You are on page 1of 16

132

3.18 การประยุกต์ตวั เก็บรังสีอาทิ ตย์แบบแผ่นราบกับบ้านพักอาศัย

สภาวะความไม่สบายเชิงความร้อน (Thermal Discomfort) ของผูอ้ ยู่อาศัยในเขตสภาพ


ภูมอิ ากาศแบบร้อนชื้น (Hot and Humid Climate) ส่วนใหญ่นัน้ เป็ นผลสืบเนื่องมาจากปริมาณ
ความร้อน (Thermal Stress) จากการแผ่รงั สีอาทิตย์ในแต่ละวันทีเ่ ข้าสู่ภายตัวบ้านเกือบตลอด
ทัง้ ปี เสีย เป็ น ส่ว นใหญ่ ไ ม่ ว่ าจะผ่ านทางหลังคา ผนัง หน้ าต่ าง และกรอบอาคาร (Building
Envelope) ส่วนอื่นๆ ที่ได้รบั รังสีอาทิตย์โดยตรง หรือโดยอ้อม ดังนัน้ เพื่อตอบสนองต่อความ
สบายของมนุ ษ ย์จึงมีการนาพลังงานเชิงพานิชย์ ในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้ าไปใช้ผ่านทาง
เครื่อ งจัก รกลต่ างๆ เช่ น พัด ลม เครื่อ งปรับ อากาศ เพื่อ ท าการปรับ สภาวะอากาศภายใน
บ้านพักอาศัยให้มคี วามเหมาะสมต่อความสบายของผูอ้ ยู่อาศัย ซึ่งทาให้สน้ิ เปลืองพลังงานเชิง
พานิชย์เป็ นอย่างมาก และส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าขึน้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประเทศที่ต้อง
น าเข้า พลัง งานเชิ ง พาณิ ช ย์ อ ย่ า งประเทศไทย นอกจากนี้ ย ัง ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หาทางด้ า น
สิง่ แวดล้อ ม (Environmental Impact) ตามมาเนื่องจากผลของการใช้หรือ การเปลี่ยนรูปของ
พลังงาน (Energy Conversion)
แนวทางหนึ่งที่สามารถใช้ในการลดปริมาณความร้อนรับจากรังสีอาทิตย์ (Solar Heat
Gain) ที่เข้าสู่ตวั บ้าน เพื่อเพิม่ ภาวะความสบายให้กบั ผู้อยู่อาศัย และเป็ นการลดภาระการทา
ความเย็น (Cooling Load) ของเครื่อ งปรับ อากาศอีก ทางหนึ่ งด้ว ย นั น่ คือ การประยุ ก ต์ใ ช้
หลักการตัวเก็บรังสีอาทิตย์ (Solar Collector) กับกรอบของอาคารไม่ว่าจะเป็ นผนัง หรือหลังคา
ซึง่ จะทาให้การถ่ายเท ฟลักซ์ความร้อน (Heat Flux) จากกรอบอาคารเข้าสู่ตวั บ้านลดต่าลง อีก
ทัง้ ยังทาให้เกิดการระบายอากาศแบบธรรมชาติ (Natural Ventilation) ภายในบ้านพักอาศัยอีก
ด้วย โดยการออกแบบลักษณะของผนัง และหลังคาให้มลี กั ษณะการทางานเหมือ นกับตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์ กล่าวคือ ผนัง และหลังคา มีลกั ษณะเป็ นสองชัน้ (Double Layers) ชัน้ นอกจะทา
หน้าที่เป็ นตัวรับรังสีอาทิตย์ (Solar Absorber) ชัน้ ในจะทาหน้าที่เป็ นฉนวนเหมือนกับฉนวน
ของตัวเก็บรังสีอ าทิตย์ มีช่อ งว่างอากาศ (Air Gap) อยู่ตรงกลางเพื่อให้อากาศร้อ นสามารถ
เคลื่อนทีผ่ ่านช่องว่างอากาศโดยอาศัยผลของแรงลอยตัว (Bouyance Force) เนื่องจากผลต่าง
ของอุณหภูมิ (Stack Effect) การเคลื่อนทีข่ องอากาศทีอ่ ยู่ภายในช่องว่างอากาศจะเหนี่ยวนาให้
เกิดการถ่ายเทของอากาศภายหลังจากรังสีอาทิตย์ตกกระทบผนัง และหลังคา หรือกล่าวได้ว่า
เมื่อ รังสีอ าทิตย์ต กกระทบพื้นผิว ของผนัง และหลังคาที่ประยุกต์ใช้หลักการของตัวเก็บรังสี
อาทิตย์ ซึ่งจะทาให้อุณ หภูมผิ วิ สูงขึ้น อากาศภายในช่องว่างอากาศที่สมั ผัสกับผิวร้อนนี้จะมี
อุณ หภู มิสูงขึ้น ทาให้ค วามหนาแน่ น ของอากาศซึ่งแปรผกผัน กับอุณ หภู มิมีค่ าต่ าลง ดังนัน้
อากาศภายในช่องว่างอากาศจึงลอยตัวสูงขึ้น และไหลออกสู่ช่องทางออกที่ส่วนด้านนอกของ
ผนัง และหลังคา จึงก่อให้เกิดการเหนี่ยวนาอากาศภายในห้องที่มอี ุณหภูมติ ่ากว่า (แต่ถ้าไม่มี
การระบายอากาศจะเกิดการสะสมความร้อน) ไหลเข้าสู่ช่องว่างอากาศทางส่วนด้านในทัง้ ของ
133

ผนัง และหลังคา ดังนัน้ ตราบใดทีผ่ ลของแรงลอยตัวของอากาศภายในช่องว่างยังดาเนินอย่าง


ต่อ เนื่อง ก็จะทาให้เกิดการระบายอากาศแบบธรรมชาติ และจากผลลัพธ์น้ีจึงทาให้ปริมาณ
ความร้อ นที่ถ่ายเทผ่ านผนัง และหลังคา เนื่อ งจากอิทธิพลของรังสีอาทิตย์เข้าสู่ภายในบ้าน
ลดลงด้ว ย อากาศที่ระบายออกไปผ่ านช่อ งว่างอากาศจะพาความร้อ นส่ว นหนึ่งจากผิว ที่มี
อุณหภูมสิ งู ถ่ายเทออกไป จึงส่งผลให้ช่องว่างอากาศนี้ทาหน้าทีเ่ ป็ นฉนวนกันความร้อนทีจ่ ะเข้า
สู่อาคารอีกชัน้ หนึ่งด้วย และจากผลของการระบายอากาศแบบธรรมชาติภายในบ้านพักอาศัย
จึงทาให้ผู้ท่อี ยู่ภายในบ้านพักอาศัยรูส้ กึ สบาย เนื่องจากไม่มกี ารสะสมความร้อน และเกิดการ
แทนที่ของอากาศจากภายนอก ซึ่งเป็ นการระบายอากาศ เพื่อสุขภาพของผู้พกั อาศัยทางหนึ่ง
ด้วย รวมทัง้ ผลจากความเร็วของอากาศทีเ่ คลื่อนทีภ่ ายในบ้านจะเป็ นการช่วยเพิม่ สภาวะความ
สบายเชิงความร้อนอีกทางหนึ่งด้วย ดังจะเห็นได้จากผลงานวิจ ัยอย่างต่อเนื่องของศูนย์วจิ ยั
วิท ยาศาสตร์ด้านอาคาร มหาวิท ยาลัย เทคโนโลยีพ ระจอมเกล้าธนบุ รี ต่ อ ไปนี้ กล่ าวสรุป
โดยรวมการออกแบบกรอบอาคารให้มลี กั ษณะของตัวเก็บรังสีอาทิตย์สามารถทีจ่ ะลดความร้อน
ทีถ่ ่ายเทเข้าสูต่ วั บ้านได้

3.18.1 การประยุกต์ตวั เก็บรังสีอาทิ ตย์แบบแผ่นราบกับหลังคาบ้านพักอาศัย

การออกแบบหลัง คาโดยประยุ ก ต์ ห ลัก การของตัว เก็ บ รัง สีอ าทิ ต ย์ (Roof Solar
Collector) สามารถลดปริมาณความร้อนเนื่องจากรังสีอาทิต ย์ท่จี ะถ่ ายเทเข้าสู่บ้านพักอาศัย
และเป็ นการเพิม่ สภาวะความสบายแก่ผู้อยู่อาศัยอีกด้วย การประยุกต์ใช้หลักการของตัวเก็บ
รังสีอาทิตย์กบั หลังคา ซึ่งนอกจากจะทาให้ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมผ่านทางหลังคา (RTTV:
Roof Thermal Transfer Value) มีค่ าต่ าลงแล้วยังก่อให้เกิดการระบายอากาศแบบธรรมชาติ
(Natural Ventilation) อี ก ด้ ว ย จากที่ ก ล่ า วมาแล้ ว นั ้ น ได้ ท าการศึ ก ษ าวิ จ ัย และพั ฒ นา
(Research and Development) รูป แบบของหลังคากัน อย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดมา โดยเริ่ม จาก
หลังคารับรังสีอาทิต ย์ หลังคาแผ่ รงั สีค วามร้อน (Roof Radiator) การประยุกต์ใช้ระบบเซลล์
แสงอาทิต ย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหลังคารับรังสีอาทิตย์ (A PV System Enhanced the
Performance of Roof Solar Collector) หลังคาบรรยากาศชีวภาพ (Bio-Climatic Roof) ซึ่งใน
การศึกษาวิจยั (Research Design) นอกจากจะทาการออกแบบ และทาการศึกษาเชิงทดลอง
(Experimental Study) แล้ว ยัง ได้มีก ารพัฒ นาแบบจ าลองทางคณิ ต ศาสตร์ (Mathematical
Modeling) ของหลัง คาดัง กล่ า วควบคู่ กัน ไปด้ ว ยเพื่อ ศึก ษาและวิเ คราะห์ ถึ ง อิท ธิพ ลของ
พารามิเตอร์ต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง (Sensitivity Analysis) ดังจะได้นาเสนอต่อไปนี้
งานศึกษาวิจยั ทีป่ ระยุกต์ใช้หลักการตัวเก็บรังสีอาทิตย์กบั หลังคาบ้านพักอาศัยเริม่ จาก
Bunnag (1995) โดยทาการศึกษาประสิทธิภาพของการระบายความร้อนผ่ านทางหลังคารับ
รังสีอาทิตย์ โดยการสร้างหลังคาทีม่ ลี กั ษณะเป็ นหลังคา 2 ชัน้ ดังรูปที่ 3.18.1 ซึ่งประกอบด้วย
134

กระเบื้องมุงหลังคาด้านบน ช่องว่างอากาศ และแผ่นฝ้ าเพดานด้านล่างวางตัวในแนวเดียวกัน


โดยกระเบื้องมุงหลังคาด้านบนใช้วสั ดุในการทดสอบ 3 ชนิดด้วยกัน กล่าวคือ กระเบื้องซีแพค
โมเนีย (CPAC Monia Tiles) แผ่นกระเบื้องลอนคู่แอสเบสทอส (Asbestos Undulating Sheet)
และสังกะสี (Small Undulating Zinc Sheet) ส่วนแผ่นฝ้ าเพดานด้านล่างใช้วสั ดุในการทดสอบ
2 ชนิด คือ แผ่นยิปซัม่ (Gypsum Board) และแผ่ นไม้อดั โดยมีการใช้แผ่ นอลู มเิ นี ยมฟอยล์
(Aluminum Foil) ติดที่ผ ิว ด้านที่ส ัมผัส กับช่ อ งว่างอากาศ ซึ่งจะมีก ารติด ตัง้ สลับ กันระหว่าง
หลังคาด้านบน และแผ่นฝ้ าด้านล่างทาให้ได้ลกั ษณะของหลังคาที่แตกต่างกันทัง้ หมด 6 แบบ
จากผลการทดลองพบว่ารูปแบบของวัสดุท่เี หมาะสมในการใช้สร้างหลังคารับรังสีอาทิตย์ คื อ
กระบื้องมุงหลังคาด้านบนเป็ นกระเบื้อ งซีแพคโมเนียสีเข้ม แผ่ นปิ ดด้านล่างเป็ นแผ่นยิปซัม่
นอกจากนัน้ ยังพบอีกว่ามุมเอียงของหลังคาก็มอี ทิ ธิพลต่อผลของการระบายอากาศ ค่าของมุม
เอียงที่ดที ่สี ุด คือ 15๐ แต่ในความเป็ นจริง ถ้าใช้มุมเอียงที่ค่านี้จะทาให้หลังคามีรูปทรงที่ ป้าน
ใหญ่ และมีมุมจัวบนกว้่ างมากผิดลักษณะบ้านโดยทัวไป ่ ดังนัน้ การติดตัง้ ทีม่ ุมเอียง 25๐ - 30๐
ก็สามารถสร้างการระบายอากาศได้ดี ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนต่ากว่าที่มุมเอียง
15๐ แต่เมื่อพิจารณาถึงหลายๆ องค์ประกอบแล้วที่มุมเอียง 30๐ มีความเหมาะสมที่สุด และใน
การทดลองนี้ยงั ได้บ่งชี้อกี ว่าช่องว่างอากาศทีม่ คี วามเหมาะสมนัน้ มีขนาดอยู่ท่ี 8-15 cm ซึ่งจะ
ทาให้ได้อตั ราการระบายอากาศ 0.19 - 0.25 m3.s-1 [Khedari et al. (1996, 1997 b)]

รูปที่ 3.18.1 หลังคารับรังสีอาทิตย์ [Khedari et al (1997 b)]

ต่อมา Hirunlabh et al. (1997) ได้พฒ ั นาแบบจาลองทางคณิ ต ศาสตร์ เพื่อใช้ในการ


คานวณและออกแบบหลังคารับรังสีอาทิตย์ โดยใช้หลังคาทีป่ ระกอบด้วยกระเบือ้ งซีแพคโมเนีย
ติด ตัง้ อยู่ด้านบน และแผ่ น ยิป ซัม่ ติด ตัง้ อยู่ด้านล่ าง มีช่ อ งว่ างอากาศอยู่ต รงกลาง โดยใช้
หลักการถ่ายเทความร้อนแบบหนึ่ งมิติในสภาวะคงที่ (One Dimensional Steady State Heat
135

Transfer) จากการวิเคราะห์พ ารามิเตอร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (Sensitivity Analysis) เพื่อ หาค่ า


สัม ประสิท ธิก์ ารพาความร้อ นที่เ หมาะสมของระบบ ท าให้ ส ามารถสร้า งแบบจ าลองทาง
คณิตศาสตร์ทส่ี ามารถทานายพฤติกรรมของหลังคารับรังสีอาทิตย์ทม่ี คี วามใกล้เคียงกับผลการ
ทดลองที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน Wachirapuwadon et al. (1997) ได้พฒ ั นาแบบจาลองทาง
คณิตศาสตร์ของหลังคารับรังสีอาทิตย์และศึกษาถึงอิทธิพลของค่าความจุความร้อนของวัสดุท่ี
ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็ นกระเบือ้ งมุงหลังคาซีแพคโมเนียและแผ่นยิปซัม่ ซึ่งผลจาก
แบบจาลองทางคณิตศาสตร์แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลของค่าความจุความร้อนของวัสดุมผี ลน้อย
มาก ดังนัน้ ในการพัฒนาแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ของหลังคารับรังสีอาทิตย์ จึงอาจจะไม่
พิจารณาผลของค่าความจุความร้อนของวัสดุได้ จากการศึกษาที่ผ่านมาดังกล่าวยังพบอีกว่า
สัดส่วน และเงื่อนไขการทางานที่เหมาะสมของหลังคารับรังสีอาทิตย์ คือ มุมเอียงของหลังคา
ควรจะอยู่ระหว่าง 20๐ - 60๐ ความยาวทีเ่ หมาะสมควรจะอยู่ในช่วง 100 - 200 cm ถึงแม้ว่าจะ
ได้มกี ารศึกษา และออกแบบหลังคารับรังสีอาทิตย์ให้มคี วามเหมาะสมมากทีส่ ุดแล้วก็ตามแต่ก็
ยังไม่มกี ารศึกษาถึงประสิทธิภาพเชิงความร้อนอย่างจริงจังจนกระทัง่ Chaima (1997) ได้ทา
การหาประสิทธิภาพเชิงความร้อนของหลังคารับรังสีอาทิตย์ ซึ่งประกอบด้วย กระเบื้องซีแพค
โมเนีย ช่องว่างอากาศ และแผ่นยิปซัม่ โดยแบ่งหลังคาออกเป็ น 2 ชุด ชุดแรกมีขนาดช่องว่าง
อากาศ 8 cm และชุ ดที่ส องมีขนาดช่อ งว่างอากาศ 14 cm กาหนดให้มีมุม เอียงของหลังคา
เท่ากัน คือ 25๐ จากการทดลองพบว่า หลังคาทีม่ ชี ่องว่างอากาศ 14 cm จะให้อตั ราการระบาย
อากาศที่ม ากกว่ า หลัง คาที่ มีช่ อ งว่ า งอากาศ 8 cm และยัง ได้ มีก ารสร้า งแบบจ าลองทาง
คณิตศาสตร์โดยใช้หลักการถ่ายเทความร้อนแบบหนึ่งมิติ ในภาวะไม่สม่าเสมอ และแก้ปัญหา
ของการถ่ายเทความร้อนด้วยวิธไี ฟไนท์ดฟิ เฟอร์เรนซ์ แบบเอ็กซ์พลิซทิ (The Explicit Method
of Finite-Difference) ผลที่ได้จากแบบจาลองทางคณิ ต ศาสตร์ให้ค่ าใกล้เคียงกับการทดลอง
และจากแบบจาลองทางคณิ ตศาสตร์ทาให้ทราบเงื่อนไขในการสร้างหลังคารับรังสีอาทิตย์ท่ี
เหมาะสม กล่ าวคือ หลังคาควรทามุมเอียง 20๐ - 45๐ โดยมีค วามยาวอยู่ในช่ว ง 100 - 130
และช่ อ งว่ า งอากาศควรมีค วามกว้ า ง 10 - 14 cm [Khedari et al. (1997 a)] นอกจากนั ้น
Wachirapuwadon (1996) และ Hirunlabh et al. (2000) ยังได้ ท าการศึก ษาถึงลัก ษณะการ
ติดตัง้ หลังคาในลักษณะต่างๆ 4 ลักษณะด้วยกัน คือ ลักษณะที่ 1 หลังคาเป็ นแผ่นเรียบแผ่น
เดียววางที่มุมเอียง 30๐ ลัก ษณะที่ 2 หลังคาจะเป็ นแผ่นสัน้ วางซ้อนเหลื่อ มกันให้มีช่อ งว่าง
อากาศ วางทีม่ ุมเอียง 30๐ ลักษณะที่ 3 จะแบ่งหลังคาเป็ นสองส่วน ส่วนล่าง (อยู่ใกล้ฝ้าเพดาน)
วางที่มุมเอียง 30๐ ส่วนบนวางซ้อนเหลื่อมกันที่ 60๐ ลักษณะที่ 4 จะแบ่งหลังคาเป็ นสามส่วน
ส่วนที่ห นึ่ งวางที่มุม เอียง 30๐ ส่ว นที่ส องวางซ้อ นเหลื่อ มกันที่ 45๐ และส่วนที่ส ามวางซ้อ น
เหลื่อมกันที่ 60๐ การติดตัง้ ลักษณะนี้คล้ายกับหลังคาบ้านทรงไทย ซึ่งจากการศึกษาโดยใช้
แบบจาลองทางคณิตศาสตร์ทส่ี ร้างขึน้ ประมาณค่าการระบายอากาศพบว่า หลังคาในลักษณะที่
136

4 จะให้การระบายอากาศทีด่ ที ส่ี ุด ผลทีไ่ ด้น้ีสอดคล้องกับลักษณะของบ้านทรงไทย ทีม่ ลี กั ษณะ


เย็นสบาย และมีการระบายอากาศทีด่ ี
จากผลการศึกษาวิจยั ดังกล่าวข้างต้น ได้ นาไปสู่การสร้างแบบจาลองของบ้านจริง ณ
ชัน้ ดาดฟ้ าอาคารคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดังรูปที่
3.18.2 มีขนาดกว้าง 3.35 m ยาว 3.45 m สูง 2.0 cm ได้มกี ารสร้างหลังคารับรังสีอาทิตย์ข้นึ
เพื่อศึกษาการทางานในสภาวะจริงโดย Khedari et al. (2000 b) ในการศึกษานี้ได้มุ่งศึกษา
อิทธิพลขนาดของช่องเปิ ด (Opening) ทีม่ ผี ลต่ออัตราการระบายอากาศ โดยทาการปรับเปลีย่ น
ขนาดของช่ อ งเปิ ดขนาดต่ า งๆ กั น ผลปรากฏว่ า ช่ อ งเปิ ดที่ มี ข นาดเป็ นครึ่ง หนึ่ ง ของ
พืน้ ทีห่ น้าตัดของตัวรับรังสีอาทิตย์จะมีอตั ราการระบายอากาศสูงทีส่ ุด

รูปที่ 3.18.2 บ้านพลังงานแสงอาทิตย์

Waewsak et al. (2000) ได้ศกึ ษา และออกแบบหลังคาบรรยากาศชีวภาพ โดยมุ่งเน้น


การออกแบบหลังคาทีม่ คี วามเหมาะสมกับสภาพภูมอิ ากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย การที่
จะสามารถออกแบบกรอบอาคารให้มลี กั ษณะผสมผสานกลมกลืนกับสภาพภูมอิ ากาศได้เป็ น
อย่างดีนัน้ ผู้ออกแบบเองควรที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจลักษณะสภาพภูมิอากาศเสียเป็ น
อย่างดีก่อน ดังนัน้ จึงได้มกี ารศึกษาลักษณะของภูมอิ ากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย โดย
Khedari et al. (2001a) ในการศึกษาลักษณะสภาพภูมิอากาศได้ทาการแบ่งโซนภูมิอ ากาศ
ออกเป็ นโซนต่างๆ (Climatic Zone) ที่มีลกั ษณะคล้ายๆ กันโดยใช้ข้อมูล อุตุนิยมวิทยาดังนี้
อุณ หภูมอิ ากาศแวดล้อมและความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งผลของโซนภูมอิ ากาศดังรูปที่ 3.18.3 จะมี
ความสาคัญต่อการออกแบบกรอบอาคารเป็ นอย่างมาก
137

รูปที่ 3.18.3 โซนภูมอิ ากาศของประเทศไทย [Khedari et al. (2001 a)]

นอกจากนี้ยงั ได้มกี ารศึกษาถึงวิธกี ารต่างๆ ทีจ่ ะสามารถเพิม่ สภาวะความสบายแก่ผอู้ ยู่


อาศัยโดยวิธธี รรมชาติไม่ว่าจะเป็ นการทาความเย็นแบบระเหย (Evaporative Cooling) การทา
ความเย็นโดยการใช้อุณหภูมใิ ต้ผวิ ดิน (Ground Cooling) การทาความเย็นโดยการแผ่รงั สีใน
เวลากลางคืน (Night Radiation Cooling) รวมทั ง้ การระบายอากาศแบบธรรมชาติ ด้ ว ย
(Natural Ventilation) อย่างไรก็ตามการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติ (Daylighting) ก็เป็ นอีก
แนวทางหนึ่งในการประหยัดพลังงาน นอกจากจะใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติแล้วยังสามารถ
เพิม่ ประสิทธิภาพการระบายอากาศอีกด้วย จากผลการศึกษาทางด้า นสภาพภูมอิ ากาศรวมทัง้
เทคนิคต่างๆ แล้วปรากฏว่าการระบายอากาศเป็ นวิธกี ารที่เหมาะสมในการเพิม่ สภาวะความ
สบายแก่ ผู้อ ยู่อ าศัยมากที่สุ ด และประหยัด พลังงานมากที่สุ ด ด้ว ย ดังนัน้ จึงได้มีการพัฒ นา
แผนภูมคิ วามสบายโดยการระบายอากาศสาหรับประเทศไทย (Thailand Ventilation Comfort
Chart) ขึน้ มาดังรูปที่ 3.18.4 โดย Khedari et al. (2000 d)

100
Air velocity (m/s)
90
Relative humidity

0.2 0.5 1 1.5 2 3

80

70

60

50

40
26 28 30 32 34 36 38
Dry bulb temperature ( oC)
138

รูปที่ 3.18.4 แผนภูมคิ วามสบายโดยการระบายอากาศสาหรับประเทศไทย


[Khedari et al. (2000 d)]

ซึ่งจากที่กล่าวมาทัง้ หมดจะเห็นได้ว่าศาสตร์ทางด้านการออกแบบกรอบอาคารให้มี
ความเหมาะสมกับสภาพภูมิอ ากาศนัน้ เกี่ยวข้อ งกับ ศาสตร์แขนงอื่น ๆ หลายแขนงด้วยกัน
ดังนัน้ วัตถุประสงค์ของการออกแบบหลังคาบรรยากาศชีวภาพ เพื่อให้หลังคาดังกล่าวทาหน้าที่
3 ประการดังต่อไปนี้ ลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสูอ่ าคาร เหนี่ยวนาให้เกิดการระบายอากาศใน
อัตราทีส่ ูง และให้ความสว่างโดยใช้แสงธรรมชาติ หลังคาบรรยากาศชีวภาพประกอบด้วยส่วน
ของกระเบื้องมุงหลังคา ช่องว่างอากาศ และฝ้ าเพดาน หลังคาบรรยากาศชีวภาพมุงด้วยแผ่น
กระเบื้องมุงหลังคาซีแพคโมเนียร่วมกับแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาแบบใส ส่วนของฝ้ าเพดานใช้
แผ่ นยิปซัม่ ชนิดบุฟ อยด์ร่ว มกับแผ่นกรองแสง ดังรูปที่ 3.18.5 หลังคาบรรยากาศชีวภาพมี
หน้าที่สาคัญในการทางานอยู่ 2 ประการด้วยกันกล่าวคือ ในเวลากลางวันหลังคาบรรยากาศ
ชีวภาพทาหน้าทีเ่ ป็ นปล่องรังสีอาทิตย์เหนี่ยวนาให้เกิดการระบายอากาศแบบธรรมชาติ ซึ่งจะ
ช่วยลดค่าความร้อนทีถ่ ่ายเทเข้าสูอ่ าคาร การใช้กระเบือ้ งมุงหลังคาแบบใส นอกจากจะให้ความ
สว่างทีเ่ พียงพอต่อความต้องการสาหรับบ้านพักอาศัยแล้ว ยังช่วยเพิม่ อัตราการระบายอากาศ
อีกด้วย สาหรับในเวลากลางคืนหลังคาบรรยากาศชีวภาพทาหน้าที่เป็ นหลังคาแผ่รงั สี เพื่อแผ่
รังสีความร้อนสู่ครึง่ ทรงกลมท้องฟ้ าทาให้อุณหภูมผิ วิ ของหลังคาลดลงต่ากว่าอุณหภูมอิ ากาศ
แวดล้อม ดังนัน้ อากาศทีอ่ ยู่ในช่องว่างของหลังคาจะอุณหภูมลิ ดลง และเคลื่อนทีล่ งมาก่อให้เกิด
การทาความเย็นในเวลากลางคืน
139

รูปที่ 3.18.5 หลังคาบรรยากาศชีวภาพสาหรับประเทศไทย

ในการออกแบบได้คานวณหาขนาดความยาวที่เหมาะสมของแผ่นยิปซัมชนิ ่ ดบุฟอยด์
โดยใช้หลักทางเรขาคณิตระหว่างมุมของลาแสงอาทิตย์ และมุมต่างๆ ทีส่ มั พันธ์กนั ของหลังคา
จึงทาให้ไม่มแี สงอาทิตย์ส่องผ่านแผ่นกรองแสงโดยตรง สมการทีไ่ ด้จากการพิสจู น์โดยหลักทาง
เรขาคณิ ต นัน้ สามารถนาไปค านวณหาขนาดความยาวของแผ่ นยิปซัม่ บุฟ อยด์ได้ในกรณี ท่ี
หลังคาหันหน้าไปในทิศทางใดๆ
ในการทดสอบประสิทธิภาพของหลังคาบรรยากาศชีวภาพโดยทดลองเปรียบเทียบกับ
หลังคารับรังสีอาทิตย์ ในการทดสอบได้ทาการทดลองในสภาพภูมอิ ากาศทีแ่ ตกต่างกันกล่าวคือ
ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม) และช่วงฤดูรอ้ น (มีนาคมถึงเมษายน) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า
อุณหภูมหิ อ้ งใต้หลังคาบรรยากาศชีวภาพมีค่าต่ากว่าอุณหภูมหิ อ้ งใต้หลังคารับรังสีอาทิตย์และ
มีค่าใกล้เคียงกับอุณหภูมอิ ากาศแวดล้อม ค่าความสว่างภายในห้องมีค่าประมาณ 150 lux ใน
ฤดูหนาวและ 300 lux ในฤดูรอ้ น อัตราการะบายอากาศทีถ่ ูกเหนี่ยวนาโดยหลังคาบรรยากาศ
ชีวภาพและการแลกเปลีย่ นอากาศซึง่ สัมพันธ์กนั นัน้ มีค่าประมาณ 200 cm3.h-1 และ 8 เท่าของ
ปริมาตรห้องในฤดูหนาว และมีค่าประมาณ 300 cm3.h-1 และ 12 เท่าของปริมาตรห้องในฤดู
ร้อนตามลาดับ นอกจากนัน้ ผลการทดลองยังบ่งชีว้ ่าการใช้ป ระโยชน์จากแสงธรรมชาติผ่านทาง
140

หลังคาบรรยากาศชีวภาพนัน้ ไม่ก่อให้เกิดความร้อนที่สูงจนเกินไปนักเนื่องจากในทางปฏิบตั ิ
นัน้ อุณหภูมหิ อ้ งมีค่าต่ากว่าและใกล้เคียงอุณหภูมอิ ากาศแวดล้อมเสมอ
นอกจากนี้ยงั ได้พฒ ั นาแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ซ่งึ มีสมมุตฐิ านที่สาคัญคือ ความ
ร้อนถ่ายเทในลักษณะ 2 มิตแิ บบสถานะคงที่ แบบจาลองดังกล่าวสามารถทานายค่ารายชัวโมง ่
ของค่าความสว่างภายในห้อง อัตราการไหลเชิงปริมาตรและอุณหภูมทิ ่จี ุดต่าง ๆ ของหลังคา
บรรยากาศ ชีว ภาพ อิน พุ ท ของแบบจ าลองทางคณิ ต ศาสตร์ด ัง กล่ า วประกอบไปด้ ว ย
พารามิเตอร์ทางด้านภูมอิ ากาศไม่ว่าจะเป็ นค่าความเข้มรังสีอาทิตย์บนพืน้ เอียงรวมถึงค่าความ
สว่างภายนอกอาคาร อุณ หภูมิอากาศแวดล้อ มและอุณ หภู มทิ ้องฟ้ าและความเร็ว ลมผิวพื้น
ภายนอกอาคาร ผลจากแบบจาลองทางคณิตศาสตร์มคี ่าใกล้เคียงกับผลจากการทดลอง ดังนัน้
แบบจาลองนี้ส ามารถนาไปใช้ในการประมาณค่ าสมรรถนะระยะยาวของหลั งคาบรรยากาศ
ชีวภาพได้
ถึงแม้ว่าจะได้มกี ารพยายามออกแบบหลังคาให้มคี วามเหมาะสมกับสภาพภูมอิ ากาศ
แต่ อ ย่ า งไรก็ ต ามอัต ราการะบายอากาศยัง มีค่ า ไม่ สู ง มากนั ก เมื่อ เปรีย บเทีย บกับ การใช้
เครื่อ งจัก รกล อย่างเช่น พัดลม ดังนัน้ จึงได้มแี นวความคิดที่จะใช้เซลล์แสงอาทิต ย์เพื่อเป็ น
แหล่งต้นกาเนิดพลังงานให้กบั พัดลมไฟฟ้ ากระแสตรงเพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพการระบายอากาศ
โดย สหรัฐ อิงคะวณิช (2542) แนวความคิดดังกล่าวตอบสนองต่อความจริงทีว่ ่าในวันทีส่ ภาพ
ภูมอิ ากาศร้อนจัดหรือมีค่าความเข้มรังสีอาทิตย์สูงค่าพลังงานไฟฟ้ าทีไ่ ด้จากเซลล์แสงอาทิตย์ก็
จะมีค่ ามากด้ว ย ดังนัน้ อัต ราการระบายอากาศก็จะมีค่ าเพิ่มขึ้น ตามไปด้ว ยซึ่งเป็ นการเพิ่ม
สภาวะความสบายเชิงความร้อนของผูอ้ ยู่อาศัยไปในตัว [Khedari et al. (2002)]

3.18.2 การประยุกต์ตวั เก็บรังสีอาทิ ตย์แบบแผ่นราบกับผนังบ้านพักอาศัย

นอกจากการประยุกต์ใช้กบั หลังคาเพื่อการระบายอากาศแล้ว ยังได้มกี ารศึกษาการ


ประยุกต์ใช้กบั ผนังของบ้านเพื่อการระบายอากาศอีกด้วย ซึ่งมีหลักการทางานเช่นเดียวกัน
โดยใช้ผนังทางด้านใต้ของแบบจาลองของบ้านดังกล่าวข้างต้น โดยแบ่งออกเป็ น 3 ส่วน เพื่อ
การศึกษาถึงลักษณะการประยุกต์การใช้งานทัง้ 3 แบบดังนี้
Kongduang (1997) ได้ ศึก ษาการใช้ ผ นั ง Metallic Solar Wall (MSW) ซึ่ ง ผนั ง นี้ จ ะ
ประกอบไปด้วย กระจก ช่องว่างอากาศ แผ่นสังกะสีดา และฉนวนใยแก้วปิ ดด้วยกระดานอัด
โดยมีการศึกษาถึงผลของความสูงของผนังทีแ่ ตกต่างกัน ระหว่างทีค่ วามสูง 1 m กับ 2 m และ
ผลของขนาดช่องว่างอากาศตัง้ แต่ 10, 11.5, 13 และ 14.5 cm จากการทดลองพบว่า ที่ความ
สูงผนัง 2 m และขนาดช่องว่างอากาศ 14.5 cm จะให้อตั ราการระบายอากาศสูงทีส่ ุด อยู่ในช่วง
0.01-0.02 kg.s-1 แต่ถ้าคิดอัตราการไหลต่อพื้นที่พบว่าการใช้ผนังที่มคี วามสูง 1 m สองชุดจะ
ทาให้ได้อตั ราการระบายอากาศที่สูง กว่าการใช้ผนังที่มีความสูง 2 m ชุดเดียว และได้มกี าร
141

สร้างแบบจ าลองเชิง คณิ ต ศาสตร์โดยใช้ห ลัก การถ่ ายเทความร้อ นแบบหนึ่ งมิติใ นสภาวะ
สม่ าเสมอ และทาการหาค าตอบของสมการโดยใช้วธิ ีนิวตันราฟสัน (Newton-Raphson) ซึ่ง
ให้ผลทีใ่ กล้เคียงกับผลการทดลอง [Hirunlabh et al. (1999)]
Kaewruang (1997) ได้ศกึ ษาการนาผนัง Trombe Wall มาใช้ระบายอากาศโดยผนังนี้
ประกอบด้วยกระจก ช่องว่างอากาศ ผนังก่ออิฐฉาบปูนทาด้วยสีดาหนา 8 cm และฉนวนใย
แก้วปิ ดด้วยกระดานอัดดังรูปที่ 3.18.6 ได้มกี ารศึกษาถึงตัวแปรต่างๆ เช่นเดียวกับกรณีผนัง
MSW พบว่ า มีผ ลการทดลองที่ ได้ส อดคล้อ งกัน คือ ผนั ง ที่มีค วามสูง 2 m และขนาดของ
ช่องว่างอากาศ 14.5 cm จะให้อตั ราการระบายอากาศสูงสุดโดยมีอตั ราการระบายอากาศ 0.01
- 0.015 kg.s-1 และจะให้อตั ราการระบายอากาศมากกว่าผนังที่มชี ่องว่างอากาศขนาด 10 cm
อยู่ป ระมาณ 5 - 30 % นอกจากนี้ ยังพบอีก ว่าหลังจาก 4 โมงเย็น แล้ว ความเข้ม ของรังสี
อาทิต ย์ล ดลง แต่ย ังมีก ารระบายอากาศอย่างต่ อ เนื่ อ ง ทัง้ นี้ เนื่ อ งมาจากผนังก่ อ อิฐฉาบปูน
สามารถกักเก็บความร้อนไว้ได้นาน แบบจาลองทางคณิตศาสตร์ท่สี ร้างขึ้นใช้หลักการถ่ายเท
ความร้อนแบบหนึ่งมิติ ในสภาวะไม่สม่าเสมอ และได้ใช้การแก้ปัญ หาของการถ่ายเทความร้อน
ด้วยวิธนี ิวตันราฟสัน ซึง่ ให้ผลทีใ่ กล้เคียงกับผลของการทดลอง [Khedari et al. (1999)]

รูปที่ 3.18.6 ผนัง Trombe Wall

เจริญพร เลิศสถิตธนกร (2540) ได้ศกึ ษาการประยุกต์ผนังก่ออิฐฉาบปูนเพือ่ การระบาย


อากาศโดยมีลกั ษณะเป็ นผนัง Trombe Wall แบบปรับปรุง (Modified Trombe Wall, MTW)
ดังรูปที่ 3.18.7 ซึ่งผนังนี้ประกอบด้วยผนังก่ออิฐฉาบปูนทาสีดาหนา 7 cm ช่องว่างอากาศ และ
แผ่ น ยิป ซัม ซึ่งส่ว นประกอบต่ างๆ เหล่ านี้ เป็ น วัส ดุโครงสร้างที่ใช้ข องบ้านโดยทัว่ ไป ได้มี
142

การศึกษาถึงตัวแปรต่าง ๆ คือ ผลของขนาดช่องว่างอากาศ และผลของสีทท่ี าผนังก่ออิฐฉาบ


ปูน จากการทดลองพบว่า ผนังทีม่ ขี นาดช่องว่างอากาศ 14 cm จะให้อตั ราการระบายอากาศสูง
กว่าผนังทีม่ ขี นาดช่องว่างอากาศ 10 cm ประมาณ 10-15 % และผนังสีโทนมืดจะให้อตั ราการ
ระบายอากาศมากกว่าผนังสีโทนสว่าง โดยผนังทีม่ ชี ่องว่างอากาศ 14 cm และมีสโี ทนมืด จะให้
อัตราการระบายอากาศ 0.006 - 0.023 m3.s-1 ส่วนผนังที่มชี ่องว่างอากาศเท่ากัน แต่มสี โี ทน
สว่าง จะให้อตั ราการระบายอากาศ 0.004 - 0.019 m3.s-1 นอกจากผลของการระบายอากาศ
แล้ว ยังพบอีกว่าผนังนี้จะมีผลเป็ นเสมือนฉนวนป้ องกันความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ภายใน
อาคารได้เป็ นอย่างดี และได้มกี ารพัฒนาแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ของ Chaima (1997) มา
ประยุกต์ใช้กบั ผนัง MTW ผลทีไ่ ด้สามารถนาแบบจาลองทางคณิตศาสตร์มาทานายสภาวะการ
ทางานของระบบได้ [Khedari et al. (1998)]

รูปที่ 3.18.7 ผนัง Trombe Wall แบบปรับปรุง

Pongsatirat (2000) ได้ทาการศึกษาถึงวิธีการน าพลังงานแสงอาทิต ย์และแสงสว่าง


ธรรมชาติม าใช้ป ระโยชน์ ภ ายในอาคาร (Partially-Glazed Solar Chimney Wall: PGSCW)
โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย ผนังก่ออิฐฉาบปูนร่วมกับวัสดุโปร่งใสเป็ นผนังด้านนอก ช่องว่าง
อากาศ ผนังยิปซัมชนิ
่ ดอลูมนิ มั ่ ฟอยล์ ทางด้านบนของผนังยิปซัมมี
่ แผ่นอะครีลคิ ติดตัง้ อยู่ดงั รูป
ที่ 3.18.8 ในการทดลองได้ศกึ ษาถึงอิทธิพลของวัสดุโปร่งใสทีแ่ ตกต่างกัน 2 ชนิดคือ บล็อคแก้ว
143

และบล็อคกระจก 2 ชัน้ จากการศึกษาพบว่าบล็อคแก้วให้อตั ราการระบายอากาศและแสงสว่าง


ที่สูงกว่าการใช้บล็อคกระจก 2 ชัน้ โดยมีอตั ราการระบายอากาศและแสงสว่างอยู่ในช่วง 60 -
80 m3.h-1 และ 350 - 550 lux ตามล าดับ นอกเหนื อ จากการน าแสงธรรมชาติ ม าใช้ จ าก
ทางด้านผนังอาคารแล้วยังได้มกี ารศึกษาถึงในส่วนของหลังคา

รูปที่ 3.18.8 การทดสอบการใช้แสงธรรมชาติในบ้านพักอาศัย

ส่วนการศึกษาอิทธิพลของช่องเปิ ดเช่น ประตู หน้าต่าง และช่องทางเข้าของปล่องรังสี


อาทิตย์ท่มี ตี ่ออัตราการเหนี่ยวนาการถ่ายเทอากาศภายในบ้านจาลอง พบว่าสามารถลดความ
แตกต่างระหว่างอุณ หภูมภิ ายในบ้านกับอุณหภูมอิ ากาศแวดล้อมลงประมาณ 2 - 4 ๐C และ
เหนี่ยวนาให้เกิดอัต ราการถ่ ายเทอากาศประมาณ 15 เท่าของปริมาตรบ้านต่อชัวโมง ่ เมื่อ
พิจารณาหน้ าต่างเป็ นช่องเปิ ด ควรใช้ทางเข้าของปล่องรังสีอาทิตย์ของผนังที่ระดับ 0.04 m
จากพื้นบ้าน และถ้าใช้ส่วนบนของประตูเป็ นช่องเปิ ด ควรใช้ช่องทางเข้าของปล่องรังสีอาทิตย์
ของผนั งที่ร ะดับ 1 m จากพื้น บ้า น และได้ส ร้า งแบบจ าลองทางคณิ ต ศาสตร์ เพื่อ ท านาย
อุณหภูมขิ องผนัง และการระบายอากาศ โดยนาค่าอุณหภูมสิ งิ่ แวดล้อมกับค่าความเข้มของรังสี
อาทิตย์มาใส่ในแบบจาลองทางคณิตศาสตร์ ผลการทานายพบว่า แนวโน้มเป็ นไปตามผลการ
ทดลอง และสามารถใช้ในการประเมินสมรรถนะทีส่ ภาวะสิง่ แวดล้อมต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยงั ได้
ทดสอบอิทธิพลของปล่องรังสีอาทิตย์ต่อการลดภาระการทาความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
144

โดย ชาญนรินทร์ เชยอักษร (2542) โดยในการศึกษาครัง้ นัน้ ผลปรากฏว่าการออกแบบกรอบ


อาคารให้ มี ล ั ก ษ ณ ะของปล่ อ งรั ง สี อ าทิ ต ย์ ส ามารถลดภ าระการท าความเย็ น ขอ ง
เครื่องปรับอากาศได้ประมาณ 30 - 40 % ขึ้นอยู่กบั สภาพภูมอิ ากาศแวดล้อม ต่อมา นินนาท
ราชประดิษฐ์ (2543) ทาการศึกษาการใช้ผนังปล่องรังสีอาทิตย์ร่วมกับเครื่องปรับอากาศ ผล
การทดลองชี้ ช ั ด ว่ า ผนั ง ปล่ อ งรัง สี อ าทิ ต ย์ น อกจากจะลดภาระการท าความเย็ น ของ
เครื่องปรับอากาศแล้วยังสามารถช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้ า ได้ถึง 7 – 15 % ขึ้นกับสภาพ
ภูมอิ ากาศในแต่ละวัน
Hirunlabh et al. (2001) ได้ออกแบบเครื่อ งทาน้ าร้อ นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อ ย่าง
ง่ายสาหรับประเทศไทย ซึ่งการทาน้ าร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เป็ นรูปแบบหนึ่งที่มกี ารใช้
กัน อย่ างแพร่ห ลายในต่ างประเทศ แต่ ส าหรับ ประเทศไทยระบบท าน้ า ร้อ นด้ว ยพลัง งาน
แสงอาทิตย์ ยังมีการใช้งานไม่แพร่หลายเนื่องจากมีราคาแพง ดังนัน้ การศึกษาศักยภาพ และ
การประยุก ต์ใช้ให้เหมาะสมกับ ประเทศไทยจึงเป็ น สิ่งจาเป็ น อย่างยิ่ง เพื่อ การพัฒ นา และ
ส่งเสริมระบบทาน้าร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ให้มตี ้นทุนการผลิตต่าและสามารถสร้ างใช้เอง
ได้ โดยใช้วสั ดุทท่ี าจากท่อพลาสติกพีวซี ี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.0 cm จานวน 13 ท่อ และ
ขนาดความกว้าง และยาวของแผงรับรังสีอาทิตย์ 136.0  150.0 cm2 เพื่อ ลดต้นทุนในการ
ผลิต และเป็ นทางเลือกใหม่ทดแทนเครื่องทาน้ าร้อนที่ผลิตขึ้นมาในประเทศไทยที่มรี าคาสูง
เนื่ อ งจากต้น ทุ น การผลิต ดังนัน้ จึงมีแนวคิดในการออกแบบเครื่อ งท าน้ าร้อ นด้ว ยพลังงาน
แสงอาทิตย์อย่างง่าย (Low Cost Solar Water Heater, LC-SWH) ที่มรี าคาประหยัดเพื่อใช้ใน
บ้านพักอาศัยทัวไปที ่ ่ทุก คนสามารถสร้างขึ้นเองได้ ให้อุณ หภูมิน้ าร้อนพอเหมาะ เนื่องจาก
โดยทัวไปเครื
่ ่องทาน้ าร้อนที่ผลิตขายส่วนใหญ่จะได้อุณหภูมสิ ูงเกินความต้องการ นอกจากนี้
การใช้เครื่องทาน้ าร้อนแบบที่พ ฒ ั นาขึ้นนี้ยงั สามารถช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้ าจากการใช้
เครื่องทาน้ าร้อนพลังงานไฟฟ้ าและยังช่วยส่งเสริมให้มกี ารผลิตขึน้ ใช้ได้เองให้เป็ นทีแ่ พร่หลาย
ต่อไป สาหรับหลัก การพื้นฐานของเครื่องทาน้ าร้อ นด้วยพลังงานแสงอาทิต ย์อย่างง่าย (LC-
SWH) ดังรูปที่ 3.18.9 คือ นาท่อพลาสติกพีวซี ี ทาหน้าที่เป็ นท่อน้ าร้อนและตัวรับรังสีอาทิตย์
โดยตรง โดยทาสีดาทีท่ ่อเพื่อให้มคี ่าการดูดกลืนรังสีสงู ขึน้ โดยจะทาการรวมแผงรับรังสีอาทิตย์
และถังสะสมความร้อนเอาไว้เป็ นชุดเดียว เมื่อผนังท่อได้รบั ความร้อนจากการแผ่รงั สีอาทิตย์ก็
จะถ่ ายเทความร้อนไปยังของไหล (น้ า) ที่อ ยู่ภายในท่อ เมื่อน้ าได้รบั ความร้อ นจะทาให้เกิด
ความแตกต่างของความหนาแน่ น น้ าร้อนซึ่งมีความหนาแน่ นน้อยกว่าจะลอยตัวขึ้นด้านบน
และเมื่อมีการใช้น้ าร้อนที่ต่อจากท่อด้านบน น้ าเย็นจากภายนอกจะไหลเข้ามาแทนที่โดยผ่าน
เข้าสูท่ ่อด้านล่าง
145

รูปที่ 3.18.9 เครื่องทาน้าร้อนพลังงานแสงอาทิตย์อย่างง่าย

การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เกิดประโยชน์อกี รูปแบบหนึ่งคือการผลิตน้ าร้อน


ที่ผ นั ง อาคาร Khedari et al. (2000 c) ได้ ท าการศึก ษาผลของการประยุ ก ต์ ใ ช้ ต ัว เก็ บ รัง สี
อาทิต ย์โดยท าการติดตัง้ แทงค์กักเก็บความร้อ นกับผนังอาคาร (Solar Water Wall: SWW)
ประโยชน์ ท่ีได้ค ือ 1. น้ าร้อ น 2. ลดปริมาณความร้อนที่ถ่ ายเทเข้าสู่อ าคาร 3.ก่อ ให้เกิดการ
ระบายอากาศแบบธรรมชาติภายในอาคาร โครงสร้ างประกอบด้วย ชุดแผ่นปิ ดใสพลาสติกอยู่
ทางด้านนอก ช่องว่างอากาศ แท้งค์น้าสเตนเลสและฉนวน ผลการศึกษาสามารถผลิตน้าร้อนได้
ในระดับอุณหภูมิ 40 - 45 ๐C อีกทัง้ ยังช่วยลดปริมาณความร้อนทีถ่ ่ายเทเข้าสู่อาคารได้ถงึ ร้อย
ละ 70
ถึงแม้ว่าเครื่องทาน้าร้อนพลังงานแสงอาทิตย์จะได้รบั การพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็
ตามได้มกี ารพัฒนาระบบเก็บสะสมความร้อนในเวลากลางวันโดยใช้เครื่องทาน้าร้อนแบบในตัว
ซี่งใช้ถงั เก็บสะสมน้ าร้อนควบคู่กนั ไปด้วย โดย Khedari et al. (2001 b) ความร้อนจากตอน
กลางวันจะถูกนาไปเป็ นแหล่งกาเนิดพลังงานให้กบั เทอร์โมอิเลคตริ กในเวลากลางคืนเพื่อการ
ปรับอากาศอีกด้วย
จากการศึก ษาวิจยั ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพ ระจอมเกล้าธนบุรี จะเห็นได้ว่าเป็ น
การศึก ษาถึงการท าความเย็น แบบพาสซีฟ (Passive Cooling) ในลัก ษณะของการระบาย
อากาศโดยใช้หลังคาและผนังของบ้าน ซึ่งจะอาศัยหลักการของปล่องระบายอากาศแสงอาทิ ตย์
(Solar Chimney) กล่ าวคือ ผิว ด้านนอกของตัว หลังคาหรือ ผนังจะทาหน้ าที่เป็ น ตัวเก็บ รังสี
อาทิต ย์ ด้านในจะมีการติดตัง้ ผนังอยู่ห่างจากหลังคาหรือผนังด้านนอกเป็ นระยะพอสมควร
146

เพื่อให้เกิดช่องว่างของการเคลื่อนที่ของอากาศ เมื่อรังสีอาทิตย์ตกกระทบบนผิวด้านนอกของ
หลังคาหรือผนัง จะทาให้ผวิ ด้านนอกของหลังคาหรือผนังมีอุณหภูมสิ ูงขึน้ เกิดการถ่ายเทความ
ร้อนโดยการนาความร้อนผ่านความหนาของหลังคาและผนังสูช่ ่องว่างของอากาศทีส่ ร้างขึน้ ทา
ให้เกิดแรงลอยตัวของอากาศภายในช่องว่างและก่อให้เกิดการเคลื่อนทีข่ องอากาศภายในห้อง
ผ่านช่องเปิ ดที่อยู่ด้านล่างของหลังคาหรือผนังด้านในและเคลื่อนที่ออกสู่ภายนอกที่ช่องเปิ ด
ด้านบนของหลังคาหรือผนังด้านนอก ระบบจะดาเนินการเช่นนี้อย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ยงั มี
การถ่ายเทความร้อนจากหลังคาหรือผนัง ขณะทีอ่ ากาศภายในห้องเคลื่อนที่ออกก็จะมีอากาศ
ใหม่จากด้านนอกเข้ามาแทนที่ ทาให้เกิดการระบายอากาศ จึงเป็ นการลดการสะสมความร้อน
ภายในบ้านได้ นอกจากนี้หลังคาหรือผนังลักษณะนี้ยงั เป็ นเสมือนฉนวนป้ องกันความร้อนจาก
ภายนอกถ่ายเทเข้าสูภ่ ายในอีกด้วย จากงานวิจยั ทีผ่ ่านมาทัง้ หมดได้มกี ารนาไปประยุกต์ใช้งาน
ในส่วนของการปรับปรุงอาคารหรือเป็ ฯต้นแบบสาหรับอาคารใหม่ดงั จะเห็นได้จากการก่อสร้าง
บ้านประหยัดพลังงานเฉิมพระเกียรติท่ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาเขต
บางขุนเทียน ดังรูปที่ 3.18.9
147

รูปที่ 3.18.9 บ้านประหยัดพลังงานเฉลิมพระเกียรติทว่ี ทิ ยาเขตบางขุนเทียน

You might also like