You are on page 1of 190

เอกสารลําดับที่ ๖๕

จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ทรงตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชา๑
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร

๑. ความสําคัญของเอกสาร
แมรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี (ค.ศ. ๑๗๖๗ – ๑๗๘๒/ พ.ศ. ๒๓๑๐
– ๒๓๒๕) หรือสมเด็จพระเจาตากสินเปนสมัยที่มีความสําคัญตอพัฒนาการทาง
ประวัติศาสตรไทย เพราะเปนชวงเวลาหัวเลี้ยวหัวตอระหวางสมัยอยุธยาที่สิ้นสุด
ลงใน ค.ศ. ๑๗๖๗ (พ.ศ. ๒๓๑๐) กับสมัยรัตนโกสินทร แตหลักฐานรวมสมัยที่
จะใชศึกษานั้นมีคอนขางนอย เพราะยังเปนชวงเวลาที่บานเมืองระส่ําระสายจาก
ภั ย สงคราม ทั้ ง ชาวต า งชาติ ที่ เ ข า มายั ง กรุ ง ธนบุ รี ยั ง มี ไ ม ม ากนั ก นอกจากนี้
เอกสารบางประเภทก็ถูกแตงหรือชําระขึ้นในสมัยหลัง ทําใหไดรับอิทธิพลจาก
การเมือ งในสมั ย ตน รั ต นโกสิ น ทร เ ป น อั น มาก ในบรรดาเอกสารเหล านี้ ยั ง มี
เอกสารชั้ น ต น อยู ฉ บั บ หนึ่ ง ที่ มี ค วามสํ า คั ญ อย า งยิ่ ง ต อ การศึ ก ษาการเมื อ ง
ความสัมพันธระหวางรัฐ และเศรษฐกิจในตนรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี นั่น
คือ จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศ
และกัมพูชา


ผูเขียนขอขอบพระคุณนักวิจัยในโครงการวิจัยฯ ทุกทานที่เสนอแนะความเห็นในการเรียบ
เรียงและปรับปรุงผลงานวิจัยฉบับนี้ โดยเฉพาะอยางยิ่ง ดร. วินัย พงศศรีเพียร ที่ใหความ
กรุณาชวยอธิบายคําเกาที่ปรากฏในเอกสาร รองศาสตราจารย ดร. ธีรวัต ณ ปอมเพชรที่
เอื้อเฟอหนังสือและหลักฐานชั้นตนฉบับตางๆ เพื่อใชประกอบงานวิจัย รองศาสตราจารย
เสมอ บุญมา ผูชวยศาสตราจารยศุภการ สิริไพศาลและคุณอรพินท คําสอนที่ชวยอานและ
ใหคําแนะนําในบทความฉบับสมบูรณนี้ และอาจารยวิชุลดา พิไลพันธและอาจารยกัณฐิกา
กล อ มสุ ว รรณที่ ช ว ยพิ ม พ เ อกสารต น ฉบั บ สุ ด ท า ยนี้ ผู เ ขี ย นขอขอบพระคุ ณ ผู ช ว ย
ศาสตราจารยอนันทธนา เมธานนท ที่ใหคําแนะนําเรื่องประวัติศาสตรและภาษาเวียดนาม
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัตศิ าสตรไทย 
๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกัมพูชา เปนเอกสารชั้นตน ที่บรรดาอาลักษณหลวงรวมกันเรียบเรียงขึ้น
ใน ค.ศ. ๑๗๗๑ (พ.ศ. ๒๓๑๔) ระหวางที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพไป
ตีเมืองพุทไธมาศหรือฮาเตียน เมืองทากึ่งอิสระ ซึ่งยอมรับอํานาจของทั้งกัมพูชา

และตระกู ลเหงียนในเวียดนาม ในขณะเดียวกัน ราชสํานั กสยามก็ถือวาพุทไธ
มาศเปนเมืองประเทศราชอีกแหงหนึ่งของสยาม นอกจากนี้ พระองคยังยกทัพไป

ตี กรุง กั ม พูช า ซึ่ง ในขณะนั้น คือ เมือ งอุ ดง มีไ ชย หรือบางครั้ง เอกสารสยาม
เรีย กว า เมื อ งพุ ท ไธเพชร ขณะเดี ยวกั น สมเด็ จ พระเจา กรุ ง ธนบุ รี มีพ ระราช
โองการให พระยายมราชหรือตอมาคือ สมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก
(รั ช กาลที่ ๑ ค.ศ. ๑๗๘๒ – ๑๘๐๙/ พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒) ยกทั พ ไปตี
กระหนาบกรุงกัมพูชาทางบกอีกดวย
สาเหตุของสงครามในครั้งนี้เกิดขึ้นดวยเหตุผลสองประการ ไดแก เหตุผล
ทางดานการเมือง คือ หลังจากพมายึดกรุงศรีอยุธยาไดใน ค.ศ. ๑๗๖๗ บรรดา
เจานายอยุธยาไดหลบหนีออกจากกรุง และไปอาศัยอยูตามหัวเมืองและรัฐเพื่อน
บาน ที่สําคัญคือ เจาจุยและเจาศรีสังข ซึ่งหลบหนีไปอยูที่เมืองพุทไธมาศและ
กัมพูชาตามลําดับ ผูปกครองเมืองทั้งสอง โดยเฉพาะพระยาราชาเศรษฐีหรือ


ภายหลังจากที่จักรพรรดิเลทานตง (ค.ศ. ๑๔๔๑ – ๑๔๙๗/ พ.ศ. ๑๙๘๔ – ๒๐๔๐)
สวรรคต ราชวงศเล (Le) ก็ออนแอลง เหลาขุนนางเชน ตระกูลตรินท เขาไปมีบทบาททาง
การเมือ งในราชสํานัก และกลายเปนผู ปกครองเวียดนามอยางแทจริง ใน ค.ศ. ๑๕๒๗
(พ.ศ. ๒๐๗๐) ขณะที่ ตระกู ลเหงี ย นดํ า เนิ นการต อ ต า นอํ า นาจของตระกู ลตริ น ท แ ละ
สนับสนุนจักรพรรดิเล ซึ่งมีสิทธิธรรมอยางแทจริงเปนผูปกครอง แตในทายที่สุดใน ค.ศ.
๑๕๙๒ (พ.ศ. ๒๑๓๕) ทั้งสองตระกูลตางสนับสนุนใหจักรวรรดิราชวงศเลกลับมาปกครอง
เวียดนามอีกครั้ง ในขณะที่พวกเขาเปนผูมีอํานาจปกครองอยางแทจริงคือ ตระกูลตรินท
ปกครองทางเหนือ เรียกวา ตังเกี๋ย สวนตระกูลเหงียนมีอํานาจในเวียดนามใตหรือโคชินจีน
Shelton Woods, Vietnam an Illustrated History, (New York: Hippocrene Books,
2002), 53 – 54.

หลังสมัยพระนครนั้น กัมพูชายายเมืองหลวงหลายครั้งดวยกันคือ เมืองละแวกระหวาง
ค.ศ. ๑๕๒๕ – ๑๕๙๓ (พ.ศ. ๒๐๖๘ – ๒๑๓๖) เมืองศรีสุนทร (ค.ศ. ๑๕๙๔ – ๑๖๒๐/
พ.ศ. ๒๐๖๙ – ๒๑๖๓) และเมื อ งอุ ด ง มี ไ ชย (ค.ศ. ๑๖๒๑ – ๑๘๖๓/ พ.ศ. ๒๑๖๔ –
๒๔๐๖) กอนที่จะยายไปยังกรุงพนมเปญ
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๗

มักเทียนตู ไดใชเจานายอยุธยาเปนเครื่องมือสําคัญ เพื่อทาทายพระราชอํานาจ
ของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีอยูตลอด สงผลตอสถานภาพและสิทธิธรรมของ
พระองค รวมทั้งผลประโยชนทางการคากับจีน
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ทรงยกทัพไปตีเมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชา คือ
ทรงตองการควบคุมเมืองทาในอาวสยามทั้งหมด เพื่อผูกขาดการคากับจีน ซึ่ง
ขณะนั้น เป น การคากระแสหลั กของรั ฐในเอเชียตะวั น ออกเฉียงใต นอกจากนี้
พระองคยังมีพระราชประสงคจะเก็บเกี่ยวเสบียงอาหารจากกัมพูชา ซึ่งเปนแหลง
ปลู กขาวขนาดใหญอีกแหงหนึ่ง ของภูมิภ าค เพื่อเลี้ยงดูผูคนที่อดอยากในกรุ ง
สยาม รวมทั้งยังทรงตองการควบคุมแหลงสินคาประเภทของปา ซึ่งเปนสินคาที่
ทํากําไรใหแกรฐั อีกดวย
แมเนื้อหาในจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตี
เมืองพุทไธมาศและกัมพูชาจะเปนเรื่องการสงครามระหวางสยามกับพุทไธมาศ
และกัมพูชาก็ตาม แตเอกสารฉบับนี้มีความสําคัญเปนอยางยิ่งในฐานะหลักฐาน
ชั้นตนที่สะทอนภูมิปญญาของชนชั้นปกครองสยาม ไมวาจะเปนพัฒนาการเขียน
งานทางประวัติศาสตรของสยาม และแนวคิดเรื่องหลักพิไชยสงคราม รวมทั้งเปน
เอกสารชั้นตนที่สะทอนภาพลักษณของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีอีกดวย
แมเอกสารฉบับนี้จะมีความสําคัญมากเทาใดก็ตาม แตในปจจุบันนี้ยังไมมี
ผู ใ ดเคยศึ ก ษาเอกสารฉบั บ นี้ โ ดยตรง งานวิ จั ย ฉบั บ สํ า คั ญ ที่ ศึ ก ษาเรื่ อ ง
ความสัมพันธระหวางสยามกับพุทไธมาศและกัมพูชาในรัชกาลสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีของ Chingho A. Chen เรื่อง Mac Thien Tu and Phrayataksin a
Survey on their Political Stand, Conflicts and Background หรืองาน
ศึกษาเรื่อง Ha Tien or Banteay Meas in the Time of the Fall of
Ayutthaya ของ Yumio Sakurai and Takako Kitagawa ซึ่งใชเอกสารศึกษา


ทีเ่ มืองพุทไธมาศนั้นเหมือนมีเจาเมืองอยูสองคน คือ มักเทียนตู และพระยาราชาเศรษฐี
ซึ่ง เปนขุ นนางกัม พู ช าที่ ดู แ ลเมื องนี้ แต ร าชสํ า นัก สยามคงจะสั บสนกั บสภาพการเมื อ ง
ภายในพุทไธมาศ และคิดวาพระยาราชาเศรษฐีและมักเทียนตูคือ คนคนเดียวกัน จึงเรียก
มักเทียนตูวาพระยาราชาเศรษฐี ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้ ผูเขียนขอเรียกมักเทียนตูวา พระยา
ราชาเศรษฐีตามแบบไทย
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ประเด็น ป ญหาอยางหลากหลาย แตกลับ ไมใชจ ดหมายเหตุร ายวัน ทั พรั ชกาล


สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชา ซึ่งเปนเอกสารชั้นตน
มาประกอบการพิจารณาแตอยางใด ดังนั้น ผูเขียนมุงศึกษาจดหมายเหตุรายวัน
ทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาในสี่ประเด็น
ดังนี้ ๑. บริบททางประวัติศาสตร ๒. เหตุการณความขัดแยงระหวางสยามกับ
พุทไธมาศและกรุงกัมพูชาใน ค.ศ. ๑๗๗๑ ๓. จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาล
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชาในฐานะงานเขียน
ทางประวัติศาสตร ๔. “หลักพิไชยสงคราม” ในจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาล
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชา

๒. สารัตถวิพากษ
บริบททางประวัตศิ าสตร
การที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพไปตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชา
ใน ค.ศ. ๑๗๗๑ เปนเหตุการณสําคัญอีกเหตุการณหนึ่งที่เกิดขึ้นในสมัยธนบุรี
เพราะเหตุการณครั้งนี้ทําใหอํานาจและสิทธิธรรมทางการเมืองของสมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรีมีความมั่นคง เพราะทรงปราบปรามชุมนุมใหญตางๆ ไดสําเร็จ และ
กําจัดเจานายฝายชายของราชวงศบานพลูหลวงไดจนหมดสิ้นแลว ความวุนวาย
ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในตนรัชกาลนั้น ไมไดเกิดขึ้นหลัง เสียกรุงศรีอยุธยาใหแก
พมา แตมีเคาลางมาตั้งแตกอนการเสียกรุงศรีอยุธยาเสียดวยซ้ําไป ดังนั้น หลัง
สงครามสยามกั บ พม า ใน ค.ศ. ๑๗๖๗ บ า นเมื อ งซึ่ ง เคยเป น ส ว นหนึ่ ง ของ
ราชอาณาจั ก รอยุ ธ ยามาแต เ ดิ ม ได ก ลายเป น ชุ ม นุ ม นอ ยใหญ เจ าชุ ม นุ ม ต า ง
สถาปนาตนเป นพระเจาแผนดินปกครองดินแดนในอํ านาจของตนเอง มีเพียง
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีที่มีพระราชประสงคจะฟนฟูราชอาณาจักรอยุธยาอีก
ครั้งหนึ่ง นํามาสูความพยายามรวบรวมราชอาณาจักรอยุธ ยาขึ้นใหมระหวาง
ค.ศ. ๑๗๖๗ – ๑๗๗๑

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๙

ปจจัยทางการเมือง
๑. เหตุการณปลายกรุงศรีอยุธยา

ภาพวาดพระนครศรีอยุธยาเมื่อยังรุงเรืองอยู

กรุงศรีอยุธยาลมสลายลงใน ค.ศ. ๑๗๖๗ ภายหลังที่กองทัพพมาเขาลอม


กรุงเปนเวลากวาสองป แตอันที่จริงแลวราชอาณาจักรแหงนี้ ไดลมสลายลงมา
ตั้งแตกอนหนานั้น อันเกิดขึ้นเพราะผูปกครองไรความสามารถ เหลาเชื้อพระวงศ
และขุนนางตางขัดแยง และพยายามแยงชิงอํานาจกันอยูเสมอ ราชสํานักสยามยัง
เผชิญปญหาทุจริต และปญหาการควบคุมกําลังพล๕ ทําใหราชอาณาจักรอยุธยา
ออ นแอ และไมสามารถตอ รบกั บ กองทัพ พมา ดั ง ปรากฏในจดหมายเหตุข อง
บาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศ ณ กรุงปารีส (Les Missions Étrangères de
Paris) ที่วา ไมวาครั้งใดที่ราชสํานักสยามสงกองทัพออกไปตอกรกับกองทัพพมา

นิธิ เอียวศรีวงศ, การเมืองไทยสมัยพระเจากรุงธนบุรี, พิมพครั้งที่ ๒ (กรุงเทพฯ:
มติชน, ๒๕๔๖), ๒๕ – ๓๖.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ก็ จ ะตอ งพ ายแพ ไ ปเสี ยทุ กครั้ง ๖ จนในที่สุ ด กองทั พ พม าก็ ส ามารถยึด กรุ ง ศรี
อยุธยาไดสําเร็จ
หลังจากกองทัพ พมายึด กรุงศรีอ ยุธยาไดแลว ก็กวาดตอนผูคนและเชื้อ
พระวงศ ที่สําคัญคือ สมเด็จพระเจาอุทุมพร (ค.ศ. ๑๗๕๘/ พ.ศ. ๒๓๐๑) หรือ
ขุนหลวงหาวัดกลับไปยังกรุงอังวะ แตเจานายบางพระองคก็สามารถหลบหนีไป
ไดเชน เจาจุยและเจาศรีสังข เจาจุยนั้นไปประทับอยูก ับพระยาราชาเศรษฐีที่เมือง
พุทไธมาศ สวนเจาศรีสังขไปอาศัยอยูที่กรุงกัมพูชา เรื่องราวของเจานายสยามทั้ง
สองพระองคนั้นไมปรากฏในเอกสารสยามเทาใดนัก เรารูแตเพียงวา เจาจุยเปน
พระราชโอรสของเจาฟาอภัย ซึ่งเปนพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจาอยูหัวบรม
โกศ (ค.ศ. ๑๗๓๒ – ๑๗๕๘/ พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑)
สวนเจาศรีสั งขหรือ พระองคเจาศรีสัง ข เป นพระโอรสในเจาฟากรมขุ น
เสนาพิทักษ หรือเจาฟากุง กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลสมเด็จพระ
เจาอยูหัวบรมโกศกับหมอมจัน๗ บาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศแหงกรุงปารีส
มีบัน ทึกเรื่อ งเจานายพระองคนี้ไวพอสมควร ทั้งนี้เ พราะพระองคท รงเลื่อ มใส
ศรัทธาในคริสตศาสนา และโปรดฝรั่งเศสถึงขั้นที่มีพระประสงคจะเสด็จไปเยี่ยม
ชมความยิ่งใหญของฝรั่งเศสดวยพระองคเอง เชนเดียวกับที่คณะของออกพระ
วิสุทธสุนทรเคยไปมาแลวใน ค.ศ. ๑๖๘๖ (พ.ศ. ๒๒๒๙)๘
บาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศแหงกรุ งปารีส เลาวา หลังจากกรุงศรี
อยุธยาแตก เจาศรีสังขทรงหลบหนีขาศึกไปประทับในปาเปนเวลากวาสามเดือน
กอนที่จะทรงมุงหนาไปยังหัวเมืองชายทะเลฝงตะวันออก และเสด็จไปประทับที่


“Mgr Brigot et M. Corre, Mgr Brigot aux Directeurs du Séminaire des M.E., A.M. – E.,
vol, 886, 209 – N. L. E., vol. V, 444,” Adrien Launay, Histoire de la Mission de
Siam 1662-1811, Documents Historiques II, (Paris: Anciennes Maisons Charles
Douniol et Retaux, 1920), 229.

คําใหการชาวกรุงเกา, (นนทบุร:ี จดหมายเหตุ, ๒๕๔๔), ๒๑๖.

“Un prince siamois – Son projet de faire appel à la France, M. Corre à M. Darragon,
A.M. – E., vol. 886, 232, Au Cambodge, 3 juin 1768,” in Adrien Launay, Histoire de
la Mission de Siam 1662-1811, Documents Historiques II, 244 – 245.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๑๑

เมือ งพุ ท ไธมาศดวยความชวยเหลือ ของบาทหลวงฝรั่ ง เศส ขณะที่เ จาศรีสั ง ข


ประทับอยูที่เมืองบางปลาสรอยหรือเมืองชลบุรี สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรง
ทราบขาว จึงสงทหารมาจับกุม แตพระองคทรงหลบหนีไปได หลังจากที่ประทับ
อยูที่เมืองพุทไธมาศไดไมนาน เจาศรีสังขก็เสด็จไปประทับอยูที่กรุงกัมพูชา ซึ่ง
สมเด็ จ พระนารายณร าชา (ค.ศ. ๑๗๕๘ – ๑๗๗๕/ พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๘)
หรือนักองตน ทรงตอนรับพระองคเปนอยางดี๙
สถานการณทางการเมืองของสยามภายหลัง ค.ศ. ๑๗๖๗ นั้น นอกจาก
จะปรากฏเหตุการณที่เชื้อพระวงศอยุธยาสองพระองคหลบหนีไปในรัฐเพื่อนบาน
แลว ดินแดนซึ่งราชสํานักสยามเคยปกครองอยูก็แตกออกเปนเสี่ยงๆ เปนชุมนุม
เล็กชุมชนใหญมากมาย ที่สําคัญมีอยูหาชุมนุม คือ ชุมนุมเจาพระฝาง มีอํานาจ
อยูหัวเมืองเหนือ ชุมนุมพระยาพิษณุโลก ซึ่งพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิ ม ) มี บั น ทึ ก วา ระหว า งที่ กองทั พ พมา ลอ มกรุ ง อยู นั้ น
พระยาพิษณุโลกไดหลบหนีกลับเมือง โดยอางวาจะไปปลงศพมารดา และใหออก
หลวงโกษา ออกพระมหาดไทย ออกหลวงเทพเสนาคุมกองทัพอยู ณ วัดภูเขา
ทองแทน ๑๐ ตอ มาหลั ง จากที่ กรุ ง แตก พระยาพิษ ณุ โ ลกก็ ส ถาปนาตนขึ้น เป น
พระเจาแผนดิน
ที่เมืองนครศรีธรรมราช ปลัดทูลฉลองเมืองซึ่งดูแลเมืองแทนเจาเมืองที่ติด
ราชการอยูใ นกรุงศรีอยุธยา หลังเสียกรุงใน ค.ศ. ๑๗๖๗ ปลัดทูลฉลองสถาปนา
ตนขึ้นเปนพระเจาแผนดิน สวนทางตะวันออกเฉียงเหนือนั้น เปนที่ตั้งของชุมนุม
เจาพิมาย ซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธไปประทับอยูดวย เจานายผูนี้เปนผูมีบทบาท
สําคัญยิ่งทางการเมือง และเปนที่นับหนาถือตามาตั้งแตรัชกาลพระเจาอยูหัวบรม
โกศแลว คําใหการชาวกรุงเกามีบันทึกวา กรมหมื่นเทพพิพิธนั้นมีพระนามเดิมวา

“Un prince siamois – Son projet de faire appel à la France, M. Corre à M. Darragon,
A.M. – E., vol. 886, 232, Au Cambodge, 3 juin 1768,” in Adrien Launay, Histoire de
la Mission de Siam 1662-1811, Documents Historiques II, 245.
๑๐
“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงศรีอยุธ ยา ฉบับพั นจันทนุมาศ (เจิ ม) และพระราชพงศาวดารกรุ งศรีอ ยุธยา
ฉบับหลวงประเสริฐ คําใหการชาวกรุงเกาและคําใหการขุนหลวงหาวัด, (นนทบุรี: ศรี
ปญญา, ๒๕๕๓), ๓๗๖.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

พระองคเจาชายแขก เปนพระราชโอรสในพระเจาอยูหัวบรมโกศกับพระสนมเอก
พระองคหนึ่ง๑๑ ทรงเปนฝายที่สนับสนุนสมเด็จพระเจาอุทุมพรมาโดยตลอด ทํา
ใหสมเด็จพระเจาเอกทัศน (ค.ศ. ๑๗๕๘ – ๑๗๖๗) ทรงเนรเทศกรมหมื่นเทพ
พิพิธไปยังลังกา พรอมกับคณะสงฆใน ค.ศ. ๑๗๕๙ (พ.ศ. ๒๓๐๖)๑๒
กรมหมื่นเทพพิพิธเสด็จกลับมายังกรุงศรี อยุ ธยาใน ค.ศ. ๑๗๖๑ (พ.ศ.
๒๓๐๔) ในชวงที่พมาเขามารุกรานสยามครั้งที่ ๒ พระองคพยายามรวบรวมไพร
พลในแถบหัวเมืองฝงตะวันออก สรางความกังวลใหแกสมเด็จพระเจาเอกทัศน
เปนอยางยิ่ง จนตองสงกองทัพไปปราบ แตก็ไมสามารถจับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธ
ได๑๓ เหตุการณดังกลาวนี้สะทอนใหเห็นวา แมศัตรูจะมาประชิดเมือง แตก็ไมอาจ
ทําใหเชื้อพระวงศกลับมาสมานสามัคคีกันไดแมแตนอย ตอมากรมหมื่นเทพพิพิธ
ทรงหลบหนีไปอยูที่เมืองนครราชสีมา ซึ่งพระองคกําจัดเจาเมืองคนกอนเสีย และ
เสด็จไปประทับอยูกับพระยาพิมายในที่สุด ๑๔ สวนชุมนุมใหญชุมนุมสุดทายคือ
ชุมนุมพระยาตากสิน ตอมาไดปราบดาภิเษกเปนสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ซึ่งมี
พระราชประสงคจะสถาปนาราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นมาใหมอีกครั้งหนึ่ง
ในบรรดาผูที่ป ระกาศตนหรือ ผู มีสิท ธิธ รรมทั้ง เจ็ ด (หรื อ เจ็ ด ชุ ม นุ ม ) นี้
สถานการณของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีดูจะยากลําบากมากที่สุด เพราะเจา
ชุมนุมอื่นๆ เชน พระยาพิษณุโลกและพระยานครศรีธรรมราชนั้นตางมีสิทธิธรรม
ในการปกครองอยูแลว เพราะปกครองในทองถิ่นเดิมของตนเอง ซึ่งในอดีตนั้นเคย
เปนราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญมากอน เจาพระฝางก็เปนพระสงฆ หรือผูมีบุญที่เปน
ที่นับถือแถบเมืองเหนือ สวนพิมาย กรุงกัมพูชาหรือพุทไธมาศก็เปนที่ที่เจานาย
๑๑
คําใหการชาวกรุงเกา, ๒๑๓.
๑๒
Bhawan Ruangsilp, Dutch East India Company Merchants at the Court of
Ayutthaya: Dutch Perception of the Thai Kingdom, c. 1604 – 1765, (Leiden:
Brill, 2004), 209 – 210.
๑๓
“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงศรีอยุธ ยา ฉบับพั นจันทนุมาศ (เจิ ม) และพระราชพงศาวดารกรุ งศรีอ ยุธยา
ฉบับหลวงประเสริฐ คําใหการชาวกรุงเกาและคําใหการขุนหลวงหาวัด, ๓๗๙.
๑๔
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ, (นนทบุร:ี ศรีปญญา, ๒๕๕๑), ๕๘ – ๕๙.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๑๓

เชื้อสายราชวงศเดิมประทับอยู ยอมไมจําเป นที่จะถามถึง สิทธิธ รรมในการขึ้น


ครองบัลลังก
ในขณะที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีนั้นเปนเพียงขุนนางหัวเมือง ทั้งยังเปน
ชาวสยามเชื้อสายจีน ซึ่งเพิ่งอพยพเขามาในชั้นพระราชบิดา แมจะเขารับราชการ
แตก็เปนเพียงขุนนางชั้นผูนอยเทานั้น สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจึงไมคอยผูกพัน
กับระบบราชการและการเมืองสยาม ทําใหทรงไมมีรากฐานทางการเมืองเทาใด
นัก พระองคจึง ตอ งดําเนินกุ ศ โลบายทางการเมือ งดวยผูกโยงพระองคเ ขากั บ
ราชอาณาจักรอยุธยาเดิม โดยประกาศวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีพระราช
ประสงคจะฟนฟูราชอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อสรางสิทธิธรรมในการขึ้น
ครองราชยของพระองค๑๕ ดังนั้น หลังจากที่ทรงรวบรวมไพรพลและเสบียงที่หัว
เมืองชายทะเลฝงตะวันออกแลว สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงขับไลกองทหาร
พม า ซึ่ ง ยั ง หลงเหลื อ อยู ใ นที่ ร าบลุ ม แม น้ํ า เจ า พระยาตอนล า งให อ อกจาก
ราชอาณาจั ก ร แล ว จึ ง ดํ า เนิ น การปราบปรามชุ ม นุ ม ใหญ น อ ยต า งๆ เพื่ อ ให
บานเมืองเปนปกแผนอีกครั้งหนึ่ง
๒. การเมืองสยามสมัยตนกรุงธนบุรี
เปนที่ทราบกันดีวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีพระราชประสงคจะฟนฟู
ราชอาณาจักรอยุธยาขึ้นใหม พระราชพงศาวดารฉบับตางๆ มีบันทึกวา พระราช
ภารกิจดังกลาวนี้เริ่มตนตั้งแตที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรียังไมออกจากกรุงสยาม
มาเสียอีก ทั้งนี้เพราะ
พระเจาอยูหัวอันมีภินิหารนับในเนื้อหนอพุทธางกูรเจา ตรัสทราบ
พระญาณวากรุงศรีอยุธยาจะเปนอันตราย แตเหตุอธิบดีเมืองและราษฎรมิ
เปนธรรม จึงอุตสาหะดวยกําลังกรุณาแกสมณพราหมณาจารย แลพระ
บวรพุ ทธศาสนาจะเสื่อ มสู ญ เสี ย จึ งชุ มนุ ม พรรคพวกพลทหารไทยจี น
ประมาณ ๑,๐๐๐ เศษ สรรพดวยเครื่องอาวุธตาง.. แลวยกออกไปตั้ง ณ
วัดพิชัยอันเปนที่มงคลมหาสถาน ดวยเดชะพระบรมโพธิสมภาร เทวดาเจา
อภิบาลรักษาสองสาธุการ บันดาลใหวรรษาการหาฝนตกลงมา เปนมหา

๑๕
นิธิ เอียวศรีวงศ, การเมืองไทยสมัยพระเจากรุงธนบุร,ี ๑๓๙ – ๑๕๐.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

พิชัยฤกษ จําเดิมแตนั้นมา จึงใหยกพยุหกองทัพออกจากวัดพิชัย ฝากอง


ทัพพะมาออกมาเปนเพลาย่ําฆองยามเสาร๑๖
พระราชพงศาวดารยังมีบันทึกตอไปวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงฝา
กองทั พ พม าออกไปแลว ก็ มุ ง หน าไปยั ง หั ว เมื อ งชายทะเลฝ ง ตะวั น ออก เพื่ อ
รวบรวมไพรพลกลับมากอบกูกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง เรื่องราวดังกลาวนี้แตกตาง
อยางสิ้น เชิง กั บ เอกสารชั้น ตน คือ จดหมายซึ่ง ออกพระพิพั ท ธโกษา เขียนถึง
เปตรุ ส อั ล แบร ตุ ส ฟาน เดอร พารา (Petrus Albertus van der Parre)
ขาหลวงใหญของ บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช (East India Company) หรือ
๑๗
วีโอซี (VOC) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ค.ศ. ๑๗๖๙ (พ.ศ. ๒๓๑๒) วา
...เมื่อศัตรูพมาเขามาทําสงครามกับสยาม พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว
พระเจ ากรุ งสยามทรงสงขุ น นางผู ห นึ่ ง นามว า “พญาตาก” ไปยั งเมือ ง
จันทบูร เพื่อไปรวบรวมกําลังพล และนําคนเหลานี้มาชวยกรุงสยาม แตยัง
มิทันดําเนินการไปเทาไร อาณาจักรสยามก็ปราชัยตอศัตรูดังกลาวเสีย๑๘
แมเอกสารทั้งสองประเภทนี้จะใหภาพการที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรียก
ทัพมาตั้งมั่นอยูแถบหัวเมืองชายทะเลฝงตะวันออกแตกตางกันอยางสิ้น เชิง แตก็
ให แ ง มุ ม ประการหนึ่ ง สอดคล อ งกั น คื อ หั ว เมื อ งชายทะเลฝ ง ตะวั น ออกมี
ความสําคัญในฐานะที่ตั้งฐานกําลังในการขับไลกองทัพพมาออกจากสยาม เพราะ
มีผูคนอาศัยอยูที่นอี่ ยางหนาแนน (ทั้งพวกที่ตั้งรกรากมาตั้งแตเดิม และผูที่อพยพ
มาใหมระหวางสงคราม) นอกจากนี้ หัวเมืองตะวันออกยังเปนแหลงเสบียงอาหาร
และมีไมที่ใชสําหรับตอเรืออยูเปนจํานวนมาก ทั้งยังปลอดภัยและไมไดรับความ
๑๖
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดารกรุง
ธนบุ รี ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิ ม ) จดหมายรายวั น ทั พ อภิ นิ ห ารบรรพบุ รุ ษ และ
เอกสารอื่นๆ, ๓๕ – ๓๖.
๑๗
บริษัทการคาของพอคาดัตช ซึ่งตั้งขึ้นในตนคริสตศตวรรษที่ ๑๗ (กลางคริสตศตวรรษ
ที่ ๒๒) มีบทบาทในการคาทางทะเลในเอเชีย โดยเฉพาะกลุมเกาะของเอเชียตะวันออกเฉียง
ใตเปนอยางยิ่ง จนกระทั่งสิ้นคริสตศตวรรษที่ ๑๘
๑๘
ธีรวัต ณ ปอมเพชร, “จดหมายออกพระพิพัทธโกษาถึงบริษัทอินเดียตะวันออกของ
ฮอลั นดา ค.ศ. ๑๗๖๙.” ใน ๑๐๐ เอกสารสํ า คั ญ : สรรพสาระประวั ติ ศ าสตร ไ ทย
ลําดับที่ ๕, วินัย พงศศรีเพียร, บรรณาธิการ, (กรุงเทพ: ศักดิโสภาการพิมพ, ๒๕๕๓),
๕๑.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๑๕

เสียหายจากภัยสงครามเทาใดนัก เพราะไมไดตั้งอยูบนเสนทางเดินทัพของพมา
เหตุ ผลอีกประการหนึ่ง ที่ ส มเด็ จ พระเจากรุ ง ธนบุ รี ยัง ทรงมุง หนาไปยั ง
หัวเมืองตะวันออก เพราะทรงคาดวาสามารถขอความชวยเหลือจากผูคนในแถบ
นี้ไดงาย ทั้งนี้เพราะประชากรกลุมสําคัญที่อาศัยอยูแถบนี้ คือ ชาวจีนแตจิ๋ว ซึ่ง
เปนชาวจีนกลุมเดียวกับสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี นอกจากนี้ เมืองทาแถบชายฝง
ทะเลตะวันออกยังเปนเมืองทาสําคัญในการคาขายกับจีน ซึ่งจะชวยเพิ่มทุนทรัพย
ในการทําสงครามใหกับกองทัพของพระองค และหากกองทัพสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีปราชัยใหแกพมา พระองคก็สามารถหลบหนีไปที่อื่นได
หลั ง จากที่ ส มเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงรวบรวมไพร พ ลในหั ว เมื อ ง
ชายทะเลฝงตะวันออกไดแลว ก็ทรงกรีฑาทัพมาปราบปรามบานเมืองในที่ราบลุม
แมน้ําเจาพระยาตอนลางใน ค.ศ. ๑๗๖๗ โดยสถานที่แรกที่กองทัพของพระองค
เขาโจมตี คือ เมืองธนบุรี และตอมาคือ คายโพธิ์สามตน หลังจากนั้นสมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรีก็ทรงสงขุนนางไปเกลี้ยกลอมไพรพล ซึ่งหลบซอนอยูที่เมืองลพบุรี
และรั บ ตัว พระญาติวงศ ข องพระองค ใ หม าอาศั ยอยูที่กรุ งธนบุรีแ ทน ๑๙ ตอ มา
พระองคทรงยกทัพไปตีเมืองพิษณุโลก แตก็ไมสามารถยึดเมืองไวได๒๐
แมสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะไมสามารถปราบปรามชุมนุมของพระยา
พิษณุโลกได แตในปเดียวกันนี้พระองคก็สามารถปราบปรามชุมนุมของพระยา
พิมายไดสําเร็จ ทั้งยังจับกุมกรมหมื่นเทพพิพิธและครอบครัวมายังกรุงธนบุรีดวย
๒๑
ตอมาสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีไดสําเร็จโทษเจานายอยุธยาผูนี้ ทั้งนี้เพราะทรง
เล็งเห็นแลววา หากกรมหมื่นเทพพิพิธยังมีพระชนมชีพตอไป ก็จะสรางปญหา
ให แ ก ก ารปกครอง และสิ ท ธิ ธ รรมทางการเมื อ งของพระองค ไ ด กรมหมื่ น
เทพพิพิธเปนเจานายที่มีผูคนนับหนาถือตา ดังนั้น เมื่อพระองคเสด็จมาถึงกรุง
ธนบุรี จึงมีเหลาขุนนางและไพรฟาประชาชนไปเยี่ยมเยียนพระองคเปนจํานวน

๑๙
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ, ๕๔.
๒๐
เรื่องเดียวกัน, ๕๗.
๒๑
เรื่องเดียวกัน, ๖๐.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

มาก
ใน ค.ศ. ๑๗๖๘ (พ.ศ. ๒๓๑๑) สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงกรีฑาทัพไปตี
เมืองนครศรีธรรมราช พระยานครศรีธรรมราชพาครอบครัวหนีไปยังเมืองปตตานี
เพื่อหวังพึ่งพาเจาเมือง แตเจาเมืองปตตานีกลับสงตัวพระยานครศรีธรรมราช
มาถวายสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี แมพระองคจะไมจัดการสําเร็จโทษเจาเมือง
นครศรีธ รรมราช แตพ ระองคก็ไ มใ หโ อกาสครองเมือ งตอ ไป สมเด็ จ พระเจ า
กรุงธนบุรีโปรดฯ ใหเจานราสุริวงศ พระเจาหลานเธอครองเมืองนครศรีธรรมราช
แทน รวมทั้งทรงแตงตั้งใหพระยาสุภาวดีและพระศรีไกรลาสผูชวยราชการ๒๒ ในป
ตอมาพระองคท รงสามารถปราบปรามชุมนุมพระยาพิษณุ โลก และชุ มนุมเจา
พระฝางไดสําเร็จ
แมในชวงสามปแรกสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะสามารถปราบปรามชุมนุม
ใหญๆ ที่ตั้งอยูในหัวเมืองเดิมของราชอาณาจักรอยุธยาไดสําเร็จ แตสถานภาพ
ทางการเมื อ งของพระองค ก็ ไ มค อ ยมั่ น คงนั ก เพราะยั ง มีชุ ม นุ ม ย อ ยๆ อยู ใ น
ดินแดนประเทศไทยปจจุบันอยูกวารอยชุมนุม รวมทั้งเจานายอยุธยาที่มีสิทธิขึ้น
ครองราชยยังทรงพระชนมชีพอยู และประทับอยูในรัฐเพื่อนบาน ดังนั้น ใน ค.ศ.
๑๗๗๑ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจึงมีพระราชโองการใหพระยายมราชยกทัพบก
ไปตีกรุงกัมพูชา สวนพระองคจะทรงยกกองทัพเรือไปตีเมืองพุทไธมาศ กอนที่จะ
ยกทัพเรือไปตีขนาบเมืองกรุงกัมพูชาทางน้ํา อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อใหสมเด็จพระ
เจ า กรุ ง ธนบุ รี มี อํ า นาจและสิ ท ธิ ใ นการขึ้ น เป น กษั ต ริ ย อ ย า งสมบู ร ณ และ
ผลประโยชนทางการเศรษฐกิจ จากสงคราม ตอไปนี้จะกลาวถึงปจจัยทางการ
เมืองและเหตุการณกอนสงคราม ค.ศ. ๑๗๗๑ ซึ่งแบงออกเปนสองประเด็น คือ
ความขัดแยงระหวางสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีกับพระยาราชาเศรษฐี และความ
ขัดแยงระหวางสยามกับกัมพูชา

๒๒
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ, ๖๒ – ๖๓.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๑๗

๓. ความขั ด แย งระหวางสมเด็จ พระเจากรุงธนบุ รีกับพระยาราชา


เศรษฐี
การที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพเรือไปตีเมืองพุทไธมาศใน ค.ศ.
๑๗๗๑ นั้นมีเหตุผลสําคัญมาจากความขัดแยงระหวางสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
กับพระยาราชาเศรษฐี อันเนื่องมาจากปจจัยทางการเมือง คือ เจาจุย และปจจัย
ทางการคา ซึ่งนอกจากจะแสดงใหเห็นการแยงชิงผลประโยชนระหวางชาวจีนโพน
ทะเลหลายกลุมแลว ยัง สะทอนใหเห็ นถึงความพยายามควบคุมการคาในอาว
สยาม ซึ่งเชื่อมโยงผลประโยชนทางการคากับจีนของทั้งพระยาราชาเศรษฐีและ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีดวย แตในประเด็นนี้จะขออภิปรายประเด็นทางการเมือง
เป นสํ าคั ญเทานั้น ทวากอ นที่จะกลาวถึงเนื้อ หาตอไปนี้ จะขอกลาวถึงประวั ติ
ความเปนมาของเมืองพุทไธมาศกอน ค.ศ. ๑๗๗๑ เสียกอน
จุ ด เริ่ ม ต น ของการตั้ ง เมื อ งพุ ท ไธ
มาศนั้ น ต อ งย อ นกลั บ ไปในช ว งกลาง
คริ ส ต ศ ต ว ร ร ษ ที่ ๑๗ ( ป ล า ย พุ ท ธ
ศตวรรษที่ ๒๒) เมื่ อ กองทั พ แมนจู
สามารถยึด ครองจีน ได และตั้ง ราชวงศ
ใหม คื อ ราชวงศ แ มนจู ขึ้ น ปกครองจี น
แทนราชวงศ หมิ ง (ค.ศ. ๑๓๖๘ –
๑๖๔๔/ พ.ศ. ๑๙๑๑ – ๒๑๘๗) ทําให
ชาวจีนหลายกลุมไมพอใจ ในบรรดาชาว
จีนที่ตอตานราชวงศแมนจูกลุมแรกๆ นั้น
กลุมที่มีบทบาทมากที่สุดคือ กลุมของเจิ้ง
เชิงกง (Zheng Chenggong) หรือโคซิงกา เจิ้งเชิงกงหรือโคซิงกา
(Koxinga) ซึ่ ง มี ฐ านอํ า นาจอยู ที่ เ กาะ
ไตหวัน ตอมาตระกูลเจิ้งก็ไมอาจตานทานกําลังของกองทัพแมนจูได จึงเริ่มมอง
หาที่อยูใหมในปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๗๒๓ (ตนพุทธศตวรรษที่ ๒๓) และชาวจีน
๒๓
Paul Boudet, “La conquêt de la Cochinchine par les Nguyêns et le role des émigrés
chinois,” BFEO, 42 (1942): 115 – 116.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

กลุ ม นี้ ก็ เ ริ่ ม อพยพโยกย า ย และมาตั้ ง ถิ่ น ฐานใหม อ ยู ใ นตอนใต ข องประเทศ
๒๔
เวียดนามและตะวันตกเฉียงใตของประเทศกัมพูชาในปจจุบัน และสรางเมืองทา
ที่หมีธอ(My-tho) และเบียนฮั่ว (Bien-Hao) ใน ค.ศ. ๑๖๗๘ (พ.ศ. ๒๒๒๑)
นอกจากนี้ ยังมีชาวจีนกวางตุงอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะมีบทบาทอยางมากในเวลาตอมา
นามวา มักคู (Mac cuu) อพยพมายังกรุงกัมพูชา และเขารับราชการสังกัดพระ
๒๕
คลังใน ค.ศ. ๑๖๗๑ (พ.ศ. ๒๒๑๔)
ใน ค.ศ. ๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๒๔๓) มักคูตั้งเมืองพุทไธมาศขึ้น ในบริเวณที่แต
เดิมเปนชุมชนชาวประมงเล็กๆ เทานั้น ดวยความที่เมืองพุทไธมาศตั้งอยูระหวาง
ราชอาณาจักรกัมพูชากับโคชินจีน ทําใหมักคูตองยอมรับทั้งอํานาจของโคชินจีน
และกัมพูชาในเวลาเดียวกันอีกดวย ทั้งยังอาจจะตองยอมออนนอมตอสยาม ดัง
จะเห็ น ไดว า เจ าเมื อ งพุ ท ไธมาศนั้น มี ย ศแบบขุ น นางสยามว า “พระยาราชา
เศรษฐี” ตอมาใน ค.ศ. ๑๗๓๕ (พ.ศ. ๒๒๗๘) มักคูถึงแกอสัญกรรม บุตรชาย
ของเขาซึ่งถือกําเนิดจากมารดาชาวโคชินจีนนามวา มักเทียนตู ปกครองเมืองนี้
แทน เมืองพุท ไธมาศพัฒ นาไปอยางรวดเร็ ว ทั้ง นี้เ พราะเปน เมืองทาที่มีอาวที่
๒๖
ปลอดภัย และเปนเมืองทาปลอดภาษี ซึ่งแตกตางจากเมืองทาในแถบเดียวกัน
ทั้งไดรับผลกระทบเชิงบวกจากการคาระหวางรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใตกับจีนที่
เริ่มฟนตัวมาตั้งแตปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๗

๒๔
ในสมั ยที่ เ วี ย ดนามแบง ออกเป นสองฝ ก สองฝ า ยนั้ น ตระกูลตริ นทเ ป นผู ปกครอง
เวียดนามตอนเหนือ เรียกวา ตังเกี๋ย สวนตระกูลเหงียนนั้นปกครองทางใต เรียกวา โคชิน
จีน
๒๕
Paul Boudet, “La conquêt de la Cochinchine par les Nguyêns et le role des émigrés
chinois,” BFEO, 121.
๒๖
Yumio Sakurai, “Eighteenth – Century Chinese Pioneers on the Water Frontier of
Indochina,” Water Frontier, Commerce and the Chinese in the Lower Mekong
Region 1750 – 1880, Nola Cooke and Li Tana edited (Oxford: Rowman & Littlefield,
2004), 44.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๑๙

ความสัมพันธระหวางสยามกับเมืองพุทไธมาศในสมัยธนบุรีเริ่มขึ้น เมื่อ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงสงพระพิชัยและนายบุญมีนําพระศุภอักษรและฉลอง
พระองคอยางฝรั่งไปพระราชทานใหแกพระยาราชาเศรษฐีใน ค.ศ. ๑๗๖๗ เพื่อ
ขอใหพระยาราชาเศรษฐีมาชวยราชการ ซึ่งเขาก็ตอบตกลง แตยังไมสงทหารมา
ในทันที เพราะตองรอลมมรสุมเสียกอน ๒๗ เอกสารสยามในที่นี้แสดงใหเห็นวา
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีพระราชอํานาจเหนือกวาของพระยาราชาเศรษฐี แต
หลักฐานชั้นตนอื่นๆ กลับใหภาพในทางตรงกันขาม คือ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ทรงนับถือพระยาราชาเศรษฐีเปนอยางยิ่ง ถึงกับเรียกเขาวาพอบุญธรรม ทั้งนี้
เพราะในชวงที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงขึ้นครองราชย พระยาราชาเศรษฐีนั้น
ปกครองเมืองพุทไธมาศมากวา ๓๒ ปแลว ทั้งยังเปนตัวอยางของผูปกครองและ
พอคาที่ประสบความสําเร็จสูงผูหนึ่ง
แมหลักฐานสยามจะระบุวา ใน ค.ศ. ๑๗๖๗ ความสัมพันธระหวางสยาม
กับ เมือ งพุ ท ไธมาศนั้น จะเริ่ม ตน ดวยดี ทว าหลั ง จากนั้น มาก็ ป รากฏเอกสารที่
สอดคลองกันวา ความสัมพันธระหวางทั้งสองฝายนั้นไมดีนัก ทั้งนี้เพราะทั้งสอง
ฝายเปนชาวจีนคนละกลุมกัน ชาวจีนที่อพยพเขามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใตนั้น
สามารถแบงไดหากลุมภาษาถิ่น คือ ฮกเกี้ยน แตจิ๋ว ไหหลํา กวางตุงและฮักกา
(แคะ) ในอดีตการแบงกลุมของชาวจีนนั้นชัดเจนและลึกซึ้งตอวิถีชีวิตของผูคน
คลายกับ การแบง กลุมของชาวเขาเผาตางๆ ความแตกตางดั งกลาวนี้จะเริ่ม ที่
สําเนียงการพูดที่แตกตางกัน ชาวจีนแตละพวกมีถิ่นที่อยูและศาลเจาของตนเอง
เปนศูนยรวมของชุมชนนั้นๆ ไมปะปนกับชาวจีนพวกอื่นๆ๒๘

๒๗
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ, ๔๕.
๒๘
พิ ม พ ป ระไพ พิ ศ าลบุ ตร, สํ า เภาสยาม ตํ า นานเจ ก บางกอก, พิ ม พ ค รั้ ง ที่ ๒
(กรุงเทพฯ: นานมีบุค, ๒๕๔๔), ๑๑๐.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๒๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ความภักดีจึงมีตอสมาชิกในกลุมเดียวกันเทานั้น บางครั้งกลุมหนึ่งก็อาจมี
๒๙
ทัศนคติดูหมิ่นอีกกลุมหนึ่งก็ได จึงไมใชเรื่องแปลกเลยวา พระยาราชาเศรษฐี
ซึ่ง มีเ ชื้อ สายกวางตุง จะรั ง เกีย จสมเด็ จ พระเจ ากรุ ง ธนบุ รี ซึ่ง มีเ ชื้อ สายแตจิ๋ ว
เพราะชาวกวางตุงนั้นจะมองวา ชาวแตจิ๋วนั้นเปนไดแคชาวนาและโจรเทานั้น ใน
ขณะเดีย วกั น ในชวงนี้ช าวจีน กวางตุ ง กั บ ชาวจีน แตจิ๋ วนั้น มีความขั ด แยง เรื่อ ง
ผลประโยชนทางการคาเปน อันมาก ดังเชน ชาวจีน แตจิ๋วที่มีฐานอยู ที่หัวเมือ ง
๓๐
ชายทะเลฝงตะวันออกของสยาม พยายามที่จะยึดเมืองพุทไธมาศถึงสองครั้ง
แตไมสําเร็จ ชาวจีนกลุมนี้บางคนคือ ตังเหลียง ตอมาเขารับราชการในราชสํานัก
สยามและไดรับตําแหนงพระยาพิพิธ และเปนผูที่มีบทบาทสําคัญในการโจมตี
เมืองพุทไธมาศใน ค.ศ. ๑๗๗๑ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจึงแตงตั้งใหเขาเปน
พระยาราชาเศรษฐีกินเมืองพุทไธมาศแทนมักเทียนตู
หลั ง จากราชทู ต กลั บ มาจากเมือ งพุ ท ไธมาศแลว ได เ กิด ความไมพ อใจ
ระหวางสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีกับพระยาราชาเศรษฐี เมื่อเจาเมืองจันทบุรีซึ่งไม
ยอมสวามิภักดิ์ตอสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี หลบหนีไปพึ่งบารมีของพระยาราชา
เศรษฐีที่เมืองพุทไธมาศ๓๑ ความขัดแยงระหวางทั้งสองฝายรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อเจา
จุยหลบหนีไปประทับที่เมืองพุทไธมาศ เมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงทราบขาว
ก็ทรงแตงทูตนําบรรณาการ รวมทั้งปนใหญ ตามแบบยุโรปอีกสองกระบอกไป
พระราชทานใหแกพระยาราชาเศรษฐี ทั้งยังทรงสัญญาวา หากเขายอมสงตัวเจา
จุยมาให พระองคก็จะทรงมอบดินแดนบางสวนของพระองคใหเจาเมืองพุทไธมาศ

๒๙
สังคมจีนในสมัยราชวงศชิงแบงผูคนออกเปนสามกลุมใหญคือ ชาวแมนจู ชาวมองโกล
และชาวฮั่น ซึ่งแบงออกเปนสองกลุมคือ ชาวฮั่นเหนือและชาวฮั่นใต ในเขตตอนใต ของจีน
นั้นก็แบงผูคนตามภาษาถิ่นและวัฒนธรรมออกเปนหลายกลุม สวนชาวจีนใตที่มาเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใตนั้นมีหากลุมดวยกันคือ ฮกเกี้ยน แตจิ๋ว ฮั กกา กวางตุงและแคะ ซึ่งชาว
จีนฮกเกี้ยนและกวางตุงนั้นจะไดรับการยอมรับสูงสุด เพราะคนสองกลุมนี้เปนขุนนาง เจา
เมื อ งและพอ ค า วานิ ช รองลงมาคือ จี นแคะ ส ว นชาวจี นแต จิ๋ วและไหหลํ านั้ นเปนพวก
เกษตรกรและผูใชแรงงาน
๓๐
เอกสารเวียดนามระบุวา เปนเกาะกง ในประเทศกัมพูชาปจจุบัน
๓๑
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ, ๕๑.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๒๑

เปนการตอบแทน๓๒
พระยาราชาเศรษฐีไ ม ยอมมอบตั ว เจ าจุ ย ให ส มเด็ จ พระเจา กรุ ง ธนบุ รี
เพราะเจานายสยามผูนี้จะเปนหมากตัวสําคัญในการควบคุมผลประโยชนในอาว
สยามของเขา ทั้งนี้เพราะพระองคทรงเปน เจา นายอยุธยาเพียงไมกี่พระองค ที่
เหลืออยูที่สามารถครองบัลลังกอยุธยาไดอยางชอบธรรม หากเขาไดสงเสริมให
เจาจุยเปนกษัตริยอยุธยาแลว ก็เทากับวาเขาจะเขาไปมีผลประโยชนในเมืองทาใน
อาวสยามของราชอาณาจั กรสยามดวย ดั งนั้น จึง ไมเป น เรื่อ งแปลกใจเลยวา
เพราะเหตุใดพระยาราชาเศรษฐีจึง โกรธมาก เมื่อ ทราบวาเจาศรีสังข เจานาย
สยามอีกพระองคที่หลบหนีไปอยูที่เมืองพุทไธมาศ สามารถลี้ภัยไปยังกรุงกัมพูชา
ไดสําเร็จ๓๓
เมื่อเปนเชนนั้นใน ค.ศ. ๑๗๖๘ พระยาราชาเศรษฐีจึงวางแผนสงบุตรเขย
คือ ตื่อซุง (Tu Dung) พรอมกับขบวนเรือ ทําทีวาจะนําเสบียงอาหารมาบรรเทา
ความอดอยากของชาวสยาม แตจริงๆ แลวเขาตองการที่จะจับสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีกลับไปยังเมืองพุทไธมาศ ทวาความกลับแตกเสียกอน บุตรเขยของเขา
นั้นหลบหนีไปได แตก็ไปถึงแกกรรมที่เ มืองบางปลาสรอย พระยาราชาเศรษฐี
โกรธมาก ถึงกับหามสําเภาใดๆ เทียบทาที่เมืองทาสยาม และใหเตรียมทัพเรือไป
โจมตีกรุงธนบุรี๓๔
โอกาสนั้น เอื้อ อํ านวยใหแ กพ ระยาราชาเศรษฐี ใน ค.ศ. ๑๖๗๙ (พ.ศ.
๒๓๑๒) สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงยกทั พ ไปปราบชุ ม นุ ม ของพระยา
นครศรีธรรมราช เขาจึงใหหลานชายพาเจาจุย พรอมกับทหารอีก ๕๐,๐๐๐ คน
ยกทั พ เรื อ ไปยึ ด เมือ งจั น ทบุ รี แต กองทั พ พระยาพิ พิธ สามารถยึด เมื อ งคืน ได
๓๒
Chingho A. Chen, “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA Conference, Vol. II,
Chulalongkorn University Press, 22 – 26 August 1977, 1,546 – 1,547.
๓๓
Adrien Launay, Histoire de la Mission de Siam 1662-1811, Documents
Historiques II, 245 – 246.
๓๔
Chingho A. Chen, “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA Conference, Vol. II,
1,547.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๒๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
๓๕
สําเร็จ พระยาราชาเศรษฐีจึงประสบความลมเหลวอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น
เมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีสามารถปราบปรามชุมนุมตางๆ ในสยามประเทศได
แลว จึงกรีฑาทัพเรือมาโจมตีพุทไธมาศเปนที่ตอไป
ความขัดแยงระหวางสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีกับพระยาราชาเศรษฐีนั้น
ไมไดจํากัดอยูในสวนภูมิภาคเทานั้น แตดูจะลวงเลยไปจนถึงเวทีความสัมพันธ
ระหวางประเทศกับจีนดวย ดังที่กลาวมาแลววา ในคริสตศตวรรษที่ ๑๘ (กลาง
พุ ท ธศตวรรษที่ ๒๓ ถึง กลางพุ ท ธศตวรรษที่ ๒๔) นั้น เป น ชวงเวลาที่ก ารค า
ระหวางเอเชียตะวันออกเฉียงใตกับจีนเจริญรุงเรืองมาก การคาระหวางทั้งสอง
ฝายนั้น มีอ ยูส องรู ป แบบ คือ การคาเอกชน และที่สํ าคั ญคือ การคาในระบบ
บรรณาการ ซึ่งหากจักรพรรดิทรงใหการยอมรับแลว พระเจาแผนดินพระองคนั้น
จะไดรับสิทธิพิเศษในการคาหัวเมืองชายฝงทะเลตอนใตของจีน ทั้งยังไดรับของ
กํานัลซึ่งมีมูลคาสูงและเปนที่ตองการของตลาดเปนการตอบแทนอีกดวย
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีพระราชประสงคผลประโยชนจากการคาเอกชน
และการคาในระบบบรรณาการเหลานี้มาซื้อหายุทธปจจัย รวมทั้งเลี้ยงดูผูคนที่
อดอยาก และฟนฟู ร าชอาณาจั กร ทวาพระยาราชาเศรษฐีเป น ผูที่แ จง ขาวใน
ราชอาณาจั ก รสยามให จั ก รพรรดิ เ ฉี ย นหลง (ค.ศ. ๑๗๓๕ – ๑๗๙๖/ พ.ศ.
๒๒๗๘ – ๒๓๓๙) ทรงทราบกอน สรางปญหาใหแกความสัมพันธระหวางสยาม
กับจีนจนเกือบสิ้นรัชกาล
ทั้งนี้ใน ค.ศ. ๑๗๖๘ พระยาราชาเศรษฐีร ายงานราชสํานั กจีน ทราบวา
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงมีนามเดิมวา กันเอินซื่อ เปนชาวจีนที่ต่ําตอย รอนเร
ไปมาตามดินแดนชายทะเล ตอมาเขารับราชการในสยาม เมื่อบานเมืองแตกแยก
และกษัตริยหายสาบสูญ หลังจากที่กองทัพพมาเขามาโจมตีอาณาจักร กันเอิน
กลับฉวยโอกาสตั้งตัวเปนใหญแทน นอกจากนี้ พระยาราชาเศรษฐียังแจงวา เจา
จุย ซึ่งเปนพระราชนัดดาของกษัตริยสยามมาพักพิงอยูกับเขา ทั้งใน ค.ศ. ๑๗๗๐

๓๕
Chingho A. Chen, “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA Conference, Vol. II,
1,547.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๒๓

จั ก รพรรดิ
เฉี ย นหลงในพระ
ราชอุทายาน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๒๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

(พ.ศ. ๒๓๑๓) เจาจุยเองก็มีศุภอักษรรองเรียนเรื่องสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีตอ


จักรพรรดิเฉียนหลงดวย
ศุภอักษรดังกลาวนี้ทําใหจักรพรรดิจีนทรงมองวา พระยาราชาเศรษฐีเปน
ผูทรงคุณธรรม และเคารพธรรมเนียมปฏิบัติอยางเครงครัด ในขณะที่ทรงมองวา
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงขาดสิทธิธรรมในการปกครอง และเปนคนที่มักใหญ
ใฝสูง จึงไมยอมรับคณะราชทูตจากสยามโดยเด็ดขาด เพราะสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุ รีทรงขาดซึ่ง สิท ธิธ รรม ทั้ง นี้หากจั กรพรรดิเ ฉียนหลงทรงยอมรั บ สมเด็ จ
พระเจากรุ ง ธนบุ รีแ ลว อาจจะเป น กรณีตั วอยางใหผูอื่น และจะสง ผลตอ การ
ปกครองจีนของพระองคเองได เพราะวาราชวงศแมนจูนั้นเปนราชวงศตางชาติ ที่
ชาวจีนหรือชาวฮั่นจัดตั้งขบวนการตอตานอยูเสมอ ความขัดแยงดังกลาวนี้ทําให
เมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงปราบปรามชุมนุมใหญในสยามประเทศไดแลว ก็
หมายหนามายังเมืองพุทไธมาศเปนที่ตอไป

๔. ความขัดแยงระหวางสยามกับกัมพูชา
ความสัมพันธระหวางสยามกับกัมพูชาเปนอีกเรื่องหนึ่งที่ปรากฏในพระราช
พงศาวดารของสยามมาอยางตอ เนื่อง และเปน ประเด็น ปญหาประวัติศาสตร
ประเด็นหนึ่ง ทั้งนี้เพราะความสับสนของเอกสารประวัติศาสตรที่มีอยู จุดเริ่มตน
ของความสัมพันธระหวางสองฝายนี้เริ่มตนขึ้นตั้งแตรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดี
ที่ ๑ หรือพระเจาอูทอง (ค.ศ. ๑๓๕๑ – ๑๓๖๙ /พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๑๙๑๒) มาแลว
ตอมาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (ค.ศ. ๑๔๒๔ – ๑๔๔๘/ พ.ศ. ๑๙๖๗ –
๑๙๙๑) ทรงสงกองทัพไปตีเมืองพระนครหลวงใน ค.ศ. ๑๔๔๔ (พ.ศ. ๑๙๘๗)
ครั้งนี้พระองคทรงแตงตั้งพระราชโอรสปกครองกัมพูชา แตพระองคครองเมือง
อยูไมนานนัก ก็สิ้นพระชนมลง๓๖ ตอจากนั้นมาพระราชพงศาวดารฉบับตางๆ ก็
ปรากฏเรื่อ งราวที่พ ระเจากรุง กั มพู ช าทรงยกทัพ มาตีกรุง ศรีอ ยุ ธยาอยูเ นือ งๆ
จนกระทั่งในรัชกาลสมเด็จพระนเรศวร (ค.ศ. ๑๕๙๐-๑๖๐๕/ พ.ศ. ๒๑๓๓-

๓๖
ดู ร ายละเอี ย ดในงานวิ จั ย ของ ดร. วิ นั ย พงศ ศ รี เ พี ย รใน ๑๐๐ เอกสารสํ า คั ญ :
สรรพสาระประวัติศาสตรไทย เลม ๑๓ เรื่อง “พระราชพงศาวดารฉบับปลีกฯ”
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๒๕

๒๑๔๘) ทรงยกทัพไปตีเมืองละแวก ซึ่งเปนเมืองหลวงของกัมพูชาขณะนั้นสอง


ครั้งสองคราดวยกัน คือ ค.ศ. ๑๕๘๗ (พ.ศ. ๒๑๓๐) และ ค.ศ. ๑๕๙๓ (พ.ศ.
๒๑๓๖)
ในครั้ง หลั ง นี้ กษั ต ริยกั ม พู ช าได ข อความชวยเหลือ ไปยั ง ขาหลวงสเปน
ประจํามะนิลา ซึ่งขาหลวงสเปนก็ยินดีใหความชวยเหลือ แตไมสามารถชวยเหลือ
ไดทัน ทวงที เพราะกองทัพสมเด็จ พระนเรศวรทรงตีเมืองละแวกแตกเสียกอ น
พระยาละแวกหลบหนีไปอยูที่ลาวใต ไมไดถูกปฐมกรรมตามที่ปรากฏในพระราช
พงศาวดารฉบับพิสดารตางๆ๓๗ หลังจากนั้นมาจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา สยามเขาตี
และแทรกแซงการเมืองภายในกัมพูชาอยางตอเนื่อง
สวนความสั ม พั น ธร ะหว างสยามกั บ กั ม พู ช าในสมั ยธนบุ รีนั้น เริ่ม ตน ขึ้ น
ตั้งแต ค.ศ. ๑๖๗๗ แลว ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ
ที่วา
ฝายพระยาวรวงศาธิร าชนั้ น แตกหนี ไ ปเมืองเสียมเรี ยบ จึ งดํ ารัส ใหพ ระ
ราชริ น ทร พระมหามนตรี ยกทั พ ไปตี เ มื อ งเสี ย มเรี ย บได แต พ ระยา
วรวงศาธิราชนั้นหนีสูญไป พระราชรินทร พระมหามนตรี จึงเลิกทัพกลับมา
กรุงศรีอยุธยา๓๘
แต ค วามขั ด แย ง จริ ง ๆ ระหว า งสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี กั บ สมเด็ จ
พระนารายณร าชานั้น เริ่ ม ตน ขึ้น เมื่อ สมเด็ จ พระเจากรุ ง ธนบุ รีท รงสง ทู ต ไป
เรียกรองใหสมเด็จพระนารายณราชา สงเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระองค
ในปเดียวกันนี้๓๙ ทั้งยังทรงเรียกรองใหสมเด็จพระนารายณราชา คืนเจาศรีสังข
ซึ่งเสด็จไปประทับที่เมืองกัมพูชามาใหดวย แตสมเด็จพระนารายณราชา ไมทรง
๓๗
จั น ทร ฉ าย ภั ค อธิ ค ม, “พระราชพิ ธี ป ฐมกรรมใน พ.ศ. ๒๑๒๗ ข อ โต แ ย ง ใน
ประวัติศาสตรไทย,. ใน สุจิตต วงษเทศ, พระนเรศวรตีเมืองละแวก แตไมได “ฆา” พระ
ยาละแวก, (กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๔), ๓ – ๖๔.
๓๘
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุ รุษและ
เอกสารอื่นๆ, ๖๐.
๓๙
Khin Sok, Le Cambodge entre le Siam et le Viêtnam (de 1775 à 1860),
(Paris: École Française d’Extrême-Orient, 1991), 38.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๒๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ยินยอม ดัง นั้น เมื่อสมเด็ จพระเจากรุงธนบุรีสามารถปราบปรามสถานการณ


ภายในราชอาณาจักรไดแลว พระองคจึงยกทัพมาตีกรุงกัมพูชา

ปจจัยทางเศรษฐกิจ
ตั้ง แต ตั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาขึ้ น ใน ค.ศ. ๑๔๓๑ (พ.ศ. ๑๙๗๓) ราชสํ า นั ก
อยุธยาพยายามแผอํานาจไปยังเพื่อนบานอยางกวางขวาง ไมวาจะเปนสุโขทัย
ลานนา หัวเมืองมลายู รวมไปถึงกัมพูชา ทั้งนี้เพื่อความเปนจักรพรรดิราชตาม
แนวคิดจักรวรรดิวัตร หรืออาจจะเพื่อแกไขสถานการณการเมืองภายใน แตยังมี
อีกเหตุผลที่สําคัญยิ่งในการกอสงครามแตละครั้ง นั่นคือ เหตุผลทางเศรษฐกิจ
คือ ราชสํานักสยามทําสงครามเพื่อควบคุมแหลงของปาและเมืองทา และกวาด
ตอนผูคนจากรัฐเพื่อนบาน เพื่อเปนกําลังในการผลักดันเศรษฐกิจของรัฐ เหตุผล
ของสงครามครั้งนี้ก็มีลักษณะที่ไมแตกตางจากสงครามในครั้งกอนๆ แตอยูใน
บริบทที่แตกตาง ซึ่งสามารถแบงออกเปนสองประเด็น คือ ความพยายามควบคุม
แหลงผลิตขาวและของปา และความพยายามควบคุมเมืองทาในอาวสยาม

๑. การคาของเอเชียตะวันออกเฉียงใตในคริสตศตวรรษที่ ๑๘
ตั้ ง แต ป ลายคริ ส ต ศ ตวรรษที่ ๑๗ มาแล ว ทิ ศ ทางการค า ของเอเชี ย
ตะวันออกเฉียงใตเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพราะชาติตะวันตกหลายชาติ ไมวาจะ
เป น อั ง กฤษหรือ ฝรั่ ง เศสเริ่ม หั น เหความสนใจไปจากเอเชียตะวั น ออกเฉียงใต
เพราะสงครามที่เกิดขึ้นอยางตอเนื่องในภาคพื้นทวีป รวมทั้งทั้งสองฝายตางหันไป
แยงชิงผลประโยชนและอํานาจในอินเดีย สวนการคาของวีโอซีซึ่งเคยรุงเรืองเปน
อยางยิ่งในครึ่งแรกของคริสตศตวรรษที่ ๑๗ ก็เริ่มชะลอตัวลงเรื่อยๆ จากหลาย
สาเหตุ เชน ญี่ปุนสั่งหามไมใหนําทองออกนอกอาณาจักร ทั้งการผูกขาดการคา
พริกไทยที่เขม งวดของวีโ อซี ทํ าใหพ วกเขาประสบหายนะทางการเงินในเวลา
๔๐
ตอมา
๔๐
ดูรายละเอียดใน C.R. Boxer, Dutch Seaborne Empire 1600 – 1800, (Essex:
Anchor Press, 1977)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๒๗

ในทางตรงกันขามการคาทาง
ทะเลกับจีน ซึ่งราชสํานักแมนจูเคย
สั่ ง หาม และสั่ ง อพยพผูคนที่อ าศั ย
อยูบริเวณชายฝงทะเลตะวันตกเฉียง
ใต ใ ห ม าอาศั ย ที่ ต อนในมากยิ่ ง ขึ้ น
เพื่อตัดทางการตอสูของตระกูลเจิ้ง
ได ก ลายมาเป น เรื่ อ งถู ก กฎหมาย
เ มื่ อ ร า ช สํ า นั ก จี น ส า ม า ร ถ
ปราบปรามพวกเจิ้งที่เกาะไตหวันได
ราบคาบ ตั้งแตปลายคริสตศตวรรษ
ที่ ๑๗ เป น ต น มา การค า ระหว า ง
เอเชียตะวันออกเฉียงใตกับจีนก็ฟน
ตั ว แ ล ะ เ ติ บ โ ต อ ย า ง ร ว ด เ ร็ ว
โดยเฉพาะเมื่อ เกิด ทุ พ ภิก ขภั ยและ
ค ว า ม อ ด อ ย า ก ใ น จี น ทํ า ใ ห
จั ก รพรรดิ คั ง ซี (ค.ศ. ๑๖๖๒ –
๑๗๒๒/ พ.ศ. ๒๒๐๕ – ๒๒๖๕)
ตองหาซื้อขาวจากเอเชียตะวันออก จักรพรรดิคังซี
เฉี ย งใต โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง จาก
๔๑
สยาม มาประทังความอดอยากของประชาชน ชาวจีนสามารถกลับมาเดินเรือ
ไดโดยเสรี จึงมีชาวจีนอพยพโยกยายมาตั้งถิ่นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เพื่อ
มาคาขาย เปนเกษตรกร หรือบางก็เขามารับราชการในกรมพระคลัง หรือบาง
๔๒
กลุมก็ตั้งตนเปนเจาเมืองเลย เชน มักคู เปนตน

๔๑
สายชล สั ต ยานุ รั ก ษ , พุ ท ธศาสนากั บ แนวคิ ด ทางการเมื อ งในรั ช สมั ย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒), (กรุงเทพฯ: มติ
ชน, ๒๕๔๖), ๑๓.
๔๒
Anthony Reid, Southeast Asia in the Age of Commerce 1450 – 1680, Volume
Volume Two: Expansion and Crisis, (Chiang Mai: Silkworm Books, 1993), 311 -
319
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๒๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

๒. เศรษฐกิจสมัยธนบุรี
ภายหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาใหแกพมาใน ค.ศ. ๑๗๖๗ กองทัพพมาได
กวาดตอนผูคนกลับไปยังพมาเปนจํานวนมาก ผลของสงครามนอกจากจะทําให
สยามประเทศกลายเปนชุมชนเล็กชุมชนนอยแลว ผูคนที่หลบหนีจากการกวาด
ตอนของกองทัพพมาไปได ตองดํารงชีวิตดวยความอดอยาก พื้นที่ตอนกลางของ
ราชอาณาจักรที่เคยเปนแหลงผลิตขาวสําคัญถูกทิ้งราง เมื่อสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุ รี มีพ ระราชประสงคที่จ ะฟน ฟู ร าชอาณาจั กรอยุ ธ ยาขึ้ น มาใหม พระราช
ภารกิ จ แรกของพระองค ห ลั ง จากขั บ ไล ก องทหารพม า ออกไปแล ว คื อ ทรง
พยายามรวบรวมผูคนที่หลบหนีอยูในปาใหกลับมาอาศัยในกรุงธนบุรี และหาไพร
พลมาเพิ่ม เพราะที่ราบภาคกลางตอนลางขณะนั้นมีประชากรอาศัยอยูเบาบางนัก
และสิ่งที่จําเปนรองลงมาก็คือ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีตองทรงแกไขปญหาปาก
ทองของประชาชนใหได เพราะไมสามารถทํานาไดเลยหลังเสียกรุงกวาสิบป
เอกสารทั้งพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และจดหมายเหตุ
ของบาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศเปนหลักฐานสําคัญที่บงบอกวา ผูคนในกรุง
ธนบุ รีแ ละพื้น ที่ตางๆ ในราชอาณาจั กรนั้น ยากจน และอดอยากเป น อยางยิ่ ง
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศระบุวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตอง
แจกจายอาหาร และเสื้อผาใหแกอาณาประชาราษฎรอยางตอเนื่องจนถึง พ.ศ.
๒๓๑๗ (ค.ศ. ๑๗๑๔) ดังเชน เมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีคายโพธิ์สามตน
ไดแลว ก็มีบรรยายวา
จําเดิมแตนั้น ดวยกําลังพระกรุณาพระราชอุตสาหะในสัตวโลกและ
พระพุทธศาสนา มิเปนอันที่จะบันทมสรงเสวยเปนสุขดวยพระราชอิริยาบถ
ดวยขัติยวงศา สมณาจารย เสนาบดี อาณาประชาราษฎรยาจกวณิพกคน
โซอนาถา ทั่วทุกเสมามณฑล เกลื่อนกลนกันมารับพระราชทานมากกวา
๑๐,๐๐๐ ฝายขาราชการทหารพลเรือนไทยจีนนั้นรับพระราชทานขาวสาร
เสมอคนละถัง กินคนละ ๒๐ วัน
ครั้งนั้นยังหาผูจะทํานามิได อาหารกันดารขาวสารสําเภาขายถังละ
๓ บาทบาง ถังละตําลึงหนึ่งบาง ถังละ ๕ บาทบาง ยังทรงพระกรุณาดวย
ปรีชาญาณอุตสาหเลี้ยงสัตวโลกทั้งปวง พระราชทานชีวิตใหคงคืนไวได แล

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๒๙
พระราชทานวั ตถาลังกาภรณ เสื้อผ าเงิ นตราจะนั บประมาณมิได จนทุกข
พระทัยออกพระโอฐวา บุทคลผูใดเปนอาทิคือ เทวดา บุทคลผูมีฤทธิ์ มา
ประสิ ทธิ์ มากระทํ าให ข าวปลาอาหารบริบูร ณขึ้ น ให สัต วโลกเป น สุข ได
แมนผูนั้นจะปรารถนาพาหาแหงเราขางหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคใหแกผูนั้นได
ความกรุณาเปนความสัตยฉะนี๔๓ ้
ความยากไร ข องชาวสยามนั้ น ปรากฏอยู เ ป น ระยะๆ ในจดหมายเหตุ
บาทหลวงคณะมิสซั งตางประเทศตั้งแต ค.ศ. ๑๗๖๙ – ๑๗๗๕ และใน ค.ศ.
๑๗๖๙ ซึ่งเผยแผศาสนาอยูในกรุงธนบุรีบรรยายสถานการณไววา
อาหารการกิน ในเมืองนี้แพงอยางที่สุด เวลานี้เขาสารขายกันทนานละ ๒
เหรียญครึ่ง คนที่หาเลี้ยงชีพดวยการรับจางนั้นถึงจะหมั่นสักเพียงไร ก็จะ
หาซื้ออาหารรับประทานแตคนเดียวก็ไมพอ๔๔
ใน ค.ศ. ๑๗๖๙ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงพยายามแกไขปญหาขาว
ยากหมากแพงดวยการสงเสริมใหไพรพลปลูกขาวถึงสามครั้ง แตปรากฏวาไมได
ผลเสียทุกครั้งไป เพราะฟาฝนไมเปนใจ ทั้งชาวเมืองยังตองเผชิญกับปญหาโจร
๔๕
ผูรายที่ชุ กชุ ม อีกดวย สมเด็ จพระเจากรุ งธนบุรียัง ทรงพยายามเพิ่ม จํานวน
ประชากรในที่ราบภาคกลางตอนลาง เพื่อใชในการสงคราม การเพาะปลูก และ
งานหลวงตางๆ ดวยการกวาดตอนผูคนมาจากหัวเมืองตางๆ แตพวกเขากลับมา
ลมตายที่กรุงธนบุรีเปนจํานวนมาก เพราะความอดอยาก ชาวเมืองบางคนแกไข
ปญหาปากทองของพวกเขา ดวยการยอมเขารีต เพื่อ ใหบ าทหลวงฝรั่งเศสหา
๔๖
เลี้ยงพวกเขา
๔๓
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ, ๕๔ – ๕๕.
๔๔
“Essai de Restauration de la Mission de Siam, M. Corre repant pour le Siam – Etat
de ce pays, M. Corre à M. Mathon, A.M.-E., vol. 886, 315,” in Adrien Launay,
Histoire de la Mission de Siam 1662-1811, Documents Historiques II, 267.
๔๕
“M. Corre à M. le Fiscal de Malacca, A.M. –E., vol. 886, 348, 1er novembre 1769,”
in ibid., 269.
๔๖
“M. Corre aux Directeurs du Séminaire des M.E., A.M.-E., vol. 886, 443 – N.L.E.,
vol. V, 487, Bangkok le 7 juin 1770, in ibid., 270.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๓๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

มองเซนเยอรเลอ บอง (Le Bon) เปนบาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศคน


สุดทายที่บรรยายภาวะขาวยากหมากแพงในเมืองธนบุรีใน ค.ศ. ๑๗๗๕ วา
จนถึ งเวลาเดี๋ ย วนี้ การกิ น อยู ใ นเมือ งนี้ ยัง แพงมาก ผู ค นต า งหมดหวั ง
เพราะสงครามที่ดําเนินมาอยางตอเนื่องกวา ๑๕ ปแลว เงิน ๒๐๐ เหรียญ
ในทุกวันนี้มีราคาไมเทากับเงิน ๕๐ เหรียญเมื่อ ๑๐๐ ปมาแลว ซึ่งเปนเวลา
ที่เราตั้งคณะบาทหลวงในเมืองนี้ เปนครั้งแรก พวกเขารีตก็ไมไดชวยเหลือ
อะไรเราเลย ในขณะที่เราตองเลี้ยงดูพวกเขารีตบางคนเสียดวยซ้ําไป เวลา
นี้เราตองเลี้ยงคนเปนอยางนอย ๒๐ คนทุกวัน ทั้งยังตองจัดหาที่อยูอาศัย
ใหแกครอบครัวที่ยากจนหลายครอบครัวดวย เราไดตั้งตนจัดโรงเรียนเล็กๆ
ขึ้นแลว มีนักเรียน ๕ หรือ ๖ คน และเราก็กําลังเรียกพวกบาดหลวงของเรา
ที่อยูเมืองปอนดีเชรีใหกลับมาแลว๔๗
หลักฐานทั้งพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และจดหมาย
เหตุบาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศตางเปนเครื่องยืนยันตรงกันวา สถานการณ
เศรษฐกิจในสมัยตนธนบุรี (เกือบ ๑๐ ปแรกหลังการเสียกรุง) บานเมืองนั้นอยูใน
ยุคขาวยากหมากแพง ผูคนเดือดรอนไปทั่วทุกยอมหญา และอดตายเปนจํานวน
มาก คนหลายคนหาทางออกดวยการยอมเขารีต เพียงเพราะบาทหลวงฝรั่ง เศส
สามารถเลี้ยงดูพวกเขาไมใหอดตายได ในขณะเดียวกัน พระราชพงศาวดาร ฉบับ
พันจันทนุมาศ (เจิม) มีบันทึกวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรียังทรงสามารถแจกจาย
อาหาร เสื้อผาและสิ่งฟุมเฟอยใหแกขุนนางของพระองค รวมทั้งไพรฟาประชาชน
อยูตลอด ทําใหเกิดคําถามวา เมื่อพระองคทรงมีคาใชจายเปนจํานวนมาก แลว
พระองคทรงหาพระราชทรัพยมาจากที่ใด
ที่มาของรายไดที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงใชจายนั้นมาจากการหลาย
แหลง จริงอยูที่ พื้นฐานเศรษฐกิจสยาม ทั้งในสมัยอยุธ ยาและรัตนโกสินทร คือ
การกสิกรรมและการคา เพราะทั้งอยุธยาและบางกอกตางเปนศูนยกลางการคาที่
สํ า คั ญแห ง หนึ่ ง ของเอเชี ยตะวั น ออกเฉีย งใต และมี ดิน แดนตอนในเป น แหล ง

๔๗
“Mgr. Le Bon aux Directeurs du Séminaire des M.E., A.M.-E., vol. 886, 766 in
Adrien Launay, Histoire de la Mission de Siam 1662-1811, Documents
Historiques II, 277.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๓๑

เพาะปลูกขาวขนาดใหญ และแหลงของปาสําคัญ แตทั้งนี้ก็ไมอาจจะปฏิเสธไดวา


ราชสํานั กสยามนั้นก็มีแหลงรายไดจากที่ทางอื่น ดวย ไมวาจะเป นเครื่องราช-
บรรณาการ สวยสาอากร รวมทั้งโภคทรัพยที่ไดจากการทําสงคราม
ขณะเดียวกันแหลงรายไดที่สําคัญมากและไมคอยมีใครกลาวถึงนักในสมัย
ธนบุรี นั่นก็คือ การขุดเอาทรัพยสมบัติที่ถูกฝงไวในวัดวาอาราม และพระราชวัง
หลวงของกรุงศรีอยุธยามาใช ทวาหลักฐานรวมสมัยที่กลาวมาแลวในขางตนนี้
สะทอนใหเห็นแลววา แมวาราชสํานักจะหารายไดมาไดเทาใดก็ตาม แตก็จะใช
จายหมดไปกับเสบียงอาหาร เพราะในสิบปแรกของรัชกาล ยังไมสามารถทํานาใน
ที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยาตอนลางไดมาก ทั้งสมเด็จพระเจากรุงธนบุรียังตองทรง
สิ้นพระราชทรัพยไปกับอาวุธยุทโธปกรณ ดวยเหตุนี้เองการไปตีเมืองพุทไธมาศ
และกัมพูชาจึงมีความสําคัญมากตอการเพิ่มพูนเสบียงอาหาร และรวบรวมของ
ปา รวมไปถึงการควบคุมการคาขายในอาวสยาม

๓. ความพยายามควบคุมแหลงผลิตขาวและของปา
จดหมายเหตุบาทหลวงคณะมิสซังตางประเทศและพระราชพงศาวดารเปน
หลั ก ฐานสํ า คั ญ ที่ ส ะท อ นว า ในช ว งสิ บ ป แ รกของสมั ย ธนบุ รี นั้ น ไม ส ามารถ
เพาะปลูกขาวบนที่ราบลุมแมน้ําเจาพระยาตอนลาง ซึ่งเปนแหลงกสิกรรมหลัก
ของราชอาณาจักรอยุธยาเดิมไดเทาใดนัก ในขณะที่ผูคนตางตองการอาหารเปน
อยางยิ่ง จนเกิดภาวะอดอยาก ผูคนลมตายเปนจํานวนมาก ราชสํานักสยามตอง
แก ป ญ หาดั ง กล า วนี้ ด ว ยการแจกจ า ยเสบี ย งอาหาร มิ เ ช น นั้ น จะไม ส ามารถ
ควบคุมไพรพลไวได ในขณะเดียวกัน การแจกจายเสบียงอาหารนี้เองก็จะเป น
สิ่งจูงใจหนึ่งในผูคนที่หลบหนีอยูในปา ยอมออกมาตั้งบานเรือนอยูในกรุงธนบุรี
วิธีแกไขปญหาความอดอยากนี้ไดแก การซื้อขาวและอีกทางหนึ่งคือ การหาแหลง
เสบียงอื่นเชน การยกทัพไปตีกัมพูชาใน ค.ศ. ๑๗๗๑
กัมพูชาขึ้นชื่อวาเปนแหลงอาหารที่อุดมสมบูรณและราคาถูกมาแตโบราณ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงเล็งเห็นความสําคัญดังกลาวนี้ จึงสงกองทัพอีกกอง
หนึ่ง นํ าโดยพระยายมราชมาตี กัม พู ช าทางบก ทั พ บกนั้น ออกจากกรุ ง ธนบุ รี

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๓๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ลวงหนาคือ วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๗๑ ผานเมืองสําคัญๆ คือ


นครนายก ปราจีนบุรี และเขากัมพูชาทางสระแกว ผานเสียมเรียบ พระตะบอง
โพธิสัตว ตะครอ ขลุง ราลองและเมืองบริบูรณ กอนที่จะมุงสูกรุงกัมพูชา เสนทาง
เดินทั พเสนนี้เ ปนเสนทางที่ใ ชกัน จนถึงในตนคริสต ศตวรรษที่ ๑๙ เพราะเมือ ง
ที่กลาวมาทั้ง หมดเป น แหลง ปลูกขาวสํ าคั ญ เพราะตั้ง อยูบ นที่ร าบลุม ใกลกับ
โตนเลสาบและลําน้ําสาขาที่ไหลมาจากโตนเลสาบ กองทัพสยามยาตราทัพผาน
เมืองเหลานี้ เพื่อเก็บเสบียงอาหารไวใชในกองทัพ กอนที่จะทําสงครามกับกัมพูชา
หรือเวียดนามตอไป

แผนที่เดินทัพบกของพระยายมราช
(ปรับปรุงจากหนังสือ Royal Siamese Map)

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๓๓

การสงครามในครั้งนี้ นอกจากกองทัพสยามจะเก็บขาวปลาอาหารมาเปน
เสบียงในการเดินทัพแลว การควบคุมเมืองเหลานี้ได ก็เทากับวาสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีทรงไดเสบียงอาหารมาเลี้ยงดูไพรฟาประชาชนของพระองคโดยไมตอง
ซื้อหา ใน ค.ศ. ๑๗๗๑ ขาวกัมพูชานั้นเปนสิ่งที่สําคัญยิ่ง เพราะเปนแหลงกสิกร
รมที่อยูใกลสยามมากที่สุด เพราะนอกจากกัมพูชาและสยามแลว แหลงปลูกขาว
ที่สําคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใตมีอยูที่พมาตอนลาง เวียดนามใตและชวา ซึ่ง
อยูหางไกลเกินกวาสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะทรงควบคุมได นอกจากนี้ การ
ควบคุมแหลงกสิกรรมที่สําคัญ ยังเทากับวากองทัพสามารถควบคุมผูคนจํานวน
มากดวย โดยปกติแหลงปลูกขาวนั้นจะมีประชากรอาศัยอยูอยางหนาแนน เพราะ
การกสิกรรมตองอาศัยผูคนเปนจํานวนมาก สมเด็จพระเจ ากรุงธนบุรีจึงไดไพร
พลมาเพิ่มอีกดวย๔๘
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะยังทรงสามารถควบคุมแหลงของปา เมื่อมีชัย
ชนะเหนือกัม พูชา เดิมสยามเองก็เคยมีชื่อ เสียงเรื่องเปนแหลงรวบรวมของปา
สําคัญแหง หนึ่ง ของเอเชียตะวั นออกเฉียงใต แต หลัง จากที่กองทั พ พมา ยกทั พ
กลั บ ไปยั ง กรุ ง อั ง วะใน ค.ศ. ๑๖๗๖ แล ว บ า นเมื อ งซึ่ ง เคยรวมตั ว เป น
ราชอาณาจักรอยุธยากลายเปนชุมนุมนอยใหญ ผูคนไมกลาเดินทางเขาไปหาของ
ปา เพราะกลัวอันตรายจากโรคภัยไขเจ็บและโจรผูรายที่ชุกชุม แมสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีจะสามารถปราบปรามชุมนุมใหญไดทั้งหมดใน ค.ศ. ๑๗๗๐ แลวก็
ตาม แตก็ยังมีชุมนุมเล็กชุมนุมนอย และซองโจรทั้งหลายตั้งอยูทั่วไป โดยเฉพาะ
อยางยิ่ง ในเขตที่เ ป น ชุ ม นุ ม เจาพระฝางและชุ ม นุ ม พระยาพิษ ณุ โ ลกมาแตเ ดิ ม
หัวเมืองตะวันออกจึงเปนที่แหงเดียวที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงสามารถเก็บ
เกี่ยวผลประโยชนไดมากที่สุด พระองคจึงตองแสวงหาแหลงของปาอื่นๆ ซึ่งอีกที่
หนึ่งที่พระองคทรงสนพระทัยคือ ดินแดนลานนา

๔๘
Puangthong Rungswasdisab, “Siam and the Contest for Control of the Trans –
Mekong Trading Networks from Late Eighteenth to the Mid – Nineteenth Century ,”
Water Frontier, Commerce and the Chinese in the Lower Mekong Region
1750 – 1880, 103.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๓๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

แม ส มเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี มี อํ า นาจเหนื อ ดิ น แดนล า นนาด ว ยการ


สนับสนุนกลุมผูนํา เชน พระยาจาบานหรือพระยาวชิรปราการ (ค.ศ. ๑๗๗๔ –
๑๗๗๖ / พ.ศ. ๒๓๑๗ – ๒๓๑๙) และตระกูล เจาเจ็ดตนขับไลพมาออกไปได
สําเร็จ แตหัวเมืองลานนานั้นยังวุนวาย เพราะกองทัพพมาพยายามฟนอํานาจ
เหนือลานนาอยูตลอด อีกทั้งเมืองนี้ยังอยูหางไกลเกินกวาที่อํานาจของสมเด็จ
พระเจากรุงธนบุรีจะเขาไปถึง ทั้งยังมีประชากรอาศัยอยูอยางเบาบางมาก ดังจะ
เห็ น ได จ ากที่ ต อ มาเมื่ อ เจ ากาวิ ล ะ (ค.ศ. ๑๗๘๒ – ๑๘๑๓/ พ.ศ. ๒๓๒๕ –
๒๓๕๖) ทรงขึ้นเป นเจาหลวงเชียงใหม พระองคและเจาหลวงองคตอๆ มาทํ า
สงครามและกวาดตอนไพรพลจากรัฐฉาน เชน เชียงตุง เชียงรุงใหเขามาอาศัยใน
ลานนาประเทศอยางตอเนื่อง ดังจะเรียกไดวาเปนยุค “เก็บผักใสสา เก็บขาใส
เมือง” เปนตน๔๙สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจึงไมอาจเก็บเกี่ยวผลประโยชนจากปา
แถบลานนา นอกจากเครื่องราชบรรณาการเทานั้น ดังนั้น พระองคจึงบายหนา
หันไปทางรัฐเพื่อนบานดานตะวันออก ซึ่งเปนแหลงของปาอันอุดมเชน กัมพูชา
ตอมาใน ค.ศ. ๑๗๗๘ (พ.ศ. ๒๓๒๑) สมเด็จพระเจากรุงธนบุรียังทรงสงคราม
กับลานชางดวย
กัมพูชาเปนแหลงของปาที่มีความสําคัญยิ่ง ไมวาจะเป นกระวาน รง ไม
หอมตางๆ รวมไปถึงหนังสัตว ทั้งยังเปนแหลงรวบรวมสินคาจากดินแดนตอนใน
คื อ พม า ล า นนาและล า นช า ง ผ า นแม น้ํ า โขงที่ สํ า คั ญ อี ก แห ง หนึ่ ง ทํ า ให
ชาวตางชาติ ไมวาจะเปนวีโอซี บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (East India
Company) หรืออีไอซี (EIC) กรุงละแวกหรือกรุงอุดงมีไชยจึงเปนคูแขงที่สําคัญ
ของสยามมาโดยตลอด (แมโดยรวมแลวกัมพูชาไมอาจแขงขันกับสยามได เพราะ
ไรเสถียรภาพทางการเมือง) อาจดวยเหตุหนึ่งที่วา แมพอคาจากที่ราบลุมแมน้ํา
โขงนิ ย มค า ขายที่ ก รุ ง สยาม แต ห ากพวกเขาไม พ อใจกั บ การกระทํ า ของเจ า
พนักงานก็อาจจะเลิกมาที่นี่ และหันไปพึ่งพอคาที่กัมพูชาแทน เชน พอคาลาวใน

๔๙
อรุ ณรั ตน วิเ ชีย รเขี ยว และเดวิ ด เค. วัย อาจ, ตํา นานพื้น เมื องเชีย งใหม (ฉบั บ
ปรับปรุง), (เชียงใหม: ซิลควอรมบุคส, ๒๕๔๗), ๑๔๗ – ๒๑๒.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๓๕
๕๐
รัชกาลสมเด็จพระเจาปราสาททอง เปนตน ดวยความสําคัญดังกลาวนี้ ทําให
ตั้งแตกลางคริสตศตวรรษที่ ๑๗ มาแลว ทั้งโคชินจีนหรือเวียดนามในเวลาตอมา
และสยามตางพยายามยื้อแยงที่จะมีอิทธิพลในกัมพูชามาโดยตลอด

๔. ความพยายามควบคุมเมืองทาในอาวสยาม
เมื่อชาวตะวันตกเขามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใตในตนคริสตศตวรรษที่
๑๖ นั้น เมือ งทาในอาวสยามนั้น ยั ง เป น แคชุ ม ชนชาวประมงเล็ กๆ เทานั้น ดั ง
สังเกตไดจากที่แทบไมปรากฏบันทึกของชาวตะวันตกเรื่องเมืองทาที่ตั้งอยูระหวาง
สยามกับกัมพูชาเลย จนกระทั่งเมืองทาแถบนี้พัฒนาขึ้นในครึ่งหลังคริสตศตวรรษ
ที่ ๑๗ หลั ง จากที่ช าวจีน กลุม ต างๆ เริ่ม อพยพมายั ง เขามาตั้ ง ถิ่น ฐานบริเ วณ
๕๑
ชายฝงเวียดนามใตจนถึงเมืองทาตะวันออกของสยาม ในสมัยธนบุรีเมืองทาที่ดู
จะมีความสําคัญและมีบทบาทโดดเดนไดแก จันทบุรีและเมืองพุทไธมาศ บทบาท
ที่โดดเดนของเมืองทาทั้งสองเมืองนี้สะทอนการแขงขันทางการคาระหวางชาวจีน
กวางตุ ง ซึ่ ง มี ฐ านอยู ที่ เ มื อ งพุ ท ไธมาศ กั บ ชาวจี น แต จิ๋ ว ซึ่ ง มี ฐ านอยู ใ นภาค
ตะวันออกของสยาม
การแยงชิงผลประโยชนการคาในอาวสยามของพระยาราชาเศรษฐีกับกลุม
ชาวจีนแตจิ๋ว (สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี) นั้นเริ่มขึ้นตั้งแตกรุงศรีอยุธยาเสียเมือง
ใหแกพมาใน ค.ศ. ๑๗๖๗ แลว พระยาราชาเศรษฐีถือโอกาสดังกลาวส งกอง
ทหารมายึดเกาะสําคัญๆ ในอาวสยาม ไมวาจะเปนเกาะกูด หรือที่จดหมายเหตุ
รายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชา

๕๐
Jeremias Van Vliet, “Description of the Kingdom of Siam 1638,” in Van Vliet’s
Siam, L.F. van Revenswaay trans., Christ Baker, ed., (Chiang Mai: Silkworm Books,
2005), 127.
๕๑
Yumio Sakurai, “Eighteenth – Century Chinese Pioneers on the Water Frontier of
Indochina,” Water Frontier, Commerce and the Chinese in the Lower Mekong
Region 1750 – 1880, 43.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๓๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
๕๒
เรียกวา กองกุก เกาะกงและเกาะครามไว๕๓ ในขณะที่ชาวจีนแตจิ๋วซึ่งอาศัยที่
หัวเมืองชายทะเลฝงตะวันออกของสยามก็ตอบโต พระยาราชาเศรษฐีดวยการ
โจมตี เ มื อ งพุ ท ไธมาศใน ค.ศ. ๑๗๖๗ และ ค.ศ. ๑๗๖๙ แต เ ขาก็ ส ามารถ
ปราบปรามชาวจีน แตจิ๋วกลุม นี้ไ ดสําเร็ จ อยางไรก็ ดี พระยาราชาเศรษฐี ก็ยัง
พยายามขยายอํานาจในอาวสยามอยางตอเนื่อง และใน ค.ศ. ๑๖๗๐ เมื่อสมเด็จ
พระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพเรือไปตีเมืองนครศรีธรรมราช พระยาราชาเศรษฐีก็
สงกองเรือไปยึดเมืองจันทบุรีไวไดขณะหนึ่ง แตพระยาพิพิธตีเมืองกลับคืนมาได
เมื่อพิจารณาเสนทางเดินทัพเรือในจดหมายเหตุทัพรายวันรัชกาลพระเจา
กรุ ง ธนบุ รียกทั พ ไปตีเ มือ งพุ ท ไธมาศและกั ม พู ช าใน ค.ศ. ๑๗๗๑ แลวพบวา
การสงครามในครั้งนี้เปนความพยายามของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีครั้งแรกและ
ครั้งที่สามของเหลาชาวแตจิ๋วที่จะควบคุมเมืองทาตางๆ ในอาวสยาม ดังจะเห็นได
จากที่นอกจากสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะไปยึดเมืองพุทไธมาศแลว พระองคยัง
สงทหารไปยึดเมืองตะโพงโสม และเกาะกูด เกาะทีม่ ีความสําคัญทางยุทธศาสตร
ซึ่งพระยาราชาเศรษฐีสงทหารมายึดเอาไวใน ค.ศ. ๑๖๗๖ เพราะนักเดินเรือจะ
แวะพักที่เกาะแหงนี้กอนที่จะเดินเรือตัดไปโคชินจีน
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรียังพยายามยึดเมืองปาสัก ซึ่งตั้งอยูที่ปากแมน้ํา
โขง ในระยะแรกกองทัพสยามไมอาจที่จะยึดเมื องได แตพระยาอธิกาวงศา เจา
เมืองยอมสวามิภักดิ์ตอสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเสียกอน การยึดเมืองปาสักนั้นมี
ความสําคัญยิ่ง เพราะนอกจากจะปองกันไมใหเมือ งปาสักสงกองเรือมาโจมตี
กองทัพสยาม เพื่อชวยเหลือพระยาราชาเศรษฐีแลว ยังเปนโอกาสที่ดียิ่ง เพราะ

๕๒
เอกสารเวี ย ดนามระบุ ว า เป นกํ า พช แต ผู วิ จั ย เห็ นว า จดหมายเหตุ รายวั นทั พ นั้ น
นาเชื่อถือมากกวา เพราะเปนเอกสารชั้นตน สวนเอกสารเวียดนามนั้น ผูบันทึกเรียบเรียง
ขึ้นจากการบอกเลามากกวา ขณะเดียวกัน ในสมัยตอมาเมื่อกองทัพสยามออกจากกรุง
กัมพูชาแลว นักองนนหรือองครามราชาทรงยายมาประทับอยูที่เมืองแหงนี้ เมืองกําพชจึง
นาจะเปนฐานกําลังขององครามราชามาชานานอยูแลว จึงไมจําเปนที่สมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีตองตีเมืองนี้แตอยางใด
๕๓
Yumio Sakurai, “Eighteenth – Century Chinese Pioneers on the Water Frontier of
Indochina,” Water Frontier, Commerce and the Chinese in the Lower Mekong
Region 1750 – 1880, 45.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๓๗

เมืองแหงนี้เปนเมืองสําคัญในการรวบรวมของปาจากที่ราบลุมแมน้ําโขงทั้งหมด
สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี พ ยายามควบคุ ม เมื อ งท า ในอ า วสยามนั้ น มี
วัตถุประสงคที่จะควบคุมเมืองทาที่รวบรวมของปาจากที่ราบลุมแมน้ําโขงทั้งหมด
ซึ่งเปนสินคาที่สรางรายไดใหแกราชสํานัก ทั้งยังเปนการตัด คูแขงการคากับจีน
ซึ่งเปนการคากระแสหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใตในคริสตศตวรรษที่ ๑๘ แม
พระองคจะทรงมีอํานาจเหนือเมืองทาสําคัญๆ ในอาวสยาม แตเมืองทาเหลานี้ก็
ไมไดเอื้อผลประโยชนในระยะยาว เพราะอีกหนึ่งปตอมา เกิดความวุนวายทาง
๕๔
การเมืองทั้งในกัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งจะสิ้นสุดลงในตนศตวรรษตอมา สงผล
ตอการคาในอาวสยามเปนอันมาก

ความขัดแยงระหวางสยามกับเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาใน ค.ศ. ๑๗๗๑


หลั ง จากสมเด็ จ พระเจากรุ ง ธนบุ รี ท รงปราบปรามชุ ม นุ ม ใหญใ นสยาม
ประเทศไดสําเร็จ ทรงมุงหนาไปปราบปรามชุมนุมที่อยูภายนอกราชอาณาจักรอีก
สองแหง ทั้งสองชุมนุมนี้มีความสําคัญกวาชุมนุมอื่นๆ ที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ทรงปราบปรามมากอนหนานี้ (ยกเวนชุ มนุมเจาพิมาย) เพราะเจาเมือ งตางให
ความสนับสนุนผูที่มีสิทธิในการครองบัลลังกอยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะอยางยิ่งเจา
ศรีสังขมีศักดิ์เปนพระราชนัดดาในสมเด็จพระเจาเอกทัศน และพระโอรสในเจาฟา
กรมขุนอนุรักษมนตรี วังหนาหรือรัชทายาทในรัชกาลสมเด็จพระเจาอยูหัวบรม
โกศเสียดวยซ้ํา

๕๔
เวียดนามตั้งแต ค.ศ. ๑๗๗๑ เกิดกบฏไตเซินขึ้น อันเนื่องจากแรงกดดันทางเศรษฐกิจ
และความอยุติธรรมในสังคมที่เกิดขึ้น ระหวาง ค.ศ. ๑๗๓๐ – ๑๗๗๐ (พ.ศ. ๒๒๗๓ –
๒๓๑๓) จึงเกิดกบฏขึ้นในเวียดนามอยางตอเนื่อง กบฏไตเซินเกิดขึ้นในหมูบานไตเซิน เขต
Nghia Binh พี่นองสามคนเปนผูกอการ มีจุดมุงหมายวา จะยึดทรัพยสินของคนมั่งมี มา
แจกจายใหผูยากไร ตอมากบฏไตเซินขยายอํานาจลงมาทางโคชินจีน เขายึดเมืองไซงอนได
และกํ า จั ดผูนํา ตระกู ลเหงี ย นสํ า เร็ จ ใน ค.ศ. ๑๗๗๘ เมื่ อ กบฎไตเซิ นสามารถควบคุ ม
สถานการณในโคชินจีนไดสําเร็จแลว จึงขยายอํานาจไปทางเหนือ และรวมเวียดนามสําเร็จ
ใน ค.ศ. ๑๗๘๖ (พ.ศ. ๒๓๒๙) Shelton Woods, Vietnam an Illustrated History, 65 –
68.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๓๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ในการยุ ท ธ ครั้ง นี้ส มเด็ จ พระเจา กรุ ง ธนบุ รีท รงกรีฑ าทั พ เรื อ ไปตีเ มือ ง
พุทไธมาศและกัมพูชาดวยพระองคเอง ในขณะเดียวกันก็ทรงใหพระยายมราชยก
ทัพไปตีกรุงกัมพูชาทางบก ในทายที่สุดทั้งพระยาราชาเศรษฐีและพระอุทัยราชาที่
๒ เสด็ จ หนีไ ปพึ่ง บารมีข องกษั ต ริยโ คชิน จีน สวนเจาจุยและเจาศรีสั ง ขนั้น ถู ก
จับกุมตัวได และถูกสําเร็จโทษในเวลาตอมา ความขัดแยงระหวางสมเด็จพระเจา
กรุง ธนบุรีกับ พระยาราชาเศรษฐีสิ้น สุด ลง เมื่อเกิด กบฏไตเซิน ขึ้น ในเวียดนาม
พระยาราชาเศรษฐีพรอมกับครอบครั วหลบหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี

๑ การยกทัพสยามไปตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาใน ค.ศ. ๑๗๗๑


ใน ค.ศ. ๑๗๗๑ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงสงทัพสองทัพ คือ ทัพเรือ
ซึ่งพระองคทรงยกทัพดวยพระองคเองไปตีเมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชา และ
ทัพบกซึ่งพระองคมีพระราชโองการใหพระยายมราชเปนผูนําทัพไป ทัพบกของ
พระยายมราชนั้นออกจากกรุ ง ธนบุรีใ นขึ้น ๙ ค่ํ า เดือ น ๑๑ ตรงกั บวั น ที่ ๒๒
สิง หาคม ค.ศ. ๑๗๗๑ ยาตราทั พ ผานเมือ งนครนายก ปาจิม หรือ ปราจีน บุ รี
สระแกว กอนที่จะลวงเขาสูเสียมเรียบ และมาตั้งคายอยูที่บานปราสาทเอก ในวัน
ขึ้น ๙ ค่ํ า เดือ น ๑๒ ตรงกั บวั นที่ ๑๖ กั นยายน ค.ศ. ๑๗๗๑ ในวัน ถัด มาทั พ
พระยายมราชตีเมืองพระตะบองแตก และมาตั้งทัพอยูที่บานปลงกะบู
ในวั นที่ ๒๘ กัน ยายนพระยายมราชมีคําสั่ งใหพ ระยาคํ าแหงพิชั ยตีคาย
เขมรที่สํานักระกาจนแตก และใหพระยาราชาสงครามตั้งคายอยูที่บานตะพงปรัก
๕๕
หรือ ตะพงพระใหฟาทะละหะ ตีเมือ งโพธิสัต ว ซึ่ง เป นเมืองใหญอีกเมือ งใน
กัมพูชา หลังจากที่ฟาทะละยึดเมืองโพธิสัตวไดแลว พระยายมราชก็มีคําสั่งใหเขา
รักษาเมืองตอไป และใหแตงทัพแยกเปนหาทัพ เพื่อยกไปตีเมืองตะครอ เมืองขลุง
เมืองลารอง เมืองบริบูรณ และอีกเมืองหนึ่งซึ่งไมปรากฏนาม เพราะชื่อหายไป
๕๕
ทําเนียบขุนนางกรุงกัมพูชาสํารับเอก ระบุวา เจาฟาทละหะ ถือศักดินา ๑๐๐๐๐ เปน
เสนาบดีนายก เทียบเทากับมหาอุปราช ดูใน ทําเนียบนาม ภาคที่ ๓ ตําราทําเนียบบัน
ดาศักดิ์กรุงกัมพูชา, พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพมหาเสวกโท เจาพระยาอภัยภูเบศร
(ชุม อภัยวงศ), ๒๔๖๕, ๓.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๓๙

จากเอกสาร กอนที่จะยกทัพไปสมทบกับทัพพระยายมราชที่จะมุงหนาตรงไปกรุง
กัมพูชา
เมื่อ กองทั พ พระยายมราชมาถึง เมื อ งกํ าแรงในวั น ที่ ๙ ตุ ล าคมก็ พ บว า
กองทัพหลวงยึดกรุงกัมพูชาไดกอนหนานี้ และสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีก็ทรงยก
ทั พ กลั บ เมื อ งพุ ท ไธมาศไปแล ว ผลของการสงครามในครั้ ง นี้ คื อ แม ส มเด็ จ
พระนารายณราชา จะหลบหนีออกจากเมืองไปแลว แตสถานการณ ในกัมพูชา
ยังคงวุนวายอยู ดังนั้น สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งใหพระยายมราชและ
๕๖
พระยาโกษาอยูชวยราชการพระองครามราชา กษัตริยกัมพูชาพระองคใหม
ตอไป

๕๖
การเมืองกัมพูชาหลังสมัยพระนครนั้นคอนขางที่จะสับสนวุนวาย เพราะเจานายกัมพูชา
ตางแยงชิงอํานาจอยูตลอด และดึงชาวตางชาติคือ สยามและโคชินจีนเขามาแทรกแซง
การเมือง ทําใหตั้งแตกลางคริสตศตวรรษที่ ๑๗ เปนตนมา การเกิดความสัมพันธแบบสาม
เสาระหวางสยาม กัมพูช าและโคชินจี น (ตอ มาคือ เวียดนาม) ระหว าง ค.ศ. ๑๗๕๖ –
๑๗๕๗ (พ.ศ. ๒๒๙๙ – ๒๒๓๐) นั กองทองทรงขึ้นครองราชย เจานายกัมพูช ารวมทั้ ง
นักองนนทรงพยายามลอบสังหารนักองตนหรือตอมาคือสมเด็จพระนารายณราชา แตราช
สํานักกัมพูชาทราบเรื่องเสียกอน จึงสังหารพวกเขาเสีย สวนนักองนนหลบหนีมายังสยาม
ได Khin Sok, Le Cambodge entre le Siam et le Viêtnam (de 1775 à 1860), 37.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๔๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

แผนที่เดินทัพจากเมืองพุทไธมาศไปตีกรุงกัมพูชา
(ปรับปรุงจากบันทึกการออกุสต ปาวี)

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๔๑

สวนกองทัพเรือของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีนั้นออกจากกรุงธนบุรีในวัน
๙ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑ ประกอบดวยทัพใหญแปดกองคือ

แมทัพ จํานวนเรือ (ลํา) จํานวนคน (คน)


พระยาพิชัยไอศวรรย๕๗ ๗๒ ๑,๕๔๖
พระยาพิพิธ ๕๐ ๑,๔๘๑
พระยาศรีราชเดโช ๗๒ ๙๔๘
พระทายน้ํา ๔๓ ๑,๑๐๑
เจาพระยาจักรี๕๘ ๑๓ ๖๘๙
พ ร ะ ย า โ ก ษ า น อ ก ๓๔ ๑,๗๐๕
๕๙
ราชการ
พระยาทิพโกษา ๑๓ ๔๕๓
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ๘๔ ๒,๒๔๒

๕๗
เปนชาวจีนกวางตุงชื่อ หยังจิ้นจง เขามาคาขายในกรุงธนบุรีใน ค.ศ. ๑๗๖๘ ตอมา
ไดรับแตงตั้งเปนพระยาพระคลัง กอนจะถึงแกอสัญกรรมใน ค.ศ. ๑๗๗๗ (พ.ศ. ๒๓๒๐)
๕๘
เจาพระยาจักรี (หมุด) ในรัชกาลสมเด็จพระเจาเอกทัศนดํารงตําแหนงหลวงนายศักดิ์
เปนเจาพระยาจักรีคนแรกในรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี มีความดีชอบความชอบเปน
อยางมาก ทั้งในราชการสงครามที่เมืองนครศรีธรรมราช และคราวตีเมืองพุทไธมาศและ
กรุงกัมพูช าใน ค.ศ. ๑๗๗๑ เจาพระยาจัก รี (หมุด ) ถึงแก อสัญกรรมใน ค.ศ. ๑๗๗๔
(พ.ศ. ๒๓๑๗)
๕๙
คําวา นอกราชการนั้น หมายถึง ขุนนางที่ทูลลาออกจากราชการไปแลว แตกษัตริยเรียก
ตัวใหกลับมารับราชการเปนการชั่วคราว
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๔๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

นอกจากนี้ ยังมีกองทหารอื่นๆ อีก คือ

ทัพ จํานวนเรือ (ลํา) จํานวนคน (คน)


๖๐
นายทายนายใบ ๑๘๐ ๗,๖๗๕
หักตาย ๑๑๑
กองพระญาณประสิทธิ์ ๖
หมวดขุนเอกประเสริฐ ๙
หมวดขุนชัยณรงค ๑๐
หมวดพระสารสุธรรม ๑๐
หมวดอาจารยจันทร ๒๕
หมวดนายโพ ๑๓
กองหลวงเพชรสงคราม ๑๐
กองพระสุธรรมาจารย ๒๘

ทัพเรือมาหยุดที่เมืองจันทบุรีคืนหนึ่ง กอนที่จะมุงหนาสูเมืองพุทไธมาศ
กอนที่จะเดินทางไปถึงเมืองพุทไธมาศ ในวันที่ ๑๙ กันยายนสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีมีพระราชโองการใหพระยาโกษาไปตีเมืองตะโพงโสมหรือเมืองตะพงสม
และกองกุกหรือเกาะกูดดวย กองทหารฝายสยามเขาตีเมืองในอีกสามวันตอ มา
แต ทั้ ง จี น บุ ญ เส็ ง และพระยาราชาเศรษฐี ต า งหนี ล งเรื อ ไปได เมื่ อ ได ไ ต ส วน
ขุน นางที่อาสารบคือ พระญาณประสิท ธิ์ พระสุ ธรรมาจารยแ ละพระอาจารย
จันทรก็พบวา ทั้งสามคนไมไดทําตามแผนการที่วางไว ทําใหแมสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีจะทรงตบรางวัลขุนนางทั้งสามและไพรพลในสังกัดที่ชวยกันยึดเมืองไว
ได แตก็ลงโทษพวกเขาดวยขัดพระราชโองการ

๖๐
คนที่ดูแลใบเรือ
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๔๓

หลั ง จากที่ จั ด การภายในเมื อ งพุ ท ไธมาศเรี ย บร อ ยแล ว ในวั น ที่ ๒๕


กันยายนสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเสด็จออกไปยังกรุงกัมพูชา และมาถึงปากน้ํา
โพรงกะสังในวันที่ ๒๕ กันยายน พระองคมีพระราชโองการใหคนถือสารไปยัง
เมืองปาสัก เพื่อขอใหพระยาอธิกาวงศาหรือเจาเมืองปาสักยอมสวามิภักดิ์ตอ
พระองค ตอมาในวันที่ ๖ ตุลาคมทรงยกทั พไปถึง เกาะพนมเพ็งหรือ พนมเปญ
และทราบวาสมเด็จพระนารายณราชา ทรงหนีไปอยูที่บานบอพนมหรือบาพนม
จึงโปรดฯ ใหเจาพระยาจักรี พระศรีราชเดโชและพระทายน้ํายกทัพตามไป และ
๖๑
พบวาญวนลู กหนาย ไดพาพระยาอุ ทั ยราชาหนีไปแลว ในวั นที่ ๒๓ ตุล าคม
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตั้งเจาองครามราชาใหกินเมืองกัมพูชา และใหพระ
ยาโกษาและพระยายมราชอยูชวยราชการ กอนที่จะเสด็จกลับเมืองพุทไธมาศ
ภายหลั ง จากที่ส มเด็ จ พระเจากรุ ง ธนบุ รีท รงบํ าเพ็ ญพระราชกุศ ล และ
จัดการเรื่องราวตางๆ ในเมืองพุทไธมาศแลว ก็ทรงเสด็จกลับกรุงธนบุรีในวันที่
๒๙ ตุลาคม ทรงแตงตั้งพระยาพิพิธเปนพระยาราชาเศรษฐี รั้งเมืองพุทไธมาศ
แทน หลังจากนั้นสิบวันพระองคก็เสด็จถึงกรุงธนบุรี พระองคพระราชทานญวน
ขางใน หรือบรรดาบุตรีหรือภรรยาของพระยาราชาเศรษฐีหรือมักเทียนตูเปนเมีย
พระราชทานของเจาพระยาศรีธรรมราชา เจาพระยาจักรี เจาพระยามหาเสนา
เจาพระยามหาสมบัติและเจาพระยามหามณเฑียร และจัดการสําเร็จโทษประหาร
ชีวิต ที่สําคัญคือ การตัดสินประหารเจาจุยและพระยาจันทบุรี ซึ่งหลบหนีไปอยู
กับพระยาราชาเศรษฐีใน ค.ศ. ๑๗๖๗

๖๑
ไมทราบวาคือ ที่ไหน แตเอกสารเวียดนามระบุวา เมื่อพระยาราชาเศรษฐีทราบว า
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะยกทัพมาโจมตีเมืองพุทไธมาศ จึงแจงขอความชวยเหลือไปยัง
ตระกูลเหงียน ทวาเมืองพุทไธมาศแตกกอน พระยาราชาเศรษฐีหลบหนีไปอยูที่เมืองโชดก
และกองทหารโคชินจีนไดไปชวยเหลือเขาที่นั่น Yumio Sakurai and Takao Kitagawa, “Ha
Tien or Banteay Meas in the Time of the Fall of Ayutthaya,” in From Japan to
Arabia: Ayutthaya’s Maritime Relation with Asia, ed. Kennon Breazeale
(Bangkok: Toyota Thailand Foundation, 1999), 191.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๔๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

๒. เหตุการณหลัง ค.ศ. ๑๗๗๑


หลังเหตุการณสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาใน
ค.ศ. ๑๗๗๑ ก็เกิดเหตุการณสําคัญหลายเหตุการณ ซึ่งสามารถแบงออกเปน
สองประเด็นสําคัญ คือ สถานการณทางการเมืองในกัมพูชา และชีวิตของพระยา
ราชาเศรษฐีหลังเมืองพุทไธมาศแตก
สถานการณทางการเมืองในกัมพูชา หลัง ค.ศ. ๑๗๗๑ พระองครามราชา
ปกครองกั ม พู ช าด วยความชวยเหลื อ ของพระยาโกษาและพระยายมราช แต
ขุนนางทั้งสองอยูในกัมพูชาไดไมนาน ก็ตองกลับมายังกรุงธนบุรี เพราะพมากรีฑา
ทัพเขามายังสยาม พระองครามราชาจึงทรงลี้ภัยไปอยูที่เมืองกัมพช (Kampot)
เมืองทาตอนใตของกัมพูชา ใน ค.ศ. ๑๗๗๒ (พ.ศ. ๒๓๑๕) สมเด็จพระนารายณ
ราชา จึงทรงกลับมาครองบัลลังกกัมพูชา กัมพูชาจึงแบงออกเปนสองสวน คือ
กัมพูชาตอนบน (แถบโตนเลสาบและกรุงกัมพูชา) สมเด็จพระนารายณราชา ทรง
ปกครอง สวนกั มพู ชาตอนลาง (ติด ชายฝงทะเล) เปน เขตพระราชอํ านาจของ
พระองครามราชา๖๒
หลังจากนั้นตางฝายพยายามแยงชิงอํานาจกันอยูต ลอด จนกระทั่งใน ค.ศ.
๑๗๗๕ สมเด็จพระนารายณราชา ทรงยุติความขัดแยงดวยการสละราชสมบัติ
และเชิญ พระองค ร ามราชาขึ้ น ครองบั ล ลั ง ก ทว าความขั ด แยง ในหมู เ จ านาย
กัมพูชาก็ยังไมสิ้นสุดลง เพราะสมเด็จพระนารายณราชา ทรงตั้งพระราชอนุชาคือ
นักองธาน (Ang Than) เปนกษัตริยดวย ทําใหในทางปฏิบัติแลวขณะนั้นกัมพูชามี
กษั ต ริยส ามพระองค และกลุม เจานายกั ม พู ช าทั้ง สองกลุม ก็ ยัง คงแยง ชิง ราช
สมบัติตอไป ตอมาใน ค.ศ. ๑๗๗๗ พระองครามราชาไดสังหารนักองธาน และ
๖๓
เพียงไมนานสมเด็จพระนารายณราชา ก็สวรรคตตาม

๖๒
Khin Sok, Le Cambodge entre le Siam et le Viêtnam (de 1775 à 1860), 37 –
38.
๖๓
Chingho A. Chen, “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA Conference, Vol. II,
1,557.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๔๕

สวนชะตากรรมของพระยาราชาเศรษฐีห ลัง ค.ศ. ๑๗๗๑ นั้นดําเนินไป


อยางมีสีสันเปนอยางยิ่ง เดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๗๗๓ ตระกูลเหงียนที่โคชินจีน ซึ่ง
ใหความชวยเหลือพระยาราชาเศรษฐีหลังเมืองพุทไธมาศแตก ใหเขาทําทีสงญาติ
คนหนึ่งคือ มักตู (Mac Tu) นําเครื่องราชบรรณาการและสาสนมาถวายสมเด็จ
พระเจากรุงธนบุรี เพื่อเจรจาขอเมืองพุทไธมาศคืน แตเหตุผลจริงๆ ของการสง
ผูแทนในครั้งนี้คือ ราชสํานักโคชินจีนตองการทราบขาวคราวของกษัตริยสยาม
และสถานการณในกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตอนรับมักตูดวยความ
ยินดียิ่ง ทั้งยังทรงคืนเมืองพุทไธมาศใหแกมักตูหวง (Mac Tu-hoang) บุตรชายคน
โตของพระยาราชาเศรษฐี รวมทั้งคืนภรรยาคนที่สี่และบุตรสาวคืนใหพระยาราชา
เศรษฐีดวย ในระหวางการเจรจานั้นเชื่อวา พระยาราชาเศรษฐีไดสงตัวเจาศรีสังข
ซึ่งหลบหนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของราชวงศเหงียนหลังกรุงกัมพูชาแตก มา
๖๔
ใหแกสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ทวาชีวิตของพระยาราชาเศรษฐีผูนี้เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ กบฏ
ไตเซินในเวียดนามรุนแรงยิ่งขึ้น พระยาราชาเศรษฐีและผูติดตามหลบหนีความ
วุนวายเขามาในกรุงธนบุรีใน ค.ศ. ๑๗๗๘ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตอนรับ
พวกเขา ทั้ ง จั ด หาบ า นพั ก และเลี้ ย งดู พ วกเขาเป น อย า งดี ทว า เพี ย งสองป
ความสัมพันธที่ดูชื่นมื่นนี้ก็เปลี่ยนแปลงไป ระหวางปลาย ค.ศ. ๑๗๗๗ – กลาง
๖๕
ค.ศ. ๑๗๗๘ เหงียนฟุกอันหรือองคเชียงสือ สามารถควบคุมสถานการณใน
เวียดนามใตไดสําเร็จ ในเดือนกรกฎาคมพระองคจึงสงทูตมายังกรุงธนบุรีเพื่อขอ
ฟนฟูความสัมพันธระหวางสยามกับตระกูลเหงียน แตสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ทรงทราบเปาหมายที่แ ทจริงของการทูตในครั้งนี้วา ตอ งการมาเกลี้ ยกลอมให
พระยาราชาเศรษฐีและโตนเทิดซวน กลับไปชวยพระองคสูรบ พระยาราชาเศรษฐี
เกรงวากษัตริยจะโกรธ จึงตอบปฏิเสธและดูสถานการณในเวียดนามตอไป

๖๔
Chingho A. Chen, “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA Conference, Vol. II,
1,557.
๖๕
เหงียนพุกอันหรือที่ในเอกสารสยามเรียกวา องคเชียงสือ เปนสมาชิกฝายชายตระกูล
เหงียนเพียงคนเดียวที่หนีรอด หลังจากกบฏไตเซินกวาดลางตระกูลเหงียนใน ค.ศ. ๑๗๗๘
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๔๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ใน ค.ศ. ๑๗๗๙ พระยาอาธิกาวงศา เจาเมืองปาสักซึ่งเปนฝายสนับสนุน


เวียดนามสั ง หารองครามราชาเสีย เพราะไมพ อใจที่พระองคฝกใฝส ยามมาก
เกินไป และเปนเหตุใหชาวกัมพูชาตองประสบความยากแคน ใน ค.ศ. ๑๗๘๐
(พ.ศ. ๒๓๒๓) ทําใหสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงไมพ อพระทัยตระกูลเหงียน
ยิง่ ขึ้น เพราะเห็นวาสนับสนุนคนของตนมาสังหารองครามราชา ซึ่งสวามิภักดิ์ตอ
พระองค ความไมพอพระทัยของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีมากยิ่งขึ้น เมื่อทรง
ทราบวา แมทัพเวียดนามประจําเมืองพุทไธมาศไดสงกองเรือเขาปลนสําเภาสยาม
ซึ่งเพิ่งกลับจากกวางตุง พวกเขายังยึดสินคาไวหมดและสังหารลูกเรือกวา ๕๐
คน ในขณะที่องคเชียงสือสงขุนนางสองคนเปนราชทูตมาเจริญพระราชไมตรีกับ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี จึงมีรับสั่งใหจับกุมตัวทูตทั้งสองไว พระยาราชาเศรษฐี
รีบไปเขาเฝาพระองค และอาสาที่จะเขียนหนังสือสอบถามเรื่อ งราวไปยั งองค
เชียงสือ แตไมไดรับคําตอบใดๆ กลับมา ตอมา De Thanh – Nguyen แมทัพ
เวียดนามไดสงหนังสือมาหาพระยาราชาเศรษฐี เพื่อขอใหเขากอความวุนวายใน
สยาม ขณะที่เรือราชทูตเวียดนามเขามาเจริญพระราชพระราชไมตรีกับสมเด็จ
๖๖
พระเจากรุงธนบุรี พระองคทรงรูเรื่องนี้เสียกอน จึงสังหารเขาและครอบครัว

“จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกัมพูชา” ในฐานะงานเขียนประวัติศาสตร
เมื่อกลาวถึงงานเขียนพื้นเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใตแลว พบวาใน
ระยะแรกที่ ช าวตะวั น ตก ซึ่ ง ส ว นใหญ เ ป น ข า ราชการอาณานิ ค มสนใจ
ประวัติศาสตรของดินแดนแถบนี้ จะไมคอยเห็นคุณคาเอกสารเหลานี้เทาใดนัก
เพราะไมเป นเอกสารชั้น ตน และมักมีนิยายปรั มปราทอ งถิ่น มาปะปนอยูเ สมอ
รวมทั้ง ยั ง ไมมีลํ า ดั บ เวลาบอกเลา เหตุ การณ งานศึ กษาประวั ติศ าสตรเ อเชี ย
ตะวันออกเฉียงใตในระยะนี้จึงมุงเนนไปที่ประวัติศาสตรหลังจากที่ชาวตะวันตก
เขามาแลว
๖๖
Chingho A. Chen, “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA Conference, Vol. II.
1,562 – 1,563.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๔๗

ตอ มาในทศวรรษ ๑๙๕๐ และ ๑๙๖๐ มีการบุ กเบิกการศึกษาเอกสาร


พื้ น เมื อ งของเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต ใ นมุ ม มองใหม เช น Historians of
Southeast Asia มีศาสตราจารยฮอลล (D.G.E. Hall) เปนบรรณาธิการ หลังจาก
นั้นมาก็มีการศึกษาและทําความเขาใจเอกสารพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น ทําใหพบวา แม
เอกสารพื้ น เมื อ งของเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต จ ะไม มี คุ ณ ค า ในการศึ ก ษา
ประวัติศาสตรมากนัก แตมีคุณคาในฐานะเอกสารภูมิปญญาและแสดงการรับรู
๖๗
ประวัติศาสตรของชนพื้นเมือง หลังจากนั้นนักประวัติศาสตรจึงหันมาสนใจ
การศึกษาประเด็นดังกลาวนี้อยางกวางขวาง รวมทั้งประวัติศาสตรนิพนธของไทย
ซึ่งสามารถแบงออกเปนสองชวงใหญๆ คือ การเขียนประวัติศาสตรแบบจารีต
และการเขียนประวัติศาสตรหลังคริสตศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งไดรับอิทธิพลจากชาติ
ตะวันตก
ในที่นี้ ผูเ ขียนกลาวถึง ประเด็ น สํ าคั ญของงานเขียนประวั ติศ าสตรแ บบ
จารี ต ของไทย ซึ่ ง เกี่ ย วข อ งกั บ ประเด็ น ศึ ก ษาของผู เ ขี ย นว า งานเขี ย น
ประวัติศาสตรแบบจารีตนั้นสวนใหญเปนเอกสารชั้นรอง ที่สําคัญคือ ตํานานและ
พระราชพงศาวดาร ตํานานนั้นสวนใหญเปนงานเขียนของอาณาจักรลานนา มัก
เกี่ยวของกับพุทธศาสนาและวัด เชน ตํานานมูลศาสนาวั ดปาแดง ชินกาลมาลี
ปกรณ เปนตน ตํานานยังบอกเลาเรื่องราวของประวัติศาสตรในยุคตนอีกดวย
อาทิ ตํานานพระรวง ตํานานจามเทวีวงศ หรือตํานานพระเจาอูทอง เปนตน๖๘
ส ว นพระราชพงศาวดารนั้ น เป น เอกสารที่ ไ ด รั บ อิ ท ธิ พ ลฮิ น ดู บั น ทึ ก
เรื่องราวของพระเจาแผนดินและราชวงศไว พระราชพงศาวดารไทยนั้นจะเริ่ม
ตั้งแตการตั้งกรุงศรีอยุธยาเปนตนมา จะมีเพียงพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา
ฉบั บ หลวงประเสริฐ อั กษรนิ ติ์ เ ท านั้ น ที่มี บั น ทึ กเหตุ ก ารณก อ นการตั้ ง กรุ ง ศรี
อยุธยาเพียงเล็กนอย

๖๗
ชุลีพร วิรุณหะ, บุหงารายา ประวัติศาสตรคําบอกเลาของชาวมลายู, (กรุงเทพฯ:
ศักดิโสภาการพิมพ, ๒๕๕๑), ๗ – ๙.
๖๘
Winai Pongsripian, “Traditional Thai Historiography and the Nineteenth – Century
Decline,” (Ph. D. Dissertation, University of Bristol, 1983), 27 – 140.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๔๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

พระราชพงศาวดารกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเกื อ บทุ ก ฉบั บ ชํ า ระขึ้ น ในสมั ย


รัตนโกสินทร ทําใหมีขอกังขาอยูหลายประเด็นดวยกัน นิธิ เอียวศรีวงศอธิบายวา
เอกสารเหลานี้สามารถสะทอนการเมืองในตนรัตนโกสินทรไดเปนอยางดี ทั้งนี้
เพราะกษัตริยราชวงศใหม ซึ่งปราบดาภิเษกขึ้นมาจากขุนนางสมัยอยุธยาและ
ธนบุรีตองพยายามสรางสิทธิธรรมใหแกพระองค และทรงสรางสิ่งนี้ผานพระราช
พงศาวดารที่ ชํ า ระขึ้ น ใหม ที่ มั ก จะกล า วว า สาเหตุ ข องการล ม สลายของ
ราชอาณาจักรอยุธยาคือ กษัตริยราชวงศสุดทายไรสิทธิธรรมและปกครองโดยไร
๖๙
ทศพิธราชธรรมอีกดวย
จดหมายเหตุ ร ายวั น ทั พ รั ช กาลสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงตี เ มื อ ง
พุ ท ไธมาศและกั ม พู ช าเป น เอกสารชั้น ตน และรายงานทางราชการสมั ยกอ น
รัตนโกสินทรเพียงหนึ่งในสองฉบับที่หลงเหลืออยูในปจจุบัน อีกฉบับคือ บันทึก
ของออกพระวิสุทธสุนทรไปฝรั่งเศส ซึ่งอาลักษณนาจะใชเอกสารนี้ชําระพระราช
พงศาวดารในสมัยตนรัตนโกสินทรดวย เอกสารฉบับนี้ยังมีความสําคัญเปนอยาง
ยิ่ง เพราะเปนเครื่องสะทอนวา ชาวสยามนั้นมีวัฒนธรรมในการจดบันทึก แมพระ
ราชพงศาวดารและตํ า นานมั ก จะมี ก ารอธิ บ ายด ว ยการใช นิ ท านปรํ า ปรา
วรรณกรรมหรือความเชื่อ ทางศาสนาเขามาผสม แตเ อกสารราชการนั้น เป น
เอกสารที่ใชเปนหลักฐานทางประวัติศาสตรไดเปนอยางดี
ทวาเปนที่นาเสียดายเปนอยางยิ่งที่เอกสารเหลานี้มักจะสูญหายไป ทั้งนี้
เพราะวัสดุที่ใชในการบันทึกสวนใหญ เปนวัสดุที่ผุพังและยอยสลายไดงาย เชน
ใบลานตางๆ และผูคนก็ ไ มเ ห็ น คุ ณคาของเอกสารเทา ใดนั ก ในขณะเดียวกั น
เอกสารสยามมักจะถูกทําลายดวยปจจัยทางการเมือง เชน ในคําใหการชาวกรุง
เกาเลาวา ในรัชกาลขุนชินราชหรือขุนวรวงศา (ค.ศ. ๑๕๔๘/ พ.ศ. ๒๐๙๑) นั้น มี
การเผาทํ า ลายเอกสารสํ า คั ญ หลายๆ ฉบั บ หรื อ เมื่ อ กองทั พ พม า เข า กรุ ง
ศรีอยุ ธยาไดใ น ค.ศ. ๑๗๖๗ เหลาทหารก็ ไดจุ ดไฟเผาสถานที่ตางๆ ยัง ผลให
เอกสารทางการหลายฉบับมอดมวยไปกับเปลวเพลิง

๖๙
นิธิ เอียวศรีวงศ, ประวัติศาสตรรัตนโกสินทรในพระราชพงศาวดารอยุธยา, พิมพ
ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๓)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๔๙

เนื้อหาในจดหมายเหตุร ายวันทั พรัชกาลสมเด็จ พระเจากรุงธนบุรีทรงตี


เมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชานั้น เริ่มมีบันทึกในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
ซึ่งพระยายมราชยกทัพบกออกจากกรุงธนบุรี เพื่อไปตีกรุงกัมพูชา แมอาลักษณ
จะมีบันทึกวา สงครามครั้งนี้ สยามยกทัพไปโจมตีอริราชศัตรูทั้งทางบก มีพระยา
ยมราชเปนแมทัพและทางน้ํา มีสมเด็จ พระเจากรุงธนบุรีเปนแมทัพ แตเนื้อหา
สาระของเอกสารฉบับนี้กลับเนนไปที่พระราชภารกิจเป นสําคัญ บั นทึกฉบับ นี้
สิ้ น สุ ด ลงในวั น ที่ ๒๓ พฤศจิ ก ายน ค.ศ. ๑๗๗๑ ซึ่ ง บอกเล า เหตุ ก ารณ ว า
หลังจากที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพกลับมาจากเมืองพุทไธมาศแลว จึง
มีพระราชโองการใหประหารชีวิตนักโทษอุจฉกรรจ ซึ่งพระองคไดตัวมาแตเมือง
พุทไธมาศ นั่นคือ เจาจุย หลวงสงขลา พระยาจันทบูรณ (เดิม) และจีนบุญเส็งเสีย
อาลักษณบันทึกเหตุการณที่เกิดขึ้นไวอยางละเอียด เรียงตามลําดับเวลา
และวั น ตามจั น ทรคติส ยาม เนื้อ หาที่บ รรยายกระชั บ ดํ าเนิ น เหตุ การณอ ยา ง
รวดเร็ว และไมมีบทพรรณนาคําสนทนาในเอกสาร แมเอกสารฉบับนี้จะแสดง
พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี แต กลับเยินยอพระเกียรติของ
พระองคเชนที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตรอื่นๆ เพียงเล็กนอยเทานั้น เชื่อวา
อาลักษณที่บันทึกจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตี
เมือ งพุ ทไธมาศและกรุง กัม พูช าฉบั บนี้นั้น เป นขุน นางชาวสยามเชื้อสายจีน ดั ง
สังเกตไดจากสํานวนและลีลาการเขียน รวมทั้งวิธีการบันทึกเรื่องราวที่แยกขอมูล
ทางประวัติศาสตรและขอคิดเห็นของผูเขียนออกจากกันโดยสิ้นเชิง อันเปนธรรม
เนียมการเขียนงานประวัติศาสตรแบบจีนนั่นเอง
จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกรุงกัมพูชาฉบับนี้จึงมีความสําคัญยิ่ง เพราะเปนเอกสารชั้นตนที่บอกเลา
เรื่ อ งราวสงครามคราวสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี เพื่ อ ขยายอํ า นาจไปทาง
ตะวันออกในระยะแรกไดอยางชัดเจน ทั้งยังสะทอนภาพงานเขียนประวัติศาสตร
ของไทยวา ไมไดมีแตหลักฐานชั้นรองเชน ตํานานหรือพระราชพงศาวดารเทานั้น
นอกจากนี้ เอกสารฉบับนี้ยังเปนเครื่องยืนยันเปนอยางดีวา ราชสํานักสยามนั้นมี
วัฒนธรรมในการจดบันทึกมาแตโบราณ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๕๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

“หลักพิไชยสงคราม” ในจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกรุงกัมพูชา
ตลอดรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี สยามทําสงครามกับรัฐเพื่อนบาน
ไมวาจะเปนพมา พุทไธมาศ กัมพูชา รวมทั้งเวียดนามอยางตอเนื่อง ในการทํา
สงครามแตละครั้ง ผูนําหรือแมทัพนายกองจะตองเรียนรูหลักพิไชยสงคราม เพื่อ
ใชเปนหลักในการทําสงคราม ทั้งยังเปนเอกสารที่มีความสําคัญในฐานะเครื่อง
ราชูปโภคอยางหนึ่ง แมทั้งสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีและเหลาขุนนางจะเปนขุนนาง
ที่รับใชราชสํานักอยุธยามากอน แตสวนใหญเปนเพียงขุนนางชั้นผูนอย บางสวนก็
เปนขาราชการหัวเมือง หรือเปนชาวจีนหรือกลุมลูกครึ่งเชื้อสายจีน ทําใหไมใครที่
จะมีความรูเรื่องขนบธรรมเนียมราชสํานักอยุธยาเทาใดนัก เอกสารที่เกี่ยวของกับ
เรื่ อ งนี้ จํ า นวนมากก็ สู ญ หายไปเมื่ อ ครั้ ง เสี ย กรุ ง ให แ ก พ มา ผูที่ มีค วามรู เ องก็
เสียชีวิตหรือไมก็ถูกจับเปนเชลยไปยังกรุงอังวะ แมสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะ
ทรงพยายามฟนฟูธรรมเนียมราชสํานักอยุธยา แตหลายๆ ครั้งพระองคไมใครที่
จะยึดตามธรรมเนียม และทรงใชความคุนชินเดิมๆ อาทิ หลักพิไชยสงครามแบบ
จีนที่ทรงใชในการรบเปนตน
เมื่อกลาวถึงพิไชยสงครามแลว เรามักจะคิดถึงกลยุทธตางๆ เพื่อเอาชนะ
ศัตรู แตจริงๆ แลว พิไชยสงคราม โดยเฉพาะอยางยิ่งพิไชยสงครามสยามนั้นมี
ความหมายเกิน กวากลยุท ธในสงครามเทานั้น เพราะพิไ ชยสงครามนั้น หมาย
รวมถึงหลักในการปกครองกองทัพ กฎระเบียบราชสํานัก รวมไปถึงความเชื่อทาง
ศาสนาดวย เรื่องพิไชยสงครามนั้นปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรี
อยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ความวา “...ศักราช ๘๘๐ ขาลศก (พ.ศ.
๒๐๖๑) ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีสรางพระศรีสรรเพชญ เสวยราชสมบัติ แรก
ตําราพิไชยสงครามแลแรกทําสารบาญชี พระราชสําฤทธีทุกเมือง...”๗๐ สะทอน
วา ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นั้น มีการรวบรวมตําราพิไชยสงคราม
ฉบับตางๆ ไวเปนครั้งแรก

๗๐
พระราชพงศาวดารกรุ ง เก า ฉบั บหลวงประเสริ ฐ , (กรุ ง เทพฯ: มหาวิ ท ยาลั ย
สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๗), ๒๗ – ๒๙.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๕๑

ในปจ จุบั น นี้เ ราพบพิไชยสงครามอยูหลายฉบั บ ดวยกั น ฉบับ ที่เกาที่สุ ด


เขียนขึ้นในปลายอยุธยา และมีการชําระเรียบเรียงพิไชยสงครามอีกหลายครั้ง ที่
๗๑
สํ าคั ญคือ ในรั ช สมั ยพระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกลา เจา อยูหั ว ซึ่ ง รวบรวมได
ดังตอไปนี้

อายุ ฉบับ
( พ . ศ . ๒ ๓ ๐ ๐ – ตําราพิไชยสงคราม เลขที่ ๒๙ เลมที่ ๑ มัดที่ ๔
๒๓๕๐)
ปลายกรุงศรีอยุธยา ตําราพิไชยสงคราม เลขทะเบียน ๑๕๖๑/ ๒๗
(พ.ศ. ๒๓๓๖) ตําราพิไชยสงครามเลขที่ ๑๒๐
(พ.ศ. ๒๔๕๑) ตําราพิไชยสงครามฉบับเลขที่ ๑๘๑ มัดที่ ๒๓ เลม ๓
(พ.ศ. ๒๔๗๐) ตําราพิไชยสงครามเลขที่ ๑๒๕
(พ.ศ. ๒๔๗๓) ตําราพิไชยสงคราม เลขที่ ๑๑๘ มัดที่ ๑๔
(พ.ศ. ๒๔๗๙) ตําราพิไชยสงคราม เลขที่ ๓๓ มัดที่ ๕
รัชกาลที่ ๓ ตําราพิไชยสงครามฉบับเอกเทศ
ตําราพิไชยสงครามฉบับที่มีการคัดลอกสืบตอมาเปนชุด
(พ.ศ. ๒๔๘๑) ตําราพิไชยสงครามฉบับหมอบรัดเลย

ตารางดั งกลาวนี้แสดงใหเห็ นวา ไมมีการชํ าระพิไชยสงครามขึ้นใหมใ น


สมัยธนบุรี จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมือง
พุทไธมาศและกัมพูชาจึงเปนเอกสารชั้นตนเพียงฉบับเดียวที่เขียนขึ้นในรัชกาลนี้ ที่
สะท อ นแนวคิ ด ของหลั ก พิ ไ ชยสงครามที่ ส มเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงใช
๗๑
วสันต มหากาญจนะ, “ตําราพิไชยสงครามในฐานะหลักฐานประวัติศาสตรภูมิปญญา
ไทย พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๔๑๘,” (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตรเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต ภาควิชาประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๙), ๖ – ๖๔.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๕๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

นอกจากนี้ เอกสารดังกลาวยังสะทอนอิทธิพลจีนในราชสํานักชวงนั้นดวย ทั้งนี้


เพราะสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเปนขุนนางหัวเมื อง ไมทราบระเบียบธรรมเนียม
ราชสํานักสยามมากนัก ทั้งยังเปนลูกครึ่งจีน ซึ่งโดยทั่วไปแลวมักจะใชชีวิตยึดตาม
ธรรมเนียมฝายพอ (จีน) เสียมากกวา ดังนั้น หลายสิ่งหลายอยางที่ทรงใช จึงมัก
เป น ความนิย มหรื อ ความคุ น ชิน ตามวิถี อ ยา งจีน ดั ง จะเห็ น ไดจ ากตํ า ราพิ ไ ชย
สงคราม เปนตน
ก อ นที่ จ ะเข า สู ป ระเด็ น ที่ ว า ตํ า ราพิ ไ ชยสงครามจี น หรื อ ซุ น หวู นั้ น มี
ความสําคัญตอการนําทัพสูสมรภูมิของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมากเพียงใด ขอ
กลาวยอนไปถึงแนวคิดพิไชยสงครามสยามเสียกอน ตําราพิไชยสงครามสยามนั้น
ไดรับอิทธิพลจากตําราพิไชยสงครามอินเดีย เปนการผสมผสานระหวางความเชื่อ
ทางศาสนา สิ่งเหนือธรรมชาติ กับกลยุทธในการเดินทัพ เมื่อพิจารณาตําราพิไชย
สงครามที่กลาวมาแลวในขางตนพบวา พิไชยสงครามสยามจะใหความสําคัญกับ
การประกอบพิธีกรรม การทํานายทายทัก เปนสําคัญ ทั้งยังมีแผนการณและกล
ยุทธในการรบที่เปนแบบแผน๗๒
แตเมื่อศึกษาจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตี
เมื อ งพุ ท ไธมาศและกั ม พู ช าแลว พบวา สิ่ ง ที่ ส มเด็ จ พระเจ ากรุ ง ธนบุ รี ท รงให
ความสําคัญตอกระบวนทัพของพระองคกลับไมใชสิ่งเหลานี้เลย แตจุดเดนของ
ทัพสยามในครั้งนี้กลับเนนไปที่การควบคุมทัพ การปฏิบัติระหว างแมทัพ เหลา
ทหาร และราษฎร ซึ่งเปนหลักสําคัญของตําราพิไชยสงครามจีน ทั้งนี้เพราะชัย
ชนะจะตองไดจากความสามารถของแมทัพ และความสมานสามัคคีของไพรฟา
ประชาชน ซึ่ง แตกต างจากพิไ ชยสงครามสยามอยางสิ้น เชิ ง ทั้ง ยั ง เป น เครื่อ ง
สะทอนความแตกตางระหวางสภาพสังคมจีนและสังคมไทยประการหนึ่งคือ ชาว
จีนมักใชหลักคุณธรรมในการนําชีวิต (แมจะมีเรื่องการเซนไหวบวงสรวงเชนกัน)
สวนชาวไทยนั้นไมวาจะเริ่มตนทําอะไร ก็จะพึ่งพาไสยศาสตรเปนที่ตั้งเสมอ
เมื่อกลาวถึงตําราพิไชยสงครามจีนนั้น เราก็มักจะนึกถึงตําราซุนหวู แต
ในชวงเวลานั้นซุนหวูเปนไมใชตําราที่เปนที่นิยมในสยามประเทศ ราชสํานักสยาม
๗๒
วสันต มหากาญจนะ, “ตําราพิไชยสงครามในฐานะหลักฐานประวัติศาสตรภูมิปญญา
ไทย พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๔๑๘,” ๖๕ – ๑๓๔.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๕๓

เรียนรูหลักพิไชยสงครามจากวรรณคดีเรื่องสามกกเสียมากกวา แตเมื่อผูเขียนได
ศึกษาหนังสือทั้งสองเลมนี้ประกอบกันแลว พบวาหลักพิไชยสงครามซุนหวูนั้นมี
อิทธิพลตอการเขียนวรรณคดีเรื่องสามกกเปนอยางยิ่ง ดังนั้น ในที่นี้ ผูเขียนจะขอ
ใชซุนหวูอธิบายแนวคิดของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ซึ่งมีอยูสองประเด็นดวยกัน
คือ ๑. ลักษณะแมทัพ ๒. การเดินทัพและการทําสงคราม
๔.๑ ลักษณะของแมทัพ แมสงครามระหวางสยามกับกัมพูชาและเมือง
พุทไธมาศครั้งนี้จะมีแมทัพสยามสองคนที่ทําศึก คือ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีซึ่ง
ทรงนําทัพเรือไปตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชา และพระยายมราชนําทัพบกไปตี
กั ม พู ช า แตท วาเอกสารฉบั บ นี้เ ป น เอกสารชั้น ตน ที่แ สดงพระราชภารกิจ ของ
พระมหากษัตริย ดังนั้น เนื้อหาในจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาจึงเนนไปที่บทบาทของสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีในฐานะแมทัพมากกวา ดังนั้น ผูเขียนจะอภิปรายเรื่องลักษณะแมทัพจีน
ในสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ซึ่ ง เป น หลั ก ฐานหนึ่ ง ที่ ส ะท อ นภาพลั ก ษณ ข อง
พระองคดวย
ซุนหวูกลาววา ในการทําสงครามนั้นจะตองมีปจจัยหาประการครบถวน
จึง จะสามารถชนะศั ต รู ไ ด คื อ ธรรม ดิ น ฟา อากาศ ภู มิ ป ระเทศ แม ทั พ และ
ระเบียบวินัย ธรรมคือ การทําใหทวยราษฎรรวมจิตรสมัครสมานกับผูนําใหได
หากทําไดเชนนั้นไพรฟาประชาชนจะอยูและตายกับแมทัพ และไมหวาดเกรงภัย
อันตรายใดๆ เลย ดินฟาอากาศคือ แมทัพจะตองรูสภาพอากาศ ฤดูกาล ความ
ผั น แปรของฤดู ก าล ภู มิ ป ระเทศ คื อ แม ทั พ จะต อ งรู ค วามไกลใกล ความ
ทุรกันดาร ความราบเรียบ ความกวางแคบของพื้นที่ รวมทั้งยุทธภูมิตางๆ สวนแม
ทั พ นั้ น จะตอ งกอปรไปดว ยป ญ ญา ความเที่ ยงธรรม ความเมตตาและความ
เขมงวด ระเบียบวินัยคือ แมทัพจะตองจัดระเบียบการรบ และวินัยทหาร รวมทั้ง
ดูแลการสงกําลังทหารใหดี๗๓
จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกั ม พู ช าเป น หลั ก ฐานสํ า คั ญที่ส ะท อ นใหเ ห็ น ลั กษณะของแมทั พ จีน ที่
๗๓
Sun – Tzu, the Art of War, trans and commentary by Ralph D. Sawyer (Oxford:
Westview Press, 1994), 167.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๕๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ปรากฏอยูในสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ซึ่งคุณลักษณที่เดนชัดในเอกสารฉบับนี้คือ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงเขมงวดและเที่ยงธรรม ในขณะเดียวกันก็ ทรงเปน
ผูนําที่มีความเมตตา รูวิธีที่ทําใหทวยราษฎรรวมจิต รสมัครสมานกั บพระองค
รวมทั้งยังเปนทรงฉลาดในการเลือกใชคนอีกดวย
ความเขมงวดเปนคุณสมบัติของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีที่ ปรากฏชัดเจน
ที่สุดในจดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกัมพูชาฉบับนี้ ทั้งนี้เพราะตั้งแตทรงกรีฑาทัพออกจากกรุงธนบุรีในเดือน
สิ ง หาคม จนกระทั่ ง พระองค เ สด็ จ กลั บ ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน ค.ศ. ๑๗๗๑
พระองคทรงสั่งลงโทษและประหารชีวิตขุนนางจํานวนมาก โดยไมทรงคํานึงวา
พวกเขาจะเคยมีความดีความชอบใดมากอน ใกลชิดกับพระองคมากเพียงใด หรือ
เปนขุ นนางยศใดก็ต าม ทั้งนี้ซุนหวูวาไววา หากลงโทษเหลาทั พที่ไม จงรั กภักดี
เหลาทัพจะกระดางกระเดื่องและหมดความเชื่อถือ
เหลาทัพที่มีความจงรักภักดี แตผิดวินัย ไมลงโทษเหลาทัพก็ยโส ยโสแลวก็
ไร ป ระโยชน เช น นี้ ต อ งบั ง คั บ บั ญ ชาด ว ยการกระทํ า โดยทั น ที ลงโทษ เลื่ อ น
ตํ าแหน ง หรือ ปู น บํ า เหน็ จ ให จึง จะนํ า ไปสูความมีชั ยชนะ การฝ กทหารบั ง คั บ
บัญชาเปนปกติวิสัยแลว กองทัพยอมมีระเบียบอันเลิศ คําสั่งมีความเที่ยงธรรม
ใหกับเหลาทัพ เหลาทัพเชื่อฟง คําสั่งไมมีความเที่ยงธรรมใหกับเหลาทัพ เหลาทัพ
ไมเ ชื่อ คํ า สั่ ง คํ า สั่ ง เที่ย งธรรมคุ ณ ผลยอ มมีเ ชน กั น ๗๔ ดั ง จะเห็ น ได จ ากที่ ท รง
ลงโทษพระญาณประสิทธิ์ พระสุธรรมาจารยและอาจารยจันทร รวมทั้งไพรพล
ของพวกเขา ทั้งๆ ที่พวกเขาเพิ่งจะทําความดีความชอบยึดเมืองพุทไธมาศถวาย
พระองคไดสําเร็จ ทั้งนี้เพราะ
...เสด็จออกขุนนางขาทูลละอองฯ ฝายทหารพลเรือนเขาเฝาพรอมกัน จึง
ตรัสถามพระญาณประสิทธิ์ พระสุธรรมาจารย อาจารยจันทร วาเมื่อคุม
ทหารเขาหักคายนั้น เขาขางดานไหน อาจารยทั้งสามนั้นใหการมิตองกัน
จึงเสด็จพระราชดําเนินไปทอดพระเนตรดู ก็เห็นวาผิดดวยพระดําริซึ่งทรง
พระกรุณาโปรดนั้น นี่หากวาขาศึกหนีไป ถาตอสูจะเสียราชการ จึงใหลง
พระราชอาชญานาย ๓ คน คนละ ๕๐ ที ไพร ๒๐ คนๆ ละ ๒๐ ที
๗๔
Sun – Tzu, the Art of War, 210.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๕๕

การลงโทษขุนนางที่ไมปฏิบัติตามพระราชโองการ หรือบางครั้งคือ ไมมีใจ


ฝกใฝราชการนั้นปรากฏใหเห็นทัว่ ไปในเอกสารอื่นๆ อีก เชน พระราชพงศาวดาร
กรุ ง ธนบุ รี ฉบั บ พั น จั น ทนุ ม าศ (เจิม ) ซึ่ง สมเด็ จ พระเจ ากรุ ง ธนบุ รี มีพ ระราช
โองการใหลงโทษขุนนางชั้นผูใหญรายหนึ่งคือ เจาพระยาสวรรคโลก เมื่อครั้งรบ
กับกองทัพพมาแถบเมืองเหนือ ทั้งนี้เพราะพระองคเห็นวา
อนึ่ ง สั่ งใหล งพระราชอาชญาเจ าพระยาสวรรคโลก ด วยมิ ได ปลงใจใน
ราชการ ให แ ต ขุน หมื่นผู น อยทํ าการ ตัวนั้ น อยู แ ตไ กล ให จํ าครบแล วให
เฆี่ ยน ๓๐ ที พระหลวงขุ นหมื่น ๓๐ ที นายหมวด ๒๐ ที แล วใหริ บเอา
๗๕
สิ่งของ ซึ่งแตเมืองเชียงใหมไดนั้น ใหสิ้นเชิงทั้งกองเจาพระยาสวรรคโลก
และนี่เปนหลักฐานที่สําคัญในการอธิบายวา เพราะเหตุใดเมื่อพระองคนํา
ทัพไปดวยพระองคเอง กองทัพสยามนั้นไมคอยจะประสบกับความปราชัยเทาใด
นัก
แมสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีจะทรงปกครองทัพดวยความเฉียบขาด แต
พระองคก็ทรงมีพระเมตตาตอแมทัพนายกองทั้งหลาย ดังจะเห็นไดจากวา ใน
หลายๆ กรณีพระองคทรงคาดโทษไว และใหขุนนางทําราชการแกตัวใหม อาทิ
”กองทัพพระศรีพิพัฒ ซึ่งไปราชการเมืองปาสัก แตกญวนหนีมา เสียเรือรบเรือ
ไลนั้น ครั้นจะไมเอาโทษขาราชการทั้งปวงก็จะดูเยี่ยงอยางกันสืบไป ครั้นจะเอา
โทษเลา คนมากกวา ๓๐๐ นั้น ทรงพระราชดําริจะลงโทษให.......กอกําแพงเมือง
ธนบุรีแล”
ทั้งนี้เพราะทรงใชคุณธรรมเรื่องความเมตตาเปนตัวกํากับ ในการปกครอง
กองทัพจีนนั้น แมวาแมทัพจะตองดูแลขุนทหารใหอยูในระเบียบวินัยดวยความ
เขมงวดและเที่ยงธรรม แตในขณะเดียวกันก็จะตองไมบีบบังคับเหลาทหารมาก
จนเกินไป๗๖ และเมื่อไดลาภสังการะใดๆ ในชัยชนะในสงคราม ก็ตองแบงใหแก
ทหารเสมอ เพื่อเปนขวัญและกําลังใจใหแกเหลาทหารหาญ ทั้งนี้เพราะ
๗๕
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ,
๗๖
Sun – Tzu, the Art of War, 188
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๕๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ฉะนั้น เหลาทัพตอรบโดยไมคิดใฝหาชื่อเสียง
เหลาทัพถอยทัพไมหวงใยประชาชนหลีกหนีทัพตองไดรับโทษ
เหลาทัพคุมครองภัยใหราษฎรเปนที่ตั้ง
และยังประโยชนตอผูปกครองแผนดิน
เหลาทัพนี้จะเปนเพชรมณีลนคาของแผนดิน
ดูแลลูกทัพ ดั่งทารกในออมอกบิดา
ฉะนั้น จึงยอมเคียงขางบุกเหวลึก
ดูแลเหลาทัพ ปานบุตรรักของตน
เหลาทัพจึงยอมสละชีวิตรวมเปนรวมตาย๗๗
ความเมตตาของสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี นั้ น ยั ง เผื่ อ แผ ไ ปถึ ง บรรดา
ชาวเมือง รวมไปถึงบรรดาบุตรีและเหลาภรรยาของพระยาราชาเศรษฐีดวย ทั้งนี้
หลั กการรบของจีน นั้น จะสอนใหแ มแ มทั พ จะยึด เมืองได และลงโทษศั ต รู ข อง
ตนเองเทาใด แตจะตองไมยุงเกี่ยวกับคนที่ไมมีความผิด เชน บรรดาบุตรภรรยา
ของศัตรูเปนอันขาด ดังจะเห็นไดจากนิยายเรื่องสามกกตอนที่ลิโปยึดเมืองของเลา
ปไ ด ลิโ ปไ ม ไ ด ทํ า รา ยภรรยาและบุ ต รของเล าป แ ต อ ย า งใด กลั บ สง ทหารไป
คุม ครองครอบครั ว ของเล า ปอี กด ว ย สมเด็ จ พระเจา กรุ ง ธนบุ รีท รงให ความ
คุมครองแกบรรดาชาวเมืองตามหลักคุณธรรมดังกลาว นอกจากนี้ ยังสะทอนให
เห็นวา พระองคยังทรงตองการคงเมืองพุทไธมาศไว เพื่อใหเปนหนึ่งในเครือขาย
การคาของพระองคตอไป ดังปรากฏในคําสั่งที่วา
อนึ่งตรัสสั่งวา สัมฤทธิ์ราชการแลว ใหมีกฎหมายประกาศแกนาย
ทัพนายกองไทยจีนทั้งปวง ซึ่งจีนแลญวนไพรพลเมืองจะเดินไปมาคาขาย
ตามถนนหนทาง อยาใหจับกุมโบยตีฆาฟนเปนอันขาด ใหตั้งเกลี้ยกลอมทํา
มาหากินตามภูมิลําเนาแตกอน ถาผูใดมิฟง บังอาจละเมิดพระราชกําหนด
จะลงพระราชอาชญาผูนั้นถึงสิ้นชีวิต
ในคราวที่ ส มเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงตี เ มื อ งหั ว เมื อ งเหนื อ ใน ค.ศ.
๗๗
Sun – Tzu, the Art of War, 215
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๕๗

๑๗๗๐ พระองคก็ทรงปฏิบัติตอบรรดาชาวเมืองด วยวิธีการนี้เ ชนกันคือ หาม


บรรดาทหารขมเหงชาวบาน และฆาโคกระบือโดยเด็ดขาด๗๘ ทั้งนี้ แมสมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรีจะกวาดตอนผูคนจากเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาจํานวนกลับมายัง
กรุงธนบุรี เพื่อเพิ่มกําลังพลใหแกราชอาณาจักรดังที่กษัตริยพระองคอื่นๆ ทํากัน
มา แตวาพระองคมีพระเมตตาพระราชทานเงินและเสบียงอาหารใหเชลยเหลานี้
เพื่อไมอดอยากในยามเดินทางไกล ซึ่งไมเคยปรากฏในสงครามครั้งอื่นๆ เลย
พระเมตตานี้เองที่จะชวยหลอหลอมใหอาณาประชาราษฎรจงรักภักดีตอ
แมทัพ อันเปนปจจัยสําคัญในการมีชัยชนะที่แทจริง เพราะจีนมีแนวคิดที่วา ยึดทั้ง
ประเทศประเสริฐ ทําลายประเทศเปนรอง ยึดทั้งกองทัพประเสริฐ ทําลายกองทัพ
เปนรอง ยึดทั้งกรม ทั้งกองพลประเสริฐ ทําลายทั้งกรม ทั้งกองพลเปนรอง ยึดทั้ง
กองพันประเสริฐ ทําลายทั้งกองพันเปนรอง ยึดทั้งกองรอยประเสริฐ ทําลายทั้ง
กองรอยเปนรอง ยึดทั้งหนวยประเสริฐ ทําลายทั้งหนวยเปนรอง ฉะนั้นทําศึกรอย
ครั้ง ชนะรอ ยครั้ง นี่คือ วิธีอันประเสริฐและประเสริฐยิ่ง ไมทําศึกแตชนะครอง
กองทัพขาศึก นั่นคือสิ่งประเสริฐกวา๗๙
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีนอกจากจะทรงมีความเฉียบขาด เที่ยงธรรมและ
พระเมตตาแลว ยังมีพระสติปญญาที่ชาญฉลาด โดยเฉพาะอยางยิ่งความชาญ
ฉลาดในการเลือกใชคน สงครามใน ค.ศ. ๑๗๗๑ ดังที่กลาวมาแลวในขางตนวา
สยามยกไปตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาสองทางดวยกันคือ ทัพบก และทัพเรือ
ทั พ บกนั้ น มีพ ระยายมราชเป น แมทั พ และทหารที่ติ ด ตามมั กเป น กลุม ขุ น นาง
อยุธยาเดิมทั้งสิ้น คนกลุมนี้จะมีความชํานาญในการรบทางบก ดังจะเห็นไดวา
ตําราพิไชยสงครามสยามนั้นมีแตเรื่องการรบทางบกทั้งสิ้น สวนกองทัพเรือนั้น
ประกอบไปดวยขุนนางที่สังกัดกรมทาหรือกลุมขุนนางตางชาติ เชน พระยาพิพิธ
เจาพระยาจักรี (หมุด) พระยาโกษาหรือพระยาทิพโกษา ซึ่งจะเปนผูชํานาญใน
การรบทางทะเล

๗๘
“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม),” ใน พระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวันทัพ อภินิหารบรรพบุรุษและ
เอกสารอื่นๆ,
๗๙
Sun – Tzu, the Art of War, 177.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๕๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ในการรบทางทะเลนั้นราชสํานักสยามใชชาวตางชาติในการรบมาชานาน
เพราะแมชาวสยามจะมีวิถีชีวิตที่อิงอยูกับสายน้ํา แตก็ไมชํานาญในการเดินเรือ
ทางทะเลแมแตนอ ย หลักฐานที่กลาวถึง รบทางทะเลโดยตรงที่เกาแกที่สุ ดนั้น
ยอนหลังกลับไปในตนคริสตศตวรรษที่ ๑๖ นักเดินทางชาวโปรตุเกสนาม ดูอารเต
บารโบซา (Daurte Barbosa) มีบันทึกวา สยามทําสงครามกับมะละกามาอยาง
ยาวนาน ในตนคริสตศตวรรษที่ ๑๖ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ มีพระราชโองการ
ใหพระยานครศรีธรรมราชยกทัพไปตีเมืองมะละกา สุลตานมะละกาจึงซอนกล
แซงทําวา ขอเปนไมตรีดวยและนําสุราอาหารมาเลี้ยงกองทัพสยาม กอนที่จะเขา
โจมตี สรางความเสียหายใหแ กกองทั พ สยามเป นอยางยิ่ง ดัง นั้น สมเด็ จพระ
รามาธิบดีที่ ๒ จึงทรงแตงกองเรือขนาดใหญไวที่มะริดและนครศรีธรรมราช เพื่อ
กระหนาบตีมะละกา แตโปรตุเกสสามารถยึดเมืองมะละกาไดเสียกอน๘๐
หลังจากนั้นหลักฐานตะวันตกก็พูดถึงการรบทางทะเลของสยามอีกหลาย
ครั้ง เชน การโจมตีเมืองปตตานีใน ค.ศ. ๑๖๓๔ และลวนพูดตรงกันวา ทหารใน
เรือรบลวนแตเปนชาวตางชาติทั้งสิ้น ไมวาจะเปนพวกมัวร (บางครั้งเปนชาวพมา)
โปรตุเกส ดัตช ญี่ปุน จีน แขกจาม รวมทั้งพวกมลายูดวย ๘๑ ชาวตะวันตกเชน
ซีมอง เดอ ลา ลูแบร (Simon de la Loubère) วิจารณวา กองทัพเรือของชาว
สยามนั้นออนแอยิ่งกวาการสูรบทางบกเสียอีก เรือที่ใชสวนใหญก็คือเรือสินคาดีๆ
ติดอาวุธเทานั้นเอง๘๒
การแบงกองทัพเชนนี้นอกจากจะแสดงความชํานาญของขุนนางแตละเชื้อ
ชาติในกรุงสยามแลว ยังอาจเปนหลักฐานอีกฉบับหนึ่งที่สะทอนวา แทจริงแลว
การเมืองสยามในสมัยธนบุรีนั้นแบงออกเปนสองกลุมคือ กลุมขุนนางอยุธยาเดิม
๘๐
P.F. Le Josselin De Jong, and H.L.A. Van Wijk, “Malacca Sultanate (An account from
a hitherto untranslated Portuguese source).” JSEAH 1, 2 (September 1960): 20-29.
๘๑
Jeremias Van Vliet, “Description of the Kingdom of Siam 1638,” in Van Vliet’s
Siam, 123 – 124; François Caron and Joost Schouten, A True Description of the
Mighty Kingdoms of Japan and Siam, trans. Roger Manley, introduction and
Notes. John Villiers (Bangkok: The Siam Society, 1986), 133 – 134.
๘๒
มองซิเออร เดอ ลา ลูแบร, จดหมายเหตุ ลา ลูแบร ราชอาณาจักรสยาม, สันต ท.
โกมลบุตร แปล (นนทบุร:ี ศรีปญญา, ๒๕๔๘), ๒๕๐.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๕๙

และกลุมขุนนางตางชาติ (สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี) มาตั้งแตตนแลว กลุมขุนนาง


อยุธยานั้นไมไ ดยอมรั บสมเด็ จพระเจากรุง ธนบุรีดวยความสนิทใจ ทั้งนี้เพราะ
พระองคมีชาติกําเนิดและบรรดาศักดิ์ที่ต่ํากวา แตในขณะนั้นพวกเขาจําเปนตอง
ยอมรั บ พระองค เพราะกองทั พ สมเด็ จ พระเจ ากรุ ง ธนบุ รี มี ความพรอ มและ
ศักยภาพ เชน ทุนทรัพยมากกวา
ในขณะเดียวกัน จดหมายเหตุทัพรายวันรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุ รี
ทรงตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชานั้นก็สะทอนวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีก็ไมได
ทรงไววางใจกองทัพพระยายมราชอยางแทจริง ดังจะเห็นไดจากที่ทรงสงพระยา
โกษานอกราชการ ขุนนางฝายพระองคไปกํากับดูแลกรุงกัมพูชารวมกับพระยายม
ราชดวย สถานการณดังที่กลาวมาแลว จึงไมเปนที่แปลกใจเลยวา เพราะเหตุใด
จึงเกิดเหตุการณการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปลายรัชกาลขึ้น
๔.๒ การเดินทัพและทําสงคราม จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จ
พระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชานั้น ปรากฏเรื่องการเดินทัพ
และทําสงครามบางสวนเทานั้น ทั้งนี้เพราะสงครามที่กองทัพสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีปะทะดวยนั้น มีเพียงครั้งเดียวเทานั้น คือ ครั้งตีเมืองพุทไธมาศ สวนการ
เดิน ทั พของพระยายมราชนั้น อาลั กษณก็บั น ทึกไวเพียงยนยอ เทานั้น ทวาแม
เอกสารจะไมมีรายละเอียดมากนัก แตก็สะทอนวา สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรง
กรีฑาทัพมาตีเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาไวดวยความรอบคอบ ทรงใชสายลับ
หรือจารชนสอดแนมอยูในเมืองพุทไธมาศและกัมพูชาเปนเวลานานแลว ทําให
สามารถเดินทัพไดอยางรวดเร็วและเก็บเกี่ยวผลประโยชนไดอยางเต็มที่
การใชส ายลั บหรือ จารชนนั้น เป น สิ่ง สํ าคั ญประการหนึ่งของหลั กพิไ ชย
สงครามจีน ปรากฏหลักฐานวา ตั้งแตพระยาราชาเศรษฐีกับพระเจากรุงธนบุรีมี
ขอ ขัด แยงกั น ตางฝายตางก็ สง สายลั บ เขามาสืบเรื่อ งราวของฝายตรงขามอยู
ตลอด ดังจะเห็นไดจากที่เมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพเรือไปตีเมือง
นครศรีธรรมราช พระยาราชาเศรษฐีฉกฉวยโอกาสดวยการสงกองทัพมายึดเมือง
จันทบุรีไว เปนตน ทั้งนี้เพราะจีนมีแนวคิดวา ยกพยุหโยธาสิบหมื่น ออกทําศึก
ระยะไกลพันลี้ ภาระหนักตกอยูที่ราษฎร ใชจายของทองพระคลัง หากใชจายเงิน
ในทองพระคลังมากเกินไป บานเมืองก็จะเกิดโกลาหล ประชาชนจะอดอยากและ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๖๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

ไรงานทํา หากสูรบอยูหลายปเพื่อชิงชัยเพื่อชัยชนะเทานั้น
แม ทั พ ผู เ สี ย ดายตํ า แหน ง ทั้ ง เกี ย รติ ทั้ ง เงิ น ทอง แล ว ไม รู ส ถานภาพ
ความลับขาวสารของขาศึก ถือวาขาดคุณธรรม แมทัพเชนนี้ยอมมิใชวิสัยแมทัพ
ของราษฎร มิใ ชภ ารกิจ คุณธรรมของประมุ ข ของชาติ มิใ ชร าชาผูพิชิต ฉะนั้น
กษัตริยเจาผูครองนครผูทรงคุณธรรม แมทัพผูมีปญญาจะสําเร็จอยูเหนือผูคน
ตองลวงรูความลับและขาวสารของขาศึก ไมใชดวยการทรงเจาเขาฝเทวดา ไมใช
สันนิษฐานดวยเรื่องราว ไมใชพิสูจนดวยการคํานวณ จะรูสถานภาพ ความลับ
และขาวสารของขาศึกนั้นตองรูจากคนจากจารชน
พิไ ชยสงครามจีน ยั ง แบง จารชนไวเ ป น หาประเภท คือ จารชนพื้น เมือ ง
หมายถึงใชคนพื้นเมือง จารชนไสศึก หมายถึง ใชเสนาอํามาตยของขาศึก จารชน
ซอน คือ ใชจารชนของขาศึก จารชนฝาความตาย คือ คนที่สงไสศึกไปสรางขาว
ลง และจารชนรอดตาย หมายถึง จารชนที่กลับมาแจงขาว๘๓ ในขณะที่สมเด็จ
พระเจากรุงธนบุรีทรงใชจารชนสืบขาว พระองคเองก็ตองระมัดระวังคนที่ทําทีมา
สวามิภักดิ์ยามศึกสงครามวา เปนไสศึกหรือไม ดังเชน
ในทั น ใดนั้ น เจ า พระยาจั กรี พระยาทิ พ โกษาพาตั ว อ ายมาญวน ซึ่ งหนี
ออกมาสวามิภักดิ์ เขามาเปนขาใตละอองฯ มีคําอายมาญวน กราบทูลพระ
กรุณาวา จีนบุนเส็งหนีไปแลว ราชาเศรษฐีก็คิดอานจะหนีไป ครั้นจะเชื่อ
ถอยคําอายมาญวนนั้นยังมิได จึงทรงพระกรุณาใหจําไว จึงสั่งวาอายมา
ญวนจะเขาไปรับครัวนั้น ใหลงพระราชอาชญา แลวมัดมือไพลหลังเขาไป
ถาพาครัวมาได เห็นวามันสวามิภักดิ์จริง ตัวมัน ใหทําราชการ ถาสัมฤทธิ์
ราชการแลวถึงจะเปนใหญอยูในเมืองพุทไธมาศก็จะให
การใชจ ารชนนี้นาจะเปน ป จ จัยหนึ่ง ที่ทําใหกองทัพ สยามทั้งทั พ บกและ
ทัพเรือสามารถพิชิตคูสงครามไดอยางรวดเร็ว การเผด็จศึกอยางรวดเร็วเปนหลัก
สําคั ญอีกประการหนึ่งในการรบ ทั้งนี้เพราะหากล าชาออกไป กองทัพ จะตอ ง
สูญเสียคาใชจายเพิ่มขึ้น เหลาทหารก็จะขวัญเสีย อิดโรย ออนแอ และอาจทําให
เจาเมืองที่ยอมสวามิภักดิ์รายทางนั้นกอการกบฏขึ้นได นอกจากนี้ กองทัพบก
สยามยังมุง หนาสูเมือ ง ซึ่ง เปน แหลง อูขาวอูน้ําของศั ตรู ไมวาจะเป นเมือ งพระ
๘๓
Sun – Tzu, the Art of War, 231 – 233.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๖๑

ตะบองหรือโพธิสัตว ทั้งนี้เนื่องจากจะเพราะตองการเสบียงอาหารไปเลี้ยงดูกรุง
ธนบุรีแลว การเก็บเกี่ยวเสบียงอาหารจากศัตรูมาเลี้ยงกองทัพ ยังเปนวิธีการอัน
ชาญฉลาดที่แมทัพจีนพึงกระทํา ดังคําสอนที่วา
ในการทําศึก
ถาสงครามยึดเสบียงจากศัตรู
ยึดเสบียงกองทัพขาศึก มียิ่งมากยิ่งมีคุณตอเรา
บานเมืองยากจน เพราะกองทัพตองสงเสบียงและบรรทุกทางไกล
เมื่อความสมบูรณลดลง ประชาชนก็ทุกขเข็ญ
แมทัพผูมีปญญา หลอเลี้ยงเหลาทัพตนดวยเสบียงขาศึก
เสบียงของขาศึกหนึ่งเกวียน มีคุณเทายี่สิบเกวียน
พืชเลี้ยงสัตวของขาศึกหนึ่งหาบ มีคุณเทายี่สิบหาบ
ในสงครามครั้งนี้และคาดวา ในทุกสงครามที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีนํา
ทัพ คุณธรรมและการปกครองทัพแบบจีนคงจะเปนสิ่งที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ทรงยึดปฏิบัติเสมอ ซึ่งทําใหการสงครามของพระองคประสบผลสําเร็จอยูตลอด
อยางไรก็ ดี ลั กษณะการทํ าสงครามเชน นี้ก็ ท รงผลลบไปในตั ว คือ การที่ท รง
ปกครองทัพอยางเขมงวด เฉียบขาดและยุติธรรมแบบชาวจีนนี้ขัดแยงกับสภาพ
สังคมสยามโดยสิ้นเชิง ซึ่งแมจะมีกฎหมายลงโทษบุคคลตามศักดินา ยิ่งสูงศักดิ์
เทาใด บทลงโทษก็จะมากตามเทานั้น แตในสังคมที่รักษา “หนา” และกลัวการ
“เสียหนา” มากที่สุดยอ มเปนสิ่ งที่ยอมรั บไมใครจะได และโดยเฉพาะอยางยิ่ง
บทลงโทษจากคนที่เคยดอยจากตนทั้งทางเชื้อสาย เชื้อชาติและตําแหนงหนาที่
แลว สิ่งนั้นยอมเปนที่ยอมรับไดยากเชนกัน และสิ่งเหลานี้นาจะเปนตัวแปรหนึ่งที่
ทําใหเกิดความผันผวนทางการเมืองในปลายรัชกาล

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๖๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

สรุป
จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกรุ ง กั ม พู ชานั้น เป น หลั กฐานชั้น ตน ที่ส ะทอ นเหตุ การณท างการเมือ ง
เศรษฐกิจและภูมิปญญาของชนชั้นผูนํา แมวาเนื้อหาของเอกสารฉบับนี้มุงเนนไป
ที่พระราชภารกิจในการทําสงครามของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเทานั้น หลังจาก
การศึกษาเอกสารฉบับ นี้พบประเด็น ที่นาสนใจสี่ประเด็ นดวยกัน คือ การเมือ ง
สยามสมัยตนธนบุรีนั้น ไมใชการเมืองของกกใหญหากก แตเปนกกใหญเจ็ดกก
ซึ่งอีกสองกกนั้นอยูนอกสยามประเทศคือ กกเจาจุยที่เมืองพุทไธมาศ และกกเจา
ศรีสังขที่กรุงกัมพูชา
จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกรุงกัมพูชายังแสดงใหเห็นวา ตั้งแตสมัยธนบุรีเปนตนไป สยามขยาย
อํานาจไปทางตะวัน ออก ซึ่ง ใน ค.ศ. ๑๗๗๑ เปน ความพยายามครั้งแรกของ
สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี อั น เนื่ อ งจากป จ จั ย ทางการเมื อ งคื อ ต อ งการ
ปราบปรามเจาจุยและเจาศรีสังข ซึ่งประทับอยูที่ในรัฐเพื่อนบานทางตะวันออก
ทั้ง ดิน แดนสวนนี้ยังเป น ดินแดนที่มุง หนาไปยัง จีน ซึ่ง มีความสํ าคั ญตอการคา
สยามเปนอันมาก ทั้งนี้เพราะการคากับจีนในคริสตศตวรรษที่ ๑๘ เปนการคา
กระแสหลักของสยาม
จดหมายเหตุรายวันทัพรัชกาลสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตีเมืองพุทไธ
มาศและกรุงกัมพูชายังเปนเครื่องสะทอนอิทธิพลของธรรมเนียมจีนในสมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรี ทั้งนี้เพราะทรงเปนลูกครึ่งสยาม-จีน ทั้งยังเปนหลักฐานที่สะทอน
วา แมขุ นนางอยุ ธยาเดิม ที่จ ะยอมสวามิภักดิ์ตอ สมเด็ จพระเจากรุ งธนบุรี แต
ในทางปฏิบัติแลว พวกเขาก็ไมอาจจะยอมรับพระองคไดอยางสนิทใจ ทั้งนี้เพราะ
พระองค เ ป น คนเชื้อ สายจี น และเป น ขุ น นางระดั บ ล างในสมั ยอยุ ธ ยาเท า นั้ น
นอกจากนี้ การปฏิบัติของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเอง ซึ่งเขมงวดและปฏิบัติกับ
ทุกคนอยางเทาเทียม และไมไ วหนา ใคร จนมั กลงโทษนายทหารอยางรุ น แรง
ผลั กดั น ใหเ กิด ความไมพ อใจในหมูขุ น นางอยุ ธ ยาเดิม ที่รั ก “เกียรติ ” และรั ก
“หนาตา” จนอาจจะเปนปจจัยหนึ่งที่ทํามาสูการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน
ปลายรัชกาล

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๖๓
๓. สารวิพากษ
จะไดยกทัพไปกัมพูชาธิบดีครั้งนี้ เปนคน ๑๐๕๙๐
วั น พฤหั ส บดี เดื อ น ๑๑ ขึ้ น ๙ ค่ํ า ป เ ถาะตรี ศ ก (จ.ศ. ๑๑๓๓ พ.ศ.
๒๓๑๔)๘๔ กองพระยายมราชยกไปทางบกเปนคน.........
วัน ๔ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ํา๘๕ ปเถาะตรีศก เพลา ๕ ทุม มีจันทคราธ จึง
ทรงพระราชศรัทธาปรายเงินพระราชทานขาทูลละอองฯ ผูใหญผูนอย แลยาจก
๘๖
วณิพกทั้งปวง ถึงเพลา ๒ ยามจึงคาย
วั น ๑ เดือ น ๑๑ แรม ๑๑ ค่ํ า ๘๗ ปเ ถาะตรีศ ก ทั พ หลวงจะยกไปเมือ ง
กัมพูชาธิบดี๘๘โดยทางชลมารค ทรงพระที่นั่งเรือรบ เปนคน ๑๐๘๖๖ ในนี้
วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรม ๘ ค่ํา๘๙ ปเถาะตรีศก เสด็จออกพระตําหนัก
แพ เจ า พระยาและพระยาหลวงขุ น หมื่ น บรรจุ ค นพร อ มมาถวายลํ า ทุ ก คน
พระราชทานปน, เข็มขัด, เสื้อ, หมวกสีดอกคํา, ทนาย, ปนหนาเรือแลปนราย
แคมเสมอทุกคน
เรือรบเขียนเปนรูปตราตามตําแหนง๙๐ ตรงขางเรือเขียนเปนลายรดน้ํา เรือ
พระที่นั่งทรง เขียนหนาเรือเปนรูปครุฑ ขางเปนลายรดน้ํา พนักทายเขียนน้ําทอง
พะอวดทอง หลังคาสีสักหลาด ตะกุดแจว เสากะโดงทาสีเหลือง พลแจวใสหมวก
ใสเสื้อสีดอกคํา เรือรบเจาราชนิกุลเขียนลายรดน้ํา หลังคาหุมผาแดง พลแจวใส
เสื้อเขียวมีธง๙๑แลโคม

๘๔
ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๘๕
ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๘๖
หมายถึง ราหูคายพระจันทร
๘๗
ตรงกับวันจันทรที่ ๙ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๘๘
เมืองกัมพูชาธิบดีในระยะเวลานี้หมายถึงเมืองอุดง
๘๙
ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๙๐
ระเบียบกองทัพเรือสมัยกรุงธนบุรี
๙๑
ตนฉบับเปน ทง ทุกแหง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๖๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
กองพระยาพิชั ยไอศวรรย เรือ รบหลวง ๔๔ เรือ รบปากน้ํา ๒๙ เรือ รบ
๙๒
เชลยศักดิ์ ๑ (รวม) ๗๒ (ลํา) คน นาย ๑๔๐ ไพร ๑๕๔๖ (รวม) ๑๖๘๖ ปน
หนาเรือ ๕๓ ปนรายแคม ๑๑๒ (รวม) ๑๖๕ (บอก) ปนคาบศิลา ๔๒๖ ปนคาบ
ชุด ๙๓ (รวม) ๕๑๙ (รวมทั้งหมด) ๖๘๔ บอก
กองพระยาพิพิธ เรือรบหลวง ๑๒ เรือรบเชลยศักดิ์ ๔ สําเภา ๓๔ (รวม)
๕๐ (ลํา) คน นาย ๕๐ คน ไพร ๑๔๓๑ (รวม) ๑๔๘๑ (คน) ปนหนาเรือ ๑๖ ปน
รายแคม ๓๒ ปนคาบศิลา ๑๖ (รวม) ๖๔ บอก
กองพระยาศรีราชเดโช เรือ รบ ๗๒ ลํา คน นาย ๒๕ ไพร ๙๔๙ (รวม)
๙๗๔ (คน) ปนหนาเรือ ๒๗ ปนรายแคม ๕๔ (รวม) ๘๑ ปนคาบศิลา ๓๒๔ ปน
คาบชุด ๙๙ (รวม) ๔๖๒ (บอก)
กองพระทายน้ํา เรือรบ ๔๓ ลํา คน นาย ๘๔ ไพร ๑๐๑๗ (รวม) ๑๑๐๑
(คน) ปนหนาเรือ ๔๓ ปนรายแคม ๘๖ (รวม) ๑๒๙ (บอก) ปนคาบศิลา ๓๗ ปน
คาบชุด ๑๘๐ (รวมกับปนคาบศิลาเปนจํานวน) ๒๑๗ (รวมทั้งหมด) ๓๔๖ (บอก)
กองเจาพระยาจักรี เรือรบ ๘ เรือกลาบู ๔ เรือปากปลา ๑ (รวม) ๑๓ ลํา
คน นาย ๒๑ ไพร ๖๖๘ (รวม) ๖๘๙ (คน) ปนหนาเรือ ๘ ปนรายแคม ๑๖ ปน
คาบศิลา ๑๕๔ (รวม) ๑๗๘ บอก
กองพระยาโกษา นอกราชการ เรือรบ ๑๐ เรือสําเภา ๒๔ (รวม) ๓๔ (ลํา)
คน นาย ๗๒ ไพร ๑๖๓๓ (รวม) ๑๗๐๕ (คน) ปนหนาเรือ ๑๐ ปนรายแคม ๒๐
(รวม) ๓๐ (บอก) ปนคาบศิลา ๓๖๑ ปนคาบชุด ๑๔๒ (รวม) ๕๐๓ (บอก) (รวม
ทั้งหมด) ๕๓๓ (บอก)
กองพระยาทิพโกษา เรือรบหลวง ๗ ลํา เรือรบเชลยศักดิ์ ๖ ลํา (รวม) ๑๓
(ลํา) คน นาย ๒๒ ไพร ๔๓๑ (รวม) ๔๕๓ (คน) ปนหนาเรือ ๑๗ ปนรายแคม ๒๖
(รวม) ๓๗ (บอก) ปนคาบศิลา ๑๒๓ ปนคาบชุด ๑๗ (รวม) ๑๓๖ (รวมทั้งหมด)
๑๗๕ บอก

๙๒
เรือไมสังกัดหลวง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๖๕
กองหลวง เรือรบ ๘๔ คน นาย ๑๗๘ ไพรหลวง ๑๑๐๒ ไพรส ม ๘๖๒
(รวม) ๒๒๔๒ (คน) ปนหนาเรือ ๘๔ ปนรายแคม ๑๖๘ (รวม) ๒๕๒ (บอก) ปน
คาบศิลา ๗๒๕ ปนคาบชุด ๔๐ (รวม) ๗๖๔ (รวมทั้งหมด) ๑๐๑๖ บอก
นายทายนายใบ ๒๐ คน ไปสําเภา นาย ๓๐ ไพร ๒๙๙ (รวม) ๓๒๙ (คน)
สําเภา ๕๙ เรือหลวง เรือรบปากน้ํา เรือเชลยศักดิ์ ๑๓๑ (รวม) ๑๘๐ (ลํา) คน
นาย ๔๑๔ ไพร ๗๖๗๕ (รวม) ๘๐๘๙ (คน) ปน หนาเรือ ๑๗๐ ปน รายแคม
๓๔๖ (รวม) ๕๑๖ (บอก) ปนคาบศิลา ๒๘๑๙ ปนคาบชุด ๕๒๖ (รวม) ๓๓๔๕
(รวมทั้งสิ้น) ๓๘๖๑ (บอก)
สําเภา ๕๙ เรือรบ ๔๑๓ ลํา คน นาย ไพร ๑๐๕๙๐ คน ปนใหญ ปนนอย
๒๔๒๓ บอก
หักตาย นาย ๑๑ ไพร ๑๐๐ (รวม) ๑๑๑
กองพระญาณประสิทธิ์ (คือ) พระญาณประสิทธิ์ นายจันทร นายมา นาย
รักทะลวงฟน นายอาย นายสัง (รวม) ๖
หมวดขุนเอกประเสริฐ (คือ) ขุนเอกประเสริฐ ๑ นายเทียน ๑ นายโค ๑
นายเกิด ๑ นายอยู ๑ นายปาว ๑ นายเกริม ๑ นายอิน ๑ นายพร ๑ (รวม) ๙
หมวดขุนชัยณรงค นายเมือง นายจันทร........นายมี นายทองดี นายชู นาย
กัน นายดี นายจวน นายสัง (รวม) ๑๐
หมวดพระสารสุธรรม (คือ) พระสารสุธรรม นายเพชร นายชม นายเดื่อ
นายเรือง นายทองดํา นายนาม นายทองขาว นายทองอินทร หลวงชน (รวม) นาย
๒ ไพร ๘ (รวม) ๑๐
หมวดอาจารยจันทร (คือ) อาจารยจันทร นายบุญรด นายสน นายปาน
นายโพ นายเกด นายบุญรอด นายทองคํา นายปน นายอิ่ม นายสุก นายสัง นาย
สอน นายดา นายอาจ นายสุก นายจิน นายเดื่อ นายเสน นายวิชิต นายสุก นาย
โพ นายจันทร นายดวง (รวม) นาย ๒ ไพร ๒๓ (รวม) ๒๕ คน
หมวดนายโพ (คือ) นายโพ นายสา นายรอด นายกาน นายดวง นายสาแก
นายจันทร นายอินทร นายใจ นายอุน ขุนราม นายหมวด นายสน (รวม) นาย ๒
ไพร ๑๑ รวม ๑๓ คน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๖๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
กองหลวงเพชรสงคราม นายดวง นายดํา นายสา นายศรี นายแมน นาย
เกิด นายเขียว นายสน (รวม) นาย ๑ ไพร ๙ (รวม) ๑๐
กองหลวงเพชรสงคราม นายดวง นายดํา นายสา นายศรี นายแมน นาย
เกิด นายเขียว นายสน (รวม) นาย ๑ ไพร ๙ (รวม) ๑๐
กองพระสุธรรมาจารย (คือ) พระสุธรรมาจารย ๑ ขุนศรี ๑ นายชิน นาย
เพชร นายสม นายตอม นายศรี นายเกลียง นายศรี นายเลียง นายจัง นายจง
นายรอด นายสุด นายมาก นายเทศ นายเสม นายขุน นายจันทร นายมา นายสา
นายเรือง นายสุก นายทอง นายสดนอย นายนาค นายอินทร (รวม) ๒๘ คน
(ตนฉบับขาด...........................................)
แล๙๓ มาบัดนี้จะสงเจาองครามขึ้นไปราชาภิเษก ณ กรุงกัมพูชาธิบดี.........
ตัวเจาเสสังข๙๔ เจาจุยแลขาหลวงชาวกรุงฯ ซึ่งไปอยูเมืองใดจะเอาใหสิ้น ถาแล
พระยาราชาเศรษฐีเห็นวาจะตานทานสูรบได ใหแตงปอมตายคายคูไวจงสรรพ ถา
เห็นจะสูมิได ยังทรงพระกรุณาโปรดพระยาราชาเศรษฐีอยู ใหออกมาถวายบังคม
เราจะชวย เถิงวาแกแกลวจะมามิได ก็ใหแตงหุเอียบุตรออกมาโดยฉับพลัน ถาชา
จะทรงพระพิโรธใหฆาเสียใหสิ้น
ครั้นญวนมีชื่อถือหนังสือเขาไปเถิงแลว พระยาราชาเศรษฐีใหหนังสือตอบ
ออกมา เปนใจความวา ซึ่งใหหนังสือมาเถิงฯ ขาฯ ขอบใจนักหนา จะหามาปรึกษา
ใหพรอมกันกอน ถาปรึกษาประนอมพรอมกันแลว จึงจะบอกมาใหแจงตอเมื่อ
ภายหลัง
จึง มีหนั ง สือ ตอบเขาไปอี กครั้ง หนึ่ง เลาเป น ใจความวา ถาพระยาราชา
เศรษฐีจะปรึกษาก็ใหเรงปรึกษาแตในเพลาค่ําวันนี้ ถาชาอยูทัพหลวงมาเถิงจะเกิด
ยุทธนาการมากไป พระยาราชาเศรษฐีก็ยังมิไดบอกหนังสือออกใหแจงหามิได ใน
วันนั้นสั่งใหพระยาอภัยรณฤทธิ์ไปตั้งคายสกัดอยู ณ เชิงเขาฝายทิศตะวันออก

๙๓
อักษรสารของพระยาพิชัยไอศวรรย แมทัพหนาถึงพระยาราชาเศรษฐี เจาเมืองพุทไธ
มาศ
๙๔
หมายถึง เจาศรีสังข หรือพระองคเจาศรีสังข พระโอรสในเจาฟากรมขุ นอนุรักษมนตรี
กับหมอมจัน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๖๗
พระยาพิชัยไอศวรรย แลเรือรบอาสาหกเหลา กองหนานั้นใหรออยูทายกอะ๙๕
หนาเมืองฝายตะวันออก
๙๖
วันเสาร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๐ ค่ํา ปเถาะตรีศก (พ.ศ. ๒๓๑๔) เพลาเชา
โมงเศษ ทรงพระอุตสาหะเสด็จฯ ไปดวยพระบาท ยืนอยูฟากตะวันออกตรงปอม
หนาเมือง สั่งเจาพระยาจักรี พระยาทิพโกษา ตรัสชี้พระหัตถไปใหทําคายน้ํา ๒
ฟาก ไวหวางกลางกวางประมาณ ๑๐ เสน จะไดใหเรือรบซึ่งปนหนาเรือกินดินชั่ง
หนึง่ คอยรบจับเอาอายเหลารายซึ่งจะหนีออกไปนั้น ในทันใดนั้น เจาพระยาจักรี
พระยาทิพ โกษาพาตั วอายมาญวน ซึ่ง หนีอ อกมาสวามิภั กดิ์ เขามาเป น ขาใต
ละอองฯ มีคําอายมาญวน กราบทู ลพระกรุ ณาวา จีน บุน เส็ง หนีไ ปแลว ราชา
เศรษฐีก็คิดอานจะหนีไป ครั้นจะเชื่อถอยคําอายมาญวนนั้ นยังมิได จึงทรงพระ
กรุณาใหจําไว จึงสั่งวาอายมาญวนจะเขาไปรับครัวนั้น ใหลงพระราชอาชญา แลว
มั ด มือ ไพลห ลั ง เขาไป ถา พาครั วมาได เห็ น ว ามั น สวามิ ภั กดิ์จ ริง ตั วมั น ใหทํ า
ราชการ ถาสัมฤทธิ์ราชการแลวถึงจะเปนใหญอยูในเมืองพุทไธมาศก็จะให
อนึ่ง มีรับสั่งใหหมื่นฤทธิ์อาคเนไปดูคลื่นลมแลเรือรบญวนซึ่งอยูหนาเมือง
นั้น จะระส่ําระสายอยูเปนประการใด แลหมื่นฤทธิ์อาคเนมิไดไปโดยพระราชดําริ
ไปเผาเรื อ นใกลค ายอา ยเหล าร าย แลวยิ ง ป น หนา เรื อ เขา ไปให ผิด ดว ยรั บ สั่ ง
สมเด็จพระพุทธเจาอยูหัวทรงวิโรธจึงตรัสปริภาษนาดาหมื่นฤทธิ์อาคเนวา อาย
ขานอกเจา ถาอายเหลารายมันตั้งคายสูงจะใหหักคายเขาไป ถาเขาไปมิได จะบั่น
ศีรษะเสีย
อนึ่ง เพลาบาย ๓ โมงเศษ เสด็จอยู ณ พระตําหนักตึก ใหหาทหารแลกรม
อาจารยขึ้นมาเฝา จึงตรัสถามวา ใครอาจสามารถจะหักคายเขาไปไดในเพลาคืน
วั น นี้ ถ าเห็ น จะได ก็ใ ห วา ได ถ ามิ ไ ด ก็ วา มิ ไ ด ถา เห็ น จะได เขา ไปหั กค า ยมิ ไ ด
กลับ คืนออก จะตั ดศีร ษะเสีย ถาเขาไปไดสัมฤทธิร าชการจะปูน บําเหน็จ ใหถึง
ขนาด เมื่อตรัสประภาษนั้นตอหนาขาหลวงผูใหญผูนอยเฝาอยูพรอมกัน ทหารกง

๙๕
ตนฉบับเขียน เกาะ เปน กอะ จึงคงไวใหดูเปนตัวอยาง
๙๖
ตรงกับวันเสารที่ ๒๑ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๖๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
๙๗
ใน นาย ๑๑ ไพร ๑๐๐ เปน ๑๑๑ คน รับอาสาหักคาย พระญาณประสิทธิ์ ๑
ไพร ๕ เปน ๖ คน ขุนเอกประเสริฐ ๑ ไพร ๘ เปน ๙ คน หมวดขุนณรงค ไพร
๑๐ คน พระสารสุธรรมแลหลวงชน ทั้งนายไพร ๒๐ คน อาจารยจันทรแลขุนวิชิต
ทั้งนายไพร ๒๕ คน นายโพแลขุนรามทั้งนายไพร ๑๓ คน หลวงเพชรสงคราม ๑
ไพร ๙ คน พระสุธรรมา ๑ ไพร ๒๗ คน แลผูมีชื่อ ๑๑๑ คน รับอาสาเขาปลน
คายใหไดในเพลากลางคืน ถาแลหักเขามิไดยอมถวายชีวิต จึงทรงพระกรุณาให
เกณฑกองทัพฝายทหารฝายพลเรือน ทัพบก ทัพเรือ ใหได ๒๔๐๐ พระราชทาน
สุรา แลวสั่งใหยกเขาไปสมทบ๙๘ กองอาทมาท๙๙ ใหเขาปลนคายในเพลา ๒ ยาม
อนึ่ง ใหหาพระมหาเทพเขามาเฝา จึงตรัสถามวา จะใหถือดาบ ๒ มือ วาย
น้ําเขาหนาคาย ฟนเขาไปจะไดหรือมิได จึงรับสั่งวาสติปญญานอย ถาทรงพระ
กรุณาเห็นวาจะเขาไปไดอยูแลว ถวายบังคมลาเขาไปตามรับสั่ง ถาแลเขาไปแลว
มิไ ดกลั บ ออกมา ก็ หาชีวิตมิไ ด ถาเขาไปแลวมีชั ยชนะ ก็ จ ะไดกลั บ ออกมาทํ า
ราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป จึงตรัสประภาษสรรเสริญวาน้ําใจองอาจ
มั่นคงนัก จึงทรงพระกรุณาพระราชทานพระแสงตนองคหนึ่ง แลวสั่งใหอยูรักษา
พระองค
อนึ่ง เพลา ๒ ยามเศษ พวกอาทมาท ๑๑๑ คน แลขาทู ลละอองฯ ฝาย
ทหารพลเรือน ๒๔๐๐ เขาหักคาย ตามทรงพระกรุณาพระราชทานฤกษให ครั้น
หักคายเขาไปไดแลว จุดไฟเผาบานเรือนเปนอันมาก แตรบกันอยูในเมืองนั้นชา
นาน ทหารซึ่งอยูรักษาคายประชิดนั้น จะเขาชวยก็มิได ดวยคนรักษาที่นั้นยังยิงรบ
กัน....โยธาทหารก็ยิ่งโรยลง เดชะดวยอานุภาพพระบารมี ใหดลจิตโยธาทหารทั้ง
ปวง ทัพบกก็สําคัญวาเสด็จฯ มาบก ทัพเรือก็สําคัญวาเสด็จฯ มาทางชลมารค
โยธาทหารทั้งปวงก็มีน้ําใจองอาจแกลวหาญ ทัพเรือทัพบกนั้นก็ตีกระโจมหักคาย
เขาไป

๙๗
หนวยทหารฝายใน เปนพวกแมนธนู
๙๘
ตนฉบับเขียนเปนจมทบ
๙๙
ตรงนี้หมายเอากองอาจารยนั่นเอง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๖๙
พอรุงขึ้นวันอาทิตย เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๑ ค่ํา๑๐๐ ปเถาะตรีศก เพลาเชายัง
มิไ ดบ าท หั กคายเขาไป ไพรพ ลเมือ งแตกกระจั ด กระจายหนีไ ป พระยาราชา
เศรษฐีหนีลงเรือไปได จึงทรงพระกรุณาหาเจาพระยาจักรีแมทัพเรือมาถามวา
ญวนลงเรือหนีไปไดมิยิงปนดวยอันใด จึงกราบทูลวา เรือรบจมื่นไวยขวางหนาอยู
จึงมีรับสั่งโปรดเกลาฯ สืบถามจมื่นไวย รับสมคําเจาพระยาจักรี จึงใหลงพระราช
อาชญาคนละ ๓๐ จึงกราบทูลพระกรุณาขออาสาตีกรุงกัมพูชาธิบดีทูลเกลาฯ
ถวายทําราชการแกตัว
วันจันทร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๒ ค่ํา๑๐๑ ครั้นถึงเพลาเชาโมงเศษ จึงเสด็จพระ
ดําเนินเขามาอยูวังราชาเศรษฐี
วั น จั น ทร เดือ น ๑๒ ขึ้น ๑๒ ค่ํ า ปเ ถาะตรีศ ก เสด็ จ ออกขุ น นางขาทู ล
ละอองฯ ฝายทหารพลเรือ นเขาเฝา พรอ มกั น จึง ตรั ส ถามพระญาณประสิท ธิ์
พระสุธรรมาจารย อาจารยจันทร วาเมื่อคุมทหารเขาหักคายนั้น เขาขางดานไหน
อาจารยทั้งสามนั้นใหการมิตองกัน จึงเสด็จพระราชดําเนินไปทอดพระเนตรดู ก็
เห็นวาผิดดวยพระดําริซึ่งทรงพระกรุณาโปรดนั้น นี่หากวาขาศึกหนีไป ถาตอสูจะ
เสียราชการ จึงใหลงพระราชอาชญานาย ๓ คน คนละ ๕๐ ที ไพร ๒๐ คนๆ ละ
๒๐ ที ซึ่งมีความชอบหักคายเขาไดนั้น ใหพระราชทานเงินคนละ ๖ ชั่ง พระหลวง
๖ คน คนละ ๑๐ ชั่ง เปนเงิน ๖๐ ชั่ง ไพร ๙๕ คนๆ ละ ๓ ชั่ง เปนเงิน ๒๘๕ ชั่ง
๑๐๒
หมื่นขุน ๑๑ คนๆ ละ ๕ ชั่ง เปนเงิน ๕๕ ชั่ง ทนายเลือก ๕ คน คนละ ๑ ชั่ง
เปนเงิน ๕ ชั่ง เขากันเปนเงิน ๓๒๕ ชั่ง
อนึ่งจมื่นศรีเสาวรักษ หลวงมหามนตรีไดบุตรีพระยาราชาเศรษฐี ๒ คน
นํามาทูลเกลาฯ ถวาย

๑๐๐
วันอาทิตยที่ ๒๒ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๐๑
วันจันทรที่ ๒๓ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๐๒
ทนายเลือกนั้นมาจากคําวา ทวย คือ ผูคน เลือก หมายถึง คัดเลือก ทนายเลือกในที่นี้
หมายถึง ทหารที่มีความชํานาญรบเฉพาะดาน ดังในพระอัยการ ตําแหนงนาหัวเมืองระบุ
ตําแหนงหนึ่งวา ขุนโยธาภักดีเจากรมทนายเลือกหอก นา ๖๐๐ เปนตน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๗๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
วันจันทร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๒ ค่ํา ปเถาะตรีศก หลวงอิณเทพเอาพระธาตุ ๔
พระองค ใสกลองถมราชาวดีชั้นหนึ่ง กลองทองชั้นสอง กลองเงินชั้นสาม ทรง
พระกรุณาสงใหพระอาลักษณแลว พระราชทานเงินใหแกผูไดเปนอันมาก
อนึ่งมีรับสั่งโปรดเกลาฯ สั่งวา บรรดาขาทูลละอองฯ ฝายทหารพลเรือน
๑๐๓
บรรดาซึ่งไดญวนผูหญิง ไว ใหเอามาทูลเกลาฯ ถวายใหสิ้น ถาเปนลูกหลาน
วงศวานพระยาราชาเศรษฐี จะเอาไวเปนหลวง นอกนั้นจะพระราชทานใหแกผูได
อนึ่งเจาจุยบุตรเจาฟาอภัย มาอยูดวยราชาเศรษฐี ลงเรือหนีไป ไดตัวมา
ใหลงพระราชอาชญาเฆี่ยนยกหนึ่งแลวใหจําไว อนึ่งเพลาเชา ๕ โมงเศษ เกิดเพลิง
ไหมหนาวัง ไหมตึกกวานเรือนรานริมพระราชวังเป นอันมาก เสด็จฯไปใหโยธา
ทหารดับเสียได สั่งใหเอาตัวนายหมูนายกองจีนมาลงพระราชอาชญาเฆี่ยน แลว
จําตรวนชั้นหนึ่งผัดไว ใหสืบเอาตนไฟใหไดจึงพนโทษ พิจารณาไปไดจีนตนไฟ ๓
คน ถามเปนสัจแลวตัดศีรษะเสีย แลวทรงพระกรุณาใหนายทัพนายกองจีนพน
จากโทษ
อนึ่งเมื่อเพลาเพลิงสงบลง๑๐๔ ไทยบาวพระยาพิพิธคนหนึ่ง นําบุตรีพระยา
ราชาเศรษฐีผูหนึ่งมาทูลเกลาฯ ถวาย สั่งถามวา เปนไฉนจึงเอาไวเปนเมีย จึงให
การวาจีนมีชื่อมิไดรูจักหนาพาหนีไฟมา ชิงไวไดจึง ตรัสถามวา จะนําจีนซึ่งพามา
จะไดหรือมิได ใหการมิได จึงใหลงพระราชอาชญาโบย ๑๐๐ แลวใหผูกคอพระยา
พิพิธผูนาย ใหนําตัวจีนซึ่งพามานั้นก็มิได จึงสั่งใหลงพระราชอาชญาจําไว บรรดา
นายทัพนายกองจีนทั้งปวงก็มิไดเนื้อความหามิได
๑๐๕
ครั้งรุงขึ้นวันอังคาร เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๓ ค่ํา ใหลงพระราชอาชญาเฆี่ยน
ถามยกหนึ่งก็ยังมิไดเนื้อความ จึงสั่งใหพระยาจันทบูรเปนตระลาการถามใหได
เนื้อ ความ ถามิไ ดจะตัดศีรษะเสีย พระยาจัน ทบูร ไปสืบไดจีน ซึ่งพาไปไวนั้นมา
ทูลเกลาฯ ถวายเปนสัจแลวใหตัดศีรษะเสีย แลไทยบาวพระยาพิพิธนั้นทรงพระ
กรุณาใหออกจากโทษ จึงตรัสประภาษวา ถาจะมิเอาโทษ บัดนี้จะเปนเยี่ยงอยาง
๑๐๓
คือ บุตรีและภรรยาของพระยาราชาเศรษฐี
๑๐๔
ตนฉบับเขียนเปน สนบ
๑๐๕
วันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๗๑
ไป จะทํ าสงครามสืบ ไปเบื้อ งหนาไดบานเมือ งแลว ลู กเจานายก็ จ ะเอาไวเ ป น
อาณาประโยชนแกตัวเอง
อนึ่งตรัสสั่งวา สัมฤทธิ์ราชการแลว ใหมีกฎหมายประกาศแกนายทัพนายก
องไทยจีนทั้งปวง ซึ่งจีนแลญวนไพรพลเมืองจะเดินไปมาคาขายตามถนนหนทาง
อยาใหจับกุมโบยตีฆาฟนเปนอันขาด ใหตั้งเกลี้ยกลอมทํามาหากินตามภูมิลําเนา
แตกอน ถาผูใดมิฟง บังอาจละเมิดพระราชกําหนด จะลงพระราชอาชญาผูนั้นถึง
สิ้นชีวิต
๑๐๖
วันพุธ เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๔ ค่ํา ปเถาะตรีศก ปราบอริราชศัตรูสัมฤทธิ์
ราชการแลว ทรงพระกรุณาจัดแจงบานเมืองดังเกา จึงพระราชทานชื่อพระยา
พิพิธผูวาราชการที่โกษา เปนพระยาราชาเศรษฐีรั้งเมืองปากน้ําพุทไธมาศ เสร็จ
แลว เพลาย่ําฆองค่ํา ๕ บาท เปนมหาพิชัยฤกษ เสด็จยกพลพยุหบาดทัพหลวง
นายไพร ๕๐๐๐ เศษ เรือรบ ๖๐ สรรพดวยปนหนาเรือ ปนรายแคม ปนคาบศิลา
๒๐๐๐ แลเครื่องศัสตราวุธทั้งปวง ยกจากพุทไธมาศโดยทางชลมารคไปตรี กรุง
กัมพูชาธิบดี
๑๐๗
ครั้งถึงวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ ขึ้น ๑๕ ค่ํา ประทับแรมพลอยูขางปลิง
กุเวนหนึ่ง
๑๐๘
ครั้งรุง ณ วันศุกร เดือน ๑๒ แรม ๑ ค่ํา เสด็จฯ ไปถึงบานนักอําริมน้ํา
เพลาบาย ๓ โมงเศษ ประทับเรือพระที่นั่งหนาบานเขมร ผูใหญนายบานลงมาเฝา
จึงตรัสถามถึงเลาเหีย๑๐๙ วายกหนีมาทางนี้หรือประการใด กราบทูลพระกรุณา
วา เลาเหียยกไปจากนี้ได ๔ วัน เห็นวาทัพหนาจะตามทัน เพลาวานนี้ไดยินเสียง
ปนมาถึงนี่ จึงทรงพระกรุณาพระราชทานธงพระราชโองการให...แลว เสด็จฯ ไป
ประทับแรม ณ บานแหลม เวนหนึ่ง

๑๐๖
วันพุธที่ ๒๕ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๐๗
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๐๘
วันศุกรที่ ๒๗ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๐๙
หมายถึงพระยาราชาเศรษฐี
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๗๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
๑๑๐
ครั้งรุงขึ้น ณ วันเสาร เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ํา เสด็จฯ ไป จีนทําทางไป
ผิด ทรงพระวิโรธ ใหลางจีนผูนําทางนั้นเสีย เสด็จประทับแรมอยูกลางทุงเวนหนึ่ง
๑๑๑
ครั้งรุงขึ้น ณ วันอาทิตย เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ํา เพลาเชา ๓ โมงเศษ
หยุดประทับปากน้ําโพรงกระสัง จัดแจงโยธาทหาร พระราชทานอุบายแลวใหเรง
ยกไป
อนึ่งสั่งใหหมื่นศรีภูธรตํารวจในคุมเขมรเชลยคนหนึ่ง ใหนําทางแยกขึ้นไป
ทางหนึ่ง ไปเรงกองทัพเจาพระยาจักรี ครั้นถึงเพลาเย็นเขมรโดดน้ําหนี หมื่นศรี
ภูธรแทงเขมรนั้นตาย ครั้นจะไปขัดสนดวยหนทางจึงกลับคืนทัพหลวง
อนึ่งทรงพระกรุณาใหจีน...๒ คน ถือหนังสือโกษาธิบดีไปถึงผูรั้งกรมการ
เมืองปาสักเปนใจความวา เมืองพุทไธมาศตีไดแลว กองทัพซึ่งยกทหาร.........บอก
หนังสือมาวาจะไดเมืองกัมพูชาอยูแลว จึงเสด็จฯ มาทางทองจินจง หากนายทัพ
นายกอง........มิใหไปตีปาสักหามิได ดวยเมืองปาสักเคย ถวายเครื่องบรรณาการ
ทูลเกลาฯถวาย...ทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯจะเลี้ยงสืบไป อนึ่งเจาเมืองพุทไธ
มาศหนีม าทางนี้ ใหจั บตั วถวายดวย จะมีความชอบ แลจีน ๒ คน ไปในเพลา
กลางคืน พบเรือญวนใหญนอยประมาณ ๒๐ ลํา ญวนสกัดไวจะไปนั้นมิได จึง
กลับคืนมาหาทัพหลวง
ดวยนายจาเนตรรับสั่งใสเกลาฯ หมอมสั่งวามีพระราชกําหนดกฎหมายวา
ไวแตกอนนั้น...
๑๑๒
วันจันทร เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ํา เพลาเชา เสด็จฯ ไปพบบานจีนริมน้ํา
หยุดประทับ จีนเขามาเฝา กราบทูลพระกรุณาวา เจาเมืองกัมพูชาหนีไปแลว จึง
ทรงพระกรุณาพระราชทานธงสําคัญใหแลวเสด็จฯไป
๑๑๓
วันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๖ ค่ํา เพลา ๕ โมงเศษ หยุดประทับอยู ณ กอะ
พนมเพ็ง๑๑๔ เจาพระยาจักรีมาเฝากราบทูลพระกรุณาวา เจาเขมรหนีไปหลายวัน
๑๑๐
วันเสารที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๑๑
วันอาทิตยที่ ๒๙ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๑๒
วันจันทรที่ ๓๐ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๑๓
วันพุธที่ ๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๗๓
ไปอยูบานบอพนมจึงดํารัสสั่งเจาพระยาจักรี พระศรีราชเดโช พระทายน้ํา ใหยก
ไปตาม อยูประทับแรมเวนหนึ่ง
๑๑๕
ครั้งรุงขึ้นวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๗ ค่ํา เพลาบาย ๓ โมงเศษ ยก
ทัพหลวงตามไปเพลาประมาณยามเศษ หนังสือเจาพระยาจักรีบอกมากราบทูล
พระกรุณา ใจความวา ญวนลูกหนายรับเอาเจาเขมรไปจากกอะพนมแลว จึงหยุด
ประทับแรมอยูหนาบานตําหนักเวนหนึ่ง
๑๑๖
ครั้ น รุ ง ขึ้ น วั น ศุ ก ร เดื อ น ๑๒ แรม ๘ ค่ํ า เพลาเช า โมงเศษ เสด็ จ
๑๑๗
กลับคืนมา ถึงปากคลองมักกะสา พบเรือครอบครัว จึงหยุดประทับ ณ ฟาก
ตนงิ้ว จมื่นสรรเพชญภักดีมากราบทูลพระกรุณาวาพระยาพระเขมรพาครัวแล
ราษฎรชาวเมืองกัมพูชา หนีอยูในคลองนั้นเปนอันมาก จึงตรัสสั่งใหทหารกอง
หนาเขามาตีครัว ไดเรือแลครัวเปนอันมาก ประทับแรม
๑๑๘
รุงขึ้นวันเสาร เดือน ๑๒ แรม ๙ ค่ํา เพลาเชา ตรัสสั่งใหพระอาลักษณ
หลวงราชัย หลวงสุรินทรคุมเรือเครื่องบรรณาการและหญิงเขมรคนหนึ่งซึ่งเขมร
มีชื่อทูลเกลาถวายฯ ขึ้นไปอยู ณ กอะพนมเพ็ง จึงสั่งพระอาลักษณ หลวงราชัย
หลวงสุรินทร ใหแตงคนลงไปเอาขาว...เมืองปาสัก เมืองพุทไธมาศ ประทับแรม
อยู ณ ปากคลองบานมักกะสา ๔ เวน ใหทหารเขาตีครัวสัมฤทธิ์แลว
๑๑๙
รุงขึ้น ณ วันพุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๓ ค่ํา เพลาโมงเศษ เสด็จฯ จากบาน
มักกะสามาประทับกอะพนม ทรงพระกรุณาพระราชทานเรือและขาวปลาอาหาร
ใหแกพระสงฆไทย ซึ่งสมัครจะเขาไปเมืองธนบุรี แลวเสด็จฯ มาประทับอยู ณ
ปากน้ําถวายพะแพฟากตะวันตก หนังสือเจาพระยาจักรี บอกมากราบทูลพระ

๑๑๔
หมายถึง กรุงพนมเปญในปจจุบัน
๑๑๕
วันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๑๖
วันศุกรที่ ๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๑๗
สันนิษฐานวา เปนที่ตั้งชุมชนชาวมากัสซาร ซึ่งอพยพออกจากถิ่นที่อยูของตนไปอาศัย
อยูตามรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใตในปลายคริสตศตวรรษที่ ๑๗
๑๑๘
วันเสารที่ ๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๑๙
วันพุธที่ ๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๗๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
กรุณาเปนใจความวา เขมรประมาณ ๑๐๐๐ เศษ ตั้งคาย ๒ ฟากคลอง คลองนั้น
ผูกแพสกัดไว ไดเขารบติดพันกันอยู
๑๒๐
รุงขึ้นวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๑๔ ค่ํา เพลาเชาเสด็จฯ ออกโยธา
ทหารทั้งปวง ทรงพระกรุณาดํารัสเหนือเกลาฯ สั่งวา บรรดาจีนไทยทั้งปวงซึ่งได
เขมรเชลยไว ใหเอาขึ้นทูลเกลาฯ ถวาย จะพระราชทานใหเจาองครามราชา ซึ่งอยู
กินเมืองกัมพูชาธิบดี และกองทัพพระยายมราช พระยาโกษา ใหอยูชวยราชการ
พระองครามราชากวาจะสนบสนัดกอน อนึ่งเจาพระยาจักรีซึ่งไปตีครัว ณ ปา
พนมนั้น สัมฤทธิ์ราชการแลว กลับคืนมายังทัพหลวงซึ่งตั้งอยู ณ ปากน้ําถวายพะ
แพ เพลาเชา ๒ โมงเศษ เสด็จฯ ยกพลพยุหทัพจากปากน้ําถวายพะแพกลับคืนยัง
เมืองพุทไธมาศ เสด็จฯ มาประทับแรมอยู ณ กอะปากน้ําทางจะไปกัมพูชา คอย
โยธาทหารมาพรอมแลวจึงทรงวิจารณจัดแจงแลว
๑๒๑
รุงขึ้นวันศุกร เดือน ๑๒ แรม ๑๕ ค่ํา เพลาเชา ยกจากอะลองลงไป
ประทับอยูฟากตะวันตก ณ ปากสองแควจะไปกัมพูชาจะไปปาสัก อนึ่ง .......นาย
ทัพนายกองซึ่งทรงพระกรุณาใหไปตั้งอยูปากน้ํา แลวจึงใหไปเกลี้ยกลอมเมืองปา
สัก มิไดตั้งอยูตามรับสั่ง ลวงเขาไปพบเรือญวนประมาณ ๕๐ เศษ รบกัน ลาดทัพ
ถอยมาใหเสียพระสิริสวัสดิ์๑๒๒ เสียคน เสียเรือ ๑๑ ลํา แลวเสด็จฯมาตั้งคายอยู
ณ ปากน้ําโพรงกระสัง บรรดาเรือเชลยซึ่งตีไดมานั้น ใหลวงไปเมืองพุทไธมาศ
กอน อนึ่งสั่งใหกองทหารลงไปตั้งอยู ณ ปากน้ําปาสัก ครั้นแลวใหกลับขึ้นมาคิด
ราชการ
๑๒๓
ครั้นรุงขึ้นวันเสาร เดือนอาย ขึ้นค่ําหนึ่ง ยกจากคายปากโพรงกระสัง
มาประทับทองจินจง ใหเจาพระยาจักรีตั้งมั่นอยูบานจินจง และนายทัพนายกอง
ซึ่งลาดทัพมาแตปาสักนั้น ใหสมทบอยูในกองเจาพระยาจักรี

๑๒๐
วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๒๑
วันศุกรที่ ๑๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๒๒
หมายถึงเสียหนา
๑๒๓
วันเสารที่ ๑๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๗๕
๑๒๔
รุงขึ้น ณ วันอาทิตย เดือนอาย ขึ้น ๒ ค่ํา ยกจากจินจงมา เพลาค่ําน้ํา
ในคลองนั้นตื้น เรือครัวจะไปนั้นมิได จึงทรงอุตสาหะเสด็จฯ...ชวยบรรดาเรือใหญ
ซึ่งกินน้ําลึกไปมิได ทรงพระกรุณาใหฝพายทนายเลือกชวยเข็น แลวสั่งใหทดน้ําทั้ง
กลางวันกลางคืน เรือทั้งปวงจึงไปไดพรอมกัน จีนทั้งปวงสรรเสริญวา เทศกาล
เดื อ นอ า ยน้ํ า แห ง คลองขาดที เ ดี ย ว จะเดิ น ได เ หมื อ นฉะนี้ ห ามิ ไ ด นี่ ห ากว า
บุญญานุภาพพระบารมีสมเด็จพระเจาอยูหัวมากนักหนา เรือรบเรือเชลยใหญ
นอยทั้งปวงไปมาไดเทศกาลนี้
๑๒๕
วันจันทร เดือนอาย ขึ้น ๓ ค่ํา เพลาบาย ๓ โมง เถิงเมืองพุทไธมาศ
สั่งให พระยาพิชัยไอศวรรย แตงคนไปเอาขาวราชการ ณ กรุงเทพมหานคร
๑๒๖
รุงขึ้นวันอังคาร เดือนอาย แรม ๔ ค่ํา เพลาบาย ๔ โมงเศษ พระยาทิพ
โกษานํ า เอาจี น บุ น เส็ ง หลวงสงขลา ซึ่ ง หนีไ ปนั้ น มาทู ล เกลา ฯถวาย จึง ตรั ส
ประภาษวา จีน บุ น เส็ ง คิด อานทํ าการสงครามทั้ง ปวงดวยตั วยั ง มิไ ดเ ป น ขาใต
ละอองฯ โทษถึงตายใหงดไวกอน แลซึ่งหลวงสงขลานั้น ไดกินน้ําพิพัฒนสั จจา
เปนขาใตละอองฯ แลวแลมาคิดการอีกเลา โทษถึงตายอยูแลว จึงตรัสถามวา ตัว
จะพอใจอยู ห รื อ ๆจะพอใจตาย จึ ง กราบทู ล จะอยู ทํ า ราชการสนองพระเดช
พระคุณสืบไป จึงตรัสวาราชการสงครามเมืองญวนอนํากก เมืองญวนลูกหนาย
ยังมีสืบไป ถาตัวจะใครอยูจงคิดอาสาอุบายทําราชการแกตัวสืบไป หลวงสงขลา
กราบทูลพระกรุณารับจะถือหนังสือไปเมืองญวนก็ทรงพระกรุณาใหตัวไป ใหบุตร
ภรรยามาคุมไวแลหลวงสงขลา จีนบุนเส็งใหตํารวจในจําไว
อนึ่ง ทนายเลือ ก ๒ คนเสพสุ ร าแล วไปวิว าทกั บ จี น เอาดาบฟ น เอาจี น
เจ็บปวย จึงตรัสถามไดเนื้อความเปนสัจถองแทแลว ใหลงพระราชอาชญาเฆี่ยน
๒ หวาย ใหตัดศีรษะเสีย

๑๒๔
วันอาทิตยที่ ๑๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๒๕
วันจันทรที่ ๑๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๒๖
วันอังคารที่ ๑๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๗๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
๑๒๗
ครั้งรุงขึ้นวันพุธ เดือนอาย ขึ้น ๕ ค่ํา เพลาเชา เสด็จออกโยธาทหาร
สั่งใหลงพระราชอาชญาหลวงรักษาสมบัติ หลวงราชมนตรีคนละ ๓๐ ที ดวยแตง
คนลงมาเอาขาวราชการ ณ เมืองพุทไธมาศ มิไดเอาขาวราชการกราบทูลพระ
กรุณาหามิได แลบาว ๒ คนนั้นใหตัดศีรษะเสีย
อนึ่งจมื่นไวยวรนาถ ซึ่งเจาพระยาจักรีกราบทูลพระกรุณาวา ยอหยอนแก
การทําสงครามใหลงพระราชอาชญาจําลงมาแตปากน้ําโพรงกระสังนั้น ปรึกษา
โทษถึงตายจะไวมิได จะเปนเยี่ยงอยางสืบไป จึงสั่งใหติดศีรษะเสีย จึงทรงพระ
กรุณาพระราชทานชื่อนายเดช มหาดเล็กเปนจมื่นไวยวรนาถ แลผูมีชื่อโทษถึง
ตาย ๕ คน เพลงบ า ย ๓ โมงเศษ ข า ทู ล ละอองฯ ผู ใ หญ ผู น อ ย ๒๒ คน ทํ า
เรื่ อ งราวกราบทู ล พระกรุ ณ า ในใจความวา ผู มีชื่ อ กระทํ าผิ ด ในราชการเป น
มหันตโทษใหลงพระราชอาชญาถึงสิ้นชีวิต ควรดวยเกลาฯ อยูแลวฯ ขาฯ ทั้งปวง
ขอพระราชทานชีวิต ไวทําราชการแกตัวฉลองพระเดชพระคุณอีกครั้งหนึ่งนั้น จึง
มีพระราชบริหารดํารัสเหนือเกลาฯ วา ผูจะเปนกษัตราธิราช ทํานุกบํารุงอาณา
ประชาราษฎรแลแผ น ดิ น ให ส มบู ร ณ นั้ น มิ ไ ด ตั้ ง อยู ใ นขนบธรรมเนี ย ม
พระราชบัญญัติทางพระอุเบกขา ผิดแลมิกระทําโทษ ชอบแลมิใหปนบานเมืองนั้น
๑๒๘
ก็เสียไป แลอายมีชื่อ ๕ คน กระทําบัดนี้ผิดดุจประเวณีอันเปนธรรม ดุจพญา
เอลาราชก็เปนอยางอยู ใชวาจมื่นไวยเลี้ยงมาจะไมรักใครนั้นหามิได มาทวาไพร
คนหนึ่งอันเปนขาขอบขันธเสมาเสียไปนั้น ก็มีความรักประดุจชีวิต จึงทรงพระ
สัตยาธิษฐานสาบาน ตอหนาพระอาจารยวัดเทริงหวาย พระสงฆหลายรูป วาเปน
ความสัจ แหงฯ ขาฯ ๆ ทําความเพียรมิไดคิดแกกายแลชีวิต ทั้งนี้ จะปรารถนา
สมบัติพัสถานอันใดหามิได ปรารถนาแตจะใหสมณะชีพราหมณสัตวโลกเปนสุข
อยาไดเบียดเบียนกัน ใหตั้งอยูในธรรมปฏิบัติ เพื่อจะเปนปจจัยแกโพธิญาณสิ่ง
เดียว ถาแลผูใดอาจสามารถจะอยูในราชสมบัติ ใหสมณพราหมณประชาราษฎร
เปนสุขได จะยกสมบัติทั้งนี้ใหแกบุคคลผูนั้น แลวฯ ขาฯ จะไปสรางสมณธรรมแต
ผูเดียว ถามิฉะนั้นจะปรารถนาศีรษะแลหทัยวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็จะใหแกผูนั้น ถา
๑๒๗
วันพุธที่ ๑๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๒๘
คือ คนที่มีชื่ออยูในทะเบียนหางเหวา
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๗๗
แลมิสัจฉะนี้ฯ ขาฯ มุสาวาท ขอใหตกไปยังอบายภูมิเถิด เมื่อแลคนทั้งปวงกระทํา
โทษผิดถึงฉะนี้ ครั้นจะมิเอาโทษ ก็จะเสียขนบธรรมเนียมบานเมืองไป ครั้นมิให
บัดนี้เลาเจาพระยาแลพระยาพระหลวงมาขอเปนอันมาก เปนมิรูที่จะคิด
ตรัสดวยพระเทาดังนี้แลว จึงตรัสแกขาทูลละอองฯ ซึ่งกราบทูลขอโทษนั้น
วา ราชการสงครามเมืองปาสักยังมีอยู ถาแลสูที่เจาทั้งปวงจะพรอมกันไปตีเมือง
ปาสักถวายใหได ซึ่งคนโทษถึงตายนั้นก็จะงดโทษไวใหไปทําราชการแกตัว ขาทูล
ละอองฯ ผูใหญผูนอย ๒๒ คน ก็รับสั่งจะอาสาไปตีเมืองปาสักทูลเกลาฯ ถวาย
แลคน ๕ คนซึ่งเปนมหันตโทษนั้น ก็ทรงพระกรุณาพระราชทานชีวิตให
อนึ่ง ทรงพระกรุ ณาใหอ าราธนาพระสงฆญวน ทุ กอารามแขวงจั งหวั ด
เมือง พุทไธมาศ เขามาในราชฐานแลว พระราชทานจีวรแพรทุกองคที่มิไดจีวร
นั้น พระราชทานเงินองคละ ๕ ตําลึงแลโภชนาอาหาร ก็พระราชทานใหมิไดขัดสน
อนึ่ง เพลา ๒ ยามเศษ เจาพระยาจั กรี พระยาอภั ยรณฤทธิ์ บอกมาให
กราบทูลพระกรุณาใจความวา นายทัพนายกองซึ่งไปราชการเมืองปาสัก รบกับ
ญวนเสียคนถูกปนตาย (คือ) หลวงรักษมนเทียร ไพร ๑๑ เรือ ๘ ลํา ซึ่งรอดมาได
นาย ๑๑ ไพร ๑๗๕ (รวม) ๑๘๖ (คน) ขึ้นบกเดินตามริมน้ํามาถึงบานพระยาพิชัย
สงคราม เขมรซึ่งเกลี้ยกลอมไวนั้นรับเลี้ยงดูไว วาจะสงเขามา
อนึ่ง พระสงฆเขมร ๕ รูป ถือหนังสือพระยาอธิกวงศา เจาเมืองปาสัก
แลพระยาราชาสงคราม ใหมาถึงนายทัพนายกองทั้งปวง ในใจความวา จะ
สวามิภักดิ์สมัครเปน ขาใตละออง ฯ แลใหนายทั พนายกองชวยทํานุกบํารุงเอา
เนื้อความกราบทูลสมเด็จพระพุทธเจาอยูหัว ใหทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ อยา
ใหมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย พระหลวงขุนหมื่นเขมรจะไดมีชีวิตสืบไป จะไดทํา
การสงครามมิไดกลัวแกญวนเลย
ครั้นไดทรงฟงหนังสือบอกนั้นแลว จึ่งตรัสประภาษวา เจาเมืองปาสักนี้มี
ความชอบอยู ซึ่งขาทูลละออง ฯ จะอาสาไปตีนั้นใหยกไว จึงทรงพระอักษรไป
เถิงเจาพระยาจักรี ในใจความวาขาหลวงซึ่งไปราชการเมืองปาสัก ญวนบังอาจตี
ผูมีชื่อแตกกระจัดกระจายหนีขึ้นบกไดนั้น พระยาอธิกวงศา เจาเมืองปาสัก แล
พระยาราชาสงครามเขมร รับไวเลี้ยงดูใหกินแลว แตงคนเรือ เสบียง สงมานั้น

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๗๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
เปนความชอบใหญหลวงทรงพระกรุณาพระราชทานเสื้อผาคนละสํารับ เงินคน
ละชั่ง แกพระยาอธิกวงศา พระยาราชาสงคราม เขมร แลวใหเจาพระยาจักรี
หาลงมาพระราชทาน แลวใหหามนายทัพนายกองทั้งปวงอยาใหไปตีเมืองปาสัก
เลย ให พ ระยาอธิ ก วงศาไปกิ น เมื อ งปาสั ก สื บ ไป ทรงพระกรุ ณ า จะฝาก
พระองครามราชา ซึ่ง ครองกัม พูชาธิบ ดีใหทําราชการยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถาพระยา
อธิกวงศา พระยาราชาสงครามจะใครไปถวายบังคมพระองครามราชาก็ใหไป
ถาจะใครมาถวายบังคมลนเกา ฯ ณ เมืองพุทไธมาศ ก็ใหพาตัวลงมา หนังสือแล
๑๒๙
สิ่งของพระราชทานนั้น ใหพระยาเดโช เขมร นายแกวน ถือไป
๑๓๐
วันพฤหัสบดี เดือนอาย ขึ้น ๖ ค่ํา เพลาเชา ๒ โมงเศษ เสด็จ ฯ ไป
ประพาสเขาเมรี
อนึ่งทรงพระอักษร ๒ ฉบับ เปนหนังสือพระยาโกษาธิบดี ใหนายวิสูตร ๑
องไดฉาม ๑ ลักเกียด ๑ นาย ๓ ไพรไทย ๕ ญวน ๕ (รวม) ๑๐ คน ถือไป ณ
๑๓๑
กรุงอนํากก ในเรื่องราวใจความฉบับหนี่งวากลาวเนื้อความเปนทางพระราช
๑๓๒
ไมตรีถึงพระเจาอนํากก มิใหพิโรธแกกัน ดวยจะแบงแผนดินกันเปน ๒ ภาค
ใหพระองคอุทัยราชาหนึ่ง ใหพระองครามราชาหนึ่ง มิใหพิโรธแกกัน ในกรุงทั้ง
สามโดยธรรมราชประเพณี ฉบับหนึ่งวา ใหเสนาบดีกราบบังคมทูลพระเจาอนํา
กกใหวาแกญวนลูกหนาย ใหสงเรือรบ ๘ ลํา คนไพรนาย ๑๐๐ เงิน ๑๐๐ ชั่ง
ซึ่งญวนสกัดตีซึ่งขาหลวงราชการเมืองปาสัก โดยทางพระราชไมตรีแลไมตรีมิให
พิโรธแกกัน
ครั้นเพลาบาย ๕ โมง ใหลงพระราชอาชญาคนโทษ ๔ คน จมื่นไวยวรนาถ
ยอหยอนแกขาศึก ขุนศรีราชบุตร หนีตาทัพ ทนายเลือก ๒ คน เสพสุราแลวเอา
ดาบฟนจีนปวยเจ็บสาหัส เสมียนหลวงราชมนตรีกับบาวหลวงรักษาสมบัติ ถือ
หนังสือมาแตกอะพนมเพ็ง มาเอาขาวราชการ ณ เมืองพุทไธมาศ มิไดเอา
๑๒๙
เจาเมืองกําพงสวาย
๑๓๐
วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๓๑
หมายถึงเมืองไซงอน
๑๓๒
คือ Nguyễn Phúc Thuần ครองราชยระหวาง ค.ศ. ๑๗๕๔ – ๑๗๗๗
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๗๙
หนังสือบอกใหกราบทูลพระกรุณาจนเสด็จ ฯ กลับมาเถิงเมืองปากน้ําพุทไธมาศ
แลคน ๖ คนนี้จะไวมิได ขาทูล ละออง ฯ ทั้งปวงจะดูเ ยี่ยงอยางกัน จะเสียขน
บแผนดินเมืองไป จึงสั่งใหประหารชีวิตเสีย
๑๓๓
วันศุกร เดือนอาย ขึ้น ๗ ค่ํา เพลาเชาโมงมีเศษ เสด็จออกขาทูล
ละอองฯ มีพระราชบริหารตรัสสั่งเจาละคร วาพระศรีพิพัฒใหเปนนายกองคุม
หลวงขุนหมื่ นไทยจีนไปราชการเมืองปาสัก พบเรือญวนเขามิไดชวยกันรบพุง
จนเสียหลวงรักษมณเทียร ไพร แลเรือรบปนใหญนอยไปเปนอันมากนั้น จะลง
๑๓๔
พระราชอาชญาตามโทษแลราชการยังมีอยู แลสมกําลัง พระยาจันทบูรหมื่น
...หลวงสิทธิสงคราม จีนไทย ใหพระยาจันทบูรคุมเขาไป แลพระศรีพิพัฒสม
กําลังพระศรีพิพัฒนั้น ใหพระยาทิพโกษาคุมเขาไป แลหลวงขุนหมื่นแลสมกําลัง
หลวงขุนหมื่น ในกองซึ่งไปดวยพระศรีพิพัฒนั้น ใหหมื่นสรรเพชญภักดี หมื่นศรี
เสาวรักษ หมื่นเสมอใจ ใหกองมหาดเล็กคุมเขาไปใหสิ้น แลทนายเลือกกอง
นอก ซึ่งไปดวยพระศรีพิพัฒนั้นใหเจากรม ปลัดกรม กรมทนายเลือกรับเอาเขา
ไปใหสิ้น อยาใหไทยไพรมีชื่อหลบหลีกหนีไปแตคนหนึ่งได ถามีราชการจะใหทํา
ราชการแกตัว ถาผูมีชื่อหลบหนีไดแตคนหนึ่ง จะเอาผูรับคุมเขาไปนั้นเปนโทษ
แลบัญชีคนซึ่งไปราชการดวยพระศรีพิพัฒนั้นมีอยูแกมหาดไทยกลาโหม ใหผูซึ่ง
จะรับตัวผูมีชื่อเขาไปนั้น ใหลอกเอาบัญชีตอมหาดไทยกลาโหม ตรวจเอาตัวพระ
หลวงขุนหมื่นไพรตามบัญชีไดนาย ๑๑๙ ไพร ๔๔๑
อนึ่งเพลา ๓ โมงเศษ หลวงเพชรสงครามกราบทูลพระกรุณาวา ตัวแล
พรรคพวกสมกําลังซึ่งทําราชการเขาหักคายนั้น มิไดรับพระราชทานจึงตรัสสั่งให
พระญาณประสิทธิ์ถามไดความวา พระญาณประสิทธิ์กระทําความผิด ฉอพระ
ราชทรัพยของหลวง จึงมีพระราชบริหารดํารัสสั่งพระโหราธิบดี วามีคนบําเหน็จ
เข า หน า (ที่ ) ปล น เมื อ งมี ค วามชอบแต ๕ คน พระญาณประสิ ท ธิ์ เ อาผู มี
ความชอบนอย ตั้งบัญชีวากระทําความชอบมาก บังผูกระทําความชอบมากเสีย
บอกบัญชีฉอเอาเงินของหลวงไปนั้น ทรงพระกรุณาใหลงพระราชอาชญาตีหลัง
๑๓๓
วันศุกรที่ ๑๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๓๔
ไพรสมของบรรดาเจาเมือง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๘๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
๑๐๐ ทีแลวใหฆาเสีย จึงจะสมควรโดยโทษ แตวาพระญาณประสิทธิ์กระทํา
ตามพระราชดํ า ริ กล า หาญ เอาเมือ งพุ ท ไธมาศถวายดุ จ พระราชดํ า ริ ไ ด มี
ความชอบอยู แตใหเรียกเอาทานบนไวแลวใหคงทําราชการสืบไป
๑๓๕
วั น เสาร เดื อ นอ า ย ขึ้ น ๘ ค่ํ า เพลา ๔ โมงเศษ ตรั ส สั่ ง พระ
อาลักษณใหหมายบอกกรมนา จายขาวสาร ๓ เกวียนแลกัปปยะถวายพระสงฆ
๕๐ เณร ๕๐ (รวม) ๑๐๐ รู ป ซึ่ง จะไดรั บพระราชทานฉัน กวาจะไปเถิง เมือ ง
ธนบุรี
๑๓๖
วันอาทิตย เดือนอาย ขึ้น ๙ ค่ํา เพลาบาย ๒ โมง ทรงพระอักษร
ดํารัสหลวงราชนิกูลใหไปเถิงเจาพระยาจักรี เปนใจความวากองทัพพระศรีพิพัฒ
ซึ่งไปราชการเมืองปาสัก แตกญวนหนีมา เสียเรือรบเรือไลนั้น ครั้นจะไมเอา
โทษขาราชการทั้งปวงก็จะดูเยี่ยงอยางกันสืบไป ครั้นจะเอาโทษเลา คนมากกวา
๓๐๐ นั้ น ทรงพระราชดํ า ริ จ ะลงโทษให . ......ก อ กํ า แพงเมื อ งธนบุ รี แ ลให
เจาพระยาจักรีแตงคนคุมผูมีชื่อเปนหมวดเปนกองลงมา ณ เมืองพุทไธมาศ จะ
ไดใหมีนายประกันรับตัวเขาไปยังเมืองธนบุรี แลใหเจาพระยาจักรีแลกองทัพทั้ง
ปวงกลับเขามา ณ เมืองพุทไธมาศ จะไดจัดแจงแตงเรือรบเรือไลใหพรอมไว
วันอาทิตย เดือนอาย ขึ้น ๙ ค่ํา ปเถาะตรีศก เพลาทุมเศษ เสด็จอยู
ณ พระตํ าหนั กเมืองพุ ทไธมาศ ขุ นวิสู ตรแลลาวมีชื่อ กับหนังสือบอกพระยา
พิชัย๑๓๗ แลหนังสือเจาพระยาศรีธรรมาธิราช๑๓๘ เปนหลายฉบับ ในทันใดนั้น
ทรงหนังสือบอกเมืองพระพิชัย ในทามกลางราชบริษัททั้งปวงในใจความวา พระ
ยาพิชัยใหขุนคลังไปสืบขาวราชการพมาถึงพระยาศรีสุริวงศ ๆบอกเนื้อความวา
ไปสอดแนมราชการ ณ เมืองแพร เมืองนาน พบนายจุด นายตน นายคํามูน ๆ
ใหการวาพมามากะเกณฑคนในบานงูเหลือม จึงถามนายตุน นายบานวา กะ
๑๓๕
วันเสารที่ ๑๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๓๖
วันอาทิตยที่ ๒๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๓๗
พระยาพิชัย (ทองดี) ที่เรียกในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา วาพระยา
พิชัยดาบหัก
๑๓๘
ครั้งกรุงศรีอยุธยาเปนพระยาธิเบศบริรักษ ในสมัยกรุงธนบุรี ไดดํารงตําแหนงสูงสุด
เปนอัครมหาเสนาธิบดี ดังปรากฏนามในบานแผนกไตรภูมิ พ.ศ.๒๓๑๙
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๘๑
๑๓๙
เกณฑ ทั พ ทั้ ง นี้ จ ะยกไปไหน นายตุ น จึ ง บอกว า มั ง มะยุ ง ว น เจ า เมื อ ง
เชียงใหมใหกะเกณฑพลทหารเปนหลายบาน ใหไปพรอมกัน ณ เมืองเชียงใหม
กับทัพเมืองเมาะตะมะ เปน ๒ ทัพ จะยกไปเมื่อใด คนมากนอยเทาใดมิรูไดพระ
ยาพิชัยเกณฑคนเมือ งลั บแล เมืองฝาง เมือ ง......กองหลวงพิชั ยไดคน ๔๐๐
ตระเตรียมไว
อนึ่ง พระยากาญจนบุ รี บ อกเข ามาวา ไดแ ต ง คนออกไปตระเวน ณ
ปลายดานพบพมาแลมอญ พระยากาญจนบุรีจึงยกพวกพลทหารกาวสกัดยิง
พมาตาย ๒ คน ตัดศีรษะเสียบไวพมาแตกพายไป จึงไดหมวกเสื้อปน แลละวา
ซึ่งพมากวดเอาไปนั้น คืนมาได ๗๐ คน สืบถามรายการในเมืองเมาะตะมะ อาย
มีชื่อใหการวาราชการในเมืองเมาะตะมะสงบอยู แลหนังสือบอกราชการในเมือง
ธนบุรี
ครั้นทรงอานสัมฤทธิ์แลว จึงทรงจับยามแลอนุมานดวยญาณตามกระแส
เนื้อความนั้นซึ่งบอกมานั้นแจง จึงตรัสแกบริษัททั้งปวงวาพมาจะยกมานั้นหามิได
ในทันใดนั้น จึงทรงซักไซไตถามลาวมีชื่อดวยภาษาลาว ก็แจงตระหนักในพระ
ญาณเปนแทวา พมาจะยกมานั้นหามิได
๑๔๐
วันจันทร เดือนอาย ขึ้น ๑๐ ค่ํา เพลาเชาเสด็จ ฯ ไปบําเพ็ญพระราช
กุศล ณ วัดญวน ถวายนมัสการบูชารูปพระปฏิมากร ครั้นแลวพระสงฆญวน
สวดมนตถวายจบแลว ทรงพระราชศรัทธาถวายเงินพระสงฆเถร เณร ปะชี๑๔๑
แลวมีพระราชบริหารใหโอวาทแกพระสงฆโดยภาษาญวนใหตั้งอยูในวินัยสิกขา
วาอยาใหคบหาสองเสพดวยสีกาใหอุตสาหะทํานุกบํารุงพระศาสนารุงเรือง ถา
จะขั ดสนเปน ประการใดก็ ใหไ ปหาพระราชาเศรษฐี แลวถวายข าวเปลือก ๑๐
เกวี ยน อนึ่ ง สั่ ง พระอาลั กษณ ว า รู ป พระพุ ท ธปฏิ ม ากร ซึ่ ง ญวนเอามาแต
กรุงเทพมหานคร ใหอาราธนากลับคืนเขาไป ณ เมืองธนบุรี ครั้นแลวจึงถวาย

๑๓๙
เจาเมืองชาวพมา ซึ่งปกครองเชียงใหม กอนที่พระยาจาบานหรือพระยาวชิรปราการ
และตระกูลเจาเจ็ดตนจะขับไลออกไป
๑๔๐
วันจันทรที่ ๒๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๔๑
บางทีจะหมายเอา ปะขาวและรูปชี
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๘๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
นมัสการลา เสด็จ ฯ ออกมาเห็นยาจกวณิพกทั้งปวงเขามาเขามารับพระราชทาน
มากกวา ๑๐๐ ทรงพระราชศรัทธาพระราชทานปเงินหนักปละ ๑ บาท ๒ สลึง
คนละปใหแกยาจกทั้งปวงเปนอันมาก
๑๔๒
วัน อัง คาร เดือนอาย ขึ้น ๑๑ ค่ํา ปเถาะตรีศก เพลาเชาโมงเศษ
พระยาโกษานอกราชการทัพบก ยกลงมาแตกัมพูชาธิบดี มาเฝากราบทูลพระ
กรุณาในเนื้อความวา เมื่อยกทัพลงมานั้น เขมรปาพวกละ ๕๐๐ คน พวกละ
๖๐๐ คน ยกกันมาสกัดทําอันตราย กลางวันบาง เขาตีปลนกลางคืนบาง ไดรบ
กันเปนสามารถ เขมรรองวามึงแตกทัพญวนลงมาแลวหรือ แลกองทัพพระยา
โกษา กองทัพเจาพระยาอนุรักษภูธรแลกองทัพขุนหมื่นขาหลวงทั้งปวง ไดไล
ตะลุมบอนฆาฟนเขมรลมตายเหลาละ ๓๐ บาง เหลาละ ๔๐ บาง เหลาละ ๕๐
บาง ลมตายเปนอันมาก ฝายเขมรก็ตอสูยิงกองทัพดวยธนูหนาไม ถูกไพรทหาร
ในกองทัพเจาพระยาอนุรักษภูธร ๖๐ เศษ ทัพพระยาโกษา ๒๐ เศษ แตจะได
อันตรายลมตายแตสักคนหนึ่งหามิไดนั้น จึงทรงพระกรุณาตรัสแกพระยาโกษา
๑๔๓
วา เราคิดเอ็นดู วาเขมรนี้มิไดแกลวกลาในสงครามเราจึงอดลดไว บัดนี้มา
ทํารายแกไพรกองทัพนั้น เห็นวากัมพูชาธิบดียังมิสงบ จะไวชีวิตมิได สั่งใหพระ
ยาโกษายกกองทั พ ขึ้น ไปปราบเขมรเหลารายใหส งบจงได ครั้น พระยาโกษา
เจาพระยาอนุรักษภูธร รับสั่งแลว ไปจัดแจงกลับยกไปปราบเขมรเหลารายตาม
รับสั่ง
อนึ่งเพลาทุมเศษ ทรงแตงกฎประกาศแกขาทูลละออง ฯ ฝายทหารพล
เรือนไทยจีน ใหหลวงราชนิกุลเขียนในใจความวา........ทางจะไปญวนนั้นขัดสน
.........แลไดมีศุภอักษรไปแกญวนแลว ถาเปนไมตรีตอแลวก็แลวไป ถาดื้อดึงอยู
จึงจะยกกองทัพบกกองทัพเรือ............แลใหพระยายมราช พระยาโกษา อยูชวย
ราชการพระองครามราชา ณ เมืองกัมพูชาธิบดี กวาเขมรจะราบคาบสงบแลว
จึงจะใหกลับไป เมื่อจะกลับไปนั้น ใหกะเกณฑกันตั้งคายเปนทอดไปกวาจะถึง
กรุง อยาใหเปนเหตุการณอันตรายได ถาเปนเหตุการณอันตราย จะเอานายทัพ
๑๔๒
วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๔๓
หมายความวา สงสาร
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๘๓
นายกองเปนโทษเถิงตาย อนึ่งญวนเขมรออนแกการสงคราม จะตั้งคายก็ตั้งแต
๓ ดาน จะรบเรือก็ลอยเรือยิง เรือใหญชองปนนั้นยิงจําเพาะแตปากปนนั้นจะยัก
ยายมิได ลอรางไมรวดเร็วอยางกับเรือรบกรุง ฯ ถาทแกลวทหารบุกรุกเขาไป
ญวนกระโดดน้ําหนีไ ป ไดเ รือ เครื่อ งศัต ราวุ ธ เป น หลายแหง หลายตํ าบล แล
กองทัพพระศรีพิพัฒรบกับญวน ญวนลอยเรือรบยิงแตไกล มิไดยกเรือบุกรุกจึง
เสียคน ๑๐ คน เรือ ๖ ลํา แลพระอุทัยธรรมมิไดชวยกัน ลาดถอยหนีมาใหเสีย
ราชการนั้น จะเอาตัวเป น โทษตามโทษานุโ ทษ แตนี้สืบไปเมื่อหนา นายทั พ
นายกองทั้งปวงจะรบญวนนั้น ใหเขาไปเปนกอง ๑๐ ลําบาง ๕ ลําบาง ใหตีแต
......เขาไปใหชิดไดแคมไดขาง ถึงจะยิงปนชองปนจําเพาะแตปากบอก จะยกทาย
ขึ้น มิ ไ ด ก็ จ ะพ น ไป เสี ย ทางป น แล ว ญวนก็ จ ะโดดน้ํ า หนี จะได ชั ย ชํ า นะมา
ทูลเกลา ฯ เปนความชอบนัก และนายทัพนายกองจะรบดวยเรือรบญวน ผูใดรั้ง
รอยอหยอนอยูใหเสียราชศรีสวัสดิ์นั้น ใหนายทัพผูใหญตัดศีรษะเสียบอยาไดดู
เยี่ยงอยางกัน อนึ่งพลรบ พลแจว ถากระโดดน้ําหนีก็ดี ขึ้นบกยกหนีไปก็ดี ให
ตัดศีรษะเสียเหมือนกัน อนึ่งพลแจวเรือแจวยอยหยอน.......ใหตัดศีรษะเสีย ถา
นายเรือนายปลัดยอหยอน.........แลวใหเอาเนื้อความกราบบังคมทูลพระกรุณาจะ
ใหลงพระราชอาชญา บุตรภรรยาโคตรญาติกาเปนโทษตามบทพระอัยการ.......
ญวนตั้งคายรบเอาเรือรบเรือลอ อยาใหบุกรุกเขาไปใหตั้งคายมั่นไว แลวตัดทาง
วกหลังตีบุกรุกเขาไป ถาพอจะเอาเรือรบซอนไวได ก็ใหซุมไวใหแตงกองออกลอ
ใหเสียกลแลว ก็ใหตัดทายตัดกลางบุกรุกเขาไป จึงไดชัยชํานะดวยงาย........
เชลยไวจะเอาออกรบกลัวโดดน้ําหนี พลรบจะเสียใจ ก็ใหเอาเชือกผูกเทาไว จึง
จะไม.........ได
๑๔๔
วันพุธ เดือนอาย ขึ้น ๑๒ ค่ํา เพลาเชา ๒ โมง ขาทูลละออง ฯ ฝาย
ทหารพลเรื อ น ได เ ชลยไทยชาวกรุ ง เทพฯ นํ า เข า มาทู ล เกล า ฯ ถวายให
ทอดพระเนตร ทรงพระกรุณาพระราชทานใหเงินชายหญิงคนละบาท ๑ บาท
ใหคุมไวตามหมวดตามกอง

๑๔๔
วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๘๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
อนึ่งเพลาบาย ๓ โมงเศษ พระยายมราช พระยากําแหงวิชิต พระอนุชิต
ราชา พระเนาวโชติ นายทัพนายกองทัง้ ปวง บอกมาแต ฯ ล ฯ ลูกขุน ณ ศาลา
ๆ ไดเ อาหนั งสือบอกนั้น กราบทูล พระกรุณาในใจความนั้นวา ยกกองทัพ บก
๑๔๕
มาถึง ณ วัน จั น ทร เดือ น ๑๒ ขึ้น ๕ ค่ํ า ถึง บานปราสาทเอก ไกลเมือ ง
ปตบอง ทางประมาณ ๑๕๐ เสนเศษ ตั้งคายมั่นคงแลว ณ วันอาทิตย เดือน
๑๔๖
๑๒ ขึ้น ๖ ค่ํา ใหแตงพระหลวง ขุนหมื่น ทแกลว ทหารทั้งปวง ๑๐๐๐ มี
เศษ ยกเขาตีเมืองปตบองดูกําลัง ไดรบกันแตเพลาบายโมงหนึ่งจนเพลาค่ําเขมร
ยังรบพุงตานทานอยู ครั้นเพลาประมาณ ๒ ทุมมีเศษ พระอนุชิตราชาแลนาย
ทัพนายกองทั้งปวง จึงแตงคนใหขามน้ําวกหลังไปตีเ ขมรแตก บาวพระอนุชิต
ราชา บาวพระวิเศษ ตองปนตาย ๒ คน ถูกปวยลําบาก ๘ คน ถูกไมเขา ๓ คน
จึงไปสอดแนมจับเขมรได ใหการวา ทัพเรือยกมาถึงจันทบูรแลว กองทัพเขมร
ตั้งอยูบาน............พระเนาวโชติ พระวิเศษกองหนา ไดรบตีทัพเขมรแตกไป จึง
ยกมาตั้งมั่นอยู ณ บานปลงกะบู........
๑๔๗
วันเสาร เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ํา ใหไปสอดแนมดูรูวาเขมรตั้งคายอยู
๑๔๘
ณ สํานักระกา ๕ คาย.................ครั้นวันอาทิตย เดือน ๑๒ แรม ๓ ค่ํา ให
พระยาคําแหงวิชิตยกกระบัตรทัพอยูรักษาดานจึงยกไปตีคายสํานักระกา กอง
๑๔๙
หลวง กองหนา กองเกียกกาย กองยกกระบัตรทัพ กับนายทัพนายกองทั้ง
ปวงรบพุงกัน กับเขมร แตเพลาเชา ๒ โมง จนเพลาบาย ๒ โมง เขมรออกตี
นอกคายประมาณ ๒๐๐๐ มีเศษ จึงใหกองทัพออกรบตะลุมบอนฟนแทงเขมร
ตายประมาณ ๑๐๐๐ มีเศษ เขมรแตก จับไดเปน ๒๗ คน เขาคายได ๆ ปนแกว
๕๐ บอก..............มา ๕ มา แลเครื่องศัตราวุธเปนอันมาก ถูกปนตาย พระ
วิเศษ ๑ บาวพระเนาวโชติ ๑ (รวม) ๒ คน ปวยนั้น พระเนาวโชติถูกปลีนองซาย

๑๔๕
วันจันทรที่ ๑๖ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๔๖
วันอังคารที่ ๑๗ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๔๗
วันเสารที่ ๒๘ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๔๘
วันอาทิตยที่ ๒๙ กันยายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๔๙
มาจากคําวา จักกาย คือ ปลัดทัพ ตอมาหมายความวา กองเสบียง กองสัมภาระ
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๘๕
ตลอด ๑ นายหมวด ๔ ไพร ๑๑ (รวม) ๑๖ คน แลสืบถามเขมรใหการวาพระ
๑๕๐
ยาสังขโลก ใหพระยาสุรินทรสงคราม พระยาราชาสงคราม เขมร ไปตั้งคาย
รบ ณ บานตะพงปรัก ๒ คาย จึง ใหฟาทะละหะ ๑๕๑ยกกองทัพวกเขามาตีเอา
เมืองโพธิสัตว ใหนายเงินนองพระวิเศษทําราชการแทนพระวิเศษกองหนาตอไป
เดชะพระบรมโพธิสมภารปกเกลา ฯ เขมรแตกหนีไปจึงตั้ง คายอยูพั กชางหา
เสบียง ณ เมืองโพธิสัตว ๓ วัน แตงใหกองทัพตั้งอยู ณ เมืองโพธิสัตว ๒๐๐ คน
ใหยกแยกขึ้นทางเมืองตะครอ - ทางหนึ่ง เมืองขลุงทางหนึ่ง เมืองลารองทาง
หนึ่ง เมืองบริบูรณทางหนึ่ง เมือง........ทางหนึ่ง เปนคน ๑๐๐๐…….ครั้น ณ วัน
๑๕๒
พุธ เดือน ๑๒ แรม ๑๓ ค่ํา ยกจากเมืองโพธิสัตว ตัดตรงจะเขาตีเมือง
พุทไธเพชรครั้นถึงบานกําแรง จับเขมรไดใหการวา กองทัพหลวงไดเมืองพุทไธ
เพชรแลวจึงยกรีบมาตามเสด็จ ฯ พบพระองครามราชาบอกวาเสด็จ ฯ กลับไป
เมือ งพุท ไธมาศแลว แลเมือ งพุท ไธเพชรนั้น ขาวปลาอาหารขัด สน เขมรกลั ว
กองทัพ ไทยนั ก ฯ ขา ฯ ยกลงมาตั้ง ณ เมืองโพธิสั ตว เมืองปต บอง ขาวปลา
อาหารผูคนคอยมั่งคั่ง ใหฟาทะละหะอยูเกลี้ยกลอม........จะไดชวยราชการไป
กวาจะสงบ
ครั้นไดทรงฟงในหนังสือบอกนั้นแลว จึงทรง ฯ ตรัสสั่งวาฟาทะละหะนั้น
จะใหอยูเกลี้ยกลอม ณ เมืองโพธิสัตว เมืองปตบอง ที่ขาวปลาอาหาร ผูคนมาก
ทาง ซึ่ ง จะไปกรุ ง ฯ ตามกฎหมายซึ่ ง ให พ ระยาโกษาถื อ มานั้ น และให
พระราชทานดินประสิว ดีบุก สงใหพระยาโกษาเอามาดวยแลว แลซึ่งพระวิเศษ
ฤาชัยถูกปนตายในที่รบ มีความชอบอยู แลนองพระวิเศษไดทําราชการมา ให
เปนที่พระวิเศษทําราชการสืบไปใหพระยายมราช พระยากําแหงวิชิต ทําตาม
กฎหมายนั้นเถิด
อนึ่ง ใหมีหนังสือไปเถิงพระองครามราชาวาไดใหกองทัพพระยายมราช
พระยาโกษา อยูชวยราชการพระองครามราชา ถาราชการกรุงกัมพูชาธิบดีสงบ
๑๕๐
คือ เจาเมืองโพธิสัตว
๑๕๑
เมื่อเสร็จศึกเขมรแลว โปรด ฯ ใหคงอยูในตําแหนงฟาทะละหะตอมา
๑๕๒
วันพุธที่ ๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๘๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
แล ว จึ ง ให ก องทั พ พระยายมราช พระยาโกษา กลั บ เข า ไปกรุ ง ฯ แล
พระราชทานขาว ๑๐๐ เกวียน ดินประสิว ๕ หาบ ดีบุก ๕ หาบ ไวแกพระองค
รามราชาสําหรับราชการ
อนึ่งฟาทะละหะ ครั้นสงบราชการแลว ใหคงที่เปนฟาทะละหะทําราชการ
ดวยพระองครามราชา ทํานุกบํารุงแผนดินกรุงกัมพูชาธิบดีสืบไป
แลวทรงพระกรุณาพระราชทานขาวไวสําหรับเมือง ใหพระองครามราชา
๑๐๐ เกวียน พระยาราชาเศรษฐี ๑๐๐ เกวียน ไวเมืองพุทไธมาศ ถาพระองคราม
ราชาขัดสน ก็ใหแตงคนลงไปรับเอาตอพระยาราชาเศรษฐีเมืองปากน้ําพุทไธมาศ
๑๕๓
วันพฤหัสบดี เดือนอาย ขึ้น ๑๓ ค่ํา เพลาเชา ๔ โมงเศษ ทรงพระ
กรุณาพระราชทานเงินคนละ ๑ บาท แกญวน เขมร เปนอันมาก แลวทรงปราย
เงินในเมืองพุทไธมาศ
๑๕๔
วันศุกร เดือนอาย ขึ้น ๑๔ ค่ํา เพลาเชาเสด็จ ฯ ออกขุนนาง ณ พระ
ตําหนักเมืองพุทไธมาศ ตรัสสั่งเจาพระยาสรประสิทธิ์วา ณ วันเดือนอาย แรม
๓ ค่ํ า จะเสด็ จ กลั บ ไปเมื อ งธนบุ รี ให ตั้ ง พิ ธี ไ ปแต วั น นี้ ใ ห เ ป น ลมว า ว ลม
ตะวันออก กวาจะเสด็จ ฯ กลับไปเถิงเมืองธนบุรี อยาใหเปนเหตุการณแกพิริย
โยธาทั้งปวง
อนึ่งเพลาบายแลว ๔ โมงเศษ พระยาราชาเศรษฐี มาเฝากราบทูลพระ
กรุณาวา กรมนาจายขาวให ๕๐ เกวียนเศษ ยังมิไดครบ ๒๐๐ เกวียน ครั้นได
ทรงฟ ง จึง สั่ ง ใหพระยาประชาชีพ มาเฝา ตรั ส ถามวาขาวซึ่ง พระราชทานไว
สําหรับเมืองกัมพูชา เมืองพุทไธมาศ ๒๐๐ เกวียน จายไวครบแลวหรือประการ
ใด พระยาประชาชีพกราบทูลพระกรุณาวา ไดจายใหไปแลว ๕๐ เกวียนเศษยัง
เหลือขาวอยู ณ ฉางประมาณ ๒ เกวียน เมื่อขาวมิครบ ๒๐๐ เกวียนฉะนี้ ตัว
เอายักยายขายเสียหรือประการใด จึงกราบทูลพระกรุณาวา จะไดยักยายขาย
เสียหามิได จึงตรัสวาไมเห็นความจริงดวย เพลาวานนี้ตรัสถามตัว ๆ กราบทูล
วาตวงจายใหพระยาราชาเศรษฐีไ ป ๑๐๐ เกวียนแลว เพลาวั น นี้จ ะแลวครบ
๑๕๓
วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๕๔
วันศุกรที่ ๒๕ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๘๗
๒๐๐ เกวียน แลตัวจายไปแต ๕๐ เกวียน มากราบทูลวา ๑๐๐ เกวียนก็เห็นวา
ตัวพู ดเท็ จอยู แ ลว จึง ตรั ส ถามขาทู ล ละออง ฯ ผูใ หญผูนอย เพื่อ ใหเ ปน สั กขี
พยานวาเมื่อตรัสถามและกราบทูลนั้น ผูใดไดยินบาง เจาพระยาจักรีกราบทูล
พระกรุณาวา เมื่อตรัสถามนั้น พระยาประชาชีพกราบทูลพระ ฯ วาไดตวงจาย
ไปแกพระยาราชาเศรษฐี ๑๐๐ เกวียนแลว ครั้นทรง ฯ ตรัสถามไดพยานเปนถอง
แทแลวฉะนี้ ก็เห็นวาพระยาประชาชีพฉอเอาขาวหลวง แลวเท็จมิจริงมากราบ
ทู ล พระกรุ ณ าเป น สั จ แล ว จะละเว น มิ ไ ด ข า ทู ล ละออง ฯ ผู ใ หญ ผู น อ ยจะดู
เยี่ยงอยางกันสืบไป จึงสั่งใหเอาพระยาประชาชีพ หมื่น ศรีทิพโภช หมื่นเทพ
โกษา เสมียนเชน ๔ คนนี้ ไปทะเวนบกทะเวนเรือตามธรรมเนียม แลวตัวศีรษะ
เสีย อยาใหขาราชการดูเยี่ยงอยางกันสืบไป
อนึ่ง เพลาย่ําค่ําแลว ทรงพระอักษรสงใหนายเลหอาวุธ ใหมหาดไทย
หมายบอกขาทูลละออง ฯ ฝายทหารพลเรือนทแกลวทหารทั้งปวงในใจความวา
จะเสด็จ ฯ กลับไปโดยทางชลมารคนั้น ใหนายทัพนายกองเรือกําชับวากลาวกัน
ใหไปเปนหมวดเปนกอง อยาใหพลัดหมวดพลัดกองมีราชการจะไดหากันสะดวก
แลฤดูนี้เปนเทศกาลลมวาวพัดตานขางเรือ ลมตะวันออกพัดขางเรือ หามอยาให
ออกไปไกลฝง ใหเลียบริมฝงไป ถาจะขามอาว ลมพัดขางเรือนัก คลื่นใหญจะ
ไปมิไดใหหยุดอยูกวาคลื่นจะสงบราบกอน จึงไปใหไดอาวอาศัย ถาเห็นวาเรือ
เปลาโปรงดี ก็ใหไปทั้งกลางวันกลางคืน อยาใหหยุดอยูที่ใดที่หนึ่ง แลใหนาย
ทัพนายกองกําชับวากลาวกัน อยาใหเปนเหตุการณแตสิ่งใดได อนึ่งลูกเรือนั้นให
ดูโคมนายเรือ๑๕๕เปนสําคัญ ใหไปเปนหมวดเปนกองกันตามรับสั่ง
๑๕๖
วันเสาร เดือนอาย ขึ้น ๑๕ ค่ํา เพลาเชาเสด็จ ฯ ทรงมาพระที่นั่งไป
บําเพ็ญการกุศล ณ วัดญวน ใหสังฆการี๑๕๗ธรรมการนิมนตพระสงฆไทย จีน
ญวน เปนอั นมาก มาพรอมกัน ณ วัดญวนแลวสวดพระพุทธมนตตามภาษา

๑๕๕
สัญญาณไฟ
๑๕๖
วันเสารที่ ๒๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๕๗
ตนฉบับเปนสังกรี
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๘๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
ครั้นจบแลวถวายไทยทาน๑๕๘พระสงฆไทย เงินองคละ ๑ บาท แพรองคละสาย
พระสงฆญวน พระสงฆจีนเงินเสมอองคละ ๑ บาท สามเณรองคละ ๑ บาท
แล ว ตรั ส ประภาษให โ อวาทพระสงฆ ญ วนโดยภาษาญวน พระสงฆ จี น โดย
ภาษาจีน ในพระราชอธิบายวา ใหตั้งอยูในพระวินัยสังวรศีล อยาใหเสพเมถุน
ตอ สีกา สามเณร คฤหั สถ ถามิไดตั้งอยูใ นบั ญญัติฉะนี้ จะใหตัด ศีรษะเสีย
ครั้น ใหโ อวาทแลวเสด็ จ ฯ ออกจากพระวิห าร ยาจกวณิพ กจีน ญวน มารั บ
พระราชทานเปนอันมากนักหนา จึงพระราชทานเงินเสมอคนละ ๑ บาทแจกดวย
พระหัตถ
วั น เสาร เดื อ นอ าย ขึ้น ๑๕ ค่ํ า เพลาบ าย ๓ โมงเศษ ให หาพระยา
ประชาชีพซึ่งอยูในเวรจําเขามาเฝา จึงตรัสวา ถาจะใชขาวลงใหครบพันได มีผู
รับรองเปนมั่นคงแลว โทษถึงตายใหยกไวจะเอาตัวไปลงพระราชอาชญาเฆี่ยน ๓
ยก ณ กรุ ง ฯ ถามิไ ดจะตัดศีรษะเสีย พระยาประชาชีพจึงใหพระยาสุรเสนา
หมื่น ศรี พระยาวิชิต ณรงคใ หหลวงพรหมธิบาล หลวงอิน ทรเทพ รับ ตั วตอ
เจาพระยาจักรี
๑๕๙
วั น อาทิต ย เดือ นอาย แรม ๑ ค่ํ า เพลาบา ย ๓ โมงเศษ พระยา
๑๖๐
พิษณุโลก เจาเมืองเชิงกะชุม พระยาโยธาภักดี เจาเมืองมะลิกุน พระยาราวี
โยธาธิ บ ดี เจ า เมื อ งนครบุ รี เจ า พระยาจั ก รี พ ามาเฝ า ทรงพระกรุ ณ า
พระราชทานเสื้ อ ผ า คนละสํ า รั บ พระราชทานป น ใหญ ๒ บอก ให พ ระยา
พิษณุโลกรักษาคายปากน้ําโพรงกระสัง ฝากไปพระองคราม ปนใหญ ๕ บอก
อนึ่ง เจาพระยาจักรีใหมีหนังสือ ไปถึงพระองครามราชาใจความวา ทรงพระ
กรุณาพระราชทานปนใหญไวสําหรับเมือง ๕ บอก แลเมืองซึ่งขึ้นแกกัมพูชาธิบดี
อยาเพิ่งใหเรียกสวยไรกอน ดวยวากองทัพมาย่ํายีผูคนยังขัดสนอยู แลใหโอบ
ออมเกลี้ยกลอมเอาไวใชโดยไมตรี อยาใหเสียน้ําใจได แลวใหพระองครามราชา

๑๕๘
ตนฉบับเปนไชยทาน
๑๕๙
วันอาทิตยที่ ๒๗ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๖๐
หมายถึง พระยาสุรสีห ตอมาคือ สมเด็จกรมพระราชวังบวร มหาสุรสีหนาถ
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๘๙
สืบดูหนทาง ซึ่งจะไปดูเมืองอนํากก, เมืองลูกหนาย, เมือง............(ตนฉบับ
ลบ) ใหสรรพไว
๑๖๑
วันจันทร เดือนอาย แรม ๒ ค่ํา เพลาเชาเสด็จออกเสนาบดีผูใหญ
ผู น อ ย จึ ง ตรั ส สั่ ง เจ า พระยาจั ก รี ใ ห ก ฎหมายไว ใจความว า พระยาพิ ชั ย
ไอศวรรย พระยาศรีราชเดโช พระทายน้ํามหาดเล็ก เปนกองหนา มิไดตีเมือง
พุทไธมาศใหแตกหามิได ใหรอนถึงทัพหลวงทรงพระดําริใหตีเมืองพุทไธมาศได
แลพระยาพิชัยไอศวรรย พระศรีราชเดโช พระทายน้ํา กองมหาดเล็ก ก็มิไดปด
พระราชวัง ซึ่งจะไดเปนหลวงหามิได แลเขาเก็บเปนอาณาประโยชนแกตนแลว
ทุบตอยสับ ฟน สิ่ง ของเสียเปน อัน มาก ทรงพระกรุณาจะเอาตั วเปน โทษใหกอ
กําแพงโดยยาว ๑๐ ศอกโดยสูง...............ใหแลวแตใน ๒ เดือนถามิแลวจะตัด
ศีรษะเสีย
อนึ่ง เพลาย่ําฆองค่ําแลวทุมเศษ พระองครามราชาบอกหนังสือมาถึง ฯ
ล ฯ ณ ศาลา ๆ เอาหนังสือบอกกราบทูลพระ ฯ ใจความวา พระองคอุทัย , เจา
เสสัง, หนีไปแควนเมืองญวน ๆ ไมใหเขาไปจึงยกทัพกลับมา พระองครามราชา
ใหทหารไปเกลี้ยกลอม พบกองทัพพระองคอุทัยไดรบกัน กองทัพพระองคอุทัย
แตก แลขัดสนดวยปน จะขอปนคาบศิลาซึ่งเบิกไปสําหรับทัพ ๓๐ บอก จะขอ
ใหม ๗๐ เปน ๑๐๐ บอก
ครั้นไดทรงฟงหนังสือบอกนั้นแลว จึงสั่งเจาพระยาจักรีใหพระราชทานปน
คาบศิ ล า ๑๐๐ บอก ตามหนั ง สื อ บอก จึ ง สั่ ง ให จั ด ป น คาบชุ ด ๑๒ บอก
พระราชทานไปเปน ๑๑๒ บอก แลวทรงพระอักษรใหเจาพระยาจักรี บอกไปถึง
พระองคร ามราชา ใจความวาปนใหญ ๕ บอกฝากพระยาพิษณุ โลกขึ้น ไปถึง
พระองครามราชา แลพระราชทานปนใหญใหพระยาพิษณุโลก ๒ สําหรับรักษา
คายปากน้ําโพรงกระสัง ถาชาไปก็ใหพระองครามราชาแตงคนลงมารับเอาตอ
พระยาพิษ ณุโ ลก อนึ่ง ดีบุก ๕๐ หาบ ดิน ประสิว ๕๐ หาบฝากโกษา ๑๖๒ไป
พระราชทานพระองครามราชา ถาขัดสนดวยลูกกระสุน ดินประสิว ทรงพระ
๑๖๑
วันจันทรที่ ๒๘ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๖๒
พระยาโกษา นอกราชการ ที่โปรดใหไปอยูชวยราชการกรุงกัมพูชา
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๙๐ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
กรุณาพระราชทานพระยาราชาเศรษฐีไวเปนอันมากใหพระองครามแตงคนมายืม
เอาตอ พระยาราชาเศรษฐี อนึ่ง ขาวเปลือ ก ๗๐ เกวียน มอบพระยาราชา
เศรษฐีไว ถาพระองครามขัดสนดวยอาหาร ก็ใหแตงคน แตงเกวียนลงไปรับเอา
ตอพระยาราชาเศรษฐี แลซึ่งเสด็จอยูชานักมิไดดวยเจาพระยาศรีธรรมาธิราช๑๖๓
แลขาหลวงมีชื่อผูรักษา บอกหนังสือสงคน ขาว ลาว ละวา พะมา หนาดาน
มา พะมาเสียแกหอแลว แลพะมาแตกตื่นมาหนาดาน จะเสด็จ ฯ พระดําเนินลง
ยังกรุง ฯ แตงกองทัพขึ้นไปจัดแจงเมืองเชียงใหม เมืองมัตมะ เมืองหงสา
๑๖๔
ณ วันอังคาร เดือนอาย แรม ๓ ค่ํา ยกโยธาทัพหลวงจากเมืองพุท
ไธมาศ กลับคืนพระนคร เสด็จโดยทางชลมารคมาในทองทะเลหลวงเดชะดวย
ปญญาบารมีปกเผื่อเจือไปแกโยธีทหารทั้งปวงมาเปนสุขสบาย หาอันตรายมิได
เสด็จ ฯ มา ๑๓ เวน วันจันทร เดือนอาย แรม ๑๓ ค่ํา เพลา......เถิง เมือ ง
ธนบุรี
๑๖๕
วันจันทร เดือนยี่ ขึ้น ๙ ค่ํา ปเถาะตรีศกพระราชทานญวนขางใน
ให แ ก เ จ า พระยาศรี ธ รรมธิ ร าช เจ า พระยาจั ก รี ๑๖๖ เจ า พระยามหาเสนา
เจาพระยามหาสมบัติ เจาพระยามหามนเทียรใหโขลนนําไปพระราชทานถึงเรือน
๑๖๗
วั น เสาร เดื อ นยี่ ขึ้ น ๑๕ ค่ํ า ป เ ถาะตรีศ กเพลาเช า ๒ โมงเศษ
หลวงราช จีน ซึ่งอยูชวยราชการพระยาราชาเศรษฐี ณ เมืองปากน้ําพุทไธมาศ
ถือ หนั ง สือ บอกข อ ราชการเมื อ งกั ม พู ช าธิ บ ดีแ ลหนั ง สือ บอกเมือ งพุ ท ไธมาศ
แลศุภอักษร๑๖๘พระยาราชเศรษฐี ญวน แลคุมตัวพระยาจันทบูร๑๖๙ซึ่งเปนกบฏ
สงเขามากับบุตรหญิงคนหนึ่ง พระยาพิพัฒโกษาไดเอาหนังสือบอกแลศุภอักษร

๑๖๓
ขาหลวงรักษาพระนคร ตอมาเปนอัครมหาเสนาบดี
๑๖๔
วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๖๕
วันจันทรที่ ๑๘ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๖๖
เจาพระยาจักรี (หมุด)
๑๖๗
วันเสารที่ ๒๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๗๗๑
๑๖๘
หนังสือของเจาเมืองพุทไธมาศเรียกศุภอักษร
๑๖๙
พระยาจันทบุรี ที่คบกับขุนราม หมื่นสอง ไมยอมรวมกําลังเขากับสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรี เมื่อแรกจะกูชาติ ดูประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕ หนา ๑๘ (ดูเลมนี้หนา๔๗)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๙๑
นั้น กราบบังคมทูลพระกรุณา ครั้นทรงฟงหนังสือบอกนั้นแล ว จึงตรัสใหหา
ลูกขุน(คือ) พระครูพิเชษ ขุนหลวงพระไกรศรี พระเกษม และผูมีชื่อ (คือ) เจา
จุย ๑ หลวงสงขลา ๑ พระยาจันทบูร ๑ จีนบุนเส็ง ๑ ขุน...... ๑(รวม) ๕ เขามา
เฝาพรอมกัน จึงตรัสสั่งใหลูกขุนปรึกษาโทษผูมีชื่อ ๔ คน ลูกขุนเอาคําปรึกษา
กราบบังคมทูลพระกรุณา ใจความใหประหารชีวิตสิ้นทั้งโคตรโดยบทพระอัยการ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ สั่งใหออกไปปรึกษากันกอน วาอยางไรที่รอด
จากความตายนั้น ให.........ถาผูใดคิดไดอยางไร ก็ใหทําฎีกาทูลเกลา ฯ ถวาย
ถาเห็นชอบดวยจะพระราชทานชีวิตใหทําราชการแกตัวสืบไป ถาไมเห็นชอบดวย
ก็ตามโทษานุโทษโดยลูกขุนปรึกษา
************************

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๙๒ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
ตารางเหตุการณ
เวลา เหตุการณ
๒๒ สิงหาคม ๑๗๗๑ พระยายมราชออกเดินทางไปตีกรุงกัมพูชาทางบก
๙ กันยายน ทัพเรือสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีออกไปตีเมืองพุทไธมาศ
๑๖ กันยายน ทัพพระยายมราชยกมาถึงบานปราสาทเอก
๑๗ กันยายน ทัพพระยายมราชตีเมืองพระตะบองแตก
๒๑ กันยายน กองทัพเรือสยามเขาโจมตีเมืองพุทไธมาศ
๒๒ กันยายน เมืองพุทไธมาศแตก แตพระยาราชาเศรษฐีหนีไปได
๒๓ กันยายน - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเขาไปยังวังพระยาราชาเศรษฐี
- สั่งลงโทษทหารที่ขัดคําสั่งในการรบ
- จับเจาจุยได
๒๔ กันยายน ลงโทษพระยาพิพิธและบาวคนสนิท
๒๕ กันยายน ทัพเรือสยามออกไปตีกรุงกัมพูชา
๒๖ กันยายน ทัพเรืออยูที่ปลิงกุ
๒๗ กันยายน สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีประทับที่บานแหลม
๒๘ กันยายน - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีลงโทษชาวจีนที่นําทางไปผิด
- พระยายมราชทราบวา เขมรตั้งคายอยู ณ สํานักระกา
๒๙ กันยายน - สมเด็จ พระเจ ากรุ งธนบุ รี ประทั บ ณ บ านโพรงกระสั ง
และมีหนังสือราชการไปยังเจาเมืองปาสัก
- พระยายมราชตีเมืองโพธิสัตวได
๓๐ กันยายน สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงทราบวา สมเด็จพระนารายณ
ราชา ทรงหนีไปแลว
๒ ตุลาคม สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี มี รั บ สั่ ง ให ไ ปจั บ สมเด็ จ พระ
นารายณราชา ที่บอพนม
๓ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงทราบวา ญวนลูกหนายมารับ
ตัวสมเด็จพระนารายณราชา ไปแลว
๔ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเสด็จมาถึงปากคลองมะกะสา
๕ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีประทับที่กอะพนมเพ็ง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๙๓
เวลา เหตุการณ
๙ ตุลาคม - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีพระราชทานเรือและขาวปลา
อาหารใหสงฆไทยที่ตองการไปอยูที่กรุงธนบุรี
- ทัพพระยายมราชมาถึงบานกําแรง ทราบวา สมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรีทรงยึดกรุงกัมพูชาได และกลับไปเมืองพุทไธ
มาศแลว
๑๐ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเสด็จกลับเมืองพุทไธมาศ
๑๑ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีประทับที่บานโพรงกระสัง
๑๒ ตุลาคม สมเด็ จ พระเจ ากรุ งธนบุ รี ทรงทราบว า กองทั พ ที่ ส งไปตี
เมืองปาสักถูกตีแตก
๑๔ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีรับสั่งใหพระยาพิไชยไอศวรรย
แตงคนไปถามขาวที่กรุงธนบุรี
๑๕ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีตัดสินลงโทษจีนบุญเส็ง
๑๖ ตุลาคม - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตัดสินลงโทษนายทหารที่
กระทําผิดและยอหยอนราชการ
- ถวายอาหารแกพระภิกษุสงฆ
- พระยาอธิกาวงศา เจาเมืองปาสักยอมสวามิภักดิ์
๑๗ ตุลาคม - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีประพาสเขาเมรี
- สงทูตไปโคชินจีน
๑๘ ตุลาคม สมเด็ จพระเจ ากรุงธนบุรี มีพ ระราชโองการใหล งโทษขุ น
นางที่กระทําความผิด
๑๙ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีตรัสสั่งอาลักษณใหแจงกรมนาวา
จะมอบเสบียงอาหารแกภิกษุใหพอเดินทางไปถึงกรุงธนบุรี
๒๐ ตุลาคม - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีตรัสสั่งลงโทษขุนนางที่กระทํา
ผิด
- มีรายงานขาวเรื่องกองทัพพมา
๒๑ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงบําเพ็ญพระราชกุศล

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๙๔ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
เวลา เหตุการณ
๒๒ ตุลาคม พระยาโกษานอกราชการมารายงานขาววา สถานการณที่
กรุงกัมพูชายังไมสงบ
๒๓ ตุลาคม - สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีพระราชทานเงินใหแกเชลยชาว
ไทย
- มีรับสั่งใหองครามราชาครองกรุงกัมพูชา และใหพระยา
ยมราชและพระยาโกษาอยูชวยราชการ
๒๔ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีพระราชทานเงินใหแกชาวเมือง
พุทไธมาศ
๒๕ ตุลาคม - สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี มี รั บ สั่ ง ให เ จ า พระยาสร
ประสิทธิ์ตั้งพิธีกอนเสด็จกลับกรุงธนบุรี
- มีรับสั่งลงโทษพระยาประชาชีพ
๒๖ ตุลาคม สมเด็ จ พระเจ ากรุ ง ธนบุ รี ท รงบํ าเพ็ ญพระราชกุ ศ ลที่ วั ด
ญวน
๒๗ ตุลาคม ขุนพลทัพบกมาเขาเฝาสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
๒๘ ตุลาคม - สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี มี รั บ สั่ ง ลงโทษพระยาพิ ชั ย
ไอศวรรย พระยาศรีราชเดโชและพระทายน้ํา
- สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงทราบข า วสมเด็ จ พระ
นารายณราชา
๒๙ ตุลาคม สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงยกทัพกลับกรุงธนบุรี
๑๘ พฤศจิกายน สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีพระราชทานญวนขางในใหแกขุน
นางชัน้ ผูใหญ
๒๓ พฤศจิกายน สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงตัดสินลงโทษประหารชีวิตเจา
จุย หลวงสงขลา พระยาจันทบูรณ (เดิม) และจีนบุญเส็ง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๙๕

บรรณานุกรม
เอกสารไทย
คําใหการชาวกรุงเกา. นนทบุรี: จดหมายเหตุ, ๒๕๔๔.
จั น ทรฉ าย ภั คอธิค ม. “พระราชพิธี ป ฐมกรรมใน พ.ศ. ๒๑๒๗ ขอ โต แ ย ง ใน
ประวัติศาสตรไทย, ใน สุจิตต วงษเทศ, พระนเรศวรตีเมืองละแวก แต
ไมได “ฆา” พระยาละแวก. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๔, ๓ – ๖๔.
ชุ ลี พ ร วิ รุ ณ หะ. บุ ห งารายา ประวั ติ ศ าสตร คํ า บอกเล า ของชาวมลายู .
กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, ๒๕๕๑.
ทําเนียบนาม ภาคที่ ๓ ตําราทําเนียบบันดาศักดิ์กรุงกัมพูชา, พิมพในงาน
พระราชทานเพลิงศพมหาเสวกโท เจาพระยาอภัยภูเบศร (ชุม อภัยวงศ),
๒๔๖๕.
ธีรวัต ณ ปอมเพชร, “จดหมายออกพระพิพัทธโกษาถึงบริษัทอินเดียตะวันออก
ข อ ง ฮ อ ลั น ด า ค . ศ . ๑ ๗ ๖ ๙ . ” ใ น ๑ ๐ ๐ เ อ ก ส า ร สํ า คั ญ :
สรรพสาระประวั ติ ศ าสตร ไทย ลํ า ดั บ ที่ ๕, วิ นั ย พงศ ศ รี เ พี ย ร,
บรรณาธิการ, (กรุงเทพ: ศักดิโสภาการพิมพ, ๒๕๕๓), ๒๙ – ๕๓.
นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ . การเมื อ งไทยสมั ย พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี . พิ ม พ ค รั้ ง ที่ ๒.
กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖.
. ประวัติศาสตรรัตนโกสินทรในพระราชพงศาวดารอยุธยา.
พิมพครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๓.
พระราชพงศาวดารกรุงเกา ฉบับหลวงประเสริฐ . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๗.
พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายรายวัน
ทั พ อภิ นิห ารบรรพบุ รุ ษ และเอกสารอื่น ๆ. นนทบุ รี : ศรี ป ญญา,
๒๕๕๑.
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ คําใหการชาวกรุงเกา
และคําใหการขุนหลวงหาวัด. นนทบุรี: ศรีปญญา, ๒๕๕๓.
พิมพประไพ พิศ าลบุ ตร. สํ าเภาสยาม ตํานานเจ กบางกอก. พิม พครั้งที่ ๒.
กรุงเทพฯ: นานมีบุค, ๒๕๔๔.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๙๖ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ
มองซิเออร เดอ ลา ลูแ บร. จดหมายเหตุ ลา ลู แบร ราชอาณาจักรสยาม.
สันต ท. โกมลบุตร แปล. นนทบุรี: ศรีปญญา, ๒๕๔๘.
วสันต มหากาญจนะ. “ตําราพิไชยสงครามในฐานะหลักฐานประวัติศาสตรภูมิ
ปญญาไทย พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๔๑๘.” วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต
สาขาประวั ติ ศ าสตร เ อเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต ภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร
มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๙.
สายชล สั ต ยานุ รั ก ษ . พุ ท ธศาสนากั บ แนวคิ ด ทางการเมื อ งในรั ช สมั ย
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก (พ.ศ. ๒๓๒๕ – ๒๓๕๒).
กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๖.
อรุณรัตน วิเชียรเขียว และเดวิด เค. วัยอาจ. ตํานานพื้นเมืองเชียงใหม (ฉบับ
ปรับปรุง). เชียงใหม: ซิลควอรมบุคส, ๒๕๔๗.

เอกสารภาษาตางประเทศ
Bhawan Ruangsilp. Dutch East India Company Merchants at the Court
of Ayutthaya: Dutch Perception of the Thai Kingdom, c. 1604 –
1765. Leiden: Brill, 2004.
Boudet, Paul. “La conquêt de la Cochinchine par les Nguyêns et le role des
émigrés chinois.” BFEO. 42 (1942): 115 – 132.
Boxer, C.R. Dutch Seaborne Empire 1600 – 1800. Essex: Anchor Press,
1977.
Caron, François and Schouten, Joost. A True Description of the Mighty
Kingdoms of Japan and Siam. trans. Roger Manley, introduction
and Notes. John Villiers Bangkok: The Siam Society, 1986.
Chen, Chingho A. “Mac Thien Tu and Phrayataksin, A Survey on their Political
Stand, Conflicts and Background,” Proceeding Seventh IAHA
Conference, Vol. II, Chulalongkorn University Press, 22 – 26 August
1977, 1,534 – 1,575.
De Jong, P.F. Le Josselin, and Van Wijk, H.L.A. “Malacca Sultanate (An
account from a hitherto untranslated Portuguese source).” JSEAH 1, 2
(September 1960): 20-29.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ธิษณา วีรเกียรติสุนทร ๙๗

Launay, Adrien. Histoire de la Mission de Siam 1662-1811, Documents


Historiques II. Paris: Anciennes Maisons Charles Douniol et Retaux,
1920.
Pavie, Auguste. Atlas of Pavie Mission, Laos, Cambodia, Siam,
Yunnan and Vietnam. edited Walter E. J. Tips. Bangkok: White
Lotus, 1999.
Puangthong Rungswasdisab. “Siam and the Contest for Control of the Trans –
Mekong Trading Networks from Late Eighteenth to the Mid –
Nineteenth Century ,” Water Frontier, Commerce and the
Chinese in the Lower Mekong Region 1750 – 1880, Nola Cooke
and Li Tana edited Oxford: Rowman & Littlefield, 2004, 101 – 118.
Reid, Anthony. Southeast Asia in the Age of Commerce 1450 – 1680,
Volume Two: Expansion and Crisis. Chiang Mai: Silkworm Books,
1993.
Sakurai, Yumio. “Eighteenth – Century Chinese Pioneers on the Water
Frontier of Indochina.” Water Frontier, Commerce and the
Chinese in the Lower Mekong Region 1750 – 1880. Nola Cooke
and Li Tana edited. Oxford: Rowman & Littlefield, 2004, 35 – 52.

Sakurai, Yumio and Kitagana, Takako. “Ha Tien of Banteay Meas in the time
of the fall of Ayutthaya. In From Japan to Arabia: Ayutthya ‘s
Maritime Relations with Asia. Bangkok: Toyota Foundation, 1999,
150 – 220.
Santanee Phasuk and Stott, Philip. Royal Siamese Maps, War and Trade
in Nineteenth Century Thailand. Bangkok: River Books, 2004.
Sok, Khin. Le Cambodge entre le Siam et le Viêtnam (de 1775 à
1860). Paris: École Française d’Extrême-Orient, 1991.
Sun – Tzu, the Art of War. trans and commentary by Ralph D. Sawyer.
Oxford: Westview Press, 1994.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๙๘ จดหมายเหตุรายวันทัพฯ

Van Vliet, Jeremias. Van Vliet’s Siam. Christ Baker, ed. Chiang Mai:
Silkworm Books, 2005.
Winai Pongsripian. “Traditional Thai Historiography and the Nineteenth –
Century Decline.” Ph. D. Dissertation, University of Bristol, 1983.
Woods, Shelton. Vietnam an Illustrated History. New York: Hippocrene
Books, 2002.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


เอกสารลําดับที่ ๖๖
นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิ พ.ศ. ๒๓๒๔ : วรรณกรรม
ประวัติศาสตรในบริบทความสัมพันธไทย–จีนสมัยกรุงธนบุร๑ี
ศุภการ สิริไพศาล

๑. ความสําคัญของเอกสาร
วรรณกรรมเรื่อง“นิราศกวางตุง”หรือ“นิราศพระยามหานุภาพไปเมือง
จีน”นี้ พระยามหานุภาพ(อน)ขณะดํารงตําแหนงเปนหลวงนายศักดิไดประพันธขึ้น
เมื่อครั้งรวมเดินทางเปนคณะราชทูตไปเมืองจีนสมัยแผนดินสมเด็จพระเจากรุง

ธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๔ คณะทูตชุดนี้ประกอบดวยทูต ๒ คณะ คือคณะของพระยา
สุนทรอภัยราชทูตทําหนาที่อัญเชิญเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาสนของ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีไปถวายจักรพรรดิเฉียนหลงที่กรุงปกกิ่ง สวนคณะทูตอีก
ชุ ด มี พ ระยาศรี ธ รรมาธิ ร าชเป น ราชทู ต ทํ า หน า ที่ คุ ม เครื่ อ งบรรณาการและ
พระราชสาสนไปมอบแกขาหลวงเมืองกวางตุงและทําการคาขายสินคารวมถึงซื้อ
สิ่งของจําเปนตามรายการที่กําหนดไว คณะทูตทั้งหมดออกเดินทางพรอมกันจาก

ขอขอบพระคุ ณ ดร.วิ นัย พงศ ศ รีเ พี ย ร เมธี วิ จั ยอาวุ โ ส สกว.ศ.ดร.ประเสริ ฐ ณ นคร
รศ.เสมอ บุญ มาที่ กรุ ณาใหคํ าแนะนํ าและตรวจแก ไขรายละเอีย ดงานวิ จัย ขอขอบคุ ณ
คุณธิษณา วีรเกียรติสุนทรและนักวิจัยโครงการ๑๐๐เอกสารสําคัญฯทุกทานที่ชวยชี้แนะ
วิจารณขอบกพรองและรวมถกเถียงประเด็นทางประวัติศาสตรในงานวิจัยนี้

คณะของพระยาสุนทรอภัยเปนคณะเรือ “กง”หรือ“กอง”ที่เดินทางตอไปกรุงปกกิ่งเพื่อ
ถวายพระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการสวนคณะของพระยาศรีธรรมาธิราชเปน
คณะเรือ“ฟูกง”เปนเรือบรรทุกสิ่งของนอกบรรณาการทําหนาที่ขายของและซื้อสินคาใน
เมืองกวางตุง รายละเอียดเพิ่มเติมใน“พระราชสาสนของสยามถึงขาหลวงมณฑลกวางตุง
กวางซี” ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี (แปล)(เอกสารประวัติศาสตรจีนเกี่ยวกับความสัมพันธ
ไทย-จีนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก)”ใน“ประวัติศาสตรปริทรรศน”
วินัย พงศศ รีเ พีย ร บรรณาธิ การ(กรุ งเทพ: กองทุนดํา เนิ ร เลขะกุลเพื่ อประวัติศาสตร ,
๒๕๔๒), ๑๒๕.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๐๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

กรุงธนบุรีไปเมืองกวางตุงกอนที่จะแยกยายกันปฏิบัติหนาที่ โดยหลวงนายศักดิ
เป นคณะทู ต ที่ทํ าการคาอยูใ นเมืองกวางตุง ดั ง ที่ไ ดระบุ จุด หมายปลายทางใน
นิราศไววา“ไปประเทศกวางตุงกรุงศรี”
ตลอดระยะเวลา ๓๓ วันของการเดินทางรวมทั้งชวงที่พํานักอยูในเมือ ง

กวางตุง อีก ๓ เดือนกวา หลวงนายศักดิ(อน)ไดเขียนบันทึกการเดินทางและสิ่งที่
พบเห็นตางๆเปนกลอนนิราศ๔ความยาว ๓๖๙ คํากลอนมีวรรณศิลปในการใชคํา
และภาษาที่เรียบงายแตสละสลวย มีสัมผัสอักษรอยางกลอนในสมัยอยุธยา ทั้งยัง
มีบทบรรยายและพรรณนาละเอียดเดนชัดโดยเฉพาะการเลาเรื่องที่ใชตางประเทศ
เปนฉากหลังทําใหเนื้อเรื่องแปลกใหมกวาวรรณคดีไทยทั่วไปในสมัยนั้น
นิราศกวางตุงนาจะเปนวรรณคดีที่สําคัญเรื่องหนึ่งในสมัยตนรัตนโกสินทร
ทั้งนี้นอกจากเนื้อหาที่แปลกใหมแลว หลวงนายศักดิผูประพันธยังรับราชการสืบ
ต อ มาแม จ ะเปลี่ ย นแผ น ดิ น จากกรุ ง ธนบุ รี เ ป น ราชวงศ จั ก รี แ ล ว โดยได รั บ
พระราชทานบรรดาศักดิ์เปน“พระยามหานุภาพ”ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟาจุฬาโลก และมีผลงานวรรณกรรมประเภทเพลงยาวอีกหลายเรื่อง ๕
นับเปนกวีที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในยุคสมัยนั้น
อยางไรก็ตามเปนที่นาเสียดายวานิราศกวางตุง เปนวรรณกรรมเกาแกที่มี
อายุถึงสองรอยกวาป แตเพิ่งไดรับการตีพิมพเผยแพรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒
สมั ย รั ช กาลที่ ๖ หลั ง จากนั้ น นิ ร าศกวางตุ ง ได ถู ก จั ด พิ ม พ เ ป น หนั ง สื อ ขึ้ น อี ก


ออกเดินทางจากกรุ งธนบุ รี วันอั ง คารเดื อ น ๗ แรม ๑๓ ค่ํ า พ.ศ.๒๓๒๔และกลั บ ถึ ง
กรุงเทพในฤดูใบไมผลิ ป ๒๓๒๕ (ประมาณปลายเดือน เมษายน หลังการเปลี่ยนแผนดิน
แลว) รวมระยะเวลาทั้งสิ้น ๕ เดือนเศษ สวนคณะของทูตบรรณาการของพระยาสุนทรอภัย
เดินทางกลับถึงกรุงเทพชวงตนป ๒๓๒๖

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๕ไดใหความหมายของคําวา “วรรณคดี
นิราศ”ไววา “เปนหนังสือที่พรรณนาถึงการจากไปอยูกันที่ตางๆ มักแตงเปนบทกลอน”
ลักษณะการแตงนิราศยุคแรกสวนใหญมีแกนของเรื่องเปนการพรรณนาอารมณความรูสึก
โศกเศราที่ตองเดินทางพลัดพรากจากบานเมืองและนางอันเปนที่รัก ในสมัยตอๆมากวีได
เพิ่มบทบรรยายประสบการณการเดินทางและสิ่งที่ไดพบเห็นรอบตัวสลับกับการกลาวถึงตัว
นางเปนบางสวน ซึ่งถือเปนลักษณะเฉพาะของงานเขียนประเภทนิราศ

เพลงยาวของพระยามหานุภาพ
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๐๑

หลายคราว ไดแ ก พ.ศ. ๒๔๙๘ พิม พร วมอยูใ นหนั ง สื อ สิบสองกวี ข อง พ.ณ

ประมวญมารค ตอมาในป ๒๕๐๐กองวรรณคดีประวัติศาสตร กรมศิลปากร
ไดจั ด พิม พ ขึ้น ใหมโ ดยมี การตรวจสอบชํ า ระภาษาเนื้อ ความและทํ า เชิง อรรถ
อธิบาย พ.ศ. ๒๕๐๓ กรมศิลปากรอนุญาตใหพิมพเปนอนุสรณงานฌาปนกิจศพ
นายฉลุมาส อักษรมัต โดยยึดถือจากตนฉบับของกรมศิลปากร ในพ.ศ. ๒๕๐๕
ถู ก จั ด พิ ม พ ขึ้ น อี ก ครั้ ง โดยรวมอยู ใ น จดหมายเหตุ เ รื่ อ งพระราชไมตรี ใ น
ระหว า งกรุ ง สยามกั บ กรุ ง จี น นิ ร าศพระยามหานุ ภ าพไปเมื อ งจี น และ
กายคฤหะหรื อเรื อนคือ กายเป น หนั ง สือ อนุ ส รณ ง านพระราชทานเพลิ ง ศพ
หลวงศักรินทรภักดี(ใตเหา เตชะกําพุต) และฉบับปจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๑สํานักพิมพ
ศรีปญญาพิมพรวมอยูในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ
(เจิม) จดหมายเหตุทัพรายวัน อภินิหารบรรพบุรุษ และเอกสารอื่นๆ
แมวาจะมีการจัดพิมพนิราศกวางตุงออกเผยแพรหลายครั้ง รวมทั้งมีการ
อธิบายเนื้อหาและความสําคัญในทางวรรณกรรมที่ถือกันวาเปนนิราศเดินทางไกล
ไปตางแดนเรื่องแรกของไทย๗ แตสังคมไทยไดรูจักนิราศกวางตุงในนิยามจํากัด
ความแค “ เป น บั น ทึก การเดิน ทางของทู ต ไทยไปเมือ งจีน เพื่อ ถวายเครื่อ งราช
บรรณาการ”๘โดยไมไดมีการศึกษาคนควาหรือวิเคราะหบริบทความรูเพิ่มเติม
อยางจริงจัง แตอยางใด ความรูและขอมูลทางประวัติศาสตรที่ ป รากฏในนิราศ
กวางตุงไดถูกมองขามและขาดการพิเคราะหพิจารณาอยางถี่ถวน ทั้งที่เหตุการณ
ในชวงเวลานั้นถือเปนหัวเลี้ยวหัวตอสําคัญของประวัติศาสตรความสัมพันธไทย-


ชื่อเรียกหนวยงานในสมัยนั้น

เปนที่รับรูกันอยางกวางขวางในแวดวงวิชาการและสังคมทั่วไป กระทั่งเมื่อป ๒๕๔๓ ปรีดี
พิศ ภูมิ วิถี ได พ บเอกสารสมุ ดไทยดํา เรื่ อ ง“ตนทางฝรรงเศส”ที่ แผนกเอกสารตะวั นออก
หอสมุดแหงชาติ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เนื้อหาพรรณนาถึงการเดินทางไปฝรั่งเศสสมัย
สมเด็ จ พระนารายณ ข องคณะทู ต ชุ ด ออกพระวิ สุ ท ธสุ น ทรหรื อ ที่ รู จั ก กั น ในนามของ
“โกษาปาน” ซึ่งหากตรวจสอบอยางแนชัดแลววาเปนเอกสารที่บันทึกขึ้นในสมัยอยุธยา
จะถือวาเปน“นิราศเดินทางไกลไปตางแดนเรื่องแรกของไทย”

บรรเทา กิตติศักดิ์.หนังสือเรียนภาษาไทย ท.๐๓๒ ประวัติวรรณคดีไทย.(กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช,๒๕๓๕),๑๙

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๐๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

จีน ยุคปลายอยุธยา-ธนบุรี ถึงตนรัตนโกสินทร ที่นาเสียดายอยางยิ่งคือบรรดา


นักประวัติศาสตร นักวรรณคดีและบุคคลทั่วไปตางรูจักและใชประโยชนความรู
จากวรรณกรรมประวัติศาสตรอันทรงคุณคาชิ้นนี้นอยมาก มีงานวิชาการที่อางอิง
และกลาวถึงนิราศกวางตุงไวบางไดแก บทความเกี่ยวกับการสงทูตไปเมืองจีนของ
สุทธิศักดิ์ สุขสุวานนท บทความของตวน ลี เชิงแปลโดยประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
(๒๕๒๖) เรื่ อ งสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี กั บ จั ก รพรรดิ จี น งานวิ จั ย ระดั บ
ปริ ญ ญาเอกของสื บ แสง พรหมบุ ญ (๒๕๒๕) เรื่ อ งความสั ม พั น ธ ใ นระบบ
บรรณาการระหวางจีนกับไทย ค.ศ.๑๒๘๒-๑๘๕๓ สารสิน วีระผล(๒๕๔๘)
เรื่องจิ้มกองและกําไร การคาไทย-จีน ๒๑๙๕-๒๓๙๖ ซึ่งงานทุกชิ้นที่กลาว
มานี้ไมไดมีจุดมุงหมายในการศึกษานิราศกวางตุงโดยตรง แตไดใชนิราศกวางตุง
เปนหลักฐานหนึ่งในการอางอิงถึงความสัมพันธไทย-จีนที่เกิดขึ้นในอดีต จึงนา
แปลกใจอยางยิ่งที่เอกสารชิ้นนี้ไดถูกมองขามโดยไมมีนักวิชาการคนใดไดศึกษา
โดยตรงทั้งในดานประวัติศาสตรและวรรณคดี
ความสํ า คั ญ ของนิ ร าศกวางตุ ง ประการแรกที่ ค วรกล า วถึ ง คื อ
คุณคามหาศาลสําหรับนักประวัติศาสตรผูสนใจ “บริบทความสัมพันธไทย-จีน”
เพราะวรรณกรรมเรื่องนี้เปนจดหมายเหตุการเดินทางไกลจากกรุงธนบุรีสูเมือง
กวางตุงที่ยืนยันถึงความตอเนื่องของความสัมพันธทางการทูตระหวางไทยกับจีน
สมัยโบราณ และเปนคลังขอมูลสําหรับรายละเอียดแบบแผน ธรรมเนียมและพิธี
การทางการทู ต ทั ศ นคติมุ ม มองที่มีตอ กั น ของชนชั้น ปกครองฝายไทยและจีน
รวมทั้งความเขาใจถึงวัตถุประสงคที่แทจริงของการติดตอสัมพันธกับจีนใน“ระบบ
บรรณาการ”ที่ดําเนินมาหลายรอยปตลอดชวงเวลาประวัติศาสตรไทย ถือเปน
คูมือการทูตที่สําคัญสําหรับการทําความเขาใจบริบทสัมพันธไทย-จีนที่มีรากเหงา
พื้นฐานยาวนานจากอดีต

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๐๓

ประการที่สอง นิราศกวางตุงเปนบันทึกภูมิ-ประวัติศาสตรรวมสมัยที่มอง
ผานสายตาของคนไทยที่ไดพบเห็นเมืองจีนในชวงเวลาที่รุงเรืองและสงบสุขที่สุด
ยุคหนึ่ง๙ ตลอดเวลาการเดินทางรวมทั้งชวงที่พํานักอยูในเมืองกวางตุงเปนเวลา
หลายเดือ น หลวงนายศั กดิไ ดบั น ทึกสิ่งที่พ บเห็น ทั้ง สภาพการเดิน ทาง สภาพ
ภูมิประเทศภูมิอากาศ พิธีกรรมความเชื่อ บานเมือง ผูคน วิถีชีวิต สภาพเศรษฐกิจ
และสังคมของชาวจีนในเมืองกวางตุงอยางละเอียดพอสังเขป ซึ่งบันทึกสวนตัวที่
ฉายภาพบานเมืองและสะทอนวิถีชีวิตชาวบานดังกลาวนี้ไมสามารถพบเห็นไดจาก
เอกสารทางการของฝายไทยและจีนซึ่งมุงเนนแตเรื่องราชการงานเมืองเปนหลัก
นิราศกวางตุงจึงเปนประวัติศาสตรสังคมที่สะทอนภาพเมืองจีนชวงปลายศตวรรษ
ที่ ๑๘ ไดเปนอยางดี
ประการสุดทาย คุณคาทางวรรณกรรมในฐานะวรรณคดีนิราศเดินทางไกล
เรื่อ งแรกและบรรยายโดยใชฉากตางประเทศเป นเรื่องแรกในวรรณคดีไ ทย๑๐
ความตื่นเตนและประสบการณแปลกใหมของกวีทําใหนิราศเรื่องนี้เต็มเปยมไป
ดวยชีวิตชีวาและจินตนาการ มีวรรณศิลปในการใชคําและภาษาที่เรียบงายแต
สละสลวย บทบรรยายและพรรณนาละเอียดเดนชัด มีสัมผัสอักษรอยางกลอนใน
สมั ย อยุ ธ ยา ที่ โ ดดเด น สุ ด คื อ บทรํ า พึ ง ถึ ง หญิ ง สาวชาวจี น ที่ แ สดงความ
ละเอียดออนซึ่งปลุกเรากามารมณไดอ ยางละเมียดละไมแตไรความหยาบโลน


ยุคคัง-เฉียน (พ.ศ.๒๒๐๕-๒๓๓๘) ระยะเวลากวา ๑๓๐ป ตั้งแตรัชสมัยจักรพรรดิคังซี
(พ.ศ.๒๒๐๕-๒๒๖๕) จักรพรรดิหยงเจิ้น(พ.ศ.๒๒๖๕-๒๒๗๘) และจักรพรรดิเฉียนหลง
(พ.ศ.๒๒๗๘-๒๓๓๘) ถื อ เป นช ว งเวลาที่ เ จริ ญ รุ ง เรื อ งสู ง สุ ด ของจี นสมั ย ราชวงศ ชิ ง
หลังจากนั้นจีนจะเผชิญกับภัยคุกคามของลัทธิจักรวรรดินิยมและความไมส งบจากกลุม
กบฏตางๆ ที่มุงโคนลมราชวงศชิง
๑๐
ในความเห็นของผูวิจัย นิราศกวางตุงเปนนิราศเดินทางไกลไปตางแดนที่หลงเหลืออยู
เพียงเรื่องเดียว แตอาจไมใชนิราศเรื่องแรกที่กลาวถึงการเดินทางไปตางแดน ทั้งนี้เปนที่
ทราบกันดีวาไทยมีการติดตอคาขายกับตางชาติมาเปนเวลานานแลวตั้งแตกอนสมัยกรุงศรี
อยุธยา มีการสงคณะทูตและพอคาออกไปตางแดนหลายชุดหลายคราวซึ่งนาจะไดมีการ
บันทึกพรรณนาการเดินทางในรูปแบบกลอนนิราศซึ่งเปนขนบนิยมของยุคสมัยไวบาง แตไม
ปรากฏเอกสารหลงเหลือสืบทอดมา จึงทําใหนิราศกวางตุงกลายเปนนิราศเดินทางไกลไป
ตางแดนเรื่องแรกโดยปริยาย
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๐๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ถอยคําที่รอยเรียงขึ้นจึงทําใหผูอานสัมผัสอารมณสวนลึกของกวีไดอีกดวย ความ
พิเศษอีกประการที่ แตกตางไปจากนิร าศเรื่องอื่นๆคือไมปรากฏบทพรรณนาที่
คร่ําครวญถึงนางอันเปนที่รักไวเลย๑๑
ความสําคัญดังที่กลาวมาขางตน งานวิจัยนี้จึงตองการศึกษาเนื้อหาและ
บริ บ ทของนิ ร าศกวางตุ ง ในมิ ติ ป ระวั ติ ศ าสตร โดยวิ เ คราะห ตี ค วามร ว มกั บ
หลักฐานสําคัญรวมสมัยที่มีความนาเชื่อถือ อาทิ จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง
(ชิงสื่อลู) พระราชสาสนของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี รวมทั้งเอกสารสําคัญอื่นๆ
ที่เ กี่ยวขอ งเพื่อ เที ยบเคียงสอบทานความถู กตอ งและอธิ บ ายเหตุ การณตางๆ
ที่ นิ ร าศบั น ทึ ก ไว รวมถึ ง การขยายความบริ บ ทประวั ติ ศ าสตร ค วามสั ม พั น ธ
ไทย-จี น อย า งละเอี ย ด และนํ า เสนออรรถรสด า นวรรณศิ ล ป ที่ ห ลากหลาย
ถือเปนงานวิจัยวรรณกรรมจากแงมุมประวัติศาสตรโดยเนนสภาพแวดลอมของ
เหตุการณที่เกิดขึ้นจริงในอดีต
สําหรับชื่อนิราศที่ปรากฏสองชื่อควบคูกันมาตลอดนั้น ในงานวิจัยนี้จะใช
“นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิ”เพราะสอดคลองกับเหตุการณในเมืองกวางตุง
ที่ผูประพันธกลาวถึงเปนหลัก และขณะที่แตงนิราศเรื่องนี้หลวงนายศักดิ (อน)ยัง
มิไ ดมีรั บพระราชทานบรรดาศักดิ์เป น “พระยา”ในราชทิน นาม “พระยามหานุ
ภาพ”แตอยางใด

๑๑
วินัย พงศศรีเพี ยร อธิ บายความหมาย“นิราศ”ไววา เปนคํา บาลี-สันสกฤต(นิร+อศ)
แปลวาไมมีที่อยู หรือพลัดพรากจากที่อยู คํานี้นํามาใชเรียกวรรณกรรมที่กวีเขียนขึ้นเมื่อ
ตอ งออกจากเรื อ นไปด ว ยธุร ะกั ง วลต า งๆ จุดประสงค ไ ม ไ ช เป นเพี ย งแค ฆ า เวลาที่ ตอ ง
เดินทางนานๆ หากยังเปนโอกาสใหชนชั้นผูดีและกวีไดแสดงความสารถในเชิงกลอนและ
วรรณศิลป โดยเฉพาะการพรรณนาอันละเอียดออนและลึกซึ้งผานถอยคําและจังหวะลีลา
ของกระบวนกลอน จนทํ าให ผูอ า นไม เพี ย งเห็ นภาพพจน แตสามารถเข าถึ ง และสัม ผั ส
อารมณละเมียดละไมทีก่ วีพยายามสื่อออกมา คําวา นิราศ ในทางรูปธรรมแปลอยางชัดเจน
วา พลัดพรากจากเรือนไป แตในทางนามธรรม หมายถึงการพลัดพรากจาก “แมศรีเรือน”
หรือนางที่รักไปเพราะฉะนั้น นิราศจึงเปนเอกลักษณของจารีตวรรณกรรมไทย ในการยก
นางที่รักใหเปนศูนยกลางของเรื่องโดยใชนามสถานที่ตางๆเปนบริบทที่ทําใหภาพของนางที่
รักกลับมาปรากฏเพื่อเตือนใหกวีไดใชถอยคําสื่อถึงความรัก ความคิดถึง ความทุกขทรมาน
ที่จากมาและความหวังที่ จะไดก ลับไปพบกลั บนางที่รักอี ก วินัย พงศ ศรีเพี ยร.กํ าสรวล
สมุทร สุดยอดกําสรวลศิลป.(กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, ๒๕๕๓), ๖-๗.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๐๕

๒. “หลวงนายศักดิ”ผูประพันธนิราศกวางตุง
เมื่อ คราวหอพระสมุ ด วชิ ร ญาณไดจัด พิม พนิร าศกวางตุง พ.ศ. ๒๔๖๒
ไดอธิบายประวัติผูแตงไววา “...คราวนั้นพระยามหานุภาพ จะเปนตําแหนงใดอยู
หาทราบไม ไดไปในคณะทูตดวย ไดแตงกลอนนิราศเรื่องนี้ไว เรียกวานิราศเมือง
กวางตุ ง ...” นั บ แต นั้ น เป น ต น มาสั ง คมไทยได รั บ รู แ ละถ า ยทอดต อ กั น มาว า
พระยามหานุ ภ าพ (อ น )คื อ ผูแ ตง นิร าศกวางตุง หรื อ นิ ร าศพระยามหานุ ภ าพ
แตตํ าแหนง พระยามหานุ ภ าพนี้เ ป นบรรดาศั กดิ์ที่เพิ่ง ไดรั บ การแตง ตั้งในสมั ย
รัชกาลที่ ๑ หลังจากที่นายอนเดินทางกลับจากเมืองกวางตุงแลว ดังนั้นปริศนา
สําคัญที่จําเปนตองสืบคนและนําเสนอในงานวิจัยเรื่องนี้ คือ ใครคือนายอน? หรือ
นายอนที่ไดรวมเดินทางเปนคณะทูตไปเมืองจีนสมัยกรุงธนบุรีคือขุนนางตําแหนง
ใด? การรั บ รู ป ระวั ติ ศ าสตร สว นที่ ข าดหายไปนี้จึ ง เป น การเติม เต็ ม ความรูใ ห
สมบูรณยิ่งขึ้นทั้งในทางประวัติศาสตรและวรรณคดี
เอกสารสําคัญ ๒ ฉบับ คือพระราชสาสนของพระเจากรุงธนบุรีที่มีไปถึง
จักรพรรดิจีนและพระราชสาสน ของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีถึงขาหลวงเมือ ง
กวางตุง ไดระบุชื่อตําแหนงขุนนางหลักที่เปนคณะราชทูตรวมเดินทางไปเมืองจีน
พ.ศ. ๒๓๒๔ ประกอบดวย
๑๒
พระยาสุนทรอภัย ตําแหนงราชทูต
หลวงพิไชยเสนหา ตําแหนงอุปทูต
หลวงพจนาพิมล ตําแหนงตรีทูต
ขุนพจนาพิจิตร ตําแหนงทองสื่อ
หมื่นพินิธวาจา ตําแหนงปนสื่อ
ขุนนางชุดนี้เป นคณะทูตที่เดิ น ทางตอจากเมืองกวางตุงไปถวายพระราช
สาสนและเครื่องราชบรรณาการที่กรุงปกกิ่ง สวนขุนนางอีกชุดที่ทําหนาที่คาขาย

๑๒
ถึง แก กรรมวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๓๒๕ ขณะปฏิ บั ติหน า ที่ ร าชทู ตอยู ที่ ก รุง ป ก กิ่ ง
หลวงพิไชเสนหาจึงทําหนาที่หัวหนาคณะแทน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๐๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ในเมื อ งกวางตุ ง ปรากฏชื่ อ ในพระราชสาส น ถึ ง ข า หลวงเมื อ งกวางตุ ง


ประกอบดวย
เจาพระยาศรีธรรมาธิราช๑๓ตําแหนงหัวหนาคณะ
พระยาราชสุภาวดี ไมปรากฏตําแหนง
หลวงราชมนตรี ไมปรากฏตําแหนง
หลวงศรียศ ไมปรากฏตําแหนง
หลวงนายฤทธิ๑๔ ไมปรากฏตําแหนง
หลวงนายศักดิ๑๕ ไมปรากฏตําแหนง
หลวงราไชย๑๖ ไมปรากฏตําแหนง
ในบรรดารายชื่อขุนนางทั้งหมดที่ปรากฏอยูในเอกสารนี้ ผูวิจัยสันนิษฐาน
วานายอนผูแตงนิราศกวางตุงเปนคณะทูตชุดที่ทําการคาขายในเมืองกวางตุงและ
ไมไดเดินทางไปถึงกรุงปกกิ่ง ขอที่ยืนยันสมมุติฐานนี้ คือ เนื้อความในนิราศที่ระบุ
ไวในโคลงวรรคที่หา ระบุถึงจุดหมายปลายทางวา “ไปประเทศกวางตุงกรุงศรี”
สวนเนื้อความโดยรวมในนิราศก็กลาวถึงเฉพาะเหตุการณตางๆในเมืองกวางตุง
เทานั้น นอกจากนี้ยังมีบทพรรณนาคิดถึงอาลัยที่จําตองแยกจากคณะทูตอีกชุดที่
ตองเดินทางตอไปกรุงปกกิ่ง ดังความวา
“...ขึ้นนครราชคฤหคราวดี อันโดยทางที่จะไปนั้นไตรมาส จึงถึงราชปกกิ่ง
กรุงศรี ฝายทูตเขาจะไปเห็นไดดี เพราะธุลีบาทคุมคลุมไป...แตนับวารคอย
เคราทุกเชาเย็น อันเหลาไทยที่ไดไปเปนเพื่อยาก ขามทะเลลําบากนั้นแสน
เข็ญ แตตรากน้ําตรําฝนแลวทนเย็น จะนั่งนอนแตเขมนไมเวนวาง อันที่ทาน

๑๓
จดหมายเหตุความทรงจําของกรมหลวงนรินทรเทวีระบุวาเปน“ผูเถา”(เถาแก)ทําหนาที่สู
ขอธิดาพระเจากรุงจีน
๑๔
จดหมายเหตุความทรงจําของกรมหลวงนรินทรเทวีระบุวาเปน“ราชทูต”
๑๕
จดหมายเหตุความทรงจําของกรมหลวงนรินทรเทวีระบุวาเปน“ราชทูต”
๑๖
ไมปรากฏชื่อในพระราชสาสนแตมีชื่อระบุอยูในนิราศกวางตุง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๐๗

สี่สําเภาหลวง นั้นพุมพวงสารพัดไมขัดขวาง จะแสนยากอยูแตเหลาที่เชา


ระวาง ปมปางจะไมเห็นวาเปนกาย...”
เมื่อพิจารณารายชื่อคณะทูตชุดที่ทําการคาในเมืองกวางตุง ทั้งเจาพระยา
ศรีธรรมาธิราชและพระยาราชสุภาวดี ยอมไมใชผูแตงนิราศกวางตุงอยางแนนอน
เพราะภายหลั งนายอนผูแ ตง นิราศกวางตุงไดรั บ พระราชทานบรรดาศั กดิ์เ ป น
“พระยา”ในสมัยรัชกาลที่ ๑ สวน“หลวงนายฤทธิ”ก็เปนที่ทราบโดยทั่วกันวาคือ
สมเด็จพระเจาหลานเธอเจาฟากรมหลวงนรินทรรณเรศร“หลวงราไชย”คือบุคคล
ที่ถูกกลาวตําหนิติเตียนในนิราศ ซึ่งยอมมิใชวิสัยของผูประพันธที่จะตําหนิติเตียน
ตนเอง จึ ง เหลือ เพี ยงหลวงศรียศ หลวงราชมนตรีแ ละหลวงนายศั กดิเ ทานั้ น
เหตุ ผลที่เ ป น ไปไดม ากที่สุ ด วาพระยามหานุ ภ าพ(อ น )นาจะคือ หลวงนายศั ก ดิ
ไมสามารถเปนขุนนางชั้นผูนอยอื่นๆที่ไมปรากฏชื่อแตอาจจะรวมเดินทางไปดวย
เนื่องจากลักษณะความรูและภาษาที่ใชในการประพันธนิราศที่ตองเปนผูมีความ
เขาใจเรื่องธรรมเนียมกฏเกณฑในวัง หลวงเป นอยางดีอ าทิ การพรรณนาที่ใ ห
รายละเอียดของพิธีเสด็จออกทอ งพระโรงเพื่อจารึกพระราชสาสนสุพรรณบั ฏ
ทองคํ า และการจั ด เตรี ย มเครื่ อ งราชบรรณาการต า งๆซึ่ ง เป น พิธี ห ลวงหน า
พระที่นั่ง ผูประพันธยังไดพรรณนาถึงพระสุรเสียงตรัสวาราชการ รวมทั้งกลาวถึง
พระพั ก ตร ที่ ท รงพระสรวลของสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ข ณะเสด็ จ ออก
ทองพระโรง ความสามารถในการใหรายละเอียดในพระราชพิธีหลวงนี้ยอมแสดง
วาผูประพันธนิราศตองเปนขุนนางศักดินาชั้นยศที่บรรดาศักดิ์ไมต่ํากวา “หลวง”
จึ ง สามารถเข า เฝ า อย า งใกล ชิ ด ในท อ งพระโรงได และอาจมี ตํ า แหน ง เป น
“มหาดเล็ก”รับใชเบื้องพระยุคลบาทอยางใกลชิดและมีความจงรักภักดีอยางยิ่ง
เห็นไดจากบทพรรณนาหลายตอนในนิราศกวางตุงที่สรรเสริญยอพระเกียรติและ
แสดงความภักดีอยางสูงสุดรวมทั้งขอพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ในยามตกทุกขไดยาก
ขอสังเกตอีกประการคือการพรรณนาเปรียบเปรยในนิราศวา“ใหไปรบทัพ
จับศึกยังงายกวาใหมาทําการคาขาย” ยอมแสดงวาผูประพันธไดเคยรวมออกศึก
หรือทําราชการสงครามมาแลว ขุนนางตําแหนงหลวงคนสําคัญที่เคยมีประวัติทํา
ราชการสงครามในสมั ยกรุงธนบุ รีคือ หลวงนายศักดิ ( หมุด )ซึ่งเป นแมทัพ ใหญ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๐๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ปราบชุมนุ มเจานครศรีธ รรมราชและตอมาไดรับ การโปรดเกลาฯเลื่อนขึ้นเป น


“เจาพระยาจักรีคนแรกในสมัยกรุงธนบุรี ”๑๗ตําแหนงหลวงนายศักดิจึงไมไดทํา
หน าที่ ม หาดเล็ ก เพี ยงอยา งเดีย ว แตทํ าหน าที่ อื่น ตามที่ไ ดรั บ มอบหมายด ว ย
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานชิ้นสําคัญที่สรุปวาหลวงนายศักดิคือผูแตงนิราศกวางตุง
คือ พระราชสาสน ของพระบาทสมเด็ จพระพุท ธยอดฟาจุ ฬ าโลกที่ท รงมีไปถึง
ขาหลวงมณฑลกวางตุงกวางซี ค.ศ.๑๗๘๒ หรือ พ.ศ. ๒๓๒๕ (ตอไปนี้จะใชยอ
วา ๑๗๘๒/๒๓๒๕) ที่ แ จง ใหฝ ายจี น ทราบถึ ง การผลั ด เปลี่ยนแผน ดิน ใหมใ น
กรุงเทพ โดยในพระราชสาสนตอนหนึ่งไดกลาวอางถึงคณะทูตชุ ดทําการคาที่ได
เดินทางกลั บมาถึง กรุง เทพแลว มีการระบุ ชื่อ“นายศักดิ อน มหาดเล็ก” หรือ
“ไหนซงไหนอ วน หมาเหอลี่ ”ผูคุมเครื่อ งบรรณาการไปเมืองกวางตุงสมั ยกรุ ง
ธนบุ รี ๑๘ ในป เ ดี ยวกั น ไดมี การแตง ตั้ง ขุ น นางใหญน อ ยหลายตํ าแหน ง รวมถึ ง
ตําแหนง“นายศักดิมหาดเล็ก” แสดงวาหลวงนายศักดิคนเดิมไดเลื่อนตําแนงขึ้น
หรือไมไดรับราชการในตําแหนงดังกลาวแลว สวนหลวงศรียศ หลวงราชมนตรีนั้น
ไมป รากฏชื่ อ อยูในบั ญชีการแตง ตั้ง ขุ น นางสมั ยรั ชกาลที่ ๑และเอกสารอื่น ๆ๑๙

๑๗
เจาพระยาจักรี (หมุด) หรือ เจาพระยาจักรีศรีองครักษ เปนเจาพระยาจักรีคนแรกใน
แผนดินกรุงธนบุรี คนทั้งหลายมักเรียกกันวา“เจาพระจักรีแขก”เปนบิดาของพระยายมราช
(หมัด) หรือจุยและพระยาราชวังสัน(หวัง) เปนทหารเอกคนสําคัญคนหนึ่งของสมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรี ชาติกําเนิดเดิมของเจาพระยาจักรี(หมุด)เปนมุสลิมมีชื่อจริงวา“มะหะหมุด”
(มะฮฺมูด) เปนบุตรขุนลักษมณา(บุญยัง) เชื้อสายสุลตานสุลัยมานและหมอมดาวเกิดราว
พ.ศ. ๒๒๗๐สมัยกรุงศรีอยุธยา ไดถวายตัวรับราชการเปนมหาดเล็กของสมเด็จพระที่นั่ง
สุริย าศอมรินทร (พระเจ าเอกทั ศน) ตอ มามีบรรดาศักดิ์ เป นหลวงนายศั กดิ นายเวรหรื อ
เรียกกันโดยทั่วไปวา“หลวงนายศักดิ”
๑๘
“พระราชสาสนของสยามถึงขาหลวงมณฑลกวางตุงกวางซี” ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
(แปล)(เอกสารประวัติศาสตรจีนเกี่ยวกับความสัมพันธไทย-จีนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟาจุฬาโลก)”ใน “ประวัติศาสตรปริทรรศน” วินัย พงศศรีเพียร บรรณาธิการ
(กรุงเทพ: กองทุนดําเนิร เลขะกุลเพื่อประวัติศาสตร, ๒๕๔๒), ๑๒๕-๑๒๖.
๑๙
จดหมายเหตุ ร .๑ จศ.๑๑๗๑ เรื่ อ งแต ง ตั้ ง ข า ราชการมหาดไทย กลาโหม กรมท า
กรมเมือง กรมวัง ตําแหนงเสนาบดีรัชกาลที่ ๑(เอกสารคัดลอกดวยลายมือ)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๐๙

การเลื่อนตําแหนงของหลวงนายศักดิสอดรับกับการแตงตั้งพระยามหานุภาพ(อน)
ในสมัยรัชกาลที่๑ จากขอมูลและบริบทประวัติศาสตรทั้งหมดจึงสรุปไดวาหลวง
นายศักดิ คือ พระยามหานุภาพ(อน)ผูแตงนิราศกวางตุง

๓. สารัตถวิพากษ
นิราศกวางตุงเปนบันทึกการเดินทางและบันทึกเหตุการณที่แสดงอารมณ
ความรูสึกส วนตั ว ที่หลากหลาย ทั้ ง นี้ส ามารถแบง เนื้อ หาออกได เ ป น ๔ สว น
สําคัญ คือ
ตอนที่ ๑ กลาวถึงจุดมุงหมายของการแตงนิราศ ชมการจัดขบวนเรือคณะ
ทูต เครื่องราชบรรณาการ พระราชสาสน ความอาลัยบานเมือง
ตอนที่ ๒ กลาวถึงการเดินทางผานสถานที่สําคัญตางๆ จากปากน้ํา ผาน
เขาสามยอด เมืองพุทไธมาส เมืองปาสัก เมืองญวน จนถึงเกาะมาเกาและปาก
แมน้ําจูเจียงเขาสูเมืองกวางตุงรวมเวลา ๓๓ วัน
ตอนที่ ๓ กลาวชมเมืองกวางตุงและประเพณีของจีน
ตอนที่ ๔ กลาวถึงการคาขาย การเดินทางกลับและยอพระเกียรติสมเด็จ
พระเจากรุงธนบุรี
ในฐานะบั น ทึกการเดิน ทางไปเมือ งจีน สมั ยกรุ ง ธนบุ รีเ พียงฉบั บ เดียวที่
หลงเหลือ อยู นิร าศกวางตุงจึง นั บ เป น เอกสารที่มีความสํ าคั ญอยางยิ่งในทาง
ประวัติศาสตร ทั้งนี้เพราะนิราศกวางตุง ไดใหรายละเอียดการเดินทางและสิ่ง
ตางๆที่ผูประพันธไดพบเห็นมากมายนับตั้งแตเริ่มตนเดินทางออกจากกรุงธนบุรี
จนไปพํานักอยูในเมืองกวางตุงเปนเวลาหลายเดือน รายละเอียดดังกลาวนี้ถือเปน
การเติ ม เต็ ม ภาพความเข า ใจเมื อ งจี น สมั ย ต น ราชวงศ ชิ ง ในสายตาคนไทยที่
สมบูรณและเปนพื้นฐานของการศึกษาทําความเขาใจบริบทความสัมพันธไทย-จีน
ที่เกิดขึ้นตั้งแตในยุคอดีต ในฐานะหลักฐานประวัติศาสตรนิราศกวางตุงไดใหขอมูล
ที่สําคัญ ดังนี้

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๑๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

๓.๑ บริบทความสัมพันธไทย-จีนสมัยกรุงธนบุรี
นิราศกวางตุงเปนหลักฐานยืนยันถึงความสัมพันธระหวางไทย-จีนในระบบ
บรรณาการที่ดําเนินตอเนื่องยาวนานมาตั้งแตสมัยสุโขทัย ความสัมพันธดังกลาว
นี้ไดหยุดชะงักไปชวงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเนื่ องจากศึกสงครามที่เกิดขึ้น
ในรัชกาลสมเด็จพระเจาอยูหัวอุทุมพรถึงสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร อยางไร
ก็ตามแมวาทางกรุงศรีอยุธยาจะไมไดสงเครื่องราชบรรณาการแบบเปนทางการ
ไปเมืองจีนเปนเวลาหลายป๒๐แตฝายจีนไดติดตามขาวสารเกี่ยวกับอยุธยามาโดย
ตลอด ทั้งนี้เนื่องจากจีนกําลังทําศึกกับพมาตามแนวชายแดนมณฑลยูนนาน จึง
ทําใหจีนตองติดตามสถานการณในภูมิภาคนี้อยางใกลชิด โดยปรากฏหนังสือสั่ง
การจากราชสํานักจีนใหขาหลวงมลฑลกวางตุง -กวางซีมีหนัง สือ แจง เขามาที่
อยุธยาในการสืบขาวและจับกุมเชลยศึกพมาที่อาจจะหลบหนีเขามาในเขตแดน
ของอยุธยา ครั้นเมื่อจีนทราบวากรุงอยุธยาเสียแกพมาแลวก็ยังสั่งการใหขุนนางที่
เมืองกวางตุงและเจาเมืองพุทไธมาศติดตามขาวสารความเปนไปของสยามรวมทั้ง
ใหเขียนแผนที่ภูมิประเทศจากสยามไปพมาทั้งทางบกทางน้ําสงกลับไปใหจีนอีก
ดวย๒๑จักรพรรดิ เฉียนหลงยัง มีพระราชโองการตําหนิการทํางานของขาหลวง
มณฑลกวางตุงที่ไดรับมอบหมายใหสืบขาวเกี่ยวกับสยาม แตไดทํางานลาชาไม
เปนที่พอพระทัย๒๒ แสดงใหเห็นถึงความสนใจของราชสํานักจีนที่มีตอภูมิภาคแหง
นี้เปนอยางยิ่ง
ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีปราบดาภิเษกแลวพระองคทรงพยายาม
ติดตอกับจีนในระบบบรรณาการอีกครั้งโดยปรากฏหลักฐานการสงพระราชสาสน
และเครื่อ งราชบรรณาการไปเมืองกวางตุงเพื่อ ขอพระราชานุ ญาตเดินทางไป
เขาเฝาจักรพรรดิจีนที่กรุงปกกิ่ง ๒ ครั้ง ในป ๑๗๖๘/๒๓๑๑ และอีกครั้งในป
๒๐
สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทรสงคณะทูตไปเมืองกวางตุง ๓ ครั้ง ในป ค.ศ.๑๗๖๒ ,
๑๗๖๕ และ ๑๗๖๖รายละเอี ยดเพิ่ มเติ ม สื บ แสง พรหมบุ ญ.ความสั ม พัน ธ ใ นระบบ
บรรณาการระหวางจีนกับไทย ค.ศ. ๑๒๘๒-๑๘๕๓.(กรุงเทพฯ:มูลนิธิโครงการตํารา
สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร,๒๕๒๕),๑๑๖
๒๑
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสื่อลู”บรรพ๘๑๔๑ หนา ๒-๓.
๒๒
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสื่อลู”บรรพ๘๖๔ หนา ๒-๕.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๑๑

๑๗๗๑/๒๓๑๔ แตฝายจีนปฏิเสธที่จะพระราชทานตราตั้งและยังไมใหการรับรอง
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ทั้งนี้จีนยังคงเชื่อขอมูลจากมอซื่อหลิน ๒๓เจาเมืองพุทไธ
มาศ ๒๔ที่วา “พระยากํ าแพงเพชร(กั น เอิน ซื่อ )ชาติกําเนิด เป น คนต่ํ าตอ ย ทํ าผิด
ทํานองคลองธรรมคิด ตั้ง ตัวเปน ใหญ ไมอุ ป ถัม ภค้ําชูเ ชื้อ สายราชวงศเ ดิมที่ยัง
เหลืออยู” อยางไรก็ตามแมวาราชสํานักจีนยังไมใหการรับรองสถานะของสมเด็จ
พระเจากรุง ธนบุ รี แตก็ป รากฏหลักฐานวาสําเภาสินคาของเอกชนยั งคงไดรั บ
อนุญาตใหคาขายสินคาไดตามปกติ สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีไดเพียรพยายาม
ติดตอกับจีน อีกหลายครั้งรวมถึงการวาดแผนที่เสนทางจากกรุงธนบุรีถึงเมือ ง
อั ง วะสง ไปใหร าชสํ านั กจีน ๒๕ ทาทีข องจีน ไดเ ริ่ ม เปลี่ ยนไปโดยจี น ไมส ามารถ
ปฏิเสธถึงอํานาจอันสมบูรณของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีและความออนแอของ
กกตางๆที่ถูกกรุงธนบุรีผนวกรวมเขามาเปนสวนหนึ่งของอาณาจักร ดังเห็นได
จากชื่ อ เรี ย กพระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ที่ เ ปลี่ ย นไปในเชิ ง ให ก ารยอมรั บ มากขึ้ น จาก
“กันเอินซื่อ”๒๖ เปน“พีหยาซิน”๒๗ และ“เจิ้งเจา”๒๘ สถานะความเปนผูนําทีเ่ ดนชัด
นี้ไดทําใหพอคาจีนและขุนนางจีนที่เมืองกวางตุงใหความเห็นที่เปนผลดีกับฝาย
ไทย ดังมีบันทึกปรากฏในจดหมายเหตุราชวงศชิง ที่กลาวถึงความเห็นของจุนจีตา
เฉินอุปราชกวางตุงที่สงสารตอบกลับมายังกรุงธนบุรี ความวา

๒๓
ญวนเรียก“มักเทียนตู”ตรงกับภาษาจีนวา “มอเทียนซื่อ”เปนขุนนางฝายไทยชื่อ“พระยา
ราชาเศรษฐี”แตมักใชนามวา “มอซื่อหลิน”ในการติดตอกับจีน ภายหลังถูกจับมากักขังไวที่
กรุงธนบุรีและถูกบังคับใหกระทําอัตวินิบาตกรรม รายละเอียดเพิ่มเติมใน นิธิ เอียวศรีวงศ.
การเมืองไทยสมัยพระเจากรุงธนบุร.ี (กรุงเทพฯ:มติชน,๒๕๔๗)
๒๔
เปนเมืองประเทศราชตั้งแตสมัยอยุธยา ปจจุบันคือเมืองฮาเตียนในเวียดนาม
๒๕
แผนที่ฉบับนี้คงวาดขึ้นและสงไปใหจีนชวงป ๒๓๑๔-๒๓๒๐ซึ่งเปนชวงที่จีนยังมีปญหา
กับพมาบริเวณชายแดนยูนนาน และไมไดสงไปในคราวเดียวกับคณะทูตที่ไปเมืองจีน พ.ศ.
๒๓๒๔ เพราะไมปรากฏในบัญชีรายการสิ่งของในเอกสารของฝายไทยและจีน ปจจุบันแผน
ที่ฉบับจริงถูกจัดเก็บไวที่พิพิธภัณฑพระราชวัง กรุงไทเป (กูกงไทเป) ไตหวัน
๒๖
จีนเรียก“พระยากําแพงเพชร”ตั้งแต พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๑๓
๒๗
จีนเรียก“พระยาสิน”ระหวาง พ.ศ. ๒๓๑๓-๒๓๑๕
๒๘
ปรากฏในเอกสารจีนตั้งแต พ.ศ. ๒๓๑๕ เปนตนมา
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๑๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

“ทางฝายเราไดอานสาสนที่ทานสงมาแลว ตามที่เซียนหลัวเคยถวายเครื่อง
ราชบรรณาการมาทุกรัชกาลนั้น นับตั้งแตถูกพมาทรชนย่ํายีบีฑา ราชสกุล
เจาก็ขาดรัชทายาท จึงไดละเวนเครื่อ งราชบรรณาการไปพักหนึ่ง บัดนี้
บรรดาขุนนางอํามาตยและอาณาประชาราษฎรตางยกยองใหทานเปนใหญ
ในแผนดินและไดแตงเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามธรรมเนียม ฝาย
เราเห็นวาทานมีความเคารพนบนอบและจงรักภักดีตอองคพระจักรพรรดิ
ซึ่งไดนําความขึ้นกราบบังคมทูลใหทรงทราบแลว หากพระองคทรงเห็น
ความจงรักภักดีของทานก็คงจะมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดใหทานถวาย
เครื่องราชบรรณาการเปนการพิเศษ ทางฝายเราก็จะจัดเจาหนาที่พาขุน
นางของประเทศทานเขาเมืองหลวงมาเขาเฝา...”๒๙
ตั้ ง แต ป ๑๗๗๘/๒๓๒๑เป น ต น มา จี น ให ก ารยอมรั บ สมเด็ จ พระเจ า
กรุงธนบุรีเพิ่มขึ้นอยางชัดเจน เพราะเห็นวาคงไมสามารถสนับสนุนเชื้อพระวงศ
เดิมใหกลับขึ้นครองราชยไดอีกทั้งที่เวลาผานมานานแลว ทั้งเพราะความพยายาม
หลายครั้งหลายหนที่แสดงถึงความนอบนอมจริงใจของฝายไทย ดังนั้นเมื่อสมเด็จ
พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ท รงแจ ง แก ท างฝ า ยจี น ว า จะส ง คณะทู ต และเครื่ อ ง
ราชบรรณาการมาเจริญพระราชไมตรีกับ จีน ในป ๑๗๘๑/๒๓๒๔ จั กรพรรดิ
เฉียนหลงจึงมีพระราชานุญาตใหเดินทางเขามาได๓๐ แตไทยตองปฏิบัติตามแบบ
แผนธรรมเนียมการทูตจีน คือ ตองสงเรือนําเขามาที่เมืองกวางตุงเพื่อแจงการ
เดินทาง จากนั้นจึงเปนเรือทูตที่นําพระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการเขามา
หยุดรอที่เมืองกวางตุง เพื่อใหขาหลวงเมืองกวางตุงมีหนังสือแจง ไปยังกรุงปกกิ่ง
เพื่อทรงมีพระราชานุญาต เมื่อไดรับอนุญาตแลวคณะทูตจึงจะเดินทางตอไปกรุง
ป ก กิ่ ง เพื่ อ เข า เฝ า ถวายพระราชสาส น แด พ ระเจ า กรุ ง จี น สิ่ ง ของนอกบั ญ ชี
บรรณาการหลักและบัญชีบ รรณาการรองที่นํา เขามาจะตองหยุด รออยูที่เมือ ง
กวางตุง เพื่อ ใหจักรพรรดิจีนมีพ ระราชวินิจ ฉัย๓๑ซึ่งจะมีขุ นนางอีกชุด ทําหนาที่

๒๙
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสื่อลู”บรรพ๑๑๓๗ หนา ๑๖-๑๙.
๓๐
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสื่อลู”บรรพ๑๑๔๙ หนา ๑๒.
๓๑
สิ่งของตามบัญชีบรรณาการหลักนําขึ้นถวายองคจักรพรรดิ บรรณาการรองถวายแด
ฝายใน สวนสิ่งของนอกบัญชีจะมีพระราชวินิจฉัยเปนคราวๆไป
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๑๓

คาขายซื้อสินคาอยูที่เมืองกวางตุงและจะเดินทางกลับกอนคณะทูตชุดที่ถวายพระ
ราชสาส น การสง คณะทู ต ไปถวายเครื่อ งราชบรรณาการตามแบบแผนที่จี น
กําหนดนี้ฝายจีนกําหนดใหดําเนินการ ๓ ปตอครั้งซึ่งเปนแบบแผนเดิมตั้งแตสมัย
ราชวงศหมิง๓๒ อยางไรก็ตามมีหลักฐานปรากฏวาฝายไทยไดอางเหตุวาระพิเศษ
ตางๆในการขอสงบรรณาการไปเมืองจีนกอนกําหนดมาโดยตลอด กระทั่งสําเภา
จากสยามเปนที่รูจักของขุนนางจีนเปนอยางดี ดังปรากฏในบันทึกขุนนางเมือง
กวางตุงที่กลาวไววา “...สับสนอลมาน เรือลําหนึ่งแลนจากไปยังไมทันลับตาอีกลํา
ก็ลอยเขามาจอดเทียบเปนขบวนใหญ เปนอยางนี้ประจําทุกๆป...”๓๓
การส ง คณะทู ต และอั ญ เชิ ญ เครื่ อ งราชบรรณาการไปเมื อ งจี น นั้ น มี
ความหมายสําหรับฝายไทยเปนอยางมาก ทั้งนี้เพราะไทยไดรบั ประโยชนมหาศาล
จากการติด ต อ สั ม พั น ธ กับ จี น ในระบบบรรณาการดั ง กลา ว ประโยชน สํ า คั ญ
ประการแรกคือ เรื่องเศรษฐกิจการคาขายที่ไทยสามารถแตงสําเภาไปคาขายและ
ซื้อสินคาจากจีนโดยไดรับการผอนปรนระเบียบกฎเกณฑอันเขมงวดและไดรับการ
ยกเวนภาษีรวมทั้งไดรับของบรรณาการตอบแทนจํานวนมากจากจักรพรรดิจีน
ตามธรรมเนียม๓๔
พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัวทรงอธิบายสรุปถึงความสัมพันธ
ระบบบรรณาการไทย-จีนอยางชัดแจงวา “คณะทูตบรรณาการเปนเพียงรูปแบบ
หนึ่งของการลงทุนทางการพาณิชย และบรรณาการนั้นแยกไมไดจากภาษีเพื่อ
อภิสิทธิ์ใ นการคากั บ จีน ” ๓๕ขอ เท็ จ จริง ดั งกลาวสอดคลอ งกับ ทั ศ นะและความ
เขาใจของชนชั้นปกครองไทยอีกหลายคนในสมัยตอๆมาเปนขอยืนยันไดวาระบบ
บรรณาการไทย-จีนดําเนินไปภายใตผลประโยชนทางการคาที่ไทยจะไดรับเปน

๓๒
สารสิน วีระผล.จิ้มกองและกําไรการคาไทย-จีน ๒๑๙๕-๒๓๙๖.(กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
โครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, ๒๕๔๘), ๓๐-๓๑.
๓๓
สื บ แสง พรหมบุ ญ .ความสั ม พั น ธ ใ นระบบบรรณาการระหว า งจี น กั บไทย ค.ศ.
๑๒๘๒-๑๘๕๓.(กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร,๒๕๒๕)
๓๔
ประมาณ ๑๐๐ กวารายการ อาทิ ผาไหม ผาแพร ผาตวน เครื่องลายคราม เปนตน
๓๕
เรื่องเดิม, ๓.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๑๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

สําคัญ๓๖ รวมถึงในหลายคราวที่ไทยขออนุญาตซื้อสินคาจําเปนดานยุทธภัณฑ
เช น กํ า มะถั น ทองแดงและเหล็ ก ซึ่ ง เป น ของต อ งห า มนํ า ออกนอกประเทศ
จักรพรรดิจีนก็พระราชทานอนุญาตเกือบทุกครั้งและใหมากกวาที่ทางฝายไทย
รองขอไป๓๗ ความใจกวางของจีนตั้งอยูบนสถานะความเปน“ผูใหญ”ที่ยกตนอยู
เหนือชนชาติอื่น ทั้งนี้เพราะความเปนประเทศที่กวางใหญ มีประวัติศาสตรและ
อารยธรรมความเจริ ญ ที่ สื บ เนื่ อ งยาวนาน มี ท รั พ ยากรมหาศาลและมี รั ฐ
บรรณาการที่จีนควบคุมอยางใกลชิดโดยตรงหลายรัฐ๓๘ ทองพระคลังหลวงของ
จี น จึ ง เต็ ม ไปด ว ยทรั พ ย ส มบั ติ บ รรณาการมากมายมหาศาลที่ พ ร อ มจะ
พระราชทานใหแกผูที่เขามานอบนอมตอจีน ซึ่งประโยชนมหาศาลที่ฝายไทยไดรับ
ดังกลาวมาโดยตลอดนี้ถือเปนเหตุผลสําคัญของการติดตอเจริญพระราชไมตรี

๓๖
พระองคเ จา จุลจัก รพงษ ทรงอธิบ ายความสั มพั นธ ในระบบบรรณาการไทย-จี นไวว า
“...แทจริงเปนอุบายอยางหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑที่เขมงวดของ
เจาหนาที่ทาเรือจีนที่สินคาไทยตองผานเขามา ขอพิสูจนนั้นตั้งอยูบนขอเท็จจริงที่วา ทั้งๆที่
จีนอ างสิทธิ เหนือไทยตั้งแตสมัยสุ โขทัย แต จีนก็ ไม เคยเข าแทรกแซงกิจ การภายในและ
ภายนอกของไทยแมแตครั้งเดียว”รายละเอียดเพิ่มเติมใน พระองคเจาจุลจักรพงษ.เจาชีวิต.
(กรุงเทพฯ: ริเวอรบุคส, ๒๕๔๑)
๓๗
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู)ไดระบุไววา “รัชศกเฉียนหลงปที่๑ เซียนหลัว
ขอซื้อทองแดง ๗๐๐-๘๐๐ ชั่งเพื่อไปสรางวัด แตขาหลวงกวางตุงไดใหความเห็นคัดคาน
เพราะเปนของตองหามนําออกนอกประเทศ แตจักรพรรดิเฉียนหลงไดมีพระราชวินิจฉัย
พระราชทานทองแดงใหแกเซียนหลัว ๘๐๐ชั่งเปนกรณีพิเศษ แตมิใหถือเปนธรรมเนียม
๓๘
ดินแดนในอารักขาโดยตรงไดแก มองโกล เกาหลี อุยกู ซินเกียง ทิ เบตและเวียดนาม
รายละเอียดเพิ่มเติมใน John K .Fairbank.The Chinese World Order.(Cambridge,
Mass. Harvard University Press.1968)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๑๕

เงื่อนไขเดียวที่จีนกําหนดสําหรับการติดตอสัมพันธในระบบบรรณาการ
คือ การตองยอมรับความเปนใหญกวาของจีนภายใตอุดมการณอาณาจักรกลาง
(จงกั๋ว)๓๙ และจักรพรรดิจีนถือเปนโอรสสวรรคผูปกครองสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว
ดังที่ขงจื๊อไดอธิบายเชิงสนับสนุนไววา “บนสวรรคไมมีพระอาทิตยสองดวง บน
พิภพยอมไมมีจักรพรรดิสององค”๔๐ ฝายไทยมิไดขัดของตอความตองการของจีน
ดังกลาว เพราะในความเปนจริงแลวจีนมิไดเคยเขามายุงเกี่ยวหรือกาวกายกิจการ
ภายในของไทยเลย โดยจีน มองวาไทยเป น ดิน แดนล าหลั ง ห างไกลและมิ ไ ด มี
ประโยชนอั นใดตอ จีน มากนั ก เหตุ การณที่ อ าจนั บ ไดวา จีน เคยพยายามแสดง
อิทธิพลโดยตรงตอไทย คือ เมื่อครั้งจักรพรรดิหยงเลอแหงราชวงศหมิงไดสงทูต
เข ามาที่ อ ยุ ธ ยาหลายครั้ ง ในป ๑๔๐๔/๑๙๔๗ ,๑๔๐๘/๑๙๕๑ และ๑๔๑๙/
๑๙๖๒ เพื่อแจงมิใหไทยทําการรุกรานมะละกา๔๑ แตเหตุการณครั้งนั้นก็เปนเพียง
คําเตือนที่มิไดมีการแทรกแซงใดๆเกิดขึ้นตามมา

๓๙
จีนเรียกประเทศของตนวา “มัธยมประเทศ”หรือ “จงกั๋ว”มาตั้งแตสมัยราชวงศโจว โดย
ถือวาโลกนี้หมายถึงโลกของอารยธรรมจีนซึ่งกําหนดไมไดวามีขอบเขตติดตอกับใครเพราะ
จีนไมรูจักอารยธรรมของชนชาติอื่นที่สูงสงเทาเทียมกัน จีนจึงเปรียบตนเองเปนศูนยกลาง
ของโลก รายละเอียดเพิ่มเติมใน วินัย พงศศรีเพียร“อารยธรรมและปรัชญาจีน”.ไผนอก
กอ.(กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ, ๒๕๕๒), ๑๔๐-๑๔๒.
๔๐
จีนไมถือวากษัตริยเมืองอื่นมีฐานะเทียบเทาจักรพรรดิจีน โดยจีนเรียกกษัตริยเมืองอื่นๆ
วา “อ อ ง”(หวาง)ซึ่ ง เป นตํ า แหน ง เที ย บเท า เชื้ อ พระวงศ เ ท า นั้ น รายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ใน
เขี ย น ธี ร ะวิ ท ย . วิ วั ฒ นาการการปกครองของจี น .(กรุ ง เทพฯ: สถาบั น เอเชี ย ศึ ก ษา
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,๒๕๔๗)
๔๑
มะละกาขอความชวยเหลือไปที่จีนจากการที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ และสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถส งกองทั พเขา รุก รานมะละกาหลายครั้ งและบัง คับ ให มะละกาส ง
ดอกไม เ งิ น ดอกไม ท องและเครื่ อ งราชบรรณาการแก อ ยุ ธ ยา สื บ แสง พรหมบุ ญ .
ความสัมพันธในระบบบรรณาการระหวางจีนกับไทย ค.ศ. ๑๒๘๒-๑๘๕๓.(กรุงเทพฯ:
มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรฯ, ๒๕๒๕), ๙๖-๑๐๒.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๑๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

นอกจากผลประโยชนทางเศรษฐกิจที่ไทยไดรับจากการติดตอกับจีนแลว
การไดรับพระราชทานตราตั้งพระราชลัญจกรมหาโลโต๔๒และพระราชสาสนจาก
จักรพรรดิจีนถือวามีนัยยะสําคัญทางการเมืองสําหรับผูปกครองไทยเปนอยาง
มาก นั บ เป น หนึ่ง ในเหตุ ผ ลการอางสิท ธิความชอบธรรมของการเป น พระเจ า
แผนดินตอดินแดนภายนอกโดยสมบูรณ ดังปรากฏไดวาตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสิ้นรัชกาลเดิม พระเจาแผนดินพระองคใหมจะสงคณะราชทูตไปเมืองจีนเพื่อ
ถวายรายงานเหตุการณการผลัดแผนดินและขอรับพระราชทานตราตั้ง ๔๓ ซึ่งถือ
เปนการใหจีนรับรองสถานะการเปนผูปกครองใหม การที่ราชทูตไปเมืองจีนตาม
วาระดังกลาวนี้ถือเปนคณะทูตชุดพิเศษนอกเหนือจากที่ทางการจีนกําหนดใหสง
บรรณาการตามปกติสามปตอครั้ง ซึ่งไทยมักถูกจีนตักเตือนอยูเสมอในการสงเรือ
บรรณาการมากอนกํ าหนด ๔๔ ดังนั้น ภายหลั งการสิ้นสุดของอาณาจักรอยุธยา
บรรดาผูนํากกตางๆที่ตั้งตัวขึ้นเปนใหญจึงไดแขงขันกันสงทูตไปเมืองจีนเพื่อให
ทางการจีนรับรอง รวมทั้งสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีที่ไดแตงเครื่องราชบรรณาการ
ไปจีน เพื่อ ขอพระราชทานตราตั้ง หลายครั้ง กระทั่ ง จีน เพิ่ง ใหการยอมรั บ และ
อนุญาตใหไทยแตงทูตเขามาถวายเครื่องพระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการ
ในป ๑๗๘๑/๒๓๒๔ เปนครั้งแรกและครั้งสุดทายในสมัยกรุงธนบุรี

๔๒
คําวา“โลโต”หมายถึง อูฐหรือการหมอบ เปนสัญลักษณของความภักดี ซึ่งจีนมอบตรา
อูฐนีใ้ หเฉพาะแกไทยเทานั้น โดยไทยเรียกวา“พระราชลัญจกรมหาโลโต”หรือ “ตราอูฐหยก/
อูฐทอง”สวนประเทศอื่นๆจีนจะมอบตราสั ญลักษณแบบตางๆใหโดยไมซ้ํากันเชน ทิเบต
ไดรับเปนตรารูปดอกบัวทองคํา เปนตน รายละเอียดเกี่ยวกับตราพระราชลัญจกรคนควา
เพิ่มเติมไดใน ส. พลายนอย.ความรูเรื่องตราตางๆพระราชลัญจกร.(กรุงเทพฯ: อักษร
พิทยา, ๒๕๒๗).
๔๓
ปรากฏเนื้อความในพระราชพงศาวดารหลายฉบับรวมทั้งในเอกสารจดหมายเหตุจีน
๔๔
เรื่องเดิม, ๕๙-๗๒.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๑๗

การสงทูตไปเมืองจีนเพื่อ“จิ้มกอง-เชิญหอง”อันเปนธรรมเนียมโบราณที่
ปฏิบัติสืบตอกันมาตั้งแตสมัยสุโขทัยถึงกรุงศรีอยุธยา นับเปนเหตุการณสําคัญที่มี
การบันทึกไวเปนหลักฐานมาโดยตลอด การสงทูตไปเมืองจีน อยางเปนทางการ
ครั้งแรกและครั้งสุดทายในสมัยกรุงธนบุรี ปรากฏเนื้อความในพระราชพงศาวดาร
กรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) ความวา
“ ณ วันจันทร เดือน๗ขึ้น ๖ค่ํา จุลศักราช ๑๑๔๓ปฉลูตรีศก เพลาเชา
เสด็จออกทองพระโรง เจาพะยาแลพระยา พระ หลวง ขุน หมื่ น ขาทู ล
ละอองฯ เขาเฝาพรอมกัน ณ พระที่นั่ง เสด็จฯออกทรงแตงพระราชสาร
ออ ก ไ ป จิ้ ม ก อ ง ส มเ ด็ จ พ ร ะเ จ า ก รุ งต า ฉิ้ ง เ มื อ ง ป ก กิ่ งฉ บั บ ห นึ่ ง
พระยาพิ พั ฒโกษาเป นผู รั บสั่ ง แลกรมท า ไดจ ดหมายบอกเจ า พนั ก งาน
ทั้งปวงทุกพนักงาน”๔๕
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กลาวไววา
“ครั้นลุศักราช ๑๑๔๓ ปฉลูตรีศก ทรงพระกรุณาใหแตงทูตานุทูตจําทูล
พระราชศาสน คุม เครื่อ งราชบรรณาการลงสํ า เภาออกไป ณ เมือ งจี น
เหมือ นตามเคยมาแต ก อน และป นั้นโปรดให หลวงนายฤทธิ์ เป นอุป ทู ต
ออกไปดวย”๔๖

๔๕
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ
(เจิม).(กรุงเทพฯ: ชัยวิโรจนการพิมพ, ๒๕๓๕), ๖๙.
๔๖
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา.(กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖), ๔๓๙.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๑๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ตราพระราชลัญจกรมหาโลโต

หลักฐานสําคัญอีกชิ้นหนึ่งที่กลาวถึงการแตงทูตไปเมืองจีนสมัยกรุงธนบุรี
คือ จดหมายเหตุความทรงจําของกรมหลวงนรินทรเทวี๔๗ กลาวถึงไววา
“...ให แ ตง สํา เภาสง พระราชสาสนไปถึ งพระเจา ปก กิ่ง วา จะขอลู กสาว
พระเจ า ป ก กิ่ ง ให เ จ า พระยาศรี ธ รรมาธิ ร าชผู เ ถ า กั บ หลวงนายฤทธิ
หลวงนายศั ก ดิ เป น ราชทู ต หุ ม แพรมหาดเล็ ก เลวไปมาก แต ง เครื่ อ ง
บรรณาการไปกลาวขอลูกสาวเจาปกกิ่ง...”
ขอความพิศดารในจดหมายเหตุความทรงจํากรมหลวงนรินทรเทวีที่กลาว
ไววาสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีแตงทูตเพื่อไปขอพระธิดาพระเจากรุงจีนเปนเพียง
“พงศาวดารกระซิบ ”ที่เลาตอกันมาโดยขาดหลักฐานยืนยัน แมมีความพยายาม
เชื่อมโยงเรื่องเลาดังกลาวกับขอความนาสงสัยกํากวมในนิราศกวางตุงที่กลาว
ทะลุขึ้นกลางปลองถึงพระธิดาพระเจากรุงจีนวาทรงพระสิริโฉมปานใด ซึ่งไมได

๔๗
พระองคเจากุ พระนองนางเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก ชาววังเรียก
“เจ า ครอกวั ด โพธิ์ ” ดํ า รงพระชนม ชี พ จนถึ งสมั ย ต นรั ช กาลที่ ๓ ต อ มาพระบาทสมเด็ จ
พระจอมเกลาเจา อยูหัวเฉลิมพระอิสริยยศขึ้นเปน“พระเจาไปยิกาเธอกรมหลวงนรินทร
เทวี”
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๑๙

เปนขอยืนยันถึงความนาเชื่อถือของเรื่องเลาดังกลาว นิธิ เอียวศรีวงศ ไดวิเคราะห


ประเด็ น เรื่ อ งการขอธิด าพระเจ า กรุ ง จีน ว าเป น ไปไม ไ ดแ ละไม เ คยปรากฏใน
หลักฐานประวัติศาสตรวามีพระเจาแผนดินไทยพระองคใดคิดอาจเอื้อมหรือใฝฝน
กระทําการดังกลาว รวมทั้งเปนไปไมไดอยางยิ่งที่ทูตไทยจะกราบทูลขอพระธิดา
จักรพรรดิจีนดวยวาจาโดยไมมีขอความปรากฏในพระราชสาสนซึ่งถือวาผิดธรรม
เนียมการทูตอยางรายแรง๔๘ อยางไรก็ตามแมเรื่องการขอธิดาพระเจากรุงจีนจะ
ขาดหลั กฐานแวดล อ มที่ น าเชื่ อ ถื อ แต เ รื่ อ งเล า ในจดหมายเหตุ ค วามทรงจํ า
ดังกลาวก็เปนสิ่งยืนยันไดวาการแตงทูตไปเมืองจีนในสมัยกรุงธนบุรีไดเกิดขึ้นจริง
ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบหลักฐานจากฝายจีนก็ปรากฏเหตุการณในจดหมายเหตุ
รายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) รัชสมัยเฉียนหลง ปที่๑๖ (ตรงกับพ.ศ.๒๓๒๔)ที่บันทึก
เรื่ อ งราวคณะทู ต สยามมาเมือ งจี น เพื่อ เจริญ พระราชไมตรี ถวายเครื่อ งราช
บรรณาการ ถวายพระราชสาส น ขอพระราชทานตราตั้ ง และทํ า การค า
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานชิ้น สําคัญหลงเหลืออยู คือพระราชสาสนฉบับจริงของ
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีที่คณะทูตไทยอัญเชิญมาถวายจักรพรรดิเฉียนหลงใน
ครั้งนั้น๔๙ รวมทั้งยังมีสําเนาพระราชสาสนฉบับดังกลาวอีกชุดซึ่งเขียนลงบนสมุด
ไทยดํ า๕๐ เอกสารทั้ง สองฉบับ นี้ยืนยั นไดวาบั นทึกการเดินทางไปเมืองจีน ตาม
เนื้อความในนิราศกวางตุงเปนเหตุการณที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร

๔๘
รายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ใน นิ ธิ เอี ย วศรี ว งศ . การเมื อ งไทยสมั ย พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี .
(กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๗), ๓๘๖-๓๘๗.
๔๙
ปจจุบันถูกเก็บรักษาไวที่พิพิธภัณฑพระราชวัง กรุงไทเป ประเทศไตหวัน
๕๐
ปจจุบันถูกเก็บรักษาไวที่หองเอกสารโบราณ หอสมุดแหงชาติ กรุงเทพมหานคร
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๒๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

สําเนาพระราชสาสนไปกรุงปกกิ่งของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี พ.ศ.๒๓๒๔

เมื่อพิจารณาเนื้อความในนิราศกวางตุงโดยสอบทานกับจดหมายเหตุจีนซึ่ง
เป น บั น ทึ ก หลั ก ฐานร ว มสมั ย พบว า ข อ ความหลายส ว นถู ก ต อ งตรงตาม
ประวัติศาสตรที่มีการบันทึกไว อาทิ วรรคที่กลาวถึงการเจริญพระราชไมตรีที่
หยุดลงมาเปนเวลานานของทั้งสองพระนคร ดังความวา
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๒๑

“...แต นิร าเสื่ อ มเศร า มาเนานาน เสื่ อ มสนองโดยครองกระษั ตริ ย ช าติ


เสื่อมราชไมตรีไมมสี มาน เสื่อมสวาทขาดมาก็ชานาน จะประมาณยี่สิบสี่ป
ปลาย...”
ความขางตนที่กลาวไววาไทยและจีนไดขาดการติดตอกันอยางเปนทางการ
เปนเวลานานถึงยี่สิบสี่ป ซึ่งเปนชวงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาขณะนั้นบานเมืองอยู
ในภาวะศึกสงครามที่คบั ขัน เมื่อตรวจสอบความถูกตองของขอมูลดังกลาวทั้งจาก
หลักฐานฝายไทยและจดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง พบวาครั้งสุดทายที่มีการ
เจริญพระราชไมตรีแตงพระราชสาสนไปถวายพระเจากรุงจีนอยางเปนทางการมี
ขึ้น ในป ๑๗๕๗/๒๓๐๐ ตรงกั บ รั ช กาลสมเด็ จ พระเจา อยูหั วบรมโกศ ซึ่ ง นั บ
ยอ นหลั ง ไปไดเป น เวลายี่สิบ สี่ปต รงตามที่นิร าศกวางตุง ไดกลาวไว ในครั้ง นั้น
จดหมายเหตุราชวงศชิง ไดบันทึกการเดินทางมาของราชทูตอยุธยาตรงกับวันที่
๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๐๐ไววา
“วันเกิงหยิน เดือนสี่ ปที่ยี่สิบสอง รัชศกเฉียนหลง เซินเลี่ยพายจาวกวาง
ชื่อ พายหมา ฮู ลู คุ นซื อโหยวถี ห ยา ผู อ าย กษั ตริ ย ป ระเทศเซี ยนหลั ว แต ง
ราชทูตเขามาถวายเครื่องราชบรรณาการเปนสิ่งของพื้นเมือง พระราชทาน
เลี้ยงแลสิ่งของกํานัลตามธรรมเนียม”๕๑
หลังจากรัชกาลสมเด็จพระเจาอยูหัวบรมโกศเปนตนมา ก็ไมปรากฏการ
เจริญพระราชไมตรีอยางเปนทางการ แมวาไดมีการสงทูตบรรณาการไปเมือง
กวางตุงอีกหลายครั้งในชวงปลายกรุงศรีอยุธยา ซึ่งจีนถือวามิใชคณะราชทูตแบบ
เปนทางการจึงไมสามารถเขาเฝาจักรพรรดิจีนได ความพยายามจากฝายไทยได
เกิด ขึ้น อีกหลายครั้งในสมั ยกรุ ง ธนบุ รี แตท างฝายจีน ปฏิเสธไมใ หการรั บ รอง
เรื่อยมา กระทั่งเพิ่งไดรับการยอมรับอยางเปนทางการในชวงปลายสมัยกรุงธนบุรี
ดังที่พระราชพงศาวดารและนิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิไดกลาวไวขางตน

๕๑
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) เกาจงสือลู”บรรพ ๕๓๗ หนา ๓๖
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๒๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

จักรพรรดิเกาจง รัชสมัย“เฉียนหลง”มหาราชแหงราชวงศชิง
จักรพรรดิแมนจูองคที่ ๔๕๒ครองราชย ๒๒๗๘/๑๗๓๕-๒๓๓๘/๑๗๙๕

๕๒
นับจากเมื่อราชวงศชิงเขาปกครองจีน ป ๒๑๘๗/๑๖๔๔(รัชสมัยซุนจื้อ) กอนหนานี้มี
จักรพรรดิชิง ๒ องค คือ นูรฮาชิ และหวงไทจี๋ ปกครองดินแดนแมนจูเรีย (มณฑลเหอเปย)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๒๓

๓.๒ เสนทางเดินเรือและประสบการณเดินทางไปเมืองจีน
นิ ร าศกวางตุ ง เป น บั น ทึ ก การเดิ น ทางไกลไปต า งแดนที่ มี ลั ก ษณะการ
พรรณนาที่เหมือนและตางไปจากขนบการเขียนนิราศอื่นๆ สวนที่เหมือนกัน คือ
เป น บั น ทึ ก การเดิ น ทางจากบ า นเกิ ด เมื อ งนอนของตนที่ แ ฝงไปด ว ยอารมณ
ความรู สึ ก โศกเศร า ของการพลั ด พราก ขณะเดี ย วกั น ก็ มี ก ารพรรณนาด ว ย
ความรู สึ ก ตื่ น เต น ถึ ง สิ่ ง ที่ ไ ด พ บเห็ น อั น เป น ประสบการณ แ ปลกใหม ข องกวี
ในสวนที่แตกตางไปจากนิร าศเรื่อ งอื่น อยางเดนชั ด คือ เนื้อ เรื่อ งที่บั น ทึกงาน
ราชการและพิธีการตางๆเปนหลักโดยไมกลาวถึงนางอันเปนที่รักเสมือนหนึ่งวา
ผูเขียนอยูคนเดียวเพียงลําพัง ขณะเดียวกันกลับมีการสอดแทรกอารมณสุนทรีย
อันละเอียดออนของกวีที่ไดพบเห็นหญิงสาวชาวจีนและสิ่งสวยงามตางๆอันเปน
ความบรรเทิงเริงใจที่ผูอานจะสัมผัสอารมณสวนลึกของกวีไดกระทั่งกลายเปน
ลักษณะเดนเฉพาะที่ตองนึกถึง“เมืองจีนและผูหญิง”เมื่อกลาวถึงนิราศกวางตุง
การเดินทางในนิราศกวางตุงเริ่มตนดวยบทอาเศียรวาทกราบถวายบังคม
ลาและขอพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีใหแคลวคลาดปลอดภัยใน
การเดินทางไปเมืองจีน ดังความวา
“ สรวมชีพบังคมบรมนารถ ดวยภักดีชุลีลาบาท อภิวาทขอเบื้องพระบารมี
เปนรมโพธิ์สุวรรณกั้นเกศ ไปประเทศกวางตุงกรุงศรี...”
บทอาเศียรวาทยอพระเกียรติองคพระมหากษัตริยหรือบูชาพระรัตนตรัย
ถือเปน ขนบของการแตงวรรณคดีไทยเกือบทุกประเภท ทั้งชาดก นิราศ โคลง
กาพยกลอน บทละคร วรรณคดีพุทธศาสนา หรือแมกระทั่งนิทานพื้นบานที่ตางก็
มีบ ทสอดแทรกกลาวถึง บุ ญญาบารมีข องพระมหากษั ต ริยใ นฐานะที่ท รงเป น
จักรพรรดิราชยและพระโพธิสัตวผูอยูเหนือหัวสูงสุดในแผนดิน
เมื่อถวายบังคมลาเรียบรอ ยแลว ผูประพันธไดกลาวถึงจุ ดประสงคของ
การเดินทางไปเมืองกวางตุงครั้งนี้วาเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับพระเจากรุงจีน
ตามโบราณราชประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบมา ดังความที่วา

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๒๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

“...ไปประเทศกวางตุงกรุงศรี เปนจดหมายมาถวายดวยภักดี ตามที่ไปสดับ


เดิ ม ความ แรกราชดํ า ริ ตริตรองถวิล จะเหยี ย บพื้ นปถ พิ นให งามสนาม
จะสรา งสรรคดั งสวรรค ที่เ รือ งราม จึง จะงามมงกุ ฎอยุธ ยา เมื่อ ไอศูร ย
สมบูรณดวยสมบัติ กับกษัตริยราชคฤคฤาหา เคยรวมพื้นยืนแผนสุวรรณ
มา แตนิร าเสื่ อมเศร ามาเนานาน เสื่อ มสนองโดยครองกระษัตริ ยช าติ
เสื่อมราชไมตรีไมมีสมาน เสื่อมสวาทขาดมาก็ชานาน จะประมาณยี่สิบสี่ป
ปลาย จึ ง ทรงคิ ดจะติ ดความตามปฐม สํ า หรั บ ราชบรมกระษั ตริ ย สาย
จึงแผพื้นสุวรรณพรรณราย เอาแยบคายฟนเฝอเปนเครือวัลย...”
หลวงนายศั ก ดิ ไ ด เ รี ย กเมื อ งกวางตุ ง ว า “กวางตุ ง กรุ ง ศรี ” และเรี ย ก
จักรพรรดิจีนวา“กษัตริยราชคฤคคฤาหา”ซึ่งการเปรียบเทียบในเชิงยกยองเชนนี้
เปนคติการเขียนแบบเกาที่ปรากฏอยูในหนังสือเกาและวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
เชน เรียกกรุงญวนวาจุฬี เรียกเมืองคุนหมิงวาวิเทหราช เรียกเมืองมาวหลวงวา
กรุ ง โกสั ม พี เป น ต น ๕๓ นครใหญ ๆ ในชมพู ท วี ป เป น สั ญ ลั ก ษณ ข องความ
เจริ ญ รุ ง เรื อ งและมีค วามสํ า คั ญ ในทางพุ ท ธศาสนา โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง กรุ ง
ราชคฤหหรือปฏฬีบุตรซึ่งเปนศูนยกลางของอารยธรรมพุทธโบราณในอินเดียได
ถู ก นํ า มาเรี ย กนครป ก กิ่ ง และจั ก รพรรดิ จี น ถื อ เป น การยกย อ งป ก กิ่ ง ว า เป น
มหานครศูน ยกลางของความเจริญทางอารยธรรมและจั กรพรรดิจีน มีอํ านาจ
บารมีแผไพศาลเปรียบไดดั่งจอมจักรพรรดิราชยแหงกรุงราชคฤหในอดีต

๕๓
กรมศิลปากร.วรรณกรรมสมัยอยุธยา เลม๑-๓.(กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,๒๕๔๐)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๒๕

ภาพวาดกรุงปกกิ่งสถานที่ตั้งของพระราชวังหลวง
ศูนยกลางแหงการปกครองจักรวรรดิจีน
คติ ค วามเชื่ อ เรื่ อ งการเป น มหานครอั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นี้ ค งเป น ที่ รั บ รู อ ย า ง
แพรหลายในหมูชาวจีนในยุคศักดินาโดยเฉพาะชาวเมืองปกกิ่ง ดังที่ซุนเยาถิงขันที
คนสุด ทายของราชวงศชิง ไดบั นทึกความทรงจําเมื่อ ตอนที่ท หารคอมมิวนิส ต
กําลังจะบุกเขากรุงปกกิ่งในป ๑๙๔๙/๒๔๙๒ ชาวจีนสูงอายุในเมืองปกกิ่งหลาย
คนยืนกรานไมอพยพหนีไปไหนโดยมีความเชื่อมั่นวาปกกิ่งเปนเมืองศักดิ์สิทธิ์
“...ปกกิ่งเปนเมืองมงคล ไมเคยโดนไฟสงครามทําลาย ปกกิ่งเปนที่ตั้งของ
วังหลวง...”๕๔

๕๔
หลิงไหเฉิง.ขันทีคนสุดทาย.(กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพคบไฟ, ๒๕๔๘), ๓๔๓.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๒๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

หลวงนายศั ก ดิ ไ ด บ รรยายถึ ง การเสด็ จ ออกท อ งพระโรงเพื่ อ ประกอบ


พระราชพิธีจารึกพระราชสาสนสุพรรณบัฏทองคํา และเครื่องราชบรรณาการ
ตางๆ ดังความวา
“แลว เสด็ จบั ลลัง ก อาสน อ อกสนาม แยม พระโอษฐ ป ระดิ พัท ธแล วตรั ส
ความ อํ า มาตย ห มู มี นามประนมฟ ง ได ยิ นพรอ มยอมอวยแลว อภิ ว าท
กราบบาทดวยคํานับแลวรับสั่ง ทูลโดยลําดับมาเปนตราตรัง ที่หยุดแลวจะ
ยั้งยืนควร จึง พระบาททรงราชนิพ นธสาร เปนตะพานนพคุณควรสงวน
ให เ ขี ย นสารลงลานทองทวน จั ดส ว นบรรณาการละลานตา อนึ่ ง นอก
จิ้ ม ก อ งเป นของถวาย ก็ โ ปรยปรายประทานไปหนั ก หนา ทั้ ง นายห า ง
ขุนนางในนัครา ใหมีตราบัวแกวสําคัญกัน...”

การเสด็จออกทองพระโรงวาราชการของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
(ภาพจัดแสดงอยูที่พระราชวังเดิม)

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๒๗

พระราชสาสนที่จารึกบนแผนทองคําของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
สงไปถวายจักรพรรดิเฉียนหลง ป ๒๓๒๔

หลังจากนั้นเปนการจัดเตรียมสิ่งของบรรณาการโดยแบงเปนเครื่องราช
บรรณาการสํ าหรั บ พระเจากรุ ง จีน หนึ่ง ชุ ด และเครื่อ งบรรณาการแกข าหลวง
มณฑลกวางตุ ง อี ก หนึ่ ง ชุ ด ออกเดิ น ทางด ว ยขบวนเรื อ ๑๑ ลํ า ในวั น อั ง คาร
ขึ้นสิบสามค่ําเดือนแปด เวลาย่ํารุง ดังความวา
“...แลวทรงสั่งสิ่งของเปนสองเหลา อยาควบเขาแบงพรอมเปนสองฐาน
ฝายทูตนั้นใหวาบรรณาการ โดยฉบับบุราณรวดมา อนึ่งนอกจิ้มกองเปน
ของถวาย รั บสั่งยกใหห กนายขาหลวงวา บรรทุ กเสร็จทั้งสิ บเอ็ดเภตรา
มาทอดทาคอยฤกษเรียงลํา ครั้นถึงวันกุมเชษฐมาสี กาฬปกษดิถีสิบสาม
ค่ํา เมื่อโมงสองบาทเชาพอเงาง้ํา สิบเอ็ดลําบังคมลาแลวคลาไคล...”

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๒๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

เนื้อความนี้ไดกลาวถึงการจัดเตรียมเครื่องราชบรรณาการและไดระบุไว
อยางชัดเจนวาขบวนเรือที่ไปเมืองจีนในครั้งนี้มีจํานวนทั้งหมด ๑๑ ลํา ตามความ
ที่วา “บรรทุ กเสร็ จทั้ง สิบ เอ็ ดเภตรา มาทอดทาคอยฤกษเ รียงลํา ...” หลัง จาก
ขบวนเรือทั้งหมดแลนออกจากกรุงธนบุรีลองไปตามแมน้ําเจาพระยา หลวงนาย
ศักดิไดมีความรูสึกโศกเศราอาลัยคิดถึงบานเกิดเมืองนอนซึ่งเปนลักษณะเดนของ
วรรณกรรมประเภทนิราศ ดังความวา
“...ครั้ น เรื อ ล อ งคล อ ยคลองตลาดเลี้ ย ว ตลึ ง เหลี ย วแล ว ชลนั ย น ไ หล
จะจากเรือนจากเพื่อนภิรมยไกล ดังสายใจนี้จะขาดจากอาตมา โอความ
ปรีดิ์เปรมเกษมสันต ตั้งแตจะนับวันคอยหา จะนับเดือนเคลื่อนสัง วัจฉรา
จะกมหนานั่งช้ําระกําไป ชะรอยพรากเนื้อนกวิหคขัง บําราศรังริบลูกเขา
เปนไฉน มาตามทันบั่นรางไวกลางใจ ใหจําไกลจากราชธานี...”

ภาพเขียนจินตนาการเรือสําเภาจีนในแมน้ําเจาพระยาสันนิษฐานวาคง
เปนสมัยตนกรุงรัตนโกสินทรเพราะปรากฏภาพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและ
พระบรมมหาราชวังอยางชัดเจน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๒๙

เนื้อความยังไดกลาวตอเนื่องถึงการขอพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุรีใหชวยคุมครองใหเดินทางปลอดภัยในภาวะอารมณที่ผูเดินทางยังรูสึกหดหู
เศราหมองตอการพลัดพรากบานเกิดเมืองนอน แสดงถึงความผูกพันภักดีของกวี
ที่มีตอสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ดังความวา
“...แลวยอกรมัสการขึ้นเพียงผม พระบรมไตรรัตนเรืองศรี เดชะศีลสัจจา
บารมี ทั้งขันตีอดออมอํานวยทาน ขอเปนขายเจ็ดชั้นไปกั้นเกศ สรรพเภท
ทุกขภัยในชลฉาน ใหปลอดเหตุสารพัดกําจัดมาร มัสการแลวลองครรไลไป
...”
ขบวนเรือไดไปหยุดที่เมืองปากน้ําเปนเวลาสองวันเพื่อรอใหน้ํา ขึ้นจึงจะ
แลนออกสูปากอาวได จากเนื้อหาที่บันทึกไวแสดงวา ขบวนเรือทั้งหมดซึ่งเปนเรือ
สําเภาจีนไดบรรทุกสิ่งของที่มีน้ําหนักมากเรือจึงกินน้ําลึก ดังนั้นบริเวณปากอาว
ไทยซึ่งเปนปากแมน้ําที่มีดินตะกอนไหลมาทับถมเปนเวลานานจึงมีความตื้นเขิน
ดังนั้นจึงตองอาศัยผูที่มีความชํานาญในการเดินเรือที่ทราบถึงชวงเวลาน้ําขึ้นน้ํา
ลงซึ่ง สวนใหญกัป ตันเรือชาวจีนจะมีความชํานาญเปนอยางดีและในขบวนเรือ
คณะราชทูตชุดนี้ก็ไดใชเรือจากตางชาติ ๒ ลําและเรือจากพอคากวางตุง ๙ ลํา๕๕
การหยุดรอที่ปากน้ํานี้ไดมีการบันทึกไววา
“...ครั้นถึงเมืองปากน้ําพอย้ําฆอง ดุเหวารองเพลาประจุสสมัย ทอดสมอ
รอรั้งประทังใจ อยูที่ปากชลาลัยนั้นสองวัน ตอน้ําขึ้นจึงไดถอยออกลอย
ลอง จําเพาะรองสําเภาผายผัน แตฉุดชากลากเข็นอยูเปนควัน หวังใหทัน
มรสุมสําเภาไป...”
หลังจากเดินทางพนปากอาวไทยแลว นิราศกวางตุงไดกลาวถึงเมืองและ
สถานที่ตางๆที่กองเรือไดแลนผานรวมทั้งไดระบุระยะเวลาการเดินทางจากเมือง
หนึ่งไปอีกเมืองหนึ่งไวดวย ไดแก เมืองสามรอยยอดแลนตอขามทะเลไปอีก ๒วัน
ถึงหนาเมืองพุทไธมาศ ผานเกาะมัน จากนั้นใชเวลาอีก ๒วันถึงเขากุนตุนเขาสูเขต
ญวนที่เมืองปาสัก เดินทางตออีก ๒วันครึ่งผานภูเขาใหญ(ไศล) ลัดเลาะชายฝง
ญวนไปจนสุดเขตที่วังน้ําวนกลางทะเล(วาโหล) แลวแลนเรือตอไปเขาเขตเมืองจีน

๕๕
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) เกาจงสือลู”บรรพ๑๑๓๗ หนา๑๖-๑๙
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๓๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

จนถึ ง ปากแม น้ํ า จู เ จี ย ง(Zhujiang) ปรากฏชื่ อ เรี ย กสถานที่ ห ลายแห ง ได แ ก
อันโหลบาน ซึ่งเปนดานชองเขากั้นแมน้ําที่จะเขาสูเมืองกวางตุง เกาะมะเกาสถาน
คือเกาะมาเกาซึ่งตั้งอยูบริเวณปากแมน้ํา จากปากแมน้ําลองเรือตอไปอีก ๒วัน
จึงถึงเมืองกวางตุง ใชเวลารวมทั้งหมด ๓๓ วันในการเดินทาง
ตลอดชวงระยะเวลาการเดินทางมาเมืองกวางตุง ขบวนเรือทูตไทยที่หลวง
นายศักดิรวมเดินทางมาดวยไดพบเจออุปสรรคพายุคลื่นลมในทะเลหลายครั้ง
หลายหน รวมทั้งพบเห็นสัตวทะเลพิศดารตามความเชื่อของลูกเรือ ทําใหคณะผู
เดินทางตองประกอบพิธีเซนไหวหลายครั้งรวมทั้งขอพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระ
เจากรุงธนบุรีเพื่อใหผานพนภยันตรายทั้งปวง นับเปนประสบการณสําคัญที่ทําให
เราทราบถึงคติความเชื่อตางๆของคนไทย คนจีนและชาวเรือคนในยุคสมัย ดังที่
นิราศกวางตุงไดกลาวถึงความยากลําบากทุกขทรมานและวิธีการเซนไหวเพื่อให
พนภัย ดังนี้
ตอนผจญพายุหลังจากที่แลนออกจากปากน้ําไปเมืองสามรอยยอด
“...ครั้นขามโขดหลังเตาออกตกลึก ก็ตั้งตรึกตรอมจนกมลไหม เขาผูกจัด
เชือกเสาแลเพลาใบ แลวคอยลมที่จะไดไคลคลา ครั้นเขาชักใบฉุดขึ้นสุด
เสา ก็ปลาบเปล าทรวงโทรมมนัสสา คลื่ นทุมกลุมทิ้ง เทมา เภตรากลิ้ ง
กลอกกระฉอกกาย กระทบปดฟดปนที่ฟนคลื่น แลฟูฟนฟูมฟองนองสาย
แสนทเวศแตซบเซาเมามาย ระกํากายมิ ไดกินโภชนา แตกา วเสียดคอ ย
ละเอียดดวยลมขัด พระพายพัดสลาตันตรานหนา แตแลนกาวกลับใบไปมา
แลวก็ลอยคอยทาลมดี...”
ในการเผชิญพายุลมแรงเปนครั้งแรกขณะแลนออกจากปากอาวไปเมือง
สามรอยยอดนี้ หลวงนายศักดิไดอ ธิ ษฐานขอพึ่งพระบารมีของสมเด็ จพระเจา
กรุงธนบุรีใหชวยปกปกษรักษาขบวนเรือ ดังนิราศพรรณนาไววา
“...พระพายพัดสลาตันตรานหนา แตแลนกาวกลับใบไปมา แลวก็ลอยคอย
ทาลมดี สุดคิดจึงอุทิศถึงพระบาท แลวยอกรอภิวาทเหนือเกศี ขอเดชะ
ตะบะบุญพระบารมี จะแทนที่วรพุทธโพธิญาณ กับอนึ่งซึ่งพระองคไดทรง
ศีล อั นผ อ งภิ ญ โญยอดพระกรรมฐาน มาช ว ยป อ งลมขั ดอย า พั ดตราน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๓๑

ขอบันดาลลมสงใหตรงไป อนึ่งเขาในชลามัจฉาชาติ ทั้งปศาจพวกพราย


อยา กรายใกล ใหป ลอดเหตุสารพัดกํ าจั ดภั ย จําเริญ ชัย ชมชื่ นจนคื นมา
ครั้นสิ้นคําบรรยายพระพายพัด พอคําสัตยสงทายก็ยายหา ไดเห็นเหตุใน
พระเดชเดชา ก็แลนไปไดทวาทสวัน...”
ขบวนเรื อ ของคณะทู ต ยั ง ได เ ผชิ ญ มรสุ ม พายุ อี ก หลายครั้ ง และได จั ด
เครื่ อ งเซ น ไหว ก ลางทะเลตามแบบจี น (มี ก ารเผากระดาษเงิ น กระดาษทอง)
หลายหน ได แ ก การเซ น ไหว ห น า เขาสามร อ ยยอด การเซ น ไหว ห น า เมื อ ง
พุทไธมาศ การเซนไหวเทวดาอารักษ การเซนไหวผีน้ํา ดังพรรณนาไววา
“...จึงถึงที่วาสามรอยยอด เขาหยุดทอดไหวเทวทําขวัญ ตามเคยสังเวยแก
เทวัญ ที่สําคัญหลักคามเคยมา แลวใชใบบากขามไปตามเข็ม คอยเก็บเล็ม
ลมไปดว ยใบผ า ได สองวั นแตสั ญจรคลา ครั้นถึง กึ่ง กลางมหาสมุท รไท
จึงบูชาตรงหนาพุทไธมาศ เซนสาดลงทองทะเลใหญ กระดาษเผารินเหลา
แลวลอยไป เขาวาไหวผีน้ําในทามกลาง...”
นอกเหนือจากการเซนไหวที่เกิดขึ้นตลอดเปนระยะๆแลว หลวงนายศักดิ
ไมไดบันทึกรายละเอียดสิ่งที่พบเห็นในการเดินทางชวงแรกจากอาวไทยผานเขา
สามรอ ยยอดถึงเมือ งพุ ทไธมาศเทาใดนัก ทั้ง นี้อ าจเนื่อ งมาจากยัง เปน บริเวณ
ดินแดนที่คนไทยคุน เคยเปน อยางดีทั้งบานเรือนผูคนและสภาพแวดลอมตางๆ
รวมถึงยังเปนเขตประเทศราชของไทย กระทั่งเขาเขตเวียดนาม (นิราศเรียกญวน)
ที่เมืองปาสัก๕๖ หลวงนายศักดิไดพบชาวญวนแลนเรือออกหาปลาเปนจํานวนมาก
ดังที่ไดกลาวพรรณนาไววา
“...ถึงแหลมเลี้ยวหนาเมืองปาสัก ก็ประจักษปากน้ําพอจําได
เห็นเรือญวนยืนแจวเปนแถวไป เขาใชใบเล็มลาออกหากิน...”

๕๖
เปนเมืองประเทศราชของไทยตั้งแตสมัยอยุธยาถึงตนรัตนโกสินทร เดิมอยูในอาณาเขต
ของเขมรดังปรากฏชื่อเจาเมืองในทําเนียบขุนนางเขมรวา“พระยาอาธิกาวงศา”และในคราว
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรียกทัพหลวงไปตีเมืองพุทไทมาศไดทรงเลยเขาไปปราบหัวเมือง
นอยใหญในบริเวณนี้รวมทั้งยกกองทัพไปถึงเมืองปาศักดวย ปจจุบันอยูในเขตจังหวัด Soc
Trang ของเวียดนาม
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๓๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

เนื้อความขางตนไดเปนเครื่องยืนยันวาชาวเวียดนามที่อาศัยอยูบริเวณริม
ฝงทะเลไดประกอบอาชีพประมงโดยใชเรือใบขนาดเล็กมาเปนเวลานานหลายรอย
ปแ ลว และในป จ จุ บั น ยั ง คงพบเห็ น วิถี ชีวิต แบบนี้ข องชาวเวียดนามไดใ นเมือ ง
๕๗
เตินเซินญิ๊ต เกิมแรง ดานัง จูลาย ฝูบาย
เมื่อขบวนเรือแลนออกจากหนาเมืองพุทไธมาศกอนแลนเขาเขตเวียดนาม
ได มีก ารเซ น ไหวก ลางทะเลอีก ครั้ง บริเ วณที่ ผูค นสมั ย นั้น เรีย กวา เกาะกุน ตุ น
ดังที่นิราศพรรณนาไววา
“...เกาะกุนตุนภูผา เปนสองเกาะนอยใหญแตไกลตา กับขอบฝงนั้นสักหา
โยชนป ลาย ก็ใ ช ใ บไปกลางที่ ห วา งนั้ น ถึ งสลุ บกํ า ปนไปคา ขาย จะแล น
นอกนั้นไมไดใกลเกาะทราย จําเพาะบายเขาหวางเปนทางจร เขาลมไกลง
ไหวเทเวศร ตามเพศที่สถิตอยูสิงขร บรรดาพวกเรือคาเภตราจร ถวายกร
ตามตําแหนงทุกแหงไป...”
การเดินทางเปนไปอยางราบเรียบตั้งแตเกาะกุนตุนผานเมืองปาสักไมมีพายุ
คลื่นลมใดๆ แตไดมีการหยุดทําพิธีเซนไหวอีกครั้ง ณ ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามความ
เชื่อของทองถิ่นมีชื่อเรียกวาเขาชางขามคิรีศรี เปนสถานที่มีตํานานเรื่องเลาเชิง
อภินิหารเปนที่เคารพสักการะของผูที่เดินเรือสัญจรผานไปมา เมื่อพิจารณาจาก
เสนทางเดินเรือและระยะทางที่ใชเวลา ๕ วันครึ่งจากเมืองปาสัก สันนิษฐานวา
คือ ปราสาทโพธิ์นคร(Po Nagar) ที่ตั้งตระหงานอยูเชิงเขาริมฝงทะเลปากแมน้ํา
Cai ในจังหวัดญาตรัง (Nha Trang) ของเวียดนามและอยูในทัศนวิสัยที่มองเห็น
จากทะเลไดอยางชัดเจน ขบวนเรือหยุดทําพิธีเซนไหวหนาภูเขาแหงนี้ ดังความวา
“...แลวก็ไปสามวันถึงบรรพต นามกําหนดชางขามคิรีศรี ตระหงานเขาง้ํา
เงาชลธี เขาวามีเปนนิทานบุราณเมา วาเขานี้อัคคีกาลวาต เมื่อไฟฟาผา
ฝาดลงภู ผ า แล ว ลุ ก ไหม ไ ล เ ลี ย ลามศิ ล า พฤกษาจึ ง ไม ลั ด ระบั ด ใบ
ดูก็เหมือนหนึ่งจะตองทํานองกลาว ดวยเรื่องราวรอยมีอยูที่ไศล แลวแลน
ผานพนสถานที่นั้นไป จนอุทัยแจมแจงโพยมบน ก็ลุยังอินตั้งตัวบุตร สูงสุด

๕๗
ธั ญ ญาทิ พ ย ศรี พ นา.เวี ย ดนามหลากมิ ติ . (กรุ ง เทพฯ: สํ า นั ก พิ ม พ จุ ฬ าลงกรณ
มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒).
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๓๓

เทิดเทียมพระเวหน ตระหงานเขาเงาดําลงง้ําชล ฝายบนเบื้องจอมคิรินราย


มีศิลาหนึ่งปกเปนกําหนด ประหลาดหลากกวาบรรพตทั้งหลาย ฟงแถลง
หลายปากมามากมาย วาเปนศรนารายณอวตาร เมื่อเสด็จออกดงไปทรง
พรต ยังบรรพตศาลาลัยไพรสาณฑ ทรงแผลงสารทศรไปรอนราญ พิฆาต
มารซึ่งแปลงเปนกวางมา แลวสาปศรใหเปนทอนศิลาปก จึงประจักษอยูที่
จอมภูผา ทรงสถานที่ประมาณสมมุติมา ก็หมายตาเหมือนจะตองบุราณ
กาล ฝายฝูงคณาอารักษ สิทธิศักดิ์เขาสูสิงสถาน ผูไปมาบูชาเชี่ยวชาญ
วิสัยพาลพาณิชนิยมมา แตแปลกอยางออกที่ทําสําเภานอย กระจอยรอย
พอพึงเสนหา เอาเชือกเสาเพลาใบใสเภตรา แลวเย็บผาถุงเสบียงเรียงราย
บรรดามีเงินทองของเอมโอช สรรพโภชนใสลงบรรจงถวาย เอากระดาษ
วาดรูปทุกตัวนาย ทั้งนายทายตนหนทุกคนไป แลวยกสําเภานอยลงลอยน้ํา
เหมื อ นถ า ยลํ า ที่ ร า ยให ค ลายได เผากระดาษฟาดเคราะห ส ะเดาะไป
ตามวิสัยสัญจรแตกอนมา...”

เทวสถานฮินดูโพธิ์นคร (โพนาการ : Po Nagar)


สรางราวคริสตศตวรรษที่ ๘-๙ สมัยอาณาจักรจามปา

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๓๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

หลวงนายศักดิไดพรรณนาการเซนไหวครั้งสุดทายไวเมื่อตอนเดินเรือออก
จากเขตเมืองญวนเขาสูนานน้ําจีน โดยขบวนเรือไดเจอพายุลูกใหญโหมกระหน่ํา
ผูคนมีอาการเมาเรือและอาเจียนกันอยางหนักทุกคน กระทั่งตัวหลวงนายศักดิเอง
ก็ ไ มแ นใ จวา ตนเองจะมีชี วิต รอดพน ไปได จึง ไดอ ธิ ษ ฐานขอพึ่ง พระบารมีข อง
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีอีกครั้ง ในที่สุดขบวนเรือสามารถรอดพนจากพายุใหญ
ได หลังจากนั้นไดมีเหตุการณตื่นเตนเกิดขึ้น คือ มีปลาวาฬตัวใหญวายปรากฏขึ้น
ทางกาบขวาของเรือ แมหลวงนายศักดิจะไมตื่นตระหนกตอการพบเห็นปลาวาฬ
แตบรรดาลูกเรือชาวจีนมีความเชื่อวาปลาวาฬคืออาเพศ จึงไดจัดเครื่องเซนไหว
ปลาวาฬ รวมทั้งเซนไหวสิ่งศักดิ์สิทธิ์กันอยางวุนวาย ดังที่นิราศพรรณนาไววา
“แลวบังเกิดพายุใหญจนใบกลับ ทั้งคลื่นทับเทฟองทั้งนองฝน เปนพยุพยับ
ทั่วมัวมน กําลังฝนแลบพรายกระจายไป เสียงคลื่นประหนึ่งพื้นสุธาวาศ จะ
วินาศไปดวยชลไมทนได ตลิ่งนิ่งเห็นเขานิ่งวุนวายไป บางรองไหรักตนอยู
ลนลาน บางก็ยืดมัดไมใบเกา บางก็เฝาถังน้ําแลลําปาน เห็นการผืดแลวก็
คิ ด นมั ส การ สละพาลภาวนารั ก ษามาตน จะแลฝ ง ที่ ห ยุ ด ก็ สุ ด เนตร
จะสังเกตพึ่ง พนัสก็ ขัดสน แต นั่งแลดูตากั นหาคน เห็ นจะจนเสีย ในทอ ง
ทะเลลาน สุดคิดจึงอุทิศถึงพระเดช มาปกเกศชวยชีพสังขาร เดชะตะบะ
บุญพระคุณณาน ลมพาลก็คอยเปลาบรรเทาพลัน เภตราจึงคอยฟนขึ้น
คลื่ น ได จึ ง ชั ก ใบขึ้ น รอไว พ อผั น ครั้ นลมหายค อ ยสบายอารมณ ค รั น
ถึงกระนั้นยังไมสุขสักราตรี ถากลางคืนก็ไดชื่นแตแสงจันทร ทิวาวันก็ได
ชมแตรังษี กับจะดูมัจฉาในวารี แตก็มีพวกพรรคจะอันตราย ที่ตามลอม
ตอมวายนั้นหลายหมู ก็เหลือรูจะกําหนดจดหมาย ชลาดําดวยน้ําเค็มพราย
ทั้งสุดสายดิ่งรอยหาสิบวา จะดูโดยทิศใดก็ใจหวาด วิปลาสเห็นวาฬขึ้นขาง
ขวา ประมาณยาวราวสามสิบห าวา ที่ ทอนหน าไม ตระหนั กประจัก ษใ จ
เห็นคลานกุงที่กระพุงแพนหาง ประมาณกวางนั้นสิบหาวาได แตโดยลมอม
ชลที่ พนไป ก็สูง ไดโ ดยหมายกับ ปลายตาล เขาก็ก ลับใบบากออกจากที่
คะเนหนี จ ะให พ น แถวสถาน เอาธปู เ ที ย นบวงบนขึ้ น ลนลาน วั น ทนา
ปลาวาฬวุนวาย แลวเขาทําเปดไกไหวเทเวศร ตามเพศที่ทะเลแลวเทถวาย
แต ข ลุ ย ขลุ ก แล ว ลุ ก ขึ้ นโปรยปลาย กระดาษพรายเผาเพลิ ง เถกิ ง เรื อ ง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๓๕

เย็นเชาไหวเจาดวยมาฬอ พระหมาจอฟงอึงคนึ งเนื่อง ครั้นค่ําแขวนโคม


เคียงเรียงเรือง ตลอดเบื้องหนาทายที่รายไป...”
เนื้อความตอนนี้ไดกลาวถึง สักการะขอพรจาก“พระหมาจอ”(ออกเสียง
สํ า เนี ย งจี น ถิ่ น ว า “ม า จ อ ”) หรื อ “เจ า แม ทั บ ทิ ม ”เป น เทพเจา ที่ ช าวจีน ไหหลํ า
ฮกเกี้ยนและชาวเวียดนาม โดยเฉพาะกลุมชาวประมงและพอคาเดินเรือเคารพนับ
ถือเปนอยางยิ่ง เพราะเชื่อวาเปนเทพที่คุมครองผูเดินทางทางเรือใหแคลวคลาด
ปลอดภัย นิราศไดกลาวถึงการบูชาเจาแมทับทิมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งเชาและเย็น
โดยใชเครื่องประกอบพิธีแบบจีนโบราณคือ “มาฬอ”เปนเครื่องทองเหลืองใชตีให
เกิดเสียงดังกังวาลซึ่งจะพบเฉพาะการประกอบพิธีกรรมแบบจีนเทานั้น

ภาพวาดจินตนาการจากหนังสือกําสรวลสมุทรสุดยอดกําสรวลศิลป
ใหจินตนาการคลายกับนิราศกวางตุงพรรณนาถึงการพบปลาวาฬ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๓๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

การตองพลัดพรากจากบานเกิดเมืองนอน การเผชิญพายุมรสุมครั้งแลว
ครั้งเลา ทําใหเกิดภาวะความแปรปรวนทางรางกายและจิตใจ รวมถึงการเดิน
ทางผานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทองถิ่น การพบเห็นเหตุการณแปลกประหลาด เชน
ปลาวาฬ นํามาสูการอธิษฐานขอพึ่งพระบารมีสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี และการ
จั ด เครื่ อ งเซน ไหว ป ระกอบพิธี ข องบรรดาลู ก เรือ ชาวจี น หลายครั้ ง ตลอดการ
เดินทาง ทําใหเราทราบถึงอารมณความรูสึกหวาดกลัวของคณะผูเดินทาง ทั้งนี้ใน
สมัยโบราณการเดินทางทางทะเลถือเปนการเสี่ยงชีวิตที่อันตรายและมีโอกาสที่จะ
ไมรอดชีวิตกลับมา ดังเชนเรือคณะทูตไทยไปยุโรปสมัยสมเด็จพระนารายณซึ่ง
อับปางลงระหวางทางถึง ๒ ครั้ง๕๘ ดังนั้นผูที่ตองออกเดินทางทางเรือจึงอาศัยสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์เปนที่พึ่งพิงทางใจเปนสําคัญ สําหรับการเดินทางไปเมืองจีนครั้งนี้ผูรวม
เดิน ทางสวนใหญคงเป นลู กเรือ ชาวจีน ที่ทํ างานในกรมทาซาย อีกทั้ง มีบรรดา
พอคาชาวจีนจํานวนมากติดตามไปคาขายโดยอาศัยความเปนเรือบรรณาการทูต
บังหนา๕๙เพราะเปนที่ทราบแนชัดแลววาเรือทั้ง ๑๑ ลําลวนแลวแตเปนเรือสําเภา
ของพอคาจีนกวางตุงทั้งสิ้น สวนการจัดเครื่องเซนไหว ธูป เทียน เปดไก เหลา
การเผากระดาษเงิน กระดาษทอง ตีมาฬอและบูชาเจาแมทับทิม ตามที่นิราศได
กลาวไวคงเปนหนาที่ข อง“เอียวกง”ประจําเรือผูทําหนาที่บู ชาพระ ๖๐ พิธีกรรม
ความเชื่อแบบจีนที่เกิดขึ้นบนเรือคณะทูตเปนสิ่งยืนยันไดวามีคนจีนจํานวนมาก
รวมขบวนเดินทางไปในครั้งนี้

๕๘
คณะทูตไปฝรั่งเศส ป ๑๖๘๐แตเดินทางไปไมถึงเพราะเรือไดอับปางและลูกเรือทั้งหมด
หายสาบสูญไป สวนคณะทูตไปโปรตุเกสในป ๑๖๘๖เรือไดอับปางลงอีกแตคณะทูตรอด
ชีวิตและสามารถเดินทางกลับถึงอยุธยาดวยความชวยเหลือของชาวฮอลันดา รายละเอียด
เพิ่ ม เติ มใน ธิ ษณา วี รเกี ย รติ สุนทร“บันทึ ก ของราชทูตออกพระวิ สุ ท ธสุ นทรฯ”ใน๑๐๐
เอกสารสําคัญสรรพสาระประวัติศาสตรไทย ลําดับที่ ๑๐(กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการ
พิมพ, ๒๕๕๔), ๔๖.
๕๙
เพื่อความสะดวกในการคาขายที่จะไดรับการผอนปรนกฏระเบียบที่เขมงวดรวมถึงไดรับ
การยกเว
๖๐
นภาษี
เปนตําแหนงในพระไอยการนาพลเรือน สังกัดกรมทาซาย ทําหนาที่บูชาพระ ถือนา ๓๐
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๓๗

แผนที่แสดงเสนทางเดินเรือไปเมืองกวางตุงตามที่หลวงนายศักดิไดกลาวไว

กรุงธนบุรี
เมืองกวางตุง (กวางโจว)
เขาสามรอยยอด
เมืองพุทไธมาศ (ฮาเตียน)
เกาะกุนตุน (Con Dao)
เมืองปาสัก (Song Tien)
เกาะมะเกาสถาน (มาเกา)
เสนทางเดินเรือ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๓๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

จุดแสดงบริเวณที่มีการประกอบพิธีเซนไหวบนเรือ

จุดที่มีการทําพิธีเซนไหว
บริเวณที่สันนิษฐานวาพบปลาวาฬ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๓๙

การพรรณนาถึงประสบการณแปลกใหมที่นาตื่นเตนของกวีไดปรากฏชัด
ขึ้นเมื่อขบวนเรือเดินทางถึงเมืองจีนบริเวณที่เรียกวาเกาะมะเกาสถาน ปากแมน้ํา
จูเจียง ที่ซึ่งหลวงนายศักดิไดพบเห็นชาวตะวันตกจํานวนมากอยูบนเกาะแหงนี้
ดังที่กลาวพรรณนาไววา
“...ที่เขาออกกวางตุงกรุงศรี จําเพราะทางเขาหวางคิรีมี ครั้นลมดีก็ไดแลน
เขาโหลบาน ขึ้นยืนดูผูคนมั่งคั่ง ฝรั่งตั้งเต็มเกาะมะเกาสถาน เปนทวงทีหนี
ไลก็ไดการ มีกําแพงสามดานดูดี เห็นสําเภาเขาครันกําปนทอด แลตลอดดู
ไปไมสุดที่ แตมิ่งไมไรสิ้นทุกคิรี บางที่มีคนตัดไมลัดทัน...”
ข อ ความดั ง กล า วถื อ เป น หลั ก ฐานยื น ยั น ได ว า ชาวโปรตุ เ กสและ
ชาวตะวันตกชาติอื่นๆไดเขามาพํานักในเมืองจีนแลว โดยจัดตั้งสถานีการคาและ
ทาเรืออยูบนเกาะมาเกาและบริเวณใกลเคียง ชาวตะวันตกบางสวนไดรับอนุญาต
ใหเดินทางไปถึงกรุงปกกิ่งเพื่อเขาเฝาจักรพรรดิเฉียนหลงในป ๑๗๘๔/๒๓๒๗๖๑
หลวงนายศักดิไดบรรยายลักษณะมะเกาสถานที่พบเห็นไววาเปนเมืองที่มีกําแพง
สามดานลอ มรอบ อีกทั้งยั งเปน เมืองทาที่พ ลุกพลานเพราะมีเรือสํ าเภาสิน คา
ทอดสมอเรียงรายอยูเปนจํานวนมาก

มะเกาสถานหรือเกาะมาเกา
(ภาพจากRoyal Siamese Maps, 2004)

๖๑
George Woodcoock .The British in the Far East.( Grate Britain: Atheneum,1969).
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๔๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

แผนทีแ่ สดงที่ตั้งเกาะมาเกาหรือมะเกาสถานบริเวณปากแมน้ําจูเจียง

แผนที่ตั้งเมืองกวางตุงและเมืองใกลเคียง
(ภาพจาก Royal Siamese Maps, 2004)

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๔๑
จากเกาะมะเกาสถาน ขบวนเรือใชเวลาเดินทาง ๒ วันลองขึ้นไปตามแมน้ํา
จูเจียง ตลอดสองริมฝงจนถึงเมืองกวางตุง นิราศกวางตุงไดพรรณนาความงดงาม
ของธรรมชาติขุนเขาที่ใหความรูสึกเบิกบานใจเปรียบไดดั่งกําลังเที่ยวชมอยูในปา
“หิมพานต”รวมทั้งพบเห็นทาเรือ เรือประมงและบานเมืองของชาวจีนตั้งอยูเรียง
ราย ดังความวา
“...แต มิ่ ง ไม ไ ร สิ้ นทุ ก คิ รี บ า งที่ มี ค นตั ด ไม ลั ด ทั น แต นั่ ง ดู ภู ผ าศิ ลาลาด
ดังประพาสหิมพานตพนาสัณฑ ที่วุงเวิ้งเชิงผาเปนหนาบัน บางเปนขอบ
คันธกุฎีดา ที่เสื่อมลายเลาก็ชมเหมือนพรมลาด ที่ขาวดาดไปก็ดูดังปูผา
ที่เยี่ยมยอยออกมาหอยถึงคงคา จะไปมาเลี้ยวหลีกครรไลไคล เห็นเรือเทง
เที่ ย วท อ งทํ า มั จ ฉา ดู ดาไปแต ล อ มเสาไสว จนสุ ด เนตรสั ง เกตไม สุ ดใบ
ดังทัพใหญยกหนักออกหักราญ อันโดยทางลางเหลาที่เวนไว ครั้นจะใส
ถวนถี่ใหวิถาร เหลือสติจะดําริใหรอบการ ขอประมาณแตนิราธานี้...”
เมื่อขบวนเรือ เดินทางถึง เมืองกวางตุงภายหลั งจากเจาหนาที่ฝายจีน ได
ตรวจสอบเอกสารแลว หลวงนายศักดิไดกลาวถึงเมืองกวางตุงไวอยางนาตื่นเตน
วาเปนเมืองใหญที่มีความอุดมสมบูรณไปดวยพืชพรรณธัญญาหารบานเรือนกอ
ดวยอิฐตั้งเรียงเปนทิวแถว มีกําแพงเมืองลอมรอบถึงสามชั้นทําดวยศิลาแลง และ
ดวยความเปนเมืองทาหนาดานสําคัญทางใตของจีน กวางตุงจึงมีหอรบและปอม
ปนขวางอยูกลางลําน้ําพรอมกองทหารประจําการที่มีอาวุธครบครัน ดังพรรณนา
ไววา
“...อันหอรบนางเรียงที่เรียงเรียบ ไวระเบียบปองกันบุรีศรี มีปอมขวางอยู
กลางชลาธี วารีแลนรอบเปนขอบคัน ตรงฟากเมืองไวเครื่องขางเรือรบ
ก็เตรียมครบทอดราอยูทานั้น พอขุกเหตุสังเกตคืนวัน ก็เรียกทันถอยไลก็ได
ที ที่ ก องเกณฑ ใ ห ต ระเวนก็ ส อดเสาะ เที่ ย วรายเราะเรื อ รอบบุ รี ศ รี
สรรพสรรพาวุธไวมากมี ประจําที่จุกชองอยูอัตรา เหลาทหารประจําการ
กินเบี้ยหวัด ก็เปลี่ยนผลักกันพิทักษรักษา ลวนเกาทัณฑสันทัดอยูอัตรา ถือ
ตําราที่โบราณทานชิงชัย...”

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๔๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ภาพวาดปอมหนาเมืองกวางตุง
(ภาพจาก Royal Siamese Maps, 2004)
เมื่อ ถึง เมือ งกวางตุง หลวงนายศั กดิบ รรยายนิร าศไดมีสีสั น มีชีวิต ชีวา
บงบอกถึงความรูสึกตื่นเตนตอสิ่งที่พบเห็นอยางชัดเจน เชน พบเห็นภูมิประเทศที่
สวยงามของสองฝงแมน้ําจูเจียงหรือการพบเห็ นผูคนและบานเมืองที่ส วยงาม
แปลกตา ตื่นใจ ดัง ที่ไดกลาวถึงสภาพบานเรือนริม สองฝงแมน้ํากอนถึงเมือ ง
กวางตุงที่คลาคล่ําไปดวยผูคนและมีความอุดมสมบูรณดวยพืชพรรณธัญญาหาร
รวมทั้งมีเรือสินคาจอดอยูที่ทาเรือจํานวนมาก ดังที่พรรณนาไววา
“...ก็แลนไปตามเรื่องรัถยา เห็นวารีนั้นไมมีมัจฉาชาติ อรัญาวาสเราก็ไร
รุกขา บนอากาศขาดหมูสกุณา พสุธาดาดาษดวยคนไป เปนชาวคามนิคม
วาสี ชางทําที่นั้นอุตสาหนาอาศัย ลวนตึกกอตอเนื่องเปนเรื่องไป ทุกวุงเวิ้ง
เชิงไศลละลานตา ที่พนน้ํานั้นก็ทําเปนเรือกสวน บานเพราะพวนปลูกผักก็
หนักหนา ที่ลุมลาดหาดน้ําก็ทํานา ไมมีปาปลูกไมไ วมากมี พื้นผลแตที่ตน
ตระการรส จะกําหนดนามไซรก็ใชที่ แตเขาครองไปไดสองราตรี ก็ถึงที่
หยุดพักนัครา เห็นกําปนแลสําเภาเขาคาขาย เปนทิวทอดตลอดทายคฤหา
ทั้งสี่แถวตามแนวนัครา ก็ทอดทาหนาเมืองเปนเรื่องกัน แตเสากระโดงที่

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๔๓

ระดะตะกะกาย จนสุดสายเนตรแลแปรผัน บางขึ้นลองเที่ยวทองจรจรัล


สุดอนันตที่จะนับคณนา...”
หลังจากที่เดินทางถึงเมืองกวางตุงแลว คณะทูตไทยไดมีโอกาสเที่ยวชม
สถานที่ตางๆดวยความรูสึกตื่นเตนภายใตป ระสบการณแ ปลกใหมใ นตางแดน
กระทั่งเมื่อทูตสองคณะตองแยกจากกัน โดยคณะของพระยาสุนทรอภัยราชทูต
ตองเชิญพระราชสาสนออกเดินทางไกลไปเมืองปกกิ่ง อารมณความรูสึกโศกเศรา
อาลัยไดบังเกิดขึ้น ทั้งนี้เพราะตลอดเวลาที่เดินทางมาและใชชีวิตรวมกันในเมือง
กวางตุงเปนเวลาหลายเดือนคณะทูตคงมีความสนิทสนมรักใครผูกพันกั น เมื่อ
ยามตองจากกันหลวงนายศักดิจึงไดพรรณนาบงบอกความรูสึกไววา
“...แตนับวารคอยเคราทุกเชาเย็น อันเหลาไทยที่ไดไปเปนเพื่อยาก ขาม
ทะเลลํา บากนั้นแสนเข็ ญ แต ตรากน้ํ าตรํา ฝนแลว ทนเย็ น จะนั่ งนอนแต
เขมนไมเวนวาง อันที่ทานสี่สําเภาหลวง นั้นพุมพวงสารพัดไมขัดขวาง จะ
แสนยากอยูแตเหลาที่เชาระวาง ปมปางจะไมเห็นวาเปนกาย หากพระขัติ
คุณการุณภาพ กมกราบถึงพระบาทไมขาดสาย จึงไดพนไถยันอันตราย
รอดตายมาชื่นคืนเมือง...”
การแยกจากกันนี้ถือเปนครั้งสุดทายที่หลวงนายศักดิไดพบพระยาสุนทร
อภัย เพราะตอมาพระยาสุน ทรอภัยได ถึง แกกรรมลงอยางกระทัน หัน ในขณะ
ปฏิบัติหนาที่หัวหนาคณะทูตอยูในเมืองปกกิ่ง ดังที่จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง
กลาวไววาราชสํานักจีนเปนเจาภาพในการทําศพและจัดพิธีเซนไหว ดังความวา
“วันซินโฉว เดือนสาม ปที่สิบเจ็ด รัชศกเฉียนหลง จัดพิธีเซนไหวทูตเมือง
เซียนหลัว พระยาสุนทรอภัยนารถตามธรรมเนียม”๖๒
การที่นิราศมิไดกลาวถึงการเดินทางไปเมืองปกกิ่งหรือเหตุการณสําคัญ
ใดๆที่เกิดขึ้นในเมืองปกกิ่งเลย ทั้งการเขาเฝาองคจักรพรรดิเฉียนหลง รวมทั้งการ
ถึงแกกรรมอยางกระทันหันของพระยาสุนทรอภัยราชทูตซึ่งนาจะเปนเหตุการณที่
สําคัญที่สุดเปนสิ่งยืนยันไดวาหลวงนายศักดิเปนคณะทูตชุดที่ทําการคาขายอยูใน
เมืองกวางตุงและไมไดรวมเดินทางไปกรุงปกกิ่งอยางแนนอน
๖๒
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสือลู” บรรพ ๑๑๕๒ หนา ๑๒
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๔๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

๓.๓ พิธีการและธรรมเนียมการทูต
นิ ร าศกวางตุ ง ได ส ะท อ นภาพพิ ธี ก ารและธรรมเนี ย มการทู ต รวมถึ ง
วัตถุประสงคของการเดินทางไปเมืองจีนในครั้งนี้โดยเริ่มตนบรรยายรายละเอียด
ไววา
“...ไปประเทศกวางตุงกรุงศรี เปนจดหมายมาถวายดวยภักดี ตามที่ไปสดับ
เดิ ม ความ แรกราชดํ า ริ ตริตรองถวิล จะเหยี ย บพื้ นปถ พิ นให งามสนาม
จะสรา งสรรคดั งสวรรค ที่เ รือ งราม จึง จะงามมงกุ ฎอยุธ ยา เมื่อ ไอศูร ย
สมบูรณดวยสมบัติ กับกษัตริยราชคฤคฤาหา เคยรวมพื้นยืนแผนสุวรรณ
มา แต นิร าเสื่ อ มเศร า มาเนานาน เสื่ อ มสนองโดยครองกระษั ตริ ย ช าติ
เสื่อมราชไมตรีไมมีสมาน เสื่อมสวาทขาดมาก็ชานาน จะประมาณยี่สิบสี่ป
ปลาย จึ ง ทรงคิ ดจะติ ดความตามปฐม สํ า หรั บ ราชบรมกระษั ตริ ย สาย
จึงแผพื้นสุวรรณพรรณราย เอาแยบคายฟนเฝอเปนเครือวัลย...”
ข อ ความดั ง กล า วได ร ะบุ ชั ด เจนถึ ง การติ ด ต อ สั ม พั น ธ กั บ จี น ในระบบ
บรรณาการหรือ“จิ้มกอ ง-เชิญหอง”ซึ่ง ถือเปนธรรมเนียมปฏิบั ติมาแตโ บราณ
โดยในส ว นขั้ น ตอนและพิ ธี ก ารนั้ น ฝ า ยไทยได ป ฏิ บั ติ ต ามที่ จี น เป น ผู กํ า หนด
ราชสํ า นั ก แมนจู ไ ด ยึ ด ถื อ แบบแผนธรรมเนี ยมการทู ต เดิ ม ที่ ร าชวงศ ห มิง เคย
กําหนดไว แตปรับเปลี่ยนรายละเอียดปลีกยอยบางประการในสมัยจักรพรรดิคังซี
ระเบียบปฏิบัติหลักที่ฝายจีนกําหนดไว อาทิ การกําหนดเมืองทาที่คณะทูตจะเดิน
ทางเขามาเพื่อรอเดินทางตอไปกรุงปกกิ่ง การสงทูตชุดเล็กมาลวงหนาเพื่อขอ
อนุญาตใหคณะทูตบรรณาการเดินทางเขามา บัญชีสิ่งของบรรณาการ จํานวน
เรือบรรณาการ ๓ ลํา แตละลํามีลูกเรือไมเกินหนึ่งรอยคน จํานวนผูติดตามคณะ
ทูตอยางเปนทางการ ๒๒ คน และระยะเวลาการสงบรรณาการเปนพิธีการทุก
๓ ป ฯลฯ๖๓
เมื่ อ ไดรั บ อนุ ญาตอย างเป น ทางการจากฝ ายจีน ในป ๑๗๘๑/๒๓๒๔
สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีไดจัดเตรียมคณะทูตชุดใหญพรอมเครื่องราชบรรณาการ

๖๓
สารสิน วีระผล.จิ้มกองและกําไรการคาไทย-จีน ๒๑๙๕-๒๓๙๖.(กรุงเทพฯ: มูลนิธิ
โครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร, ๒๕๔๘), ๓๐-๓๑.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๔๕

และพระราชสาสนเดินทางไปยังเมืองกวางตุงและรอเวลาเพื่อเดินทางตอไปเขา
เฝาจักรพรรดิเฉียนหลงที่กรุงปกกิ่ง นิราศกวางตุงไดกลาวถึงสมเด็จพระเจากรุง
ธนบุ รี เ สด็ จ ออกท อ งพระโรงเพื่ อ ประกอบพระราชพิ ธี จ ารึ ก พระราชสาส น
สุพรรณบัฏทองคําซึ่งถือเปน “พิธีหลวง”ที่มีความสําคัญและเปนการถวายพระ
เกียรติจักรพรรดิจีนอยางสูง ดังความวา
“...แลวเสด็จบัลลังกอาสนออกสนาม แยมพระโอษฐประดิพัทธแลวตรัส
ความ อํ า มาตย ห มู มี น ามประนมฟ ง ได ยิ น พร อ มยอมอวยแล ว อภิ ว าท
กราบบาทดวยคํานับแลวรับสั่ง ทูลโดยลําดับมาเปนตราตรัง ที่หยุดแลว
จะยั้งยืนควร จึงพระบาททรงราชนิพนธสาร เปนตะพานนพคุณควรสงวน
ให เ ขี ย นสารลงลานทองทวน จั ดส ว นบรรณาการละลานตา อนึ่ ง นอก
จิ้มกองเปนของถวาย ก็โปรยปรายประทานไปหนั กหนา ทั้งนายหางขุ น
นางในนั ค รา ให มี ต ราบั ว แก ว สํ า คั ญ กั น แล ว จั ด ทู ต ทู ล คํ า ให จํ า สาร
บรรณาการพรอมสิ้นทุกสิ่งสรรพ ทั้งของแถมแนมความนั้นงามครัน เปน
กํานัลถวายนอกบรรณาการ...”
พระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการที่ฝายไทยไดจัดเตรียมถวายใน
ครั้งนี้แบง ออกเป น ๒ชุ ด ชุ ดหนึ่ง คือเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาสน
ประทับ ตราไอยราพตถวายแดอ งคจั กรพรรดิ มีพ ระยาสุ นทรอภั ยราชทูต เป น
หัวหนาคณะ อีกชุดเปนพระราชสาสนประทับตราบั วแกวและเครื่องบรรณาการ
ถึง ข าหลวงมณฑลกวางตุ ง -กวางซี ส ง มาในนามเจ าพระยาพระคลั ง กรมท า
มีพระยาศรีธ รรมาธิร าชเปนหั วหนาคณะขบวนเรือ ทูตมีจํานวนทั้งหมด ๑๑ลํ า
นิราศกวางตุงไดกลาวถึงการแบงบรรณาการเปนสองชุดไววา
“...แลวทรงสั่งสิ่งของเปนสองเหลา อยาควบเขาแบงพรอมเปนสองฐาน
ฝายทูตนั้นใหวาบรรณาการ โดยฉบับบุราณรวดมา อนึ่งนอกจิ้มกองเปน
ของถวาย รับสั่งยกใหหกนายขาหลวงวา บรรทุกเสร็จทั้งสิบเอ็ดเภตรา...”
สิ่ง ของบรรณาการ ๒ ชุ ด ที่ กลาวถึง นี้บ างสวนที่ ถูกตอ งตามบั ญชีที่จี น
กําหนดจะถูกจัดใสเรือเดินทางตอจากเมืองกวางตุงไปกรุงปกกิ่งสวนที่เปนของ
นอกบัญชีที่จีนไมรับไวจะไดรับอนุญาตใหขายเพื่อใชเปนคาเดินทางกลับประเทศ
หลักฐานสําคัญที่ยืนยันถึงการแบงคณะทูตออกเปนสองชุดแตออกเดินทางมาใน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๔๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ขบวนเรือ๑๑ลําพรอมกันคือ พระราชสาสนทั้ง ๒ ฉบับซึ่งตรงตามที่นิราศกลาวถึง


ไว ฉบับที่จิ้มกองถวายพระเจากรุงจีนระบุไวในพระราชสาสนวา “หาตราโลโตมิได
จึง ปด ตราไอยราพตเปน สําคั ญ” สวนพระราชสาสนถึง ขาหลวงกวางตุง นิร าศ
กลาวไววา“ใหมีตราบัวแกวสําคัญกัน”

สําเนาพระราชสาสนฉบับถวายพระเจากรุงจีน “ระบุปดตราไอยราพด”
(ภาพถายจากสมุดไทยดํา)

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๔๗

พระราชสาสนประทับตราบัวแกวถึงขาหลวงเมืองกวางตุงฉบับที่นิราศกลาวถึง

ภาพพระราชสาสนของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก ป ๒๓๒๕
ประทับตรามหาโลโตที่คณะทูตกรุงธนบุรีนํากลับมาจากเมืองจีน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๔๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ภายหลั ง จากรอนแรมเดิ น ทางไกลเป น เวลา ๓๓ วั น เมื่ อ เข า เขตเมื อ ง


กวางตุง หลวงนายศักดิไดบรรยายขั้นตอนการเขาเมืองและตรวจตราเอกสาร
เพื่อใหแนใจวาเปนคณะราชทูตเขามาถวายเครื่องราชบรรณาการ ทั้งนี้เนื่องจาก
แมน้ําจูเจียงซึ่งเปนเสนทางหลักเขาเมืองกวางตุงเปนเสนทางน้ําที่พลุกพลานไป
ดวยเรือสินคานอยใหญจํานวนมากตามที่นิราศไดกลาวถึงไว และเรือคณะทูตทั้ง
๑๑ ลําของไทยก็เปนเรือสําเภาจีนทั้งหมดจึงอาจแยกไมออกวาเปนเรือสินคาหรือ
เรือทูต นิราศกวางตุงไดกลาวถึงขั้นตอนการเขาเมืองกวางตุง ไววา
“...ถึงทวารพยัคฆีทันใด มีปอมปนยืนเยี่ยมอยูสองฟาก ประหลายหลากกอ
เขากับเขาใหญ ยังปอมขวางไวกลางชลาลัย เรือไปสองขางอยูกลางคัน
เปนสงาศึกงามทั้งสามปอม ที่กอลอมลวนแหลงแกลวสรร เอาโยธาเจนจัด
ใหผลัดกัน เปนนิรันดรรักษาระวังการ ฝายจีนจงเอี้ยซึ้งเปนใหญ ไดคุมไพร
สิบ หมื่ นรัก ษาสถาน ก็ลงเรื อ รีบ พลันมิ ทันนาน มาถามการข าวข อคดี ดี
ฝายทูตตอบวาพระราชสาร พระผูผานอยุธยาวดีศรี มาจิ้มกองโดยคลอง
ประเพณี จําเริญราชไมตรีตามโบราณ ฝายจีนจดหมายเอารายชื่อ แลวก็
รื้อดูทรงสงสัณฐาน แตจํากดจดไปจดไฝปาน แลวเกณฑเจาพนักงานลงคุม
ไป กับทหารสามสิบใสเรือรบ เครื่องครบอาวุธสรรพไสว พนักงานปองกัน
ใหครรไล ก็แลนไปตามเรื่องรัถยา...”
ขอความดังกลาวทําใหทราบวาการตรวจคนเขาเมืองของจีนที่เมืองกวางตุง
เปนไปอยางเขมงวด ดานที่กวางตุงเปนปอมที่มีทหารประจําการจํานวนมากและมี
การตรวจดูเอกสารรายชื่อผูเดินทางและตรวจคนสิ่งของบนเรือกระทั่งเมื่อแนใจวา
เปนเรือทูตแลวก็ยังสงเรือรบพรอมทหารควบคุมตามไปจนเทียบทาเมืองกวางตุง
ทั้งนี้หากพิจารณาถึงบริบทประวั ติศาสตรที่เกี่ยวของ กวางตุงถือ เปนมหานคร
ดานหนาที่สําคัญทางภาคใตของจีนและตั้งอยูใกลกับเกาะมาเกาซึ่งโปรตุเกสได
เขามาตั้ง นิคมการคา รวมทั้ง ชาติต ะวั นตกอื่น ๆไดเ ริ่ม ทยอยเดิน ทางเขามาใน
ภาคใตของจีน จึงเปนเหตุผลประการสําคัญที่จีนตองระวังและควบคุมการเข า
ออกเมืองอยางเขมงวด แมวาจะเปนชวงเจริญรุงเรืองสูงสุดของจีนสมัยราชวงศชิง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๔๙

แผนที่แสดงปอมทหารบริเวณหนาเมืองกวางตุง
(ภาพจากRoyal Siamese Maps, 2004)

เมื่อคณะทูตเดินทางถึงเมืองกวางตุงแลว เนื้อความในนิราศไดกลาวถึงการ
จัดที่พักใหกับคณะทูตไววา“...ก็ลุดลตําบลกงกวนเกา สถานทูตเคยเขาอยูอาศัย
เปนตึกตรอกอยูนอกเวียงชัย...”ที่พักของคณะทูตนี้เปนตึกแถวตั้งอยูนอกเขตเมือง
และคาดวาคงอยูไมไกลจากยานที่มีขอทานยาจกทั้งหลาย เพราะนิราศไดกลาว
การพบเห็นขอทานกอนที่จะเขาที่พัก
ขอ น า สั ง เกตเรื่ อ งที่ พั กของคณะทู ต ไทยที่ ร ะบุ วา “กงกวนเก า ”นั้ น อาจ
ตีความไดหลายความหมาย ประการแรก กงกวนเกาคือที่พักเดิมที่หลวงนายศักดิ
ไดเคยมาพักแลว จึงมีความคุนเคยเปนอยางดี ยอมแสดงวาหลวงนายศักดิไดเคย
เดิ น ทางมาเมื อ งกวางตุ ง แล ว แต ไ ม ป รากฏว า เมื่ อ ใด แต เ มื่ อ ผู วิ จั ย พิ จ ารณา
เนื้อความทั้งหมดของนิราศกวางตุงแลวพบวาผูแตงรูสึกตื่นเตนกับประสบการณ
แปลกใหมที่ไดพบเห็น ซึ่งยอมมิใชอารมณความรูสึกของผูที่ไดเคยพบเห็นมาแลว
ประการที่ ส องกงกวนเก าน า จะหมายถึ ง ที่ พั ก เดิ ม ของคณะทู ต ไทยที่ เ คยเดิ น
ทางเขามาพํานักในครั้งกอนๆ แสดงวาคณะทูตชุดนี้ประกอบดวยบุคคลที่ไดเคย
รวมเดิ น ทางมาเป น คณะทู ต ในชุ ด กอ นๆ และประการสุ ด ทายกงกวนเกาอาจ
หมายถึงที่พักหลังเกาที่มีสภาพทรุดโทรมไมโออาสงางาม

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๕๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

หลังจากผูวิจัยไดอานนิราศกวางตุงอยางละเอียดรวมทั้งคนควาเอกสารที่
เกี่ยวของเพิ่มเติม จึงสรุปวา กงกวนเกา คือที่พักเดิมที่คณะทูตไทยไดเคยพํานัก
เมื่อครั้งกอนๆแลวก็เปนที่พักที่ไมหรูหราใหญโต อาจจะมีสภาพเกาดวยซ้ํา ทั้งนี้
นิราศกวางตุงไดระบุไววาตั้งอยู “นอกเวียงชัย”ซึ่งหมายถึงอยูนอกเขตเมืองและ
นาจะอยูใ กลกั บ แหลง เสื่ อ มโทรมที่มีข อทานยาจกอยู อีกด วย เพราะนิ ร าศได
พรรณนาวาคณะราชทูตพบเห็นขอทานกอนที่จะเดินทางเขาที่พัก ทั้งนี้การที่คณะ
ทูตไทยถูกจัดใหพักในกงกวนเกาก็มิใชเรื่องแปลก เพราะในการติดตอสัมพันธกับ
จีนนั้นจริงอยูที่ทุกชาติตองอยูภายใตร ะบบบรรณาการที่จีนยกตัวเองเปนใหญ
เหนือกวา แตจีนก็จัดลําดับความสําคัญของชาติที่อยูภายใตระบบบรรณาการของ
ตนอยางไมเทาเทียมกัน ดังจะพบไดจากลําดับการเขาเฝา และระยะหางของตัว
ทูตในการเขาเฝาองคจักรพรรดิ หรือสิ่งของพระราชทานตางๆที่แตกตางกันก็บง
บอกถึงลําดับชั้นของแตละชาติที่จีนจัดไวไมเทากัน
ในสมั ยตน ราชวงศชิงจีนไดจัด ลําดั บความสําคัญของชาติตางๆออกเป น
๓ กลุม กลุม แรกคือ ดิน แดนในอารั กขาโดยตรงของจีน ไดแ ก มองโกล ทิเ บต
เกาหลี เวียดนาม กลุมที่ ๒ คือดินแดนที่ตั้งอยูหางไกลออกไปและไมมีดินแดนติด
กับ จีน เชน บรรดาชาติตางๆในเอเชียตะวั นออกเฉียงใต เอเชียใต และอาหรั บ
เปอรเ ซีย สวนกลุม สุ ด ทายที่จี น ใหความสํ าคั ญนอ ยมากและคอ นขางจะดู ถู ก
เหยียดหยามคือ ประเทศชาติที่ไมมีพระมหากษัตริยและฝรั่งตะวันตกซึ่งจีนยึดถือ
ตามนี้เรื่อยมาแมกระทั่งถึงยุคเสื่อมถอยของราชวงศชิง ดังปรากฏไดจากบันทึก
การเขาเฝาของคณะทูตตางชาติสมัยจักรพรรดิเสียนเฟยที่จีนจัดใหสหรัฐอเมริกา
อยูลําดับทายและอยูหางที่สุดเพราะถือเปนประเทศที่ไมมีกษัตริย๖๔
ดังนั้นการที่คณะทูตไทยถูกจัดใหพักที่กงกวนเกานอกเมืองและมีสภาพเกา
ทรุ ด โทรมไม โ อ อ า ก็ เ ป น เรื่ อ งปกติ ธ รรมดาที่ ท างการจี น จั ด ไว ใ ห ต ามลํ า ดั บ
ความสําคัญ อีกทั้งในสายตาของจีนไดมองชาติตางๆที่ติดตอเขามาเปนการขอ
ความชวยเหลือและขอพึ่งพาจีนทั้งสิ้น เพราะจีนเปนชาติใหญและมีความเจริญ
โดยจี น ไม มี ค วามคิ ด ที่ จ ะขอความช ว ยเหลื อ จากต า งชาติ เ หล า นี้ แ ต อ ย า งใด
๖๔
ปรากฏอยูในหนังสือ“ระยะทางราชทูตไปกรุงปกกิ่งในแผนดินสมเด็จพระจอมเกลา”
โดยพระยาสารภากรณเมื่อครั้งเปนพระอินทรมนตรี(แยม)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๕๑

ดังปรากฏไดจากการที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเคยเสนอจะสงทหารไปชวยจีนรบ
กับพมาในป ๑๗๗๗/๒๓๒๐แตถูกจักรพรรดิเฉียนหลงปฏิเสธอยางแข็งขันเพราะ
ทรงเห็นวาจีนเปนมหาอํานาจไมตองพึ่งพาความชวยเหลือจากเมืองเล็กอยางไทย
นิราศกวางตุงไดกลาวถึงพิธีการทางการทูตอยางเปนทางการหลังจากทูต
เขาที่พักแลว เนื้อความวา
“...ก็เชิญราชสารไวที่ควรการ แลวสงของที่คุมไปขึ้นไวหาง ตามรางเรื่อง
ตราโกษาสาร ทั้ ง สองห า งตามอย า งธรรมเนี ย มนาน แล ว แจ ง ซองที่
ประทานนั้ นออกไป ขา งจงตกหมูอี๋ผู มีสติ เขาดํา ริแล วไม รับประทานได
วากฎหามกวดขันถึงบรรลัย ประนมไหวควรขอบพระคุณมา แลวใหคนเร็ว
รีบยังนัคเรศ ถวายเหตุราชคฤๅหา แตกําหนดนับไวทั้งไปมา นี่ทางมายี่สิบ
เจ็ดราตรี ผูถือสารจึงเอาสารรับสั่ งสง ใหกับจงตกดูหมูอี๋ แลวคัดขอสา
รามาพาที ว า พระเจ า หมื่ น ป นั้ นโปรดปราน ให ส ง ทู ต ไปถวายอภิ ว าท
ตามราชตําราบุราณสาร...”
ขอความดังกลาวที่ตอเนื่องมาหลังจากคณะทูตเขาที่พักแลวไดระบุวามีการ
เชิญพระราชสาสนไวในที่อันเหมาะสมแสดงใหเห็นถึงธรรมเนียมการทูตของไทยที่
ใหความสํ าคั ญสู งสุ ด แกพ ระราชสาสน ซึ่งแทนองคพ ระมหากษั ต ริย ในขณะที่
ธรรมเนียมทูตแบบตะวันตกนั้น ตัวราชทูตถือเปนผูแทนพระองคที่มีความสําคัญ
กวาพระราชสาส น ๖๕ นอกจากนี้เ นื้อ ความยั ง ไดร ะบุ ถึง การเจรจาขอ ราชการ
ระหวางทูต ไทยกับ จงตกหมูอี้ ๖๖ขาหลวงมณฑลกวางตุง ซึ่ง แจงใหคณะทู ตไทย

๖๕
ดังปรากฏไดจากเหตุการณเมื่อครั้งราชทูตฝรั่งเศสเขาเฝาถวายพระราชสาสนแดสมเด็จ
พระนารายณ ใ นสมั ย อยุ ธ ยาและเซอร จ อห น เบาว ริ ง ถวายพระราชสาส น แด
พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ซึ่งใชเวลานานในการตกลงกันเรื่องพิธีการเขาเฝาที่
ตางฝายตางยึดถือธรรมเนียมที่ไมเหมือนกัน
๖๖
ประพฤทธิ์ ศุกลรั ตนเมธีอ ธิบายวา “จงตก”หมายถึ งขาหลวงหรือผูว าราชการสําหรั บ
อาณาเขตสองมณฑลหรือ มากกว านั้ น ขา ราชการตํา แหนง นี้ มีอํ า นาจหน าที่ บ ริ หารทั้ ง
กิจการพลเรือนและทหาร รวมทั้งกิจการชายแดนและกิจการตางปะเทศดวย สวนคํา วา
“หมู อี้” เป นคํา เรี ยกขาหลวงหรือผู วา ราชการมณฑลที่มี อํา นาจหน าที่ บริ หารทั้ง กิจ การ
พลเรื อ นและทหารของมณฑลแห ง นั้ น“หมู อี้ จ งตก”ในที่ นี้จึ ง หมายถึ ง ข า หลวงมณฑล
กวางตุง-กวางซี
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๕๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ทราบวา องคจักรพรรดิทรงอนุญาตใหคณะทูตเดินทางไปปกกิ่งไดแลว โดยจงตก


หมูอี้มีหนั งสือแจง ไปที่กรุง ปกกิ่งและมีทองตราลงมา ใชเวลาเดินทางไป-กลั บ
เมืองกวางตุง-กรุงปกกิ่งโดยมาเปนเวลา ๒๗ คืน รวมทั้งนิราศไดกลาววาจงตก
หมูอี้ปฏิเสธที่จะรับของที่ฝายไทยมอบใหโดยอางระเบียบฝายจีนที่เขมงวด แตทั้งนี้
มีขอสังเกตวาในการเดินทางมาเมืองกวางตุงของคณะทูตในครั้งกอนๆ ขุนนาง
เมืองกวางตุงไดเรียกรับสินบนและขมเหงเอาเปรียบทูตไทย กระทั่งสมเด็จพระเจา
กรุงธนบุรีทรงฟองรองจักรพรรดิจีนโดยตรงในพระราชสาสน
นิราศกวางตุงไดกลาวถึงการจัดสิ่งของบรรณาการของฝายไทยและแบบ
แผนธรรมเนียมการทูตของจีนไวบางสวน แบบแผนปฏิบัติทางการทูตเปนสิ่งที่จีน
ยึดถืออยางเครงครัดมาโดยตลอด ดังจะเห็นไดจากการที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
ตองสงทูตชุดเล็กไปเมืองกวางตุงหลายครั้งเพื่อขออนุญาตใหคณะทูตชุดใหญเดิน
ทางเขามาถวายพระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการซึ่งระเบียบการทูตของ
จีนอันเขมงวดนี้ไดทําใหทูตไทยตองหยุดรอที่เมืองกวางตุงเปนเวลาหลายเดือน
มีขอสังเกตวาคณะทูตของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี ชุดนี้ไดปฏิบัติผิดแบบ
แผนเดิมตามที่จีนกําหนดหลายประการ อาทิ กองเรือคณะราชทูตมีจํานวนถึง
๑๑ ลํ า มากกวาที่ฝายจีน กําหนดไววาใหเ พียง ๓ ลํา นอกจากนี้สิ่ง ของหลาย
รายการที่ ส ง ไปถวายก็ เ ป น สิ่ ง ของนอกบั ญ ชี บ รรณาการที่ ฝ า ยจี น กํ า หนด๖๗
๖๗
สิ่งของบรรณาการตามบัญชีหลักทีไ่ ทยสงไปถวายจักรพรรดิจีนในป ๒๓๒๔ ไดแกชางพัง
และชางพลายอยางละเชือก อําพัน กากเพชร พรม หางนกยูง ปกนก งาชาง กรักขี ชันปก
การบูร ดีปลี ลูกกะเบา ไมดํา อบเชย เปลือกศรีเสียด ไมจันทน ไมหอม ไมกฤษณา นอ
แรด ฝาง รง กระวาน สิ่งของบรรณาการรองไดแก อําพัน กากเพชร พรม หางนกยูง ปกนก
งาชา ง กรั กขี ชั นปก การบูร ดี ป ลี ลู กกะเบา ไมดํ า อบเชย เปลื อ กศรี เสี ยด ไม จันทน
ไมหอม ไมกฤษณา นอแรด ฝาง รง กระวาน สิ่งของนอกบัญชีบรรณาการรองที่จีนรับไวคือ
ชางพลายและนระมาต สวนของที่จีนไมไดรับไวแตอนุญาตใหขายเปนคาเดินทางกลับไดแก
ดีบุก ๓๐๐ หาบ พริกไทย ๓๐๐๐ หาบ รายละเอียดเพิ่มเติมใน ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
(แปล)(เอกสารประวัติศาสตรจีนเกี่ยวกับความสัมพันธไทย-จีนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟาจุฬาโลก)”ใน “ประวัติศาสตรปริทรรศน” วินัย พงศศรีเพียร บรรณาธิการ
(กรุงเทพ: กองทุนดําเนิร เลขะกุลเพื่อประวัติศาสตร, ๒๕๔๒), ๑๑๖-๑๑๗.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๕๓

แตทั้งนี้จักรพรรดิเฉียนหลงก็ทรงมีพระราชานุญาตใหกองเรือทั้งหมดของคณะทูต
เดิ น ทางเข า มาเมื อ งกวางตุ ง และจั ด สิ่ ง ของตามบั ญ ชี บ รรณาการเอกและ
บรรณาการรองขึ้นมาถวายที่กรุงปกกิ่งไดโดยของนอกบรรณาการรองใหรับไว
เฉพาะงาชางกับนอแรด ดังที่นิราศกลาวไววา“แตชางนอนั้นเปนขอประสงคนาน
ใหบอกบรรณาการขึ้นสงไป”จักรพรรดิยังมีพระราชวินิจฉัยใหคณะทูตที่กวางตุง
ขายสิ่งของนอกบัญชีบรรณาการเพื่อเปนคาใชจายในการเดินทางกลับไดโดยไม
ตองเสียภาษี๖๘รวมทั้งยังอนุญาตใหทูตไทยซื้อสินคาตามรายการที่รองขอโดยไทย
แจงเหตุผลไปวาเพื่อจะนําไปสรางและบูรณะพระนคร๖๙ทั้งนี้สิ่งของหลายรายการ
ที่ไ ทยขอซื้ อ เป น สิน ค าควบคุ ม ห ามนํ าออกนอกประเทศจี น และขาหลวงเมือ ง
กวางตุ ง และบรรดาขุ น นางจี น ต า งตํ าหนิ ไ ทยที่ จ งใจฝ า ฝน ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ
ดังกลาวและไดสงความเห็นคัดคานไปยังราชสํานักที่ปกกิ่ง ๗๐ นิราศกวางตุงได
กลาวถึงการไดรับพระราชานุญาตจากจักรพรรดิจีนดังนี้
“...ผูถือสารจึงเอาสารรับสั่งสง ใหกับจงตกดูหมูอี๋ แลวคัดขอสารามาพาที
วาพระเจาหมื่นปนั้นโปรดปราน ใหสงทูตไปถวายอภิวาท ตามราชตํารา
บุราณสาร กับสิ่งของในคลองบรรณาการ ที่นอกอยางบุราณมีมา นั้นไม
รับครั้นจะกลับใหคืนของ ระวางคลองเหมือนไมแสนเสนหา เสียดายราช
ไมตรีที่มีมา ทางทะเลก็เปนทากันดารนาน ก็ควรขายจําหนายเอาทุนทรัพย
ใหคืนกลับอยุธยามหาสถาน แตช างนอนั้นเปนขอ ประสงคนาน ใหบอก
บรรณาการขึ้นสงไป อันจังกอบสินคาบรรดาของ นั้นปลงปองโปรดปราน
ประทานให ใหนายหางปรึกษาขาหลวงไทย ตามใจจําหนายขายกัน...”
การปฏิบัติผิดธรรมเนียมการทูตดังกลาวเปนสิ่งที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
และบรรดาขุนนางไทยตางทราบเปนอยางดี ทวาฝายไทยคงคาดการณไวแลววา
จักรพรรดิเฉียนหลงคงมีพระราชวินิจฉัยผอนปรนและจะกอใหเกิดผลประโยชนแก
ฝายไทยเป น อยางมาก ดั ง ปรากฏบั น ทึกอยูใ นจดหมายเหตุ ร ายวั น ราชวงศชิง
๖๘
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู)“เกาจงสื่อลู” บรรพ ๑๑๔๙ หนา๑๒ (เอกสาร
แปลอัดสําเนา)
๖๙
พระราชสาสนไปกรุงปกกิ่ง จ.ศ.๑๑๔๓ (สมุดไทยดํา)
๗๐
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสื่อลู” บรรพ ๑๑๓๗ หนา ๑๖-๑๙
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๕๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ที่กลาวถึงพระราชวินิจฉัยขององคจักรพรรดิที่อนุญาตใหทูตไทยที่กวางตุงขาย
ของนอกบัญชีโดยไมตองเสียภาษีไววา
“มี พ ระราชโองการถึ ง จุ น จี ต า เฉิ น ความว า “ปาเหยี ย นซาน ฯลฯ
กราบบั งคมทู ลวา เนื่ องดว ยเจิ้ งเจาเจ าเมือ งเซี ยนหลัว ได เ ตรี ยมเครื่ อ ง
ราชบรรณาการเอกจํ า นวนหนึ่ง พร อ มหนัง สือ แจง โดยขอใหช วยกราบ
บังคมทูลใหทรงทราบ นอกจากนั้นยังไดเตรียมเครื่องราชบรรณาการของ
จํ า นวนหนึ่ ง อั น ได แ ก งาช า ง นอแรดและดี บุ ก เทศ เป น ต น เจ า เมื อ ง
ดัง กล าวได แสดงความจงรัก ภัก ดีด ว ยการนํา เครื่อ งราชบรรณาการอั น
ประกอบด ว ยสิ น ค า พื้ น เมื อ งมากมายพร อ มสรรพ สํ า หรั บ เครื่ อ งราช
บรรณาการเอกใหสงเขาเมืองหลวงตามธรรมเนียม สําหรับเครื่องราช
บรรณาการรองที่เตรียมมาดวยนั้น ถาหากใหสงกลับไปก็คงลําบากในการ
ขนไปขนกลับ หาไดเปนการเห็นอกเห็นใจผูอยูแดนไกลไม ขอใหสั่งการไป
ยัง ปาเหยีย นซานความว า สํา หรั บเครื่ องราชบรรณาการรองนั้ น ให รั บ
เฉพาะงาชางกับนอแรดสองรายการ และใหสงเขาเมืองหลวงพรอมกับ
เครื่ องราชบรรณาการเอก ฝายพิธี การตรวจสอบตามธรรมเนี ยมแล ว
บํ า เหน็ จ รางวั ล เพิ่ ม ขึ้ น พิ เ ศษ นอกเหนื อ จากบํ า เหน็ จ รางวั ล ที่ จั ด ให
ตามปกติเพื่อเปนสินน้ําใจ เครื่องราชบรรณาการสวนที่เหลืออนุญาตให
เขาหาพอ ค าจํ า หน า ยเองที่ เ มือ งกวางตุ ง พรอ มทั้ง ใหง ดเว นภาษี สินค า
อับเฉาทั้งหมดของพวกเขาดวย ทั้งนี้ใหแจงบรรดาขาราชการในกระทรวง
พิธีการทราบดวย”๗๑

๗๑
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู) “เกาจงสื่อลู” บรรพ ๑๑๔๙ หนา ๑๒
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๕๕

ภาพคณะทูตไทยเดินทางถึงพระราชวังหลวงกรุงปกกิ่ง
ในภาพปรากฏชางพังและชางพลายอยางละเชือกที่สงเขาไปถวายเปน
บรรณาการ(จัดแสดงอยูที่พิพิธภัณฑพระราชวังโบราณกรุงปกกิ่ง)

หลวงนายศักดิไดกลาวถึงพิธีสําคัญ คือ การถวายบังคมวันเฉลิมพระชนม


พรรษาองคจั กรพรรดิ ตรงกั บ ขึ้น วั น ที่สิบ ของเดือ นสิบ เอ็ ด (วั นทศมาสา) และ
พิธีรับพระราชโองการจาก“ปนสื้อ”ผูแทนพระองค ซึ่งเปนการอนุญาตใหทูตไทย
เดินทางไปเขาเฝาอยางเปนทางการ จัดพิธีกันขึ้นที่จวนขาหลวง คณะราชทูตไทย
แตงกายชุดขุนนางเต็มยศเขารวมพิธีพรอมกับขุนนางจีน ในตอนเย็นมีงานเลี้ยง
รับรองทูตอยางเปนทางการซึ่งเปนงานเลี้ยงใหญมีการฉลองกันทั้งคืนจนถึงรุงเชา
จึงไดแยกยายกันกลับที่พัก ดังความกลาววา

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๕๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

“...แต ข อ ทู ต ที่ จ ะจํ า หน า ยได ไ ปอภิ ว าท ยั ง พระบาทหมื่ น ป ศ รี ส วรรค


ตอ แล ว การเคารพอภิ วั นท ป นสื้ อ นิ้ม หนํ า โหลานเปนป นป ก หลั ก จี นทุ ก
จังหวัด เหมือนไทยถือน้ําพิพัฒนพิธีสถาน ประชุมชอบพรอมหนาบูชาการ
วันประสูติพระผูผานนครา ครั้นถึงวันที่จะทําโดยกําหนด เดือนสิบเอ็ดขึ้น
ทศมาสา จึงตกหมูอี๋ใหลีลา มาเชิญทูตกับขาหลวงจร ไปอภิวันปนสื้อใน
นัคเรศ ตามเพศขุนนางแคปางกอน ขางทูตไทยผูจะไปถวายกร ก็ ผันผอน
แตงแงใหงามทรง เปนคนเจนชัดเชนในเชิงเกา ถึงแกเถาก็จริตยังหยิบหยง
นุงยกชองกระจกโจงผจง ฉลององคอัตลัคประทานงาม เอาเสนากุฎใสวิไล
เกศ ดังชัยเชษฐบุราณชาญสนาม พระพี่เลี้ยงขาหลวงทั้งปวงตาม ทหาร
หามคันเกี้ยวดวยกันไป ครั้นไปถึงที่ประตูเห็นหมูทหาร ริมทวารขัดดาบดู
ไสว ทั้งสองแถวรัถยาดาไป ที่ชั้นในไวเหลาที่เกาทัณฑ ทั้งงาวปนยืนงาม
ตามถนน ที่ ว า งคนลดเลี้ ย วเป น หลายหลั่ น ถึ ง สถานที่ จ ะได ไ ปอภิ วั น ท
พิศพรรณเพียงแลละลานตา ลวนปดทองธรรมชาติแลววาดเขียน ธงเทียน
พื้นสุวรรณเลขา ที่ถิ่นฐานสะอานโอฬาร รจนาโคมเคียงเรียงกัน อันโรงรี
ซึ่งเปนที่สําหรับรับ นั้นประดับแพรแดงแกลงสรรค ใสพูรายขายรอบเปน
ขอบคัน เอาพื้นพรรณแพรลาดเปนหลังคา แลวก็แซมดอกไมกับใบสน เปน
ที่ ย ลนั บ ถื อ กั นหนั ก หนา พอจงตกหมู อี่ ลี ลามา ทั้ ง ขุ นนางซ อ นหน า มา
เนื่องกัน แตยืนรับคํานับก็หนักหนา ออกระอาแลวไมวายที่ผายผัน ครั้น
พรอมหนาแลวก็พากันจรจรัล ไปอภิวันทปนสื้อสําหรับมา เขาขุยขลุกลุก
พรอมแลวกรอมกราบ ขางเหลาไทยมิใครราบแตโหยหา ก็กลั้นสรวลอยูจน
ถวนทั้งสามครา แลวกลับมาสถิตโรงเมื่อแรกไป จงตกใหยกโตะมาตั้งเลี้ยง
ตลอดเรียงรวดรายทั้งนายไพร ครั้นเสพเสร็จสําเร็จกันจะครรไล หมูอี่จึง
ปราศรัยดวยวาจา เราปนสื้อดวยกันในวันนี้ ก็เปนที่บุญธรรมนั้นหนักหนา
ครั้นสายแสงแรงศรีพระสุริยา ก็ตางคนตางคลาไปจากกัน...”
ในความเห็นของผูวิจัย“ปนสื้อ”เปนตําแหนงขุนนางชั้นผูนอยดานธุรการ
แตในนิราศไดกลาวถึงการไปเคารพอภิวันทปนสื้อถึงสามครั้งโดยเปนพิธีอยางเปน
ทางการ ซึ่งหากพิจารณาจากตําแหนงขุนนางจีนตามที่เหตุการณไดกลาวถึงไว
จงตกหมูอี๋ซึ่งเปนขาหลวงสองมณฑลมีอํานาจเบ็ดเสร็จในกิจการทหาร พลเรือน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๕๗

และการตางประเทศในมณฑลกวางตุง-กวางซี นาจะเปนขุนนางที่มีตําแหนงใหญ
ที่สุดที่ทูตไทยไดพบและใหการเคารพนอบนอม แตเมื่อพิจารณากฎมณเทียรบาล
ของราชสํ านักแมนจูที่ร ะบุ ใ หผูอัญเชิญพระราชโองการถือ เปน ผูแ ทนพระองค
ซึ่ง แมวา เขาผูนั้น จะเป น ขุ น นางชั้น ผูนอ ยหรือ เป น ขั น ทีต่ํ าตอ ยเพียงใด บรรดา
พระราชวงศ ขุนนางนอยใหญและบุคคลทั่วไปก็ตองแสดงความเคารพประดุจดั่ง
องคจักรพรรดิเสด็จมาดวยพระองคเอง ผูวิจัยจึงสันนิษฐานวาขุนนางจีนตําแหนง
นี้จึงเปนผูที่อัญเชิญพระราชโองการใหคณะทูตไทยเดินทางไปเขาเฝาที่กรุงปกกิ่ง
ในการทําพิธีคาราวะปนสื้อ จะตองคํานับโขกศีรษะแบบจีนหรือ “เคา-เตา”
(Kow-tow) อันเปนระเบียบการเขาเฝาที่จีนกําหนดอยางเครงครัดและตองกระทํา
การอย างถู กวิ ธี คณะทู ต ไทยคงไดฝ กหั ด การโขกศีร ษะแบบจี น อยางแน น อน
โดยเฉพาะคณะของพระยาสุ น ทรอภั ย ซึ่ ง จะต อ งไปเข า เฝ า องค จั ก รพรรดิ ที่
กรุ ง ป กกิ่ง หลวงนายศั กดิไ ดกลาวถึง การโขกศีร ษะคํ า นั บ แบบขลุ กลุกขลุ กนั่ ง
สามครั้งอยางขําขัน แตไดกลั้นหัวเราะไวไมแสดงออกมาอยางผิดมารยาท ไววา
“...ครั้ น พร อ มหนาแล ว ก็ พ ากั น จรจรั ล ไปอภิ วั น ท ป น สื้ อ สํ า หรั บ มา
เขาขุยขลุกลุ กพร อมแลวกรอมกราบ ขางเหล าไทยมิใ ครราบแตโหยหา
ก็กลั้นสรวลอยูจนถวนทั้งสามครา แลวกลับมาสถิตโรงเมื่อแรกไป...”

การโขกศีรษะคํานับแบบจีนสมัยราชวงศชิง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๕๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

นิร าศกวางตุ ง ยั ง ไดก ลา วถึ ง เหตุ การณ สํ า คั ญ ทางการทู ต คือ การเชิ ญ
พระราชสาสนออกเดินทางไปกรุงปกกิ่งโดยเรือสําเภาทูต ๔ ลํา ตรงกับวันศุกร
ขึ้นสามค่ําเดือนสิบสอง เนื้อความกลาวไววา
“...ฝายทูตก็คืนควรกงกวนเกา คํานวณนับนานอยูที่นั่น ครั้นถึงเดือนสิบ
สองศุกรวัน ขึ้นสามค่ําจะจําจร หมูอี๋จึงเชิญใหพระราชสาร บรรณาการทูต
อันจะผันผอน ประดับดวยนาวาสถาวร ขึ้นนครราชคฤหคราวดี อันโดย
ทางที่จะไปนั้นไตรมาส จึงถึงราชปกกิ่งกรุงศรี ฝายทูตเขาจะไปเห็นไดดี
เพราะธุลีบาทคุมคลุมไป...”
ดังที่ไดกลาวมาแลววาหลวงนายศักดิเปนคณะทูตชุดที่คาขายอยูในเมือง
กวางตุง สวนคณะทูตชุดพระยาสุนทรอภัยไดออกเดินทางไปปฏิบัติภารกิจสําคัญ
คือการเขาเฝาองคจักรพรรดิเฉียนหลงเพื่อถวายพระราชสาสน แมเนื้อหาของ
นิราศจะจบลงเฉพาะเหตุการณในเมืองกวางตุง แตเอกสารสําคัญที่มีเรื่องราว
ตอ เนื่ อ งกั น ในทางประวั ติ ศ าสตรที่ ค วรจะกล า วถึ ง เพื่ อ ความเข าใจในบริ บ ท
ประวั ติ ศ าสตร ที่ ส มบู ร ณ คื อ พระราชสาส น ที่ อั น เชิ ญ ไปถวายจั ก รพรรดิ จี น
พระราชสาสนฉบับนี้จารึกเปนภาษาไทยและภาษาจีนบนแผนสุพรรณบัฏทองคํา
มีเนื้อความเกริ่นนํายกยองพระเจากรุงจีนในฐานะผูใหญเหมือนกับฉบับกอนๆที่
ฝายไทยเคยสงเขามา แตที่ตางออกไปจากเดิมคือสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีไดทรง
ตั้งพระทัยฟองขุนนางจีนที่ไดเอาเปรียบและดูหมิ่นคณะทูตไทยชุดกอน รวมทั้ง
พฤติกรรมฉอ ราษฏรข องขุน นางจีน การฟองรอ งดั งกลาวถู กจารึกในพระราช
สาสนฉบับที่ถวายแดจักรพรรดิเฉียนหลงโดยตรง ทั้งนี้เพราะมีพระราชประสงค
ให อ งค จั ก รพรรดิ ท รงทราบ โดยมิ ใ ห ถู ก ขั ด ขวางจากบรรดาขุ น นางจี น
เพราะขุนนางจีนไมอาจแกไขเนื้อความที่อยูในพระราชสาสนได แมจะมีการตรวจ
และแปลเอกสารตามธรรมเนียมพิธีการทูต จีนกอนที่จ ะนําขึ้น ถวาย เนื้อหาใน
พระราชสาสนของสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีมีถึงจักรพรรดิเฉียนหลง มีดังนี้
“ พระราชสารสมเด็ จ พระเจ า กรุ ง มหานครศรี อ ยุ ท ธยา
ปราบดาภิเษกใหม คิดถึงคลองพระราชไมตรีกรุงปกกิ่ง จึงใหพระยาสุนทร
อภัย ราชทูต หลวงพิไชยเสนหา อุปทูต หลวงพจนาพิมล ตรีทูต ขุนพจนา
พิจิ ตร ท อ งสื่ อ หมื่ นพิ พิ ธ วาจา ป นสื่ อ จํ า ทู ลพระสุนทรบั ตรสุ ว รรณ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๕๙

พระราชสาร เชิญเครื่องพระราชบรรณาการชางพลายชาง ๑ ชางพังชาง


๑ รวม ๒ ชาง ออกมาจิ้มกองสมเด็จพระเจากรุงตาฉิ้งผูใหญ ตามขนบ
พระราชไมตรีสืบมาแตกอน
ขอหนึ่ง พระนครศรีอยุทธยาใครแจงขอความ พระยาสุนทรอภัย
ราชทูต กราบทูลสมเด็จพระเจากรุงมหานครศรีอยุทธยา วาจงตกหมูอี้เจา
พนักงานกรุงปกกิ่งเรียกเอาเงินคารับเครื่องพระราชบรรณาการแตกอน
คราวหนึ่ง ทูลลดเงินทองพระคลังลง ๓๐ ชั่ง เปนดั่งนี้สมเด็จพระเจา
กรุงตาฉิ้งผูใหญทราบหรือไม คือคุณโทษคุณธรรมประการใด พระนคร
ศรีอยุทธยาใครแจงขอหนึ่ง
ข อ หนึ่ ง ทู ต านุ ทู ต พระนครศรี อ ยุ ท ธยาคุ ม เครื่ อ งพระราช
บรรณาการออกไปแตกอน ตองขังใสตึกลั่นกุญแจไวกรุงจีนทุกครั้ง ไมได
เที่ยวเตร ขอนี้ทราบถึงสมเด็จพระเจากรุงตาฉิ้งผูใหญหรือไม กลัวจะกบฏ
ประทุษรายประการใด พระนครศรีอยุทธยาใครแจงขอหนึ่ง
ขอหนึ่ง กรุงไทยปราบดาภิเษกใหมใหทูตานุทูตออกไป จงตกหมูอี้
ไมใหทูตานุทูตกลับเขามากับสําเภากรุงไทยซึ่งขี่ออกไป ขมเหงใหเดินสาสน
สําเภาจีนเขามา ทูตานุทูตรองฟองก็มิฟง ใหปกซอทนายเรือเรียกเอาเงิน ๔
แผน วาเปนคารับฟองดังนี้ สมเด็จพระเจากรุงตาฉิ้งผูใหญทราบหรือไม
เหตุการณประการใด กรุงพระนครศรีอยุทธยาใครแจงขอหนึ่ง
ขอหนึ่ง กรุงไทยไดตีไดบานเมือง อายอีมีชื่อชะเลยซึ่งสงไปกรุงจีน
แตกอนขาดมาแกกรุงไทยเปนฝาเปนตัวเปนปกเปนแผนอยูแลว ฝายกรุงจีน
ไมตองการสืบเอาขอราชการทําสงครามกับพมาหาไมแลว ขออายอีมีชื่อ
ทั้งนี้คืนบานเมือง อยาใหพลัดถิ่นฐานันดรเอาบุญ
ขอหนึ่ง พระนครศรีอยุทธยาสงครัวจีนมาหาปลา ลมพัดซัดเขามา
เมืองไทย ๓๕ คน ไดเสียเงินเสียผาขาวปลาอาหารเลี้ยง ครั้งหนึ่งเปนเงิน
๑ ชั่ง ขาวสาร ๓๕ ถัง ถังละ ๑ บาท เปนเงิน ๘ ตําลึง ๓ บาท เขากันเปน
เงิน ๑ ชั่ง ๘ ตําลึง ๓ บาท ครั้งหนึ่งสงจีนฮอทัพแตกพมาๆ จับไดสงมาไว
ปลายแดนกองทัพไปตีได สงออกไปกรุงปกกิ่ง ไดเสียเงินเสียผาขาวปลา

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๖๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

อาหารเลี้ยงคราวหนึ่ง ๑๙ คน เปนเงิน ๑ ชั่ง ๑๒ ตําลึง เสื้อกางเกงคนละ


สํารับๆ ละ ๑ บาท ๒ สลึง เปนเงิน ๗ ตําลึง ๒ สลึง ขาวสาร ๑๙ ถัง ถัง
ละ ๑ บาท เปนเงิน ๔ ตําลึง ๓ บาท เขากันเปนเงิน ๒ ชั่ง ๓ ตําลึง ๓ บาท
๒ สลึง คราวหนึ่ง ๓ คน เปนเงิน ๙ ตําลึง เสื้อกางเกงคนละสํารับๆ ละ ๑
บาท ๒ สลึง เปนเงิน ๑ ตําลึง ๓ บาท ๒ สลึง ขาวสาร ๓ ถังๆ ละ ๑ บาท
เปนเงิน ๓ บาท เขากั นเปนเงิน ๑๐ ตํ าลึง ๓ บาท ๒ สลึง สิริรวมเข า
ดวยกัน ๓ ครั้ง เปนเงิน ๔ ชั่ง ๓ ตําลึง ๒ บาทนั้น สมเด็จพระเจากรุงตา
ฉิ้งผูใหญทราบหรือไม ฝายเจานครศรีอยุทธยาขอถวายไปกรุงปกกิ่งโดย
คลองพระราชไมตรี
ข อ หนึ่ ง ก รุ งไ ท ยจ ะ สร า งพ ระ นคร ขึ้ นใ ห ม ใ ค ร ข อ ทิ ว หุ น
คาธรรมเนียมจังกอบปากสําเภากรุงจีน ๓ คราวๆ ละ ๓ ลํา ถาสมเด็จ
พระเจากรุงจีนใหพระนครศรีอยุทธยาจะแตงสําเภาบรรทุกขาวสาร ฝาง
สิ่งของออกไปจําหนายแลกพานอิฐ พานศิลา สิ่งของไมตองหาม ณ เมือง
กวางตุงลํา ๑ เมืองเลียงโผลํา ๑ เมืองเอมุยลํา ๑ เขามาสรางพระนคร
เมืองละลํา ขอหนึ่ง
ขอหนึ่ง จะขอจางตนหนกรุงจีนใชสําเภากรุงไทยไปบรรทุกทองแดง
เมืองญี่ปุน ๒ ลํา ขอหนึ่ง
ขอหนึ่ง พระนครศรีอยุทธยาถวายสิ่งของนอกบรรณาการไปแต
สมเด็จพระเจากรุงตาฉิ้งผูใหญโดยพระราชไมตรีเปนสิ่งของ ฝาง ๑๐,๐๐๐
หาบ งาชาง ๑๐๐ หาบ ดีบุก ๓๐๐ หาบ นอรมาดหนักหาบ ๑ รง ๑๐๐
หาบ พริกไทย ๓,๐๐๐ หาบ ชางพลายชาง ๑ ใหสมเด็จพระเจากรุงตาฉิ้ง
ผูใหญไวโดยเข็ญใจ แตกอนพระราชสารคําหับปดตราโลโต ครั้งนี้หาตรา
โลโตมิได ปดตราพระไอยราพดมาเปนสําคัญ”๗๒
ทวาไมปรากฏหลักฐานวาจักรพรรดิเฉียนหลงทรงดําเนินการอยางไรตอ
บรรดาขุนนางจีนที่ถูกฟองรองอยางไร แตสิ่งรูปธรรมที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระ
ราชไมตรีในครั้งนี้ คือไทยไดรับสิ่งของมีคาหลายรายการเปนของกํานัล และการ

๗๒
พระราชสาสนไปกรุงปกกิ่ง จ.ศ.๑๑๔๓(สมุดไทยดํา)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๖๑

เป ด ศั ก ราชการค า ขายกั บ จี น ในระบบบรรณาการอย า งเป น ทางการอี ก ครั้ ง


ภายหลั ง จากที่ ยุ ติ ไ ปตั้ ง แต ป ลายสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา รวมทั้ ง จี น ได ย อมรั บ
ความชอบธรรมในการเปนผูปกครองอาณาจักรอยุธยาแหงใหมที่ถูกรื้อฟนขึ้นมา
ความเพียรพยายามหลายปข องสมเด็ จ พระเจากรุ ง ธนบุ รีนี้ไ ดบ รรลุ ผลสํ าเร็ จ
กระทั่งเมื่อเปลี่ยนราชวงศใหม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกก็ไดสาน
ตอความสัมพันธทางการทูตกับจีนไมใหขาดช วงตอน ดังจะเห็นไดจากพระราช
สาสนของรัช กาลที่๑ ที่สง ไปเมือ งจีนทั นทีในปแรกที่ทรงปราบดาภิเษกขึ้น เป น
พระมหากษั ต ริ ย แต มี ก ารสื่ อ ความหมายให เ กิ ด ความเข าใจผิ ด ว า “ทรงเป น
พระโอรสของสมเด็จพระเจากรุ งธนบุรี และทรงปฏิบัติตามคําสั่งสอนของพระ
บิดาที่ใหเชื่อฟงนอบนอมตอพระเจากรุงจีน”๗๓ การที่รัชกาลที่๑ ทรงแจงใหฝาย
จีน ทราบอยางนี้ เพราะไมตอ งการใหความสั ม พั น ธกับ จีน ยุ ติลง เนื่อ งจากราช
สํานักจีนไดยึดถือเรื่องการสืบสันตติวงศซึ่งอาจตองใชเวลานานในการอธิบายให
จีนเขาใจและยอมรับเหมือนดังเชนที่สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีเพียรพยายามอยู
หลายปกวาที่จะบรรลุผล

๓.๔ วิถีชีวิตและสังคมชาวจีนในเมืองกวางตุง
ในชวงที่คณะทูตไทยพํานักอยูในเมืองกวางตุงเปนเวลาหลายเดือนนี้ หลวง
นายศักดิไดมีโอกาสพบเห็นสภาพความเปนอยูของผู คนชาวจีนในเมืองกวางตุง
โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่องราวของสามัญชนที่ไมอาจพบเห็นไดในบันทึกเอกสารทาง
ราชการ ดว ยความเป น เมือ งทาขนาดใหญท างภาคใตข องจีน และเป น เมือ งที่
กําหนดใหเปนสถานที่รับรองชาวตางชาติที่จะเขามาถวายเครื่องราชบรรณาการ
กวางตุง จึง เป น แหลง รวมผู คนที่หลากหลายเชื้อ ชาติ รวมทั้ง ยั ง เป น เมือ งที่คน
ยากไรตางเขาอยูอาศัยเพื่อแสวงหาโอกาสในชีวิต
บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวจีนในเมืองกวางตุงเริ่มตนขึ้นเมื่อ
เมื่อขบวนเรือเดินทางถึงเมืองกวางตุงภายหลังจากผานการตรวจสอบเอกสาร
จากเจาหนาที่ฝายจี น แลว หลวงนายศั กดิไ ดกลาวถึง เมือ งกวางตุง ไวอ ยางนา

๗๓
พระราชสาสนไปเมืองจีนสมัยรัชกาลที่ ๑ จ.ศ.๑๑๔๔
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๖๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ตื่ น เต น ว า เป น เมื อ งใหญ ที่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ ไ ปด ว ยพื ช พั น ธุ ธั ญ ญาหาร
บานเรือนกอดวยอิฐตั้งเรียงเปนทิวแถว มีกําแพงเมืองลอมรอบถึงสามชั้นทําดวย
ศิลาแลง และดวยความเปนเมืองทาหนาดานสําคัญทางภาคใตของจีน กวางตุงจึง
มีหอรบและปอมปนขวางอยูกลางลําน้ําพรอมกองทหารประจําการที่มีอาวุธครบ
ครัน ดังที่นิราศไดพรรณนาไววา
“...อันหอรบนางเรียงที่เรียงเรียบ ไวระเบียบปองกันบุรีศรี มีปอมขวางอยู
กลางชลาธี วารีแลนรอบเปนขอบคัน ตรงฟากเมืองไวเครื่องขางเรื อรบ
ก็เตรียมครบทอดราอยูทานั้น พอขุกเหตุสังเกตคืนวัน ก็เรียกทันถอยไลก็ได
ที ที่ ก องเกณฑ ใ ห ต ระเวนก็ ส อดเสาะ เที่ ย วรายเราะเรื อ รอบบุ รี ศ รี
สรรพสรรพาวุธไวมากมี ประจําที่จุกชองอยูอัตรา เหลาทหารประจําการ
กินเบี้ยหวัด ก็เปลี่ยนผลัดกันพิทักษรักษา ลวนเกาทัณฑสันทัดอยูอ ัตรา ถือ
ตําราที่โบราณทานชิงชัย...”

ภาพวาดกําแพงเมือง หอรบและปอมปนของเมืองกวางตุง
(ภาพจากRoyal Siamese Maps, 2004)

ความสนุกสนานโกลาหลไดเกิดขึ้นเมื่อขบวนเรือคณะทูตเขาจอดเทียบทา
ฝูงชนจํานวนมากตางกรูเขามามุงดูคณะทูตไทยรวมทั้งนําสินคาประเภทผักปลา
มาขาย เนื้อความตอนนี้ไดกลาวไววา
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๖๓

“...ก็แลนไปตามเรื่องรัถยา เห็นวารีนั้นไมมีมัจฉาชาติ อรัญาวาสเราก็ไร


รุกขา บนอากาศขาดหมูสกุณา พสุธาดาดาษดวยคนไป เปนชาวคามนิคม
วาสี ชางทําที่นั้นอุตสาหนาอาศัย ลวนตึกกอตอเนื่องเปนเรื่องไป ทุกวุงเวิ้ง
เชิงไศลละลานตา ที่พนน้ํานั้นก็ทําเปนเรือกสวน บานเพราะพวนปลูกผักก็
หนักหนา ที่ลุมลาดหาดน้ําก็ทํานา ไมมีปาปลูกไมไวมากมี พื้นผลแตที่ตน
ตระการรส จะกําหนดนามไซรก็ใชที่ แตเขาครองไปไดสองราตรี ก็ถึงที่
หยุดพักนัครา เห็นกําปนแลสําเภาเขาคาขาย เปนทิวทอดตลอดทายคฤหา
ทั้งสี่แถวตามแนวนัครา ก็ทอดทาหนาเมืองเปนเรื่องกัน แตเสากระโดงที่
ระดะตะกะกาย จนสุดสายเนตรแลแปรผัน บางขึ้นลองเที่ยวทองจรจรัล
สุดอนันตที่จะนับคณนา พิศภูมิสถานที่นัคเรศ เปนขอบเขตอยูแนวเนินผา
มีกําแพงสามชั้นกั้นนัครา ลวนศิลาแลงปรับประดับดี อันหอรบนางเรียงที่
เรียงเรียบ ไวระเบียบปองกันบุรีศรี มีปอมขวางอยูกลางชลาธี วารีแลนรอบ
เปนขอบคัน ตรงฟากเมืองไวเครื่องขางเรือรบ ก็เตรียมครบทอดราอยูทา
นั้น พอขุกเหตุสังเกตคืนวัน ก็เรียกทันถอยไลก็ไดที ที่กองเกณฑใหตระเวน
ก็สอดเสาะ เที่ยวรายเราะเรือรอบบุรีศรี สรรพสรรพาวุธไวมากมี ประจําที่
จุกชองอยูอัตรา เหลาทหารประจําการกินเบี้ยหวัด ก็เปลี่ยนผลัดกันพิทักษ
รักษา ลวนเกาทัณฑสันทัดอยูอัตรา ถือตําราที่โบราณทานชิงชัย ฝายฝูง
ประชาชนชาติ ก็เกลื่อนกราดกลุมมาไมนับได สพรั่งพรอมลอมพรูมาดูไทย
ทั้งชายหญิงวิ่งไขวกันไปมา บางลงเรือนอยๆ มาพลอยทัก ยิ้มพลักดวยไมรู
ภาษา บางลอยลอมตอมรอบทั้งเภตรา เอาผักปลามาจําหนายชายไทย...”

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๖๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ภาพวาดแสดงความพลุกพลานในเมืองซูโจวสมัยจักรพรรดิเฉียนหลงซึ่ง
นาจะใกลเคียงกับบรรยากาศในเมืองกวางตุง

เมื่อคณะทูตเดินเที่ยวชมสถานที่ตางๆภายในเมือง ไดมีคนจีนตามมามุงดู
คณะทูตไทยอยางสนอกสนใจ ดังที่หลวงนายศักดิไดกลาวไววา
“...ที่ ห น า กว า นร า นตลาดนั้ น กวาดเลี่ ย น ตะลิ บ เตี ย นมิ ใ ห มี สิ่ ง ใดได
อันหญิงชายประชาขาเวียงชัย ก็วิ่งไขวซอนหนามาอลวน บางอุมลูกจูงยาย
ตะพายหลาน ก็ลนลานวิ่งเบียดกันเสียดสน ที่ชรามายากลําบากตน ก็ขี่คน
รีบเรงมาเล็งแล เอาแวนตาติดเนตรเขาเพงพิศ หวังจิตใหรูจักตระหนักแน
ทั้งสาวหนุมกลุมกลัดมาอัดแอ ซอแซเพงพิศพินิจไทย...”
ขอความขางตนทําใหเราทราบถึงวิถีชีวิตของชาวจีนในเมืองกวางตุงวาสวน
ใหญคงประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตวและคาขาย ซึ่งนิราศกวางตุงจะได
กลาวถึงไวอีกหลายตอน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๖๕

ตึกแถวบานเรือนที่เปนระเบียบเรียบรอยในเมืองจีนสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง
คณะทูตไทยไดเที่ยวชมสถานที่อีกหลายแหงในเมืองกวางตุง ซึ่งหลวงนาย
ศักดิไดกลาวชื่นชมรานคาที่ตั้งเรียงเปนระเบียบเรียบรอยภายในเมือง ไววา
“...ขึ้นขี่เกวียนจรดลดวยคนหาม ดําเนินตามที่ทางถนนใหญ ศิลาลาดดาด
ปูที่ดูไป นั้นอําไพเรียบริมรัถยา อันรานรายขายของทั้งสองฟาก ประหลาด
หลากลวนทําดวยฉําฉา ประจงเจียนเขียนวาดแลวชาดทา ที่ตั้งหนาตรง
ร า นกระดานทอง เป น วิ สั ย ลู ก ค า บรรดาขาย จารึ ก รายไว ใ ห ดู รู ข อง
ที่กระถางธูปเทียนนั้นเขียนทอง ทั้งเตียงทองหลั่นลดนั้นรจนา อันเครื่อง
รานที่สําหรับประดับของ ลวนแกวแหวนเงินทองนั้นหนักหนา แพรพรรณ
สรรพสิ่งละลานตา ทั้งเสื้อผามุงมานตระการใจ ทั้งถวยโถโอจานแลจันอับ
จะคณนานามนับไปไหนๆ บางหามคอนรอนขายอุบายไป บางเคาะไมแทน
ปากก็มากไป...”
คณะทูตไทยยังไดเที่ยวชมตลาดสดขายเนื้อสัตว และคงมีการฆาสัตวกันให
เห็นอีกดวย หลวงนายศักดิจึงไดกลาวในเชิงตําหนิถึงการฆาสัตวตัดชีวิตโดยไม
เกรงกลัวบาปบุญคุณโทษ ดังความวา
“...อันหมูแพะแกะกะทิงมหิงสหาน วันละพันก็ไมพานพอขาย เต็มตลาด
ดาษดูไมรูวาย บางซื้อจายวุนไขวกันไปมา มีแตจะฆาสัตวตัดชีวาตม เปน

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๖๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

ตรุษสารทไถยจิต ขางมิจฉา ไมอายบาปหยาบพนที่คณนา ความอุตสาหมิ


ใหเสียสิ่งไรไป...”
แม ว า กวางตุ ง จะเป น เมื อ งใหญ บ า นเรื อ นมี ค วามเจริ ญ เป น ระเบี ย บ
เรียบรอยตามที่หลวงนายศักดิไดกลาวชื่นชมไว แตคณะทูตไทยก็ไดพบกับบรรดา
ขอทานยากจนที่มีสภาพนาเวทนาเปนอยางยิ่ง อารมณความรูสึกหดหูจึงไดเกิดขึ้น
ดังที่ปรากฏเนื้อความในนิราศวา
“...อันยาจกวรรณิพกที่ไปมา เที่ยวภิกขาจารขอไมพอกิน ก็อุบายทํากาย
นั้นตางๆ จะร่ําปางโดยดู ไมรูสิ้น บ างอุจานทานทําทั้งกายิน บางนั่งวอน
นอนดิ้นลงโดยจน บางก็เอามีดสับจับอิฐตอย จนโลหิตแดงยอยไปเต็มถนน
มิไดของแลวก็รองไมจรดล ไปเห็นจนก็ไดคิดอนิจจา...”
นอกจากขอทานยาจกที่นาเวทนาแลว เมืองกวางตุงยังมีหญิงโสเภณีที่ลอย
เรือใหบริการและสํานักหอนางโลมอีกหลายแหงที่ตั้งอยูในเมือง หลวงนายศักดิได
พรรณนาถึ ง โสเภณี แ ละสตรี จี น ไว อ ย างละเมี ย ดละไมหลายครั้ง หลายคราว
นับตั้งแตเดิน ทางถึง เมืองกวางตุง ซึ่ง นอกจากเปน การสะทอนภาพสังคมเมือ ง
กวางตุงแลว ยังนับเปนสุนทรียะที่โดดเดนของหลวงนายศักดิที่ใชวรรณศิลปใน
การพรรณนาถึงสตรีชาวจีนในเมืองกวางตุงไวอยางชัดเจน
นิราศกวางตุงไดพรรณนาถึงบรรดาหญิงคณิกาชาวจีนที่ลอยเรือใหบริการ
แกชนทุกชาติไมเวนแมแตฝรั่งตางชาติ ดังความวา
“...อันนารีเรือลากสําหรับจาง นั้นรูปรางหมดจดสดใส นวลนิ่มจิ้มลิ้มละไม
ใจ เมื่อ ดูไกลเอกเอี่ยมลออตา ครั้นเขา ใกลก็เ ห็นเลือดชายจะเผือดผาด
ดวยการสวาทไมหลีกเลือกภาษา แขกฝรั่งอังกฤษวิลินดา จะไปมายอมได
อาศั ย กั น ต อ งห า มทั้ ง มิ ใ ห ไ ปอยู บ ก ประจํ า พกแหล ง หลั ก สํ า นั ก นั่ น
ประกวดดีดูที่นับถือกัน ไมเวนวันชายหาจึงวาดี แตบรรจงจริตจัดผัดพักตร
บํารุงรักมิใหชายหนายหนี กันไรใหวิไลกับเมาฟ มวยมีดอกไมเงินงาม นุง
กางเกงใส เ สื้ อ ที่ สั ง เกต ทํ า แปลงเพศก็ พ อเอี่ ย มออกสนาม รู ชํ า เลื อ ง
ประปรายใหช ายตาม แต ตอ งห ามมิใ หไ ทยไปพบพาน ถา ไปไหนพอพั ก
สํานักนัง่ ไมระวังก็กระโจมเอาสูงสถาน วิสัยเมืองเขาเปนเรื่องราวพาล ถึง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๖๗

นอนคลานขามไดไมถือกัน บํารุงเรือแตใหเกื้อการสังวาส นั้นปูลาดจัดแจง


แกลงสรร ลวนฟูกลิ่นฟุงอบตระหลบครัน ปะไมทันรูเขาก็เอาแพง เขามา
ชี้แจงความใหตามกฎ ในกําหนดที่ตระหนักประจักษแจง วาสุวรรณขาว
เหลืองเครื่องทองแดง ทั้งแพรไหมเหล็กแทงแลสาตรา มิใหไทยเอาหญิงมา
พิงพาด อันการสวาทนี้กําชับกันหนักหนา ที่รักตัวเขาก็กลัวไมพานพา ที่
แกมกลาก็เขากลั้วเอาตัวพัน เสียแรงมาพารางถึงกวางตุง เขมนมุงวาจะ
ลองก็ตองพรั่น ไดชมงามอยูแตไกลไมไดกัน...”
เนื้อความขางตนไดบรรยายถึงความงามนาพิศมัยของหญิงคณิกาชาวจีน
และทําใหทราบวาคงมีสํานักหญิงคณิกาไวบริการชายหนุมอยูหลายแหงในเมือง
กวางตุง แมแตตัวคณะทูตผูประพันธนิราศก็กลาวถึงความในใจไวอยางชัดแจงวา
อยากไดเ ชยชมหญิง ชาวจี น เหลานี้ แตก็ ไ ดถูก หามปรามอยา งเด็ ด ขาดจนบ น
เสียดายออกมาวา“เสียแรงที่อุตสาหมาถึงเมืองกวางตุง”
แมวาจะมีโอกาสไดเพลิดเพลินกับการทองเที่ยวในตางแดนรวมถึงอารมณ
โหยหาตามวิสัยบุรุษเพศ แตไมปรากฏวาหลวงนายศักดิหรือคณะทูตคนอื่นๆไดมี
โอกาสชื่นชมหญิงสาวชาวจีนหรือไม ยกเวนหลวงราไชยที่ไมสามารถทนตอความ
งามของอิสตรีจีนที่เยายวนไดกระทั่งไปติดกามโรคกลับมาหลวงนายศักดิไดกลาว
ตําหนิหลวงราไชยที่ลักลอบออกไปเที่ยวหญิงโสเภณีจนติดกามโรค ปรากฏเปน
ตุมดอกดวงขึ้นเต็มตัวจนไมสามารถพบเจอผูคนจนตองเสียการเสียงานและเปนที่
อับอายของคณะทูต ทั้งที่ไดมีการกําชับหามปรามไวแลว ดังความวา
“...เอากตัญูตั้งระวังผิด ราชกิจนั้นอุตสาหไปวาเนื่อง ที่ภัคดีโดยการงาน
ก็เปลือง ไมยักเยื้องกิริยาเหมือนราไชย เมื่อทานยุกรบัตรหาปรึกษาของ
ก็ปดปองโรคาไมมาได เอาอาสัจที่วิบัตินั้นออกไป พะวงใจอยูดวยรักขาง
ลักชม อีดอกทองราวทองธรรมชาติ พิศวาสมิไดเวนวันสม จนโรคันทบขาง
อุปทม เสนหาสาลมขึ้นเต็มตัว ครั้นเขาถามเขาหยอกก็บอกพราง จนนาย
หางยืนชี้ลงที่หัว แลวเขากอวาเจาคุณนี้บุญตัว จึงจับไดแตไอวัวนั้นไปแทน
ทําใหออนวอนความถึงสามกลับ เขาจึงปรับเอาแตนอยก็รอยแผน หากเอา
เงินหลวงใสใหแทน จึงไดพนคาแผนเพราะทําดี ใหเขาชมชาวเราวาเจาชู

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๖๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

พิเคราะหดูก็เปนหนาบัดสี พลอยเอาตาแตมหนาใหราคี มิเสียทีเจาใชไปได


อาย...”
นิราศกวางตุงไดพรรณนาถึงหญิงชาวจีนที่หลวงนายศักดิไดพบเห็น อยาง
ละเมียดละไมอีกหลายตอนโดยเฉพาะการพรรณนาอยางงดงามจนเห็นภาพของ
สตรีที่หนาผิวขาวเนียนผุดผอง นัยตาคม จมูกโดงแหลม ปากแดง ผมดําปกปน
สวยงาม ดังความพรรณนาไววา
“...อันหมูสาวสุดามัชฌิมาหมาย นั้นแตงกายแซมมวยดวยไมไหว ที่เยี่ยม
ยลอยูบ นตึก ใน นั้ นอํา ไพพิศพริ้ง พรายตา ดูยืนแต ละอยา งกั บนางเขีย น
ทั้งจีบเจียนยั่วยวนเสนหา ผัดพักตรผิวพรรณดังจันทรา นัยนากวัดแกวงดั่ง
แสงนิล นาสิกเสื้องทรงดังวงขอ งามคองามคิ้วควรถวิล งามเกศดําเพศ
ภุ ม ริ น ป ก ป น มวยห อ ยสร อ ยสุ ว รรณ ปากแดงนั้ น ด ว ยแสงลิ้ น จี่ แ ต ม
เมื่อยิ้มแยมนาชมภิรมยขวัญ ใสเสื้องามสามสีสลับกัน พื้นสุวรรณแวววาบ
วิไลใจ...”
ในการกลาวชื่นชมความงามของสตรี หลวงนายศักดิไดทิ้ง ปริศนาที่ทําให
เกิดประเด็นประวัติศาสตรขึ้นในเวลาตอมา นั้นคือเรื่องสมเด็จพระเจากรุงธนบุรี
สงทูตมาสูขอพระธิดาพระเจากรุงจีน เพราะจูๆนิราศไดกลาวทะลุขึ้นกลางปลอง
ถึงพระธิดาของจักรพรรดิวาจะสิริโฉมงดงามเพียงใด ดังเนื้อความ วา
แมนองคพระธิดาดวงสมร จักเอกเอี่ยมอรชรสักเพียงไหน แตไดดูหมูขายัง
อาลัย ดังสายใจนี้จะยืดไปหยิบชม เห็นการอายทีชมายแลวเมียงพักตร ก็
ประจักษแตวาตางภาษาสม แตศรเนตรเสียบเนตรสังเกตคม ยิ่งนิยมตอบ
ตองตลอดใจ ถึงตางชาติกันก็ดีโลกียจิต อันการคิดนี้จะเวนแกใครไฉน ก็
หามเห็นไวใหเปนประมาณใจ แลวครรไลตามรัถยามา...”
ผูวิจั ยมีค วามเห็ น วา คงเป น สํ านวนโวหารตามจิน ตนาการเลยเถิด แบบ
“ดอกฟากับหมาวัด”ของหลวงนายศักดิผูมีสุนทรียะทางอารมณที่เปรียบเทียบวา
ขนาดหญิ ง สามั ญ ชนยั ง สวยงามขนาดนี้ แ ล ว ถ า เป น พระธิ ด าผู สู ง ศั ก ดิ์ อ ยู ใ น
พระราชวังหลวงไดรับการประคบประหงมอยางดีที่สุดเกินกวาชาวจีนผูใดจะไดรับ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๖๙

“จะสิริโฉมงดงามปานใด”ซึ่ง คงไมไดมีความหมายหรือนัยสําคัญทางการเมือ ง
อยางจริงจังในเรื่องสูขอธิดาพระเจากรุงจีนแตประการใด
นิราศกวางตุงยังไดพรรณนาเปรียบเทียบหญิงชาวจีนในเมืองวามีความงาม
นาชื่นชมแตกตางไปจากบรรดาหญิงคณิกาที่ลอยเรือใหบริการอยูที่ทาน้ํา ทั้งที่ตัว
หลวงนายศักดิเองก็เคยบอกความในใจไววาอยากลิ้มลองเมื่อครั้งแรกพบซึ่งทําให
ทราบวาหลวงนายศักดิมีอารมณออนไหวและมีความรูสึกขัดแยงภายในตัวเอง ดัง
ความวา“...อันชมสาวที่ชาวสถลมาศ ไมอุจาดเหมือนจีนประจําทา อันรูปทรง
สรรเสริญจําเริญตา...”
นอกจากความเปนเมืองทาขนาดใหญที่ประกอบไปดวยผูคนหลายชนชั้นทั้ง
ขุนนาง ทหาร พอคา ชาวไรชาวนา โสเภณีและขอทานซึ่งมีชีวิตที่แตกตางกันอยาง
มากแลว เมืองจีนยังเปน“สังคมประเพณี”ที่อนุรักษวัฒนธรรมดั้งเดิมอยางเหนียว
แนน ดังเชนประเพณีการรัดเทาของสตรีซึ่งเปนที่นิยมอยางมากแตไดสรางความ
ทรมานทุพลภาพใหแกรางกายถึงขนาดเทาผิดรูปราง แมวาราชวงศชิงจะไดออก
กฎหมายหามการรัดเทาสตรีตั้งแตในสมัยจักรพรรดิคังซี๗๔ แตในทางปฏิบัติสตรี
ชาวจีนจํานวนมากยังคงยึดมั่นในประเพณีนี้อยู นิราศกวางตุงไดบรรยายถึงสตรีที่
รัดเทาจนผิดรูปและไมสามารถเดินไดอยางปกติ ตองพึ่งพาสามีในการดําเนินชีวิต
ส ว นตั ว เองทํ า หน า ที่ ไ ด เ พี ย งแค ป รนนิ บั ติ ท างเพศแก ส ามี ซ้ํ า ร า ยยั ง เจอกั บ
“ชายถอย”ที่ขมเหงสตรีอีกดวย ดังความวา
“...อันรูปทรงสรรเสริญจําเริญตา ครั้นพิศเบื้องบาทาก็เสียดาย เอาผาคาด
ขึงเหนี่ยวจนเรียวรัด พาวิบัติอินทรียใหมีสลาย จะดําเนินมิใครตรงพอทรง
กาย ยอมใชชายขายคามาใหกิน มีแตจะพึ่งผัวเปนครัวใช ตัวไดแตจะรวม
ภิรมยถวิล แตชายถอยทุจริตผิดกระบิล ยอมคว่ําผิลประดิพัทธอยูอัตรา
จะเขานอกออกในก็ใชสอย บุรุษรูปนอยๆโออา...”

๗๔
Hu Sheng.Imperialism and Chinese Politics.(Beijing: Foreign LanguagesPress
.1981.),42-44.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๗๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

หลวงนายศักดิยังไดพบฝรั่งตางชาติที่โรงโสเภณีในเมืองกวางตุง ซึ่งเปน
หลักฐานยืนยันไดวามีชาวตะวันตกอยูในเมืองจีนแลว นอกเหนือจากที่พบบนเกาะ
มาเกา ดังความในนิราศกลาววา
“...ครั้งเขาใกลก็เห็นเลือดชายจะเผือดผาด ดวยการสวาทไมหลีกเลือก
ภาษา แขกฝรั่งอังกฤษ วิลินดา จะไปมายอมไดอาศัยกัน ตองหามทั้งมิให
ไปอยูบ กประจําพกแหลงหลักสํานักนั่น ประกวดดีดูที่นับถือกัน ไมเวนวัน
ชายหาจึงวาดี...”
การเขามาของชาวตะวันตกดังกลาวไดสงผลกระทบโดยตรงตอจีนในเวลา
ต อ มา ๗๕ แม ใ นระยะเริ่ ม แรกทางการจี น จะหวาดระแวงและจั บ ตาควบคุ ม
ชาวตะวันตกอยางใกลชิด แตราชสํานักจีนก็มิไดปดกั้นอิทธิพลจากตะวันตกอยาง
สิ้นเชิง ดังเห็นไดจากการที่จักรพรรดิเฉียนหลงอนุญาตใหทูตอังกฤษเดินทางมา
เขาเฝาที่กรุงปกกิ่งไดเปนกรณีพิเศษ หรือการสรางพระราชวังฤดูรอนหยวนหมิง
หยวนตามแบบสถาปตยกรรมตะวันตก ซึ่งเปนเรื่องแปลกใหมที่ไมเคยปรากฏมา
กอนในประเทศจีน๗๖ ทวาในชวงระยะแรก บรรดาชาติตะวันตกยังมิไดเรงขยาย
อิท ธิพ ลของตนเองเขามาครอบงําจีนอยางเต็ม ที่ เปน แคเ พียงการสํ ารวจและ
หยั่งเชิงดูทาทีจากฝายจีน ประกอบกับราชสํานักจีนยังมีสถานะเขมแข็ง บานเมือง
เปนปกแผนภายใตการปกครองของจักรพรรดิเฉียนหลง ชาวตะวันตกและชาติ
อื่น ๆที่เ ขามาติด ตอกั บ จีน จึงตอ งปฏิบัติต ามกฎระเบียบของจีน อยางเครง ครั ด
โดยเฉพาะเรื่องการอนุญาตเดินเรือเขามาไดถึงแคเมืองกวางตุงเทานั้น กฎเกณฑ
โบราณที่จีน กํ าหนดขึ้น นี้ไ ดถูกยกเลิกไปเมื่ อ จีน พายแพอั ง กฤษในสงครามฝ น
๗๕
จีนขัดแยงกับอังกฤษอยางรุนแรงสมัยจักรพรรดิเตากวงในกรณีการปราบปรามฝน นํามา
สูสงครามฝนครั้ ง ที่ ๑ ผลปรากฏว าจี นเป นฝ า ยพ ายแพตองยอมลงนามในสนธิ สัญ ญา
นานกิง ค.ศ.๑๘๔๒
๗๖
สรางขึ้นใน ค.ศ.๑๗๐๗ สมัยจักรพรรดิคังซี ตอมาจักรพรรดิเฉียนหลงมีพระราชโองการ
ใหสรางพระราชวังฤดูรอนขึ้นใหมเปนแบบสถาปตยกรรมตะวันตก(บารอค) ประดับตบแตง
โดยใชเครื่องเรือนที่นําเขาจากยุโรป ถือเปนพระราชฐานแหงแรกในประวัติศาสตรจีนที่สราง
ขึ้นตามแบบตะวันตก ตอมาพระราชฐานแหงนี้ถูกบุกเผาทําลายโดยกองทัพตะวันตกแปด
ชาติทเี่ ขาปลนสดมภกรุงปกกิ่งในป ๑๘๖๐
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๗๑

ครั้งที่ ๑ ซึ่งจีนถูกบังคับใหลงนามในสนธิสัญญานานกิง ป๑๘๔๒/๒๓๘๕ อันเปน


ผลใหชาติตะวันตกเดินเรือเขาไปถึงเมืองทาตางๆทางภาคกลางและภาคเหนือของ
จีนได

พระราชวังฤดูรอนหยวนหมิงหยวนในกรุงปกกิ่งสรางขึ้นตามแบบ
สถาปตยกรรมตะวันตก
เมื่อพิจารณาเนื้อความของนิราศกวางตุงและขอมูลประวัติศาสตรรวมสมัย
แลวพบวา กวางตุง เป น เมือ งท าขนาดใหญที่มี ผูคนอาศั ย อยูห นาแน น มี ความ
แตกตางทางชนชั้น ในหมูช าวจีน และมีผูคนหลากหลายเชื้อ ชาติ ดั ง ที่นิร าศได
กลาวถึงฝรั่งตางชาติ ชาวจีนที่ทําประมงจับสัตว น้ําในแมน้ําจูเจียง ไรนาที่อุดม
สมบูรณของเกษตรกร ความเปนระเบียบสวยงามของตึกแถวรานคา ถนนหนทาง
ในเมืองซึ่งเปนที่อยูอาศัยของพอคาและเศรษฐีชาวจีน หญิงโสเภณีที่ตองลอยเรือ
คาประเวณี ขอทานยาจกที่อยูขางถนน รวมทั้งสถานที่สําคัญภายในเมืองที่งดงาม
โออาซึ่งคาดวานาจะเปนจวนขาหลวงมณฑลกวางตุงและเปนสถานที่ที่คณะทูต
ไทยไดทําพิธีถวายบังคมสัญลักษณแทนองคพระจักรพรรดิ ทําพิธีการทางการทูต
รวมทั้งเปนสถานที่ทําพิธีอัญเชิญพระราชสาสนและเครื่องราชบรรณาการสงไป
ถวายที่กรุ ง ป กกิ่ง หลวงนายศั กดิไ ดบ รรยายถึง สถานที่โ ออาที่แ สดงถึง ความ
แตกตางทางชนชั้นอยางชัดเจนไววา

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๗๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

“...ครั้นไปถึงที่ประตูเห็นหมูทหาร ริมทวารขัดดาบดูไสว ทั้งสองแถวรัถยา


ดาไป ที่ชั้นในไวเหลาที่เกาทัณฑ ทั้งงาวปนยืนงามตามถนน ที่วางคนลด
เลี้ยวเปนหลายหลั่น ถึงสถานที่จะไดไปอภิวันท พิศพรรณเพียงแลละลาน
ตา ลวนปดทองธรรมชาติแลววาดเขียน ธงเทียนพื้นสุวรรณเลขา ที่ถิ่นฐาน
สะอ า นโอฬาร รจนาโคมเคี ยงเรี ย งกั น อั นโรงรี ซึ่ง เป นที่สํ า หรั บรั บ นั้ น
ประดับแพรแดงแกลงสรรค ใสพูรายขายรอบเปนขอบคัน เอาพื้นพรรณ
แพรลาดเปนหลังคา แลวก็แซมดอกไมกับใบสน เปนที่ยลนับถือกันหนัก
หนา...”
ความหนักใจประการสําคัญของหลวงนายศักดิซึ่งพรรณนาไวในชวงทาย
ของนิราศคือหนาที่ที่ไดรับมอบหมายใหทําการคาขายในเมืองกวางตุง ซึ่งสราง
ความกั ง วลใจอยา งมาก เพราะเกรงวาจะทํ าการขาดทุ น ไม ไ ดกําไรทํ าใหเ สี ย
พระราชทรัพย โดยหลวงนายศักดิไดเปรียบเปรยไววาใหไปทําการศึกสงครามยัง
จะงายกวา ดังความวา
“...เห็นการคาเหลือบาจะแบกพาย ถาหักคายฤๅตีทัพขอรับไป ไมเห็นชอง
เลยวาของพระราชทรัพย จะไดกลับฤๅมากลายเปนงายได แลวแสนยากที่
ทะเลคะเนไกล ก็กลับพามาไดสะดวกดี ดังเทวามาสุม ประชุมทรัพย ไว
สําหรับเนื้อหนอพระชินศรี จะสรางสมอบรมพระบารมี ในยุคนี้บรรจบให
ครบกัลป...”
ความกังวลใจดังกลาวนี้คงเกิดจากเหตุผลสองประการสําคัญ คือ คณะทูต
ไมชํานาญในการคาขายหรืออาจกลาวไดวาไมมีประสบการณเลยดวยซ้ํา ทั้งนี้เปน
ที่ ท ราบกั น ดี ว า ขุ น นางไทยมั ก อาศั ย ตํ า แหน ง หน า ที่ เ รี ย กรั บ ส ว ยสิ่ ง ของและ
ผลประโยชนตางๆ ทั้งยั ง ไดรั บเบี้ยหวั ดจากทางราชการเป นรายได แมวาจะมี
ขุนนางไทยที่เชี่ยวชาญในเรื่องการคาขายอยู แตสวนใหญก็ไมมีความจําเปนที่ตอง
ลงทุนคาขายดวยตัวเองแตอยางใด การที่หลวงนายศักดิกังวลวาจะทําการไมไดดี
จึง เป น เรื่ อ งปกติข องผูที่ ไ มชํ านาญในกิจ หน าที่นี้ อีก ทั้ง สภาพการแขง ขั น ทาง
ทางการคาในเมืองกวางตุงซึ่งเปนเมืองทานานาชาติคงเปนไปอยางรุนแรง พอคา
ชาวจีน ชิง ไหวชิง พริบ และใช เ ล หเ พทุ บ ายกั น อยา งมากในการทํ าการค าทํ าให

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๗๓

ขุนนางไทยไมอยูในฐานะที่จะแขงขันใดๆกับพอคาจีนผูมีประสบการณเหนือกวาได
เลย
หลวงนายศั กดิ ไ ด อ าราธนาพระรั ต นตรั ยเป น บทส ง ทา ยเพื่อ สรรเสริ ญ
พระเกียรติสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีผูเปนหลักยึดเหนี่ยวทางใจของหลวงนายศักดิ
โดยขอใหทรงมีพระชนมายุยืนยาวถึงรอยป กลอนบทนี้ มีภาษาและเนื้อความที่
สละสลวย ดังบทพรรณนาวา
“...ชะรอยอรรคบุรุษอุดมวงศ ในสิบองคโพธิสัตวดุสิตสวรรค ไดลัทธยา
เทศทายทํานายธรรม ในอนันตสํานัก ชิเนนทรนาน จึงดลใจใหพระองคทรง
นั่ง บัลลังกรักรสพระกรรมฐาน ใหทรงเครื่องนพรัตนชัชวาล พระชมฌาน
แทนเบญจกุธภัณฑ เอาพระไตรลักษณทรงเปนมงกุฎ ก็งามสุดยอดฟาสุธา
สวรรค เอาพระศีลสุจริตในกิจธรรม เปนสุวรรณเนาวรัตนสังวาล เอาพระ
วิมุติธรรมเปนคันฉัตร เอาพระสัจเปนระไบไพศาล ลวนเครื่องศีลวัตรอัน
ชัชวาล พระอุเบกขาญาณเปนธารกร เอาพระไวปญญาเปนอาวุธ ตัดวิมุติ
สงสัยแลวสั่งสอน สวางแจงกวาแสงทินกร สถาวรทั่วโลกแลงาม จะดูโดย
โลกียเปนที่รัก ก็งามนักสุดโลกเหลือถาม จะดูฤทธิ์เลาก็คลายนารายณ
ราม จะชู ง ามไปทั่ ว กัลป ป า ขอพรพระศรีรั ตนตรัย อั นเป นใจจอมพุ ท ธ
ศาสนา ชวยบําบัดบาปธรรมา ใหลุโดยเจตนาโพธิญาณ ขอพรบรเมศวร
เรื่องฤทธิ์ ซึ่งสถิตอุศุภราชเรืองสถาน เชิญชวยพระองคทรงชนมาน ใหคง
การกําหนดพระทัยตรอง ขอพระพิ ษณุพงศทรงสังข ประทมทิพบัลลัง ก
ภุชงคฉลอง ชวยลางมารผลาญหมูศรัตรูปอง ใหมาซองเศรียรกมบังคมคัล
ขอบวรบงกชพิวัลยไว ที่ควรไลหงสทิพรังสรรค ชวยดับโศกวรรณโรคโรคัน
ใหทรงพะรฉวีวรรณสมบูรณงาม ขอพรสหัสนัยครรไลคช สารเศวตตรีทศ
เศียรสาม ชวยดํารง ดําริชี้คดีความ พยายามไพรฟาประชาชน อันสมบัติใน
จังหวัดทวีปนี้ ใหอยูในพระบารมีทุกแหงหน ใหพระเกียรติกองฟาสุธาดล
ขอพระชนมไดรอยพระวษา เอย ฯ”
ผูวิจั ยมีขอ สั ง เกตบางประการที่ ไ มเกี่ยวขอ งกั บ เนื้อ หาในนิร าศกวางตุง
โดยตรง แตเปนประเด็นประวัติศาสตรที่อยูในความสนใจของคนไทยมานานและ
เปน“บทสนทนาที่ไมสิ้นสุด”ระหวางอดีตและปจจุบัน คือ เรื่องสัญญาวิปลาสของ

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๗๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

สมเด็ จ พระเจ า กรุ ง ธนบุ รี ที่ เ ป น เหตุ นํ า มาสู ก ารสิ้ น สุ ด กรุ ง ธนบุ รี พระราช
พงศาวดารกรุงธนบุรีทุกฉบับที่ถูกชําระขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทรรวมถึงบันทึก
ของบาทหลวงฝรั่ ง เศสตางใหขอ ความในทํ านองเดียวกัน วา ทรงหมกมุน ฝ กใฝ
การนั่งกรรมฐาน ทําสมาธิ สวดมนต อดพระกระยาหารเพื่อที่จ ะไดบรรลุเป น
พระโสดาบัน หรือแมกระทั่ ง“เตรียมการเหาะเหินเดิน อากาศ” ซึ่ง เป นประเด็ น
ถกเถียงกันอยางมากวาเป น“ขอกลาวหา”หรือ“การอางเหตุใสความ”หรือเป น
“กระบวนการยัดเยียดความบา”เพื่อความชอบธรรมในการทํารัฐประหาร
ทั้งนี้แมวาการทํานุบํารุงพระศาสนาจะเปนภารกิจสําคัญอยางยิ่งสําหรับ
ผูเปนพระมหากษัตริยแหงสยามประเทศและเปนการสรางทานบารมีเพื่อใหเปนที่
ยอมรั บ แต การฝ กใฝ จ นเกิน พอดีถึง ขั้น อวดอุ ต ริม นุ ษ ยธรรมตามที่ป รากฏใน
พระราชพงศาวดาร ถือเปนสาเหตุหนึ่งที่ถูกโยงวาเปนตนเหตุแหงสัญญาวิปลาส
ของสมเด็ จพระเจากรุง ธนบุรี ทวา เมื่อมีขอโตแ ยง วาพงศาวดารที่ถูกชํ าระขึ้น
ในสมัยรัตนโกสินทรอาจมีอคติและจงใจใสความเกินจริง เพราะถูกชําระขึ้นโดย
ผูมีสวนไดเสียกับการรัฐประหาร ดังนั้นเมื่อผูวิจัยมีโอกาสไดอานและศึกษานิราศ
กวางตุงที่เขียนขึ้นโดย“ผูมีความภักดี”ตอพระเจากรุงธนบุรีและเขียนขึ้นในขณะที่
อยูในเมืองจีนจึงยังคงไมทราบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกรุงธนบุรี ยอมแสดง
วาหลวงนายศักดิไมมีทางที่จะใสรายหรือเขียนแบบมีอคติ ในทางกลับกันไดเขียน
สรรญเสริญยอพระเกียรติไวอยางสูงสุดอีกดวย
“...สุดคิดจึงอุทิศถึงพระบาท แลวยอกรอภิวาทเหนือเกศี ขอเดชะตะบะ
บุญพระบารมี จะแทนที่วรพุทธโพธิญาณ กับอนึ่งซึ่งพระองคไดทรง
ศีล อันผองภิญโญยอดพระกรรมฐาน มาชวยปองลมขัดอยาพัดตราน
ขอบันดาลลมสงใหตรงไป อนึ่งเขาในชลามัจฉาชาติ ทั้งปศาจพวกพราย
อยา กรายใกล ใหป ลอดเหตุสารพัดกํ าจั ดภั ย จําเริญ ชัย ชมชื่ นจนคื นมา
ครั้นสิ้นคําบรรยายพระพายพัด พอคําสัตยสงทายก็ยายหา ไดเห็นเหตุใน
พระเดชเดชา ก็แลนไปไดทวาทสวัน...”
“...ดังเทวามาสุมประชุมทรัพย ไวสําหรับเนื้อหนอพระชินศรี จะสรางสมอ
บรมพระบารมี ในยุ ค นี้ บ รรจบให ครบกั ลป ชะรอยอรรคบุ รุ ษ อุ ดมวงศ
ในสิบองคโพธิสัตวดุสิตสวรรค ไดลัทธยาเทศทายทํานายธรรม ในอนันต

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๗๕

สํ า นั ก ชิ เ นนทร น าน จึ ง ดลใจให พ ระองค ท รงนั่ ง บั ล ลั ง ก รั ก รสพระ


กรรมฐาน ใหทรงเครื่องนพรัตนชัชวาล พระชมฌานแทนเบญจกุธภัณฑ
เอาพระไตรลักษณทรงเปนมงกุฎ ก็งามสุดยอดฟาสุธาสวรรค เอาพระศีล
สุจริตในกิจธรรม เปนสุวรรณเนาวรัตนสังวาล...”
บทกลอนในนิ ร าศกวางตุ ง เมื่ อ ตอนที่ เ รื อ เผชิ ญ กั บ พายุ ม รสุ ม กั บ บท
พรรณนาช ว งสุ ด ท า ยเกอ นเดิ น ทางออกจากเมื อ งกวางตุ ง กลั บ พระนครเป น
หลักฐานยืนยันไดวาสมเด็จพระเจากรุงธนบุรีทรงฝกใฝการปฏิบัติกรรมฐานเปน
อยางมากและคงเปนที่รับรูกันโดยทั่วไป ถึงขนาดที่ขุนนางสามารถอธิษฐานขอพึ่ง
พระบารมีในยามตกทุกขไดยาก แตจะทรงหมกหมุนฝกใฝถึงขนาดทําใหวิปลาส
หรือ เลอะเลือ นตามที่พ งศาวดารกลาวไวหรือ ไมนั้น ยั ง ไมท ราบอยางแนชั ด๗๗
คงต อ งเป น หน า ที่ ข องนั ก ประวั ติ ศ าสตร ที่ จ ะแก ไ ขอคติ แ ละอุ ป าทานและทํ า
ประวัติศาสตรที่มีความคลุมเครือนี้ใหกระจางชัดแจงตอไป

๗๗
ศึกษาเพิ่มเติมไดในบทวิเคราะห“สัญญาวิปลาสหรือการเมืองไทย”ใน นิธิ เอียวศรีวงศ.
การเมืองไทยสมัยพระเจากรุงธนบุร.ี (กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๗), ๓๗๕-๓๘๔.
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๗๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

๔. สรุป
โดยเนื้อหาแลวนิราศกวางตุงมีคุณคาอยางยิ่งสําหรับนักประวัติศาสตร
ผูสนใจ “บริบทความสัมพันธไทย-จีน” เพราะวรรณกรรมนี้เปนจดหมายเหตุการ
เดินทางทางเรือจากกรุงธนบุรี สูเมืองกวางตุงเพียงฉบับเดียวที่เหลืออยู ตลอด
ระยะเวลาการเดินทางรวมทั้งชวงที่พํานักอยูในเมืองกวางตุงเปนเวลาหลายเดือน
หลวงนายศั ก ดิไ มไ ดบ รรยายเฉพาะประสบการณเ ดิน ทาง ความงดงามตาม
ธรรมชาติและธรรมเนียมพิธีการทูตที่ไดพบเห็นเทานั้น แตไดบรรยายภาพชีวิต
สังคมและเศรษฐกิจของชาวจีน โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่อ งราวที่มีชีวิตชีวาภายใน
เมืองกวางตุงทั้งวิถีชีวิตของชาวไรชาวนา ชาวประมง พอคาคหบดี หญิงโสเภณี
ขอทานยาจก รวมถึงฝรั่งตางชาติในโรงโสเภณี ซึ่งเปนประวัติศาสตรสังคมของ
“ชาวบาน”ที่เราจะไมสามารถพบเห็นไดจากเอกสารบันทึกทางราชการ
นิราศกวางตุงยังเปนหลักฐานยืนยันความตอเนื่องของความสัมพันธไทย-
จีนที่มีมาตั้ง แตอดีต โดยเฉพาะอยางยิ่ง ภาพสะทอนความสัมพัน ธที่ “ตั้ งอยูบ น
ความไมเทาเทียมกัน”อันเปนสิ่งที่จีนภาคภูมิใจและยึดมั่นมาโดยตลอด ในขณะที่
ความสั ม พั น ธ ดั ง กล า วได เ ป น ที่ พึ ง พอใจอย า งยิ่ ง สํ า หรั บ ฝ า ยไทยเพราะ
ผลประโยชนทางเศรษฐกิจการคาที่ไดรับมีความคุมคาอยางยิ่ง กระทั่งสามารถ
ยอม“ยกยอออนนอม”ตามที่จีนตองการได นับเปนความชาญฉลาดแยบยลอยาง
หนึ่งของบรรพชนไทยที่ดําเนินนโยบายการทูตเชิงผลประโยชนในรูปแบบนี้
ขอสรุปสงทายที่ผูวิจัยเห็นวานิราศกวางตุงไดมอบไวใหแกสังคมไทย คือ
ตัวตนของหลวงนายศักดิ ที่เปนคนชางสังเกต มี อารมณสุนทรียและตระหนักรู
หนา ที่ต นเอง เป น คุ ณสมบั ติ สํ า คั ญ ที่ทํ าให วรรณกรรมเรื่อ งนี้ มีคุณ ค า ในทาง
ประวั ติ ศ าสตร แ ละวรรณคดี งานเขี ย นสะท อ นตั ว ตนของกวี ที่ แ ฝงไว ด ว ย
ภู มิ ป ญ ญาและอรรถรสที่ ล ะเมี ย ดละไมเช น นี้ ค งจะพบเห็ น ได ไ ม บ อ ยนั ก
ในสัง คมป จจุ บัน ที่ผูคนมีความหยาบกระดางทางอารมณแ ละเมิน เฉยไมสนใจ
สิ่งรอบขางใดๆ นอกจากตัวเอง

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๗๗

๕. สารวิพากษ
นิราศกวางตุง/นิราศพระยามหานุภาพไปเมืองจีน

๑. สรวมชีพบังคมบรมนารถ
๒. ดวยภักดีชุลีลาบาท อภิวาทขอเบื้องพระบารมี
๓. เปนรมโพธิ์สุวรรณกั้นเกศ ไ ป ป ร ะ เ ท ศ ก ว า ง ตุ ง ก รุ ง ศ รี๗๘
๔. เปนจดหมายมาถวายดวยภักดี ตามที่ไปสดับเดิมความ
๕. แรกราชดําริตริตรองถวิล จะเหยี ย บพื้ น ป ถ พิ น ให ง ามสนาม
๖. จะสรางสรรคดังสวรรคที่เรืองราม จึงจะงามมงกุฎอยุธยา
๗. เมื่อไอศูรยสมบูรณดวยสมบัติ กั บ ก ษั ต ริ ย ร า ช ค ฤ ค ฤ า ห า๗๙
๘. เคยรวมพื้นยืนแผนสุวรรณมา แตนิราเสื่อมเศรามาเนานาน
๙. เสื่อมสนองโดยครองกระษัตริยชาติ เสื่อมราชไมตรีไมมีสมาน
๑๐. เสื่อมสวาทขาดมาก็ชานาน จะประมาณยี่สิบสี่ปปลาย
๑๑. จึงทรงคิดจะติดความตามปฐม สํ า หรั บ ราชบรมกระษั ต ริ ย ส าย
๑๒. จึงแผพื้นสุวรรณพรรณราย เอาแยบคายฟ น เฝ อ เป น เครื อ วั ล ย
๑๓. เอาทับทิมแทนใบใสดอกเพชร ง า ม เ ส ร็ จ ส ม บู ร ณ ทุ ก สิ่ ง ส ร ร พ
๑๔. งามทางทั้งจะสรางเขตคัน งามสรรคทรงคิดคดีงาม
๑๕. ควรเปนจอมจุลจักราราช แลวเสด็จบัลลังกอาสนออกสนาม
๑๖. แยมพระโอษฐประดิพัทธแลวตรัสความ อํามาตยหมูมีนามประนมฟง
๑๗. ไดยินพรอมยอมอวยแลวอภิวาท กราบบาทด ว ยคํ า นั บ แล ว รั บ สั่ ง
๑๘. ทูลโดยลําดับมาเปนตราตรัง ที่หยุดแลวจะยั้งยืนควร
๑๙. จึงพระบาททรงราชนิพนธสาร เป น ตะพาน ๘๐นพคุ ณ ควรสงวน
๒๐. ใหเขียนสารลงลานทองทวน๘๑ จัดสวนบรรณาการละลานตา

๗๘
นครกวางโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุง
๗๙
หมายถึงจักรพรรดิจีนและประเทศจีน ซึ่งเปนชื่อเรียกที่ปรากฏในหนังสือเกาของไทย เปน
คติโบราณที่ใหการยกยองวาเปนประเทศที่เจริญรุงเรืองดั่งกรุงราชคฤหในชมพูทวีป
๘๐
สะพาน มีนัยยะความหมายวาเปนตัวเชื่อมใหเขาหากัน
๘๑
หมายถึงจารึกพระราชสาสนลงบนแผนสุพรรณบัฏทองคํา
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๗๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๒๑. อนึ่งนอกจิ้มกองเปนของถวาย ก็ โ ปรยปรายประทานไปหนั ก หนา
๒๒. ทั้งนายหางขุนนางในนัครา๘๒ ใหมีตราบัวแกว๘๓สําคัญกัน
๒๓. แลวจัดทูตทูลคําใหจําสาร บรรณาการพร อ มสิ้ น ทุ ก สิ่ ง สรรพ
๒๔. ทั้งของแถมแนมความนั้นงามครัน เป น กํ า นั ล ถวายนอกบรรณาการ
๒๕. แลวทรงสั่งสิ่งของเปนสองเหลา อยาควบเขาแบงพรอมเปนสองฐาน
๒๖. ฝายทูตนั้นใหวาบรรณาการ โดยฉบับบุราณรวดมา
๒๗. อนึ่งนอกจิ้มกองเปนของถวาย รั บ สั่ งยก ให ห กนา ยข า หลว งว า
๒๘. บรรทุกเสร็จทั้งสิบเอ็ดเภตรา มาทอดทาคอยฤกษเรียงลํา
๒๙. ครั้นถึงวันกุมเชษฐมาสี๘๔ กาฬปกษ๘๕ดิถีสิบสามค่ํา
๓๐. เมื่อโมงสองบาทเชาพอเงาง้ํา สิ บ เอ็ ด ลํ า บั ง คมลาแล ว คลาไคล
๓๑. ครั้นเรือลองคลอยคลองตลาดเลี้ยว ตลึ ง เห ลี ย วแ ล ว ช ล นั ยน ๘๖ไ ห ล
๓๒. จะจากเรือนจากเพื่อนภิรมยไกล ดั ง สายใจนี้ จ ะขาดจากอาตมา๘๗
๓๓. โอความปรีดิ์เปรมเกษมสันต ตั้งแตจะนับวันคอยหา
๓๔. จะนับเดือนเคลื่อนสังวัจฉรา๘๘ จะกมหนานั่งช้ําระกําไป
๓๕. ชะรอยพรากเนื้อนกวิหคขัง บําราศรังริบลูกเขาเปนไฉน
๓๖. มาตามทันบั่นรางไวกลางใจ ใหจําไกลจากราชธานี
๓๗. แลวยอกรมัสการขึ้นเพียงผม พระบรมไตรรัตนเรืองศรี
๓๘. เดชะศีลสัจจาบารมี ทั้งขันตีอดออมอํานวยทาน
๓๙. ขอเปนขายเจ็ดชั้นไปกั้นเกศ สรรพเภททุกขภัยในชลฉาน
๔๐. ใหปลอดเหตุสารพัดกําจัดมาร มัสการแลวลองครรไลไป
๔๑. ครั้นถึงเมืองปากน้ําพอย้ําฆอง ดุเหวารองเพลาประจุสสมัย
๔๒. ทอดสมอรอรั้งประทังใจ อยูที่ปากชลาลัยนั้นสองวัน
๔๓. ตอน้ําขึ้นจึงไดถอยออกลอยลอง จําเพาะรองสําเภาผายผัน

๘๒
เมืองกวางตุง
๘๓
ตราประทับเอกสารราชการของกรมทา
๘๔
วันอังคาร
๘๕
ขางแรม
๘๖
น้ําตา
๘๗
คําเรียกแทนตัวเอง มักปรากฏเฉพาะในงานวรรณกรรม
๘๘
ป
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๗๙
๔๔. แตฉุดชากลากเข็นอยูเปนควัน หวังใหทันมรสุมสําเภาไป
๔๕. ครั้นขามโขดหลังเตาออกตกลึก ก็ตั้งตรึกตรอมจนกมลไหม
๔๖. เขาผูกจัดเชือกเสาแลเพลาใบ แลวคอยลมที่จะไดไคลคลา
๔๗. ครั้นเขาชักใบฉุดขึ้นสุดเสา ก็ ป ลาบเปล า ทรวงโทรมมนั ส สา
๔๘. คลื่นทุมกลุมทิ้งเทมา เภตรา กลิ้ ง กลอกกระฉอกกาย
๔๙. กระทบปดฟดปนที่ฟนคลื่น แลฟูฟนฟูมฟองนองสาย
๕๐. แสนทเวศแตซบเซาเมามาย ระกํากายมิไดกินโภชนา
๕๑. แตกาวเสียดคอยละเอียดดวยลมขัด พระพายพั ด สลาตั น ตรานหน า๘๙
๕๒. แตแลนกาวกลับใบไปมา แลวก็ลอยคอยทาลมดี
๕๓. สุดคิดจึงอุทิศถึงพระบาท แลวยอกรอภิวาทเหนือเกศี
๕๔. ขอเดชะตะบะบุญพระบารมี จะแทนที่วรพุทธโพธิญาณ
๕๕. กับอนึ่งซึ่งพระองคไดทรงศีล อั น ผ อ งภิ ญ โญยอดพระกรรมฐาน
๕๖. มาชวยปองลมขัดอยาพัดตราน ขอบันดาลลมสงใหตรงไป
๕๗. อนึ่งเขาในชลามัจฉาชาติ ทั้ ง ป ศ าจพวกพรายอย า กรายใกล
๕๘. ใหปลอดเหตุสารพัดกําจัดภัย จําเริญชัยชมชื่นจนคืนมา
๕๙. ครั้นสิ้นคําบรรยายพระพายพัด พอคําสัตยสงทายก็ยายหา
๖๐. ไดเห็นเหตุในพระเดชเดชา ก็แลนไปไดทวาทสวัน๙๐
๖๑. จึงถึงที่วาสามรอยยอด เขาหยุดทอดไหวเทวทําขวัญ
๖๒. ตามเคยสังเวยแกเทวัญ ที่สําคัญหลักคามเคยมา
๖๓. แลวใชใบบากขามไปตามเข็ม คอยเก็บเล็มลมไปดวยใบผา
๖๔. ไดสองวันแตสัญจรคลา ครั้นถึงกึ่งกลางมหาสมุทรไท
๖๕. จึงบูชาตรงหนาพุทไธมาศ๙๑ เซนสาดลงทองทะเลใหญ
๖๖. กระดาษเผารินเหลาแลวลอยไป เขาวาไหวผีน้ําในทามกลาง
๖๗. แตจากนั้นสองวันก็ไปเห็น พระสุริยหยอนแสงเย็นถึงเกาะขวาง
๖๘. ชะโงกเงื้อมเอื้อมแอบอยูแทบทาง กระเด็นโดดอยูกลางวารี
๖๙. แตตราบค่ําย่ํารุงจนเรืองแสง ก็เลนแซงเสียดพนคิริศรี
๗๐. ถึงเกาะมันคิดวามันยังมากมี ได ถ าม ถี่ ว า บุ รา ณ ปร ะ มา ณ ม า

๘๙
ปะทะหนา
๙๐
สิบสองวัน
๙๑
ชื่อเมือง เดิมอยูในอาณาเขตของกัมพูชา ปจจุบันคือเมืองฮาเตียน ประเทศเวียดนาม
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๘๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๗๑. แลวไปสองวันเลาก็เขาขนุน บางเรียกเกาะกุนตุน๙๒ภูผา
๗๒. เปนสองเกาะนอยใหญแตไกลตา กั บ ขอบฝ ง นั้ น สั ก ห า โยชน ๙๓ปลาย
๗๓. ก็ใชใบไปกลางที่หวางนั้น ถึงสลุบ๙๔กําปนไปคาขาย
๗๔. จะแลนนอกนั้นไมไดใกลเกาะทราย จํ า เพาะบ า ยเข า หว า งเป น ทางจร
๗๕. เขาลมไกลงไหวเทเวศร๙๕ ตามเพศที่สถิตอยูสิงขร
๗๖. บรรดาพวกเรือคาเภตราจร ถวายกรตามตํ า แหน ง ทุ ก แห ง ไป
๗๗. ครั้นถึงแหลมเลี้ยวหนาเมืองปาสัก๙๖ ก็ประจักษปากน้ําพอจําได
๗๘. เห็นเรือญวนยืนแจวเปนแถวไป เขาใชใบเล็มลาออกหากิน
๗๙. แลวไปสองวันครึ่งก็ถึงไศล๙๗ เ ห็ นป า ก น้ํ า ญ ว นใ ห ญ ก็ ใ จ ถ วิ ล
๘๐. เกลือกจะออกชิงชัยสิไพริน ก็คิดสูกวาจะสิ้นสุดที
๘๑. แลวก็ไปสามวันถึงบรรพต นามกําหนดชางขามคิรีศรี
๘๒. ตระหงานเขาง้ําเงาชลธี เขาวามีเปนนิทานบุราณเมา
๘๓. วาเขานี้อัคคีกาลวาต๙๘ เมื่อไฟฟาผาฝาดลงภูผา
๘๔. แลวลุกไหมไลเลียลามศิลา พฤกษาจึงไมลัดระบัดใบ
๘๕. ดูก็เหมือนหนึ่งจะตองทํานองกลาว ดวยเรื่องราวรอยมีอยูที่ไศล
๘๖. แลวแลนผานพนสถานที่นั้นไป จนอุทัยแจมแจงโพยมบน
๘๗. ก็ลุยังอินตั้งตัวบุตร สูงสุดเทิดเทียมพระเวหน
๘๘. ตระหงานเขาเงาดําลงง้ําชล ฝายบนเบื้องจอมคิรินราย
๘๙. มีศิลาหนึ่งปกเปนกําหนด ประหลาดหลากกวาบรรพตทั้งหลาย
๙๐. ฟงแถลงหลายปากมามากมาย วาเปนศรนารายณอวตาร
๙๑. เมื่อเสด็จออกดงไปทรงพรต ยั ง บร ร พตศ าล าลั ย ไพ ร สา ณ ฑ
๙๒. ทรงแผลงสารทศรไปรอนราญ พิ ฆ าตมารซึ่ ง แปลงเป น กวางมา

๙๒
สันนิษฐานวาคือเกาะ Con Dao ของเวียดนาม
๙๓
หนวยนับระยะทางในสมัยโบราณ
๙๔
เปนภาษาดัชต หมายถึง เรือ
๙๕
เทวดา
๙๖
เปนเมืองที่เคยอยูในเขตกัมพูชา มีฐานะเปนประเทศราชของไทย ปจจุบันอยูในเขตจังหวัด
Soc Trang ของเวียดนาม
๙๗
ภูเขา
๙๘
ลมแรง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๘๑
๙๓. แลวสาปศรใหเปนทอนศิลาปก จึงประจักษอยูที่จอมภูผา
๙๔. ทรงสถานที่ประมาณสมมุติมา ก็หมายตาเหมือนจะตองบุราณกาล
๙๕. ฝายฝูงคณาอารักษ สิทธิศักดิ์เขาสูสิงสถาน
๙๖. ผูไปมาบูชาเชี่ยวชาญ วิสัยพาลพาณิชนิยมมา
๙๗. แตแปลกอยางออกที่ทําสําเภานอย กระจอยรอยพอพึงเสนหา
๙๘. เอาเชือกเสาเพลาใบใสเภตรา แลวเย็บผาถุงเสบียงเรียงราย
๙๙. บรรดามีเงินทองของเอมโอช สรรพโภชนใสลงบรรจงถวาย
๑๐๐. เอากระดาษวาดรูปทุกตัวนาย ทั้งนายทายตนหนทุกคนไป
๑๐๑. แลวยกสําเภานอยลงลอยน้ํา เหมื อ นถ า ยลํ า ที่ ร า ยให ค ลายได
๑๐๒. เผากระดาษฟาดเคราะหสะเดาะไป ตามวิสัยสัญจรแตกอนมา
๑๐๓. แลวจากนั้นสองวันก็เห็นเขา เป น ขอบเงายื ด ยาวไปหนั ก หนา
๑๐๔. คอยแลนคลองไปไดสองทิวารา ก็ถึงวาโหล๙๙ลึกทะเลวน
๑๐๕. เปนที่ขามตามทางไปกวางตุง เห็นสุดมุงหมอกมืดไมเห็นหน
๑๐๖. แลวก็กวางกวาทางทุกตําบล ก็พึงยลเขาบูชาเปนอาจิณ
๑๐๗. กําหนดแตเขาขวางที่ทางมา เป น พาราเหล า ล ว นแต ญ วนสิ้ น
๑๐๘. จนวาโหลขอบแควนแดนศิขริน จึงสุดดิ้นสิ้นเขตนิเวศญวน
๑๐๙. ก็บายขามตามบูรพาภาค แสนวิบากคลื่นใหญก็ใจหวน
๑๑๐.แต ห าวเหี ย นป ว นเป ย นสกนธ ก วน ๑๐๐ ด ว ยเมาชวนรากรื้ อ ระทมทน
๑๑๑. แลวบังเกิดพายุใหญจนใบกลับ ทั้งคลื่นทับเทฟองทั้งนองฝน
๑๑๒. เปนพยุพยับทั่วมัวมน กํ า ลั ง ฝนแลบพรายกระจายไ ป
๑๑๓. เสียงคลื่นประหนึ่งพื้นสุธาวาศ จะวินาศไปดวยชลไมทนได
๑๑๔. ตลิ่งนิ่งเห็นเขานิ่งวุนวายไป บางรองไหรักตนอยูลนลาน
๑๑๕. บางก็ยืดมัดไมใบเกา บางก็เฝาถังน้ําแลลําปาน
๑๑๖. เห็นการผืดแลวก็คิดนมัสการ สละพาลภาวนารักษาตน
๑๑๗. จะแลฝงที่หยุดก็สุดเนตร จะสังเกตพึ่งพนัสก็ขัดสน
๑๑๘. แตนั่งแลดูตากันหาคน เห็ น จะจนเสี ย ในท อ งทะเลลาน
๑๑๙. สุดคิดจึงอุทิศถึงพระเดช มาปกเกศชวยชีพสังขาร
๑๒๐. เดชะตะบะบุญพระคุณณาน ลมพาลก็ ค อ ยเปลาบรรเทาพลั น

๙๙
สถานที่น้ําวน หรือที่สายน้ํามาปะทะกันกลางทะเล
๑๐๐
รางกายออนเพลีย “สกนธ” หมายถึง รางกาย
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๘๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๑๒๑. เภตราจึงคอยฟนขึ้นคลื่นได จึงชักใบขึ้นรอไวพอผัน
๑๒๒. ครั้นลมหายคอยสบายอารมณครัน ถึงกระนั้นยังไมสุขสักราตรี
๑๒๓. ถากลางคืนก็ไดชื่นแตแสงจันทร ทิวาวันก็ไดชมแตรังษี
๑๒๔. กับจะดูมัจฉาในวารี แตก็มีพวกพรรคจะอันตราย
๑๒๕. ที่ตามลอมตอมวายนั้นหลายหมู ก็เหลือรูจะกําหนดจดหมาย
๑๒๖. ชลาดําดวยน้ําเค็มพราย ทั้งสุดสายดิ่งรอยหาสิบวา
๑๒๗. จะดูโดยทิศใดก็ใจหวาด วิปลาสเห็นวาฬขึ้นขางขวา
๑๒๘. ประมาณยาวราวสามสิบหาวา ที่ ท อ นหน า ไม ต ระหนั ก ประจั ก ษ ใ จ
๑๒๙. เห็นคลานกุงที่กระพุงแพนหาง ป ร ะ ม า ณ ก ว า ง นั้ น สิ บ ห า ว า ไ ด
๑๓๐. แตโดยลมอมชลที่พนไป ก็ สู ง ได โ ดยหมายกั บ ปลายตาล
๑๓๑. เขาก็กลับใบบากออกจากที่ คะเนหนีจะใหพนแถวสถาน
๑๓๒. เอาธปูเทียนบวงบนขึ้นลนลาน วันทนาปลาวาฬวุนวาย
๑๓๓. แลวเขาทําเปดไกไหวเทเวศร ตามเพศที่ทะเลแลวเทถวาย
๑๓๔. แตขลุยขลุกแลวลุกขึ้นโปรยปลาย กระดาษพรายเผาเพลิ ง เถกิ ง เรื อ ง
๑๓๕.เย็นเชาไหวเจาดวยมาฬอ๑๐๑ พระหมาจอ ๑๐๒ฟ ง อึ ง คนึ ง เนื่ อ ง
๑๓๖. ครั้นค่ําแขวนโคมเคียงเรียงเรือง ตลอดเบื้องหนาทายที่รายไป
๑๓๗. ครั้นอรุณเรืองแสงสุริโยภาส เยี่ยมราชคิรีศรีไศล
๑๓๘. เห็นชอุมตะคุมเขียวไกล ตลอดไปลวนเหลาศิรินราย
๑๓๙. เขาบอกกันวานั้นแลขอบเขต เปนประเทศที่จีนทั้งหลาย
๑๔๐. ก็ชื่นเริงบันเทิงร่ําทํากรุยกราย บางธิบายบอกเบื้องเรื่องคิรี
๑๔๑. อันโหลบาน๑๐๓นี้ทวารแตชั้นนอก ที่เขาออกกวางตุงกรุงศรี
๑๔๒. จําเพราะทางเขาหวางคิรีมี ครั้ น ลม ดี ก็ ไ ด แ ล น เ ข า โหล บา น
๑๔๓. ขึ้นยืนดูผูคนมั่งคั่ง ฝรั่ ง ตั้ ง เต็ ม เกาะมะเกาสถาน๑๐๔
๑๔๔. เปนทวงทีหนีไลก็ไดการ มีกําแพงสามดานดูดี
๑๔๕. เห็นสําเภาเขาครันกําปนทอด แลตลอดดูไปไมสุดที่
๑๔๖. แตมิ่งไมไรสิ้นทุกคิรี บางที่มีคนตัดไมลัดทัน

๑๐๑
สิ่งของสําหรับตีใหเกิดเสียงดัง ทําดวยทองเหลือง เปนของใชในพิธีกรรมแบบจีน
๑๐๒
เจาแมทับทิม เปนที่บูชาของชาวเรือ เปนเทพแหงทองทะเลคุมครองผูเดินทางทางเรือ
๑๐๓
โหลคือโพรงหรือ ลึกลงไป อันโหลบานในที่นี้นาจะหมายถึงชองเขาที่เรือตองแลนผานไป
๑๐๔
เกาะมาเกา ตั้งอยูบริเวณปากแมน้ําจูเจียง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๘๓
๑๔๗. แตนั่งดูภูผาศิลาลาด ดั ง ประพาสหิ ม พานต พ นาสั ณ ฑ
๑๔๘. ที่วุงเวิ้งเชิงผาเปนหนาบัน บางเปนขอบคันธกุฎีดา
๑๔๙. ที่เสื่อมลายเลาก็ชมเหมือนพรมลาด ที่ขาวดาดไปก็ดูดังปูผา
๑๕๐. ที่เยี่ยมยอยออกมาหอยถึงคงคา จ ะ ไ ป ม า เ ลี้ ย ว ห ลี ก ค ร ร ไ ล ไ ค ล
๑๕๑. เห็นเรือเทง๑๐๕เที่ยวทองทํามัจฉา ดูดาไปแตลอมเสาไสว
๑๕๒. จนสุดเนตรสังเกตไมสุดใบ ดั ง ทั พ ใหญ ย กหนั ก ออกหั ก ราญ
๑๕๓. อันโดยทางลางเหลาที่เวนไว ครั้นจะใสถวนถี่ใหวิถาร
๑๕๔. เหลือสติจะดําริใหรอบการ ขอประมาณแตนิราธานี
๑๕๕. ถานับวันก็ไดสามสิบสามวัน ถาสําคัญวาเทาไรในวิถี
๑๕๖. ก็ไดสามรอยโยชนเศษสังเกตมี ถึงทวารพยัคฆีทันใด
๑๕๗. มีปอมปนยืนเยี่ยมอยูสองฟาก ประหลายหลากกอ เข า กั บเขาใหญ
๑๕๘. ยังปอมขวางไวกลางชลาลัย เรือไปสองขางอยูกลางคัน
๑๕๙. เปนสงาศึกงามทั้งสามปอม ที่ ก อ ล อ ม ล ว นแ ห ล ง แ ก ล ว ส ร ร
๑๖๐. เอาโยธาเจนจัดใหผลัดกัน เปนนิรันดรรักษาระวังการ
๑๖๑. ฝายจีนจงเอี้ย๑๐๖ซึ้งเปนใหญ ไ ด คุ ม ไ พ ร สิ บ ห มื่ นรั ก ษ า ส ถ า น
๑๖๒. ก็ลงเรือรีบพลันมิทันนาน มาถามการขาวขอคดีดี
๑๖๓. ฝายทูตตอบวาพระราชสาร พระผูผานอยุธยาวดีศรี
๑๖๔. มาจิ้มกองโดยคลองประเพณี จําเริญราชไมตรีตามโบราณ
๑๖๕. ฝายจีนจดหมายเอารายชื่อ แลวก็รื้อดูทรงสงสัณฐาน
๑๖๖. แตจํากดจดไปจดไฝปาน แล ว เกณฑ เ จ า พนั ก งานลงคุ ม ไป
๑๖๗. กับทหารสามสิบใสเรือรบ เครื่องครบอาวุธสรรพไสว
๑๖๘. พนักงานปองกันใหครรไล ก็แลนไปตามเรื่องรัถยา
๑๖๙. เห็นวารีนั้นไมมีมัจฉาชาติ อรัญาวาสเราก็ไรรุกขา
๑๗๐. บนอากาศขาดหมูสกุณา พสุธาดาดาษดวยคนไป
๑๗๑. เปนชาวคามนิคมวาสี ชางทําที่นั้นอุตสาหนาอาศัย
๑๗๒. ลวนตึกกอตอเนื่องเปนเรื่องไป ทุกวุง เวิ้งเชิงไศลละลานตา
๑๗๓. ที่พนน้ํานั้นก็ทําเปนเรือกสวน บ า นเพราะพวนปลู ก ผั ก ก็ ห นั ก หนา

๑๐๕
เรือชนิดหนึ่ง รูปรางคลายเรือกําปน ตอนหัวหนาและงุมเปนปากนก ทายเรือปาดลงเปน
รูปแตงโม มีเสาหัวและเสากลางสําหรับชักใบ กลางลํามีเกง
๑๐๖
ขุนนางจีน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๘๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๑๗๔. ที่ลุมลาดหาดน้ําก็ทํานา ไมมีปาปลูกไมไวมากมี
๑๗๕. พื้นผลแตที่ตนตระการรส จะกําหนดนามไซรก็ใชที่
๑๗๖. แตเขาครองไปไดสองราตรี ก็ถึงทีห่ ยุดพักนัครา
๑๗๗. เห็นกําปนแลสําเภาเขาคาขาย เปนทิวทอดตลอดทายคฤหา
๑๗๘. ทั้งสี่แถวตามแนวนัครา ก็ ท อดท า หน า เมื อ งเป น เรื่ อ งกั น
๑๗๙. แตเสากระโดงที่ระดะตะกะกาย จนสุดสายเนตรแลแปรผัน
๑๘๐. บางขึ้นลองเที่ยวทองจรจรัล สุดอนันตที่จะนับคณนา
๑๘๑. พิศภูมิสถานทีน่ ัคเรศ๑๐๗ เปนขอบเขตอยูแนวเนินผา
๑๘๒. มีกําแพงสามชั้นกั้นนัครา ลวนศิลาแลงปรับประดับดี
๑๘๓. อันหอรบนางเรียงที่เรียงเรียบ ไวระเบียบปองกันบุรีศรี
๑๘๔. มีปอมขวางอยูกลางชลาธี วารีแลนรอบเปนขอบคัน
๑๘๕. ตรงฟากเมืองไวเครื่องขางเรือรบ ก็ เ ตรี ย ม ค ร บ ท อ ด ร า อ ยู ท า นั้ น
๑๘๖. พอขุกเหตุสังเกตคืนวัน ก็เรียกทันถอยไลก็ไดที
๑๘๗. ที่กองเกณฑใหตระเวนก็สอดเสาะ เที่ยวรายเราะเรือรอบบุรีศรี
๑๘๘. สรรพสรรพาวุธไวมากมี ประจําที่จุกชองอยูอัตรา
๑๘๙. เหลาทหารประจําการกินเบี้ยหวัด ก็เปลี่ยนผลัดกันพิทักษรักษา
๑๙๐. ลวนเกาทัณฑ๑๐๘สันทัดอยูอัตรา ถือตําราที่โบราณทานชิงชัย
๑๙๑. ฝายฝูงประชาชนชาติ ก็ เ กลื่ อ นกราด กลุ ม มาไม นั บ ไ ด
๑๙๑. สพรั่งพรอมลอมพรูมาดูไทย ทั้งชายหญิงวิ่งไขวกันไปมา
๑๙๒. บางลงเรือนอยๆมาพลอยทัก ยิ้มพลักดวยไมรูภาษา
๑๙๓. บางลอยลอมตอมรอบทั้งเภตรา เอาผั ก ปลามาจํ า หน า ยชายไทย
๑๙๔. อันนารีเรือลากสําหรับจาง นั้นรูปรางหมดจดสดใส
๑๙๕. นวลนิ่มจิ้มลิ้มละไมใจ เมื่อดูไกลเอกเอี่ยมลออตา
๑๙๖. ครั้นเขาใกลก็เห็นเลือดชายจะเผือดผาด ดวยการสวาทไมหลีกเลือกภาษา
๑๙๗. แขกฝรั่งอังกฤษวิลนั ดา๑๐๙ จะไปมายอมไดอาศัยกัน
๑๙๘. ตองหามทั้งมิใหไปอยูบก ปร ะ จํ า พ กแ ห ล ง ห ลั ก สํ านั ก นั่ น
๑๙๙. ประกวดดีดูที่นับถือกัน ไมเวนวันชายหาจึงวาดี

๑๐๗
เมือง
๑๐๘
ธนูที่เปนอาวุธ
๑๐๙
ฮอลันดา/เนเธอแลนด (ดัตช)
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๘๕
๒๐๐. แตบรรจงจริตจัดผัดพักตร บํารุงรักมิใหชายหนายหนี
๒๐๑. กันไรใหวิไลกับเมาฟ มวยมีดอกไมเงินงาม
๒๐๒. นุงกางเกงใสเสื้อที่สังเกต ทํ า แปลงเพศก็ พ อเอี่ ย มออกสนาม
๒๐๓. รูชําเลืองประปรายใหชายตาม แต ต อ งห า มมิ ใ ห ไ ทยไปพบพาน
๒๐๔. ถาไปไหนพอพักสํานักนั่ง ไม ร ะวั ง ก็ ก ระโ จมเอาสู ง สถา น
๒๐๕. วิสัยเมืองเขาเปนเรื่องราวพาล ถึงนอนคลานขามไดไมถือกัน
๒๐๖. บํารุงเรือแตใหเกื้อการสังวาส นั้นปูลาดจัดแจงแกลงสรร
๒๐๗. ลวนฟูกลิ่นฟุงอบตระหลบครัน ปะไมทันรูเขาก็เอาแพง
๒๐๘. เขามาชี้แจงความใหตามกฎ ในกํ า หนดที่ ตระหนั ก ประจั ก ษ แ จ ง
๒๐๙. วาสุวรรณขาวเหลืองเครื่องทองแดง ทั้ ง แพรไหมเหล็ ก แท ง แลสาตรา
๒๑๐. มิใหไทยเอาหญิงมาพิงพาด อั น การสวาทนี้ กํ า ชั บ กั น หนั ก หนา
๒๑๑. ที่รักตัวเขาก็กลัวไมพานพา ที่ แ กม กล า ก็ เ ข ากลั้ ว เอา ตั ว พั น
๒๑๒. เสียแรงมาพารางถึงกวางตุง เขมนมุงวาจะลองก็ตองพรั่น
๒๑๓. ไดชมงามอยูแตไกลไมไดกัน ครั้นถึงวันรวิวารเวลา
๒๑๔. ภัทรบทกําหนดปอุศุภศก ข า ง ห มู อี้ จ ง ต ก ๑๑๐เ ข า ป รึ ก ษ า
๒๑๕. แลวมารับคํานับราชสารา กับฑูตาขาหลวงทั้งปวงไป
๒๑๖. ขึ้นขี่เกวียนจรดลดวยคนหาม ดําเนินตามที่ทางถนนใหญ
๒๑๗. ศิลาลาดดาดปูที่ดูไป นั้นอําไพเรียบริมรัถยา
๒๑๘.อันรานรายขายของทั้งสองฟาก ประหลาดหลากลวนทําดวยฉําฉา
๒๑๙. ประจงเจียนเขียนวาดแลวชาดทา ที่ ตั้ ง หน า ตรงร า นกร ะดานทอ ง
๒๒๐. เปนวิสัยลูกคาบรรดาขาย จารึกรายไวใหดูรูของ
๒๒๑. ที่กระถางธูปเทียนนั้นเขียนทอง ทั้งเตียงทองหลั่นลดนั้นรจนา
๒๒๒. อันเครื่องรานที่สําหรับประดับของ ลวนแกวแหวนเงิ นทองนั้นหนักหนา
๒๒๓. แพรพรรณสรรพสิ่งละลานตา ทั้งเสื้อผามุงมานตระการใจ
๒๒๔. ทั้งถวยโถโอจานแลจันอับ จะคณนานามนับไปไหนๆ
๒๒๕. บางหามคอนรอนขายอุบายไป บ า งเคาะไม แ ทนปากก็ ม ากมาย
๒๒๖. อันหมูแพะแกะกะทิงมหิงสหาน วันละพันก็ไมพานพอขาย
๒๒๗. เต็มตลาดดาษดูไมรูวาย บางซื้อจายวุนไขวกันไปมา

๑๑๐
ขาหลวงมณฑลกวางตุง-กวางซี
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๘๖ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๒๒๘. มีแตจะฆาสัตวตัดชีวาตม เปนตรุษสารทไถยจิต๑๑๑ขางมิจฉา
๒๒๙. ไมอายบาปหยาบพนที่คณนา ความอุตสาหมิใหเสียสิ่งไรไป
๒๓๐. ที่หนากวานรานตลาดนั้นกวาดเลี่ยน ตะลิบเตียนมิใหมีสิ่งใดได
๒๓๑. อันหญิงชายประชาขาเวียงชัย ก็วิ่งไขวซอนหนามาอลวน
๒๓๒. บางอุมลูกจูงยายตะพายหลาน ก็ลนลานวิ่งเบียดกันเสียดสน
๒๓๓. ที่ชรามายากลําบากตน ก็ขี่คนรีบเรงมาเล็งแล
๒๓๔. เอาแวนตาติดเนตรเขาเพงพิศ หวังจิตใหรูจักตระหนักแน
๒๓๕. ทั้งสาวหนุมกลุมกลัดมาอัดแอ ซอแซเพงพิศพินิจไทย
๒๓๖. อันหมูสาวสุดามัชฌิมาหมาย นั้ น แต ง กายแซมมวยด ว ยไม ไ หว
๒๓๗. ที่เยี่ยมยลอยูบนตึกใน นั้นอําไพพิศพริ้งพรายตา
๒๓๘. ดูยืนแตละอยางกับนางเขียน ทั้งจีบเจียนยั่วยวนเสนหา
๒๓๙. ผัดพักตรผิวพรรณดังจันทรา นัยนากวัดแกวงดั่งแสงนิล
๒๔๐. นาสิกเสื้องทรง๑๑๒ดังวงขอ งามคองามคิ้วควรถวิล
๒๔๑. งามเกศดําเพศภุมริน ปกปนมวยหอยสรอยสุวรรณ
๒๔๒. ปากแดงนั้นดวยแสงลิ้นจี่แตม เมื่อยิ้มแยมนาชมภิรมยขวัญ
๒๔๓. ใสเสื้องามสามสีสลับกัน พื้นสุวรรณแวววาบวิไลใจ
๒๔๔. แมนองคพระธิดาดวงสมร๑๑๓ จั ก เอกเอี่ ย มอรชรสั ก เพี ย งไหน
๒๔๕. แตไดดูหมูขายังอาลัย ดังสายใจนี้จะยืดไปหยิบชม
๒๔๖. เห็นการอายทีชมายแลวเมียงพักตร ก็ ป ร ะ จั ก ษ แ ต ว า ต า ง ภ า ษ า ส ม
๒๔๗. แตศรเนตรเสียบเนตรสังเกตคม ยิ่งนิยมตอบตองตลอดใจ
๒๔๘. ถึงตางชาติกันก็ดีโลกียจิต อันการคิดนี้จะเวนแกใครไฉน
๒๔๙. ก็หา มเห็นไวใหเปนประมาณใจ แลวครรไลตามรัถยามา
๒๕๐. อันชมสาวที่ชาวสถลมาศ ไมอุจาดเหมือนจีนประจําทา
๒๕๑. อันรูปทรงสรรเสริญจําเริญตา ครั้นพิศเบื้องบาทาก็เสียดาย
๒๕๒. เอาผาคาดขึงเหนี่ยวจนเรียวรัด พาวิบัติอินทรียใหมีสลาย
๒๕๓. จะดําเนินมิใครตรงพอทรงกาย ยอมใชชายขายคามาใหกิน
๒๕๔. มีแตจะพึ่งผัวเปนครัวใช ตัวไดแตจะรวมภิรมยถวิล

๑๑๑
“ไถย” เปนศัพทบาลีแปลวา ขโมย “ไถยจิต”หมายถึง ใจที่ไมบริสุทธิ์
๑๑๒
รูปทรงสูงแหลม “นาสิกเสื้องทรง”ในที่นี้จึงหมายถึง จมูกโดง
๑๑๓
หมายถึงพระธิดาของจักรพรรดิจีน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๘๗
๒๕๕. แตชายถอยทุจริตผิดกระบิล ย อ มคว่ํ า ผิ ล ประดิ พั ท ธอยู อั ต รา
๒๕๖. จะเขานอกออกในก็ใชสอย บุรุษรูปนอยๆโออา
๒๕๗. อันยาจกวรรณิพกที่ไปมา เที่ยวภิกขาจารขอไมพอกิน
๒๕๘. ก็อุบายทํากายนั้นตางๆ จะร่ําปางโดยดูไมรูสิ้น
๒๕๙. บางอุจานทาน๑๑๔ทําทั้งกายิน๑๑๕ บางนั่งวอนนอนดิ้นลงโดยจน
๒๖๐. บางก็เอามีดสับจับอิฐตอย จนโลหิตแดงยอยไปเต็มถนน
๒๖๑. มิไดของแลวก็รองไมจรดล ไปเห็นจนก็ไดคิดอนิจจา
๒๖๒. อันเหลาเจียงทหารใหญในกรุงศรี๑๑๖ นั้นใสหมวกจามรีถวนหนา
๒๖๓. แวดลอมเหลาไทยใหไคลคลา ใครผานหนาตีตอนตะบึงไป
๒๖๔. ก็ลุดลตําบลกงกวน๑๑๗เกา สถานทูตเคยเขาอยูอาศัย
๒๖๕. เปนตึกตรอกอยูนอกเวียงชัย ก็เชิญราชสารไวที่ควรการ
๒๖๖. แลวสงของที่คุมไปขึ้นไวหาง ตามรางเรื่องตราโกษาสาร
๒๖๗. ทั้งสองหางตามอยางธรรมเนียมนาน แลวแจงซองที่ประทานนั้นออกไป
๒๖๘. ขางจงตกหมูอี๋ผูมีสติ เขาดําริแลวไมรับประทานได
๒๖๙. วากฎหามกวดขันถึงบรรลัย ประนมไหว ค วรขอบพระคุ ณ มา
๒๗๐. แลวใหคนเร็วรีบยังนัคเรศ ถวายเหตุราชคฤๅหา
๒๗๑. แตกําหนดนับไวทั้งไปมา นี่ทางมายี่สิบเจ็ดราตรี
๒๗๒. ผูถือสารจึงเอาสารรับสั่งสง ใหกับจงตกดูหมูอี๋
๒๗๓. แลวคัดขอสารามาพาที วาพระเจาหมื่นป๑๑๘นั้นโปรดปราน
๒๗๔. ใหสงทูตไปถวายอภิวาท ตามราชตําราบุราณสาร
๒๗๕. กับสิ่งของในคลองบรรณาการ ที่นอกอยางบุราณมีมา
๒๗๖. นั้นไมรับครั้นจะกลับใหคืนของ ระวางคลองเหมื อ นไม แ สนเสนหา
๒๗๗. เสียดายราชไมตรีที่มีมา ทา ง ท ะเ ล ก็ เป นท ากั นด าร นา น
๒๗๘. ก็ควรขายจําหนายเอาทุนทรัพย ใหคืนกลับอยุธยามหาสถาน

๑๑๔
อุจาด
๑๑๕
รางกาย
๑๑๖
เมืองกวางตุง
๑๑๗
ที่พกั ทูต
๑๑๘
จักรพรรดิจีน
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๘๘ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๒๗๙. แตชางนอนั้นเปนขอประสงคนาน ใหบอกบรรณาการขึ้นสงไป
๒๘๐. อันจังกอบสินคาบรรดาของ นั้นปลงปองโปรดปรานประทานให
๒๘๑. ใหนายหางปรึกษาขาหลวงไทย ตามใจจําหนายขายกัน
๒๘๒. แตขอทูตที่จะจําหนายไดไปอภิวาท ยังพระบาทหมื่นปศรีสวรรค
๒๘๓. ตอแลวการเคารพอภิวันท ปนสื้อนิ้มหนําโหลาน๑๑๙
๒๘๔. เปนปนปกหลักจีนทุกจังหวัด เหมื อ นไทยถื อ น้ํ า พิ พั ฒ น พิ ธี ส ถาน
๒๘๕. ประชุมชอบพรอมหนาบูชาการ วันประสูติพระผูผานนครา
๒๘๖. ครั้นถึงวันที่จะทําโดยกําหนด เดือนสิบเอ็ดขึ้นทศมาสา๑๒๐
๒๘๗. จึงตกหมูอี๋ใหลีลา มาเชิญทูตกับขาหลวงจร
๒๘๘. ไปอภิวันปนสื้อในนัคเรศ ตามเพศขุนนางแคปางกอน
๒๘๙. ขางทูตไทยผูจะไปถวายกร ก็ผันผอนแตงแงใหงามทรง
๒๙๐. เปนคนเจนชัดเชนในเชิงเกา ถึงแกเถาก็จริตยังหยิบหยง
๒๙๑. นุงยกชองกระจกโจงผจง ฉลององคอัตลัคประทานงาม
๒๙๒. เอาเสนากุฎใสวิไลเกศ ดังชัยเชษฐบุราณชาญสนาม
๒๙๓. พระพี่เลี้ยงขาหลวงทั้งปวงตาม ทหารหามคันเกี้ยวดวยกันไป
๒๙๔. ครั้นไปถึงที่ประตูเห็นหมูทหาร ริมทวารขัดดาบดูไสว
๒๙๕. ทั้งสองแถวรัถยาดาไป ที่ชั้นในไวเหลาที่เกาทัณฑ
๒๙๖. ทั้งงาวปนยืนงามตามถนน ที่ ว า งคนลดเลี้ ย วเป น หลายหลั่ น
๒๙๗. ถึงสถานที่จะไดไปอภิวันท พิศพรรณเพียงแลละลานตา
๒๙๘. ลวนปดทองธรรมชาติแลววาดเขียน ธงเทียนพื้นสุวรรณเลขา
๒๙๙. ที่ถิ่นฐานสะอานโอฬาร รจนาโคมเคียงเรียงกัน
๓๐๐. อันโรงรีซึ่งเปนที่สําหรับรับ นั้ น ประดั บ แพรแดงแกล ง สรรค
๓๐๑. ใสพูรายขายรอบเปนขอบคัน เอาพื้ นพรรณแพรลาดเป น หลั ง คา
๓๐๒. แลวก็แซมดอกไมกับใบสน เปนที่ยลนับถือกันหนักหนา
๓๐๓. พอจงตกหมูอี่ลีลามา ทั้งขุนนางซอนหนามาเนื่องกัน
๓๐๔. แตยืนรับคํานับก็หนักหนา ออกระอาแลวไมวายที่ผายผัน
๓๐๕. ครั้นพรอมหนาแลวก็พากันจรจรัล ไปอภิวันทปนสื้อสําหรับมา
๓๐๖. เขาขุยขลุกลุกพรอมแลวกรอมกราบ ข า งเหล า ไทยมิ ใ ครราบแต โ หยหา

๑๑๙
“ปนสื้อ”ตําแหนงขุนนางจีนมีหนาที่ทางธุรการ
๑๒๐
นับไปวันที่สิบ
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
ศุภการ สิริไพศาล ๑๘๙
๓๐๗.ก็กลั้นสรวลอยูจนถวนทั้งสามครา แล ว กลั บ มาสถิ ต โรงเมื่ อ แรกไป
๓๐๘. จงตกใหยกโตะมาตั้งเลี้ยง ตลอดเรี ย งรวดรายทั้ ง นายไพร
๓๐๙. ครั้นเสพเสร็จสําเร็จกันจะครรไล หมูอี่จึงปราศรัยดวยวาจา
๓๑๐. เราปนสื้อดวยกันในวันนี้ ก็เปนที่บุญธรรมนั้นหนักหนา
๓๑๑. ครั้นสายแสงแรงศรีพระสุริยา ก็ตางคนตางคลาไปจากกัน
๓๑๒. ฝายทูตก็คืนควรกงกวนเกา คํานวณนับนานอยูที่นั่น
๒๑๓. ครั้นถึงเดือนสิบสองศุกรวัน ขึ้นสามค่ําจะจําจร
๓๑๔. หมูอี๋จึงเชิญใหพระราชสาร บรรณาการทูตอันจะผันผอน
๓๑๕. ประดับดวยนาวาสถาวร ขึ้นนครราชคฤหคราวดี๑๒๑
๓๑๖. อันโดยทางที่จะไปนั้นไตรมาส จึงถึงราชปกกิ่งกรุงศรี
๓๑๗. ฝายทูตเขาจะไปเห็นไดดี เพราะธุลีบาทคุมคลุมไป
๓๑๘. อันพวกผูอยูขายจําหนายของ แต นั่ ง ตรองนอนตรอมจนผอมไผ
๓๑๙. ที่ขาดเหลือเจือครบบรรจบไป ก็มีในบาญชีวาทั้งหาบาญ
๓๒๐. ครั้นเสร็จของเงินทองสําเร็จรับ แลวประดับเภตราจะมาสถาน
๓๒๑. ความดีใจประหนึ่งไดวิมานปาน แตนับวารคอยเคราทุกเชาเย็น
๓๒๒. อันเหลาไทยที่ไดไปเปนเพื่อยาก ขามทะเลลําบากนั้นแสนเข็ญ
๓๒๓. แตตรากน้ําตรําฝนแลวทนเย็น จะนั่งนอนแตเขมนไมเวนวาง
๓๒๔. อันที่ทานสี่สําเภาหลวง นั้นพุมพวงสารพัดไมขัดขวาง
๓๒๕. จะแสนยากอยูแตเหลาที่เชาระวาง ปมปางจะไมเห็นวาเปนกาย
๓๒๖. หากพระขัติคุณการุณภาพ ก ม กราบถึ ง พระบาทไม ข าดสาย
๓๒๗. จึงไดพนไถยันอันตราย รอดตายมาชื่นคืนเมือง
๓๒๘. เอากตัญูตั้งระวังผิด ราชกิจนั้นอุตสาหไปวาเนื่อง
๓๒๙. ที่ภัคดีโดยการงานก็เปลือง ไมยักเยื้องกิริยาเหมือนราไชย
๓๓๐. เมื่อทานยุกรบัตรหาปรึกษาของ ก็ปดปองโรคาไมมาได
๓๓๑. เอาอาสัจที่วิบัตินั้นออกไป พะวงใจอยูดวยรักขางลักชม
๓๓๒. อีดอกทอง๑๒๒ราวทองธรรมชาติ พิศวาสมิไดเวนวันสม

๑๒๑
กรุงปกกิ่ง
๑๒๒
คําหยาบดาผูหญิง
 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 
๑๙๐ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
๓๓๓. จนโรคันทบขางอุปทม๑๒๓ เสนหาสาลมขึ้นเต็มตัว
๓๓๔. ครั้นเขาถามเขาหยอกก็บอกพราง จนนายหางยืนชี้ลงที่หัว
๓๓๕. แลวเขากอวาเจาคุณนี้บุญตัว จึงจับไดแตไอวัวนั้นไปแทน
๓๓๖. ทําใหออนวอนความถึงสามกลับ เขาจึ ง ปรั บ เอาแต น อ ยก็ ร อ ยแผ น
๓๓๗. หากเอาเงินหลวงใสใหแทน จึงไดพนคาแผนเพราะทําดี
๓๓๘. ใหเขาชมชาวเราวาเจาชู พิเคราะหดูก็เปนหนาบัดสี
๓๓๙. พลอยเอาตาแตมหนาใหราคี มิเสียทีเจาใชไปไดอาย
๓๔๐. ประการใดไปทางระวางเหตุ ก็สังเกตรัถยาเขามาถวาย
๓๔๑. เห็นการคาเหลือบาจะแบกพาย ถาหักคายฤๅตีทัพขอรับไป
๓๔๒. ไมเห็นชองเลยวาของพระราชทรัพย จะได ก ลั บ ฤๅมากลายเป น ง า ยได
๓๔๓. แลวแสนยากที่ทะเลคะเนไกล ก็กลับพามาไดสะดวกดี
๓๔๔. ดังเทวามาสุมประชุมทรัพย ไวสําหรับเนื้อหนอพระชินศรี
๓๔๕. จะสรางสมอบรมพระบารมี ในยุคนี้บรรจบใหครบกัลป
๓๔๖. ชะรอยอรรคบุรุษอุดมวงศ ในสิ บ องค โ พธิ สั ต ว ดุ สิ ต สวรรค
๓๔๗. ไดลัทธยาเทศทายทํานายธรรม ในอนันตสํานักชิเนนทรนาน
๓๔๘. จึงดลใจใหพระองคทรงนั่ง บัลลังกรักรสพระกรรมฐาน
๓๔๙. ใหทรงเครื่องนพรัตนชัชวาล พระชมฌานแทนเบญจกุ ธ ภั ณ ฑ
๓๕๐. เอาพระไตรลักษณทรงเปนมงกุฎ ก็งามสุดยอดฟาสุธาสวรรค
๓๕๑. เอาพระศีลสุจริตในกิจธรรม เปนสุวรรณเนาวรัตนสังวาล
๓๕๒. เอาพระวิมุติธรรมเปนคันฉัตร เอาพระสัจเปนระไบไพศาล
๓๕๓. ลวนเครื่องศีลวัตรอันชัชวาล พระอุเบกขาญาณเปนธารกร
๓๕๔. เอาพระไวปญญาเปนอาวุธ ตัดวิมุติสงสัยแลวสั่งสอน
๓๕๕. สวางแจงกวาแสงทินกร สถาวรทั่วโลกแลงาม
๓๕๖. จะดูโดยโลกียเปนที่รัก ก็งามนักสุดโลกเหลือถาม

๑๒๓
พจนานุ ก รมฉบั บ ราชบั ณ ฑิ ต ยสถานให ค วามหมายว า “กามโลก”ส ว นในคั ม ภี ร
มุจฉาปกขันทิกาซึ่งเปนตําราที่วาดวยอาการของโรคบุรุษและโรคสตรี รวมถึงยาสมุนไพร
ที่ใ ชรั ก ษาโรคบุ รุษ และสตรี อธิ บายวา อุป ทม(อุ ปทั ง สโรค) หมายถึ งกามโรคชนิ ดหนึ่ ง
แบงออกได ๔ จําพวก

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๙๑
๓๕๗. จะดูฤทธิ์เลาก็คลายนารายณราม จะชูงามไปทั่วกัลปปา
๓๕๘. ขอพรพระศรีรัตนตรัย อันเปนใจจอมพุทธศาสนา
๓๕๙. ชวยบําบัดบาปธรรมา ใหลุโดยเจตนาโพธิญาณ
๓๖๐. ขอพรบรเมศวรเรื่องฤทธิ์ ซึ่งสถิตอุศุภราชเรืองสถาน
๓๖๑. เชิญชวยพระองคทรงชนมาน ใหคงการกําหนดพระทัยตรอง
๓๖๒. ขอพระพิษณุพงศทรงสังข ประทมทิพบัลลังกภชุ งคฉลอง
๓๖๓. ชวยลางมารผลาญหมูศรัตรูปอง ใหมาซองเศรียรกมบังคมคัล
๓๖๔. ขอบวรบงกชพิวัลยไว ที่ควรไลหงสทิพรังสรรค
๓๖๕. ชวยดับโศกวรรณโรคโรคัน ให ท รงพะรฉวี ว รรณสมบู ร ณ ง าม
๓๖๖. ขอพรสหัสนัยครรไลคช สารเศวตตรีทศเศียรสาม
๓๖๗. ชวยดํารงดําริชี้คดีความ พยายามไพรฟาประชาชน
๓๖๘. อันสมบัติในจังหวัดทวีปนี้ ใหอยูในพระบารมีทุกแหงหน
๓๖๙. ใหพระเกียรติกองฟาสุธาดล ขอพระชนมไดรอยพระวษา เอย ฯ
***************************

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๙๒ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ

บรรณานุกรม
เอกสารภาษาไทย
กรมศิลปากร.วรรณกรรมสมัยอยุธยา เลม ๑.กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร,๒๕๔๐
เขียน ธีระวิทย.วิวัฒนาการการปกครองของจีน.กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชีย
ศึกษาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.๒๕๔๗.
จดหมายเหตุร.๑ จศ.๑๑๗๑ เรื่องแตงตั้งขาราชการมหาดไทย กลาโหม กรมทา
กรมเมือง กรมวัง ตําแหนงเสนาบดีรัชกาลที่ ๑(เอกสารลายมือ)
จดหมายเหตุรายวันราชวงศชิง(ชิงสื่อลู)(เอกสารแปลอัดสําเนา)
จุลจักรพงษ,พระองคเจา.เจาชีวิต.กรุงเทพฯ: ริเวอรบุคส, ๒๕๔๑.
เจนนิเฟอร เวย คุชแมน.การคาทางเรือสําเภาจีน-สยามยุคตนรัตนโกสินทร.
กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร.๒๕๒๘
นิธิ เอียวศรีวงศ.การเมืองไทยสมัยพระเจากรุงธนบุร.ี กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ
มติชน.๒๕๔๗.
ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี แปล.“สมเด็จพระเจากรุงธนบุรีกับจักรพรรดิจีน” พลิก
ตนตระกูลไทย.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพพิราบ.๒๕๒๖
ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๕ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุ
มาศ(เจิม).กรุงเทพฯ: ชัยวิโรจนการพิมพ, ๒๕๓๕.
วินัย พงศศรีเพียร บรรณาธิการ.“พระราชสาสนเมืองจีน จ.ศ.๑๑๔๔”ประพฤทธิ์
ศุกลรัตนเมธี แปล.ประวัติศาสตรปริทรรศน.กรุงเทพฯ: กองทุนดําเนิร
เลขะกุล เพื่อประวัติศาสตร.๒๕๔๒.
_______________.กําสรวลสมุทร สุดยอดกําสรวลศิลป.กรุงเทพฯ: ศักดิโสภา
การพิมพ, ๒๕๕๓.
__________.วินัย พงศศรีเพียร“อารยธรรมและปรัชญาจีน ”.ไผนอกกอ.
กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ.๒๕๕๒.
วินัย พงศศรีเพียร แปลและเรียบเรียง.ขันทีจีน.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ
วรรณศิลป.มปป.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


ศุภการ สิริไพศาล ๑๙๓
ส. พลายนอย.ความรูเรื่องตราตางๆ พระราชลัญจกร.กรุงเทพฯ: อักษรพิทยา
,๒๕๒๗.
สารภากรณ,พระยา.ระยะทางราชทูตไปกรุงปกกิ่งในแผนดินสมเด็จพระจอม
เกลาโดยพระยาสารภากรณ”(เอกสารอัดสําเนา).
สารสิน วีระผล.จิ้มกองและกําไร การคาไทย-จีน ๒๑๙๕-๒๓๙๖.กรุงเทพฯ:
มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร.๒๕๔๘.
สืบแสง พรหมบุญ.ความสัมพันธในระบบบรรณาการระหวางจีนกับไทย
ค.ศ.1282 - 1853.กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตรและ
มนุษยศาสตร.๒๕๒๕.
บรรเทา กิตติศักดิ์ .หนังสือเรียนภาษาไทย ท.๐๓๒ ประวัติวรรณคดีไทย.
กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.๒๕๓๕
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา.กรุงเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๖.
พระราชสาสนไปกรุงปกกิ่ง จ.ศ.๑๑๔๓ (สมุดไทยดํา)
หลิงไหเฉิง.ขันทีคนสุดทาย.กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพคบไฟ.๒๕๔๘.
อดิศร หมวกพิมาย.กรมทากับระบบเศรษฐกิจไทย วิเคราะหโครงสรางและ
การเปลี่ยนแปลงตั้งแตสมัยธนบุรีถึงการทําสนธิสัญญาเบาวริ่ง พ.ศ.
๒๓๑๐-๒๓๙๘.วิทยานิพนธมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.๒๕๓๑.
อรพินท คําสอน ธิษณา วีรเกียรติสุนทร บรรณาธิการ ธิษณา วีรเกียรติสุนทร
“บันทึกของราชทูตออกพระวิสุทธสุนทรฯ”.๑๐๐เอกสารสําคัญสรรพ
สาระประวัติศาสตรไทยลําดับที่๑๐กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ,
๒๕๕๔.

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 


๑๙๔ นิราศกวางตุงของหลวงนายศักดิฯ
เอกสารภาษาตางประเทศ
Colin, A.Ronan. The Shorter Science and Civilisation in China:1.
Grate Britain: Cambridge University Press.1978.
Fairbank, John K. Trade and Diplomacy on the China Coast. Cambridge,
Mass., HarvardUniversity Press.1953.
___________.The Chinese World Order. Cambridge, Mass., Harvard
University Press.1968.
___________.The Cambridge History of China Vol.11: Late Ch’ing 1800-
1911 Part 2.Cambridge, Mass: Cambridge University Press.1980.
Woodcoock, George.The British in the Far East. Grate Britain:
Atheneum.1969.
Sheng, Hu. Imperialism and Chinese Politics. Beijing: Foreign Languages
Press.1981.
Santanee Phasuk.Royal Siamese Maps.Bangkok: River Books Press.2004

สื่ออิเล็กทรอนิก
แหลงที่มาของภาพนอกเหนือจากที่ระบุไว
http://www.dpm.org.cn/ (The Palace Museum, Beijing China)
http://www.npm.gov.tw/ (National Palace Museum, Taipei Taiwan)
http://th.wikipedia.org/wiki/

 ๑๐๐ เอกสารสําคัญ: สรรพสาระประวัติศาสตรไทย 

You might also like