You are on page 1of 33

บทที่ 3

ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบ
ตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบเป็ นรูปแบบหนึ่งของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ที่
ทาหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ในรูปพลังงานความร้อน ตัวเก็บรังสีอาทิตย์มคี วาม
แตกต่างจากอุปกรณ์แลกเปลีย่ นความร้อนทัวไป ่ กล่าวคืออุปกรณ์แ ลกเปลีย่ นความร้อนทัวไป ่
นัน้ จะมีลกั ษณะการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างของไหลกับของไหล แต่ในกรณีของตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์จะมีลกั ษณะการถ่ายเทความร้อนจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์ไปยังของไหล การวิเคราะห์
ตัว เก็ บ รัง สีอ าทิ ต ย์ จ ะพิจ ารณาเฉพาะการเปลี่ย นแปลงพลัง งานต่ อ หน่ ว ยพื้น ที่ แ ละหา
ความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานทีน่ าไปใช้ประโยชน์กบั รังสีอาทิตย์ทต่ี กกระทบ
ตัว เก็บ รัง สีอ าทิต ย์แ บบแผ่ น ราบถู ก ออกแบบมา เพื่อ ให้ ใ ช้งานที่อุ ณ หภู มิสูง กว่ า
อุณหภูมแิ วดล้อมประมาณ 100 ๐C ซึ่งตัวเก็บรังสีอาทิตย์จะทาหน้าทีร่ บั รังสีอาทิตย์รวม (Total
Radiation) ทีต่ กกระทบโดยไม่จาเป็ นต้องมีระบบติดตามดวงอาทิตย์ นอกจากนี้แล้วตัวเก็บรังสี
อาทิตย์แบบแผ่นราบนี้ไม่ต้องการการบารุงรักษามากนัก และมีกลไกการทางานทีซ่ บั ซ้อนน้อย
กว่าแบบรวมแสง ซึ่งจะกล่าวถึงในบทที่ 4 การนาไปใช้งานส่วนใหญ่จะถูกใช้ในกระบวนการ
ทางความร้อน เช่น การทาน้ าร้อน การอบแห้ง ระบบปรับอากาศ และกระบวนการทางความ
ร้อนในอุตสาหกรรม เป็ นต้น การประยุกต์ใช้ตวั เก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบในส่วนของผนัง
และหลังคาบ้านให้มลี กั ษณะเป็ นตัวเก็บรังสีอาทิตย์ เพื่อระบายอากาศร้อนก็เป็ นอีกตัวอย่าง
หนึ่งของการระบายความร้อนแบบธรรมชาติในระบบความร้อนแบบพาสซีฟ (Passive Heating
System)

3.1 ส่วนประกอบของตัวเก็บรังสีอาทิ ตย์แบบแผ่นราบ

ตัวเก็บรังสีอ าทิต ย์แ บบแผ่ นราบประกอบด้วย ผิว ดูดกลืน รังสีอ าทิต ย์ส ีดา ซึ่งจะท า
หน้ าที่ดูด กลืน รังสีอ าทิต ย์ เมื่อ ผิว ดูด กลืน รังสีอ าทิต ย์ดูด กลืน รังสีอ าทิต ย์จะเกิด การสะสม
พลังงานความร้อน พลังงานความร้อนนี้จะถูกถ่ายเทให้กบั ของไหล แผ่นปิ ดใสเหนือผิวดูดกลืน
รังสีอาทิตย์จะช่วยลดการสูญเสียความร้อนออกสู่บรรยากาศโดยการพา และการแผ่รงั สีความ
ร้อน และฉนวนทีอ่ ยู่ทางด้านล่างซึ่งจะทาหน้าทีล่ ดการสูญเสียความร้อนเนื่องจากการนาความ
ร้อน รูปที่ 3.1.1 แสดงภาพตัดขวางของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบ โดยส่วนใหญ่แล้วตัว
เก็บรังสีอาทิตย์ชนิดนี้จะถูกติดตัง้ กับผนัง หรือหลังคา

Black Outer cover Inner cover


absorber
plate

Fluid conduit

Insulation
75

รูปที่ 3.1.1 ภาพตัดขวางของตัวเก็บรังสีแบบแผ่นราบ [Duffie & Beckman (1991)]

3.2 สมดุลพลังงานบนตัวเก็บรังสีอาทิ ตย์แบบแผ่นราบ

สมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์สามารถอธิบายได้โดยใช้หลักการสมดุลพลังงาน เมื่อ
พิจ ารณาที่ส ภาวะคงที่ (Steady state condition) ซึ่ ง ชี้ใ ห้ เ ห็น ถึง การกระจายของพลัง งาน
แสงอาทิตย์ในรูปของพลังงานที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ได้ การสูญเสียทางความร้อน และ
การสูญ เสียเชิงแสง รังสีอ าทิต ย์ท่ีถูกดูดกลืนโดยตัว เก็บรังสีอ าทิตย์ต่อ หน่ วยพื้นที่ของแผ่ น
ดูดกลืน S มีค่ าเท่ ากับความแตกต่างระหว่างค่ าพลังงานแสงอาทิต ย์ท่ีต กกระทบ และการ
สูญเสียเชิงแสงกับค่าพลังงานความร้อนทีส่ ูญเสียจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์ให้กบั สิง่ แวดล้อม โดย
การนา การพา และการแผ่รงั สีความร้อนในช่วงคลื่นอินฟราเรด สามารถเขียนอยู่ในรูปผลคูณ
ของค่าสัมประสิทธิการถ่
์ ายเทความร้อน U L กับค่าความแตกต่างระหว่างอุณหภูมเิ ฉลี่ยของ
แผ่นดูดกลืน Tpm กับอุณหภูมแิ วดล้อม Ta ในสภาวะคงที่ พลังงานทีส่ ามารถนาไปใช้ประโยชน์
ได้ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทม่ี พี น้ื ที่ Ac คือ ผลต่างระหว่างค่ารังสีอาทิตย์ทด่ี ูดกลืนกับความร้อน
ทีส่ ญ
ู เสีย


Qu = Ac S − U L ( T pm − Ta ) (3.2.1)

จากสมการ (3.2.1) ในทางปฏิบตั นิ ัน้ อุณหภูมเิ ฉลี่ยของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ยากที่


จะวัด หรือคานวณได้ เนื่องจากขึน้ กับรูปร่างของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ความเข้มของรังสีอาทิตย์ท่ี
ตกกระทบ และอุณ หภูมิของของไหลขาเข้า ในบทนี้จะกล่ าวถึงการปรับรูปแบบของสมการ
(3.2.1) ให้สามารถนาไปใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยจัดเทอมพลังงานทีส่ ามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้
ให้อยู่ในเทอมของอุณหภูมขิ องไหลขาเข้า ซึ่งเรียกว่า แฟคเตอร์การดึงความร้อนของตัวเก็บ
รัง สีอ าทิต ย์ (Collector Heat Removal Factor) ซึ่ง สามารถวิเคราะห์ได้โดยอาศัย หลัก การ
พืน้ ฐานทางคณิตศาสตร์ หรือจากการทดลอง
สมรรถนะของตั ว เก็ บ รัง สี อ าทิ ต ย์ (Collector Performance) สามารถหาได้ จ าก
ประสิท ธิภ าพการเก็บ รังสีอ าทิต ย์ (Collection Efficiency) ซึ่งก าหนดให้เป็ น อัต ราส่ว นของ
76

พลังงานที่นาไปใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาที่พจิ ารณาต่อพลังงานแสงอาทิตย์ท่ตี กกระทบบนตัว


เก็บรังสีอาทิตย์ในช่วงเวลานัน้ ๆ

 Qu dt
η= (3.2.2)
Ac  GT dt

ในการออกแบบระบบพลังงานแสงอาทิตย์จาเป็ นต้องคานึงถึงราคาของพลังงานซึ่งไม่
ควรมีค่าสูงมากนัก ส่วนการออกแบบตัวรับรังสีอาทิตย์อาจจะออกแบบให้มปี ระสิทธิภาพต่ากว่า
เทคโนโลยีทม่ี อี ยู่ ถ้าต้องการให้ระบบมีราคาถูกลงแต่ยงั คงมีประสิทธิภาพทีด่ ใี นการทางาน

3.3 การกระจายอุณหภูมิภายในตัวเก็บรังสีอาทิ ตย์แบบแผ่นราบ

การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ บนตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบมีความซับซ้อน


ยุ่งยากพอสมควร แต่ทงั ้ นี้สามารถวิเคราะห์ให้อยู่ในรูปแบบทีง่ า่ ยได้โดยยังคงมีผลการวิเคราะห์
ที่ถู กต้องเพียงพอ พิจารณาการกระจายอุณ หภูมใิ นตัวเก็บรังสีอาทิต ย์ท่ีมโี ครงสร้างดังรูปที่
3.3.1 สาหรับรูปที่ 3.3.2 (a) แสดงบริเวณระหว่างท่อ 2 ท่อ รังสีอาทิตย์บางส่วนจะถูกดูดกลืน
โดยแผ่นดูดกลืน และพลังงานความร้อนจะถูกถ่ายเทไปยังท่อ ดังนัน้ อุณหภูมทิ อ่ี ยู่ระหว่างท่อ
ทัง้ สองจะมีอุณหภูมสิ ูง สาหรับด้านบนของท่อจะมีอุณหภูมใิ กล้เคียงกัน เพราะท่อถูกเชื่อมติด
อยู่กบั แผ่นดูดกลืน พลังงานความร้อนทีถ่ ่ายเทมายังของไหลจะทาให้ของไหลมีอุณหภูมเิ พิม่ ขึน้
อุณหภูมใิ นบริเวณต่างๆ ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์จะขึน้ อยู่กบั อุณหภูมขิ องของไหลดังรูปที่ 3.3.2
(b) ที่ ต าแหน่ ง y ใดๆ การกระจายอุ ณ หภู มิใ นทิ ศ ทาง x แสดงในรูป ที่ 3.3.2 (c) และที่
ตาแหน่ง x ใดๆ การกระจายของอุณหภูมใิ นทิศทาง y จะมีลกั ษณะดังรูปที่ 3.3.2 (d)

Reflection

Cover

Absorber plate
Bond

Tube
Insulation

รูปที่ 3.3.1 ตัวเก็บรังสีอาทิตย์ และท่อน้าของไหล [Duffie & Beckman (1991)]


77

รูปที่ 3.3.2 การกระจายอุณหภูมบิ นแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ [Duffie & Beckman (1991)]

ในการวิเคราะห์ตวั เก็บรังสีอาทิตย์จะอาศัยสมมติฐานดังต่อไปนี้
1. พิจารณาระบบทีส่ ภาวะคงที่ (Steady State)
2. โครงสร้างของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ มีลกั ษณะเป็ นครีบ และท่อขนาน
3. ท่ อ ร่ว ม (Headers) มีพ้ืน ที่น้ อ ย เมื่อ เทียบกับ พื้น ที่แผ่ น ดูด กลืน รังสีอ าทิต ย์ สามารถ
ตัดทิง้ ได้
4. การไหลภายในท่อเป็ นไปอย่างสม่าเสมอ
5. ไม่มกี ารดูดกลืนรังสีอาทิตย์ทแ่ี ผ่นปิ ดใส
6. การถ่ายเทความร้อนในแผ่นปิ ดใสเป็ นไปในทิศทางเดียว
7. ไม่คานึงถึงผลของการลดลงของอุณหภูมใิ นแผ่นปิ ดใส
8. รังสีอนิ ฟราเรดไม่สามารถส่งผ่านแผ่นปิ ดใส
9. การไหลของความร้อนภายในฉนวนเป็ นไปในทิศทางเดียว
10. พิจารณาท้อ งฟ้ าเสมือ นวัต ถุ ด า สาหรับ การแผ่ รงั สีค ลื่น ยาวที่อุณ หภู มิส มมูล ย์ของ
ท้องฟ้ า
11. ไม่คดิ ผลของอุณหภูมทิ แ่ี ตกต่างกันในบริเวณรอบๆ ท่อ
12. พิจารณาเกรเดียนต์ (Gradients) ของอุณหภูมใิ นทิศทางการไหล และในแนวระหว่าง
ท่ออย่างเป็ นอิสระต่อกัน
13. สมบัตทิ างความร้อนของวัสดุแปรผันตามอุณหภูมิ
14. การสูญเสียความร้อนทางด้านบน และด้านล่างของตัวเก็บรังสีอาทิตย์พจิ ารณาเทียบ
กับอุณหภูมแิ วดล้อม
15. ไม่คดิ ผลของฝุ่น และความสกปรกบนตัวเก็บรังสีอาทิตย์
16. ไม่มกี ารบังเงาบนแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์
3.4 สัมประสิ ทธิ์ การสูญเสียความร้อนของตัวเก็บรังสี

พิจารณาวงจรความร้อนสาหรับระบบที่มแี ผ่นปิ ดใส 2 ชัน้ ดังรูปที่ 3.4.1 ในหัวข้อนี้จะ


ทาการแปลงวงจรความร้อ นของตัวเก็บรังสีในรูปที่ 3.4.1 ให้มลี กั ษณะเป็ นวงจรความร้อนรวม
78

ดังรูปที่ 3.4.2 พลังงานที่สูญเสียทางด้านบนเป็ นผลอันเนื่องมาจากการพาความร้อน และการ


แผ่รงั สีความร้อนระหว่างแผ่นปิ ดใสทัง้ สอง โดยกาหนดให้
Tp = อุณหภูมขิ องแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์
S = พลังงานทีถ่ ูกดูดกลืนโดยแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์
Tc1 = อุณหภูมข ิ องแผ่นปิ ดใสชัน้ ที่ 1
Tc2 = อุณหภูมข ิ องแผ่นปิ ดใสชัน้ ที่ 2
Tb = อุณหภูมขิ องฉนวน
Ta = อุณหภูมแิ วดล้อม

Ta Ta

R1
1/hc2-a 1/hr,c2-a

Tc2 Tc2

R2
1/hc1-c2 1/hr,c1-c2

Tc1 Tc1

1/hp-c1 1/hr,p-c1 R3

S Qu Qu
Tp Tp

R4

Tb Tb

1/hra R5
1/hb-a

Ta Ta

รูปที่ 3.4.1 วงจรความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทม่ี แี ผ่นปิ ดใส 2 ชัน้

Ta
S
1/UL

Qu Tp
79

รูปที่ 3.4.2 วงจรความร้อนสมมูลย์ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นราบ

ความร้อนสูญเสียทางด้านบนระหว่างแผ่นปิ ดใสเกิด จากอิทธิพลของการพาความร้อน


ร่วมกับการแผ่รงั สีความร้อน การถ่ายเทพลังงานที่แผ่นดูดกลืนรังสี Tp และแผ่นปิ ดใสชัน้ ที่ 1
Tc1 อยู่ในสภาวะคงที่เช่นเดียวกันกับพลังงานสูญเสียสู่สงิ่ แวดล้อมทางด้านบนของแผ่นปิ ดใส
ชัน้ ที่ 2
จากรูปที่ 3.4.1 อัตราการสูญเสียความร้อนทางด้านบนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (ต่อหนึ่ง
หน่วยพืน้ ทีร่ บั แสง) เท่ากับการถ่ายเทความร้อนจากแผ่นดูดกลืนไปยังแผ่นปิ ดใสชัน้ ใน

σ( T p4 − Tc41 )
qloss ,top = hc , p −c1 ( T p − Tc1 ) +
1 1
(3.4.1)
+ −1
ε p ε c1

เมื่อ hc, p−c1 คือ สัมประสิทธิการพาความร้


์ อนจากแผ่ นดูดกลืนไปยังแผ่นปิ ดใสชัน้ ใน ดังนัน้ อาจ
เขียนสมการ (3.4.1) ได้ในรูป

qloss ,top = ( hc , p −c1 + hr , p −c1 )( T p − Tc1 ) (3.4.2)


เมื่อ
hr , p −c1 =
σ( T p + Tc1 )( T p2 + Tc21 ) (3.4.3)
1 1
+ −1
εp ε c1

ความต้านทาน R3 สามารถเขียนได้ดงั นี้

1
R3 = (3.4.4)
hc , p −c1 + hr , p −c1

ในทานองเดียวกันสามารถหาค่า R2 ซึ่งเป็ นค่าความต้านทานทางความร้อนระหว่าง


แผ่นปิ ดใสได้เช่นเดียวกับค่า R3
ในส่วนค่าความต้านทาน R1 ซึง่ เป็ นค่าความต้านทานทางความร้อนด้านบนของตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์ไปยังสิง่ แวดล้อม ซึ่งมีรูปแบบสมการคล้ายกับสมการ 3.4.4 หากแต่ความต้านทาน
ในส่วนนี้ จาเป็ น ต้องพิจารณาค่ าสัมประสิทธิก์ ารพาความร้อ นเนื่อ งจากลมด้วย สมการที่ใช้
80

คานวณพิจารณาได้จากหัวข้อ ที่ 2.15 ในส่ว นสัมประสิทธิก์ ารแผ่รงั สีความร้อ นสู่ท้องฟ้ า Ts


แสดงดังสมการ 3.4.5
σε c ( Tc 2 + Ts )( Tc22 + Ts2 )( Tc 2 − Ts )
hr ,c 2 − a = (3.4.5)
( Tc 2 − T a )

จะได้ความต้านทานทางความร้อนไปยังสิง่ แวดล้อม

1
R1 = (3.4.6)
hw + hr ,c 2− a

กรณี ต ัว เก็บ รังสีอ าทิต ย์แบบแผ่ นราบที่มีแผ่ น ปิ ดใส 2 ชัน้ ค่ าของ R1 จะขึ้นอยู่กับ
ความเร็วลมที่พ ดั เหนือตัว เก็บ รังสี และอุณ หภูมิของท้องฟ้ า เมื่อ ทราบค่ า R1 , R2 และ R3
สามารถหาค่าสัมประสิทธิการสู์ ญเสียความร้อนรวมทางด้านบน U t ของตัวเก็บรังสีได้ดงั นี้

1
Ut = (3.4.7)
R1 + R 2 + R3

วิธีก ารหาค่ า U t จาเป็ นต้อ งท าการค านวณซ้าๆ กันหลายรอบ โดยขัน้ แรกท าการ
สมมติค่ าอุ ณ หภู มิแ ผ่ น ปิ ด ใสจากสัม ประสิท ธิก์ ารพา และการแผ่ ร ังสีอ าทิต ย์ระหว่ างแผ่ น
จากนัน้ คานวณ U t โดยใช้สมการ (3.4.7) ขัน้ ต่อมาให้คานวณหา Tc ใหม่ จนกระทังค่ ่ า Tc ที่
คานวณได้มคี ่าใกล้เคียงกัน โดยอุณหภูมทิ ค่ี านวณได้ในแผ่นปิ ดใสแรกใช้สาหรับหาอุณหภูมทิ ่ี
แผ่นปิ ดใสใหม่ถดั ไป สาหรับแผ่นที่วางขนานกัน อุณหภูมใิ หม่ของแผ่นที่ j สามารถหาได้ใน
เทอมของอุณหภูมขิ องแผ่นที่ i ดังสมการ
U t ( T p − Ta )
T j = Ti − (3.4.8)
hc ,i − j + hr ,i − j

จากสมการนี้ แทนค่าจนค่ าอุณ หภูมิแผ่ นปิ ดใสไม่เปลี่ยนแปลง (เปรียบเทียบค่ าที่ได้ในครัง้


ก่อน)

ตัวอย่าง 3.4.1
จงหาค่าสัมประสิทธิการสู์ ญเสียความร้อนด้านบนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบมีกระจก
เป็ นแผ่นปิ ดชัน้ เดียว โดยมีขอ้ มูลดังต่อไปนี้
81

ระยะห่างระหว่างแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์กบั แผ่นปิ ดใส 25 mm


ค่าการแผ่รงั สีความร้อนของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ 0.95
อุณหภูมแิ วดล้อม และอุณหภูมทิ อ้ งฟ้ า 10 ๐C
สัมประสิทธิการถ่
์ ายเทความร้อนของลม 10 W.m-2.๐C-1
อุณหภูมเิ ฉลีย่ ของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ 100 ๐C
มุมเอียงของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ 45
ค่าการแผ่รงั สีความร้อนของกระจก 0.88
วิ ธีทา
จากสมการ (3.4.7) ในกรณีแผ่นปิ ดใสชัน้ เดียวจะได้

−1
 1 1 
Ut =  + 
 hc , p −c + hr , p −c hw + hr ,c − a 
 

สัมประสิทธิการแผ่
์ รงั สีความร้อนระหว่างแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์กบั กระจก คือ

σ( T p2 + Tc2 )( T p + Tc )
hr , p − c =
1 1
+ −1
ε p εc

สัมประสิทธิการแผ่
์ รงั สีอาทิตย์ระหว่างกระจกกับอากาศ คือ

hr ,c − a = ε c σ( Tc2 + Ts2 )( Tc + Ts )

จากสมการ (3.4.8) ได้อุณหภูมขิ องกระจก


U t ( T p − Ta )
Tc = T p −
hc , p −c + hr , p −c

การหาค่า , hr , p−c และ hr , c − a จาเป็ นต้องสมมติค่าอุณหภูมขิ องกระจกก่อน เมื่อ


hc , p −c

ได้ค่า hc, p−c , hr , p−c และ hr , c − a แล้วนามาหาค่า Tc จากสมการ (3.4.8) อีกครัง้ ขัน้ ตอนต่อไป
ทาการตรวจสอบค่า Tc ที่ได้ใหม่ว่าใกล้เคียงกับค่าที่สมมติไว้หรือไม่ ถ้าใกล้เคียงกันแสดงว่า
การสมมติค่า Tc ถูกต้อง แต่ถ้าหากไม่ใกล้เคียงกันก็ให้นาค่า Tc ใหม่น้ีไปเป็ นค่าสมมติในการ
คานวณครัง้ ต่อไปจนกว่าจะได้ค่าใกล้เคียงกัน เริม่ ต้นทาการสมมติค่า Tc ที่ 35 ๐C จะได้
82

hr , p −c = 7.60 W.m-2.๐C-1
hr ,c−a = 516
. W.m-2.๐C-1

อุณ หภูมิเฉลี่ยระหว่างแผ่ นดูดรังสีอ าทิต ย์กับแผ่ นปิ ดใส คือ 67.5 ๐C สมบัติของอากาศ คือ
.  10 −5 m2.s-1, k = 00293
 = 196 . W.m-2.๐ C-1, T = 3405. K และ Pr = 0.7 , ตั ว เล ขเรย์ เ ล ห์
(Rayleigh Number) หาได้จากสมการที่ (2.11.2)

9.81( 100 − 35 )( 0.025 )3 ( 0.7 )


Ra = −5 2
= 5.33  104
340.5( 1.96  10 )

หาตัวเลขนัสเซ็ลท์ (Nusselt Number) ได้จากสมการ (2.11.4) ได้เท่ากับ 319


.

k 0.0293
h = Nu = 3.19 = 3.73 W.m-2.๐C-1
L 0.025

ได้ค่าประมาณของ Ut ครัง้ แรกเท่ากับ

−1
 1 1 
Ut =  +  = 6.49 W.m-2.๐C-1
 3.73 + 7.60 5.16 + 10.0 

อุณหภูมแิ ผ่นปิ ดใส คือ

6.49( 90 )
Tc = 100 − = 48.5 ๐C
3.73 + 7.60

คานวณซ้าใหม่ได้
hr , p −c = 8.03 W.m-2.๐C-1
hr ,c − a = 5.53 W.m-2.๐C-1
hc , p −c = 3.52 W.m-2.๐C-1
ได้ค่ า ประมาณของ U t ครัง้ ที่ส อง 662 -2 ๐ -1
. W.m . C ตรวจสอบค่ า Tc จากสมการ

(3.4.8) ได้ 484. C ซึง่ ใกล้เคียงกับ 485. ๐C


การคานวณสัมประสิทธิการสู ์ ญเสียความร้อนทางด้านบนในตัวอย่าง 3.4.1 เป็ นวิธกี าร
คานวณทีย่ ุ่งยากพอสมควร เพื่อลดขัน้ ตอนความยุ่งยากดังกล่าวอาจหาสัมประสิทธิการสู ์ ญเสีย
ความร้อนทางด้านบนจากกราฟแสดงความสัมพันธ์ของตัวเก็บรังสีแบบแผ่นราบ ในกรณีต่างๆ
เช่ น กรณี ท่ีมีแ ผ่ น ปิ ด ใสเป็ น กระจก 1, 2 หรือ 3 ชัน้ โดยมีระยะห่ างเท่ ากับ 25 mm และที่
83

อุณ หภู มิแ วดล้อ มแตกต่ างกัน ที่ 40, 10, และ -20 ๐C เมื่อ ค่ าสัม ประสิท ธิก์ ารพาความร้อ น
เนื่องจากลมมีค่าเป็ น 5, 10 และ 20 W.m-2.๐C-1 และแผ่นดูดกลืนรังสีท่มี คี ่าการแผ่รงั สี 0.95
และ 0.10 ทีเ่ อียงทามุม 45๐ แม้ว่าสัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนทางด้านบน จะใช้สาหรับ
กรณีท่มี รี ะยะห่าง 25 mm แต่ก็สามารถใช้กบั ระยะห่างอื่น ๆ ที่มรี ะยะไม่น้อยกว่า 15 mm ได้
โดยมีค่าคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ถึ ง แม้ ว่ า กราฟ ดั ง ที่ ไ ด้ ก ล่ า วไปข้ า งต้ น จะสามารถช่ ว ย
ประหยัดเวลาในการคานวณค่าสัมประสิทธิการสู ์ ญเสียความร้อนทางด้านบนไปได้มาก แต่กไ็ ม่
สะดวกต่อการคานวณที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ Duffie & Beckman (1991) ได้เสนอ
รายละเอียดของสมการเอ็มไพริคลั (Empirical) ซึง่ พัฒนาโดย Klein ในปี 1979 ดังต่อไปนี้

−1
 
 
 N 1 
Ut =  e
+ 
 C  ( T pm − Ta )  hw 
    (3.4.9)
 T pm  ( N + f )  
σ( T pm + Ta )( T pm
2
+ Ta2 )
+
2 N + f − 1 + 0.133ε p
( ε p + 0.00591Nhw ) −1 + −N
εg

เมื่อ N = จานวนของกระจก
f = (1 + 0.089hw − 01166. hw p )(1 + 0.07866 N )
๐ ๐ ๐
C = 520(1 − 0.000051 2 ) สาหรับ 0 <  <70 กรณีท่ี  > 70 ให้ใช้  = 70๐
e = 0.430(1 − 100 / Tpm )

 = มุมเอียง
 g = ค่าการแผ่รงั สีความร้อนของกระจก (0.88)
 p = ค่าการแผ่รงั สีความร้อนของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์
Ta = อุณหภูมแ ิ วดล้อม (๐C)
Tpm = อุณหภูมเิ ฉลีย ่ ของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ (๐C)
hw = สัมประสิทธิการพาความร้
์ อนโดยลม (W.m-2.๐C-1)

ความร้อนสูญเสียทางด้านล่างของตัวเก็บรังสีอาทิตย์แสดงอยู่ในรูปของความต้านทาน
ทางความร้อน โดยแบ่งออกเป็ น 2 ส่วนคือ R4 และ R5 แสดงดังรูปที่ 3.4.1 โดยที่ R4 เป็ น
ความต้ านทานทางความร้อ นภายในฉนวนและ R5 เป็ น ความต้านทานทางความร้อ นอัน
เนื่องมาจากอิทธิพลของการพาความร้อน และการแผ่รงั สีความร้อนไปยังสิง่ แวดล้อม ในการ
คานวณ ค่า R5 สามารถตัดทิง้ ได้ เนื่องจากความร้อนสูญเสียในส่วนนี้เป็ นความร้อนสูญเสียไป
84

ยังสิง่ แวดล้อมซึง่ รวมอยู่ในวงจรความต้านทานทางความร้อน R1 ดังนัน้ สัมประสิทธิการสู


์ ญเสีย
ความร้อนทางด้านล่าง ( U b ) คานวณได้จากสมการ 3.4.10

1 k
Ub = = (3.4.10)
R4 L

เมื่อ k และ L คือ ค่าการนาความร้อน และความหนาของฉนวน ตามลาดับ

ในการคานวณสัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนทางด้านข้างเป็ นเรื่องทีซ่ บั ซ้อนยุ่งยาก
พอสมควร อย่างไรก็ดีในการออกแบบบางกรณี สามารถพิจารณาให้สมั ประสิทธิก์ ารสูญ เสีย
ความร้อนทางด้านข้างนี้มผี ลน้อยมากจนสามารถตัดทิ้งได้ หรือหากในบางกรณีจาเป็ นต้องทา
การคานวณก็จะสามารถพิจารณาให้อยู่ในรูปแบบทีง่ ่ายได้ โดยสมมติให้การไหลของความร้อน
จากทางด้านข้างของตัวเก็บรังสีอาทิตย์เป็ นไปในทิศทางเดียว จะได้ว่า

( UA )edge
Ue = (3.4.11)
Ac

ถ้าสมมติให้ส ัม ประสิท ธิก์ ารสูญ เสีย ความร้อ นทัง้ หมดเทีย บกับ อุณ หภู มิแ วดล้อ ม จะได้ว่ า
สัมประสิทธิก์ ารสูญ เสียความร้อ นรวม U L เท่ากับผลของสัมประสิทธิก์ ารสูญ เสียความร้อ น
ทางด้านบนรวมกับสัมประสิทธิก์ ารสูญ เสียความร้อนทางด้านล่าง และทางด้านข้างแสดงดัง
สมการ 3.4.12

U L = Ut + Ub + Ue (3.4.12)

ตัวอย่าง 3.4.2
จงคานวณหาสัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนรวมของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ กาหนดให้
สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนด้านบน 6.6 W.m-2.๐C-1
ความหนาของฉนวนด้านหลัง 50 mm
การนาความร้อนของฉนวน 0.045 W.m-1.๐C-1
ความยาวของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ 10 m
ความกว้างของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ 3 m
ความหนาของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ 75 mm
ความหนาของฉนวนด้านข้าง 25 mm
วิ ธีทา
85

สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนด้านล่าง หาได้จากสมการ (3.4.10)

k 0.045
Ub = = = 0.9 W.m-2.๐C-1
L 0.050

สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนเนื่องมาจากฉนวนด้านข้าง ซึ่งมีความยาวโดยรอบ 26 m หา
ได้จากสมการ (3.4.11)

( 0.045 / 0.025 )( 26 )( 0.075 )


Ue = = 0.12 W.m-2.๐C-1
30

ดังนัน้ สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนรวม

U L = 6.6 + 0.9 + 0.12 = 7.62 W.m-2.๐C-1

จากการคานวณพบว่าการสูญเสียความร้อน อันเนื่องมาจากฉนวนด้านข้างของตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์ขา้ งต้นซึ่งมีพ้นื ที่ของฉนวนด้านข้าง 30 m2 มีค่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับการสูญเสีย
ความร้อ นรวม ในกรณี ด ังกล่ าวถ้าหากตัว เก็บ รังสีอ าทิต ย์มีค วามกว้าง 1 m ยาว 2 m การ
สูญ เสียความร้อนเนื่อ งจากฉนวนด้านข้างจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 % เมื่อเทียบกับการสูญ เสีย
ความร้อนทัง้ หมด ดังนัน้ การสูญเสียความร้อน อันเนื่องมาจากฉนวนด้านข้างของตัวเก็บรังสี
อาทิตย์ท่มี ขี นาดใหญ่สามารถที่จะละทิ้งไปได้ แต่สาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ที่มขี นาดเล็กการ
สูญเสียความร้อนเนื่องจากฉนวนด้านข้างจาเป็ นต้องนามาพิจารณาประกอบด้วย
ที่กล่าวมาข้างต้นในส่วนของการสูญเสียความร้อนด้านบนรวมทัง้ สมการ (3.4.9) เป็ น
การพิจารณาตัวเก็บรังสีอาทิตย์ท่มี กี ระจกเป็ นแผ่นปิ ดใส ถ้าหากใช้แผ่นปิ ดใสที่เป็ นพลาสติก
จาเป็ นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในการคานวณค่า U t สาหรับแผ่นปิ ดใสชัน้ เดียว
พลังงานทัง้ หมดทีไ่ ด้รบั จากรังสีอาทิตย์ระหว่างแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์กบั ท้องฟ้ า คือ

τ c ε p σ( T p4 − Ts4 )
qr , p−s = (3.4.13)
1 − ρ pρc

เมื่อ  c และ c เป็ น ค่ าการส่ งผ่ า น และการสะท้อ นรังสีอ าทิต ย์ข องแผ่ น ปิ ด ใส ที่
อุณหภูมิ Tp และที่อุณหภูมิ Ts (สมมติให้การส่งผ่านรังสีอาทิตย์ไม่ขน้ึ กับอุณหภูมขิ องแหล่งที่
แผ่รงั สีความร้อน หรือกาหนดให้อุณหภูมิ Tp และอุณหภูมิ Ts มีค่าใกล้เคียงกัน),  p และ  p
86

เป็ นค่าการแผ่รงั สีความร้อนและค่าการสะท้อนความร้อนของแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์ตามลาดับ


ดังนัน้ สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนด้านบนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์

−1

qr , p−s 1 1 
Ut = +

+ 

(3.4.14)
( T p − Ta )  hc , p −c + hr , p −c hw + hr ,c − s 

การหาค่าสัมประสิทธิการส่
์ งผ่านความร้อนโดยการแผ่รงั สีในสมการ (3.4.14) จาเป็ น
จะต้องทราบสมบัตขิ องแผ่นปิ ดใส ความร้อนทีไ่ ด้จากการแผ่รงั สีระหว่างแผ่นดูดกลืน และแผ่น
ปิ ดใส คือ

σε p ε c ( T p4 − Tc4 )
q= (3.4.15)
1− ρ pρc

ดังนัน้ สัมประสิทธิการถ่
์ ายเทความร้อนโดยการแผ่รงั สีระหว่างแผ่นดูดกลืน และแผ่นปิ ดใส

σε p ε c ( T p + Tc )( T p2 + Tc2 )
hr , p − c = (3.4.16)
1− ρ pρc

การหาค่าสัมประสิทธิการส่
์ งผ่านความร้อนโดยการแผ่รงั สีในสมการ (3.4.14) จาเป็ น
จะต้องทราบสมบัตขิ องแผ่นปิ ดใส ความร้อนที่ได้การแผ่รงั สีระหว่างแผ่นดูดกลืน และแผ่นปิ ด
ใส คือ
σε p ε c ( T p4 − Tc4 )
q= (3.4.15)
1− ρ pρc

ดังนัน้ สัมประสิทธิการถ่
์ ายเทความร้อนโดยการแผ่รงั สีระหว่างแผ่นดูดกลืน และแผ่นปิ ดใส

σε p ε c ( T p + Tc )( T p2 + Tc2 )
hr , p − c = (3.4.16)
1− ρ pρc

3.5 การกระจายอุณหภูมิระหว่างท่อ และประสิ ทธิ ภาพตัวเก็บรังสี

การกระจายของอุณหภูมริ ะหว่ างท่อของไหลสองท่อที่สภาวะหนึ่ง ๆ สามารถหาค่าได้


โดยสมมติว่ าไม่ มีผ ลของเกรเดีย นต์ ข องอุ ณ หภู มิใ นทิศ ทางการไหล พิจ ารณารูป ที่ 3.5.1
ระยะห่ างระหว่างท่ อ W เส้นผ่ านศูน ย์กลางท่อ เท่ากับ D และแผ่ น ดูดกลืนมีค วามหนา 
87

เนื่องจากแผ่นดูดกลืนนาความร้อนได้ดี ดังนัน้ จึงไม่คดิ ผลของเกรเดียนต์อุณหภูมิ สมมติว่า


อุณ หภู มิ ณ ต าแหน่ งรอยเชื่อมต่อระหว่างแผ่ นดูดกลืนกับท่ อ เท่ากับ Tb แผ่ น ดูดกลืนที่อ ยู่
ระหว่างท่อเปรียบเสมือนครีบ

W/2

Bond


Di
Tf

W- D D
2
X
รูปที่ 3.5.1 แผ่นดูดกลืน และท่อ [Duffie & Beckman (1991)]

UL X(Tx -Ta) S X


Solar radiation : S

X X
x  X

 Tb
-kadT
-kadT
dX X
dX X+  X
Insulation

W- D
2

รูปที่ 3.5.2 สมดุลพลังงานบนครีบ [Duffie & Beckman (1991)]

จากรูปที่ 3.5.2 ครีบมีความยาว (W − D) / 2 พิจารณาส่วนของครีบที่มคี วามกว้าง x


และยาว 1 หน่วยในทิศทางการไหล สมดุลพลังงานบนส่วนนี้ คือ

 dT   dT 
S x − U L x( T − Ta ) +  − kδ  −  − kδ  =0 (3.5.1)
 dx  x  dx  x + x

เมื่อ S คือ ค่ารังสีอาทิตย์ท่ถี ูกดูดกลืน หารตลอดด้วย x และพิจารณาให้ลมิ ติ x เข้าใกล้


ศูนย์จะได้
d 2T UL  S 
=  T − Ta −  (3.5.2)
dx 2
kδ  U L 
88

เงื่อ นไขขอบเขตที่จ าเป็ น ในการแก้ ปั ญ หาของสมการเชิง อนุ พ ัน ธ์ อ ัน ดับ สอง โดย ท าการ
พิจารณาทีฐ่ านของครีบ (x=0) มีลกั ษณะเป็ นฉนวนและที่ปลายอีกด้านหนึ่ง (x=[W-D]/2) มีค่า
เป็ น Tb

dT
= 0, T x =( W − D ) / 2
= Tb (3.5.3)
dx x =0

เพือ่ ความสะดวกในการหาผลเฉลยคาตอบจึงทาการกาหนดตัวแปรขึน้ มาใหม่ 2 ตัวดังนี้

m = U L / kδ (3.5.4 a)

ψ = T − Ta − S U L (3.5.4 b)

ดังนัน้ สมการ (3.5.2) จะกลายเป็ น


d 2ψ
− m2 = 0 (3.5.5)
dx 2

และมีเงือ่ นไขขอบเขต

dψ S
= 0, ψ x =( W − D ) / 2 = Tb − Ta − (3.5.6)
dx x =0 UL

สมการ (3.5.5) มีผลเฉลยในรูปคาตอบทัวไป


่ คือ

ψ = C1 sinh( mx ) + C2 cosh( mx ) (3.5.7)


ค่าคงที่ C1 และ C2 หาได้จากการแทนค่าเงือ่ นไขขอบเขตในคาตอบทัวไป
่ ดังนัน้

T − Ta − S / U L cosh( mx )
= (3.5.8)
Tb − Ta − S / U L coshm( W − D ) / 2

พลังงานที่นาเข้าสู่ท่อต่อหน่ วยความยาวในทิศทางการไหล สามารถหาได้โดยใช้กฎ


ของฟูเรียร์ (Fourier’s Law) โดยพิจารณาทีข่ อบของครีบ

kδm
q fin = −kδ
dT
= S − U L ( Tb − Ta )tanhm( W − D ) / 2 (3.5.9)
dx x =( W − D ) / 2 UL
89

แต่ เนื่ อ งจาก k m / U L = 1 / m สมการ (3.5.9) จึงเป็ น การสะสมพลังงานเพีย งด้า น


เดียวของท่อ เมื่อคิดทัง้ สองด้าน สมการ (3.5.9) จะกลายเป็ น

tanhm( W − D ) / 2
q fin = ( W − D )S − U L ( Tb − Ta ) (3.5.10)
m( W − D ) / 2

เพือ่ ความสะดวกจะเขียนสมการ (3.5.10) ใหม่โดยใช้นิยามประสิทธิภาพของครีบ

q fin = ( W − D )F S − U L ( Tb − Ta ) (3.5.11)
เมื่อ
tanhm( W − D ) / 2
F= (3.5.12)
m( W − D ) / 2

ค่า F คือ ประสิทธิภาพมาตรฐานของครีบ หรืออาจหาได้จากรูปแสดงความสัมพันธ์


ประสิทธิภาพของครีบสาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์
พลังงานทีใ่ ช้ประโยชน์ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์จะรวมถึงพลังงานทีส่ ะสมเหนือบริเวณท่อ
ซึง่ พลังงานนี้ คือ

 = DS − U L ( Tb − Ta )
qtube (3.5.13)

พลังงานที่สามารถใช้ประโยชน์ ได้ของตัวเก็บรังสีอาทิต ย์ท่ีได้จากท่อนาของไหลต่อ


หน่วยความยาวในทิศทางการไหล คือ ผลรวมของสมการ (3.5.11) และ (3.5.13)

qu = ( W − D )F + DS − U L ( Tb − Ta ) (3.5.14)

พลังงานทีส่ ามารใช้ประโยชน์ได้จากสมการ (3.5.14) จะถูกถ่ายเทไปยังของไหล ความ


ต้านทานการไหลของความร้อนของของไหลจากรอยต่อระหว่างแผ่นดูดกลืนกับท่อ และความ
ต้านทานระหว่า งท่อกับของไหล พลังงานที่สามารถใช้ประโยชน์ ได้สามารถกระจายให้อยู่ใน
เทอมของความต้านทาน 2 เทอม คือ

Tb − T f
q u =
1 1
(3.5.15)
+
hf i πDi C b
90

เมื่อ Di คือ เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อ , h fi คือ สัมประสิทธิการถ่


์ ายเทความ
ร้อนระหว่างของไหลกับผนังท่อ,  คือ ความหนาเฉลีย่ ของรอยต่อระหว่างแผ่นดูดกลืนรังสีกบั
ท่อ, b คือ ความกว้างของรอยต่อระหว่างแผ่นดูดกลืนกับท่อ สาหรับ Cb คือ ค่าการนาความ
ร้อนตรงรอยต่อระหว่างแผ่นดูดกลืนกับท่อ ซึ่งสามารถประมาณได้จากค่าการนาความร้อนตรง
รอยต่อระหว่างแผ่นดูดกลืนกับท่อ ( kb )

kbb
Cb = (3.5.16)
γ
ค่าการนาความร้อนตรงรอยต่อระหว่างแผ่นดูดกลืนกับท่อ มีความสาคัญอย่างยิง่ ต่อ
สมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ วัสดุ ทน่ี ามาทาการต่อ หรือยึดนัน้ จะต้องมีความเป็ นโลหะที่ดี
เพือ่ ทีจ่ ะทาให้การนาความร้อนของบริเวณรอยต่อมีค่ามากกว่า 30 W.m-1.C-1
เพื่อ เป็ นการลดรูปสมการให้ง่ายต่อ การนาไปใช้ อาจทาได้โดยการแทนค่ า Tb จาก
สมการ (3.5.15) ลงในสมการ (3.5.14) จะได้สมการของพลังงานมราสามารถนาไปใช้ประโยชน์
ได้ คือ

 
qu = WF  S − U L ( T f − Ta ) (3.5.17)

เมื่อ F คือ แฟคเตอร์ประสิทธิภาพตัวเก็บรังสี (Collector Efficiency Factor)


F =
1/ U L (3.5.18)
 1 1 1 
W + + 
U L D + ( W − D )F  Cb πDi h fi 

F แสดงถึงอัตราส่วนของพลังงานทีส่ ามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อพลังงานทีไ่ ด้รบั ถ้าการดูดกลืน


ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์เกิดขึ้นบริเวณผิวหน้า ซึ่งส่วนมากแล้วตัวเก็บรังสีอาทิตย์จะเป็ นกรณี
เช่นนี้ แต่ถ้าเป็ นตัวเก็บรังสีอาทิตย์ท่มี รี ูปแบบอื่น ๆ การอธิบายของ F  จะชัดเจนมากขึ้นเมื่อ
ตัวหารของสมการ (3.5.17) คือ ความต้านทานการส่งผ่านความร้อนจากของไหลไปยังอุณหภูมิ
แวดล้อม โดยกาหนดให้ความต้านทานนี้ คือ 1 / U o ตัวเศษ คือ ความต้านทานความร้อนจาก
แผ่นดูดกลืนไปยังอากาศแวดล้อม ดังนัน้ F  คือ อัตราส่วนของสัมประสิทธิการส่ ์ งผ่านความ
ร้อนทัง้ สอง

Uo
F = (3.5.19)
UL
91

แฟคเตอร์ประสิทธิภาพตัวเก็บรังสีอาทิตย์ คือ ค่าคงที่ เมื่อออกแบบตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบ


ต่างๆ และอัตราการไหลของของไหล อัตราส่วนของ U L ต่อ Cb , อัตราส่วนของ U L ต่อ h fi
และประสิทธิภาพของครีบ F คือ ตัวแปรที่ปรากฏในสมการ (3.5.18) ซึ่งอาจเป็ นฟั งก์ชนั ของ
อุณหภูมิ ส่วนมากการออกแบบตัวเก็บรังสีอาทิต ย์ F จะเป็ นตัวแปรสาคัญที่ใช้กาหนดหา F 
เพื่อแสดงผลของพารามิเตอร์บนขนาดของ F  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อจะไม่มีผลต่อ
การเพิม่ ของ F  ยกเว้นถ้าแฟคเตอร์ประสิทธิภาพตัวเก็บรังสีอาทิตย์ลดลง เส้นผ่านศูนย์กลาง
ของท่อจะเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็ นการเพิ่มของรอยต่อ และความหนาของวัสดุ และการนาความร้อน
การเพิม่ ขึน้ ของสัมประสิทธิการสู
์ ญเสียความร้อนจะทาให้ F  ลดลง ในขณะทีก่ ารเพิม่ ของไหล
ในท่อจะทาให้ F  เพิม่ ขึน้

ตัวอย่าง 3.5.1
จงคานวนแฟคเตอร์ของประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ตามข้อมูลต่อไปนี้
สัมประสิทธิของการสู
์ ญเสียความร้อนรวม 8.0 W.m-2.๐C-1
ช่องว่างระหว่างท่อ 150 mm
เส้นผ่านศูนย์กลางท่อ (ด้านใน) 10 mm
ความหนาของแผ่นดูดกลืน 0.5 mm
ค่าการนาความร้อน (ทองแดง) 385 W.m-2.๐C-1
สัมประสิทธิการถ่
์ ายเทความร้อนภายในท่อ 300 W.m-2.๐C-1
ความต้านทานทีร่ อยต่อ 0
วิ ธีทา
หาแฟคเตอร์ประสิทธิภาพของครีบ F จากสมการ (3.5.4 a) และ (3.5.12)

1/ 2
 8 
m= −4
 = 6.45
 385  5  10 

tanh 6.45 ( 0.15 − 0.01 ) / 2


F= = 0.937
6.45( 0.15 − 0.01 ) / 2

แฟคเตอร์ประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ F หาได้จากสมการ (3.5.18)

1/ 8
F = = 0.841
 1 1 
0.15 + 
 80.01 + ( 0.15 − 0.01 )0.937 π( 0.01 )300 
92

3.6 การกระจายอุณหภูมิในทิ ศทางการไหล

พลังงานความร้อนต่อหน่วยความยาวทีถ่ ่ายเทจากแผ่นดูดกลืนไปยังของไหล สามารถ


คานวณได้โดยสมการที่ (3.5.17) และสามารถเขียนสมดุลพลังงานของของไหลที่ไหลผ่านท่อ
เดี่ย วที่มีค วามยาว y โดยอาศัย รูป ที่ 3.6.1 เมื่อ ของไหลที่ไ หลเข้า ตัว เก็บ รัง สีอ าทิต ย์ มี
อุณหภูมิ T fi และของไหลที่ไหลออกจากตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ซึ่งมีอุณหภูมเิ พิม่ ขึ้นจากเดิมเป็ น
T fo

 m   m 
 C p T f −  C p T f + yqu = 0 (3.6.1)
n y n y + y

เมื่อ m คือ อัตราการไหลรวมในตัวเก็บรังสีอาทิตย์, n เป็ นตัวเลขของจานวนท่อที่ขนาน และ


หารตลอดด้วย y พิจารณาให้ y มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ แทน qu จากสมการ (3.5.17) จะได้

quseful Y

Fluid Flow (m/n) cp TfY (m/n) cp TfY+Y

Y
รูปที่ 3.6.1 สมดุลพลังงานในของไหล

m C p
dT f
dy

− nWF  S − U L ( T f − Ta ) = 0  (3.6.2)

ถ้ า สมมติใ ห้ F  และ U L มีค่ า คงที่ ไ ม่ ข้ึ น กับ ต าแหน่ ง ใดๆ ดัง นั ้น รูป ค าตอบของ
อุณหภูมขิ องของไหลแต่ละตาแหน่งทีร่ ะยะ y ใดๆ คือ
93

T f − Ta − S U L
T fi − Ta − S U L
(
= exp − U L nWF y m C p ) (3.6.3)

ถ้าตัวเก็บรังสีอาทิตย์มคี วามยาว L ในทิศทางการไหล ดังนัน้ อุณหภูมทิ างออกของ


ของไหลเป็ น Tfo ซึง่ หาได้โดยแทน y เท่ากับ L ลงในสมการ (3.6.3) ดังนัน้ ปริมาณ nWL คือ
พืน้ ที่ ( A ) ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์

T fo − Ta − S U L
T fi − Ta − S U L
(
= exp − AcU L F  m C p ) (3.6.4)

3.7 แฟคเตอร์การดึงความร้อน และแฟคเตอร์การไหล

อัตราส่วนระหว่างปริมาณพลังงานที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ได้จริง ต่อพลังงานที่


สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ได้ เมื่อ แผ่นดูดกลืนมีอุณหภูมิเท่ากับของไหลที่ไหลเข้า เรียกว่า
แฟคเตอร์การดึงความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (Collector Heat Removal Factor, FR )

m C p ( T fo − T fi )
FR = (3.7.1)

Ac S − U L ( T fi − Ta ) 

สามารถกระจายแฟคเตอร์การดึงความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ได้ดงั นี้

 
mC p 
 T fo − T fi 
FR =  
AcU L  S
 U − ( T fi − Ta ) 
 L 
 S   S 
  T fo − Ta −  −  T fi − Ta − 
m C p   UL   U L  
= (3.7.2)
AcU L  S 
 − ( T fi − Ta ) 
 
UL

หรือ
 S 
 − ( T fo − Ta ) 

mC p U
FR = 1 − L  (3.7.3)
AcU L  S 
 U − ( T fi − Ta ) 
 L 
94

จากสมการ (3.6.4) จะได้

m C p   A U F  
FR = 1 − exp − c L 

(3.7.4)
AcU L   m C p 

เพื่อความสะดวกจะแสดงสมการ (3.6.4) ในรูปกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง F  กับ



m Cp Ac U L F  โดยกาหนดให้

FR m C p   A U F  
F  = = 1 − exp − c L 

(3.7.5)
F  AcU L F    m C p 

เมื่อ F  คือ แฟคเตอร์ก ารไหลของตัว เก็ บ รัง สี อ าทิ ต ย์ (Collector Flow Factor)
สามารถเขียนสมการในการหาค่าพลังงานใช้ประโยชน์ ( Qu ) ในเทอมของ FR และอุณหภูมขิ อง
ไหลขาเข้าได้ดงั นี้
Qu = Ac FR S − U L ( Ti − Ta ) (3.7.6)

ตัวอย่าง 3.7.1
จงคานวณค่าพลังงานทีใ่ ช้รายวัน และประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ท่ตี ่อขนาน
กัน 10 แผง มีมุมเอียง 60๐ และมุมอะซิมุท พื้นดิน 0๐ รังสีต กกระทบรายชัวโมง
่ I T ค่ าการ

ดูดกลืนรังสีอาทิตย์รายชัวโมง
่ S และอุณ หภูมแ ิ วดล้อมรายชัวโมง
่ Ta ได้กาหนดไว้ดงั ตาราง

ข้างล่าง กาหนดให้
สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียรวม U L 8.0 W.m-2.๐C-1
แฟคเตอร์ประสิทธิภาพ F  0.841 (จากตัวอย่าง 3.5.1)
อัตราการไหลแต่ละตัวของตัวเก็บรังสี 0.03 kg.s-1 ทีข่ นาด 1  2 m2
อุณหภูมขิ องไหลขาเข้ามีค่าคงที่ 40 ๐C

วิ ธีทา

อัตราการไหลเชิงมวลของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ในเทอมไร้มติ ิ

m C p 0.03  4190
= = 0.35
AcU L F  2  8  0.841
95

แฟคเตอร์การไหลของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ หาได้จากสมการ (3.7.5)

F  = 9.35( 1 − e −1 / 9.35 ) = 0.948

แฟคเตอร์การดึงความร้อน คือ

FR = F F  = 0.841 0.948 = 0.797

่ 10 ถึง 11 ซึง่ มีอุณหภูมทิ างเข้า 40 ๐C


ค่าการสูญเสียในชัวโมงที

U L ( Ti − Ta ) = 8( 40 − 2 )  3600 = 1.09 MJ.m-2

พลังงานทีใ่ ช้ต่อพืน้ ทีข่ องตัวเก็บรังสีอาทิตย์

Qu
qu = = 0.797( 3.29 − 1.09 ) 10 6 = 1.76 MJ.m-2
Ac

ประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ในชัวโมงนี
่ ้ หาได้จากสมการ (3.2.2)

Qu q 1.76
η= = u = = 0.45
I T Ac I T 3.92

ประสิทธิภาพตลอดวัน คือ

 qu 7.57
η day = = = 0.38
 IT 19 .79

พลังงานทีส่ ามารถใช้ประโยชน์ได้รายวันของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทงั ้ 10 แผง

Qu = 10  2  7.57  106 = 150 MJ

จากตัวอย่าง 3.7.1 ได้ขอ้ สังเกตหลายประการ การประมาณสมรรถนะของตัวเก็บรังสี


อาทิ ต ย์ แ บบผิ ว ธรรมดาที่ มี แ ผ่ น ปิ ดใสชัน้ เดี ย ว ในระบบส่ ว นมากอุ ณ หภู มิ ท างเข้ า จะ
เปลีย่ นแปลงตลอดทัง้ วัน การสูญเสียความร้อน และการสูญเสียเชิงแสงในตอนเช้าตรู่ และตอน
96

เย็น ระดับการแผ่รงั สีอาทิตย์จะได้พลังงานไม่มากพอเมื่อเทียบกับการสูญเสียความร้อน จึงถือ


ว่าตัวเก็บรังสีอาทิตย์ไม่ทางานในช่วงนี้
ประสิทธิภาพรายวันอาจขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ตวั เก็บรังสีอาทิตย์ทางาน การคานวณ
ประสิทธิภาพโดยวิธนี ้ี คือ 7.57/18.39 หรือ 41% จะให้ค่าประสิทธิภาพทีส่ งู ขึน้ ขณะทีอ่ ุณหภูมิ
ทางเข้าจะลดลง ประสิทธิภาพของตัวเก็บรังสีอาทิตย์จะเป็ นพารามิเตอร์เพียงตัวเดียว ซึ่งรวม
ลักษณะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ และระบบ

IT S UL(Ti - Ta) qu
เวลา Ta 
(MJ.m-2) (MJ.m-2) (MJ.m-2) (MJ.m-2)
7:00-8:00 -11 0.020 - - 0 0
8:00-9:00 -8 0.43 0.35 1.38 0 0
9:00-10:00 -2 0.99 0.82 1.21 0 0
10:00-11:00 2 3.92 3.29 1.09 1.76 0.45
11:00-12:00 3 3.36 2.84 1.07 1.42 0.42
12:00-13:00 6 4.01 3.39 0.98 1.93 0.48
13:00-14:00 7 3.84 3.21 0.95 1.81 0.47
14:00-15:00 8 1.96 1.63 0.92 0.57 0.29
15:00-16:00 9 1.21 0.94 0.89 0.08 0.07
16:00-17:00 7 0.05 - 0.95 0 -
รวม 19.79 7.57

ผลต่างของอุณหภูมขิ องไหลทีเ่ พิม่ ขึน้ จาก 8.5 ๐C ในช่วงเวลา 12:00 - 13:00 เป็ น 2.5
๐C ในช่วงเวลา 14:00 - 15:00 (คานวณจาก T = Q mC
u  p ) เราสามารถเพิม
่ อุณหภูมขิ องของ
ไหลได้โดยการลดอัตราการไหล แต่ทงั ้ นี้กจ็ ะเป็ นการลดพลังงานทีส่ ามารถใช้ ประโยชน์ได้ดว้ ย
เช่นกัน ถ้าอัตราการไหลลดลงครึ่งหนึ่งแต่ F  ยังคงเท่าเดิมค่ า FR จะลดลงเป็ น 0.76 และ
อุณ หภูมิท่ีเพิ่มขึ้นระหว่างเวลา 12:00 ถึง 13:00 เป็ น 16.2 ๐C ซึ่งน้ อ ยกว่าสองเท่าของการ
เพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมเิ ดิม ประสิทธิภาพระหว่างชัวโมงนี
่ ้จะลดลงจาก 48% เป็ น 46 %
97

3.8 ระดับรังสีวิกฤต

ระดับรังสีวกิ ฤต (Critical Radiation Level, I Tc ) สาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่ น


ราบ สามารถเขียนสมการ (3.7.6) ได้ในรูปแบบ

Qu = Ac FR ( τα )I T − FRU L ( Ti − Ta ) (3.8.1)

ระดับรังสีวกิ ฤต คือ ค่าของ I T ทีท่ าให้เทอมในวงเล็บมีค่าเป็ นศูนย์ ซึ่งหมายความว่า


การดูดกลืนรังสีอาทิตย์มคี ่าเท่ากับการสูญเสียความร้อน (ไม่สามารถนามาใช้งานได้)

FRU L ( Ti − Ta )
I Tc = (3.8.2)
FR ( τα )

พลังงานที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ ได้ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์สามารถเขียนในเทอม
ของระดับการแผ่รงั สีวกิ ฤตได้ดงั นี้

Qu = Ac FR ( τα )( I T − I Tc ) (3.8.3)

Qu แสดงถึงความร้อนที่สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ ถ้า Qu  0 แสดงว่ารังสีอาทิตย์


ทีถ่ ูกดูดกลืนมากกว่าความร้อนที่สูญเสีย และ I T จะมีค่ามากกว่า I Tc ในสมการ (3.7.6) และ
(3.8.3) จะพิจารณาเฉพาะค่าบวกของเทอมในวงเล็บเท่านัน้ ซึง่ แสดงว่ามีการควบคุมบนตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์ซง่ึ ของไหลจะหยุดการเคลื่อนที่ เมื่อค่าในวงเล็บมีค่าเป็ นลบ

3.9 อุณหภูมิเฉลี่ยของของไหล และแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิ ตย์

การหาสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอ าทิต ย์จาเป็ นต้องทราบค่ าสัมประสิทธิก์ ารสูญ เสีย


ความร้อนรวมและสัมประสิทธิการถ่ ์ ายเทความร้อนของของไหลภายในท่อ ซึ่งทัง้ สองค่าต่างก็
เป็ นฟั งก์ชนั ของอุณ หภูมิ ค่าอุณ หภูมเิ ฉลี่ยของของไหลจะสามารถหาได้โดยการอินทิเกรต
สมการ (3.6.3) จาก 0 ถึง L

1L
T fm =  T f ( y )dy (3.9.1)
L0
98

ในการอินทิเกรตจะแทนค่ า FR จากสมการ (3.7.4) และ Qu จากสมการ (3.7.6) ค่ า


อุณ หภู มิเฉลี่ยของของไหลนี้ ถู กเสนอโดย Klein et al. (1974) ซึ่งอุณ หภู มิน้ีเป็ น อุณ หภู มิท่ี
เหมาะสมทีใ่ ช้ในการหาสมบัตขิ องของไหล

Qu Ac
T fm = T fi + ( 1 − F  ) (3.9.2)
FRU L
โดยปกติอุณหภูมเิ ฉลีย่ ทีแ่ ผ่นดูดกลืนจะสูงกว่าอุณหภูมเิ ฉลีย่ ของของไหลเสมอ ซึง่ เป็ น
ผลมาจากความต้านทานความร้อนระหว่างแผ่ นดูดกลืนรังสีกับของไหล ความแตกต่างของ
อุ ณ หภู มิในระบบที่ใ ช้ข องเหลวเป็ น สารท างานจะมีค่ า น้ อ ย แต่ ใ นกรณี ท่ีใช้อ ากาศจะมีค่ า
ค่อนข้างมาก


Qu = Ac S − U L ( T pm − Ta )  (3.9.3)

จากสมการ (3.9.3) และสมการ (3.7.6) จะได้อุณหภูมเิ ฉลีย่ ของแผ่นดูดกลืน

Qu Ac
T pm = T fi + ( 1 − FR ) (3.9.4)
FRU L

สมการ (3.9.4) จะถู ก น าไปใช้ใ นการค านวณซ้ า ร่ว มกับ สมการ (3.4.9) ขัน้ แรกให้
ประมาณค่า Tpm จาก U L ที่คานวณได้ โดยการประมาณค่า FR , F  และ Qu จะได้ค่า Tpm
ใหม่จากสมการ (3.9.4) และนาไปใช้ใช้หาค่า U t ใหม่ สาหรับค่า U L ใหม่จะใช้หา FR และ
F  การสมมติค่าเริม่ ต้นที่เหมาะสมจะทาให้ ได้ค่าที่ใกล้เคียงมากขึ้น โดยในกรณีของตัวเก็บ
รังสีท่ใี ช้ของเหลว และมีอตั ราการไหลอยู่ระหว่าง 0.01 ถึง 0.02 kg.m-2.s-1 ค่าเริม่ ต้นของ Tp
จะประมาณ Tfi + 10 ๐C และประมาณ T fi + 20 ๐C สาหรับระบบทีใ่ ช้อากาศ

ตัวอย่าง 3.9.1
จงคานวณอุณหภูมเิ ฉลี่ยของของไหล และแผ่นดูดกลืน ในช่วงเวลา 11:00 ถึง 12:00
โดยใช้ขอ้ มูลจากตัวอย่าง 3.7.1

วิ ธีทา

จากตัวอย่าง 3.7.1 ในช่วงเวลา 11:00 - 12:00, q u = 142


. MJ.m-2 ได้อุณหภูมขิ องไหลเฉลี่ย
เท่ากับ
99

( 1.42 10 6 ) / 3600


T fm = 40 + ( 1 − 0.948 ) = 43 ๐C
8  0.797

และอุณหภูมเิ ฉลีย่ ของแผ่นดูดกลืนคานวณจากสมการ (3.9.4)

( 1.42  10 6 ) / 3600
T pm = 40 + ( 1 − 0.797 ) = 53 ๐C
8  0.797

ในตัวอย่างนี้สมมติว่า U L ไม่ข้นึ กับอุณหภูมิ ซึ่งถ้าพิจารณาให้ UL ขึ้นกับอุณหภูมิ


จะต้องทาการคานวณใหม่อกี ครัง้

3.10 ผลของการส่งผ่านและดูดกลืน

ในหัวข้อ 3.4 การคานวณ U L ตัง้ อยู่บนสมมติฐานว่ากระจกไม่ดูดกลืนรังสีอาทิตย์ ถ้า


จะคานึงถึงผลของการดูดกลืนรังสีอาทิตย์ของกระจก จะพิจารณาโดยใช้ค่าประสิทธิผลของการ
ส่งผ่าน และดูดกลืน ( ) e ซึง่ ค่านี้จะมีค่ามากกว่า ( ) เล็กน้อย
รัง สีอ าทิ ต ย์ ท ัง้ หมดจะถู ก ดู ด กลืน โดยแผ่ น ปิ ดใสโดยไม่ มีก ารสู ญ เสีย ความร้อ น
เนื่องจากพลังงานทีถ่ ูกดูดกลืนมีแนวโน้มทีจ่ ะทาให้อุณหภูมขิ องแผ่นปิ ดใสสูงขึ้น และลดความ
ร้อนทีส่ ญ
ู เสียจากแผ่นดูดกลืน พิจารณาวงจรความร้อนของระบบทีม่ แี ผ่นปิ ดใสชัน้ เดียวดังรูปที่
3.10.1 ค่ารังสีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนโดยแผ่นปิ ดใสมีค่าเท่ากับ I T (1 −  a ) โดยที่  a จะพิจารณา
เฉพาะการดูดกลืนเท่านัน้ และ I T เป็ นรังสีอาทิตย์ทต่ี กกระทบ ในกรณี (a) การสูญเสียความ
ร้อน โดยไม่มกี ารดูดกลืนมีค่า U p−c (Tp − Tc ) ส่วนกรณี (b) การสูญ เสียความร้อน และมีการ
ดูดกลืนมีค่า U p−c (Tp − Tc) ดังนัน้ สามารถตัง้ สมมติฐานได้ว่าการดูดกลืนเพียงเล็กน้อยทีเ่ กิดขึน้
ในแผ่นปิ ดใส และการเพิม่ ขึน้ ของอุณหภูมแิ ผ่นปิ ดใสจะไม่มผี ลต่อการเปลี่ยนแปลงของ U p−c
และ U c−a ผลต่างของการสูญเสียทัง้ 2 เทอมแสดงได้ดงั นี้


D = U p −c ( T p − Tc ) − ( T p − Tc ) (3.10.1)
ผลต่างของอุณหภูมิ Tp และ Tc สามารถเขียนได้เป็ น
U t ( T p −T a )
T p − Tc = (3.10.2)
U p −c
โดยที่ U t คือ สัมประสิทธิการสู
์ ญเสียทางด้านบนมีค่าเท่ากับ U p−cU c−a (U p−c + U c−a )
100

รูปที่ 3.10.1วงจรความร้อนของการสูญเสียด้านบนสาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทม่ี แี ผ่นปิ ดใสชัน้ เดียว


[Duffie & Beckman (1991)]
ผลต่างของอุณหภูมิ Tp และ Tc แสดงได้ดงั นี้

U c − a ( T p − Ta ) − I T ( 1 − τ a )
T p − Tc = (3.10.3)
U p −c + U c − a
ดังนัน้
U p − c U c − a ( T p − Ta ) I T U p −c ( 1 − τ a )
D = U t ( T p − Ta ) − + (3.10.4)
U p −c + U c − a U p −c + U c − a
หรือ
I T U t (1 − τ a )
D= (3.10.5)
U c−a

ปริมาณ D จะแสดงถึงการลดลงของการสูญเสียในตัวเก็บรังสีอาทิตย์อนั เนื่องมาจาก


การดูดกลืนในแผ่นปิ ดใส ดังนัน้ ความร้อนใช้ประโยชน์ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์เป็ น

 I U (1 − τ a ) 
q u = FR  S + T t − U L ( Ti − Ta ) (3.10.6)
 U c−a 

โดยทัวไป
่ I T เป็ นผลรวมของรังสีตรง รังสีกระจาย และรังสีทส่ี ะท้อนจากผิวโลก ในแต่
ละเทอมจะมีค่า ( ) สามารถแบ่งการดูดกลืนรังสีอาทิตย์ในแผ่นปิ ดใสออกเป็ น 3 ส่วน โดย
กาหนดให้ ( ) + (1 −  a ) U t U c−a เป็ นค่าประสิทธิผลของการส่งผ่าน และดูดกลืนในแต่ละส่วน
สาหรับระบบทีม่ แี ผ่นปิ ดใสชัน้ เดียว

Ut
( τα )e = ( τα ) + ( 1 − τ a ) (3.10.7)
U c−a

ในการประเมิน ค่ า S จะใช้ ( ) e แทน ( ) โดยที่ ( ) e จะมีค่ า มากกว่ า ( )
ประมาณ 1 % สาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบกระจกชัน้ เดียวที่ ทาด้วยกระจกธรรมดา และถ้า
101

เป็ นตัวเก็บรังสีอาทิตย์ท่ใี ช้ก ระจกชนิดมีส่วนผสมของเหล็กต่ า ค่า ( ) e และ ( ) จะมีค่ า


ใกล้เคียงกัน
การวิเคราะห์ระบบทีม่ แี ผ่นปิ ดใสจานวน n ชัน้

(3.10.8)
n
( τα )e = ( τα ) + ( 1 − τ a )  a i τ i −1
i =1

โดย a i คือ อัตราส่วนของสัมประสิทธิการสู ์ ญ เสียทางด้านบนกับสัมประสิทธิการสู ์ ญเสียของ


แผ่นปิ ดใสชัน้ ที่ i สูส่ งิ่ แวดล้อม และ  a เป็ นค่าการส่งผ่านแผ่นปิ ดใสชัน้ เดียว
สาหรับแผ่นปิ ดใสที่ประกอบด้วยวัสดุต่างชนิดกัน เช่น แก้วกับพลาสติก ผลของการ
ส่องผ่าน และดูดกลืนจะเป็ น

(τα )e = (τα ) + (1 − τ a ,1 )a1 + (1 − τ a ,2 )a2 τ1 + (1 − τ a ,3 )a3 τ 2 + ... (3.10.9)

โดยที่  i เป็ นค่าการส่งผ่านของระบบทีม่ แี ผ่นปิ ดใสจานวน i + 1 และ  a ,i เป็ นค่าการ


ส่งผ่านที่ได้มาจากการดูดกลืนของแผ่นปิ ดใสชัน้ ที่ i ความไม่อสิ ระเชิงมุมของ ( ) e สามารถ
คานวณจากค่าความไม่อสิ ระเชิงมุมของ ( ) ,  และ  a ได้

ค่า a i ขึน้ อยู่กบั อุณหภูมขิ องแผ่นดูดกลืน อุณหภูมแิ วดล้อม การแผ่รงั สีความร้อนของ


แผ่นดูดกลืน และความเร็วลม ตารางที่ 3.10.1 แสดงค่า a i สาหรับแผ่นปิ ดใส 1, 2 และ 3 ชัน้
และที่ค่าการแผ่รงั สีความร้อนของแผ่นดูดกลืน 0.95, 0.50 และ 0.10 ตามลาดับ ซึ่งทัง้ หมดนี้
คานวณที่ค่าสัมประสิทธิก์ ารถ่ายเทความร้อนเนื่องจากลม เท่ากับ 24 W.m.-2.๐C-1 อุณหภูมิ
ของแผ่นดูดกลืนเท่ากับ 100 C และอุณหภูมแิ วดล้อม และอุณหภูมทิ อ้ งฟ้ าเท่ากับ 10 ๐C

ตารางที่ 3.10.1 ค่าทีไ่ ด้จากการคานวณโดยสมการ (3.10.8) และ (3.10.9) [Duffie & Beckman (1991)]

จานวนแผ่นปิ ดใส ai p = 0.95 p = 0.50 p = 0.10


1 a1 0.27 0.21 0.13
2 a1 0.15 0.12 0.09
a2 0.62 0.53 0.40
3 a1 0.14 0.08 0.06
a2 0.45 0.40 0.31
a3 0.75 0.67 0.53
102

แม้ว่าค่ า ( ) e จะสามารถค านวณได้จากสมการ (3.10.9) ซึ่งค่ อ นข้างถู ก ต้อ ง แต่


บางครัง้ ค่า ( ) e มีค่ามากกว่า ( ) 1 - 2 % สาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผิวธรรมดา และ
มีแผ่นปิ ดใสชัน้ เดียว a i จะมีค่า 0.27 ถ้าแผ่นปิ ดใสสามารถดูดกลืนรังสีอาทิตย์ท่ตี กกระทบได้
4 % เช่น กระจกชนิดธรรมดามีค่า KL = 0.03, ( ) e จะมีค่าสูงกว่า ( ) ประมาณ 1 % ตัว
เก็บ รังสีอ าทิต ย์แ บบผิว เลือ กรังสี และมีแ ผ่ น ปิ ด ใสชัน้ เดีย วที่ ใช้ก ระจกชนิ ด นี้ จะมีค่ าความ
แตกต่างประมาณ 0.5 % และถ้าเป็ นตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผิวเลือกรังสี และมีแผ่นปิ ดใสชัน้
เดียวทีเ่ ป็ นกระจกชนิดมีส่วนผสมของเหล็กต่า KL ประมาณ 0.01, ( ) e มีค่ามากกว่า ( )
ประมาณ 0.1 % สาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบผิวไม่เลือกรังสี และมีแผ่นปิ ดใส 2 ชัน้ ( ) e
จะมีค่าสูงกว่า ( ) เกือบ 2 % ค่าประสิทธิผลของการส่งผ่าน และดูดกลืนสาหรับตัวเก็บรังสี
อาทิตย์ทใ่ี ช้กระจกแบบธรรมดาจะมีค่าประมาณ

( τα )e  1.02τα (3.10.10 a)

และสาหรับตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทไ่ี ม่คดิ การดูดกลืนทีแ่ ผ่นปิ ดใส

( τα )e  1.01τα (3.10.10 b)

3.11 ผลของฝุ่ น และเงา

ผลของฝุ่นและเงาเป็ นปั ญหาสาคัญอย่างหนึ่งของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ จากรายงานของ


Dietz (1963) ทีม่ ุมตกกระทบ 0 ถึง 50 ฝุ่นสามารถทาให้ปริมาณของแสงทีผ่ ่านแผ่นปิ ดใสมีค่า
ลดลงได้มากถึง 2.7 % ในการทดลองตัวเก็บรังสีอาทิตย์ระยะยาวที่บอสตัน Hottel & Woertz
(1942) พบว่าสมรรถนะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ลดลงประมาณ 1 % เนื่องมาจากความสกปรก
บนกระจก ในประเทศอิน เดีย ได้มีก ารทดลองในวัน ที่ไม่มีฝ นตกเป็ น เวลา 30 วัน ซึ่ง Garg
(1974) พบว่าฝุ่นทาให้แสงที่ส่องผ่านกระจกที่มมี ุมเอียง 45๐ ลดลงประมาณ 8 % โดยสรุปที่
สภาวะปกติ ฝุ่นทาให้การดูดกลืนรังสีอาทิตย์ของแผ่นดูดกลืนลดลง 1 % และในสภาวะอากาศ
แห้ง และมีฝ่ นุ การดูดกลืนอาจลดลงถึง 2 %
ผลกระทบของเงานัน้ มีค วามส าคัญ เหมือ นกัน เมื่อ มุ ม ของแสงเปลี่ย นต าแหน่ งไป
โครงสร้างของอุปกรณ์อาจบดบังรังสีอาทิตย์ได้ รังสีอาทิตย์บางส่วนอาจสะท้อนกลับไปยังแผ่น
ดูดกลืนถ้าผนังด้านข้างของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทาจากวัสดุท่มี คี ่าการสะท้อนแสงสูง Hottel &
Woertz ได้ทาการทดลองโดยใช้ตวั เก็บรังสีอาทิตย์ท่มี แี ผ่นปิ ดใส 2 ชัน้ ผลการทดลอง พบว่า
เงาทาให้รงั สีอาทิตย์ทถ่ี ูกดูดกลืนโดยแผ่นดูดกลืนมีค่าลดลง 3 %
103

ตัวอย่าง 3.11.1
จากตัวอย่าง 3.7.1 จงประเมินค่าสมรรถนะรายวัน โดยคิดผลกระทบจากฝุ่นและเงา
แผ่นปิ ดใสเป็ นกระจกชัน้ เดียวมี KL = 0.037 และแผ่นดูดกลืนรังสีอาทิตย์มสี ดี า และเป็ นแบบ
ผิวธรรมดา
วิ ธีทา
กระจกดูดกลืนรังสีอาทิตย์ทต่ี กกระทบประมาณ 4 % จากตารางที่ 3.10.1 และสมการ
(3.10.8) ปริมาณรังสีส่วนนี้ 27 % ไม่มกี ารสูญเสีย ดังนัน้ ( ) e เท่ากับ 1.01 ( ) ผลของฝุ่น
หรือเงา แต่ละอย่างทาให้การดูดกลืนรังสีลดลง 1 % ผลกระทบรวมจะทาให้ S ลดลง 2 % ค่า
S และพลังงานที่ใช้ป ระโยชน์ รายชัวโมงแสดงในตารางข้
่ างล่าง เมื่อ FR = 0.8 และ U L = 5
W.m-1.๐C-1 ค่าประสิทธิภาพรายวันมีค่าลดลงจาก 38 % เหลือ 36 %

IT S T qu
เวลา 
(MJ.m-2) (MJ.m-2) (C) (MJ.m-2)
7:00-8:00 0.02 - -11 - -
8:00-9:00 0.43 0.34 -8 0 0
9:00-10:00 0.99 0.79 -2 0 0
10:00- 3.92 3.16 2 1.65 0.42
11:00
11:00- 3.36 2.73 3 1.33 0.40
12:00
12:00- 4.01 3.25 6 1.82 0.45
13:00
13:00- 3.84 3.08 7 1.70 0.44
14:00
14:00- 1.96 1.56 8 0.51 0.26
15:00
15:00- 1.21 0.95 9 0.05 0.04
16:00
16:00- 0.05 - 7 - -
17:00
19.79 7.06
104

7.06
day = = 0.36
19.79

3.12 ผลของความจุความร้อนในตัวเก็บรังสีอาทิ ตย์

การดาเนินการเกี่ยวกับระบบพลังงานแสงอาทิตย์สว่ นใหญ่จะอยู่ในสภาวะไม่สม่าเสมอ
เมื่อพิจารณาธรรมชาติของแรงขับ (Driving Forces) การสังเกตนี้นาไปสู่การศึกษาเชิงตัวเลข
ถึงผลกระทบของค่าความจุความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ท่มี ตี ่อสมรรถนะของตัวเก็บรังสี
อาทิตย์โดย Klein et al. (1974) และ Wijeysundera (1978) สามารถพิจารณาแยกเป็ น 2 ส่วน
ส่ว นแรกเกิดจากการร้อ นขึ้น ของตัว เก็บ รังสีอ าทิต ย์จากช่ว งเช้าที่อุณ หภูมิต่ าจนกระทัง่ ถึง
อุณหภูมสิ ุดท้ายในช่วงบ่าย ส่วนที่สองเกิดจากความไม่สม่าเสมอของแรงขับในแต่ละวัน เช่น
รังสีอาทิตย์ และลม ซึง่ มีการเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา
การแสดงความคิดเห็นของ Klein et al. (1974) แสดงให้เห็นว่าในตอนเช้าของแต่ละวัน
ผลของการสู ญ เสีย ความร้อ นของตัว เก็ บ รัง สีอ าทิ ต ย์ มีค วามส าคัญ แต่ ส ามารถละทิ้ ง ได้
ตัวอย่างเช่น รังสีอาทิตย์ท่ตี กกระทบตัวเก็บรังสี ในตัวอย่าง 3.11.1 ก่อนเวลา 10:00 น. มีค่า
(0.02 + 0.43 + 0.99) = 1.44 MJ.m-2 แต่ ค่ าการสูญ เสียความร้อ นที่ได้จากการค านวณมีค่ า
มากกว่านี้ ทัง้ นี้เพราะในการคานวณค่าการสูญเสียความร้อน จะสมมติว่าอุณหภูมขิ องไหลขา
เข้ามีค่าเท่ากับ 40 C เสมอ แต่ในความเป็ นจริงไม่มขี องไหลทีไ่ หลวน และการดูดกลืนพลังงาน
แสงอาทิตย์จะทาให้ตวั เก็บรังสีอาทิตย์รอ้ นขึน้ โดยทีไ่ ม่มกี ารลดลงของพลังงานใช้ประโยชน์
ค่าความร้อนทีใ่ ช้ในการทาให้ตวั เก็บรังสีอาทิตย์รอ้ นขึน้ สามารถประมาณค่าได้โดยการ
แก้สมการสมดุลพลังงานในสภาวะไม่สม่าเสมอ ทีแ่ ต่ละส่วนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ แรงขับอื่นๆ
เช่น รังสีอาทิตย์ ความเร็วลม และอุณหภูมขิ องอากาศ จะทราบค่ าเพียงแค่ในช่วงรายชัวโมง ่
หนึ่งๆ การทานายพฤติกรรมในสภาวะไม่สม่าเสมอระหว่างช่วงเวลารายชัว่ โมงหนึ่งๆ สามารถ
นาไปใช้ประมาณค่าในการวิเคราะห์อย่างละเอียด
พิจารณาตัวเก็บรังสีอาทิตย์ทม่ี แี ผ่นปิ ดใสชัน้ เดียว สมมติว่าแผ่นดูดกลืน น้าในท่อ และ
บริเวณครึ่งหนึ่งของฉนวนที่อยู่ด้านล่างมีอุณหภูมเิ ท่ากัน และสมมติว่าแผ่นปิ ดใสมีอุณหภูมิ
สม่าเสมอ ซึ่งมีค่าแตกต่างจากอุณหภูมขิ องแผ่นดูดกลืน สมดุลพลังงานของแผ่นดูดกลืน น้ า
และฉนวนมีค่าดังนี้

( mC )p
dT p
dt
 
= Ac S − U p −c ( T p − Tc ) (3.12.1)
105

ตัวก ากับล่าง c และ p หมายถึง แผ่นปิ ดใส (Cover) และแผ่นดูดกลืน (Plate) ตามลาดับ ,
U p − c คือ ค่ าสัมประสิท ธิก
์ ารสูญ เสียความร้อนจากแผ่ นดูดกลืนไปยังแผ่ นปิ ดใส และ t คือ
เวลาสมดุลพลังงานบนแผ่นปิ ดใสมีค่าดังนี้
( mC )c
dTc
dt
 
= Ac U p −c ( T p − Tc ) + U c − a ( Ta − Tc ) (3.12.2)

เมื่อ U c−a คือ สัมประสิทธิการสู


์ ญเสียความร้อนจากแผ่นปิ ดใสไปยังอากาศแวดล้อม
และ Ta คือ อุณหภูมแิ วดล้อม เพื่อทาให้งา่ ยขึน้ สมมติให้ (Tc − Ta ) / (Tp − Ta ) มีค่าคงทีท่ ส่ี ภาวะ
สม่าเสมอหรืออาจสมมติตามความสัมพันธ์ขา้ งล่างนี้

U c −a ( Tc − Ta ) = U L ( T p − Ta ) (3.12.3)

สมมติให้ก ารสูญ เสียความร้อ นด้านหลัง และด้านข้างมีค่าน้ อ ยมาก หาอนุ พ ันธ์ของ


สมการ (3.12.3) โดยสมมติให้ Ta มีค่าคงที่ จะได้

dTc U dT p
= L (3.12.4)
dt U c − a dt

รวมสมการ (3.12.1) เข้ากับสมการ (3.12.2) และใช้สมการ (3.12.4) จะได้สมการเชิงอนุ พนั ธ์


สาหรับอุณหภูมขิ องแผ่นดูดกลืน ดังนี้

  dT p
( mC ) p +
UL
( mC )c  
= Ac S − U L ( T p − Ta )  (3.12.5)
 U c−a  dt

เทอมที่อยู่ในวงเล็บทางซ้ายมือ คือ ค่าความจุความร้อนประสิทธิผลของตัวเก็บรังสี


อาทิตย์ ซึง่ แทนด้วย (mC) e จากเหตุผลเดียวกันค่าความจุความร้อนประสิทธิผลของตัวเก็บรังสี
อาทิตย์ทม่ี แี ผ่นปิ ดใสจานวน n ชัน้ มีค่า

n
( mC )e = ( mC ) p +  a i ( mC )c ,i (3.12.6)
i =1

เมื่อ a i คือ อัตราส่วนสัมประสิทธิก์ ารสูญ เสียความร้อนรวมต่อสัมประสิทธิการสู


์ ญเสียความ
ร้อนจากแผ่นปิ ดใสไปยังสิง่ แวดล้อม ซึ่งมีค่าแสดงในตารางที่ 3.10.1 ถ้าสมมติว่า S และ Ta มี
ค่าคงทีใ่ นช่วงเวลา t จะได้คาตอบของสมการ (3.12.5) คือ
106

S − U L ( T p − Ta )  AU t 
= exp − c L  (3.12.7)
S − U L ( T p ,initial − Ta )  ( mC )e 

อุณหภูมขิ องแผ่นดูดกลืน ( Tp ) ทีป่ ลายของแต่ละช่วงเวลาสามารถหาค่าได้ถา้ ทราบค่า


S , U L , Ta และอุ ณ หภู ม ิ ข องแผ่ น ดู ด กลื น ที่ เ วลาเริ่ ม ต้ น การใช้ ส มการ (3.12.7) ก่ อ น
ดาเนินการจริงบนตัวเก็บรังสีอาทิตย์ เพื่อประมาณค่าอุณหภูมขิ องตัวเก็บรังสีอาทิตย์ ซึ่งเป็ น
ฟั งก์ชนั ของเวลา การประมาณค่าการลดลงของพลังงานทีส่ ามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้สามารถ
หาได้จากการคูณค่าความจุ ความร้อนประสิทธิผลด้วยค่าอุณหภูมทิ ่เี พิม่ ขึ้น การสูญเสียความ
ร้อน เนื่องจากค่าความจุความร้อนของตัวเก็บรังสีอาทิตย์ เมื่ออุณหภูมเิ ฉลีย่ สุดท้ายของตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์ในช่วงบ่ายมีค่ามากกว่าอุณหภูมเิ ฉลี่ยเริม่ แรก ค่าการสูญเสียความร้อนนี้สามารถ
ประมาณอย่างง่ายๆ โดยการคูณค่าความจุความร้อนประสิทธิผลด้วยค่าผลต่างของอุณหภูมิ
Klien et al. (1974) ได้แ สดงให้ เห็น ว่ า ในการสร้า งตัว เก็บ รัง สีอ าทิต ย์ ท ัว่ ๆ ไปไม่
จาเป็ นต้อ งคิด ผลของความไม่ส ม่ าเสมอของรังสีอ าทิต ย์ ความเร็ว ลม และอุณ หภู มิอ ากาศ
แวดล้อม

ตัวอย่าง 3.12.1
จากตัว เก็ บ รัง สีอ าทิต ย์ใ นตัว อย่ า งที่ 3.11.1 จงประมาณการลดลงของพลัง งานที่
สามารถใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากผลของค่าความจุความร้อน โดยแผ่นดูดกลืน และท่อทาด้วย
ทองแดง รายละเอียดต่างๆ ของตัวเก็บรังสีอาทิตย์มดี งั นี้
ความหนาของแผ่นดูดกลืน 0.5 mm
เส้นผ่านศูนย์กลางภายในท่อ 10 mm
ระยะห่างของท่อ 150 mm
ความหนาของกระจก 3.5 mm
ความหนาของฉนวนด้านหลัง 50 mm

วัสดุทใ่ี ช้ทาตัวเก็บรังสีอาทิตย์มสี มบัตดิ งั นี้

C (kJ.kg-1.C-1)  (kg.m-3)
ทองแดง 0.48 8800
กระจก 0.80 2500
ฉนวน 0.80 50

You might also like