You are on page 1of 1

บทอ่านออกเสียง รอบคัดเลือก ระดับอุดมศึกษา

การประกวดอ่านออกเสียงภาษาไทย
รางวัลหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ
เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๕๕๙

****************************************************************************

วรรณคดีในฐานะเอกลักษณ์แห่งชาติ
...เราควรถือว่า วรรณคดีเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับสถาปัต ยกรรม
หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เราควรถือว่า การที่เรามีรูปแบบวรรณกรรม
หลายแบบ แสดงว่าเรามีความเจริญมาถึงขั้นหนึ่งเทียบกับชุมชนอื่น ๆ เรามีวิธีการใช้ภาษาได้
ไม่เฉพาะแต่เพื่อติดต่อสื่อสารกันตามธรรมดา แต่เรามีกลศิลป์ในการสื่อสาร...
ข้า พเจ้าไม่เห็น จ าเป็น จะต้ องตื่น เต้น ว่า ชาติ หนึ่ ง ชาติใ ดมี เอกลัก ษณ์ม ากน้อ ยอย่ างไร
ข้าพเจ้าว่าน่าจะตื่นเต้นกันว่า เมื่อมีอะไรแล้ว ไม่ว่าจะได้มาจากไหน เรามาทาให้ดีหรือไม่ดี ถ้า
ทาดีแล้ว ข้าพเจ้าว่าจะปรากฏเป็นเอกลักษณ์ออกมาเอง เพราะในศิลปะ ความดีความงามนั้นมัก
ไม่ซ้าแบบกัน ส่วนในทางจริยธรรมนั้น ความดีความงามมักเหมือนกันทั่วไปเป็นสากล ในเรื่องที่
เกี่ยวกับศิลปะ เช่น วรรณคดี เราควรเพ่งเล็งหนีจากความคิดตื้น ๆ การอ่านง่าย ๆ การแต่งอย่าง
ไม่บ รรจง ส่ว นความไม่รังเกีย จความหยาบความลวกหวั ด ดูอ อกจะเป็ นสากลในโลกปัจ จุบั น
โดยเฉพาะในชาติที่เขาเรียกว่ากาลังพัฒนา ในชาติไทยเรา การศึกษาวรรณคดีให้ถี่ถ้วน ใช้ความ
พินิจพิเคราะห์ มีความเคารพในศิลปะ จะช่วยให้เราเป็นคนรู้จักสังเกต รู้จักคิด โดยเฉพาะในเรื่อง
ชีวิตมนุษย์ ข้าพเจ้าว่า ถ้าหากวรรณคดีทาได้ในเรื่องนี้ วรรณคดีก็ เป็นสิ่งมีคุณค่าแก่ชาติ จริง
ตามที่คนทั่วไปสานึกอยู่เงียบ ๆ ในใจ และบางคนก็กล่าวออกมาอย่างแจ่มแจ้ง...

( “วิเคราะห์รสวรรณคดีไทย” หม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ )

หมายเหตุ ผู้ประกวดไม่ต้องอ่านข้อความที่พิมพ์ด้วยตัวเอน

You might also like