You are on page 1of 7

วิวัฒนาการของ

วรรณกรรมไทย
ครู มอส
ยุค
กบฏสันติภาพ
บรรยากาศทางการเมืองของไทยเริ่มเข้าสู่ลักษณะเผด็จการ
อีกวาระหนึ่ง เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำรัฐประหาร
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ และเนื่องจาก “การรัฐประหาร” ครั้งนี้เ
ป็นการเข้ายึดอำนาจการปกครองโดยไม่ถูกต้องตามกระบวนการ

ทางการเมืองระบบรัฐสภา เป็นการนำประเทศไทยเข้าสู่ “ระบอบ

เผด็จการทางการทหาร” โดยกลุ่มทหารบก เข้ามามีอำนาจแต่

เพียงผู้เดียว จึงก่อให้เกิดการกบฏอีกหลายครั้ง เช่น


กบฏเสนาธิการ กบฏแยกดินแดน กบฏวังหลัง
และกบฏแมนฮัตตัน
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
แม้บรรยากาศทางการเมืองในระยะนี้จะมีลักษณะเป็นเผด็จการ
แต่ก็มิได้มีผลกระทบกระเทือนต่อวรรณกรรมมากนักเนื่องจากทั้งนี้
เป็นเพราะว่ารัฐบาล มัวแต่พะวงอยู่กับการปราบปรามฝ่ายที่เป็นปรปักษ์
ทางการเมืองอย่างเร่งรีบ

ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อใช้แทน

รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่ยกเลิกไปเมื่อรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐธรรมนูญ

ฉบับนี้จำกัด เสรีภาพให้แคบลงกว่าเดิม โดยเฉพาะเสรีภาพด้านการพูด การเขียน


และการพิมพ์
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ รัฐบาลเริ่มนโยบายต่างประเทศด้วยการส่ง ทหารไปช่วย
ฝ่ายโลกเสรีรบในเกาหลี ส่วนภายในประเทศดำเนินนโยบายปราบปราม

คอมมิวนิสต์ด้วยการจัดตั้งอนุกรรมการโฆษณาปราบปรามเผยแผ่ลัทธิ

คอมมิวนิสต์ และดำเนินการเพื่อให้รัฐบาลมีอำนาจในการออกกฎอัยการศึก
การดำเนินการปราบปรามคอมมิวนิสต์ ครั้งสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อนักเขียน

นักคิด นักหนังสือพิมพ์ คือ การปราบปรามกบฏ สันติภาพ


เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๕ อันเป็นช่วงเวลาหลังจากที่นักเขียน
นักหนังสือพิมพ์ ปัญญาชน และชาวบ้านได้ร่วมใจกันนำเสื้อผ้า ยา และข้าวของ
ที่ประชาชน ร่วมกันบริจาค ไปมอบให้แก่ชาวอีสานที่ประสบภัยพิบัติเนื่องจาก
ฝนแล้ง เวลาใกล้เคียงกันนี้นั้น
กุหลาบ สายประดิษฐ์
จะร่วมเดินทางไปแจกข้าวของ เขายังได้รวมกลุ่ม
นักหนังสือพิมพ์เพื่อจะเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกระบบ

เซ็นเซอร์และพระราชบัญญัติการพิมพ์ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔


โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า “คณะกรรมการ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ของนักหนังสือพิมพ์” ด้วยเหตุนี้ หลังจากกลับจาก
แจกเสื้อผ้าในชนบท เพียงวันเดียว เขาจึงถูกจับกุมในข้อหา

กบฏสันติภาพพร้อมกับนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์
คนอื่นๆ และแม้กุหลาบ สายประดิษฐ์และเพื่อน ๆ จะพ้นจาก

คุมขังใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม


ให้มีการนิรโทษกรรม ก็ยังกล่าวได้ว่าการจับกุมครั้งนี้
มีผลกระทบต่อ วงการของวรรณกรรมไทยด้วย

เพราะในระหว่างถูกคุมขัง กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้เขียน นวนิยายที่มีลักษณะพัฒนา


ไปจากเดิม คือ เขียนนวนิยายสะท้อนปัญหาสังคมได้ชัดเจนจนมีลักษณะเป็นนวนิยาย

แนวเพื่อชีวิต ขณะเดียวกันวรรณกรรมส่วนใหญ่ของยุคนี้ก็มีแนวโน้ม เป็นวรรณกรรม

เพื่อชีวิตด้วย

กล่าวโดยสรุป การเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรมที่เห็นได้ชัดในช่วงนี้คือ แนวคิดเ


กี่ยวกับ “ศิลปะเพื่อชีวิต” เริ่มแพร่หลายขึ้นในหมู่นักเขียนและนักวิจารณ์แล้ว
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความคิดนี้ให้เจริญงอกงามขึ้นก็คือ ชมรมนักประพันธ์
และวงการวรรณกรรมวิจารณ์แต่ก็อาจกล่าวได้ว่านวนิยายในช่วงนี้มีจุดมุ่งหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับสังคมมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การสะท้อนปัญหาสังคม วิพากษ์วิจารณ์
จนถึงการเสนอแนะอุดมการณ์ในการแก้ไข ปัญหาสังคมและการเมือง

ด้วยเหตุนี้ผู้สนใจศึกษาวรรณกรรม บางคนจึงกล่าวสรุปว่า สภาพแวดล้อมที่ยุ่งเหยิง

วุ่นวายของสังคม อาจผลักดันให้นวนิยายมีลักษณะเกี่ยวข้องกับสังคมและการเมือง

หรือทำให้นักเขียนนวนิยายมีจิตสํานึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น
แม่อนงค์ เขียน "ทุ่งมหาราช" อิศรา อมันตกุล เขียน “ธรณีประลัย"
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เขียน “ไผ่แดง” ศรีบูรพา เขียน “แลไปข้างหน้า” เป็นต้น

You might also like