You are on page 1of 15

บทที่ 12

สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1961 – 1969

1. สหรัฐอเมริกาสมัยจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ค.ศ. 1961 – 1963 เติมภาพ


จอห์น ฟิทซ์เจอรัล เคนเนดี้ (John Fitzgerald Kennedy) ประธานาธิบดีลําดับที่ 35 แผนชายแดน
ใหม่ (The New Frontier Program) ถูกกําหนดขึ้นเป็นแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ มุ่งช่วยผู้ยากไร้ด้อย
โอกาสและไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคม กําหนดกําจัดการแบ่งแยกเหยียดผิวให้หมดไปจากสังคมอเมริกัน
ให้การรัก ษาพยาบาลแก่ผู้สู งอายุ ช่ วยเหลือ ด้านการศึกษา ปรับปรุง ที่ อยู่อ าศัย และจัดวางผั ง เมื องให้เป็ น
ระเบียบ สร้างงานเพิ่มและช่วยเหลือลูกจ้างแรงงาน ช่วยเหลือเกษตรกรและฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ผลงาน ปัญหาและการแก้ไขปัญหาที่เด่นควรแก่การกล่าวถึง คือ


1. การเห็นชอบในบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราที่ 23 (The Twenty-third Amendment) 1
กําหนดให้คนอเมริกันในเขตเมืองหลวง (Washington District of Columbia) ลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี
ได้

1
Van Doren, Charles and McHenry, Robert editors, Webster’s Guide to American History,
( Massachusetts ; G&C, Merriam Company, 1971 ), p. 576.
2. การผลักดันให้รัฐสภาผ่านกฎหมายพัฒนาแหล่งเสื่อมโทรมปี ค.ศ. 1961 (The Depressed Areas
Act of 1961) 2 กําหนดให้อํานาจแก่รัฐบาลกลางใช้เงิน $400 ล้าน เพื่อช่วยเหลือคนอเมริกันผู้ว่างงานถาวร
(ส่วนใหญ่เป็นคนอเมริกันผิวดํายากจนและไร้การศึกษา) และฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรม (ชุมชนแออัด หรือสลัม )
ในสังคมเมืองให้มีสภาพที่ดีขึ้น เริ่มด้วยการสร้างงานคือจ้างคนอเมริกันผู้ว่างงานรื้ออาคารที่พักที่เสื่อมโทรม
และเป็นแรงงานหลักในการปลูกสร้างอาคารชุด (apartment)
3. การช่ว ยเหลื อลู ก จ้า งแรงงานด้ว ยการกํา หนดเพิ่ มอั ต ราค่ าจ้ า งแรงงานต่ํ า สุด โดยเห็ น ชอบใน
กฎหมายกําหนดเพิ่มอัตราค่าจ้างแรงงานต่ําสุดในปี 1961 เพื่อให้ลูกจ้างแรงงานได้รับค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นได้
สัดส่วนกับอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น มีผลสร้างความพอใจแก่ลูกจ้างแรงงาน 3.6 ล้านคน
4. การช่วยเหลือคนชรา นําเสนอแผนให้การบริการรักษาพยาบาลแก่คนชราเป็ นส่วนหนึ่งของระบบ
ประกันสังคม (The Social Security System) ต่อรัฐสภา 3
5. การกําหนดนโยบายเศรษฐกิจ 4 ประธานาธิบดีเคนเนดี้เสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยการลดการเก็บภาษี
เงินได้ของรัฐบาลด้วยหวังจะทําให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจและเกิดธุรกิจใหม่ ภาษีเงินได้จากการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจรัฐบาลกลางจะเก็บได้มากกว่าเป็นการชดเชยรายได้ที่ขาดหายไป เพราะการลดการเก็บภาษีเงินได้
รัฐสภาให้การตอบรับโดยในเดือนกุมภาพันธ์ 1964 ผ่านกฎหมายลดการเก็บภาษีเงิน ได้เคนเนดี้ – จอห์นสัน
ปีค.ศ. 1964 (The Kennedy-Johnson Tax Act of 1964)
6. การแก้ ไ ขปั ญ หาแบ่ ง แยกเหยี ย ดผิ ว คื อ คนอเมริ กั นผิ ว ดํ า เรี ย กร้ องการมี สิ ท ธิ เท่ า เที ย มกั น กั บ
คนผิวขาวและเรียกร้องเลิกการแบ่งแยกเหยียดผิว
ความวุ่นวายด้วยปัญหาแบ่งแยกเหยียดผิวในสมัยประธานาธิบดีเคนเนดี้ เริ่มขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม
ค.ศ. 1961 เสื้อกลุ่ม อเมริกัน ผิว ดําและอเมริกัน ผิว ขาวด้วยตนเองว่าผู้ ขับ ขี่เสรีภ าพ (Freedom Riders)
นั่ ง รถโดยสารมุ่ ง สู่ เ มื อ งมอนโกเมอรี่ (Montgomery) อะลาบามา เพื่ อ ทดสอบว่ า เมื อ งมอนโกเมอรี่
ยั ง คงแบ่ ง แยกเหยี ย ดผิ ว ในการใช้ บ ริ ก ารรถโดยสารหรื อ ไม่ เมื่ อ รถแล่ น ถึ ง เมื อ งแอนนี ส ตั น (Anniston)
ได้รับการตอบโต้จากคนอเมริกันผิวขาวที่โครงการยึดมั่นในการแบ่งแยกแยะผิวด้วยการตรงเข้าเผารถโดยสาร
เป็นผลให้สมาชิกผู้ขับขี่เสรีภาพบางคนได้รับบาดเจ็บ ในปี ค.ศ. 1962

2
Ibid, p. 577.
3
Ibid, p. 585.
4
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 924.
ความวุ่ น วายเกิ ด ขึ้ น ในวั น ที่ 1 ตุ ล าคม ค.ศ. 1962 เมื่ อ เจมส์ เมเรดิ ท (James Meredith)
อเมริกันผิวดําทหารผ่านศึกจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พยายามเข้าฟังการบรรยายในมหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี
(The University of Mississippi “ Ole Miss ”)

ในปี ค.ศ. 1963 อเมริกั น ผิว ดํา ทวี การเรี ยกร้อ งความเสมอภาค การปะทะอย่ างรุ นแรงและการ
เดินขบวนมีขึ้นในทุกรัฐของสหรัฐอเมริกาการเดินขบวนช่วงเดือนเมษายน - กันยายน ค.ศ. 1963 ในภาคใต้
การเดิ น ขบวนมุ่ ง ประท้ ว งเพื่ อ ให้ เ ลิ ก การแบ่ ง แยกเหยี ย ดผิ ว ในโรงเรี ย น การจ้ า งงาน และที่ อ ยู่ อ าศั ย
จากการเดินขบวนประท้วงใน 75 เมืองภาคใต้ การเดินขบวนประท้ว งโกลาหลวุ่นวายในเดือนพฤษภาคม
ค.ศ.1963 มี ขึ้น ที่เ มือ งเบอร์ มิง แฮม (Birmingham) อะลามาบาโดยมาร์ ติน ลู เธอร์ คิง นํ าการประท้ ว ง
การแบ่งแยกเหยียดผิวเพื่อการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอะลาบามา (The University of Alabama)

ป ร ะ ธ า น า ธิ บ ดี เ ค น เ น ดี้ จํ า ต้ อ ง จั ด ตั้ ง ห น่ ว ย คุ้ ม ค ร อ ง แ ห่ ง ช า ติ ป ร ะ จํ า อ ะ ล า บ า ม า


(The Alabama National Guard) เพื่อปฏิบัติการบังคับให้มีการเรียนร่วมกันของนักศึกษาอเมริกันผิวดําและ
ผิวขาวในมหาวิทยาลัยอะลาบามา ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1963 มาร์ติน ลูเธอร์ คิง นําคนอเมริกันทั้งผิวดํา
และผิวขาวจํานวนสองแสนคนเดินขบวนอย่างสงบที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อเรียกร้องการมีสิทธิของคนอเมริกัน
ผิ ว ดํ า ให้ เ ท่ า เที ย มกั บ สิ ท ธิ ข องคนอเมริ กั น ผิ ว ขาวและทั้ ง สนั บ สนุ น ให้ รั ฐ สภาผ่ า นกฎหมายสิ ท ธิ พ ลเมื อ ง
(อเมริ กั น ผิ ว ดํ า ) ในเดื อ นกั น ยายน ค.ศ. 1963 เกิ ด การระเบิ ด ที่ โ บสถ์ แ บพทิ ส ท์ (Baptist Church)
ในชุมชนอเมริกันผิวดําที่เมืองเบอร์มิงแฮม รัฐอะลาบามา เป็นผลให้เด็กหญิงอเมริกันผิวดําเสียชีวิต 4 คนขณะ
กําลังปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา 5 ขณะเดียวกันประธานาธิบดี เคนเนดี้เรียกร้องให้รัฐภาผ่านกฎหมายเลือก
การแบ่งแยกเหยียดผิวในการใช้บริการโรงแรม (Hotel) ภัตตาคารและโรงแรมสําหรับผู้เดิน ทางที่มีห้องนอนติด
กับที่จอดรถ (motel ) และเรียกร้องให้รัฐสภาให้อํานาจแก่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมในการดําเนินคดี
กับโรงเรียนที่โครงการแบ่งแยกเหยียดผิว
7. การให้การสนับสนุนในโครงการอวกาศ ประธานาธิบดีเคเนดี้เล่นจัดหางบประมาณเพิ่มแก่องค์การ
นาซ่ า เพื่ อ การศึ ก ษาค้ น คว้ า ในโครงการอวกาศสนองการแข่ ง ขั น ในด้ า นอวกาศ (The Space Race)
กับรุสเซีย เป็นผลให้ในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 องค์การนาซ่าสามารถจัดส่ง ยานอวกาศเพราะมนุษย์
อวกาศสองคนแรกของสหรัฐอเมริกาคือ เอแลน บี ชีพาร์ท จูเนียร์ (Alan B.Shepart, Jr.) และเวอจีล กรีสสัน
(Virgil Grisson) ขึ้นโคจรในอวกาศ ในปี ค.ศ. 1962 ประธานาธิบดีเคนเนดี้จั ดสรรเงิ น $25 พันล้าน 6
แกะองค์การนาซ่าเพื่อการศึกษาค้นคว้าในโครงการจัดส่งมนุษย์อวกาศกับขึ้นสํารวจดวงจันทร์ ผลสําเร็จมีขึ้นใน
วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 เมื่อในสมัยประธานาธิบดีนิ กสัน เมื่อยานอีเกิล (Eagle) ของยานอวกาศ
อะพอลโล 11 (Apollo 11) สามารถลงจอดบนพื้ น ผิว ดวงจั นทร์ นีล อาร์ม สตรอง (Neil Armstrong)
อวกาศคนแรกที่เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ติดตามด้วยเอ็ดวิน เอลเดรียน (Edwin Aldrin)

8. การให้การสนับสนุนในการเสริมสร้างแสนยานุภาพกองกําลัง และอาวุธปูองกันชาติปี ค.ศ.1960


จอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ประกาศว่าสหรัฐอเมริกาจําเป็นต้องเสริมสร้างอาวุธร้ายแรงเพิ่ม (จรวดขีปนาวุธและจรวด
ยิงข้ามทวีป) เพราะคาดการณ์ว่ารุสเซียก้าวไกลในการถือครองอาวุธร้ายแรงภายใต้การนําของประธานาธิบดี
เคนเนดี้สั่ง ผลิ ตอาวุธร้ายแรงเพิ่มชนิดแรกคือจรวดขี ปนาวุธยิง ข้า มทวีปขับเคลื่ อนที่เร็วจํานวน 1 ,000 ลู ก
(Minuteman Solid-Fuel Intercontinental Ballistic Missile) 7 ประธานาธิบดีเคนเนดี้สนั บสนุนการจัดตั้ง
กองกําลังพิเศษ (The Special Forces) เชี่ยวชาญทางด้านวางแผนการรบและปฏิบัติการรบรู้จักการในนาม
หมวกบาห์ เ รนเขี ย วหรื อ หมวกเขี ย ว (Green Beret) ด้ ว ยความพร้ อ มด้ า นอาวุ ธ และกองกํ า ลั ง

5
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the Republic’, (
D.CHeath and Company, 1994 ), pp. 937.
6
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume Ii From 1866, p. 916.
7
Ibid, p.932.
ทํ า ให้ ส หรั ฐ อเมริ ก าจะสามารถเลื อ กในวิ ถี ท างที่ ดี ที่ สุ ด เหมาะที่ สุ ด สํ า หรั บ สหรั ฐ อเมริ ก าที่ จ ะบุ ก โจมตี
หรือรับการบุกโจมตีของศัตรู

2. สหรัฐอเมริกาสมัยจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ ค.ศ. 1961 – 1963


1. การจัดตั้งหน่วยสันติภาพ ( The Peace Corps or The U.S. Peace Corps or The Kennedy's
Corps) เห็นควรช่วยเหลือกลุ่มประเทศโลกที่สาม (The Third World) ซึ่ง เป็นประเทศกําลังพัฒนาและ
ด้อยพัฒนาผู้เรียกหาการสร้างชาติ (nation building) ในทางปฏิบัติสหรัฐอเมริกาได้กําหนดแผนช่วยเหลือ
เพื่อการพัฒนาด้านเกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง การศึกษาและการสื่อสารโทรคมนาคมแก่ประเทศกําลัง
พัฒ นาและด้ อยพั ฒ นา มึ งให้ ป ระเทศเหล่ านี้ ส ามารถยกระดั บฐานะความเป็ น อยู่ ใ ห้ ดีขึ้ น ด้า นการศึ ก ษา
เทคโนโลยี การแพทย์ และพัฒนาสังคม อั นดับนํ าไปสู่ การปฏิเสธรับลั ทธิคอมมิวนิ สต์ หน่วยงานที่ ปฏิ บั ติ
รับผิดชอบคือหน่วยสันติภาพ (The Peace Corps)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรุสเซีย เริ่มด้วยรุสเซียกล่าวย้ําเตือนให้กองกําลัง 3 ชาติ
ถอนออกจากเบอร์ลินตะวันตกในเดือนมิถุนายน 1961 ความล้มเหลวในการประชุมสุดยอดที่กรุงเวียนนา
ระหว่างวันที่ 4 - 5 มิถุนายน ค.ศ. 1961 สร้างกําแพงเบอร์ลินในช่วง 13 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1961
และรุ ส เซี ย เร่ ง ทดลองเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพระเบิ ด นิ ว เคลี ย ร์ ช่ ว งเดื อ นกั น ยายน - ตุ ล าคม ค.ศ. 1961
โดยไม่ฟังคําร้องขอขององค์การสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับรัสเซีย
ซึ่งเครียดมากในวิกฤตการณ์ติดตั้งขี่ปั่นอาวุธนิวเคลียร์ที่คิวบาปี ค.ศ. 1962
3. ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับละตินอเมริกา
3.1. ประธานาธิ บดี เ คนเนดี้กํ า หนดแผนช่ ว ยเหลื อละติ นอเมริ ก าภายใต้ชื่ อ แผนพัน ธมิ ตรเพื่ อ
ความก้าวหน้าปี ( The Alliance for Progress Program 1961 ) 8 เป็นที่รู้กันแล้วว่าแถม Marshall
ปีค.ศ. 1947 ( The Marshall Plan 1947 ) มุ่งกรอบกู้ปรับปรุงเศรษฐกิจยุโรปหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
3.2. การรุกรานที่อ่าวหมูปีค.ศ. 1961 (The Bay of Pigs Invasion 1961) รัฐบาลคัสโตรธุรกิจ
ไร่ อ้ อ ยและปศุ สั ต ว์ ข องนั ก ธุ ร กิ จ อเมริ กั น ทํ า ให้ ค วามสั ม พั น ธ์ ที่ ส หรั ฐ อเมริ ก ามี ต่ อ คิ ว บาลดลง
(พั น ธมิ ต รของสหรั ฐ อเมริ ก า) ปฏิ เ สธการขายอาวุ ธ แก่ คิ ว บาผลั ก ดั น ให้ คิ ว บาหั น มารั บ การช่ ว ยเหลื อ

8
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 921.
ด้านเศรษฐกิจและการทหารจากรุสเซีย ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1960 รัฐบาลคัสโตรยึดธุรกิจน้ํามันของนักธุรกิจ
อเมริกันในคิวบาเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาหยุดซื้อน้ําตาลจากคิวบา คัสโตรตอบโต้ทันทีด้วยการยึดธุรกิจอเมริกัน
ทุ ก ประเภทในคิ ว บา สหรั ฐ อเมริ ก าตอบโต้ ทั น ที เ ช่ น กั น ด้ ว ยการหยุ ด การส่ ง ออกสิ น ค้ า ทุ ก ประเภท
จากสหรั ฐ อเมริ ก าไปยั ง คิ ว บา คั สโตรมี ท่ า ที ก้ า วร้ า วและเปิ ด รั บ ความสั ม พั น ธ์ กั บ รุ ส เซี ย ประธานาธิ บ ดี
ไอเซนฮาวร์ให้การสนับสนุนหน่วยซี ไอ เอ (The Central Intilligence Agency - CIA ) จัดฝึกวิธีการสู้รบ
แก่ผู้ลี้ภัยคิวบาในสหรัฐอเมริกาที่กัวเตมาลาเตรียมปฏิบัติการโค่นอํานาจคัสโตรในอนาคต 9
ความล้มเหลวที่อ่าวหมูปี ค.ศ. 1961 ผู้ลี้ภัยคิวบายกพลขึ้นบกที่อ่าวหมู 10 การบินคุ้มกันผิดเวลาล่าช้า
กว่ากําหนด 1 ชั่วโมง 11 กองกําลังผู้ลี้ภัยคิวบาแพ้ถูกยิงเสียชีวิต 500 คน (มีเจ้าหน้าที่อเมริกันในหน่ วยซีไอเอ
ร่วมเสียชีวิตด้วย 4 คน) 12
จากการรุกรานที่อ่า วหมู โลกได้รับ รู้ว่ ากองกํา ลัง ผู้ลี้ภั ยคิว บาพ่ายแพ้ จากการที่ส หรั ฐอเมริก าอยู่
เบื้องหลังให้การสนับสนุนกองกําลังผู้ลี้ภัยคิวบาโคตรอํานาจรัฐบาลคัสโตร ทําให้กลุ่มประเทศละตินอเมริกา
เกิ ด ความไม่ พ อใจในสหรั ฐ อเมริ ก า สหรั ฐ อเมริ ก าเสี ย หน้ า มากและผู้ แ ทนสหรั ฐอเมริ ก าประจํ า องค์ ก าร
สหประชาชาติต้องยอมจํานนต่อข้อเท็จจริงและครุสชอฟ ผู้นํารัสเซียเสนอให้ความช่วยเหลือด้านการทหาร
แก่คั สโตรเพื่อต่ อต้า นการรุ กรานของสหรัฐ อเมริก าอัน อาจกระทํา ต่อ คิวบาในอนาคต อัน เป็ นการกระชั บ
ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบาและนึกเสียให้แน่นแฟูนเพิ่มมากขึ้น
4. สหรัฐอเมริกาและรุสเซียมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในปีค.ศ. 1963
4.1. สหรัฐอเมริกาและรุสเซียจัดเครื่องโทรพิมพ์ (Teletypewriter – เป็นเครื่องส่งและรับสัญญาณ
โทรเลข) สายตรง (hot line) ระหว่างวอชิงตัน ดี.ซี. กับมอสโคร์ 13 เพื่อผู้นําทั้งสองประเทศจะได้เจรจาแก้ไข
ปัญหาร่วมกันโดยตรงอันเป็นการช่วยเรียนการเกิดสงครามที่ไม่จําเป็น
4.2. สหรัฐอเมริกา รุสเซียและอังกฤษร่วมลงนามในสนธิสัญญาห้ามการทดลองนิวเคลียร์ในมหาสมุทร
4.3. สหรัฐอเมริกาขายข้าวสาลีให้รุสเซียในปี 1963 14 รุสเซียต้องเผชิญภัยธรรมชาติเป็นผลให้ผลิตผล
ข้าวสาลีลดน้อยลง

9
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II,(Addison Wesley Educational Publishers Inc, 1999), p.934.
10
Ibid, p.935.
11
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 922.
12
Norton, Mary Beth, Katzman, David, Escott, Paul D, Chudacoff. Howard P, Paterson, Thomas G.
and Tuttle, William M, A People and A Nation : A History of the United States, p.910
13
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II,(Addison Wesley Educational Publishers Inc, 1999), p.587.
14
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the
Republic’, ( D.CHeath and Company, 1994 ), pp. 936.
4.4. สหรัฐอเมริกาและรัสเซียร่วมมือกันในโครงการอวกาศเพื่อการสํารวจและการสื่อสาร
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คอมมิวนิสต์มุ่ง ขยายอิทธิพลใน
เอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ เ ริ่ ม ด้ ว ยพวกเวี ย ดมิ น ภายใต้ ก ารนํ า ของโฮจิ มิ น ในเวี ย ดนามเหนื อ ยอมรั บ ใน
ลัทธิคอมมิวนิสต์ นําสู่การเกิดสงครามเวียดนาม ค.ศ.1957 - 1975 ลาวเป็นหนึ่งในชาติในอินโดจีนมีแนวโน้ม
รับลั ทธิ คอมมิ วนิ สต์ อัน จะมีผลทํ าให้ประเทศในเอเชี ยตะวั นออกเฉี ยงใต้อื่ นอาจต้อ งเป็น คอมมิ วนิ สต์ ด้ว ย
ประธานาธิบดีเคนเนดี้สกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยการโครงการช่วยเหลือเวียดนาม
ใต้ในสงครามเวียดนาม

ผลงานการบริหารกิจการภายในประเทศภายใต้การนาของประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน
ค.ศ.1963 - 1969
ลินดอน บี.จอห์นสัน (Lyndon Baines Johnson) ประธานาธิบดีลําดับที่ 36 จากพรรคเดโมเครติก
ผลงานภายในที่ปรากฏคือ
1. รั ฐบาลกลางลดงบประมาณการใช้จ่า ย และรัฐ สภาผ่านกฎหมายลดการเก็ บภาษีรายได้ บุคคล
ปี ค.ศ. 1964 (The Tax Reduction Act of 1964) มีผลให้คนในการมีเงินเหลือ การ์ตูนภาพการใช้จ่าย
ธุรกิจมีการขยายตัว ขึ้นมานานลดลงและสร้างงานเพิ่ม รัฐบาลกลางได้รายได้เพิ่มจากการเก็บภาษีรายได้ธุรกิจ
ธุรกิจขยายตัวมีการสร้างงานใหม่เพิ่มอัตราคนว่างงานลดลง
2. รั ฐสภาผ่านกฎหมายสิท ธิคนอเมริ กันปี ค .ศ. 1964 (The Civil Rights Act of 1964)15
กํ า หนด หนึ่ ง ห้ า มแบ่ ง แยกการเหยี ย ดผิ ว ในการใช้ ส าธารณู ป โภคและการจ้ า งงาน สองกํ า หนดจั ด ตั้ ง
คณะกรรมการเพื่ อความเป็ นธรรมในการจ้า งงาน เพื่ อสอบสวนและรัก ษาความเสมอภาคในการจ้ างงาน
สามให้อํานาจแก่รัฐบาลในการยกเลิกเงินทุนที่ให้แก่หน่วยงานของรัฐที่โครงการแบ่งแยกเหยียดผิว และ สี่ให้
อํานาจแก่กระทรวงยุติธรรมในการคงรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการลงคะแนนและการเข้ารับการศึกษาโดยไม่มีการ
แบ่งแยกเหยียดผิว
3. การช่วยเหลือคนอเมริกันผู้ยากไร้ด้วยแผ่นต่อสู้ความยากจน (The War on Poverty Plan)
คนจนจําแนกได้เป็น 6 กลุ่มดังนี้
ประเภทแรก ชาวนาและคนทํางานในเมืองแถบเชิงเทือกเขาแอปปาเลเชียน ประเภทที่สอง คนผิวดํา
ในสังคมเมืองเขตสลัมที่คนผิวดําอยู่กันแออัด (ghetto) ประการที่สาม พวกฮิสแพนิค (Hispanic) หรือละติโน
(Latino) คือ กลุ่มคนที่พูดภาษาสเปนจากละบินอเมริกาและแคริบเบียนที่อาศัยในสหรัฐอเมริกา ได้ แก่ เม็กซิโก
คิวบา เปอร์โตริโก และเอลซาลวาดอร์ คนกลุ่มนี้เป็นแรงงานย้ายที่อยู่หรืออยู่ในสังคมเมืองเขตสลัมที่อยู่อิสแพนิ
คอยู่กันอย่างแออัด (barrio) ประการที่สี่ อเมริกันอินเดียนในเขตสงวนในเขตสงวน ประการที่ห้า ครอบครัวที่
สตรีนําครอบครัว ปละประการที่หกผู้สูงอายุที่ยากจน

15
Norton, Mary Beth, Katzman, David, Escott, Paul D, Chudacoff. Howard P, Paterson, Thomas G.
and Tuttle, William M, A People and A Nation : A History of the United States, p.945.
คนจนเหล่านี้ขาดการศึกษา ขาดการรักษาพยาบาล ไม่มีงานทําและมีวงจรชีวิตอยู่กับความยากจน
คือ คงความยากจนตามพ่อแม่อยู่อย่างไร้ความหวัง ล้าหลัง ทุกอย่างแล้วไม่รู้ผลทางเพื่อการเข้าสู่การมีชีวิต
แบบอเมริกัน กฎหมายประกันสังคมปีค.ศ. 1935 (The Social Security Act of 1935) แก่คนว่างงาน คนชรา
และคนพิการจริง แต่แผนสวัสดิการสังคม (Social Welfare Program) ที่กําหนดช่วยผู้สูงอายุ อุปถัมภ์เด็กหรือ
ผู้ช่ ว ยคนตาบอดตั้ ง เกณฑ์ กํ า หนดคุ ณ สมบั ติ ผู้รั บ การช่ วยเหลื อ อย่า งเข้ ม งวดผู้ ย ากไร้ค นจนทั้ ง 6 กลุ่ ม ไม่
เข้าเกณฑ์คุณสมบัติรับความช่วยเหลือ ตลอดจนแผนประกันสังคม (Social Insurance Program) เป็นการเอื้อ
ประโยชน์เฉพาะคนงานที่จ่ายภาษีพิเศษเท่านั้น
4. การส่งเสริมการศึกษารัฐสภาผ่านกฎหมายการศึกษาระดับปฐมวัยและระดับมัธยมปี ค.ศ. 1965
(The Elementary and Secondary Education Act of 1965) 16 เป็นทุนการศึกษาช่วยเด็กนักเรียน
ที่ยากจนแต่เ รียนดี รวมถึงจัดหาอุป กรณ์การเรี ยนและตําราเรียนแก่ห้ องสมุดโรงเรียนที่ขาดแคลนภายใต้
กฎหมายการศึกษาระดับสูง
5. การช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล 17 ประธานาธิบดีจอห์นสันลงนามในกฎหมายรักษาพยาบาล
ปีค.ศ. 1965 (The Medicare Bill of 1965) กํา หนดให้มีการบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล
แก่คนอเมริกันผู้สูงอายุ (มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป) อันถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสังคม
6. การช่วยเหลือคนยากไร้ กําหนดฟื้นฟูปรับปรุง สภาพพื้นที่เชิงเทือกเขาแอปปาเลเชี ยนเพื่อการทํา
เกษตรกรรมและการตั้ ง มั่ น รวมทั้ ง รั ฐ บาลให้ ก ารสนั บ สนุ น ได้ แ ถมบทบาทชุ ม ชนในปี ค.ศ. 1965
(The Community Action Program)18 เพื่อส่ ง เสริมให้ผู้ยากไร้รวมตัวเพื่อการก้าวเข้ามามีบทบาท
เพิ่มมากขึ้นในสังคมและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขในปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมผู้ยากไร้
7. การจัด ตั้งกระทรวงเคหะและพัฒ นานครในปี ค.ศ. 1965 รัฐ สภากํา หนดจัด ตั้ง กระทรวงเคหะ
และพั ฒ นานครปี ค.ศ. 1965 (The Department of Housing and Urban Development)19
โดยมีโรเบิร์ท ซี.วีเวอร์ (Robert C.Weaver) อเมริกันผิวดําเป็นรัฐมนตรี จุดมุ่งหมายในการดําเนินงานของ
กระทรวงเคหะและพัฒนานครคือ การกําหนดแหล่งสลัมในสังคมเมือง จัดสร้างอาคารที่พักให้ผู้ยากไร้ได้เช่าใน
ราคาถูก จัดสรรสถานที่พักผ่อนและสวนสาธารณะแก่ชาวเมือง และจัดวางผัง เมืองใหม่ให้เป็นระเบียบและ
สะอาดเป็ น ผลให้ รั ฐ สภาผ่ า นกฎหมายพั ฒ นาเมื อ งใหม่ ปี ค ศ. 1966 (The Metropolitan Area

16
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History. (Worth
Publishers, Inc, 1993), p. 928.
17
Loc, cit.
18
Loc, cit.
19
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History. (Worth
Publishers, Inc, 1993), p. 928.
Redevelopment Act of 1966)20 กําหนดกําจัดแหล่งชุมชนแออัดในสังคมเมืองใหญ่ ปลูกสร้างอาคารชุด
ให้ผู้ยากไร้ได้เช่าพักในราคาถูก

8. การกําจัดมลภาวะ มลภาวะของสหรัฐอเมริกาช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปรากฏเด่นชัด


เป็น มลพิ ษ คือพิ ษหรื ออั นตรายจากความสกปรกทางน้ํ าและอากาศโดยเฉพาะมลพิษ ทางอากาศเกิด จาก
ควั น ฝุุน ยานยนต์ เสี ยงและสารพิษ ที่ลอยปะปนในอากาศ มลพิษ ทางน้ํ าเกิด จากประชาชนและโรงงาน
อุตสาหกรรมทิ้งหรือปล่อยสารพิษลงไปในน้ํา การกําจัดมลภาวะทางน้ําและอากาศเริ่มในวันที่ 12 สิง หาคม
ค.ศ. 1965 โดยรัฐสภาผ่านกฎหมายคุณภาพน้ํา ปี ค.ศ. 1965 (The Water Quality Act of 1965)
กําหนดกําจัดมลภาวะของน้ําในทะเลสาบอีรี (Lake Erie) ด้วยการรักษาความสะอาดของน้ําในทะเลสาบอีรี
ให้มีคุณภาพดีดังเดิม กฎหมายกําจัดมลภาวะทางอากาศปี ค.ศ. 1966 (The Air Pollution Act of 1966)
กําหนดใช้เวลา 3 ปีด้วยงบประมาณ $186 ล้านเพื่อกําจัดมลภาวะทางอากาศให้หมดไป
9. การตั้ ง กระทรวงคมนาคมในปี ค .ศ. 1966 21 รั บ ผิ ด ชอบในงานคมนาคมทางบก เรื อ อากาศ
รวมถึ ง งานสร้ า งถนนหลวงหรื อ ถนนสายสํ า คั ญ (highway) งานหน่ ว ยลาดตระเวนตรวจชายฝั่ ง ทะเล
(Coast Guard) งานของสภาการบินพลเรือน (The Civil Aeronautics Board) และงานของคณะกรรมการ
การค้าระหว่างรัฐ Interstate Commerce Commissio ) ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะและ
ถนนหลวงที่สร้างอย่างมีคุณภาพ
10. ให้ ก ารสนั บ สนุ น สร้ า งสรรค์ ทํ า นุ บํ า รุ ง เผยแพร่ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมอเมริ กั น ในปี ค.ศ. 196522
รัฐบาลกําหนดจัดตั้งเงิ นกองทุนแห่งชาติเพื่องานศิลปะ (The National Endowment for the Arts)
เป็ นความช่ วยเหลื อ ด้า นการเงิ น ที่รั ฐบาลให้ แก่ ศิ ลปิ น อเมริก าเพื่ อ การสร้ างสรรค์ และแสดงผลงานศิล ปะ
และจัดตั้งเงินกองทุนแห่งชาติเพื่องานมนุษยศาสตร์ (The National Endowment for the Humanities)
เพื่ อ สนั บ สนุ น การศึ ก ษาค้ น คว้ า งานทางมนุ ษ ยศาสตร์ ใ ห้ เ ข้ า ใจอย่ า งลึ ก ซึ้ ง แ ละตี ค วามชี้ แ จ้ ง เผยแพร่

20
Loc, Cit.
21
Van Doren, Charles and McHenry, Robert editors, Webster’s Guide to American History,
( Massachusetts ; G&C, Merriam Company, 1971 ), p.602.
22
Ibid, p. 982.
ให้คนอเมริกันได้ซาบซึ้งในประวัติศาสตร์มรดกแห่งความเจริญทางวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
ของอเมริกา
11. การแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกเหยียดผิวในเรื่องการใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งและเลือกที่อยู่อาศัย
รัฐ สภาผ่ า นกฎหมายสิ ทธิ อ อกเสี ย งเลื อกตั้ ง ปี ค .ศ. 1965 (The Voting Rights Act of 1965)23
กําหนดให้การปกปูองสิทธิคนอเมริกันผิวดําในการออกเสียงเลือกตั้งโดยรัฐบาลกลางภายใต้การดําเนินงานของ
กระทรวงยุติธรรม มีอํานาจเข้าตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง และควบคุมกระบวนการใช้สิ ทธิ์ออก
เสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะใน 5 รัฐทางใต้คือ คาโรไลนาใต้ จอร์เจีย อะลาบามา มิสซิสซิปปี้และหลุยส์เซียนา
เพื่ อ ให้ ค นอเมริ กั น ผิ ว ดํ า ได้ ใ ช้ สิ ท ธิ์อ อกเสี ย งเลื อ กตั้ ง อย่ า งสมบู ร ณ์ ในเรื่ อ งที่ อ ยู่ อ าศั ย เป็ น อี ก ปั ญ หาหนึ่ ง
ที่มีการแบ่งแยกเหยียดผิวในสหรัฐอเมริกา ในย่านที่อยู่อาศัยคนอเมริกันผิวขาว หญ้าแก่คนอเมริกันผิวดําจะเข้า
อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นเช่าหรือซื้อเพราะคนอเมริกันผิวขาวปฏิเสธกีดกันด้วยกติกาชุมชนและราคาเช่าซื้อหรือซื้อ
ที่อยู่อาศัยที่ค่อนข้างสูงอันเป็นการสร้างความไม่เสมอภาคและลิดรอนสิทธิคนอเมริกันผิวดําในเรื่ องที่อยู่อาศัย
ผลให้ในวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1968 ประธานาธิ บดีจ อห์น สันลงนามในกฎหมายสิทธิ พลเมืองอเมริกั น
ปีค.ศ. 1968 (The Civil Rights Act or The Housing Act of 1968)24 กําหนดห้ามการแบ่งแยกเหยียดผิ ว
ในการขายหรือเช่าที่ อยู่อ าศัย (ประมาณ 80% ของที่อ ยู่อาศัยในสหรัฐอเมริ กา) อัน เป็น การให้โ อกาสแก่
อเมริกันผิวดําได้มีที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันกับคนอเมริกันผิวขาว

ผลงานด้านการต่างประเทศภายใต้การนาของประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน 1963 - 1969


1. สหรัฐอเมริกาพยายามรัก ษาความสัมพันธ์อันดีกับละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคม
ค.ศ. 1964 เสนอจะมีการเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาปีค.ศ. 1903 แต่ก็ไม่มีการเจรจาใด ๆ เกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1968
ผู้นําทหารคือนายพลเฮอร์เ รรา (General Omar Torrijos Herrera) ชื่น ชอบในระบบเผด็ จการการ
ขึ้นปกครองปานามาแสดงท่าทีเด่นชัดในอันยุติบทบาทของสหรัฐอเมริกาในการบริหารจัดการคลองปานามา
และพื้ น ที่ แนวคลองปานามา เป็ น ผลนํา สู่ ก ารเจรจาอย่ างจริ ง จั ง และมี ก ารลงนามในสนธิ สั ญ ญา 2 ฉบั บ
ในปีค.ศ. 1977 ( ในสมัยประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ) ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1965 ประธานาธิบดี
จอห์นสันจัดส่งกองทหารอเมริกัน 20,000 คน 25เข้าแทรกแซงประจําการในสาธารณรัฐโดมินิกันร่วมกับกอง
กําลังองค์การรัฐอเมริกา (The Organization of Amrican Sates) เพื่อดูแลการเลือกตั้งให้เป็นที่เรียบร้อย
รวมทั้ง รักษาความสงบและขัดขวางสกัดกั้นกลุ่ม คอมมิวนิสต์ไม่ให้ก้าวขึ้นมามีอํานาจบริหารการปกครองใน
สาธารณรัฐโดมินิกันกัน ผลคือมีการเลือกตั้งจัดตั้งรัฐบาลเป็นที่เรียบร้อยในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1966

23
Van Doren, Charles and McHenry, Robert editors, Webster’s Guide to American History,
( Massachusetts ; G&C, Merriam Company, 1971 ), p.600.
24
Ibid, p. 622.
25
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II,(Addison Wesley Educational Publishers Inc, 1999), p.950.
ประธานาธิบดีจอห์นสันเยือนเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1966 ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1966 ประธานาธิบดี
จอห์นสันเดินทางเยือนกรุงเม็ กซิโก (Mexico City) เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดอนุสาวรีย์ประธานาธิบดี
อับราฮัม ลินคอล์น ซึ่งรัฐบาลสหรัฐอเมริกามอบแก่รัฐบาลเม็กซิโกเป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรก
นับจากเป็นประธานาธิบดีในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963
ประธานาธิ บ ดี จ อห์ น สั น เยื อ นอเมริ ก ากลางในปี ค .ศ. 1968 ในเดื อ นกรกฎาคม ค.ศ. 1968
ประธานาธิบดี Johnson เดินทางเยือนเอล ซาลวาดอร์ จากการประชุมนําสู่ความร่วมมือด้านการค้าต่อกัน
2. รัฐสภาผ่านกฎหมายการอพยพปี ค.ศ. 1965 สืบเนื่องมาจากในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20
คนต่างชาติต้องการอพยพเข้าตั้งมั่นในสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุปัญหาภัยการเมืองและถูกก้าวร้าวคุกคามโดยลัทธิ
คอมมิวนิสต์ ในกฎหมายอพยพปี 1965 เปิดรับผู้อพยพที่ไ ด้รับผลกระทบจากภัยการเมืองและถูกก้าวร้าว
คุก คามโดยลัท ธิค อมมิ วนิ สต์ กํา หนดสัด ส่ว นคื อ สหรั ฐอเมริก ารั บผู้ ลี้ภั ย จากกลุ่ม ประเทศซี กโลกตะวัน ตก
(Western Hemisphere or The New World) คือกลุ่มประเทศภาคพื้นทวีปอเมริกาและหมู่เกาะ
ในทะเลแคริ บเบี ย นร วมราวปี ล ะ 120 ,00 0 คน ใน ส่ ว นก ลุ่ ม ขอ งประ เทศซี ก โ ลก ตะ วั น ออ ก
(Eastern Hemisphere or The New World) ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซีย สหรัฐอเมริกา
ในสมัยประธานาธิบดีจอห์นสัน ตรงกับรุสเซียภายในการนําของนายกรัฐมนตรีโคซิกิน (Aleksei Kosygin)
ผู้นําทั้งสองพยายามแก้ไขปัญหาภายในประเทศในเรื่องการขาดแคลนอาศัย ที่อยู่อาศัยเสื่อมโทรม ความยากจน
ธุรกิจอุตสาหกรรมถดถอยและขาดแคลนความก้าวหน้าในวิชาการและเทคโนโลยีในการดําเนินการเร่งให้มีการ
พัฒนาเกษตรกรรมเพื่อการเพิ่มผลผลิตเสบียงอาหาร จัดสร้างที่อยู่อาศัย สร้างงานเพิ่มและในปี ค.ศ. 1965
กระตุ้ น การพั ฒ นาธุ ร กิ จ โดยรั ฐ บาลรุ สเซี ย รุ ส เซี ย ภายใต้ ก ารนํ า ของเบรสเนฟเนิ น นโยบายผ่ อ นคลาย
ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ (detente) ด้วยการแสดงท่าทีเป็นมิตรกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาเพราะรุสเซียขาดแคลนเสบียงอาหาร เนื่องจากแผนเกษตรกรรมรุสเซียล้มเหลว รุสเซีย
ต้องการรับเทคโนโลยีอันทันสมัยของชาติตะวันตกเพื่ อใช้ในการปฏิบัติการนําทรัพยากรธรรมชาติในไซบีเรีย
ขึ้ น มาใช้ เ ป็ น ประโยชน์ แ ก่ รุ สเซี ย รุ สเซี ย รู้ ดี ว่ า ทั้ ง รุ ส เซี ย และสหรั ฐ อเมริ ก าต่ า งมี อ าวุ ธ ร้ า ยแรงนิ ว เคลี ย ร์
การแข่งขันเป็นในรูปแบบการเสริมสร้างแสนยานุภาพอาวุธที่เหนือกว่ามีกล้องกําลัง ที่มากกว่า แข่ง ขันทาง
เศรษฐกิจและทางวิชาการเทคโนโลยี แข่งขันในโครงการอวกาศเพื่อการสํารวจและสื่อสาร แข่งขันช่วยเหลือ
ประเทศด้อยพัฒนาเพื่อชักจูงเข้าเป็นชาติสมาชิกบริวารและเบรสเนฟ ยึดมั่นในนโยบายผ่อนความตึงเครียดทาง
การเมืองระหว่างประเทศเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาขายข้าวสาลีแก่รุสเซีย การค้าของรุสเซียกับกลุ่มชาติตะวันตก
ขยายเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1970 สหรัฐอเมริกาและรุสเซียเพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยวและเปิด
เที่ยวบินระหว่างการแลกเปลี่ยนวิชาการและเทคโนโลยี
ในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น นี้ ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งรุ ส เซี ย กั บ ชาติ บ ริ ว าร (satellite countries)
ได้แก่ อัลบาเนีย บัลกาเรีย ฮังการี เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ รูมาเนีย ยูโกสลาเวีย และเยอรมนีตะวันตก
ไม่สู้จะดีนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชาติบริวารทางยุโรปตะวันออกพยายามลดบทบาทการควบคุมของรุสเซียลง
และต้องการบริหารประเทศตามวิถีทางของตนผลสรุปคือรุสเซียต้องปราบปรามขั้นเด็ดขาด โลกตะวันตกโจมตี
ประณามการกระทําของรุสเซีย ได้แก่ ตัวอย่างเหตุการณ์ในปีค.ศ. 1968 ที่เชคโกสโลวาเกีย
3. สหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามช่วงปีค.ศ. 1963 - 1969 เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วย
เส้นขนาน 17˚ เหนือกลายเป็นเวียดนามเหนือยึดมั่ นในลัทธิคอมมิวนิสต์ และเวียดนามใต้ยึดมั่นในระบอบ
ประชาธิปไตย เวียดนามเหนือและคอมมิวนิ สต์ในเวียดนามใต้เรียกเวียดกง (Viet Cong) ร่วมกันปฏิบัติการ
ยึดครองเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริก าและกองกําลัง เวียดนามใต้พยายามต่อต้านการปฏิบั ติการของเวียดกง
เวียดนามเหนือต้องการยุติการช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาให้แก่เวียดนามใต้และรวมเวียดนามเป็นหนึ่งเดียว
ภายใต้รัฐคอมมิวนิสต์ จีนและรุสเซียสนับสนุนเวียดนามเหนือเฉพาะอาวุธยุทธโธปกรณ์เท่านั้น
สงครามเวียดนามในปีค.ศ. 1964 ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นโดยประธานาธิบดีจอห์นสันได้รับรายงานว่า
เสบียงอาหาร อาวุธและกองกําลังเวียดนามเหนือเข้าช่วยเหลือเวียดกงโดยผ่านลาวและกัมพูชาเข้าเวียดนามใต้
เรียกเส้นทางนี้ว่าโฮจิมิน (The Ho Chi Minh Trail) จากการรุกหนักของกองกําลัง เวียดนามเหนื อ
เมื่อกองกําลังเวียดนามใต้เข้าปราบปรามกองกําลังเวียดนามเหนือจะหลบหนีเข้ากัมพูชาและลาวยากแก่การติด
ตามันจะทําให้สงครามขยายกว้างขึ้น
สหรัฐอเมริกาสร้างสถานการณ์เหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 ว่าถูกเวียดนาม
เหนือบุกโจมตีและตอบโต้เวียดนามเหนือในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1964 ด้วยการบุกโจมตีท่าเรือและคลังน้ํามัน
สถานการณ์ทั้ ง 2 ครั้ งนี้ถู กสร้ างขึ้ นเพื่ อให้ รัฐสภามี มติใ ห้อํา นาจประธานาธิบ ดีนํา สหรั ฐอเมริก าเข้ าร่ว ม
สงครามเวียดนามอย่างเป็นทางการ
เหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ยในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 นับเป็นการถูกโจมตีครั้งแรกของสหรัฐอเมริ กา
ในดินแดนเวียดนามเหนือ ในวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1964 สหรัฐอเมริกาปฏิบัติการโจมตีตอบโต้ในดินแดน
เวียดนามเหนือด้วยการส่งฝูงบินเจท (jets) ทิ้งระเบิดโจมตีท่าเรือลาดตระเวนและคลังน้ํามันของเวียดนามเหนือ
มีผลให้เรือลาดตระเวนเวียดนามเหนือ 25 กรัมถูกทําลายและคลังน้ํามันเวียดนามเหนือเสียหาย
ในปีค.ศ. 1965 กองกําลังอเมริการ่วมรบในสงครามเวียดนามและเวียดนามใต้นับจากปี ค.ศ. 1965
รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มมากขึ้นเป็นลําดับ ประธานาธิบดีจอห์นสันส่งฝูงบินอเมริกาทิ้งระเบิด
ฐานที่ตั้ง กองกําลังคอมมิวนิสต์ในเวียดนามเหนือ เพื่อสกัดกั้นการส่ง กองกําลัง เวียดนามเหนือเสริมในกอง
กําลังเวียดกงปฏิบัติการโจมตีกองกําลังอเมริกาในเวียดนามใต้ 26 การยกพลขึ้นบกที่ดานังเริ่มในวันที่ 8 มีนาคม
ค.ศ. 1965 เป็นปฏิบัติการครั้งแรกของกองกําลังอเมริกันภาคพื้นดินในสงครามเวียดนาม 27 ในเดือนกรกฎาคม
ค.ศ. 1965 มีทหารอเมริกันในเวียดนามใต้กว่า 75,000 คน ปลายปีค.ศ. 1965 ผู้บังคับบัญชากองกําลังอเมริกัน

26
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History. (Worth
Publishers, Inc, 1993), p. 595.
27
Van Doren, Charles and McHenry, Robert editors, Webster’s Guide to American History,
( Massachusetts ; G&C, Merriam Company, 1971 ), p.933.
ในเวียดนามใต้คือนายพลวิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์ (William Westmoreland) สหรัฐอเมริกา เวียดนามใต้และ
ชาติพันธมิ ตรซึ่งมีก องกําลัง ทหารและอาวุธยุ ทโธปกรณ์มากกว่ าเหนือกว่า เวีย ดนามเหนือไม่ใช่ กองกําลั ง
ภาคพื้นดินบุกเวียดนามเหนือ การรบมีสองแนวทางหลักคือ หนึ่งใช้กองกําลังทางอากาศบุกโจมตีทิ้งระเบิดใน
เวียดนามเหนือเพื่อทําลายฐานที่ตั้งกองกําลังตัดความช่วยเหลือที่จะให้แก่เวียดกง การรบในแนวทางที่สอง คือ
ใช้เฮลิคอปเตอร์ร่วมกับกองกําลังภาคพื้นดินปฏิบัติการค้นหาและทําลาย (search and destroy)
การสู้รบในปี ค.ศ.1967 เพื่อสนองแผนสงบ (Pacification Program) ของนายพลวิลเลียม เวสต์มอร์
แลนด์ กองกําลังทหารผสมอเมริกัน- เวียดนามใต้จํานวน 4,000 คนบุกโจมตีกวาดล้างเวียดกงในพื้นที่ดังกล่าว
ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1967 ( เป็นครั้งแรกของกองกําลังอเมริกันที่ปฏิบัติการรบในพื้นที่นี้ ) ปฏิบัติการกวาด
ล้างเวียดกงรวม 19 วัน กองกําลังทหารผสมอเมริกัน- เวียดนามใต้ได้รับชัยชนะ
การรบในปี ค.ศ. 1968 สหรัฐอเมริกาถูกโจมตีหนักเสียหายมาก กองกําลังอเมริกันบุกขับไล่ได้สําเร็จใน
วันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1968 28 และกองกําลังเวียดกงบุกโจมตีศูนย์บัญชาการอเมริกันในเวียดนามใต้พร้อมกัน
ในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 1968 (The Tet offensive of 196 ) 29 เทท (Tet) เป็นคําเรียกวันขึ้นปีใหม่
เวียดนาม เมืองฮิว (Hue) และกลุ่มไซง่อนถูกยึด โดยเฉพาะที่กรุงไซง่อนถูกทําลายด้วยระเบิดเสียหายมาก
เจ้าหน้าที่เวียดนามใต้ถูกจับยิงอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะชนเวียดกงฆ่าทุกคนที่ขัดขวาง นักข่าวโทรทัศน์
รายงานเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1968 กองกําลังอเมริกันและเวียดนามใต้ต้องผนึกกําลัง
การปฏิบัติการต่อต้านและขับไล่กองกําลังออกจากกรุงไซง่อนความพยายามเพื่อแสวงหาแนวทางยุติสงคราม
เวียดนามเริ่มขึ้นในปี 1968 เช่นกันโดยทั้งสหรัฐอเมริกาและเวียดนามเหนือเห็นพ้องต้องกันว่าสงครามรบกันมา
ยา ว น า น ส ง ค ร า ม นํ า ม าซึ่ ง คว าม สู ญ เ สี ยแ ล ะ ค ว ร แ สว ง หา แน ว ทา ง ยุ ติ ส ง ค ร า ม อั น มี ผล ใ ห้
ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1968 ประธานาธิบดีจอห์นสันประกาศลดการทิ้งระเบิดในดินแดนเวียดนามเหนือและ
ในวันที่ 3 เมษายน ค.ศ.1968 สหรัฐอเมริกาและเวียดนามเหนือตกลงจัดแต่งตั้งตัวแทนเพื่อการเจรจาระหว่าง
การโดยตรงอันถือเป็นก้าวแรกของการแสวงหาแนวทางนิติสงครามในอนาคต กําหนดเปิดการเจรจาระหว่าง
การอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่กรุงปารีสในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1968
คนอเมริกันต่อต้านสงครามเวียดนาม คนอเมริกันติดตามความเป็นไปของสงครามเวียดนามโดยเฉพาะ
จากการรายงานข่ า วทางโทรทั ศ น์ ทํ าให้ ค นได้ เ ห็ น ความรุ น แรงของสงคราม ความเสี ย หายของทรั พ ย์ สิ น
ความตายและการบาดเจ็บของทหาร การพลัดพรากของชาวเวียดนาม และการรบที่ยืดเยื้อไม่มีฝุายใดแพ้หรือ
ชนะเป็นการถาวร อันมีผลทําให้คนอเมริกันมีแนวคิดต่อการเข้าร่วมของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม
แบ่งแยกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกต่อต้านสหรัฐอเมริกาในการเข้าร่วมสงครามในสงครามเวียดนามหรือพวก
ต่ อ ต้ า นสงครามหรื อ กลุ่ ม นกพิ ร าบเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความสงบ ประการที่ ห นึ่ ง สงครามเวี ย ดนามคื อ

28
Van Doren, Charles and McHenry, Robert editors, Webster’s Guide to American History,
( Massachusetts ; G&C, Merriam Company, 1971 ), p.620.
29
Brinkley, Alan, Current, Richard N, Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History : A
Survey, p. 911.
สงครามกลาง (civil war) เป็นการสู้รบกันระหว่างคนเวียดนามเพื่อจัดตั้งรัฐบาลเลือกรูปแบบการปกครองใน
ดิ น แดนเวี ย ดนาม สหรั ฐ อเมริ ก าไม่ ค วรเข้ า แทรกแซงในสงคราม สองการแทรกแซงของสหรั ฐ อเมริ ก า
ทําให้สงครามขยายตัวเพราะสหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนเวียดนามใต้ เวียดนามเหนือต่อต้านสหรัฐอเมริกา
เพราะต้ อ งการยุ ติ ก ารสนั บ สนุ น ที่ ส หรั ฐ อเมริ ก าให้ กั บ เวี ย ดนามใต้ แ ละรวมชาติ เ วี ย ดนามเป็ น หนึ่ ง เดี ย ว
ในรูปการเปิดอภิปรายต่อต้านสงครามเวียดนามอย่างเปิดเผยโดยผู้รู้แ ละนักวิชาการในสถาบันการศึกษาระดับ
วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนการประท้วงขยายวงกว้างจากสถาบันอุดมศึกษา
สู่ส มาคมได้ แ ก่ สมาคมสั น นิ บ าตระหว่ า งประเทศของสตรี เ พื่ อ สั นติ ภ าพและเสรี ภาพ (The Women's
International League for Peace and Freedom) และกลุ่มคณะกรรมการเพื่ อการบริหารการเพื่อน
อเมริกัน (The American Friends Service Committee) ร่วมประท้วงด้วย กลุ่มนักเรียนร่วมต่อต้าน
สงครามเวียดนามปลายปี ค.ศ. 1967 กลุ่มต่ อต้านสงครามเวียดนามผนึกกําลั ง ประท้ วงครั้ ง ใหญ่ด้ วยการ
เดินขบวนระหว่ างวัน ที่ 21 - 22 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ที่กรุง วอชิง ตัน ดี.ซี. ผู้ร่ วมเดิ นขบวนมี 35,000 คน
เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประธานาธิบดีลิงคอล์น (Lincoln Memorial) ไปยังตึกที่ทําการกระทรวงกลาโหม
(Pentagon) ที่หน้าตึกที่ทําการกระทรวงกลาโหมมีแนวทหารยืนเรียงหน้ากระดานพร้อมติดดาบปลายปืนรับ
การมาของกลุ่มผู้ประท้วงและเตรียมการปราบปรามหากกลุ่มผู้ประท้วงก่อความวุ่นวาย การประท้วงต่อต้าน
สงครามที่ชิคาโกปี ค.ศ. 1968 ( The Battle of Chicago of 1968 ) ในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1968
ที่ใจกลางเมืองชิคาโก ตํารวจปราบปรามผู้ประท้วงอย่างรุนแรงนับเป็นการประท้วงที่สําคัญอีกครั้งหนึ่ง
ประธานาธิบดีจอห์นสันไม่ลงสมัครรับการเลือกตั้งในปีค.ศ. 1968 30
ประธานาธิ บ ดี จ อห์ น สั น ไม่ ล งสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ในปี ค.ศ. 1968 ด้ ว ยแรงกดดั น ของปั ญ หา
ภายในประเทศที่มีการแตกแยก วุ่นวายและประท้วง ด้วยเหตุการแบ่งแยกเหยียดผิวของคนอเมริกันปัญหา
สัง คมรอการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง งบประมาณการใช้จ่ายวิจิตรต้องใช้เพื่อแก้ไ ขปัญหาสัง คมภายในประเทศ
ควบคู่ไปกับการใช้เพื่อกิจการสงครามเวียดนาม ทั้งถูกโจมตีว่าเป็นผู้นําสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมในสงครามนํามาซึ่ง
การสูญ เสียชีวิตทหารและพลเรือนอเมริกาและสูญเสียเงินจํานวนมากมหาศาล สงครามขยายตัวออกและไม่
สามารถปราบปรามคอมมิวนิสต์และไม่สามารถยุติลงได้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามคน
อเมริกันแตกแยกมีทั้งให้การสนับสนุนและต่อต้าน ด้วยแรงกดดันของปัญหาภายในประเทศเป็นเหตุให้ในวันที่
31 มี น าคม ค.ศ. 1968 ประธานาธิ บ ดี จ อห์ น สั น ประกาศไม่ ล งสมั ค รรั บ เลื อ กตั้ ง ในปี ค.ศ. 1968
เพื่อให้เกิดความสามัคคีกับคนในชาติในวันที่จะร่วมกันแก้ไขปัญ หาทั้ง ปวง ประธานาธิบดีจอห์นสันใช้เวลา
ในปี ค.ศ. 1968 ที่ เ หลื อ แสวงหาแนวทางเจรจาเพื่ อ ลดระดั บ การสู้ ร บแล ะยุ ติ ส งครามเวี ย ดนาม
ผลการดําเนินการคือมีการเจรจาระหว่างตัวแทนสหรัฐอเมริกาและตัวแทนเวียดนามเหนืออย่างเป็นทางการ
ครั้งแรกที่กรุงปารีสในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1968 การเจรจาไม่บรรลุเปูาหมาย ประธานาธิบดีตอนแสดง
ท่ า ที ผ ลั ก ดั น ให้ มี ก ารเจรจาระหว่ า งการและ ใฝุ ห าสั น ติ ภ าพโดยการประกาศหยุ ด การทิ้ ง ระเบิ ด และ

30
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the Republic’, (
D.CHeath and Company, 1994 ), pp.950 - 951.
หยุดปฏิบัติการโจมตีในดินแดนเวียดนามเหนือในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1968 อันส่งผลให้มีการเปิดการ
เจรจาระหว่ า งกั น ของตั ว แทนสหรั ฐ อเมริ ก า เวี ย ดนามเหนื อ เวี ย ดนามใต้ แ ละเวี ย ดกงที่ ก รุ ง ปารี ส
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1969
การเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1968
พรรคเดโมเครติกส่งฮูเบิร์ท เอช.ฮัมฟรี (Hubert H.Humphrey) คงสืบทอดการปฏิรูปสัง คม และ
เศรษฐกิจสืบต่อจากประธานาธิบดีจอห์นสันและจะแสวงหาสันติภาพในสงครามเวียดนาม พรรครีพับลิกันส่งริ
ชาร์ด เอ็ม.นิกสัน (Richard M.Nixon) อดีตรองประธานาธิบดีในสมัยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงรับเลือกใน
ตําแหน่ง ประธานาธิบดี และสปิโร ที.แอกนิว (Spiro T.Agnew) รับเลือกในตําแหน่ง รองประธานาธิบ ดี
ริ ช าร์ ด เอ็ ม .นิ ก สั น ประกาศจะรั ก ษาไว้ ซึ่ ง เสถี ย รภาพและแก้ ไ ขปั ญ หาเศรษฐกิ จ และปั ญ หาสั ง คม
ผลการนับคะแนนริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน ได้รับ 301 คะแนนจากคณะกรรมการเลือกตั้งชนะฮูเบิร์ท เอช.ฮัมฟรี
ได้ รั บ เพี ยง 191 คะแนน จาก คณะก รร มการเลื อ ก ตั้ ง มั น หมายคว ามว่ าริ ชาร์ ด เอ็ ม .นิ ก สั น
ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีลําดับที่ 37 นําการบริหารประเทศในทศวรรษ 1970

You might also like