You are on page 1of 12

คำถามที่พบบ่ อยในการใช้ งานโลหะกันกร่ อน (Sacrificial Anodes)

1. โลหะกันกร่ อน (Sacrificial Anodes) คืออะไร

2. เราจะทราบได้ อย่ างไรว่ าโลหะประเภทใดสามารถใช้ เป็ นโลหะกันกร่ อนได้ บ้าง

3. โลหะกันกร่ อน (Sacrificial Anode) ทีใช้ งานเป็ นประจำมีอยู่ทงั ้ หมดกี่ชนิด

4. โลหะกันกร่ อนทัง้ 3 ชนิด มีคุณสมบัตแิ ตกต่ างกันอย่ างไร

5. ทำไมเมื่อใช้ อลูมเิ นียมกันกร่ อนแทนสังกะสีกันกร่ อนที่มีขนาดเท่ ากันจึงรู้สึกเหมือนอลูมิเนียม


กันกร่ อน
  ไม่ ค่อยกร่ อนหรือกร่ อนน้ อยกว่ าสังกะสีกันกร่ อน

6. สามารถติดโลหะกันกร่ อนเพื่อใช้ งานในอากาศได้ ไหม เช่ น เสาไฟฟ้า รั ว้ บ้ านที่ทำจากเหล็ก

7. เราจะมีวิธีทราบได้ อย่ างไรบ้ างว่ าโลหะกันกร่ อนกำลังป้องกันไม่ ให้ เหล็กเป็ นสนิม

8. ค่ าศักย์ ไฟฟ้าของเหล็กเมื่อเทียบกับ Reference Electrode ที่แสดงว่ าเกิดการป้องกันสนิมแบบ


แคโทดิก (Cathodic Protection) คือเท่ าไหร่

9. โลหะกันกร่ อน (Sacrificial Anode) ที่ไม่ ทำงานหรื อทำงานได้ ไม่ ดีเกิดจากอะไรได้ บ้าง

10. ทำไมส่ วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition) จึงมีความสำคัญมากต่ อการใช้ งาน และ


เราจะมีวิธีตรวจสอบอย่ างไร

11. โลหะกันกร่ อนทัง้ 3 ชนิด มีความเหมาะสมในการใช้ งานแตกต่ างกันอย่ างไร

12. อลูมเิ นียมกันกร่ อน (Aluminium Anode) สามารถใช้ ป้องกันการกัดกร่ อนของเหล็กในน้ำทะเล


แทนสังกะสีกันกร่ อน (Zinc Anode) ได้ หรื อไม่

13. ข้ อจำกัดของการใช้ อลูมิเนียมกันกร่ อนคืออะไร

14. ข้ อจำกัดของการใช้ สังกะสีกันกร่ อนคืออะไร

15. จะสามารถเลือกใช้ งานโลหะกันกร่ อนเพื่อป้องกันตัวเรื อที่ทำจากเหล็กให้ เหมาะสมกับแหล่ ง


น้ำต่ างๆ ได้ อย่ างไร
16. โลหะกันกร่ อนชนิดใดที่เหมาะสมสำหรั บป้องกันสนิมของเรื อที่ทำจากอลูมิเนียม

1. โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anodes) คืออะไร


ตอบ  โลหะกันกร่อนคือโลหะบริสทุ ธิ์หรื อโลหะผสมที่ใช้ ติดตังเพื
้ ่อจ่ายกระแสป้องกันสนิมให้ กบั โครงสร้ างที่ ทำ
จากเหล็กหรื อโลหะประเภทต่างๆ โดยโลหะกันกร่อนจะเป็ นสนิมแทนจึงเป็ นที่มาของชื่อ Sacrificial Anode
หรื อ แอโนดผู้เสียสละ

2. เราจะทราบได้ อย่างไรว่าโลหะประเภทใดสามารถใช้ เป็ นโลหะกันกร่อนได้ บ้าง


ตอบ   สามารถพิจารณาได้ จากตารางลำดับชันของโลหะในน้ำทะเล
้ ซึง่ ทาง TMP ได้ ใช้ ข้อมูลจาก NACE
Corrosion Engineering’s Reference Book, 3rd Edition มานำเสนอ จากตารางหากเราใช้ Zinc (สังกะสี)
ร่วมกับ Silver (เงิน) ในน้ำทะเล Zinc จะเป็ นสนิม ข้ อควรระวังในการใช้ งานคือ ตารางนี ้จะเป็ นจริ งในน้ำทะเล
เท่านัน้ สำหรับการใช้ งานทัว่ ไปสามารถอ้ างอิงได้ แต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อนเล็ก
น้ อย 
3. โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ทีใช้ งานเป็ นประจำมีอยูท่ งหมดกี
ั้ ่ชนิด
ตอบ   โลหะกันกร่อนที่นิยมใช้ งานในปั จจุบนั มีอยู่ 3 ชนิด ประกอบด้ วย สังกะสีกนั กร่อน (Zinc Anode) อลูมิ
เนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) และแมกนีเซียมกันกร่อน (Magnesium Anode) แต่ในบางกรณีก็มีการ
ใช้ โลหะกันกร่อนที่เป็ นเหล็กอยูบ่ ้ าง เช่น การป้องกันสนิมของท่อทองแดง
4. โลหะกันกร่อนทัง้ 3 ชนิด มีคณ
ุ สมบัติแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  คุณสมบัติของโลหะกันกร่อนแต่ละชนิดสามารถแสดงได้ ดงั ตารางต่อไปนี  ้

จากตารางจะเห็นได้ วา่ โลหะกันกร่อนมีคณ ุ สมบัติที่สำคัญคือ Electrode Potential และ Current Capacity


Electrode Potential: แสดงถึงศักย์ไฟฟ้าของโลหะหรื อโลหะผสมแต่ละชนิด เมื่อเรานำโลหะ 2 ชนิดมาเชื่อม
ต่อกันทางไฟฟ้าหรื อสัมผัสกัน โลหะที่มีศกั ย์ทางไฟฟ้าต่ำกว่า (Anode) จะเป็ นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อปกป้อง
โลหะที่มีศกั ย์ไฟฟ้าสูงกว่า (Cathode) ไม่ให้ เป็ นสนิม โดยกระแสไฟฟ้าที่ไหลจาก Anode ไปยัง Cathode จะ
เกิดจากความต่างศักย์ทางไฟฟ้าระหว่างโลหะ 2 ชนิด และค่า Driving Voltage คือผลต่างระหว่างค่าศักย์ไฟ้
ฟ้าของ Anode และค่า Protection Potential ของโลหะ ซึง่ ในกรณีของเหล็กคือ -0.8 V vs
Ag/AgCl/Seawater
Current Capacity: แสดงถึงค่าความจุกระแสของโลหะกันกร่อนต่อน้ำหนัก โดยโลหะกันกร่อนที่มีคา่ ความจุก
ระแสสูงจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันสนิมได้ ยาวนานกว่า หรื อหากจ่ายกระแสไฟฟ้าในปริ มาณที่
เท่ากันโลหะกันกร่อนที่คา่ ความจุกระแสสูงกว่าจะใช้ น้ำหนักน้ อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น อลูมิเนียมกันกร่อนเมื่อ
นำไปใช้ งานจะมีความหมดเปลืองเชิงน้ำหนักน้ อยกว่าโลหะกันกร่อนชนิดอื่น ส่วน
Consumption Rate คือความหมดเปลืองของโลหะกันกร่อน ซึง่ เป็ นส่วนกลับของ Current Capacity

5. ทำไมเมื่อใช้ อลูมิเนียมกันกร่อนแทนสังกะสีกนั กร่อนที่มีขนาดเท่ากันจึงรู้สกึ เหมือนอลูมิเนียมกันกร่อนไม่


ค่อยกร่อนหรื อกร่อนน้ อยกว่าสังกะสีกนั กร่อน
ตอบ  จากตารางในข้ อ 4 หากใช้ สงั กะสีกนั กร่อน 1 kg จะมีความจุกระแส 780 Ah โดยถ้ ากำหนดให้ สงั กะสีกนั
กร่อนมีความหนาแน่น 7.1 g/cm3 และอลูมิเนียมกันกร่อนมีความหนาแน่น 2.7 g/cm3 เมื่อใช้ อลูมิเนียมกัน
กร่อนที่มีขนาดเท่ากันกับสังกะสีกนั กร่อนจะได้ อลูมิเนียมกันกร่อนที่มีน ้ำหนัก 0.38 kg และมีคา่ ความจุกระแส
ประมาณ 950 Ah จากข้ อมูลข้ างต้ นจะเห็นได้ วา่ อลูมิเนียมกันกร่อนมีคา่ ความจุกระแสมากกว่าสังกะสีกนั
กร่อนประมาณ 21.8% ดังนันเมื ้ ่อเราใช้ อลูมิเนียมกันกร่อนมาติดแทนสังกะสีกนั กร่อนเพื่อป้องกันการเกิดสนิม
จึงทำให้ ร้ ูสกึ เหมือนว่าอลูมิเนียมกันกร่อนไม่คอ่ ยกร่อนหรื อกร่อนน้ อยกว่านัน่ เอง
6. สามารถติดโลหะกันกร่อนเพื่อใช้ งานในอากาศได้ ไหม เช่น เสาไฟฟ้า รัว้ บ้ านที่ ทำจากเหล็ก
ตอบ  โลหะกันกร่อนสามารถใช้ งานในน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำทะเล ใต้ ดนิ หรื อในคอนกรี ต แต่ไม่สามารถใช้ งานใน
อากาศได้ เพราะระบบป้องกันสนิมแบบแคโทดิก (Cathodic Protection) ต้ องมี 4 องค์ประกอบครบถ้ วนคือ
Cathode, Anode, Metallic Path และ Electrolyte ดังแสดงในรูปจึงจะสามารถทำงานได้ และเนื่องจาก
อากาศมีความต้ านทานทางไฟฟ้าสูงมากเกินไปจึงไม่สามารถนับเป็ น Electrolyte ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ ชดั คือ
เสาเหล็กชุบสังกะสีที่ตากแดดตากฝนและเป็ นสนิม

7. เราจะมีวิธีทราบได้ อย่างไรบ้ างว่าโลหะกันกร่อนกำลังป้องกันไม่ให้ เหล็กเป็ นสนิม


ตอบ  เราสามารทราบได้ 2 วิธีด้วยกันคือ
     7.1 โดยการวัดศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเทียบกับ Reference Electrode: หลักการทำงานของโลหะกันกร่อนคือ
เมื่อนำไปติดตังกั
้ บเหล็กแล้ ว จะมีผลทำให้ ศกั ย์ไฟฟ้าของเหล็กลดต่ำลงจนเปลี่ยนสภาพจากสภาวะการเกิด
สนิม (Corrosion) เป็ นสภาวะที่มีภมู ิต้านทานต่อการเกิดสนิม (Immunity) ดังนันหากเราวั
้ ดค่าศักย์ไฟฟ้าของ
เหล็กเทียบกับ Reference Electrode แล้ ว มีคา่ ลดลงเป็ นไปตามที่มาตรฐานกำหนดก็สามารถสรุปได้ วา่ เหล็ก
เกิด Cathodic Protection แล้ ว
     7.2 โดยการสังเกต: หากโลหะกันกร่อนทำงานได้ เป็ นอย่างดี บริ เวณที่อยูใ่ นรัศมีป้องกันของโลหะกันกร่อน
ไม่ควรจะตรวจพบสนิม
   

8. ค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเมื่อเทียบกับ Reference Electrode ที่แสดงว่าเกิดการป้องกันสนิมแบบ แคโทดิก


(Cathodic Protection) คือเท่าไหร่
ตอบ  ตัวอย่างค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กเมื่อเทียบกับ Reference Electrode ที่แสดงว่าเกิดการป้องกันสนิมแบบ
แคโทดิก (Cathodic Protection) จากหนังสือ NACE Corrosion Engineering's Reference Book, 3rd
Edition มีดงั นี ้
     8.1 -850 mV to a Saturated Copper–Copper Sulfate Reference Electrode (CSE) สำหรับการวัดค่า
ศักย์ไฟฟ้าของเหล็กในน้ำทะเลและใต้ ดิน
     8.2 -800 mV to Ag/AgCl/Seawater สำหรับการวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กในน้ำทะเล
     8.3 เกิด Cathodic Polarization ระหว่างเหล็กกับ Stable Reference Electrode ไม่น้อยกว่า 100 mV
สำหรับการวัดค่าศักย์ไฟฟ้าของเหล็กในน้ำทะเล ใต้ ดิน และในคอนกรี ต

9. โลหะกันกร่อน (Sacrificial Anode) ที่ไม่ทำงานหรื อทำงานได้ ไม่ดีเกิดจากอะไรได้ บ้าง


ตอบ 
     9.1 มีสว่ นประกอบทางเคมี (Chemical Composition) ไม่ถกู ต้ อง
     9.2 ใช้ งานโลหะกันกร่อนไม่เหมาะสม

10. ทำไมส่วนประกอบทางเคมี (Chemical Composition) จึงมีความสำคัญมากต่อการใช้ งาน และเราจะมีวิธี


ตรวจสอบอย่างไร
ตอบ จากตารางด้ านล่างเป็ นตัวอย่างส่วนประกอบทางเคมีของสังกะสีกนั กร่อน (Zinc Anode) และอลูมิเนียม
กันกร่อน (Aluminium Anode) ตามมาตรฐานต่างๆ ได้ แก่ ASTM Standard, MIL-A-18001K ของกองทัพเรื อ
สหรัฐอเมริ กา GL-Zn1 และ GL-Al1 ของ Germanischer Lloyd ประเทศเยอรมัน และ TMP Anode ซึง่ เป็ น
อลูมิเนียมกันกร่อนที่ทาง TMP ได้ ค้นคว้ าและพัฒนาขึ ้นเอง ซึง่ จากส่วนประกอบทางเคมีของทังสั ้ งกะสีกนั
กร่อนและอลูมิเนียมกันกร่อน ทางผู้ผลิตจำเป็ นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ วตั ถุดิบคุณภาพสูง พนักงานต้ องมีความ
เชี่ยวชาญในการผลิต รวมถึงต้ องมีเครื่ องมือหรื ออุปกรณ์ สำหรับตรวจส่วนประกอบทางเคมีเฉพาะอยูภ่ ายใน
โรงงาน เพราะหากขาดอย่างใดอย่างหนึง่ จะทำให้ โลหะกันกร่อนที่ผลิตได้ มีโอกาสไม่ผา่ นมาตรฐานสูงมาก
โดยสารปนเปื อ้ นต่างๆ ที่เกินมาตรฐาน เช่น Pb, Fe และ Cu จะทำให้ โลหะกันกร่อนไม่ทำงานเพราะอาจจะ
ทำให้ ศกั ย์ไฟฟ้าของโลหะเพิ่มขึ ้นจนหมดคุณสมบัติในการเป็ นโลหะกันกร่อน หรื อมีคณ ุ สมบัติต ่ำกว่า
มาตรฐาน เช่น มีความจุกระแสน้ อยและทำให้ โลหะกันกร่อนหมดเร็ ว ซึง่ จะทำให้ อายุการใช้ งานโลหะกันกร่อน
สันกว่
้ าปกติ ดังนันการใช้
้ วสั ดุ Recycle หรื อการส่งโลหะกันกร่อนตรวจที่ห้องปฏิบตั ิการกลางภายนอกโรงงาน
หลังจากทำการผลิตเสร็จแล้ วโดยไม่มีเครื่ องตรวจเป็ นของตนเอง จะทำให้ ไม่สามารถควบคุมคุณภาพการผลิต
หน้ างานได้ ดีเพียงพอ
11. โลหะกันกร่อนทัง้ 3 ชนิด มีความเหมาะสมในการใช้ งานแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 
     11.1 สังกะสีกนั กร่อนมีคา่ ศักย์ไฟฟ้าสูงที่สดุ ในกลุม่ หรื อกล่าวได้ วา่ มีคา่ Driving Voltage น้ อยที่สดุ และ
ยังมีคา่ ความจุกระแสไฟฟ้าต่ำ จึงเหมาะสำหรับใช้ ป้องกันสนิมในบริ เวณที่มีความต้ านทานไฟฟ้าไม่สงู มากนัก
เช่น น้ำทะเล
     11.2 อลูมิเนียมกันกร่อนมีคา่ ศักย์ไฟฟ้าปานกลาง แต่มีคา่ ความจุกระแสสูง จึงเหมาะสำหรับใช้ ป้องกันการ
กัดกร่อนในน้ำทะเล และน้ำกร่อย
     11.3 แมกนีเซียมกันกร่อนมีคา่ ศักย์ไฟฟ้าต่ำที่สดุ และมีคา่ ความจุกระแสปานกลาง จึงเหมาะสำหรับใช้
ป้องกันการกัดกร่อนในบริเวณที่มีความต้ านทานไฟฟ้าสูง เช่น น้ำกร่อยมาก น้ำจืด และใต้ ดิน
12. อลูมิเนียมกันกร่อน (Aluminium Anode) สามารถใช้ ป้องกันการกัดกร่อนของเหล็กในน้ำทะเลแทนสังกะสี
กันกร่อน (Zinc Anode) ได้ หรื อไม่
ตอบ  อลูมิเนียมกันกร่อนสามารถใช้ ป้องกันสนิมเหล็กในน้ำทะเลได้ เป็ นอย่างดี ตัวอย่างการใช้ งานที่พบเห็นได้
ทัว่ ไปได้ แก่ แท่นขุดเจาะ ท่อส่งน้ำมัน ท่าเทียบเรื อ และเรื อเดินสมุทรประเภทต่างๆ

13. ข้ อจำกัดของการใช้ อลูมิเนียมกันกร่อนคืออะไร


ตอบ  อลูมิเนียมกันกร่อนไม่เหมาะสมที่จะใช้ งานในน้ำกร่อยมาก น้ำจืด หรื อใต้ ดิน เพราะคุณสมบัติในการเกิด
ออกไซด์ฟิล์มที่ผวิ ของอลูมิเนียม (Passivation) จะขัดขวางการจ่ายกระแสของอลูมิเนียมกันกร่อนไปยังโลหะที่
ต้ องการจะป้องกัน

14. ข้ อจำกัดของการใช้ สงั กะสีกนั กร่อนคืออะไร


ตอบ  สังกะสีกนั กร่อนไม่เหมาะกับการใช้ งานในพื ้นที่น้ำกร่อย เพราะมักเกิดชันออกไซด์
้ ฟิล์มหนาปกคลุมผิว
ซึง่ ขัดขวางการจ่ายกระแสของสังกะสีกนั กร่อน

15. จะสามารถเลือกใช้ งานโลหะกันกร่อนเพื่อป้องกันตัวเรื อที่ทำจากเหล็กให้ เหมาะสมกับแหล่งน้ำต่างๆ ได้


อย่างไร
ตอบ  การเลือกใช้ โลหะกันกร่อนเพื่อป้องกันตัวเรื อเหล็กสามารถพิจารณาได้ จากตำบลที่จอดเรื อประจำ หรื อ
ประเภทของน้ำที่ตวั เรื อเหล็กมีโอกาสสัมผัสบ่อยที่สดุ คือ น้ำทะเล น้ำกร่อย หรื อน้ำจืด

เมื่อพิจารณาจากตารางคุณสมบัติของโลหะกันกร่อนในคำตอบข้ อ 4 ข้ อแนะนำการใช้ งานสังกะสีกนั ก่อน อลูมิ


เนียมกันกร่อน และแมกนีเซียมกันกร่อน จาก US Military Standard ในข้ อ 10 และรูปผลการทดลองติดตัง้
ก้ อนสังกะสีกนั กร่อนและก้ อนอลูมิเนียมกันกร่อนเข้ ากับแผ่นเหล็กไม่ทาสีความยาว 6 เมตร และจุ่มแช่ในน้ำ
ทะเลบริ เวณ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี และในน้ำกร่อยบริ เวณปากแม่น้ำเจ้ าพระยา อ.พระสมุทรเจดีย์
จ.สมุทรปราการ
ทำให้ สามารถสรุปการเลือกใช้ โลหะกันกร่อนกับตัวเรื อเหล็กได้ ดงั ตารางต่อไปนี ้

16. โลหะกันกร่อนชนิดใดที่เหมาะสมสำหรับป้องกันสนิมของเรื อที่ทำจากอลูมิเนียม


ตอบ  ปกติแล้ วสังกะสีกนั กร่อนมีความเหมาะสมกับเรื ออลูมิเนียมมากที่สดุ ในบางกรณีก็มีความจำเป็ นต้ องใช้
อลูมิเนียมกันกร่อนแทน แต่เนื่องด้ วยโลหะวิทยาของอลูมิเนียมในน้ำค่อนข้ างมีความซับซ้ อน การเลือกใช้ งาน
โลหะกันกร่อนที่ไม่ถกู ต้ องอาจจะทำให้ เรื ออลูมิเนียมเกิดสนิมรุนแรงได้ ดังนันหากมี
้ ข้อสงสัยหรื อไม่มนั่ ใจควร
ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกโลหะกันกร่อนเพื่อใช้ งาน
  

You might also like