You are on page 1of 15

บทที่ 1 เครื่องมือและตัวอักษร

วัตถุประสงค์
1. ผู้เรียนสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนวิชาเขียนแบบวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและ
เหมาะสม
2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และการใช้งานอุปกรณ์เขียนแบบแต่ละชนิด
3. ผู้เรียนสามารถเขียนตัวอักษรกอธิก (Gothic) ซี่งเป็นตัวสากลในงานเขียนแบบวิศวกรรมได้
อย่างถูกต้องเหมาะสม

1.1 อุปกรณ์เขียนแบบ
1.1.1 ดินสอ
ข้อกาหนดการใช้ดินสอในการเขียนแบบวิศวกรรม กาหนดให้ใช้ดินสอความเข้มระดับ 2H หรือ
HB ในการเขียนเส้นหนัก และใช้ดินสอระดับความเข้ม 4H ในการเขียนเส้นเบา

รูป 1.1 ดินสอและระดับความเข้มของดินสอ


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 2

สาหรับการเรียนในรายวิชานี้ เพื่อความสะดวก กาหนดให้ใช้ดินสอระดับความเข้ม HB ขนาดเส้น 0.3


mm ในการเขียนเส้นทุกเส้น โดยใช้น้าหนักมือที่แตกต่างกันตามลักษณะของเส้นที่เขียน

1.1.2 ชุดฉากสามเหลี่ยม
ชุดฉากสามเหลี่ยมประกอบด้วย 2 ชิ้นหลัก คือ ฉากสามเหลี่ยม 45 (9 inch ) และฉาก
สามเหลี่ยม 60 (12 inch ) ไม่ควรซื้อชุดไม้ฉากขนาดเล็กเนื่องจากจะทาให้ไม่สามารถลากเส้นที่มีลักษณะ
ยาวได้หรือฉากที่สามารถปรับมุมได้มาใช้งาน เนื่องจากลักษณะของงานที่จะมอบหมายให้ผู้เรียนทาในการ
เรียนรายวิชานี้ จะเป็นมุมที่ 15 หารลงตัวซึ่งสามารถสร้างโดยใช้ไม้ฉากทั้ง 2 ได้ทั้งหมด

รูป 1.2 ชุดฉากสามเหลี่ยม

1.1.3 ชุดวงเวียนเขียนแบบ
ชุดวงเวีย นเขีย นแบบจะประกอบด้ว ย 2 ชิ้นหลัก คือ วงเวียนและดิไวเดอร์ (Divider) ซึ่งมี
ลักษณะเป็นเหล็กปลายแหลมทั้ง 2 ข้าง การใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีความระมัดระวัง

รูป 1.3 ชุดวงเวียน

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 3

1.1.4 ยางลบและแผ่นรองลบ
ยางลบควรเลือกใช้เกรดสาหรับการเขียนแบบ เพื่อความสะอาดในการลบงานเขียนแบบ ส่วนแผ่น
รองลบจะมีการใช้ง านค่ อนข้า งน้ อยส าหรับ การเรี ยนในรายวิช านี้ เนื่ องจากงานที่ ให้ นิสิ ต เขี ยนนั้น มี
รายละเอียดไม่มากและไม่ยุ่งยากซับซ้อน

รูป 1.4 ยางลบและแผ่นรองลบ

1.1.5 กระดาษกาว
จะต้องเป็นกระดาษกาวสาหรับใช้ยึดกระดาษเขียนแบบ หากใช้กระดาษกาวทั่วไปจะทาให้
กระดาษเขียนแบบเกิดการฉีกขาดหรือลอกได้

รูป 1.5 กระดาษกาวสาหรับยึดกระดาษเขียนแบบ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 4

1.1.6 Template
ใช้สาหรับการเขียนรูปทรงต่างๆที่มีขนาดเล็ก เช่น วงกลมหรือวงรี เนื่องจากการสร้างรูปทรง
เหล่านี้โดยใช้วงเวียนในการสร้างจะทาได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ Template ในการเขียนภาพ
เหล่านี้แทน

รูป 1.6 Template

1.1.7 กระดาษ
กระดาษที่ใช้ในการเขียนแบบวิศวกรรม มีหลากหลายขนาด ดัง แสดงในตารางที่ 1.1 ซึ่งงานที่จะ
มอบหมายให้ทาในรายวิชานี้จะใช้กระดาษ 2 ขนาด คือ A2 และ A4 โดยในการเลือกซื้อไม่ควรซื้อ
กระดาษที่มีลักษณะผิวเรียบมัน เนื่องจากเมื่อนามาใช้เขียนแบบเส้นดินสอจะเลอะเลือนได้ง่าย
ตารางที่ 1.1 ขนาดกระดาษที่ใช้ในงานเขียนแบบวิศวกรรม
ชื่อ ขนาด (mm)
A0 841 x 1189
A1 594 x 841
A2 420 x 594
A3 297 x 420
A4 210 x 297

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 5

1.1.8 โต๊ะเขียนแบบ
ส่วนประกอบสาคัญของโต๊ะเขียนแบบที่นิสิตจะต้องใช้งาน คือ T-Slide เป็นไม้บรรทัดขนาดใหญ่
วางตัวในแนวนอน ร้อยเชือกที่ปลายทั้ง 2 ข้างติดกับโต๊ะเขียนแบบ สามารถยกตัวลอยจากพื้นโต๊ะได้
เล็กน้อยเพื่อเลื่อนขึ้น -ลง ใช้เป็นแนวอ้างอิงในการวางกระดาษเขียนแบบ การเรียนในรายวิชานี้ จะมีโต๊ะ
เขียนแบบให้นิสิตใช้งานในชั่วโมงปฏิบัติการที่ห้องปฏิบัติการเขียนแบบ

รูป 1.7 โต๊ะเขียนแบบ

1.1.9 ไม้ที
อุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เดียวกันกับ T-Slide บนโต๊ะเขียนแบบ ใช้งานกับโต๊ะทั่วไปในกรณีที่ไม่มีโต๊ะ
เขียนแบบ

รูป 1.8 ไม้ที

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 6

1.1.10 ครึ่งวงกลม
อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดหรือแบ่งมุม ในกรณีที่มุมๆนั้น 15 หารไม่ลงตัว

รูป 1.9 ครึ่งวงกลม

1.2 การใช้งานอุปกรณ์ในการเขียนแบบ
1.2.1 การเตรียมกระดาษในการเขียนแบบ
ขั้น ตอนแรกของการเริ่ มเขี ย นแบบ คื อ การติ ดตั้ง กระดาบเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ โดย
ตาแหน่งของการติดตั้งนั้นขึ้นกับความถนัดของแต่ละบุคคล ว่าติดตั้งในตาแหน่งใดแล้วจึงจะเขียนแบบได้
ถนัด เมื่อได้ตาแหน่งที่ต้องการแล้วให้ติดตั้งกระดาษโดยยึดแนวของไม้ที (T-Slide) โดยวางแนวขอบของ
กระดาษให้เสมอกับไม้ที

รูป 1.10 การติดตั้งกระดาษเขียนแบบ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 7

การติดตั้งกระดาษลงบนโต๊ะเขียนแบบจะทาโดยการยึดด้วยกระดาษกาวทั้ง 4 มุม เพื่อไม่ให้กระดาษเลื่อน


ไปมาในระหว่างเขียนแบบ

รูป 1.11 การยึดกระดาษเขียนแบบด้วยกระดาษกาว

1.2.2 กรอบและ Title Block


ในการเขียนแบบลงบนกระดาษขนาดต่างๆ จะต้องตีกรอบเพื่อกาหนดขอบเขตของงานและสร้าง
Title Block เพื่อแสดงรายละเอียดของตัวงานและผู้เขียน โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
ตารางที่ 1.2 ระยะในการตีกรอบ
ขนาดกระดาษ c(mm) d (mm)
A0 20 25
A1 20 25
A2 10 25
A3 10 25
A4 10 25

Title Block

รูป 1.12 ระยะในการตีกรอบ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 8

รูป 1.13 Title Block บนกระดาษขนาด A4

รูป 1.14 Title Block บนกระดาษขนาด A2

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 9

1.2.3 การใช้งานวงเวียน
กางวงเวียนเทียบกับไม้บรรทัด ให้ได้ขนาดของรัศมีวงกลมที่ต้องการเขียน เริ่มเขียนวงกลมโดยใช้
ปลายเหล็กแหลมวางบนตาแหน่ งจุดศูนย์กลางของวงกลม เริ่มเขียนวงกลม โดยการจับวงเวียนให้จับ
เฉพาะส่วนบนของวงเวียนเท่านั้น ดังแสดงในภาพ และเมื่อเริ่มหมุนวงเวียนเพื่อสร้างวงกลม (ทวนเข็มหรือ
ตามเข็มแล้วแต่ความถนัดโดยปกติแล้วจะหมุนตามเข็มนาฬิกา) ให้ เอียงวงเวียนไปในทิศทางนั้นเล็กน้อย
ประมาณ 15 องศา

รูป 1.15 การใช้งานวงเวียน

1.2.4 การใช้งานดินสอ
การใช้งานดินสอจะทาลักษณะเช่นเดียวกันกับการใช้วงเวียน คือ เมื่อต้องการลากดินสอไปใน
ทิศทางใด ให้เอียงดินสอไปในทิศทางนั้นเล็กน้อย วางตัวทามุมกับระนาบพื้นกระดาษประมาณ 60

รูป 1.16 การใช้งานดินสอ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 10

1.2.5 การใช้งาน T-Slide และฉากสามเหลี่ยม


1. การเขียนเส้นในแนวนอนควรใช้ T-Slide ในการเขียนหรือใช้ T-Slide เป็นแนวอ้างอิงในการ
เขียน ไม่ควรใช้การกาหนดจุด 2 จุด ด้วยการวัดเทียบจากขอบกระดาษในการเขียน

รูป 1.17 การเขียนเส้นในแนวนอนด้วย T-Slide

2. การเขี ย นเส้ น ท ามุ ม เอี ย ง 30 45 60 และ 90 กั บ แนวระดั บ จะสร้ า งโดยการใช้ ฉ าก


สามเหลี่ยมวางตัวอยู่บน T-Slide

รูป 1.18 การเขียนเส้นเอียง 30 45 60 90

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 11

3. การสร้างเส้นทามุมเอียง 15 และ 75 กับแนวระดับ ตัวอย่างด้านล่างจะเป็นการสร้างเส้นที่


มีมุมเอียง 15 และ 75 ผ่านจุด A

รูป 1.19 การเขียนเส้นเอียง 15 75

1.2.6 การใช้งานดิไวเดอร์
ดิไวเดอร์เป็นอุปกรณ์รูปร่างคล้ายคลึงกับวงเวียน แต่จะเป็นเหล็กปลายแหลมทั้ง 2 ข้าง ทาหน้าที่
ในการถ่ายขนาดหรือการแบ่งส่วนโค้งและเส้นตรงออกเป็นส่วนเท่าๆกัน

รูป 1.20 การใช้งานดิไวเดอร์แบ่งเส้นตรงออกเป็นส่วนเท่าๆกัน

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 12

1.3 ตัวอักษร
ในงานเขียนแบบวิศวกรรมโดยทั่วไปนอกจากเส้นที่บ่งบอกลักษณะรูปร่างของวัตถุแล้ว จะต้องมี
การเขียนตัวอักษรกากับลงบนภาพเพื่อบ่งบอกข้อมูลต่างๆด้วย เช่น ขนาดความยาวของส่วนต่างๆ ชื่องาน
หรือกระบวนการผลิด เป็นต้น การเขียนตัวอักษรเหล่านี้ในงานเขียนแบบวิศวกรรมจะต้องเขียนให้เป็นไป
ตามมาตรฐานสากล โดยกาหนดให้เขียนด้วยตัวอักษรกอธิก (Gothic) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1. ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตัวตรง (Vertical capital letters)
2. ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตัวเอียง (Inclined capital letters)
3. ตัวอักษรพิมพ์เล็กตัวตรง (Vertical lowercase letters)
4. ตัวอักษรพิมพ์เล็กตัวเอียง (Inclined lowercase letters)

รูป 1.21 ตัวอย่างส่วนต่างๆที่ต้องเขียนตัวอักษรในงานเขียนแบบวิศวกรรม

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 13

1.3.1 ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตัวตรง
ตัวอักษรกอธิกพิมพ์ใหญ่จะมีสัดส่วนการเขียนอักษรลงบนกรอบตารางขนาด 6x8 ช่อง ดังนี้

รูป 1.22 ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ตัวตรง

1.3.2 ตัวอักษรพิมพ์เล็กตัวตรง
ตัวอักษรกอธิกพิมพ์เล็กจะมีสัดส่วนการเขียนตัวอักษรลงบนกรอบตารางขนาด 6x8 ช่อง โดยจะมี
ขนาด 2/3 เท่าของตัวพิมพ์ใหญ่ ดังนี้

รูป 1.23 ตัวอักษรพิมพ์เล็กตัวตรง

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 14

1.3.3 ตัวเลข

รูป 1.24 ตัวเลข

สาหรับตัวอักษรตัวเอียงจะมีลักษณะการเขียนเหมือนตัวตรงแต่จะเอียงทามุม 75 กับแนวระดับ
สาหรับการเรียนในรายวิชานี้กาหนดให้ตัวอักษรที่เขียนทุกตัว เป็นตัวอักษรกอธิกพิมพ์ใหญ่ตัวตรง

1.3.4 ช่องว่างระหว่างตัวอักษร
การเว้นช่องว่างระหว่างตัวอักษรที่เขียน จะเว้นโดยให้พื้นที่ว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่าๆกัน
ไม่ควรเว้นด้วยการจัดระยะห่างระหว่างตัวอักษรให้เท่ากัน ดังจะเห็นได้จากรูปที่ 1.25

ระยะตัวอักษรเท่ากันทุกตัว ไม่ถูกต้อง

พื้นที่ระหว่างตัวอักษรเท่าๆกัน ถูกต้อง

รูป 1.25 การเว้นช่องว่างระหว่างตัวอักษร

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


302151 เขียนแบบวิศวกรรม ห น้ า 1 - 15

1.3.5 ช่องว่างระหว่างคา
การเว้นช่องว่างระหว่างคา จะกาหนดให้มีระยะห่างระหว่างคาเท่ากับอักษร “O” ดังแสดง
ตัวอย่างด้านล่าง

รูป 1.26 ตัวอย่างการเว้นช่องว่างระหว่างคา

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

You might also like