You are on page 1of 89

แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Backward Design

รายวิชา ว30104 วิทยาศาสตร์

3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

นายสมประสงค์ จำปาทอง
ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ.2

โรงเรียนพุทธิรังสีพิบูล อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา


สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
สำนัากอากาศและภู
ลมฟ้ งานคณะกรรมการการศึ
มิอากาศ กษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Backward Design
รายวิชา ว30104 วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

นายสมประสงค์ จำปาทอง
ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ.2

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนพุทธิรังสีพิบลู อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ว30104 วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เวลา 40 ชัว่ โมง/ภาคเรียน จำนวน 1.0 หน่วยกิต

ศึกษาดาราศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ การกำเนิดเอกภพตามทฤษฎีบิกแบง วิวัฒนาการของเอกภพ หลักฐาน


สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง องค์ประกอบและโครงสร้างของกาแล็กซีทางช้างเผือก กระบวนการเกิดดาวฤกษ์ สมบัติของ
ดาวฤกษ์ วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ การเกิดระบบสุริยะ การแบ่งเขตบริวารของดวงอาทิตย์ ลักษณะดาวเคราะห์ที่เอื้อ
ต่อการดำรงชีวิต ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ โครงสร้างของดวงอาทิตย์ การเกิดลมสุริยะ พายุสุริยะ และผลที่มีต่อ
โลก เทคโนโลยีอวกาศ และประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ
ศึก ษาวิทยาศาสตร์โ ลก ได้แก่ การแบ่ง ชั้นและสมบัติข องโครงสร้า งโลก หลัก ฐานทางธรณีวิทยา
ที่สนับสนุนการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีตามทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานและผลที่เกิดขึ้น
การเกิดภูเ ขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และสึนามิ ภูม ิอ ากาศของโลก การหมุนเวียนของอากาศและน้ำ ผิวหน้า
ในมหาสมุทร การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ลมฟ้าอากาศ
โดยใช้ ท ั ก ษะกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ กระบวนการสื บ เสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ
จากพยานหลักฐาน โดยใช้ความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการแปลความหมายและลงข้อสรุป และสื่อสาร
ความคิด ความรู้ หรือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างเหมาะสม
เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์
และสภาพแวดล้อ ม นำความรู้ ความเข้า ใจ ไปใช้ให้เ กิดประโยชน์ต่อ สัง คมและการดำรงชีวิต ป้อ งกัน ดูแล
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมของท้องถิ่น พัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการ
แก้ปัญหา และการจัดการ ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม
และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

รหัสตัวชี้วัด
ว 3.1 ม.6/1, ม.6/2, ม.6/3, ม.6/4, ม.6/5, ม.6/6, ม.6/7, ม.6/8, ม.6/9, ม.6/10
ว 3.2 ม.6/1, ม.6/2, ม.6/3, ม.6/4, ม.6/5, ม.6/6, ม.6/7, ม.6/8, ม.6/9, ม.6/10,
ม.6/11, ม.6/12, ม.6/13, ม.6/14
รวมทั้งหมด 24 ตัวชี้วัด

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
โครงสร้างรายวิชา ว30104 วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
เวลาเรียน 40 ชัว่ โมง จำนวน 1.0 หน่วยกิต

ที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด เวลา (ชั่วโมง)


1 โลกในเอกภพ ว 3.1 ม.6/1, ม.6/2, ม.6/3, ม.6/4, 12
ม.6/5, ม.6/6, ม.6/7, ม.6/8,
ม.6/9, ม.6/10
2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ว 3.2 ม.6/1, ม.6/2, ม.6/3, ม.6/4, 12
ม.6/5, ม.6/6
3 ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ว 3.2 ม.6/7, ม.6/8, ม.6/9, ม.6/10, 16
ม.6/11, ม.6/12, ม.6/13,
ม.6/14
รวม 24 ตัวชี้วัด 40

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระ มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรือ่ ง ลมฟ้าอากาศและภูมอิ ากาศ

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วดั
สาระที่ 3 วิทยาศาสตร์โลก และอวกาศ
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ ม.6/7 อธิบายปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการได้รับ
ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก พลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันในแต่ละ
และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลง บริเวณของโลก
ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิต ม.6/8 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศ ที่เป็นผลมา
และสิ่งแวดล้อม จากความแตกต่างของความกดอากาศ
ม.6/9 อธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ ที่เป็น
ผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
ม.6/10 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศตามเขต
ละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ
ม.6/11 อธิบายปัจจัยที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ
ผิวหน้าในมหาสมุทร และรูปแบบการ
หมุนเวียนของน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร
ม.6/12 อธิบายผลของการหมุนเวียนของอากาศและ
น้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มีต่อลักษณะ
ภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และ
สิ่งแวดล้อม
ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศของโลก พร้อมทั้งนำเสนอแนว
ปฏิบัติเพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
ม.6/14 แปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่
สำคัญจากแผนที่อากาศ และนำข้อมูล
สารสนเทศต่าง ๆ มาวางแผนการดำเนินชีวิต
ให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรือ่ ง ลมฟ้าอากาศและภูมอิ ากาศ

ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ม.6/7 อธิบายปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการได้รับ - พื้นผิวโลกแต่ละบริเวณได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์
พลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันในแต่ละ ในปริมาณที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยสำคัญหลาย
บริเวณของโลก ประการ เช่น สัณฐานและการเอียงของแกนโลก
ลักษณะของพื้นผิว ละอองลอย และเมฆ ทำให้แต่ละ
บริเวณบนโลกมีอุณหภูมิไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีความ
กดอากาศแตกต่างกัน และเกิดการถ่ายโอนพลังงาน
ระหว่างกัน
ม.6/8 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศ ที่เป็นผลมา - การหมุนเวียนของอากาศเกิดขึ้นจากความกดอากาศ
จากความแตกต่างของความกดอากาศ ที่แตกต่างกันระหว่างสองบริเวณโดยอากาศเคลื่อนที่
จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มี
ความกดอากาศต่ำ ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน ในการ
เคลื่อนที่ของอากาศในแนวราบ และเมื่อพิจารณาการ
เคลื่อนที่ของอากาศในแนวดิ่งจะพบว่าอากาศเหนือ
บริเวณความกดอากาศต่ำจะมีการยกตัวขึ้นขณะที่
อากาศเหนือบริเวณความกดอากาศสูง จะจมตัวลง
โดยการเคลื่อนที่ของอากาศทั้งในแนวราบและ
แนวดิ่งนี้ ทำให้เกิดเป็นการหมุนเวียนของอากาศ
ม.6/9 อธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ ที่เป็น - การหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดแรงคอริออลิส
ผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ส่งผลให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศเบนไปโดย
อากาศที่เคลื่อนที่ในบริเวณซีกโลกเหนือจะเบนไป
ทางขวาจากทิศทางเดิม ส่วนบริเวณซีกโลกใต้จะเบน
ไปทางซ้ายจากทิศทางเดิม
ม.6/10 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศตามเขต - โลกมีความกดอากาศแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ
ละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ รวมทั้งอิทธิพลจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้
อากาศในแต่ละซีกโลกเกิดการหมุนเวียนของอากาศ
ตามเขตละติจูด แบ่งออกเป็น 3 แถบ โดยแต่ละ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง
แถบมีภูมิอากาศแตกต่างกัน ได้แก่ การหมุนเวียน
แถบขั้วโลกมีภูมิอากาศแบบหนาวเย็น การหมุนเวียน
แถบละติจูดกลางมีภูมิอากาศแบบอบอุ่น และการ
หมุนเวียนแถบเขตร้อนมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
- นอกจากนี้บริเวณรอยต่อของการหมุนเวียนอากาศ
แต่ละแถบละติจูด จะมีลักษณะลมฟ้าอากาศ ที่
แตกต่างกัน เช่น บริเวณใกล้ศูนย์สูตรมีปริมาณ
หยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยสูงกว่าบริเวณอื่นบริเวณละติจูด 30
องศา มีอากาศแห้งแล้งส่วนบริเวณละติจูด 60
องศา อากาศมีความแปรปรวนสูง
ม.6/11 อธิบายปัจจัยที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ - การหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร
ผิวหน้าในมหาสมุทร และรูปแบบการ ได้รับอิทธิพลจากการหมุนเวียนของอากาศในแต่ละ
หมุนเวียนของน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร แถบละติจูดเป็นปัจจัยหลักทำให้บริเวณซีกโลกเหนือ
มีการหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้าในทิศทางตาม
เข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่ง
กระแสน้ำผิวหน้าในมหาสมุทรมีทั้งกระแสน้ำอุ่น และ
กระแสน้ำเย็น
ม.6/12 อธิบายผลของการหมุนเวียนของอากาศและ - การหมุนเวียนอากาศและน้ำในมหาสมุทรส่งผลต่อ
น้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มีต่อลักษณะ ภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และ เช่น กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมที่ทำให้บางประเทศใน
สิ่งแวดล้อม ทวีปยุโรปไม่หนาวเย็นเกินไป และเมื่อการหมุนเวียน
อากาศและน้ำในมหาสมุทรแปรปรวน ทำให้เกิดผล
กระทบต่อสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น ปรากฏการณ์
เอลนีโญและลานีญา ซึ่งเกิดจากความแปรปรวนของ
ลมค้าและส่งผลต่อประเทศที่อยู่บริเวณมหาสมุทร
แปซิฟิก
ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง - โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ โดยปริมาณ
ภูมิอากาศของโลก พร้อมทั้งนำเสนอแนว พลังงานเฉลี่ยที่โลกได้รับเท่ากับพลังงานเฉลี่ยที่โลก
ปฏิบัติเพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อ ปลดปล่อยกลับสู่อวกาศ ทำให้เกิดสมดุลพลังงาน
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ของโลก ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในแต่ละปี

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ตัวชี้วดั สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ค่อนข้างคงที่และมีลักษณะภูมิอากาศที่ไม่
เปลี่ยนแปลง หากสมดุลพลังงานของโลกเกิดการ
เปลี่ยนแปลงไปจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกและ
ภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากปัจจัย
หลายประการทั้งปัจจัยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและ
การกระทำของมนุษย์ เช่น แก๊สเรือนกระจก ลักษณะ
ผิวโลก และละอองลอย
- มนุษย์มีส่วนช่วยในการชะลอการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศโลกได้โดยการลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงสมดุลพลังงาน เช่น ลดการปลดปล่อย
แก๊สเรือนกระจกและละอองลอย
ม.6/14 แปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่ - แผนที่อากาศผิวพื้นแสดงข้อมูลการตรวจอากาศใน
สำคัญจากแผนที่อากาศ และนำข้อมูล รูปแบบสัญลักษณ์หรือตัวเลข เช่น บริเวณความกด
สารสนเทศต่าง ๆ มาวางแผนการดำเนินชีวิต อากาศสูง หย่อมความกดอากาศต่ำพายุหมุนเขต
ให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ ร้อน ร่องความกดอากาศต่ำการแปลความหมาย
สัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศทำให้ทราบลักษณะลมฟ้า
อากาศ ณ บริเวณหนึ่ง
- การแปลความหมายสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนแผนที่
อากาศ ร่วมกับข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เช่น
โปรแกรมประยุกต์เกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ
เรดาร์ตรวจอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม สามารถนำมา
วางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้า
อากาศ เช่น การเลือกช่วงเวลาในการเพาะปลูกให้
สอดคล้องกับฤดูกาลการเตรียมพร้อมรับมือสภาพ
อากาศแปรปรวน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การวิเคราะห์ตัวชี้วดั
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรือ่ ง ลมฟ้าอากาศและภูมอิ ากาศ

ตัวชี้วดั พุทธิพิสัย (K) ทักษะพิสัย (P) จิตพิสัย (A)


ม.6/7 อธิบายปัจจัยสำคัญที่มีผล - ปัจจัยสำคัญที่ส่งผล ทักษะกระบวนการทาง - ความใจกว้าง
ต่อการได้รับพลังงานจาก ต่อการรับพลังงานจาก วิทยาศาสตร์ - การยอมรับ
ดวงอาทิตย์แตกต่างกันใน ดวงอาทิตย์ที่แตกต่าง - การสร้างแบบจำลอง ความเห็นต่าง
แต่ละบริเวณของโลก กันในแต่ละบริเวณ - การตีความหมาย - การใช้วิจารณญาณ
ม.6/8 อธิบายการหมุนเวียนของ ของโลก ข้อมูลและลงข้อสรุป - ความเชื่อมั่นต่อ
อากาศที่เป็นผลมาจาก - การหมุนเวียนของ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 หลักฐาน
ความแตกต่างของความกด อากาศที่เป็นผลจาก - การคิดอย่างมี - ความสนใจใน
อากาศ ความแตกต่างของ วิจารณญาณและ วิทยาศาสตร์
ม.6/9 อธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ ความกดอากาศ การแก้ปัญหา
ของอากาศที่เป็นผลมาจาก - ทิศทางการเคลื่อนที่ของ - การสร้างสรรค์และ
การหมุนรอบตัวเองของ อากาศที่เป็นผลมาจาก นวัตกรรม
โลก การหมุนรอบตัวเองของ - การสื่อสาร
ม.6/10 อธิบายการหมุนเวียนของ โลก สารสนเทศและการ
อากาศตามเขตละติจูด - การหมุนเวียนของ รู้เท่าทันสื่อ
และผลที่มีต่อภูมิอากาศ อากาศตามเขตละติจูด - ความร่วมมือ การ
ม.6/11 อธิบายปัจจัยที่ทำให้เกิด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ ทำงานเป็นทีมและ
การหมุนเวียนของน้ำ - ปัจจัยที่ทำให้เกิดการ ภาวะผู้นำ
ผิวหน้าในมหาสมุทรและ หมุนเวียนของนำ้
รูปแบบการหมุนเวียนของ ผิวหน้าในมหาสมุทร
น้ำผิวหน้าในมหาสมุทร และรูปแบบการ
ม.6/12 อธิบายผลของการ หมุนเวียนของน้ำ
หมุนเวียนของอากาศและ ผิวหน้าในมหาสมุทร
น้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มี - ผลของการหมุนเวียน
ต่อลักษณะภูมิอากาศ ลม ของอากาศและน้ำ
ฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และ ผิวหน้าในมหาสมุทรที่มี
สิ่งแวดล้อม ต่อลักษณะภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ตัวชี้วดั พุทธิพิสัย (K) ทักษะพิสัย (P) จิตพิสัย (A)
ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต
และสิ่งแวดล้อม
ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการ - ปัจจัยที่มีผลต่อการ
ทักษะกระบวนการทาง - ความใจกว้าง
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
วิทยาศาสตร์ - การยอมรับ
พร้อมทั้งนำเสนอแนว โลก - การหาความสัมพันธ์ของสเปซ
ความเห็นต่าง
ปฏิบัติเพื่อลดกิจกรรมของ - แนวปฏิบัติในการลด กับเวลา - การใช้วิจารณญาณ
มนุษย์ที่ส่งผลต่อการ กิจกรรมของมนุษย์ที่
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 - ความเชื่อมั่นต่อ
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ส่งผลต่อการ - การคิดอย่างมี หลักฐาน
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
วิจารณญาณและ - ความสนใจใน
โลก การแก้ปัญหา วิทยาศาสตร์
- การสร้างสรรค์และ - คุณธรรมและ
นวัตกรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
- การสื่อสาร กับวิทยาศาสตร์
สารสนเทศและการ
รู้เท่าทันสื่อ
- ความร่วมมือ การ
ทำงานเป็นทีมและ
ภาวะผู้นำ
ม.6/14 แปลความหมายสัญลักษณ์ - สัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศ ทักษะกระบวนการทาง - ความใจกว้าง
ลมฟ้าอากาศที่สำคัญจาก ที่สำคัญ และการแปล วิทยาศาสตร์ - การยอมรับ
แผนที่อากาศ และนำข้อมูล ความหมาย - การหาความสัมพันธ์ ความเห็นต่าง
สารสนเทศต่าง ๆ มา - การแปลความหมาย ของสเปซกับเวลา - การใช้วิจารณญาณ
วางแผนการดำเนินชีวิตให้ สภาพลมฟ้าอากาศจาก - การพยากรณ์ - การเห็นคุณค่าทาง
สอดคล้องกับสภาพลมฟ้า แผนที่อากาศผิวพื้น - การตีความหมาย วิทยาศาสตร์
อากาศ ข้อมูลและลงข้อสรุป - คุณธรรมและ
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
- การคิดอย่างมี กับวิทยาศาสตร์
วิจารณญาณและ
การแก้ปัญหา

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ตัวชี้วดั พุทธิพิสัย (K) ทักษะพิสัย (P) จิตพิสัย (A)
- การสื่อสาร
สารสนเทศและการ
รู้เท่าทันสื่อ
- ความร่วมมือ การ
ทำงานเป็นทีมและ
ภาวะผู้นำ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
ตามแนวทาง Backward Design
 หน่วยการเรียนรูท้ ี่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมอิ ากาศ
 เวลา 16 ชัว่ โมง

 ขั้นที่ 1 กำหนดเป้าหมายหลักของการเรียนรู้ (Identify Desired Result)

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (Standard and Indicators)

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว.3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัยกระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
โลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว.3.2 ม.6/7 อธิบายปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันในแต่ละ
บริเวณของโลก
ว.3.2 ม.6/8 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศ ที่เป็นผลมาจากความแตกต่างของความกดอากาศ
ว.3.2 ม.6/9 อธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ ที่เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
ว.3.2 ม.6/10 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ
ว.3.2 ม.6/11 อธิบายปัจจัยที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร และรูปแบบการ
หมุนเวียนของน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร
ว.3.2 ม.6/12 อธิบายผลของการหมุนเวียนของอากาศและน้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มีต่อลักษณะ
ภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
ว.3.2 ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก พร้อมทั้งนำเสนอแนว
ปฏิบัติเพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ว.3.2 ม.6/14 แปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่สำคัญจากแผนที่อากาศ และนำข้อมูล
สารสนเทศต่าง ๆ มาวางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ

ความเข้าใจที่คงทน (Enduring Understanding)

นักเรียนเข้าใจว่า.....
การที่โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลมและแกนโลกเอียง อีกทั้งมีชั้นบรรยากาศ เมฆและละอองลอยปกคลุม
รวมทั้งพื้นผิวโลกมีลักษณะแตกต่างกัน จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้พื้นผิวโลกในแต่ละบริเวณมีความเข้มรังสีดวง
อาทิตย์ไม่เท่ากัน ส่งผลให้แต่ละบริเวณบนโลกมีอุณหภูมิและความกดอากาศแตกต่ างกัน จึงเกิดการถ่ายโอนความ
ร้อนระหว่างบริเวณต่าง ๆ โดยกระบวนการหมุนเวียนของอากาศและการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทร ซึ่งทั้ง
การหมุนเวียนของอากาศและน้ำผิวหน้ามหาสมุทรส่งผลต่อภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมของ
บริเวณต่าง ๆ บนโลก
โลกมีกระบวนการสมดุลพลังงาน ที่ควบคุมให้พลังงานเฉลี่ยที่โลกได้รับเท่ากับพลังงานเฉลี่ยที่โลกปล่อย
กลับสู่อวกาศ ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกในแต่ละปีค่อนข้างคงที่ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ บรรยากาศ เมฆ
และพื้นผิวโลก หากปัจจัยดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงจะส่ง ผลต่อสมดุลพลังงานของโลกทำให้ภูมิอากาศมีก าร
เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ด้าน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะ
ร่วมมือกันลดปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและวางแผนรับมือต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
แผนที่อากาศผิวพื้นเป็นสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาที่แสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ ณ บริเวณ
หนึ่งในรูปของสัญลักษณ์ เช่น บริเวณความกดอากาศสูง หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน ร่องความกด
อากาศต่ำ
การแปลความหมายสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนแผนที่อากาศผิวพื้นร่วมกับภาพถ่ายดาวเทียมอุ ตุนิยมวิทยา
และข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ จะช่วยให้สามารถคาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้แม่นยำขึ้น
และใช้วางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น การเลือกช่วงเวลาในการเพาะปลูกให้
สอดคล้องกับฤดูกาล การเตรียมพร้อมรับมือสภาพอากาศแปรปรวน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (Competencies of learners)

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Character Education)

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คำถามสำคัญ (Essential Questions)

1. การหมุนเวียนของอากาศและการหมุนเวียนน้ำผิวหน้ามหาสมุทรเกิดขึ้นได้อย่างไร และส่งผลต่อลม
ฟ้าอากาศและภูมิอากาศอย่างไร
2. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกเกิดจากปัจจัยสำคัญใดบ้าง ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
อย่างไร
3. สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยามีอะไรบ้าง สามารถนำมาวางแผนการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
ให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศได้อย่างไร

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
 ขั้นที่ 2 กำหนดหลักฐานการเรียนรู้ (Determine Acceptable Evidence)

ตัวชี้วดั ภาระงาน/ชิ้นงาน เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน


ว 3.2 ม.6/7 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
ว 3.2 ม.6/8 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
- กิจกรรมที่ 1 แบบจำลองการหมุนเวียนของ - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
อากาศ
ว 3.2 ม.6/9 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
- กิจกรรมที่ 2 การเคลื่อนที่ของวัตถุบนพื้นที่ - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
กำลังหมุน
ว 3.2 ม.6/10 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
ว 3.2 ม.6/11 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
- กิจกรรมที่ 3 กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
กับภูมิอากาศ
ว 3.2 ม.6/12 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
- กิจกรรมที่ 4 ผลกระทบจากปรากฏการณ์ - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
เอลนีโญและลานีญา
ว 3.2 ม.6/13 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
- กิจกรรมที่ 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
- กิจกรรมที่ 6 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
ภูมิอากาศและการรับมือ
ว 3.2 ม.6/14 - แบบฝึกหัด - แบบฝึกหัด - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
- กิจกรรมที่ 7 สัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้า - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
อากาศบริเวณกว้าง
- กิจกรรมที่ 8 แปลความหมายข้อมูลเรดาห์ - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
ตรวจอากาศ
- กิจกรรมที่ 9 การใช้ประโยชน์จากข้อมูล - แบบประเมิน - ร้อยละ 70 ผ่านเกณฑ์
สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
 ขั้นที่ 3 การออกแบบการเรียนรู้ (Plan Learning Experiences and Instruction)

ที่ แผนการจัดการเรียนรู้ ตัวชี้วดั วิธีการ/กิจกรรม เวลา (ชั่วโมง)


1 ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการรับรังสี ว 3.2 ม.6/7 5E Instructional Model 1
ดวงอาทิตย์ของพื้นผิวโลก
2 การหมุนเวียนของอากาศ ว 3.2 ม.6/8-10 5E Instructional Model 4
3 การหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทร ว 3.2 ม.6/11 5E Instructional Model 2
4 ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา ว 3.2 ม.6/12 5E Instructional Model 2
5 กระบวนการที่ทำให้เกิดสมดุล ว 3.2 ม.6/13 5E Instructional Model 1
พลังงานของโลก
6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ว 3.2 ม.6/13 5E Instructional Model 1
ภูมิอากาศ
7 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ว 3.2 ม.6/13 5E Instructional Model 2
ภูมิอากาศและแนวทางการรับมือ
8 ข้อมูลและสารสนเทศทาง ว 3.2 ม.6/14 5E Instructional Model 2
อุตุนิยมวิทยา
9 การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ว 3.2 ม.6/14 5E Instructional Model 1
ทางอุตุนิยมวิทยา
รวม 16

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
 เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการรับรังสีดวงอาทิตย์
ของพื้นผิวโลก
 เวลา 1 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/7 อธิบายปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันในแต่ละ
บริเวณของโลก

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายปัจจัยสำคัญที่ทำให้แต่ละบริเวณบนโลกได้รับรังสีดวงอาทิตย์แตกต่างกัน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
-
จิตวิทยาศาสตร์
การยอมรับความเห็นต่าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
1.1 ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนสังเกตรูปนำบทในหนังสือเรียนหน้า 181 แล้วร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ลมฟ้าอากาศ และสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ตาม
ความคิดของนักเรียนเอง โดยใช้คำถามดังนี้
1. สภาพแวดล้อมของพื้นที่ในรูปทั้ง 3 แตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ รูป (ก) พื้นที่มีหิมะปกคลุมมาก รูป (ข) พื้นที่มีลักษณะเป็นป่ามีต้นไม้ปกคลุมมาก
รูป (ค) พื้นที่มีลักษณะเป็นทะเลทราย
2. พื้นผิวโลกบริเวณที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์น้อยจะมีสภาพแวดล้อมเหมือนกับรูปใด
แนวคำตอบ รูป (ก)
3. พื้นผิวโลกบริเวณที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากและได้รับหยาดน้ำฟ้าในปริมาณมากจะ
มีสภาพแวดล้อมเหมือนกับรูปใด
แนวคำตอบ รูป (ข)
4. พื้นผิวโลกบริเวณที่ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากแต่ได้รับหยาดน้ำฟ้าในปริมาณน้อยจะมี
สภาพแวดล้อมเหมือนกับรูปใด
แนวคำตอบ รูป (ค)
1.2 ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 8.1 ในหนังสือเรียนหน้า 182 และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความ
แตกต่างของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่พื้นผิวโลกในแต่ละบริเวณได้รับ โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. แถบสีในรูปแสดงข้อมูลอะไร
แนวคำตอบ ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก
2. พื้นผิวโลกบริเวณใดมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มาก แสดงด้วยแถบสีใด
แนวคำตอบ บริเวณทวีปแอฟริกา แสดงด้วยแถบสีส้มไปจนถึงสีชมพูเข้ม
3. พื้นผิวโลกบริเวณใดมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์น้อย แสดงด้วยแถบสีใด
แนวคำตอบ บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้แสดงด้วยแถบสีเขียว
1.3 ครูอธิบายนักเรียนเพิ่มเติมว่าความเข้มรังสีดวงอาทิตย์คือพลังงานจากรังสีดวงอาทิตย์ในหนึ่ง
หน่วยเวลาต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็นจูลต่อวินาทีต่อตารางเมตร หรือวัตต์ต่อตารางเมตร
1.4 ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียนโดยใช้คำถามว่า “เพราะเหตุใดพื้นผิวโลกแต่ละบริเวณจึงมี
ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์แตกต่างกัน” จากนั้นให้นักเรียนตอบตามความคิดของตนเอง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
2.1 ครูให้นักเรียนพิจารณารูป 8.2 และ 8.3 ในหนังสือเรียนหน้า 183-184 เพื่อศึกษาปัจจัยสัณฐาน
โลกและการเอียงของแกนโลกที่ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลกในแต่ละบริเวณและร่วมกันอภิปราย
โดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. รังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบบริเวณต่าง ๆ ด้วยมุมที่แตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ บางบริเวณรังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบในแนวตั้งฉาก บางบริเวณรังสีดวงอาทิตย์
ตกกระทบในแนวเฉียง
2. มุมที่รังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบแตกต่างกัน ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก
อย่างไร
แนวคำตอบ บริเวณที่รังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบในแนวตั้งฉาก ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บน
พื้นผิวโลกมากกว่าบริเวณที่รังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบในแนวเฉียง เนื่องจากบริเวณที่รังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบใน
แนวตั้งฉากมีขนาดพื้นที่รับแสงน้อยกว่า ดังนั้นพลังงานจากรังสีดวงอาทิตย์ต่อหน่วยพื้นที่จึงมีค่ามากกว่า
3. เพราะเหตุใดมุมที่รังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวโลกจึงแตกต่างกัน
แนวคำตอบ เพราะโลกมีสัณฐานคล้ายทรงกลม
4. ตำแหน่งที่ 1 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก บริเวณเหนือศูนย์สูตร บริเวณ
ศูนย์สูตร หรือบริเวณใต้ศูนย์สูตร
แนวคำตอบ ตำแหน่งที่ 1 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก ณ บริเวณเหนือศูนย์
สูตร
5. ตำแหน่งที่ 2 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก บริเวณเหนือศูนย์สูตร บริเวณ
ศูนย์สูตร หรือบริเวณใต้ศูนย์สูตร
แนวคำตอบ ตำแหน่งที่ 2 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก ณ บริเวณศูนย์สูตร
6. ตำแหน่งที่ 3 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก บริเวณเหนือศูนย์สูตร บริเวณ
ศูนย์สูตร หรือบริเวณใต้ศูนย์สูตร
แนวคำตอบ ตำแหน่งที่ 3 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก ณ บริเวณใต้ศูนย์สูตร
7. ตำแหน่งที่ 4 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก บริเวณเหนือศูนย์สูตร บริเวณ
ศูนย์สูตร หรือบริเวณใต้ศูนย์สูตร
แนวคำตอบ ตำแหน่งที่ 4 รังสีดวงอาทิตย์ตกตั้งฉากกับระนาบพื้นผิวโลก ณ บริเวณศูนย์สูตร
2.2 ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปโดยมีแนวทางการสรุปดังต่อไปนี้
แนวทางการสรุป โลกมีสัณฐานคล้ายทรงกลมทำ ให้บริเวณพื้นผิวโลกที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์ตก
กระทบในแนวตั้งฉากมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณที่รังสีตกกระทบในแนวเฉียง ดังรูป 8.3 และการที่
แกนโลกเอียงพร้อมกับโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้มุมตกกระทบของรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลกแต่ ละบริเ วณ
เปลี่ยนแปลงไปในรอบ 1 ปี ดังรูป 8.4

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
2.3 ครูให้ศึกษาปัจจัยเมฆและละอองลอย ที่ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลกในแต่ละ
บริเวณ ในหนังสือเรียนหน้า 185 และร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. ในช่วงที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งกับช่วงที่ท้องฟ้ามีเมฆหรือละอองลอยปกคลุมมาก รังสีดวง
อาทิตย์จะสามารถผ่านลงมายังพื้นผิวโลกแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ แตกต่างกัน คือ ในช่วงที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง รังสีดวงอาทิตย์จะสามารถผ่า นลง
มายังพื้นผิวโลกได้มากกว่าในช่วงที่ท้องฟ้ามีเมฆหรือละอองลอยปกคลุมมาก
2. เมฆและละอองลอยมีผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์จะสามารถผ่านลงมายังพื้นผิวโลก
อย่างไร
แนวคำตอบ เมฆและละอองลอยจะดูดกลืน สะท้อน และกระเจิงรังสี ดวงอาทิตย์ โดยในช่วงที่
ท้องฟ้ามีเมฆหรือละอองลอยมาก รังสีดวงอาทิตย์จะถูกดูดกลืน สะท้อน และกระเจิงได้มากทำให้รังสีดวงอาทิตย์ที่
ตกกระทบพื้นผิวโลกมีความเข้มน้อยลงกว่าในช่วงที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง
2.4 ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปโดยมีแนวทางการสรุปดังต่อไปนี้
แนวทางการสรุป เมฆและละอองลอยทำให้รังสีดวงอาทิตย์ถูกดูดกลืน สะท้อน และกระเจิง หาก
ท้องฟ้ามีเมฆหรือละอองลอยมาก รังสีดวงอาทิตย์จะถูกดูดกลืน สะท้อน และกระเจิงได้มาก ทำให้รังสีดวงอาทิตย์ที่
ตกกระทบพื้นผิวโลกมีความเข้มน้อยลง แต่ถ้าท้องฟ้าปลอดโปร่งรังสีดวงอาทิตย์จะสามารถผ่านลงมายังพื้นผิวโลก
ได้มาก
2.5 ครูให้ศึกษาปัจจัยลักษณะของพื้นผิวโลก ที่ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลกในแต่
ละบริเวณ ในหนังสือเรียนหน้า 187 และร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. จากรูป 8.5 ในหนังสือเรียนหน้า 187 รูป (ก) และ (ข) แสดงพื้นผิวใด หากมองไปบนพื้นผิว
(ก) และ (ข) ในเวลาที่มีแสงแดดส่องพื้นผิวใดจะรู้สึกแสบตากว่ากัน
แนวคำตอบ รูป (ก) คือพื้นหญ้า รูป (ข) คือพื้นคอนกรีต เมื่อมองไปบนพื้นคอนกรีตจะรู้สึกแสบ
ตามากกว่าพื้นหญ้า
2. เพราะเหตุใดการมองพื้นคอนกรีตจึงรู้สึกแสบตามากกว่าการมองพื้นหญ้า
แนวคำตอบ พื้นคอนกรีตสะท้อนแสงได้มากกว่าพื้นหญ้า
3. อัตราส่วนรังสีสะท้อนหมายความว่าอย่างไร
แนวคำตอบ อัตราส่วนของความเข้มรังสีที่สะท้อนออกจากพื้นผิววัตถุต่อความเข้มรังสีทั้งหมด
ที่ตกกระทบพื้นผิววัตถุ
4. ถ้าพื้นผิวที่มีอัตราส่วนรังสีสะท้อนมากหมายความว่าอย่างไร
แนวคำตอบ พืน้ ผิวนั้นสามารถสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้มากทำให้รับรังสีดวงอาทิตย์ได้น้อย
5. พื้นผิวโลกแต่ละบริเวณมีอัตราส่วนรังสีสะท้อนเหมือนหรือแตกต่างกัน เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ แตกต่างกัน เพราะพื้นผิวโลกแต่ละบริเวณมีลักษณะพื้นผิว เช่น สี สิ่งปกคลุม ชนิด
และความเรียบของพื้นผิว แตกต่างกัน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
2.6 ครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปโดยมีแนวทางการสรุปดังต่อไปนี้
แนวทางการสรุป พื้นผิวโลกที่มีลักษณะแตกต่างกันจะมีอัตราส่วนรังสีสะท้อนแตกต่างกัน ดยพื้นผิวที่
มีอัตราส่วนรังสีสะท้อนมากแสดงว่าพื้นผิวนั้นสามารถสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ออกไปได้มากทำให้รับรังสีดวงอาทิตย์
ได้น้อย
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 ครูตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลให้ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก
ในแต่ละบริเวณแตกต่างกัน โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 185-186 และ 188 ดังนี้
1. ในรอบ 1 ปี รังสีดวงอาทิตย์จะตกกระทบพื้นผิวโลกในแนวตั้งฉาก ณ บริเวณเดิมหรือ ไม่
เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ ไม่ใช่บริเวณดิม เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยแกนโลกเอียง บริเวณที่รังสี
ดวงอาทิตย์ตกกระทบพื้นผิวโลกในแนวตั้งฉากจะเปลี่ยนแปลงไปในรอบ 1 ปี
2. ถ้าเปรียบเทียบพื้นผิวโลก ณ บริเวณหนึ่งในช่วงเวลาก่อนและหลังฝนตก นักเรียนคิดว่า
ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลกจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ แตกต่างกัน เนื่องจากหลังฝนตกมีเมฆปกคลุมท้องฟ้าน้อยลง ประกอบกับน้ำฝน
ชะล้างเอาละอองลอยออกจากอากาศ รังสีดวงอาทิตย์ถูกสะท้อน ดูดกลืน และกระเจิงโดยเมฆ และละออยลองได้
น้อยลง ทำให้รังสีดวงอาทิตย์ในช่วงหลังฝนตกผ่านลงมายังพื้นผิวโลกได้มากกว่าช่วงก่อนฝนตก
3. ถ้ า หิ ม ะปกคลุ ม บริ เ วณขั ้ ว โลกหลอมเหลวไปจนเหลื อ แต่ พ ื ้ น ดิ น อั ต ราส่ ว นสะท้ อ นจะ
เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ อัตราส่วนรังสีสะท้อนมีค่าเปลี่ยนแปลงไป โดยอัตราส่วนรังสีสะท้อนมีค่าลดลง
ส่งผลให้พื้นที่บริเวณนั้นมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์มากขึ้น
3.2 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการรับรังสี
ดวงอาทิตย์ของพื้นผิวโลกโดยมีแนวการสรุปดังต่อไปนี้
แนวทางการสรุป พื้นผิวโลกแต่ละบริเวณมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์แตกต่างกันเนื่องจากปัจจัย
สำคัญต่าง ๆ คือ สัณฐานโลกและการเอียงของแกนโลก เมฆและละอองลอย ลักษณะของพื้นผิวโลก
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูใ ห้น ัก เรี ย นร่ วมกั น อภิ ปรายเพื ่อ ขยายความรู้เ กี ่ ย วกับ ปั จ จั ย ที ่ ส่ง ผลต่อ ความเข้ม รั ง สี
ดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก โดยใช้คำถามชวนคิดในหนังสือเรียนหน้า 188
นอกจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว นักเรียนคิดว่ายังมีปัจจัยใดอีกบ้างที่ส่งผลให้พื้นผิวโลก
แต่ละบริเวณของโลกได้รับรังสีดวงอาทิตย์ที่มีความเข้มแตกต่างกัน
แนวคำตอบ นอกจากปัจจัยสำคัญที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรียนแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อ
ความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก เช่น

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
- ระยะทางที่รังสีดวงอาทิตย์เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศมายังพื้นผิวโลก โดยในแถบศูนย์สูตรรังสี
ดวงอาทิตย์จะเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศมายังพื้นผิวโลกเป็นระยะที่น้อยกว่าในแถบละติจูดที่สูงขึ้นดังรูป ส่งผลให้
รังสีดวงอาทิตย์ถูกดูดกลืน สะท้อน และกระเจิงโดยอนุภาคในชั้นบรรยากาศน้อยกว่า
- ความสูงต่ำของพื้นผิวโลก โดยบริเวณที่อยู่สูงกว่าจะได้รับรังสีดวงอาทิตย์มากกว่าบริเวณที่อยู่
ต่ำ เนื่องจากรังสีดวงอาทิตย์เดินทางผ่านชั้นบรรยากาศลงมาเป็นระยะทางน้อยกว่าบริเวณที่อยู่ต่ำลงมา ส่งผลให้
รังสีดวงอาทิตย์ถูกดูดกลืน สะท้อน และกระเจิงโดยอนุภาคในชั้นบรรยากาศน้อยกว่า
4.2 ครูอภิปรายเพิ่มเติมว่าเมื่อพื้นผิวโลกแต่ ละบริเวณได้รับรังสีดวงอาทิตย์ไม่เท่ากันส่ง ผลให้
อุณหภูมิอากาศแต่ละบริเวณแตกต่างกัน จากนั้นครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองว่า “การที่
แต่ละบริเวณของโลกมีอุณหภูมิอากาศแตกต่างกันจะส่งผลอย่างไรบ้าง” เพื่อนำเข้าสู่หัวข้อการหมุนเวียนของอากาศ
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก จากการ
การตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตอบคำถาม และการนำเสนอผล การอภิปราย แบบฝึกหัด
5.2 ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการวิเคราะห์แผนภาพและอธิบายปัจจัย
สำคัญที่ส่งผลต่อความเข้มรังสีดวงอาทิตย์บนพื้นผิวโลก
5.3 ประเมินการยอมรับความเห็นต่าง จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นในการร่วมอภิปราย

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว30104
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
 เรื่อง การหมุนเวียนของอากาศ
 เวลา 4 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/8 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศที่เป็นผลมาจากความแตกต่างของความกดอากาศ
ว 3.2 ม.6/9 อธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศที่เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
ว 3.2 ม.6/10 อธิบายการหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการหมุนเวียนของอากาศที่เป็นผลมาจากความแตกต่างของความกดอากาศ
2. อธิบายลมฟ้าอากาศที่เป็นผลจากการหมุนเวียนของอากาศ
3. อธิบายทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศที่เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
4. วิเคราะห์และอธิบายการหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูด และผลที่มีต่อภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
1. การหมุนเวียนของอากาศที่เป็นผลมาจากความแตกต่างของความกดอากาศโดยใช้แบบจำลอง
2. การเคลื่อนที่ของอากาศที่เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
3. การหมุนเวียนของอากาศตามเขตละติจูดและผลที่มีต่อภูมิอากาศ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. การตั้งสมมติฐาน
2. การตีความหมายและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
จิตวิทยาศาสตร์
การยอมรับความเห็นต่าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเรื่อง การรับรังสีดวงอาทิตย์ของพื้นผิวโลก และ
การเคลื่อนที่ของอากาศ โดยใช้คำถามดังนี้
1. การที่แต่ละบริเวณบนโลกมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์แตกต่างกัน ส่งผลอย่างไรต่ออุณหภูมิ
อากาศ
แนวคำตอบ บริเวณที่มีความเข้มรั งสีดวงอาทิตย์มากจะมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณที่มีความเข้มรังสี
ดวงอาทิตย์น้อย
2. อุณหภูมิของอากาศมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของอากาศหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ อุณหภูมิมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของอากาศ โดยอากาศจะเคลื่อนที่จากบริเวณที่
มีอุณหภูมิต่ำกว่าไปยังบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ครูให้นักเรียนร่วใกันอภิปรายโดยใช้คำถาม การเคลื่อนที่ของอากาศมีลักษณะอย่างไร จากนั้นให้
นักเรียนตั้งสมมติฐานและร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 แบบจำลองการหมุนเวียนของอากาศ
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรมพร้อม
ตอบคำถามท้ายกิจกรรม
3.2 ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนเวียนของอากาศ นื่องจากความแตกต่างของความ
กดอากาศ ตามหนังสือเรียนหน้า191 - 192 และนำอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงความรู้จากกิจกรรมที่ 1 กับการหมุนเวียน
อากาศในธรรมชาติ
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความกดอากาศ ดังนี้
ความกดอากาศ (atmospheric pressure) มีความหมายเดียวกับความดันอากาศ หมายถึง แรงที่
อากาศกระทำตั้งฉากต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่หรือน้ำหนักของอกาศที่กดลงบนพื้นโลกต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
4.2 ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 8.8 ในหนังสือเรียนหน้า 192 จากนั้นครูอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์และ
ความหมายของแถบสีในรูป (ก) และ (ข) รวมทั้งศัพท์น่ารู้ ดังนี้
- รูป (ก) คือแผนที่อากาศผิ วพื้น เส้นสีน้ำเงินเรียกว่าเส้นความกดอากาศเท่า ซึ่งเป็นเส้นที่ลาก
ผ่านบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน สัญลักษณ์ H หมายถึง บริเวณความกดอากาศสูง (high pressure area) ซึ่ง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณโดยรอบ และสัญลักษณ์ L หมายถงึ หยอ่ มความกดอากาศต่ำ (low
pressure cell) ซึง่ เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ
- รูป (ข) คือภาพถ่ายจากดาวเทียม โดยเส้นสีน้ำเงินคือขอบเขตของประเทศต่าง ๆ บริเวณสีขาว
คือบริเวณที่มีเมฆมาก บริเวณสีเทาคือบริเวณที่มีเมฆน้อย และบริเวณสีดำคือบริเวณที่ไม่มีเมฆ
4.3 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลจากการหมุนเวียนอากาศในแนวดิ่งต่อการเกิดลมฟ้า
อากาศจากรูป 8.8 (ก) และ (ข) โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. จากรูป 8.8 (ก) อากาศบริเวณใดเกิดการยกตัว และอากาศบริเวณใดอากาศเกิดการจมตัว
แนวคำตอบ อากาศที่อยู่บริเวณความกดอากาศสูง (H) เกิดการจมตัว และอากาศที่อยู่บริเวณ
หย่อมความกดอากาศต่ำ (L) เกิดการยกตัว
2. เมื่อพิจารณาจากทั้งรูป 8.8 (ก) และ (ข) บริเวณความกดอากาศสูง (H) และหย่อมความกด
อากาศต่ำ (L) บริเวณใดมีเมฆมาก เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
แนวคำตอบ บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ ำ (L) มีเมฆมาก เพราะเป็นบริเวณที่อากาศจะเกิด
การยกตัวทำให้มีโอกาสเกิดเมฆมาก
3. เพราะเหตุใดบริเวณความกดอากาศสูง (H) จจึงมีเมฆปกคลุมน้อยกว่าหย่อมความกดอากาศ
ต่ำ (L)
แนวคำตอบ เพราะบริเวณความกดอากาศสูง (H) อากาศเกิดการจมตัวทำให้มีโอกาสเกิดเมฆ
น้อยกว่าหย่อมความกดอากาศต่ำ (L)
4.4 ครูตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอากาศเนื่องจากความแตกต่างของ
ความกดอากาศ โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 193 ดังนี้
จากรูป 8.8 (ก) เมื่อพิจารณาบริเวณประเทศไทย อากาศจะเคลื่อนที่มาจากทางตอนเหนือหรือทาง
ตอนใต้ของประเทศไทย ทราบได้อย่างไร
แนวคำตอบ อากาศเคลื่อนจากทางตอนเหนือไปยังตอนใต้ของประเทศไทย เนื่องจากทางตอนเหนือมี
ความกดอากาศสูงกว่าทางตอนใต้ของประเทศไทย อากาศจึงเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงลงมาสู่
บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่า
4.5 ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 8.9 ในหนังสือเรียนหน้า 194 จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับผลจากการหมุนเวียนอากาศในแนวราบต่อการเกิดลมฟ้าอากาศโดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. จากรูป 8.9 (ก) และ 8.9 (ข) รูปใดแสดงมรสุมตะวันออกเฉี ยงเหนือ และรูปใดแสดงมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้
แนวคำตอบ รูป 8.9 (ก) แสดงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และ 8.9 (ข) แสดงมรสุมตะวันตก
เฉียงใต้

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
2. จากรูป 8.9 (ก) ในขณะที่เกิดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณประเทศจีนและมหาสมุทร
อินเดีย มีความมกดอากาศแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ บริเวณประเทศจีนมีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณมหาสมุทรอินเดีย
3. จากรูป 8.9 (ข) ในขณะที่เกิดมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณประเทศจีนและมหาสมุทรอินเดีย
มีความมกดอากาศแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ บริเวณบริเวณมหาสมุทรอินเดียมีความกดอากาศสูงกว่าประเทศจีน
4. ในขณะที่เกิดมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทยมีสภาพลมฟ้าอากาศเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ เกือบทุกภาคของประเทศมีอุณหภูมิลดลงจนบางพ้นื ที่มอี ากาศหนาวเย็น ในขณะที่
ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับความชื้นจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่เคลื่อนที่ผ่านอ่าวไทย
5. ในขณะที่เกิดมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประเทศไทยมีสภาพลมฟ้าอากาศเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ เกิดเมฆมากและมีฝนตกชุกทั่วทุกภาค
4.6 ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 8.10 ในหนังสือเรียนหน้า 194 จากนั้นร่วมกันอภิปรายเพื่อเชื่อมโยง
ความรู้เกี่ยวกับการหมุนเวียนอากาศเนื่องจากความแตกต่างของความกดอากาศไปสู่การหมุนเวียนของอากาศบน
โลก โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. จากรูป บริเวณขั้วโลกเหนือและใต้กับบริเวณศูนย์สูตร บริเวณใดมีความกดอากาศสูงกว่า
เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ บริเวณขั้วโลกเหนือและใต้มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณศูนย์สูตร เพราะขั้วโลก
เหนือและใต้มีอุณหภูมิอากาศต่ำ กว่าเนื่องจากมีความเข้มรังสีดวงอาทิตย์น้อยกว่า
2. จากรูป อากาศมีการหมุนเวียนอย่างไร
แนวคำตอบ อากาศเคลื่อนที่จากขั้วโลกเหนือและใต้มายังบริเวณศูนย์สูตร จากนั้นยกตัวขึ้น
และเคลื่อนที่กลับไปจมตัวบริเวณขั้วโลกเหนือและใต้
4.7 ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า รูป 8.10 ในหนังสือเรียนหน้า 194 เป็นแนวคิดการหมุนเวียนอากาศบน
โลกของ จอร์จ แฮดลีย์ ซึ่งได้พยายามอธิบายการหมุนเวียนอากาศบนโลก โดยนำหลักการของแรงเนื่องจากค วาม
แตกต่างของความกดอากาศ มาสร้างแบบจำลองการหมุนเวียนอากาศ และเรียกว่าแบบจำลองนั้นว่า แบบจำลอง
การหมุนเวียนอากาศแบบเซลล์เดียวหรือการหมุนเวียนอากาศแบบแฮดลีย์ อย่างไรก็ตาม พบว่าแบบจำลองการ
หมุนเวียนอากาศแบบเซลล์เดียวสามารถนำมาใช้อธิบายภูมิอากาศของบริเวณศูนย์สูต รและขั้วโลกได้ แต่ยังไม่
สามารถอธิบายภูมิอากาศของแถบละติจูดกลางและทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศในแต่ละแถบละติจูดได้ เช่น
ทิศทางของลมค้าซึ่งไม่ได้ เคลื่อนที่ตรงตามแนวเหนือใต้ดังแบบจำลอง แต่ลมค้ามีการเคลื่อนที่เบนไปทางทิศ
ตะวันตก
4.8 ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยตอบคำถามตามความคิดของตนเองเพื่อนำเข้าสู่หัวข้อย่อย
8.2.2 โดยใช้คำถามว่า “เพราะเหตุใด ลมค้าจึงเคลื่อนที่เบนไปทางทิศตะวันตก”

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
4.9 ครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์และให้นักเรียนตั้งสมมติฐานโดยใช้คำถามว่า เมื่อปล่อยดินน้ำมันบนแผ่น
จำลองซีกโลกเหนือ ขณะที่หมุนและไม่หมุนแผ่นจำลองซีกโลก ลักษณะการเคลื่อนที่ของดินน้ำมันจะแตกต่างกัน
หรือไม่ อย่างไร จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 2 การเคลื่อนที่ของวัตถุบนพื้นที่กำลังหมุน
4.10 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ และร่ว มกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม พร้อมตอบคำถามท้าย
กิจกรรม
4.11 ครูนำอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงความรู้จากกิจกรรมที่ 2 กับการหมุนเวียนอากาศในธรรมชาติโดยมี
แนวทางในการอภิปรายดังนี้
แนวทางการอภิปราย ในธรรมชาติทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศเกิดการเบนออกไปจากแนวเดิมได้
เช่นเดียวกับการเส้นทางการเคลื่อนที่ของดินน้ำมัน เนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้เกิดแรงที่เรียกว่า
แรงคอริออลิส ซึ่งทำให้ทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศเบี่ยงเบนไปจากเดิม โดยผู้สังเกตที่อยู่บนซีกโลกเหนือเมื่อหัน
หน้าไปตามทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ จะสังเกตเห็น แนวการเคลื่อนที่ของอากาศเบนไปทางขวามือ แต่ถ้าผู้
สังเกตอยู่บนซีกโลกใต้ เมื่อหันหน้าไปตามทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศ จะสังเกตเห็นแนวการเคลื่อนที่ของ
อากาศเบนไปทางซ้ายมือ ดังรูป 8.11 ในหนังสือเรียนหน้า 199
4.12 ครูตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับผลของแรงคอริออลิสที่มีต่อทิศทางการเคลื่อนที่ของ
อากาศ โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 199 ดังนี้
ในฤดูหนาว มรสุมที่เคลื่อนที่ผ่านประเทศไทยพัดจากทิศใดไปสู่ทิศใด เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ มรสุมพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากอิทธิพลของ
แรงคอริออลิสบนซีกโลกเหนือซึ่งทำให้เส้นทางมรสุมเบนออกไปทางขวาจากทิศทางการเคลื่อนที่เดิมเป็นแนวเดียว
จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทิศตะวันตกเฉียงใต้
4.13 ครูนำนักเรียนเข้าสู่หัวข้อย่อย 8.2.3 โดยอธิบายว่า นักวิทยาศาสตร์ใช้ความรู้เรื่องแรงเนื่องจาก
ความแตกต่างของความกดอากาศและแรงคอริออลิสในการอธิบายการหมุนเวียนของอากาศบนโลกให้สอดคล้องกับ
ภูมิอากาศและทิศทางการเคลื่อนที่ของอากาศที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
4.14 ครูให้นักเรียนสังเกตแบบจำลองการหมุนเวียนอากาศตามเขตละติจูดดังรูป 8.12 ในหนังสือ
เรียนหน้า 200 จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกการหมุนเวียนอากาศกลุ่มละ 1 เซลล์ และร่วมกันวิเคราะห์
การหมุนเวียนอากาศในเซลล์นั้นตามประเด็นดังต่อไปนี้
• การหมุนเวียนอากาศในแต่ละเซลล์เป็นอย่างไร
• แรงที่เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศและแรงคอริออลิสส่งผลต่อทิศทางการ
เคลื่อนที่ของลมในแต่ละบริเวณอย่างไร
• ภูมิอากาศในแต่ละเซลล์เป็นอย่างไร
4.15 ครูให้นักเรียนนำเสนอผลการวิเคราะห์ โดยควรให้นักเรียนนำเสนอการหมุนเวียนอากาศในแฮด
ลีย์เซลล์ โพลาเซลล์ และเฟอร์เรลเซลล์ ตามลำดับ เนื่องจากการอธิบายการหมุนเวียนอากาศในแฮดลีย์เซลล์และ
โพลาเซลล์ใช้ความรู้ในการอธิบายเช่นเดียวกับผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ 1 ส่วนการหมุนเวียนของอากาศในเฟอเรลล

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
เซลล์เป็นผลมาจากการหมุนอากาศของเซลล์ทั้งสอง จากนั้นให้นักเรียนร่ วมกันอภิปรายการหมุนเวียนอากาศ
ระหว่างละติจูดต่าง ๆ
4.16 ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศที่เป็นผลมาจากการหมุนเวียน
อากาศบนโลก โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 203 และ 205 ดังนีี้
1. การหมุนเวียนอากาศของแฮดลีย์เซลล์ส่งผลให้ประเทศไทยมีภูมิอากาศเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศตลอดทั้งปีไม่ต่ำกว่า 18 องศา
เซลเซียส
2. นักท่องเที่ยวคนหนึ่งจะเดินทางไปยังประเทศในแถบละติจูด 60 องศา จึงเตรียมเสื้อกันหนาว
และร่มติดไปด้วย นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ เห็นด้วย เนื่องจากบริเวณละติจูด 60 องศา เป็นบริเวณที่เกิดเมฆและหยาดน้ำฟ้า
ปริมาณมาก และเป็นบริเวณที่อากาศจากแถบละติจูดกลางมาปะทะกับอากาศเย็นจากขั้วโลกทำให้อากาศบริเวณนี้มี
อุณหภูมิต่ำ ทำให้อากาศหนาวเย็น
4.17 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการหมุนเวียนของอากาศ
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้จากการตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตอบคำถาม และการนำเสนอผล
การอภิปราย แบบฝึกหัด
5.2 ประเมินทักษะการตั้งสมมติฐาน การตีความหมายและลงข้อสรุป ความร่วมมือ การทำงานเป็น
ทีมและภาวะผู้นำ จากผลการตั้งสมมติฐานในกิจกรรมที่ 1 และ 2 และอธิบายผลที่เกิดขึ้นในแบบจำลอง อธิบายการ
หมุนเวียนอากาศบนโลกจากแบบจำลองการหมุนเวียนอากาศตามเขตละติจูด มีส่วนร่วมในการคิด ออกความเห็น
และตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
5.3 ประเมินการยอมรับความเห็นต่าง จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นในการร่วมอภิปราย

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว3010 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
 เรื่อง การหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทร
 เวลา 2 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/11 อธิ บายปั จจั ยที ่ ทำให้ เ กิ ดการหมุนเวี ยนของน้ ำ ผิ วหน้ า ในมหาสมุ ทรและรู ปแบบ
การหมุนเวียนของน้ำผิวหน้าในมหาสมุทร

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์และอธิบายรูปแบบการหมุนเวียนน้ำผิวหน้ามหาสมุทร
2. วิเคราะห์และอธิบายผลของการหมุนเวียนของอากาศและน้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มีต่อภูมิอากาศ
ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
1. การหมุนเวียนน้ำผิวหน้ามหาสมุทร
2. ผลของการหมุนเวียนน้ำผิวหน้ามหาสมุทรต่อภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
จิตวิทยาศาสตร์
1. การยอมรับความเห็นต่าง
2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเอง โดยใช้คำถาม ดังต่อไปนี้
เมื่อมีลมพัดเหนือผิวน้ำในสระน้ำหรือบึง นักเรียนจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของน้ำบริเวณ
ผิวหน้าอย่างไรบ้าง และการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดเช่นเดียวกับน้ำผิวหน้ามหาสมุทรหรือไม่
แนวคำตอบ น้ำผิวหน้าจะเคลื่อนที่ไปตามทิศทางลมซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้น่าจะเกิดเช่นเดียวกับ น้ำ
ผิวหน้ามหาสมุทร
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ให้นักเรียนศึกษารูป 8.18 ในหนังสือเรียนหน้า 206 และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับลัก ษณะและทิศ
ทางการหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทร ซึ่งภาพดังกล่าวแสดงแบบจำลองการหมุนเวียนของน้ำ ใน
มหาสมุทรแอตแลนติก โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. ลูกศรแต่ละสีแทนสิ่งใด
แนวคำตอบ ลูกศรสีส้มแทนลมค้า ลูกศรสีชมพูแทนลมตะวันตก และลูกศรสีนำ้เงินแทนกระแสน้ำ
ผิวหน้ามหาสมุทร
2. พื้นที่สีเขียวและสีฟ้าแทนสิ่งใด
แนวคำตอบ พื้นที่สีเขียวแทนแผ่นดิน พื้นที่สีฟ้าแทนมหาสมุทร
3. ลมค้าและลมตะวันตกมีความสัมพันธ์กับทิศทางของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ สัมพันธ์กัน โดยกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรไหลไปทิศทางเดียวกับลม
4. ลักษณะและทิศทางของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ น้ำเคลื่อนที่หมุนเวียนเป็นวง ในทิศตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และทวนเข็มนาฬิกา
ในซีกโลกใต้
5. ยังมีปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ ที่ส่งผลต่อทิศทางการไหลของกระแสผิวหน้ามหาสมุทรขอบทวีป
แนวคำตอบ ขอบทวีป
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษารูป 8.20 และสืบค้นข้อมูลในหนังสือเรียน 206-207 จากนั้นร่วมกัน
อภิปรายเพื่อสรุปการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรในบริเวณต่าง ๆ บนโลก โดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. ลมส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรอย่างไร
แนวคำตอบ ลมที่พัดผ่านผิวหน้ามหาสมุทรจะทำให้น้ำไหลไปตามทิศทางของลม เช่น บริเวณใกล้
ศูนย์สูตรกระแสน้ำจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกตามทิศทางของลมค้า

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
2. ส่วนบริเวณใกล้ละติจูดที่ 30 องศา กระแสน้ำจะเคลื่อนที่จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก
ตามทิศทางของลมตะวันตก เมื่อกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรไหลไปตามทิศทางของลมจนกระทั่งปะทะกับขอบทวีป
ทิศทางการไหลของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
แนวคำตอบ กระแสน้ำจะไหลขนานไปกับขอบทวีป เช่น กระแสน้ำที่ไหลจากทิศตะวันออกไปทางทิศ
ตะวันตกตามทิศทางของลมค้าเข้ามาปะทะกับขอบทวีป แล้วไหลขนานไปกับขอบทวีปขึ้นไปยังละติจูดที่สูงขึ้นทั้งซีก
โลกเหนือและซีกโลกใต้
3. รูปแบบการหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรในซีกโลกใต้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ ไหลเป็นวงเหมือนกัน แต่มีทิศทางที่แตกต่างกัน โดยในซีกโลกเหนือกระแสน้ำผิวหน้า
มหาสมุทรไหลเป็นวงตามเข็มนาฬิกา ส่วนในซีกโลกใต้ กระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรไหลเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา
4. ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทร
แนวคำตอบ ลม แรงคอริออลิส และขอบทวีป
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูนำอธิบายเพิ่ม เติม เกี่ ย วกั บผลจากแรงคอริอ อลิส ที่ ม ี ต่อ ทิ ศทางของกระแสน้ำ ผิ ว หน้ า
มหาสมุทร
4.2 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติม โดยใช้คำถามชวนคิดในหนังสือเรียนหน้า 207 ว่า “หาก
พื้นผิวโลกปกคลุมด้วยพื้นน้ำทั้งหมด นักเรียนคิดว่ากระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรจะไหลอย่างไร”
แนวคำตอบ กระแสน้ำจะไหลขนานกับเส้นละติจูดต่าง ๆ เช่น บริเวณละติจูด 60 องศาใต้ซึ่งไม่มี
แผ่นดินขวางกั้นการไหลของน้ำ ทำให้กระแสน้ำที่ไหลรอบทวีปแอนตาร์กติกา ดังรูป 8.21 ในหนังสือเรียนหน้า 207
4.3 ครูอธิบายนักเรียนเพิ่มเติมว่าการหมุนเวียนของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทร นั้นอาจไม่ไหลเวียน
เป็นวงทุกบริเวณ ขึ้นอยู่กับว่ามีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการหมุนเวียนเป็นวงดังที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ ดังตัวอย่างใน
ข้อ 5
4.4 ให้นักเรียนศึกษารูป 8.20 และสืบค้นข้อมูลในหนังสือเรียนหน้า 208 แล้วร่วมกันอภิปราย
เกี่ยวกับกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็น โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. กระแสน้ำอุ่นมีทิศทางการไหลอย่างไร และถ้าเปรียบเทียบอุณหภูมิของน้ำกับน้ำที่อยู่บริเวณ
โดยรอบจะเหมือนหรือแตกต่าง อย่างไร
แนวคำตอบ กระแสนำ้อุ่น กระแสนำ้จะไหลจากละติจูดไปยังบริเวณละติจูดที่สูงขึ้น อุณหภูมิของ
น้ำในกระแสน้ำจะสูงกว่าน้ำโดยรอบ
2. กระแสน้ำเย็นมีทิศทางการไหลอย่างไร และถ้าเปรียบเทียบอุณหภูมิของน้ำกับน้ำที่อยู่บริเวณ
โดยรอบจะเหมือนหรือแตกต่าง อย่างไร
แนวคำตอบ กระแสน้ำเย็น กระแสน้ำจะไหลจากละติจูดไปยังละติจูดที่ต่ำลง อุณหภูมิของน้ำใน
กระแสน้ำจะต่ำกว่าน้ำโดยรอบ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
4.5 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองเกี่ยวกับผลของกระแสน้ำผิวหน้ามหาสมุทรที่
มีต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ โดยใช้ถามคำถามว่า “กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นที่ไหลผ่านชายฝั่งบริเวณต่าง
ๆ จะส่งผลต่อภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นอย่างไร” จากนั้นครูแบ่งกลุ่มนักเรียน แล้วให้ปฏิบัติกิจกรรมที่ 3
4.6 ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม
พร้อมตอบคำถามท้ายกิจกรรม
4.7 ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงความรู้จากกิจกรรมที่ 3 การหมุนเวียนของอากาศกับ
ผลที่เกิดขึ้นจริงต่อสภาพแวดล้อมทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาโดยมีแนวทางการอภิปรายดังตัวอย่าง
1. จากการศึก ษาแบบจำลองการหมุนเวียนอากาศแบบทั่วไป บริเ วณทางตอนใต้ข องทวีป
แอฟริกาบริเวณละติจูด 20 – 30 องศาใต้ มีภูมิอากาศเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบริเวณละติจูด 20 – 30 องศาใต้ มีภูมิอากาศแบบ
แห้งแล้งจนถึงทะเลทรายเพราะเป็นบริเวณที่อากาศแห้งจมตัว
2. จากรูป 8.21 ในหนังสือเรียนหน้า 210 เพราะเหตุใดชายฝั่งด้านตะวันออกและชายฝั่งด้าน
ตะวันตกบริเวณละติจูด 20 – 30 องศาใต้ ของทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา จึงมีลมฟ้าอากาศและลักษณะภูมิ
ประเทศแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศเดียวกัน
แนวคำตอบ เพราะชายฝั่งด้านตะวันออกมีกระแสน้ำอุ่นอะกะลัส ไหลผ่านทำให้อากาศบริเวณ
ดังกล่าวมีความชื้นมากจึงมีสภาพเป็นป่าไม้ ในขณะที่ชายฝั่งด้านตะวันตกมีกระแสน้ำเย็นเบงเกวลาไหลผ่านทำให้
อากาศมีความชื้นน้อยลงส่งผลให้ชายฝั่งด้านตะวันตกยังคงมีสภาพเป็นทะเลทราย
4.8 ครูตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศที่เป็นผลมาจากการหมุนเวียนน้ำใน
มหาสมุทร โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 211 ดังนี้
พื้นที่ชายฝั่งที่มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่านและพื้นที่ชายฝั่งที่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านจะมีสภาพลมฟ้า
อากาศแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ พื้นที่ชายฝั่งที่มีกระแสนำ้ อุ่นไหลผ่ านจะมีอุณหภูมิอากาศค่าเฉลี่ยและปริมาณฝน
สูงกว่าพื้นที่ชายฝั่งที่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่าน
4.9 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นที่มีต่อสภาพแวดล้อมว่า
• ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายฝั่งได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัยร่วมกัน พื้นที่
ชายฝั่งบางพื้นที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำเป็นปัจจัยหลักทำให้ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมมีความสอดคล้องกับ
กระแสน้ำอุ่นหรือกระแสน้ำเย็นอย่างชัดเจน แต่พื้นที่ชายฝั่งบางพื้นที่อาจได้รั บอิทธิพลจากปัจจัยอื่นเป็นปัจจัยหลัก
เช่น มรสุม การหมุนเวียนของอากาศบนโลกการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
• บริเวณที่มีกระแสน้ำอุ่นกับกระแสน้ำเย็นไหลมาบรรจบกันมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจาก
กระแสน้ำเย็นมีสารอาหารมากเมื่อมาบรรจบกับกระแสน้ำอุ่น ทำให้บริเวณดังกล่าวเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ
แพลงก์ตอนพืชซึ่งเป็นอาหารให้กับสัตว์น้ำชนิดอื่นในมหาสมุทรเมื่อแพลงก์ ตอนพืชมีจำนวนมากจะส่งผลให้บริเวณ
ดังกล่าวมีสัตว์น้ำชุก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
• การไหลมาบรรจบกันของกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นยังก่อให้เกิดสภาพลมฟ้าอากาศที่เป็ น
หมอกปกคลุมไปทั่ ว บริเวณทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็ นต่ำ การเดินทางโดยเรือในบริเ วณนี้จึง ต้องใช้ ค วาม
ระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางทะเล
• บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือที่กระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นที่ไหลมา
บรรจบกันมีชื่อเรียกว่า แกรนด์แบงค์ (Grand bank) เป็นบริเวณที่มีสัตว์ทะเลชุกชุมเช่นเดียวกับบริเวณคูริลแบงค์
4.10 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองเพื่อเชื่อมโยงไปยั งหัวข้อ 8.4 ว่า “หากการ
หมุนเวียนของอากาศหรือน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลอย่างไร”
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้จากการตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตอบคำถาม และการนำเสนอผล
การอภิปราย แบบฝึกหัด
5.2 ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะ
ผู้นำ จากผลการอธิบายเชื่อมโยงผลจากกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นต่อภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมจาก
ข้อมูลที่กำหนดให้ การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ อภิปราย และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้า
มหาสมุทรและผลที่มีต่อภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
5.3 ประเมินการยอมรับความเห็นต่าง ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นใน
การร่วมอภิปราย การใช้เหตุผลและหลักฐานเพื่ออธิบายผลจากกระแสน้ำอุ่นและกระแสน้ำเย็นต่อสภาพลมฟ้า
อากาศในบริเวณต่าง ๆ ที่อยู่ในละติจูดเดียวกัน

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว3010 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
 เรื่อง ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา
 เวลา 2 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/12 อธิบายผลของการหมุนเวียนของอากาศและน้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มีต่อลักษณะ
ภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

จุดประสงค์การเรียนรู้

สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ และอธิบายผลของการหมุนเวียนของอากาศและน้ำผิวหน้าในมหาสมุทรที่มีต่อ


ภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
ผลของการหมุนเวียนของอากาศและน้ำ ผิ ว หน้า ในมหาสมุท รที่ม ี ต่อ ลมฟ้า อากาศ สิ่ง มีชีวิต และ
สิ่งแวดล้อม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
จิตวิทยาศาสตร์
การยอมรับความเห็นต่าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครู น ำเข้ า สู ่ บ ทเรี ย น โดยให้ น ั ก เรี ย นร่ ว มกั น อภิ ป รายเพื ่ อ ตรวจสอบตามความรู ้ เ ดิ ม เกี ่ ย วกั บ
ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลาณีญา โดยใช้คำถามต่อไปนี้
ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลาณีญา เกิดขึ้นในบริเวณมหาสมุทรใด
แนวคำตอบ บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก
ปรากฏการณ์เอลนีโญ และลาณีญา เกิดขึ้นได้อย่างไร
แนวคำตอบ (ตอบตามความคิดของตนเอง)
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ให้นักเรียนศึกษารูป 8.22 ในหนังสือเรียนหน้า 212 เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากลมค้าใน
บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกในสภาวะปกติ คือ ลมค้าพัดด้วยความเร็วลมปกติ และครูอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ที่ใช้
ในรูป ดังนี้
• ลูกศรสีดำในรูปแทนทิศทางลมค้าที่พัดอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ดังนั้นทิศทางของลูกศรจึงชี้ตรงไป
ทางด้านตะวันตก
• บริเวณที่ แสดงฝนตกในรูป แสดงบริเวณที่มีโอกาสเกิดฝนตกมากกว่าบริเวณอื่น ๆ
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
จากนั้นครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถามดังนี้
1. ระหว่างชายฝั่งทางด้านตะวันออกกับชายฝั่งทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกชายฝั่งใดที่น้ำ
ผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่า เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงกว่า
ผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก เพราะลมค้าพัดน้ำผิวหน้ามหาสมุทรไปสะสมยังชายฝั่งด้านตะวันตก
ของมหาสมุทรแปซิฟิก ในขณะที่ชายฝั่งด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก น้ำชั้นล่างซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่ายกตัว
ขึ้นมาแทนที่น้ำผิวหน้าที่ถูกพัดไป
2. ระหว่างชายฝั่งทางด้านตะวันออกกับชายฝั่งทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกชายฝั่งใดเกิด
ฝนตกเพราะเหตุใด
แนวคำตอบ บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดฝนตก เนื่องจากน้ำบริเวณนั้นมี
อุณหภูมิสูงทำให้น้ำระเหยเข้าสู่อากาศได้มาก อากาศจึงมีความชื้นสูง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของการยกตัวของน้ำชั้นล่างที่มีต่อสภาพแวดล้อมของชายฝั่ง
ด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกว่า
• บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกในแถบศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก น้ำชั้นล่างที่ยกตัวขึ้นมา
เป็นน้ำที่มีสารอาหารสูง จึงส่งผลให้บริเวณชายฝั่ งประเทศเปรูและเอควาดอร์มีความอุดมสมบูรณ์และสัตว์น้ำชุกชุม
และเป็นแหล่งประมงที่สำคัญ
4.2 ก่อนการนำอภิปรายเรื่องเอลนีโญและลาณีญา ครูควรอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์สีที่ใช้แทน
อุณหภูมิของน้ำในรูป 8.23 และ 8.24 ว่า “พื้นที่สีแดง หมายถึง บริเวณที่น้ำผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
ส่วนพื้นที่สีน้ำเงิน หมายถึง บริเวณที่น้ำผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าพื้นที่สีแดงมี
อุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่สีน้ำเงิน”
4.3 จากนั้น ให้นัก เรียนศึกษารูป 8.23 และสืบค้นข้อมูลในหนังสือเรียนหน้า 212 เพื่อ ศึกษา
ปรากฏการณ์เอลนีโญ แล้วร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. เมื่อลมค้าอ่อนกำลังกว่าปกติ จะส่งผลต่ออุณหภูมิของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่ง
ด้านตะวันออกและบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ ส่งผล คือ น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
ส่วนบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
2. จากคำถามข้า งต้น เพราะเหตุใดอุณหภูม ิข องน้ำ ผิวหน้า มหาสมุ ทรบริเ วณชายฝั่ง ด้ า น
ตะวันออกและบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
แนวคำตอบ เพราะผิวหน้า มหาสมุท รแปซิ ฟิก ถูก พั ด ไปสะสมยัง ชายฝั ่ง ด้ า นตะวั น ตกของ
มหาสมุทรแปซิฟิกได้น้อยลง น้ำชั้นล่างบริเวณชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงยกตัวขึ้นมาแทนที่น้ำ
ด้านบนได้น้อยลงเช่นกัน ส่งผลให้น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ส่วนน้ำ
ผิวหน้าบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
4.4 ให้นักเรียนศึกษารูป 8.24 และสืบค้นข้อมูลในหนังสือเรียนหน้า 213 เพื่อศึกษาปรากฏการณ์
ลาณีญา แล้วร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. เมื่อลมค้ามีกำลังแรงกว่าปกติจะส่งผลต่ออุณหภูมิของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่ง
ด้านตะวันออกและบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ ส่งผล คือ น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
ส่วนบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
2. จากคำถามข้า งต้น เพราะเหตุใดอุณหภูม ิข องน้ำ ผิวหน้า มหาสมุ ทรบริเ วณชายฝั่ง ด้ า น
ตะวันออกและบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ
แนวคำตอบ เพราะผิ ว หน้ า มหาสมุท รแปซิ ฟ ิ ก ถู ก พั ด ไปสะสมยัง ชายฝั่ ง ด้ า นตะวั น ตกของ
มหาสมุทรแปซิฟิกได้มากขึ้น น้ำชั้นล่างบริเวณชายฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงยกตัวขึ้นมาแทนที่น้ำ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ด้านบนได้มากขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้น้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนน้ำ
ผิวหน้าบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ
4.5 ครูตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา โดยใช้คำถามใน
หนังสือเรียนหน้า 213 ดังนี้
ในช่วงที่ลมค้าอ่อนกำลังลง อุณหภูมิน้ำผิวหน้ามหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณใกล้ประเทศไทยจะมี
การเปลี่ยนแปลงอย่างไร
แนวคำตอบ อุณหภูมิน้ำผิวหน้ามหาสมุทรลดต่ำลงกว่าปกติ
4.6 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองเพื่อนำเข้าสู่กิจกรรมที่ 4 ว่า “ปรากฏการณ์
เอลนีโญและลานีญาส่งผลต่อลมฟ้าอากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม อย่างไรบ้าง” จากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียน แล้ว
ให้ปฏิบัติกิจกรรม
4.7 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรมพร้อม
ตอบคำถามท้ายกิจกรรม
4.8 ครูตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา
โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 215 และ 216 ดังนี้
1. ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ชายฝั่งด้า นตะวันออกและชายฝั่ง ด้า นตะวันตกของ
มหาสมุทรแปซิฟิกได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ พื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้งมากขึ้น พื้นที่
ชายฝั่งด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเกิดน้ำท่วมและดินถล่มมากขึ้น เนื่องจากน้ำผิวหน้ามหาสมุทรมี
อุณหภูมิสูงกว่าปกติจึงทำให้น้ำระเหยเข้าสู่บรรยากาศได้มากขึ้น และชาวประมงจับปลาได้น้อยลง เนื่องจากช่วงเกิด
เอลนีโญ ลมค้ามีกำลังอ่อ นกว่า ปกติทำให้น้ำ ผิวหน้ามหาสมุทรถูก พัดออกไปได้น้อ ยกว่าปกติ น้ำชั้นล่างที่ มี
สารอาหารสูงจึงยกตัวขึ้นมาแทนที่น้ำผิวหน้าได้น้อย
2. ในช่วงที่เ กิดปรากฏการณ์ลานีญา ชายฝั่ง ด้า นตะวันออกและชายฝั่ง ด้า นตะวันตกของ
มหาสมุทรแปซิฟิกได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ พื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมีโอกาสเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม
มากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ชายฝั่งด้านตะวันตกมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติจึงทำให้เกิดเมฆและมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น
ส่วนชายฝั่งด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเกิดความแห้งแล้งมากขึ้นเนื่องจากน้ำผิ วหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิ
ต่ำกว่าปกติ จึงทำให้มีปริมาณฝนลดลง
4.9 ครูอภิปรายกับนักเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากปรากฏการเอลนีโญและลานีญาที่มีต่อ
ประเทศไทย โดยใช้คำถามชวนคิดในหนังสือเรียนหน้า 216 ดังนี้
1. ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาก่อให้เกิดผลกระทบได้อย่างไร
แนวคำตอบ ปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาก่อให้เกิดผลกระทบได้เนื่องจากอุณหภูมิน้ำ
ผิวหน้ามหาสมุทรเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ โดยถ้าน้ำผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติจะทำให้นำ้ระเหยเข้าสู่

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
บรรยากาศได้มากขึ้นส่งผลให้เกิดฝนตกมากขึ้น แต่ถ้านำ้ ผิวหน้ามหาสมุทรมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติจะทำให้น้ำระเหย
เข้าสู่บรรยากาศได้น้อยลงส่งผลให้เกิดฝนตกน้อยลง
2. เพราะเหตุใด ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญา ประเทศไทยจึงมีฝนตกมากกว่าปกติและ
อุณหภูมิอากาศต่ำกว่าปกติ
แนวคำตอบ เนื่องจากน้ำผิวหน้ามหาสมุทรบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมี
อุณหภูมิสูงกว่าปกติ อากาศเหนือผิวน้ำบริเวณนี้จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้ความกดอากาศมีค่าต่ำกว่าปกติ ทำให้
ความกดอากาศบริเวณตอนบนของประเทศจีนและความกดอากาศเหนือมหาสมุทรมีค่าแตกต่างกันมากขึ้น อากาศ
จึงสามารถเคลื่อนที่จากทางตอนบนของประเทศจีนมายังมหาสมุทรได้มากขึ้นส่งผลให้ประเทศไทยมีอุณหภูมิลด
ต่ำลงกว่าปกติ นอกจากนี้อากาศเย็นที่เคลื่อนผ่านมายังบริเวณประเทศไทยซึ่งมีความชื้นสูงยังส่งผลให้เกิดฝนตก
มากขึ้น
4.10 ครูและนัก เรี ย นร่ วมกั นอภิป รายและสรุ ป ผลการหมุ น เวี ย นของอากาศและน้ำ ผิ วหน้ า ใน
มหาสมุทรโดยมีแนวทางการสรุปดังนี้
แนวทางการสรุ ป การหมุ น เวี ย นของอากาศและการหมุ น เวี ย นของน้ ำ ผิ ว หน้ า มหาสมุ ท รมี
ความสัมพันธ์กัน หากการหมุนเวียนของอากาศและน้ำผิวหน้ามหาสมุทรเกิดความแปรปรวนจะส่งผลต่อลมฟ้า
อากาศ สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม เช่น เอลนีโญและลานีญา
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้จากการตอบคำถามตรวจสอบความเข้าใจ การตอบคำถาม และการนำเสนอผล
การอภิปราย แบบฝึกหัด
5.2 ประเมินทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะ
ผู้นำ จากผลงานการแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีลงในแผนที่โลก การมีส่วนร่วม
ในการวิเคราะห์ อภิปรายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลาณีญา
5.3 ประเมินการยอมรับความเห็นต่าง จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นในการร่วมอภิปราย

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว3010 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5
 เรื่อง สมดุลพลังงานของโลกกับอุณหภูมิเฉลี่ย
ของอากาศ
 เวลา 1 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว.3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก พร้อมทั้งนำเสนอแนวปฏิบัติ
เพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายกระบวนสมดุลพลังงานของโลก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
กระบวนการสมดุลพลังงาน
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การตีความหมายและ ลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
-
จิตวิทยาศาสตร์
ความใจกว้าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับ
พลังงานจากดวงอาทิตย์และอุณหภูมิของอากาศ โดยใช้คำถามต่อไปนี้
1. เพราะเหตุใดโลกของเราจึงมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ซึ่งต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ
แนวคำตอบ โลกของเรามีมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เพราะมีอุณหภูมิเหมาะสมกับการดำรงชีวิตเนื่องจาก
โลกมีบรรยากาศที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิของอากาศในเวลากลางวันไม่ร้อนเกินไปและกลางคืนไม่หนาวจนเกินไป และ
โลกยังมีน้ำที่ใช้ในการดำรงชีวิต
2. เมื่อดวงอาทิตย์แผ่รังสีมาถึงชั้นบรรยากาศของโลก โลกจะรับและเก็บพลังงานจากดวงอาทิตย์
ไว้ทั้งหมดหรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ ไม่ทั้งหมด เพราะโลกมีกระบวนการปลดปล่อยพลังงานที่โลกได้รับกลับสู่บรรยากาศด้วย
ถ้าโลกรับและเก็บไว้ทั้งหมดอุณหภูมิของโลกของสูงขึ้นตลอดเวลาจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถอาศัยอยู่ได้
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ครูเ ตรียมรูป 9.1, 9.2 และ 9.3 ตามหนัง สือ เรียนหน้า 226, 227 และ 228 ตามลำดับ โดย
ดาวน์โหลดจาก QR code ประจำบทในคู่มือครู แล้วให้นักเรียนศึกษากระบวนการรับและปล่อยพลังงานออกสู่
อวกาศโดยปัจจัยต่าง ๆ จากรูปข้างต้น แล้วตอบคำถามต่อไปนี้
1. เมื่อดวงอาทิตย์แผ่รังสีมาสู่ชั้นบรรยากาศโลก รังสีดวงอาทิตย์ผ่านมายังพื้นผิวโลกทั้ง หมด
หรือไม่ เพราะเหตุใด
แนวคำตอบ ไม่ทั้งหมด เพราะบรรยากาศ เมฆ และพื้นผิวโลกจะสะท้อนรังสีบางส่วนออกสู่อวกาศ
2. ถ้าพลังงานที่โลกได้รับทั้งหมดคิดเป็น 100 หน่วย ปริมาณพลังงานที่ออกสู่อวกาศประมาณ
กี่หน่วย และคงเหลืออยู่ภายในโลกประมาณกี่หน่วยและอยู่ที่ใดบ้าง
แนวคำตอบ พลังงานที่ออกสู่อวกาศ 29 หน่วย และคงเหลืออยู่ภายในโลกประมาณ 71 หน่วย โดย
คงอยู่ในบรรยากาศ เมฆ และพื้นผิวโลก
3. พื้นผิวโลกปลดปล่อยพลังงานที่ดูดกลืนไว้ผ่านกระบวนการใดบ้าง
แนวคำตอบ การแผ่รังสี การพาความร้อน การระเหยของน้ำ
4. พื้นผิวโลกแผ่รังสีความร้อนที่ดูดกลืนไว้ออกสู่อวกาศทั้งหมดหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ ไม่ทั้งหมด โดยพื้นผิวโลกแผ่รังสีความร้อนออกสู่อวกาศโดยตรง 12 หน่วย ส่วนรังสี
ความร้อนที่เหลือจะถูกดูดกลืนโดยไว้โดยแก๊สเรือนกระจกและแผ่รังสีกลับมายังพื้นผิวโลกอีกครั้ง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
5. นอกจากพลังงานที่พื้นผิวโลกปลดปล่อยโดยตรงออกสู่อวกาศ โลกยังปลดปล่ อยพลังงานออกสู่
อวกาศด้วยปัจจัยอื่นอีกหรือไม่ เป็นปัจจัยใดบ้างและปริมาณเท่าใด
แนวคำตอบ ปล่อยสู่อวกาศโดยบรรยากาศและเมฆ รวมเป็น 59 หน่วย
6. เมื่อพิจารณาในภาพรวมทั้งกระบวนการสมดุลพลังงานแล้ว ปริมาณพลังงานเฉลี่ยที่โลกได้รับและ
พลังงานเฉลี่ยที่ปล่อยออกสู่อวกาศเท่ากันหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ เท่ากัน โดยโลกได้รับพลังงานเฉลี่ยรวม 100 หน่วย และปล่อยออกสู่อวกาศโดยเฉลี่ย
100 หน่วย
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเชื่อมโยงจากแผนภาพ 9.1 9.2 และ 9.3 โดยมีแนวทางการสรุปดังนี้
แนวทางการสรุป
• ถ้าพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่เข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศโลกในเวลา 1 ปี โดยเฉลี่ย คิดเป็น 100 หน่วย
โลกจะค่อย ๆ ปล่อยพลังงานกลับสู่อวกาศในปริมาณที่เท่ากันโดยผ่านกระบวนการสะท้อน การแผ่รังสี การพาความ
ร้อน การนำความร้อน และการระเหยของน้ำ ทำให้เกิดสมดุลพลังงานบนโลก
• กระบวนการสมดุลพลัง งานทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในแต่ละปีค่อ นข้า งคงที่เป็น ระยะ
เวลานาน
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า กระบวนการสมดุลพลังงานนี้เกิดขึ้นทุกบริเวณบนโลกถึงแม้ว่าแต่ละ
บริเวณจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยหลายประการดังที่ได้ศึกษาในบทที่ 8 เมื่อพิจารณาอุณหภูมิ
เฉลี่ยของอากาศเหนือพื้นผิวโลกแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งได้จากการวัดอุณหภูมิอากา ศเหนือ
พื้นผิวโลก 5 เมตร ของบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลก แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าเป็นดาว
เคราะห์ดวงอื่น ๆ จะมีอุณหภูมิเฉลี่ยแตกต่างจากนี้
4.2 ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) นั้น พิจารณาจากการ
เปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยของลมฟ้าอากาศ เช่น อุณหภูมิของอากาศ ความกดอากาศ ความชื้น ปริมาณหยาดน้ำฟ้า
ในภูมิภาคหนึ่ง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายทศวรรษหรือนานกว่านั้น โดยตัวบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศที่สำคัญ คือ อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศ
4.3 ให้นักเรียนสังเกตข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศจากรูป 9.4 ในหนังสือเรียนหน้า 229 ที่แสดง
ให้เห็นว่าโดยปกติแล้วอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงน้อยจนเกือบคงที่ แล้วร่วมกันอภิปรายโดยใช้
คำถามต่อไปนี้
1. ในช่วงก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในแต่ละปีมีแนวโน้มอย่างไรและ
คงอยู่เป็นระยะเวลาประมาณเท่าใด
แนวคำตอบ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้อยจนเกือบคงที่ ในช่วงระยะเวลาประมาณ 900 ปี

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
2. ในช่วงหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในแต่ละปีมีแนวโน้มอย่างไร
แนวคำตอบ มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น
4.4 ครูอธิบายเพิ่มเติมว่าโดยปกติแล้ว อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นและ
ลดลงแต่แตกต่างกันน้อยมากโดยมีแนวโน้มค่อนข้างคงที่เป็นระยะเวลานาน ถ้ าไม่มีปัจจัยใดมากระตุ้นให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถอธิบายกระบวนการที่โลกใช้ในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศได้ดังข้อ 2
4.5 ครูอาจนำกราฟ แสดงอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศโลกในช่วงเวลาธรณีกาลเมื่อเปรียบเทียบกับค่า
อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศ ในช่วงปี 2503-2533 โดยดาวน์โหลดได้จากเวปไซต์ https://commons.wikimedia.org/
wiki/File:All_palaeotemps.png โดยกราฟแสดงให้เห็นว่า โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมาตั้งแต่ใน
อดีต โดยในบางช่วงเวลาอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศมีทั้งต่ำกว่าและสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในช่วงปี 2503-
2533 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาอุณหภูมิอากาศของโลกในอดีตได้จากหลักฐานทางธรณีวิทยาและจำลองข้อมูล
อุณหภูมิอากาศไปถึงช่วงเวลาธรณีกาล
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้เกี่ยวกับกระบวนการสมดุลพลังงานจากการสรุปกระบวนการสมดุลพลังงานจาก
การอภิปรายและการตอบคำถาม
5.2 ประเมินทักษะการตีความหมายและ ลงข้อสรุป จากการวิเคราะห์รูป 9.1-9.3 และการตอบ
คำถาม
5.3 ประเมินความใจกว้างจากการร่วมอภิปรายและการตอบคำถาม

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว30103
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6
 เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
 เวลา 1 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว.3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก พร้อมทั้งนำเสนอแนวปฏิบัติ
เพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

จุดประสงค์การเรียนรู้

วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การตีความหมายและ ลงข้อสรุป
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
-
จิตวิทยาศาสตร์
ความใจกว้าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนทบทวนความรู้เรื่องสมดุลพลังงานเพื่อเชื่อมโยงสู่เรื่องการ
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยใช้คำถามดังตัวอย่างต่อไปนี้
1. ถ้าช่วงเวลาหนึ่ง พลังงานเฉลี่ยที่โลกได้รับไม่สมดุลกับพลังงานเฉลี่ยที่โลกปล่อยกลับสู่อวกาศ
จะส่งผลต่ออุณหภูมิเฉลี่ยของโลกหรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ ส่งผล โดยถ้าพลังงานเฉลี่ยโลกปล่อยกลับสู่อวกาศน้อยกว่าที่โลกได้รับจะส่งผลต่อ
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ในทางกลับกันถ้าพลังงานเฉลี่ยโลกปล่อยกลับสู่อวกาศมากกว่าที่โลกได้รับจะส่งผลต่อ
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลง
2. ปัจจัยใดบ้างที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (ตอบตามความคิดของตนเอง)
แนวคำตอบ บรรยากาศ เมฆ และพื้นผิวโลก
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 5 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และตอบ
คำถามท้ายกิจกรรม
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรมพร้อม
ตอบคำถามท้ายกิจกรรม
3.2 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับปัจจัยที่
เกี่ยวข้องโดยเชื่อมโยงความรู้จากผลการทำกิจกรรม
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
โดยมีแนวทางการสรุปดังนี้
แนวคำตอบ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่เกี่ยวข้อ งกั บ
กระบวนการสมดุลพลังงานของโลก ทั้งแก๊สเรือนกระจก ละอองลอย ค่าอัตราส่วน รังสีสะท้อนของพื้นผิวโลก ซึ่งแต่
ละปัจจัยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในทิศทางแตกต่างกัน เช่น ส่งผลให้อุณหภูมิ เฉลี่ยของอากาศสูงขึ้น
หรือลดลง
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นปัจจัย
ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งนักเรียนสามารถศึกษาความรู้เพิ่มเติมได้จาก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
เอกสารความรู้เรื่องวัฏจักรมิลานโควิช โดยดาวน์โหลดจาก QR code ของบทในหนังสือเรียน และสรุปได้ดังแนว
ทางการอธิบายต่อไปนี้
แนวคำตอบ การเปลี่ยนแปลงลักษณะการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง
ความรีของวงโคจรโลกรอบดวงอาทิตย์ การเปลี่ยนแปลงมุมเอียงของแกนหมุนโลก การหมุนควงของแกนหมุนโลก
ทำให้ความเข้มแสงจากดวงอาทิตย์ที่ พื้นผิวโลกได้รับในแต่ละช่วงเวลามีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันเป็นวัฏจักร
แต่ใช้เวลานานตั้งแต่หลายหมื่นปีจนถึงแสนปี เรียกว่า วัฏจักรมิลานโควิช
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากผลการปฏิบัติกิจกรรม
ที่ 5 และการตอบคำถามท้ายกิจกรรม การสรุปองค์ความรู้จากการอภิปราย แบบฝึกหัดท้ายบท
5.2 ประเมินทักษะการตีความหมายและ ลงข้อสรุป จากการการวิเคราะห์กราฟในกิจกรรมที่ 5 และ
การตอบคำถามท้ายกิจกรรม
5.3 ประเมินความใจ จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นในการร่วมอภิปราย

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว30103
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7
 เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
และแนวทางการรับมือ
 เวลา 2 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว.3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/13 อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก พร้อมทั้งนำเสนอแนวปฏิบัติ
เพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. รวบรวมข้อมูลและอธิบายผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
2. ออกแบบและนำเสนอแนวปฏิบัติเพื่อลดปัจจัยที่ส่ง ผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก และ
แนวทางการรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และแนวทางการรับมือหรือการปรับตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
1. การสร้างสรรค์และนวัตกรรม
2. ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
จิตวิทยาศาสตร์
1. ความใจกว้าง
2. คุณธรรมและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับข่าว บทความ หรือประสบการณ์ที่เคยรับรู้
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
จากนั้นแบ่งกลุ่มนักเรียน แล้วให้ปฏิบัติกิจกรรมที่ 6 เพื่อศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
ภูมิอากาศและการรับมือ
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรมพร้อม
ตอบคำถามท้ายกิจกรรม
3.2 ให้นัก เรียนร่วมกั นอภิป รายเพื่อ สรุปองค์ ค วามรู ้เ กี่ย วกั บ ผลกระทบจากการเปลี ่ย นแปลง
ภูมิอากาศและแนวทางการรับมือหรือปรับตัว โดยมีแนวทางการสรุปตามการสรุปผลการทำกิจกรรม
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศไทย โดยสรุปดังนี้
แนวทางการสรุป
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel
on Climate Change: IPCC) มีข้อตกลงร่วมกัน เรียกว่า ข้อตกลงปารีส (Paris agreement) ได้กำหนดกฎกติกา
ระหว่างประเทศให้มีการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียสจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิก และได้จัดทำแผนเพื่อรองรับข้อตกลงดังกล่าว เรียกว่า แผนแม่บทรองรับการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593 โดยกำหนดเป้าหมายที่จะลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกให้ได้ร้อย
ละ 20–25 ภายใน พ.ศ. 2573 และมีแนวทางและมาตรการรองรับ 8 ด้าน ได้แก่ การผลิตไฟฟ้า การคมนาคมขนส่ง
การใช้พลังงานภายในอาคาร ภาคอุตสาหกรรม ภาคของเสีย ภาคการเกษตร ภาคป่าไม้ การจัดการเมือง
4.2 ครูอาจมอบหมายงานที่สามารถบูรณาการร่วมกับวิชาอื่น ๆ โดยให้นักเรียนร่วมกันวางแผน
ออกแบบ และนำเสนอแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และจัดทำโครงการเพื่อรณรงค์สร้าง
ความตระหนักถึงการกระทำของมนุษย์ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้เกี่ยวกับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และแนวทางการรับมือหรือ
การปรับตัวจากผลกระทบที่เกิดขึ้น จากผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ 6 การตอบคำถามท้ายกิจกรรม การอภิปรายเพื่อ
สรุปองค์ความรู้ แบบฝึกหัด

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
5.2 ประเมินทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ความร่วมมือ
การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ จากการออกแบบแนวทางการรณรงค์เพื่อลดกิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลต่อการ
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
5.3 ประเมินความใจกว้าง คุณธรรมและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ จากการร่วมอภิปราย
และการตอบคำถาม การนำเสนอแนวทางเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว30103
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก

การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8
 เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
 เวลา 2 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว.3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/14 แปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่สำคัญจากแผนที่อากาศ และนำข้อมูล
สารสนเทศต่าง ๆ มาวางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์และแปลความหมายสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้าง บนแผนที่อากาศ
ผิวพื้นและระบุสภาพลมฟ้าอากาศ
2. อธิบายการแปลความหมายจากภาพถ่ายดาวเทียม
3. วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
1. การแปลความหมายสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่อากาศผิวพื้น
2. การแปลความหมายข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและเรดาร์ตรวจอากาศ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
1. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป
2. ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
จิตวิทยาศาสตร์
การยอมรับความเห็นต่าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
1.1 ครูนำเข้าสู่บทเรียนร่วมอภิปรายกับนักเรียนเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์และ
สิ่งแวดล้อม เช่น พายุหมุนเขตร้อนที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่ง พายุฝนฟ้าคะนองที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในพื้นที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้รูปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงประกอบ
1.2 ครูให้นักเรียนสังเกตรูปนำบทในหนังสือเรียนหน้า 247 จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้
คำถาม ดังต่อไปนี้
1. จากรูป แสดงปรากฏการณ์ใด
แนวคำตอบ พายุฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนัก ลมพัดแรง
2. สภาพลมฟ้าอากาศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่าง
แนวคำตอบ อาจเกิดอันตรายจากฟ้าผ่า และเศษวัสดุหรือสิ่งของปลิว ลมกระโชกแรงอาจทำให้
บ้านเรือนเสียหาย หากมีฝนตกหนักอาจเกิดน้ำท่วม ถนนถูกตัดขาด
หมายเหตุ คำตอบข้อนี้อาจมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน
3. นักเรียนสามารถทราบสภาพลมฟ้าอากาศดังกล่าวล่วงหน้าได้หรือไม่ ทราบได้อย่างไร
แนวคำตอบ สามารถทราบล่วงหน้าได้ โดยการติดตามพยากรณ์อากาศ
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 10.1 และสืบค้นข้อมูลการพยากรณ์อากาศและการตรวจวัดองค์ประกอบลม
ฟ้าอากาศจากหนังสือเรียนหน้า 248 จากนั้นอภิปรายร่วมกันโดยใช้ตัวอย่างคำถามดังนี้
1. ปัจจุบันการพยากรณ์อากาศใช้ข้อมูลการตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศจากแหล่งใดบ้าง
แนวคำตอบ สถานีตรวจอากาศผิวพื้น สถานีตรวจอากาศชั้นบน สถานีตรวจอากาศบนเรือ ทุ่นลอยใน
มหาสมุทร สถานีเรดาร์ตรวจอากาศ อุปกรณ์ตรวจวัดบนเครื่องบิน ดาวเทียม
2. จากรูป 10.1 ระบุแหล่งตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศได้อย่างไรบ้าง
แนวคำตอบ สามารถระบุแหล่งตรวจวัดองค์ประกอบลมฟ้าอากาศได้ดังรูป
3. จำนวนข้อมู ลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศมีผลต่อ ความแม่นยำในการพยากรณ์อากาศหรือ ไม่
อย่างไร
แนวคำตอบ จำนวนข้ อ มู ล ลมฟ้ า อากาศมี ผ ลต่ อ ความแม่ น ยำในการพยากรณ์ อ ากาศข้ อ มู ล
องค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่มีจำนวนมากทำให้การพยากรณ์อากาศมีความแม่นยำมากขึ้น
4. เพราะเหตุใดจึงต้องตรวจวัดข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศด้วยวิธีที่หลากหลาย
แนวคำตอบ เพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลทั่วทุกบริเวณบนโลก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
5. ข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่ตรวจวัดได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
แนวคำตอบ นำไปใช้คาดการณ์สภาพลมฟ้าอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 ครูสรุปและให้ความรู้เพิ่มเติมว่า “นักอุตุนิยมวิทยาจะนำข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่ได้
จากการตรวจวัดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ มาแสดงผลอยู่ในรูปของสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา เช่น แผนที่อากาศ
ชนิดต่าง ๆ ข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ”
3.2 ครูให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่อากาศผิวพื้นจากหนังสือเรียนหน้า 249 – 250 จากนั้น
ร่วมกันอภิปรายโดยมีแนวทางดังตัวอย่าง
แนวทางการอภิปราย แผนที่อากาศผิวพื้นแสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศจากสถานีตรวจ
อากาศผิวพื้น ข้อมูลบนแผนที่อากาศผิวพื้นจะแสดงด้วยสัญลักษณ์ ที่บอกองค์ประกอบลมฟ้าอากาศต่าง ๆ (ดังรูป
10.2 ในหนังสือเรียนหน้า 249) เช่น อุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิจุดน้ำค้าง ทิศทางและอัตราเร็วลม สัดส่วนเมฆใน
ท้องฟ้า ความกดอากาศ โดยข้อมูลต่าง ๆ จะปรากฏ ณ ตำแหน่งเดิมเสมอ ยกเว้นสัญลักษณ์แสดงทิศทางลมที่จะ
เปลี่ยนตำแหน่งตามทิศทางลมในขณะตรวจวัด ในสัญลักษณ์แสดงข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศอาจแสดงข้อมูล
ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพลมฟ้าอากาศที่ตรวจวัดได้ จากนั้นจะนำข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศผิวพื้น ณ
ตำแหน่งต่าง ๆ มาวิเคราะห์เป็นสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างและถูกแสดงด้วยสัญลักษณ์อีกรูป แบบหนึ่งบน
แผนที่อากาศผิวพื้น
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจวัดและรายงานค่าความกดอากาศ ดังนี้
สถานีตรวจอากาศผิวพื้นแต่ละแห่งตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีระดับความสูงแตกต่างกัน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่
ส่งผลให้ความกดอากาศที่ตรวจวัดได้จากแต่ละสถานีมีค่าแตกต่างกัน ดังนั้นนักอุตุนิยมวิทยาจึงใช้ระดับน้ำทะเลเป็น
จุดอ้างอิงความสูง และคำนวณความกดอากาศที่ตรวจวัดได้จากทุกสถานีเป็นความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเล เมื่อ
นำค่าความกดอากาศดังกล่าวมาสร้างเป็นเส้นความกดอากาศเท่า ก็จะช่วยให้ทราบการเคลื่อนที่ของอากาศเป็น
บริเวณกว้าง ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการพยากรณ์อากาศ
4.2 ครูนำตัวอย่างแผนที่อากาศผิวพื้นให้นักเรียนสังเกตและใช้ตัวอย่ างคำถามดังนี้ “สัญลักษณ์ตา่ ง
ๆ ที่ปรากฏบนแผนที่อากาศผิวพื้นมีความหมายอย่างไรและระบุลมฟ้าอากาศอย่างไร” จากนั้นครูให้นักเรียนหา
คำตอบจากกิจกรรมที่ 7 สัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้าง
4.3 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปราย พร้อ มตอบคำถามท้าย
กิจกรรม โดยแนวทางการอภิปรายและการตอบคำถามดังแสดงด้านบน
4.4 ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจวัดและรายงานค่าความกดอาศ ดังนี้
โดยส่ ว นใหญ่ ส ารสนเทศทางอุ ต ุ น ิ ย มวิ ท ยาจะรายงานเป็ น เวลาสากลเชิ ง พิ ก ั ด ( Coordinate
Universal Time, UTC) ซึ่งสามารถแปลงเป็นเวลาท้องถิ่นในประเทศไทย โดยการบวกเพิ่มอีก 7 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น
06 UTC คือเวลา 13.00 น. ของประเทศไทย

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
4.5 ครู อ ธิ บ ายนั ก เรี ย นเพิ ่ ม เติ ม เกี ่ ย วกั บ เส้ น ความกดอากาศเท่ า บนแผนที ่ อ ากาศของกรม
อุตุนิยมวิทยาซึ่งมีหลายรูปแบบ
4.6 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศในฤดูกาลต่าง ๆ โดยใช้
คำถามดังต่อไปนี้
1. รูป 10.3 ในฤดูร้อน พบสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเ วณกว้างใดบ้างบริเ วณ
ประเทศไทย
แนวคำตอบ สัญลักษณ์หย่อมความกดอากาศต่ำ
2. รูป 10.3 ในฤดูร้อน เส้นความกดอากาศเท่าที่อยู่ระหว่างบริเวณความกดอากาศสูงเหนือ
ประเทศจีนและหย่อมความกดอากาศต่ำเหนือประเทศไทย มีลักษณะเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ มีลักษณะคล้ายลิ่มมาทางประเทศไทย
3. ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้ว่าอากาศมีการเคลื่อนที่อย่างไร
แนวคำตอบ อากาศกำลังเคลื่อนที่จากบริเวณประเทศจีนมาทางประเทศไทย
4. หากอากาศเย็นเคลื่อนที่มาถึงบริเวณที่มีอากาศร้อนปกคลุมอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น
แนวคำตอบ เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บตก
5. นักเรียนจะปฏิบัติตนอย่างไรให้ปลอดภัยจากสภาพพายุฝนฟ้าคะนอง
แนวคำตอบ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ หรือป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ไม่แข็งแรง
ในฤดูฝน
6. หากมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านประเทศไทยจะมีโอกาสเกิดภัยพิบัติใดได้มากขึ้น เพราะ
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
แนวคำตอบ มีโอกาสเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มเนื่องจากได้รับปริมาณน้ำฝนมากขึ้น
7. ในฤดูหนาว (รูป 10.4) เส้นความกดอากาศเท่าที่อยู่รอบบริเวณความกดอากาศสูง มีลักษณะ
เป็นอย่างไร
แนวคำตอบ มีลัก ษณะเป็นแนวแผ่ จากประเทศจี น ลงมาปกคลุ ม ประเทศไทยและประเทศ
ใกล้เคียง
8. ลักษณะดังกล่าวบ่งชี้ว่าอากาศมีการเคลื่อนที่อย่างไร
แนวคำตอบ อากาศกำลังกำลังเคลื่อนที่ลงมายังประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง
9. จากลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศ นักเรียนควรเตรียมพร้อมกับสภาพลมฟ้าอากาศอย่างไร
แนวคำตอบ เตรียมพร้อมกับอากาศหนาวและระมัดระวังอันตรายจากปริมาณฝนที่เพิ่มมากขึ้น
4.7 ให้นักเรียนตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการระบุฤดูของประเทศไทยโดยสังเกตจากสัญลักษณ์
แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่อากาศผิวพื้น โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 254 ดังนี้

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ในช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ของประเทศไทย จะปรากฏสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้า
อากาศบริเวณกว้างที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
แนวคำตอบ ในช่วงฤดูร้อนจะพบสัญลักษณ์หย่อมความกดอากาศปกคลุมบริเวณประเทศไทย
ในช่วงฤดูฝนจะพบสัญลักษณ์ร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านบบริเวณประเทศไทย และในช่วงฤดูหนาวจะพบเส้น
ความกดอากาศเท่าเป็นแนวแผ่จากประเทศจีนลงมาปกคลุมประเทศไทย
4.8 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนและแนวปะทะ
อากาศ โดยใช้คำถามดังต่อไปนี้
1. พายุหมุนเขตร้อนที่ปรากฏในรูป 10.5 มีความรุนแรงอยู่ในระดับใด
แนวคำตอบ พายุไต้ฝุ่น
2. พายุดังกล่าวเคลื่อนที่ไปทางทิศใด
แนวคำตอบ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนมาทางตะวันตกเล็กน้อย (WNW)
3. บริเวณใดบ้างได้รับผลกระทบจากพายุโดยตรง และส่งผลกระทบอย่างไร
แนวคำตอบ เกาะไหหลำและชายฝั่งประเทศเวียดนาม ทำให้เกิดภัยพิบัติ เช่น คลื่มลมแรง
การกัดเซาะชายฝั่ง น้ำท่วม ดินถล่ม
4. บริเวณใดของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าว และส่งผลกระทบอย่างไร
แนวคำตอบ บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้รับผลกระทบมาก
ที่สุด โดยทำให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้างซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดอุทกภัยและแผ่นดิ นถล่มมากขึ้น ส่วนอ่าวไทยและ
ทะเลอันดามันอาจมีคลื่นลมแรง
4.9 ครูอธิบายเพิ่มเกี่ยวการสังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ของแนวปะทะอากาศ โดยแนวปะทะอากาศจะ
เคลื่อนที่ไปทางด้านที่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมหรือครึ่งวงกลม ทางด้านที่มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยมหรือครึ่งวงกลม
1. จากรูป 10.6 แนวปะทะอากาศเย็นและแนวปะทะอากาศอุ่นกำลังเคลื่อนที่ไปทางทิศใด
แนวคำตอบ แนวปะทะอากาศเย็นกำลังเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และแนวปะทะ
อากาศอุ่นกำลังเคลื่อนที่ไปทิศเหนือ
2. ตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นและทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นจะมีสภาพลมฟ้ าอากาศเป็น
อย่างไร
แนวคำตอบ ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นเกิดลมพัดแรง พายุฝนฟ้าคะนอง และอาจมีหิมะตก
หลังจากนั้นอุณหภูมิอากาศจะลดลง ทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่นจะมีลมแรงเกิดฝนตกพรำ ๆ และอาจมีหยาด
น้ำฟ้าชนิดอื่น ๆ ตกเป็นบริเวณกว้างและเป็นระยะเวลานานหลังจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้น
4.10 ครูให้นักเรียนตอบคำถามตามความคิดของตนเองว่า “นอกจากแผนที่อากาศผิวพื้ น แล้ว
สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยามีอะไรอีกบ้าง และสารสนเทศเหล่านั้นนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร” เพื่อนำเข้าสู่หัวข้อ
ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
4.11 ครูให้นักเรียนดูวิดิทัศน์เกี่ยวกับข่าวพยากรณ์อากาศที่มีการนำเสนอภาพถ่ายดาวเทียมหรือ
เรดาร์ร่วมด้วย แล้วให้นักเรียนอภิปราย โดยใช้คำถามดังตัวต่อไปนี้
ข่าวพยากรณ์อากาศนำเสนอข้อมูลลมฟ้าอากาศ โดยใช้สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาใดบ้าง
แนวคำตอบ เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม เรดาร์
4.12 ครูอธิบายเกี่ยวกับภาพถ่ายดาวเทียมที่จะศึกษาในลำดับต่อไป ดังนี้
“ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เป็นภาพที่ได้จากการตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยดาวเทียม
อุตุนิยมวิทยาและนำข้อมูลจากการตรวจวัดมาประมวลผลเป็นภาพ สำหรับภาพถ่ายดาวเทียมที่ศึกษาในบทเรียนนี้
คือ ภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นอินฟราเรด และภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นที่มองเห็น”
4.13 ครูให้นักเรียนศึกษาหลักการตรวจวัดและการแปลความหมายภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงคลื่น
อินฟราเรดและช่วงคลื่นที่มองเห็น จากหนังสือเรียนหน้า 257 - 260 จากนั้นร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำถามต่อไปนี้
คำถามอภิปรายภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงคลื่นอินฟราเรด
1. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรด มีหลักการตรวจวัดอย่างไร
แนวคำตอบ ตรวจวัดปริมาณของรังสีอินฟราเรดที่แผ่ออกมาจากวัตถุ
2. การตรวจวัดรังสีอินฟราเรดสามารถทำได้ในช่วงเวลาใด
แนวคำตอบ ได้ทุกช่วงเวลา
3. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรดมีเฉดสีแตกต่างกันตามสิ่งใด และแปล
ผลแตกต่างกัน อย่างไร
แนวคำตอบ แตกต่างกันตามอุณหภูมิของพื้นผิววัตถุ โดยถ้าภาพมีเฉดสีขาวถึงเทาอ่อนแสดงว่า
วัตถุนั้นมีอุณหภูมิต่ำ ถ้าภาพมีเฉดสีเทาเข้มถึงดำแสดงว่าวัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูง
4. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรดที่ยังไม่ได้ปรับสีมีข้อจำกัดอย่างไร
แนวคำตอบ ถ้าวัตถุมีอุณหภูมิใกล้เคียงกันมาก สีของภาพจากการตรวจวัดจะมีความแตกต่าง
กันน้อย ทำให้แปลความหมายของภาพได้ยาก
5. เพราะเหตุใด ภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นอินฟราเรดที่ปรับสีของภาพจึงช่วยแก้ไขข้อจำกัด
ของภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นอินฟราเรดได้
แนวคำตอบ เพราะมีการปรับสีของภาพในแต่ละช่วงอุณหภูมิให้มีความละเอียดมากขึ้นจึงแสดง
ความแตกต่างของอุณหภูมิเมฆได้ชัดเจนขึ้น
คำถามอภิปรายภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงคลื่นที่มองเห็น
1. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่มองเห็น มีหลักการตรวจวัดอย่างไร
แนวคำตอบ ตรวจวัดการสะท้อนรังสีของวัตถุ
2. การตรวจวัดการสะท้อนรังสีของวัตถุสามารถทำได้ในช่วงเวลาใด
แนวคำตอบ สามารถตรวจวัดได้ในช่วงที่มีแสง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
3. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่มองเห็นมีเฉดสีแตกต่างกันตามสิ่งใด
แนวคำตอบ เฉดสีแตกต่างกันตามอัตราส่วนรังสีสะท้อนของวัตถุ
4. เฉดสีขาว เทาอ่อน เทาเข้ม และดำ ในภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่มองเห็นมี
ความสัมพันธ์กับอัตราส่วนรังสีสะท้อนอย่างไร และแปลความหมายได้อย่างไร
แนวคำตอบ เฉดสีขาวจนถึงเทาอ่อน เป็นบริเวณที่มีอัตราส่วนรังสีสะท้อนมาก ซึ่งหมายถึง
บริเวณที่มีเมฆมีความหนามาก และเฉดสีเทาเข้มถึงสีค่อนข้างดำ เป็นบริเวณที่มีอัตราส่วนรังสีสะท้อนน้อย ซึ่ง
หมายถึงบริเวณที่มีเมฆมีความหนาน้อย
5. การระบุเ มฆก้อ นและเมฆแผ่นจากภาพถ่ายดาวเทีย มอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่ม องเห็น
สามารถทำได้อย่างไร
แนวคำตอบ สังเกตรูปทรงและลักษณะพื้นผิวของเมฆ โดยหากสังเกตเห็นรูปทรงของเมฆมี
ลักษณะเป็นก้อนและมีพื้นผิวไม่เรียบแสดงว่าเป็นเมฆก้อน และหากสังเกตเห็นรูปทรงทรงของเมฆไม่ชัดเจนและมี
พื้นผิวเรียบแสดงว่าเป็นเมฆแผ่น
4.14 ครูตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนเกี่ยวกับความรู้เรื่องภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่น
ต่าง ๆ โดยใช้คำถามในหนังสือเรียนหน้า 260 ดังนี้
ถ้าภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรด พบบริเวณที่เป็นสีขาวสว่างเช่นเดียวกับ
ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่มองเห็น เมฆบริเวณนั้นน่าจะเป็นเมฆใด เพราะเหตุใด และส่งผลต่อลม
ฟ้าอากาศอย่างไร
แนวคำตอบ เมฆฝนฟ้าคะนอง เพราะภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นที่มองเห็นที่ปรากฏเป็นสีขาว
สว่างแสดงว่าเป็นเมฆที่มีความหนามาก ส่วนภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอิน ฟราเรดปรากฏสีขาวสว่าง
แสดงว่าเป็นเมฆที่มียอดเมฆสูง เมฆดังกล่างส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ลมพัดแรง อาจเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า
4.15 ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา โดยใช้คำถามดัง
ตัวอย่างต่อไปนี้
1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรดและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่มองเห็นมี
หลักการตรวจวัดแตกต่างกันอย่างไร
แนวคำตอบ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นอินฟราเรด ตรวจวัดปริมาณของรังสีอินฟราเรดที่
แผ่ออกมาจากวัตถุ ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาช่วงคลื่นที่มองเห็น ตรวจวัดการสะท้อนรังสีของวัตถุ
2. ภาพถ่ายดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาให้ข้อมูลใดบ้าง
แนวคำตอบ ตำแหน่งที่พบเมฆ ชนิดและปริมาณของเมฆที่ปกคลุมท้องฟ้า
4.16 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองว่า “หากต้องการคาดการณ์ความแรงฝน
ทิศทางการเคลื่อนตัวของกลุ่ม ฝนและปริมาณน้ำฝน นักเรียนควรจะศึกษาจากสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาใด”
จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 8 เพื่อศึกษาการแปลความหมายข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
4.17 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ และร่วมกันอภิปรายผลการทำกิจกรรม พร้อมตอบคำถามท้าย
กิจกรรม
4.18 ให้นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ โดยใช้คำถามดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้
1. เรดาร์ตรวจอากาศมีหลักการตรวจวัดอย่างไร
แนวคำตอบ ส่งคลื่นออกไปโดยรอบ เมื่อคลื่นกระทบกับหยาดน้ำฟ้า เช่น กลุ่มฝน หิมะ ลูกเห็บ
คลื่นบางส่วนจะสะท้อนกลับมาสู่ตัวรับสัญญาณ
2. การแปลผลข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศทำได้อย่างไร
แนวคำตอบ แปลผลจากสีที่แตกต่างกัน โดยสี จะสอดคล้องกับค่าความเข้มของคลื่นที่สะท้อน
กลับซึ่งมีหน่วยเดซิเบล และความเข้มของคลื่นที่ตรวจวัดได้จะแปรผันตามความแรงและชนิดของหยาดน้ำฟ้า ที่
กำหนดข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศให้ข้อมูลใดบ้าง
แนวคำตอบ บริเวณที่พบกลุ่มฝน และความแรงของกลุ่มฝน ทิศทางการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝน
4.19 ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองว่า “สารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาทั้งแผนที่
อากาศผิวพื้น ภาพถ่ายดาวเทียม และเรดาร์ตรวจอากาศ สามารถนำใช้ประโยชน์ในการวางแผนการประกอบอาชีพ
และการดำรงชีวิตได้หรือไม่ อย่างไร”
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมินความรู้การแปลความหมายสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่
อากาศผิวพื้น การแปลความหมายข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและเรดาร์ตรวจอากาศ จากการตอบคำถามตรวจสอบ
ความเข้าใจ การตอบคำถาม และการนำเสนอผลกาอภิปราย แบบฝึกหัด
5.2 ประเมินทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะ
ผู้นำ จากการแปลความหมายสัญลักษณ์แสดงสภาพลมฟ้าอากาศบริเวณกว้างบนแผนที่อากาศผิวพื้น ภาพถ่าย
ดาวเทียมและเรดาร์ตรวจอากาศ การมีส่วนร่วมในการคิด ออกความเห็นและตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีการแบ่ง
หน้าที่และความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม
5.3 ประเมินการยอมรับความเห็นต่าง จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นในการร่วมอภิปราย

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว30103
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
 เรื่อง การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ
ทางอุตุนิยมวิทยา
 เวลา 1 ชั่วโมง

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว.3.2 เข้าใจองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใน
โลกและบนผิ ว โลก ธรณี พ ิ บ ั ต ิ ภ ั ย กระบวนการเปลี ่ ย นแปลงลมฟ้ า อากาศและ
ภูมิอากาศโลก รวมทั้งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ว 3.2 ม.6/14 แปลความหมายสัญลักษณ์ลมฟ้าอากาศที่สำคัญจากแผนที่อากาศ และนำข้อมูล
สารสนเทศต่าง ๆ มาวางแผนการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ

จุดประสงค์การเรียนรู้

นำข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาต่า ง ๆ และพยากรณ์อากาศมาวางแผนการดำเนินชีวิ ต และ


ประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับสภาพลมฟ้าอากาศ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาเพื่อใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
1. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ
จิตวิทยาศาสตร์
การยอมรับความเห็นต่าง

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้
2. มุ่งมั่นในการทำงาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
กิจกรรมการเรียนรู้

1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement)
ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา
กับการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ โดยใช้คำถามดังตัวต่อไปนี้
จากข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยาสามารนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องใดบ้าง
แนวคำตอบ การเกษตร การประมง การเดินทาง
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration)
ครูใ ห้นัก เรียนร่วมกันอภิปรายตามความคิดของตนเองว่า “ข้อ มูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศมี
ประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพต่าง ๆ หรือไม่ อย่างไร” จากนั้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่ 9
3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
3.1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรม และร่วมกันอภิปราย พร้อมตอบคำถามท้าย
กิจกรรม
3.2 ครูให้นักเรียนสังเกตรูป 10.13 ในหนังสือเรียนหน้า 269 จากนั้นร่วมกันอภิปรายโดยอาจใช้
ตัวอย่างคำถามดังนี้
1. จากรูป แสดงข้อมูลใด
แนวคำตอบ เส้นทางเดินพายุไต้ฝุ่นเชบี
2. ข้อมูลเส้นทางเดินพายุไต้ฝุ่นเชบีมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
แนวคำตอบ ทำให้ทราบพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ และสามารถเตรียมความพร้อมเพื่อลดการ
สูญเสียที่เกิดขึ้น
4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
4.1 ครูให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นเชบีและการลดผลกระทบ ดังนี้
“พายุไต้ฝุ่นเชบีเคลื่อนที่เข้าสู่ทางชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 4 - 5 กันยายน
พ.ศ. 2561 พายุไต้ฝุ่นเชบีได้สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง อาคารบ้านเรือน สนามบินเสียหาย ต้องยกเลิก
เที่ยวบินจำนวนมากกว่า 700 เที่ยวบิน แต่จากการติดตามข้อมูล สารสนเทศดังกล่าว ทำให้สำนักอุตุนิยมวิทยา
ญี่ปุ่น (Japan Meteorological Agency) ได้ประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบกว่า 1 ล้า นคน
เตรียมความพร้อมและอพยพได้ทันจึงลดการสูญเสียชีวิตและความเสียหายในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างมาก”
4.2 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ยังมีหน่วยงาน องค์กร หรืออาชีพใดอีกบ้างที่ใช้ประโยชน์
จากข้อมูลสารสนเทศทางอุตุนิยมวิทยา

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แนวทางการอภิปราย หน่วยงานที่มีภารกิจในการบริหารจัดการน้ำ การทำฝนหลวง การคมนาคม
ขนส่งทั้งทางบก ทางนำ้ และอากาศ การปฏิบัติการนอกชายฝั่ง กิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ
5. ขั้นประเมิน (Evaluation)
5.1 ประเมิน ความรู้เ กี ่ ย วกั บ วิเ คราะห์ ข ้อ มู ลสารสนเทศทางอุ ตุ นิ ย มวิ ท ยาเพื่อ ใช้ป ระโยชน์ ใ น
ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ จากการตอบคำถาม และการนำเสนอผลการอภิปราย แบบฝึกหัด
5.2 ประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ จาก
การวิเคราะห์และใช้เหตุผลที่เหมาะสมในการตัดสินใจตามกับสถานการณ์ที่กำหนด การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์
อภิปราย และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการหมุนเวียนของน้ำผิวหน้ามหาสมุทรและผลที่มีต่อภูมิอากาศ ลมฟ้าอากาศ
สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
5.3 ประเมินการยอมรับความเห็นต่าง จากการรับฟังความเห็นของผู้อื่นในการร่วมอภิปราย

สื่อการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

1. หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6


2. แบบบั น ทึ ก การวั ด และประเมิ น ผลการเรี ย นรู ้ ต ามตั ว ชี ้ ว ั ด รายวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ว30103
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก

การประเมินการเรียนรู้

1. ประเมินความรู้ (K) ด้วยแบบฝึกหัด


2. ประเมินทักษะการปฏิบัติ (P) ด้วยแบบประเมิน
3. ประเมินจิตวิทยาศาสตร์ (A) ด้วยแบบประเมิน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษา

ลงชื่อ
( )
ตำแหน่ง

บันทึกหลังการสอน

ผลการจัดการเรียนการสอน

ปัญหา/อุปสรรค

แนวทางแก้ไข

ครูผู้สอน
( )
วันที่บันทึก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ภาคผนวก

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แบบประเมินทักษะปฏิบัติการทดลอง

ระดับคุณภาพ
ที่ รายการประเมิน
4 3 2 1
1 การวางแผนวิธีดำเนินการทดลอง
2 การปฏิบัติการทดลอง
3 ความคล่องแคล่วในการทำการทดลอง
4 การบันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง

เมื่อนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจริงจะมีหลักฐานร่องรอยที่แสดงไว้ทั้งวิธีการปฏิบัติและผลการปฏิบัติ
ซึ่งหลักฐานร่องรอยเหล่านั้นสามารถใช้ในการประเมินความสามารถ ทักษะการคิด และทักษะปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

 เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 4 ด้าน

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
1. การวางแผนวิธีดำเนินการทดลอง
4 วางแผนการทดลองและออกแบบการทดลองได้ถูกต้อง เหมาะสมกับเวลา สามารถ
เลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ในการทดลองได้ถูกต้อง เหมาะสมและครบถ้วน
3 วางแผนการทดลองและออกแบบการทดลองได้ถูกต้องและเหมาะสมกับเวลา
แต่การเลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ยังไม่เหมาะสมหรือไม่ครบถ้วน
2 วางแผนการทดลองและออกแบบการทดลองไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมกับเวลา
ต้องได้รับความช่วยเหลือในการเลือกใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
1 ไม่สามารถวางแผนและออกแบบการทดลองได้เอง ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างมาก
ในการวางแผนการทดลอง การออกแบบการทดลอง และการเลือกใช้เครื่องมือ
และวัสดุอุปกรณ์

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
2. การปฏิบัติการทดลอง
4 ดำเนินการทดลองเป็นขั้นตอนและใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง
3 ดำเนินการทดลองได้เอง แต่ต้องการคำแนะนำการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์
เป็นบางครั้ง
2 ต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นบางครั้งในการดำเนินการทดลองและการใช้เครื่องมือ
และวัสดุอุปกรณ์
1 ต้องได้รับความช่วยเหลือตลอดเวลาในการดำเนินการทดลองและการใช้เครื่องมือ
และวัสดุอุปกรณ์
3. ความคล่องแคล่วในการทำการทดลอง
4 ดำเนินการทดลองและใช้วัสดุอุปกรณ์ทำการทดลองได้เหมาะสม มีความปลอดภัย
และทำได้เสร็จทันเวลา
3 ทำการทดลองและใช้วัสดุอุปกรณ์ได้ทันเวลาที่กำหนด แต่ยังต้องการคำแนะนำ
การใช้บ้างเป็นครั้งคราว
2 ทำการทดลองไม่ทันเวลาที่กำหนด แต่ใช้วัสดุอุปกรณ์ได้ถูกต้องและไม่เกิดความ
เสียหาย
1 ทำการทดลองไม่ทันเวลาที่กำหนดและทำวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้บางชิ้นชำรุดเสียหาย
4. การบันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลอง
4 บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลองถูกต้อง รัดกุม เขียนรายงานการทดลอง
ได้อย่างสมบูรณ์เป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
3 บันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลองได้เอง เขียนรายงานการทดลองยังไม่เป็น
ขั้นตอนที่สมบูรณ์
2 ต้องได้รับคำแนะนำเป็นบางครั้งในการบันทึกผลการทดลอง การสรุปผลการทดลอง
รวมทั้งการเขียนรายงานการทดลอง
1 ต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างมากในการบันทึกผลการทดลอง การสรุปผลการทดลอง
รวมทั้งการเขียนรายงานการทดลอง

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แบบประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูล

ระดับคุณภาพ
ที่ รายการประเมิน
4 3 2 1
1 เนื้อหาสาระครบถ้วนตรงตามประเด็น
2 ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ
3 ภาษาถูกต้องเหมาะสม
4 ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5 รูปแบบการนำเสนอน่าสนใจ
6 ประเมินปรับปรุงและแสดงความรู้สึกต่อชิ้นงาน

 เกณฑ์การประเมิน แยกตามองค์ประกอบย่อย 6 ด้าน

ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
1. เนื้อหาสาระครบถ้วนตรงตามประเด็น
4 มีเนื้อหาสาระครบถ้วนตามประเด็นที่กำหนดทั้งหมด
3 มีเนื้อหาสาระค่อนข้างครบถ้วนตามประเด็นที่กำหนดทั้งหมด
2 มีเนื้อหาสาระไม่ครบถ้วนตามประเด็นแต่ภาพรวมของสาระทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์พอใช้
1 มีเนื้อหาสาระไม่ครบถ้วน ภาพรวมของสาระทั้งหมดอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง
2. ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ
4 เนื้อหาสาระทั้งหมดถูกต้องตามข้อเท็จจริงและหลักวิชา
3 เนื้อหาสาระเกือบทั้งหมดถูกต้องตามข้อเท็จจริงและหลักวิชา
2 เนื้อหาสาระบางส่วนถูกต้องตามข้อเท็จจริง หลักวิชาต้องแก้ไขบางส่วน
1 เนื้อหาสาระส่วนใหญ่ไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง หลักวิชาต้องแก้ไขเป็นส่วนใหญ่

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ระดับคุณภาพ รายการประเมิน
3. ภาษาถูกต้องเหมาะสม
4 สะกดการันต์ถูกต้อง ถ้อยคำสำนวนเหมาะสมดีมาก ลำดับความได้ชัดเจน เข้าใจง่าย
3 สะกดการันต์ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำสำนวนเหมาะสมดี ลำดับความได้ดีพอใช้
2 สะกดการันต์มีผิดอยู่บ้าง ถ้อยคำสำนวนเหมาะสมพอใช้ ลำดับความพอเข้าใจ
1 สะกดการันต์ผิดมาก ถ้อยคำสำนวนไม่เหมาะสม ลำดับความได้ไม่ชัดเจน
4. ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
4 ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายตั้งแต่ 4 แหล่งขึ้นไป
3 ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ 3 แหล่ง
2 ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ 2 แหล่ง
1 ค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้เพียงแหล่งการเรียนรู้เดียว
5. รูปแบบการนำเสนอน่าสนใจ
4 รูปแบบการนำเสนองานแปลกใหม่ น่าสนใจดี ลำดับเรื่องราวได้ดีมาก
3 รูปแบบการนำเสนองานน่าสนใจ ลำดับเรื่องราวได้ดี
2 รูปแบบการนำเสนองานน่าสนใจพอใช้ ลำดับเรื่องราวได้พอใช้
1 รูปแบบการนำเสนอผลงานไม่น่าสนใจ ลำดับเรื่องราวได้ไม่ดี
6. ประเมินปรับปรุงและแสดงความรู้สึกต่อชิ้นงาน
4 วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานได้ชัดเจน ปรับปรุงพัฒนางานได้เหมาะสม
และแสดงความรู้สึกต่องานทั้งกระบวนการทำงานและผลงานได้อย่างชัดเจน
3 วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานได้บางส่วน ปรับปรุงพัฒนางานได้บ้าง แสดงความรู้สึก
ต่องานได้แต่ไม่ครบถ้วน
2 วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานได้เล็กน้อย ปรับปรุงพัฒนางานด้วยตนเองไม่ได้
ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้อื่น แสดงความรู้สึกต่องานได้แต่ไม่ครบถ้วน
1 วิเคราะห์ข้อเด่น ข้อด้อยของงานไม่ได้ ไม่ปรับปรุงพัฒนางาน แสดงความรู้สึกต่องาน
ได้เล็กน้อยหรือไม่แสดงความรู้สึกต่องาน

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
แบบประเมินคุณลักษณะด้านจิตวิทยาศาสตร์

ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
ที่ รายการประเมิน ไม่มีการ
มาก ปานกลาง น้อย
แสดงออก
1 ด้านความอยากรู้อยากเห็น
1. นักเรียนสอบถามจากผู้รู้หรือไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
เมื่อเกิดความสงสัยในเรื่องราววิทยาศาสตร์
2. นักเรียนชอบไปงานนิทรรศการวิทยาศาสตร์
3. นักเรียนนำการทดลองที่สนใจไปทดลองต่อที่บ้าน
2 ด้านความซื่อสัตย์
1. นักเรียนรายงานผลการทดลองตามที่ทดลองได้จริง
2. เมื่อทำการทดลองผิดพลาด นักเรียนจะลอกผลการ
ทดลองของเพื่อส่งครู
3. เมื่อครูมอบหมายให้ทำชิ้นงานออกแบบสิ่งประดิษฐ์
นักเรียนจะประดิษฐ์ตามแบบที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ
3 ด้านความใจกว้าง
1. แม้ว่านักเรียนจะไม่เห็นด้วยกับการสรุป
ผลการทดลองในกลุ่ม แต่ก็ยอมรับผลสรุปของ
สมาชิกส่วนใหญ่
2. ถ้าเพื่อนแย้งวิธีการทดลองของนักเรียน
และมีเหตุผลที่ดีกว่า นักเรียนพร้อมที่
จะนำข้อเสนอแนะของเพื่อนไปปรับปรุงงานของตน
3. เมื่องานที่นักเรียนตั้งใจและทุ่มเททำถูกตำหนิหรือ
โต้แย้ง นักเรียนจะหมดกำลังใจ

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
ระดับพฤติกรรมการแสดงออก
ที่ รายการประเมิน ไม่มีการ
มาก ปานกลาง น้อย
แสดงออก
4 ด้านความรอบคอบ
1. นักเรียนสรุปผลการทดลองทันทีเมื่อเสร็จสิ้น
การทดลอง
2. นักเรียนทำการทดลองซ้ำ ๆ ก่อนที่จะสรุปผล
การทดลอง
3. นักเรียนตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนทำ
การทดลอง
5 ด้านความมุ่งมั่นอดทน
1. ถึงแม้ว่างานค้นคว้าที่ทำอยู่มีโอกาสสำเร็จได้ยาก
นักเรียนจะยังค้นคว้าต่อไป
2. นักเรียนล้มเลิกการทดลองทันที เมื่อผลการทดลอง
ที่ได้ขัดจากที่เคยได้เรียนมา
3. เมื่อทราบว่าชุดการทดลองที่นักเรียนสนใจต้องใช้
ระยะเวลาในการทดลองนาน นักเรียนก็เปลี่ยนไป
ศึกษาชุดการทดลองที่ใช้เวลาน้อยกว่า
6 เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
1. นักเรียนนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหา
ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ
2. นักเรียนชอบทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
3. นักเรียนสนใจติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ
วิทยาศาสตร์

วิธีการตรวจให้คะแนน
ตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์โดยกำหนดน้ำหนักของตัวเลือกในช่องต่าง ๆ เป็น 4 3 2 1 สำหรับข้อความ
ที่มีความหมายเป็นทางบวก ส่วนของข้อความที่มีความหมายเป็นทางลบการกำหนดให้คะแนนในแต่ละข้อ ความ
จะมีลักษณะเป็นตรงกันข้าม

ลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

You might also like