You are on page 1of 18

บทที่ 13

สหรัฐอเมริกา ทศวรรษที่ 1970-1990

1. สหรัฐอเมริกาสมัยริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน ค.ศ. 1969 – 1974


ริ ช าร์ ด เอ็ ม .นิ ก สั น (Richard Milhous Nixon) ประธานาธิ บ ดี ส หรั ฐ อเมริ ก าลํ า ดั บ ที่ 37
จากพรรครีพับลิกัน สหรัฐอเมริกาในช่วงตลอดทศวรรษ 1970 รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ํา
ภาวะเงิน เฟ้อ คนว่ างงานเพิ่ มจํานวนมากขึ้น และภาวการณ์ ขาดแคลนน้ํามัน อย่างรุนแรงในปี ค.ศ. 1973
และปีค.ศ. 1979

ความเหลื่อมล้ําทางสังคมเกิดจากชนกลุ่มน้อยและก่อความวุ่นวายเพื่อเรียกร้องขอการดูแลจากรัฐบาล
และสิทธิที่ควรได้รับการยอมรับจากสังคม ชนกลุ่มน้อยประกอบด้วยอเมริกันผิวดํามีการเรียกร้องเลิกการ
แบ่งแยกเหยียดผิวและร้องขอการมีสิทธิเท่าเทียมกันเช่นอเมริกันผิวขาว อเมริกันอินเดียน (American Indian)
มีการเคลื่อนไหวภายใต้ กลุ่มอเมริกันอินเดียน (The American Indian Movement - AIM) 1 เรียกร้องให้
รัฐบาลอเมริกันยอมรับในสิทธิของอเมริกันอินเดียนและยอมรับความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิ นคือที่ดินของ
อเมริกันอินเดียน

1
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the Republic’,
( D.CHeath and Company, 1994 ), pp. 925.
กลุ่ม อเมริ กัน เม็ กซิ กัน (Mexican Americans or Chicano) 2 เป็น คนจากเม็ กซิ โกเข้ ามา
ในสหรัฐอเมริกาอย่างถูกต้องตามกฎหมายช่วงสงครามโลกครั้ง ที่ 2 เพื่อเป็นแรงงานเพราะสหรัฐอเมริกา
แต่ ห ลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ 2 เม็ ก ซิ กั น อเมริ กั น ส่ ว นใหญ่ ห ลบหนี เ ข้ า สหรั ฐ อเมริ ก าอย่ า งผิ ด กฎหมาย
และอยู่กันอย่า งหนาแน่น ที่เ มืองลอสแอนเจลิส แคลิฟ อร์เนี ย และสัง คมเมืองแถบรัฐทางตะวันตกเฉียงใต้
เม็กซิกันอเมริกันมีปัญหาเรื่องภาษา ความยากจน มีการศึกษาน้อย ต้องทํางานรับจ้างเป็นแรงงานในไร่และ
มักถูกนายจ้างกดค่าแรง ภายใต้การนําของ เซซาร์ ชาเวส (Cesar Chavez) นําการจัดตั้งองค์การคนงานไร่
(United Farm Workers - UFW) เพื่อรวมพลังต่อรองกับนายจ้างเรียกร้องเพิ่มค่าจ้างแรงงานสวัสดิการ
และการยอมรั บ ในบทบาทองค์ ก าร นอกจากนี้ เ ม็ ก ซิ กั น อเมริ กั น ยั ง รวมตั ว จั ด ตั้ ง องค์ ก รทางการเมื อ ง
ชื่อลา ราซา ยูนิดา (La Raza Unida)3 ร่วมมีบทบาททางการเมืองในระดับท้องถิ่นและระดับมลรัฐ

ชาวเปอร์โตริโก (Puerto Ricans) อพยพเข้าตั้งมั่นในนิวยอร์กมีปัญหาเรื่องภาษา ยากจน มีการศึกษา


น้อยและมักว่างงาน ชาวเปอร์โตริโกต้องการให้รัฐบาลอเมริกันช่วยจัดหางานให้เพื่อการมีสภาพความเป็นอยู่
ที่ดีขึ้น ชาวคิวบา (Cuban)4 อพยพจากคิวบามาสหรั ฐอเมริกา ชาวคิ วบากลุ่มที่สองนี้มี ปัญ หาเรื่องภาษา
ความยากจน มี ก ารศึ ก ษาน้ อ ย มี ส ภาพความเป็ น อยู่ ไ ม่ ดี มั ก ตกงานหรื อ ได้ ง านบริ ก ารระดั บ ต่ํ า เช่ น
เป็นพนักงานล้างรถหรือเป็นพนักงานเก็บขยะเป็นต้น

2
Ibid, p.926 - 927.
3
Ibid, p.927.
4
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the Republic’,
( D.CHeath and Company, 1994 ), pp. 927.
กลุ่มสตรีอเมริกันในปีค.ศ. 1966 ภายใต้การนําของเบ็ททีทไฟรเดน (Betty Frieden) ทําการจัดตั้ง
องค์การสตรีแห่งชาติ (The National Organization for Women - NOW) เรียกร้องความเสมอภาคและสตรี
ในการเข้าทํางานโดยไม่ยึดเพศเป็นตัวกําหนด

ผลงานด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน ค.ศ. 1969 – 1974


1. สหรัฐอเมริกากับสงครามเวียดนามช่วงปีค.ศ. 1969 1973
สหรั ฐอเมริก าเข้าร่ วมสงครามเวีย ดนามอย่ างเป็น ทางการในปี ค.ศ. 1965 เริ่ มด้ วยทหารอเมริกั น
ยกพลขึ้นบกครั้งแรกที่เมืองดานังในเวียดนามใต้ การยุติ สงครามเวียดนามได้ต้องปฏิบัติการสามประการ5
ประการแรก การถอนทหารอเมริกันออกจากสงครามเวียดนาม ให้กองกําลัง เวียดนามได้ต่อสู้โดยลําพัง กับ
กองกําลังเวียดกงและเวียดนามเหนือ ประการที่สอง การระดมโจมตีทิ้งระเบิดกัมพูชาและลาวเพื่อตัดเส้นทาง
การลําเลียงเสบียงอาวุธและกําลังพล (เส้นทางโฮจิมิน) ที่เวียดนามเหนือส่งช่วยเวียดกงในเวียดนามใต้ ประการ
ที่ ส าม การระดมโจมตี ทิ้ ง ระเบิ ด เวี ย ดนามเหนื อ ให้ ย อมรั บ ข้ อ ตกลงสั น ติ ภ าพเพื่ อ การแลกเปลี่ ย น
เชลยศึกและสหรัฐอเมริกาจะถอนออกจากการร่วมรบในสงครามเวียดนาม
การถอนทหารอเมริกันออกจากสงครามเวียดนามเริ่มในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1969 ประธานาธิบดีนิกสัน
ประกาศผลักดันภาวะด้านการทหารในสงครามเวียดนามแก่กองกําลังเวียดนามใต้ (Vietnamization) ด้วย
หลักการนิกสันปี ค.ศ.1969 (The Nixon Doctrine 1969) 6 กําหนดสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือแก่
ชาติพันธมิตรเพื่อการพัฒนาและปกป้องคุ้มครองจากการถูกก้า วร้าวคุกคาม โดยชาติพันธมิตรต้องรับผิดชอบ
ด้ า นกองกํ า ลั ง ทหารเพื่ อ การปกป้ อ งชาติ ต น ท่ า ที ค น อเมริ กั น ต่ อ หลั ก ก ารนิ ก สั น ปี ค.ศ. 1969
มี ทั้ ง ให้ ก ารสนั บ สนุ น และการต่ อ ต้ า น การระดมโจมตี ทิ้ ง ระเบิ ด เวี ย ดนามเหนื อ เพื่ อ เพิ่ ม ความเสี ย หาย
แก่ เ วี ย ดนามเหนื อ หยุ ด คลานเสริ ม ช่ ว ยเวี ย ดกงในเวี ย ดนา มใต้ แ ละยอมรั บ ข้ อ ตกลงสั น ติ ภ าพว่ า
ด้ ว ยการแลกเปลี่ ย นเชลยศึ ก และสหรั ฐ อเมริ ก าถอนออกจากการร่ ว มรบในสงครามเวี ย ดนามเริ่ ม ด้ ว ย
สาเหตุ เ พราะต้ น ปี ค .ศ. 1972 เวี ย ดกงและเวี ย ดนามเหนื อ วางแผนบุ ก กระหน่ํ า โจมตี เ วี ย ดนามใต้ 7

5
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II From 1866, p. 978.
6
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the Republic’,
( D.CHeath and Company, 1994 ), pp. 940.
7
Unger, Irwin, These United States : The Questions of Our Past, p.836.
เพื่อโค่นรัฐบาลเวียดใต้นามภายใต้การนําของเหงียน วัน เทียว (Nguyen Van Thieu) ข้อตกลงหยุดยิงปีค.ศ.
1973 เป็นการยุติบทบาทการร่วมสู้รบของกองกําลังอเมริกันนานถึง 8 ปี (ค.ศ.1965 - 1973) ในสงคราม
เวียดนาม สหรัฐอเมริกาสูญเสียเงินในสงครามเวียดนาม $150 พันล้าน ทหารเวียดนามใต้เสียชีวิตในสงคราม
เวียดนามประมาณ 254,300 คน

2. สหรัฐอเมริกาสร้างความสัมพันธ์อันดีกับจีน
ในเดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ. 1972 ในวั น ที่ 1 ตุ ล าคม ค.ศ.1949 เหมาเซตุ ง (Mao Tse Tung)
และกองกํ า ลั งจี น คอมมิ ว นิ สต์ยึ ด แผ่ นดิ น ใหญ่จี น ได้ และประกาศจั ด ตั้ ง ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจี น
(The People's Republic of China) มีกรุง ปักกิ่ง เป็น เมืองหลวง (Peking or Beijing) สหรัฐอเมริกา
ให้ ก ารยอมรั บ ในเอกราชของประเทศสาธารณรั ฐ ประชาชนจี น และเรี ย กสาธารณรั ฐประชาชนจี น ว่ า
จีนคอมมิวนิสต์หรือจีนแดง (Communist China or Red China) และยับยั้งทุกครั้งเมื่อสาธารณรัฐประชาชน
จีน เสนอตั ว เข้ า เป็น สมาชิ ก องค์ก ารสหประชาชาติ ปั จ จัย เอื้ ออํ า นวยนํ า ไปสู่ ก ารเสริ มสร้ า งความสั ม พั น ธ์
ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนคอมมิวนิสต์ดังนี้
ประการแรก จี น คอมมิ ว นิ ส ต์ แ ละรุ ส เซี ย มี ข้ อ ขั ด แย้ ง กั น ในเรื่ อ งของอุ ด มการณ์ ท างการเมื อ ง
จี น คอมมิ ว นิ ส ต์ ดํ า เนิ น นโยบายก าร อยู่ ร่ ว มกั นอ ย่ า งสั น ติ ส ง บสุ ข ขอ งชาติ ต่ า ง ลั ท ธิ ก ารเมื อ ง
(Peaceful Coexistence) ของนิ กิ ต้ า ครุ ส ซอฟ (Nikita Khrushchev) อั น หมายถึ ง รุ ส เซี ย ปฏิ เ สธ
การทําสงครามกับโลกตะวันตกในโลกเสรี
2. ประธานาธิบดีนิกสันแสดงท่าทีต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย
ด้านการท่อ งเที่ยวและการค้ า เริ่ม ด้ว ยในปี ค.ศ.1969 สหรั ฐอเมริ กายกเลิก การจํา กัด จํานวนคนอเมริกั น
เดินทางเยือนจีน และทั้งกระตุ้นให้มีการเปิดทําการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนคอมมิวนิสต์
3. ปร ะ ธ าน าธิ บดี นิ ก สั น ไ ด้ ผู้ ช่ ว ยที่ มี ค ว าม รู้ คว ามสามาร ถคื อ เ ฮ น รี่ เอ .คิ ส ซิ ง เก อ ร์
(Heinz Alfred Kissinger) ในงานเสริ ม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ กั บ จี น คอมมิ ว นิ ส ต์ เฮนรี่ เอ.คิ ส ซิ ง เกอร์
ช่ ว งปี ค.ศ.1963 - 1973 ในฐานะผู้ ช่ ว ยพิ เ ศษด้ า นความมั่ น คงของชาติ ชื่ น ชอบการปฏิ บั ติ ง าน
ด้านการต่างประเทศแบบลับ (secret black channel) 8

4. ประธานาธิบดีนิกสันต้องการให้การเสริมสร้างความสัมพันธ์กับจีนคอมมิวนิสต์มีผลสองประการคือ
ประการแรก การผลัก ดั น ให้ เ วี ยดนามเหนือ ยอมเจรจาสั น ติภ าพกั บ สหรั ฐ อเมริ ก าอั น จะเป็ นหนทางนํ า สู่
การยุ ติ ส งครามเวี ย ดนามได้ เ ร็ ว ขึ้ น และประการที่ ส อง ความต้ อ งการให้ ทั้ ง จี น คอมมิ ว นิ ส ต์ แ ละรุ ส เซี ย
เกิดความหวาดระแวงกันเองในความสัมพันธ์ที่ทั้งสองชาติมีต่อสหรัฐอเมริกาในอนาคต 9
5. การใช้กีฬาปิงปองเป็นสื่อนําสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนคอมมิวนิสต์
ในเดื อ นเมษายน ค.ศ.1971 ประธานาธิ บ ดี นิ ก สั นอนุ ญ าตนั ก กี ฬ าปิ ง ปองอเมริ กั น ภายหลั ง การเสร็ จ สิ้ น
การ แข่ ง ขั น ปิ ง ปอง ที่ ญี่ ปุ่ น เยื อ น จี น เรี ย ก การ เยื อ น จี น ขอ งนั ก กี ฬาปิ ง ปอ ง อเมริ กั น ครั้ ง นี้ ว่ า
การทูตปิงปองปีค.ศ. 1971 (The Ping Pong Diplomacy 1971)10

8
Unger, Irwin, These United States : The Questions of Our Past, p.833.
9
Boyer, Paul S., Clark, Clifford E., Kett, Joseph F, Salisbury, Neal., Sitkoff, Harvard and Woloch,
Nancy, The Enduring Vision : A History of the American People, p. 882.
10
Unger, Irwin, These United States : The Questions of Our Past, p.834.
6. สหรั ฐ อเมริ ก าให้ ก ารยอมรั บ สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น เข้ า เป็ น สมาชิ ก องค์ ก ารสหประชาชาติ
ปีค.ศ. 1971 11
7. ประธานาธิ บ ดี นิ ก สั น และภรรยาเยื อ นจี น ในช่ ว งวั น ที่ 21 - 28 กุ ม ภาพั น ธ์ ค.ศ. 1972 12
ด้วยเครื่องบินประจําตําแหน่ งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (Air Force One) นําประธานาธิบดีนิกสันและ
คณะสู่กรุงปักกิ่ง 7 วันที่จีนแผ่นดินใหญ่ประธานาธิบดีนิกสันได้สัมผัสมือและพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีจูเอนไล
(Chou En Lai) และประธานพรรคคอมมิวนิสต์คือ เหมาเซตุงได้ร่วมงานเลี้ยงรับรองอันทรงเกียรติที่ทางรัฐบาล
จีนจัดขึ้นได้มีการเยี่ยมชมกําแพงเมืองจี นและได้สัมผัสชีวิตคนจีนในชนบท โทรทัศน์ถ่ายทอดภาพภารกิจของ
ประธานาธิบดี ภารกิจของประธานาธิบดีนิกสันสู่สายตาคนอเมริกันในสหรัฐอเมริกาอย่างละเอียด

2. ประธานาธิบดีนิกสันเดินทางเยือนรุสเซียในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1972


การเยื อ นรุ ส เซี ย ของประธานาธิ บ ดี นิ ก สั น ในช่ ว งวั น ที่ 22 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1972
นําสู่การลงนามร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียในสนธิสัญ ญาจํากัดอาวุธยุทธศาสตร์ปี ค.ศ. 1972
(The Strategic Arms Limitation Treaty of 1972 or SALT I) และพัฒนาความสัมพันธ์ด้านการค้า
ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์และรักษาสภาพแวดล้อม เหตุที่มาของประธานาธิบดีนิกสันเยือน
รุ ส เซี ย สื บ เนื่ อ งจากรุ ส เซี ย ช่ ว งปี ค.ศ. 1964 - 1982 อยู่ ภ ายใต้ ก ารนํ า ของลี โ อนิ ค ไอ.เบรจเนฟ
(Leonid I.Brezhnew ) ภายใต้การนําของเบรจเนฟ เห็นความจําเป็นต้องดําเนินนโยบายสร้างความสัมพันธ์อัน
ดีกับกลุ่มประเทศโลกเสรีและผ่อนคลายความตึง เครียดทางการเมืองระหว่างโลกตะวันออก (คอมมิวนิสต์ )
กับ โลกตะวัน ตก (ประชาธิ ปไตย) ภายใต้ ชื่อ เดทานเต เบรจเนฟมุ่ ง หวั ง ใช้น โยบายเดทานเต เพื่ อรั สเซี ย
จะ ไ ด้ ค ว า ม ช่ ว ย เ ห ลื อ จ า ก โ ล ก ต ะ วั น ต ก ด้ า น ผ ลิ ต ผ ล เ ก ษ ต ร ก ร ร ม แ ล ะ วิ ช า ก า ร เ ท ค โ น โ ล ยี
เพื่อการนําทรัพยากรธรรมชาติจากไซบีเรียมาใช้ประโยชน์ จุดเริ่มต้นของรุสเซียในการสนองนโยบายเดทานเต
มีการส่งตัวแทน 612 ชาติทั้งที่มีนิวเคลียร์ในครอบครองและไม่มีนิวเคลียร์ในครอบครองรวมทั้งสหรัฐอเมริกา
อั ง ก ฤ ษ แ ล ะ รุ ส เ ซี ย ไ ด้ ร่ ว ม ล ง น า ม ใ น ส น ธิ สั ญ ญ า ไ ม่ เ ผ ย แ พ ร่ นิ ว เ ค ลี ย ร์ ปี ค . ศ . 1 9 6 8

11
Loc, cit.
12
Wilson, R. Jackson., Gilbert, James., Nissenbaum, Stephen., Scott, Donald. Earle, Carville.,
Hoffman, Ronald, The Pursuit of Liberty : A History of the American People, ( Alfred A. Knopf, Inc.,
1984 ), pp. 945-946.
(The Nuclear Nonproliferation Treaty of 1968) 13 กําหนดชาติที่มี นิวเคลียร์ใ นครอบครองจะ
ไม่ เ ผยแพร่ ห รื อ ขนย้ า ยนิว เคลี ย ร์ใ ห้ แ ก่ ชาติ ที่ ยั ง ไม่ มี นิ ว เคลี ย ร์ ใ นครอบครอง และชาติ ที่ยั ง ไม่ มี นิว เคลี ย ร์
ครอบครองจะหยุดการคิดค้นนิวเคลียร์

ผลงานด้านการบริหารกิจการภายในประเทศของประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม.นิกสัน ค.ศ. 1969 – 1974


1. การแก้ไข้ปัญหาเศรษฐกิจ
ในสมัยประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องใช้จ่ายเงินจํานวนมากในสงคราม
เวียดนามและในแผนสังคมที่ยิ่งใหญ่ (The Great Society Program 1965 - 1969) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ชนะสงครามเวียดนามและภายในประเทศจีนอยู่ดีมีสุข (guns and butter)
การแก้ ไ ขปั ญ หาภาวะเงิ น เฟ้ อ และฟื้ น ฟู เ ศรษฐกิ จ ระลอกสองเริ่ ม ในเดื อ นสิ ง หาคม ค.ศ. 1971
กําหนดใช้อํานาจประธานาธิบดีควบคุมค่าจ้างแรงงานโดยการดําเนินงานของสภาพิจารณาจ่ายค่าแรงงาน
(The Pay Board) และควบคุมราคาสิ นค้ าถึง ควบคุ มอั ตราค่า เช่ าที่ อยู่ อาศั ยด้ วยการดํา เนิ นงานของ
คณะกรรมการควบคุมราคา (The Price Commission) นาน 90 วัน เป็นผลสามารถควบคุมต้นทุนการผลิต
และควบคุมราคาสินค้าได้ชั่วระยะเวลาสั้น ประธานาธิบดีนิกสันกําหนดให้ตลาดโลกเป็นตัวกําหนดค่าเงิน
ดอลลาร์ เดิมใช้มาตรฐานทองคําเป็นตั วกําหนดค่าเงินดอลลาร์ (Gold Standard) การลดค่าเงินดอลลาร์
(devalue the dollar) ช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าอเมริกันสู่ตลาดโลกได้มากขึ้นแต่สหรัฐอเมริกาต้องสั่งซื้อ
วัตถุดิบต่างประเทศเพื่อการอุตสาหกรรมราคาแพงขึ้น มีผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น 5%
สหรัฐอเมริกาแก้ไขภาวะวิกฤตพลัง งานปี ค.ศ 1973 ดร.เฮนรี่ เอ.คิสซิง เกอร์ ดําเนินการเจรจาให้
กลุ่ ม โอเปกขายน้ํ ามั น แก่ สหรั ฐ อเมริก าเป็ น ผลให้ ก ารขายน้ํ า มั น เริ่ ม ขึ้ นในวั น ที่ 8 มี น าคม ค.ศ. 1974 14
รวมช่ ว ยงดขายน้ํ า มั น ประมาณ 4 เดื อ นครึ่ ง รั ฐ บาลพยายามรณรงค์ ใ ห้ ใ ช้ น้ํ า มั น อย่ า งประหยั ด 15
เพื่อลดปริมาณการใช้น้ํามันพ่นอเมริกาเลิกใช้รถยนต์ขนาดใหญ่เพราะสิ้นเปลืองน้ํามันมากโดยเป็นครั้ง แรก

13
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History, p.
938.
14
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II From 1866, p. 983.
15
Loc, cit.
ในปีค.ศ. 1973 ที่คนอเมริกันหันมานิยมใช้รถยนต์ขนาดเล็กและอัตราการขายรถยนต์ขนาดใหญ่ลดลง 20% 16
เป็นผลให้ปลายปี ค.ศ. 1974 สามบริษัทผู้ผลิตรถยนต์คือ ฟอร์ด (Ford) ไครซเลอร์ (Chrysler) และเจเนรัล
มอเตอร์ส (General Motors) ในปี ค.ศ. 1974 รัฐสภาจัดตั้ง สํานักงานพลังงาน (The Federal Energy
Administration - FEA) เพื่อ ศึกษาค้ นคว้าหาพลัง งานใหม่ใช้ทดแทนน้ํา มันได้แ ก่พลัง งานแสงอาทิต ย์
(solar power) และพลังงานลม เป็นต้น
2. การแก้ไขปัญหาสังคม
นโยบายบริหารจัดการแก้ไขปัญหาภายในประเทศภายใต้การดําเนินการของประธานาธิบดีนิกสันรู้ จัก
กันในนามเฟดเดอรัลลิซึมใหม่ (New Federalism)17 เป็นนโยบายมุ่งแก้ไขปัญ หาสังคมมุ่งให้เกิดประโยชน์
และสนองความต้องการแก่คนอเมริกัน
1. การปรั บ ปรุ ง ระบบสวั สดิ ก าร (welfare system) มุ่ ง ให้ ง านสวัส ดิ การเกิ ด ประโยชน์สู ง สุ ด
แก่คนอเมริกันทั้งชนชั้นกลางและคนจนนํามาสู่การกําหนดแผนให้ความช่วยเหลือครอบครัวปี ค.ศ. 1969
(The Family Assistance Plan - FAP) 18 กําหนดรัฐบาลกลางให้เงินช่วยเหลือปีละ $1,600 แก่ครอบครัว
อเมริกันที่ยากจนเพื่อการยังชีพอยู่ได้ในสังคมอเมริกัน รัฐสภาให้การเห็นชอบในปี ค.ศ. 1970
2. การลดบทบาทแผนปฏิรูปสังคมของประธานาธิบดีช่วงทศวรรษ 1960 19 ประธานาธิ บดีนิกสัน
มองว่าแผนชายแดนใหม่ (The New Frontier) และแผนสัง คมยิ่งใหญ่ (The Great Society Program)
มีหน่วยงานซับซ้อน สิ้นเปลืองเงินในการดําเนินการและผลการดําเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมายเท่าที่ควร
นําสู่การยุบหน่วยงานและเลือกโครงการ เช่น โครงการช่วยเหลือด้านการศึกษา และยุ บสํานักงานเปิดโอกาส
ทางเศรษฐกิจ (The Office of Economic Opportunity - OEO) ในปีค.ศ. 1973
3. การเสนอแผนแบ่งปันเงินภาษีเงินได้ (The Revenue Sharing Program) 20 ของรัฐบาลกลาง
แก่รัฐบาลมลรัฐ เพื่อเป็นการนําเงินพัฒนาและแก้ไขสังคมและเศรษฐกิจภายในพื้นที่ได้ทันท่วงที
4. การเปลี่ ย นวิ ธี ก ารคั ด เลื อ กทหารในเดื อ นมกราคม ค.ศ. 1973 ยกเลิ ก การเกณฑ์ ท หารด้ ว ย
ระบบจับฉลากโดยทหารที่ประจําการในกองกําลังอเมริกันเป็นทหารอาสาสมัครเท่านั้น (Volunteer Force)
5. การกําหนดคนอเมริกันอายุ 18 ปีมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง การเคลื่อนไหวของกระบวนการเรียกร้อง
สิทธิเป้าหมายหนึ่งคือ ควรให้เยาวชนอเมริกันอายุ 18 ปีมีสิทธิ์ทางการเมือง เป็นผลให้รัฐสภาในปี ค.ศ.1970

16
Ibid, p. 984.
17
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History, p.
942.
18
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History, p.
942.
19
Loc, cit.
20
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A Hitory of the
Republic’, ( D.CHeath and Company, 1994 ), pp. 965.
เห็ น ชอบกํ า หนดให้ ค นอเมริ กั น อายุ ต่ํ า สุ ด 18 ปี มี สิ ท ธิ์ ล งคะแนนออกเสี ย งเลื อ กตั้ ง และในปี ค .ศ.1971
กําหนดร่างกฎเกณฑ์ดังกล่าวไว้เป็นการถาวรในบทแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตราที่ 26 21
6. การแก้ไขปัญหาแบ่งแยกเหยียดผิวในปี 1960 รัฐสภาผ่านกฎหมายสิทธิพลเมืองปี ค.ศ. 1960
(The Civil Rights Act of 1960) กําหนดห้ามการแบ่งแยกเหยียดผิวในโรงเรียนรัฐบาลและห้ามขัดขวางสิทธิ
พลเมืองอเมริกันทางการเมือง แต่ปรากฏว่ายังมีโรงเรียนระดับมัธยมของรัฐบาลรัฐทางใต้การแบ่งแยกเหยียดผิว
เป็นผลให้ในปีค.ศ. 1969 ศาลฎีกามีคําสั่งให้โรงเรียนรัฐบาลทุกแห่งหยุดการแบ่งแยกเหยียดผิวอย่างทันที
7. สหรัฐอเมริกาประสบความสําเร็จในโครงการอวกาศในปี ค.ศ. 1969 (The U.S. Space Program
1969) เพื่อเป็นการกระตุ้นสนับสนุนในโครงการอวกาศเพื่อการแข่งขันสํารวจดวงจันทร์ (race to thr moon)
ระหว่างสหรัฐอเมริกาและรุสเซีย ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ.เคนเนดี้ (ค.ศ. 1961 - 1963) นําการจัดสรรร่วม
ประมาณกว่า $25 พันล้านเพื่อดําเนินการ 22 ผลคือสหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกที่ขึ้นสํารวจพื้นผิวดวงจันทร์ใน
วั น ที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 ด้ ว ยยานอวกาศอะพอลโล 11 (Apollo 11) 23 นํ า นั ก บิ น อวกาศ
เนล เอ.อาร์มสตรอง (Neil A .Armstrong) และเอ็ดวิน อี.เอลเตรียน (Edwin E.Aldrin) ล่องลงบนผิว
ดวงจันทร์ (Moon Landing) ในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 เนล เอ.อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์คนแรกที่
เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์และติดตามด้วย เอ็ดวิน อี.เอลเตรียน เป็นการเปิ ดยุคใหม่แห่งการสํารวจและค้นพบ
(The New Era of Exploration and Discovery)

2. สหรัฐอเมริกาสมัยเจอรัล อาร์.ฟอร์ด ค.ศ. 1974 – 1977

เจอรั ล อาร์ . ฟอร์ ด (Gerald Rudolph Ford) ประธานาธิ บ ดี ส หรั ฐ อเมริ ก าลํ า ดั บ ที่ 38
ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1974 ต้องเข้าพิธีสาบานตนรับตําแหน่งประธานาธิบดีหลังจากประธานาธิบดีนิกสัน
ประกาศลาออกจากการเป็ น ประธานาธิ บ ดี เ นื่ อ งมาจากมี ส่ ว นพั ว พั น ในคดี ว อเตอร์ เ กตปี ค.ศ. 1972
เจอรัล อาร์.ฟอร์ด เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียวที่ไม่เคยผ่านการรับเลือกตั้ง ครั้งในตําแหน่ง

21
Ibid, p. Appendices XXIII.
22
Boyer, Paul S., Clark, Clifford E., Kett, Joseph F, Salisbury, Neal., Sitkoff, Harvard and Woloch,
Nancy, The Enduring Vision : A History of the American People, p. 844.
23
Norton, Mary Beth., Katzman. David., Escout. Paul D.. Chudacoff, Howard P., Paterson, Thomas G
and Tuttle, William M, A People and A Nation : A History of the United States, p. 962.
ประธานาธิ บ ดี ห รื อ รองประธานาธิ บ ดี และทั้ ง เป็ น เพี ย งคนเดี ย วที่ รั บ ตํ า แหน่ ง ประธานาธิ บ ดี แ ละรอง
ประธานาธิบดีโดยไม่ได้ชนะการเลือกตั้ง

ผลงานด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีเจอรัล อาร์.ฟอร์ด ค.ศ. 1974 – 1977

1. การคงคณะรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดีนิกสันร่วมบริหารสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดีฟอร์ด
2. ประธานาธิบดีฟอร์ดประกาศอภัยโทษแก่ประธานาธิบดีนิกสัน (The Nixon Pardon 1974)
มี ส่ ว นร่ ว มพั ว พั น ในคดี ว อเตอร์ เ กตปี ค .ศ. 1972 ในวั น ที่ 8 กั น ยายน ค.ศ. 1974 24 รวมทั้ ง อนุ ญ าตให้
อดีตประธานาธิบดีนิกสันเก็บรักษาม้วนเทปและเอกสารที่มีส่วนเกี่ยวพันในคดีวอเตอร์เกตปี ค.ศ. 1972

3. การเผชิญ ปัญหาและแก้ ไขปั ญหาเศรษฐกิ จ ภาวะเงิน เฟ้อ คือราคาสินค้ าผู้สู ง ขึ้น เพราะต้นทุ น
การผลิตสูงและความต้องการในการบริโภคสินค้ามีมากกว่าจํานวนปริมาณสินค้าที่มีอยู่ สาเหตุแห่งปัญหาเงิน
เฟ้อทศวรรษ 1970 เกิดจากมูลเหตุสามประการ ประการที่หนึ่ง คือ สหรัฐอเมริกาสูญเสียเงินจํานวนมหาศาล
ในสงครามเวียดนาม ประการที่สองคือ วิกฤตน้ํามันปีค.ศ.1973 (Energy Crisis 1973) เกิดจากการลดปริมาณ
การผลิตน้ํามันของกลุ่มโอเปค การเพิ่มราคาน้ํามันตลอดเวลาในตลาดโลก และมูลเหตุประการ ที่สามคือ คือ
โลกขาดแคลนอาหาร (worldwide shortage of food)25 ภาวะขาดแคลนเสบี ย งอาหารเกิด จาก
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจํานวนประชากรโลกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตเกษตรกรรมได้จํานวนน้อยมากใน
กลางทศวรรษ 1970 การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภายใต้การดําเนินงานของประธานาธิบดีฟอร์ดมีผลสําเร็จน้อย
มากการดําเนินการมุ่งหวังเพื่อการแก้ไขภาวะเงินเฟ้อเป็นอันดับแรก ติดตามด้วยฟื้นฟู ธุรกิจที่ถดถอยซบเซา
ลดอัต ราคนว่า งงาน และแก้ไขปัญหาวิกฤตพลั ง งาน ผลงานที่ป รากฏคือ หนึ่ง ประธานาธิ บดีฟ อร์ด เสนอ
แผนลดภาวะเงินเฟ้อภายใต้ชื่อแผ่นดิน (WIN Program 26 - Whip Inflation Now – เอาชนะภาวะเงินเฟ้อ
เดี๋ย วนี้ ) เป็ นแผนความร่ว มมื อระหว่า งผู้ ประกอบการธุ รกิ จ ลูก จ้า งแรงงานและคนอเมริ กัน ผู้บ ริโ ภคเพื่ อ
การใช้พลังงานน้ํามันอย่างประหยัด เพื่อเป็นการหยุดยั้งการขึ้นราคาสินค้าและขึ้นค่าจ้างแรงงาน

24
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II From 1866, p. 988.
25
Ibid, p. 986 – 987.
26
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 999.
ผลงานด้านการบริหารกิจการภายในประเทศของประธานาธิบดีเจอรัล อาร์.ฟอร์ด ค.ศ. 1974 –
1977
ประธานาธิ บ ดี ฟ อร์ ด สื บ ทอดการดํ า เนิ น นโยบายต่ า งประเทศของประธานาธิ บ ดี นิ ก สั น คื อ
การลดความตึ ง เครี ย ดทางการเมื อ งระหว่ า งสหรั ฐ อเมริ ก ากั บ รุ ส เซี ย การเสริ ม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ อั น ดี
(rapprochement) กับจีนแผ่นดินใหญ่และโครงการสร้างความมั่นคง (Stability) ของสหรัฐอเมริกาในดินแดน
ตะวันออกกลาง27 งานด้านการต่างประเทศอยู่ภายใต้การดําเนินของดร.เฮนรี่ เอ.คิสซิงเกอร์ ซึ่งเป็นรัฐมนตรี
กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
1. สหรั ฐ อเมริ ก ารั บ ผู้ อ พยพเวี ย ดนามใต้ ปี ค .ศ. 1975 ประธานาธิ บ ดี ฟ อร์ ด ร้ อ งขอให้ รั ฐ สภา
อนุ มั ติ เ งิ น $700 ล้ า นช่ ว ยเหลื อ ด้ า นการทหารและอาวุ ธ แก่ เ วี ย ดนามใต้ 28 รั ฐ สภาปฏิ เ สธการร้ อ งขอ
ของประธานาธิบดีฟอร์ดด้วยเหตุผลว่าเงิน $700 ล้านไม่อาจช่วยเหลือเวียดนามใต้ต้านการรุกรานของกอง
กําลังคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือตักได้ และจากการวิเคราะห์การสู้รบคอมมิ วนิสต์เวียดนามเหนือต้องชนะใน
อนาคตอันใกล้ สิ่งที่ประธานาธิบดีฟอร์ดทําได้คือเร่ง สั่งการรับผู้อพยพชาวเวียดนามใต้กลุ่มเด็กกําพร้าและ
ผู้ ต้ อ งการอพยพลี้ ภั ย (refugee) จํ า นวน 150,000 คน 29 จากเวี ย ดนามใต้ เ ข้ า พํ า นั ก ในสหรั ฐ อเมริ ก า
สงครามเวียดนามยุติในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1975 โดยเวียดนามใต้พ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ
2. สหรัฐอเมริกาและรุสเซียคงยึดมั่นในนโยบายผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างกัน
ในข้อตกลงวลาดิวอสต๊อกปี ค.ศ. 1974 และข้อตกลงเฮลซินกิปี ค.ศ. 1975
การเกิ ด ข้ อ ตกลงวลาดิ ว อสต๊ อ กปี ค.ศ.1974 (The Vladivostok Accord of 1974)30
สืบเนื่องมาจากสนธิสัญญาจํากัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 1 (The Strategic Arms Limitation Treaty I –
SALT I 1972) กําหนดเปิดเผยและจํากัดจํานวนการถือครองอาวุธร้ายแรงระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซีย
กําหนดเวลาห้าปี ผู้นําทั้งสองร่วมกันทําข้อตกลงกําหนดประเภทอาวุธร้ายแรงและจํานวนการถือครองอาวุธ
ร้ า ย แ ร ง ร ะ ห ว่ า ง กั น แ ล ะ ทั้ ง ร่ ว ม ล ง น า ม ใ น ข้ อ ต ก ล ง ว ล า ดิ ว อ ส ต๊ อ ก ปี ค . ศ . 1 9 7 4
(The Vladivostok Accord of 1974) และกํ า หนดจะใช้ ข้อ ตกลงวลาดิ วอสต๊ อกปี ค.ศ. 1974 นี้
เป็นพื้นที่ในการร่างสนธิสัญญาจํากัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ในอนาคต

27
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History,
p.956.
28
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II From 1866, p. 991.
29
Loc, cit.
30
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History,
p.956.
การเกิดข้อตกลงเฮลซินกิปี ค.ศ.1975 (The Helsinki Accord off 1975)31 เป็นผลของการประชุม
เพื่อความมั่นคงและความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศในยุโรป (The Conference on Security and
Cooperation in Europe) การกําหนดหนึ่งและกลุ่มชาติยุโรปตกลงให้การยอมรับในเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง
ประเทศของทุกประเทศที่มีการกําหนดไว้ นับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 (มันเป็นการยอมรับในพื้นที่และเขต
อํานาจของรุสเซียในยุโรปตะวันออก) สองรุสเซียให้การยอมรับในเสรีภาพด้านข่าวสารข้อมูลและเสรีภาพใน
การอพยพโยกย้ายของพลเมืองระหว่างโลกเสรี (ตะวันตก) และโลกคอมมิวนิสต์ (ตะวันตก) รวมถึงจะให้การ
ปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights)
ผลจากการที่ประธานาธิบดีฟอร์ดร่วมลงนามในข้อตกลงที่เฮลซินกิปี ค.ศ. 1975 นําสู่การเพิ่มการค้า
ขายระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซีย โดยรุสเซียเพิ่มการซื้อข้าวสาลีและขอเพิ่มความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี
จากสหรัฐอเมริกาและสหรัฐอเมริกาเพิ่มการซื้อน้ํามันจากรุสเซีย
3. ประธานาธิบ ดี ฟอร์ด เยือนมิต รประเทศเพื่อการกระชั บความสัมพันธ์ โดยในเดือนพฤศจิกายน
ค.ศ.1974 ได้มีการเดินทางเยือนเอเชีย ประธานาธิบดีขอเป็นประธานาธิบดีอเมริกาเป็นคนแรกที่เดินทางเยือน
ญี่ ปุ่ น หลั ง จากนั้ น ได้ มี ก ารเดิ น ทางเยื อ นเกาหลี แ ละรุ ส เซี ย พบลี โ อนิ ค ไอ.เบรสเนฟที่ ว ลาดิ ว อสต๊ อ ก
นําสู่การร่วมลงนามในข้อตกลงวลาดิวอสต๊อกปี ค.ศ. 1974 และในปี ค.ศ. 1975 ประธานาธิบดีฟอร์ดเยือนจีน
แผ่นดินใหญ่อันเป็นการยืนยันและเพิ่มความกระชับความสัมพันธ์กับจีน

4. จีน แผ่ นดิ นใหญ่ ต้อ งการเพิ่ มกระชับ ความสัม พันธ์ กับ สหรัฐ อเมริ กา หั ว กกฟง เป็น คนหัว ใหม่
(Moderat) ไม่นิยมความรุนแรง มุ่งพัฒนาตีและเพิ่มกระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาเพื่อความก้าวหน้า
ยิ่ ง ขึ้ น ของจี น 32 ในปี ค.ศ. 1977 เติ ง เสี่ ย วผิ ง (Deng Xiaoping) หนึ่ ง ในกลุ่ ม คนหั ว ใหม่ ก้ า วขึ้ น เป็ น
รองนายกรัฐมนตรีและรองหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ และในปี ค.ศ. 1980 เติง เสี่ยวผิงเป็น ผู้นําที่มีอํานาจมาก
ที่ สุ ด ใน จี น เพร าะ หั ว กก ฟ ง เสื่ อ มอํ า น าจและลาออ ก จาก ก าร เป็ น ผู้ นํ า จี น ทั้ ง สอง ตํ า แหน่ ง
เติง เสี่ยวผิง พู ด นี้นําการเปิ ดความสัมพั นธ์ทางการทูตอย่ างเป็ นทางการกั บสหรั ฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1979
ในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์

31
Loc, cit.
32
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History,
p.957.
3. สหรัฐอเมริกาสมัยเจมส์ อี.คาร์เตอร์ ค.ศ. 1977 - 1981
เจมส์ อี.คาร์เตอร์ (James Earl Carter) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาลําดับที่ 39 จิมมี่ คาร์เตอร์เป็น
ประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกที่จบจากโรงเรียนนายเรือ (U.S. Naval Academy) เป็นคนจากกลุ่มรัฐทางใต้สุด
(deep south หนึ่ ง ในกลุ่ ม ทางใต้ สุ ด คื อ จอร์ เ จี ย ) คนแรกที่ ไ ด้ รั บ เลื อ กเป็ น ประธานาธิ บ ดี นั บ แต่ เ กิ ด
สงครามกลางเมื อ งและเป็ น ประธานาธิ บ ดี ค นแรกที่ ห ลั ง สิ้ น พิ ธี ส าบานตนเข้ า รั บ ตํ า แหน่ ง ประธานาธิ บ ดี
(Inauguration Day) เลื อ กเดิ น บนถนนเพนซิ ล วาเนี ย พร้ อ มภรรยาจากอาคารพิ ธี (The capital)
ก ลั บ ทํ า เ นี ย บ ข า ว เ พื่ อแ ส ด ง ภ า พ ลั ก ษ ณ์ ใ ห ม่ ข อ ง ค ว า ม เ ป็ น ส า มั ญ ช น ข อ ง ป ร ะ ธ า น า ธิ บ ดี33
สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญปัญหาทั้งปัญหาภายในและปัญหาภายนอกประเทศ ปัญหาภายในคือ ปัญหาเศรษฐกิจ
ที่บอบช้ํามากจากภาวะเงินเฟ้อธุรกิจถดถอยซบเซา และคนว่างงานจํานวนมาก ปัญหาภายนอกประเทศคือ
เริ่มด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับรุสเซียเลวร้ายถึงจุดต่ําสุดและรุสเซียรุกรานอัฟกานิสถาน

ผลงานการบริหารกิจการภายในประเทศของประธานาธิบดีเจมส์ อี.คาร์เตอร์ ค.ศ. 1977 – 1981


1. การประกาศให้ อ ภั ย แก่ ช ายฉกรรจ์ อ เมริ กั น ที่ ห ลบหนี ก ารเกณฑ์ ท หารในสงครามเวี ย ดนาม
ในปีค.ศ. 197734 สาเหตุแห่งการประกาศสืบเนื่องมาจากการที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์รู้ดีว่ามีชายฉกรรจ์
อเมริกันจํานวนมากหลบหนีการเกณฑ์ทหารในครั้งสงครามเวียดนามอันเป็นความผิดทางอาญาต้องโทษจําคุก
2. การปรั บ ปรุ ง และจั ด ตั้ ง หน่ ว ยงานใหม่ เ มื่ อ ปร ะธาน าธิ บ ดี ค าร์ เ ตอร์ แ ละคร อบครั ว
เข้าพํานักในทําเนียบขาว ด้วยยึดหลักใช้จ่ายอย่างประหยัดนําสู่การเปลี่ยนแปลงครั้ง ใหญ่ในทําเนียบขาว 35
คือ การลดค่าใช้จ่ายและลดจํานวนเจ้าหน้าที่ในทําเนียบขาว การลดจํานวนรถประจําตําแหน่งประธานาธิบดี
การลดจํานวนโทรทัศน์และลดการจัดงานเลี้ยงในทําเนียบขาว และมีการส่ง บุตรสาวเข้าศึก ษาในโรงเรียน
รัฐบาลที่วอชิงตัน (Washington public school ) ทั้งตอบคําถามประชาชนทางโทรศัพท์ผ่านโทรทัศน์และ
สวมกางเกงยีนส์ทํางานในห้องทํางานประธานาธิบดี (The Oval Office)

33
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History,
p.976.
34
Loc, cit.
35
Unger, Irwin, These United States : The Questions of Our Past, p.859.
3. การเผชิญและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สภาพเศรษฐกิจช่วงทศวรรษ 1970 คือธุรกิจถดถอย ภาวะเงิน
เฟ้อ อัตราการว่างงานสูง และวิ กฤตน้ํามัน เรื่ องเศรษฐกิจในสมัยประธานาธิบดีฟอร์ด ภาวะเงินเฟ้อคื อ
ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นเพราะต้นทุนการผลิตสูงและความต้องการในการบริโภคสินค้ามีมากกว่าจํานวนปริมาณ
สินค้าที่มีอยู่อันมีผลทําให้ปลายสมัยประธานาธิบดี ภาวะเงินเฟ้อมีอัตราสูงขึ้น 5% เมื่อกลุ่มโอเปคใช้น้ํามันเป็น
เครื่องมือต่อรองทางการเมืองเพื่อยับยั้งและลงโทษสหรัฐอเมริกาและสมาชิกโลกเสรีที่ให้การสนับสนุนอิสราเอล
ในสงครามอาหรับ - อิสราเอลครั้งที่ 4 โดยประกาศลดปริมาณการผลิตน้ํามั น ขึ้นราคาน้ํามัน และงดการขาย
น้ํามันแก่สหรัฐอเมริกา ส่งผลทําให้คนอเมริกันต้องเผชิญภาวะตื่นตระหนกเรื่องน้ํามัน (The Oil Shocks)
ประธานาธิ บ ดี ค าร์ เ ตอร์ แ ก้ ไ ขปั ญ หาเศรษฐกิ จ ในเรื่ อ งธุ ร กิ จ ถดถอยซบเซา ภาวะเงิ น เฟ้ อ และ
การว่ า งงานด้ ว ยการ หนึ่ ง สนั บ สนุ น ลดการเก็ บ ภาษี ร ายได้ ค นอเมริ กั น ทํ า ให้ ค นอเมริ กั น มี เ งิ น เหลื อ
มีกําลัง การซื้อสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคยอดการจําหน่ายสินค้าราคาสูง ขึ้น ธุรกิจดีขึ้น การสั่ง ปลดคนงาน
ลดลง สองเพิ่ ม การใช้ จ่า ยของรั ฐ บาลกลางด้ วยการกํ า หนดแผนสร้ า งงาน (public works program)
ลักษณะของงานมีทั้ง ก่อสร้ าง อนุรั กษ์ทรั พยากรธรรมชาติและงานสร้ างสรรค์ศิ ลปะ คนอเมริก ามีง านทํ า
มีรายได้ มีกําลังในการซื้อและบริโภคสินค้าช่วยให้ธุรกิจฟื้นตัว ผลคือสภาพเศรษฐกิจดีขึ้นในปี ค.ศ. 1977
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจช่วงปี ค.ศ. 1979 - 1980 ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เริ่มด้วยการ หนึ่ง ปรับ
คณะรั ฐมนตรีใหม่ใน 6 กระทรวงคื อ กระทรวงการคลั ง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลัง งาน กระทรวง
คมนาคม กระทรวงเคหะและพัฒนานคร และกระทรวงยุติธรรม มุ่งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นไป
อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเพื่ อการปฏิ รูปการศึ กษา สาธารณสุข และสวั สดิการเห็นควรแยกงานใน
กระทรวงสาธารณสุข การศึกษาและสวัสดิการนําสู่การจัดตั้ง เป็น 2 กระทรวงคือ กระทรวงศึกษาธิการและ
กระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชน 2 สองกําหนดให้ธนาคารกลางขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจํา
เพื่อดึงดูดเงินออมของคนอเมริกันให้นําฝากเพิ่มในธนาคารเพื่อรัฐบาลกลางจะได้นํายืมใช้เพื่อการแก้ไขปัญหา
เศรษฐกิจ ผลคือในปี ค.ศ. 1980 ดอกเบี้ยเงินฝากประจํามีอัตราถึง 20% เป็นอัตราสูง สุดในประวัติ ศาสตร์
เศรษฐกิจการเงินของอเมริกัน สามประธานาธิบดีคาร์เตอร์กําหนดจัดตั้งคณะกรรมการสร้างเสถียรภาพในอัตรา
ค่าจ้างและราคาสินค้า (The Council on Wage and Price Stability) 36 เพื่อกําหนดและควบคุมค่าจ้าง
แรงงานและราคาสินค้า 48 สี่ตัดการใช้จ่ายที่ไม่จําเป็นของรัฐบาลกลาง ห้าเพิ่มการเรียกเก็บภาษีนําเข้าน้ํามัน
ให้ สู ง ขึ้ น เพื่ อ บี บ ให้ ห น่ ว ยงานของรั ฐ และนั ก วิ ช าการเล่ น กา รคิ ด ค้ น พลั ง งานอื่ น ใช้ แ ทนน้ํ า มั น เพื่ อ ให้
สหรัฐอเมริกาพึ่งพาน้ํามันจากต่างประเทศ (อ่าวเปอร์เซีย) ให้น้อยลง และเพื่อให้คนอเมริกันตื่นตัวใช้พลังงาน
อย่างประหยัดและรู้คุณค่า และหกควบคุมการใช้จ่ายเงินของคนอเมริกัน สาเหตุสืบเนื่องมาจากค่าครองชีพ
ในปี ค.ศ. 1979 สู งกว่า 13% ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เห็นความจําเป็นต้องควบคุมการใช้จ่ายเงินของคน
อเมริ กั น มาตรการที่ ใ ช้ใ นการดํ า เนิ น การคื อ ควบคุ ม วงเงิ น ในบั ต รแทนเงิ น ทุ ก ประเภท (Credit Card)
มีผลทําให้ปริมาณการขายสินค้าทุกประเภทลดลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์และบ้าน อันเป็นการตอกย้ําธุรกิจ
ถดถอยซบเซา

36
Unger, Irwin, These United States : The Questions of Our Past, p.860.
1.4. ประธานาธิบดีคาร์เตอร์สนับสนุนการพัฒนาสร้างจรวดขีปนาวุธครูซเพื่อ ใช้ในการโจมตีศัตรู
สมาชิกรัฐสภาที่มองเห็นความจําเป็นที่กองทัพอากาศอเมริกันต้องมีเครื่องบินทิ้งระเบิดบี - 1 ปฏิบัติการ

ผลงานด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีเจมส์ อี.คาร์เตอร์ ค.ศ. 1977 – 1981


1. สหรัฐอเมริกาทําข้อตกลงปานามาเรื่องคลองปานามาด้วยสนธิสัญญาคลองปานามาปี ค.ศ.1977
(The Panama Canal Treaties of 1977) ในสมัยประธานาธิบดีคาร์เตอร์ เกิดสนธิสัญญาคลองปานามา
ปีค.ศ. 1977 (The Panama Canal Treaties of 1977) 37 มีการลงนามระหว่างกันในวันที่ 7 กันยายน
ค.ศ.1977 สนธิสัญญาคลองปานามาฉบับที่ 1 (The First Panama Canal Treaties of 1977)
กําหนดสหรัฐอเมริกาจะคืนพื้นที่แนวคลองปานามา แก้ปานามาในปี ค.ศ. 1977 และสหรัฐอเมริกาจะมอบสิทธิ
การบริหารจัดการคลองปานามาแก่ปานามาในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1999 สนธิสัญ ญาคลองปานามา
ฉบับที่ 2 (The Second Panama Canal Treaties of 1977) กําหนดปานามายอมให้สหรัฐอเมริกา
สงวนสิทธิ์ที่จัดส่งกองเรือรบเพื่อการคุ้มกันของปานามายามสงคราม
2. สหรัฐอเมริกาประสบความสําเร็จในการเปิ ดความสัมพันธ์ ทางการทูตอย่ างเป็น ทางการกับจี น
แผ่นดินใหญ่ ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เองก็ต้องการพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่นําสู่การพบกันของ
ตัวแทนทั้งสองชาติเพื่อแสวงหาแนวทางดําเนินการและในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1978 รัฐบาลอเมริกันที่
วอชิงตันและรัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ประกาศให้โลกรู้ในแถลงการณ์ร่วมกัน (The Joint Communique of
1978 )38 กําหนดสหรัฐอเมริกาและจีนแผ่นดินใหญ่จะเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในวันที่ 1
มกราคม ค.ศ. 1979 และในปี ค.ศ. 1979 เติ ง เสี่ ย วผิ ง เพิ่ ม กระชั บ ความสั ม พั น ธ์ ด้ ว ยการเดิ น ทาง
เยือนสหรัฐอเมริกา มีการลงนามในข้อตกลงระหว่างเติง เสี่ยวผิง กับประธานาธิบดีคาร์เตอร์ที่ทําเนียบขาว
เพื่อการแลกเปลี่ยนด้านการค้า ด้านวัฒนธรรมและด้านวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประสบความสําเร็จในการนําการทําข้อตกลงสันติภาพ การกําเนิดนโยบาย
ทางการทูตของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ดร.เฮนรี่ เอ.คิสซิงเกอร์ นําสู่การสร้าง
สันติภาพระหว่างอียิปต์ ( ภายใต้การนําของอันวาร์ เอล ซาดัต - Anwar el Sadat ประธานาธิบดีอียิปต์ช่ว ง
ปีค.ศ. 1970 - 1981 ) กับอิสราเอล ( ภายใต้การนําของยิบชาค ราบิน - Yitzhak Rabin นายกรัฐมนตรี
อิสราเอลช่วงปี 1974 - 1977 ) ด้วยข้อตกลงปีค.ศ. 1975 กําหนดสาระสําคัญสองประการคือ หนึ่งในเดือน
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1975 อิสราเอลจะถอนกองกํ าลัง ทหารอิสราเอลออกจากดินแดนส่ วนทางตะวันตกของ
คาบสมุทรไซนาย ให้ดินแดนส่วนนี้เป็นพื้นที่เขตปลอดทหารและเป็นกลาง และ 2 และสองอียิปต์จะเปิดคลอง
สุ เ อซให้ อิ ส ราเอลร่ ว มใช้ ใ นเดื อ นมิ ถุ น ายน ค.ศ. 1975 ความสามารถของดร.เฮนรี่ เอ.คิ ส ซิ ง เกอร์

37
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 1001.
38
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History,
p.959.
ทําให้สหรัฐอเมริกามีฐานะเป็นผู้ไกล่เกลี่ย (mediator) กรณีพิพาทระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลทั้งสามารถดึง
อียิปต์ออกจากการมีความสัมพันธ์กับรุสเซีย 39
4. สหรัฐอเมริกาเลิกให้การสนับสนุนนิคารากัวในปี ค.ศ. 1981 40 นิคารากัว ( Nicarague ) อยู่ภายใต้
การปกครองของประธานาธิบดีในตระกูลโซโมซา ( he Somoza Period) ซึ่งชื่นชอบในเผด็จการคุมอํานาจทาง
การเมืองและเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันเพื่อประโยชน์แก่นักธุรกิจอเมริกันเพื่อให้ได้มาซึ่งการกระชับความสัมพันธ์
และการสนับสนุนช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาภายใต้การนําของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ในกลาง
ปี ค.ศ.1979 ให้การยอมรั บและให้ ความช่ว ยเหลือ รัฐบาลซานดิ นิต้า ประธานาธิบดี คาร์ เตอร์สั่ง ตัดความ
ช่ว ยเหลือ ที่ สหรั ฐอเมริ กาเคยให้แ ก่ นิค ารากัว ภายใต้ก ารนํ า ของรั ฐ บาลซานดินิ ต้ า เพราะมั่ นใจว่า รั ฐบาล
ซานดินิต้า กดขี่ข่มเหงประชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐบาลซานดินิต้าพัฒนาความสัมพันธ์อย่า ง
แน่นแฟ้นกับคิวบาภายใต้การนําของฟิเดล คัสโตร และให้การสนับสนุนด้านกองกําลังและอาวุธแก่ฝ่ายกบฏใน
เอล ซาลวาดอร์เพื่อการโค่นล้มรัฐบาล
5. ความสัมพันธ์ระหว่างรุสเซียกับสหรัฐอเมริกา เพราะลิโอนิค ไอ.เบรสเนฟ เลิกยึดมั่นในนโยบาย
สร้างความสัมพันธ์อันดีกับโลกเสรี และผู้นํา ทั้งสองต่างไม่พอใจในท่าทีและการกําหนดนโยบายต่างประเทศ
ระหว่างกัน
1. รุสเซียไม่พอใจที่ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน 41ในทาง
ปฏิบัติประธานาธิบดีคาร์เตอร์เลือกปฏิบัติกับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อเท็จจริงคือ 1 ประธานาธิบดี
คาร์เตอร์สั่งตัดให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ด้านการเงินและด้านการทหารแก่อาร์เจนตินา อุรุกวัย นิคา
รากัว และเอธิโอเปีย เพราะเชื่อแน่ว่ารัฐบาลกดขี่ข่มเหงประชาชนอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
2. รุสเซียหวาดระแวงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนแผ่นดินใหญ่เพราะสหรัฐอเมริกาเปิด
ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับจีนแผ่นดินใหญ่และวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979 เมื่อรุสเซีย
ภายใต้การนําของนิกิต้า เอส.ครุสซอฟ (Nikita Sergeyevich Khrushchev 1894 - 1971 นําการบริหาร
รุสเซียช่วงปี ค.ศ. 1958 - 1964 ) ประกาศให้ใช้นโยบายการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ( Peaceful Coexistence )
คือเสียงการทําสงครามกับโลกเสรี ขณะเดียวกันเพิ่มการแข่ง ขันระหว่างโลกคอมมิวนิสต์กับโลกเสรีทางด้าน
เศรษฐกิจ การเมืองและโครงการอวกาศจีนคอมมิวนิสต์คิดว่าการแข่งขันกับโลกเสรีคือความรุ นแรงอันหมายถึง
สงครามเท่านั้น และโจมตีรุสเซียว่าทรยศต่ออุดมการณ์คอมมิวนิสต์ รุสเซียตอบโต้ทันทีในปี ค.ศ. 1960 ด้วย
การเลิกให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีแก่จีน

39
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II,(Addison Wesley Educational Publishers Inc, 1999), p.993.
40
Norton, Mary Beth., Katzman. David., Escout. Paul D.. Chudacoff, Howard P., Paterson, Thomas
G and Tuttle, William M, A People and A Nation : A History of the United States, p. 934 - 935.
41
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 1001.
3. ทั้งรุสเซียและสหรัฐอเมริกาต่างมีความรู้สึกบาดหมางระหว่างการทําให้การลงนามในสนธิสัญญา
จํากัดอาวุธยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ล่าช้าต้องเลื่อนจากปีค.ศ. 1977 เป็นวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1979
4. สหรั ฐ อเมริ ก าไม่ พ อใจที่ รุ ส เซี ย รุ ก รานอั ฟ กานิ ส ถานในเดื อ นธั น วาคม ค.ศ. 1989
(The Afhanistan Crisis 1979) ในวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1979 กองกําลังรุสเซียเคลื่อนเข้าอัฟกานิสถานเรียก
เหตุการณ์ครั้งนี้ว่า วิกฤตการณ์อัฟกานิสถานปี ค.ศ. 1979 ( The Afghanistan Crisis 1979 ) โดยรุสเซียอ้าง
ว่าเพราะรัฐบาลทหารอัฟกานิสถานร้องขอความช่วยเหลือเพื่อการปราบปรามมูจาฮีดดีน 42 ประธานาธิบดีคาร์
เตอร์มองว่ารุสเซีย ( ภายใต้การนําของลิโอนิค ไอ.เบรสเนฟ ) สั่งเคลื่อนกองกําลังทหารรุสเซียเข้าอัฟกานิสถาน
เพื่อการเข้าควบคุมและมีอิทธิพลเหนือแหล่งน้ํามันโลกบริเวณอ่าวเปอร์เซียนับเป็นปฏิบัติการทําลายสันติภาพ
ของโลกครั้งรุนแรงที่สุด
นับจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 43 ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตอบโต้วิกฤตการณ์การที่ สถานในปี ค.ศ.
1979 ทําทีโดยหนึ่งหยุดการส่งข้าวสาลี และอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูงแก่รุสเซีย ( economic sanctions ) 44
และทั้ง กล่าวประณามการเคลื่อนกองกําลังรุสเซียเข้าอัฟกานิสถานว่าเป็นการก้าวร้าวรุกรานอธิปไตยของ
อัฟกานิสถาน รุสเซียตอบโต้กลับด้วยการประท้วงไม่สูงนักกีฬารุสเซียเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี
ค.ศ. 1984 ที่ลอสแอนเจลิส 45 ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ประกาศหลักการคาร์เตอร์ปี ค.ศ. 1980 (The Carter
Doctrine of 1980) 46 ในวันที่ 23 มกราคม 1980 กําหนดสหรัฐอเมริกาจําเป็นต้องเข้าขัดขวางแทรกแซงด้วย
กองกําลัง อเมริกัน ถ้าจําเป็นด้วยปฏิบัติการที่หนักหน่วงและเฉียบขาดเพื่อป้องกันแหล่ง น้ํามัน บริเวณอ่าว
เปอร์เซียด้วยหลักการคาร์เตอร์ปี 1980 เป็นการบ่งชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริกาต้องการให้กองกําลังรุสเซียหยุดอยู่ที่
อัฟกานิสถาน
สหรัฐอเมริกามีกรณีพิพาทกับอิหร่าน ช่วงทศวรรษ 1970 คนอิหร่านต่อต้านชาห์ เรซา ปาห์เลวี
ทวีความรุนแรงขึ้น เริ่มโดยสหรัฐอเมริกาเพื่อการสั่งซื้อน้ํามันจากอิหร่านเพื่อขจัดปัญหาวิกฤตพลังงานปีค.ศ.
1973 (The Energy Crisis 1973) ขณะเดียวกันชาห์ เรซา ปาห์เลวี เพิ่มการซื้ออาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อ
การปราบปรามกลุ่มต่อต้านชาห์ที่เพิ่มจํานวนขึ้นและคิดค้นอํานาจชาห์ เรซา ปาห์เวลี ทั้งสหรัฐอเมริกาเองก็
ยินดีขายอาวุธกับอิหร่านในราคามิตรภาพที่สุดเพื่อรักษาเสถียรภาพความมั่นคงของธุรกิจน้ํามันอเมริกาในอ่าว
เปอร์เซีย ประธานาธิบดีคาร์เตอร์เดินทางเยือนอิหร่านเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นในปี ค.ศ. 1977

42
Bailey, Thomas A. and Kennedy, David M, ‘The American Pageant : A History of the
Republic’, ( D.CHeath and Company, 1994 ), pp.981.
43
Brinkley, Alan., Current, Richard N., Freidel, Frank and Williams, T. Harry, American History, p.
961.
44
Loc, cit.
45
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 1002.
46
Divine, Robert A., Breen, T.H., Fredrickson, George M and Williams, R. Hal, American Past and
Present : Volume II,(Addison Wesley Educational Publishers Inc, 1999), p.994.
การปฏิบัติการของกลุ่มต่อต้านชาห์ นับจากปี ค.ศ. 1960 ได้รับการสั่งการมาโดยตลอดจากอะยาฟโทลลาห์ รู
โฮลลาห์ โคไมนี เป็นผลให้ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1979 ชาห์ เรซา ปาห์เลวี ตัดสินใจลี้ภัยการเมืองจาก
อิหร่าน ( เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ปาห์เลวีในอิหร่าน 1925 - 1979 ) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 โคไมนี
จา ก ฝรั่ ง เ ศส เ ดิ น ท า ง ก ลั บ อิ ห ร่ า น ป ร ะ ก า ศ จั ด ตั้ ง ป ร ะ เท ศ ส าธ า ร ณรั ฐ อิ ส ล า มแ ห่ ง อิ ห ร่ า น
(The Islamic Republic of Iran) และใช้คําสอนในศาสนาอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศ
วิกฤตการณ์อิหร่านปี ค.ศ. 1979 (The Iranian Hostage Crisis or The Iranian Crisis 1979)
เกิดขึ้น ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 อิหร่านต่อต้านสหรัฐอเมริกาสืบเนื่องมาจากปี 1953 สหรัฐอเมริกา
ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนชาห์ เรซา ปาห์เลวี กลับมามีอํานาจอีกครั้ง ประธานาธิบดีคาร์เตอร์ตัดสินใจ
อนุญาตให้ชาห์ข้าตรวจและรับการรักษามะเร็งในโรงพยาบาลที่นิวยอร์ค สร้างความขมขื่นโกรธแค้นอย่างมาก
แก่ชาวอิหร่านภายใต้การนําของโคไมนี ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 47 คณะปฏิวัติชายฉกรรจ์อิหร่าน
( Revolutionaries ) อ้างตนเองว่าเป็นนักศึกษาภายใต้การสั่งการของโคไมนี บุกเข้ายึดสถานทูตสหรัฐอเมริกา
ที่กรุงเตหะรานจับกุมคนอเมริกัน 71 คนในสถานทูตเป็นตัวประกัน อย่างไรก็ตามตัวประกันอเมริกันทั้ง 52 คน
ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1981

47
Heniretta, James A., Brownle, W. Elliot., Brody, David and Ware, Susan, America's History.
(Worth Publishers, Inc, 1993), p. 1002.

You might also like