You are on page 1of 17

1

รายงาน
ผนังก่ออิฐ ฉาบปูน ทาสี

จัดทำโดย
นายอัฏฐวัฒน์ บวบสด 61243303037-8
วศ.บ.โยธา (ห้อง 4 ปี)

เสนอ
อาจารย์ขวัญชัย เทศฉาย

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการทดสอบวัสดุการทาง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงล้านนา ตาก

คำนำ
การก่อสร้างอาคาร เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีผนัง แล้วผนังที่เราจะนำมาทำการก่อสร้างต้องเป็นผนังที่
มีคุณภาพ ทั้งกันเสียง กันความร้อนน กันไฟ ไม่อมความร้ อน ต่างๆ เป็นต้น บ้านพักอาศัย ส่วนมากแล้วก็จะใช้
วิธีการก่ออิฐ ฉาบปูน ทาสี เพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่บ้านที่อยู่อาศัย
นายอัฏฐวัฒน์ บวบสด

สารบัญ
เรื่อง หน้า
ผนังก่ออิฐ 1
ผนังฉาบปูน 5
ผนังทาสี 8
1

ผนังก่ออิฐ ฉาบปูน ทาสี


ผนังก่ออิฐฉาบปูน รูปแบบต่างๆสำหรับงานสร้างบ้าน

ที่มา : OneStockHome. ผนังก่ออิฐฉาบปูน รูปแบบต่างๆสำหรับงานสร้างบ้าน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์


2565, จาก http://www.onestockhome.com/th/homemap_contents/86886402/brick-wall-for-
construction
สำหรับรูปแบบผนังที่เราเห็นมากันอย่างยาวนาน คงไม่พ้นผนังก่ออิฐเป็นอย่างแน่นอน เพราะ วัสดุอย่าง
อิฐ เป็นวัสดุที่มีราคาถูก และหาได้ง่าย รวมไปถึงเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง และทนทานต่อสภาพอากาศต่างๆใน
บ้านเราเป็นอย่างดี จึงไม่แปลกที่ช่างในบ้านเราจะนิยมใช้อิฐในการก่อเป็นผนังบ้าน
ในสมัยก่อน อิฐที่ใช้ในการก่อผนังนั้น จะนิยมใช้ “อิฐมอญ” หรือ อิฐแดง ในการก่อสร้างผนัง ด้วยเหตุผลที่
กล่าวไปข้างต้นว่า อิฐมอญ หรือ อิฐแดง เป็นวัสดุที่มีราคาถูก หาง่าย และ แข็งแรง แต่ทั้งนี้ อิฐมอญ หรือ อิฐแดง
ก็มีข้อด้อยในเรื่องของน้ำหนักที่มากกว่าผนังแบบอื่น รวมไปถึงอิฐมอญ ยังมีคุณสมบัติเรื่องการอมความร้อน ซึ่ง
อาจจะส่งผลให้อุณหภูมิภายในบ้านสูง และ เป็นวัสดุที่ไม่ค่อยดูดซับเสียง จึงไม่สามารถป้องกันเสียงจากภายนอก
บ้านได้
ด้วยเหตุนี้เอง นอกจากอิฐมอญแล้ว ก็ยังมีการผลิตอิฐชนิดอื่นๆอีก เพื่อทดแทนจุดด้อยของ อิฐมอญ ไม่ว่าจะ
อิฐบล็อก อิฐขาว หรือ อิฐที่กำลังเป็นที่นิยมที่ช่วงหลังๆมานี้ ทุกๆท่านจะรู้จักกันดีคือส่วนของ อิฐมวลเบา ซึ่งเป็น
อิฐที่สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน อิฐบล็อกและอิฐมอญ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เบากว่าอิฐมอญ และ ขนาดใหญ่
2

โดยอิฐแต่ละชนิดไม่ว่าจะ อิฐมอญ อิฐมวลเบา หรือ อิฐอื่นๆ เช่น อิฐบล็อก อิฐขาว อิฐประสาน ล้วนแต่มี
ข้อดีในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามจุดเด่นของอิฐนั้นๆ ดังตารางที่ 1
ข้อดี – ข้อเสียของอิฐแต่ละชนิดในการบริหารงานก่อสร้าง

ที่มา : TTM Construction. ข้อดี – ข้อเสียของอิฐแต่ละชนิดในการบริหารงานก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 14


กุมภาพันธ์ 2565, จาก http:// www.ttmconstruction.com/article/101/อิฐมอญ-อิฐบล็อก-อิฐมวลเบา-
แตกต่างกันอย่างไร.
ตารางที่ 1 ข้อดี – ข้อเสียของอิฐแต่ละชนิด
ชนิดของอิฐ ข้อดี ข้อเสีย
อิฐมอญ คงทนต่อสภาพอากาศ สะสมความร้อน
แข็งแรง อากาศไม่ถ่ายเท
ราคาถูก อมความชื้น
ยึดเกาะได้ดี
อิฐบล็อก ถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี เกิดโอกาสรั่วซึมได้มาก
การก่ อ สร้ า งมี ค วามสะดวก รวดเร็ ว ไม่เหมาะกับการเจาะผนัง
เพราะอิฐบล็อกมีขนาดใหญ่
3

อิฐมวลเบา กันความร้อน เรื ่ อ งปลวก เนื่ อ งจากมี ส ่ ว นผสมหลั ก


กันเสียง เป็นยิปซั่ม ซึ่งเป็นอาคารของปลวก
กันไฟ
แข็งแรง
ประหยัดพลังงาน
อายุการใช้งานนาน

รูปแบบของการก่ออิฐในการบริหารงานก่อสร้าง

ที่มา : OneStockHome. รูปแบบของการก่ออิฐในการบริหารงานก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565,


จาก http://www.onestockhome.com/th/homemap_contents/86886402/brick-wall-for-
construction
โดยลักษณะการก่ออิฐมอญ จะมีรูปแบบดังนี้
1. การก่ออิฐเต็มแผ่น
2. การก่ออิฐครึ่งแผ่น
3. การก่ออิฐสองชั้น
4

1. การก่อผนังอิฐเต็มแผ่น คือ การวางอิฐมอญตามแนวผนัง อาจจะวางสลับแถว หรือ สลับทุกๆ 2 ก้อน


เพื่อให้เกิดลายอิฐที่สวยงาม โดยขนาดของอิฐจะมีความกว้าง
ซึ่งวิธีการก่ออิฐแบบเต็มแผ่นจะเป็นรูปแบบการก่ออิฐที่ต้องมีการคำนึงถึง
- โครงสร้างที่สามารถรับน้ำหนักของอิฐที่มีจำนวนมาก
- ใช้เวลาในการก่อสร้างนาน
- ใช้อิฐเป็นจำนวนมาก หรือประมาณ 2 เท่าของวิธีอื่น

แต่ด้วยวิธีการก่ออิฐแบบเต็มแผ่น ทำให้ผนังมีความหนาเป็นพิเศษ จึงทำให้มีประสิทธิภาพการป้องกัน


ความร้อน ความชื้น และ เสียงรบกวนจากภายนอกได้
2. การก่อผนังอิฐครึ่งแผ่น คือ การก่ออิฐที่วางด้านยาวของแผ่นอิฐตามความยาวของผนัง ซึ่งจะทำให้ผนังมี
ความหนาประมาณ 10 ซม. ซึ่งเป็นความหนาที่รวมกับความหนาของปูนฉาบทั้ง 2 ด้านแล้ว ด้วยขนาดความหนา
10 ซม. ของผนังอิฐจะเป็นความหนาปกติของผนังที่เราเห็นกันได้ทั่วไป หรือ มีความหนาเท่ากับประตู หน้าต่าง
ทั่วๆไป ที่มีความหนาโดยประมาณ 4 นิ้ว หรือ 10 ซม. ทำให้การก่ออิฐครึ่งแผ่น จึงเหมาะกับการติดตั้งกับทุกวัสดุ
ไม่ว่าจะไม้ เหล็ก พีวีซี ไวนิล หรือ อะลูมิเนียม ทำให้เป็นผนังที่ใช้งานง่าย เก็บความเรียบร้อยของงานได้ง่ายนั่นเอง
3. การก่อผนังอิฐสองชั้น คือ การก่ออิฐในลักษณะที่เว้นช่องว่างระหว่างแถว โดยมักจะก่อให้มีความหนาเท่า
หน้าตัดของเสา เพื่อให้ผนังมีลักษณะเป็นผืนแผ่นเดียวกัน ไม่มีแนวเสาโผล่ออกมา ทำให้ง่ายต่อการตกแต่ง และ
วางเฟอร์นิเจอร์

โดยวิธีการก่ออิฐแบบสองชั้น จะช่วยป้องกันความร้อน และ ป้องกันเสียงได้ดี และยังมีพื้นที่ช่องว่างตรง


กลางให้สามารถติดตั้งฉนวนกันความร้อน และ ฉนวนกันเสียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผนังมากขึ้นอีกด้วย โดย
วิธีการก่ออิฐสองชั้น สามารถใช้กับอิฐประเภทใดก็ได้ ทั้งอิฐมอญ อิฐมวลเบา อิฐขาว อิฐบล็อก แต่ทั้งนี้การก่ออิฐ
สองชั้นจะนิยมใช้กับอิฐมอญมากกว่า ด้วยการก่อแบบอิฐครึ่งแผ่น 2 แถว ส่วนอิฐมวลเบา จะเลือกได้จากความ
หนาของอิฐตามขนาดของผนังที่เจ้าของบ้านต้องการได้

นอกจากวิธีการก่ออิฐไม่ว่าจะ การก่ออิฐแบบครึ่งแผ่น การก่ออิฐแบบเต็มแผ่น หรือ การก่ออิฐแบบสองชั้น


ก็ยังมีการก่ออิฐในรูปแบอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งเป็นลักษณะของการก่ออิฐแบบโชว์พื้นผิวของอิฐ โดยความสวยงาม
จะมาจากลวดลายของการวางอิฐให้มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เช่น
5

เทคนิคการฉาบปูน

เมื่อพูดถึงบ้าน องค์ประกอบสำคัญของบ้านอย่างหนึ่งก็คือ “ผนัง” ไม่ว่าจะเป็นบ้านแบบไหน สไตล์ไหน


ต้องมี การฉาบผนังปูน พูดถึงงานฉาบ ถือเป็นการตกแต่งผิวผนังให้เรียบร้อย ที่เป็นงานหลักในการก่อสร้างบ้าน ที่
เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้บ้ านสมบูรณ์ และสวยงามมากขึ้น โดยเป็นการปกปิดชั้นอิฐที่ก่อไว้ ซึ่งจะช่วยทำหน้าที่
ป้องกันความชื้นระหว่างสองด้านของผนัง สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้
ค่อนข้างมาก จึงมีปูนซีเมนต์สูตรต่าง ๆ สำหรับปิดผิวที่มีความเรียบเนียน สวยงามมากเป็นพิเศษ

ซึ่งในงานฉาบปูนก็จะมีขั้นตอนการทำงานอยู่หลายขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความเหมาะสมของ
พื้นผิวผนังที่จะทำการฉาบปูน เช่น ขั้นตอนการจับเซี้ยม, จับปุ่ม, การสลัดดอก,กรุตาข่าย, ขึ้นปูน (ฉาบปูน), ปาด
สามเหลี่ยม, เสริมปูน, ปั่นตีน้ำ, ลงฟอง, ปัดด้วยไม้กวาด เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผนังเรียบเนียน
ยิ่งขึ้น เพราะหลังจากช่างตีน้ำ(สลัดน้ำ)และปั่นผนังให้เรียบเสร็จแล้ว ผิวผนังก็จะเรียบแบบด้านๆและยังหลงเหลือ
ร่องรอยที่ไม่เรียบเนียนเล็กๆน้อยๆ ช่างฯก็จะทำการเก็บงานอีกครั้งโดยการใช้ฟองน้ำหมาดๆปั่นในขณะที่ปู นยัง
หมาดอยู่ ก็จะช่วยเก็บรอยหรือผิวที่ไม่เรียบ ให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น

เตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับการฉาบผนังปูน โดยสิ่งที่ต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้

1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ
2. เกียงไม้ และเกรียงพลาสติก
3. ฟองน้ำ และแปรงสลัดน้ำ
4. อุปกรณ์ผสมปูน
5. ถังปูน

ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ

สำหรับงานฉาบนั้น ในขั้นแรกให้ทำการเลือกปูนที่จะใช้ฉาบ จาก “ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำผนัง”


เสียก่อน จากนั้นจะมีระดับความละเอียดให้เลือกใช้ ดังนี้

สำหรับผนังที่ก่ออิฐมอญ(อิฐแดง) อิฐบล็อค(คอนกรีตบล็อค) และอิฐมวลเบาเทียม (อิฐมวลเบาชนิดไม่อบ


ไอน้ำ)

- ให้ใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท (ผสมร่วมกับทรายละเอียดตามอัตราส่วนหลังถุง)


6

- หากต้องการความเรียบเนียนมากกว่า ให้ใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์งานฉาบ ฉาบสูตรพิเศษ (ผสม


ร่วมกับทรายละเอียดตามอัตราส่วนหลังถุง)
- ถ้าต้องการความละเอียดที่มากขึ้นอีก ระดับ สามารถเลือกใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบ
ทั่วไป (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ซึ่งเนื้อปูนมีความละเอียดมากกว่าปูนซีเมนต์ผสม เนื่องจากคัดคุณภาพของ
วัสดุทดแทนทราย ผสมให้มาแล้วในถุง
- ถ้าต้องการความละเอียดที่มากขึ้นอีกระดับ สามารถเลือกใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบ
ละเอียด (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ซึ่งเนื้อปูนมีความละเอียดมากกว่ายิ่งขึ้น เนื่องจากคัดคุณภาพของวัสดุ
ทดแทนทรายให้มีความละเอียดสูง ผสมให้มาแล้วในถุง

การผสมปูนฉาบ เดิมทีนั้นจะมีการเพิ่มสารเคมีเพื่อช่วยในการทำงานที่ง่าย และให้งานที่ลด การ


แตกร้าว เมื่อใช้ปูนซีเมนต์ประเภทดั้งเดิม แต่ปัจจุบัน ตราเสือ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีการเพิ่มคุณสมบัติของปูน
ฉาบที่ดีลงในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ งานฉาบได้ทุกตัว โดยเฉพาะใน เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป สำหรับงานฉาบทุก
ชนิด ทำให้การทำงานง่ายขึ้น เพียงผสมน้ำก็สามารถใช้งานได้ทันที ช่วยให้ร่นระยะเวลาการทำงาน ได้งานที่
สมบูรณ์แบบ ไม่ต้องกลับมาแก้ไขงานอีก

ขั้นตอนการฉาบ

ที่มา : XEKA AUTOMATIC DOOR. ขั้นตอนการฉาบ. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http://www
.autoslidedoor.com/บ้าน/การฉาบผนังปูน/

- รอผนังที่ก่อเซ็ตตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน โดยระหว่าง 7 วันนั้นให้มีการรดน้ำบ่มผนังอย่างต่อเนื่อง


ด้วย
7

- เช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐยึดเกาะกันดี ผนัง ไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ หากผนังมีการโน้มเอียงหรือเว้ายุบ


จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิวและทำให้ได้ระดับเท่ากัน (เมื่อฉาบไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร) ให้สกัดส่วน
เว้าแอ่นออก เพื่อลดโอกาสหลุดล่อนจากการฉาบที่หนาเกินไป
- จับเซี้ยมและจับปุ่ม เพื่อเป็นการฉาบให้ได้ระดับ และความหนาที่เหมาะสม โดยสามารถดูได้จาก
ภาพประกอบ ซึ่งนิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท มาผสมกับทรายให้มีส่วนของปูน
เข้มขนกว่าการใช้งานทั่วไป เรียกว่า ปูนเค็ม
- ติดลวดตะแกรง หรือกรงไก่ บริเวณมุมวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสแตกร้าวจากการยืดหด
ตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ระหว่างส่วนก่ออิฐกับเสาเอ็นและคานทับหลัง
ระหว่างร่องการเดินท่อเดินสายไฟซึ่งปิดทับด้วยปูนแล้วกับส่วนก่ออิฐ
- ก่อนการฉาบ 1 วัน ให้มีการรดน้ำในช่วงเย็น จากนั้นก่อนทำการฉาบในวันถัดไปให้รดน้ำผนังในช่วง
เช้า ทิ้งให้หมาดก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบขณะที่ผนังยังเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับ
- การบ่มผิว ควรมีการรดน้ำผนังอย่างต่อเนื่องไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 7 วัน หาก
อากาศร้อน มีแดดจัด หรือลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียน้ำเร็วเกินไป ควรเพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้ง
ต่อวัน และยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัส
กับอากาศที่รุนแรง
การตรวจสอบผนังก่ออิฐฉาบปูน (Check lists)
ทั้งนี้ควรมีการตรวจสอบงาน เมื่อเราทำการก่อสร้างอะไรซักอย่าง การตรวจสอบงานให้เป็นไปได้อย่าง
ถูกต้องนั้น เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะ บ้านเป็นสิ่งที่เราไม่ได้สร้างบ่อยๆ ในส่วนของกำแพง
อิฐให้ลองตรวจสอบตาม Check list เบื้องต้นนี้ดู หรือหากต้องการความมั่นใจ ควรให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจงานใน
ส่วนนี้เพิ่มเติม
1. อย่าลืมเช็ควัสดุก่อนเริ่มงาน ไม่ว่าจะเป็นขนาดอิฐที่ใช้ได้มาตรฐานหรือไม่ ปูนที่ใช้ชนิดถูกต้องหรือไม่
2. การเตรียมพร้อมก่อนเริ่มก่อ นำอิฐมอญไปแช่น้ำหรือไม่ ทำความสะอาดพื้นที่หรือยัง มีฝุ่น หรือไม่
3. การตรวจขั้นตอนการก่อ เริ่มต้นก่อจากริมเสาไปยังตรงกลางหรือไม่ ก่อตามแนวที่ขึงไว้หรือเปล่า ชั้น
ปูนหนาเกินไปไหม(ไม่ควรเกิน 1.5 ซม.) ก่ออิฐตามรูปแบบที่คุย กันไว้หรือไม่ ตรวจดู คานทับหลัง
เนื่องจากการก่อผนังอิฐจะต้องยึดติดกับเสา และมีระยะความกว้าง 2.5 เมตร และทุกๆความสูง 1.5
เมตร เนื่องจากการก่อผนังเป็นผืนใหญ่ๆไม่มี คาน หรือ เสาเอ็นเลย จะทำให้ผนังหนักและล้มลงได้
4. การตรวจขั้นตอนการฉาบ มีการทิ้งปูนให้เซ็ตตัวหรือไม่ มีการรดน้ำผนังก่อนฉาบหรือไม่
8

สีทาบ้านแต่ละประเภท

ที่มา : OneStockHome. สีทาบ้านแต่ละประเภท. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก


https://www.onestockhome.com/th/homemap_contents/81630218/color-information
ซึ่งสีแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกโดยพิจารณาลักษณะ
การใช้งานเป็นหลัก ซึ่งมีข้อควรพิจารณาอยู่ 3 เรื่อง
1. พื้นผิวที่ต้องการทา : ต้องรู้ก่อนว่าพื้นผิวที่ต้องการทาเป็นวัสดุชนิดใด ทาสี ไม้จริง ไม้เทียม ตอนกรีต
หลังคา หรือ ทาสีเหล็ก
2. พื้นที่ที่ต้องการทา : ดูว่าจะใช้ทาภายนอกหรือภายในอาคาร ซึ่งโดยทั่วไปพื้นที่ภายนอกต้องเผชิญกับ
สภาพอากาศที่รุนแรงกว่าภายใน
3. รูปลักษณ์ที่ชื่นชอบ : สีแต่ละชนิด ทั้งในเรื่องความทึบของสี ความสดของสี และความเงางาม
9

ประเภทของสีทาบ้าน

ที่มา : OneStockHome. ประเภทของสีทาบ้าน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก


https://www.onestockhome.com/th/homemap_contents/81630218/color-information
1. สีทาบ้านประเภทสีน้ำมัน
สีน้ำมัน : เป็นสีที่ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย (Solvent) สีน้ำมันเป็นสีชนิดหนึ่งที่เมื่อทาแล้ว
ค่อนข้างสวยงามเพราะเอกลักษณ์ของสีประเภทนี้คือความเงางาม มีจุดเด่นที่มีความวาววับจากการสะท้อนแสง แต่
มีข้อจำกัดที่ราคาค่อนข้างสูงและแห้งช้า สีน้ำมันค่อนข้างเหมาะกับการใช้ทาบนผิวเหล็กหรือไม้ เช่น ประตูรั้วบ้าน
ราวโลหะ หรือ ประตูรั้ว ไม่นิยมใช้ทาบนซีเมนต์,คอนกรีต และ ไม้เทียม เพราะอายุการใช้งานสั้น
2. สีทาบ้านประเภทสีอะคริลิก (สีพลาสติก)
สีอะคริลิกหรือสีพลาสติก : เป็นชนิดที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ใช้น้ำเป็นตั วทำละลาย เหมาะสำหรับใช้ทา
บนพื้นผิวที่เป็นซีเมนต์ คอนกรีต รวมถึงกระเบื้อง เพื่อให้ได้สีสันที่สวยงาม โดยสีอะคริลิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ได้แก่ สีทาภายนอกและสีทาภายใน
- สีทาภายนอก ถูกออกแบบมาให้พร้อมเผชิญกับสภาวะแดดและฝนโดยตรง เพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้
ดีและยาวนาน จึงมีความทนทานกว่าและมีราคาที่สูงกว่าสีทาภายใน
- สีทาภายใน ถูกออกแบบมาให้ใช้ทาภายในอาคารเท่านั้นเพราะไม่จำเป็นต้องทนแดดทนฝน สีทา
ภายในก็มีข้อดีที่มีกลิ่นและสารเคมีเบาบางกว่าสีทาภายนอก
3. สีทาบ้าน ประเภท สีทาไม้
สีทาไม้ : ทาไม้เป็นอีกหนึ่งประเภทของสีที่นิยมใช้กันในการตกแต่งบ้าน และแน่นอนว่าชื่อก็บอกอยู่ว่าเป็น
สีที่เหมาะกับงานไม้ สามารถใช้สีประเภทนี้กับการทาสีโครงสร้างที่เป็นไม้ไม่ว่าจะเป็นตัวกำแพงไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้
10

พื้นไม้ หรือ ผนังไม้ ล้วนแล้วแต่สามารถใช้สีประเภทนี้ได้ทั้งหมด คุณสมบัติของสีทาไม้จะให้ความเงางามกับไม้จนดู


มีความสวยงาม และมันยังช่วยให้สีของไม้ดูสดมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
เทคนิคทาสีบ้านด้วย กฎ 60-30-10 - สัดส่วนง่ายๆ ที่ใช้ได้เสมอ
เลือกใช้สีหลัก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ 60% ตกแต่งไฮไลท์ผนังด้านหนึ่งอีก 30% ด้วยสีที่เข้มหรือสด
กว่า เพิ่มความสะดุดตา ด้วยเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่ง อีก 10% กับอีกน้ำหนักสีที่แตกต่าง

ที่มา : ThaiHomeTown. เทคนิคทาสีบ้านด้วย กฎ 60-30-10. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก


https://www. thaihometown.com/decorate/5178/ตกแต่งห้องให้สวยงามอย่าลืมกฏเหล็ก60-30-
10#:~:text=กฎ%20“60-30-10”%20ที่ว่านี้คือ,เอาละ!

ที่มา : ThaiHomeTown. เทคนิคทาสีบ้านด้วย กฎ 60-30-10. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก


https://www. thaihometown.com/decorate/5178/ตกแต่งห้องให้สวยงามอย่าลืมกฏเหล็ก60-30-
10#:~:text=กฎ%20“60-30-10”%20ที่ว่านี้คือ,เอาละ!
11

ที่มา : ThaiHomeTown. เทคนิคทาสีบ้านด้วย กฎ 60-30-10. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก


https://www. thaihometown.com/decorate/5178/ตกแต่งห้องให้สวยงามอย่าลืมกฏเหล็ก60-30-
10#:~:text=กฎ%20“60-30-10”%20ที่ว่านี้คือ,เอาละ!
ปริมาณของถังสีทาบ้าน

ที่มา : OneStockHome. ปริมาณของถังสีทาบ้าน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก


https://www.onestockhome.com/th/homemap_contents/81630218/color-information
การเลือกสีทาบ้านในปริมาณที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน สีทาบ้าน 1 ถังโดยมากแล้วมักจะมี
ปริมาตร 1 แกลลอนหรือ 5 แกลลอน โดยหน่วยที่ใช้วัดคือ แกลอน (1 แกลอน = 3.785 ลิตร) แบ่งออกเป็น 4
ขนาดด้วยกันคือ 1 /4 แกลอน = 0.946 ลิตร, 1 แกลอน = 3.785 ลิตร, 2.5 แกลอน = 9.46 ลิตร, 5 แกลอน
=18.925 ลิตร
12

วิธีคำนวณพื้นที่ทาสี
1. หาพื้นที่ทั้งหมดของผนังห้องทั้ง 4 ด้าน โดยใช้สูตรง่ายๆ คือ 2 (กว้าง + ยาว) x สูง
2. หักลบพืน้ ที่ประตูหน้าต่างโดยคำนวณหาพื้นที่ใช้สูตร กว้าง x สูง
3. เมื่อได้จำนวนพื้นที่ที่ต้องทาสีแล้ว ให้นำค่าที่ได้มาคำนวณหาปริมาณของสีที่ต้องใช้ ได้แก่ พื้นที่บ้านของ
เรา ÷ พื้นที่ใช้งานต่อตารางเมตรของสี (ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์)
หลังจากได้ปริมาณของสีที่ต้องใช้ทาบ้านแล้วให้นำตัวเลขมาเปรียบเทียบกับขนาดของสีที่มีจำหน่าย
ในท้องตลาด ทั้งนี้อย่าลืมว่า การทาสีให้ได้คุณภาพนั้น จะต้องทาด้ วยกันทั้งหมด 3 รอบ คือทาสีรองพื้น 1 รอบ
และทาสีจริงอีก 2 รอบเพื่อให้เนื้อสีติดแน่นทนนาน โดยให้คูณ 3 เข้าไปในจำนวนสีที่ต้องใช้ด้วย
ขั้นตอนการตรวจงานผนังทาสี
1. เลือกสีให้ตรงความต้องการและงบประมาณ
ถ้าท่านเจ้าของบ้านเป็นผู้เลือกซื้อสีเอง ก่ อนอื่นให้ดูว่าจะมองหาสีเกรดอะไร โดยทั่วไปจะมี 3 เกรด คือ
เกรดพิเศษ อายุการใช้งาน 10 ปีขึ้นไป, เกรดมาตรฐาน อายุการใช้งานประมาณ 5 ปี, และ เกรดประหยัด อายุการ
ใช้งานประมาณ 2-5 ปี ราคาก็จะแตกต่างกัน แต่แนะนำว่าให้ใช้เกรดมาตรฐานขึ้นไปนะครับ คุ้มค่ากว่าในระยะ
ยาว ต่อมาก็มาเลือกที่คุณสมบัติพิเศษของสีแต่ละยี่ห้อ เช่น เป็นสียืดหยุ่นสูงเหมาะสำหรับทาได้ทั้งภายนอกภายใน
สีกันความร้อนช่วยให้บ้านเย็น สีเช็คล้างทำความสะอาดได้ที่เหมาะกับบริเวณที่เปื้อนได้ง่าย รวมไปถึงสีที่ไม่ต้องทา
รองพื้นก่อนก็มีเช่นกัน อย่างไรก็ตามลองดูรายละเอียดข้างถังว่าเป็นสีสำหรับใช้ทำอะไร แล้วเปรียบเทียบกับราคาสี
ต่อตารางเมตรที่คาดว่าจะใช้ ดูว่าอันไหนตรงกับความต้องการและคุ้มค่ามากที่สุด
2. ตรวจสเปคสี ก่อนจะทา
ถ้าช่างเป็นผู้จัดหาซื้อสีมาเองตามแบบ ให้ตรวจสอบว่าช่างใช้สี ชนิด ยี่ห้อ และ โทนสีถูกต้องตามที่
สถาปนิกหรือเจ้าของบ้านเป็นผู้กำหนด ถ้าเป็นสีผสมควรมาล็อตเดียวกัน เพื่อให้สีไม่แตกต่างกันมาก ถ้าดูแล้วเป็น
สีที่ซื้อมาจากจากร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไปหรือนำสีเก่ามาใช้ซ้ำ ควรดูระยะเวลาตั้งแต่บรรจุสีหรือตั้งแต่เปิด
กระป๋องว่าเนื้อสีหมดสภาพหรือยัง จากนั้นให้ตรวจว่าผนังที่จะทาเหมาะสมกับสีที่ระบุในแบบหรือไม่ เช่น ผนังฉาบ
ปูนไม่ควรทาสีน้ำมันเพราะสีจะหลุดลอกได้และจะดูไม่เรียบร้อยเมื่อทา ควรเลือกใช้สีอะคริลิกแทน ตรงนี้อาจจะ
ศึกษาจากคู่มือของสีที่ซื้อมาว่าเหมาะกับผนังแบบใด สีที่ใช้เป็นสีสำหรับทาภายนอกหรือภายใน
3. ตรวจการเตรียมพื้นที่ก่อนทา
ตรวจสอบการเตรียมพื้นผิวผนังก่อนทา พื้นผิวต้องแห้ง สะอาด ไม่มีฝุ่น เศษปูน คราบไขมัน ต่างๆ โดย
หากเป็นผนังเก่า ต้องมีการลอกและขัดสีเก่าออกและขัดผนังให้เรียบก่อน และควรทาด้วยน้ำยากำจัดและยับยั้งเชื้อ
13

ราและตะไคร่น้ำแล้วทิ้งไว้หนึ่งคืนหรือจนกว่าผนังจะแห้งสนิท ถ้าผนังมีรอยร้าวหรือเป็นหลุมไม่เรียบให้โป๊วและขัด
ผนังให้เรียบก่อน แต่ถ้าเป็นผนังใหม่ต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าผนังไม่มีความชื้นเหลือ อยู่
นอกจากนี้ช่างต้องรองพื้นที่จะทาด้วยหนังสือพิมพ์หรือเทปพลาสติกในส่วนของพื้น เนื่องจากลูกกลิ้งจะทาไม่ถึงมุม
ผนังและป้องกันสีหยด แล้วถ้ามีเฟอร์นิเจอร์ที่ย้ายไม่ได้หรือเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อินก็ต้องให้ช่างห่อเฟอร์นิเจอร์ก่อน
ทาสี ถ้าเป็นผนังภายนอก แล้วต้องมีการขึ้นไปทาบนที่สูง ให้ตรวจดูวิธีการทำงานของช่างว่ามีความปลอดภัยในการ
ใช้บันไดและการต่อนั่งร้านต้องมีความแข็งแรง และคอยตรวจดูในขั้นตอนทาสีว่าช่างได้เก็บรายละเอียดในส่วนของ
บัวรอบช่องเปิดต่างๆ หรือมุมต่างๆ ที่มองไม่เห็นหรือไม่
4. ตรวจการทาสีและการรอสีแห้ง
ช่างต้องมีการทาสีรองพื้นก่อนหนึ่งรอบ แล้วถึงจะทาสีจริงลงไปอีกสองรอบ ตรวจสอบระยะเวลาต้องรอ
ให้สีแห้งก่อนจะทาทับครั้งต่อไป เงื่อนไขเป็นไปตามคู่มือการใช้สีชนิดนั้นๆ โดยปกติถ้าเป็นพื้นปูนเก่าควรทาน้ำยา
รองพื้นปูนเก่าสูตรน้ำมัน เพื่อเสริมการยึดเกาะ 1 เที่ยว แล้วทิ้งให้แห้ง 12 ชั่วโมง ส่วนพื้นปูนใหม่ ทาสีรองพื้นปูน
ใหม่ 1 เที่ยว ทิ้งให้แห้ง 30 นาที - 2 ชั่วโมงก่อนทาสีทับหน้า สำหรับขั้นตอนนี้ก็ดูว่าช่างทาสีแต่ละรอบได้สม่ำเสมอ
กันหรือไม่ ผนังด้านเดียวกันควรทารวดเดียวกันไปเลยเพื่อให้สีแห้งพร้อมๆ กัน จะคำนวณเวลาทาสีรอบต่อไปได้
ง่ายขึ้น การทาสีหากใช้ลูกกลิ้ง ก็ให้ทาสีแบบต่อเนื่อง ขยับแปลงเป็นรูปตัว W เพื่อให้ทาสีมีความต่อเนื่อง เรียบ
เนียนกว่าการยกลูกกลิ้งแล้วทา แล้วถึงใช้แปรงทาสีเก็บรายละเอียดตรงขอบที่ลูกกลิ้งไปไม่ถึง
5. รอสีแห้งและเก็บงาน
เมื่อทาสีครบทุกรอบแล้ว ก็ต้องรอสีแห้งประมาณ 1 วันหรือมากกว่านั้น ช่วงรอนี้ก็ต้องคอยดูว่าไม่ให้ใคร
ไปโดนผนังที่ทาสีไว้ อาจจะหาเชือกมากั้นไว้ รอจนสีแห้งก็ให้ลอกเทปพลาสติกที่พื้นออก พร้อมเก็บรายละเอียด
บางจุดที่อยากซ่อมแซมก็เป็นอันแล้วเสร็จครับ
14

บรรนาณุกรม
OneStockHome. ผนังก่ออิฐ. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก
https://www.onestockhome.com/th/homemap_contents/81630218/color-information
OneStockHome. ผนังทาสี. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.
onestockhome.com/th/homemap_contents/81630218/color-information
XEKA AUTOMATIC DOOR. ผนังฉาบปูน. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.
autoslidedoor.com/บ้าน/การฉาบผนังปูน/
Baania. ขั้นตอนการตรวจงานผนังทาสี. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.
baania.com/article/ขัน้ ตอนการตรวจงานผนังทาสี-article_4356
Promotions. ข้อดี – ข้อเสียของอิฐแต่ละชนิดในการบริหารงานก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก
https://www. promotions.co.th/บทความ/ข้อดี-ข้อเสีย-ของอิฐแต่ล.html

You might also like