You are on page 1of 7

1

ยุคภูมธ
ิ รรมและแนวคิดประชาธิปไตย
14 วิชา ประว ัติศาสตร์สากลรห ัสวิชา ส 31104 ชนั้
ึ ษาปี ที่ 4
ม ัธยมศก
ื่ ..........................................................................ชน
ชอ ั ้ ม.4/...........เลข
ที.่ ...........

1. ยุคภูมิธรรม (The Age of Enlightenment) เรียกอีกอย่างว่า ยุคเรือง


ปั ญญา คือ ยุคแห่งความเชื่อมั่นที่มนุษย์พร้อมทดลองด้วยเหตุผล  เป็ น
ยุคที่มนุษย์ร้จ
ู ักการคิดวิเคราะห์  ใช้สติปัญญา  การเกิดยุคภูมิธรรมมี
ศูนย์กลางของยุคคือฝรั่งเศส และแพร่ไปทั่วยุโรปตลอดจนถึงอเมริกา
และมีการแผ่ขยายไปทั่วโลก
2. การปฏิวัติทางภูมิปัญญา (Intellectual Revolution) ในคริสต์ศตวรรษ
ที่ 17 เป็ นผลมาจาก การฟื้ นฟู ศิลปวิทยาการ ซึง่ กระตุ้นให้ ชาว
ยุโรปสนใจศึกษาหาความรู้และค้นหาความจริง ทำให้ยุโรปพ้นจากยุคมืด
มีโอกาสแสวงหา ความรู้วิทยาการแขนงใหม่ที่มีอิสรภาพ และเสรีภาพ
มากขึน
้ ส่งผลให้ชาวยุโรปมีความคิดก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจและ
การเมือง เกิดนักคิด นักปรัชญาขึน
้ มากมาย ซึ่งอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17-
18
3.
พระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ได้รับการ
ยกย่องว่าเป็ นตัวอย่างที่ดีของกษัตริย์ทรง
ภูมิธรรม(Enlightened Despotism) ด้วยทรงใช้สติ
ปั ญญาและเหตุผลในการปกครอง ทรงพัฒนาแนว
ความคิดเกี่ยวกับเทวสิทธิแ์ ห่งกษัตริย์ (Divine Right

4. กษัตริย์ทรงภูมิธรรมอื่นๆ ของทวีปยุโรป
 พระเจ้าชาลส์ที่ 3 (Charles III, ค.ศ.1738-1759) แห่งสเปน
 จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา (Maria Theresa, ค.ศ.1740-1786)
แห่งออสเตรีย
2

 แนวคิดของ จอห์น ล๊อค และ ชอง ชาคส์ รุสโซ มีแนวคิดตรงกันมากที่สุด


คือรัฐบาลที่ดีต้องมาจากประชาชน
 แนวคิดของ โทมัส ฮอบส์ มีความแตกต่างกับนักปรัชญาอื่น ๆ เนื่องจาก
ให้การสนับสนุนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่เชื่อเรื่อง
การปกครองที่มาจากประชาชน หรือรูปแบบรัฐบาล
 เป็ นแนวคิดแม่แบบพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในตะวันตก เริ่ม
จากอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส ตามลำดับ

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญในยุคแนวคิด
ประชาธิปไตย

การปฏิวัติทางการเมืองการปกครองของอังกฤษ
 เดิมอังกฤษปกครองโดยระบอบกษัตริย์ จนถึง ค.ศ.1215 ขุนนางอังกฤษ
ได้ร่วมกันต่อต้านอำนาจของกษัตริย์ และให้ยอมรับใน “กฎบัตรแมกนา
คาร์ตา” (Magna Carta) ที่เกิดจากการที่ขุนนางบังคับให้กษัตริย์ลงนาม
ในกฎบัตรเพื่อจำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์
 เกิดสงครามกลางเมืองที่เรียกว่า “การปฏิวัติของครอมเวลล์”
(Cromwell’s Revolution) โดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผลคือฝ่ ายรัฐสภา
ชนะทำให้อังกฤษปกครองแบบสาธารณรัฐ ทำให้อังกฤษไม่มีกษัตริย์
3

ปกครอง ซึง่ ต่อมา ครอมเวลล์ ได้จัดตัง้ รัฐบาลแบบสภาเดียว ปกครองใน


รูปแบบเผด็จการ สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนจึงถูกประหาร
 หลังครอมเวลล์ เสียชีวิต มีการฟื้ นฟูระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขน
ึ ้ อีก
ครัง้ จน ค.ศ.1688 รัฐสภาร่วมมือกับประชาชนทำการ “ปฏิวัติอัน
รุ่งโรจน์” (Bloodless Revolution, Glorious Revolution) เป็ นการ
ปฏิวัติที่ไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ
 “การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์” ทำให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สน
ิ ้ สุดลง
และเป็ นการเริ่มต้นในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยกษัตริย์ เป็ น
เพียงประมุขของประเทศการปฏิวัติครัง้ นี ้ ทำให้อังกฤษเป็ นประเทศที่สอง
ในโลกที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ต่อจากกรีกและเป็ นแรง
บันดาลใจให้ประเทศอื่นต่อสู่เพื่อระบอบประชาธิปไตย เช่น อเมริกา และ
ฝรั่งเศส
 รัฐสภาอังกฤษ แต่งตัง้ กษัตริย์วิลเลียมที่ 3 และพระนางแมรี่ที่ 2 ขึน
้ เป็ น
กษัตริย์ และให้ลงพระนามใน “พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ” (Bill of
Rights) ซึง่ มีสาระสำคัญคือกษัตริย์ทรงเป็ นประมุขของประเทศ ทรงอยู่
ภายใต้รัฐธรรมนูญ และสิทธิเสรีภาพเป็ นของประชาชนคริสต์ศตวรรษที่
18 สภาขุนนางมีอำนาจมากกว่าสภาสามัญ จึงมี “พระราชบัญญัติปฏิรูป
รัฐสภา” (The Great Reform Bill) ซึง่ กำหนดให้สตรีมีสิทธิเลือกตัง้ ได้
เป็ นครัง้ แรก ปั จจุบันอังกฤษปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
มีกษัตริย์เป็ นประมุข มีรัฐธรรมนูญแบบไม่เป็ นลายลักษณ์อักษร ใช้
กฎหมายแบบ Common Law อำนาจอธิปไตยไม่แบ่งแยกออกจากกัน
4

การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา
 สหรัฐอเมริกาเป็ นอาณานิคมของอังกฤษ เรียกว่า New English ถูก
ปกครองโดยไม่ได้รับความยุติธรรม
 อังกฤษออกกฎหมายบังคับขูดรีดชาวอาณานิคม โดยไม่มีผู้แทนจาก
อาณานิคมมาร่วมร่าง ทำให้เกิดการประท้วงต่อต้านไม่เสียภาษีและต่อ
ต้านอังกฤษทุกชนิดมีคำขวัญคือ “ไม่เสียภาษี ถ้าไม่มีผแ
ู้ ทน”
 รัฐสภาอังกฤษยืนยันการผูกขาดสินค้าเข้าใบชาและการเก็บภาษีใบชา
ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ
 เกิดเหตุการณ์งานเลีย
้ งน้ำชาที่บอสตัน 13 รัฐรวมตัวกันจัดตัง้ สภาแห่ง
ทวีป (Congress) โดยมี จอร์จ วอชิงตันเป็ นผู้นำ ต่อต้าน
รัฐสภาอังกฤษ จนก่อให้เกิดสงครามประกาศอิสรภาพกับอังกฤษ โดยได้
รับชัยชนะจากการช่วยเหลือของฝรั่งเศส
 โทมัส เจฟเฟอสัน ร่างคำประกาศอิสรภาพ อเมริกาได้ประกาศเอกราช
อย่างสมบูรณ์เป็ น “ประเทศสหรัฐอเมริกา”เมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม 1776
เรียกวันนัน
้ ว่า “วันประกาศอิสรภาพ (ID4)” มีสาระสำคัญคือ “ทุกคนมี
สิทธิในชีวิต ความสุขและเสรีภาพ”
 จอร์จ วอชิงตันเป็ นประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา
 มีการใช้รัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ฉบับแรกของโลก โดยได้
แนวคิดจากมองเตสกิเออร์ และจอห์น ลอค
 การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา เป็ นแรงบันดาลใจในการปฏิวัติ
ฝรั่งเศส
5

 ปั จจุบันสหรัฐอเมริกาใช้ระบอบการปกครองแบบ ประธานาธิบดี โดยใช้


หลักแบ่งแยกอำนาจ ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผูแ
้ ทน
ราษฎร(Congress) และ วุฒิสภา(Senate)

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
'''การปฏิวัติฝรั่งเศส''' เป็ นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุโรป เกิดขึน

ระหว่างปี พ.ศ. 2332 - 2342 เป็ นการปฏิวัติที่โค่นล้มสถาบันกษัตริย์
ฝรั่งเศส และสถาปนาสาธารณรัฐขึน
้ การปฏิวัตินม
ี ้ ีความสำคัญ เพราะเป็ น
จุดหักเหในประวัติศาสตร์การปกครองของยุโรป
 เดิมฝรั่งเศสปกครองโดยระบอบกษัตริย์ที่เข้มแข็ง จนถึงปี ค.ศ.1789
ประชาชนได้รับความเดือนร้อนจากการปกครองในระบอบกษัตริย์ ใน
ขณะที่ชนชัน
้ เจ้าและขุนนาง มีความเป็ นอยู่ที่สุขสบาย เกิดความเหลื่อม
ล้ำในสังคม ทำให้เกิดการปฏิวัติใหญ่ 1789 และสามารถล้มล้างระบอบ
กษัตริย์ มีการประกาศหลักสิทธิมนุษยชนและพลเมือง
 หลัง ค.ศ. 1958 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในสมัยประธานาธิบดี เดอโกลล์
ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจมากขึน
้ รัฐบาลจึงมั่นคง ระบอบประชาธิปไตย
ในฝรั่งเศสจึงมีเสถียรภาพ
 ปั จจุบันระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในฝรั่งเศสมีผู้นำในการ
บริหารสาธารณรัฐ คือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตัง้ จากประชาชน
โดยตรง มีฐานะเป็ นประมุขสูงสุดของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรี และ
รัฐมนตรีทำหน้าที่บริหาร ฝ่ ายนิติบัญญัติของฝรั่งเศสประกอบด้วย 2 สภา
คือ สภาแห่งชาติ และวุฒิสภา สภาแห่งชาติได้รับการเลือกตัง้ จาก
ประชาชน ส่วนวุฒิสภา ได้รับการเลือกตัง้ จากสภาแห่งชาติ
6

สาเหตุของการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
การปฏิวัติฝรั่งเศส เป็ นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมและการเมือง ต่อทวีปยุโรปและลกอย่างยิ่ง จนกล่าวได้ว่าก่อให้เกิด
กระแสเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกสาเหตุของ
การปฏิวัติฝรั่งเศสคือ
 สภาพความเหลื่อ มล้ำทางสัง คม ซึ่ง แบ่ง ได้เ ป็ น 3 ฐานัน ดร คือ ชนชัน

ฐานันดรที่ 1 ได้แก่บาทหลวง ฐานันดรที่ 2 ได้แก่เจ้านายหรือขุนนาง ซึง่
เอารัดเอาเปรียบฐานันดรที่ 3 ได้แก่ สามัญชน ทัง้ เรื่องการเก็บภาษี การ
เกณฑ์แรงงาน และการเกณฑ์ทหาร
 สภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐบาลล้มละลายทางการคลัง เพราะการ
ทำสงคราม ราชสำนักใช้จ่ายเงินอย่างฟุ ่มเฟื อย จึงบีบบังคับประชาชนโดย
การเก็บภาษีเพิ่ม
 อิทธิพลของแนวความคิดประชาธิปไตยและการปฏิวัติเอกราช
ประชาธิปไตยของสหรัฐอเมริกา
 วอลแตร์ และรุสโซมีอิทธิพลต่อความคิดของปั ญญาชนในการปฏิวัติ
ฝรั่งเศส
การดำเนินการปฏิวัติ
 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ประชาชนร่วมมือกันสนับสนุนสภาแห่งชาติและ
บุกทำลายคุกบาสตีย์ ซึ่งเป็ นที่คุมขังนักโทษทางการเมือง และเป็ นจุดเริ่ม
ต้นของการปฏิวัติฝรั่งเศส
 นำไปสูส
่ งครามกาลางเมือง ยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ
สถาบันกษัตริย์เปลี่ยนแปลงฝรั่งเศสเข้าสูค
่ วามเป็ นประชาธิปไตย
 26 กรกฎาคม ค.ศ.1789 สภาแห่งชาติได้ออกประกาศสิทธิมนุษยชนและ
พลเมือง ซึ่งได้รับอิทธิพลแนวคิดจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่เน้นย้ำ
ถึงความีสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลด้านต่าง ๆ
ผลการปฏิวัติฝรั่งเศส
7

 ฝรั่งเศสเปลี่ยนเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีคำขวัญสำคัญ คือ


เสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ ตามแนวคิดของ ชองชาคส์รุสโซได้
กลายเป็ นหลักของการปกครองแบบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
 การปฏิวัติฝรั่งเศส ส่งอิทธิพลต่อการแพร่หลายของลัทธิประชาธิปไตยใน
ทวีปยุโรป จนมีหลายประเทศรับอิทธิพลไปเปลี่ยนแปลงระบอบการ
ปกครองในประเทศของตน
 คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส ได้กลายเป็ นหลักฐาน
สำคัญทางประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยโลกและถูกนำไปอ้างอิงในเวลาต่อ
์ รีและในทาง
มา คือ “มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างเสรี เท่าเทียมกันในศักดิศ
กฎหมาย มนุษย์ย่อมมีเหตุผลและความสำนึก และต้องปฏิวัติต่อกันอย่าง
มีภราดรภาพ”
 ปั จจุบันประเทศฝรั่งเศสใช้ระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบ
กึ่งรัฐสภา กึ่งประธานาธิบดี

You might also like