You are on page 1of 12

POL2147 | 1

- อธิบายพร้อมวิเคราะห์การบริหารและการจัดการทางการเมืองของรัฐบาลประชาธิป ไตยครึง่ ใบ ในระหว่างปี


พ.ศ.2520-2530

1. สภาพทัว่ ไปก่อนเกิดเหตุการณ์ยดึ อานาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

สภาพก่อนการยึดอานาจนั้นเป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะวุ่นวายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519


ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ฝ่ายขวาทาสงครามกับฝ่ายซ้ายจนเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น และสาเหตุที่เกิดสงครามนั้นก็เป็น
ผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่นักศึกษาผู้รักประชาธิปไตยสามารถโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการถนอมได้
จนประชาธิปไตยเฟื่องฟู เป็นผลให้ฝ่ายอานาจเก่าต้องออกมาทาสงครามกับเหล่านักศึกษา แล้วก็สิ้นสุดเหตุการณ์
ไปจนกระทั่งเกิดความปั่นป่วนของบ้านเมืองในเวลาต่อมา จนทาให้มีการยึดอานาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
เกิดขึ้น และจากการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการรัฐประหารอย่าง พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ก็ได้ให้ นายธานิ นทร์
กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา

2. ลักษณะการใช้รฐั ธรรมนูญ

อาจจะเรียกได้ว่า การเมืองในสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบนั้นได้เกิดการรัฐประหารบ่อยครั้งมาก เพราะ


อานาจทางการเมืองที่แท้จริงนั้นไม่ได้อยู่ที่ประชาชน แต่อยู่ที่ทหารเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยการรัฐประหารที่เกิดขึ้น
จากการที่ พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ ให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีในตอนแรกนั้น ผลสุดท้ายก็
เกิดความขัดแย้งจนเกิดการรัฐประหารยึดอานาจขึ้นอีกครั้ง จนเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลของ พลเอกเกรียงศักดิ์
ชมะนันท์ ในเวลาต่อมา แต่โดยรวมแล้วคาว่าประชาธิปไตยครึ่งใบนั้นเกิดขึ้นก็เพราะว่า การรัฐประหารฉีก
รัฐธรรมนูญทิ้ง แล้วร่างใหม่เพื่อให้ผลประโยชน์แก่พวกพ้องของตน โดยที่ไม่สนใจผลประโยชน์ของประชาชน จึง
เป็นที่มาของคาว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ นั่นเอง

3. การบริหารประเทศ

การบริหารประเทศตั้งแต่เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบนั้นทาให้เกิดปัญหารอบด้านภายในประเทศ อาทิ
ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาน้ามัน ปัญหากบฏภายในประเทศ เป็นต้น จึงอาจจะเรียกได้ว่าประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.
2520-2530 นั้นขาดความสงบมาโดยตลอด อันเนื่องมาจากการแย่งชิงอานาจทางการเมืองที่เกิดขึ้นเพราะการ
แบ่งผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัว จึงส่งผลให้เกิดการบริหารประเทศที่ล้มเหลวและเกิดปัญหารอบด้าน

สรุป ประชาธิปไตยครึ่งใบก็คือประชาธิปไตยที่ประชาชนไม่ได้มีอานาจอย่างแท้จริง เป็นการบริหารประเทศ


ที่อิงเกมการเมืองในการแย่งชิงอานาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง จึงส่งผลเสียหายต่อประเทศใน
รอบด้านตลอดช่วงระยะเวลาของประชาธิปไตยครึ่งใบ
POL2147 | 2

- 25 ปีแรกของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย(พ.ศ.2475-2500) “คณะราษฎร” มีส่วนเกีย่ วข้องหรือไม่


อย่างไร ในการบริหารบ้านเมืองทีน่ ามาสูก่ ารรัฐประหาร 16 กันยายน 2500

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นั้น ถือได้ว่า เป็นประวัติศาสตร์ที่


ประเทศไทยซึ่งตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น มีปัจจัยต่างๆที่ทาให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงดังนี้

1. ปัจจัยภายนอก

1.1 อิทธิพลของประชาธิปไตย

จากการมีอิทธิพลของแนวคิดประชาธิปไตยจากชาติตะวันตก ทาให้เกิดปัญญาชนนักคิดมากมายที่
เป็นตัวผลักดันให้ “คณะราษฎร” สนใจที่จะนารูปแบบการปกครองดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทย เพราะมองว่า
การปกครองที่ถูกจากัดอยู่แต่เฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางหรือเฉพาะกลุ่มบุคคลบาง
กลุ่ม ทาให้การเปลี่ยนแปลงของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้าและล้าหลัง จึงได้ใช้วิธีการปฏิบัติตามอุดมการณ์ของ
พวกตน ก่อให้เกิดการปฏิวัติใน พ.ศ.2475 ในเวลาต่อมา

1.2 เศรษฐกิจตกต่าทั่วโลก

สภาวะเศรษฐกิจตกต่าทั่วโลกอันเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
ในช่วงรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยได้ประสบปัญหาทั้งสถานะทางด้านการเงินและการคลัง รายจ่าย
มากกว่ารายรับ เกิดปัญหาข้าวยากหมากแพงตามมาจนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ทาให้เมื่อเปลี่ยนผ่านแผ่นดินแล้ว
รัชกาลที่ 7 ต้องรับภาระหนักและยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นได้

2. ปัจจัยภายใน

2.1 การปลดข้าราชการและตัดทอนค่าใช้จา่ ย

สืบเนื่องมาจากช่วงปลายรัชกาลที่ 6 ในราชสานักมีการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยมาโดยตลอด ซึ่งใน


ส่วนพระองค์เองนั้นได้ทรงมีพระเมตตาแก่ข้าราชบริพารอย่างไม่มีที่สุด

จนกระทั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปกครองประเทศสืบต่อมา การจัดสรร
ด้านงบประมาณยังคงขาดความสมดุล การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กาลังดาเนินต่อไปขาดความราบรื่น
เท่าที่ควร ทาให้พระองค์ทรงทาทุกวิถีทางเพื่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในสมัยนั้นที่ย่าแย่ และจากการที่
POL2147 | 3

พระองค์เลือกใช้วิธีการปลดข้าราชการ และการตัดทอนเงินของข้าราชการหลายๆคน ทาให้เกิดความไม่พอใจและ


ความแตกแยกขึ้นมาจนกลายเป็นรากเหง้าของปัญหาที่ตามมา คือการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากกลุ่ม
คณะที่ไม่พอใจการกระทาของพระองค์นั่นเอง

2.2 การบริหารประเทศที่ลม้ เหลว

การขาดประสิทธิภาพในการบริหารและความขัดแย้งระหว่างกลุ่มข้าราชการด้วยกัน เช่น การ


บริหารงานของเสนาบดีสภาที่ขาดประสิทธิภาพ รวมไปถึงในกองทัพไทยเกิดความแตกแยกเกี่ยวกับการปรับปรุง
กองทัพ ทาให้กลุ่มทหารที่ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่สามารถเข้ากับพระราชวงศ์ชั้นสูงที่มีอานาจได้ และ
โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งที่ได้เกิดความปั่นป่วนในหมู่เสนาบดีและอภิรัฐมนตรี ที่ทาให้พระองค์เจ้าบวรเดช
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ทรงลาออกเมื่อเดือนมิถุนายน 2475 จากสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองที่
สะสมมาในอดีตกว่าหนึ่งทศวรรษ รวมถึงความไร้ประสิทธิภาพในการจัดการบริหารบ้านเมือง

ปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้ จึงเป็นที่มาให้กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร” ทาการปฏิวัติยึด


อานาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในเวลาต่อมา

3. หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสาเร็จลง รัฐบาลแรกของประเทศก็ถูกจัดตั้งขึ้น โดยให้พระยามโน


ปกรณ์นิติธาดาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย มีลักษณะเด่นๆที่เป็นสิ่งใหม่ใช้เป็นเครื่องมือที่ไม่เคย
เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังนี้

1) ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบ
ประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

2) เริ่มมีการใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27


มิถุนายน พ.ศ.2475

3) เริ่มมีการเปิดประชุมสภาผูแ้ ทนราษฎร และมีการเลือกตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และเลขาธิการ


สภาฯเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475

4) เริ่มมีประธานคณะกรรมการราษฎร(เทียบเท่ากับนายกรัฐมนตรี) และกรรมการราษฎร(เทียบเท่ากับ
คณะรัฐมนตรี) ครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475
POL2147 | 4

แต่ไม่นานความขัดแย้งระหว่างคณะราษฎรก็เกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นติ ิธาดาถูกยึด


อานาจ โดยคณะราษฎรที่นาโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา และหลังจากการยึดอานาจในครั้งนี้ ทาให้เห็นว่า
ช่วงเวลาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จนถึงก่อน พ.ศ.2500 นั้น ประเทศไทยก็วนเวียน
อยู่กับความวุ่นวายตลอดเวลา ทั้งการเกิดกบฏ หรือความขัดแย้งทางการเมืองจนเกิดเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี
พ.ศ.2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการ ที่นาโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ แต่ถึงกระนั้นการรัฐประหารครั้งนี้ก็ยังไม่
นามาซึ่งความสงบ ภายในประเทศยังคงเกิดกลุ่มกบฏต่างๆไปจนถึงเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ.2500 ที่นา
โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อนจะเข้าสู่ยุคมืดที่เหล่าอานาจทหารได้เข้ามาครอบงาประเทศไทยจนถึงปี พ.ศ.2516

สรุป ในช่วง 25 ปีแรกหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 นั้น เหตุการณ์ทางการเมืองไทย


ยังคงวนเวียนอยู่กับการรัฐประหารยึดอานาจ เพราะสุดท้ายต่างฝ่ายก็ต้องการที่จะช่วงชิงอานาจเพื่อมาอานวย
ความสะดวกให้แก่ตนและพวกพ้องอยู่เสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่า ประชาธิปไตยในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการ
ปกครอง พ.ศ.2475 นั้น เป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานของการแย่งชิงอานาจมากกว่าการปกครองโดยประชาชน
POL2147 | 5

- การเมืองและการปกครองแบบเผด็จการในระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ของ “จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์” มีลกั ษณะวิธกี าร


ในการจัดการอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ

ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ คือ ระบบการปกครองรูปแบบใหม่ในสมัยของจอมพลสฤษดิ์ ที่มองว่าประชาธิปไตยแบบ


ตะวันตกนั้นไม่เหมาะสมกับประเทศไทย ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องมีระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆขึ้นมา จึงจะ
เหมาะสม

ลักษณะของระบบพ่อขุนอุปถัมภ์

เป็นการลบล้างความเชื่อของคณะราษฎร ที่นารูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยตะวันตกมาใช้ภายหลัง
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นสิ่งที่จอมพลสฤษดิ์ให้การปฏิเสธและได้พยายามวิพากษ์วิจารณ์
มาตลอด โดยได้กล่าวถึงข้อผิดพลาดไว้หลายประการ ตั้งแต่ความไม่เหมาะสมของระบบการปกครองที่นามาใช้ ว่า
เป็นการลอกเลียนแบบตะวันตกทั้งดุ้น ไม่มีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และความเคยชินของสังคมไทย
ดังนั้นเมื่อใช้เวทีทางการเมืองเพื่อกล่าวโจมตีอย่างรุนแรงแล้ว จึงได้ใช้โอกาสในการนาเสนอให้มีการนาระบบ
“พ่อปกครองลูก” กลับมาใช้ เพราะเห็นว่ามีความเหมาะสมกับสังคม และอุปนิสัยของคนไทย เป็นการยกอานาจ
ให้กับผู้เป็นพ่อขุนไปดูแล แต่ต้องใช้ความเมตตาต่อประชาชน

การหักล้างความเชื่อของจอมพลสฤษดิ์ เพื่อการต่อต้านระบอบประชาธิปไตยนั้น แท้จริงแล้วเพียงเพื่อใช้


วิธีการแบบเผด็จการเพื่อปกครองประเทศนั่นเอง จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า รูปแบบ “พ่อขุนอุปถัมภ์” นี้ คือ
อุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ โดยมีการกระทาออกมาในรูปแบบต่างๆ ที่สร้าง
ความพอใจกับประชาชนได้มากพอสมควรในหลายด้าน

1. การให้ความช่วยเหลือ

หลังการทารัฐประหารซ้า ในปี พ.ศ.2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้กุมอานาจไว้เบ็ดเสร็จ และงาน


แรกของจอมพลสฤษดิ์ ก็คือการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือประชาชนผู้เปรียบเสมือน “ลูกๆ” อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็น
กิจกรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนับตั้งแต่ภายหลังการรัฐประหารได้เพียงไม่กี่วัน ดังนี้

1) คณะปฏิวัติได้มีคาสั่งให้ลดอัตราค่ากระแสไฟฟ้าในย่านกรุงเทพฯ-ธนบุรี

2) ออกพระราชกฤษฎีกาให้แต่ละครอบครัวได้รับน้าฟรีเดือนละ 30 ปี๊บ

3) ลดอัตราค่าโทรศัพท์ ค่ารถไฟ และค่าเล่าเรียน

4) ให้เทศบาลยกเลิกภาษีบางประเภท ค่าธรรมเนียมทะเบียนและค่าธรรมเนียมการบริการของราชการ
POL2147 | 6

5) ครอบครัวที่ยากจนก็ได้รับบริการฟรีในเรื่องยาและการรักษาสุขภาพต่างๆที่โรงพยาบาล

6) ตั้งกองทุนสงเคราะห์สาหรับให้ข้าราชการพลเรือนระดับล่างได้กู้ยืม

7) สาหรับพ่อค้าแม่ค้าเพื่อลดราคาสินค้าประเภทอาหาร จอมพลสฤษดิ์ได้สั่งให้เปิดตลาดแห่งใหม่ๆขึ้นตาม
ตลาดนัดวันอาทิตย์ที่มักจะเปิดร้านที่สนามหลวง อนุญาตให้บรรดาพ่อค้าสามารถนาเอาสินค้าของตนมาขายให้แก่
ประชาชนโดยตรงซึ่งไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง

นอกจากนี้ยังมีคาสั่งให้กองทัพเรือ ทาการจัดหามะพร้าว และข้าวสาร มาจาหน่ายให้ประชาชนใน


ราคาถูกอีกด้วย

8) ออกพระราชกฤษฎีกาให้ลดราคากาแฟขายปลีก จากราคา 70 สตางค์ เหลือ 50 สตางค์ต่อแก้ว


ซึ่งในขณะนั้นกาแฟดาเย็นเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมากในประเทศไทย

เรื่องดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ จอมพลสฤษดิ์ก็ไม่เคยมองข้าม และจาก


การกระทาในลักษณะนี้ ได้กอ่ ให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อพ่อขุนคนใหม่ ทาให้การยอมรับในหมู่ประชาชนได้ขยายวง
กว้างออกไปอย่างรวดเร็ว

2. การรักษาความสงบเรียบร้อยให้กบั สังคม

นับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีคนพูดถึงผลงานของจอมพลสฤษดิ์อยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย
ภายในประเทศ เนื่องจากจอมพลสฤษดิ์มีความเชื่อว่า ความสะอาดและความเรียบร้อยของหมู่บ้านหรือเมือง ย่อม
หมายถึงคนในเมืองนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองและทันสมัย

1) หลังการรัฐประหาร พ.ศ.2501 ได้มีคาสั่งให้จัดการกับอันธพาลอย่างเฉียบขาด เนื่องจากอันธพาลถือ


เป็นการบ่อนทาลายสังคมและประชาชน การขจัดพวกอันธพาลออกไปให้หมดสิ้นเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยส่งเสริม
ความผาสุกของราษฎร โดยมีการจับกุม สอบสวน กักขัง และควบคุมตัวอันธพาลไปไว้ที่สถานฝึกอบรม

2) จอมพลสฤษดิ์เห็นว่า ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ประชาชนสามารถใช้


ชีวิตของตนอย่างเรียบร้อย “ตามประเพณีนิยม” ดังนั้นวัฒนธรรมตะวันตกที่หลั่งไหลเข้ามาภายในสังคมไทย ไม่ว่า
จะเป็นการไว้ผมยาว การนุ่งกางเกงรัดรูป การสวมเสื้อผ้าสีฉูดฉาด การเล่นดนตรีแบบร็อคแอนด์โรล การเต้นรา
แบบทวิสต์ การเที่ยวตามสถานเริงรมย์ ล้วนถูกปฏิเสธจากรัฐบาล และกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในสายตาของรัฐบาล
ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีงามสาหรับเยาวชน รวมไปถึงแหล่งอบายมุขและซ่องโสเภณีต่างถูกกวดขันอย่างหนัก
POL2147 | 7

เนื่องจากถูกมองว่าเป็นแหล่งส่งเสริมอาชญากรรม โดยที่จอมพลสฤษดิ์สั่งให้จับกุมโสเภณีและส่งไปฝึกอบรมยัง
สถานฝึกอาชีพตามที่ต่างๆ

3) ให้ยกเลิกอาชีพสามล้อในเขตพระนคร เพราะเห็นว่าคนเหล่านี้ละทิ้งอาชีพเกษตรกรในชนบทแล้วมา
อาศัยอยู่ในพระนคร เช่น อาศัยอยู่ตามวัด โรงรถ ปลูกกระต๊อบข้างถนนหรือปลูกเพิงใต้สะพาน ทาให้บ้านเมือง
สกปรก นอกจากนี้ยังสั่งให้มีการทาความสะอาดถนนบ่อยครั้ง การขจัดขอทาน การกาจัดสุนัขกลางถนน การ
จับกุมคนที่เป็นโรคเรื้อน และส่งไปยังศูนย์ควบคุมโรคเรื้อน การปรับเงินสาหรับผู้ที่ทิ้งสิ่งปฏิกูลตามถนน ความ
เลื่อมใสของประชาชนที่มีต่อจอมพลสฤษดิ์ในฐานะพ่อขุนมีเพิ่มขึ้น เมื่อจอมพลสฤษดิ์จับกุมบุคคลที่ทิ้งเศษขยะลงบน
ท้องถนนด้วยตนเอง

4) โดยเฉพาะด้านการป้องกันอัคคีภัยและการสั่งประหารชีวิตคนวางเพลิง ทาให้ความนิยมของประชาชน
ที่มีต่อจอมพลสฤษดิ์มีมากขึ้น เพราะเห็นว่าการเกิดเพลิงไหม้เป็นความจาเป็นที่ต้องจัดการอย่างเร่งด่วนและเฉียบ
ขาด ด้วยเหตุนี้เมื่อเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ณ ที่ใด จอมพลสฤษดิ์มักจะเดินทางไปอานวยการดับเพลิงและทาการสอบสวน
ด้วยตนเอง และเมื่อสอบสวนแล้วพบว่าผู้นั้นเป็นผู้ลอบวางเพลิงก็จะถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการยิงเป้า การ
ลงโทษผู้ลอบวางเพลิงของจอมพลสฤษดิ์สามารถเรียกความนิยมได้จากประชาชน โดยแสดงให้เห็นว่ามีความห่วงใย
ต่อสวัสดิภาพของประชาชน ความเฉียบขาดของจอมพลสฤษดิ์ในเรื่องนี้ได้ผลมาก เพราะประชาชนส่วนใหญ่ชมเชย
จอมพลสฤษดิ์ว่าเป็นผู้ที่มีความพยายามจัดการกับปัญหาอัคคีภัยและปราบปรามผู้ลักลอบวางเพลิง ส่งผลทาให้จอม
พลสฤษดิ์ได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไม่ว่ากรณีที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ และที่สาคัญคือจอมพลสฤษดิ์
จะออกไปอานวยการด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือไม่ว่าจะเจ็บไข้หรือสุขสบาย จอม
พลสฤษดิ์ก็มักจะไปปรากฏตัวให้เห็นในที่เกิดเหตุอยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้ชื่อเสียงของจอมพลสฤษดิ์จึงแพร่หลายออกไป
อย่างกว้างขวางเพราะความสนใจและความเอาใจใส่ในเรื่องเพลิงไหม้ และประชาชนก็ดูจะมีความเชื่อถือว่า จอม
พลสฤษดิ์เป็นผู้นาที่ยิ่งใหญ่ตามแบบฉบับของพ่อขุน

3. การส่งเสริมสุขภาพและศีลธรรม

มีการดูแลกวดขันและปราบปรามยาเสพติด คือ ฝิ่นและเฮโรอีน โดยออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37


ว่าการเสพฝิ่นเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ให้ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย มีคาสั่งให้ยุบร้าน
จาหน่ายฝิ่น และโรงยาฝิ่นถูกปิดอย่างถาวร อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการสูบฝิ่นถูกเผาทาลายที่ท้องสนามหลวง
พร้อมกันนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งศูนย์บาบัดรักษาและสถานพักฟื้นสาหรับผู้เสพฝิ่น และเพื่อประกันว่ามีการดูแลและ
ควบคุมยาเสพติดอย่างเข้มงวด จอมพลสฤษดิ์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการปราบยาเสพติดและก่อตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้น
POL2147 | 8

ในกองปราบปรามอาชญากรรมของกรมตารวจ เพื่อจัดการกับการลักลอบเสพ และค้ายาเสพติดที่ไม่ถูกต้องตาม


กฎหมายทุกประเภท รวมไปถึงได้สั่งให้มีการจับกุมผู้ที่ผลิตเฮโรอีนและมีบทลงโทษด้วยการประหารชีวิต

4. การเยี่ยมเยียนประชาชน

เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางการเมืองและความสามัคคีภายในชาติ ซึ่งในขณะนั้นความแตกแยกทางการ
เมืองที่เกิดขึ้นภายในประเทศและสถานการณ์อันไม่มั่นคงในอินโดจีนได้คุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ และเพื่อ
ทาให้ความขัดแย้งภายในประเทศ และความขัดแย้งของกลุ่มชนระหว่างถิ่นลดน้อยลง จอมพลสฤษดิ์จึงได้วางแผน
เพื่อทาให้ประเทศเกิดความมั่นคง ด้วยการเดินทางออกไปเยี่ยมเยือนประชาชนตามหัวเมืองต่างๆเป็นการส่วนตัว
เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความห่วงใยประชาชนในทุกๆภาค และต้องการที่จะเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของ
ประชาชนด้วยตาตัวเอง

จอมพลสฤษดิ์ให้ความสนใจต่อปัญหาของประชาชนตามภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศ เพราะตระหนักดีว่าใน
เวลาที่ผ่านมานั้น ในบริเวณภาคต่างๆที่อยู่นอกเขตเมืองหลวงได้รับความสนใจน้อยมากจากรัฐบาล โดยเฉพาะใน
พื้นที่ภาคอีสาน เป็นบริเวณที่รัฐบาลในสมัยก่อนหน้าจอมพลสฤษดิ์ไม่ได้ให้การเหลียวแลอย่างจริงจัง จนบ่อยครั้ง
ก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะการต่อต้านอานาจรัฐ จอมพลสฤษด์จึงดาเนิน
มาตรการที่เป็นการส่งเสริมความสามัคคีภายในชาติและการสร้างเสถียรภาพทางการเมือง เช่น การสั่งประหาร
ชีวิตผู้นาทางการเมืองจากภาคอีสานที่แข็งข้อ และที่สาคัญคือใช้วิธีการปกครองแบบพ่อขุน โดยออกไปเยี่ยมเยือน
ราษฎรเป็นการส่วนตัว ตลอดจนการจัดทาแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 โดยสั่งให้มีการจัดทาแผนพัฒนา
เศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคขึ้นด้วย

นอกจากการตรวจราชการครั้งใหญ่แล้ว จอมพลสฤษดิ์ยังเดินทางไปตรวจราชการตามจังหวัดต่างๆอีก
เป็นระยะ เพื่อตรวจเขตชายแดนและโครงการพิเศษต่างๆ ในระหว่างการเดินทางไปตรวจราชการนั้น เมื่อมีโอกาส
จอมพลสฤษดิ์จะเดินทางโดยรถยนต์ และชอบที่จะไปตามถนนหนทางที่มีสภาพย่าแย่หรือถิ่นทุรกันดาร เพื่อที่จะ
แสดงให้เห็นถึงความอดทนต่อความยากลาบากและการใช้ชีวิตที่ไม่มีพิธีรีตรอง จอมพลสฤษดิ์ปฏิเสธที่จะพักแรมใน
บ้านพักรับรองและเลือกที่จะกางเต๊นท์นอน ซึ่งไม่ว่าจะเดินทางไปยังสถานที่ใด จอมพลสฤษดิ์ก็จะพยายามพูดคุย
กับประชาชนและรับฟังความต้องการของประชาชนโดยตรง เพราะฉะนั้นการเดินทางไปตรวจราชการของจอม
พลสฤษดิ์ก็เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นถึงความเป็นพ่อขุนที่ห่วงใยและเอาใจใส่ต่อความต้องการของประชาชน

สรุป ระบบพ่อขุนอุปถัมภ์ของจอมพลสฤษดิ์นั้นถือเป็นระบบการปกครองที่ยังไม่เหมาะสมสาหรับประเทศไทย
เนื่องจากการมีอานาจอย่างเบ็ดเสร็จของผู้นาส่งผลให้เกิดการเผด็จการซ้อนเข้ามาในการปกครอง โดยมีการจากัด
สิทธิและเสรีภาพของประชาชน มีการใช้ความรุนแรง ก่อให้เกิดความหวาดกลัวและจายอมมากกว่ายินยอม
POL2147 | 9

- เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

เหตุการณ์ 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์สาคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เนื่องจากเป็น


เหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคน ชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอม
พลถนอม กิตติขจร นาไปสู่คาสั่งของรัฐบาลให้ใช้กาลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ.
2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจานวนมาก

สภาพสถานการณ์โดยทัว่ ไปก่อนเหตุการณ์

เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่ จอมพลถนอม กิตติขจร ทาการรัฐประหารตัวเอง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.


2514 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนมองว่า เป็นการสืบทอดอานาจตนเองจาก จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นอกจากนี้
จอมพลถนอมจะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตาแหน่งผู้
บัญชาการทหารสูงสุดออกไป อีกทั้ง พลเอกประภาส จารุเสถียร บุคคลสาคัญในรัฐบาล ที่มิได้รับการยอมรับ
เหมือนจอมพลถนอม กลับจะได้รับยศจอมพล และตาแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริต
ในวงราชการ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก

6 ตุลาคม 2516 มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลาย


อาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน
นาโดย นายธีรยุทธ บุญมี ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่างๆในกรุงเทพมหานคร เช่น
ประตูน้า สยามสแควร์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตารวจนครบาลจับได้เพียง 11 คน
และนาไปขังไว้ที่โรงเรียนพลตารวจบางเขน ก่อนนาไปขังต่อที่เรือนจากลางบางเขน ซึ่งก่อนหน้านั้นได้ตั้งข้อหามั่ว
สุมชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ภายหลังจากนั้นตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็นคอมมิวนิสต์ โดยห้ามเยี่ยม ห้ามประกัน
เด็ดขาด จากนั้นจึงได้มีการประกาศจับ นายก้องเกียรติ คงคา นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคาแหง และตามจับ นาย
ไขแสง สุกใส อดีต ส.ส.จ.นครพนม ขึ้นอีก รวมทั้งหมดเป็น 13 คน โดยกล่าวหาว่า นายไขแสงเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลัง
การแจกใบปลิวครั้งนี้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ถูกเรียกขานว่าเป็น “13 ขบถรัฐธรรมนูญ” เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจ
ครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก จนนาไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งใน
ขณะนั้นกาลังสอบกลางภาค แต่ทางองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้
ว่า “งดสอบ” พร้อมทั้งยื่นคาขาดให้ทางรัฐบาลปล่อยตัวบุคคลทั้ง 13 ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึง
เวลาแล้ว รัฐบาลก็หาได้ยอมกระทาไม่

มูลเหตุสาคัญของเหตุการณ์
P O L 2 1 4 7 | 10

เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการประท้วงคาสั่งลบชื่อนักศึกษารามคาแหง 9 คน การ


ประท้วงนี้ยังเสนอให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายในเวลา 6 เดือนอีกด้วย เนื่องจากก่อนหน้านี้ประเทศไทยมี
การปกครองภายใต้รัฐบาลทหารโดยไม่มีรัฐธรรมนูญ

ในวันที่ 9 ตุลาคม 2516 นักศึกษาจัดให้มีการประท้วงในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล


ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน มีนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนมาร่วมชุมนุมประมาณ 5 แสนคน และเมื่อไม่มีการ
ตอบสนองจากรัฐบาล เที่ยงตรงของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ฝูงชนก็เคลื่อนตัวออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และลานพระบรมรูปทรงม้า การเจรจาระหว่างนักศึกษากับฝ่ายรัฐบาลดาเนินไปจนถึง
เวลาดึกของวันเดียวกัน สุดท้ายการนองเลือดก็เริ่มต้นเมื่อเวลาเช้ามืดของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อตารวจ
คอมมานโดบุกเข้าตีนักศึกษาที่กาลังจะแยกย้ายกันกลับบ้าน หลังจากนั้นข่าวการทารุณของตารวจคอมมานโดก็
แพร่ไปทั่วกรุงเทพฯ

นักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน ที่มีแต่ระเบิดขวด ท่อนไม้ และก้อนหิน เข้าปะทะกับทหารและตารวจที่มี


อาวุธครบมือ จนบานปลายเป็นการจลาจล ลุกลามไปยังท้องสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถนนราช
ดาเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาจะสิ้นสุดลงเมื่อ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพล
ประภาส จารุเสถียร และ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร หรือตามที่เรียกกันในขณะนั้นว่า “3 ทรราช” ได้เดินทางออกนอก
ประเทศไปในที่สุด

บทสรุปของเหตุการณ์

ประเทศไทยช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ถือได้ว่าเป็นช่วงที่กระแสประชาธิปไตยเบ่งบานที่สุดช่วงหนึ่งใน


ประวัติศาสตร์ หลังเหตุการณ์มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่างรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมาก
ที่สุด และจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในเวลาต่อมา

ปัญหาสังคมที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ได้ระเบิดออกมาหลังเหตุการณ์ขบวนการนักศึกษา และกระแส


ประชาธิปไตยแสดงพลังอย่างชัดเจน มีการสไตรค์ของกรรมการบ่อยครั้ง และเกิดการรวมตัวของชาวนาและ
เกษตรกรอย่างกว้างขวางและเป็นระบบทั่วประเทศ

ตามมาด้วยขบวนการของกลุ่มอานาจฝ่ายขวาอย่างเช่น กลุ่มนวพลลูกเสือชาวบ้านและกระทิงแดง ที่จัดตั้ง


ขึ้นเพื่อใช้ความรุนแรงต่อต้านขบวนการนักศึกษาในลักษณะ “ขวาพิฆาตซ้าย”

ความสาคัญของเหตุการณ์นี้นั้น นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ประชาชนคนไทยได้แสดง “พลังประชาชนและ


ประชาธิปไตย” ซึ่งมีผลในการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเมืองและสังคมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
P O L 2 1 4 7 | 11

- เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549

เป็นการใช้กาลังทหารเข้ายึดอานาจจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ซึ่งปรากฏเป็น


รูปธรรมในช่วงเวลาประมาณ 22.00 น. ของวันอังคารที่ 19 กันยายน 2549 โดยมีเค้าลางปรากฏให้เห็นตลอด
ทั้งวัน

สัญญานแรกที่ปรากฏให้เห็นนั้นเกิดขึ้นในช่วงเช้า เมื่อผู้บัญชาการทั้ง 3 เหล่าทัพ ได้รับคาสั่งด่วนจาก


พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ที่ทาหน้าที่ประธานการประชุม ครม. แทน พ.ต.ท.ทักษิณ
ซึ่งติดภารกิจร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่สหรัฐอเมริกา เรียกผู้นาทุกเหล่าทัพเข้าประชุมร่วมกับ
คณะรัฐมนตรีที่ทาเนียบรัฐบาล แต่ไม่มีผู้นาเหล่าทัพคนใดเข้าร่วม ยกเว้น พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการ
ตารวจแห่งชาติ

นับจากนั้นข่าวการรัฐประหารก็สะพัดขึ้นทันที ก่อนจะชัดเจนเมื่อพบความเคลื่อนไหวเป็นพิเศษของกองกาลัง
พลสังกัดกองทัพภาคทื่ 3 ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พล.ท.สพรั่ง กัลยาณมิตร แม่ทัพภาคที่ 3 โดยมี
รายงานข่าวในช่วงบ่ายว่า พล.ท.สพรั่ง ได้เดินทางไปที่กองพลทหารม้าที่ 1 เพชรบูรณ์ พร้อมสั่งการให้ตรวจสอบ
ความพร้อมของยานลาเลียง รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆของ พล.ม.1

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวที่ พล.ม.1 หาได้รอดพ้นสายตาของทหารอีกฝ่ายที่ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่


เมื่อความเคลื่อนไหวส่วนนี้ปรากฏออกมา กาลังอีกด้านจาก พล.ม.2 ซึ่งมี พล.ต.ศานิตย์ พรมมาศ ตท.10 รุ่น
เดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็น ผบ.พล ก็ได้เคลื่อนกาลังเข้าอารักขาทาเนียบรัฐบาลทันที ทาให้การเคลื่อนไหวที่ พล.
ม.1 เงียบลงไป กระนั้นข่าวการเตรียมกาลังยึดอานาจก็ยังสะพัดต่อไปอย่างคึกคัก จนมีข่าวว่ารักษาการรัฐมนตรี
บางคนเตรียมหลบหนีแล้ว

ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกิดขึ้นอีกครั้งในเวลา 17.00 น. กลุ่มพลเรือนประมาณ 10 คน ได้เดินทางไปที่


กองบัญชาการกองทัพบก ขอยื่นหนังสือให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. นากาลังออกมาทาให้สถานการณ์
ทางการเมืองคลี่คลาย เพื่อเข้าสู่การปฏิรูปการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย

ล่วงเข้าช่วงค่าวันเดียวกัน ข่าวการรัฐประหารยึดอานาจก็กระหึ่มหนักขึ้น ตามด้วยรายงานข่าวว่ามีการ


เจรจากันระหว่างผู้นาฝ่ายรัฐประหาร กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นข้อเสนอให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หลีกทางออกไป แต่ฝ่าย
หลังไม่สนองตอบ

ข่าวดังกล่าวเปรียบเสมือนฟางเส้นสุดท้าย ก่อนที่ฝ่ายรัฐประหารจะเคลื่อนกาลังออกมาอย่างเป็นรูปธรรม
P O L 2 1 4 7 | 12

เวลา 21.00 น. สายข่าวทุกสายยืนยันว่ามีรัฐประหารแน่นอน และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่เวลาดังกล่าว


สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ไม่มีการออกอากาศรายการต่างๆตามปกติ มีเพียงพระบรมฉายาลักษณ์ และ
เสียงเพลงเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น

จากนั้นแค่ไม่กี่นาที รถบัสนับสิบคัน จากศูนย์บัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี นากาลังพลในชุดพราง อาวุธ


ครบมือเดินทางถึงกองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดาเนิน ตามด้วยรถถ่ายทอดสดของ ททบ.5

สถานการณ์บีบคั้นหัวใจผ่านไปเพียงชั่วโมง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 ก็ออกอากาศสดเสียงของ พ.ต.ท.ทักษิณ


จากนิวยอร์ก ประกาศภาวะฉุกเฉิน พร้อมเด้ง บิ๊กบัง-สนธิ ไปช่วยราชการที่สานักนายกฯ โดยต้องไปรายงานตัว
กับ พล.ต.อ.ชิดชัย ทันที นอกจากนี้ยังมอบหมายให้ พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผบ.สส. เป็นหัวหน้าคณะรักษา
ความสงบเรียบร้อยตาม พ.ร.ก.บริหารราชการแผ่นดินในภาวะฉุกเฉิน แต่แล้วความหวังสุดท้ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ที่จะต่อสู้รักษาอานาจต่อไปก็พังทลายลง เมื่อทหารฝ่ายยึดอานาจสั่งยุติการออกอากาศทันที พร้อมกับที่ขบวนรถถัง
นับสิบคัน ผสมกับรถฮัมวี่ติดปืนกลได้เคลื่อนเข้าสู่ถนนราชดาเนินท่ามกลางความแปลกใจของประชาชน

ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวว่า กาลังพลฝ่ายรัฐประหารอีกส่วนจากกรมทหารราบที่ 31 ลพบุรี ได้เข้ายึด


ทาเนียบ นอกจากนั้นยังมีกาลังไม่ทราบฝ่ายเข้ายึดอาคารชินวัตร สถานีโทรทัศน์ไอทีวี บ้านจันทร์ส่องหล้า ของ
พ.ต.ท.ทักษิณ อีกด้วย

จนกระทั่งเวลา 23.00 น. ความสงสัยข้องใจทั้งหมดก็คลี่คลายลง เมื่อมีการแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์


รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ระบุว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข ซึ่งประกอบด้วย ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตารวจแห่งชาติ ได้เข้าควบคุมสถานการณ์
ในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑลได้แล้ว”

จากนั้นในเวลา 24.00 น. คณะปฏิรูปฯ พร้อมด้วย พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ได้เข้าเฝ้า


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระตาหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อกราบบังคมทูลถวายรายงาน
สถานการณ์

You might also like