You are on page 1of 11

การศึกษาแบบจำาลองของท่อลมที่คำานึงถึงการรั่วและ

การสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

ตุลยวัต แสงวิเชียรกิจ1 และ เชิดพันธ์ วิทูราภรณ์2


1ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10300
2ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10300
โทร 02-218-6610 โทรสาร 02-252-2889 E-mail meoffice@eng.chula.ac.th.

บทคัดย่อ
งานวิจยั นีม้ จี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ศึกษาและพัฒนาแบบจ�าลอง หารด้ ว ยความร้ อ นภายในระบบท่ อ ลม แบบจ� า ลองทาง
ทางคณิตศาสตร์ของท่อลมทีค่ า� นึงถึงผลกระทบของการรัว่ ไหล คณิ ต ศาสตร์ ไ ด้ ถู ก สร้ า งขึ้ น โดยใช้ ส มการพลั ง งานและ
ของลมและการสูญเสียความร้อน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อท�า แบบจ�าลองการปันป่วน k-omega ผลลัพธ์จากแบบจ�าลอง
การวิ เ คราะห์ ส มรรถนะในการส่ ง ถ่ า ยพลั ง งานของท่ อ ลม พบว่าความเร็วลมที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การสูญเสียความร้อนผ่าน
รูปแบบของท่อลมที่ใช้วิเคราะห์ ในงานวิจัยนี้มีลักษณะเป็นท่อ ผนังท่อมีค่ามากขึ้น แต่การสูญเสียความร้อนจากการรั่วไหล
ทีม่ หี น้าตัดเป็นวงกลมหรือท่อทรงกระบอก การวิเคราะห์ความ ลดลง อุณหภูมิลมที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การสูญเสียความร้อน
ร้อนสูญเสียผ่านผนังท่อจะใช้หลักความต้านทานเชิงความร้อน ผ่านผนังท่อและผ่านการรั่วไหลเพิ่มมากขึ้น ความดันสถิตที่
(Thermal Resistance) โดยแบ่งความต้านทานเชิงความร้อน เพิ่ ม ขึ้ น ส่ ง ผลให้ ก ารสู ญ เสี ย ความร้ อ นจากการรั่ ว ไหลเพิ่ ม
ออกเป็น 4 ส่วน คือ การพาความร้อนภายในท่อลม, การน�า มากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจ�าลองได้ถูกน�าไปเปรียบเทียบ
ความร้อนผ่านผนังท่อลม, การน�าความร้อนผ่านฉนวน และ กับผลลัพธ์ที่ ได้จากการใช้โปรแกรม Ansys Fluent V.13
การพาความร้อนภายนอกท่อลม ในส่วนการรัว่ ไหลจะพิจารณา พบว่าผลลัพธ์ทั้งสองมีความใกล้เคียงกัน
การรัว่ ไหลในสองบริเวณ คือ การรัว่ ไหลผ่านบริเวณรอยต่อและ คํ า หลั ก : การสู ญ เสี ย ความร้ อ น, การรั่ ว ไหล, การน� า
การรั่วผ่านรูรั่วจากการสึกกร่อน ทั้งนี้ ได้นิยามค่าพารามิเตอร์ ความร้อน, การพาความร้อน, สมรรถนะด้านการส่งถ่าย
แสดงสมรรถนะด้ า นการส่ ง ถ่ า ยพลั ง งานของท่ อ ลมว่ า คื อ พลังงาน
ความร้ อ นภายในระบบท่ อ ลมลบด้ ว ยความร้ อ นที่ สู ญ เสี ย
92 บทความวิชาการ ชุดที่ 18
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

Abstract ระบบระบายอากาศ (Ventilation) เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยระบบ


The purpose of this research is to study and ท่อลมในระบบปรับอากาศท�ำหน้าที่เป็นเส้นทางล�ำเลียงลมไป
develop the mathematical model of air duct with both แจกจ่ายตามบริเวณที่ถูกปรับอากาศ หรือน�ำอากาศออกจาก
air leakage and heat loss effect in order to analyze บริเวณที่ถูกปรับอากาศไประบายออกนอกอาคาร ซึ่งในการ
the energy transmission performance of air duct. ออกแบบระบบท่อลมทีด่ นี นั้ จะต้องออกแบบให้ทอ่ ลมสามารถ
Round or cylindrical air duct is used for analysis in รักษาสภาวะของลมภายในท่อลมให้อยู่ ในสภาวะที่ผู้ออกแบบ
this research. Thermal resistance concept is used ระบบปรับอากาศต้องการ อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ระบบ
for heat transfer analysis in which thermal resistance
ท่ อ ลมจะมี ก ารรั่ ว ซึ ม อั น เนื่ อ งมาจากการประกอบท่ อ ลมที่
is divided into 4 parts, i.e. convection within air duct,
ไม่เรียบร้อย ณ บริเวณรอยต่อตะเข็บของท่อลมแต่ละท่อน
conduction through duct wall, conduction through
insulation and convection outside air duct. Air leakage รวมทัง้ หากมีการใช้ทอ่ ลมไประยะเวลาหนึง่ ย่อมมีการสึกกร่อน
is considered in 2 regions, i.e. leakage at joints, seams ของท่อลมเกิดขึ้นส่งผลให้เกิดรูรั่วตามบริเวณต่างๆ ท�ำให้เกิด
and leakage due to air duct corrosion. The energy การรั่วไหลของลมภายในท่อ อันเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสีย
transmission performance is defined as ratio ความร้ อ นจากการรั่ ว ไหลของมวล การสู ญ เสี ย ความร้ อ น
between the subtraction heat loss from total heat ยั ง อาจมาจากการหุ ้ ม ฉนวนที่ ไ ม่ เ รี ย บร้ อ ยของท่ อ ลม ซึ่ ง
in duct system and total heat in the duct system. ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความร้อนผ่านผนังท่อลมออกไป
Mathematical model is developed based on energy สู่สิ่งแวดล้อมได้ ท�ำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้งานระบบปรับอากาศ
equation and K-omega model. Results from the สูงขึ้นเนื่องจากสมรรถนะด้านการส่งถ่ายพลังงานของระบบ
model show that as air velocity increases, heat ท่อลมลดลง
loss through duct wall increases while heat loss
ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาและพัฒนาแบบจ�ำลอง
through air leakage decreases. As air temperature
ทางคณิตศาสตร์ของท่อลมที่รวมเอาผลกระทบของการสูญเสีย
increase, both heat losses through duct wall and
through air leakage increase. Similarly, by increasing ลมและการสูญเสียความร้อน เพื่อวิเคราะห์หาสมรรถนะด้าน
the static pressure, heat loss through air leakage การส่งถ่ายพลังงานของท่อลมภายใต้เงื่อนไขต่างๆ เพื่อเป็น
increases. Results from mathematical model are ข้อมูลในการพัฒนาวิธีการออกแบบท่อลมที่เหมาะสมต่อไป
then compared with those received from Ansys Fluent
V.13. It is found that a closed agreement is achieved 2. งานวิจัยในอดีต
from both results. จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลงานวิจัยในอดีตที่มี
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความร้อนจากระบบท่อลมและ
1. บทน�ำ การรั่วไหลที่เกิดขึ้นกับท่อลม พบว่า จากเอกสารเชิงเทคนิค
ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System) เป็น (Technical Paper) ของ SMACNA [3] ได้แนะน�ำวิธี
ระบบที่ท� ำหน้าที่ปรับอากาศและควบคุมสภาพอากาศให้มี การท� ำ นายการรั่ ว ไหลของลมด้ ว ยวิ ธี Leakage Class
ความเหมาะสมตามสถานที่ปรับอากาศและตามความต้องการ โดยแบ่งระดับการรัว่ ไหลออกตามช่วงความดันและการเชือ่ มต่อ
ของผูท้ อี่ าศัยในสถานทีน่ นั้ ๆ โดยรูปแบบของระบบปรับอากาศ ท่อลม โดยพบว่าที่ชั้นการผนึก (Seal Class) เดียวกัน
ส่วนใหญ่นั้น ต้องมีระบบท่อลม (Air Duct System) และ ความดั น ที่ ม ากขึ้ น จะส่ ง ผลให้ เ กิ ด การรั่ ว ไหลเพิ่ ม มากขึ้ น
สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย 93
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

D. Parker [1] ได้ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า การรั่ ว ไหลส่ ง ผล


กระทบด้ า นพลั ง งานมากกว่ า การสู ญ เสี ย ความร้ อ นผ่ า น
ผนังท่อ C. Aydin และ B. Ozerdem [2] ได้ศึกษาระดับ
การรั่วไหลโดยใช้ Power Law Model ในการค�ำนวณ
รวมทั้ ง ได้ ศึ ก ษาการรั่ ว ไหลของท่ อ ลมที่ มี ลั ก ษณะการ
เชื่อมต่อ (joint) และ รอยตะเข็บ (seam) แตกต่างกัน
โดยพบว่าความดันมีผลโดยตรงต่อระดับการรั่วไหล และ
การรัว่ ไหลส่วนใหญ่จะเกิดทีบ่ ริเวณการเชือ่ มต่อมากกว่าบริเวณ
รอยตะเข็บ รูปที่ 1 แสดงองค์ประกอบของผนังท่อลมและการเรียงตัวของ
ความต้านทานเชิงความร้อน
3. การพัฒนาแบบจ�ำลอง
เพื่ อ พั ฒ นาแบบจ� ำ ลองทางคณิ ต ศาสตร์ ใ ห้ มี ค วาม 3.1.1 ความต้านทานเชิงความร้อนของผนังท่อ และ
สอดคล้องกับสภาพปัญหาจริง แบบจ�ำลองที่พัฒนาได้แยก ฉนวน
การวิเคราะห์การสูญเสียความร้อนออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ จากแนวคิดในการสร้างสมการที่ระบุว่าในปัญหาการไหล
การสูญเสียความร้อนผ่านผนังท่อและการสูญเสียความร้อนจาก และการถ่ายเทความร้อนนัน้ จะเปรียบเทียบท่อหน้าตัดอืน่ ๆ ให้
การรั่วไหลของท่อลม เทียบเท่ากับท่อหน้าตัดวงกลมหรือท่อทรงกระบอก ดังนั้น
3.1 การสูญเสียความร้อนผ่านผนังท่อ ความต้านทานเชิงความร้อนของผนังท่อและฉนวนที่พิจารณา
การสูญเสียความร้อนผ่านผนังท่อจะอาศัยหลักความ จึงเป็นความต้านทานเนื่องจากการน�ำความร้อนตามแนวรัศมี
ต้านทานเชิงความร้อนในการวิเคราะห์ โดยแบ่งความต้านทาน ซึ่งมีรูปแบบสมการ ดังนี้
เชิงความร้อนออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การพาความร้อนภายใน
In(ro /ri )
ท่อลม, การน�ำความร้อนผ่านผนังท่อลม, การน�ำความร้อนผ่าน Reyl = (1)
2πLk
ฉนวน และ การพาความร้อนภายนอกท่อลม ดังแสดงบน
แผนภาพในรูปที่ 1 โดยมีสมมติฐานในการวิเคราะห์ ดังนี้ จากสมการที่ 1 จะได้ความต้านทานเชิงความร้อนของท่อลมที่
1. การถ่ายเทความร้อนเกิดขึ้นที่สภาวะคงตัว, 2. การไหล พิจารณาดังนี้
เป็นแบบอัดตัวไม่ได้, 3. อุณหภูมิที่พื้นผิวมีค่าคงที่, 4. ไม่มี
In(ro /ri ) (2)
แหล่งก�ำเนิดความร้อนภายในท่อลม และ 5. ไม่ค�ำนึงถึง RD =
2πLkD
การถ่ า ยเทความร้ อ นตามความยาวท่ อ โดยรายละเอี ย ด
การวิเคราะห์มีขั้นตอน ดังนี้ และความต้านทานเชิงความร้อนของฉนวนดังนี้

In(ro+b/ro ) (3)
Rins =
2πLkins

94 บทความวิชาการ ชุดที่ 18
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

3.1.2 สัมประสิทธิ์การพาความร้อนของการไหล
ภายในท่อ (7)
การไหลภายในท่อลมจะมีลักษณะการไหลเป็นแบบ
ปั่นป่วน (Turbulent Flow) และเป็นการพาความร้อนแบบ 3.1.3 สัมประสิทธิ์การพาความร้อนภายนอกท่อลม
บังคับ ดังนั้น จึงพิจารณาถึงสมการที่ ใช้หาค่า Nusselt อากาศภายนอกท่ อ ลมส่ ว นมากจะมี ค วามเร็ ว ใน
Number ของ Gnielinski [5] ซึ่งได้พัฒนางานวิจัยของ การไหลที่ต�่ำซึ่งสามารถพิจารณาว่าเป็นการพาความร้อนแบบ
Petukhov and Popov [5] ในการสร้างแบบจ�ำลองเพื่อหาค่า อิสระ ดังนั้น จึงอาศัยสมการของ Churchill และ Chu [4]
Nusselt Number ของการไหลแบบปั่นป่วน โดยสมการที่ได้ ซึ่งเป็นสมการที่ ใช้หาค่า Nusselt Number ของการพา
ครอบคลุมการไหลในช่วง Transition Zone ไปจนถึง Fully ความร้อนแบบอิสระผ่านผิวท่อทรงกระบอก โดยมีสมการดังนี้
Developed Flow โดยสมการมีรูปแบบดังนี้
(8)
(4)
สมการที่ 8 สามารถใช้งานในช่วง RaD ≤ 1012 โดย
ค่า เป็นค่า Friction Factor ของการไหลใน ค่า Rayleigh Number, RaD, สามารถหาได้จากสมการ 9
ท่อเรียบ ซึ่งสามารถหาได้จากสมการที่ 5
(9)
(5)
โดยคุณสมบัติของอากาศที่ ใช้ในสมการทั้งสองดังกล่าว
ทั้งนี้ สมการที่ 4 และ 5 จะสามารถใช้งานได้ดี ใน ข้ า งต้ น เป็ น คุ ณ สมบั ติ ที่ Film Temperature เท่ า กั บ
ช่วง 0.5 ≤ Pr ≤ 2000 และ 3000 ≤ Re ≤ 5 x 106 ( + )/2 แต่เนื่องจากอุณหภูมิที่ผิวนอก ( ) ของ
และเป็ น สมการที่ ใ ช้ วิ เ คราะห์ ก ารไหลในท่ อ เรี ย บ แต่ ใ น ท่อลมยังไม่ทราบค่า ดังนั้น จึงใช้วิธี One-Point Iteration
สภาพจริ ง ท่ อ ลมจะมี ค วามขรุ ข ระเกิ ด ขึ้ น ที่ ผิ ว ดั ง นั้ น เพือ่ หาอุณหภูมผิ วิ นอก โดยอาศัยหลักการทีว่ า่ ฟลักซ์ความร้อน
จึงใช้สมการของ Norris [6] เข้ามาปรับแก้สมการของ ที่ถ่ายเทมีขนาดคงที่ จึงสามารถสร้างสมการส� ำหรับการท�ำ
Gnielinski ที่ ใช้ส�ำหรับท่อเรียบ โดยสมการของ Norris ซ�้ำได้ ดังนี้
มีรูปแบบ ดังนี้
(6)

สมการที่ 6 สามารถใช้งานในช่วง ≤ 4 และ (10)


n = 0.68Pr0.215 เมื่อ Pr < 6 และ n = 1 กรณีที่ เมือ่ ทราบอุณหภูมผิ วิ นอกก็จะสามารถหาคุณสมบัตติ า่ งๆ
Pr > 6 และ > 4 ค่า Nusselt Number ที่ได้ของ ของอากาศที่ Film Temperature นั้นได้และสามารถหา
การไหลในท่อเรียบและในท่อขรุขระจะไม่แตกต่างกัน ดังนั้น สัมประสิทธิ์การพาความร้อนภายนอกท่อลมโดยใช้สมการ
จากกระบวนการขั้นต้น เราสามารถหาสัมประสิทธิ์การพา
(11)
ความร้อนได้จากสมการ
สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย 95
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

3.1.4 ความต้านทานเชิงความร้อนรวม 3.2.1 การรั่วไหลตามแนวรอยต่อ


จากรู ป ที่ 1 ความต้ า นทานเชิ ง ความร้ อ นรวม การหาอัตราการรัว่ ไหลผ่านบริเวณรอยต่อจะอ้างอิงวิธกี าร
สามารถหาได้ โดยพิจารณาว่าความต้านทานแต่ละตัวต่อกัน จากงานวิจัยของสมาคมวิศวกรท�ำความร้อน ความเย็น และ
แบบอนุกรม โดยมีสมการ การปรับอากาศแห่งสหรัฐอเมริกา (ASHRAE) ซึ่งหาอัตรา
การรั่วไหลผ่านบริเวณรอยต่อท่อลม โดยมีสมการดังนี้
Rtot = Rconv,i + RD + RIns + Rconv,o (12)
mc = Cl x P0.65 x
100
x (5.077 x 10-3) (15)

ส่วนค่าอัตราการถ่ายเทความร้อนหาได้จากสมการ 13
3.2.2 การรั่วไหลบริเวณรูรั่ว
ในการหาอัตราการรั่วไหลผ่านรูรั่ว จะพิจารณาเปรียบ
(13)
เสมือนว่าลมภายในท่อไหลผ่าน Sharp-Edged 90 Degree
Dividing Junction โดยมีขั้นตอนการพิจารณาหาอัตราการรั่ว
เมื่อแทนค่าตัวแปรต่างๆที่ได้จากหัวข้อ 3.1.1 – 3.1.3
ไหล ดังนี้
ลงในสมการที่ 13 จะได้แบบจ�ำลองในการหาค่าอัตราการ
1. หาความดันตกคร่อมรูรวั่ โดยพิจารณาจากปริมาตร
ถ่ายเทความร้อนผ่านผนัง ดังนี้
ควบคุม 1 ในรูปที่ 2 โดยใช้สมการพลังงานในการวิเคราะห์
ซึง่ จากสมมติฐานดังทีได้กล่าวมาแล้ว ท�ำให้จดั รูปสมการได้เป็น
1 In(ro /ri ) In(ro + b/ro ) 1
+ + +
2πri Lhn,i 2πkDL 2πkInsL 2πro Lhn,o
(16)
จากปริมาตรควบคุม 2 อาศัยสมการ Minor Loss
3.2 การสูญเสียความร้อนจากการรั่วไหลของอากาศ
ในการหาความเร็วของการรัว่ ไหล ซึง่ มีรปู แบบของสมการ ดังนี้
การวิเคราะห์การรั่วไหลจะแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ
(17)
คือ บริเวณรอยต่อ รอยตะเข็บ และ บริเวณรูสกึ กร่อน ดังแสดง
ในรูปที่ 2 โดยมีสมมติฐานดังนี้ 1.การไหลเกิดที่สภาวะคงตัว,
ทั้งนี้ สัมประสิทธิ์การสูญเสียรองเกิดจากการแยกไหล
2. การไหลเป็ น แบบอั ด ตั ว ไม่ ไ ด้ , 3.การไหลเป็ น แบบ
ผ่านรูรวั่ ดังแสดงในรูปที่ 3 โดยเป็นฟังก์ชนั่ ทีข่ นึ้ อยูก่ บั อัตราการ
2 มิติ และ 4.การไหลมีการพัฒนาที่สมบูรณ์ โดยการวิเคราะห์
ไหลและพื้นที่และสามารถหาได้โดยใช้สมการของ Gardel [7]
มีขั้นตอน ดังนี้
ดังแสดงในสมการที่ 18

รูปที่ 2 แสดงลักษณะของท่อลมและปริมาตร ควบคุม


(Control Volume)
รูปที่ 3 แสดงลักษณะการไหลผ่าน Sharp-Edged 90
Degree Dividing
96 บทความวิชาการ ชุดที่ 18
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

เนื่องจาก การวางตัวของรูรั่วท�ำมุม 90 องศากับท่อหลัก ในงานวิจยั นี้ได้กำ� หนดพารามิเตอร์ทบี่ ง่ บอกถึงสมรรถนะ


โดย q และ a ในสมการที่ 18 มีค่าเท่ากับ Q1/Q3 และ ด้านการส่งถ่ายพลังงานของท่อลม โดยให้นิยามว่าเป็นสัดส่วน
A1/A3 ตามล�ำดับ และจากสมการการไหลแบบต่อเนื่อง ระหว่างค่าความร้อนภายในระบบท่อลมลบด้วยความร้อน
(Q = Av) เมื่อแทนค่า k31 ลงไปในสมการที่ 17 จะจัด สูญเสีย (ค่าความร้อนสุทธิภายในระบบท่อลม) กับค่าความร้อน
รูปสมการได้เป็น ภายในระบบท่อลม โดยมีสมการดังนี้

(24)

4. ผลลัพธ์จากแบบจ�ำลอง
จัดรูปสมการที่ 19 ใหม่เพื่อหาความเร็วของการรั่วไหลจะได้ การค�ำนวณโดยใช้แบบจ�ำลองนัน้ จะก�ำหนดลักษณะของ
สมการที่ 20 ท่อลมและสถานการณ์การไหลไว้ ดังนี้
1. อากาศภายในท่อลมมีความชื้นสัมพัทธ์ 90%
2. อุณหภูมิของอากาศภายนอกท่อลมมีค่า 10 องศา
เซลเซียส หรือ 283 K และ
3. ใช้ทอ่ ลมเหล็กชุบสังกะสีความยาว 5 เมตร มีเส้นผ่าน
ศูนย์กลางภายนอก 12 นิ้ว และ มีความหนา 47 มิลลิเมตร
รูรั่วมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร อยู่ห่างจากทาง
เข้าของท่อลมเป็นระยะทาง 5 เมตร โดยผลลัพธ์ที่ได้จะถูกแบ่ง
จากสมการที่ 20 สามารถหาอัตราการรั่วไหลผ่านรูรั่วได้จาก
ออกเป็น 3 กรณีหลัก ดังนี้
สมการ
4.1 ผลลัพธ์เมื่อเปลี่ยนแปลงความเร็ว
m• leak = pAve (21)
ผลลัพธ์ในส่วนนี้ได้จากการค�ำนวณโดยใช้แบบจ�ำลอง
โดยเปลี่ยนแปลงความเร็วของลมภายในท่อเป็น 600, 700,
และหาอัตราความร้อนสูญเสียจากการรั่วไหลของอากาศ จาก
800, 900, 1000, 1100, 1200, 1300, 1400 และ 1500
สมการ
fpm. และก�ำหนดให้อุณหภูมิภายในท่อลมมีค่า 298 K ส่วน
qleak total = (m• leak + m• c)h (22)
ความดันขาเข้ามีค่า 1 นิ้วน�้ำเกจ โดยผลลัพธ์ที่ได้ถูกแสดงไว้
ในตารางที่ 1
4.2 ผลลั พ ธ์ เ มื่ อ เปลี่ ย นแปลงอุ ณ หภู มิ ข องลม
3.3 ความร้อนสูญเสียรวม และ สมรรถนะด้านพลังงาน
ภายในท่อ
จากหัวข้อ 3.1 และ 3.2 สามารถหาความร้อนสูญเสีย
ผลลัพธ์ในส่วนนี้ได้จากการค�ำนวณโดยใช้แบบจ�ำลอง
รวมได้จาก
โดยเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของลมภายในท่อเป็น 21, 23, 25,
qloss total = qD + qleak total (23)
27 และ 29 องศาเซลเซียส และ ก�ำหนดให้ความเร็วของลม
ภายในท่อมีค่าเท่ากับ 700 fpm ค่าความดันขาเข้ามีค่า 1 นิ้ว
น�้ำเกจ โดยผลลัพธ์ที่ได้ถูกแสดงไว้ในตารางที่ 2
สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย 97
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

4.3 ผลลัพธ์เมื่อเปลี่ยนแปลงความดันขาเข้าท่อลม
ผลลัพธ์ในส่วนนี้ได้จากการค�ำนวณโดยใช้แบบจ�ำลอง Class และก�ำหนดให้ความเร็วของลมภายในท่อมีคา่ เท่ากับ 700
โดยเปลี่ยนแปลงความดันขาเข้าท่อลมเป็น ½, 1, 2, 3, 4, 6, fpm และอุณหภูมิของลมภายในท่อมีค่า 298 K โดยผลลัพธ์ที่
10 นิว้ น�ำ้ เกจ ซึง่ อ้างอิงระดับความดันเหล่านีจ้ ากวิธี Leakage ได้ถูกแสดงไว้ในตารางที่ 3

ตารางที่ 1 แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้แบบจ�ำลองเมื่อเปลี่ยนแปลงความเร็วของลม

ตารางที่ 2 แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้แบบจ�ำลองเมื่อเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของลม

ตารางที่ 3 แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้แบบจ�ำลองเมื่อเปลี่ยนแปลงความดันขาเข้าของลม

98 บทความวิชาการ ชุดที่ 18
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

5. เปรียบเทียบผล
ผลลัพธ์ที่ ได้จากแบบจ�ำลองทางคณิตศาสตร์ ถูกน�ำไปเปรียบเทียบกับผลที่ ได้จากโปรแกรม Ansys Fluent V.13
ซึ่งได้สร้างเมชจ�ำนวณ 197,500 เมช และอาศัยแบบจ�ำลอง k-omega และสมการพลังงานในการจ�ำลองการไหลของ
อากาศภายในท่อ โดยผลลัพธ์ที่ ได้ถูกแสดงในรูปแบบของกราฟเพื่อดูแนวโน้มของผลลัพธ์ โดยในการเปรียบเทียบผลนั้น
จะพิจารณาเปรียบเทียบออกเป็น 2 กรณี คือ ความร้อนสูญเสียผ่านผนัง และความร้อนสูญเสียเนื่องจากการรั่วไหล ดังแสดงใน
รูปที่ 4–6 ส่วนค่าความคลาดเคลื่อนในแต่ละกรณีนั้นจะถูกแสดงไว้ในตารางที่ 4

รูปที่ 4 ก

รูปที่ 4 ข

รูปที่ 4 ก. และ ข. แสดงความร้อนสูญเสียผ่านผนังท่อ และจากการรั่วไหลในบริเวณรูรั่วเมื่อเปลี่ยนแปลงความเร็ว

สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย 99
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

รูปที่ 5 ก

รูปที่ 5 ข
รูปที่ 5 ก. และ ข. แสดงความร้อนสูญเสียผ่านผนังท่อ และจากการรั่วไหลในบริเวณรูรั่วเมื่อเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

รูปที่ 6 ก

100 บทความวิชาการ ชุดที่ 18


การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

รูปที่ 6 ข

รูปที่ 6 ก. และ ข. แสดงความร้อนสูญเสียผ่านผนังท่อและ จากการรั่วไหลในบริเวณรูรั่วเมื่อเปลี่ยนแปลงความดันขาเข้าท่อลม

ตารางที่ 4 แสดงค่าความเคลื่อนของผลจากแบบจ�ำลองเทียบกับผลที่ได้จากโปรแกรม

สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย 101
การศึกษาแบบจำ�ลองของท่อลมที่คำ�นึงถึงการรั่วและการสูญเสียความร้อนของลมภายในท่อ

6. อภิปรายผล 7. สรุปผล
พิจารณารูปที่ 4 ก จากกราฟจะเห็นได้ว่า ปริมาณ 1. พบว่าการสูญเสียความร้อนผ่านการรั่วไหลจะขึ้นอยู่
ความร้อนที่สูญเสียเนื่องจากการรั่วไหลจะมีแนวโน้มที่ลดลง กับตัวแปรส�ำคัญ คือ ความเร็ว, ความดันขาเข้า และ อุณหภูมิ
เมือ่ ลมภายในมีความเร็วเพิม่ มากขึน้ โดยมีสาเหตุจากความเร็ว ส่วนความร้อนสูญเสีย ความร้อนผ่านผนังท่อจะขึ้นอยู่ตัวแปร
ของของไหลที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ความดันสูญเสียมีค่า ส�ำคัญ คือ ความเร็ว และ อุณหภูมิ
เพิ่มขึ้นตามแบบยกก�ำลังสอง ส่งผลให้ความดันที่ตกคร่อม 2. จากตารางที่ 1 2 และ 3 จะพบว่าค่าสมรรถนะด้าน
บริเวณรูรั่วมีค่าลดต�่ำลง ท�ำให้ระดับการรั่วไหลมีอัตราที่ลดลง การส่งถ่ายพลังงานมีคา่ ลดลงตามความเร็วของลมทีเ่ พิม่ ขึน้ และ
การสูญเสียความร้อนมีค่าลดน้อยลง และ รูป 4 ข พบว่า เมื่อเพิ่มความดัน หรือ เมื่อเพิ่มผลต่างระหว่างอุณหภูมิภายใน
แนวโน้มของการสูญเสียความร้อนผ่านผนังท่อจะมีค่าเพิ่มขึ้น ท่อลม และ ภายนอกท่อลม
เมื่อความเร็วของลมภายในท่อมีค่ามากขึ้น โดยมีสาเหตุจาก 3. แบบจ�ำลองทางคณิตศาสตร์ทพี่ ฒั นาขึน้ ให้ผลลัพธ์ที่
ค่าสัมประสิทธิ์การพาความร้อนที่เพิ่มขึ้นตามความเร็วส่งผล มีแนวโน้มเดียวกับผลลัพธ์ที่ ได้จากการใช้โปรแกรมรวมทั้ง
ให้การถ่ายเทพลังงานความร้อนดีขึ้น ท�ำให้ความร้อนสูญเสีย ให้ผลลัพธ์ที่ได้มีขนาดใกล้เคียงกัน
เพิ่มมากขึ้น จากรูป 5 ก การเพิ่มอุณหภูมิของลมภายในท่อ
เพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ความร้อนสูญเสียเนื่องจากการรั่วไหลเพิ่ม เอกสารอ้างอิง
ขึ้นตาม โดยเกิดจากความหนาแน่นของอากาศที่ลดลงและ 1. D. Parker, P. Fairey and L. Gu. Simulation of the
ส่งผลให้การสูญเสียความดันลดลง ท�ำให้ความดันตกคร่อม Effects of Duct Leakage and Heat Transfer on
Residential Space-Cooling Energy Use. Energy
รูรั่วมีค่ามาก ท�ำให้การสูญเสียความร้อนมีค่ามากขึ้น และ
and Building. Vol. 20. 1993. p. 97 – 113.
จากรูป 5 ข พบว่าเมื่ออุณหภูมิของอากาศภายในท่อมีค่า 2. C. Aydin and B. Ozerdem. Air Leakage
เพิ่มขึ้น ความร้อนสูญเสียที่ถูกถ่ายเทผ่านผนังท่อจะมีค่า Measurement and Analysis in Duct Systems.
เพิ่มขึ้นตามโดยเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่าง Energy and Building. Vol. 38. 2006. p. 207 – 213.
ภายในกับภายนอกมีค่ามากขึ้น และจากรูปที่ 6 ก พบว่า 3. SMACNA. HVAC Air Duct Leakage Test
Manual in Conjunction with the HVAC Duct
เมื่อความดันขาเข้ามีค่าเพิ่มมากขึ้น ความร้อนสูญเสียจาก Construction Standards. 1985.
การรั่วไหลจะเพิ่มขึ้นตาม โดยเกิดจากความดันคร่อมรูรั่วมีค่า 4. F. P. Incropera, D. P. Dewitt, T. L. Bergman,
มากขึ้น และจากรูป 6 ก และ 6 ข พบว่าความร้อนที่สูญเสีย A. S. Lavine. Introduction to Heat Transfer.
ผ่านผนังท่อนัน้ จะมีขนาดคงที่ เมือ่ มีการเปลีย่ นแปลงความดัน 5th edition. New York : John Wiley, inc. 2007.
5. A. E. Bergles and R. L. Webb, Augmentation
เนือ่ งจากช่วงความดันที่ใช้ในการค�ำนวณนัน้ มีความแตกต่างกัน of Convection Heat Mass Transfer. New York:
ไม่มากจึงไม่ส่งผลต่อคุณสมบัติของอากาศ ผลลัพธ์ที่ ได้จึง The Society, 1970.
ไม่มีความแตกต่างกัน 6. S. Kakac, R. K. Shah and W. Aung, Handbook
of Single-Phase Convective Heat Transfer.
New York: John Wiley, 1987.
7. D. S. Miller, A Guide to Losses in Pipe and
Duct Systems. Bedford: British Hydromechanics
Research Association, 1971.

102 บทความวิชาการ ชุดที่ 18

You might also like