You are on page 1of 24

จากวัตถุประสงค์ ๓ ข้อที่กำหนดไว้

๑. เพื่อศึกษาการก่อเกิดและพัฒนาการของหมูบ่ ้านรักษาศีล ๕ ใน
ชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
๒. เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามแนวทางโครงการหมู่บ้าน
รักษาศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
๓. เพื่อนำเสนอกลไกการขับเคลือ่ นในเชิงภาคีเครือข่ายของโครงการ
หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี

กรณีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์หรือสนทนากลุ่ม
๒๖๑

บทที่ ๔

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ในการวิจัยเรื่อง “การขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อการเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่


ร่วมกัน อย่ างสั น ติในสั งคมไทย” ผู้ วิจัยได้กำหนดพื้ นที่ ในการถอดองค์ความรู้ของชุมชนที่ ประสบ
ความสำเร็จในการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างสันติสุขให้
เกิดขึ้นในชุมชน โดยได้เลือกพื้นที่หมู่บ้ านทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี ชุมชนดังกล่าวนี้
ได้รับการคัดเลือกเป็นชุมชนต้นแบบของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เนื่องจากส่วนราชการ คณะสงฆ์ ผู้นำ
ชุมชนได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับศีล ๕ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากชาวบ้านใน
พื้นที่ และเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมว่า เมื่อคนในชุมชนรักษาศีล ๕ และตระหนักถึงคุณค่าของศีลซึ่ง
เป็นคุณธรรมพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม ก่อเกิดวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่มีความสงบ
สุข และเมื่อส่วนราชการและส่วนของคณะสงฆ์ได้ประเมินผลแล้วพบว่า หมู่บ้านทุ่งท่าช้าง อำเภอสระ
โบสถ์ จังหวัดลพบุรี สามารถเป็นต้นแบบหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในบริบทสังคม
อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ตรงตามดำริของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญญมหาเถร
ป.ธ. ๙) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ที่ต้องการให้เกิดหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ชาวประชาเป็นสุข
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอนำเสนอภาพรวมของกระบวนการสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขโดยใช้
หลักศีล ๕ ของหมู่บ้านทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี โดยมีส่วนประกอบ ดังต่อไปนี้
๔.๑ ผลการศึกษาการก่อเกิดและพัฒนาการของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง
อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
๔.๒ ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามแนวทางโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ใน
ชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
๔.๓ ผลการนำเสนอกลไกการขับเคลื่อนในเชิงภาคีเครือข่ายของโครงการหมู่บ้านรักษา
ศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
๔.๔ องค์ความรู้ที่ได้รับจากการวิจัย
๒๖๒

๔.๑ การก่อเกิดและพัฒนาการของหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง(หัวข้อหลัก)


ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของชุมชนทุ่งท่าช้าง มีการ
ดำเนิ นการมาเป็ นเวลานาน โดยมีการประสานความร่วมมือกับส่วนงานต่างๆ จนเกิดเป็นหมู่ บ้าน
ต้นแบบของการรักษาศีล ๕ ซึ่งพัฒนาการของการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของชุมชนทุ่ง
ท่าช้าง
๑) ช่วงระยะก่อเกิดโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ (หัวข้อย่อย ๑)
คณะสงฆ์ไทย โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญญมหาเถร
ป.ธ. ๙) ผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ดำริที่จะเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคน
ในชาติ ให้เกิดความสงบ สันติสุข มีความสามัคคี กลมเกลียวกันโดยให้พุทธศาสนิกชนได้นำหลักธรรม
คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาไปพัฒนาชีวิต ครอบครัว ชุมชนและสังคมเน้นการรณรงค์ ส่งเสริมและ
สนับสนุนให้มี “โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕”ขึ้นในทุกภาคส่วนของประเทศ ตามดำริที่เจ้ าพระคุณ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญญมหาเถร ป.ธ.๙) ได้ประทานโอวาทไว้ เมื่อวันที่ ๑๗
พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ความว่า “อันว่าศีล ๕ เป็นการสำคัญมนุษย์ เมื่อทุกคนมีศีล ๕ ด้วยกัน สังคม
นั้นๆซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พลเอกประยุ ทธ์ จัน
โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการให้ทุก
ภาคส่วนในประเทศร่วมมือกันดำเนินการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และทำให้ประชาชนมีความ
รักความรักสามัคคีกัน โดยเริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งจะนำพาประเทศก้าว
ไปข้างหน้าอย่างปลอดภัยยั่งยืน
คณะสงฆ์จังหวัดลพบุรี นำโดยพระราชพุทธิวราภรณ์ เจ้าคณะจังหวั ดลพบุรี (ปัจจุบัน
ดำรงสมณศักดิ์ในราชทิน นามที่ พระเทพเสนาบดี) ได้มอบนโยบายให้ พระสั งฆาธิการทุกระดับ ได้
ดำเนิ น งานตามนโยบายของเจ้ า พระคุ ณ สมเด็ จ พระมหารั ช มั งคลาจารย์ ผู้ ป ฎิ บั ติ ห น้ า ที่ ส มเด็ จ
พระสังฆราช และสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ที่ต้องการให้ส่งเสริมให้คนในหมู่บ้าน
ต่างๆ ปฏิบัติตามหลักศีล ๕ รวมทั้งการสนับสนุน และฟื้นฟูกิจกรรมโครงการหน่วยอบรมประชาชน
ประจำตำบล (อ.ป.ต.) เพื่อเป็นหน่วยรองรับในการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งขณะนี้พระสงฆ์ได้ลงพื้นที่ให้
ความรู้แก่ประชาชนในหมู่บ้านให้ความรู้แก่ประชาชนในหมู่บ้านต่างๆ แล้ว
การดำเนินการเกี่ยวกับศีล ๕ ของจังหวัดลพบุรี เกิดขึ้ นก่อนที่จะมีการรัฐประหารของ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งนายธนาคม จงจริยะ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีในสมัยนั้น
(๒๕๕๖) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาสังคมของจังหวัดลพบุรี โดยให้ความสำคัญกับ
การรักษาศีล ๕ ท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดเล่าว่า “โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของจังหวัดลพบุรี
เรานี่มันเกิดขึ้นก่อน จังหวัดลพบุรีเราเนี่ยมันเกิดขึ้นก่อน ก่อนการจะมีโครงการหมู่บ้านรักษาศีล
๕ โดยท่านผู้ว่าคนก่อน ท่านขึ้นมาเป็นผู้ ว่าขณะนั้นท่านคิดโครงการ เราจะทำอย่างไรให้คนมี
๒๖๓

ความสุข ผมมองว่าผู้น ำ โครงการนี้ถ้าผู้น ำไม่คิดไม่ทำ ผู้น ำนี้หมายถึงผู้นำในส่วนขององค์กร


ปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัด กำนันผู้ใหญ่บ้าน ถ้าไม่ทำ โครงการก็เริ่มดำเนินไปไม่ได้
ถ้าผู้นำระดับสูงจังหวัดไม่ทำก็ไม่สามารถดำเนินการไปได้และก็ยากที่จะประสบความสำเร็จไปได้
มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จยาก ที่จะได้รั บความร่วมมือจากหลายๆหน่วยโครงการหมู่บ้าน
รั ก ษาศี ล ๕ ต้ อ งอาศั ย คนร่ ว มมื อ กั น หลายฝ่ า ย” (สั ม ภาษณ์ นายณั ฐ ภั ท ร สุ ว รรณประที ป , ๑
สิงหาคม ๒๕๕๙) เมื่อจุดเริ่มต้นมาจากผู้ ว่าราชการจังหวัดได้ให้ความสำคัญกับแนวทางการใช้ศีล ๕
ในการสร้างความปรองดอง ส่วนราชการระดับจังหวัดทัง้ หลายก็ได้ประกาศนโยบายให้ลพบุรีเป็นเมือง
สะอาดอย่างยั่งยืน สะอาดทั้งกาย สะอาดทั้งใจ และมอบนโยบายให้ส่วนราชการและหน่วยงานทุก
ภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติโดยใช้หลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ประชาเป็นสุข จังหวัดลพบุรี”
ในส่วนของบ้านท่าทุ่งช้าง อำเภอสระโบสถ์ เมื่อรับนโยบายโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
มาจากส่วนกลางแล้ว ส่วนราชการนำโดย นายสินาทร โอ่เอี่ยม นายอำเภอสระโบสถ์ ได้ให้นโยบาย
การดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ผ่านไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในช่วงแรกนายอำเภอได้
มอบหมายให้บ้านทุ่งท่าช้างเป็นหมู่บ้ านนำร่องโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จากที่ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า
“...แรกๆก็เป็นหมู่บ้านนำร่องก่อนนะครับ เขาก็คัดให้หมู่ที่ ๑ ทุ่งท่าช้างนำร่อง แกนนำก็ไม่มีครับ เมื่อ
รับ นโยบายมาแล้ว และยังต้องนำร่องด้วยก็ต้องทำ” (สัมภาษณ์ นายจุน อินทร์วิลัย , ๙ กรกฎาคม
๒๕๕๙) สาเหตุที่ทางราชการเลือกเอาบ้านท่าทุ่งช้างเป็นหมู่บ้านนำร่องเนื่องจากพิจารณาเห็นว่าที่
บ้านท่าทุ่งช้างมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการประพฤติปฏิบัติกันอยู่แล้ว
คือมีการทำวัตรสวดมนต์เย็นเป็นประจำ แม้กระทั่งนายอำเภอก็เคยมานั่งสวดมนต์ร่วมกับชาวบ้าน
นอกจากนั้นก็มีเข้าวัดปฏิบัติธรรมในวันพระ นำเยาวชนเข้าวัดมานำสวดมนต์ เรียกว่า ทายกน้อย
ชาวบ้านในชุมชนท่าทุ่งช้างมีความผูกพันอยู่กับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา มีท่านพระครูคุณสัมบัน
เจ้าอาวาสวัดทุ่งท่าช้างเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้าน การที่ภาครัฐเลือกบ้านทุ่งท่าช้างเป็นต้นแบบนำร่อง
จึงพิจารณาจากวิถีชีวิตที่มีอยู่ดั้งเดิม เมื่ อนำศีล ๕ เข้าไปก็จะไม่กระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านมาก
เกินไป
ในช่วงเริ่มต้นทีเดียวความเข้าใจในตัวโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของผู้นำชุมชนและ
ชาวบ้านมีความคิดว่า การเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ จะต้องรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด เมื่อ
เริ่มรับโครงการเข้ามา แนวทางที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้กำหนดแผนการขับเคลื่อนเบื้องต้นก็
คือเริ่มที่หมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งท่าช้าง ถ้าทำได้ดีประสบความสำเร็จก็ค่อยขยายไปสู่หมู่อื่นๆ โดยอาศัยการ
ประสานงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน “ริเริ่มจากหมู่ที่ ๑ ก่อนพอหมู่ที่ ๑
พอเข้ารูปเข้าแบบดีแล้วนั่นก็ขยายไปแต่ละหมู่ก็ให้กระผมเองก็ จริง ๆ แล้วผมเองก็ไม่ปฏิบัติได้เท่าไหร่
ก็ต้องให้เจ้าหน้าที่ลงไปบอกช่วยประสานกับผู้ใหญ่แต่ละหมู่ เพราะว่าทางทุ่งท่าช้างที่ อบต. ของผมมี
๒๖๔

๒ ตำบลดูแลคือ ทุ่งท่าช้างและห้วยใหญ่ ตำบลทุ่งท่าช้าง ๕ หมู่บ้านและตำบลห้วยใหญ่ ๗ หมู่บ้าน


นั้นก็ไปประสานตามผู้นำ ก็ผู้นำก็เชิญชวนกันมาร่วมที่วัดจุดใหญ่พอภาพออกมาดีแล้วก็ให้ผู้ใหญ่แต่
ละหมู่ บ้ านช่ว ยกั น ไปสวดมนต์ เข้ าวัด ภาวนากัน ครับ ” (สั ม ภาษณ์ น ายเยื้ อ เทศโล, ๑๙ ตุ ล าคม
๒๕๕๙) รูปแบบการดำเนินงานช่วงแรกจึงเป็นไปในเชิงการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยนโยบาย
ได้ รับ มาจากมหาเถรสมาคมและ คสช. ลงไปสู่ ระดั บ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้ าน ในส่ ว น
หน่วยงานเจ้าภาพหลักที่จะต้องแปลงนโยบายไปสู่การปฏิ บัติที่เป็นรูปธรรมก็คือองค์การบริหารส่วน
ตำบลและผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเป็นตัวแทนภาครัฐที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ส่วนสำหรับพระสงฆ์นั้น
ถึงแม้ว่าเป็ น กลไกสำคัญ ของมหาเถรสมาคมในการขับเคลื่ อนในระยะยาว เพี ยงแต่ในช่วงเริ่มต้น
จำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องก่อนเนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการ
เคลื่อนไหวกับชาวบ้านเป็นหลัก ซึ่งการชี้แจงทำความเข้าใจ และการส่งเสริมให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมก็
ต้องอาศัย ฝ่ า ยภาครัฐ จะทำได้เข้มแข็งกว่า โดยจุดเริ่มต้น ในช่ว งเริ่ม ต้นบ้ านทุ่งท่ าช้างขับเคลื่ อ น
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ด้วยแรงศรัทธาและจิตสาธารณะ ดังที่ พรทิพย์ ปาลวัฒน์(สัมภาษณ์ ๙
กรกฎาคม ๒๕๕๙) กล่าวว่า “การที่จะเป็นหมู่บ้านศีล ๕ ได้ทุกคนต้องเริ่มที่ตนเอง มีความเสียสละ
จิตอาสา เพราะว่าทุกคนทุกครัวเรือน ทุกคนต้องปวารณาตัว เป็นชาวพุทธ ตั้งแต่แรกเกิดยันตาย
นี่คือกระบวนการของนโยบาย” จิตสาธารณะจึงเป็นจุดระเบิดที่ส่งผลกระเทือนให้เกิดการร่วมมือ
กันในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในระยะที่ ๑ และระยะต่อๆ มา
ในช่วงแรกเมื่ อรับโครงการมาแล้ว ก็ยังไม่สามารถหาสถานที่ที่จะเป็นฐานปฏิบัติการ
สำหรับทำการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้ พระครูคุณสัมบัน เจ้าอาวาสวัดทุ่งท่าช้างได้เสนอให้ใช้
ศาลาการเปรียญของวัดในการขับเคลื่อนวางแผนร่วมของของฝ่ายต่างๆ ที่เป็นเครือข่ายการทำงาน ซึ่ง
เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งในการดึงผู้นำเข้าวัด เนื่องจากคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่วนใหญ่มา
จากผู้นำคนสำคัญๆ ของตำบลอยู่แล้ว และที่สำคัญการมีฐานปฏิบัติการที่ชัดเจนซึ่งตั้งอยู่ในวัดเป็น
การส่งเสริมความสามัคคีข องผู้นำชุมชนไปพร้อมกันด้วย ดังที่พระครูท่านเล่าว่า “ไม่มีเป็นศูนย์หรือ
สถานที่ทำงานโครงการศีล ๕ ครับ มีแต่ศาลาวัด มาทำงานกันที่วัด แม้แต่นายอำเภอก็มาร่วมทำงานที่
วัด ท่านมาเป็นพี่เลี้ยงในการวางแผน วางแผนเสร็จก็ส่งให้ อ.บ.ต ช่วยกัน แรกๆอาศัยงบ อ.บ.ต. ฝ่าย
พระก็เน้นนำญาติโยมปฏิบัติ กิจกรรมทั้ง ๕ ข้อ นายอำเภอก็มานั่งสวดมนต์ มาปฏิบัติพาลูกเมียมาเลย
เมื่อนายอำเภอมาร่วม ก็เป็นตัวชี้วัดว่าทางบ้านเมืองเอาด้วย ก็จะสำเร็จเลย ที่นี่เขาสามัคคี ที่อื่นเขาไม่
สามัคคี ความสามัคคีเป็นหลักเลย”(สัมภาษณ์ พระครูคุณสัมบัน, ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙) เมื่อองค์การ
บริหารส่วนตำบลรับนโยบายจากทางอำเภอ จากนั้นก็ส่งงานต่อไปยังผู้ใหญ่บ้าน ช่วงแรกๆ นายจุน
อินทร์วิลัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ บ้านทุ่งท่าช้าง มีความคับข้องใจเนื่องจากโครงการมีลักษณะที่กระทบ
โดยตรงต่อชีวิตประจำวันของตนเอง “ตอนแรกนายอำเภอเขาก็เรียกประชุม เขาบอกว่าจะให้หมู่ ๑
เนี่ยเป็นต้นแบบหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ผมบอกว่าผมไม่เอา ผมเดินหนี เพราะผมกินเหล้า แต่พอเอามา
๒๖๕

ทำจริงๆ มันก็ได้ผลดีนะ” (สัมภาษณ์ นายจุน อินทร์วิลัย, ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) แต่เมื่อนำมาปฏิบัติ


จริงๆ แล้ว กลับพบว่า การดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เป็นการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับ
หลักศีล ๕ ไม่ใช่การรักษาศีล อย่างเคร่งครัด อย่างที่เคยเข้าใจ เมื่อนำมาปฏิบัติแล้ว จึงเกิดผลดีต่อ
ชุมชนอย่างเห็น ได้ชัด เบื้องหลังความสำเร็จของการดำเนินโครงการระยะที่ ๑ ก็ด้วยอาศัย ความ
ร่วมมือกันตั้งแต่นายอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้นำชุมชนทุกระดับ ร่วมกับคณะสงฆ์ คือ พระ
ครูคุณสัมบัน เจ้าอาวาสวัดทุ่งท่าช้าง เจ้าคณะอำเภอสระโบสถ์ โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
ในพื้นที่ หมู่ที่ ๑ - ๕ บ้านทุ่งท่าช้าง ตำบลทุ่งท่าช้ าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี และได้มีการ
ประชุมวางแผน โครงการหมู่บ้านศีล ๕ ชาวประชาเป็นสุข มีการประชาสัมพันธ์โครงการหมู่บ้านรักษา
ศีล ๕ เพื่อให้คนในชุมชนได้เข้าใจถึงบริบทของโครงการและวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ
โครงการดังกล่าว
ในช่วงระยะที่ ๑ นี้การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ยังเป็นเรื่องของการเลือก
ชุมชนที่จะเข้าร่วมโครงการ การแต่งตั้งคณะกรรมการ จากนั้ นรับนโยบายจากหน่วยเหนือในการ
ดำเนินงาน ผู้นำและคณะกรรมการชี้แจงแก่ประชาชน รับป้ายหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และร่วมกันจัด
กิจกรรมปฏิ บั ติ ตามแนวทางพระพุ ท ธศาสนา การขับเคลื่ อนในช่ว งนี้ จึงเป็น การวางระบบในการ
ขับเคลื่อน โดยที่ยังไม่เน้นไปที่ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และยังไม่มี ตัวชี้วัดประเมินความสำเร็จของระยะที่
๑ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการหาแนวร่วมในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
๒) ช่วงการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระยะที่ ๒(หัวข้อย่อย ๒)
รอยต่อการขับเคลื่อนระยะที่ ๑ กับระยะที่ ๒ ของการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล
๕ ของหมู่บ้ านทุ่งท่าช้างไม่ค่อยชัดเจนนักว่าจะใช้เส้ นแบ่งใดในการอธิบายการยุติระยะที่ ๑ และ
เริ่มต้นระยะที่ ๒ แต่อาศัยกรอบกิจกรรมที่ถูกกำหนดเป็นแนวทางในการขับเคลื่ อน กล่าวคือ ระยะที่
๑ เน้นประชาสัมพันธ์ แจกป้าย หาหมู่บ้านนำร่องที่ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างเอาจริง เอา
จังอยู่แล้ว ส่วนระยะที่ ๒ เริ่มการขับเคลื่อนเชิงปริมาณ และนำไปสู่การประเมินติดตามผล มีเกณฑ์
การดำเนินงานในเชิงปริมาณอย่างชัดเจนในพื้นที่แต่ละพื้นที่โดยใช้ขอบเขตของจังหวั ดเป็นตัวตั้งใน
การกำหนดให้มีผู้สมัครเข้าโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ให้ได้จำนวนร้อยละ ๘๐ ของประชากรใน
จังหวัดนั้น ถือว่าผ่านการขับเคลื่อนระยะที่ ๒ และเมื่อย่อยพื้นที่ลงไปถึงระดับตำบลและหมู่บ้าน ก็ให้
แต่ล ะพื้ น ที่ ก ล่ าวคือ หมู่บ้ านจะต้ องมีผู้ ส มั ครเข้าร่ว มโครงการให้ ได้ร้อ ยละ ๘๐ ของประชากรใน
หมู่บ้านนั้นจึงจะผ่านเกณฑ์ในระยะที่ ๒
สำหรับในพื้นที่ตำบลทุ่งท่าช้าง ได้กำหนดพื้นที่หมู่ที่ ๑ เป็นพื้นที่นำร่องโครงการโดยมี
การประชุมจัดแผนงาน เพื่อส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ โดยเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๗ ได้
มีการประชุมวางแผน จัดตั้งคณะกรรมการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑ ตำบล
ทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี โดยอาศัยความในข้อ ๖ แห่งระเบียบมหาเถรสมาคม ว่า
๒๖๖

ด้ว ยการดำเนิ น งานโครงการหมู่บ้ านรักษาศีล ๕ พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้ป ระกาศแต่ งตั้ งคณะกรรมการ
ดำเนินงาน ประกอบด้วย
๑) พระครูคุณสัมบัน เจ้าอาวาสวัดทุ่งท่าช้าง ที่ปรึกษา
๒) นายสามารถ ทองดี กำนันตำบลทุ่งท่าช้าง ที่ปรึกษา
๓) นายจุน อินทร์วิลัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ประธาน
๔) นายป้อม สีผ่อง ตัวแทนประชาชนบ้านทุ่งท่าช้าง รองประธาน คนที่ ๑
๕) นายป๊อด พุกซื่อ ตัวแทนประชาชนบ้านทุ่งท่าช้าง รองประธาน คนที่ ๒
๖) นายยั้ว เทศโล สมาชิก อบต.ทุ่งท่าช้าง ประชาสัมพันธ์
๗) นายเชษฐ์ คำแก้ว ตัวแทนประชาชนบ้านทุ่งท่าช้าง ปฏิคม
๘) นายสมนึก ปานธูป ตัวแทนประชาชนบ้านทุ่งท่าช้าง กรรมการ
๙) นายสมควร ดารายิ่ง ตัวแทนประชาชนบ้านทุ่งท่าช้าง กรรมการ
เมื่ อ ได้ รั บ การแต่ งตั้ งเป็ น คณะกรรมการ ได้ มี ก ารกำหนดแผนงานภาระหน้ าที่ ข อง
คณะกรรมการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระดับหมู่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ คือ
๑) ดำเนินงานตามโครงการแผนงาน
๒) จัดกิจ กรรมรณรงค์ประชาสั มพันธ์ สร้างกระแสให้ ประชาชนได้เข้าใจรวมถึงเห็ น
ความสำคั ญ และเห็ น ประโยชน์ ในการรัก ษาศีล พร้อ มทั้ งสมั ครเข้าร่ว มโครงการให้ ครอบคลุ ม ทุ ก
ครัวเรือน
๓) ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน โครงการหมู่ บ้านรักษาศีล ๕ ให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานประสบปัญหาหลายประการ จากการได้พูดคุยกับแกน
นำที่ ก่อ ร่างสร้างตั ว โครงการหมู่บ้ านรัก ษาศี ล ๕ บ้ านทุ่ งท่ าช้ าง พบว่า ประสบกั บ ปัญ หาในการ
ดำเนินงาน
๑) ขาดความเข้าใจ ไม่ทราบทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน กลัวว่าจะส่งผลกระทบต่อ
วิถีชีวิตตามปกติที่ดำเนินการอยู่ ผู้ใหญ่บ้านกล่าว“ตอนแรกไม่เข้าใจจะเริ่มต้นยังไง จะทำถูกต้องไหม
เพราะเป็นงานที่ราชการสั่งมา ยังไงก็ต้องทำ ลองผิ ดลองถูกไปก่อน” (สัมภาษณ์ นายจุน อินทร์วิลัย ,
๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) ด้วยความไม่เข้าใจ จึงมีบางกลุ่มเกิดการต่อต้านโครงการอยู่บ้าง โดยตั้งคำถาม
ว่า “แล้วทำไมฉันต้องเป็น ทำไมฉันต้องเข้า” จากกรณีดังกล่าวทางคณะทำงานโดยพรทิพย์ ปาลวัฒน์
(สัมภาษณ์ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) ได้อธิบายว่า “ก็เลยต้องมีการพูดคุยกันต้องมีการประชาสัมพันธ์
ผ่านหอกระจายข่าวทุกวัน โดยนิมนต์หลวงพ่อพระครูคุณสัมบัน เป็นผู้นำเสนอผ่านหอกระจายข่าว
สร้างความตระหนักให้กับพื้นที่ในการดำเนินงาน”
๒๖๗

๒) ขาดงบประมาณ ปั ญ หาใหญ่ ในการดำเนินงานก็คือการขาดงบประมาณในการ


บริหารโครงการ การทำงานขาดความสะดวก ขาดเจ้าภาพในการออกค่าใช้จ่ายในเวลาเดินทางไกลไป
ประชุมที่อื่นๆ ในช่วงเริ่มต้นองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง และวัด จึงต้องมารับภาระในการ
กำกับ ดูแลโครงการเป็ น หลั กเพื่อสนับสนุน งบประมาณบางส่ วนในการอำนวยความสะดวกให้ กับ
คณะทำงาน ดังเช่นที่นายยั้ว เทศโล(สัมภาษณ์ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) กล่าวว่า “งบนี่ไม่มีเลยครับ แต่
ถ้าต้องเดินทางไปไหนไกลๆ ผมก็ไปขอความช่วยเหลือจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่วยรถสัก
คันหนึ่งเรื่องรถโดยสาร ประชุมกันผมก็ต้องขอจากส่วนอื่น วัดบ้าง นายก อ.บ.ต บ้าง”
๓) ขาดแกนนำ การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หัวใจสำคัญที่สุดคือ แกนนำ
หรือทีมงานขับเคลื่อน โดยสภาพทั่วไปของชาวบ้านในชุมชนทุ่งท่าช้าง แต่ละวันมีการประกอบอาชีพ
ของตนเองตามปกติอยู่แล้ว เวลาในชีวิ ตส่วนใหญ่หมดไปกับการปลูกอ้อย การจะเสียสละเวลาเพื่อมา
ทำงานเพื่อส่วนรวมจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก ในขณะที่การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มี
ความต้องการคนทำงานที่มาทำด้วยใจ และมาทำด้วยศรัทธา โดยเฉพาะในระยะที่ ๒ ของโครงการ
ในการขับ เคลื่ อ นเชิ งปริ ม าณที่ จ ะต้ อ งมี ค นมาทำหน้ าที่ รับ สมั ค รผู้ เข้ าร่ว มโครงการ กรอกข้ อ มู ล
ผู้เข้าร่ วมลงในระบบฐานข้ อมูล ของสำนักงานพระพุท ธศาสนาแห่ งชาติ จะต้องมีคนที่เสียสละมา
ทำงาน ดังนั้ น จึ งต้อ งตกเป็ น ภาระขององค์ก ารบริห ารส่ ว นตำบลเช่น กัน เนื่อ งจากบุ คลากรของ
องค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนเพียงพอ และมีความสามารถในการจัดทำระบบฐานข้อมูลได้
แต่ถึงแม้จะประสบปัญหาในการดำเนินงาน ทางคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตาม
ระเบียบมหาเถรสมาคมก็เริ่มงานขับเคลื่อนระยะที่ ๒ อย่างจริงจัง โดยเบื้องต้นได้มีการประชุมกำหนด
กฎกติกาหมู่บ้านรักษาศีล ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งท่าช้าง ซึ่งสาระสำคัญของกติกาดังกล่าว คือ ห้ามเปิด
เพลงเสียงดังในยามวิกาล หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษ คือตัดงบประมาณในกองทุนและไม่ให้ความช่วยเหลือ
ในทุกๆ ด้าน ยกเว้นในเทศกาลงานประเพณี ประจำปี และตั้งกฎสำหรับผู้ที่จำหน่าย หรือเสพยาเสพ
ติดให้โทษ โดยเฉพาะยาบ้า ในหมู่บ้าน หากมีการฝ่าฝืนผู้นำชุมชนและหน่วยงานต่างๆ จะไม่ให้การ
ช่วยเหลือ และปล่อยให้กฎหมายจัดการต่ อไป (รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ
หมู่บ้านรักษาศีล ๕ : ๑, เอกสารอัดสำเนา) อย่างไรก็ตามกฎดังกล่าวก็ไม่มีความชัดเจนว่า ถูกนำไป
บังคับใช้หรือไม่ หรือได้ผลเป็ นประการใด เนื่องจากไม่ได้มีการขยายผลจนเป็นที่ยอมรับร่วมกันใน
ชุมชน
การดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของจังหวัดลพบุรี ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเวที
ประชาคมขับเคลื่อนนโยบายสมานฉัน ท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”
ครั้งที่ ๑ เมื่อวัน ที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๘ ณ วัดทุ่งท่าช้าง ตำบลทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัด
ลพบุรี โดยอาศัยความร่วมมือจากส่วนราชการ ส่วนคณะสงฆ์ ผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนร่วม ในการ
ถ่ายทอดองค์ความรู้ และฝึกปฏิ บัติการจริง ร่วมกันระดมความคิด เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
๒๖๘

หมู่บ้านรักษาศีล ๕ ให้เป็น ไปในทิศทางที่ดี และมีประสิทธิภาพโดยมีระบบพี่เลี้ยงสอนงานซึ่งได้รับ


ความเมตตาจากเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี “หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดเรียกประชุมทุกเดือน เดือนละหลาย
รอบ เรียกประชุมดูโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ท่านให้รายงานผลติดตามผล ของแต่ละอำเภอต่างๆ
พวกผมก็ต้องไปกันทุกรอบ” (สัมภาษณ์ พระครูคุณสัมบัน , ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙) การขับเคลื่อน
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของบ้านทุ่งท่าช้างจึงมีความก้าวหน้ามาตาลำดับ
โดยภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระยะที่ ๒ ในบ้านทุ่งท่า
ช้าง ก็คือการประมวลข้อมูลสมาชิกโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ให้ได้จำนวนร้อย ๘๐ ของประชากร
ทั้งหมดในหมู่บ้านหมู่ที่ ๑ โดยปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้นที่นับถือศาสนาพุทธจำนวน ๕๐๕ คน นั่นก็
หมายความว่ า จะต้ อ งได้ ส มาชิ ก ทั้ ง สิ้ น ๔๐๔ คนเป็ น อย่ า งน้ อ ย จึ ง จะถื อ ว่ า ผ่ า นเกณฑ์ ต ามที่
คณะกรรมการขับเคลื่อนฯได้กำหนดไว้ การดำเนินงานเก็บข้อมูลในช่วงแรกทางคณะทำงานภายใน
พื้นที่ มีเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลสมาชิกจากผู้ที่ส มัครใจ แต่ได้มีผู้เสนอว่าควรจัดเก็บเก็บให้ได้ร้อยละ
๑๐๐ จึงเป็นหมู่บ้านต้นแบบได้ แต่คำว่า “ร้อยละ ๑๐๐” นั้นมีการขยายขอบเขตไปถึงประชากรที่ยัง
ไม่ได้ลืมตามาดูโลกด้วย โดยทางคณะทำงานบางท่านมอบว่า “ถึงแม้เด็กจะยังไม่เกิดมา แต่พ่อกับแม่
นับถือศาสนาพุทธ” เด็กเกิดมาก็ต้องนับถือศาสนาพุทธอยู่แล้ว และหมายเลข ๑๓ หลักเมื่อเกิดมาก็
ต้องได้ ดังนั้น หมู่บ้ านท่ าทุ่งช้างจึงต้องเก็บข้อ มูล ให้ ได้ร้อยละ ๑๐๐ จึงจะเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ต้ น แบบตามที่ ท างจั งหวัด ได้ เสนอให้ น ำร่อ งมาแต่ ต้ น ในกรณี นี้ พ รทิ พ ย์ ปาลวั ฒ น์ (สั ม ภาษณ์ ๙
กรกฎาคม ๒๕๕๙) เล่าว่า “ตอนแรกการทำการพูดคุยการประชุมสัมมนาถอดบทเรียนกันนี่ท่านก็จะ
ออกในเชิงนโยบายว่าคนที่เขาสมัครใจเข้าศีล ๕ เท่านั้นที่จะดำเนินการปวารณาตนคีย์ข้อมูลเข้าศีล ๕
ได้ หนู ในฐานะที่ เป็ น เจ้ าหน้ าที่ ผู้ รับ มอบหมายในการประสานงานหนู ก็ เลยออกความคิ ด และก็
เสนอแนะแนวทางว่าท่านคะในเมื่อการดำเนินการของศีล ๕ นี่คนไทยเราในพื้นที่ของตำบลทุ่งท่าช้าง
นี่นับถือศาสนาพุทธทั้งหมดฉะนั้นเด็กที่เกิดมาก็มีเลข ๑๓ หลัก แล้ว ๆ ก็ปวารณาตนอยู่แล้วว่าพุทธ
ฉะนั้นเด็กคนนี้ก็ต้องถือศาสนาพุทธเหมือนกันฉะนั้นเด็กคนนี้ยังเขียนไม่ได้และอ่านไม่ออกแต่พ่ อแม่ก็
ต้องเป็นผู้ยินยอมนับถือศาสนาพุทธก็ต้องอุ้มท้องเข้ามาวัดแล้วก็ต้องอุ้มตอนเด็กขวบ ๒ ขวบเข้ามาวัด
เพื่อทำพิธีทางศาสนาของสงฆ์ได้มากั นเราจึงได้ดำเนินการเข้าศีล ๘ ได้ ๑๐๐%” ในขณะเดียวกันใน
ระหว่างการดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อให้ได้จำนวนร้อยละ ๑๐๐ ของประชากรที่เข้าร่วม
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ มีการต่อต้านโครงการอยู่บ้างจากคนบางกลุ่ม ทางคณะทำงานได้ประชุม
ถอดบทเรียนการดำเนินงานเป็นระยะๆ ก็พบประเด็นหลายประการที่จะต้องปรั บท่าทีของชาวบ้านให้
เกิด ความชัด เจน โดยเฉพาะประเด็น ว่า “ศีล ๕ เมื่อ เข้ าเป็ น สมาชิ กแล้ ว ต้ อ งปฏิ บั ติให้ ค รบคราว
เดีย วกัน เลยหรือ ไม่” ในกรณี นี้ เป็ น กับดักที่ ส ำคัญ ในการขับ เคลื่ อนและเป็ น ตัวกระตุ้ นให้ เกิดการ
ต่อต้าน ทางคณะทำงานจึงต้องชี้แจงว่า “ทั้ง ๕ ข้อในวันเดียวมันคงเป็นไปไม่ได้ แต่การขับเคลื่อนเนื้อ
บริบทของคนในพื้นที่นี่ศีล ๕ นี่มันสอดแทรกกิจกรรมในชีวิ ตประจำวันอยู่ แล้ว”(สัมภาษณ์ คุณพร
๒๖๙

ทิพย์ ปาลวัฒน์, ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) จากการพูดคุยกับคณะทำงานพบว่า เครื่องมือที่สำคัญในการ


ทำงานด้านการเก็บข้อมูลสมาชิกโครงการ คือการถอดบทเรียนโดยความร่วมมือจากผู้นำตั้งแต่นายก
อ.บ.ต. และเจ้าอาวาส รวมไปถึงผู้นำทุกฝ่ายมาร่วมกันถอดบทเรียนเพื่อสร้างสรรค์การทำงานให้เกิด
ประสิ ทธิภ าพสู งสุ ด ทางอ.บ.ต.ได้มอบหมายให้ มีผู้ประสานงานแผนการดำเนินงาน มีการร่วมกัน
วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ว่าจะทำอย่างไรในการจัดเก็บข้อมูลได้ร้ อยละ ๑๐๐ รวมทั้ง
ทำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลมาให้ถูกต้องตามระเบี ยบเก็บแฟ้มใบสมัครให้ วิธีการที่คณะทำงานร่วมกัน
ออกแบบคือ “การตั้งคณะกรรมการดูแลคุ้มบ้านแต่ละคุ้มบ้านมันก็จะทั่วถึงหมู่บ้าน ผู้ใหญ่จุน หมู่ที่ ๑
ก็จะมีใบสมัครตามทะเบี ยนราษฎร์ เราใช้วิธีการถ้าเราจะให้ ได้ ๑๐๐% เราต้องคีย์ข้อมูลทะเบียน
ราษฎร์ในปัจจุบันไล่ตั้งแต่แรกเกิดยันตาย ๑๐๐ ปี เสร็จแล้วก็ผู้ใหญ่บ้านก็จะเป็นรับกฎต่อก็คือถ้าเอา
ใบสมัครเดินไปหาลูกบ้านทุกหลังคาเรือนกันให้สมัครทุกคนและการสมัครทุกคนต้องอ่านข้อความและ
ก็เขียนใบสมัครด้วยตัวเองแล้วผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับรอง ผู้ช่วยเป็นผู้รับรองนะคะในการขับเคลื่อน ณ
ตอนนั้ น แล้ ว เสร็จ แล้ วก็เอามาเข้าแฟ้ มที่ อบต.”(สั มภาษณ์ คุณ พรทิพ ย์ ปาลวัฒ น์ , ๙ กรกฎาคม
๒๕๕๙) ในขณะเดียวกันพรทิพย์ ปาลวัฒน์ (สัมภาษณ์ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) ได้เล่าถึงผลสัมฤทธิ์ให้
ฟังว่า “ผลสัมฤทธิ์บ้านหมู่ที่ ๑ นี่จะมีคุ้มบ้านอยู่ ๑๒ คุ้มนี่ ๑ คนเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนแล้วอีก
๑ คนต้องไปคุมลูกบ้านอีก ๑๐ หลังคาเรือนและ ๑๐ หลังคาเรือนนี้จะต้องจำบริบทของคนในลูกบ้าน
ตัวเองในคุ้มตัวเองให้ได้แล้วก็ต้องมาตรวจเช็คเอ็กซ์เรย์ในเรื่องของต่าง ๆ ในการดำเนินงาน” สะท้อน
ให้เห็นระบบแบบแผนในการทำงานอย่างชัดเจนในการแบ่งความรับผิดชอบจากผู้ ใหญ่บ้านลงไปสู่คุ้ม
บ้าน ทำให้การจัดเก็บข้อมูลและการติดตามการรักษาศีล ๕ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกลายเป็น
หมู่บ้านต้นแบบในโอกาสต่อมา
สำหรับการบันทึกข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่
ดำเนินการโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ทางคณะทำงานได้มอบหมายให้ทางองค์การบริหารส่วน
ตำบลดำเนินการเนื่องจาก มีเครื่องมือที่ทันสมัยและมีบุคลากรที่ สามารถดำเนินการได้ โดยกำหนดให้
ผู้ ใหญ่ บ้ านทำหน้ าที่ เก็บ ข้อมู ล ส่ งให้ อบต.การเก็บ ข้อมูล ผู้ ใหญ่ บ้ านจะต้องตรวจสอบใยสมั ครว่า
ครบถ้วนหรือไม่ ในขณะเดียวกันจะต้องตรวจสอบคุณสมบัติให้ ครบถ้วน จากนั้น อบต.ก็จะทำหน้าที่
คีย์ข้อมูล ส่งให้ทางอำเภอช่วยตรวจสอบหมายเลข ๑๓ หลัก จากการพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ อบต.
พบว่า “เจ้าหน้าที่ประสานงานเราลงใช้ระยะเวลาตอนประมาณ ๒ อาทิตย์ในการคีย์ข้อมูลเสร็จ ๑๐๐
% นะคะ โดยใช้เจ้าหน้าที่ทั้งหมด ๑๐ ท่าน”(สัมภาษณ์ คุณพรทิพย์ ปาลวัฒน์, ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙)
การวางแผนการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของหมู่ที่ ๑ ตำบลทุ่งท่าช้าง
อำเภอสระโบสถ์ จังหวั ดลพบุรี ได้มีการดำเนินการเรื่อยมา โดยการใช้หลักศีล ๕ เป็นแกนหลักเพื่อ
แตกกิจกรรม ที่สอดคล้องกับศีล ในแต่ละข้อ และจากการดำเนิ นการดังกล่าวนี้ ได้อาศัยความร่วมมือ
๒๗๐

จากหน่วยงานต่างๆ เช่น สถานีตำรวจ โรงพยาบาลส่งเสริ มสุขภาพตำบลทุ่งท่าช้าง และหน่วยงาน


อื่นๆ เข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน ให้กิจกรรมต่างๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะเห็นได้ว่า ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ ถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๘ ทาง
จังหวัดลพบุรี และหมู่บ้านทุ่งท่าช้างได้ดำเนินการ วางแผน ร่วมกันวางยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการ
หมู่บ้านรักษาศีล ๕ เป็นต้นมา สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จและความก้าวหน้าของโครงการก็คือ
การร่มมือกันของทุกภาคส่วน ตระหนักถึงความสำคัญ และคุณค่าของศีลในฐานะเครื่องมือสร้างความ
สามัคคีและสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม
หลังจากรับป้ าย ”หมู่บ้านรักษาศีล ๕” หมู่บ้านทุ่งท่าช้าง ก็ยังดำเนินการขับเคลื่อน
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการรับสมัครและขึ้นทะเบียนรับสมัครสมาชิก
รักษาศีล ๕ เพิ่มเติมจากยอดเดิม การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ในระดับจังหวัดและ
ระดับ อำเภอ การอบรมต่างๆ ตลอดถึงการประเมินผลและการติดตามนิเทศและประเมินผลจาก
เจ้าหน้าที่ในส่ว นกลาง พร้อมกัน นี้ก็ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆที่ส อดคล้อง กับการรักษาศีล ๕ อย่าง
ต่อเนื่อง จากการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ทั้งในส่วนของหมู่บ้านทุ่งท่าช้าง และในชุมชนอื่นๆ ใน
จังหวัดลพบุรี ทำให้สถิติการลงทะเบียนผู้สมัครเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ซึ่งสำรวจข้อ มูล
เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ พบว่า บ้านทุ่งท่าช้าง จังหวัดลพบุรี มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมสมัครเข้าร่วม
โครงการ ในระยะที่ ๒ ครบถ้วนร้อยละ ๑๐๐ ส่งผลให้จังหวัดลพบุรี มีผู้ลงทะเบียนมากเป็นอันดับ ๑
ของประเทศ
เมื่อสิ้น สุดการดำเนิ นการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระยะที่ ๒ (ตุลาคม ๒๕๕๗ –
กันยายน ๒๕๕๘) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับวัดไร่ขิง พระอารามหลวง อำเภอสาม
พราน จังหวัดพระนครปฐม ได้ร่วมกันจัดการประชุมการขับเคลื่อนโครงการการสร้ างความปรองดอง
สมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕” ระยะที่ ๓ ณ วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระหว่างวันที่ ๑-๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจาก
การประชุมดังกล่าวได้ร่วมกันเสนอผลของการขับเคลื่อนตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในระยะที่
๑-๒ จังหวัดต่างๆ และร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้า นรักษาศีล ๕ ใน
ระยะที่ ๓ การขับเคลื่อนเชิงคุณภาพ
๓) ช่วงการดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระยะที่ ๓ (หัวข้อย่อย ๓)
การขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ระยะที่ ๓ ทางคณะกรรมการขับเคลื่อนวาง
แนวทางว่าเป็นการขับเคลื่อนเชิงคุณภาพ โดยวางยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน ๓ ยุทธศาสตร์หลัก
ประกอบ ๑) ด้านกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาชีวิตตามหลักศีล ๕ ๒) ด้านกิจกรรมตามวิถีชีวิ ตชาวพุทธ
และ ๓) ด้านกิจกรรมส่งเสริมงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล(อ.ป.ต.)
๒๗๑

สำหรับ ชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จั งหวัดลพบุรี การขับเคลื่อนโครงการฯใน


ระยะที่ ๓ เมื่ อ รั บ นโยบายจากหน่ ว ยเหนื อ มาแล้ ว ได้ ร่ ว มกั น ดำเนิ น กิ จ กรรมให้ ส อดคล้ อ งกั บ
ยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ กำหนดไว้ โดยได้ดำเนินการใน ๒ รูปแบบ
๑) นำทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบต่อและดำเนินการ
กันอยู่ในปัจจุบันมารวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
สำหรับประเด็นการนำทุนทางวัฒ นธรรมมาผสานเข้ากับโครงการหมู่บ้านรัก ษาศีล ๕
เนื่องจากก่อนที่หมู่บ้านจะเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกั บศาสนาพุทธนั้นชาวบ้านได้ใช้เป็น
ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในการประพฤติปฏิบัติ ตนอยู่แล้ว ทั้งการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาในวัน
สำคัญทางพระพุทธศาสนา และความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในวันสำคัญๆของตนเอง เช่น การขึ้น
บ้านใหม่ แต่งงาน งานบวช เป็นต้น ส่วนประเด็นทุนทางวั ฒนธรรมนั้น เมื่อรับโครงการหมู่บ้านรักษา
ศีล ๕ เข้าสู่หมู่บ้านแล้ว คณะทำงานได้ออกแบบให้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ เป็นเหมือนร่มใหญ่ที่
ครอบกิจกรรมการดำรงชีวิตทุกประเภทเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มโครงการฯ ดังนั้น กลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กร
ชุมชนทุกประเภทในชุมชนจึงกลายเป็นกงล้ อขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ร่วมกันไป ดังที่
ผู้ใหญ่บ้าน จุน อินทร์วิลัย (สัมภาษณ์ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) กล่าวว่า “.....งานศีล ๕ ที่เห็นโดดเด่นก็
คือ ของท่านสมนึก ปานธูป ที่ทำเศรษฐกิจพอเพียง มีเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกผักขาย ปุ๋ยชีวภาพ เป็น
เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนั้นก็มีปล่อยปลา กลุ่มจักสาน กลุ่มทอผ้าหัตถกรรม นางเล็ด นางเว้า นาง
แตน ขนมเบิ้ง เป็นของชาวไทเบิ้ง ข้าวกล้อง” เมื่อเริ่มโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กลับกลายเป็นว่า
ทุกมิติที่มีอยู่ในชุมชนเชื่อมโยงประสานเป็นหนึ่งเดียวกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้ทั้งสิ้ นจน
กลายเป็นกลไกขับเคลื่อนโครงการร่วมกันไปอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งที่พิสูจน์ความเชื่อมโยงอย่างมี
นัยสำคัญระหว่างโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ กับวิถีชีวิตการผลิตของกลุ่มอาชีพสะท้อนได้จากคำ
บอกเล่าของพรทิพย์ ปาลวัฒน์ (สัมภาษณ์ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙) ว่า “กลุ่มอาชีพถือสัจจะ(รักษาศีล
ข้อที่ ๔) คือมีสัจจะกับตัวเองจะไม่มองเรื่องเศรษฐกิจเหมือนคนในตลาด อย่างบ้านทำนางเล็ดนี่เราจะ
เห็ น ว่านางเล็ ดในพื้น ที่แผ่น เท่ากับ แผนที่ โลก จะเป็นแผ่ นใหญ่ มาก ก็จะไปเปลี่ ยนแปลงเขาไม่ได้
เพราะเขาทำมาแบบนี้แล้วเขาบอกว่า ‘ก็ฉันทำได้ ๑๐ แผ่นนะฉันทำได้แค่ ๒๐ แผ่นนะอีหนูป้าทำ
๑๐๐ หรือ ๒๐๐ แผ่นให้หนูไม่ได้หรอกเพราะว่าป้าทำไม่ได้ ป้าทำได้แค่นี้ป้าให้ได้เท่านี้นะ’ ‘หนูบอก
โอ้ป้าไม่ได้หรอกป้าต้องรับ order หนูก่อนนะ ๑๐๐ แผ่นหนูต้องใช้ ’ ‘ไม่ได้อีหนูป้ามีแรงทำได้เท่านี้
แล้วป้าก็ไม่ได้จ้างใคร ป้าทำด้วยตัวของป้าเอง’ นี่คือสิ่งที่เราได้รับจากเขา ถ้าเป็นเราในชุ มชนนั้นอยู่
ในชุมชนเมือง เฮ้ย ๑๐๐ แผ่นก็จะเอา ๑๐๐ แผ่น ทำให้ได้แต่คุณภาพจะดีหรือไม่ดีไม่รู้นี่คือสิ่งที่หนู
สัมผัสได้กับคนที่นี่” การดำเนินชีวิตที่นำเสนอไปนั้นสะท้อนคุณค่าของศีล ๕ เป็นกรอบในการดำเนิน
ชีวิตอย่างชัดเจน ไม่มุ่งหมายผลประโยชน์ในเชิงรูปธรรมแต่ให้ความสำคัญกับความสุขทางใจที่ได้รับ
จากการประพฤติปฏิบัติตามหลักศีล ๕
๒๗๒

๒) ริ เริ่ ม กิ จ กรรมใหม่ ๆ ทั้ ง กิ จ กรรมที่ เน้ น การส่ งเสริ ม และกิ จ กรรมเพื่ อ แก้ ปั ญหา
ขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ในการริ เริ่ ม กิ จ กรรมใหม่ ๆ ในชุ ม ชนที่ ส่ งเสริม การดำเนิ น ชี วิ ต ตามหลั ก ศี ล ๕ และ
แก้ปัญหาชุมชน ก็เป็นแนวทางที่สำคัญที่บ้านทุ่งท่าช้างได้ดำเนินการ จากการสอบถามนายเยื้อ เทศโล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้กล่ าวถึงที่ มาที่ไปของกิจกรรมต่างๆ ว่า “ถ้าหากไม่มีโครงการ
หมู่บ้านรักษาศีล ๕ กิจกรรมแก้ปัญหาต่างๆ ก็คงไม่ได้รับความร่วมมือมากขนาดนี้” ในการดำเนินการ
กิจกรรมที่เน้นส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักศีล ๕ นั้น องค์การบริหารส่วนตำบล จะเป็นผู้
กำหนดกรอบงานของกิจกรรมที่สอดคล้องกับศีล ๕ ทั้ง ๕ ข้อ พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณให้สามารถ
ดำเนินงานได้ ให้มีคณะทำงานที่จะขับเคลื่อนกิจกรรมเหล่านั้น ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า “ทำด้วยใจ ทำ
ด้วยศรัทธา” ซึ่งนายก อ.บ.ต. สรุปความหมายว่า “ทำด้วยใจ คือ เอาใจมาทำโดยไม่หวังผลตอบแทน
มีจิตสาธารณะ และต้องมีความเข้าใจในการจะทำ และทำด้วยศรัทธา นั่นหมายความว่า ต้องมีความ
ศรัทธาในศีล ๕ เชื่อว่า ศีล เป็ น เครื่องมือให้ ผู้ ปฏิบัติสามารถเป็นคนดีได้” กิจกรรมที่เด่นๆ ในการ
ส่งเสริม คือการส่งเสริมความรักความสามัคคีในหมู่ประชาชน กิจกรรมการทำผักปลอดสารพิษ ทำ
แล้วไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นการรักษาศีล ๕ สร้างความเมตตากรุณาให้เกิดขึ้นในชาวบ้าน
สำหรับกิจกรรมที่เน้นการแก้ปัญหา คือเอาปัญหาเป็นตัวตั้ง แล้วร่วมกันแก้ปัญหา จาก
การเก็บ ข้อ มูล ในพื้ น ที่ โดยการสั งเกต ผู้ วิจัยพบกระบวนการทำงานในประเด็น นี้ อย่ างเป็ น ระบบ
ขับเคลื่อนอย่างมีระเบียบแบบแผน จากการแสวงหาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) กับปัญหาที่
เกิดขึ้นภายในชุมชน จากนั้นร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา แล้วหาทางออกโดยการจัดกิจกรรมร่วมกัน ผู้วิจัย
ขอเสนอกรณีศึกษา คือปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของเยาวชนในบ้านทุ่งท่าช้าง
๒๗๓

ระบุปัญหาโดย อ.บ.ต.
ขั้นตอนที่ ๑ “ปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของ
เยาวชน”

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(Stockholder)
ขั้นตอนที่ ๒
“อบต.+วัด+รร.+รพสต.”

สร้างเครือข่ายแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ ๓ “MOU ของ
อบต.+วัด+รร.+รพสต.”

อบต.+วัด+รร.+รพสต. ร่วมกันคิดกิจกรรม
ขั้นตอนที่ ๔ “โครงการอบรมวิธีการป้องกันการท้อง และโรค
เอดส์”

อบต.+วัด+รร.+รพสต. ร่วมกันปฏิบัติการ
ขั้นตอนที่ ๕ “อบรมวิธีการป้องกันการท้อง และโรค
เอดส์ที่โรงเรียนบ้านทุ่งท่าช้าง”

รพสต.ประเมินผลโครงการ พบว่า “ตั้งแต่ ๑


ต.ค.๕๖-๓๐ ก.ย.๕๘ บ้านทุ่งท่าช้าง
ขั้นตอนที่ ๖ ไม่พบข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรท้อง
จากสถิติเดิม เฉลี่ยปีละ ๘ คน”

แผนภาพที่ ๔.๑ ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดกิจกรรมให้สอดคล้องกับศีล ๕


๒๗๔

จากแผนภาพที่ ๔.๑ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงกระบวรการทำงานอย่างเป็นระบบของ


คณะทำงานในบ้านทุ่งท่าช้าง เริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา ซึ่งดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่ง
กำหนดแผนว่าจะต้องแก้ปัญหาอะไรอย่างเร่งด่วน จากนั้ นจึงหาเครือข่ายทำงานร่วมกัน ออกแบบ
โครงการโดยการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบล ร่วมกันจัดกิจกรรม เมื่อดำเนิน
แล้วผลที่ออกมาก็สะท้อนถึงความสำเร็จของชัดเจนจากการรับรองผลของโรงพยาบาลส่ งเสริมสุขภาพ
ตำบลทุ่งท่าช้าง
การที่บ้านทุ่งท่าช้างได้รับการยกย่องเป็ นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ต้นแบบนั้น เป็นการมอง
ภาพรวมของคณะกรรมการขับเคลื่อนตั้งแต่ระยะที่ ๑ ระยะที่ ๒ และ ระยะที่ ๓ โดยการดำเนินงาน
ระยะที่ ๓ ของของบ้ านทุ่ งท่ าช้ างมีก ารแปลงยุท ธศาสตร์ ทั้ ง ๓ ยุ ท ธศาสตร์ข องคณะกรรมการ
ขับเคลื่อนฯได้อย่างได้ผล และมีการดำเนินงานที่มีค วามก้าวหน้าเป็นลำดับ มีการเปลี่ยนแปลงชุมชน
ทั้งในแง่พฤติกรรมส่วนบุค คลและองค์กรชุมชนอย่างชัดเจน ก่อเกิดความสามัคคีปรองดองในชุมชน
ภายใต้กิจกรรมที่ทำร่วมกัน ตอบสนองวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการให้เป็นกลไกในการสร้าง
ความปรองดองสมานฉันท์ภายในชุมชน และมีการขยายผลไปสู่หมู่บ้านอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นกล่าวได้ว่า ในระยะที่ ๓ การขับเคลื่อนเชิงคุณภาพ รูปแบบ วิธีการ แนวทางใน
การขับเคลื่อนที่ดำเนินการในบ้านทุ่งท่าช้าง สามารถเป็นต้นแบบไปสู่การดำเนินการในหมู่บ้านอื่นๆ
ได้ โดยมองถึงการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน การสร้างความสามัคคี และสร้างความมั่นคงยั่งยืนของ
การดำเนินโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในระยะยาว โดยผู้วิจัยได้สังเคราะห์บทเรียนการปฏิบัติงาน
ของโครงการหมู่ บ้ านรัก ษาศีล ๕ ระยะที่ ๓ เชิงคุณ ภาพ ของบ้ านทุ่ งท่ าช้างโดยสรุป ว่า “ผสาน
กิจ กรรม ทำสิ่งใหม่ ใส่ใจปั ญ หา พัฒ นาสู่ค วามปรองดอง” นำไปสู่ การสร้างวัฒ นธรรมการอยู่
ร่วมกันอย่างสันติสุขในชุมชนต่อไป
จากการนำเสนอภาพรวมการก่อเกิดและพัฒนาการของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ใน
บ้านทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่ามีพัฒนาก้าวมาตามลำดับผ่านกลไกการขับ
เคลื่อนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่มีเป้าหมายที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ
ศสช. และ มหาเถรสมาคมที่ประสงค์จะให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์อย่างจริงของคนในชาติ โดย
ลำดับของพัฒนาการการขับเคลื่อนโครงการฯในบ้านทุ่งท่าช้างเป็นไปตามแผนภาพที่ ๔.๒
๒๗๕

มหาเถรสมาคม คสช.

โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทาง
พระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล ๕”

ฝ่ายคณะสงฆ์ มติ มส. ภาคราชการ

เจ้าคณะภาค ๓ กก.อำนวยการ สำนักพุทธ/กรมการศาสนา

เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี ระเบียบ มส. ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี

เจ้าคณะอำเภอสระโบสถ์ กก.ขับเคลื่อน นายอำเภอสระโบสถ์


สำนักพุทธ จ.ลพบุรี
นโยบาย
เจ้าคณะตำบลทุ่งท่าช้าง อบต./กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านทุ่งท่าช้าง

ผสานกิจกรรม/ทำสิ่งใหม่
คณะกรรมการในพื้นที่ ใส่ใจปัญหา บวร.
พัฒนาสู่ความปรองดอง

องค์กรชุมชน

แผนภาพที่ ๔.๒ การก่อเกิดและพัฒนาการของการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕


บ้านทุ่งท่าช้าง
๒๗๖

จากแผนภาพที่ ๔.๒ การก่อเกิดและพัฒนาการของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในบ้าน


ทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี มีจุดเริ่มต้นจากมติมหาเถรสมาคม และเจตนารมณ์ของ
คสช. การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ มหาเถรสมาคมได้แต่งตั้งคณะกรรมการ
อำนวยการเพื่อกำกับให้โครงการดำเนินไปได้ ตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ได้สร้างกลไกในการขับเคลื่อน
ขึ้นมาในฐานะเป็นระเบียบมหาเถรสมาคม พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อทำหน้าที่ใน
การขับเคลื่อน กำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการอย่างเป็นระบบ ในส่วนกลไกเชิงสถาบัน มหา
เถรสมาคมได้มอบหมายงานขับเคลื่อนโครงการไปตามลำดับสายการบังคับบัญชา ตั้งแต่เจ้าคณะภาค
๓ ลงไปถึงเจ้าคณะตำบลและเจ้าอาวาสวัดทุ่งท่าช้าง ฝ่ายภาคราชการ มหาเถรสมาคมร่วมกับรัฐบาล
ได้มอบหมายให้ส่วนราชการเข้ามาสนับสนุนงานขับเคลื่อนโครงการ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก
ในส่วนกลางประกอบด้วยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกรมการศาสนา ถ่ายทอดภารกิจลง
ไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีไปจนถึงองค์การบริหารส่วนตำบล
บ้างทุ่งท่าช้าง และผู้ใหญ่บ้านทุ่งท่าช้างร่วมสนับสนุนคณะสงฆ์ในชุมชนในการดำเนินงาน ในพื้นที่ก็
เป็ น ความร่วมมืออย่างเหนี ยวแน่ นของเครือข่ายการทำงานที่เริ่มต้นจากคณะกรรมการขับเคลื่อน
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ บ้านทุ่งท่าช้างร่วมกับบ้าน วัด โรงเรียน และองค์กรชุมชนทั้งองค์กรเชิง
วัฒนธรรม องค์กรอาชีพ และองค์กรเยาวชน โดยการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วนตำบล จึงทำให้
เกิดแนวทางในการทำงานตามที่ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกตว่า “ผสานกิจกรรม ทำสิ่งใหม่
ใส่ใจปัญหา พัฒนาสู่ความปรองดอง”
๒๗๗

๔.๒ ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานตามแนวทางโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ใน
ชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี (ตัวอย่างที่ผิดพลาด ไม่เหมาะสม)
ผลการศึกษาพบว่า ในการส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพเสริม หรือสร้างรายได้
เสริมให้แก่ครอบครัว นั้น ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ พบว่ามีผู้ที่เข้าร่วมกลุ่มอาชีพต่างๆ มี
รายได้จากอาชีพเสริมเหล่านั้น ช่วยเหลือจุนเจือครอบครัวได้เป็นอย่างดี ดังกรณีศึกษาต่อไปนี้
ผู้ใหญ่บ้าน วินัย สังวาลย์ กล่าว “ผมเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ มีจำนวน ๙๑ ครัวเรือน
ครับ สำหรับมะนาวที่ปลูกก็เป็นการปฏิบัติตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงเราครับ โดย
การตอนกิ่งจากต้นพันธุ์ที่มีอยู่ต้นเดียวในบ้าน แล้วก็มาขยายในสวนที่อยู่ข้างนอกประมาณ ๒ งาน
แจกจ่ายให้ประชาชนในหมู่บ้านนำไปปลูก เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย สำหรับกิ่งพันธุ์ที่จะจำหน่ายจะมี
ราคาอยู่ที่ ๓๐ บาทถึง ๕๐ บาทครับ ก็เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนด้วยครับ”
นายสงัด สังวาลย์ กล่าวว่า “เวลาว่างจากการเกษตรก็มาเลี้ยงไก่ชนครับ หากสนใจ มี
เวลาว่างก็สามารถมาดูได้นะครับ”
นายธวัช พรรคสำนัก กล่าวว่า “เป็นกรรมการหมู่บ้านและปราชญ์ชาวบ้าน เรามีโรงสี
เป็นของเราเองอยู่ในชุมชน ก็ให้ชาวบ้านนี่มาสีเอง เพื่อจะได้ลด ประหยัด การใช้จ่าย หรือว่าละแวก
ใกล้เคียงมาสีข้าวก็ไม่คิดค่าบริการ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงหรือตามหลัก
ของศาสนา ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ให้มีความสงบ มีความเรียบร้อย และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรกัน”
นางรำไพ ต้นสกุล กล่าวว่า “ฉันมีอาชีพเป็นหมอดู ทางใต้ทางเหนือก็มาดูดวงที่นี่”
นายอำนาจ ยวงรัมย์ กล่าว่า “ปัจจุบันทำงานบริษัท อาชีพเสริมที่สามารถช่วยเหลือจุน
เจื อครอบครัวได้ก็คือการเลี้ ย งจิ้ งหรีด เฉลี่ ยแล้วบ่ อละ ๓๐ กิโลกรัม ก็น่าจะเพียงพอต่อการเลี้ ยง
ครอบครัวและได้ใช้ชีวิตอยู่กับลูกกับภรรยาที่บ้าน”
นางเฉลา แม้นพรหม กล่าวว่า “ฉันเลี้ยงหมู ก็มีไม่เยอะ ฉันเลี้ยงแบบเศรษฐกิจพอเพียง
จะเลี้ยงปลาก็ยังเลี้ยงไม่ได้ ฉันก็ถือศีล ๕ สวดมนต์ไป ก็อยู่แบบพอเพียง เพราะเคยเป็นหนี้เป็นสินเขา
มาแล้ว จะเอาอย่างพ่อหลวง ตอนนี้ฉันก็ดีใจได้เลี้ยงหมู พอมีรายได้ ได้ซื้ออยู่ ซื้อกิน”
นายสมนึก ระเบียบ กล่าวว่า “ยามว่างจากนาจากไร่ก็ได้มาทำผา ต่อมาก็มีคนนิยม
ชมชอบ เอาไปตกแต่งบ้าน ดูสวยงาม รับแขก ดูดีครับ ต่อมาก็มีมีดใช้ในครัวเรือนแล้วก็ไปถางป่าถาง
ไร่ได้ และทำฝักใส่เรียบร้อย ไม่มีคมมีดมาบาดได้ครับ”
นางสมคิด คชวงศ์ กล่าวว่า “เวลายามว่างเลิกทำไร่ทำนาฉันก็มาจักสาน ทำอาชีพเสริม
ให้ครอบครัว วันพระฉันก็ไปทำบุญ ให้ลูกหลานพาไป ก็ไปใส่บาตร ฟังพระ ลูกหลานพากลับก็กลับ”
นางสุวดี คตเข็ม กล่าวว่า “ฉันเป็นหัวหน้ากลุ่มถักตะกร้าเชือกฟางและก็ปอพลาสติก
มารวมกลุ่มกันที่นี่ ๑๕ คน พอพักเที่ยงก็มาทำกิจกรรม ทำอาหารกินกันที่นี่ ลูกกลุ่มก็มีความสุข”
๒๗๘

นางไพวัณ ระต้นตา กล่าวว่า “ไปทำไร่ทำนากลับมาก็มาทอผ้าคนเดียว ทำเป็นอาชีพ


เสริม ก็มากก็ได้มาก ทอน้อยก็ได้น้อย ทอได้วันละผืน เพื่อนๆมาก็รวมกลุ่มกันทอ หลานไปโรงเรียนก็
ได้มีเวลาทอผ้า”
นายจรูญศักดิ์ หรุ่นเลิศ กล่าวว่า “ผมเป็นประธานกลุ่มจักสาน โดยใช้ทางมะพร้าวใน
หมู่บ้านเรา วัตถุหาได้เอง มีสมาชิกอยู่ในกลุ่ม ๑๕ คน และได้ทำกันประจำ อันนี้ (ตะกร้าสาน) ขายดี
เพราะผมทำไว้ ๑๐ ลูกก็ขายได้หมดแล้วครับ ได้เป็นอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม เฉลี่ยแล้วก็เดือนละ
๑,๐๐๐ บาท ก็ได้มีเงิน มาออมอยู่ในสถาบันการเงิน ทำให้ สถาบันการเงินของหมู่ที่ ๑ มั่นคงและ
ช่วยเหลือตัวเองได้อย่างเต็มที่”
นางบุญจันทร์ ดารายิ่ง กล่าวว่า “ฉันได้ทำนางเล็ด (ขนมนางเล็ด) ประจำ มีนางเล็ด มี
ข้าวแตน ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ทำเสร็จแล้วก็นั่งขายอยู่ที่บ้านนี่แหละ ก็พอได้รายได้จุนเจือครอบครัว”
นายทบ เสียงดี กล่าวว่า “ผมมีอาชีพเป็นเกษตรกร และมีอาชีพเสริมคือ งานเย็บผ้า ทำ
ให้ครอบครัวอยู่ได้ และผมใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง และอยู่กันแบบรักษาศีล ๕ ตามรอย
พระพุทธศาสนา”
นายสมอน เทพสโล กล่าวว่า “ผมมีอาชีพทำไร่ หลังจากเลิกจากการทำไร่ ทำนา ก็มี
การตั้งกลุ่มถักแห มีสมาชิกอยู่ด้วยกัน ๑๕ คน หลังจากที่ผมได้รวมกลุ่มกันแล้ว สมาชิกในกลุ่มผมก็มี
จิตใจเยือกเย็น และยึดเหนี่ยวธรรมของศีล ๕ ทำให้สมาชิกในกลุ่มอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขครับ”
๒๗๙

๔.๓ ผลการนำเสนอกลไกการขับเคลื่อนในเชิงภาคีเครือข่ายของโครงการหมู่บ้านรักษา
ศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี (หัวข้อหลัก)
ตัวอย่างการเสนอผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ผลการศึ กษาพบว่า การขับ เคลื่ อนโครงการหมู่บ้ านรักษาศีล ๕ ในชุม ชนทุ่ งท่ าช้าง
อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี ก่อให้เกิดรูปธรรมในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ชุมชนที่ดีกว่า อย่างชัดเจน
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ไม่ใช่เพี ยงโครงการที่เคลื่อนไปโดยเพียงหวังผลผลิตที่ต้องการจะให้เกิด
ในเชิงปริมาณเท่านั้น แต่มีแรงเคลื่อนที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชนโดยภาพรวมทั้งระดับปัจเจก
และระดับชุมชน อีกทั้งส่งผลให้ผู้ที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการและชาวบ้านมีก ารเปลี่ยนแปลง
ไปพร้อมๆ กัน ต่างจากการขับเคลื่อนโครงการโดยทั่วไปที่มุ่งหวังให้เกิดผลผลิตตามที่คาดหวัง วัดผล
ได้ในเชิงปริมาณ เครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังที่กล่าวมาก็คือกิจกรรมที่เกิดจากการ
ดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
๔.๓.๑ ระยะที่ ๑ ขั้นเตรียมการ (หัวข้อย่อยที่ ๑)
ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนการระดมความคิดเห็ นโดยใช้ เทคนิคแผนที่ผลลัพธ์แบบประยุกต์
(Modify Outcome Mapping) ใช้เพื่อค้นหาปัญหาที่เป็นอุปสรรค หรือตัวฉุดรั้งความสำเร็จในการ
ดำเนินการสร้างหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านศีล ๕ อย่างสมบูรณ์
ผู้เข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วยประชาชนในชุมชนห้วยต้ม
จากภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนความเป็นหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ประกอบด้วย
๑. พระครูอุปถัมภ์สังฆกิจ รองเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
๒. นายตรีรัตน์ รัตนชัยวงศ์ เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนปฏิบัติงาน
๓. นายสุรชาติ ธารสุขลีลา ปราชญ์ชุมชน
๔. นายเสาร์แก้ว พะดู สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ ๙
๕. ตะก๊ะแงพอ หมู่ ๑๘
๖. นางเรณู สะอาดเอี่ยมจิต อาสาสมัคร หมู่ ๘
๗. นายอนุกูล กุลสัมพันธ์ชัย แกนนำเยาวชน หมู่ ๘
๘. นางสุรีพร พงศากมล สมาชิกอง๕การบริหารส่วนตำบล หมู่ ๑๒
๙. นายอุดม กุลสัมพันธ์ชัย สารวัตรกำนัน
๑๐. ตะก๊ะ หมู่ ๑๔
๑๑. นายทิพันธ์ พรนรังสรรค์ ผู้ประกอบกิจการค้าขาย
๑๒. นายไกรวิทย์ ธารสุขลีลา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ ๒๒
๑๓. นายนิวัฒน์ จงบุญดีตลอด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ ๒๒
๒๘๐

๑๔. นางพิสมัย วนการสวัสดิ์ ประธานแม่บ้าน หมู่ ๒๒


๑๕. นายวิบูล ภูริชชยันต์ อดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่ ๒๑
๑๖. นายจันดี กิจวิทยาวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
๑๗. นายศรชัย ธารสุขลีลา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๑๒
๑๘. ดร.อาภากร ปัญโญ นักวิชาการอิสระ
๑๙. ตะก๊ะ หมู่ ๘
๒๐. แกนนำเยาวชนในชุมชนห้วยต้ม
สำหรับกิจกรรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เน้นการใช้การระดมความคิดเห็นของผู้
มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีกำหนดการในการจัดกิจกรรมในวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ มีรายละเอียด
ดังนี้
ประชุมครั้งที่ ๑ คำถามเพื่อค้นหาสภาพจริงในปัจจุบัน “ปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับ
การรักษาความเป็นชุมชนห้วยต้มที่เข้มแข็งด้วยคุณค่าของศีล ๕ ประสบกับปัญหาอะไรบ้าง”
ในการประชุมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มเขียนเป็นคำบรรยายหรือวาดถึงปัญหาหรือ
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่ งผลกระทบต่อชุมชนวัดพระบาทห้วยต้ ม โดยผู้วิจัยให้เวลาผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ครั้งนี้ ประมาณ ๓๐ นาที จัดอุปกรณ์ประกอบด้วย กระดาษฟลิบชาร์ตและปากกาเมจิกให้แต่ละกลุ่ม
เพื่อใช้ทำแผนที่ความคิด (Mind Map) หลังจากที่ได้ระดมความคิดเห็นกันแล้ว ในกลุ่มได้เลือกผู้แทน
กลุ่มนำเสนอผลการระดมความเห็น
กลุ่มที่ ๑ กลุ่ม ๕ พลัง สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย
กลุ่มที่ ๒ กลุ่มตะก๊ะผู้นำ สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย
กลุ่มที่ ๓ กลุ่มศิษย์ครูบา สมาชิกกลุ่มประกอบด้วย
๒๘๑

รูปภาพที่ ๓.๑ ผลการสำรวจสภาพจริงในปัจจุบันของชุมชนห้วยต้ม

ผลจากการระดมความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล ๕
ของชุมชนบ้านห้วยต้มในประเด็นแรกที่เกี่ยวกับการสำรวจสภาพจริงในอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า

๔.๓.๒ ระยะที่ ๒ ขั้นวางแผนปฏิบัติงานวิจัย(หัวข้อย่อย


ที่ ๒)
พัฒ นาชุดฝึกอบรม/จัดทำชุดความรู้ เนื้อหาสาระเป็น
อย่างไร

๔.๓.๓ ระยะที่ ๓ ขั้นปฏิบัติการ(หัวข้อย่อยที่ ๓)


ลงไปทำอะไรบ้าง เล่าให้ละเอียดที่สุด

๔.๓.๔ ระยะที่ ๔ ขั้นถอดบทเรียน(หัวข้อย่อยที่ ๔)


จากการปฏิบัติการครั้งนี้ กลุ่ มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรบ้าง
๒๘๒

๔.๓ องความรูท้ ี่ได้รับจากการวิจัย


หากพิจารณาความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ของชุมชนทุ่ง
ท่าช้าง อำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี นับว่าเป็นต้นแบบที่ป ระสบความสำเร็จในการแปลงนโยบาย
โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ไปปฏิบัติ มีความสำเร็จอย่างชัดเจนในการขับเคลื่อนโครงการจนก่อเกิด
การเปลี่ ย นแปลงภายในชุมชนไปในทิ ศทางที่ดี ขึ้นตามกรอบของศีล ๕ ผู้วิจัย ขอเสนอปัจจัยแห่ ง
ความสำเร็จของชุมชนเป็นผลมาจาก ๖ ปัจจัยหลักคือ
ผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง ได้ร่วมกันผนึก
กำลังอย่างเป็นเอกภาพในการขับเคลื่อน โดยการนำของผู้นำหลัก ๒ ท่าน คือ นายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลทุ่งท่าช้าง เป็นผู้นำที่เป็นทางการที่ชาวบ้านมีความเคารพนับถือ ชาวบ้านยอมรับว่า นายก
องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเสาหลักที่สำคัญในการผลักดันให้งานเดินได้ ท่านสนับสนุนทั้งเข้าร่วม
ด้วยตนเอง ทั้งสนับสนุนให้บุคลากรรับผิดชอบในการดำเนินการประสานโครงการคือ นางสาวพรทิพย์
ปาลวัฒน์ หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่ง ท่าช้าง หรือชาวบ้านเรียกว่า คุณกระรอก
และสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการกิจกรรมหลากลหายประเภท นอกจากผู้นำที่เป็นทางการ
ที่กล่าวไปแล้ว อีกท่านเจ้าอาวาสวัดทุ่งท่ าช้าง คือ พระครูคุณสัมบัน ท่านถือว่าเป็นผู้นำทางจิตใจของ
ชาวบ้าน พูดแล้วคนเชื่อ สั่งแล้วคนก็ทำตาม ปั ญหาต่างๆ ภายในชุมชนหากท่านพระครูฯ เข้าร่วม
แก้ไขก็คลี่คลายและจบลงไปได้โดยง่าย การมีความตั้งใจร่วมกันของผู้นำที่เป็นทางการและไม่เป็น
ทางการในชุมชน ผู้วิจัยเสนอเป็นแผนภาพถึงความสำคัญของผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้าน
รักษาศีล ๕ ของชุมชนทุ่งท่าช้าง ดังนี้

ภาครัฐ ภาคคณะ
ระดับ สงฆ์
จังหวัด ตั้งแต่
และ จภ.จจ.,
อำเภอ จอ. ชุมชนศีล ๕
การรับโครงการ
จากหน่วยเหนือ ต้นแบบ
- ระยะที่ ๑ ผ่าน
เจ้าอาวาส เกณฑ์
โครงการ
การปรับปรุง การนำโครงการไป - ระยะที่ ๒ ผ่าน
หมู่บ้านรักษา
กิจกรรมโครงการ ศีล ๕ ปฏิบัติ เกณฑ์
นายก อบต.
- ระยะที่ ๓ มี
การติดตามประเมิน ยุทธศาสตร์
โครงการ ขับเคลื่อนชัดเจน
กำนัน/ ภาค
ผญบ. และ ประชาชน,
องค์กร องค์การ
ภาครัฐใน ชุมชน,
ชุมชน องค์กร
เอกชน
๒๘๓

แผนภาพที่ ๔.๑๐ ความสำคัญของผู้นำขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จของโครงการ

จากแผนภาพข้างต้นสะท้อนให้เห็นความสำคัญของผู้นำในการขับเคลื่อนโครงการฯ ทั้ง
ผู้นำที่เป็น ทางการและไม่เป็ นทางการ ในชุมชนทุ่งท่าช้าง นอกจากความมุ่ งมั่นของผู้นำคือ นายก
องค์การบริหารส่วนตำบลและเจ้าอาวาสดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ความสำเร็จจนกลายเป็นชุมชนต้นแบบ
หาเกิดขึ้นได้ไม่ หากปราศจากการให้ความร่วมมือร่วมกันผนึกกำลังอย่างเหนียวแน่นทั้งระดับนโยบาย
จากหวัดและอำเภอ และผู้หนุนช่วยภายในชุมชนในระดับนโยบาย ชุมชนโดยผู้นำคือนายกองค์การ
บริหารส่วนตำบลและเจ้าอาวาสทำหน้าที่ผลักดันขับเคลื่อนและจากนโยบายของเจ้าคณะภาค เจ้า
คณะจังหวัดและเจ้าคณะอำเภอ พร้อมกันนั้นภาครัฐโดยการเข้ ามาเป็นพี่เลี้ยงในการให้นโยบายให้
ข้อเสนอแนะ และการให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานของผู้ว่าราชการจัง หวัด ผู้อำนวยการสำนักงาน
พุทธศาสนาจั งหวัดลพบุ รี นายอำเภอสระโบสถ์ ในขณะที่แรงหนุนภายในชุมชนสำคัญ อย่างมาก
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรชุมชน องค์เอกชน รวมทั้ง
หน่วยงานภาครัฐภายในชุมชนทุกหน่วยงานร่วมขบวนการขับเคลื่อนไปพร้อมกับผู้ นำคือเจ้าอาวาส
และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างจริงจัง

You might also like