You are on page 1of 11

REVIEW ON THE

WESTERN INFLUENCE ON
THE TRANSFORMATION OF
WOMEN IN THE ROYAL
COURT DURING THE REIGNS
OF KING RAMA V - RAMA VI

ปริทัศน์ วารสารประวัติศาสตร์ เรื่อง อิทธิพลตะวันตกที่มีผลต่ อการ


ปรับเปลี่ยนของสตรีในราชสานักในสมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 6

วริ ศรา คงพัฒ


Warisara kongpat
นักศึกษาปริ ญญาตรี ภาควิชาเอเชียศึกษา
คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

1
บทนำ
ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 การศึกษาและความทันสมั ยแบบตะวันตกเข้ าถึ งมายั งประเทศไทย
ค่อนข้างมาก สังคมไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5- รัชกาลที่ 6 มีการพัฒนาบ้านเมืองและมีการรับวัฒนธรรม
และอิทธิพลตะวันตกเข้ามาอย่างกว้างขวาง เมื่อกล่าวถึงสถานภาพของสตรีในสังคมไทยจะเห็นว่าสตรี
ไทยไม่มีสิทธิและอำนาจในการตัดสิน ชีวิตของตนเอง หรือเรียกร้องสิทธิ ให้กั บตนเองได้ สตรีไทยถูก
กำหนดไว้ว่าให้เชื่อฟังบิดามารดา เมื่อแต่งงานออกไปแล้วต้องเชื่อฟังสามี สังคมไทยมีวัฒนธรรมในการ
ยอมรับให้ผู้ชายมีภรรยาได้หลายคนแต่ผู้หญิงไม่สามารถมีหลายคนได้เพราะจะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงชั้นต่ำ
และถูกตำหนิต่อว่า โครงสร้างทางสังคมของสตรีไทยในสมัยก่อนถูกแบ่งเป็น 2 ประเภทคือสตีชั้นสูง และ
สตรีสามัญชน สตรีไทยมีหน้าที่ปรนนิบัติครอบครัวและทำงานบ้านเรือน ส่วนสตรีสามัญชนจะประกอบ
อาชีพเช่น ทำไร่ ทำนา คเรขานเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องมีวิ ชาความรู้ สตรีสามัญชนจึงไม่ได้รับโอกาสใน
การศึกษาและถูกฝึกฝนเพียงแค่การเป็นแม่บ้านแม่เรือนเท่านั้น

สะท้อนให้เห็นว่าสังคมให้ความสำคัญกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิงตั้งแต่สมัยก่อนและเป็นรากฐานระยะ
ยาวมาจนถึงปัจจุบันที่ทำให้ทุกวันนี้สังคมไทยในปัจจุบันมีผู้ชายทำงานตำแหน่งสูงมากกว่าผู้หญิง เพราะ
การปลูกฝังและโอกาสต่างๆที่ให้ผู้ชายได้รับการศึกษามากกว่ าผู้ หญิงเพราะมองว่าผู ้ หญิงเป็ น เพศที่
อ่ อ นแอ ในช่ ว งเข้ า สู ่ ย ุ ค รั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว (รั ช กาลที ่ 4) รั ช สมั ย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ไปจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุ ฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) แนวคิดและธรรมเนียมประเพณีการปฏิบัติตามวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาใน
ดินแดนประเทศไทย ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสตรีไทย แต่ยังมีการจำกัดในราช
สำนักไม่ได้แผ่วงกว้างมากนัก มีการเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย เริ่มเปิดรับและเตรียมตัวพร้อมกับวิทยาการ
แบบตะวันตกหลายรูปแบบ และมีผลต่อแนวคิดสถานภาพของสตรีไทยด้วย บทความวารสารนี้ได้กล่าว
เปรียบเทียบสตรีชั้นสูงในช่วงการเปลี่ยนแปลงว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และเห็นถึงความแตกต่าง
เมื่อได้รับอิทธิพลตะวันตกเข้ามาที่บางอย่างอาจขัดกับความเป็น วัฒนธรรมไทย แต่ในช่วงเวลาหลาย
ทศวรรษที่ผู้คนต้องใช้เวลาในการปรับตัวและปรับเปลี่ยนเพื่อให้ประเทศมีความทันสมัยเทีย บเท่ ากับชาติ

2
อื่นๆ ในการรับอิทธิพลตะวันตกเข้ามาช่วงแรกที่จำกัดเพียงแค่สตรีชั้นสูงในราชสำนัก ยังำด้เห็นถึงความ
แตกต่างของสตรีชั้นสูงและสตรีที่ไม่มีสถานภาพเทียบเท่า สถานภาพของสตรีไทยด้านการศึกษาในสมัย
จารีต มีเพียงแค่สตรีชั้นสูง หรือสตรีในราชสำนักเท่านั้นที่มีโอกาสในการศึกษา ส่วนสตรีสามัญชนแทบจะ
ไม่มีโอกาสเข้าถึงในการศึกษา วิชาที่สตรีชนชั้นสูงเล่าเรียนคือ กิจการบ้านเรือน ฝีมือประดิษฐกรรม การ
ปฏิบัติตนในโอกาสต่างๆ กิริยามารยาท จะเห็นได้ว่าสตรีชั้นสูงยังคงเล่าเรียนและให้ความสำคัญกั บวิ ชา
งานบ้านงานเรือนที่เป็นวิชาเฉพาะสำหรับสตรีในสมัยก่อน ทำให้เห็นว่าสังคมในยุคจารีตให้ความสำคัญ
กั บความสามารถของสตรีด้านการบ้านการเรือนมากที่ สุด ส่ วนสตรี สามั ญชนยั งคงไม่มี โอกาสได้รับ
การศึกษา การฝึกงานบ้านงานเรือนของสตรีชนชั้นสามัญชนจะเป็นการฝึกในระดับชาวบ้านที่ สามารถใช้
ในชีวิตประจำวันได้แต่ไม่ใช่งานปราณีต และโอกาสของทั้งสตรีสามัญชนและชนชั้นสูงในการเรีย นหนัง สือ
และงานฝีมืองานบ้านงานเรือนยังคงมีแหล่งเรียนรู้เพียงแหล่งเดียวคือ ญาติผู้ใหญ่ที่เป็นสตรีในบ้ าน เมื่อ
ยามที่ผู้ชายต้องถูกเกณฑ์ไปทำงานบ้านเมืองหรือใช้แรงงาน สตรีเหล่านี้ต้องประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงดู
ครอบครัวและเครือญาติแทนสามี ดังนั้นภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอดจึงเน้นไปทางด้านการใช้แรงงาน
เช่น ทำไร่นา ค้าขาย พายเรือ ทำให้สตรีสามัญชนไม่มีเวลาในการสร้างสรรค์งานอย่างประณีตมากนัก

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ภายหลังที่ได้ทำสนธิสัญญา


เบาวริงในพ.ศ.2398 ทำให้อิทธิพลแนวคิดเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมและเสรีภาพของตะวั นตกเข้ามา
ในสังคมไทย และเหตุนี้จึงส่งผลกระทบต่อบทบาทและสถานภาพของสตรีชาวไทย แนวคิดการปรั บปรุง
ประเทศให้ทันสมัยเทียบเท่ากับอารยประเทศอื่นในชาติตะวันตกทั้งโครงสร้างการบริหารประเทศ ระบบ
เศรษฐกิจ รวมไปถึงประเพณีวัฒนธรรมต่างๆที่ตะวันตกมองว่าสังคมไทยล้าหลัง จึงทำให้ในสมัยนี้เป็นยุค
เริ่มต้นของการพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นและ
ตระหนักถึงการศึกษาภาษาอังกฤษที่จะสามารถเจรจาติดต่อกับชาวตะวันตกได้ ดังนั้นจึงทรงพระราชดำริ
ว่าควรเปิดโอกาสให้สตรีได้รับการศึกษาภาษาอังกฤษ และการศึกษาในด้านอื่นๆด้วย โดยเริ่มจากจ้าง
ภรรยามิชชันนารีเข้ามาสอนภาษาอังกฤษให้แก่บรรดาเจ้าจอมและสตรีในวัง ทรงเห็นว่าสตรีก็เป็นส่วน
หนึ่งของสังคมไทย จึงควรได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ชาย และคำนึง แนวคิดในเรื่องความเสมอและ
เสรีภาพที่เริ่มส่งผลต่อสังคมไทย ประเด็นแรกที่ เด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสำคัญในการรับ
วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา คือการเรียนภาษาอังกฤษ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ภรรยามิชชันนารีของ
หมอบรัดเลย์เข้ามาถวายการสอนภาษาอังกฤษรวมถึง วิ ชาตามแบบตะวันตก เช่น วิทยาศาสตร์ แ ละ

3
วรรณกรรม ให้แก่พระโอรสและพระธิดาในราชสำนัก และได้มีการขยายไปถึงสตรีในราชสำนัก จนกระทั่ง
พัฒนาไปถึงการจ้างครูประจำที่เป็นชาวต่างชาติคือ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ เพื่อมาถวายการสอนให้แก่
พระโอรสและพระธิดาของพระองค์โดยเฉพาะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการวางรากฐานการศึก ษาแบบตะวันตก
ครั้งแรกในราชสำนัก การวางรากฐานในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ส่งผลให้เกิด
การพัฒนาการศึกษาและขยายผลต่อเนื่องในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจัด
การศึ ก ษาให้แก่เจ้านายสตรีและบุตรีของขุนนาง ให้ ม ิ ชชั น นารีเ ป็น ผู้ บุกเ บิก การก่ อตั ้ง โรงเรียนเช่น
โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นต้น

จากวารสารเรื่อง อิทธิพลตะวันตกที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนของสตรีในราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 -
รัชกาลที่ 6 ผู้เขียนพบประเด็นการเปลี่ยนแปลงในด้านสิทธิสตรีจากการรับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกมา
หลายปัจจัย ด้วยกาลเวลาหมุนผ่านไปการพัฒนาหรือแนวความคิดก็เข้ามาแทรกซึมเข้าสู่ประเทศไทยจน
เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง การที่เปลี่ยนแปลงนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในการเริ่มต้นของไทยก็เป็นเพราะเหล่า
สตรีชนชั้นสูงมาก่อนทั้งนั้นเป็นเพราะได้รับการศึกษาจากแนวความคิดโรงเรียนแบบหลักสูตรตะวันตก
จากวารสารกล่าวว่า สำหรับหลักสูตรการศึกษาแบบตะวันตกทั้งโรงเรียนที่มิชชันนารีจัดตั้ง และโรงเรียน
สตรี ท ี ่ จั ด ตั ้ ง โดยรัฐ จะมีวิชาคล้ายคลึง กัน ได้ แก่ การอ่ านเขี ย นทั ้ ง ภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษเลข
ภูมิศาสตร์ การเรียงความ วิชาแม่บ้านแม่เรือน วิชาตัดเย็บเสื้อผ้า วาดเขียน และวิชาพลศึกษา ทำให้สตรี
ที่เข้ารับการศึกษาแบบใหม่นี้ได้รับการฝึกฝนในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น และมีผล
ต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิด คือมีความคิดในทางตะวันตกหรือสมัยใหม่มากขึ้น กล่าวได้ว่าเป็นการ
เริ่มต้นฉีกแนวคิดเดิมที่สตรีไทยต้องทำแต่ กิจการงานบ้านงานเรือน เป็นการวางรากฐานให้กล้าออกสู่
สังคมหรือการออกสมาคมกับสังคมภายนอกมากขึ้น และเป็นการริเริ่มความคิดเรื่องของความเสมอภาค
ระหว่ างสตรีกั บบุรุษรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุ ลจอมเกล้ากล้ าอยู ่หั ว (รั ชกาลที ่ 5) ในราชสำนั ก
นอกจากการศึกษาแบบตะวันตกอย่างเป็นระบบมากขึ้น ความคิดและธรรมเนียมปฏิบัติตามวัฒนธรรม
ตะวันตก ยังมีอิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับแนวความคิดและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมตะวันตก
แก่สตรีในราชสำนัก สตรีชั้นสูงได้รับอนุญาตให้เข้าสมาคมกับชาวต่างชาติ ได้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ
เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย และการตื่นตัวในวิทยาการแบบตะวันตกหลายประการ

4
เมื ่ อ สั งเกตจากวารสารใน สมัยรัชกาลที่ 6 ความเป็น สตรีเพศได้เข้มข้นมากขึ้น จากความ
ต้องการให้สตรี มีความเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติของสตรีตามคติโบราณ ทำให้การศึกษาเข้ามา
เป็นส่วนสำคัญ บทบาทของสตรีในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจสำหรับผู้เขียน ใน
สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นสมัยที่ชาตินิยมเริ่มเป็นรูปธรรม มีการปลูกฝังความรักชาติที่ไม่ว่าบุรุษหรือสตรี
มีหน้าที่ในการปฏิบัติที่ทัดเทียมกันเพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปข้างหน้า สตรีเริ่มมีให้เห็นแวดวง
ทางสังคมมากขึ้น สามารถเข้าสมาคมกับบุรุษได้ หรือแม้แต่การที่สตรีสามารถเลือกทำงาน ความ
เป็นชาตินิยมส่วนใหญ่นำเสนอโดยใช้วรรณกรรมประดิษฐ์ที่นิยมใช้ผ่านสื่อและงานนิพนธ์ต่าง ๆ ทำ
ให้เกิดเป็นการวางรากฐานของแนวคิดชาตินิยม จนมีผลงานเพื่อแสดงออกถึงความเป็นคนดีตามที่
รัฐไทยได้นิยามไว้ว่า “คนดีต้องเป็นผู้แสดงออกถึงความรักชาติ และเทิดทูนต่อสถาบันหลักอันได้แก่
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์” (เด่นพงษ์ แสนคำ, 2561)

จากการเข้ามาของอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีผลทำให้สังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลาย
เปลี่ยนสภาพบ้านเมืองให้มีความทันสมัย และเป็นช่วงเดียวกับที่แนวคิดสตรีนิยมคลื่นลูกที่หนึ่งมีผล
ในการเรียกร้องถึงความเท่าเทียมของสตรีทั่วโลก แนวคิดสตรีนิยมคลื่นลูกที่1เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษ
ที่ 17-19 การที่กระแสเกิดขึ้นเป็นความคิดที่ถกเถีย งในประเด็น คุณ ธรรมของผู้ ชายและผู ้ หญิง การ
เรียกร้องความไม่เท่าเทียมสำหรับผู้หญิงที่ผู้ชายมี ผู้หญิงไม่มี แนวทางการดำเนินการเรียกร้องในการเป็น
อิ สระความเป็ น ผู้หญิง ในสมัยนั้น จะแบ่ง สัง คมออกเป็ น สองส่ วนคื อ โลกสา ธารณะแลกโลกส่ วนตัว
เพราะฉะนั้นในการเรียกร้องให้ผู้หญิงได้ออกมาทำงานนอกบ้านจึงเกิดการขัดแย้งกับการยอมรับในหน้าที่
ความรับผิดชอบในการทำงานบ้าน ดูแลสามีและลูก โดยนักสตรีนิยมในช่วงนี้มีทางออก คือ การเสนอให้
มีการจ้างคนมาช่วยทำงานบ้าน ส่วนขบวนการเคลื่อนไหวของผู้ หญิงที่สำคัญในช่วงนี้ คือ การเรียกร้อง
สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งของผู้หญิงในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จนประสบความสำเร็จในช่วงต้ น
ศตวรรษที่ 20 หลังจากประสบความสำเร็จแล้วการเคลื่อนไหวก็แผ่วลงจนกระทั่งทศวรรษที่ 1960 จึงเริ่ม
มีกระแสการเคลื่อนไหวแรงขั้น จนส่งผลไปถึงสตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง
รัช กาลที่ 6 ให้ค วามสำคัญกับสถานภาพและความเป็น อยู่ข องสตรี เพราะถือว่าเป็น
ภาพลักษณ์ประการหนึ่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง แต่กรอบความคิดของคนในสมัยนั้นก็ยงั ยึด
ติดกับกรอบทางศาสนาที่นับถือ และความคิดเก่า ๆ อยู่ มากเหมือนกัน ผู้หญิงหรือ สตรีก็ยังต้อง

5
ยึด ถือหลักจารีตและศาสนา ต้องเพีย บพร้อมด้ว ยคุณสมบัติของสตรีไ ทยตามคติ สมัยนั้น เช่น
กิริยามารยาทเรียบร้อย ระมัดระวังรักษาชื่อเสียงเกียรติ ยศของตน ดูแลกิจการบ้านเรือนไม่ให้
บกพร่อง เก่งการครัว รู้จักแต่งกายแต่พองาม ต้องมีการศึกษาดี รู้หนังสือพอสมควรและรู ้จัก
รับผิดชอบต่อหน้าที่ (กรรภิรมย์ สุวรรณานนท์, 2524 )
เพราะในสมัยนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญกับการยกย่องสตรีไทยเท่าที่ควร แม้ว่ารัชกาลที่ 6 จะ
พยายามนำเสนอบทบาทสตรีให้มีความเท่าเทียมกับบุรุษ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การสร้างความเท่า
เทียมนั้น เป็นเพียงการแสร้งว่าเท่าเทียม สืบเนื่องจากการครอบงำของแนวคิดทางสังคมที่ เ รา
เรียกว่าชายเป็นใหญ่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมให้ความสำคัญกับบุรุษเพศ ถึงสังคมพยายามจะทำความ
เข้าใจกับบทบาทสตรีให้เปิดกว้างขึ้น อย่างไรก็ต้องอยู่ภายใต้โครงสร้างสังคมโดยเพศชายอีกที การ
นำแนวคิดของตะวันตกมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมและสังคมไทยนั้น จึงถือว่ายังขาดความเข้าใจ
ในความหมายที่แท้จริงของความเท่าเทียม การยกย่องสตรีที่เกี่ยวกับสตรีชั้นสูงและสตรีที่เป็นข้า
บาทบริจาของขุนนาง ไม่ได้ยกย่องถึงสตรีสามัญชนทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ ำ ใน
ระดับชั้นทางสังคมอีกจุด และจากการแบ่งชนชั้นปกครอง (ชนชั้นสูง) และชนชั้นที่ถูกปกครอง ใน
สังคม เห็นได้ว่าสังคมไม่ได้ให้ความสนใจสตรีสามัญชนแม้แต่น้อย แต่แม้จะเป็นชนชั้นสูงก็ถูกล้วน
แต่กดให้สตรีอยู่ในระบบ แม้แต่ในสังคมสมัยนั้นก็ไม่ได้ ตระหนักถึงความเท่าเทียมของสตรีด้วย
กันเอง การที่จะชูว่าสตรีและบุรุษนั้นเท่าเทียมกัน ล้วนเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเลย ในอดีตมีเพียง2
ลักษณะที่น ำเสนอ คือรักชาติแ ละเรียบร้อยตามประเพณี ส่งผลสู่ การเลือกปฏิบัต ิทางเพศ ที่
ก่อให้เกิดการกีดกันบทบาทของเพศตรงข้ามอย่างไม่รู้ตัว
ส่งผลให้สตรีเกิดปลูกฝั่งค่านิยมตามรอยที่บุรุษเพศเขียนไว้ จนนำไปสู่สภาวะไร้อำนาจ
จากการเป็น เพศรองในสังคม ไม่ไ ด้ก่อให้เกิดความหลากหลาย ทั้งที่สตรีไ ทยนั้น ถึงจะไม่ต้อง
เรียบร้อย แต่ก็สามารถเก่ง ทัดเทียมบุรุษเพศ หรือถึงแม้ไม่มีคุณสมบัติดังที่ปรากฏ ก็สมควรที่จะ
ได้รับการยกย่อง เพราะทุกคนถือเป็นมนุษย์ที่ควรได้รับการยกย่องเท่ากัน และการนิยามเกี่ยวกับ
เพศก็มิใช่ตัวตัดสินว่า สามารถที่จะทำอะไรก็ได้ ในความเป็นเพศหลัก-เพศรอง เพราะเพศนั้น ถือว่า
มีความลื่นไหล ไม่ตายตัว จึงไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับบริบทของสังคมก็ได้ เหมือนกัน

6
การเคลื่อนไหวจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีก ารเคลื่อ นไหว เป็นลักษณะของการเคลื่อ นไหวแบบขบวนการทางสัง คมที ่มุ่ งสู่ก าร
เปลี่ยนแปลงเชิงอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นการเน้นพื้นที่ภายในและภายนอกของขบวนการ มีดังนี้

• มีขบวนการกลุ่มย่อยแบบมุ้งเน้นวัฒนธรรมในกลุ่มย่อย คือ การสร้างอัตลักษณ์มูลนิธิทั้งสอง


โดยมีอัตลักษณ์ไปในทางทิศเดียวกัน คือ “สตรี” เป็นกระบวนสร้างความสัมพันธ์ซึ่งกัน และ
กัน เช่น ในชุมชน ทางมูลนิธิทั้งสอง ทำการอบรบให้ความรู้ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษ
ชนของสตรี เพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อของคนที่ต้องการแสดงหาผลประโยชน์จากสตรี
• ขบวนการแบบท้าทายวัฒนธรรมนอกกลุ่ม เช่น ในรูปแบบของการประท้วงในวัน สตรี สากล
ซึ่งเป็นขบวนการการเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อย

การวัดผลสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของกระบวนการทางสังคมจากอดีตสมัยระชกาลที่ 5- รัชกาลที่ 6
รูปแบบของการปรับเปลี่ยนจากการได้รับพื้นที่จากการเมืองปกติมาเป็น “พื้นที่สาธารณะ” หรือ
เป็นการพิจารณาจาก “พื้นที่สื่อ”โดยมิติแรก เป็นการพิจารณากลุ่มปกติได้รับการยอมรับจากพื้นที่ขา่ ว
มากน้อยอย่างไร โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ
• ระดับวัตถุของการทำข่าว เช่น ม็อบ เป็นการก่อความวุ่นวายของสังคม
• ระดับของตัวกระทำการ โดยผู้สื่อข่าว จะท้อนความรู้ ความต้องการ ของกลุ่มนั้นๆ
จาก 2 ระดับข้างต้น มูลนิธิทั้งสองเพียงต้องการใช้สื่อ ในการให้ความรู้และความต้องการเท่านั้น
ไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้สังคมวุ่นวาย มูลนิธิทั้งสองจึงอยู่ในระดับของตัวกระทำการมากกว่ามิ ติสอง เป็น
การพิจารณาท่าทีการเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม เช่น ขบวนการที่ได้เคลื่อนไหวให้ยุติก ารใช้คำว่ า
“he”(เขา) เป็นขั้นตอนของการยอมรับในพื้นที่สื่อยอมรับไหม
ผลสะเทือนภายในต่อองค์กรปัจจุบัน
ผลสะเทือนภายในองค์กรหมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นต่อการดำเนินงานของกลุ่ม/องค์กรที่เคลื่อนไหว
ส่วน ผลต่ออัตลักษณ์ร่วม หมายถึง ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมต่ออัตลักษณ์ของกลุ่ม
ผลสะเทือนภายในต่อองค์กร ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสที่จะแสดงศักยภาพความสามารถที่มีอยู่แก่ใน
องค์กรได้โดยไม่มีความว่าเพศมาจำกัดการทำหน้าที่ในแต่ละส่วน

7
ผลต่ออัตลักษณ์ร่วม คือ ปัจจุบันแม้ ชาย หญิง ในองค์กรไทยจะได้รับการยอมรับที่เท่าเทียม แต่
เมื่อพิจารณาเฉพาะตำแหน่งบริหารระดับสูงพบว่าสัดส่วนของสตรียังคงมีน้อยกว่าบุรุษ การศึกษาใน
ต่างประเทศพบว่ากุญแจสำคัญของผู้หญิงเพื่อเข้าสู่งานบริหารระดับสูง คือการรับรู้ตนเองจากภายในหรือ
เรียกว่าการรับรู้อัตลักษณ์ ที่ทำให้ผู้หญิ งสามารถเป็นที่ยอมรับด้วยความโดดเด่นเฉพาะตัวจากภายในสู่
ภายนอก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งค้นหาการรับรู้อัตลักษณ์ของผู้บริหารหญิงระดับสูงในองค์กรไทยด้วย
มุมมองการเลื่อนไหลของอัตลักษณ์ และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ในการสร้างบทเรียนด้าน
การสื่อสารทำความเข้าใจตนเองจากภายในแก่สตรีไทยให้มีความพร้อม สามารถเป็นที่ยอมรับและประสบ
ความสำเร็จในการก้าวสู่บทบาทผู้บริหารสตรีระดับสูงได้
ผลสะเทือนด้านเนื้อหา
ด้านลบ ในทางลบ คือ ยังมีกลุ่มคนที่ไม่เข้าใจและไม่อมรับถึงการเรียกร้องสิทธิเหล่านี้อยู่ และยังเกิด
ความต่อต้าน โดยมีปัจจัยหลายด้านที่ฝังรากลึกมาจากอดีต ที่มีวัฒนธรรม หรือแนวความคิดเดิมเป็นแบบ
อนุรักษ์นิยมอยู่
ด้านบวก ทางที่ดี การเรียกร้องสิทธิสตรีให้มีความเท่า เทียม เป็นคล้ายกับการเรียกร้องสิทธิขั้น
พื้นฐานของความเป็นมนุษย์ทุกคนที่จะมีได้ ความชายเป็นใหญ่ที่ผู้หยิงออกมาเรียกร้องกันนั้นไม่ได้กดทับ
แค่ผู้หญิง ทั้งทฤษฎีและปฏิบัตขิ องความชายเป็นใหญ่ยังกดทับสร้างความกดดันให้ผู้ชาย ต้องคิดว่าตนนั้น
เป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องเข้มแข็ง ต้องไม่อ่อนแอ และอื่นๆอีกมากมาย ผลกระทบไม่ได้เกิดเพียงแค่
ผู้หญิง ดังนั้นการเรียกร้องสิทธิสตรีให้มีความเท่าเทียมของการเป็นมนุษย์ให้เท่ากันมากที่สุดเท่าที่จะ
เป็นได้ จึงเป็นประโยชน์และผลดีต่อมนุษย์ในสังคมร่วมกันถึงมากทีสุด
ผลสะเทือนด้านการเข้าถึงระบบการเมือง เช่น การมีพื้นที่หรือเวทีสำหรับการมีส่วนร่วมทางการ
เมือง การมีตัวแทนเพื่อเป็นปากเสียงให้กับกลุ่ม เกิดการร่วมปักธงสีรุ้งของเหล่าไพรด์ในสถานที่สำคัญ
ต่างๆ
ผลสะเทือนด้านโครงสร้างเชิงสถาบันการเมือง หมายถึง เกิดการเปลี่ ยนแปลงนโยบายที่เกี่ยวข้อง
หรือมีการตั้งสถาบันหรือองค์กรเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับปัญหา
การทำแท้งแบบถูกกฎหมาย
1. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ที่กำหนดให้หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยินยอมให้
ผู้อื่นทำให้ตนแท้ง มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 27 ที่รับรองหลั กความเสมอภาค
และความเท่าเทียม และมาตรา 28 ที่รับรองสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

8
2. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ที่กำหนดเหตุยกเว้นความผิดแก่ผู้ที่ทำแท้งนั้น มีปัญหา
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 27 มาตรา 28 และมาตรา 77 อันเป็นบทบัญญัติในหมวด
แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่มีสาระสำคัญว่า "รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือ
ปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อ
การดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน"
3. ให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลใช้บังคับในอีก 540 วันหลังอ่านคำวินิจฉัย โดยกำหนด
เงื่อนไขให้องค์กร หน่วยงานของรัฐ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและรายงานผล
การปฏิบัติหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 360 วันและ 500 วันนับแต่
วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย https://www.bbc.com/thai/thailand-55799852
ผลสะเทือนด้านพันธมิตร เครือข่าย หมายถึงการประสานพลังร่วมกับกลุ่มอื่นๆ ได้
สามารถเรียกกลุ่มคนเหล่านี้ได้ว่า เฟมินิสต์ บนทวิตเตอร์ ที่มีความตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของ
ผู้หญิง ขับเคลื่อนด้วยการออกความเห็น รีทวิตส่งต่อข้อความผ่านแพลตฟอร์มที่เรียกว่าทวิตเตอร์เป้น
เครือข่ายเชื่อมโยง เพราะว่า ในปัจจุบันการเคลื่อนไหวทางสังคมออนไลน์ ในแอปพลิเคชั่นทวิตเตอร์
ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและมีอิทธิพลต่อความคิดของคนในสังคมด้วยรูปแบบของแอพพลิเ คชั่นที่
เอื้ออำนวยต่อการแสดงความเห็น ใช้คำที่จำกัดดังนั้นบนข้อความที่ทวิตเตอร์ จึงมีแต่ใจความสำคัญและ
คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงกันได้ กลุ่ม เฟมินิสต์นั้น ใช้ การส่งต่อข้อความหรือการตระหนักได้ ในสัง คม
ออนไลน์ เพื่อสื่อสารกันให้ถึงสิทธิว่าเป็นการเข้าใจโดยสากลว่า ทุก คนคือมนุษย์ สมควรได้รับสิทธิเท่า
เทียมกันไม่ว่าจะหญิงหรือชาย
ผลสะเทือนด้านการสร้างพื้นที่สาธารณะ ในการสร้างประเด็นสาธารณะ เช่น การมีเวทีหรือพื้นที่
สำหรับการอภิปรายในเรื่องดังกล่าว การชุมนุมที่กลุ่ม ‘ผู้หญิงปลดแอก’ ซึ่งต่อมาปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ‘เฟ
มินิสต์ปลดแอก’ มีบทบาทสำคัญในการนำปมปัญหาต่างๆ ออกมาตีแผ่ผ่านการปราศรัย
ผลสะเทือนด้านการสร้างพื้นที่สาธารณะ ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติเชิงสาธารณะ เช่น หลักฐานที่
ชี้ให้เห็นทัศนคติของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
จากในที่วารสารกล่าวว่าในอดีต ช่วงรัชกาลที่ 5- รัชกาลที่ 6 ในการเผยแพร่แนวความคิดอาจใช้
เป็นบทกวีหรือหนังสือในการส่งเสริมและชี้นำเพื่อเรียกร้องสิทธิแต่ในปัจจุบันอิทธิพลด้านอินฟูเอนเซอร์มี
อิทธิพลต่อการส่งเสริมแนวความคิดในปัจจุบันมาก มีการที่ผู้มีอิทธิพลทางด้านสื่อ ในสังคม คือดารา
นั ก ร้ องคนบั นเทิง ออกมาแต่ง ตัว ให้ความเห็นการการแต่ งตัวว่ าเป็น เรื ่อ งแฟชั่ น หรื อ การใส่ เสื้อผ้า

9
unisex” ยูนิเซ็กส์หลายคนอาจจะเข้าใจว่ามันแปลว่า เพศทางเลือกหรือเปล่า แต่ที่จริงแล้ว unisex มัน
คือสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ “ไม่มี” ลักษณะบ่งบอกชัดเจนว่าเป็นของสำหรับผู้ หญิงหรือผู้ชาย ทำให้สิ่ง
เหล่านั้นสามารถใส่ได้ทั้งชายแหละหญิง แล้วทำไมเราถึงหยิบเอาคำว่า unisex มาอธิบายให้ฟัง เพราะเรา
รู้สึกว่าที่ศิลปิน ดาราชายหลายๆคนที่เขาออกมาแต่งชุด ไม่ว่าจะเป็นกระโปรงหรือใส่เสื้อผ้าผู้หญิงเรา
อยากให้หลายคนมองว่ามันคือ unisex มันคือการไม่แบ่ง ไม่นำเอาวัตถุหรือเสื้อผ้ามาบ่งบอกว่าเราเป็น
ชายหรือเป็นหญิงอยากให้เรามีความ unisexในตัวให้มากๆ ซึ่งมีดารา ศิลปินหลายคนที่เคยออกมาพูด
เกี่ยวกับเรื่องเสื้อผ้าการแต่งตัวของตัวเองยกตัวอย่างเช่น
เจมส์(เจมี่เจมส์) ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ นั กแสดงดัง ที่เจ้าตัวนั้นชอบใส่เสื้อผ้าผู้หญิงเจมส์ได้พูด
เรื่องการแต่งตัวว่า “ถ้าชุดไหนที่เรามั่นใจเราก็ใส่ไปเลย คือบางทีเราไปแคร์คนอื่นมากกว่าแคร์ตัวเอง ทั้ง
ที่บางชุดเราอยากใส่แต่เราไปกลัวว่าคนอื่นจะมองเราไม่ดีรึเปล่า กลายเป็นเราที่ไปอยู่บนความคิดคนอื่น
มากกว่า แค่รู้สึกว่าถ้าเราแต่งแล้วเราสนุก เราชอบงั้นลุยเลย การแต่งตัวต่อให้เราจะแต่งแบบไหน ต่อใส่
สมมุติวันหนึ่งอยากใส่กระโปรงขึ้นมา ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่ไปเดือดร้อนคนอื่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็แค่ทำ มัน
คือความสุขของเราและความสุขของเรามันขึ้นอยู่ที่ตัวเรา”
ต้นหน ตันติเวชกุล นักแสดงจาก ต้นหนนั้น แต่งชุดไปเรียน ไปเล่นคอนเสิร์ตด้วยการใส่กระโปรง
ซึ่งต้นหนเคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแฟชั่นของตนเองว่า วงThe 1975 เป็นวงที่เปลี่ยนตัวตนของเขาทั้งเรื่อง
ของเพลงและเรื่องการแต่งตัว ต้นหนรู้สึกว่านักร้อ งเขาอยากแต่งอะไรก็ แต่ งอยากแต่งร็อ ค อยากใส่
กระโปรงก็ใส่คือเขาแสดงออกได้เยอะมาก เมื่อก่อนยอมรับว่าตัวเองเป็นคนมีกรอบเรื่องการแต่งตัว แต่
ตอนนี้มันก็ค่อยๆเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
เขื่อน ภัทรดนัย เสตสุวรรณ เขื่อนมักจะแต่งตัวด้วยชุดเสื้อ ผ้าของผู้หญิงแบบจ๋าๆ ไม่ว่าจะเป็น
กระโปรง เสื้อลูกไม้ เดรส ซึ่งไม่เว้นแม้แต่การออกไปสัมภาษณ์รายการอื่นๆ เขื่อนนั้นก็จะแต่งตัวด้ วยชุด
เสื้อผ้าของผู้หญิง หรือเรียกได้ว่าวิถีชีวิตของเขื่อนนั้นใส่เสื้อผ้าผู้หญิงเป็นชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ซึ่งเขื่อนได้
ออกมาพูดถึงการแต่งตัวในช่อง Youtube ของตัวเองว่า “ตัวเองไม่เห็นเพศในเสื้อผ้า เห็นผ้าเป็นสิ่งๆหนึ่ง
ชิ ้ น ๆหนึ ่ ง ที ่ ถ้ าใส่อ ย่างนี้สวยจัง ใส่แบบนี้สบายเนาะ มั น มากกว่ าเพศบนเสื ้ อ ผ้ า หรื อ มองมั น เป็ น
Phenomenological เห็นอะไรเป็นอย่างนั้น ไม่ได้ให้คุณค่า แต่เห็นสิ่งที่มันเป็นของมันเลย”
จากวารสารประวัติศาสตร์เรื่ อง อิทธิพลตะวันตกที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนของสตรีในราชสำนักใน
สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 6 ผู้เขียนเห็นถึงความเป็นพลวัตในสังคมอย่างเห็นได้ชัด ในแระเทศไทยแม้จะ
เป็นการรับแนวคิดมากอิทธิพลตะวันตกแต่ก็ยังสามารถที่จะปรับและเปลี่ยนแปลงไปตามแนวคิดที่ท ำให้

10
ประเทศเจริญขึ้นได้แม้สมัยก่อนจะมีอิทธิพลต่อเมื่อคนชนชั้นสูงเท่านั้นแต่ทว่าสมัยนี้ มีความทันสมัย การ
รั บ อิ ท ธิ พ ลหรื อ แนวคิ ด ต่ า งๆสะดวกและรวดเร็ ว มากขึ ้ น และสิ ่ ง ที ่ ต ามมาคื อ คนก็ ส ามารถเข้ าใจ
แนวความคิดสตรีนิยม( feminism) ได้ดีมากขึ้น กับคำว่า สตรีนิยม (feminism) ที่ไม่ได้แปลว่าจะต่อสู้
หรือมีนโยบายส่งเสริมเรียกร้องให้แก่สตรีเพียงฝ่ายเดียว ในปัจจุบันคำว่า สตรีนิยม (Feminism) ถูกใช้ใน
การเรียกร้องความเท่าเทียมในทุกๆด้านทั้งความเท่าเทียมทางเพศให้กลุ่ม LGBTQ+ รวมถึงกลุ่มผู้ชายที่
โดนแนวความคิดชายเป็นใหญ่กดทับได้อีกเหมือนกัน จากการเรียกร้องสิทธิสตรีนิยมในอดีตกลายเป็น
การเรียกร้องสิทธิของคนให้เท่าเทียมกัน

เอกสารอ้างอิง

ดร.อรุณี กาสยานนท์,ย์วสันต์ ปวนปันวงศ์,ชนิดาภา ชะลอวงษ์, (2561). สตรีกับการพัฒนามนุษย์ใน


บริบทโลก. https://www.stou.ac.th/Schoolnew/polsci/UploadedFile.pdf
สุชาดา ทวีสิทธิ. (2550). ผู้หญิง ผู้ชายและเพศวิถี: เพศภาวะศึกษาในงานมานุษยวิทยา. วารสาร
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 19(1)
จิตรลดา ศิริรัตน์. “บทบาทสตรีในสมัย ร.4-ร.5 ที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศ” ใน, เอกสารการประชุม
ทางวิชาการ เรื่อง “ภาษากับประวัติศาสตร์และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย” ,
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 16-18 กุมภาพันธ์ 2533
ปิยะนาถ อังควาณิชกุล. (2556). “อิทธิพลตะวันตกที่มีต่อการปรับเปลี่ยนของสตรีในราชสำนักในสมัย
รัชกาลที่ 5- รัชกาลที่ 6.” วารสารประวัติศาสตร์ 39,1 (มกราคม-ธันวาคม): 69-80.

11

You might also like