You are on page 1of 13

บทที่ 1

บริบทเขตลุ่มแม่น้ำโขง

1. อาณาเขตของลุ่มแม่น้ำโขง

1.1 ลุ่มแม่น้ำโขง
ประเทศในกลุ่ม ลุ่มแม่น ้ำโขง ประกอบด้วย ดินแดนทางตอนใต้ของจีน
(มณฑลยูนนาน) พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม แม่น้ำโขงมีความยาว
ประมาณ 4,909 กิโลเมตร (เดิมว่ายาว 4,800 กิโลเมตร) เป็ นอันดับ 10 ของ
โลก มีต้น น ้ำ จากภูเขาจีฟ
้ ู ซึง่ เป็ นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ในเขต
จังหวัดอยู่ซู่ มณฑลฉิงไห่ แม่น ้ำ โขงมีช่ อ
ื เรียกหลายชื่อตามภาษาของกลุ่ม
ชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ดัง้ เดิมและสืบทอดกันมาในท้องถิ่นต่างๆดังนี ้ เมื่อไหล
ผ่านถิ่นฐานของไตลื้อ (หรือไทลื้อๆ ที่อาศัยทางภาคเหนือของประเทศไทย
เขียนว่า ไทยลื้อ) ในเขตสิบสองปั นนา มณฑล
ยูนนาน ภาษาไตลื้อเรียกว่าแม่น ้ำ ของ จีนเรียกว่าแม่น ้ำ หลานซางเจียง เมื่อ
ไหลผ่านลาว ชาวลาว เรียกว่า แม่น้ำของ เช่นเดียวกับภาษาไทลื้อ ภาษาไทย
เรียกว่า แม่น ้ำ โขง (ในจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำ แหง สมัยสุโขทัย
เรียกว่า แม่น้ำของ เช่นเดียวกับลื้อและลาว) ชาวกัมพูชาเรียกว่า แม่น้ำตนเล
ธม (Tonle Thom) เมื่อไหลผ่านเขตเวียดนามตอนใต้ชาวเวียดนาม เรียกว่า
แม่น ้ำ กิ๋วล่อง (Cuu Long) เนื่องจากแม่น ้ำ โขงบริเวณสามเหลี่ยมดินดอน

1
ปากแม่น ้ำ โขงได้แยกออกเป็ น 9 สาย และเป็ นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์หรือ
เป็ นอู่ข้าวอู่น้ำของชาวเวียดนาม

2. อารยธรรมลุ่มแม่น้ำโขง

2.1 อารยธรรมที่สำคัญในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
2.1.1 อ า ร ย ธ ร ร ม บ ้า น เ ช ีย ง
บ้านเชียงเป็ นศูนย์กลางของอารยธรรมโบราณยุคโลหะที่เก่าแก่
และสำคัญ ที่ส ุด ไม่น ้อ ยกว่า อารย-ธรรมโบราณในตะวัน ออกกลาง สัง คม
โบราณที่บ้านเชียงมีคนอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 7,000 ปี มาแล้ว และสามารถ
พัฒ นาเครื่อ งมือ เครื่อ งใช้ท ี่เ ป็ นโลหะผสม เช่น ปลายหอกโลหะมีอ ายุ
ประมาณ 5,600 ปี นับเป็ นโลหะผสมที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยพบในที่ใดๆ บริเวณ
ลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางมีความเจริญมาก่อนที่จะได้รับอารยธรรมอินเดียและ
จีนในช่วงต้นพุทธศตวรรษมานานกว่า 1,500 ปี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึง
เป็ นแหล่ง อารยธรรมสมัย ก่อ นประวัต ิศ าสตร์ท ี่ส ามารถถลุง โลหะเมื่อ
ประมาณ 3,500 ปี เศษมาแล้ว ดินแดนลุ่มแม่น้ำโขงจึงมีอารยธรรมสืบทอด
จากยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์ และมีศูนย์กลางความ
เจริญสืบทอดมาถึงขัน
้ เป็ นรัฐหรือประเทศต่างๆ ในปั จจุบัน

3. กลุม
่ ชาติพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำโขง

2
การศึกษาทางประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และโบราณคดีของลุ่ม
แม่น้ำโขงเริ่มมีการสำรวจและศึกษาในห้วงที่จักรวรรดินิยมตะวันตกได้เข้ามา
ยึดครองตัง้ แต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงสิน
้ สงครามโลกครัง้ ที่ 2
(สงครามโลกครัง้ ที่ 2 เกิดระหว่าง ค.ศ.1939 - 1945) กล่าวคือ ฝรั่งเศสได้
ยึดครองกัมพูชา เวียดนาม และลาว แล้วรวมเป็ นดินแดนอยู่ใต้การปกครอง
ของฝรั่งเศสที่ไซ่ง่อน เรียกว่า อินโดจีนฝรั่งเศส จึงมีนักวิชาการฝรั่งเศสสนใจ
ศึกษาทางด้านธรรมชาติวิทยา ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยาและโบราณคดี
ในอินโดจีนฝรั่งเศส (กัมพูชา เวียดนาม และลาว) และเมื่ออังกฤษได้ปกครอง
อินเดีย พม่ามลายู (มาเลเซีย สิงคโปร์) ก็มีนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี
และนักมานุษยวิทยาอังกฤษศึกษาในดินแดนอาณานิคมของตนเช่นเดียวกัน

3
บทที่ 2
การดำเนินชีวิตของชาติพันธุ์เขตลุ่มแม่น้ำโขง

1. ความเกี่ยวเนื่องของชาติพันธุ์เขตลุ่มแม่น้ำโขง

ดินแดนแห่งลุ่มแม่น้ำโขง ช่วงระหว่างประเทศไทย ประเทศสหภาพ


พม่า ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศ
สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งอยู่ในสมาคมอาเซียน มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์
กันในเชิงสังคมวัฒนธรรม บริเวณแห่งนีเ้ ป็ นแหล่งกำเนิดของอาณาจักรใหญ่
น้อย มีนครรัฐมากมาย มีมนุษย์หลากหลายชาติพันธุ์และต่างภาษารวมกัน
อยู่เป็ นจำนวนมากและอยู่ร่วมกันอย่างซับซ้อน กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านีไ้ ด้
กำเนิด ตัง้ รกราก อพยพย้ายถิ่นฐาน และอยู่อาศัยกระจัดกระจายไปทั่ว
บริเวณประเทศลุ่มแม่น้ำโขงมาตัง้ แต่ยังไม่มีการแบ่งประเทศ นอกจากนีย
้ ัง
มีความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ด้วยความสัมพันธ์หลายรูปแบบ ทัง้ ความ
กลมกลืนทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การปกครอง และ
ภูมิปัญญา ส่งผลให้ผค
ู้ นในเขตลุ่มแม่น้ำโขงมีการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน

4
โดยเน้นใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงแห่งนี ้ ทัง้ การเกษตร ปศุสัตว์ การประมง
และการท่องเที่ยว ทำให้ผค
ู้ นในลุ่มแม่น้ำโขงมีการพึ่งพาทรัพยากรในแม่น้ำ
โขงเป็ นหลัก

1.1 ลักษณะการดำเนินชีวิต
ประกอบไปด้วยชุมชนเกษตรกรรม การเกษตร การประมง และการ
เลีย
้ งสัตว์ปลูกพืช ยังเป็ นกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจของผู้คนในลุ่มน้ำ 62.6
เปอร์เซ็นต์ของประชากรวัยทํางานในภูมิภาคหาเลีย
้ งตัวเองจากงานที่
เกี่ยวข้องกับทรัพยากรของแม่น้ำโขงเป็ นหลัก นอกจากเป็ นแหล่งน้ำสารนูป
โภคและบริโภคของชุมชนเมืองในภูมิภาคแล้ว แม่น้ำโขงยังเป็ นแหล่งน้ำ
สำหรับใช้ในชีวิตประจําวันของชุมชนเกษตรกรรม เมื่อระดับน้ำลดลงในหน้า
แล้งแผ่นดินแห้งแล้งริมฝั่ งแม่น้ำกลายเป็ นพื้นที่สําคัญในการเพาะปลูก
นอกจากนีป
้ ลาน้ำจืดที่จับในลําน้ำโขงสายหลักหรือลําน้ำสาขารวมถึงพื้นที่
น้ำท่วมขัง และคลองเล็กคลองน้อยที่เชื่อมต่อกันยังเป็ นแหล่งโปรตีน
สําคัญสําหรับชุมชนเกษตรกรรม ในปั จจุบัน ปลาในแม่น้ำโขงกว่า 1,300
ชนิด สามารถนํามาบริโภคได้ สัตว์ฯ ต่างๆ เช่น กบ และปลา เป็ นแหล่ง
โปรตีนหลักและแหล่งรายได้ของผู้คน ถ้ารวมแรงงานตามฤดูกาลและธุรกิจ
ข้างเคียงที่เกี่ยวข้องแล้ว จะพบว่าผู้คนราว 40 ล้านคน ในภูมิภาคเกี่ยวข้อง
กับอุตสาหกรรมการทําประมงในเครือข่ายแม่น้ำโขง และประมาณ 40
เปอร์เซ็นต์ของประชากรในกัมพูชาพึ่งพาทะเลสาบโตนเล และพื้นที่น้ำท่วม
รอบๆ แม่น้ำยังเป็ นเส้นทางขนส่งสําคัญ จึงทำให้ผู้คนจากหมู่บ้านต่างๆ บน

5
สองข้างฝั่ งมักเป็ นญาติห่างๆ กัน ส่วนชนกลุ่มน้อยในเขตนีห
้ ลักๆ ประกอบ
ด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ “ไต” ได้แก่ ไตยวน ไตลาว ไตใหญ่ ไตเขิน ไตลื้อ ไตดำ
ไตแดง เป็ นหลัก รวมถึงกลุ่มคนมอญ เขมร จีน และชนเผ่าต่าง ๆ ซึง่ มีการ
ดำเนินชีวิตที่เน้นการทำเกษตรกรรมเช่นเดียวกัน

1.2 ลักษณะการดำเนินชีวิตในปั จจุบัน


เนื่องจากกลุ่มชนในเขตลุ่มแม่น้ำโขงดัง้ เดิมนัน
้ ทำการเกษตรเป็ นหลัก
ทำให้ในปั จจุบันได้รับผลกระทบ และ
อิทธิพลในด้านต่างๆ ทำให้ลักษณะการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไปโดย
สามารถมีสาเหตุหลักดังนี ้
1.2.1 การสร้างเขื่อนกัน
้ น้ำในแม่น้ำโขง
เขื่อนบนแม่น้ำโขงกำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำ
โขงอย่างรุนแรง ทัง้ ขวางทางไหล
ของตะกอนและกรวด ซึ่งส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ขัด
ขวางการอพยพของปลาจนเป็ นเหตุให้สูญพันธุ์ และอาจทำให้สัตว์น้ำในโขง
ลดลงกว่า 80% ในอีก 20 ปี ข้างหน้า รวมถึงทำให้ปริมาณตะกอนที่ไหลไป
ถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงลดลงถึง 97% โดยตะกอนเหล่านีม
้ ีความสำคัญ
ในการช่วยเพิ่มสารอาหารและฟื้ นฟูความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศโดย
รวม การขวางตะกอนเหล่านีย
้ ่อมจะทำให้ลุ่มแม่น้ำโขงมีความอุดมสมบูรณ์
ลดลงในระยะยาว นอกจากนัน
้ การขาดกรวดและตะกอนเหล่านีย
้ ังจะส่งผล
ให้พ้ืนที่ปลายน้ำประสบกับปั ญหาการกัดเซาะตลิ่ง รวมถึงสูญเสียพื้นที่วางไข่

6
ของปลาที่มักใช้ซอกหินต่างๆ เป็ นที่วางไข่ด้วย โดยคาดการณ์กันว่าชีวมวล
ด้านประมงในแม่น้ำโขงจะลดลงถึง 40-80% ในระยะเวลา 20 ปี ข้างหน้า (ปี
2583) อีกทัง้ เขื่อนยังขัดขวางการอพยพของพันธุ์ปลาจำนวนมาก และจะ
ทำให้พันธุ์ปลาจำนวนมากในพื้นที่ของแม่น้ำโขงสูญพันธุ์ ซึง่ ส่งผลโดยตรงต่อ
การประมงอันเป็ นวิธีชีวิตหลัก นอกจากนีย
้ ังส่งผลให้เกิดปั ญหาระดับน้ำที่ลด
ระดับลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

บทที่ 3
ภาษาถิ่นของชาติพันธุ์เขตลุ่มแม่น้ำโขง

1. กลุม
่ ชาติพันธุ์ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง และการใช้ภาษา

7
ชาติพันธุ์ดัง้ เดิมในลุ่มแม่น้ำโขงคือ ไต ซึ่งอยู่ติดกับดินแดนสิบสองปั น
นามาตัง้ แต่ศตวรรษที่ 1 มีช่ อ
ื เรียกตัวเองหลายชื่อ เช่น ไต่เล่อ ไต่หย่า ไต่น่า
ไต่เปิ ง ในสมัยฮั่นและจิน
้ เรียกชนกลุ่มนีว้ ่าเตียนเย่ว ต่าน ซ่าน เหลียว และจิ
วเหลียว ในสมัยถังและซ่งเรียกชนกลุ่มนีว้ ่าจินฉื่อ เฮยฉื่อ หมางหมาน ป๋า
ยอี ปั จจุบันชาวไตอาศัยในเขตปกครองตนเองเผ่าไตสิบสองปั นนาของ
มณฑลยูนนานพูดภาษาไตเป็ นภาษาในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต สาขาภาษา
จ้วงต้ง แขนงภาษาจ้วงไต ชนเผ่าไตมีอักขระอักษรที่แตกต่างกันในแต่ละ
ท้องถิ่น อีกชนชาติหนึง่ คือป๋ายหรือไป๋ มีถิ่นกำเนิด อยู่บริเวณเมืองเฮ่อร์ไห่
ปั จจุบันชาวป๋ายอาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และชนชาติน่า
ซี พูดภาษาน่าซี จัดอยู่ในตระกูลภาษาจีนทิเบต สาขาทิเบตพม่า แขนงภาษา
อี๋ ในอดีตมีอักษรภาพสื่อความหมายเรียกว่า “อักษรตงปา” และมีอักษร
แบบแทนเสียงเรียกว่า “เกอปา” แต่ใช้ไม่แพร่หลาย และสูญหายไปในที่สุด
ปั จจุบันชาวน่าซีใช้ภาษาเขียนที่ประดิษฐ์ขึน
้ จากอักษรลาตินสำหรับชนชาติ
กลุ่มน้อยนัน
้ พบว่าต่างมีความสัมพันธ์ลงมาทางตอนใต้ถึงสุวรรณภูมิด้วย
และยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ ลาวอีสาน ซึง่ ใช้ภาษาตระกูลภาษาไท-กะได กลุ่มไทย
ลาว หรือทั่วไปเรียกว่า “ชาวอีสาน” มีภาษาพูดเป็ นภาษาเดียวกับคนลาวใน
สาธารณรัฐประชาธิปไตประชาชนลาว (สปป.ลาว) นอกจากนีใ้ นเขตลุ่ม
แม่น้ำโขงบริเวณไทย-ลาว-เขมร มีตัวอักษร คําที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน
เนื่องจากได้รับอิทธิพล จากภาษาสันสกฤต ทําให้คนไทย ลาว เขมรสามารถ

8
สื่อสารเข้าใจกันได้ อย่างไรก็ดี ภาษาเขมร มีความแตกต่างจากภาษาเพื่อน
บ้าน เนื่องจากไม่มีการใช้เสียงวรรณยุกต์

9
บทที่ 4
ศิลปวัฒนธรรมของชาติพันธุ์เขตลุ่มแม่น้ำโขง

1. ศิลปวัฒนธรรมในเขตลุ่มแม่น้ำโขง

ลุ่มแม่น้ำโขงเป็ นเป็ นที่อยู่อาศัยของหลายชุมชนที่มีอาณาเขตติดต่อกัน


หลายประเทศนับเป็ นแหล่ง
อารยธรรมที่สำคัญซึ่งมีประเพณี ดนตรี วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม ทัง้ ที่มี
ความคล้ายคลึงและแตกต่าง ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน รวม
ทัง้ มีการไปมาหาสู่ การค้าขาย และกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอและ
ต่อเนื่อง ส่งผลให้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศมีทัง้ ที่แสดงออกถึงลักษณะ
เฉพาะของตนเอง ขณะที่มีความคล้ายคลึงในบางส่วนของการดำเนินวิถีชีวิต
กล่าวได้ว่าไทย-ลาว-กัมพูชามีรากวัฒนธรรมเดียวกันจึงมีความพ้องของ
วัฒนธรรมมากกว่าพม่าและเวียดนามซึ่งได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น

1.1 ด้านศิลปะ ดนตรี


1.1.1 ด้านนาฏศิลป์ -ดนตรี
การแสดงรำของไทย ลาว เขมรมีความคล้ายคลึงกัน รวมทัง้
เครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลซึ่งกันและ

10
กัน แต่มีการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีของประเทศนัน
้ ๆ ทัง้ นี ้
ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ และลักษณะการประกอบอาชีพที่เป็ นเกษตรกรรม ส่ง
ผลต่อวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแถบใกล้เคียงกัน
1.1.2 ด้านการแสดงรามเกียรติ ์
การแสดงรามเกียรติเ์ ป็ นมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นของ
อาเซียน ต้นเค้าของเรื่อรามเกียรติ ์
น่าจะมาจากเรื่อง รามายณะ ของอินเดีย ซึ่งเป็ นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไป
ในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เรื่องรามายณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค ได้
ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนัน
้ จนกลายเป็ น
วรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลาย ๆ ชาติ เช่น ลาว พม่า กัมพูชา
มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติเ์ ป็ นวรรณคดีประจำ
ชาติทัง้ สิน

1.2 ด้านประเพณี
1.2.1 ด้านประเพณีสงกรานต์
ประเพณีสงกรานต์เป็ นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว
กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไต

11
แถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของ
ประเทศอินเดีย และเป็ นประเพณีเก่าแก่ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับ
ประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง
ประเพณีส่งท้ายปี เก่า และต้อนรับปี ใหม่ คำว่า “ตรุษ” เป็ นภาษาทมิฬ แปล
ว่า “การสิน
้ ปี ”
1.2.3 พิธีสงกรานต์
พิธีสงกรานต์เป็ นพิธีกรรมที่เกิดขึน
้ ในสมาชิกในครอบครัว หรือ
ชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่
ปั จจุบันได้เปลี่ยนไปสูส
่ ังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ
และความเชื่อไป ในความเชื่อดัง้ เดิมใช้สัญลักษณ์เป็ นองค์ประกอบหลักใน
พิธี ได้แก่ การใช้น้ำเย็น ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจาก
ผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของ
สังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็ น
วันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็ นการเริ่มต้น
ปี ใหม่ที่มีความสุข

1.3 ด้านศาสนา
1.3.1 ศาสนาและความเชื่อ
คนในลุ่มน้ำโขงมีความเชื่อมั่นศรัทธาในพระพุทธศาสนาสูงมาก
โดยจะแสดงออกโดยการ

12
ประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาแม้ว่า จะมีความเชื่อที่เกี่ยวกับเทวดา
อารักษ์ผีบรรพบุรุษ ผีปู่ตา ปะปนอยู่ด้วยก็ตาม ความเชื่อนีก
้ ็มักจะมี
พระพุทธศาสนาเข้าไปสอดแทรกอยู่ด้วยเสมอ ในด้านพิธีกรรมนัน
้ คนในลุ่ม
แม่น้ำโขงมีความคิดเห็นแตกต่างกันไปบ้างตามท้องถิ่น นอกจาก
ขนบธรรมเนียมประเพณีทางพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนในแถบลุ่ม
แม่น้ำโขงยังมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ที่มีอยู่ในพื้นที่มาแต่โบราณ ใน
ปั จจุบันเยาวชนรับเอาวัฒนธรรมการตะวันตกมาใช้และไม่ให้ความสำคัญกับ
วัฒนธรรมดั่งเดิมมากนัก

13

You might also like