You are on page 1of 3

12/8/21, 11:45 AM drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?

idqa=257

Home ตั้งคำถามใหม่ ติดต่อสอบถาม เข้าระบบ

ให้บริการโดยคณาจารย์ เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านยา
และสุขภาพ


คำชี้แจง "เว็บไซต์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการ ศึกษา การแลกเปลี่ยนความรู้ และให้ข้อมูลเรื่องยาในกรณีทั่วไป ไม่ใช่คำ
แนะนำทางการแพทย์หรือเพื่อการรักษาในกรณีที่จำเพาะเจาะจง และความเห็นสำหรับกรณีเฉพาะหนึ่ง จะไม่สามารถ
ประยุกต์ใช้กับผู้อื่นได้โดยตรง หากมีปัญหาเรื่องโรคโปรดปรึกษาแพทย์ หากมีปัญหาเรื่องยา โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือ
ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องโดยตรงกับกรณีนั้นด้วยตนเองเท่านั้น"


Search :

ค้นข้อมูล

<กลุ่มคำถาม>
Product Information [

ยาเหลียนฮัว ชิงเวินใช้รักษาโควิดได้หรือไม่
13 ]

Compatibility/Stability
มีประชาชนซื้อยาเหลียนฮัว ชิงเวิน แคปซูลมาใช้เพื่อป้องกันและรักษาโควิด 19 อยากทราบว่ามี
[ 2 ]

ประโยชน์หรือไม่

Compounding/Formulation
[ 2 ]

[รหัสคำถาม : 257] วันที่รับคำถาม : 09 ส.ค. 64 - 09:33:34 ถามโดย : นักศึกษา วิทยาศาสตร์


Therapy
สุขภาพ
Evaluation/Drug of
เข้าระบบเพื่อตอบคำถาม
Choice [ 27 ]

Adverse
ตอบคำถาม
Effects/Toxicities [ 17 ]

Drug Interactions [ 5 ]


No : 1 Pregnancy&Lactation
/Teratogenicity/Infant
เหลียนฮัว ชิงเวิน (Lianhua Qingwen) เป็นยาแพทย์แผนจีน ประกอบด้วยสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ risk [ 6 ]

เหลี่ยงเคี้ยว, สายน้ำผึ้ง, มาฮวง, ซิ่งเหริ่น, เซิงสือเกา, ป่านหลานเกิน, ก้วนจ้ง, พลูคาว, พิมเสน, Herbal&Traditional
โกฐน้ำเต้า, โรดิโอลา, สะระแหน่ และชะเอมจีน ใช้สำหรับรักษาอาการหวัด และไข้หวัดใหญ่ Medicine [ 7 ]

ปัจจุบันหน่วยงานด้านการตรวจสอบอาหารและยาของประเทศจีนได้อนุมัติให้ยาเหลียนฮัว ชิง Laws/Policy&Procedure


เวิน แคปซูล มีข้อบ่งใช้เพิ่มเติมสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่มีอาการหรือมี [ 2 ]

อาการเล็กน้อย[1] แต่ข้อบ่งใช้ที่ได้รับการอนุญาตจาก อย.ของไทย ใช้บรรเทาอาการจากไข้หวัด [Medication


ใหญ่ ได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดหัว และตามความรู้การแพทย์แผน Administration Safety] [
จีน ใช้ช่วยขจัดพิษ ลดไข้ บรรเทาอาการหวัดได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูก ไอ น้ำมูก -]
drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=257 1/3
12/8/21, 11:45 AM drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=257
จีน ใช้ช่วยขจัดพิษ ลดไข้ บรรเทาอาการหวัดได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย คัดจมูก ไอ น้ำมูก ]

เจ็บคอ[2] [Neurosurgery] [ - ]

ข้อมูลการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า เหลียนฮัว ชิงเวิน สามารถยับยั้ง main proteases ยับยั้ง [Infectious disease] [ - ]
การเพิ่มจำนวนของไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้อก่อโรคโควิด 19 และยับยั้งการจับของไวรัส
SARS-CoV-2 กับ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) receptor รวมทั้งลดการสร้าง
pro-inflammatory cytokines ได้แก่ TNF-α, IL-6, CCL-2/MCP-1 และ CXCL-10/IP-10 ได้อย่าง
มีนัยสำคัญ [3][4]

มีการศึกษาในประเทศจีน ศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ยาเหลียนฮัว ชิงเวิ


นร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน ได้แก่ การรักษาด้วยออกซิเจน ยาต้านไวรัส และยาปฏิชีวนะ
เทียบกับการรักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีปอดอักเสบร่วมด้วย
จำนวน 284 คน พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเหลียนฮัว ชิงเวิน

ร่วมด้วย มีอัตราจำนวนผู้ป่วยที่ฟื้ นตัวจากอาการไข้ อ่อนเพลีย และไอมากกว่ากลุ่มที่ได้การ


รักษาตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว และระยะเวลามัธยฐานในการฟื้ นตัวจากอาการดังกล่าว
ลดลง จาก 10 วัน เป็น 7 วัน อัตราของผู้ป่วยที่มีรอยโรคบริเวณปอดลดลงมีมากกว่าอย่างมีนัย
สำคัญ[5] การศึกษาแบบวิเคราะห์อภิมาน ในผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง
พบว่าการใช้ เหลียนฮัว ชิงเวินร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน ทำให้อาการทางคลินิกโดยรวมดี
ขึ้น ระยะเวลาการเป็นไข้ลดน้อยลง อาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับปอดดีขึ้น[6] สำหรับอาการไม่พึง
ประสงค์ที่พบ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของระดับ alanine aminotransferase หรือ aspartate
aminotransferase (22%) การทำงานของไตผิดปกติ (6.7%) ปวดหัว (0.7%) คลื่นไส้ (3.9%)
อาเจียน (1.8%) ท้องเสีย (9.5%) และเบื่ออาหาร (4.9%) โดยทั้งสองกลุ่มไม่ได้แตกต่างกันอย่างมี
นัยสำคัญ และไม่พบการรายงานอาการไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง[5] ดังนั้น การใช้ยาเหลียนฮัว
ชิงเวิน ร่วมด้วยไม่ได้เพิ่มอาการไม่พึงประสงค์เมื่อเทียบกับการรักษาตามมาตรฐานเพียงอย่าง
เดียว

จากข้อมูลการศึกษาที่มีอยู่ ยาเหลียนฮัว ชิงเวิน อาจจะมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยโรคโค


วิด 19 ที่มีอาการเล็กน้อยหรือปานกลาง โดยให้ร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน ทำให้การฟื้ นตัว
จากอาการโควิด 19 เร็วขึ้น อาการแสดงที่เกี่ยวข้องกับปอดดีขึ้น และมีความปลอดภัยในการใช้
อย่างไรก็ตามผลการศึกษามาจากการวิจัยที่มีข้อจำกัดในด้านคุณภาพของการศึกษา (จำนวน
การศึกษาในตัวอย่างน้อยและมีอาจมีอคติในการวัดผล) ทำให้มีความน่าเชื่อถือของข้อมูลลดลง
จึงต้องมีการศึกษาที่มีวิธีการวิจัยที่ดีขึ้น ในจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น เพื่อสรุปผลของประสิทธิภาพ
ของยาเหลียนฮัว ชิงเวินในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ได้อย่างชัดเจน ยานี้ไม่มีผลต่อการป้องกัน
โรคโควิด 19 ไม่มีการศึกษารองรับในประเด็นนี้

เอกสารอ้างอิง

[1.] Li LC, Zhang ZH, Zhou WC, et al. Lianhua Qingwen prescription for Coronavirus
disease 2019 (COVID-19) treatment: Advances and prospects. Biomed
Pharmacother.2020;130:110641.doi:10.1016/j.biopha.2020.110641.

[2.] สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. lianhua qingwen capsule. [Internet]. [cited 2021


August 3]. Available from:
http://pertento.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_DRUG/SEARCH_DRUG/pop-
up_drug_ex.aspx?Newcode=U1DRHERB1082630000611C.

[3.] Jia Z, Wu Y. Clinical applications and pharmacological research progress of Lianhua


Qingwen capsules/granules [Internet]. [cited 2021 August 3]. Available from:
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2095754821000260.

[4.] Runfeng L, Yunlong H, Jicheng H, et al. Lianhuaqingwen exerts anti-viral and anti-
inflammatory activity against novel coronavirus (SARS-CoV-2). Pharmacol Res.
drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=257 2/3
12/8/21, 11:45 AM drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=257
inflammatory activity against novel coronavirus (SARS CoV 2). Pharmacol Res.
2020;156:104761. doi:10.1016/j.phrs.2020.104761.

[5.] Hu K, Guan WJ, Bi Y, et al. Efficacy and safety of Lianhuaqingwen capsules, a


repurposed Chinese herb, in patients with coronavirus disease 2019: A multicenter,
prospective, randomized controlled trial. Phytomedicine. 2021;85:153242.
doi:10.1016/j.phymed.2020.153242.

[6.] Fan Z, Guo G, Che X, et al. Efficacy and safety of Lianhuaqingwen for mild or
moderate coronavirus disease 2019: A meta-analysis of randomized controlled
trials.Medicine(Baltimore).2021;100(21):e26059.doi:10.1097/MD.0000000000026059.

วันที่ตอบ : 09 ส.ค. 64 - 10:59:55

พัฒนาระบบโดย ภานุชญา มณีวรรณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=257 3/3

You might also like