You are on page 1of 4

สารและสมบัติของสาร

บทที่ 4 ปฏิกิริยาเคมี

รองศาสตราจารยพเยาว ยินดีสขุ

ปฏิกิรยิ าเคมี หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสรางของสารตาง ๆ มีผลใหพลังงาน


ของระบบเปลีย่ นไป และ ใหผลิตภัณฑ หรือ สารใหมเกิดขึ้น
ตาราง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปฏิกริ ิยาเคมีตาง ๆ

ปฏิกิรยิ าเคมี การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


1. สารละลายเลด ( II ) ไนเตรด + สารละลายโพแทสเซียมไอโอไดด ตะกอนสีเหลืองเขม
2. กรดซิตริก + สารละลายโซเดียมไฮโดรเจนคารบอเนต ฟองแกส อุณหภูมิลดลง
3. แมกนีเซียม + สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ฟองแกสมาก และ เร็ว
4. สังกะสี + สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ฟองแกสนอย และ ชา
5. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก + สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด สารละลายใสไมมีสี
( เหมือนเดิม )
อุณหภูมิเพิ่มขึน้ เล็กนอย
6. สารละลายกรดไฮโดรคลอริก + สารละลายดางทับทิมเจือจาง สีของดางทับทิมจางลง หรือ
หายไป

สารเริม่ ตน หรือ ตัวทําปฏิกิรยิ า ( reactant ) หมายถึง สารสองชนิดที่เขาทําปฏิกิริยากันแลวเกิดการ


เปลี่ยนแปลงกับโมเลกุลของสารเริ่มตนทัง้ สอง โดยมีการแตกสลายพันธะเดิมและสรางพันธะใหม เปนผลทําใหเกิด
สารใหมซงึ่ มีสมบัติตางจากเดิม เรียกวา ผลิตภัณฑ ( Product )
ผลของการเปลี่ยนแปลงสังเกตไดจาก
1. ฟองแกส
2. ตะกอน
3. ความรอน
4. สีของสารละลาย
ปฏิกิรยิ าคายความรอน ( exothermic reaction ) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแลวจะใหพลังงาน
ความรอนออกมาสูสงิ่ แวดลอม ทําใหสงิ่ แวดลอมมีอุณหภูมิสูงขึ้น
2
ตัวอยางปฏิกิริยาคายความรอน : มะนาวกับดินสอพอง น้ํายาลางหองน้ํากับปูนยากระเบื้อง การเผาไหม
ของแกสหุงตม
ปฏิกิรยิ าดูดความรอน ( endothermic reaction ) หมายถึง ปฏิกริ ิยาที่เกิดขึ้นแลวจะดูดความรอนจาก
สิ่งแวดลอม ทําใหสภาพแวดลอมมีอุณหภูมิลดลง
ตัวอยางปฏิกิริยาดูดความรอน : การสลายของผงฟูใหแกส CO2 ปฏิกิรยิ าการสังเคราะหดว ยแสง

ปฏิกิรยิ าเคมีในชีวิตประจําวัน
1. ปฏิกิริยาการเผาไหมของเชื้อเพลิง เชน แกสหุงตม น้าํ มันเชื้อเพลิง ถานหิน เปนตน เชื้อเพลิงเหลานี้ได
จากการกลัน่ น้ํามันดิบ ซึง่ มีกํามะถัน ( S ) ปนอยูจ ึงเกิดปฏิกิริยาดังสมการ

S + O2 SO2 ( ซัลเฟอรไดออกไซด )

2 SO2 + O2 2 SO3 ( ซัลเฟอรไตรออกไซด )

SO3 + H2O H2SO4 ( กรดซัลฟวริก )

การเผาไหมของเชื้อเพลิงปริมาณมาก ๆ ในเมืองอุตสาหกรรมจะมีผลดังนี้
อุณหภูมิสูง
N2 + O2 2NO ( ไนโตรเจนมอนอกไซด )

2NO + O2 2NO2 ( ไนโตรเจนไดออกไซด )


แสงอาทิตย
NO2 NO + O อิสระ

O2 + O อิสระ O3
อันตรายที่เกิดจากปฏิกิรยิ าเคมีตาง ๆ
1. เกิดหมอกควัน วันที่มีความกดอากาศสูง SO3 NO2 O3 ฝุนละออง และ ละอองเล็ก ๆ ของ
ไฮโดรคารบอน ลอยปนกันในระดับต่ํา เกิดหมอกควัน ( smog = smoke + fog ) เปนอันตรายตอการเดินทาง หรือ
การบิน ทางเดินหายใจ ทําใหเกิดการระคายเคืองดวงตา
2. เกิดฝนกรด วันที่อากาศปลอดโปรง SO3 NO2 ลอยสูงตามกระแสลม เมื่อรับความชืน้ จากอากาศ
หรือ เมฆฝนเกิดเปนกรด ดังสมการ
3
SO3 + H2 O H2 SO4 ( กรดซัลฟวริก )

NO2 + H2 O H2 NO3 ( กรดไนตริก )

3. ปฏิกิริยาการเกิดสนิมของเหล็กที่ประกอบเปนสิ่งกอสราง ดังสมการ
H2 O
4Fe + 3O2 2 Fe2 O3 H2O ( สนิมเหล็ก )

4. ทําใหหนิ ปูน หรือ หินออนเกิดการสึกกรอนจากสารที่เกิดจากปฏิกิริยาระหวางหินปูน หรือ


แคลเซียมคารบอเนต กับกรดกํามะถัน หรือ กรดดินประสิวในฝนกรด

ประโยชนที่ไดจากปฏิกิรยิ าเคมีตาง ๆ
1. ใชทาํ ขนม การสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคารบอเนต ( NaHCO3 - ผงฟู ) ทําใหขนมฟู เชน
ขนมเคก ขนมถวยฟู ขนมสาลี่ เปนตน ( เนื่องจากผงฟูสลายตัวให CO2 )

ความรอน
2NaHCO3 Na2CO3 + CO2 + H2O

2. ใชดับไฟปา ทําไดโดยโปรย NaHCO3 ลงไปเหนือไฟปา แกส CO2 ที่เกิดจะคลุมเชื้อเพลิงไมใหสัมผัส


กับ O2
3. ใชฟอกสีผมและฆาเชื้อโรค ใชไฮโดรเจนเปอรออกไซด ( H 2O2 ) ซึ่งสลายตัวงาย ดังสมการ

2H2O2 2H2O + O2

4. ทําใหเกิดกระแสไฟฟา เชนแบตเตอรี่รถยนต เปนปฏิกริ ิยาระหวางแผนตะกัว่ ( Pb ) ขั้วบวก ( + ) และ


ตะกั่วไดออกไซด ( PbO2 ) ขั้วลบ ( - ) กับกรดซัลฟวริกเขมขน 30 - 38 % ดังสมการ

Pb + PbO2 + 2H2SO4 2PbSO4 + 2H2O

5. ใชทําแบตเตอรี่ปรอท ใชในเครื่องมือเครื่องใชอิเล็กทรอนิก เชน นาฬิกาขอมือ เครื่องชวยฟง


เครื่องคิดเลข เครื่องวัดแสงในกลองถายรูป เนื่องจากมีขนาดเล็ก และ น้าํ หนักเบา

Zn ( + ) + HgO ( - ) ZnO + Hg
4
6. ใชทาํ แบตเตอรี่อัลคาไลน แบตเตอรี่นิกเกิล - แคดเมียม ( NICAD ) แบตเตอรี่ใสในตัวคนไขทหี่ วั ใจเตน
ไมปกติ ปฏิกริ ิยาเคมีของโลหะ และ เบสไดกระแสไฟฟา
7. ใชผลิตปูนซีเมนต จากการสลายตัวของหินปูน ( CaCO3 ) ดวยความรอนไดแกส CO2 และ ปูนขาว
( CaO )

อัตราการเกิดปฏิกิรยิ าเคมี
1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ อยางรวดเร็ว เชน การเผากระดาษ การระเบิดของดินปน ปฏิกิริยาระหวาง
โลหะแมกนีเซียมกับกรดไฮโดรคลอริก เปนตน
2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ คอนขางชา เชน การบูดของนม การเกิดสนิมเหล็ก เปนตน

การวัดอัตราการเกิดปฏิกริ ิยาเคมี

ปริมาณของสารเริ่มตนที่ลดลง
อัตราการเกิดปฏิกริ ิยาเคมี =
เวลาที่ใชในการเกิดปฏิกิริยา

ปริมาณของผลิตภัณฑที่เกิดขึ้น
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี =
เวลาที่ใชในการเกิดปฏิกิริยา
ปจจัยที่มีผลตออัตราการเกิดปฏิกิริยา
ความเขมขน
ธรรมชาติของสาร พื้นที่ผิว

อัตราการเกิดปฏิกิริยา

ตัวเรงปฏิกิริยา อุณหภูมิ

You might also like