You are on page 1of 3

1/6/23, 11:40 AM Thai Institute of Directors

คำค้นหา

#GRCGood&Cautious: Working Principles of PTTEP EP.2

Like 0 Tweet Share

#GRC ดีและรอบคอบ: หลักการดำเนินงานในแบบ ปตท.สผ. EP.2

 
ในฉบับที่แล้ว บทความเรื่อง “#GRC ดีและรอบคอบ: หลักการดำเนินงานในแบบ
ปตท.สผ. EP.1” ได้กล่าวถึงภาพรวมการดำเนินงานด้าน GRC ของ ปตท.สผ. โดยเริ่มจาก
การกำหนดให้ GRC เป็ นส่วนหนึ่งของ SD Framework รวมถึงการกำหนดเป้าหมาย ที่
สำคัญและกลยุทธ์ด้าน GRC เพื่อเป็ นกรอบการดำเนินงานด้าน GRC ของ ปตท.สผ. และ
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในฉบับนี้ จะขอพาท่านผู้อ่านไปสำรวจตัวอย่างการดำเนิน
งานด้าน GRC ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท ว่ามี
ส่วนสำคัญอย่างไรในการเสริมสร้างให้ GRC กลายเป็ นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งขององค์กร
และบรรลุเป้าหมายระยะยาวได้ในที่สุด
 

ปตท.สผ. มีการกำหนดเป้าหมายที่สำคัญด้าน GRC ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็ น 2 ส่วน


คือ 1) การเพิ่มระดับ GRC Maturity Level ไปสู่ระดับสูงสุด และ 2) การเป็ นองค์กร
ต้นแบบด้าน GRC ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนไทย นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังได้จัดทำ GRC
Roadmap ขึ้น ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยมี Key Focus ของการดำเนิน
งานใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ Process & Technology, People และ Society ซึ่งแต่ละ
องค์ประกอบจะมีแผนการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อาทิเช่น
 

1.          ด้าน Process & Technology : การพัฒนากระบวนการทำงานให้มี


ประสิทธิภาพ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้

§  ทบทวนความเป็ นไปได้ในการบูรณาการกิจกรรมและกระบวนการทำงาน
ด้าน Assurance ให้มีความสอดคล้องกัน
ไม่ซ้ำซ้อน และครบถ้วน

§  พัฒนาระบบ Risk Management ในรูปแบบ Chatbot โดยครอบคลุมถึง


การแนะนำความเสี่ยง การค้นหาข้อมูล
ความเสี่ยงได้ครบถ้วน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการไม่พบปัญหาที่ส่งผลกระ
ทบรุนแรงอันเนื่องมาจากมีความเสี่ยงที่ไม่ได้ถูกระบุไว้ (No surprise
risk) พร้อมทั้งสามารถเชื่อมโยงการรายงานข้อมูลความเสี่ยงกับรายงาน
ด้าน Assurance
อื่น ๆ ได้ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2565

§  พัฒนา GRC One Digital System ซึ่งเป็ นระบบที่รวบรวมการรายงาน


ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ GRC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรายงานข้อมูล
www.thai-iod.com/th/publications-detail.asp?id=907 1/3
1/6/23, 11:40 AM Thai Institute of Directors

โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วย ทำให้ผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องได้รับ
ข้อมูลทางด้าน GRC อย่างทันท่วงทีและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจที่
สำคัญได้

2.          ด้าน People : การสร้างวัฒนธรรม GRC

§  ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามหลักการ GRC ในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ ทั้ง


ในประเทศและต่างประเทศ โดยริเริ่มให้มีการประเมินผลการดำเนินงาน
ด้าน GRC ภายในองค์กร (Internal Maturity Assessment) สำหรับ
โครงการในต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนา
แผนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

§  ดำเนินการ
สร้าง
วัฒนธรรม
GRC ใน
องค์กร
ผ่านการ
สื่อสารและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้
ความเข้าใจ และสามารถนำหลักการ GRC ไปปรับใช้ในการทำงาน โดยมี
ข้อความสื่อสารหลัก คือ “GRC ดีและรอบคอบ” ซึ่งช่วยให้พนักงานจดจำ
ได้ง่ายขึ้น

3.          Society: ส่งเสริมการดำเนินงานด้าน GRC ไปยังสังคมภายนอก

§  เผยแพร่การดำเนินงานด้าน GRC ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น Explorer’s Journal


และเว็บไซต์ของ ปตท.สผ. เป็ นต้น

§  จัดทำโครงการสำรวจความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียต่อการเป็ นองค์กร
ต้นแบบด้าน GRC ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนไทย (Stakeholders
Engagement Survey) เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาการดำเนินงานของ
บริษัทเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็ นองค์กรต้นแบบได้

§  นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังสนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น คู่ค้า ผู้ร่วมทุน มีการ


ดำเนินงานตามหลักการ GRC เช่นเดียวกันกับ ปตท.สผ. ตัวอย่างเช่น ส่ง
เสริมให้คู่ค้าทำความเข้าใจและรับทราบเรื่องจริยธรรมธุรกิจของ ปตท.สผ.
ผ่านแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า (PTTEP Vendor Sustainable
Code of Conduct) เชิญชวนคู่ค้าให้เข้าร่วมอบรม
e-Learning และร่วมทำแบบทดสอบเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งส่ง
หนังสือแจ้งผู้ร่วมทุนเพื่อรับทราบหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและ
จริยธรรมธุรกิจของ ปตท.สผ. ด้วย

บทบาทของคณะกรรมการบริษัทในด้าน GRC

คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและกำกับดูแลการดำเนินงาน
ด้าน GRC ของ ปตท.สผ. โดยในระยะที่ผ่านมา มีตัวอย่างบทบาทของคณะกรรมการ
บริษัทในด้าน GRC ดังนี้  

·       ให้คำแนะนำและอนุมัติกรอบแนวคิดด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability


Framework) โดยกำหนดให้ GRC เป็ นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่ง GRC
สะท้อนถึงความเป็ น "คนดี" ในการดำเนินธุรกิจ

·       อนุมัติ GRC Roadmap ซึ่งเป็ นกรอบการดำเนินงานด้าน GRC เพื่อให้มั่นใจว่า


จะสามารถบรรลุเป้าหมาย GRC ที่กำหนดไว้ได้

www.thai-iod.com/th/publications-detail.asp?id=907 2/3
1/6/23, 11:40 AM Thai Institute of Directors

·       กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานด้าน GRC รวมถึงให้คำแนะนำต่าง ๆ ผ่าน


คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการบริหาร
ความเสี่ยง ซึ่งตัวอย่างกิจกรรมที่มีการรายงานให้คณะกรรมการทราบ เช่น การ
พัฒนาระบบ GRC One Digital System ผลการจัดทำ GRC Maturity
Assessment และ Stakeholders Engagement Survey รวมถึงความคืบหน้า
ในการปิด Gap ที่ได้จากการทำการประเมินต่าง ๆ ข้างต้น

·       จัดให้มีการอัพเดทความรู้ใหม่ ๆ ด้าน GRC ให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ เช่น


Strategic Risk Management, Learning from the World Economic Forum
และสรุปสถานการณ์ดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการปฏิบัติตามพระราช
บัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA) เป็ นต้น

ปตท.สผ. มีการดำเนินงานด้าน GRC อย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง โดยมีกลยุทธ์และเป้า


หมายที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และสามารถวัดผลได้ เพื่อเป็ นกรอบในการดำเนินงานด้าน
GRC ซึ่งรวมถึงการให้ความสำคัญทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง GRC ให้เป็ น
วัฒนธรรมในองค์กร การนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในการทำงาน และการส่งเสริมหลัก
การ GRC ไปยังสังคมภายนอก ภายใต้การกำกับดูแลและคำแนะนำของผู้บริหารระดับสูง
และคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้มั่นใจว่า ปตท.สผ. จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ได้ และเชื่อมั่นว่า เมื่อ ปตท.สผ. มีการดำเนินงานที่ดี รอบคอบ บนรากฐานที่แข็งแกร่ง
และคำนึงถึงประโยชน์ร่วมกันของผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ แล้ว ปตท.สผ. จะสามารถส่งมอบ
คุณค่าและสร้างความยั่งยืนให้แก่สังคมโดยรวมได้ในที่สุด (From We to World)

 
 

Articles

  Our Our
ข้อกำหนดและเงื่อนไข | นโยบายความเป็ นส่วนตัว | ผังเว็บไซต์ | Share to
Sponsors Partners
Copyright © 2010 Thai Institute Of Directors. Site by Redlab

www.thai-iod.com/th/publications-detail.asp?id=907 3/3

You might also like