You are on page 1of 4

สถานการณ์การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพไปสังกัดองค์การ

บริหารส่วนจังหวัด ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ที่ถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 ทัง้ ประเทศ จำนวน 3,264 แห่ง จาก
ทัง้ หมด 9,831 แห่ง คิดเป็ นร้อยละ 33.29 โดยถ่ายโอนไปยังองค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดทัง้ หมด 49 แห่ง และในปี งบประมาณ 2667 จะมีองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดที่ประเมินในปี งบประมาณ 2566 พร้อมรับการถ่ายโอน
เพิ่มอีก 15 แห่ง ส่วนอีก 12 แห่ง ยังไม่ขอรับการประเมินความพร้อมในการ
ถ่ายโอน

ข้อมูลแยกตามภาค พบว่า ภาคกลาง (เขตสุขภาพที่ 4 และ 5) มีโรง


พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 จำนวน
481 แห่ง จากทัง้ หมด 1,711 แห่ง คิดเป็ นร้อยละ 28.11 ภาคตะวันตก
(เขตสุขภาพที่ 6) มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนใน
ปี งบประมาณ 2566 จำนวน 134 แห่ง จากทัง้ หมด 774 แห่ง คิดเป็ นร้อย
ละ 17.31 ภาคตะวันเฉียงเหนือ (เขตสุขภาพที่ 7 8 9 และ 10) มีโรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 จำนวน
1,513 แห่ง จากทัง้ หมด 3,475 แห่ง คิดเป็ นร้อยละ 43.54 ภาคเหนือ (เขต
สุขภาพที่ 1 2 และ 3) มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนใน
ปี งบประมาณ 2566 จำนวน 853 แห่ง จากทัง้ หมด 2,348 แห่ง คิดเป็ นร้อย
ละ 36.33 ภาคใต้ (เขตสุขภาพที่ 11 และ 12) มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลที่ถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 จำนวน 283 แห่ง จากทัง้ หมด
1,518 แห่ง คิดเป็ นร้อยละ 18.64

ในส่วนของข้อมูลรายเขต พบว่า มีร้อยละการถ่ายโอนในปี งบประมาณ


2566 มากกว่าร้อยละ 30 เรียงตามลำดับ จำนวน 5 เขตสุขภาพ ได้แก่ เขต
สุขภาพที่ 7 ร้อยละ 81.09 (565 รพ.สต.) , เขตสุขภาพที่ 5 ร้อยละ 48.19
(439 รพ.สต.) เขตสุขภาพที่ 4 ร้อยละ 45.88 (267 รพ.สต.) , เขตสุขภาพที่
10 ร้อยละ 43.55 (368 รพ.สต.) และเขตสุขภาพที่ 1 ร้อยละ 36.37 (411
รพ.สต.) ในส่วนของเขตสุขภาพที่ถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 น้อยกว่า
ร้อยละ 30 เรียงตามลำดับ จำนวน 7 เขตสุขภาพ ได้แก่ เขตสุขภาพที่ 8
ร้อยละ 27.63 (242 รพ.สต.) , เขตสุขภาพที่ 2 ร้อยละ 27.52 (175
รพ.สต.) เขตสุขภาพที่ 11 ร้อยละ 26.74 (192 รพ.สต.) , เขตสุขภาพที่ 9
ร้อยละ 25.95 (247 รพ.สต.) , เขตสุขภาพที่ 6 ร้อยละ 17.31 (565
รพ.สต.) เขตสุขภาพที่ 12 ร้อยละ 11.38 (91 รพ.สต.) และเขตสุขภาพที่ 3
ร้อยละ 5.25 (42 รพ.สต.)

เมื่อพิจารณาในภาพจังหวัด พบว่า มีจังหวัดที่มีการถ่ายโอนใน


ปี งบประมาณ 2566 ทุกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 จังหวัด
ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี (174 รพ.สต.) จังหวัดขอนแก่น (248
รพ.สต.)จังหวัดร้อยเอ็ด (249 รพ.สต.) จังหวัดมุกดาหาร (78 รพ.สต.) และ
จังหวัดหนองบัวลำภู (83 รพ.สต.)

เขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ


จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็ นเขตที่
องค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกแห่งขอประเมินแล้วในปี งบประมาณ 2565
และมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566
ทัง้ หมด จำนวน 1,513 แห่ง จากทัง้ หมด 3,475 แห่ง คิดเป็ นร้อยละ 43.54
โดยแบ่งตามขนาดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดังนี ้ ขนาด S จำนวน
263 แห่ง ขนาด M จำนวน 1,086 แห่ง และ ขนาด L จำนวน 164 แห่ง
เมื่อพิจารณาข้อมูลระดับจังหวัด พบว่า จังหวัดมุกดาหารเป็ นจังหวัดเดียว ที่
มีการมีการถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 ทุก รพ.สต. (78 รพ.สต.) ส่วน
จังหวัดมีร้อยละการถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 มากกว่าร้อยละ 30
เรียงตามลำดับ ได้แก่ อำนาจเจริญ ร้อยละ 92.21 (71 รพ.สต) จังหวัด
ศรีสะเกษ ร้อยละ 46.06 (117 รพ.สต.) และจังหวัดยโสธร ร้อยละ 42.86
(48 รพ.สต) ส่วนจังหวัดอุบลราชธานี มีการถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566
ร้อยละ 16.77 (54 รพ.สต.) และเมื่อพิจารณาข้อมูลระดับอำเภอ ในเขต
สุภาพที่ 10 พบว่า อำเภอที่มีการถ่ายโอนในปี งบประมาณ 2566 ทุกโรง
พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 18 อำเภอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมื่อโอนย้ายไปแล้ว มีหน้าที่และ
อำนาจในการจัดให้บริการระบบสุขภาพแก่ประชาชนครอบคลุม ๕ มิติ คือ
การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การส่งเสริมสุขภาพ การบำบัดและป้ องกัน
ควบคุมโรค การฟื้ นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และการคุ้มครองผู้บริโภค
ซึ่งจะมีโครงสร้างอัตรากำลังแบ่งตามขนาดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบล ดังนี ้ ขนาดเล็ก (S) มีกรอบอัตรากำลัง 7 – 10 คน ขนาดกลาง (M) มี
กรอบอัตรากำลัง 12 คน ขนาดใหญ่ (L) มีกรอบอัตรากำลัง 14 คน โดยภาย
ใต้การควบคุมกำกับของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แบ่ง
กลุ่มงานเป็ น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มงานบริการสาธารณสุข กลุ่มงานส่งเสริม
ป้ องกันควบคุมโรค และกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว โดยงานด้านการเฝ้ า
ระวัง ป้ องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จะคาบเกี่ยวระหว่าง 2 กลุ่มงานคือ
กลุ่มงานส่งเสริมป้ องกันควบคุมโรค และกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว

ทัง้ นี ้ ด้านการบริหารภารกิจด้านสาธารณสุขมูลฐานและการจัดบริการ
ปฐมภูมิ และการกำกับ ติดตาม และประเมินผล จะดำเนินการโดย คณะ
กรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) หรือ กสพ. เป็ น
หลัก และให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเป็ นผู้ควบคุมการประกอบวิชาชีพ
เวชกรรมของบุคลากรในสังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

You might also like