกลายเปนสินคาที่สามารถสรางมูลคางดงาม
ใหกับเศรษฐกิจ สินคาทางเพศกลายเปนสินคาที่ขายดีอยางที่ไมเคยเปนมากอน โฆษณาทางสื่อตางๆ มักใช
แรงจูงใจเกี่ยวกับเรื่องเพศเปนตัวชูโรงในสินคา ซึ่งทําใหผูบริโภคเกิดความพึงพอใจ การเปลือยกายกลายเปนสิ่ง
ลอใจใหผูบริโภคหันมาสนใจในสินคานั้นๆ เธอตองการใหงานของเธอเหมือนเปนการตรวจสอบการลอลวงของ
การโฆษณาในยุคนี้ วาแทที่จริงแลวผูบริโภคไดอะไรจากโฆษณาเหลานั้นมากกวาตกหลุมพรางของสื่อที่ลอลวง
ทางเพศ

โทมัส กรุนเฟลด (Thomas Grünfeld) เกิดป 1956 ที่เมืองโอพลาเดน (Opladen) ของเยอรมัน งาน
ของเขาเปนประสบการณความทรงจําชวงยุคหลังยุคแนวความคิดสมัยใหม (Modernism) เปนการสราง
ประโยชนใชสอยขึ้นมาใหมจากของเดิมที่มีอยู โดยยกเลิกทัศนคติของคนเยอรมันชวงหลังสงครามโลกทิ้งไป ใน
ผลงานชุด “ohne Titel (Polstertisch) ohne Titel (Polster/zweiteilig) [untitled (Cushion Table)
untitled (Cushion/two parts) ], 1987” และ “misfit (Giraffe/Strauß/Pferd)” “ศิลปิ นทําตัวเหมือนเป็ น
เด็กที่ข้องเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีความสุขอยูก่ บั ห้ องนัง่ เล่นที่ประดับตกแต่งไปด้ วยของ
ประหลาด เช่น นกที่มีหวั เป็ นยีราฟ ภาพประดับผนังที่ทําจากหนังคล้ ายผลของมันฝรั่ง ชุดรับแขกทําจาก
หนังสีเหลืองที่มีกระถางต้ นไม้ วางอยูด่ ้ านบน จัดวางตกแต่งตามกําลังทรัพย์ของชนชั ้นกลาง พร้ อมกับมี
เพื่อนบ้ านที่ไม่คอ่ ยเกรงใจ และชอบถากถาง เยาะเย้ ย การออกแบบของเขาซ่อนนัยยะของสัญลักษณ์
บางอย่างและได้ รับอิทธิพลของความรู้สกึ ที่ลกึ ซับซ้ อน เป็ นความสุขของชนชั ้นกลางกับบ้ านที่แสนจะน่า
เกลียด เหมือนไม่ต้องการจะต้ อนรับแขกผู้มาเยือนหรื อต้ องการที่จะหลบเร้ นตัวเองให้ หายไปจากสังคม
แยกตัวจากผู้คนที่ดปู ่ วยในสังคม โดยอยูใ่ นห้ องกับครอบครัวที่ค้ นุ เคยและปราศจากการรบกวนโดยสิ ้นเชิง”

โทเบียส เรหแบรการ (Tobias Rehberger) เราไดคนพบงานที่มีความหลากหลายมุมของเขา ซึ่งเปน


ทั้งงานชุดแจกัน รถยนต โคมไฟ ทีวี งานไมที่ทําเหมือนของโบราณ สิ่งของที่ระลึก ภาพวาดขนาดใหญ และ
ตนไมหิมะ เกิดขึ้นเปนคําถามที่วา “นี่คืองานที่ทําโดยศิลปนคนเดียวกันแนหรือ” งานของเขายังปรากฏใน
รูปแบบของสื่อที่หลากหลาย เชน ภาพยนตร ภาพวาด ประติมากรรม งานจัดวาง บางงานก็เปนเหมือนการ
ออกแบบ งานแฟชั่น งานแสง สี เสียง เปนตน ผลงานที่รวบรวมมานี้ เปนผลงานชวงที่เขาลวงวัยสี่สิบแลว
(One, 1995-1998), Siena (1997-2000) และ Som-Tam-Poo (2004) งานของเขากล่าวถึงการประดิษฐ์
สิง่ ของช่วงต่างๆ ทุกวัน ในยุค Post Modern ที่มีสภาพของความเป็ นจริ ง ถูกติดตั ้งทั ้งในและนอกสถานที่
บางทีมนั ก็เหมือนกับเป็ นเครื่ องหมายของสุนทรี ยศาสตร์ เป็ นการอธิบายรูปแบบความต้ องการของศิลปิ น ที่
พูดถึงช่วงเวลาหนึง่ ของมนุษย์กบั สิง่ ของ บางทีงานออกแบบก็เป็ นเหมือนการระลึกถึงอดีตในงานศิลปะของ
เขา ระลึกถึงปริ มาณสิง่ ของที่เพิ่มขึ ้นในสิง่ ที่ได้ พบเห็น ศิลปิ นต้ องการที่จะสร้ างลักษณะเฉพาะตนของ
ตนเองขึ ้นมาจากอัจฉริ ยภาพของความโรแมนติกที่เขามีอยูก่ ็เป็ นได้

ผมไม่มีเวลาเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับงานในส่วนนี ้มากนัก เพราะมีอีกนิทรรศการในชั ้นบนที่ยงั ต้ อง


ขึ ้นไปดูก่อนที่นี่จะปิ ดทําการลง นิทรรศการนี ้มีชื่อว่า “banquet_nodes and networks” เป็ นงานซึง่
เชื่อมโยงกับชีววิทยา สังคมและวัฒนธรรม ซึง่ เกี่ยวโยงกันเป็ นเครื อข่ายที่ให้ ผ้ เู ข้ าชมได้ มีสว่ นร่วม เป็ น
ผลงานของกลุม่ ศิลปิ นชาวสเปน เหมือนเป็ นการนําเอาชีวิตผ่านโมเลกุลของนํ ้าไปสูร่ ะบบนิเวศวิทยา เฝ้า
สังเกตการเปลีย่ นแปลงและคงอยูข่ องสิง่ มีชีวิตต่างๆ ทั ้งที่มองเห็นและไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า
ซึง่ ผู้ชมจะได้ เห็นโลกในอีกมุมหนึง่ ที่แตกต่างออกไป อีกทั ้งยังเป็ นการได้ ตระหนักถึงการพัฒนาองค์ความรู้
ต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบทังในด้ ้ านการเมือง สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ซึง่ ยากที่จะแก้ ไขอย่างโดด
เดี่ยวโดยปราศจากการช่วยเหลือ งานในส่วนนี ้ก็ยงั คงดูสนุกและน่าสนใจ เพราะหลายๆ ส่วนก็ใช้ เทคโนโลยี
และสือ่ มาให้ เล่น ให้ ได้ สนุกและเข้ าใจในเรื่ องของชีววิทยาและสิง่ แวดล้ อม

งานศิลปะช่วงสมัยก่อนของเยอรมัน หลายงานอาจจะเหมือนนิสยั ของผู้คนที่คอ่ นข้ างเคร่งขรึม เป็ น


จริ งเป็ นจัง และมีระเบียบวินยั ดังเช่นรอยยิ ้มทีห่ ายากทั ้งในงานศิลปะและผู้คน แต่หลังจากที่ได้ มาเข้ าชม
ศูนย์สอื่ และศิลปะเซทคาเอ็ม งานศิลปะหลายชิ ้นทําให้ มีรอยยิ ้มเปื อ้ นหน้ าและเสียงหัวเราะ และยังคง
ประทับใจมาจนถึงตอนนี ้ นัน่ แปลว่าศิลปิ นรุ่ นหลังของที่นี่เริ่ มมองโลกและมองงานศิลปะให้ เป็ นเรื่ องของ
การใส่ใจ การรับรู้ มากกว่าที่จะค่อนแคะสังคมที่เลวร้ าย แต่เป็ นการปรับทัศนคติมองโลกตามจริ งที่คงอยู่
โดยใช้ สอื่ ศิลปะประสานเรื่ องราวให้ เชื่อมโยงกันทั ้งมนุษย์และสรรพสิง่ บนโลกนี ้ บนใบหน้ าของศิลปะ ที่นี่
อาจจะเปื อ้ นด้ วยคราบนํ ้าตา เสียงหัวเราะ หรื อแม้ กระทัง่ รอยยิ ้ม แต่ท้ายที่สดุ แล้ วเมื่อส่องกระจก และได้
มองเห็นความจริ ง ทุกสิง่ ก็จะเข้ าสูส่ ภาวะปกติของมนุษย์ หรื อบางทีอาจจะเป็ นรอยยิ ้มของคนเยอรมัน หรื อ
อาจจะเป็ นงานศิลปะที่ซ้อนเร้ นหรื อเปิ ดเผยอย่างโจ่งแจ้ งก็ได้

http://arttattler.com/archivecollectionlandesbank.html
http://www02.zkm.de/extended/index.php?option=com_content&view=article&id=35&Itemid=34&lang=en
ภาพประกอบจาก ZKM | Museum of Contemporary Art

ohne Titel (Polstertisch) ohne Titel (Polster/zweiteilig) [untitled (Cushion Table) untitled
(Cushion/two parts) (1987) โดย โทมัส กรุนเฟลด์.

Blow Up (Michelli, Body) (2007) โดย โจเซฟิ น เมกเซปเปอร์


One (1995-1998) โดย โทเบียส เรห์แบร์ การ์

Marking and labeling (1991) โดย โทมัส เลอคาร์ (Thomas Löcher)


Red Nude (1982) โดย กุนเทอร์ เฟิ ร์ก

Rechner (2001) โดย โทมัส ดีมานด์



Other geologies 9 (2005) โดย ดาเนียล คาโนการ์ (Daniel Canogar)

Ocaso (2007) โดย มารี นา นุยเนซ (Marina Nunez)


Reflecting JCC Brain Research II (2007) โดย อาเกดา ซีโม (Agueda Simo)
Decode: Digital Design Sensations
ถอดรหัสดิจิตอล
V&A Museum, London.

เทคโนโลยีดิจิทัลคือเครื่องมือใหมสําหรับศิลปนและนักออกแบบในปจจุบัน การพัฒนาการสื่อสารของ
มนุษยกับดิจิทัลคือการแสดงออกอยางหนึ่งของการมีชีวิตทามกลางโลกที่รวมสมัย ที่ทุกอยางสามารถผสม
กลมกลืนกันไดอยางแยบยล กวา 400 ปที่ผานมา เทคโนโลยีไดพัฒนามาจากคอมพิวเตอรมาจนถึงปจจุบันนี้ ผู
ที่ทํางานแวดวงออกแบบและศิลปะไดปรับเปลี่ยนกระบวนการทํางานไปในหลายรูปแบบ โฉมหนางานใน
ปจจุบันไดปรับตัวใหเชื่อมโยงเขากับคนดูไดใกลชิดมากขึ้น ซึ่งงานไมจําเปนตองตั้งโชวแคในแกลลอรีหรือ
พิพิธภัณฑเพื่อความหรูหราแตะตองไมไดเพียงอยางเดียวอีกตอไป นั่นคือการปรับเปลี่ยนเพื่อเขาใจใน
วัฒนธรรมรวมสมัยของการบริโภคของคนรุน ปจจุบัน

ภาพของระบบดิจิตอลกําลังปลูกตนไมและภาพของดวงตาจักรกลที่มีกลไกเหมือนเปนกระจกที่
กระพริบตาทักทายและสะทอนหนาตาของคนที่มาดู เด็กๆ กําลังเลนสนุกกับภาพดิจิตอลบนจอเสมือนหนึ่งเปน
ของเลนชิ้นใหม นี่คือสวนหนึ่งของงานออกแบบดิจิตอลที่ใชชื่องานวา “Decode: Digital Design
Sensations” ถอดรหัสดิจิตอล นิทรรศการนี้จะพาทุกทานไปพบกับงานออกแบบที่เชื่อมระหวางมนุษยและ
เทคโนโลยี จากงานที่เล็กที่สุดไปจนถึงงานที่มีขนาดใหญเลยทีเดียว โดยไดรับความรวมมือจาก วันดอตซีโร
(Onedotzero) ซึ่งเปนบริษัทงานที่ผลิตระบบดิจิตอลและสื่อทุกประเภทที่มีชื่อแหงหนึ่งของลอนดอน รวมถึง
นักออกแบบและศิลปนที่รวมงานนี้ เชน ดาเนียล บราวน (Daniel Brown), โกแลน เลวิน (Golan Levin)
และ ดาเนียล โรซิน (Daniel Rozin) โดยไดรับความรวมมือจากภัณฑารักษ หลุยส แชนนอน (Louise
Shannon) เปนผูจัดงานนี้ที่พิพิธภัณฑวีแอนดเอ (V&A Museum) กรุงลอนดอน

โดยไดแบงเรื่องราวการจัดแสดงออกเปน 3 สวน สวนแรกคือ “Code as a Raw Material”


ความหมายคือ การใชรหัส (code) ของคอมพิวเตอรออกแบบงานขึ้นมาใหมซึ่งเหมือนเปนกระบวนการ
เดียวกับประติมากรที่ทํางานโดยใชวัสดุ เชน ดินและไม ในการสรางงานประติมากรรมนัน่ เอง ผลงานที่ชื่อวา
On Growth and Form series (1999) โดย ดาเนียล บราวน (Daniel Brown) ไดรับแรงบันดาลใจมาจาก
งานที่อยูในพิพิธภัณฑนี้นนั่ เอง โดยเขาไดใชการคํานวณทางคณิตศาสตรเปนการควบคุมของการเจริญเติบโต
ของตนไม เหมือนเปนการคาดการณลวงหนาวาตนไมจะผลิดอกออกใบนั้นใชเวลานานเทาไหร โดยที่มันจะ
สามารถเจริญเติบโตไปจนถึงวันสุดทายของนิทรรศการนี้

สวนที่สอง “Interactivity” จะทําใหงานออกแบบดิจิตอลนั้นสามารถเชื่อมโยงเขากับคนดูเหมือนได


สัมผัสกันตอหนาตอตาเลยทีเดียว โดยทีผ่ ูชมสามารถมีสวนรวมกับงานนีไ้ ด เหมือนเปนการแสดงสด
(performance) เชน งานของ โกลัน เลวิน (Golan Levin) ที่ชื่อวา Opto-Isolator (2007) งานที่เหมือน
มนุษยมีดวงตาจักรกล สามารถเพงมองดูผูชมไดและจะกะพริบตาหลังจากที่คนดูกะพริบตาภายใน 1 วินาที นา
ทึ่งไหมครับ กับอีกผลงาน Weave Mirror (2007) โดย ดาเนียล โรซิน (Daniel Rozin) เขาไดใชกระจกกวา
768 แผนมาสานเหมือนงานหัตถกรรม และเมื่อผูชมไปสองกระจกบานนี้เขา ใบหนาจะเปลี่ยนเปนภาพที่
เหมือนควันจางๆ มากกวาที่จะเห็นเปนหนาของตัวเอง

สวนสุดทาย “The Network” เปนการตอบโจทยของการสื่อสารในทุกวันนี้ดวยระบบดิจิตอลทุก


ประเภทไมวาจะเปน อินเทอรเน็ต โทรศัพทมือถือ ระบบจีพีเอส (GPS) และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ โดยนัก
ออกแบบไดสํารวจการพัฒนาของเทคโนโลยี จนมาถึงการเชื่อมโยงกันระหวางสื่อตางๆ โดยที่จะไมมีรูปรางของ
งานเหมือนอยางแตกอนใหเห็นกันอีกตอไป อารอน คอบลิน (Aaron Koblin) และ โจนาทาน แฮรริส
(Jonathan Harris) กับงาน We Feel Fine (2006) ไดจัดทําระบบที่ทุกคนที่ใชอินเทอรเน็ตสามารถสราง
อารมณความรูสึก สี ขอมูลทุกอยางออกมาเปนรูปทรงกลมลองลอย โดยจะมีคาสีบงบอกถึงสภาพ เชน เพศ
อายุ เมืองที่อยู อากาศ ความรูสึกตางๆ จะแสดงออกมาใหเห็นกันได

ยังมีอีกหลากหลายผลงานที่ผูชมสามารถมีสวนรวมทั้งเลน และสนุกไปกับเทคโนโลยีสมัยใหมจากการ
สรางสรรคโดยนักออกแบบและศิลปน ทั้งหมดนี้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษยในอนาคตรวมทั้ง
ปจจุบันใชหรือไม นั่นคือคําถามที่ตั้งไวในตอนทายของนิทรรศการนี้

http://www.vam.ac.uk/microsites/decode/
http://www.dezeen.com/2009/12/14/decode-digital-design-sensations-at-the-va/
http://artdaily.com/news/34792/Victoria---Albert-Museum-Presents--Decode--Digital-Design-Sensations-#.UyZ_E4WJnms
ภาพประกอบจาก V&A Museum

Weave Mirror (2007) โดย ดาเนียล โรซิ น

Bodypaint (2009) โดย เมห์เมต อักเตน (Mehmet Akten)

Videogrid (2009) โดย รอสส์ ฟิ ลลิปส์ (Ross Phillips)


Opto-Isolator (2007) โดย โกลัน เลวิน

Dune (2009) โดย ดาน โรเซการ์ ด (Daan Roosegaarde)

House of Cards (2008) โดย อารอน คอบลิน


On Growth and Form Layer 3 (1999) โดย ดาเนียล บราวน์

Tree London (2005) โดย ซีโมน เฮย์เดนส์ (Simon Heijdens)

Flow 5.0 (2007-2013) โดย ดาน โรเซการ์ ด


The Unilever Series
ยูนิลีเวอร ซีรีย
Tate Modern, London.

“เดอะ ยูนิลีเวอร ซีรีส” (The Unilever Series) เปนการสนับสนุนที่สะทอนภาพลักษณของธุรกิจ


และการสรางความคิดใหเกิดขึ้นในสังคมและการสรางคุณภาพของชีวิต ซึ่งทําใหผูคนมีชีวิตที่ดีขึ้นตามกลยุทธ
ในเชิงพัฒนาสินคาที่นํามาใชควบคูกับงานศิลปะ โดยมีขึ้นตั้งแตป 2000 เปนตนมา โดยการสนับสนุนเงินลงทุน
ในการทํานิทรรศการที่เทอรไบนฮอลล พิพิธภัณฑเทต โมเดิรน (Turbine Hall, Tate Modern) ซึ่งเปนโถง
กลางยาว 155 เมตร กวาง 23 เมตร และสูงถึง 35 เมตร นับเปนพื้นที่มหาศาลใหแกงานศิลปะและศิลปนใน
การสรางสรรคผลงานไดอยางมีอิสระในความคิด ไมตองยึดติดกับภาพลักษณของแบรนดสินคา

ในหนึ่งปจะมีนิทรรศการสองครั้ง ซึง่ แตละครั้งกินเวลาไปนานหลายเดือนเพื่อใหไดสัมผัสกับความ


มหัศจรรยและการกาวล้ําในพัฒนาการของศิลปะ โดยศิลปนที่เชิญมาทํานิทรรศการนั้นมักเปนที่รูจักและมี
ชื่อเสียงในวงการศิลปะเปนอยางดี เชน หลุย บูชัวส (Louise Bourgeois), อนิช คาพัวร (Anish Kapoor),
บรูซ นิวมัน(Bruce Nauman), โดมินิก กอนซาเลซ ฟอสเตอร (Dominique Gonzalez-Foerster), อาย เวย
เวย (Ai wei wei)และ โอลาเฟอร เอไลซัน (Olafur Eliasson) เปนตน ในหลายนิทรรศการผูชมมีโอกาสที่จะมี
สวนรวมกับผลงานศิลปะนั้นๆ ดวย ตองยอมรับในความใจดีและมองการณไกลของยูนิลีเวอรที่สนับสนุนให
ศิลปะมีความเคลื่อนไหวและเปนตัวเชื่อมสังคม ผูคน และศิลปะเขาดวยกัน ดังจะยกตัวอยางงานทีไ่ ดจัดแสดง
ตั้งแตอดีตมาจนถึงปจจุบัน ที่แสดงถึงแนวความคิดและการสรางสรรคศิลปะจากศิลปนที่มีชื่อเสียง

หลุย บูชัวส จัดแสดงในป 2000 ถือเปนนิทรรศการแรกของเดอะยูนิลีเวอรซีรีส เธอเกิดในป 1911 ที่


ปารีส ปจจุบันเพิ่งเสียชีวิตไปในปที่ผานมาดวยอายุถึง 99 ป เธอไดเขาเรียนที่ เลเช, อังเดร โลท และ โรเช บิส
ซิแยร (Léger, André Lhôte and Roger Bissière) ในป 1930 และยายไปอยูที่นิวยอรกในป 1938 เธอ
มักจะพัฒนางานศิลปะใหมีความกาวหนาทันสมัยอยูเสมอ และมักจะทํางานในหลากหลายสื่อ เชน จิตรกรรม
ภาพพิมพ ประติมากรรม และงานแสดงสด วัสดุที่ใชมักจะมีตั้งแต ไม หิน ลาเท็กซ ยาง โดยมักจะมีความหมาย
ที่เกี่ยวของกับชีวิตตอนเปนเด็กของเธอ สําหรับผลงานที่จัดที่เทอรไบนฮอลลนั้นเปนเหมือนหอคอยที่ทําจาก
เหล็กสูงกวา 9 เมตร จํานวน 3 หอคอย ในชื่อวา
I Do, I Undo and I Redo (2000) โดยที่ผูชมสามารถปนขึ้นไปดานบนหอคอยที่มีบันไดเวียนเหมือนกนหอย
และดานบนมีกระจกทรงกลมใหญ 4 บาน เหมือนเปนการเผชิญหนาระหวางคนแปลกหนา และเพื่อนซึ่ง
เหมือนกันอยูในคนเดียวกัน งานนี้สะทอนการเขาไปมีสวนรวมในโครงสรางของงานสถาปตยกรรมและผูชม
โดยรอบ นอกจากนี้ดานลางหอคอยยังมีหองเล็กๆ ดานลางแสดงงานประติมากรรมจัดวางในเรื่องราวที่สะทอน
ระหวางแมและลูกอีกดวย โดยผลงานที่มีชื่อของเธอกอนหนานัน้ ก็คืองานประติมากรรมแมงมุมขนาดยักษที่
สะทอนความสัมพันธของการปกปองลูกจากแมเชนเดียวกัน

อนิช คาพัวร จัดแสดงป 2002-2003 เขาคือศิลปนตางชาติที่ไดรับการกลาวถึง และมีอิทธิพลเปนที่


รูจักเปนอยางมากในชวงศตวรรษที่ 1980 มาจนถึงปจจุบัน ในยุคที่มีศิลปนรุนเดียวกับเขา ไมวาจะเปน ริชารด
เวนตเวิรท(Richard Wentworth), ริชารด ดีคอน (Richard Deacon), แอนโทนี กอรมลีย (Antony
Gormley) และ บิลล วูดโรว (Bill Woodrow) การทํางานที่เกี่ยวของกับรูปทรง ที่วาง สี และวัสดุนั้น เขาทํา
ไดอยางลุมลึก ทรงพลัง ซึ่งมันก็สงผลตองานศิลปะรวมสมัยในปจจุบันอีกดวย คาพัวรเปนประติมากรชาว
อังกฤษเชื้อสายอินเดียและอิรัก เกิดป ค.ศ.1954 ที่เมืองบอมเบย ประเทศอินเดีย เขาไดเริ่มเรียนที่ โรงเรียน
ดูน (Doon School) ที่ ณ เมืองเดฮราดูน(Dehra Dun) ในอินเดีย และเริ่มยายไปที่อังกฤษเมื่อป ค.ศ. 1972
โดยเริ่มศึกษาศิลปะแหงแรกที่วิทยาลัยศิลปะฮอรนซีย (The Hornsey College of Art) และตอมาที่ โรงเรียน
ศิลปะและการออกแบบเชลซี(Chelsea School of Art Design) แรงบันดาลใจที่เปนพลังขับเคลื่อนมาจาก
เสียงสะทอนของเทพนิยายที่เมื่อเขากลับไปยังอินเดีย วัสดุจากธรรมชาติ เชน หินทราย หินออน กระดาน
ชนวน ซึ่งเต็มไปดวยผงสีที่มีความสดใส สวาง สงผลใหงานมีความรูสึกสดชื่นและมีพลัง ในชวงทศวรรษที่ 90
เขาสนใจในเรื่องความไรน้ําหนักของสิ่งที่คลายกาน ลําตน เชน งานที่โดงดังอยาง Marsyas (2002) ซึ่งเปน
ประติมากรรมจัดวางที่เทอรไบนฮอลลในพิพิธภัณฑเทตโมเดิรน ป 2002-2003 Marsyas คือวงแหวนสามสวน
หุมดวยเยื่อพีวีซี (PVC) สีแดง โดยมีความหมายที่สื่อถึงราคะในตํานานนิยายของกรีกและเกี่ยวของกับเทพ
เจาอพอลโล ประติมากรรมขนาดใหญสีแดงเขม บอกถึงบางสิ่งบางอยางดานกายภาพที่เกี่ยวของกับโลกใบนี้
และรางกายของมนุษย ซึ่งเขากลาววาตองการที่จะสรางรางกายใหอยูในทองฟา งานชิ้นนี้ตองการใหผูชมรูสึก
ถึงการเผชิญหนารับรูประสบการณถึงสิ่งที่ตั้งอยูรอบตัว โดยอาศัยพื้นที่วางโดยรอบเปนตัวสัมผัสถึงสิ่งนั้น อีก
ทั้งงานอื่นๆ ของเขายังสามารถเปลี่ยนธาตุดวยกระบวนการใชสีทาทับเปนสีฟาที่หมายถึงทองฟา เปนตน สีที่
สงผลในวัสดุที่นํามาใช บางครั้งยังมีความหมายในการเยียวยา การรักษา ซึ่งสามารถโฟกัสไปที่ความสมดุลและ
ความเปนอยูที่สมบูรณอีกดวย
โอลาเฟอร เอไลซัน จัดแสดงป 2003-2004 ในศตวรรษที่ 18 นักเขียนชื่อดัง ซามูเอล จอหนสัน
(Samuel Johnson) มักพูดถึงในงานเขียนของเขาวา เมื่อชาวอังกฤษสองคนมาเจอกัน บทสนทนาแรกของ
พวกเขามักจะพูดถึงเรื่องของดินฟาอากาศ ซึ่งมักเปนที่รูดีวาอากาศของอังกฤษมีความแปรปรวน ในหนึ่งวัน
อาจจะมีถึง 4 ฤดูเลยดวยซ้ํา รอนหรือหนาว สวางหรือมืด ลมแรงลมสงบ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจจะเกิดขึ้นได และ
ยากตอการคาดเดาในสิ่งที่จะเกิดขึ้นที่นี่ The Weather Project (2003) เปนการสนับสนุนของ Unilever เปน
ครั้งที่ 4 ใหกับศิลปนชาวเดนมารก ซึ่งโอลาเฟอรเริ่มตนดวยการเรียนศิลปะในโรงเรียนที่วิทยาลัยวิจิตรศิลป
(Royal Academy of Fine Art) ที่เมืองโคเปนเฮเกน ในชวงป 1989-1995 เขามักจะทํางานศิลปะที่เลนกับ
ความรูสึกและความสัมพันธของมนุษย การมองเห็น การรับรู และความรูสึกซึ่งอารมณทั้งหมดมีปจจัยที่
เกี่ยวของกับธรรมชาติ เชน เรื่องของแสง อุณหภูมิ สภาพอากาศ โดยไดนําเอาหลักวิทยาศาสตรและความรู
เรื่องสภาพแวดลอมมาประกอบในงานศิลปะเสมอ The Weather Project คือผลงานที่สรางขึ้นใหเหมือนกับ
การมีพระอาทิตยจําลองขนาดใหญที่ถูกติดตั้งไวที่ผนังดานกวาง และบนเพดานกรุกระจกตลอดทั้งเพดาน ทํา
ใหเห็นความเคลื่อนไหวของผูคนที่เขามาทั้งหมด หมอกเทียมจะถูกปลอยออกมา ทําใหลําแสงสีเหลืองทองจาก
อาทิตยจําลองนั้นยิ่งเหมือนแสดงยามเชาและยามเย็น เปนสิ่งที่หาดูไดยากในลอนดอน งานนี้จัดทําขึ้นเพื่อให
เห็นถึงประสาทสัมผัสของมนุษยตอสภาพอากาศซึ่งเปนปจจัยทางธรรมชาติ และปจจัยนี้ก็สงผลกระทบโดยตรง
ตอการใชชีวิตของมนุษยเปนทอดๆ ไปอยางแยกออกจากกันไมได ผูคนมักจะเขามานอนชมพระอาทิตยเหมือน
เปนการผอนคลายจากชีวิตจริงในแตละวัน และยังไดเห็นถึงการเคลื่อนไหวจากดานบนที่สะทอนถึงความไม
หยุดนิ่งของธรรมชาติกับมนุษยอีกดวย

ดอริส ซัลเซโด (Doris Salcedo) จัดแสดงป 2007-2008 นับเปนผลงานศิลปะชิ้นแรกที่ไมมีงาน


ประติมากรรมที่สรางขึ้นใหมมาติดตั้ง ดอริส ซัลเซโด ศิลปนชาวโคลัมเบีย เกิดป 1958 เรียนปริญญาตรีที่
มหาวิทยาลัยจอรจ โทเดโอ ลาซาโน (Universidad Jorge Tadeo Lozano) ป 1980 กอนที่จะไปนิวยอรก
และเรียนปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยนิวยอรก (New York University) กอนจะกลับมาสอนศิลปะที่บานเกิด
งานศิลปะที่จัดที่ เทอรไบนฮอลลนี้มีชื่อวา Shibboleth (2008) คือชื่องานและเปนคําถามกับความเกี่ยวของ
กันของสถาปตยกรรมและที่วาง คติความเชื่อในแนวคิดแบบตะวันตกของยุคสมัยใหมนั้นไดถูกสรางขึ้น พื้น
คอนกรีตของลานซีเมนตในแนวยาวถูกเจาะและทุบใหแตกแยกเปนรอย เสมือนแผนดินกําลังจะแยกออกจาก
กันเปนทางยาวไปจนสุดโถงนั้นเปนการเปรียบเทียบใหเห็นถึงความแตกแยก การเหยียดเชื้อชาติของยุคลา
อาณานิคมของชาวตะวันตกในสมัยกอน ที่มักจะเขายึดครองดินแดนตางๆ มาเปนของชาติตัวเองและยังสงผล
กระทบทางดานชาติพันธมาจนถึงทุกวันนี้ ในยุคลาอาณานิคมนั้น เมื่อผูรบชนะก็มักจะขนผูคน ทรัพยสินมีคา
ตางๆ มาไวยังประเทศของตน จะเห็นไดจากที่ พิพิธภัณฑแหงชาติอังกฤษ (British Museum) ซึ่งมีสมบัติของ
หลายประเทศมาตั้งโชวหลายลานชิ้นเพื่ออวดเกียรติภูมิของยุคผูลาอาณานิคม การทํารอยแตกแยกนี้เปนการ
บั่นทอนความสงางามของพื้นที่อาคารซึ่งตั้งอยูในประเทศของตะวันตก ความคิดของรอยแยกไปจนถึงรากฐาน
ของการเจาะนั้นเพื่อเปนการยอนความคิดกลับไปยังรากเหงา ไมใชการที่จะตองสรางขึ้นมาใหมเหมือนกับงาน
ศิลปนคนอื่น เสมือนเปนการเผชิญหนากับประวัติศาสตรพื้นถิ่นที่มาของตนเอง ดวยการพูดในภาษาศิลปะ
อยางจริงใจ ตรงไปตรงมา ปราศจากการหลอกลวง
โดมินิก กอนซาเลซ ฟอสเตอร จัดแสดงป 2008-2009 เธอเกิดที่เมืองสตราสบูรก ในป 1965 ปจจุบัน
อาศัยและทํางานที่ปารีสและบราซิล งาน TH.2058 (2008) ของเธอประกอบไปดวยเตียงนับรอยเตียง
ทามกลางประติมากรรมขนาดใหญเพื่อเตือนความทรงจําของ เฮนรี มัวร (Henry Moore กับงาน Shelter
Drawings (1940-1941) และงานแอปเปลถูกกัดกิน Apple Core (1992) ของ แคลส โอลเดนเบิรก (Claes
Oldenburg) รวมถึงแมงมุมยักษของคุณยายหลุย บูรชัวส และ นกฟลามิงโกสีแดงของ อเล็กซานเดอร คัล
เดอร (Alexander Calder) เตียงเหลานั้นถูกบรรจุดวยผูคนที่อพยพเขามายังโถงกลางแหงนี้ เตียงแตละเตียง
ถูกวางดวยหนังสือหนึ่งเลมใหอาน เพื่อลดความหดหู จอภาพที่อยูเบื้องหนาฉายหนังที่ดูแปลกแหวกจากการตัด
ตอหนังวิทยาศาสตรเรื่อง Solaris (1972), Fahrenheit 451 (1966) และ Planet of the Apes (1968) ผสม
ปนเปไปกับงานนามธรรมของ โจอันนา โวด ชิ้นที่ชื่อวา L'Oeil Sauvage (1998) สลับกับรูปภาพจากนิยาย
วิทยาศาสตรเรื่อง La Jetée (1962) ซึ่งดําเนินเรื่องดวยรูปถายเกือบทั้งเรื่องและกํากับโดยคริส มารกเกอร
ในตอนนี้บรรยากาศของเทอรไบนฮอลลเหมือนถูกปดมากวาป เพื่อปองกันน้ําทวม จนงานศิลปะกลายเปนเรื่อง
นาฉงนของภาวะเชนนี้ ภาพที่ซอนกันเหมือนหยดน้ํากระเพื่อม ซึ่งมีทั้งงานประติมากรรม งานเขียน ดนตรี
ภาพยนตร ภาพของผูคน และเสียงสายฝน ถูกรวมไว เสียงเพลงจากวิทยุบรรเลงเพลงจังหวะบอสซาโนวาที่ดู
โศกเศราของชวงป 1958 ทามกลางเสียงฝนที่ตกกระหน่ําอยางบาคลั่ง ไมมีสักวินาทีไหนที่ไมไดยินเสียงของมัน
ซึ่งมันสงผลใหผูคนตางเปลี่ยนวิถีทางในความเปนมนุษย ไมวาจะเปนเรื่องของการแตงกาย การทองเที่ยว หรือ
กิจกรรมตางๆ เพื่อใหเขากับภาวะเชนนี้ ความฝนหนึ่งเดียวของชาวลอนดอนนัน่ คือ “ทะเลทรายที่แหงแลง”
นับเปนผลงานศิลปะที่อาศัยจินตนาการสัมพันธกับการกลืนกินของสิ่งแวดลอมในปจจุบัน โดยสะทอนถึงความ
เปนอยูและงานศิลปะที่อิงอาศัยซึ่งกันในการปลอบประโลมจิตใจ
อาย เวย เวย จัดแสดงป 2010-2011 ผลงานลาสุดที่จัดในปจจุบัน อาย เวย เวย หรือที่ชาวตะวันตก
ตั้งฉายาใหวาแอนดี วอรฮอล ของจีน เขามีสตูดิโอกึ่งโรงงานไวสําหรับทํางานศิลปะหลากหลายสื่อ ซึ่งอยูหาง
จากปกกิ่ง เขาเรียกสตูดิโอนี้วา “Fake” หรือแปลวาการหลอกลวง ซึ่งเพิ่งถูกทางการจีนทุบทิ้งไปเมื่อเร็วๆ นี้
เนื่องจากการที่เขาวิจารณการทํางานของรัฐบาลอยางตรงไปตรงมา Sunflower Seeds (2010) หรือ เมล็ด
ทานตะวัน นับเปนผลงานที่ใหญที่สุดที่ศิลปนไดเคยทํามาจากดินพอรซเลน ซึ่งเปนสินคาที่มีมูลคาสงออกมาก
ที่สุดของจีน ทุกเมล็ดนั้นจะไมเหมือนกันซึ่งแตกตางจากการผลิตในระบบของโรงงาน เหมือนกับงานที่เปน
“readymade” หรือ “found object” (สิ่งของที่อยูในชีวิตประจําวันจะกลายเปนงานศิลปะได) ของศิลปนฝง
ตะวันตก แตนี่คืองานหัตถศิลปอยางประณีตของแรงงานภาคหัตถกรรมของจีนที่เกิดขึ้น ทั้งหมดที่จิ๋นเตอเจิ้น
ซึ่งเปนแหลงผลิตงานเครื่องปนดินเผาที่มีชื่อเสียงของจีน ทุกๆ เมล็ดเผาดวยไฟสูงถึง 1,300 องศาเซลเซียส
เพนตสีทีละเมล็ด จากนั้นจึงนําเขาเตาเผาอีกครั้งที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ใชเวลาในกระบวนการทําจน
เสร็จสิ้นกวา 2 ป เมล็ดทานตะวันกวา 100 ลานเมล็ดซึ่งหนักกวา 150 ตัน ถูกนํามาจัดวางบนพื้นที่ 1,000
ตารางเมตรของโถงเทอรไบนฮอลล สําหรับอายแลว เมล็ดทานตะวันเปนของขบเคี้ยวยามวางของคนจีนที่กิน
รวมกันระหวางเพื่อนฝูงซึ่งมันเกี่ยวของกับการปฏิวัติวัฒนธรรมในชวงป ค.ศ. 1966-76 ซึ่งชวงนัน้ ความเปน
สวนตัวของผูคนถูกจํากัดไวซึ่งอิสรภาพ ภาพของโฆษณาชวนเชื่อโดยทานประธานเหมา เจอ ตุง ซึ่ง
เปรียบเสมือนเปนแสงอาทิตย ในขณะที่ประชาชนเปนเพียงแคเมล็ดทานตะวัน ซึ่งตัวเขายังจําไดดีวา การกิน
เมล็ดทานตะวันรวมกันเปนการแสดงออกถึงความเมตตาของผูคน ซึ่งสรางสัมพันธภาพระหวางเพื่อนฝูง ในชวง
ภาวะของความยากจนที่ตองอดทนอดกลั้นกับสภาวะทางการเมืองที่ไมมีความมั่นคง ในชวงของการปฏิวัตินั้น
นี่ก็คือเสียงสะทอนรวมสมัยในผลงานซึ่งเปนการผลิตจํานวนมากแบบแรงงานฝมือ หัตถกรรม ซึ่งผลงานไดเชื้อ
เชิญใหผูคนไดเขามาดูอยางใกลชิดในงานแตละเมล็ดที่เสมือนมีแบรนดติดวา “Made in China”
ปรากฏการณเชนนี้เปนการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตรทางการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจของจีนเลยทีเดียว
ซึ่งถามองจริงๆ แลว เมล็ดทานตะวันเหลานี้ คือตัวแทนของประชาชนชาวจีน ซึ่งอายตั้งคําถามถึงตัวตนของ
ตัวเองผานผลงานที่แตกตางกันในแตละเมล็ดวา “ความเปนตัวตนในสังคมปจจุบันนั้นหมายถึงอะไร เรายังคงมี
ความสําคัญ มีพลังที่สามารถแสดงออกหรือไมนั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือผลงานที่ไดรับการสนับสนุนจากยูนิลีเวอรใหศิลปนไดสรางสรรคผลงานที่เปนระดับโลกให
ผูชมและทุกคนไดตระหนักถึงศิลปะที่มีผลตอการเปลี่ยนแปลงสังคม และมีอิทธิพลในการพัฒนาความคิดเพื่อ
ยกระดับความเปนมนุษย มองยอนกลับมายังศิลปะในบานเมืองของเรา บานเมืองที่มักบอกวาตองการความ
เจริญเยี่ยงประเทศอารยชนแตศิลปะนั้นกลับไดเปนเพียงแคไมประดับเทานั้น ถึงเวลาหรือยังที่ภาครัฐและ
เอกชนจะหันกลับมามองความสําคัญของศิลปะในแงของการเรียนรู เพื่อที่จะยกระดับจิตใจ ความคิด และ
สติปญญา ดังเชนที่เคยพร่ําสอนกันมาตลอดวา “เด็กฉลาด ชาติจะเจริญ” แตเราไมเคยที่จะขยายความตอวา
เด็กฉลาดนั้นหมายถึงฉลาดในเรื่องการศึกษา เรื่องของการฉวยผลประโยชนใหกับตนเอง หรือการฉลาดที่เนน
ไปที่ระดับคุณธรรมอันดีงาม ที่ศิลปะนั้นสามารถชวยกลอมเกลาได ถึงเวลาที่เราตองมองคานิยมในการ
สนับสนุนศิลปะเสียใหม ไมใชแคการศึกษาแตมันตองหมายถึงการทําศิลปะใหมีคุณคาและสะทอนเขาไปในทุก
ผูคนของสังคมได นั่นคือการพัฒนาชาติที่ใชศิลปะจรรโลงไปดวยอยางแทจริง

http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series-anish-kapoor-marsyas
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series-louise-bourgeois-i-do-i-undo-i-redo
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series-doris-salcedo-shibboleth
http://www.tate.org.uk/whats-on/tate-modern/exhibition/unilever-series-ai-weiwei-sunflower-seeds
ภาพประกอบจาก Tate Modern

I Do, I Undo and I Redo (2000) โดย ลูอิส บูร์ชวั ส์

Marsyas (2002) โดย อนิช คาพัวร์


Shibboleth (2008) โดย ดอริ ส ซัลเซโด

Sunflower Seeds (2010) โดย อ้ าย เว่ย เว่ย


TH.2058 (2008) โดย โดมินิก กงซาเลซ์ ฟอสเตอร์

The Weather Project (2003) โดย โอลาเฟอร์ เอไลซัน


Sustainable art and design
สรางสรรคอยางยั่งยืน
Royal College of Art, London.

งานศิลปะและออกแบบในปจจุบันไดตอบโจทยของการพัฒนาสิ่งแวดลอมและสังคมอยางยั่งยืนดวยแง
คิดของการสรางสรรคและมีสวนรับผิดชอบในสิ่งที่ผลิตหรือสรางออกมาสําหรับอนาคตมหาวิทยาลัยรอยัล คอล
เลจ ออฟ อารท (Royal College of Art) ณ กรุงลอนดอนไดจัดนิทรรศการนี้ขึ้นเพื่อสะทอนแนวความคิดของ
การสรางสรรคอยางยั่งยืน โดยคัดเลือกผลงานของนักศึกษาที่แสดงกอนจบปการศึกษาที่มีแนวความคิดที่
สอดคลองมาจัดแสดง ดังเชนงานของ โนเอมี กูดัล (Noémie Goudal) นักศึกษาปริญญาโทดานภาพถาย เธอ
คนหาความสัมพันธของมนุษยที่มีตอสิ่งแวดลอม การใชวัสดุทรัพยากรอยางไรจริยธรรมและแรงปรารถนาของ
มนุษยที่ผลักดันใหเกิดไดทั้งการสรางสรรคและการทําลาย แกนของโปรเจกต “Les Amants (The Lovers)”
คือการที่มนุษยสรางสิ่งตางๆ และรุกล้ําเขาไปในระบบนิเวศ มันเปนประเด็นทางสิ่งแวดลอมที่ใครๆ ก็พูดถึงใน
สังคมในขณะนี้ ไมวาสายสัมพันธอันแนบแนนทีส่ ังคมคงไวใหกับโลกซึ่งเปนที่ที่สังคม (มาขอ) อาศัยอยูเพื่อ
ประโยชนของตัวเอง ความตองการของมนุษยที่มากมายในการที่จะรุกล้ําและแผขยายอาณาเขตเขาไปใน
ธรรมชาติที่ยังไมไดถูกคนพบ มันชางเหมือนพฤติกรรมของมนุษยที่ตกหลุมรักใครสักคนหนึ่ง โนเอมีบอกไวเปน
นัยวา “ความรักที่เกิดขึ้นเพราะเขาหรือเธอสามารถตักตวงความสําราญจากสิ่งที่ตนบอกวารักนักหนาไดอยาง
เต็มที่ ในที่นี่สิ่งนั้นก็คือโลกใบนี้ และความรักที่วานั้นก็ชางมากมายเสียจนทรัพยากรทางธรรมชาติถูกใชไปจน
หมดในเวลาอันรวดเร็ว และแลวมนุษยก็จากไป” รองรอยที่ถูกทิ้งไวนี้กลับกอใหเกิดแรงปรารถนาขึ้นมาอีกครั้ง
ในภายหลัง ซากของธรรมชาติที่เคยสวยงามเหมือนสวรรคก็ไดหยิบยื่นจินตนาการใหเพอฝนถึงโลกใหม ในที่สุด
มนุษยก็คิดออกวาจะหาความสุขจากการประดิษฐโลกใหมบนซากของโลกใบเดิมนี้อยางไร ความรักครั้งใหมจึง
เกิดขึ้นและก็จะวนอยูเชนนี้ตอไปอีกเรื่อยๆ เชนเดียวกับการสรางและการทําลาย

งานที่ชื่อวา “Flower Seating” และ “Limbs, Rings & Tunnels” ของจรัมชัย สิงคาลวณิช นักศึกษา
ปริญญาโทดานสิ่งทอ มีจุดเริ่มตนมาจากคําถามที่วาการออกแบบจะมีสวนชวยใหสังคมมีความสุขอยางสงบ
ตามหลักของพุทธศาสนาไดอยางไร จากงานเขียนวิจัยเขาพบวาทางออกอันหนึ่งที่นักออกแบบผูซึ่งเหมือนจะ
ยืนอยูฝงตรงขามกับพุทธศาสนาพอจะทําไดก็คือ การออกแบบอยางมีศีลธรรม เชน ไมทําลายระบบนิเวศ ไมมุง
ใหงานกระตุนใหเกิดความอยากทางกามารมณ แตใหงานออกแบบมีสวนชวยใหผูใชเกิดความสบายกายและ
ความปติ เพื่อใหพรอมตอการแสวงหาความสุขทางจิตวิญญาณขั้นสูงขึ้นไป จรัมชัยตัดสินใจเลือกที่จะนําเอา
ขยะที่เกิดขึ้นจากโรงงานทอผาในอังกฤษมาใชเปนวัตถุดิบ ขยะที่วาคือ “ริมทิ้ง” ซึ่งเปนริมผาที่ถูกตัดทิ้งขณะที่
ผืนผากําลังทออยูบนเครื่องทอ เฉพาะริมทิ้งที่ทอดวยดายขนแกะเทานั้นที่ถูกนํามาใช ดวยเหตุผลที่วาใยขนแกะ
ไมเปนพิษตอสภาพแวดลอม สามารถนํามาแปรรูปดวยวิธีทางธรรมชาติที่ปลอดภัยไดหลายวิธี และริมทิ้งชนิดนี้
ก็เกิดขึ้นทุกวันอยางตอเนื่องในปริมาณที่มากพอสมควร หลังจากนั้นจึงนํามาผานวิธีการ “เฟลติง” (felting)
แบบใหมที่จรัมชัยเปนผูคิดคนขึ้น หลักการทํางานของจรัมชัยดําเนินไปตามหลักการสากลทั่วไปของการอนุรักษ
สิ่งแวดลอม เชน การไมผสมผสานวัสดุที่ยอยสลายดวยวิธีที่ขัดแยงกันเขาดวยกัน การใชแตสารที่ยอยสลาย
ดวยวิธีทางธรรมชาติ เชน แปงมัน และการใชวัตถุดิบทองถิ่นเพื่อเปนการเลี่ยงคาใชจายและกาซ
คารบอนมอนอกไซดที่เกิดขึ้นไดจากการขนสง ในแงของหลักการออกแบบ จรัมชัยไดปลอยใหตัววัสดุและผล
จากการทดลองทอในแตละขั้นเปนตัวนําทาง โดยเขาไดวางตัวเองเปนผูสังเกตการณและจับเอาธรรมชาติของ
สิ่งที่อยูตรงหนาที่มีศักยภาพที่จะกอใหเกิดประโยชนมาพัฒนาใหออกมาเปนรูปธรรมที่ใชงานได ความนารัก
อยางเด็กๆ ความอิ่มอวบอวนอุดมสมบูรณ ความเปนมิตรและอารมณดี คุณภาพทางบวกเหลานี้คือสิ่งที่เขาพบ
และถายทอดออกไปผานรางที่รูปทรงของมันไดแรงบัลดาลใจมากจากดอกไมทะเล เขาจงใจเลือกใชฟอรมที่เต็ม
ไปดวยกิ่งกาน หวง ปุม และขนปุกปุย ก็เพื่อเชื้อเชิญใหเกิดการสัมผัสอันจะนําความผอนคลายมาใหในที่สุด

เจน โบวเลอร (Jane Bowler) นักศึกษาปริญญาโทดานสิ่งทอเชนกัน กับผลงาน Blue Raincoat


(2010) ไดพิสูจนใหเห็นวาความสวยงามกับการพัฒนาอยางยั่งยืนนัน้ สามารถเดินรวมทางกันไดเปนอยางดี
รวมไปถึงการสรางทัศนคติที่ดีตอพลาสติกใหแกคนทั่วไปวามันสามารถนํามาสรางสรรคใหกลายเปนผลิตภัณฑ
แฟชั่นที่หรูหราและนาสวมใสได โดยเฉพาะอยางยิ่งในโปรเจกตนี้ที่เธอเลือกเอาพลาสติกจากรานเก็บขยะใน
ลอนดอน เจนเลือกรีไซเคิลแผนพลาสติกใสที่ใชแลวที่อยูในรูปของผลิตภัณฑในครัวเรือน เชน มานอาบน้ํา
แผนกันลื่น มาแปรสภาพใหสวยงามขึ้นดวยการยอมสี การปมนูนเปนลวดลายตางๆ ดวยแมพิมพยางที่ถูก
ออกแบบขึ้นมาเปนพิเศษใหสามารถนํากลับมาใชไดอีกหลายครั้ง และตัดเย็บใหกลายเปนเสื้อฝนที่หรูหรา ใน
คอลเลกชันที่ชื่อวา “ฟวชัน” (Fusion) ที่มีแรงบัลดาลใจมาจากเสื้อกันฝนโบราณของญี่ปุนที่ทําดวยฟาง และ
เสื้อกันฝนแบรนดเนมชื่อดังของอังกฤษอยาง “แมกอินทอช” (Mackintosh) ที่สําคัญคือความสนุกสนานที่เจน
ใสลงไป ไมวาจะเสนสายและพูที่ประดับ กอใหเกิดความสัมพันธระหวางผูใชกับชุดไดเปนอยางดี เธอตองการ
ใหใสแลวตองออกไปวิ่งเลนกับฝน ชิ้นสวนตางๆ ตางประกอบเขาดวยการใชความรอนและอุลตราโซนิคเพื่อให
ไรตะเข็บ จะเห็นไดวาวัสดุเปนตัวชี้นํางานออกแบบเปนอยางมาก ไมวาจะเปนโครงสีที่เกิดขึ้นจากการยอม
ความมันเงาของพลาสติกหลังการตกแตง และพื้นผิวที่แตกตางกันไปตามชนิดของวัสดุ ลวนแลวแตเปนสิ่ง
ผลักดันใหนักออกแบบตองหาทางผสมผสานออกมาใหลงตัว ความสําเร็จของเจนไดกอใหเกิดรูปแบบใหมของ
เสื้อกันฝนที่มีความพิเศษเฉพาะตัวตามแนวทางของเธอ
นี่คือตัวอยางจากผลงานอีกหลายสิบชิ้นที่ใสใจและหวงใยการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ แมวาความ
เปนจริงการผลิตหรือกระบวนการตางๆ กอนที่จะถูกนําออกมาเพื่อสนองความตองการของมนุษยนั้นจะไมได
ตอบสนองเรื่องของการอนุรักษและรับผิดชอบไปทั้งหมด แตถึงอยางไรในแงของนักออกแบบและศิลปน พวก
เราก็พรอมที่จะสรางสรรคในรูปแบบที่ยั่งยืนที่เปนมิตรกับสิ่งแวดลอมและโลกใบนี้

https://www.saatchigallery.com/artists/noemie_goudal.htm?section_name=photography

http://www.anothermag.com/current/view/567/Cascade_by_Noemie_Goudal
ภาพประกอบจาก Royal College of Art

Les Amants (Cascade) (2009) โดย โนเอมี กูดลั

Blue raincoat (2010) โดย เจน โบว์เลอร์


Limbs, Rings & Tunnels โดย จรัมชัย สิงคาลวณิช

Flower Seating โดย จรัมชัย สิงคาลวณิช


Anne Frank (1929 – 1945)
ไดอารีของแอนน แฟรงค
Anne Frank House, Amsterdam.

บานริมน้ํา ที่เปนเหมือนตึกแถวฝรั่งที่เคยพบเห็นบอยๆ ถูกดัดแปลงเปนพิพิธภัณฑ ทั้งๆ ที่เวลานี้เปน


เวลาที่พิพิธภัณฑเพิ่งจะเปดแตกลับมีคนตอแถวยาวออกมาถึงขางนอก ผมรีบเดินตอแถวพรอมกับหยิบโบรชัวร
ที่เปนภาษาอังกฤษกอนที่จะซื้อตั๋วเขาไปชม เมื่อเริ่มเดินไปยังหองแรก ที่จัดแสดงเกี่ยวกับภาพสงครามโลกครั้ง
ที่สอง เปนการสรางอารมณ กอนที่จะเจออะไรที่สะเทือนใจขางในอีกมากมาย เดินผานเขามาทางเดินแคบๆ
ผานหองที่โชวขาวของเครื่องใชในตูกระจก แลวก็ขึ้นไปขางบน ตรงทางบันไดแคบๆ ผมเริ่มจะพบประวัติของ
บานหลังนี้ ดวยรูปชาวยิว 8 คนที่อยูบนฝาผนัง ภาพทุกคนยังติดตามาถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะภาพของสาวนอย
แอนน (Anne Frank) หญิงสาววัย 15 เจาของเรื่องราวพิพิธภัณฑนี้ รวมถึงภาพชาย 4 คน หญิง 4 คน ทุกคน
เสียชีวิตหมด ยกเวนคนเดียวคือพอของแอนน ดวยเหตุนี้ พิพิธภัณฑนี้จึงเกิดขึ้นมาไดดวยเพราะพอของเธอ ที่
กําแพง หนาตาง ประตู จะมีประโยคสั้นๆ ทีเ่ ปนขอความจากไดอารีของเธอ ทุกขอความที่อานทําใหรูสึก
เหมือนกับวาไดเปดไดอารีของเธอทีละหนา เดินไปตามรอยเทาของเธอทีละกาว ผมตองเดินดวยใจที่หดหู และ
ใหเสียงเบาที่สุด ไมเชนนั้นแลว ทหารนาซีจะมาจับเธอไป

ขอความที่อยูบนผนัง ที่เธอบรรยายไวที่หนาตางวา “เธอรูสึกหวาดกลัวเปนอยางมากที่เธอเห็นทหาร


นาซีเดินผานหนาบานของเธอ ขณะที่เธอแอบมองจากทางหนาตางบาน “

ทั้ง 8 คนตองอาศัยอยูที่บานหลังนี้เปนเวลากวา 2 ป ตองหลบซอนอยูที่ชั้นบนของบาน ที่เมื่อมอง


ภายนอกแลวจะไมสามารถสังเกตเห็นไดวามีคนอาศัยอยูเลย พอของแอนนเคยเปนเจาของออฟฟศนี้มากอน
พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกเขาทั้ง 8 คนตองหลบหนีการจับกุมชาวยิวของทหารนาซี โดยหลบอยูขางบน
แลวใหลูกนองเกาของพอเธอ เปนคนสงอาหารใหผานชองลับๆ 2 ปของการไมเห็นแสงเดือนตะวัน 2 ปที่เธอไม
สามารถวิ่งเลนใชชีวิตในวัยสาวของเธอ 2 ปที่เธอตองเขียนไดอารีใหมันพาเธอเดินไปขางนอกแทนขาของเธอ

ผมเริ่มที่จะเดินผานบันไดที่แคบมากๆ แถมสูงชัน เพื่อที่จะเดินไปยังหองของพวกเขาทุกคน ผมเดิน


แบบยองไมใหมีเสียง หองของพวกเขาทั้งหลายไดรับการเก็บรักษาเปนอยางดี แตไมมีเฟอรนิเจอรหลงเหลือ
แลวสักชิ้น นอกจากภาพถายที่ติดไวใหดูสภาพของหอง ฝาผนังหองแอนนยังมีโปสเตอรดาราที่เธอชอบ ตัว
การตูนอีกมากมายอยูบนผนังที่รักษาไวโดยการเอาอะคริลิกใสปดไว เธอตองอยูในหองแคบๆ รวมกับพอและ
แมของเธอ พวกเขาไมสามารถจะทําอะไรไดเลยในเวลากลางวัน ไมวาจะเปนการเดิน พูดคุย หรือแมกระทั่ง
เสียงของชักโครก ก็ไมสามารถใชไดในชวงกลางวัน

ตูหนังสือใหญหนึ่งใบที่จัดไวเปนประตูลับไวสื่อสารระหวางคนขางลางกับครอบครัวของพวกเธอ เหนือ
ประตูทางขึ้นไปชั้นบนสุด ผมไดอานขอความที่วา “เธอรูสึกแยมากๆ ที่ฟงวิทยุจากคลื่นของทางอังกฤษวา
ตอนนี้การรมยาพิษฆาชาวยิวไดเสร็จสิ้นแลว” แมวาจะไมไดอยูในเหตุการณเหมือนเธอ แตความรูสึกตอนนั้นก็
คิดวา เธอคงจะคิดวาสักวันก็ตองเปนเชนนั้น เมื่อเดินผานมาถึงหองชั้นบนสุดที่เปนจอภาพแสดงวาหลังจากนั้น
คนทั้ง 8 คน เปนอยางไร ใชครับ มีคนไปบอกพวกทหารวาเธอหลบซอนอยูที่บานหลังนี้ ผมไมอยากจะคิดเลย
วาพวกเขาทําไปทําไม ทั้งหมดมีชะตาชีวิตเดียวกันหมด คือ “ถูกฆา” แตพอของเธอรอดออกมาได ผมดูบัญชี
รายชื่อ วันเวลา ที่ครอบครัวนี้ถูกฆาอยางหดหู จนตองรีบเดินออกไปอีกหอง

หองนี้เปนหองที่เก็บไดอารีของแอนน ลายมือเธอสวยมาก แมวาจะอานไมออกก็ตาม มีทั้งหมด 3 เลม


มีขอความบรรยายเปนภาษาอังกฤษที่เธอบอกวาอยากเปนนักหนังสือพิมพ แตเธอคงไมมีโอกาสแลว แตวางาน
เขียนของเธอกลับเปนรางวัลที่ยิ่งใหญสําหรับสันติภาพของมวลมนุษยชาติ ทําใหทุกคนตระหนักถึงอิสรภาพ
และคุณคาของการมีชีวิตอยู เธอเปนนักเขียนที่ดีมากๆ เธอบรรยายไดแมกระทั่งวาปนี้ดอกไมสวยกวาปที่แลว
อยางไร ตนไมนอกหนาตางแตกตางอยางไรกับปที่แลว ลงมาขางลางก็พบกับเรื่องราวของเธอ ที่แปลเปนภาษา
ทั่วโลกมากกวา 60 ภาษา มีภาษาไทยดวย ดูจากหนาปกแลวก็คิดวานาจะนานพอสมควร ชั้นลางยังเปน
คอมพิวเตอรแบบสัมผัสใหคนควาขอมูลทุกอยาง

สิ่งที่ผมชื่นชมพิพิธภัณฑนี้ไมใชการมีภาพเขียนราคารอยลาน พันลาน แตมันเปนการออกแบบที่พอดี


ของการนําสถานที่จริง เชน บาน มาทําเปนพิพิธภัณฑ การออกแบบไมใชแคการเอาสมบัติใสตูกระจกตั้งโชว
แตเปนการสื่อสารใหคนมาชม รับรูเรื่องราว โดยใชไดอารีของเธอ เปนสื่อกลางของการออกแบบและเชื่อมโยง
ประวัติศาสตร ขอความทุกขอความที่อยูบนผนังและหนาตางนั้นบงบอกถึงวันเวลาและอารมณของเธอไดเปน
อยางดี คนออกแบบนอกจากจะตองมีความรูดานศิลปะยังจะตองเปนนักอานที่ดี ที่ทําใหพิพิธภัณฑนี้ลงตัวเปน
อยางมาก ในสถานที่เล็กๆ แคตึกแถว 2 หอง 4 ชั้นครึ่ง แตกลับเหมือนเดินผานเรื่องราวของเธอมาตลอด 2 ป
ที่อยูที่นี่ ผมอยากใหเปนตัวอยางของการดัดแปลงสถานที่จริงทางประวัติศาสตรของบานเมือง

เรื่องราวของแอนนถูกดัดแปลงเปนภาพยนตรหลายครั้ง และนักแสดงก็ไดรางวัลออสการ ผมยังเห็น


รางวัลออสการตุกตาสีทองอยูในตูโชวชั้นลาง ซึ่งนักแสดงมอบรางวัลของเธอใหกับพิพิธภัณฑนี้ กอนออกจาก
ที่นี่ผมมองดูรูปพอของแอนนพรอมกับขอความที่เขียนอยูขางๆ วา “การที่ไดมาชมความลับของลูกสาวของผม
ไมไดสําคัญเทากับการไดระลึกอยูเสมอวา การกระทําที่ทารุณโหดรายเกิดขึ้นเพราะความคิดเกี่ยวกับศาสนา
และการเมือง “

ผมยืนไวอาลัยใหกับทุกคนที่พิพิธภัณฑนี้ และเดินออกไป โดยไมลืมที่จะยิ้มและขอบคุณครอบครัวของ


เธอ ที่ทําใหผมพบพิพิธภัณฑนี้ อยากใหดอกไมของแอนนยังคงบานอยูในหัวใจของคนที่รักความสงบสุขและ
อิสรภาพตลอดไป ขอบคุณสาวนอย แอนน แฟรงค (1929 – 1945)

พิพิธภัณฑบานของแอนน แฟรงค อาคารพรินเซนคารต (Prinsengracht) 267 กรุงอัมสเตอรดัม


Amsterdam. http://www.annefrank.org
ภาพประกอบจากAnne Frank House

แอนน แฟรงค (ขวา)

จดหมายและภาพถายถูกเก็บไวอยางดีในหองทํางาน
ผนังจะมีบันทึกถายทอดอารมณความรูสึก

ตูหนังสือใหญ ที่จัดไวเปนประตูลับ
เรื่องราวของแอนน ที่แปลเปนภาษาไทย

ออตโต แฟรงค (Otto Frank) พอของแอนนที่เปนคนสรางพิพิธภัณฑนี้ขึ้นมา


Department 21
ภาควิชาศตวรรษที่ 21
Royal College of Art, London

ทางเลือกของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในปจจุบันทั้งในประเทศและตางประเทศนั้นลวนแตมีปญหาใน
เรื่องของการเรียนการสอนตามความสามารถในสิ่งที่สนใจและไมสนใจ หากหลักสูตรการศึกษาศิลปะบานเรา
เปดโอกาสใหนักศึกษาไดมีสวนรวมในการออกแบบหลักสูตรใหสอดคลองกับสภาพปจจุบันรวมกับการศึกษา
นั้น นาจะเปนสิ่งที่ดี มากกวาที่จะใหนักศึกษาไมมีสิทธิ์เสียงในสิ่งที่พวกเขากําลังเรียนเพื่อที่จะตองนําเอาไปใช
ในอนาคต

บทความนี้ ผูเขียนเห็นวามีประโยชนอยางยิ่งสําหรับการศึกษาบานเรา เพื่อที่จะไดนําแนวทางนี้เปน


ทางเลือกในการเรียนการสอน ที่ไมไดมีแตกรอบใหนักศึกษาตองทําตาม ไมมีการทดลองเรียนรู ไมมีอิสระใน
การจัดการ เหมือนระบบการผลิตนักศึกษาที่เนนการผลิตจํานวนมาก (mass) ที่เนนปริมาณมากกวาคุณภาพ
ของมหาวิทยาลัยหลายๆ ที่ในปจจุบัน

รอยัล คอลเลจ ออฟ อารท (Royal College of Art) ณ กรุงลอนดอน เปนสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับ


การออกแบบและศิลปะชั้นนําของกรุงลอนดอน ที่นี่ผูเขียนไดเขาเรียนในระดับปริญญาโทโดยไมมีปริญญาตรี
เนนที่ปริญญาโทและปริญญาเอกเทานั้น มีภาควิชาทั้งสิ้น 20 ภาควิชา แบงสาขากันไปทั้งดานการออกแบบ
และศิลปะ นักเรียนที่นี่แตละคนตางมีความสามารถที่โดดเดน และมาจากทุกชาติ นั่นคือขอดีของการศึกษาที่นี่
ที่เราจะไดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทัศนคติที่มีความแตกตาง ตลอดจนในเรื่องของวัฒนธรรมและเรื่องการ
ใชชีวิตที่จะมีชองวางเกิดขึ้นเสมอ เชน เรื่องของภาษา เชื้อชาติ ที่จะตองมีการเรียนรูและปรับตัวใหเขากับ
สภาพสังคมการศึกษาของที่นี่ นักเรียนทุกคนตางมีพื้นที่การทํางานในสตูดิโอของภาควิชาซึ่งแตละภาคก็จะมี
ขนาดไมเทากัน ในหลายภาควิชานักเรียนไมมีพนื้ ที่เพียงพอในการทํางาน เพราะเนื้อที่ของแตละคนคอนขาง
จํากัด เนื่องจากมหาวิทยาลัยนั้นตั้งอยูใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งเปนยานที่ที่ดินแพงมหาศาล ดังนั้น การที่
นักศึกษาจะมีพื้นที่ในการทํางานที่เพียงพอนั้นจึงเปนเรื่องยาก จนบางคนตองไปเชาสตูดิโอสวนตัวขางนอกไวใช
ในการทดลองทํางานกันเอง แตถาไมนับขอนี้ ระบบการสอนของที่นี่ก็นับวายอดเยี่ยมทั้งในเรื่องของคณาจารย
ที่มีคุณภาพเวิรกชอปที่มีอุปกรณครบครันและล้ําสมัย และมีเจาหนาที่ที่มีความรูเฉพาะทางดูแลใหเปนอยางดี
จนมองผิวเผินวาที่นี่นั้นดีทุกอยาง สมกับคาเรียนของนักเรียนตางชาติที่แพงลิบลิ่วจนสามารถซื้อบานหลังยอม
แถวชานเมืองในบานเราไดตอหนึ่งปการศึกษา แตเมื่อมองใหดีแลวที่นี่ก็ไมสามารถเติมเต็มสิ่งที่ขาดไดเชนกัน
“ภาควิชาศตวรรษที่ 21”(Department 21) เปนโปรเจกตทดลองที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ขาดไป
ในมหาวิทยาลัยโดย เบียงกา เอลเซนบาวเมอร (Bianca Elzenbaumer) และ ฟาบิโอ ฟรานซ (Fabio Franz)
แหงภาคศิลปะการสื่อสารและการออกแบบ (Communication Art & Design) ชาวอิตาเลียน และ พอลลี
ฮันเตอร (Polly Hunter) แหงภาคประวัติศาสตรการออกแบบ (History of Design) ชาวอังกฤษ ซึ่งทั้งสาม
คนเรียนอยูชั้นปที่สองในมหาวิทยาลัย สิ่งที่ขาดในโรงเรียนของเราคือ การขาดความสัมพันธระหวางภาควิชาใน
เรื่องทั้งการศึกษาแลกเปลี่ยนองคความรูและความสัมพันธระหวางนักเรียนดวยกันเอง เพราะในแตละภาควิชา
นักเรียนแตละภาคก็จะมุงเนนแตทํางานของตัวเองไมไดมีการรวมทํางานหรือกิจกรรมกับนักเรียนในภาควิชา
อื่นๆ หรือแมกระทั่งตัวอาจารยผูสอนที่จะมาสอนหรือรวมสอนแลกเปลี่ยนกันระหวางภาควิชานั้น ยังเปนสิ่งที่
ทําไดยากในโรงเรียนแหงนี้ ดังนั้นโปรเจกต Department 21 จึงถูกจัดตั้งมาเพื่อทดลองการแลกเปลี่ยนองค
ความรูรวมกันโดยที่ไมไดแบงวาจะตองเปนนักเรียนออกแบบหรือวาศิลปะ เพราะเชื่อวาความรูจากทั้งสอง
สาขานั้นสามารถนํามาใชและพัฒนารวมกันได
ความเปนมาของโปรเจกตนี้เนื่องจากภาควิชาจิตรกรรมนั้นจะตองยายไปอยูอีกตึกซึ่งหางจากตึกที่
เรียนปจจุบันราวครึ่งชั่วโมง ชั้นที่สามซึ่งเปนภาควิชาเดิมจึงยังคงวางเปลา พวกเราจึงไดไปคุยกับอธิการบดีวา
ขอทําโปรเจกตทดลองซึ่งเปนชื่อภาควิชาใหมซึ่งจากเดิมที่ทางมหาวิทยาลัยนี้มี 20 ภาควิชา เราขอตั้งขึ้นมา
ใหมเปนภาควิชาที่ 21 ซึ่งก็ไปพองกับศตวรรษที่ 21 เปนการเริ่มตนที่ดีเหมือนเปนศิลปะรวมสมัยแหงยุคหนา
และเราก็ไดรับโอกาสนั้นโดยไดรับเงินชวยเหลือกอนแรก 3,000 ปอนด หมายถึงเปนการเหมารวมทั้งการรื้อ
ตกแตงสถานที่ เงินที่ใชในการทํากิจกรรม เงินที่เอาไวใชซื้ออุปกรณตางๆ ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน โปรเจกต
นี้จึงเริ่มเปนรูปเปนรางขึ้นมา จากนั้นซึ่งแตเดิมที่ขาพเจายังไมไดเขารวมในตอนแรก เพราะวิธีที่จะรับสมาชิก
มารวมทดลองในโปรเจกตแรกนั้นมาจากการสมัครผานอินเทอรเน็ต โดยเริ่มตั้งแตสิบโมงเชาไปจนถึงสี่โมงเย็น
ใครที่ลงทะเบียนกอน 20 คนแรกก็จะไดเขารวม ซึ่งในตอนแรกขาพเจาก็ไดแคสํารองเนื่องจากมีนักเรียนในแต
ละภาควิชาที่อยากจะรวมลงทะเบียนอยางลนหลาม แตทายที่สุดแลวหลังจากที่พูดคุยเสนอวาอยากจะทําอะไร
ทดลองใน ภาควิชาศตวรรษที่ 21 ขาพเจาก็ไดรับคัดเลือกใหอยูในกลุม 20 คนแรกนั่นเอง เรามีเวลาเตรียมการ
กอนที่จะเริ่มเซตภาควิชาใหมของพวกเราที่บริหารโดยนักเรียนกันเอง เปนเวลาสามอาทิตยในชวงปดเทอมของ
ของภาคการศึกษาที่สอง

เมื่อเริ่มเปดเทอมภาคการศึกษาที่สาม พวกเราก็เริ่มที่จะรื้อเฟอรนิเจอรของภาคจิตรกรรมเกาซึ่งทิ้งไม
เหลือใชไวจํานวนมาก พวกเรานําไมเหลานั้นกลับมาใชใหมโดยที่คิดรวมกันทั้งนักเรียนออกแบบและศิลปะวา
เราตองทําเฟอรนิเจอรอะไรบาง เชน โตะ เกาอี้ กีต่ ัว จึงจะเพียงพอกับทุกคนที่เขารวมโปรเจกต แลวพวกเราก็
ตองมานั่งตัด ขัด ทําเฟอรนิเจอรไวใชเอง รวมทั้งการทําความสะอาดซึ่งภาคเดิมไมไดทํามาเลยกวา 30 ป ซึ่ง
ไมไดงายเลย ไมนาเชื่อวานักเรียนออกแบบที่เคยทําการออกแบบแตในคอมพิวเตอรเมื่อถึงเวลาจะตอง
ประกอบขึ้นมาเองจริงๆ กลับทิ้งทฤษฎีที่ร่ําเรียนมา แลวใชสัญชาติญาณของมนุษยในการสรางสิ่งของเพื่อ
ตอบสนองแคประโยชนใชสอยมากกวาที่ตองออกแบบใหมันเกินจําเปนและเทเพียงแตอยางเดียวตามที่ไดเรียน
มา เฟอรนิเจอรที่พวกเราสรางจึงเรียบงายและใชประโยชนไดจริง ตอบสนองเพียงความตองการขัน้ พื้นฐานใน
การดํารงชีวิตของตัวเองเทานั้น โดยที่แมงานที่ตองขอชื่นชมคือทั้งเบียงกา เอลเซนบาวเมอร, ฟาบิโอ ฟรานซ
และพอลลี ฮันเตอร นั้นตางทุมเทเวลาและแรงกายแรงใจทั้งหมดใหกับโปรเจกตนี้โดยที่ไมมีการเกี่ยงวาใคร
จะตองทําอะไรมากแคไหน เพราะทั้งสามคนนั้นลงมือทําเองทุกวันแมในตอนแรกที่ทํานั้นจะมีคนมาชวยไมกี่คน
จากทั้งหมด 20 คน เพราะตางปดเทอมก็กลับบานกันหมด และดวยความทุมเทของทุกคนที่มาชวยงานในตอน
แรก เราจึงไดพื้นที่ของภาควิชาใหมที่ดูดีตามกําลังและความสามารถ พวกเรามีโตะยาวที่ไวใชทํางานกว่า 8 ตัว
เกาอี้กวา 30 ตัวที่รวมกันทํา ใครมีอะไรก็นํามาใชรวมกัน กินรวมกัน แบงปนกันในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่จะ
เกิดขึ้น ซึ่งอันนี้นับวาเปนการเริ่มตนที่ดีในการรวมมือกันระหวางนักเรียนระหวางภาควิชา

แตใชวาจะไมมีปญหาอะไรเลยในการทํางานรวมกันนี้ ตองมีแนนอน เพราะเราตางใหนักเรียนทุกคน


นําเสนอวาอยากจะทดลองทําอะไรที่นี่คนละสิบนาที ซึ่งทุกคนก็ดูจะมีโปรเจกตที่นาสนใจนํามารวมทดลองกัน
ที่ภาคใหมนี้ แตนั่นก็เปนแคการพรีเซนตบนหนาโปรเจกเตอร แตพอวันที่เริ่มเซตงาน แบงพื้นที่กันจริง หลาย
คนก็ยังไมมีอะไรมาแสดงมาเขารวม หรือก็เพิกเฉยไมมาเลยก็มี เนื่องจากงานของตัวเองในภาควิชาก็มากอยู
แลว การที่จะแบงเวลามาเขารวมนั้น อาจจะหมายถึงตองทํางานหนักเปนสองเทาที่จะรับผิดชอบงานของ
ตัวเองและงานกลุมทดลองนี้ นั่นก็เทากับเปนการเอาเปรียบกลุมคนที่สมัครแตไมไดรับการคัดเลือกในรอบแรก
ซึ่งปญหานี้คอนขางจะหนักเอาการ เพราะพวกเราตองเตรียมงานในวันเปดซึ่งอธิการบดีจะตองมาดู และเขา
ควรที่จะตองเห็นวาพวกเราเอาโอกาสและเงินทุนที่เขาใหมาทําใหเกิดประโยชนตอมหาวิทยาลัยตามที่ไดเสนอ
แผนการไปในตอนตน

แตแลวทุกอยางก็ผานพนไปดวยดีในวันเปด เพราะเราคิดวาควรจะโชวกระบวนการกอนจะมาเปน
ภาควิชาที่ 21 ซึ่งวันเปดตอนเย็นพวกเราก็ยังนัง่ ทําเกาอี้ บางคนยังทาสี ฉายโปรเจกเตอรแสดงความเปนมา
กอนจะมีภาควิชาใหมนี้และในสวนพื้นที่ของขาพเจาก็ไดปูเสื่อ ทําอาหารเลี้ยงผูคนที่มา ซึ่งจะขอกลาว
รายละเอียดของโปรเจกตที่ขาพเจาทําที่นี่ในภายหลัง ซึ่งงานวันนั้นผูคนมารวมกันอยางมากมาย ทําใหพื้นที่
วางๆ ทั้งชั้นสามแนนขนัดไปดวยผูคน แตหลายคนก็ยังมีคําถามวา โปรเจกตนี้คืออะไร ทําอะไรกันบางนอกจาก
วันเปดนี้ แนนอนพวกเราคิดไวแลว จึงไดทําปฏิทินกิจกรรมและเพนตไวบนผนัง แบงชองตามวันวาวันไหนมี
กิจกรรมอะไรบาง ซึ่งแนนอนเรามีกิจกรรมเต็มทุกวันจนครบหนึ่งเดือน หลักๆ เราเนนที่การมีเวิรกช็อปจาก
ภาคตางๆ เหมือนเปนการแลกเปลี่ยนความรูในแตละภาค เชน ภาควิชาเครื่องประดับมาทําเวิรกช็อปออกแบบ
เฟอรนิเจอร ซึ่งเฟอรนิเจอรที่ออกมาก็จะมีความพิเศษ มีรายละเอียดและประโยชนใชสอยที่นักเรียนออกแบบ
ทั่วไปคิดไมถึง ภาควิชาเซรามิกก็นําดินนําแปนหมุนมาสอนใหนักเรียนภาคอื่นๆ ปนตาม ซึ่งนักเรียนที่สวนใหญ
จะใชแตคอมพิวเตอรทํางานจะชอบมากเปนพิเศษเพราะไมเคยไดทําอะไรที่เปนงานทํามือแบบนี้ ภาควิชา การ
ทําภาพเคลื่อนไหว (Animation) ก็จัดอบรมทําภาพเคลื่อนไหวแบบงายๆ ซึ่งอันนี้ขาพเจาชอบมากเปนพิเศษ
เพราะไดเรียนรูเรื่องการนําเทคนิคตางๆ มาทําเปนวิดีโออารทในภายหลัง ซึ่งจริงๆ แลวทุกภาควิชาสามารถ
เรียนรูแลวนําไปปรับใชกับงานของตัวเองได ภาควิชาการสื่อสาร (communication) ก็จัดสอนการทําเว็บไซต
โชวงานของตัวเองแบบงายๆ และยังมีการฉายหนังทุกอาทิตย เปนหนังศิลปะที่หาดูไดยากและยังมีคนมาบอก
เลาและวิเคราะหใหฟง ซึ่งถาจะกลาวถึงกิจกรรมทั้งหมดนั้นคงจะเลาไมไดทั้งหมดนอกจากจะเขาไปลองอานดู
กิจกรรมทั้งหมดไดที่ www.department21.net

นอกจากนี้การเชิญผูเชี่ยวชาญและอาจารยจากที่อื่นๆ เขามาคุย มาอบรมใหกับคนที่สนใจ ก็เปน


กิจกรรมที่นาสนใจ ทั้งจากนักออกแบบและศิลปน รวมทั้งผูคนที่อยูในสาขาวิชาชีพตางๆ ขาพเจาเห็นวาการ
สัมมนานี้เปนประโยชนมากแมจะฟงรูเรื่องบางไมรเู รื่องบาง แตหลายครั้งก็มีประเด็นใหมๆ เขามาใหกลับไป
คนควาเพิ่มเติม การเรียนการสอนของที่นี่เนนการพูดคุยถกกันในประเด็นตางๆ ซึ่งใชเวลานานในแตละครั้ง เรา
ไมมีการจํากัดไอเดียและตองเคารพความเปนผูอาวุโส ใครมีความคิดเห็นดีไมดีอยางไรก็มาคุยกันไดเต็มที่ ซึ่ง
ขาพเจาชอบมากในระบบนี้ แลวลองมองยอนกลับมาที่บานเรา เหตุผลที่นักศึกษาสวนใหญไมกลาแยงกับผูสอน
เนื่องจากกรอบแตโบราณที่ยังผูกมัดเชนนั้นอยู ซึ่งขาพเจาคิดวาการแลกเปลี่ยนกันไมควรที่จะยึดติดกับอายุ
ของผูพูด เราควรเปดใจและลองฟงความคิดเห็นของทุกคน จะทําใหการศึกษานั้นเกิดประเด็นและแงมุมใหม
จากคนทุกชวงอายุ

ที่จริงแลวยังมีรายละเอียดปลีกยอยของการทําภาควิชาใหมนี้อีก สิ่งที่สําคัญคือขาพเจาไดรูจักเพื่อน
ตางภาควิชาหลายคนซึ่งถาใหเรียนแตในภาควิชาของตัวเองก็นอยนักที่จะเจอะเจอเพื่อนใหมเชนนี้ ไดรูจัก
อาจารยตางภาควิชาซึ่งทําใหขาพเจาสามารถเอางานของตัวเองไปคุยไปขอความคิดเห็น ลองฟงมุมมองใหมๆ
โดยที่เราไมตองสนวาจะเปนอาจารยภาคไหนก็ตาม เพราะหลังจากที่ขาพเจาไดไปพูดคุยก็เกิดองคความรูใหมๆ
มุมมองใหม ซึ่งอาจารยในแตละภาคนั้นก็จะมีมุมมองที่แตกตางกันออกไป รวมทั้งความเห็นของเพือ่ นๆ ในกลุม
ทั้ง 20 คนที่เรามีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกันตลอดเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่นี่ และเปนขาวดีคืออธิการบดี
ขยายเวลาจากหนึ่งเดือนออกไปอีกสองอาทิตยใหพวกเราไวใชจัดกิจกรรมกันตอไป แตแทจริงแลวพวกเราคุย
กันวาเราตองการที่จะเซตภาควิชาใหมนี้ใหเปนทางเลือกใหกับนักเรียนที่นี่ ไดมาทํากิจกรรมดวยกัน ไมแบงเปน
ภาควิชาของใครของมัน แตทั้งนี้ก็ขึ้นอยูกับปจจัยหลายอยางในการดําเนินการ ซึ่งหนาที่ตัดสินใจทั้งหมดคง
ขึ้นอยูกับทางผูบริหารของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งตองจัดสรรพื้นที่และงบประมาณใหเรามาทํากิจกรรมที่ดีๆ กัน
อีก เพราะโปรเจกตนี้ถือวาประสบความสําเร็จเปนอยางมาก มีมหาวิทยาลัยที่อื่นในลอนดอนสนใจที่จะใหพวก
เราไปพูดคุย ไปจัดกิจกรรมในโรงเรียนตางๆ อีกดวย

ตอนนี้พวกเราก็ไดแตหวังวาในอนาคตภาคหนาจะมีภาควิชาใหมที่จัดการกันเองโดยนักศึกษาที่จะ
ดําเนินการกันไปเปนรุนๆ ความฝนนี้ยงั ไมชัดเจนในตอนนี้ เนื่องจากพวกเรายังไมไดรับคําตอบอันใดจากทาง
มหาวิทยาลัย แตสิ่งที่พวกเราทําไดดีที่สุดคือการเตรียมงานแสดงโชวสุดทาย (final show) ที่จะเปนการแสดง
งานจบของนักเรียนชั้นปที่สอง ซึง่ ถือวาเปนงานที่ใหญและสําคัญที่สุดของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีผูคนที่เขา
มารวมชมงานนักศึกษาตางๆ เปนประจําทุกป ซึ่งพวกเราก็ไดพื้นที่จัดแสดงรวมกับภาควิชาอื่นๆ อีก 20 ภาค
ดวย การเตรียมการ กิจกรรม และสิ่งอื่นที่จะดึงดูดคนใหเขามารวมจะเปนอยางไร รวมทั้งโปรเจกตที่ขาพเจาได
ทดลองที่ Department21 นั้นเปนเชนไร โปรดติดตามในตอนหนาครับ
ภาพประกอบจาก Royal College of Art

กอนจะมาเปน Department21

ชวยกันทําเฟอรนิเจอร
สัมมนากับแขกรับเชิญ

ตรุษจีน

ไปทําเวิรกชอปที่ Chelsea college of Art and Design


ภาควิชา product design ทําเวิรกชอป

เวิรกชอปภาคการทําภาพเคลื่อนไหว (Animation Workshop)

เวิรกชอปภาคการทําเซรามิก
Department 21 (ตอ)
ภาควิชาศตวรรษที่ 21
Royal College of Art, London

ครั้งที่แลวไดเสนอโครงการ ภาควิชาศตวรรษที่ 21 (Department21) ซึ่งเปนโปรเจกตทดลองที่


ดําเนินการโดยนักศึกษาจากรอยัล คอลเลจ ออฟ อารท แหงกรุงลอนดอน โดยไดนํานักศึกษาจากทุกภาควิชา
มาทํางานทดลองรวมกันเปนระยะเวลาเดือนครึ่งในพื้นที่เดิมซึ่งเปนที่ตั้งของภาควิชาจิตรกรรมซึ่งไดยายไปที่
ใหม โครงการนี้เปนที่นาสนใจในหลายแงมุมตามที่ไดนําเสนอไปวาเปนทางเลือกใหกับนักศึกษาที่สามารถ
กําหนดแนวทางการเรียนการสอนดวยตัวเองได โดยมีกิจกรรมพื้นฐานที่ตั้งอยูบนองคความรูทั้งจากภาควิชา
จากคณาจารยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงการเชิญวิทยากรจากหลากหลายสาขามาทํากิจกรรมและ
อบรมใหกับนักศึกษา ซึ่งนักศึกษาตางภาควิชาก็สามารถแลกเปลี่ยนความรูดวยกันเองได โดยที่ไดแมงานอยาง
เบียงกา เอลเซนบาวเมอร (Bianca Elzenbaumer) และ ฟาบิโอ ฟรานซ (Fabio Franz) ชาวอิตาเลียน และ
พอลลี ฮันเตอร (Polly Hunter) แหงภาคประวัติศาสตรการออกแบบ ชาวอังกฤษ เปนตัวขับเคลื่อนที่สําคัญ

ในบทความตอนตอนี้ จะนําเสนอในรายละเอียดและมุมมองของผูเขียนเองที่ไดมีโอกาสเขาไปมีสวน
รวมอยูในโปรเจกตทดลองนี้ตั้งแตเริ่มเปนระยะเวลาเดือนครึ่ง จนไปถึงการแสดงโชวครั้งสุดทายซึ่งเรียกวาเปน
“โชวสุดทาย” (Final Show) ซึ่งจัดขึ้นอยางยิ่งใหญใหกับนักศึกษาทุกชั้นปที่สําเร็จการศึกษา ตองขอออกตัว
กอนวาการเรียนปริญญาโทครั้งนี้ที่รอยัล คอลเลจ ออฟ อารท เปนปริญญาโทใบที่สองของขาพเจา จากใบแรก
ที่เรียนศิลปะที่เมืองไทย จนอดเปรียบเทียบความแตกตางระหวางการเรียนการสอนสาขาศิลปะเหมือนกันแต
ระบบนั้นแตกตางกันไมได ตองบอกวาดีกันคนละอยาง และเสียกันคนละหลายอยาง และถาจะใหพูดอยาง
จริงใจและตรงไปตรงมากับการศึกษาบานเรา ก็คงจะตองพูดใหตรงและมองในความเปนจริงของปญหาการ
เรียนการสอนที่ยังมีศูนยกลางอยูที่ผูสอนมากเกินไป ทั้งๆ ที่ในระดับปริญญาโทนั้นผูเรียนนาจะเปนศูนยกลาง
ของการศึกษา ระบบความคิดการทํางานยังไมสามารถพึ่งพาตนเองได ตลอดจนการเปดกวางและเปดใจของทั้ง
ผูสอนและผูเรียนยังไมสามารถพูดคุยกันไดอยางไมมีกําแพงกั้นของคุณวุฒิและวัยวุฒิ ทําใหกลายเปนวา ศิลปะ
บานเราคือระบบที่อยูในกรอบของผูสอน ทั้งที่แทจริงแลวศิลปะไมควรมีกรอบหรือกําแพงอะไรในยุคนี้อีกแลว
ผูสอนควรเปนผูที่เขาใจในธรรมชาติของผูเรียนและสามารถแนะแนวทางใหเขา ไมใชเปนผูกําหนดแนวทางของ
เขา ซึ่งนั่นก็เทากับวาผูสอนนั้นตองมองขาดในงานของนักเรียนและมีความรูที่กวางไกลเพียงพอที่จะแนะนําได
เพราะนั่นคือการรับผิดชอบอนาคตคนคนหนึ่งเลยทีเดียว

ผูเรียนก็ตองถามตัวเองวาแทจริงที่มาเรียนในระดับที่สูงกวาปริญญาตรีนั้นดวยเหตุใด ตองการเปน
ศิลปน ลาราชการมาเรียนเพื่อหวังตําแหนง หรือเพราะวาวางไมมีอะไรทํา ซึ่งถาเขาใจในที่มาที่ไปของนักเรียน
แตละคน ก็จะเขาใจในงานศิลปะของพวกเขาวาทําอะไรและตองการอะไร ผูเรียนควรตองศึกษาและหมั่นหา
ความรูจากนอกหองเรียน ความรูที่ไมใชแคที่ตนเองสนใจและสามารถนําขอมูลและประเด็นมาตั้งคําถาม ถกกับ
เพื่อนคนอื่นๆ ในมุมมองของตนเองและรับฟงจากคนอื่นได นั่นคือการเรียนที่โตกวาระดับปริญญาตรี ที่เราพูด
กันถึงเรื่องของความคิด มุมมอง และทัศนคติของงานศิลปะ มากกวาการทําตัวเปนแคชางฝมือในหลากหลาย
แขนงของงานศิลปะ ซึ่งเมื่อจบการศึกษาไปแลวคุณอาจจะถามตัวเองวา เรามาเรียนศิลปะเพื่ออะไร และศิลปะ
คืออะไร นัน่ คือคําตอบที่หลายคนในการศึกษาที่ระดับสูงถามตัวเอง ทั้งนี้ตองออกตัวกอนวา ผูเขียนไมไดเหอ
และชื่นชมการศึกษาของฝงตะวันตกจนปรักปรําการศึกษาบานเรา แตทั้งนี้ เพราะมองในความเปนจริงที่เกิด
และตั้งอยู จึงกลาที่จะเขียนในมุมมองของตัวเอง นําเสนอเพื่อใหเกิดการวิพากษในประเด็นปญหาที่มีขึ้นตอไป

พูดถึงงานที่เขารวมกับ (Department21) ตองอางอิงถึงหนังสือชื่อ “Thailand - same same, but


different (2008)” โดย โทมัส คาลัก (Thomas kalak) ซึ่งเปนชาวเยอรมัน ในหนังสือจะมีภาพที่คุนชินสายตา
คนไทยแตแปลกตาสําหรับชาวตางชาติ ถึงกับฉงนวาคนไทยชางชาญฉลาดที่สามารถจับเอาสิ่งของรอบตัวมา
ประยุกตใหเขากับชีวิตประจําวันไดอยางมีรสนิยม มองอีกทีมันก็เขากับอุปนิสัยของคนไทยที่สบายๆ สนุก
ขบขัน นี่คือนิสัยในดานที่ดี เชน ถุงเทาที่ไมใชงานก็นํามาผูกกับไมถูพื้นเปนไมถูพนื้ ขึ้นมาใหม เกาอี้พลาสติกที่
หักชํารุดก็เอาเชือกฟางมามัด มาสานใหเปนเกาอี้ที่ยังใชงานได หรือกระปอง ขวดน้ํา ก็นํามาใสทรายถวงปาย
พลาสติกโฆษณาไมใหปลิวได ทั้งหมดนี้คือไอเดียตั้งตนวา มันคือวิถีชีวิตของเราที่สามารถพบเจอไดทุกที่ และ
เปนอะไรที่ฝรั่งเขาไมทํากัน เพราะเขาตองประดิษฐสิ่งใหมๆ มารองรับการใชงาน แตของเรากลับประยุกต นั่น
คือขอดีของเรา ลองคิดดูถึงสภาพบานเรือน ถนน รานคา ของบานเราก็จะพบกับรายละเอียดเล็กนอยๆ ที่
นาสนใจหลายอยาง ในพื้นที่หนึ่งอาจจะมีหลายกิจกรรมที่มันทับซอนอยูในนั้น ซึง่ กิจกรรมทั้งหมดมันก็สามารถ
อยูและเดินทางไปดวยกันอยางไมเคอะเขินในมุมมองของคนไทย แตคนตางชาติอาจจะไมไดคิดเชนนั้น เพราะ
บางทีดวยนิสัยและกฎเกณฑของบานเมืองเขาที่มันมีระเบียบวินัยมาก ทุกคนจึงตองปฏิบัติตามกฎทั้งหมด
เพราะกฎหมายการจัดระเบียบสังคมของเคาคอนขางเครงครัด มองในอีกมุมก็ทําใหสังคมเปนระเบียบ แตอีก
มุมผูคนก็จะเครียดและพยายามแหกกฎนั้นอยูเสมอเชนกัน

จากกรุงเทพฯ ถึงลอนดอน มีบางอยางที่ไมคุนเคย บางอยางยากที่จะเขาใจสภาพวิถีชีวิตของผูคนและ


เมือง ทุกอยางรอบตัวดูจะไมสบายเหมือนอยูบานเราไปเสียหมด จนคําถามที่ตั้งขึ้นคือ คนในเมืองนี้ไมรูจักคํา
วา “สบายสบาย” กันหรือไร ทําไมทุกคนดูเครงเครียดกับทุกสิ่งจนลืมคิดไปวา “จริงๆ แลวชีวิตตองการอะไร”
ผมจึงคิดโปรเจกตขึ้นมาโดยใชชื่อวา “Sabai Sabai (Take it easy)” คือ การเลนกับพื้นที่ อยากเลนกับผูคน
และตั้งคําถามใหนักเรียนตางชาติวา ชีวิตนี้จริงๆ แลวตองการอะไร สิ่งที่งายแตมีความสุข กับสิ่งที่ยากแลวมี
ความสุข ความสุขอันไหนมันมากกวาหรือนอยกวากัน หรือแทจริงแลวสังคมที่พรอมไปดวยทุกอยางทางวัตถุ
อยางลอนดอน คือสังคมหลอกลวงใหมีความสุขปลอมๆ ในสิ่งอันสะดวกสบายนั้นหรือเปลา ถาไมมีอะไร หรือมี
นอยลง จะยังมีความสุขหรือเปลา ในทางกลับกัน การมีนอยนั้นเพียงพอกับความตองการของคนในประเทศ
หรือไม โดยเฉพาะในประเทศโลกที่สามอยางบานเรา นั่นคือคําถามของโปรเจกตนี้

พื้นที่ของ “สบาย สบาย” เปนพื้นที่วางปูเสื่อธรรมดา ไมมีเฟอรนิเจอรอะไร คือพื้นที่ที่ทุกคนเขามาทํา


อะไรก็ได มานอน อานหนังสือ ทํางาน กินขาว กินขนม หรือไมตองทําอะไรแคเขามาก็ได มีกติกาขอเดียวคือ
ถอดรองเทาและหามทําสกปรก นั่นคือสิ่งที่คิดวาเรียบงายและธรรมดาที่สุด และลองดูวาผูคนที่คุนเคยกับการมี
สิ่งใชสอยอํานวยความสะดวกตางๆ จะรูสึกอยางไร จะสบายหรือไม โดยผมไดจัดกิจกรรมตางๆ ไวในพื้นที่ปู
เสื่อนี้ ไมวาจะเปนพิธีเปดที่ทําอาหารไทยใหฝรั่งกินกันอยางสบายใจโดยนั่งกับพื้นเปบกันเลย ซึ่งตอนแรกทุก
คนยังสงสัยวาทําไมทําอาหารไมใชเตา จะเอาโตะ เกาอี้อะไรอยางไรบาง แตผมกลับตอบวาไมจําเปน ลองดู
แลวกัน จากนั้นเราก็มานั่งดูหนังกลางแปลงในพื้นที่เดิมในอาทิตยถัดมาพรอมเสิรฟของกินตลอดการดูหนัง ฝรั่ง
หยิบหมอนคนละใบ บางนอน บางนั่งกับพื้นดูไปจนจบเรื่อง แมบางคนจะบอกวาเมื่อยบาง บางคนกลับชอบ
และเผลอหลับไปเลยก็มี

กิจกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ ที่นํามาทดลองเลนกับคนที่นี่บาง เชน เรื่องการดูดวงซึ่งปกติบานเรานี่ถือ


วาเปนรายไดอยางงดงามใหกับหมอดู ไมนาเชื่อวาคนทุกระดับทุกการศึกษาก็ยังเชื่อหมอดู ซึ่งตางจากที่นี่ซึ่ง
เชื่อหมอจิตวิทยามากกวา เลยใหนองคนไทยคนหนึ่งที่พอจะดูลายมือเปนมาดูใหฝรั่ง ซึ่งตองจองผาน
อินเทอรเน็ต และยอดจองถลมทลายมากจนไมนาเชื่อ แตรับไดเพียงแคสิบคนเทานั้น จริงๆ แลวเปนโปรแกรม
ที่เตี๊ยมไวกับนองหมอดูวา เราจะดูจริงๆ ตอนแรก แตในตอนทาย ทุกคนที่มาดูเราจะบอกวามีเคราะหตองเอา
สิ่งศักดิ์สิทธที่ทําขึ้นมาไปบูชาที่บาน ซึ่งเกือบทุกคนก็รับไปอยางวางาย และโปรเจกตดูหมอก็กลายเปนที่เลื่อง
ลือและหลายคนก็อยากจะใหมีอีก ไมนาเชื่อวาฝรั่งในทามกลางโลกที่เจริญแลวก็ชอบอยากรูอนาคตเหมือนกัน

มาตอกย้ําเรื่องความเชื่อกันตอดวยการแสดง (Performance) เกี่ยวกับความเชื่อเชนเดียวกัน โดยได


นองคนหนึง่ ที่เรียนดานนี้มาแสดง โดยมีแนวความคิดเกี่ยวกับพุทธศาสนา ความเชื่อ ความศรัทธาและงมงายที่
คนไทยมี แตไมรูวาฝรั่งจะมีดวยหรือเปลา นองคนนี้คิดการแสดงเปนพระสงฆใสจีวรและมาแสดงในพื้นที่ปูเสื่อ
โดยใหผูคนที่ผานไปมาปดทองที่ตัวเอง โดยประเด็นคือทุกวันนี้เรามีพิธีกรรมหลายอยางในพุทธศาสนา แตเรารู
ความหมายวาทําไปทําไมกับพิธีกรรมเหลานั้นหรือไม หรือเราทําเพราะวาทําตามคนอื่นโดยที่ไมไดคิดที่
อยากจะรูหลักหรือแกนของศาสนาเลย ผมใหฝรั่งไปปดทองที่ตัวนักแสดงโดยผมเปนคนนํา และทุกคนก็ทําตาม
โดยที่ไมมีใครถามวาทําไปทําไม รูแตวาทุกคนยอมทํา ก็เหมือนกับคนไทยนะครับ จากนั้นเราก็ยายไปแสดงที่
ผับของมหาวิทยาลัยโดยมีคนกินเบียร เลนโตะสนุกเกอร โดยใหนองเขาไปนั่งกลางหองและใหคนเหลานั้นมา
ปดทอง และก็เปนเหมือนเดิม ทุกคนใหความรวมมือ เปนองคประกอบศิลปที่สวยงามและมันก็ขัดแยงกับ
สถานที่ในบริบทของงานศิลปะวา จริงๆ แลว พิธีกรรมกับศาสนาทุกวันนี้มันเดินไปในทางเดียวกันหรือขัดแยง
กัน นั่นคือคําถามของสังคมไทย ที่สะทอนออกมาจากการกระทําของฝรั่งที่ไมรูในความหมายเหมือนกัน แตก็
ทําไปตามๆ กัน

กิจกรรมสุดทายของโปรเจกตคือการนั่งสมาธิ คือผมสนใจในกิจกรรมของทุกคนรอบขางวา นักเรียน


แตละคนชางคิดประดิษฐอะไรที่ยากๆ เกินความสามารถความรูของผมใหเปนนวัตกรรมใหมได แตผมลองเชิญ
พวกเขามานั่งเฉยๆ หลับตาเปนเวลาหนึ่งชั่วโมงนัน้ ทําไดหรือไม สิ่งที่ยากพวกเขากลับทําได แตแคนั่งเฉยๆ ที่
ผมรูสึกวาเปนสิ่งที่งาย พวกเขากลับทําไมได นั่นก็คือบทสรุปของโปรเจกตของผม หลังจากโครงการไดสิ้นสุดลง
ทุกคนก็มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและทุกคนก็ลงมติวาพื้นที่ของผมนั้นเปนพื้นที่ที่สบายที่สุด ถามี
ครั้งตอไปก็อยากใหมีพื้นที่นี้ ที่ที่ทุกคนสามารถใชงานไดจริงและปรับเปลี่ยนการใชงานไดอยางงาย และสบายๆ

ตอมาในงานโชวสุดทายของนักเรียนที่ตองสําเร็จการศึกษาในปนี้ตองนําผลงานทั้งหมด 20 ภาควิชามา
จัดแสดง ซึ่งกลุม Department 21 ก็ไดรับเชิญใหเขารวมเปนภาควิชาที่ 21 ดวย โดยเราไดพื้นที่เปนชานโลงมี
ตนไมรมรื่น พวกเราจึงคิดกิจกรรมที่จะนํามาใชในการโชวนี้ ซึ่งหลักๆ ก็คือการเชิญแขกรับเชิญมาพูดคุย
สัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลากหลายแงมุม เชน กลุมอาจารยสถาปตยจะนําเสนอเรื่องเกี่ยวกับ
งบประมาณของมหาวิทยาลัยวารายรับรายจายในแตละปมากนอยเพียงใด ซึ่งขอมูลนี้ฟงดูไมเกี่ยวกับนักเรียน
เทาไหร แตคิดอีกที นี่คือปจจัยเบื้องตนในการออกแบบ ซึ่งตองคํานวณจากงบประมาณที่มี แคนี้ก็นาสนใจ อีก
กลุมพูดถึงเรื่องการออกแบบอาหารซึ่งปจจุบันนั้นเชื่อมโยงกับทุกศาสตรในการทํา คนทําอาหารก็ตองมีศิลปะ
ทั้งการปรุงและการออกแบบหนาตาของอาหาร เปนตน
ตลอดสองสัปดาหที่แสดงงาน เรามีกิจกรรมทุกวัน โดยที่วันเปดและวันปดทางกลุมก็ใหเกียรติกับผม
มาแสดงงานของตัวเองในวันเปด ซึ่งผมไดทําวันเปดดวยการตอนรับชงชาและพูดคุยเหมือนเปนการแสดงซึ่ง
แนวความคิดจริงๆ แลวนั้นเปนเรื่องของการเมืองในโรงเรียนนี้เหมือนกัน จะขอเลาคราวๆ วานักเรียนตางชาติ
นั้นตองจายคาเลาเรียนที่แพงกวาคนที่นี่เกือบ 15 เทา แตคุณภาพการศึกษานั้นพวกเรากลับรูสึกวามีสอง
มาตรฐานในการเรียนของที่นี่ ที่ใหโอกาสกับคนชาติตนเองมากกวานักเรียนตางชาติที่ไมไดใชภาษาอังกฤษได
เหมือนคนพื้นถิ่น ผมจึงปนถวยชาขึ้นมา 1,000 ใบโดยใชเงินจากทางภาควิชาที่ใหแตละคน คนละ 500 ปอนด
ในแตละปมาทํางาน เนื่องจากเงินจํานวนนี้ถาไมใชก็จะไมไดคืน และสองเทอมที่ผานมาผมใชไปแค 30 ปอนด
เหลืออีก 470 ปอนด ซึ่งไมสามารถเบิกออกมาเปนเงินสดได ตองซื้อของใน shop ของภาควิชาเทานั้น ผมจึง
ซื้อดินมาปนถวยชาทั้งหมด 1,000 ใบ แจกจายใหกับผูคนที่มาในงาน พรอมทั้งใหถวยชากลับไปดวย แตในถวย
ชาก็จะเขียนไววา Of 24,000 pounds, I have 470 pounds to return to the RCA. In Thailand,
people are generous. ซึ่งหมายความวา จากคาเทอม 24,000 ปอนด ขาพเจายังเหลือเงิน 470 ปอนด
ขาพเจาสมควรคืนเงินนี้ใหกับมหาวิทยาลัย เพราะวาคนไทยนั้นใจดีมีเมตตา ฟงดูแลวก็เหมือนเปนการประชด
เยยหยันอะไรบางอยาง แตเรานํามาแสดงออกในลักษณะของการเชื้อเชิญ ตอนรับดวยน้ําชาซึ่งเหมือนเปนการ
เคารพในมุมมองของคนตะวันออก แตในใจเรานั้นกลับรูสึกถึงการถูกเอาเปรียบโดยคนตะวันตก ในวันสุดทาย
พวกเรายังไดเกียรติใหทําอาหารไทยโดยนักเรียนไทยที่มีแค 4 คนที่นี่ชวยกันทํา และจําหนายใหกับผูคนที่มาใน
งาน ซึ่งทุกคนก็เอยปากชมถึงอาหารไทยวาอรอย แตกลับขาดทุนเพราะพวกเราใจดีแถมไมอั้นเพราะคนไทยใจ
ดีนั่นเอง

ทั้งหมดนี้คืองานทดลองของผมที่ไดรวมทํากับกลุม Department 21 ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดคือทํานอก


เวลาเรียน แปลวาตองรับผิดชอบทั้งงานในภาควิชาและงานกลุมทดลองนี้ดวย แตก็สุขใจที่ไดทํา ไดทดลองใน
สิ่งที่อยากทํา อยากเสนอ กลับมามองบานเราอีกครั้ง ผมคงไมมีโอกาสเชนนี้ที่นี่แนๆ เพราะหลายคนตางเรียน
เพื่อหวังสิ่งเดียวคือใบปริญญา ซึ่งในทายที่สุดแลวก็กลายเปนแคภาพประดับฝาผนัง ผมอยากใหนักเรียน
นักศึกษาบานเรามีโอกาสทดลองทําอะไรที่นอกกรอบประเพณีที่เคยมีมา ลองทํา ลองศึกษา แลวความคิดนั้น
จึงจะพัฒนาขึ้นมาได ก็ไดแตหวังวาการศึกษาบานเราจะยอมรับและเขาใจในสิ่งที่ไมเคยมีมากอน ซึ่งนัน่ ไมได
แปลวา “ไมควรทํา” จริงไหมครับการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ภาพประกอบจาก Royal College of Art

พื้นที่ Sabai Sabai

ชมภาพยนตร
ดูดวงใหฝรั่ง

Performance
พื้นที่แสดงงานของ Department 21ในโชวสุดทาย

เวิรกชอปของโชวสุดทาย

ถวยชา 1,000 ใบ
HopeǿtoǿdwellǿinǿfearǿandǿTheǿImpossibleǿDream.
ความหวังภายใตความหวาดกลัว และความฝนอันสูงสุด
ศิลปน ปฐมพล เทศประทีป และ ประพัทธ จิวะรังสรรค
The Office of Education Affairs, Royal Thai Embassy London
Hockney Gallery, Royal College of Art, London

“ บางทีความเร้นลับและความกํ ากวมอาจจะนําพามาซึ่ งแรงกระตุน้ ในการค้นหาช่องทางเข้าถึงการรู้แจ้ง


ได้ ”

นิทรรศการศิลปะ “ความหวังภายใตความหวาดกลัว” และ “ความฝนอันสูงสุด” ประกอบดวย ศิลปะ


จัดวาง ภาพถาย วีดีโอ เสียง และ ละคร เกิดขึ้นมาจากการสนทนาแลกเปลี่ยนกันระหวางสองศิลปนเกี่ยวกับ
แรงสั่นสะเทือนของเหตุการณความขัดแยงและการแปรผันของสถานการณในชวงหลายปที่ผานมา บวกกับ
ความสงสัยถึงที่มาที่ไปในเชิงสังคม การเมือง และวัฒนธรรม จนมาถึงความเปนไปไดที่จะนําเสนอในแบบวิธีคิด
เชิงศิลปะ ปฐมพลและประพัทธเลือกใชสถานที่เฉพาะเจาะจงเปนจุดเริ่มตนในการสํารวจ โดยการตีความจาก
สิ่งที่หลงเหลือในอดีตในสํานักงานผูดูแลนักเรียนในประเทศอังกฤษ เชน รูปถายหมูของนักเรียนไทยในสมัย
โบราณ ตัวหนังสือจากบทความใน สามัคคีสาร ซึ่งเปนวารสารที่รวบรวมบทความที่นาสนใจในหลากหลาย
ประเด็นที่เขียนและจัดทําขึ้นโดยนักเรียนไทยที่มาศึกษาตอ ณ ประเทศอังกฤษที่มีมายาวนานเปนปที่ 110 รวม
ไปถึงในหองสมุดที่มีหนังสือเนื้อหาเขมขนและหาอานไดยากในสมัยนี้ รวมไปถึงหลักฐานกิจกรรมตางๆ ของ
กลุมนักเรียนไทยในอดีตตั้งแตในสมัยรัชกาลที่ 4 เปนตนมา ทั้งหมดนี้เปนดั่งรองรอยความสัมพันธ ที่เชื่อมโยง
กันระหวางการตกหลนหายไปของประวัติศาสตรสังคมและการเมืองไทย ที่อาจมีสวนรวมกําหนดรูปรางเปน
ภาพความเปนอยูในสังคมไทยจนถึงปจจุบัน อยางไรก็ตาม หลักฐานขอเท็จจริงทางประวัติศาสตรอาจจะไมใช
ผลลัพธที่สําคัญที่สุด หากแตเปนการเปดพื้นที่ใหทบทวนและหยั่งรูถึงการมีอยูและสิ่งที่ขาดหายไป สิ่งที่เคยมี
อยูและอะไรก็ตามที่กําลังอาจจะเกิดขึ้นซึ่งในเชิงเปรียบเทียบแลว งานชุดนี้นําเสนอการพยายามเขาถึงเสนแบง
กั้นที่มองไมเห็นระหวางความเชื่อที่ถูกขับเคลื่อนอยูในสังคมกับสิ่งที่กําหนดใหสังคมนั้นขับเคลื่อนไปในทิศทาง
(ไหน) ที่เรากําลังเผชิญอยู

สองนิทรรศการจัดขึ้นในเดือนที่มีวันสําคัญหลายเหตุการณ ตางสถานะ ซึ่งจัดกันตอเนื่องตั้งแต


พฤศจิกายนและสิ้นสุดในวันรัฐธรรมนูญของธันวาคมป 2010 นิทรรศการแรก (“Hope to dwell in fear”
หรือ “ความหวังภายใตความหวาดกลัว” จัดที่แกลลอรีฮอกนีย กรุงลอนดอน (Hockney Gallery, London)
นั้นเปนผลและหลักฐานสัมพันธกับอันหลัง (The Impossible Dream หรือ “ความฝนอันสูงสุด” จัดที่
สํานักงานดูแลการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตไทยประจํากรุงลอนดอน (The Office of Education Affairs,
Royal Thai Embassy London) ซึ่งเปนเหตุและจุดเริ่มตนของประเด็นทั้งหมดที่เกิดขึ้น จนกลายมาเปน
นิทรรศการที่ตองการคนหาที่มาของเรื่องราวและเงื่อนงําอะไรบางอยางที่เกิดขึ้น จนความรูแจงที่เฉลยนั้นอาจ
อยูในบริบทของงานศิลปะ ที่รอคอยการตีความจากรองรอยในอดีต

จากตอนหนึ่งในสูจิบัตร
“ บนผนังยาวมีรูปถ่ายหมู่ของคนร่วมชาติ ทุกคนดูภมู ิฐาน แม้ อยูใ่ ต้ ร่มไม้ ใหญ่ แสงลอดผ่านชุดสูท
สีเข้ ม บ้ างกอดอก บ้ างยืน บ้ างนัง่ บ้ างยิ ้ม ผ่านชีวิตในเมืองหมอกฝนอันยาวนาน ในห้ องสมุด บานเปิ ดตู้
หนังสือดูแปลกตาจากที่เคยเห็น ราวกับว่ามีกลไกอะไรซ่อนไว้ เหมือนบรรดาหนังสือในตู้ที่ปิดบังอะไร
บางอย่าง บางทีเจ้ าของหนังสืออาจจะต้ องการบอกเรื่ องราวผ่านตัวหนังสือ ที่รอคอยการจัดเรี ยงตาม
เนื ้อหาเชิงสัญลักษณ์ หน้ าห้ องเดียวกันมีป้ายจารึกสีทองบ่งบอกการก่อกําเนิดของสถานที่และเรื่ องราวจาก
นี ้

เมื่อเข้ าไปยังห้ องโถงใหญ่สคี รี ม แกรนด์เปี ยโนสีเข้ มตัดกับสีของผนัง แสงลอดหน้ าต่างผ่านม่านสี


แดงเลือด ทําให้ ดอู บอุ่นจากความเยือกเย็นของอดีต คนกลุม่ หนึง่ กําลังยืนรอถ่ายรูปอยูก่ บั ผนังเดียวกับรูป
สมัยอดีต ฤากาลเวลาจะย้ อนกลับมา ผ่านดวงตา รอยยิ ้ม ไปสูเ่ บื ้องบนอีกครัง้ แลไปเบื ้องหน้ าละครกําลัง
ดําเนินเรื่ องถึงตอนสนุก ถึงตอนที่พระนางกําลังสือ่ ถ้ อยความจริ งของกันและกัน ผ่านตัวตนระคนไปกับ
เหตุการณ์บ้านเมือง อาหารที่อยูร่ ะหว่างบทสนทนาดูจะรสน้ อยไปถนัดเมื่อเทียบกับบทเจรจา

เดินตามความลวง มาจนถึงตอนสุดท้ ายก่อนที่จะถูกปลุกให้ ตื่น ยังจําได้ ดีเสมอว่า เสียงเพลง


บรรเลงที่แว่วมา บ่งบอกถึงห้ วงอารมณ์ที่ไม่เคยเป็ นไปได้ เช่นเดียวกับความฝั นอันเลือ่ นลอย ทีไ่ ม่สามารถ
แสดงออกได้ แม้ ร้ ูความจริ งอันใดก็ตาม หมอกควันเริ่ มปกคลุมม่านสายตาลงมาถึงใต้ ฝ่าเท้ า และเมื่อถึง
เวลานั ้น ก็ไม่เห็นใครอีกเลย เพราะความจริ งนั ้นอยูไ่ ด้ แค่ในความฝั นเสมอ”

จากคําพรรณนาขางตนที่ไดแรงบันดาลใจมาจากสถานที่จริงที่สํานักงานผูดูแลนักเรียนในประเทศ
อังกฤษนั้น ครอบคลุมถึงทุกชิ้นงานที่จัดแสดงทั้งสองนิทรรศการนี้ ภาพถายหมูที่พยายามจะถายขึ้นใหมกับ
นักเรียนในสมัยปจจุบันที่เรียนดานศิลปะในอังกฤษ เพื่อเปนการเติมเต็มประวัติศาสตรจากภาพถายของ
นักเรียนไทยในสมัยโบราณใหมีความตอเนื่องมาจนปจจุบัน จดหมายจากชางภาพที่อนุญาตใหใชรูปไดบางรูป
ในความคิดของชางภาพวาเหมาะสมกับบริบทเชิงความคิดที่ยอนแยงสังคมปจจุบัน จนลืมคิดถึงความเปนจริงที่
ยังตั้งอยู ซึง่ บงบอกถึงความหวาดกลัวในการทํางานศิลปะที่อยูภายในของศิลปนทุกผูนาม ถูกจัดวางประกอบ
กับงานวีดีโอเบื้องหลังการถายภาพที่ไรเสียง แตยังคงมีพลังในการสรางสรรคและเกิดการทดลองเชิงสัญลักษณ
บางอยางที่มีอยูจริงในสังคมไทย
หองสมุดที่มีหนังสือหลากหลายปก ทั้งคนแตงเปนนักเรียนที่มาเรียนที่นี่ ที่เปนทั้งสามัญชนและ
ราชวงศถูกจัดวางอยูในตูที่มีบานเปดแปลกกวาที่เคยเห็น บางทีหนังสือแตละเลมอาจจะรอการอานเพื่อตีความ
หรือรอการจัดขึ้นใหมโดยใชกระบวนการทางศิลปะเขามาจัดการ กระทั่งการกลับสันหนังสือแลวจัดเรียงใหม
โดยหยิบยกความหมายของบางเลมใหเปดเผยโดยมิทันไดสังเกต เนื้อหาที่รอยเรียงกันนั้นจะเกิดเปน
ความหมายทางประวัติศาสตรที่ถูกเก็บไวรอคอยการชําระ หนังสือที่วางตั้งสูงบนโตะคือการจัดเรียง รวมถึงรอย
เรียงเนื้อหาที่เกิดขึ้นเชนกัน แตปริมาตรและเนื้อหาอาจจะมีความเสี่ยงถาเกิดพลาดพลั้งโคนลงมา การจัดวาง
หนังสือในหองสมุดทั้งหมดถูกบันทึกเสียงของการกระทําที่เปดพรอมไปกับงานศิลปะจัดวางในหองเพื่อแสดงถึง
การมีอยูจริงที่เกิดขึ้นตั้งแตในอดีต เมื่อไหรไมมีใครทราบ แตการกระทําทุกอยางยอมเปนประวัติศาสตรของใน
วันนี้ เฉกเชนเดียวกันกับสถานการณบานเมืองในวันนั้น

ละครที่สะทอนและสะเทือนทุกอยางถูกจัดแสดงราวกับโฆษณาชวนเชื่อในสังคมไทย การถูก
ปรับเปลี่ยนแกไขบททุกครั้งจนถึงวันที่ทําการแสดง เพราะความกลัวและไมแนใจในบริบทที่สะทอนกับสังคมที่
ไมมีอะไรที่เปนเรื่องจริง ความจริงอาจเขียนเพื่อใหลวง ใหขบขัน ทั้งที่มันมีอยู แตไมมีใครกลาเปดเผยและยอม
รับรูถึงสิ่งที่เปน ตัวละครชื่อเดียวกันสองบุคลิกตางพยายามคนหาและลอลวงทั้งตัวเองและคนใกลชิด จนไม
อาจจะกลาวไดวาบทสรุปตอนจบนั้นเปนเชนไร นอกจากการหาคําตอบในความวางเปลาที่อยูเบื้องหนา แลว
เสียงจากไวโอลินก็บรรเลงปดดวยทอนจบของอารมณฉุนเฉียวและสับสน เสียงปรบมือเบาลงพรอมกับความเวิ้ง
วาง

ชีวิตจะเปนอยางไร ถาไมพยายามกลาที่จะทําบางสิ่งบางอยาง ในความหวาดกลัวยอมจะมีความหวัง


ของการดํารงอยู ในความฝนยอมตั้งอยูบนพื้นฐานของความจริง สิ่งที่เกิดขึ้นในปจจุบันยอมเปนอดีตของ
อนาคต และจนกวาวันนั้นจะมาถึง
แด่ปัญญาชนผูไ้ ม่สนใจการเมือง

สามัคคีสารประจําป พ.ศ. 2518


โดย “ออตโต เรอเน คาสติลโล”

วันหนึ่ง จะไมมีใครถามพวกทาน
ประชาชนผูไรปญญาของเรา ถึงความเหลวไหล
จะลุกขึ้นถาม ของความคิดที่กําหนดความดีและความเลว
พวกปญญาชน ซึ่งสรางขึ้นมาจากเงา
ผูไมสนใจการเมือง ของการโกหกทั้งมวล

เขาจะถามวา ในวันนั้น “ผูไรปญญา”


ทานไดทําอะไรบาง คนธรรมดาจะเดินมา
เมื่อประเทศชาติของเรา ผูคนซึ่งไมเคยปรากฏอยูในหนังสือและบทกวี
กําลังดับสลายไป ของเหลาปญญาชนผูไมสนใจการเมืองเลย
อยางชาชา ทุกวันเขาจะสั่ง
ราวกับกองไฟที่สวยงาม ขนมปงและนม
คอยคอยหรี่แสงไปสูความอางวาง อาหารและไข
ผูคนซึ่งปะชุนเสื้อผาใหทาน
จะไมมีใครถามพวกทานถึงเรื่องการแตงกาย ขับรถใหทาน
การหลับพักผอนอันยาวนาน ดูแลสุนัขและสวนของทาน
หลังอาหารกลางวันไมมีใครตองการจะรู และทํางานใหแกทาน
แลวที่สุดพวกเขาจะถาม แลวที่สุดพวกเขาจะถาม
เกี่ยวกับการตอสูกับความคิดที่วางเปลา ทานไดทําอะไรบางเมื่อเจอคนจนไดรับความทุกข
และแสนจะไรประโยชน เมื่อชีวิตและความรื่นรมย
ไดถูกทําลายไปจากพวกเขาจนหมดสิ้นแลว
จะไมมีใครสนใจ
ถึงเรื่องการศึกษาที่ใหเงินตอบแทนแกทานมากขึ้น * ปญญาชนผูไมสนใจการเมือง
จะไมมีใครถามพวกทาน แหงประเทศชาติอันเปนที่รักของเรา
ถึงเรื่องราวของกรีก ทานจะไมมีวันสามารถตอบได
หรือถามถึงความรูสึกแปลกแยก นกแรงแหงความเงียบงัน
เมื่อทานรูวาชีวิตสวนหนึ่งของทาน จะสาวไสความทระนง
เริ่มจะตาย ความทุกขทรมาน
อยางคนขลาด จะกัดกรอนจิตวิญญาณของทาน
และแสนจะไรประโยชน
คอยคอยหรี่แสงไปสูความอางวาง
*แปลเพิ่มเมื่อพฤศจิกายน 2553 จากครั้งแรกเมื่อมิถุนายน 2513 จากหนังสือ สามัคคีสาร

You might also like