You are on page 1of 2

รองศาสตราจารย์ ดร.

ทศนัย ชุ่มวัฒนะ

ผมขอสรุปข้อคิดเห็นต่อระบบ TIS แยกออกมาเป็ นประเด็นต่างๆ ดังนี ้

1. การออกแบบสถาปัตยกรรม และความปลอดภัยของระบบ
เห็นด้วยกับการออกแบบสถาปัตยกรรม และระบบรักษาความปลอดภัยของ TIS ที่เน้นการออกแบบเพื่อมุ่งเน้นการทางานที่รองรับ
การขยายตัว และความปลอดภัยของระบบ เพราะระบบสานักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นระบบที่ต้องเชื่อมต่อ ทั้งหน่วยงานภายใน
สานักงาน และหน่วยงานภายนอกทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จึงควรได้รับการออกแบบที่เน้นความปลอดภัย เพื่อคานึงถึง
เสถียรของระบบ และรองรับ Full Stack ของ Big Data เพื่อเตรียมรองรับงานในอนาคต ซึ่งการใช้ Kubernetes ของระบบ TIS
ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของระบบ ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 Container Clustering:
 Auto Scaling:
 Auto Self-Healing :
 Auto Binpacking :
 Load Balancing:
 Zero Downtime:
 Dashboard
ซึ่งอาจจะมีความจาเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณมากกว่าระบบเก่า แต่ก็เป็นสิ่งที่มีความจาเป็นต่อองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับ
ความมั่นคงของประเทศอย่าง สตม

2. การออกแบบสถาปัตยกรรมที่รองรับ Full Stack Big Data


จะเป็นประโยชน์มากถ้าระบบใหม่ที่กาลังจะดาเนินการพัฒนาถูกออกแบบฐานข้อมูลเพื่อรองรับการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่
(Big Data) และออกแบบเพื่อรองรับการทางานทั้งในส่วนของ Business Intelligence และ AI/ML โดยสถาปัตยกรรมรองรับการ
เปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วยเทคโนโลยี Hyper Converged Infrastructure (HCI) เนื่องจากการพัฒนาระบบเพื่อรองรับงานใน
อนาคตที่เป็น AI มีความจาเป็นที่จะต้องลงทุนรากฐานของระบบให้พร้อมและมั่นคงตั้งแต่วันนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์
ปะติดปะต่อระบบย่อยในอนาคตที่เป็นลักษณะ Silo ซึ่งจะทาให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงมากกว่าที่ควรจะเป็น
3. การออกแบบในส่วนของ DR Site
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างระบบ TIS และ one system ในด้านของการออกแบบ DC และ DR Site ที่รองรับการทางานที่มี
เสถียรภาพของระบบ การขยายระบบแบบอัตโนมัติ และการออกแบบ DR Site เห็นว่า TIS น่าจะเป็นระบบที่มีความพร้อมในการ
รองรับกรณีระบบเกิดปัญหาหรือระบบล่มและสามารถสลับทางานในส่วน DR Site ได้โดยอัตโนมัติ โดย DR Site ครอบคลุมทั้ง
ส่วนงานระบบ และส่วนงาน Multi Biometric Searching อีกทั้ง ระบบคานึงถึงเรือ่ ง Cyber Security เช่นมีการติดตั้ง ระบบ
ป้องกันการโจมตี (Anti DDOS) ทาให้ Packet ที่ยิงมาถูกกลั่นกรองออกไปจากระบบ ส่งผลทาให้ Packet ที่ไม่จาเป็น ถูกขจัด
ออกจากระบบไปก่อนทาให้ไม่ส่งผลกระทบกับระบบ network

4. กระบวนการตรวจสอบ Passport เพื่อป้องกันการปลอมแปลง


จากเอกสาร เข้าใจว่าระบบ TIS ได้มีออกแบบให้สามารถตรวจสอบ Passport ที่ถูกปลอมแปลงได้ด้วยระบบ Key Management
System แต่ทางผมหาข้อมูลในส่วนนี้จากระบบ One System ไม่ได้ ไม่แน่ใจว่ามีข้อมูลในส่วนนี้หรือไม่
5. การเลือกใช้ระบบ Biometric ที่ได้รับมาตรฐานสากล
อยากให้คณะกรรมให้ความสาคัญในการเลือกใช้ Biometric ที่ได้รับมาตรฐานสากล อย่างเช่น National Institute of Standards
and Technology (NIST) เนื่องจากผมเข้าใจว่า ในประเทศใหญ่ๆ เลือกใช้ระบบ Biometric ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีมาตรฐาน
6. ประเด็นค่าใช้จ่ายเรื่อง License และ MA
เมื่อผมวิเคราะห์เรื่องค่าใช้จ่ายเรื่อง license ระหว่างระบบ TIS และ One System แล้ว ขอให้ความเห็นว่า ในปีแรกของการ
ลงทุน TIS น่าจะใช้งบประมาณมากกว่าระบบ One System แต่เมื่อพิจารณาในระยะยาวแล้ว ค่าใช้จ่ายของ One System
ทางด้าน license และ MA ดูแล้วจะสูงขึ้นมากและน่าจะกลายเป็นภาระระยะยาวสาหรับหน่วยงาน สตม อีกทั้งอีกหนึ่งปัญหาที่
น่าจะพบจากระบบ One system คือ เมื่อการใช้จานวน license เต็ม จะไม่สามารถขยายการใช้งานได้ และจะทาให้
กระบวนการตรวจคนเข้าเมืองมีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ ยิ่งในกรณีที่ประเทศไทยกาลังจะเปิดประเทศที่กาลังจะมี
ปริมาณผู้คนเข้ามามหาศาล เรื่องนี้จึงน่าจะเป็นเรื่องที่สาคัญที่จะต้องพิจารณาลงทุนตั้งแต่ day 1

You might also like