You are on page 1of 5

การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

หมายถึง การเคลื่อนที่ที่มีแนวการเคลื่อนที่เป็นวิถีโค้ง บางครั้งเรียกว่า คล้ายพาราโบลา เป็นการเคลื่อนที่ไม่มีแรงต้าน


อากาศ หรือมีน้อยมากจนไม่ต้องนำมาคิด การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เป็นการเคลื่อนที่ใน 2 มิติ มีการเคลื่อนที่ทั้งในแนวระดับ
และแนวดิ่ง ดังรูป

การพิจารณาลักษณะการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ต้องแบ่งเป็น 2 มิติ คือตามแนวระดับ (แกน x ) และตามแนวดิ่ง (แกน y)


* การเคลื่อนที่ในแนวระดับ (แกน x) เป็นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวเพราะไม่มีแรงลัพธ์ในแนวระดับมากระทำ ทำให้
ความเร่งเป็น 0

* การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง (แกน y) เป็นการเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงที่ g g = 10 m/s2

- การเคลื่อนที่ในแนวระดับของการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่อยู่ในอากาศจะมีแรงดึงดูดของโลก (mg) กระทำเพียงแรงเดียวเท่านั้น โดยในแนวระดับ แรงกระทำต่อ
วัตถุมีค่าเป็นศูนย์ (F = 0)
จาก ΣFx = max เมื่อ ΣFx = 0 ดังนั้น ax = 0
ผลคือ วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว (vx = ux) ดังนั้น สมการในการเคลื่อนที่ในแนวระดับ คือ sx = uxt
เมื่อ sx = การกระจัดในแนวระดับ
ux = ความเร็วในแนวระดับ
t = ช่วงเวลาของการเคลื่อนที่

การคำนวณ แนวระดับ (แกน x)


- ux = u cos θ sx = uxt
- ux = vx
-a=0
sx = การกระจัดในแนวระดับ (m)
ux = vx= u cos θ = ความเร็วแนวราบ (m/s)
t = เวลา (s)
การคำนวณ แนวดิ่ง (แกน y) sy = การกระจัดแนวดิ่ง (m)
- uy = u sin θ
uy = u sin θ ความเร็วต้นแนวดิ่ง (m/s)
- ที่จุดสูงสุดความเร็วแนวดิ่งเป็น 0
- a = g = 10 m/s2 vy = ความเร็วปลายแนวดิ่ง (m/s)
g = ความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลก (m/s2)
t = เวลา (s)
ลักษณะการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ แบบทั่ว ๆ ไป
1. มีเฉพาะความเร็วต้นในแนวระดับเพียงแนวเดียว ดังรูป ก
2. มีความเร็วต้นทั้งแนวระดับและแนวดิ่ง ดังรูป ข และ ค

การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่ เหมือนดังที่กล่าวมาข้างต้น


รูป ก ay = g , uy = 0
รูป ข ay = g , ux = u cos θ , uy = u sin θ
รูป ค ay = - g , ux = u cos θ , uy = u sin θ
* สรุปเงื่อนไขการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์

1. วัตถุต้องมีการเคลื่อนที่อย่างอิสระ มีแรงดึงดูดของโลก mg กระทำเพียงแรงเดียว


2. ต้องมีความเร็วต้นในแนวระดับ ux ส่วนในแนวดิ่ง uy จะมีหรือไม่มีก็ได้ โดยความเร็วในแนวระดับคงที่เสมอ
3. เวลาที่ใช้ในการเกิดการกระจัดจากจุดหนึ่งถึงจุดหนึ่ง ในแนวระดับ (x) เท่ากับในแนวดิ่ง (y)
4. ณ จุดสูงสุดของโพรเจกไทล์ ความเร็ว vy = 0 แต่ vx = ux ดังนั้นความเร็ว ณ จุดสูงสุดจึงเท่ากับ ux
5. การพิจารณาปริมาณในแนวดิ่ง ถ้ามีทิศลงเพียงทิศเดียว ay = g แต่ถ้ามีการเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง มีขึ้นและมีลง ay = - g
6. สมการการคำนวณ เหมือนการเคลื่อนที่แนวตรงทุกประการ
7. มุมยิงที่ให้ระยะตกมากที่สุด คือ มุม 45° แต่ระยะตกจะลดลงเมื่อเพิ่มค่ามุมยิงมากกว่า 45° โดยมุมยิงคู่ที่ผลรวมของมุมมี
ค่าเท่ากับ 90° เช่นมุม 30° กับมุม 60° จะให้ระยะตกเท่ากัน เมื่อความเร็วต้นเท่ากัน
ตัวอย่าง 1 ลูกแก้วกลิ้งออกจากขอบโต๊ะซึ่งสูง 1.8 เมตร ลูกแก้วต้องมีความเร็วเท่าใดจึงจะทำให้ตกห่างจากโต๊ะเท่ากับ
ความสูงของโต๊ะพอดี

ตัวอย่าง 2 เมื่อปาวัตถุออกไปในแนวระดับจากที่สูง 80 เมตร ปรากฏว่าวัตถุตกห่างจากจุดปาในแนวราบ 20 เมตร จงหา


อัตราเร็วของวัตถุที่ปาออกไป

ตัวอย่าง 3 การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ไปถึงตำแหน่งสูงสุด อัตราความเร็วของวัตถุจะเป็นอย่างไร


(O-net 48)
1. มีค่าเท่ากับศูนย์
2. มีอัตราเร็วแนวราบเป็นศูนย์
3. มีค่าเท่ากับอัตราเร็วแนวราบเมื่อเริ่มเคลื่อนที่
4. มีค่าเท่ากับอัตราเร็วเมื่อเริ่มเคลื่อนที่

ตัวอย่าง 4 ยิงวัตถุจากหน้าผาออกไปในแนวระดับ ปริมาณใดของวัตถุมีค่าคงตัว (O-net 49)


1. อัตราเร็ว
2. ความเร็ว
3. ความเร็วในแนวดิ่ง
4. ความเร็วในแนวระดับ
ตัวอย่าง 5 วัตถุที่เคลื่อนที่แบบโปรเจคไทล์ขณะที่วัตถุอยู่ที่จุดสูงสุด ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (O-net 50)
1. ความเร็วของวัตถุมีค่าเป็นศูนย์
2. ความเร่งของวัตถุมีค่าเป็นศูนย์
3. ความเร็วของวัตถุในแนวดิ่งมีค่าเป็นศูนย์
4. ความเร็วของวัตถุในแนวราบมีค่าเป็นศูนย์

ตัวอย่าง 6 เตะลูกบอลออกไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ดังรูป และกำหนดให้ทิศขึ้นเป็นบวก (O-net 51)

กราฟในข้อใดต่อไปนี้บรรยายความเร่งในแนวดิ่งของลูกบอลได้ถูกต้อง ถ้าไม่คิดแรงต้านอากาศ

ตัวอย่าง 7 ยิงลูกปืนออกไปในแนวระดับ ทำให้ลูกปืนเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ตอนที่ลูกปืนกำลังกระทบพื้น ข้อใด


ถูกต้องที่สุด (ไม่ต้องคิดแรงต้านอากาศ) (O-net 52)
1. ความเร็วในแนวระดับเป็นศูนย์
2. ความเร็วในแนวระดับเท่ากับความเร็วตอนต้นที่ลูกปืนถูกยิงออกมา
3. ความเร็วในแนวระดับมีขนาดมากกว่าตอนที่ถูกยิงออกมา
4. ความเร็วในแนวระดับมีขนาดน้อยกว่าตอนที่ถูกยิงออกมาแต่ไม่เป็นศูนย์

ตัวอย่าง 8 ข้อใดใกล้เคียงกับการคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์มากที่สุด (O-net 53)


1. เครื่องบินขณะบินขึ้นจากสนามบิน
2. เด็กเล่นไม้ลื่น
3. ลูกเทนนิสถูกตีออกไปข้างหน้า
4. เครื่องร่อนขณะร่อนลง
ตัวอย่าง 9 ดีดก้อนยางลบออกไปในแนวราบจากขอบโต๊ะ ก้อนยางลบเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์และไปตกไกลจากขาโต๊ะ
2 เมตร ถ้าต้องการให้ไปตกไกลจากขาโต๊ะ 4 เมตร จะต้องดีดให้อัตราเร็วในแนวราบเป็นกี่เท่าของของเดิม (O-net 58)
1. 0.5 เท่า
2. 1 เท่า
3. √2 เท่า
4. 2 เท่า
5. 4 เท่า

ตัวอย่าง 10 นักเรียนคนหนึ่งเตะลูกฟุตบอลจากยอดตึกสูง 60 เมตร หลักจากนั้น 6 วินาที ลูกบอลตกลงมายังสนามระดับ


เบื้องล่าง ห่างจากตึก 80 เมตร ดังรูป ถ้าความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก (g) เท่ากับ 9.8 เมตรต่อ(วินาที)2 อัตราเร็วต่ำสุดของ
ลูกบอลในหน่วยเมตรต่อวินาทีขณะลอยอยู่ในอากาศเป็นดังข้อใด ถ้าแรงต้านทานของอากาศน้อยมากจนไม่ต้องพิจารณา(O-net 59)

1. 9.8
2. 10.0
3. 13.3
4. 16.6
5. 32.7
ตัวอย่าง 11 ยิงวัตถุ A B และ C ขึ้นจากพื้นที่ตำแหน่งเดียวกัน ทำมุมกับพื้น 20 องศา 45 องศา และ 70 องศา ตามลำดับ
พบว่า วัตถุทั้งสามชิ้นมีเส้นทางการเคลื่อนที่เป็นดังภาพ และตกถึงพื้นที่ตำแหน่งเดียวกัน (O-net 62)
1. วัตถุ C เคลื่อนที่ด้วยความเร่งมากที่สุด
2. วัตถุ A และ C มีขนาดของความเร็วต้นเท่ากัน
3. วัตถุ A มีขนาดของความเร็วน้อยกว่าวัตถุ B
4. วัตถุทั้งสามชิ้นมีความเร็วในแนวระดับไม่คงตัวตลอดการเคลื่อนที่
5. ที่จุดสูงสุดของวัตถุแต่ละชิ้น วัตถุ C มีความเร็วในแนวดิ่งมากที่สุด

You might also like