You are on page 1of 31

Page |1

ล้มละลาย
การประสบปัญหาทางการเงิน
ปัญหาทางการเงินสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การที่ลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ กับ การที่ลูกหนี้มี
หนี้สินล้นพ้นตัว
1. ลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้
การที่ลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ได้นั้น คือ การที่ลูกหนี้ขาดกระแสเงินสดที่จะมาชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ กล่าวคือ ลูกหนี้มี
ทรัพย์สินมากเพียงพอที่จะชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้แล้ว เพียงแต่ว่าลูกหนี้ไม่มี ทรัพย์สินที่เป็นเงินสดเท่านั้น เช่น บริษัทมีทุนจดทา
เบียน 10 ล้านบาทและไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร SCB อีก 10 ล้านบาท ต่อมาทราบว่าจะมีรถไฟฟ้าตัดผ่านบริเวณหน้ามหาลัยก็เลย
นาเงินสดไปซื้อที่ดินเพื่อเก็งราคาทั้งหมดแล้วต่อมาต้องชาระหนี้ให้กับธนาคาร ในกรณีนี้ถึงแม้จะมีที่ดินที่มีมูลค่าสูงมาก แต่ก็ไม่ มี
เงินสดที่จะไปชาระให้กับเจ้าหนี้ได้
2. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ การที่เมื่อรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ แล้วก็ยังมีไม่เพียงพอที่จะชาระหนี้
ให้แก่เจ้าหนี้ได้ เช่น ต้องการเปิดร้านขายกาแฟที่คณะนิติศาสตร์จึงไปกู้ยืมเงินธนาคารมาเป็นจานวน 1,000,000 บาทและมีเงินที่
เอาไว้ลงทุนอยู่แล้วอีก 1,000,000 บาทต่อมาปรากฏว่าเกิดน้าท่วมมหาวิทยาลัยจนทาให้ร้านค้าเสียหาย เมื่อรวบรวมทรัพย์สินที่
เหลือแล้วมีมูลค่าเพียง 300,000 บาทเท่านั้น เมื่อธนาคารมาเรียกให้ชาระหนี้ก็มีเงินไม่เพียงพอที่จะชาระให้กับธนาคาร
เมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาทางการเงินแล้วโดยปกติลูกหนี้ก็มักจะกลายเป็นลูกหนี้ผิดนัด ซึ่งการที่ลูกหนี้กลายเป็นลูกหนี้ผิด
นัดนั้นมักจะส่งผลที่สาคัญ 4 – 5 ประการด้วยกัน คือ (1) จากเดิมที่ลูกหนี้อาจเสียดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีลูกหนี้จะถูกคิดดอกเบี้ย
ผิดนัดซึ่งอาจสูงขึ้นถึงร้อยละ 13 ร้อยละ 18 ต่อปี ต่อมา (2) ดอกเบี้ยดังกล่าวมั กจะมีการกาหนดให้เป็นดอกเบี้ยทบต้นทาให้
จานวนดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ติดอยู่ยิ่งสูงขึ้นไปอีก และ (3) ในสัญญามักมีข้อตกลงที่กาหนดเงินที่ลูกเบี้ยชาระนั้นจะถูกไปล้างดอกเบี้ย
ก่อน ดังนั้น ต่อให้ลู กหนี้ ชาระหนี้ ไปมากแค่ไหนก็ตามเงิน ต้นของลูกหนี้ก็จะไม่ ได้ลดลงเลย และ (4) การจะไปหาทุ นใหม่เพื่ อ
ประกอบกิจการก็จะยิ่งทาได้ยากเพราะคนอื่นก็จะกลัวว่าลูกหนี้จะไม่สามารถชาระหนี้ได้จึงไม่กล้าที่จะทาธุรกิจด้วย ดังนั้นเมื่อ
ลูกหนี้ประสบปัญหาทางการเงินจนกลายเป็นลูกหนี้ผิดนัดแล้วลูกหนี้จึงติดอยู่ในวังวนแห่งหนี้ที่หาทางออกไม่ได้เลย
Page |2

การแก้ไขปัญหาเมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาทางการเงิน
การแก้ ไขปั ญ หาเมื่ อลู ก หนี้ ป ระสบปั ญ หาทางการเงิน สามารถแบ่ งได้ เป็ น 2 รูป แบบ คื อ (1) การแก้ ไขปั ญ หานอก
พระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งก็คือการแก้ไขปัญหาโดยอาศัย บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น
การทาสัญญาประนีประนอมยอมความ กับ การทาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ (2) การแก้ไขปัญหาตามกฎหมายล้มละลาย หรือ
การแก้ไขปัญหาตามกฎหมายฟื้นฟูกิจการ ซึ่งการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 รูปแบบนี้จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังจะกล่าว
ต่อไปในภายหลัง
1. การแก้ไขปัญหานอกพระราชบัญญัติล้มละลาย
(1) การทาสัญญาประนีประนอมยอมความ
การทาสัญญาประนีประนอมยอมความ คือ การที่ลูกหนี้เจ้าหนี้ตกลงระงับหนี้เดิมและผูกพันตามหนี้ใหม่ที่ทากันขึ้นโดย
ต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน เช่น นาย ก ขับรถชน นาย ข เป็นการกระทาละเมิดส่ งผลให้นาย ก ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ให้กับ นาย ข แต่นาย ก ต้องการที่จะตัดปัญหาที่จะเกิดในภายหลัง นาย ก จึงตกลงที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับนาย ข เป็น
จานวนเงิน 200,000 บาท โดยนาย ข ก็ตกลงรับเงินไว้แล้วจะไม่ดาเนินคดีกับนาย ก อีก ผลที่เกิดขึ้นคือหนี้ละเมิดระหว่ าง นาย ก
กับนาย ข ย่อมเป็นอันระงับและนาย ก กับนาย ข ย่อมผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความแทน
ข้อดีของการทาสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ คือ การทาให้หนี้เดิมที่ไม่มีความแน่นอนกลายเป็นหนี้ที่มีความ
แน่นอน เช่น ในสัญญาซื้อขายกันแบบมี Credit บางครั้งลูกจ้างของผู้ขายที่ไปเก็บเงินจากคนซื้อก็อาจจะยักยอกเงินของบริษัท ทา
ให้นายจ้างที่เป็นบริษัทก็ไม่ทราบว่าจริงๆแล้วผู้ซื้อได้ชาระหนี้ไปแล้วเป็นจานวนเท่าไหร่กันแน่ ดังนั้น บริษัทจึงอาจตกลงทาสัญญา
ประนี ป ระนอมยอมความเพื่ อ ระงั บ หนี้ ซื้ อ ขายแบบมี Credit ที่ ท ากั น ลงและก็ ผู ก พั น ตามหนี้ ที่ มี ค วามแน่ น อนตามสั ญ ญา
ประนีประนอมยอมความแทน อย่างไรก็ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มี
ข้อเสีย คือ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นส่งผลให้หนี้เดิมเป็นอันระงับ ดังนั้นหนี้อุปกรณ์ที่ติดอยู่กับหนี้เดิมก็
ย่อมถูกระงับลงไปด้วย เช่น ในสัญญาซื้อขายแบบมี Credit ข้างต้นหากปรากฏว่ามีการทาจานา หรือจานองเอาไว้เพื่อประกัน
ชาระหนี้ แล้วต่อมามีการทาสัญญาประนีประนอมกันขึ้น การจานาหรือจานองที่ได้เคยทาไว้ก็ย่อมเป็นอันระงับลงตามสัญญา
ประธานคือการซื้อขายแบบมี Credit
(2) การทาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
สัญญาปรับโครงสร้างหนี้นั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาปรับโครงสร้างหนี้เป็นเพียงการชาระหนี้ที่มี
เงื่อนไขที่เกิดขึ้นตามเสรีภาพในการแสดงเจตนา เป็นสัญญาที่ไม่มีชื่ออย่างหนึ่ง ดังนั้นสัญญาปรับโครงสร้างหนี้จึงไม่มีผลเสียในแง่
หนี้อุปกรณ์แม้จะมีการตกลงกันไปก็ไม่ได้ทาให้สัญญาจานา จานอง หรือค้าประกันระงับลงไปแต่อย่างใด โดยสัญญาประโครงสร้าง
หนี้จะมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
(2.1) การรับสภาพหนี้ คือ การที่ลูกหนี้ได้ทาหนังสือยอมรับสภาพหนี้ว่าตนเองเป็นหนี้กันอยู่เท่าไหร่
(2.2) การกาหนดเงื่อนไขในการชาระหนี้ คือ การที่ตกลงกันว่าจะให้ลูกหนี้ชาระหนี้ภายใต้เงื่อนไขอะไร เช่น การทา
Haircut คือ กรณีที่เงินต้นในหนี้เดิมมีจานวนมากเพิ่มขึ้นทุกวันแล้วดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นรุงรังก็เลยขอตัดดอกเบี้ยลงบางส่วน หรือ
ตัดเงินต้น หรือตัดทั้งเงินต้นและตัดทั้งดอกเบี้ยเลย การทา Moratorium คือ การหยุดพักการบังคับชาระหนี้ไว้ก่อน เช่น การแยก
หนี้กับดอกเบี้ยออกจากกันแล้วก็ขอให้หยุดพักดอกเบี้ยเอาไว้ จากนั้นก็นาเงินมาชาระหนี้ในส่วนเงินต้นให้หมดก่อน เมื่อชาระ
หมดแล้วก็มาชาระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยต่อไป การขายไขมัน คือ การขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การที่มีที่ดินที่เคยซื้อ
Page |3

ไว้เก็งราคาเอาไว้แต่ก็ยังไม่ได้ขายสักที ก็เลยนาที่ดินดังกล่าวมาขายทิ้งไป หรือการแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งก็คือการที่ในองค์กรธุรกิจ


อย่างบริษัท ตัวบริษัทได้เปลี่ยนจากตัวเจ้าหนี้ให้มาซื้อหุ้นแล้วเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่เรียกว่าเจ้าของแทน
(2.3) ถ้าลูกหนี้ชาระหนี้ตามข้อ (2.2) แล้วเจ้าหนี้จะสละสิทธิในการเรียกชาระหนี้เต็ม
เช่น จากการที่ลูกหนี้รับสภาพหนี้นั้นสามารถรวบรวมได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่จานวน 15,000,000 บาท เจ้าหนี้ก็กาหนด
เงื่อนไขให้ ล ดจานวนหนี้ เหลื อ 8,000,000 บาทแทนตาม (2.2) ซึ่ งถ้ าหากลูก หนี้ ส ามารถชาระหนี้ ต าม (2.2) คื อ เงิน จ านวน
8,000,000 ได้แล้วเจ้าหนี้ก็จะสละสิทธิในการเรียกชาระหนี้เต็มเป็นจานวน 15,000,000 บาท แต่ถ้าลูกหนี้ไม่สามารถชาระหนี้ตาม
(2.2) ได้เจ้าหนี้ก็จะเรียกให้ลูกหนี้ชาระหนี้เต็มตามที่ลูกหนี้ได้ทาหนังสือรับสภาพหนี้ไว้
ข้อเสีย ของการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการนอกพระราชบัญญัติล้มละลายนั้นก็คือ ในกรณีที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายถึงแม้ว่า
ลูกหนี้จะสามารถเจรจาตกลงกับเจ้าหนี้แต่ละรายให้ทาสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือทาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ได้แล้วก็
ตาม แต่การทาสัญญาเหล่านั้นก็ผูกพันเฉพาะแต่เจ้าหนี้และลูกหนี้เป็นรายๆไปเท่านั้น เจ้าหนี้รายอื่นๆที่ไม่ได้ทาสัญญาด้วยก็
ยังคงสามารถฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายได้อยู่ดี
2. การแก้ไขปัญหาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย
ในการแก้ไขปัญ หาตามกฎหมายแพ่งที่ใช้หลัก first come first serve นั้นอาจทาให้เจ้าหนี้หลายคนเสียเปรียบได้
เพราะว่าในบางครั้งถ้าลูกหนี้มีทรัพย์สินเหลืออยู่น้อยแล้วเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งบังคับชาระหนี้ไปทั้งหมด ก็ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้ราย
อื่นไม่ได้รับชาระหนี้ ดังนั้นจึงมีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการล้มละลายแทน โดยในการแก้ไขปัญหานี้ จะมีหลักการที่สาคัญ คือ (1)
การฟ้องรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งชาระตามสัดส่วนแห่งหนี้เช่น ตอนแรกลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงแค่ 2 ล้านบาทแต่เป็น
เจ้าหนี้อยู่ 3 คน คนละ 1 ล้านบาท หากใช้กระบวนการทางแพ่งเจ้าหนี้คนที่ 1 กับเจ้าหนี้คนที่ 2 บังคับชาระหนี้ไปหมดแล้ว เจ้าหนี้
คนที่สามก็อาจจะไม่ได้รับชาระหนี้เลยก็ได้ทาให้เขาไม่ได้รับความเป็นธรรม ดังนั้น ในกฎหมายล้มละลายจึงเปลี่ยนแปลงเป็น
รวบรวมทรัพย์ของลูกหนี้รวบรวมเจ้าหนี้แล้วก็นาทรัพย์มาแบ่งเฉลี่ยให้เจ้าหนี้ทั้ง
(2) การไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยว่าลูกหนี้เป็นหนี้เพราะอะไรแล้วลูกหนี้มีทรัพย์สินอยู่ที่ไหนบ้าง ซึ่งในตามปกติคดีทาง
แพ่งเจ้าหนี้จะไม่สามารถเข้ามารู้ได้เลยว่าทาไมลูกหนี้ถึงไม่มีทรัพย์สินเพียงพอต่อการชาระหนี้ แต่ว่าในคดีล้มละลายนั้นเจ้าหนี้จะ
สามารถเข้ามาไต่สวนโดยเปิดเผยว่าเพราะอะไรลูกหนี้ถึงมีทรัพย์สินไม่เพียงพอต่อการชาระหนี้ได้ เพราะการที่ลูกหนี้มีหนี้เป็น
จานวนมากเช่นนี้นั้นมันกระทบต่อสาธารณะ
(3) การเปิ ดโอกาสให้ ลู กหนี้ ได้เริ่ม ต้ น ชี วิตใหม่ โดยการปลดให้ ลู กหนี้ ห ลุ ดพ้ นจากการล้ม ละลายเมื่อ มี เหตุต ามที่
กฎหมายกาหนด เช่น เมื่อลูกหนี้ล้มละลายเป็นเวลา 3 ปีแล้ว ซึ่งจะแตกต่างในคดีแพ่งการที่ลูกหนี้จะหลุดพ้นจากหนี้ได้อาจใช้เวลา
เป็นสิบปี ซึ่งการที่ลูกหนี้ยังคงค้างเป็นหนี้อยู่ไปเรื่อยๆนั้นอาจจะทาให้ลูกหนี้หมดกาลังใจในการที่จะทางานหาเงินอีกต่อไป ดังนั้นใน
คดีล้มละลายจึงมีการปลดจากการล้มละลายเมื่อพ้นไปจากเวลาที่กาหนดเพื่อให้ลูกหนี้ได้มีโอกาสได้เริ่มต้นชีวิตใหม่
Page |4

ภาพรวมกระบวนการในคดีล้มละลาย
เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้อยู่ในสภาวะ หนี้สินล้นพ้นตัว คือ สภาวะที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่เพียงพอที่จะชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้
แล้ว เจ้าหนี้ ก็จะมาฟ้อ งคดี ล้มละลายโดยการฟ้ องคดี ล้มละลายศาลก็จะพิ จ ารณาตามมาตรา 9 ว่าลูกหนี้เข้าลักษณะตามที่
กฎหมายกาหนดหรือไม่ นั้นก็คือ (1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ (2) จานวนหนี้ที่ลูกหนี้มีมีถึงจานวนขั้นต่าที่กฎหมายกาหนด
หรือไม่ และ (3) ลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในไทยหรือไม่ เมื่อศาลพิจารณาแล้วลูกหนี้เข้าองค์ประกอบทั้งสามอย่าง ศาลก็จะออก คาสั่ง
พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ซึ่งคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้นจะส่งผลที่สาคัญด้วยกันคือ การตัดอานาจในการทานิติกรรมของลูกหนี้ที่ผูกพันกอง
ทรัพย์สิน เพราะกฎหมายมองว่าเมื่อลูกหนี้จัดการทรัพย์สินของตนเองไม่ดีจนอยู่ในสภาพวะใกล้ล้มละลายแล้วการปล่อยให้ลูกหนี้
จัดการทรัพย์สินต่อไปก็มีแต่จะสร้างความเสียหาย นอกจากนั้นการที่ลูกหนี้มีอานาจในการจัดการทรัพย์สินก็มีแนวโน้มว่าลูกหนี้จะ
ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตน ศาลจะตั้งคนกลางขึ้นมาดูแลทรัพย์สินของลูกหนี้เรียกว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์จะดาเนินกระบวนการต่างๆ คือ ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์และประกาศในราชกิจจานุกเบกษาให้ประชาชนทราบ
และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะรวบรวมทรัพย์สิน ของลูกหนี้ หากลูกหนี้ได้ทานิติกรรมอะไรที่เป็นการยักย้ายถ่ายเท
ทรัพย์สินเจ้าพนักงานพิทักษ์ก็จะตามไปเพิกถอนนิติกรรมเหล่านั้ นแล้วก็นาทรัพย์สินของลูกหนี้กลับมา จากนั้นก็จะรวบรวมตัว
เจ้าหนี้ว่าใครบ้างที่เป็นเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ที่มาขอชาระหนี้นั้นเป็นเจ้าหนี้จริงไหม แล้วเจ้าพนักงานก็จะไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยและ
เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ซึ่งถ้าหากลูกหนี้ประนอมหนี้ก่อนล้มละลายไม่
สาเร็จศาลก็จะพิพากษาให้ล้มละลาย และเมื่อลูกหนี้ล้มละลายแล้วลูกหนี้ก็อาจจะหลุดพ้นจากการล้มละลายได้ การประนอมหนี้
หลังล้มละลาย การปลดจากล้มละลาย และการยกเลิกการล้มละลาย
Page |5

ประตูสู่การฟ้องคดีลม้ ละลาย
1. เจ้าหนี้ไม่มีประกัน (มาตรา 7, มาตรา 9)
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (มาตรา 9)1
การที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ การที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดมีไม่เพียงพอต่อการชาระหนี้ ซึ่งในทาง
ปฏิ บั ติ จะมี ปั ญ หาว่ าจะรู้ได้ อ ย่ างไรว่าลู ก หนี้ มี ท รัพ ย์สิ น เพี ยงพอต่ อ การชาระหนี้ ห รื อไม่ ดั งนั้ น ในมาตรา 8 จึงได้ก าหนดบท
สันนิษฐานเอาไว้ว่าหากมีข้อเท็จจริงตามที่กาหนดขึ้นแล้วจะถือว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่เพียงพอต่อการชาระหนี้ เช่น มาตรา 8 (9) 2
ลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามให้ชาระหนี้ ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 30 วัน แล้วลูกหนี้ไม่ได้ชาระหนี้ กฎหมาย
ก็จะสันนิษฐานว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินไม่เพียงพอต่อการชาระหนี้ แล้วภาระในการนาสืบก็จะตกแก่ลูกหนี้ว่าลูกหนี้จะต้องพิสูจน์ให้ได้
ว่าตนเองมีทรัพย์สินเพียงพอ
(2) จานวนหนี้นั้นไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทสาหรับบุคคลธรรมดา หรือ 2 ล้านบาทสาหรับนิติบุคคล
การดูจานวนหนี้ตาม (2) นี้คือ การดูว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ในกรณีที่
ลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทในกรณีที่ลูกหนี้เป็นนิติบุคคล
(3) หนี้นั้นสามารถกาหนดจานวนได้แน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกาหนดชาระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
หนี้ที่สามารถกาหนดจานวนได้แน่นอน คือ การพิจารณาว่าหนี้ประเภทนั้น จานวนหนี้เป็นที่ยุติหรือไม่ กล่าวคือหนี้
ดังกล่าวเป็นหนี้ที่ศาลสามารถปรับลดเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ ถ้าหากศาลสามารถปรับลดจานวนดังกล่าวได้แล้วหนี้ดังกล่าวย่อม
เป็นหนี้ที่มีจานวนไม่แน่นอน แต่หากศาลไม่สามารถปรับลดได้แล้วก็จะกลายเป็นหนี้ที่มีจานวนแน่นอน เช่น การที่เป็นหนี้เงินกู้
จานวน 10,000,000 บาทศาลก็ไม่สามารถที่จะปรับลดจานวนเงินลงได้ ส่ วนหนี้ที่ศาลสามารถปรับลดลงได้ เช่น หนี้จากการทา
ละเมิดเพราะศาลจะให้เงินตามพฤติกรรมและความร้ายแรงของการทาละเมิด
ส่วนที่บอกว่าไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะถึงกาหนดชาระโดยพลันหรือกาหนดชาระในอนาคตหรือไม่ก็ตาม เช่น อาจารย์สหธน
กู้ยืมเงินจากอาจารย์สมยศแล้วผิดนัดชาระหนี้ กู้ยืมเงินจากอาจารย์สุดาแล้วก็ผิดนัดชาระหนี้แล้วก็กู้ยืมเงินจากอาจารย์ดาราพรอีก
แต่กาหนดชาระหนี้ของอาจารย์ดาราพร คือ อีก 6 เดือนข้างหน้า หากปรากฏว่าอาจารย์สุดามายื่นฟ้องก่อนเลย แล้วกฎหมายดัน
ไปกาหนดว่าหนี้ต้องถึงกาหนดชาระก่อนแล้ว อาจารย์ดาราพรก็จะได้รบั ความเสียหายมากๆเพราะอาจารย์ดาราพรจะไม่ได้รับชาระ
หนี้เลย ดังนั้น กฎหมายจึงกาหนดให้แม้หนี้ยังไม่ถึงกาหนดชาระก็สามารถมาฟ้องคดีล้มละลายได้
(4) ลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในราชอาณาจักร (มาตรา 7)3

1
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 9 เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ล้มละลายได้ต่อเมื่อ
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(2) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนจานวนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติ
บุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนจานวนไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
(3) หนี้นั้นอาจกาหนดจานวนได้แน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกาหนดชาระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
2
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 8 ถ้ามีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(9) ถ้าลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามจากเจ้าหนี้ให้ชาระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และลูกหนี้
ไม่ชาระหนี้
3
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 7 ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวอาจถูกพิพากษาให้ล้มละลายได้ ถ้าลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือ
ประกอบธุรกิจในราชอาณาจักรไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย หรือภายในกาหนดเวลา 1 ปีก่อนนั้น
Page |6

วัตถุประสงค์ของการฟ้องล้มละลาย คือ การกาหนดสถานะของลูกหนี้และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ดังนั้นใน


มาตรา 7 จึงกาหนดให้ลูกหนี้จะต้องมีภูมิลาเนาอยู่ในราชอาณาจักร หรือถ้าหากเป็นการประกอบธุรกิจไม่ว่าด้วยตัวเองหรือโดย
ตัวแทนก็จะต้องในขณะที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือภายในกาหนดเวลา 1 ปีก่อนนั้น
2. เจ้าหนี้มีประกันเป็นผู้ฟ้อง (มาตรา 6, มาตรา 10)
ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 6 เจ้าหนี้มีประกัน หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือ ทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจานอง
จานา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทานองเดียวกับผู้รับจานอง รวมถึงเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นถือว่าเป็นเจ้าหนี้
มีประกัน ซึ่งการที่เจ้าหนี้มีประกันนี้จะมาฟ้องคดีล้มละลายได้นั้นเจ้าหนี้จะต้องเข้าองค์ประกอบมาตรา 9 และ มาตรา 10 ดังนี้
(1) ครบองค์ประกอบตามมาตรา 9
มาตรา 10 ได้ก าหนดว่า “ภายใต้ มาตรา 9 เจ้าหนี้มี ป ระกัน จะฟ้ องได้ ต่อ เมื่ อ ” นั่ นหมายความว่าในการฟ้ อ งคดีให้
ล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกันนั้นจะต้องผ่านองค์ประกอบของมาตรา 9 มาก่อน นั้นก็คือการที่ (1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว (2)
เป็นจานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทสาหรับบุคคลธรรมดา และ 2 ล้านบาทสาหรับนิติบุคคล (3) เป็นหนี้ที่มีจานวนแน่นอนไม่ว่า
จะถึงกาหนดชาระแล้วหรือยัง และ (4) ลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(2) เจ้าหนี้มิได้เป็นผู้ต้องห้ามมิให้บังคับชาระหนี้แก่ทรัพย์สินของลูกหนี้เกินกว่าตัวทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
กรณีตาม (2) นี้คือในหลักประกันบางอย่างเมื่อได้มีการบังคับชาระหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะบังคับชาระหนี้ในส่วนที่ขาดอีก
ไม่ได้ ซึ่งถ้าหากเป็นกรณีที่เจ้าหนี้บังคับชาระในส่วนที่ขาดไม่ได้อีกแล้วเจ้าหนี้คนนั้นก็จะฟ้องให้ล้มละลายอีกไม่ได้ เช่น ในหนี้
จานอง มาตรา 733 ก็ได้กาหนดเอาไว้เลยว่าเมื่อบังคับจานองแล้วลูกหนี้ก็จะหลุดพ้นจากการชาระหนี้ที่เหลืออยู่ ดังนั้น กรณีในหนี้
จานองถ้าหากไม่ได้มีการเขียนยกเว้นมาตรา 733 ไว้เจ้าหนี้จานองก็จะมาฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้อีก
(3) กล่าวในฟ้องว่า ถ้าลูกหนี้ล้มละลายแล้ว จะยอมสละหลักประโยชน์เพื่ อเจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหลักประกัน
มาในฟ้องซึ่งหักกับจานวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดอยู่สาหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นจานวนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลจานวนไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
การยอมสละประกันแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย คือ การกล่าวมาในฟ้องมาตั้งแต่ต้นว่า ถ้าศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด
แล้ว เจ้าหนี้จะคืนหลักประกันให้แก่กองทรัพย์สินเอาหลักประกันนี้ไปขายนามาแบ่งชาระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลาย และ
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะยื่นคาขอรับชาระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญเข้ามา
ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องว่าหลักประกันมีราคาเท่าใด หนี้เท่าใดเมื่อลบกันแล้วเหลือไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท
สาหรับบุคคลธรรมดา หรือ 2,000,000 บาทสาหรับนิติบุคคล ซึ่งถ้าหากนาไปหักแล้วแต่ไม่ถึง 1,000,000 หรือ 2,000,000 สาหรับ
นิติบุคคลแล้วเจ้าหนี้รายนั้นจะไม่สามารถฟ้องลูกหนี้ เป็นคดีล้มละลายได้ เช่น ไปกู้ยืมเงินเป็นจานวน 10,000,000 บาทแล้วเอา
บ้านและที่ดินไปประกันชาระหนี้แล้วก็ต้องกล่าวในฟ้องว่าบ้านและที่ดินมีราคาเพียง 7,000,000 บาทยังขาดอยู่อีก 3,000,000 ก็
เลยนาส่วนที่ขาดอยู่ 3 ล้านนี้มาฟ้องในองค์ประกอบตามมาตรา 9 ว่ามันเกิน 1 ล้ านอะไรไป กรณีถ้าหากเจ้าหนี้ตีราถาแล้วตีราคา
ต่าเกินไป เช่น ไปตีราคาว่าบ้านมีราคาเพียง 5,000,000 ทั้งๆที่บ้านมีราคาจริงๆถึง 8,000,000 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะไปหา
เงินซื้อที่ดินแล้วก็เอาไปขายแล้วให้เงินเจ้าหนี้ไป 5,000,000 ตามที่เจ้าหนี้ได้เคยตีราคาเอาไว้ ส่งผลให้เจ้าหนี้ก็จะขาดทุนไปเลย
300,000 บาท
Page |7

3. กระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย
(1) ลูกหนี้ตาย
(2) หากลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้จะสามารถฟ้องให้ล้มละลายได้
(3) เจ้าหนี้ยื่นฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่ลูกหนี้ตาย
4. ผู้ชาระบัญชีร้องขอให้นิติบุคคลล้มละลาย
5. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้หุ้นส่วนไม่จากัดความรับผิดล้มละลายตามห้าง
หุ้นส่วนจาพวกไม่จากัดความรับผิดจะต้องมีส่วนรับผิดเพื่อหนี้ของห้างทั้งปวงโดยไม่มีจากัด และเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้าง
กลายเป็นผู้ผิดนัดแล้วผู้เป็นหุ้นส่วนก็ย่อมตกเป็นลูกหนี้ผิดนัดตามห้างด้ว ยตามมาตรา 1070 เมื่อเจ้าหนี้ฟ้องให้ห้างล้มละลายแล้ว
แล้วห้างแพ้คดีศาลก็จะมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้าง ซึ่งโดยปกติแล้วผู้เป็นหุ้นส่วนมันก็มีหน้าที่ที่ในการชาระหนี้ของห้าง แต่เมื่อหุ้นส่วน
ไม่ยอมจ่ายหนี้ที่ห้างมีอยู่ ดังนั้น มาตรา 89 จึงกาหนดว่า เมื่อห้างมีหนี้สิ นล้นพ้นตัวแล้วหุ้นส่วนไม่ยอมเงินชาระหนี้อีก เจ้าหนี้ก็ไม่
ต้องไปฟ้องหุ้นส่วนเป็นคดีใหม่ แต่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนล้มละลายตามห้างไปเลย โดยไม่ต้องไปพิจารณาว่าหุ้นส่วนคนนั้นมีหนี้สินล้น
พ้นตัวจริงหรือไม่ ถ้าหากหุ้นส่วนไม่อยากล้มละลายก็ไปจ่ายหนี้ซะ
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย
เนื่องจากผู้ร่างกลัวว่าจะมีการใช้เรื่องล้มละลายเป็นช่องทางในการบีบบังคับให้ลูกหนี้ชาระหนี้ ดังนั้น เมื่อมีการฟ้องคดีคน
ที่มาฟ้องคดีจะต้องวางเงินประกันเป็นจานวน 5,000 บาทและเมื่อฟ้องคดีล้มละลายแล้วก็ ห้ามถอนฟ้อง ตามที่มาตรา 11 ต่อมา
เมื่อมีการฟ้องคดีแล้วสิ่งที่ศาลจะต้องพิจารณา คือ ประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หรือไม่ มีหนี้ที่รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทสาหรับบุคคลธรรมดา 2 ล้านบาทสาหรับนิติบุคคล จานวนหนี้นั้นเป็นหนี้ที่
กาหนดได้แน่นอน และลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในราชอาณาจักร ถ้าหากไม่ได้ความตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แล้วก็จะให้ศาลยก
ฟ้อง แต่ถ้าหากศาลพิจารณาแล้วได้ความตามมาตรา 9 และมาตรา 10 ศาลก็จะ มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ผลของการมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
1. ตัดอานาจลูกหนี้ในการทานิติกรรมผูกพันทรัพย์สิน
การตัดอานาจในการทานิติกรรมผูกพันทรัพย์สินของลูกหนี้มาจากแนวคิด 2 อย่างคือ (1) ลูกหนี้ไม่มีประสิทธิภาพในการ
จัดการทรัพย์สินของตนเองจนถึงขนาดถูกสั่งให้ล้มละลาย ดังนั้นถ้าปล่อยให้ลูกหนี้จัดการทรัพย์สินต่อไปก็มีแต่จ ะทาให้ทรัพย์สิน
ของลูกหนี้ลดน้อยถอยลง (2) เมื่อลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็มีแนวโน้มว่าลูกหนี้จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตน ดังนั้นจึ ง
มีมาตรา 24 ขึ้นมาเพื่อตัดอานาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
โดยสิ่งที่มาตรา 244 ห้าม คือ ห้ามลูกหนี้กระทาการใดๆเกี่ ยวกับทรัพย์สิน ดังนั้นเฉพาะนิติกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
เท่านั้นที่ลูกหนี้ถูกห้ามเอาไว้ ถ้าหากเป็นนิติกรรมอื่นๆอย่างการสมรสนั้นก็ไม่ได้ถูกห้ามด้วย ซึ่งถ้าหากลูกหนี้ฝ่าฝืนทานิติกรรม
ดังกล่าวลงไปผลที่เกิดขึ้น คือ นิติกรรมดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ
เฉพาะเจ้าหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขอรับชาระหนี้ได้

4 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 24 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทาการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน หรือ


กิจการของตน เว้นแต่จะได้ได้กระทาตามคาสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ ตามที่
บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
Page |8

การกระทาที่จะขอรับชาระหนี้ได้ นั้นจะต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเฉพาะหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนหนี้


เจ้าหนี้จึงจะมาขอรับชาระหนี้ได้ ตามมาตรา 945 หากหนี้ใดก็ตามที่เกิดขึ้นภายหลังการมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เจ้าหนี้ในหนี้นั้นก็จะไม่
มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ เจ้าหนี้เหล่านั้นจะไม่ได้รับชาระหนี้จนกว่าลูกหนี้จะถูกปลดออกจากสถานะล้มละลาย
เช่น อาจารย์สหธนถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เฉพาะเจ้าหนี้ที่เกิดขึ้ นก่อนอาจารย์สหธนถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้นที่จะมา
ขอรับชาระหนี้ได้ ต่อมาอาจารย์สหธนเสียใจมากที่โดนสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็เลยเอาก้อนหินปาใส่อาจารย์ณภัทรและปาใส่รถ
ของอาจารย์มุนิน หนี้ที่เกิดจากการทาละเมิดนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังนั้น จึงต้องมีการฟ้องคดีละเมิดไม่ให้
ขาดอายุความ แต่จะยึดทรัพย์อาจารย์สหธนได้ก็ต่อเมื่ออาจารย์สหธนถูกปลดจากล้มละลายแล้ว
2. ตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาจัดการทรัพย์สินแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คือ เจ้าพนักงานของกรมบังคับคดี และหมายความตลอดถึง คนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติ
แทนด้วยตามมาตรา 6 โดยคนที่เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอานาจ 2 ประการ ตามมาตรา 22 และตามมาตรา 23 6 โดย
หลักการตามมาตรา 227 คือ ทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้จะอยู่ภายใต้อานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์มีอานาจในการจัดจาหน่ายทรัพย์สิน เก็บรวบรวมทรัพย์สิน ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน
ลูกหนี้ เช่น เดิมอาจารย์สหธนมีรถอยู่คนหนึ่ง อาจารย์สหธนก็จะไม่มีอานาจในการขายรถคันดังกล่าวอีกแล้ว เพราะว่าหลังจากถูก
สั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปอาจารย์สหธนก็หมดอานาจในการจัดการทรัพย์สินตามมาตรา 24 ถ้าหากอาจารย์สหธนขายรถไปให้อาจารย์สม
ยศไปแม้อาจารย์สมยศจะไม่รู้ก็ตามนิติกรรมดังกล่าวก็จะตกเป็นโมฆะ แล้วเจ้าพนักงานก็จะไปเรียกคืนมาได้
3. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้คนทั่วไปทราบ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งให้คนทั่วไปทราบโดยการประกาศใน (1) ราชกิจจานุเบกษา กับ (2) หนังสือพิมพ์
รายวัน โดยมีเนื้อหาถึงการแสดงขอให้ล้มละลาย วันที่ศาลมีคาสั่ง ชื่อ ที่อยู่และอาชีพของลูกหนี้ ตามมาตรา 288 ซึ่งการที่กฎหมาย
กาหนดไว้เช่นนี้ก็เพราะว่า ต้องการให้คนอื่นทราบว่าลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะได้ไม่มาทานิติกรรมกับลูกหนี้ และเพื่อให้
เจ้าหนี้รายอื่นๆได้ทราบว่าลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็จะมาขอรับชาระหนี้
ประเด็น เนื่องจากว่ากาหนดเวลาที่เจ้าพนักงานโฆษณาดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์กับการขอรั บชาระหนี้ เพราะเจ้าหนี้
จะต้องมาขอรับชาระหนี้ภายใน 2 เดือนนับแต่มีการโฆษณาดังกล่าว ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่มาขอรับชาระหนี้ภายในกาหนดเวลาเจ้าหนี้ก็
จะหมดสิทธิในการรับชาระหนี้ไปทันทีตาม Cut off period แต่เนื่องจากกาหนดเวลาตามมาตรา 28 มี 2 เวลาคือเวลาในราชกิจจา
นุเบกษากับเวลาที่ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวัน ถ้าหาก 2 วันนี้ไม่ใช่วันเดียวกันแล้วจะยึดถามตามวันไหน ศาลฏีกาตัดสินว่าให้
ยึดตามวันที่ประกาศเป็นครั้งสุดท้าย

5 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชาระหนี้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้น


ยังไม่ถึงกาหนดชาระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม
6 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 23 เมื่อลูกหนี้ได้รับทราบคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ดวงตรา สมุดบัญชี และเอกสาร

อันเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนซึ่งอยู่ในความครอบครองให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
7 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอานาจดังต่อไปนี้

(1) จัดการและจาหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทาการที่จาเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป


(2) เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์ซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิได้รับจากผู้อื่น
(3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
8 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 28 เมื่อศาลมี คาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โฆษณาคาสั่งนั้นในราชกิจจานุเบกษาและ

ในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่าฉบับ ในคาโฆษณานั้นให้แสดงการขอให้ล้มละลาย วันที่ศาลมีคาสั่ง ชื่อ ตาบลที่อยู่ และอาชีพของลูกหนี้


ในคาโฆษณาคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น ให้ แจ้งกาหนดเวลาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสนอคาขอรับชาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย
ด้วย
Page |9

4. การรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้
ในเรื่องของการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สาคัญ คือ (1) อานาจในการรวบรวมทรัพย์สิน
ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 19 – 21 และ (2) ทรัพย์สินใดบ้างที่จะถูกรวบรวม และ (3) หากมีการถ่ายเททรัพย์สิน
ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทาอย่างไรได้บ้าง
(1) อานาจในการรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา 19 – 21)
มาตรา 19 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เอาไว้จนกว่าจะมีคาพิพากษาให้ล้มละลาย ยกเว้น
ทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์สินเสียง่าย ที่กฎหมายกาหนดให้รวบรวมเอาไว้เฉยๆห้ามขายนั้นก็เพราะว่า กฎหมายหวังว่าลูกหนี้
กับเจ้าหนี้จะยังสามารถเจรจากันได้อยู่จะได้ไม่ต้องไปขายทรัพย์สินนั้นออกไป เรียกว่า การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
มาตรา 20 อานาจในการขอให้ศาลมีหมายค้น คือ ในบางครั้งลูกหนี้อาจยักย้ายถ่ายเททรัพย์เอาทรัพย์ของตนเองไปเก็บ
ไว้กับคนอื่น เช่น ลูกหนี้เอารถของตัวเองไปจอดไว้ในบ้านเพื่อน พอรถอยู่ ในบ้านเพื่อนแบบนี้ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาทันทีว่าจะเข้าไป
เอารถได้หรือไม่เพราะมิเช่นนั้นเล่นจะโดนฟ้องบุกรุกเอาได้ ดังนั้นมาตรา 20 จึงให้อานาจในการให้ไปขอออกหมายค้น นั้นเอง
มาตรา 21 อานาจในการขอเข้ามาดูข้อมูลต่าง เช่น มีของส่งมาให้ลูกหนี้ก็ขอดูว่าใครส่งมา ส่งอะไรมาให้ แล้วลูกหนี้เคย
ส่งของพวกนี้ไปให้ใครบ้าง การที่มีอานาจในการรวบรวมทรัพย์เช่นนี้ทาให้ การรวบรวมทรัพย์ในคดีล้มละลายมีป ระสิท ธิภาพ
มากกว่าการรวบรวมทรัพย์ในคดีแพ่ง
(2) ทรัพย์สินที่จะถูกรวบรวม
ทรัพ ย์ สิน ที่ จะถูก รวบรวมนั้ น จะปรากฏอยู่ ในมาตรา 109 9 ซึ่งสามารถแบ่ งได้เป็ น 3 ประเภท คือ (2.1) ทรัพย์ สิ น
ทั้งหลายอัน ลูกหนี้ มีอ ยู่ในเวลาเริ่ม ต้น แห่ งการล้ม ละลายรวมทั้ งสิ ทธิเรียกร้อ งเหนื อทรัพ ย์สิน ของบุค คลอื่น เว้น แต่ จะเป็ น
เครื่องใช้สอยส่วนตัวอันจาเป็นต่อการดารงชีพ ซึ่งลูกหนี้รวมทั้งคู่สมรสและบุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ จาเป็นต้องใช้ตามสมควรและ
สมควรแก่ฐานะนุ รูป และ สัตว์ พื ชพัน ธุ์ เครื่องมือและสิ่งของสาหรับ ใช้ในการประกอบอาชีพ ของลูกหนี้รวมกัน แล้ว ไม่ เกิ น
100,000 บาท
(2.2) ทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจากการล้มละลาย เมื่ออ่าน
มาตรา 109 (1) และมาตรา 109 (2) รวมกันแล้วจะสามารถสรุปได้ว่าทรัพย์สินที่จะถูกรวบรวม คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของลูกหนี้ที่
เกิดขึ้นก่อนจนมาถึงวันที่ศาลมีคาสั่งประหลาดจากการล้มละลาย อะไรก็ตามที่มีอยู่ก่อนล้มละลายก็สามารถนาไปชาระได้หมด
เลย ในทางความเป็นจริงก็เคยมีคนเอาทรัพย์ไปซ่อนเอาไว้เพราะคิดว่าพอพ้น 3 ปีถูกประหลาดจากล้มละลายแล้วก็ไม่ต้องชาระอีก
แต่ในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเพราะหลักการ คือ เป็นทรัพย์ที่มีมาอยู่ก่อนปลดจากการล้มละลาย

9
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 109 ทรัพย์สินดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้
(1) ทรัพย์สินทั้งหลายอันลูกหนี้มีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย รวมทั้งสิทธิเรียกร้องเหนือทรัพย์สินของบุคคลอื่น เว้นแต่
ก. เครื่องใช้สอยส่วนตัวอันจาเป็นแก่การดารงชีพ ซึ่งลูกหนี้รวมทั้งคู่สมรส บุตรผู้เยาว์ของลูกหนี้ จาเป็นต้องใช้ตามสมควรแก่
ฐานานุรูป และ
ข. สัตว์ พืชพันธุ์ เครื่องมือและสิ่งของสาหรับใช้ในการประกอบอาชีพของลูกหนี้รวมราคากันไม่เกิน 1 ล้านบาท
(2) ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้มาภายหลังเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายจนถึงเวลาปลดจากล้มละลาย
(3) สิ่งของซึ่งอยู่ในอานาจครอบครองหรืออานาจสั่งการหรือสั่งจาหน่ายของลูกหนี้ ในทางการค้า หรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความยินยอม
ของเจ้าของอันแท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งทาให้เห็นว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
P a g e | 10

ประเด็น คาว่า “ทรัพย์ของลูกหนี้ ” คือ ทรัพย์ที่จะถูกยึดได้จะต้องเป็นทรัพย์ของลู กหนี้เท่านั้น โดยพิจารณาจากว่า


กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นอยู่ที่ใคร ดังนั้นถึงแม้ลูกหนี้จะครอบครองทรัพย์นั้นอยู่ แต่ถ้าหากทรัพย์นั้นไม่ใช่ของลูกหนี้เจ้าพนักงาน
พิทักษ์ทรัพย์ก็จะไปยึดทรัพย์นั้นไม่ได้ เช่น อาจารย์สหธนมีรูปภาพอยู่รูปหนึ่ง แล้วอาจารย์สหธนก็ขายรูปนี้ ให้อาจารย์สมยศใน
ราคา 300,000 บาทส่งมอบและโอนกรรมสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ว่าอาจารย์สหธนก็ขอให้เอารูปดังกล่าวมาแขวนไว้ที่บ้านของ
ตนเอง ถ้าหากอาจารย์สมยศอยากได้คืนเมื่อไหร่ก็มาขอคืนได้เสมอ ต่อมาอาจารย์สหธนถูกฟ้องล้มละลาย ธนาคารก็ไม่มีสิทธิยึดรูป
ของอาจารย์สมยศได้ ถ้าหากถูกยึดไปอาจารย์สมยศก็มาร้องขัดทรัพย์ตามมาตรา 158 ได้ 10 แต่ถ้าหากถูกขายไปแล้วจะเป็นไป
ตามมาตรา 9211
(2.3) หลักเสมือการโอนกรรมสิทธิ์ (Reputed Ownership)
โดยหลักแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะไม่มีความชอบธรรมในการยึดทรัพย์สินของคนอื่นที่ไม่ใช่ของลูกหนี้ อย่างไรก็
ตามหากปรากฏข้อเท็จจริงตามมาตรา 109 (3) แล้วเจ้าพนักงานก็อาจยึดทรัพย์สินเหล่านั้นได้แม้จะไม่ใช่ทรัพย์สินของลูกหนี้เลยก็
ตาม โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวนั้น ก็ คือ เป็นสิ่งของที่อยู่ในการครอบครองหรืออานาจสั่งการหรือสั่งจาหน่ายของลูกหนี้ ในทาง
การค้าหรือธุรกิจของลูกหนี้ ด้วยความยินยอมของเจ้าของที่แท้จริง โดยพฤติการณ์ซึ่งทาให้เห็นว่าลูกหนี้เป็นเจ้าของในขณะที่มี
การขอให้ลูกหนี้นั้นล้มละลาย เช่น ในร้านหนังสือวิญญูชนหนังสือบางส่วนก็จะเป็นของวิญญูชนเอง แต่หนังสือบางส่วนก็เป็นของที่
คณะนิติมากฝากขายด้วย การขายของวิญญูชนก็เป็นการขายในนามของตนเองแทนคณะนิติ ดังนั้นหากธนาคารจะมายึดหนังสือ
แล้วเห็นหนังสือที่วางขายเต็มไปหมดเขาก็คาดหมายว่าเป็นของวิญญูชนเอง ทัง้ ที่หนังสือนั้นเป็นของคณะนิติ
(3) กรณีที่ลูกหนี้ยกั ย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตน
การที่ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนจะมีวิธีการยักย้ายอยู่ 3 รูปแบบที่กฎหมายกาหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สามารถตามไปเพิกถอนกลับมาได้ นั้นก็คือ (1) การทานิติกรรมโดยเจตนาลวง (2) การทานิติกรรมโดยฉ้อฉล (3) และการชาระหนี้
โดยการให้เปรียบ
(3.1) การทานิติกรรมไปโดยเจตนาลวง
เช่น อาจารย์สหธนรู้ว่าตนเองมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วก็มาดูว่าตัวเองมีทรัพย์สินอะไรเหลือบ้างปรากฏว่าเหลือรถอยู่ 1 คันก็
เลยเอารถคันดังกล่าวนี้ไปทาสัญ ญากับนายสุรชัยว่า ขอแกล้งทาสัญญาได้ไหม ทั้งๆที่ตนเองไม่ได้อยากทาสัญญาซื้อขายรถคัน
ดังกล่าวกับสุรชัยเลย นิติกรรมซื้อขายรถนี้จึงตกเป็นโมฆะเพราะเจตนาลวง รถคันดังกล่าวจึงยังคงเป็นของอาจารย์สหธนอยู่ เจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็สามารถตามไปเพิกถอนได้ตามหลักนิติกรรมตามปกติ

10
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 158 ผู้มีส่วนได้เสียเห็นว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึด ทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ให้คัด ค้านต่อ
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคาคัดค้านแล้วให้สอบสวนและมีคาสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่ง ไม่ให้ถอนการยึด
ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคาร้องขอต่อศาลภายในกาหนดเวลา 24 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคาสั่งนั้น เมื่อศาลได้รับคาร้องขอแล้ว ให้ศาลพิจารณาและมีคาสั่ง
ชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดา โดยเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาสู้คดี
11
มาตรา 92 บุคคลใดได้รับความเสียหายเพราะสิ่งของของตนถูกยึดไปตามมาตรา 109 (3) ก็ดี หรือเพราะการโอนทรัพย์สินหรือการ
กระทาใดๆถูกเพิกถอนตามมาตรา 115 ก็ดี หรือเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาตามมาตรา 122 ก็ดี มีสิทธิ
ขอรับชาระหนี้สาหรับราคาสิ่งของหรือหนี้เดิมหรือค่าเสียหายแล้วแต่กรณี ภายในกาหนดเวลาตามมาตรา 91 แต่ให้นับจากวันที่อาจใช้สิทธิขอรับ
ชาระหนี้ได้ ถ้ามีข้อโต้เถียงเป็นคดีให้นับจากวันคดีถึงที่สุด
P a g e | 11

(3.2) การเพิกถอนการฉ้อฉล
คือกรณีที่ลูกหนี้ไปทาให้กองทรัพย์สินของตนเองลดลงเพราะไม่ต้องการให้เจ้าหนี้คนอื่นๆได้รับชาระหนี้เต็มจานวน เจ้า
พนักงานพิทักษ์ทรัพย์เลยตามไปเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว เช่น อาจารย์สหธนรู้ตัวว่ากาลังจะโดนสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็เลยยกบ้านไปให้
คนอื่น ขายรถไปในราคาที่มันถูกมากๆ เช่น ราคา 2,000,000 แต่ขายไปเลยในราคา 50,000 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตามไปเพิก
ถอนนิติกรรมที่ทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบพวกนี้
(3.3) การชาระหนี้โดยเป็นการให้เปรียบ
คือ การชาระหนี้โดยที่ลูกหนี้เลือกที่รักมักที่ชัง เช่น อาจารย์สหธนเป็นหนี้อาจารย์สมยศ อาจารย์ดาราพร อาจารย์สุดา
คนละ 10 ล้านบาท ซึ่งถ้าหากปล่อยให้ล้มละลายแล้วแต่ละคนก็จะได้รับชาระหนี้ 3,333,333 บาทไป ปรากฏว่าอาจารย์สหธนเห็น
ว่าอาจารย์ดารพรกับอาจารย์สุดาดุใจร้าย ก็เลยชาระหนี้ 10 ล้านบาทไปให้อาจารย์สมยศคนเดียวไปเลย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์จะมาเพิกถอนได้โดยอาศัยมาตรา 115 12 ซึ่งมีองค์ประกอบ คือ (1) จะต้องเป็นการชาระหนี้ภายใน 3 เดือนก่อนถูกฟ้องให้
ล้มละลาย กับ (2) นิติกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่ทาให้เจ้าหนี้ทั้งหลายเสียเปรียบ ซึ่งผลของการใช้มาตรา 115 นั้นเจ้าหนี้ที่ถูกเพิกถอน
เพียงแค่มาขอรับชาระหนี้ในภายหลัง แต่ถ้าหากเป็นการเพิกถอนตามเจตนาลวง กับการเพิกถอนฉ้อฉลตามมาตรา 237 เจ้าหนี้จะ
มาขอรับชาระหนี้อีกไม่ได้แล้ว

12
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 115 การโอนทรัพย์สินหรือการกระทาใดๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทาหรือยินยอมให้กระทาในระหว่างระยะเวลา 3
เดือนก่อนจะมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคา
ขอโดยทาเป็นคาร้องศาลมีอานาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทานั้นได้
P a g e | 12

5. การรวบรวมเจ้าหนี้
การขอรับชาระหนี้ คือ การรวบรวมตัวเจ้าหนี้ว่าเจ้าหนี้ของลูกหนี้มีใครบ้าง ซึ่งในการรวบรวมตัวเจ้าหนี้จะมีหลักการที่
สาคัญด้วยกัน 5 ประการ คือ (1) การขอรับชาระหนี้ (Cut off period) (2) หลักการแยกหนี้กับทรัพย์ (3) หากเป็นหนี้ที่เกิดจาก
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าจัดการก็ไม่ต้องขอรับชาระหนี้แต่ได้เต็ม (4) การขอรับชาระหนี้จะไม่กระทบกระเทือนสิทธิเจ้าหนี้ที่มี
ประกัน
(1) Cut of period
เพื่อให้มีความยุติกันว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินเท่าไหร่กันแน่แล้วเจ้าหนี้มีจานวนเป็นเท่าไหร่ ดังนั้น กฎหมายจึงกาหนดให้เจ้า
พนักงานจะต้องโฆษณาเพื่อให้เจ้าหนี้มาขอรับชาระหนี้โดยการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กับ หนังสือพิมพ์ ตามมาตรา 28
โดยหลังจากการประกาศครั้งสุดท้ายแล้ว เจ้าหนี้จะต้องมาขอรับชาระหนี้ภายใน 2 เดือน เว้นแต่ถ้าเป็นเจ้าหนี้นอกราชอาณาจักร
อาจจะขยายได้อีก 2 เดือน ตามมาตรา 91 13 แม้เป็นเจ้าหนี้ตามคาพิพากษาก็ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้เช่นเดียวกันตามมาตรา
2714
สาหรับเจ้าหนี้ที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรเลยก็เลยไม่ได้มาขอรั บชาระหนี้เจ้าหนี้นั้นจะมีสิทธิได้รับชาระหนี้ ในทรัพย์ที่เป็น
ทรัพย์ใหม่ เท่านั้นโดยเจ้าหนี้จะต้อง (1) ยื่นคาขอรับชาระหนี้ และ (2) แสดงถึงเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถยื่นให้ทันได้ภารใน
กาหนดเวลา โดยทรัพย์ที่เจ้าหนี้คนนี้จะได้จะเป็นทรัพย์ที่มีอยู่ภายหลังที่มีการแบ่งชาระหนี้ อะไรที่ได้มีการแบ่งไปแล้วก็ไม่มีสิทธิจะ
ไปได้รับ เจ้าหนี้จะได้รับเฉพาะส่วนที่ยังไม่ได้แบ่ง ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 91/115
กรณีที่มีคนได้รับความเสียหายแล้วจะมาขอรับชาระหนี้ได้ภายในกาหนดเวลาตามมาตรา 91 โดยเริ่มนับจากวันที่อาจ
ใช้สิทธิขอรับชาระหนี้ได้ ด้วยนั้นตามมาตรา 92 สามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ (1) คนที่ได้รับความเสียหายเพราะสิ่งของของ
ตนเองถูกยึดไปตามมาตรา 109 (3) เช่น วิญญูชนถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานก็มาตามยึดทรัพย์ปรากฏว่ามีการยึดหนังสือ
ของคณะนิติไปขาย ก็เลยมาให้ขอรับชาระหนี้แทนในวันที่อาจขอใช้สิทธิชาระหนี้ได้ (กรณีตามมาตรา 92 กับ 109 (3) นี้คือ รู้ว่าขอ
ทรัพย์คืนไม่ได้แล้วเลยมาขอรับชาระหนี้แทน)
กรณีที่ (2) กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ไปตามยึดทรัพย์ที่ลูกหนี้ยักย้ายถ่ายเทไปหรือการที่เจ้าพนักงานไปเพิกถอนฉ้อฉล
หรือเพิกถอนการให้เปรียบ การเพิกถอนการให้เปรียบ เช่น อาจารย์สหธนมีเจ้าหนี้สามราย คือ อาจารย์สุดา อาจารย์ดาราพร และ
อาจารย์สมยศ โดยเป็นหนี้คนละ 10,000,000 ปรากฏว่าอาจารย์สหธนมีเงินเหลือแค่ 10,000,000 จึงนาเงินทั้งหมดไปชาระให้ กับ
อาจารย์สมยศคนเดียวเลย ตามมาตรา 115 เจ้าพนักงานก็สามารถเพิกถอนการชาระหนี้ของอาจารย์สหธนแล้วเอาเงินกลับมาสูก่ อง
ทรัพย์สิน ส่วนอาจารย์สมยศที่โดนเพิกถอนการให้เปรียบก็สามารถมาขอรับชาระหนี้ภายหลังได้

13 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 91 เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชาระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคาขอต่อเจ้า


พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกาหนดเวลา 2 เดือนนับแต่โฆษณาคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ถ้าเจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานพิทักษ์
จะขายกาหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน 2 เดือน
14
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 27 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชาระหนี้ได้แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่
กล่าวในพระราชบัญญัตินี้ แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคาพิพากษา หรือเป็นเจ้านี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้ว แต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม
15 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 91/1 เจ้าหนี้ ไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ภายนาหนดเวลาตามมาตรา 91 วรรคหนึ่ง ให้เจ้าหนี้มีคาขอโดยทา

เป็ น คาร้ องยื่ น ต่ อศาลว่า เจ้า หนี้ ป ระสงค์จ ะยื่ น ค าขอรับ ชาระหนี้ แ ละแสดงถึง เหตุ สุด วิ สั ยที่ ต นไม่ อ าจยื่ น ค าขอรับ ช าระหนี้ ได้ ทั น ภายใน
กาหนดเวลา เมื่อศาลเห็นว่ากรณีเป็นสุดวิสัยและมีเหตุผลอันสมควรที่จะให้เจ้าหนี้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ ให้ศาลมีคาสั่งอนุญาตให้เจ้าหนี้รายนั้นยื่น
คาขอรับชาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ศาลกาหนด
เจ้าหนี้ที่ยื่นคาขอรับชาระหนี้ตามวรรคหนึ่ง ให้มีสิทธิได้รับชาระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่มีอยู่ภายหลังการ
แบ่งทรัพย์สินก่อนเจ้าหนี้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ทั้งนี้ ไม่กระทบถึงการใดที่ศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ดาเนินการไปแล้ว
P a g e | 13

กรณีที่ (3) เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญา ตามมาตรา 122 เช่น ลูกหนี้ไป


เช่าซื้อรถเป็นจานวน 36 งวดงวดละ 100,000 บาท ปรากฏว่ามาถึงงวดที่ 4 ลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ กฎหมายก็จะเปิดโอกาสให้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีทางเลือก 2 ทาง คือ (1) ผ่อนรถต่อจนครบ 36 งวด กับ (2) เลิกสัญญาและคืนรถไป ซึ่งถ้าหากเจ้า
พนักงานเลือกข้อ (2) เป็นการไม่ยอมเอาสิทธิตามสัญญานั้นบริษัทรถก็จะได้รบั ความเสียหายจากการเลิกสัญญา บริษัทรถก็สามารถ
มาขอรับชาระหนี้ตามมาตรา 92 ได้
(2) หลักการแยกหนี้กับทรัพย์
กฎหมายล้มละลายนั้นมุ่งประสงค์ที่จะจัดการกับ หนี้ เพียงอย่างเดียวไม่ได้มุ่งจะจัดการกับทรัพย์หลักการแยกหนี้กับ
ทรัพย์คือการพิจารณาว่าบุคคลนั้นๆเป็นเจ้าหนี้หรือเป็นเจ้าของกันแน่ หากบุคคลนั้นเป็นเจ้าหนี้แล้วก็จะถูกบังคับให้มาขอรับชาระ
หนี้ไปตามมาตรา 91 แต่ถ้าหากบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของทรัพย์แล้วก็ต้องมาขอรั บทรัพย์คืน ตัวอย่าง รูปภารของอาจารย์สหธนที่
ขายให้อาจารย์สมยศแล้วขอเอามาตั้งไว้ในบ้านแล้วมีพนักงานยึดไป
(3) หนี้ที่เกิดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องขอแต่ได้เต็ม
ถ้าหากการจัดการทรัพย์สินนั้นเกิดจากากรจัดการขอเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เราที่เป็นเจ้าหนี้ก็ ไม่ต้องขอรับชาระหนี้
และจะได้รับชาระหนี้เต็มจานวน เช่น เปิดร้านกาแฟแล้วถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เลยเข้ามาควบคุมดูแล
กิจการแทน ในการดูแลกิจการก็ต้องซื้อกาแฟ ขายกาแฟ หนี้แหล่านี้นอกจากเจ้าหนี้ไม่ต้องขอรับชาระหนี้เจ้าหนี้ยังได้รับชาระหนี้
จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เต็มจานวนอีกด้วย
(4) หลักไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
การที่ลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วหลักเรื่องการขอรับชาระหนี้ย่อมไม่มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าหนี้มีประกัน
เจ้าหนี้มีประกันเขาจะอยู่เฉยๆไม่เข้ามาขอรับชาระหนี้ก็ ได้ หรือเจ้าหนี้มีประกันจะเข้ามาขอรับชาระหนี้ก็ได้ สาเหตุที่กฎหมายไม่
ต้องการให้มีการกระทากระเทือนสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันนั้นก็เพราะว่า หากสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันไม่มีความมั่นคงแน่นอนแล้ว
ในหนี้ต่างๆโดยเฉพาะการกู้ยืมเงินอัตราดอกเบี้ยของลูกหนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเพราะความเสี่ยงมันเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
P a g e | 14

ประเภทของเจ้าหนี้
1. เจ้าหนี้ไม่มีประกัน (มาตรา 94)16
เจ้าหนี้ไม่มีประกันจะมาขอรับชาระหนี้ได้เฉพาะแต่เมื่อมูลหนี้นั้นเกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากมูลหนี้ไหน
เกิดขึ้นภายหลังที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วจะต้องไปว่ากล่าวกันอีกทีหลังจากที่มีการปลดจากการล้มละลายแทน เช่น ศาลมี
คาสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ในวันนี้ต่อมาอีก 5 วันอาจารย์สหธนก็ไปซื้อรถ นิติกรรมซื้อรถที่ทาขึ้นก็จะเป็นโมฆะ ส่วนรถที่เอามาเกิดไปขั บ
ชนเกิดความเสียหายขึ้น เจ้าของรถจะมาว่ากล่าวเอาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถเจ้าของรถก็ต้องรอจนกว่าอาจารย์สหธนจะถูก
ปลดจากล้มละลายก่อน ข้อยกเว้นในหนี้ที่จะขอรับชาระหนี้ได้ตามมาตรา 94 คือ
(1) หนี้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หนี้ที่ฝืนศีลธรรมอันดี กับ
(2) หนี้ทเี่ จ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทาขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คือ เจ้าหนี้รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแต่ก็ยังไปทาสัญญากับลูกหนี้อีก แต่ว่ากฎหมายก็มองว่าถ้าหากทาแบบนั้น
แล้วมันก็จะไม่มีใครอยากทาสัญญากับลูกหนี้ด้วยเลย ทาให้บางทีมันประกอบธุรกิจไม่ได้ เช่น ประกอบธุรกิจขายเฟอร์นิเจอร์ก็เลย
อยากจะซื้อไม้ แต่คนขายไม้ก็ไม่อยากขายให้หรอกเพราะมันจะไม่ได้รับชาระหนี้ จนเป็นการเหยียบให้ลูกหนี้ตายไปเลย ดังนั้น
กฎหมายจึงแก้เพิ่มขึ้นมาว่า แต่ไม่รวมถึงที่เจ้าหนี้ทยี่ อมให้กระทาทาขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดาเนินต่อไปได้
2. เจ้าหนี้มีประกัน (มาตรา 95)
เจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย หมายถึง เจ้าหนี้ที่มีประกันด้วยทรัพย์เท่านั้นไม่ได้หมายความรวมถึงการประกัน
ด้วยบุคคลและไม่รวมถึงหนี้บุริมสิทธิ์ ซึ่งการที่เป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นกฎหมายจะไม่เข้ามากแทรกแซงให้เจ้าหนี้มีประกันเสียหาย
ดังนั้นตามมาตรา 9517 จึงคุ้มครองให้เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ โดยไม่ต้องขอรับชาระหนี้ เช่น อาจารย์
สหธนเป็นหนี้อาจารย์ดาราพร อาจารย์สมยศ และอาจารย์สุดา โดยอาจารย์สหธนนาบ้านของตนเองไปจดทะเบียนจานองไว้กับ
อาจารย์สุดา ในแง่นี้เมื่อมีการฟ้องให้ล้มละลาย อาจารย์ดาราพร และอาจารย์สมยศจะต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้ แต่สาหรับอาจารย์
สุดานั้นไม่ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามถ้าหากเจ้าหนี้มีประกันเห็นว่าหลักประกันที่ตนเองได้รับนั้นมันมี ไม่เพียงพอต่อการชาระหนี้ เจ้าหนี้ที่มี
หลักประกันก็อาจจะมายื่นขอรับชาระหนี้ได้ ตามมาตรา 96 โดยมีเงื่อนไขต่อไปนี้ คือ (1) สละประกันให้เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้
ทั้งหมด คือ ขอสละสิทธิของการเป็นเจ้าหนี้มีประกัน (2) เมื่อได้บังคับเอาทรัพย์ที่เป็นประกันแล้วขอรับชาระหนี้ที่ยังขาดอยู่ เช่น
เป็นหนี้ทั้งหมด 5 ล้านส่วนทรัพย์มีราคา 4 ล้านยังขาดอยู่อีก 1 ล้าน (3) เมื่อได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ขายทอดตลาดทรัพย์สิน
อันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับชาระหนี้สาหรับจานวนที่ยังขาดอยู่ และ (4) เมื่อตีราคาทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันแล้ว ขอรับ
ชาระหนี้สาหรับจานวนที่ยังขาดอยู่ ก็คือ การขอตีราคาว่าหลักประกันนี้มีราคาเท่าไหร่ เช่น มีหนี้อยู่ 5,000,000 บาท ตีราคาที่ดิน
เอาไว้เป็นจานวน 3,000,000 บาท ส่วนที่ยังขาดอยู่ 2,000,000 บาทก็มาขอรับชาระหนี้แบบที่ไม่มีประกัน แต่ถ้าหากตีราคาถูก

16
มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีป ระกัน อาจขอรับชาระหนี้ ถ้ามูล แห่งหนี้เกิดขึ้น ก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ท รัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึง
กาหนดชาระหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่
(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
(2) หนี้ที่ เจ้าหนี้ ยอมให้ลูกหนี้กระทาขึ้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ ลูกหนี้มีหนี้สินล้น พ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่ เจ้าหนี้ยอมให้กระท าขึ้น
เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดาเนินต่อไปได้
17 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 95 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันซึ่งลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์โดย

ไม่ต้องขอรับชาระหนี้ แต่ต้องยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจดูทรัพย์สินนั้น
P a g e | 15

เกินไปเจ้าพนักงานก็จะไปหาเงินมาไถ่เองแล้วก็เอาที่ดินไปขายชาระหนี้แบ่งให้เจ้าหนี้คนอื่น แต่ถ้าหากตีราคาแพงเกินไปส่วนต่างที่
มันแพงขึ้นมามันก็จะเข้าเนื้อตัวเอง
ถ้าหากไปขอรับชาระหนี้ โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เช่น อาจารย์สหธนเป็นหนี้อาจารย์ณภัทร แล้วอาจารย์
ณภัทรก็มาขอรับชาระหนี้แต่ไม่ยอมบอกว่าตัวเองเป็นเจ้าหนี้ที่มีประกัน มาตรา 97 อาจารย์ณภัทรก็จะไม่สามารถขอรับชาระหนี้
แบบเจ้าหนี้มีประกันได้อีกแล้ว
3. เจ้าหนี้พิเศษ (มาตรา 101 – 103 งงขอญาตข้าม)
การเพิกถอนฉ้อฉล (โดยอ.เอื้อน)
เมื่อลูกหนี้ได้จาหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตนทาให้กองทรัพย์สินของตนเองลดลงแล้วเป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและ
ไม่สามารถบังคับชาระหนี้ได้ครบถ้วน มาตรา 113 ของพ.ร.บ.ล้มละลายก็ได้กาหนดไว้ว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถใช้
อานาจตามมาตรา 11318 เพื่อเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 23719 ป.พ.พ. ซึ่งนิติกรรมใดๆที่ลูกหนี้ได้ทาลงโดยรู้ว่าจะทาให้เจ้าหนี้
เสียเปรียบ คือ ลูกหนี้ทานิติกรรมไปโดยรู้ว่าจะทาให้เจ้าหนี้ได้รับชาระหนี้ไม่ครบถ้วน ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปเพิกถอน
ฉ้อฉลให้ทรัพย์นั้นกลับมาสู่กองทรัพย์สินในคดีล้มละลายได้ โดยการทาเป็นคาร้อง โดยการยื่นคาร้องขอนั้นจะต้องทาภายใน 1 ปี
นับแต่รู้ถึงเหตุของการเพิกถอน หรือ 10 ปีนับแต่ทานิติกรรมนั้น
ปัญหาคือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทราบได้อย่างไรว่าลูกหนี้นั้นได้ทานิติกรรมไปโดยฉ้อฉลจริงๆ ดังนั้น ในมาตรา
20
114 จึงได้กาหนดบทสันนิษฐานขึ้นมาเพื่อผลักภาระการพิสูจน์จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้กลายเป็นของลูกหนี้ นั้นก็คือ นิติ
กรรมที่จะถูกเพิกถอนฉ้อฉลเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย หรือ เป็นการให้โดยเสน่หา หรือ เป็นการที่
ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทาที่ลูกหนี้และผู้ได้ลาภงอกรู้ว่าเป็นการทาให้เจ้าหนี้
ต้องเสียเปรียบ
(1) การโอนนั้นเกิดขึ้นภายใน 1 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น
ก็คือ 1 ปีก่อนที่มีการฟ้องหรือขอให้ล้มละลาย เช่น มีการฟ้องขอให้ล้มละลายในวันที่ 2 มกราคม 2560 ย้อนไป 1 ปี ก็
คือวันที่ 2 มกราคม 2559 ไปจนถึง 2 มรกราคม 2560 ส่วนคาว่า “และภายหลังนั้น” คือ ภายหลังที่มีการขอให้ล้มละลาย คือ
ภายหลังที่มีการขอให้ล้มละลายจนถึงวันก่อนที่ศาลมีคาสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ทั้งนี้เพราะว่าถ้าหากมีการสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์
เด็ดขาดเมื่อไหร่ ลูกหนี้จะหมดอานาจในการจัดการทรัพย์สิน ตามมาตรา 22 แล้วและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียว
เท่านั้นที่จะมีอานาจจัดการตามมาตรา 24 ดังนั้น ในช่วงเวลาที่ลูกหนี้หมดอานาจในการจัดการทรัพย์สิน หากลูกหนี้ไปทานิติกรรม
ใดๆ การกระทานั้นก็ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 150

18 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 113 การขอให้ศาลเพิกถอนฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์


ขอได้โดยทาเป็นคาร้อง
การขอให้เพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ขอเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่เวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพ์ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิก
ถอน หรือ 10 ปีนับแต่ได้ทานิติกรรมนั้น
19 ป.พ.พ. มาตรา 237 จ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อัน ลูกหนี้ได้กระทาลงทั้งรู้ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้

เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะทานิติกรรมนั้น บุคคลผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทาง


ทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่หากกรณีเป็นการทาให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงลูกหนี้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
20 พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 114 ถ้านิติกรรมที่ข้อเพิกถอนฉ้อฉลตามมาตรา 113 นั้น เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 ปีก่อนมีการขอให้

ล้มละลายและภายหลังนั้น หรือเป็นการทาให้ โดยเสน่หาหรือเป็นการที่ลูกหนี้ ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้


และผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางทามห้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ
P a g e | 16

(2) การให้โดยเสน่หา (มันไม่มีปัญหาอะไร)


(3) การได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร
การได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร เช่น รถยนต์มีมูลค่า 10,000,000 บาทแต่กลับขายไปในราคาเพียง 30,000 เท่านั้น
ในกรณีนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ซึ่งถ้าหากมีข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นก็จะสันนิษฐานว่าลูกหนี้
และผู้ได้ลาภงอกได้รู้ว่าการทานิติกรรมนั้นเป็นการทาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และทั้งสองฝ่ายก็จะมีหน้าที่ในการสืบหักล้างต่อไป
ประเด็น ถ้าหากผู้ได้ลาภงอกได้ขายทรัพย์นั้นไปให้บุคคลภายนอกไปแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนเอาทรัพย์
คืนจากบุคคลภายนอกได้หรือไม่ คาตอบ คือ ขึ้นอยู่กับว่า บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ตามมาตรา
238 ป.พ.พ. หากบุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนแล้วก็ไม่จาเป็นต้องคืนทรัพย์ให้แต่อย่างใด
การเพิกถอนการให้เปรียบ
ถ้าหากก่อนที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายคน ปรากฏว่าลูกหนี้ชาระหนี้ให้กับเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใด
เพียงคนเดียว จนทาให้เจ้าหนี้คนนั้นได้รับประโยชน์มากกว่าเจ้าหนี้คนอื่นๆ ต่อมาเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์ ก็สามารถมาขอเพิกถอนการชาระหนี้อันเป็นการให้เปรียบ ได้และเมื่อได้มีการเพิกถอนไปแล้วก็ให้เงินดังกล่าวกลับคืนสู่
กองทรัพย์สิน แล้วก็ให้เจ้าหนี้ที่ได้เปรียบรายนั้น มาขอรับชาระหนี้ในคดีล้มละลาย และได้รับชาระหนี้โดยการหารเฉลี่ยเหมือน
เจ้าหนี้รายอื่นๆ ตามมาตรา 11521 โดยมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ
(1) ลูกหนี้โอนทรัพย์สินหรือกระทาการใดๆ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทาหรือยินยอมให้กระทา
คือ ลูกหนี้กระทาการใดๆกับทรัพย์สินของตนเพื่อเป็นการชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่ง เช่น ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลาย
รายก็เลยเอารถยนต์ไปให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้รับชาระหนี้ หรือมีเจ้าหนี้หลายรายก็เลยเอาที่ดินแปลงหนึ่งไปชาระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ราย
เดียว ทั้งนี้คนที่ทาจะต้องเป็น “ลูกหนี้” เท่านั้น เช่น นายจนเป็นหนี้นายหนึ่ง นายสอง และนายสาม นายจนมีเพื่อนรักชื่อนาย
สมศักดิ์ซึ่งวันดีคืนดีนายสมศักดิ์ถูกหวย 30 ล้าน นายสมศักดิ์ก็เอาเงิน 30 ล้านดังกล่าวไปชาระหนี้ให้กับนายหนึ่งเพราะนายจนเป็น
เพื่อนรักของตนเลยชาระหนี้แทน การกระทาของนายสมศักดิ์จะไม่ใช่กรณีตามมาตรา 115 เพราะมาตรา 115 ต้องเป็น ทรัพย์ของ
ลูกหนี้และเป็นการกระทาของลูกหนี้ ถ้าหากเป็นการกระทาของบุคคลภายนอกแล้วก็จะไม่ใช่กรณีตามมาตรา 115
(2) การกระทานั้นทาในระหว่าง 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น
คือ กฎหมายกาหนดเฉพาะนิติกรรมที่ดาเนินการ 3 เดือนก่อนมีการล้มละลาย เช่น มีการขอล้มละลายในวันที่ 14
กุมภาพันธ์ 2560 3 เดือนของ 14 กุมภาพันธ์ 2560 ก็คือวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ส่วนภายหลังนั้น ก็คือภายหลังที่มีการขอ
ล้มละลายจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะถ้าหากเป็นภายหลังวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาแล้ว นิติ
กรรมดังกล่าวก็จะขัดกับมาตรา 22 และมาตรา 24 และกลายเป็นโมฆะไปตามมาตรา 150
นอกจากนั้นระยะเวลา 3 เดือนนี้ จะขยายเป็น 1 ปี ถ้าหากการโอนของลูกหนี้นั้นเป็นการโอนไปให้ “บุคคลภายใน”
ของลูกหนี้ ซึ่งบุคคลภายในของลูกหนี้ก็ต้องไปดูในคานิยาม มาตรา 6 เช่น กรรมการ ผุ้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หุ้นส่วนจาพวกไม่
จากัดความรับผิด ผู้ถือหุ้นเกินจานวนร้อยละ 5 ของจาวนหุ้นที่จาหน่ายแล้วทั้งหมดของกิจการลูกหนี้ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่
บรรลุนิติภาวะของลูกหนี้

21
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 115 การโอนทรัพย์สินหรือกระทาการใดๆซึ่งลูกหนี้ได้กระทาหรือยอมให้กระทาในระหว่างระยะเวลา 3
เดือน ก่อนมีคาขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น โดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคาขอโดย
ทาเป็นคาร้องศาลมีอานาจสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทานั้นได้
P a g e | 17

(3) เป็นการกระทาที่มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้คนอื่นๆ
การกระทาที่ได้เปรียบนั้น หมายความว่า การที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายแล้วลูกหนี้ชาระหนี้ให้เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งใน
ขณะที่เจ้าหนี้รายอื่นๆไม่ได้รับชาระหนี้ เช่น ฏีกาที่ 2722/2528 จาเลยมีเจ้าหนี้อยู่เป็นจานวนมากถึง 119 ราย จาเลยก็รู้อยู่แล้ว
ว่าไม่ สามารถชาระหนี้ ได้ จึ งได้ชาระหนี้ โดยการโอนตี ใช้ห นี้ ให้ แก่ โจทก์ เพี ย งรายเดีย ว ภายในเวลา 3 เดื อ นก่อ นมี การขอให้
ล้มละลาย จึงเป็นการที่จาเลยชาระหนี้อันเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นตามมาตรา 115
ซึ่งในการชาระหนี้อันเป็นการให้เปรียบนั้น พิจารณาจากเจตนาของลูกหนี้เป็นสาคัญ ดังนั้นถึงแม้เจ้าหนี้ที่รับไปนั้นจะ
สุจริตก็ตาม ศาลก็สามารถเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการให้เปรียบนั้นได้ เพราะมาตรา 115 นั้นมองเจตนาของลูกหนี้เป็นสาคัญว่า
ลูกหนี้มุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่นก็เพียงพอแล้ว โดยไม่สนว่าเจ้าหนี้รายนั้นจะสุจริตหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่างของการชาระหนี้ที่ไม่เป็นการให้เปรียบ เช่น ฏีกาที่ 713/2531 ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายแล้วลูกหนี้ชาระหนี้ให้แก่
เจ้าหนี้ด้วยการออกเช็ค ปรากฏว่าเช็คเด้งเจ้าหนี้ที่เช็คเด้งก็เลยมาขู่ลูกหนี้ว่าถ้าหากไม่เอาเงินมาชาระหนี้ก็ จะออกหมายจับมาจับ
ตัวลูกหนี้ ลูกหนี้ก็เลยตัดสินใจชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปเพราะไม่อยากโดนจับ กรณีนี้จึงไม่ใช่การชาระหนี้เพื่อให้เจ้าหนี้รายหนึ่ง
ได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น หรือกรณีที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายแล้วรายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เช่นไปกู้ยืมเงินจากธนาคารเอ แล้วก็
มีทรัพย์จานองไว้กับธนาคารเอด้วย ลูกหนี้ก็เอาเงินไปชาระหนี้ให้กับธนาคารเอเพียงรายเดียว การชาระหนี้ให้กับธนาคารเอไม่ถือ
เป็นการชาระหนี้อันเป็นการให้เปรียบเพราะว่าธนาคารเอเป็นเจ้าหนี้มีประกันก็ย่อมได้รับสิทธิในการชาระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นอยู่
แล้ว หรือถ้าหากเป็นการจ่ายเงินไปตามสัญญาในการดาเนินชีวิตประจาวัน ก็จะไม่เป็นการให้เปรียบเช่นเดียวกัน เช่น ลูกหนี้จ้าง
ช่างมาทาสีบ้านพอเขาทาสีบ้านไปแล้วก็ชาระหนี้ค่าทาสีบ้านให้ ซึ่งการทาสีบ้านก็เป็นการทาสัญญาปกติธรรมดา
ผล เมื่อเจ้าพนักงานเพิกถอนนิติกรรมอันเป็นการให้เปรียบแล้วเจ้าหนี้ที่ถูกเพิกถอนก็มาขอรับชาระหนี้ตามมูลหนี้เดิม
ถ้าหากลูกหนี้ยกทรัพย์สินตีใช้หนี้ให้เจ้าหนี้คนที่หนึ่ง แล้วเจ้าหนี้คนที่หนึ่งก็โอนไปให้เคนที่สองแล้ว เจ้าพนักงานพิทั กษ์ทรัพย์จะ
ตามเพิกถอนเอาจากคนที่สองได้หรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่า คนที่สองที่เป็นบุคคลภายนอกนี้ได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน
หรือไม่ ตามมาตรา 11622 ทั้งนี้จะต้องเป็นช่วงเวลาก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ โดยจะต้องเป็นช่วงเวลาตามมาตรา 115 เพราะ
ถ้าหากศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้วเมื่อไหร่ก็จะเป็นกรณีตามมาตรา 22 และมาตรา 23 และนิติกรรมก็จะเป็นโมฆะตามมาตรา
150 ป.พ.พ.ทันที
การทวงหนี้จากลูกหนี้ของลูกหนี้
ถ้าก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายรวยได้ให้ นายหนึ่ง นายสอง และนายสามกู้ยืมเงินไป แล้วต่อมานายรวยถูก
ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดาเนินการกับหนี้ที่นายรวยมีต่อนายหนึ่ง นายสอง และนายสาม
อย่างไรนั้นจะเป็นไปตามมาตรา 118 และมาตรา 119 คือ กรณีที่ลูกหนี้ของลูกหนี้ยอมรับว่าเป็นหนี้จ ริง ตามมาตรา 118 กับกรณี
ที่ลูกหนี้ของลูกหนี้ไม่ยอมรับว่าเป็นหนี้ตามมาตรา 119 โดยในขั้นแรกจะต้องพิ จารณาองค์ประกอบของการทวงหนี้ ก่อน ซึ่ง
ประกอบด้วย
1. เป็นสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อบุคคลภายนอก
เป็นสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อบุคคลภายนอก หมายความว่า ลูกหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้บุคคลภายนอกให้ชาระหนี้ได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงจะสามารถเข้าไปทวงหนี้เพื่อเก็บรวบรวมสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมาไว้ในกองทรัพย์สินได้ ดังนั้นถ้าหาก
ลูกหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่สามารถเข้าไปทวงหนี้จากบุคคลดังกล่าว
22
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 116 บทบัญญัติมาตรา 115 ไม่กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมี
การขอให้ล้มละลาย
P a g e | 18

2. เป็นสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่จะถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์
สิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีอยู่ก่อนที่ศาลสั่งจะพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากเป็นสิทธิเรียกร้องที่ได้มาจาก
การจัดการทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็จะไม่สามารถใช้อานาจตามมาตรา 119 ได้ เข่น ลูกหนี้มี โรงภาพยนตร์
เมื่อลูกหนี้ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็รวบรวมทรัพย์สินต่างๆของลูกหนี้ โรงภาพยนตร์ของลูกหนี้จะต้องใช้ว
เวลานานกว่าจะขายได้ เจ้าพนักงานจึงนาโรงภาพยนตร์นี้ไปให้เช่าแล้วปรากฏว่าผู้เช่าไม่ชาระค่าเช่า เจ้าพนักงานจะใช้วิธีการตาม
มาตรา 119 ในการทวงค่าเช่าไม่ได้ เพราะมิใช่สิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ก่อนจะถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานจะต้องดาเนินการ
ฟ้องร้องคดีแพ่งธรรมดาแทน
โดยการทวงหนี้นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี
(1) กรณียอมรับว่าเป็นหนี้จริง (มาตรา 118)23
นายหนึ่งเป็นลูกหนี้ของนายรวยแล้วต่อมานายรวยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต่อเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ถามไปยังนายหนึ่งว่านายหนึ่งเป็นหนี้กับนายรวยจริงหรือไม่ แล้วนายหนึ่งยอมรับว่าเป็นหนี้นายรวยจริง แต่นายหนึ่งก็ยังไม่ได้
ชาระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรั พย์ก็สามารถยื่นต่อศาลขอให้ศาลบังคับให้นายหนึ่งชาระหนี้ได้ ภายในกาหนดเวลาที่เห็นสมควร
แต่ถ้าหากนายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามคาบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็สามารถขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเหมือนหนึ่งว่านายหนึ่ง
เป็นลูกหนี้ตามคาพิพากษาได้
(2) กรณีไม่ยอมรับว่าเป็นหนี้จริง (มาตรา 119)24
เมื่อปรากฏว่านายรวยมีสิทธิเรียกร้องต่อนายหนึ่งให้ชาระหนี้เงินให้แก่นายรวยแล้ว ซึ่งการที่นายรวยจะมีสิทธิเรียกร้องต่อ
นายหนึ่งผู้เป็นบุคคลภายนอกนั้น จะต้องเป็น สิทธิที่มีมาก่อนศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เพราะถ้าหากเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นภายหลั งมี
คาสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วเจ้าหนี้ก็จะใช้วิธีการทวงหนี้ไม่ได้แล้ว
โดยในการทวงหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถแจ้งความเป็นหนังสือไปยังนายหนึ่งให้นายหนึ่งชาระหนี้ได้ และถ้า
หากนายหนึ่งลูกหนี้ของลูกหนี้ปฏิเสธก็จะต้องปฏิเสธเป็นหนังสือแจ้งมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน กาหนดเวลา 14 วัน
นับแต่ได้รับแจ้งข้อความ ถ้าหากลูกหนี้ ไม่ปฏิเสธ ผลก็คือถือว่าหนี้นั้น เป็นหนี้เด็ดขาด คือ มีผลเสมือนเป็นคาพิพากษาและ
สามารถออกหมายบังคับคดีได้เลย
ถ้าหากลูกหนี้ ปฏิเสธ ภายใน 14 วันแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ก็จะต้องมา สอบสวน ว่าเป็นหนี้กันจริงหรือไม่ ถ้า
หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เชื่อว่าเป็นหนี้กันจริงก็จะส่ง หนังสือยืนยันไป ผู้ถูกยืนยันก็จะต้องยื่นคาคัดค้านต่อศาล ภายใน 14
วันเช่นกัน ถ้าหากไม่ยื่นต่อศาลแล้วก็ถือว่าเป็นหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าหากเขาปฏิเสธศาลก็จะดาเนินการไต่สวน ต่อไป

23
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 118 เมื่อเจ้าพนักงานพิ ทั กษ์ท รัพย์มีคาขอ ศาลมีอานาจบังคับ ให้บุคคลที่ รับ ว่าเป็น ลูกหนี้หรือรับ ว่ามี
ทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครอง ชาระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกาหนดเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร ถ้าไ ม่
ปฏิบัติตามคาบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจมีคาขอให้ศาลออกหมายบังคับดดีเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคาพิพากษา
24
พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 119 เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดชาระเงินหรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ลูกหนี้ ให้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังบุคคลนั้นให้ชาระหนี้หรือส่งมอบทรัพย์สินตามจานวนที่ได้แจ้งไปและให้แจ้งไปด้วยว่ าถ้าจะ
ปฏิเสธ ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกาหนด 24 วันนับแต่ได้รับแจ้งความ มิเช่นนั้ นจะถือว่า
หนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ตาจานวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด
P a g e | 19

การไม่ยอมรับทรัพย์สนิ หรือสิทธิตามสัญญา (มาตรา 122)


การไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาจะใช้ในกรณีที่ลูกหนี้มีสัญญากับบุคคลภายนอกแล้วสัญญาดังกล่าวทั้งลูกหนี้
และเจ้าหนี้ต่างมีสิทธิหน้าที่ตามสัญญาทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าหากเกสิทธิตามสัญญาแล้วรับจะทาตามสัญญาจะส่งผลให้ ทรัพย์สินนั้น
ขาดทุนเป็นจานวนมาก ดังนั้นกฎหมายจึงให้สิทธิเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการปฏิเสธสิทธิตามสัญญาได้ และเมื่อปฏิเสธสิทธิ
ตามสัญญาแล้วก็อาจจะทาให้คู่สัญญาได้รับความเสียหาย ซึ่งคู่สัญญานั้นก็มาขอรับ ชาระหนี้ในส่วนที่เสียหายได้ เช่น ก่อนที่ลูกหนี้
จะถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ไปทาสัญญาเช่าซื้อรถมา 1 คันราคา 3,000,000 บาท กาหนดชาระงวดละ 100,000 บาท ปรากฏว่า
ชาระไปได้เพียงแค่ 2 งวดเท่านั้น ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานเลยเข้ามาดูสัญญานี้แล้วเห็ นว่ายังต้องชาระอีกตั้ง
2,800,000 บาทแล้วรถคันนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะตุกรุ่น เจ้าพนักงานก็เลยใช้อานาจตามมาตรา 122 ในการปฏิเสธสิทธิตามสัญญาได้
โดยมาตรา 122 มีองค์ประกอบสาคัญ คือ
(1) เป็นทรัพย์สินหรือเป็นสิทธิตามสัญญา
(2) สิทธิตามสัญญานั้นเป็นสิทธิที่ลูกหนี้จะรับมา
สิทธิตามสัญญาเป็นสิทธิที่ลูกหนี้จะรับมา หมายถึง สิทธินั้นจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะได้รับมา
ถ้าหากลูก หนี้ ไม่ มี สิ ท ธิ อะไรอี กแล้ ว เหลือ อยู่ แ ต่ ห น้ าที่ เพี ย งอย่ างเดี ย วเจ้ าพนั กงานพิ ทั ก ษ์ ท รัพ ย์ ก็ ไม่ สามารถปฏิ เสธได้ เช่ น
บุคคลภายนอกซื้อที่ดินจากลูกหนี้ บุคคลภายนอกชาระราคาครบถ้วนแล้ว ลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิอะไรอีกเหลือเพียงแต่หน้าที่ที่ต้องโอน
ที่ดินให้บุคคลภายนอกเพียงอย่างเดียว
(3) ซึ่งสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้
การมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ หมายถึง เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติตาม
สัญญามาเปรียบเทียบกับภาระที่จะได้รับจากการปฏิบัติตามสัญญา แล้วพิจารณาว่ามีภารมากกว่าประโยชน์เกินควรหรือไม่ ถ้าหาก
มีภาระมากกว่าประโยชน์เกินควรแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็สามารถใช้ดุลพินิจปฏิเสธสิทธินั้นได้
ผล คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอานาจไม่ยอมรับทรัพย์สิน หรือสิทธินั้นก็ได้ และบุคคลภายนอกที่ถูกปฏิเสธสิทธิ
ดังกล่าวก็สามารถที่จะขอรับชาระหนี้สาหรับค่าเสียหายได้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จาเลยล้มละลายแล้วศาลรับฟ้องไว้แล้ว ศาลทาการไต่สวนพยานและพิจารณาความจริงได้ว่าลูกหนี้มี
หนี้สินล้นพ้นตัวจริง มีหนี้เกินกว่า 1 ล้านบาท เป็นหนี้ที่มีกาหนดแน่นอนและลูกหนี้มีภูมิลาเนาอยู่ในราชอาณาจักร ศาลก็จะสั่ง
พิ ทั กษ์ ท รัพ ย์ ลูก หนี้เด็ ด ขาด ซึ่ งถ้าหากลูก หนี้อ ยากที่ จะหลุ ด พ้ น จากกระบวนการล้ม ละลายโดยที่ ไม่ ต้อ งถูก ศาลพิ พ ากษาให้
ล้มละลายนั้น ลูกหนี้อาจได้ด้วยการ ประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ซึ่งการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายนั้นจะมีกระบวนการที่สาคัญ
คือ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ได้โฆษณาคาสั่งพิ ทักษ์ทรัพย์ทั้งในหนังสือพิ มพ์และในราชกิจจานุเบกษาแล้ว บรรดาเจ้าหนี้
ทั้งหลายก็จะมาขอรับชาระหนี้ ซึ่งในจุดนี้ลูกหนี้อาจขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้ โดยจะต้องให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณามีมติ
ยอมรับ ซึ่งถ้าหากที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแล้วแล้วก็จะต้องให้ได้รับความเห็นชอบจากศาลอีกขั้นตอนหนึ่ง หากศาลเห็นชอบ
แล้วการประนอมหนี้ก็จะสาเร็จ ตามมาตรา 4625
1. ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

25
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 46 การยอมรับคาขอประนอมหนี้ โดยมติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ยังไม่ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหลาย จนกว่า ศาล
จะได้มีคาสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว
P a g e | 20

การที่จะพิจารณาว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ให้ความเห็นชอบแล้วหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่า ได้มติพิเศษ จากที่ประชุม


เจ้าหนี้หรือไม่ โดยการพิจารณาเรื่องมติพิเศษจะต้องดู จานวนคนและจานวนหนี้ ก็คือ มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจานวน
หนี้เท่ากับ 3 ใน 4 ของจานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ ซึ่งได้เข้าประชุม ด้วยตนเองหรือได้มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่
ประชุมเจ้าหนี้ และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น เช่น มีเจ้าหนี้ทั้งหมด 200 คนก็จะต้องเป็นเสียงข้างมาก คือ ได้เสียงเห็นด้วย
ทั้งหมด 101 เสียงเป็นอย่างต่า และในจานวนหนี้นั้นจะต้องได้ 3 ใน 4 ของจานวนหนี้ทั้งหมดที่เข้าประชุม

2. ศาลได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ทั้งนี้การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายนั้นจะต้อง ยื่นคาขอประนอมหนี้ก่อนการลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก
และเมื่อได้มีการยื่นคาขอประนอมหนี้แล้วแล้วลูกหนี้ก็อาจจะขอแก้ไขการประนอมหนี้ได้ จะในชั้นเจ้าพนักงานหรือจะในชั้นศาลก็
ได้ ตามมาตรา 17 ภายใต้เงื่อนไข คือ การแก้ไขนั้นจะเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้โดยทั่วไป เช่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นัดประชุม
เจ้าหนี้แล้วแล้วตกลงกันว่าจะขอชาระหนี้ร้อยละ 50 ต่อมาลูกหนี้ก็บอกว่าขอรับชาระหนี้ร้อยละ 60 แทน เจ้าพนักงานพิทักษ์
ทรัพย์เห็นแล้วก็อาจจะอนุมัติได้เลย หรือจะรอให้เรื่องไปถึงศาลก่อนแล้วกลัวว่าศาลจะไม่ให้ความเห็นชอบเลยไปขอเพิ่มเอาตอนนัน้
ศาลก็สามารถอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงให้ได้
ผล ของการประนอมหนี้จะเป็นไปตามมาตรา 5626 คือ การประนอมหนี้ที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลได้เห็นชอบ
แล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้27 แต่การประนอมหนี้นั้นจะไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนไหนก็ตามที่ตาม พ.ร.บ.
นี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นจากคาสั่งล้มละลายได้ ยกเว้นเจ้าหนี้คนนั้นจะได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น
ซึ่งหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้นั้น หมายถึง หนี้เงินที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ทรัพ ย์เด็ดขาด ตามมาตรา 94
ส่วนเจ้าหนี้พิเศษที่ทาให้ลูกหนี้ไม่อาจจะหลุดพ้นจากคาสั่งปลดจากการล้มละลายได้นั้น หมายความว่า หนี้อะไรก็ตามที่ถ้าหากมี
การปลดจากการล้มละลายแล้วเจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องอยู่ ซึ่งเจ้าหนี้พิเศษนี้มีอยู่ 2 ประเภท คือ (1) เจ้าหนี้ภาษีอากร กับ (2)
หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยทุจริตฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคล
ล้มละลายมีส่วนเกี่ยวข้องสมรู้ ตามมาตรา 7728
ผล ต่อเจ้าหนี้ทั่วไป เจ้าหนี้ที่ยื่นคาขอรับชาระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์สั่งว่าจะได้รบั ชาระหนี้เท่าไหร่ เช่น เจ้าหนี้ยื่นมา
ขอ 700,000 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็สั่งให้ 700,000 ต่อมาปรากฏว่าลูกหนี้ขอประนอมหนึ้ขอชาระหนี้เพียง 50% แล้วการ
ประนอมหนี้เป็นผลสาเร็จเจ้าหนี้ที่มายื่นรายนี้ก็จะได้ไป 350,000 ส่วนเจ้าหนี้คนอื่นที่ยื่นคาขอรับชาระหนี้ มาแต่ไม่ได้มาประชุม

26
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 56 การประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยแล้วผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้
ซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ได้ แต่ไม่ผูกมัดเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดในเรื่องหนี้ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้ลูกหนี้ไม่อาจหลุดพ้นโดยคาสั่งปลดจากล้มละลายได้
เว้นแต่เจ้าหนี้คนนั้นได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้
27
มาตรา 94 เจ้าหนี้ไม่มีประกัน อาจขอรับชาระหนี้ ถ้ามูลแห่งหนี้เกิด ขึ้น ก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งพิทักษ์ท รัพย์ แม้ว่าหนี้นั้น ยังไม่ถึง
กาหนดชาระหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่
(1) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ศีลธรรมอันดี หรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
(2) หนี้ที่ เจ้าหนี้ ยอมให้ลูกหนี้กระทาขึ้น เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ ลูกหนี้มีหนี้สินล้น พ้นตัว แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่ เจ้าหนี้ยอมให้กระท าขึ้น
เพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดาเนินต่อไปได้
28
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 77 คาสั่งปลดจากล้มละลายทาให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอชาระได้ เว้นแต่
(1) หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร หรือจังกอบของรัฐบาลหรือเทศบาล
(2) หนี้ซึ่งได้เกิดขึ้นโดยทุจริตฉ้อโกงของบุคคล้มละลาย หรือหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องเนื่องจากความทุจริตฉ้อโกงซึ่งบุคคลล้มละลายมี
ส่วนเกี่ยวข้องสมรู้
P a g e | 21

ด้วยก็จะก็ย่อมผูกมัดไปตาม 50% ดังกล่าวนี้ด้วย แต่กรณีที่เจ้าหนี้รายใดที่ ไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ มาเลย เจ้าหนี้รายก็จะไม่มี


สิทธิได้รับชาระหนี้เลย เพราะลูกหนี้จะชาระหนี้ให้เฉพาะแต่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นเท่านั้น ส่วนกรณีเจ้าหนี้ภาษีอากร ในขั้นแรกจะต้องดูว่า
เจ้าหนี้ภาษีอากรได้ยอมรับในการประนอมหนี้ด้วยหรือไม่ ถ้าหากเจ้าหนี้ภาษีอากรไม่ได้ยอมรับแล้วเจ้าหนี้นั้นก็จะ ได้รับชาระหนี้
เต็มจานวน
ข้อสังเกต การประนอมหนี้มีผลเฉพาะต่อลูกหนี้เท่านั้น ตามมาตรา 5929 ดังนั้น บุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ลูกหนี้ที่ต้องรับผิด
ร่วมกับลูกหนี้ ผู้ค้าประกัน ถึงแม้ว่าลูกหนี้จะได้มีการประนอมหนี้ไปและมีการชาระหนี้ไปแล้วก็มีเพียงแต่ลูกหนี้เท่านั้นที่หลุดพ้น
ความรับผิด เช่น ในคดีล้มละลายลูกหนี้ขอประนอมหนี้โดยชาระเงินเพียง 30% เท่านั้น การประนอมหนี้นี้จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลง
ความรับผิดของผู้ค้าประกัน ผู้ค้าประกันจะรับผิดเท่าไหร่ก็ไปดูว่าเจ้าหนี้ได้รับชาระหนี้เท่าไหร่แล้วกันแน่ ดังนั้น ถ้าลูกหนี้ได้ ชาระ
หนี้เพียง 30% แล้วหลุดพ้นความรับผิดไปแล้ว ในส่วนอีก 70% ที่เหลือผู้ค้าประกันก็ยังคงต้องรับผิดอยู่อีก
ในกรณีที่ผู้ค้าถูกเรียกให้ชาระหนี้เช่นนี้ผู้ค้าประกันจะมาเรียกให้ลูกหนี้รับผิดได้หรือไม่นั้น เนื่องจากว่าหลักการ คือ เมื่อ
ลูกหนี้ประนอมหนี้และชาระหนี้เป็นผลสาเร็จลูกหนี้ก็จะหลุดพ้นจากการชาระหนี้ที่เหลือไปทั้งหมด เว้นแต่หนี้นั้นจะเป็นหนี้ตาม
มาตรา 77 คือ หนี้ภาษีอากรหรือหนี้ที่ลูกหนี้ไปทุจริตฉ้อโกงเขา ดังนั้นก็กลายเป็นว่าผู้ค้าประกันจะไม่สามารถไปเรียกให้ลูกหนี้รับ
ผิดอีกได้ อย่างไรก็ตามถ้าหากผู้ค้าประกันถูกเรียกให้ชาระหนี้ก่อนแล้วก็ชาระหนี้ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ค้าประกันก็สามารถมายื่น
คาขอรับชาระหนี้ได้

พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 59 การประนอมหนี้ไม่ทาให้บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือรับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือค้าประกันหรืออยู่


29

ในลักษณะอย่างผู้ค้าประกันของลูกหนี้ หลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย
P a g e | 22

ฟื้นฟูกิจการ
การยื่นคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
ในการยื่นคาร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการเงื่อนไขของการยื่นคาร้องขอจะเป็นไปตามมาตรา 90/3 และบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิ
ในการยื่นคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการได้จะเป็นไปตามมาตรา 90/4 โดยในการพิจารณาคาร้องขอศาลจะพิจารณาตามมาตรา 90/10
ว่าได้ความจริงตามมาตรา 90/3 หรือไม่ คือ ลู กหนี้มีหนี้สินล้นพันตัวหรือไม่ชาระหนี้ มีมูลหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท และมี
ช่องทางในการที่จะฟื้นฟูกิจการได้ หากเข้าเหตุตามมาตรา 90/3 แล้วมีเหตุอันสมควรและการร้องขอเป็นไปโดยสุจริตศาลก็จะสั่งให้
ฟื้นฟูกิจการ
1. ผู้มีสิทธิยื่นคาร้องขอ (มาตรา 90/4)30
(1) เจ้าหนี้
เจ้าหนี้นั้นหมายถึง เจ้าหนี้คนเดียวหรือเจ้าหนี้หลายคนก็ได้แต่จะต้องมีจานวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (ตามมาตรา
90/4 (1)) ซึ่งเจ้าหนี้นี้จะเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันก็ได้
(2) ลูกหนี้
เนื่องจากว่ามาตรา 90/1 ได้นิยามความหมายของลูกหนี้เอาไว้ว่าเป็น ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทจากัด บริษัทมหาชนจากัด หรือ
นิติบุคคลอื่นที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวง และลูกหนี้นั้นจะต้องมีลักษณะตามมาตรา 90/3 31 คือ เป็นลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หรือไม่สามารถชาระหนี้ได้ และมีหนี้รวมกันไม่น้อยกว่า 10 ล้านและมีเหตุอันสมควรที่จะร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการได้
(3) หน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 90/4 (3) – (6)
2. เงื่อนไขในการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ (มาตรา 90/3)
(1) ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถชาระหนี้ได้
คาว่า “ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว” คือ ลูกหนี้มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน หรือว่าเข้าบทสันนิษฐานตามมาตรา 8 ในคดี
ล้มละลาย ส่วนกรณีที่ “ไม่สามารถชาระหนี้ได้” นั้นคือ การที่ลูกหนี้ประสบปัญหาทางการเงินทาให้ไม่สามารถชาระหนี้ได้เมื่อหนี้
ถึงกาหนดชาระ ซึ่งในเรื่องนี้มีข้อสังเกตว่ากฎหมายไม่ได้กาหนดขั้นต่าไว้ว่าจะต้องเป็นจานวนเท่าไหร่
(2) ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจานวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
(3) มีเหตุอันสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการและมีช่องทางให้ฟื้นฟูกิจการ
การมี “เหตุอันสมควร” นั้นก็คือการที่มีมูลเหตุจากภายนอกไม่ใช่เพราะว่าความผิดของลูกหนี้เอง เช่น การที่มีการปรับ
ลดค่าเงิน การที่ลูกหนี้ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ส่วน “ช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ” คือ วิธีการในการที่ลูกหนี้จะ

30
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/4 ภายใต้บังคับมาตรา 90/5 บุคคลผู้มีสิทธิยื่นคาร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) เจ้าหนี้ซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวหรือหลายคนรวมกันและมีจนาวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
(2) ลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะตามมาตรา 90/3
31
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/3 เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถที่จะชาระหนี้ได้ และเป็นจานวนหนี้คนเดียวหรือหลายคน
รวมกันเป็นจานวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกาหนดชาระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตอันสมควรและมีช่องทางที่จะ
ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตามมาตรา 90/4 อาจยื่นคาร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟูกิจการได้
P a g e | 23

กลับสู่สภาวะทางการเงินที่เป็นปกติได้และทาให้การฟื้นฟูกิจการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ เช่น กู้ยืมเงินมาลงทุนเพิ่มเติม ขยาย


กาหนดเวลาชาระหนี้เดิมออกไป ขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักของธุรกิจเพื่อนาเงินมาดาเนินกิจการ
ฎีกาที่ 6858/2546 สาเหตุที่ลูกหนี้ประสบปัญหาทางการเงินมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโดยเฉพาะการปรับลดค่าเงินบาทและ
การชะงักของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อันถือเป็นปัจจัยภายนอก การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นวิธีการที่จะทาให้สามารถรักษา
องค์กรทางธุรกิจให้ดาเนินต่อไปได้ ทั้งปรากฏว่าลูกหนี้มีลูกจ้างกว่า 1,000 คน การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จะทาให้ รักษาการจ้าง
งานได้ต่อไป จึงยังมีเหตุสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และกิจการของลูกหนี้ยังสามารถดาเนินการต่อไปได้ ด้วยการปรับ
โครงสร้างทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการขยายระยะเวลาในการชาระเงิน การแปลงหนี้เป็นทุน
ฎีกาที่ 8428/2544 การฟื้นฟูกิจการมีวัตุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้ที่ ประสบปัญหาทางการเงิน ชั่วคราวได้มีโอกาสฟื้นฟู
กิจการหรือปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนีเ้ พื่อให้กิจการของลูกหนีก้ ลับคืนสู่สภาพที่สามารถดาเนินกิจการตามปกติต่อไปได้ ใน
คดีนี้ปรากฏว่าลูกหนี้ได้เอาโรงงานของตัวเองไปให้คนอื่นเช่าเป็นเวลา 3 ปีแล้วยังไม่หมดสัญญาเช่า ปรากฏว่าลูกหนี้มายื่นคาร้อง
ขอฟื้นฟูกิจการ ผู้เช่าก็เลยมายื่นคาคัดค้านว่าเป็นผู้ ครอบครองและทาประโยชน์อยู่ ศาลตัดสินว่าลูกหนี้ ไม่อาจขอปรับปรุงฟื้นฟู
กิจการในการประกอบกิจการโรงงานดังกล่าวได้ และลูกหนี้ก็ไม่ได้ประกอบธุรกิจให้เช่าทรัพย์สนิ อันมีการจัดการบริหารดาเนินธุรกิจ
การค้า ดังนั้นจึงไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ฎีกาที่ 8271/2559 ลูกหนี้ไม่ได้ประกอบกิจการใดแล้วแล้วก็หยุดประกอบกิจการก่อนยื่นคาร้องฟื้นฟูกิจการมาเป็นเวลา
6 ปี ตอนที่ยื่นคาร้องก็มีแค่เครื่องจักรที่ อยูในสภาพที่ไม่สามารถใช้งานได้ พนักงานก็ไม่มี การร้องขอฟื้น ฟูกิจการนี้ จึง ไม่ ได้ มี
วัตถุประสงค์เพื่อรักษากิจการที่ดาเนินการอยู่ให้ดาเนินธุรกิจต่อไป เพราะผู้ร้องต้องการเพียงแค่ได้รับ สภาวะพักการชาระหนี้
ตามกฎหมายเท่านั้นเองจึงเป็นการร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการที่ไม่สุจริต อีกทั้งก็เป็นการประวิงในการชาระหนี้ และเจ้าหนี้รายใหญ่ก็
คัดค้านด้วย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ
3. การยื่นคาคัดค้านให้ฟื้นฟูกิจการ
บุคคลผู้มีสิทธิยื่นคาคัดค้านการฟื้นฟูกิจการสามรถแบ่งได้เป็น (1) ลูกหนี้ กับ (2) เจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้ในที่นี้ศาลตีความ
อย่างกว้าง คือ เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ให้ลูกหนี้กระทาการ ยกเว้นกระทาการ หรือส่งมอบทรัพย์ โดยประเด็นในการ
ยื่นคาคัดค้าน คือ เงื่อนไขในการยื่นคาร้องขอ กับ ผู้ทาแผน โดยการคัดค้านคาร้องขอนั้นจะต้องทาก่อนวันไต่สวนนัดแรก ตาม
มาตรา 90/932 ท่องมาตรา 90/17 ด้วย33
สภาวะพักการชาระหนี้
หลังจากที่มีการยื่นคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการส่งหมายเรียกให้เจ้าหนี้ลูกหนี้ทาคาคัดค้านและศาลเห็นควรว่าให้ฟื้นฟูกิจการ
และมีคาสังให้ฟื้นฟูกิจการแล้วก็จะมีมาตรการต่างๆเพื่อคุ้มครองตัวลูกหนี้และคุ้มครองตัวเจ้าหนี้ คือ การป้องกันป้องไม่ให้ลูกห นี้
จาหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินและการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ฟ้องคดีซึ่งสภาวะดังกล่าวเรียกว่า สภาวะพักการชาระหนี้

32
มาตรา 90/9 ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้อาจยื่น คาคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวนไม่น้อยกว่า3วันในกรณีที่เป็นการคัดค้านผู้ทาแผน ลูกหนี้หรือ
เจ้าหนี้จะเสนอชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ทาแผนด้วยหรือไม่ก็ได้ การเสนอผู้ทาแผนต้องเสนอหนังสือยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ทาแผนด้วย
33
มาตรา 90/17 ในการพิจารณาตั้งผู้ทาแผน ถ้าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ผู้คัดค้านไม่ได้เสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทาแผนด้วย เมื่อศาลสั่งให้ฟื้นฟู
กิจการ ศาลจะมีคาสั่งตั้งบุคคลที่ผู้ร้องขอเสนอเป็นผู้ ทาแผนก็ได้ ถ้าศาลเห็นว่าบบุคลที่ผู้ร้องขอเสนอไม่สมควรเป็นผู้ทาแผนก็ดี หรือลูกหนี้หรือ
เจ้าหนี้ผู้คัดค้านเสนอบุคคลอื่นเป็นผู้ทาแผนก็ดี ให้ศาลมีคาสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรียกประชุมเจ้าหนี้โดยเร็วที่สุดเพื่อพิจารณาเลือกว่า
บุคคลใดสมควรเป็นผู้ทาแผน
P a g e | 24

1. จุดเริ่มต้นของสภาวะพักการชาระหนี้
จุดเริ่มต้นของสภาวะพักการชาระหนี้ตามมาตรา 90/12 34 นั้นเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ศาล “รับคาร้องไว้พิจารณา” คือ ผู้
พิพากษาศาลล้มละลายได้ตรวจคาร้องขอแล้วมีคาสั่งให้รับคาร้องขอ ดังนั้นการที่ลูกหนี้ไปยังที่ศาลจังหวัดแล้วศาลจังหวัดสั่งให้ส่ง
คาร้องไปยังศาลล้มละลายกลาง ในช่วงเวลาที่ดังกล่าวนี้สภาวะพักการชาระหนี้จะยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นต่อเมื่อศาลล้มละลาย
กลางมีคาสั่งรับคาร้องนั้น โดยสภาวะพักการชาระหนี้จะมีไปเรื่อยๆจนกว่า คดีสิ้นสุดด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมาย
กาหนด
2. บุคคลที่กฎหมายคุ้มครอง
สภาวะพักการชาระหนี้มุ่งคุ้มครองเฉพาะลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ส่วนบุคคลที่ต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ เช่น
ลูกหนี้ร่วม ผู้ค้าประกัน หรือบุคคลที่ต้องรับผิดอย่างผู้ค้าประกันจะไม่ได้รับประโยชน์จากสภาวะพักการชาระหนี้แต่อย่างใด เช่น
บริษัท A กับบริษัท B ไปยืมเงินจากธนาคารไทยจากัด แล้วต่อมาธนาคาร ธนาคารมายื่นคาขอฟื้นฟูกิจการของบริษัท A บุคคลที่จะ
ถูกห้ามไม่ให้ฟ้องนั้นก็คือเฉพาะบริษัท A เท่านั้น ส่วนบริษัท B ไม่ใช่ลูกหนี้ตามมาตรา 90/12 (4) หรือถ้าบริษัท A ไปกู้ยืมเงินจาก
ธนาคารโดยมีบริษัท B เป็นผู้ค้าประกันแล้วธนาคารยื่นขอฟื้นฟูกิจการแล้ว เฉพาะบริษัท A เท่านั้นที่จะถูกห้ามฟ้องตามมาตรา
90/12 (4) คนที่จะได้รับประโยชน์จึงคือ เฉพาะบริษัทที่ถูกร้องให้ฟื้นฟูกิจการเท่านั้น ส่วนคดีของบริษัท B ที่อาจอยู่ในฐานะ
ลูกหนี้ร่วมหรือผู้ค้าประกันก็ยังคงสามารถดาเนินต่อไปได้
3. รายการและเงื่อนไขในการคุ้มครอง
เมื่อศาลรับคาร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมี
คาสั่งเห็นชอบด้วยแผนไม่ได้ ดังนั้นอย่างที่ได้เคยกล่าวไปแล้วว่า กฎหมายห้ามเฉพาะฟ้องลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ
เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เจ้าหนี้ก็ยังคงสามารถฟ้องบุคคลที่ต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ หรือฟ้องผู้ค้าประกันของลูกหนี้ต่อไปได้อยู่ดี คา
พิพากษาฎีกาที่ 3403/2545 แม้จาเลยที่ 2 – 4 จะถูกฟ้องให้รับผิดร่วมกับจาเลยที่หนึ่ง แต่จาเลยที่หนึ่งเป็นผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการ
แต่เพียงผู้เดียวจึงเป็นเรื่องเฉพาะของจาเลยที่ จาเลยที่ 2 – 4 จึงไม่อาจได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 90/12 (4) เช่นเดียวกับ
จาเลยที่ 1 เพราะจาเลยที่ 2 – 4 ไม่ได้เป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการด้วย
วัตถุประสงค์ ของการที่กฎหมายไม่ให้ฟ้องลูกหนี้นั้นก็เพราะว่า บรรดาหนี้ทั้งหมดที่ เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟู
กิจการ ตามมาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง35นั้น หลังจากที่ศาลมีคาสั่งและมีการประกาศโฆษณาคาสั่งแล้ว กฎหมายต้องการให้เจ้าหนี้
ทั้งหลายมายื่นคาขอรับชาระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กาหนดให้เจ้าหนี้ได้เท่าไหร่แล้วก็
จะต้องนาจานวนตัวเลขดังกล่าวไปใส่ไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้จะได้รับชาระหนี้ตามที่แผนฟื้นฟูกิจการกาหนดไว้เท่านั้น
ข้อสังเกต หนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่มีคาสั่งฟื้นฟูกิจการแล้ว ผู้ทาแผนก่อขึ้นเจ้าหนี้ไม่จาต้องมาขอรับชาระหนี้ เพราะ
ไม่ใช่หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง ดังนั้นเจ้าหนี้สามารถรับชาระหนี้ได้เลย ตามมาตรา

34
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/12 ภายใต้บังคับมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ ศาลมีคาสั่งรับคาร้องขอไว้เพื่อพิจารณา
จนถึงวันที่ครบกาหนดระยะเวลาดาเนินการตามแผน หรือวันที่ดาเนินการเป็นผลสาเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคาสั่งยกคาร้องขอ หรือจาหน่ายคดี
หรือยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้
(4) ห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือเสนอข้อพิพาทที่ลูกหนี้อาจจะต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายให้
อนุญาโตตุลาการชี้ขาด ถ้ามูลแห่งหนี้นั้นเกิดก่อนวันที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน และห้ามมิให้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลาย ในกรณีที่มีการเสนอข้อ
พิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดไว้ก่อนแล้ว ให้งดการพิจารณาไว้ เว้นแต่ศาลที่รับคาร้องขอจะมีคาสั่งเป็นอย่างอื่น
35
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/27 เจ้าหนี้อาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟู
กิจการ แม้ว่าหนี้นั้น ยังไม่ถึงกาหนดชาระหรือมีเงื่อนไขก็ต าม เว้น แต่หนี้ที่ เกิด ขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันหรือหนี้ที่จ ะ
ฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
P a g e | 25

90/62 (1)36 อย่างไรก็ตามถ้าหากผู้บริหารแผนไม่ยอมชาระหนี้แล้วเจ้าหนี้จะต้องขออนุญาตศาลล้มละลายเพื่อฟ้องคดีต่อศาล


แทน เพราะว่าหนี้ดังกล่าวนั้นผู้ทาแผนยังทาแผนไม่เสร็จ ดังนั้นเมื่อยังทาแผนไม่เสร็จแล้วจึงเป็นกรณีที่ “มูลแห่งหนี้นั้นเกิดขึ้น
ก่อนวันที่ศาลเห็นชอบด้วยแผน” ตามมาตรา 90/12 (4)
ข้อสังเกต ถ้าเป็นหนี้ที่ผู้บริหารแผนก่อขึ้นไม่ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้เพราะว่าหนี้ดังกล่าวไม่ใช่หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมี
คาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 จึงไม่จาเป็นต้องมาขอรับชาระหนี้ผู้บริหารแผนสามารถชาระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้เลย ตาม
มาตรา 90/62 (1) แต่ถ้าหากผู้บริหารแผนไม่ชาระหนี้เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องให้ผู้บริหารแผนชาระหนี้ได้ เพราะว่าเป็นหนี้ที่เกิดขึ้น
ภายหลังศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว จึงไม่ตกอยู่ภายใต้สภาวะพักการชาระหนี้ตามมาตรา 90/12 (4)
4. การจาหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชาระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทาการใดที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน
หลังจากที่ศาลได้มีคาสั่งรับคาร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ลูกหนี้จะดาเนินการได้เฉพาะการกระทาที่จาเป็น เพื่ อให้การ
ดาเนิ นการค้ าตามปกติ ของลูกหนี้ สามารถดาเนิ นไปได้ (Ordinary course of business) คือ การพิจารณาว่า อะไรเป็น การ
ดาเนินการธุรกิจตามปกติของลูกหนี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาจากลักษณะของกิจการของลูกหนี้เป็นสาคัญ เช่น ดูว่าวันก่อนลูกหนี้ทา
ธุรกิจอะไร ลู กหนี้ท าอะไรเป็ นการค้าตามปกติ เช่น ลูกหนี้เป็ นห้ างสรรพสินค้ า super market ลูกหนี้ ขายตู้เย็น ขายอาหาร
กระป๋องเป็นปกติอยู่แล้ว เมื่อศาลมีคาสั่ง รับคาร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้ก็ยังคงสามารถขายอาหารกระป๋อง ขายตู้เย็นไปได้
ตามปกติเหมือนเดิม ตามมาตรา 90/12 (9)37
ซึ่งถ้าหากลูกหนี้ฝ่าฝืนด้วยการจาหน่าย จ่ายโอน ให้เช่า ชาระหนี้ หรือกระทาการใดๆที่ไม่ใช่การกระทาตามปกติในการ
ดาเนินธุรกิจแล้ว ลูกหนี้จะต้องขออนุญ าตต่อศาลก่อน เช่น จากตั วอย่าง super market ข้างต้นถ้าหากจากปกติลูกหนี้ขาย
อาหารกระป๋อง ขายตู้เย็น วันดีคืนดีลูกหนี้อยากขายที่ดินซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ลูกหนี้ดาเนินการตามปกติเลยเช่นนี้ ลูกหนี้จะต้องขออนุญาต
จากศาลก่อนมิเช่นนั้นแล้วการกระทาดังกล่าวก็จะตกเป็น โมฆะ ตามมาตรา 90/12 วรรคท้าย38 ไม่ใช่การตกเป็นโมฆะตามมาตรา
150 ป.พ.พ.แต่อย่างใด
ข้อสังเกต มาตรา 90/12 (9) นี้นาไปใช้กับกรณีที่ยังตั้งผู้บริหารแผนไม่ได้เรียกว่า ผู้บริหารแผนชั่วคราว และนาไปใช้กับ
กับในช่วงของ ผู้ทาแผน ด้วยตามมาตรา 90/2539 และก็ถูกนาไปใช้ในช่วงของ ผู้บริหารแผน ตามมาตรา 90/5940 เช่นเดียวกัน

36
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/62 เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชาระหนี้ โดยไม่ต้องขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการในหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามแผน ดังต่อไปนี้
(1) หนี้ซึ่งผู้ทาแผน ผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนชั่วคราว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือตัวแทนของบุคคลดังกล่าวก่อนขึ้น
37
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/12 ภายใต้บังคับมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ ศาลมีคาสั่งรับคาร้องขอไว้เพื่อพิจารณา
จนถึงวันที่ครบกาหนดระยะเวลาดาเนินการตามแผน หรือวันที่ดาเนินการเป็นผลสาเร็จตามแผน หรือวันที่ศาลมีคาสั่งยกคาร้องขอ หรือจาหน่ายคดี
หรือยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้
(9) ห้ามมิให้ลูกหนี้จาหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชาระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทาการใดๆที่ก่อภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทาที่
จาเป็นเพื่อให้การดาเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดาเนินต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคาร้องขอจะมีคาสั่งเป็นอย่างอื่น
38
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/12 วรรคท้าย การออกคาสั่งของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท นายทะเบียนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือผู้มี
อานาจหน้าที่เกี่ยวกับนิติบุคคลซึ่งเป็นลูกหนี้ การทานิติกรรม หรือการชาระหนี้ใดๆ ที่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดของ
วรรคหนึ่ง การนั้นเป็นโมฆะ
39
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/25 ภายใต้บังคับมาตรา 90/42 และมาตรา 90/64 เมื่อศาลมีคาสั่งตั้งผู้ทาแผนแล้ว ให้อานาจหน้าที่ใน
การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ และบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทา แผน
และให้นาบทบัญญัติมาตรา 90/12 (9) มาบังคับใช้แก่ผู้ทาแผนโดยอนุโลม
P a g e | 26

การขอรับชาระหนี้
หนี้ที่จะมายื่นคาขอรับชาระหนี้ได้จะต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลสัง่ ให้ฟื้นฟูกิจการ โดยเมื่อมายื่นคาขอรับชาระหนี้แล้ว
ก็ต้องมาดูว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกาหนดว่าจะให้เท่าไหร่ เมื่อกาหนดแล้วจะนาจานวนหนี้นั้นเข้าสูร่ ะบบจัดทาแผน โดยผู้ทา
แผนจะนาหนี้ของเจ้าหนี้แต่ละรายไปจัดไว้เป็นกลุ่มๆ ซึ่งในแต่ละกลุ่มก็จะกาหนดเอาไว้ว่าเจ้าหนี้แต่ละรายจะได้รับชาระหนี้เป็น
จานวนเท่าไหร่ และเจ้าหนี้จะได้รับชาระหนี้ตามที่แผนนั้นกาหนดไว้เท่านั้น อย่างไรก็ตามถ้าหากมีหนี้ที่เกิดขึ้น ในช่วงของผู้ทา
แผนแล้ว ผู้ทาแผนก็สามารถชาระหนี้ได้เลยและเจ้าหนี้ก็สามารถรับชาระหนี้ได้ ไม่จาต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้แต่อย่างใด
1. บุคคลผู้ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้
เจ้าหนี้ที่จะมายื่นคาขอรับชาระหนี้นั้นจะต้องเป็น เจ้าหนี้ทุกรายที่ลูกหนี้จะต้องชาระหนี้เป็นหนี้เงิน แม้ว่าเจ้าหนี้นั้นจะ
เป็นเจ้าหนี้ที่มีคาพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็ตามก็จะต้องมายื่นคาขอรับชาระหนี้เช่นเดียวกับ ตามมาตรา 90/2641 ซึ่งถ้าหากเจ้าหนี้ราย
ใดไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้แล้วก็ย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้รายนั้น หมดสิทธิได้รับชาระหนี้ไปตามมาตรา 90/61 เว้นแต่แผนนั้นจะได้
กาหนดให้เจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ได้รับชาระหนี้ด้วย หรือได้มีคาสั่งยกเลิกคาสั่งฟื้นฟูกิจการ
ประเด็น เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้นั้นจะต้องได้รับชาระหนี้โดยการยื่นคาขอรับชาระหนี้ เท่านั้น เจ้าหนี้จะ
ไม่สามารถได้รับชาระหนี้ด้วยวิธีอื่นได้ และแม้ผู้ทาแผนก็ไม่สามารถชาระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งให้ฟื้ นฟู
กิจการได้ไม่ เช่น ฏีกาที่ 3210/2559 (หน้า 101) เจ้าหนี้จะได้รับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นจานวนเท่าใดจะต้ องนาหนี้
ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้ไม่อาจที่จะได้รับชาระหนี้โดยวิธีอื่นนอกจากตามจานวนและเงื่อนไขที่กาหนดไว้ใน
แผนฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับชาระหนี้จากลูกหนี้หรือผู้ทาแผนซึ่งได้นาเงินมาชาระหรือนามาวางไว้ที่สานักงานวางทรัพย์
แต่อย่างใด และการที่ลูกหนี้นาเงินไปชาระหนี้ภายหลังศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว หรือ ผู้ทาแผนนาเงินไปวางเพื่อชาระหนี้
ให้แก่เจ้าหนี้ที่สานักงานวางทรัพย์อันมิใช่วิธีการที่กฎหมายกาหนดเพื่อชาระหนี้ซึ่งมูลหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
จึงเป็นการกระทาที่ไม่อาจทาได้
2. ยื่นภายในกาหนดเวลา 1 เดือนนับแต่โฆษณาตั้งผู้ทาแผน
เจ้าหนี้จะต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้ภายในกาหนดเวลา 1 เดือนนับแต่ตั้งผู้ทาแผน ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง 42 ดังนั้น
ถ้าหากยังไม่มีการตั้งผู้ทาแผน แต่ว่ามีการตั้งผู้บริหารชั่วคราวแล้วมีการโฆษณาคาสั่งฟื้นฟูกิจการแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังไม่สามารถยื่นคา
ขอรับชาระหนี้ได้เพราะว่ายังไม่มีการตั้งผู้ทาแผนเกิดขึ้น ซึ่งในการโฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผนตามมาตรา 90/24 วรรคสอง 43บอกว่า
40
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/59 ภายใต้บังคับมาตรา 90/42 และมาตรา 90/64 เมื่อศาลมีคาสั่งเห็นชอบด้วยแผน ให้ศาลแจ้งคาสั่ง
นั้นให้แก่ผู้บริหารแผนและผู้ทาแผนทราบโดยไม่ชักช้า ให้บรรดาสิทธิและอานาจหน้าที่ของผู้ทาแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนตั้งแต่ผู้บริหารแผน
ได้ทราบคาสั่งศาล
41
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/26 เจ้าหนี้จะขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในส่วนนี้ แม้จะ
เป็นเจ้าหนี้ตามคาพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้พร้อมสาเนา
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือนนับแต่โฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งสาเนาคาขอรับชาระหนี้ให้ผู้ทา
แผนโดยไม่ชักช้า
42
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/26 เจ้าหนี้จะขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไ ว้ในส่วนนี้ แม้จะ
เป็นเจ้าหนี้ตามคาพิพากษา หรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียังอยู่ระหว่างพิจารณาก็ตาม ทั้งนี้ ต้องยื่นคาขอรับชาระหนี้พร้อมสาเนา
ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือนนับแต่โฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผนและให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่ งสาเนาคาขอรับชาระหนี้ให้ผู้ทา
แผนโดยไม่ชักช้า
43
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/24 วรรคสอง เมื่อศาลมีคาสั่งตั้งผู้ทาแผนแล้วให้นาความในมาตรา 90/20 วรรคสี่ และมาตรา 90/21
วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม กับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคาสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เสนอ
ต่อศาลและเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบ
P a g e | 27

ให้นามาตรา 90/20 วรรคสี่44มาใช้ โดยมาตรา 90/24 บอกว่าให้โฆษณาทั้งใน ราชกิจจานุเบกษา และ หนังสือพิมพ์ ซึ่งถ้าหากได้มี
การโฆษณาแตกต่างกันคนละวันแล้วจะต้องนับเอาวันที่โฆษณาหลังสุด แทน
3. แจ้งคาสัง่ให้เจ้าหนี้ทุกรายทราบ
เนื่องจากว่าในคดีฟื้นฟูกิจการนั้นธุรกิจของลูกหนี้ยังคงมีการประกอบกิจการไปตามปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เจ้าหนี้บาง
รายไม่อาจทราบได้ว่าลูกหนี้ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว ดังนั้น มาตรา 90/24 จึงกาหนดให้ “ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แจ้งคาสั่งดังกล่าว ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายตามบัญชีรายชื่อที่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เสนอต่อศาล และเจ้าหนี้อื่นเท่าที่ทราบ”
ซึ่งจะมีปัญหาต่อมาว่าถ้าหากไม่มีการแจ้งเจ้าหนี้แล้วเจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับแจ้งนั้นจะมาขอรับชาระหนี้ได้หรือไม่ ในเรื่องนี้
ศาลฏีกาก็จะวางหลักไว้ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่จะขอรับชาระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณา แต่ถ้าหากในข้อเท็จจริงกลายเป็นว่า
เจ้าหนี้นั้นไม่ได้รู้ถึงกระบวนการฟื้นฟูกิจการเลย จนกระทั่งการฟื้นฟูกิจการสาเร็จไปแล้ว กรณีนี้จะกลายเป็น ไม่มีการดาเนินการ
ตามที่กฎหมายกาหนดครบถ้วน คือ มีการโฆษณาและมีการแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ ดังนั้นจึง ไม่สามารถตัดสิทธิเจ้าหนี้ได้ อีกทั้ง
เจ้าหนี้ยังสามารถฟ้องให้ลูกหนี้ชาระหนี้ได้เต็มจานวน เพราะว่าเจ้าหนี้ไม่ได้ผูกพันตามแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย
4. เป็นหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้
หนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้นั้นจะเป็นไปตามมาตรา 90/27 45 ที่กาหนดว่าหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้จะต้องมีองค์ประกอบ
ดังต่อไปนี้ คือ
(1) เป็นหนี้เงิน
(2) มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
(3) หนี้นั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีหรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
5. ผลของการไม่ยื่นคาขอรับชาระหนี้ (มาตรา 90/61)46
ถ้าหากเจ้าหนี้ในหนี้ที่อาจขอชาระหนี้ได้ตามมาตรา 90/27 วรรคแรก ไม่ได้ขอรับชาระหนี้ภายในกาหนดเวลา 1 เดือน
นับแต่โฆษณาคาสั่งตั้งผู้ทาแผน แล้วย่อมส่งผลให้เจ้าหนี้นั้นหมดสิทธิได้รับชาระหนี้ แต่จะมีข้อยกเว้นอยู่ 2 อย่าง คือ (1) แผน
นั้นกาหนดเป็นอย่างอื่น กับ (2) ศาลมีคาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ การที่ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งการฟื้นฟูกิจการนั้นหมายความ
ว่า การฟื้นฟูกิจการดังกล่าวทาไม่สาเร็จและสิทธิหน้าที่ของลูกหนี้เจ้าหนี้ก็จะกลับคืนสู่สถานะเดิม ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 90/61

44
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/20 วรรคสี่ ให้ศาลแจ้งคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและคาสั่งแต่งตั้งให้ผู้บริหารชั่วคราวพ้นจากอานาจหน้าที่ให้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ และให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์โฆษณาคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการในราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์รายวันที่
แพร่หลายไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ
45
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/27 เจ้าหนี้อาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ ถ้า มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟู
กิจการ แม้ว่าหนี้นั้น ยังไม่ถึงกาหนดชาระหรือมีเงื่อนไขก็ต าม เว้น แต่หนี้ที่ เกิด ขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันหรือหนี้ที่จ ะ
ฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
46
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/61 เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการผู้ใดไม่ยื่นคาขอรับชาระหนี้ ภายในกาหนดเวลาตาม
มาตรา 90/26 หรือมาตรา 90/27 วรรคสาม แล้วแต่กรณี เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชาระหนี้ ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการนั้นจะเป็นผลสาเร็จ
ตามแผนหรือไม่ เว้นแต่
(1) แผนจะกาหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ
(2) ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
P a g e | 28

ผลของการเห็นชอบด้วยแผน (ตัดเนื้อหาตรงการทาแผน การเห็นชอบด้วยแผน)


หลังจากที่ศาลพิจารณาเห็นชอบด้วยแผนแล้ว ผลของการเห็นชอบด้วยแผนตามมาตรา 59 จะเป็นการเปลี่ยนอานาจาก
ของผู้ทาแผนไปยังผู้บริหารแผน อานาจหน้าที่ของผู้ทาแผนตามมาตรา 90/25 ที่บอกว่าให้นามาตรา 90/12 (9) มาใช้บังคับ คือ
ผู้ทาแผนสามารถดาเนินกิจการการค้าได้ตามปกติแต่อะไรที่อยู่นอกเหนือการดาเนินการค้าตามปกติจะต้องขอศาลนั้นก็จะโอนมายัง
ผู้บริหารแผน นอกจากนั้นผู้บริหารแผนก็จะยังมีอานาจที่ได้มาจากแผนฟื้นฟูกิจการด้วย คือแผนระบุไว้เช่นใดผู้บริหารแผนก็จะมี
อานาจเช่นว่านั้น
1. ผลต่อเจ้าหนี้
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้วแผนนั้นย่อมมีผลผูกมัดเจ้าหนี้ ตามมาตรา 90/60 คือ ผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดที่จะต้องเข้าสู่
กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งก็คือ เจ้าหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้ ในมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา
90/27 โดยไม่จาเป็นต้องคานึงว่าเจ้าหนี้นั้นจะได้ลงมติยอมรับแผนหรือไม่ เช่น ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการตั้งผู้ทาแผน นายโชคก็เลย
มาขอับชาระหนี้ตามมาตรา 90/27 เมื่อนายโชคมาขอรับชาระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อให้ความ
เห็นชอบด้วยแผน ปรากฏว่านายโชคลงมติไม่เห็นชอบด้วยแผนแต่ที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นชอบด้วยและศาลก็เห็นชอบกับแผน
นั้น นายโชคแม้จะไม่ได้เห็นชอบด้วยแผนก็ตาม นายโชคก็ยังคงต้องผูกมัดตามแผนนั้น ตามมาตรา 90/60
(1) เจ้าหนี้จะได้รับชาระหนี้อย่างไร
เมื่อเจ้าหนี้ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ก็จะสั่งว่าให้เจ้าหนี้รายนี้ได้รบั ชาระหนี้เท่าไหร่ จากนั้นผู้ทาแผน
ก็จะนาบรรดาเจ้าหนี้มาจัดเป็นกลุ่มๆแล้วก็กาหนดว่าในแต่ละกลุ่มจะได้รับชาระหนี้เป็นกลุ่มละเท่าไหร่ เช่น นายโชคยื่นคาขอรับ
ชาระหนี้มา 300,000 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ส่ง ให้ 300,000 ต่อมาผู้ทาแผนได้จับนายโชคไปอยู่ในกลุ่มที่ 5 ซึ่งในกลุ่มนี้จะ
ได้รับชาระหนี้เพียง 30% เท่านั้น นายโชคก็จะได้รับชาระหนี้ 30% ของ 300,000 เท่านั้น ฎีกาที่ 10897/2546 การที่เจ้าหนี้จะ
ได้รับชาระหนี้จริงจากการฟื้นฟูกิจการเป็นจานวนเท่าใด จะต้องนาจานวนหนี้ดังกล่าวมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้จะ
ถือว่าตนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ตามคาพิพากษาและบังคับคดีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคาพิพากษาในคดีแพ่งหาได้ไม่
(2) วิธีการในการได้รับชาระหนี้
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้วเจ้าหนี้จะได้รับชาระหนี้ด้วยวิธีต่างๆตามที่กาหนดไว้ในแผน เช่น การผ่อนชาระหนี้ การ
แปลงหนี้เป็นทุน การชาระหนี้ด้วยวิธีอื่น เจ้าหนี้ตามคาพิพากษาจะบังคับตามสิทธิของตนอย่างเช่นในคดีแพ่ง หรือเจ้าหนี้ภาษีอากร
จะบังคับยึดทรัพย์เพื่อชาระหนี้ภาษีอากรด้วยตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 32 ไม่ได้ ฎีกาที่ 2125/2548 มูลหนี้ของกรม
สรรภสามิตรเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ กรมสรรพมิตรยื่นคาขอรับชาระหนี้โดยชอบและศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว
กรมสรรพสามิตรจึงผูกพันที่ จะต้องปฏิบัติตามแผนรวมถึงการได้รับชาระหนี้จากลูกหนี้ด้วย ไม่อาจได้รับชาระหนี้ด้วยวิธีอื่น
นอกจากจานวนและเงื่อนไขที่กาหนดไว้ในแผน
(3) เจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้
เจ้าหนี้ที่ไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ภายในกาหนดเวลาตามมาตรา 90/26 จะหมดสิทธิที่จะขอรับชาระหนี้ ในการฟื้นฟู
กิจการ ทั้งนี้จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ ได้ทราบคาสั่งตั้งผู้ทาแผนโดยชอบแล้วตามมาตรา 90/24 ถ้าหากยังไม่ได้มีการแจ้งคาสั่งให้
ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทาแผนให้เจ้าหนี้รายนั้นทราบ หรือแจ้งคาสั่งดังกล่าวไม่ชอบ จะต้องถือว่าเจ้าหนี้ยังมีสิทธิที่จะยื่นคาขอรับ
ชาระหนี้อยู่ ส่วนกรณีที่มีการแจ้งโดยชอบแล้วแล้วเจ้าหนี้ก็ไม่ได้ยื่นคาขออีก เจ้าหนี้ก็จะหมดสิทธิในการขอรับชาระหนี้ เว้นแต่ (1)
แผนกาหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ (2) ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา 90/61
P a g e | 29

2. ผลต่อลูกหนี้
ตามมาตรา 90/61 วรรคแรกได้กาหนดว่า เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชาระหนี้ตามเท่าที่กาหนดไว้ในแผนเท่านั้น ดังนั้น
ลูกหนี้ก็มีหน้าที่ชาระหนี้ตามแผน หนี้ใดๆที่อยู่นอกเหนือจากแผนกาหนดไว้ หนี้ส่วนนั้นเฉพาะตัวลูกหนี้ได้รับการปลดเปลื้องไป
ส่วนคนอื่นๆที่จะต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้อย่างไรก็ว่ากันไปตามคดีแพ่ง เช่น เจ้าหนี้ขอรับชาระหนี้มา 300,000 บาท เจ้าพนักงาน
สั่งให้ ได้ 300,000 ต่ อมาผู้ท าแผนจัด ให้ เจ้าหนี้ อ ยู่ในหนี้ ก ลุ่ม ที่ 5 ได้ รับ ชาระหนี้ 30% เจ้าหนี้ ก็ จะได้รับ ชาระหนี้ 30% ของ
300,000 ต่อมาเมื่อลูกหนี้ได้ชาระหนี้ตามแผนไป คือ 90,000 บาทลูกหนี้ก็หลุดพ้นจากการชาระหนี้ในส่วนที่เหลืออีก ส่วนคนอื่นที่
ต้องรับผิดกับนายโชค เช่น ผู้ค้าประกันนั้นก็ต้องไปว่ากันตาม ป.พ.พ. ซึ่งในเรื่อง ป.พ.พ.ผู้ค้าประกันก็จะหลุดพ้นตามที่ได้มีการ
ชาระหนี้ไปแล้ว ดังนั้นอีก 70% ที่เหลือผู้ค้าประกันก็ต้องรับผิดไป
3. ผลต่อผู้ค้าประกัน
คาสั่งเห็นชอบด้วยแผนนั้นมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้ที่ต้องผูกพันตามที่แผนกาหนดเท่านั้น ส่วนบุคคลอื่นๆที่ต้องรับผิด
ร่วมกับลูกหนี้ เช่น ผู้ค้าประกันหรือบุคคลที่ต้องรับผิดอย่างเดียวกับผู้ค้าประกัน ความรับผิดของบุคคลดังกล่าวจะเป็นไปตาม
บทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางแพ่ง ตามมาตรา 90/60 วรรคสอง 47 เช่น ลูกหนี้มีหนี้อยู่ทั้งหมด 100 ล้านศาลเห็นชอบด้วย
แผนกาหนดให้ชาระหนี้ 30% เจ้าหนี้ก็เรียกให้ลูกหนี้ชาระหนี้ได้ 30 ล้านบาท ส่วนผู้ค้าประกันในวันที่ยังไม่มีการชาระหนี้เลย
เจ้าหนี้ก็สามารถเรียกให้ผู้ค้าประกันชาระหนี้ทั้งหมดได้ แต่ว่าถ้าหากว่าลูกหนี้ได้ชาระไปแล้ว 30% ลูกหนี้ก็หลุดพ้นจากการชาระ
หนี้ตามแผน ตามมาตรา 90/60 วรรคแรก ส่วนผู้ค้าประกันก็จะว่าไปตามความรับผิดทางแพ่ง ที่ลูกหนี้ชาระไปแล้ว 30% ส่วนผู้ค้า
ประกันก็รับผิดไปใน 70% ที่เหลืออยู่
ฎีกาที่ 3704/2546 (หน้า 254) ในการฟื้นฟูกิจการมีผลให้ปรับโครงสร้างหนี้ของจาเลยที่ 1 จาเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ในคดี
ฟื้นฟูกิจการ แผนกาหนดเท่าไหร่ก็ชาระเท่านั้น ในส่วนของผู้ค้าประกันไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของผู้ค้าประกัน หนี้ส่วนที่ผู้
ค้าประกันย่อมต้องรับผิดเท่าที่ส่วนที่ขาด เช่น หนี้มี 100 ชาระไป 20 ผู้ค้าประกันก็ยังรับผิดอีกแค่ 80 เพราะหนี้ล้างไปแค่ 20 ใน
ส่วนที่มีการชาระ

การสิ้นสุดคดีฟื้นฟูกิจการ
การบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการอาจสิ้นสุดด้วยเหตุต่างๆตามที่กฎหมายกาหนดไว้ เช่น กรณีที่ศาลรับคาร้องขอฟื้นฟู
กิจการแล้วปรากฏว่าไม่ได้ความก็จะสั่งให้ยกเลิกคาร้องขอ หรือไต่สวนแล้วไม่เข้าเงื่อนก็ยกคาร้องขอก็ได้ หรือยื่นคาร้องขอแล้วมี
การถอนคาร้องขอ หรือรับคาร้องขอแล้วผู้ร้องขอไม่วางเงินประกันศาลก็อาจจะสั่งให้จาหน่ายคดี โดยในส่วนของการ สิ้นสุดการ
ฟื้นฟูกิจการจะมีสองส่วนที่สาคัญๆ ด้วยกัน คือ 1.คาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ กับ 2.คาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
1. คาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
การที่ศาลจะมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้นจะเป็นกรณีที่มีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วแต่ต่อมามีเหตุบางอย่างที่ทาให้
ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการต่อไปได้ เช่น ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่สามารถเลือกผู้ทาแผนได้ หรือศาลไม่เห็นด้วยกับผู้ทาแผน หรือตั้งผู้ทาแผน
ได้แล้วแล้วต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่เห็นด้วยกับแผน หรือที่ประชุมเห็นชอบกับแผนแล้วแต่ศาลไม่เห็นชอบด้วยศาลก็สั่งให้ยกเลิกคาสั่ง
ให้ฟื้นฟูกิจการ หรือศาลล้มละลายเห็นชอบกับการฟื้นฟูกิจการแต่ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นชอบก็เลยยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ
47
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/60 แผนซึ่งศาลมีคาสั่งเห็นชอบแล้ว ผูกมัดเจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้และเจ้าหนี้
ซึ่งมีสิทธิได้รับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ตามมาตรา 90/27
คาสั่งของศาลซึ่งเห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิด ของบุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้ หรือผู้ซึ่งรับผิดร่วมกับลูกหนี้
หรือผู้ค้าประกัน หรืออยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้าประกันของลูกหนี้ ในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคาสั่งเห็นชอบด้วยแผน และไม่มีผลให้บุคคลเช่นว่า
นั้นต้องรับผิดในหนี้ที่ก่อขึ้นตามแผนตั้งแต่วันดังกล่าว เว้นแต่บุคคลเช่นว่านั้นจะยินยอมโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วย
P a g e | 30

ผล ตามมาตรา 90/7448 ของคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้น คือ จะทาให้ตัวลูกหนี้ หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการ


และกลับไปสู่สถาวะบริหารธุรกิจได้โดยมีผู้บริหารของลูกหนี้บริหารต่อไป ส่วนในเรื่องหนี้นั้นความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าหนี้กับ
ลูกหนี้ก็กลับคืนสู่สถานะเดิม กระบวนพิจารณาต่างๆที่ได้เคยทามาแล้วก็จะถูกลบล้างไปด้วยเป็นอัน เพิกถอนข้อกาหนดในแผน
ฟื้นฟูกิจการ
เช่น ศาลตั้งผู้ทาแผนแล้วเจ้าหนี้ยื่นขอชาระหนี้มา 300,000 บาทเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็สั่งให้ 300,000 บาท ตอมา
เจ้าหนี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 5 ได้รับชาระหนี้ 70 % โดยผลของมาตรา 90/60 โดยหลักแล้วเจ้าหนี้ก็จะได้รับผลผูกพันตามแผนฟื้นฟู
กิจการ ก็จะได้รับชาระหนี้ทั้งหมด 210,000 บาท ต่อมาเกิดปัญหาว่าผู้บริหารแผนพ้นจากต่าแหน่งแล้วหาผู้บริหารใหม่ไม่ได้ ก็จะมี
คาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ โดยผลของคาสั่งก็จะเป็นการยกเลิกกระบวนพิจารณาทั้งหมดที่เคยทามา ข้อกาหนดที่เคย
กาหนดให้เจ้าหนี้ได้รับ 70% ก็จะไม่มีอีกแล้ว แล้วสิทธิในการได้รับชาระหนี้ก็จะกลับไปยังมูลหนี้เดิม คือ 300,000 บาท
ในกรณีศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้วแล้วลูกหนี้ชาระหนี้ไปแล้ว 30,000 ปรากฏว่ามีคาสั่งยกเลิกคาสัง่ ให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้
ที่ตอนแรกมีหนี้อยู่ 300,000 นั้นอะไรที่ได้มีการดาเนินการไปแล้วก็จะมีผลสมบูรณ์ ตามมาตรา 90/7649 ดังนั้นเจ้าหนี้รายนี้ก็จะมี
สิทธิได้รับอีก 270,000 บาท

48
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/74 ในกรณีที่ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ให้อานาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สิน
ของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ และให้ผู้ถือหุ้นของลูกหนี้มีสิทธิตามกฎหมายต่อไป
49
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/76 คาสั่งศาลที่ให้ยกคาร้องขอ ยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ไม่กระทบถึง
การใดที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้บริหารชั่วคราว ผู้ทาแผน ผู้บริหารแผน หรือผู้บริหารแผนชั่วคราวได้กระทาไปแล้ว ก่อนศาลมีคาสั่งเช่นว่านั้น
P a g e | 31

2. การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีที่ศาลได้มีคาสั่งแสดงว่ามีการปฏิบัติตามแผนฟื้นฟูกิจการครบถ้วนแล้ว และการที่
ศาลมีคาสั่งดังกล่าวจะท าให้ลูกหนี้ หลุดพ้น จากการฟื้นฟู กิจการภายใต้การกากับของศาลและกลับ สู่สถาวะการดาเนินธุรกิจ
ตามปกติ ตามมาตรา 90/70 วรรคหนึ่ง50 ซึ่งการดาเนินการเป็นผลสาเร็จตามแผน หมายความ ว่า ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข
ที่กาหนดไว้ในแผนว่า ได้ดาเนินการถึงขั้นไหนแล้วถือเป็นการสาเร็จตามแผนไม่ใช่ว่าจะต้องชาระหนี้ให้แก่ จาหนี้ครบถ้วนตาม
แผน ซึ่งถ้าหากมีการยกเลิกคาสั่งฟื้นฟูกิจการแล้วนั้นจะส่งผลตามมาตรา 90/7551 คือ การที่มีคาสั่งฟื้นฟูกิจการลูกหนี้หลุดจากหนี้
ทั้งปวงในหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้ โดยหนี้ทั้งปวงที่ขอชาระหนี้ได้ คือ หนี้ที่ เกิดขึ้นก่อนศาลมีคาสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ตามมาตรา
90/27 ยกเว้นจะเป็นหนี้ที่มีการขอรับชาระหนี้ไว้แล้ว เช่น ถ้ามีเจ้าหนี้ 100 รายมีคนมายื่นคาขอรับชาระหนี้ 80 รายไม่ได้ยื่นคา
ขอรับชาระหนี้ 20 ราย แล้วต่อมาผู้ทาแผนก็จัดเอา 80 รายนี้เข้ากลุ่มต่างๆที่ประชุมเจ้าหนี้เห็นชอบแล้วศาลก็อนุมัติแผน พอ
ปฏิบัติตามแผนจนศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้ก็จะหลุดพ้นจากการชาระหนี้ทั้งหมด ยกเว้น 80 รายที่ยื่นคาขอรับชาระ
หนี้ไว้แล้ว
ส่ว นใน 80 รายนั้ น ลู ก หนี้ จ ะต้อ งรั บ ผิ ด เพี ย งอย่ างไรนั้ น เช่ น นายโชคเป็ น หนึ่ งในเจ้าหนี้ 80 รายมาขอรับ ชาระหนี้
300,000 แล้วเจ้าหนี้จับนายโชคเข้ากลุ่มที่ได้ 70% แผนกาหนดให้ชาระหนี้ปีละ 10% หากชาระหนี้ได้ 3 ปีติดต่อกันโดยไม่มีผิดนัด
ชาระหนี้ก็จะปลดจากการฟื้นฟูกิจการให้ ต่อมาเมื่อลูกหนี้ชาระหนี้มาครบ 30 % รวมกัน 3 ปีแล้ว ก็จะเป็นการปฏิบัติสาเร็จตาม
แผนและศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการชาระหนี้ แต่ลูกหนี้ก็ต้องรับผิด
ตามหนี้ที่ค้างอยู่ในแผน คืออีก 40% หลักคือ ***ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดตามที่ยังค้างอยู่ตามแผนฟื้นฟูกิจการ***
ส่วนเจ้าหนี้ 20 รายที่ไม่ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ ก็ย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชาระหนี้ ไม่ว่าการฟื้นฟูแผนกิจการจะสาเร็จ
หรือไม่ตามมาตรา 90/61 ยกเว้นว่าแผนนั้ นจะได้กาหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ ศาลมีคาสั่งยกเลิกคาสั่งให้ฟื้นฟู กิจการ และก็
พิจารณาประกอบกับมาตรา 90/75 ที่บอกว่า คาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการมีผลทาให้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงที่อาจขอรับ
ชาระหนี้ได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้ที่อาจขอรับชาระหนี้ได้ได้ยื่นคาขอรับชาระหนี้ไว้แล้ว

50
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/70 ถ้าผู้บริหารของลูกหนี้ ผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนชั่วคราวหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แล้วแต่
กรณี เห็นว่าการฟื้นฟูกิจการได้ดาเนินการเป็นผลสาเร็จตามแผนแล้วให้รายงานขอให้ศาลมีคาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโดยไม่ชักช้า และให้ศาล
นัดพิจารณาหากได้ความว่าการฟื้นฟูกิจการได้ดาเนินการเป็นผลสาเร็จตามแผน ก็ให้ศาลมีคาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโดยไม่ชักช้า
51
พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 90/75 คาสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงซึ่งอาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟู
กิจการได้ เว้นแต่หนี้ซึ่งเจ้าหนี้อาจขอรับชาระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการจะได้ขอรับชาระหนี้ไว้แล้ว

You might also like