You are on page 1of 4

Corrosion Inhibitors

ยุพา รุงเวชวุฒิวิทยา นว.7ว.


โอบเอื้อ อิ่มวิทยา นว.4

การเติมสารเคมีจํ านวนเล็กนอยลงไปในระบบงานบางอยางเพื่อลดปฏิกิริยาการกัดกรอน
โลหะ เรียกวา การยับยั้งปฏิกิริยา (inhibition) ตัวยับยั้งปฏิกิริยาการกัดกรอน (inhibitor) จะลดอัตรา
การเกิด anodic oxidation หรือ cathodic reduction หรือทั้งสองกระบวนการ การลดปฏิกิริยาเหลานี้
อาจเกิดจากการสราง protective film มาปกคลุมผิวหนาของโลหะ ซึ่งอาจจะเกิดจากการใช anodic,
cathodic และ mixed inhibitors ก็ได การดูดซับ inhibitors บนผิวหนาของโลหะเกิดไดจาก physical
(electrostatic) adsorption หรือ chemsorption
Physical adsorption เปนผลจากการเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟา (electrostatic attractive forces)
ระหวาง organic ions และผิวหนาโลหะที่มีประจุไฟฟา สวน chemsorption เปนการสงผาน หรือการ
ใชรวมกันของประจุในโมเลกุลของ inhibitor กับผิวหนาโลหะ ซึ่งจะเกิดการสรางพันธะรวมกัน
(coordinate - type bond) inhibitor ทีถ่ กู ดูดซับไว จะชวยลดการกัดกรอนที่เกิดบนผิวหนาของโลหะ
โดยการหนวงปฏิกิริยา anodic dissolution ของโลหะ หรือโดย cathodic evolution ของ hydrogen
หรือทั้งสองกระบวนการ
Inhibitors สามารถจําแนกไดตามหัวขอดังตอไปนี้
1. Passivation inhibitors

Passivation inhibitors เปนพวก chemical - oxidizing substances เชน chromates (CrO4 2-),
nitrites (NO2-) หรือ inorganic anions เชน borates (BO33-, B4O72-, BO2-), phosphates (PO43-),
bromates (BrO3-), sulfates (SO42-) และ silicates (SiO32-) เปนตน สารพวกนี้สามารถเกิดการดูดซับบน
พืน้ ผิวโลหะไดดี
Passivation inhibitors ไดรบั ความนิยมอยางกวางขวาง และมีประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดา
inhibitors ทัง้ หมด แมวา inhibitors ประเภทนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุด แตก็ตองใชอยางระมัดระวัง
เนือ่ งจากความเปนพิษ ซึ่งอาจทําใหเกิดผื่นคันเมื่อสัมผัสกับผิวหนังเปนเวลานาน นอกจากนี้ถาใช
passivation inhibitors ในปริมาณที่ไมเพียงพอ กลับจะไปเรงปฏิกิริยาการกัดกรอน และอาจเปนสาเหตุ
ของการเกิดรูพรุนบนผิวโลหะ (pitting)
Chromates เปน inhibitors ทีม่ รี าคาถูกที่สุดที่ใชสําหรับงานที่เกี่ยวกับระบบนํ้า และใชมากใน
งานพวก recirculating - cooling - water systems ของ internal combustion engines, หมอแปลงไฟฟา
และ cooling towers เปนตน มีการใช sodium chromate ทีค่ วามเขมขน 0.04 - 0.1% สําหรับงานดัง
กลาว แตที่ความเขมขนสูงกวานี้เหมาะสําหรับการใชงานที่อุณหภูมิสูงขึ้น หรือในนํ้าที่มีความเขมขน
ของ chloride มากกวา 10 ppm
กอนการเกิดปฏิกิริยาจะมีการเปลี่ยนรูปจาก Cr 6+ ion เปน Cr 3+ ion ซึ่ง Cr 6+ ion ละลายนํ้าได
และเปนพิษ ขณะที่ Cr 3+ ion ไมละลายนํ้า และมีลักษณะเปน sludge ซึ่ง chromate sludge นี้ จัดเปน
ของเสียทีม่ อี นั ตรายตอสิ่งแวดลอม และกอใหเกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ เนื่องมาจากใชคาใชจายสูงใน
การเปลี่ยนรูปและการคงรูปของ chromate ions และการกําจัดของเสียที่เปนอันตราย นอกจากนี้การ
จํากัดปริมาณการปลดปลอย chromates สูอากาศ เนื่องจาก chromates ทั้งสอง valences เปนสารกอ
มะเร็ง ทําใหการใช chromates ไมไดรับความนิยม
Chromates มีแนวโนมที่จะทําปฏิกิริยากับสารประกอบอินทรีย ดังนั้นจึงไมสามารถใชใน
antifreeze solution ได เนือ่ งจากสวนใหญแลว antifreeze solution จะประกอบดวย methanol หรือ
ethylene glycol สารที่เหมาะสมสําหรับจุดประสงคดังกลาวขางตน คือ sodium tetraborate (Na2B4O7 O

10H2O) หรือ borax สําหรับสารผสมระหวาง borax กับ sodium nitrite เหมาะที่จะใชปองกันการกัด


กรอนใน polymetallic cooling systems เชน cooling systems ทีป่ ระกอบดวยทองแดง เหล็ก และ
อะลูมิเนียม โดย borate จะชวยยับยั้งการกัดกรอนดวยการดูดซับออกซิเจน สวน nitrite จะเปน
oxidizing agent
Nitrites ใชงานในระบบนํ้าหลอเย็นชนิดที่เปน antifreeze เนือ่ งจากแทบจะไมทําปฏิกิริยากับ
alcohol และ ethylene glycol ซึง่ เปนสวนประกอบใน antifreeze เลย แตไมเหมาะสําหรับการใชใน
cooling - tower water systems เนื่องจากสามารถถูกทําลายโดย bacteria นอกจากนี้ nitrites ยังถูกนํา
มาใชยบั ยั้งการกัดกรอนพื้นผิวภายในทอสงนํ้ามันและกาซ โดยการฉีด 5 - 30% sodium nitrite
solution เขาไปในทออยางตอเนื่อง
2. Organic inhibitors
สารประกอบอินทรียที่มีสมบัติเปน corrosion inhibitors จะประกอบดวยหมูที่มีขั้วอยางนอย
1 หมู ไดแก หมูคารบอนิล, หมูไฮดรอกซิล และหมูอะมิโน เปนตน กับอะตอม เชน sulfur, nitrogen,
oxygen หรือ phosphorus ซึ่งมี electron pairs เพื่อใชสําหรับการสราง chemsorption bond ซึ่งจะ
ปรากฏเปน protective film บนผิวหนาโดยที่ inhibitor จะเปนตัวใหอิเล็กตรอน และโลหะเปนตัวรับ
อิเล็กตรอน สารประกอบอินทรียเหลานี้แทบจะไมมีผลกระทบตอ oxidation potential ของโลหะ
สารประกอบอินทรียหลายชนิด สามารถใชปองกันการกัดกรอนที่เกิดกับโลหะได โดยการ
สราง protective film ซึง่ มีลกั ษณะเปนโมเลกุลที่ดูดซับอยูบนผิวหนาของโลหะ มันจะสกัดกั้นการ
ละลายของโลหะใน electrolyte ความเขมขนของ organic inhibitor ทีใ่ ชในการรักษา protective film
คอนขางสูง และมีขอบเขตจํากัด โดย inhibitors แตละตัว จะมีความเขมขนที่เหมาะสมที่สุดในตัวกลาง
แตละชนิด ยกตัวอยางเชน sodium benzoate ความเขมขน 0.05% หรือ sodium cinnamate ความเขม
ขน 0.2% จะมีประสิทธิภาพในนํ้าที่มี pH 7.5 และมี sodium chloride 17 ppm หรือ ethyl octenol 0.5%
โดยนํ้าหนัก
Organic inhibitor ทีม่ ปี ระสิทธิภาพดีที่สุดตัวหนึ่ง คือ sodium salt of 2 -
mercaptobenzothiazole หรือ 2 - benzothiazolethiol ซึง่ ใชยับยั้งการกัดกรอนทองแดง และ alloys
Organic inhibitors สวนใหญเหมาะสําหรับใชงานในสภาวะที่เปนดาง inhibitors เหลานี้ ได
แก สารประกอบไฮโดรคารบอนที่มีพันธะสาม; acetylenic alcohols; sulfoxides; sulfides และ
mercaptans; aliphatic, aromatic หรือ heterocyclic compounds ทีม่ ไี นโตรเจนเปนองคประกอบ เชน
polyamines และ phosphoramides เปนตน
3. Precipitation inhibitors
Inhibitors ชนิดนี้ ทําใหเกิด protective film โดยการตกตะกอนบนผิวหนาของโลหะ ในกรณี
นํากระด
้ าง ซึ่งมีปริมาณ calcium หรือ magnesium อยูม าก จะเกิดการกัดกรอนนอยกวานํ้าออน เนื่อง
จากแนวโนมการเกิดเกลือในนํ้ากระดาง ซึ่งจะสรางเปน protective film โดยตกตะกอนบนผิวหนา
ของโลหะ
Sodium polyphosphate ที่ความเขมขน 10 - 100 ppm หลังจากปรับ pH ของนํ้าใหมีคา 5 - 6
จะทําใหเกิดการตกตะกอน calcium หรือ magnesium orthophosphate บนผิวหนาของโลหะ นอกจาก
นี้เกลือของ zinc สามารถเติมลงไปเพื่อปรับปรุงปฏิกิริยายับยั้งการกัดกรอนไดเชนเดียวกัน

มี inhibitors อีกหลายชนิดที่ใชในงานพิเศษ เชน thiourea - type compounds จะใชยับยั้งการ


กัดกรอนใน sulfuric acid pickling baths สําหรับเหล็ก และ silicates จะใชสําหรับ aluminium alkaline
cleaners สวน inhibitors ทีใ่ ชใน antirust paint systems เชน red lead และ zinc chromate นอกจากนี้
inhibitors ทีร่ ะเหยได จะใชปองกันในสถานที่ที่มีไอระเหย
การใช inhibitors เพือ่ ควบคุมการกัดกรอนจะตองทําอยางตอเนื่อง โดยการเติม inhibitors ให
อยูใ นปริมาณ และความเขมขนที่เหมาะสมเสมอ

กลุม งานเคมีประยุกต ไดวิเคราะหตัวอยางสารที่ใชยับยั้งการกัดกรอน เชน สารกันสนิม, นํ้ายา


ปองกันสนิมและปรับอุณหภูมิหมอนํ้ารถยนต เปนตน โดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะหวิธีตางๆ ไดแก
FTIR spectroscopy, gas chromatography, column chromatography และปฏิกิริยาเคมี เปนตน สารที่
ทําการวิเคราะหไดสวนใหญ ประกอบดวย sodium benzoate, sodium phosphate, sodium nitrate,
sodium sebacate, sodium carbonate, sodium chromate และ sodium nitrite เปนตน
ผูเ รียบเรียงบทความ ขอขอบพระคุณ คุณทรงศักดิ์ ลิ่มไพบูลย นว.8ว. และคุณรติกร
อลงกรณโชติกุล นว.4 ทีใ่ หคําแนะนํา และขอมูลการวิเคราะหในหองปฏิบัติการ เพื่อใชประกอบใน
บทความ มา ณ ที่นี้

เอกสารอางอิง
1. James W. McCoy (1974). The Chemical Treatment of Cooling Water, Chemical Publishing
Company, New York.
2. Philip A. Schweitzer, P.E. (1989). Corrosion Inhibitors, Corrosion and Corrosion Protection
Handbook, 2nd ed. Marcel Dekker, Inc., New York and Basel, pp. 47-50.
3. รศ. ไพพรรณ สันติสุข. Corrosion, ภาควิชาวัสดุศาสตร คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย.

กลุมงานเคมีประยุกต
กองเคมี
โทร. 0-2201-7232-34
โทรสาร. 0-2248-0290

4 เม.ย. 2545

You might also like