You are on page 1of 8

หน่ วยที่ 7 ระบบปฏิบัติการ

สาระสาคัญ
ระบบปฏิบตั ิการ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทาหน้าที่ควบคุมการทางานต่าง ๆ ภายในเครื่ องคอมพิวเตอร์
ซึ่ งระบบปฏิบัติการเป็ นซอฟต์แวร์ ที่อยู่ใกล้ชิดกับฮาร์ ดแวร์ มากที่สุด โดยเป็ นสื่ อ กลางระหว่ างผูใ้ ช้ และ
ฮาร์ ดแวร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ดังนี้ 1) การจัดสรรทรัพยากรระบบ ให้ โปรแกรมประยุกต์ไปใช้งาน
ทรัพยากรระบบ เช่ น หน่ วยความจา หน่ วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์ I/O เป็ นนต้น 2) การควบคุมการ
ประมวลผลของโปรแกรม คือการจัดตารางเวลาการใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง ของโปรแกรม เพื่อให้ทุก
โปรแกรมมีสิทธิ์ ได้ทางานเหมือนกัน และ 3) ติดต่อ กับผูใ้ ช้ เนื่ อ งจากระบบปฏิบตั ิการต้องอานวยความ
สะดวกให้ ท้ งั ซอฟต์แวร์ ระบบ และผู ใ้ ช้ ดังนั้นส่ วนติดต่อ ผูใ้ ช้ระบบปฏิบัติการส่ วนมากจะเตรี ยมไว้ให้
เรี ยบร้อย ซึ่งจะอยูใ่ นรู ปแบบของ GUI (Graphic User Interface)
ระบบปฏิ บัติ ก ารมี ห ลายชนิ ด โดยแต่ ล ะชนิ ด ถู ก สร้ า งขึ้ น มาให้ เ หมาะสมกับ งานที่ ไ ด้รั บ เช่ น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ระบบปฏิบตั ิการที่รองการ I/O จานวนมาก หรื อ คลัสเตอร์ คอมพิวเตอร์ตอ้ งใช้
ระบบปฏิบตั ิการที่สามารถรวบเครื่ องคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครื่ อง ให้สามารถทางานร่ วมกันได้ เป็ นต้น
ในปTจจุบนั ระบบปฏิบตั ิการถูกพัฒนาขึ้นมามากมายหลายยี่ห้อ เช่น Windows, UNIX, Linux และ
OS X เป็ นต้น โดยระบบปฏิบตั ิการควรมีองค์ประกอบพื้นฐานทั้งหมด 6 องค์ประกอบคือ
1) การจัดการโปรเซส (Process Management)
2) การจัดการหน่วยความจา (Memory management)
3) การจัดการไฟล์ (File management)
4) การจัดการอุปกรณ์ (Device management)
5) ระบบเครื อข่าย (Networking)
6) ระบบป้องกัน (Protection system (Security)

หัวข้อการเรียนรู้
1. สาเหตุที่ตอ้ งมีระบบปฏิบตั ิการ 3. ประเภทของระบบปฏิบตั ิการ
2. ความหมายของระบบปฏิบตั ิการ 4. องค์ประกอบของระบบปฏิบตั ิการ

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. บอกสาเหตุที่ตอ้ งมีระบบปฏิบตั ิการได้ 4. จาแนกประเภทของระบบปฏิบตั ิการได้
2. อธิบายความหมายของระบบปฏิบตั ิการได้ 5. วิเคราะห์องค์ประกอบของระบบปฏิบตั ิการได้
3. เลือกใช้ระบบปฏิบตั ิการได้ถูกประเภท
สาเหตุที่ต้องมีระบบปฏิบัติการ
ในปัจจุบนั บริ ษทั ผูผ้ ลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ มีอยูม่ ากมายหลายบริ ษทั แต่ละบริ ษทั มีเทคโนโลยีใน
การผลิตฮาร์ดแวร์ ของตน ทาให้ฮาร์ดแวร์มีความหลากหลาย และแตกต่างกัน การทาให้ซอฟต์แวร์ ประยุกต์
สามารถทางานได้บนฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน จึงเป็ นสาเหตุหลักที่ตอ้ งมีระบบปฏิบตั ิการขึ้นมาแสดงดังรู ปที่
1

รู ปที่ 1 ความแตกต่างระหว่างฮาร์ดแวร์

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีซอฟต์แวร์ประยุกต์มากกว่า 1 โปรแกรม ต้องการใช้ทรัพยากรพร้อมกันแสดง


ดังรู ปที่ 7.2 ทาให้เกิดปัญหาขึ้น ว่าใครจะได้ใช้ทรัพยากรก่อน และใช้ได้นานเท่าใด จึงต้องมีตวั กลางในการ
จัดตารางเวลาการทา งานของโปรแกรม ให้สามารถใช้งานทรัพยากรได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ

รู ปที่ 2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ตอ้ งการใช้ฮาร์ดแวร์พร้อมกัน

เมื่อใช้ระบบปฏิบตั ิการมาเป็ นตัวกลางระหว่างฮาร์ ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ประยุกต์ แสดงดังรู ปที่ 3


ระบบปฏิบัติการจะช่ วยแก้ไขปั ญ หาดังที่กล่ า วไปแล้วข้า งต้น และช่ วยให้นักพัฒ นา พัฒนาซอฟต์ แ วร์
ประยุกต์แค่ครั้งเดียวแต่สามารถรันบนฮาร์ ดแวร์ที่แตกต่างกันได้

รู ปที่ 3 การใช้ระบบปฏิบตั ิการมาแก้ปัญหา


ความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1. ความหมายของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิ บัติ ก าร หมายถึ ง ซอฟต์ แ วร์ ที่ ท าหน้า ที่ ค วบคุ มการท างานต่ าง ๆ ภายในเครื่ อ ง
คอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบตั ิการเป็ นซอฟต์แวร์ ที่อยู่ใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์มากที่สุด โดยเป็ นสื่ อกลางระหว่าง
ผูใ้ ช้และฮาร์ดแวร์ แสดงดังรู ปที่ 4
2. หน้ าที่ของระบบปฏิบัติการ
2.1 การจัด สรรทรั พ ยากรระบบ ให้ โ ปรแกรมประยุก ต์ ไ ปใช้ง าน ทรั พ ยากรระบบ เช่ น
หน่วยความจา หน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์ I/O เป็ นต้น
2.2 การควบคุ ม การประมวลผลของโปรแกรม คื อ การจัด ตารางเวลาการใช้ ง านหน่ ว ย
ประมวลผลกลางของโปรแกรม เพื่อให้ทุกโปรแกรมมีสิทธิ์ได้ทางานเหมือนกัน
2.3 ติดต่อกับผูใ้ ช้ เนื่ องจากระบบปฏิบตั ิการต้องอานวยความสะดวกให้ท้ งั ซอฟต์แวร์ ระบบ
และผูใ้ ช้ ดังนั้นส่ วนติดต่อผูใ้ ช้ระบบปฏิบตั ิการส่ วนมากจะเตรี ยมไว้ให้เรี ยบร้อย ซึ่ งจะอยู่ในรู ปแบบของ
GUI (Graphic User Interface)

รู ปที่ 4 ลาดับชั้นของระบบปฏิบตั ิการในระบบคอมพิวเตอร์

ประเภทของระบบปฏิบัติการ
เครื่ องคอมพิวเตอร์ ในปั จจุบนั ถูกสร้ างขึ้นให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับ เช่น เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์พกพา เป็ นต้น
1. Mainframe Computer OS
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็ นเครื่ องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับ I/O จานวน
มาก อีกทั้งยังสามารถเชื่อมโยงใช้งานกับเครื่ อ งเทอร์ มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่ องในระยะไกลได้ เช่น
ระบบ ATM ระบบจองที่ นั่ ง ของสายการบิ น เป็ นต้น ตัว อย่ า งระบบปฏิ บัติ ก ารที่ ส ามารถใช้ ง านบน
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เช่น OS/390, z/OS, Linux และ UNIX เป็ นต้น
รู ปที่ 5 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์

2. Server Computer OS
เซิร์ฟเวอร์ หรื อเครื่ องบริ การ หรื อเครื่ องแม่ข่าย คือเครื่ องคอมพิวเตอร์ ที่ทาหน้าที่ให้บริ การในระบบ
เครื อข่ายแก่ลูกข่าย เครื่ องคอมพิวเตอร์ เซิ ร์ฟเวอร์ น้ ี มีประสิ ทธิ ภาพสู ง สามารถรองรับผูใ้ ช้งานพร้อมกันได้
จานวนมาก ตัวอย่างเซิ ร์ฟ เวอร์ เช่ น เว็บเซิ ร์ฟ เวอร์ เมลเซิ ร์ฟเวอร์ และ โดเมนเนมเซิ ร์ ฟ เวอร์ เป็ นต้น
ระบบปฏิบตั ิการที่นิยมใช้บนเซิร์ฟเวอร์ เช่น Linux, UNIX และ Microsoft Windows Server

รู ปที่ 6 เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์

3. Multiprocessor Computer OS
เป็ นระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบไปด้วยหน่ วยประมวลผลกลางตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ซึ่ งส่ วนใหญ่
แล้ว หน่ ว ยประมวลผลกลางเหล่ านั้นจะมีขีด ความสามารถที่ใ กล้เ คี ย งกัน โดยหน่ ว ยประมวลผลกลาง
เหล่านั้นจะใช้หน่ วยความจาร่ วมกัน (Common Memory หรื อ Share Memory) รวมทั้งใช้อินพุต/เอาต์พุต
(I/O) และอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral) ร่ วมกัน ระบบปฏิบตั ิการที่นิยมใช้บนมัลติโปรเซสเซอร์ เช่น Linux,
UNIX และ Microsoft Windows Server

รู ปที่ 7 มัลติโปรเซสเซอร์คอมพิวเตอร์
4. Cluster Computer OS
คลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันผ่านทางเครื อข่ายท้องถิ่น (Local Area
Network : LAN) และทางานร่ วมกันเสมือนว่าเป็ นคอมพิวเตอร์ เครื่ องเดี ยวกัน ทาให้สามารถจัดการงานที่
คอมพิวเตอร์เพียงเครื่ องเดียวไม่สามารถจัดการได้ ระบบปฏิบตั ิการที่นิยมใช้บนคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ เช่น
Linux, UNIX และ Microsoft Windows Compute Cluster Server
5. Personal Computer OS
คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) หรื อไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็ น
คอมพิ ว เตอร์ ข นาดเล็ ก แบบตั้ง โต๊ ะ (Desktop Computer) หรื อ แบบพกพา เช่ น คอมพิ ว เตอร์ โ น้ ต บุ๊ ก
(Notebook Computer) เหมาะกับการใช้งานในที่อยู่อาศัย เพราะมีขนาดเล็ก และราคาถูก ระบบปฏิบตั ิการที่
นิยมใช้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น Linux, Unix, Mac OS และ Microsoft Windows

รู ปที่ 9 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
6. Hand-held Computer OS
คอมพิวเตอร์ แบบมือถือ หรื อแบบพกพาขนาดเล็ก คือคอมพิวเตอร์ ที่ออกแบบมาสาหรับพกพา
ไปใช้งานได้ทุกที่ มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานน้อย ตัวอย่างอุปกรณ์ในประเภทนี้ เช่น เครื่ องเล่นเกมแบบพกพา,
โทรศัพท์มือถือ และ PDA เป็ นต้น ระบบปฏิบตั ิการที่นิยมใช้บนคอมพิวเตอร์ แบบมือถือ เช่น MS Windows
Mobile, Linux, Android, PalmOS, iOS และ Symbian

รู ปที่ 10 คอมพิวเตอร์แบบมือถือ
7. Embedded Computer OS
คอมพิวเตอร์แบบฝัง คือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เป็ นระบบ
คอมพิวเตอร์ ขนาดเล็กที่ฝังไว้ในอุปกรณ์ เครื่ องใช้ไฟฟ้า และเครื่ องเล่นอิเล็กทรอนิ กส์ต่างๆ เพื่อเพิ่มความ
ฉลาด ความสามารถให้ กับ อุป กรณ์เ หล่ า นั้นผ่ า นซอฟต์แ วร์ คอมพิ ว เตอร์ แ บบฝั ง ถู ก น ามาใช้กัน อย่าง
แพร่ ห ลายในยานพาหนะ เครื่ อ งใช้ไ ฟฟ้ า ในบ้า นและส านัก งาน อุ ป กรณ์ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เทคโนโลยี
ซอฟต์แ วร์ เทคโนโลยี ฮ าร์ ด แวร์ เทคโนโลยี ด้า นการสื่ อ สาร เทคโนโลยี เ ครื่ อ งกล และของเล่ นต่างๆ
ระบบปฏิบตั ิการที่นิยมใช้บนเครื่ องคอมพิวเตอร์แบบฝัง เช่น Linux, MS Windows CE และ Raspbian

รู ปที่ 11 คอมพิวเตอร์แบบฝัง

องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิ บั ติ ก ารเป็ นส่ วนที่ เ ชื่ อ มต่ อ ระหว่ า งโปรแกรมประยุ ก ต์ และฮาร์ ดแวร์ ดั ง นั้ น
ระบบปฏิบตั ิการทาหน้าที่เสมือนเป็ นตัวกลางที่คอยบริ หารจัดการทรัพยากรต่ าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยสามารถแบ่งระบบปฏิบตั ิการตามการทางาน ออกเป็ น 6 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การจัดการโปรเซส (Process Management)
การจัดการโปรเซสเป็ นส่วนสาคัญที่สุดในระบบปฏิบตั ิการ ซึ่งโปรเซสหมายถึงโปรแกรมที่กาลังจะ
ถูกประมวลผล ส่ วนการจัดการโปรเซสหมายถึงการจัดการงานที่จะทาการประมวลผล โดยแต่ละโปรเซสจะ
มี ก ารก าหนดการใช้ ท รั พ ยากรที่ แ น่ น อน เช่ น เวลาในการใช้ ห น่ ว ยประมวลผลกลาง การใช้ พ้ื น ที่ ใ น
หน่ วยความจ า การรับข้อมูล ข้อมูล การแสดงผลลัพธ์ และอุปกรณ์ อื่น ๆ เป็ นต้น โดยปกติแล้ว หน่ ว ย
ประมวลผลกลางจะทาการประมวลครั้งละ 1 โปรเซส และครั้งละ 1 คาสัง่ จนจบโปรแกรม แต่บางครั้งอาจมี
2 โปรเซสที่สัมพันธ์กนั ซึ่ งทาให้แยกเป็ นการประมวลผล 2 ครั้ง ดังนั้นจึงอาจมีการประมวลผลพร้อม ๆ กัน
หลายโปรเซส ระบบปฏิ บัติ ก ารจะมีห น้ า ที่ใ นการจัด การโปรเซส ดัง นี้ 1) การสร้ า งโปรเซส (Create)
2) ลบโปรเซส (Delete) ของระบบและของผูใ้ ช้ 3) การหยุดการทางานชั่วคราวของโปรเซส (Suspend) และ
4) ให้โปรเซสทางานต่อไป (Resumption)
2. การจัดการหน่วยความจา (Memory management)
หน่วยความจาหลักถือว่าเป็ นหน่วยความจาที่สาคัญในระบบคอมพิวเตอร์ เพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่จะ
นาไปประมวลผลที่หน่ วยประมวลผลกลาง หรื อข้อมูลที่รับมาจากอุปกรณ์ หรื อส่ งไปยังอุปกรณ์แสดงผล
จะต้อ งน ามาเก็ บ ไว้ที่ ห น่ ว ยความจ าก่อ น เพราะการอ่ า นข้อ มู ล สามารถท าได้อ ยางรวดเร็ ว ซึ่ ง ถ้า เป็ น
ระบบปฏิบตั ิการแบบง่าย จะอนุญาตให้โปรแกรมเพียง 1 โปรแกรมเข้าไปใช้งานหน่วยความจาเท่านั้น ถ้า
ต้อ งการจะประมวลผลโปรแกรมอื่ น จะต้อ งนาโปรแกรมก่อ นหน้ าออกจากหน่ ว ยความจาก่อ น จึ ง จะ
สามารถน าโปรแกรมใหม่ เ ข้า ไปในหน่ ว ยความจ าได้ แต่ ร ะบบปฏิ บัติ ก ารในปั จ จุ บัน สามารถรองรับ
โปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมในหน่ วยความจาเดียวกันได้ ซึ่ งช่วยให้การประมวลผลมีความรวดเร็ วยิ่ งขึ้น
โดยระบบปฏิบตั ิการต้องสามารถ 1) ติดตามว่าส่วนไหนของหน่วยความจา ถูกใช้ไปแล้วบ้าง และถูกใช้โดย
ใคร 2) ตัดสิ นใจเพื่อที่จะนา โปรเซสเข้ามาในหน่วยความจาเมื่อมีพ้ืนที่วาง และ 3) จองและยกเลิกพื้นที่ใน
หน่วยความจาได้ตามที่ตอ้ งการ
3. การจัดการไฟล์ (File management)
เป็ นการทางานของระบบปฏิบัติการโดยทาหน้าที่ในการโอนถ่ ายข้อมูลลงไปจัดเก็บในอุปกรณ์
บันทึกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสก์ เทปแม่เหล็ก เป็ นต้น โดยมีอุปกรณ์ที่ทาหน้าที่เขียนข้อมูล เช่น Disk
Drive หรื อ CDpWriter เป็ นต้น ซึ่ งข้อมูลที่บนั ทึกลงไปจะเก็บไว้เป็ นกลุ่มข้อมูลที่เรี ยกว่า แฟ้มข้อมูล (File)
โดยแฟ้มข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในอุปกรณ์บนั ทึกข้อมูล ซึ่ งจะมีแอดเดรสบอกที่อยู่ของข้อมูล แต่เพื่อให้ง่าย
กับผูใ้ ช้ระบบปฏิบตั ิการช่ วยให้ผูใ้ ช้สามารถเรี ยกใช้งาน หรื อ ค้นหาแฟ้ มข้อมูลได้จากชื่ อของแฟ้ มข้อมูล
แฟ้มข้อมูลจะมีการจัดเก็บแตกต่างกันไปตามลักษณะของข้อมูล เช่น เป็ นตัวอักษร ตัวเลข ตัวเลข เป็ นบิต
ไบต์ หรื อ เรคคอร์ ด ซึ่ ง หน้ า ที่ ข องระบบปฏิ บัติ การเกี่ ย วกับ การจัด การแฟ้ มข้อ มูล มีดัง นี้ 1) การสร้ าง
(Creation) และการลบ (Deletion) แฟ้มข้อมูล 2) การสร้างและการลบไดเร็ กทอรี่ (Directory) 3) สนับสนุน
การจัดการไฟล์ในรู ปแบบเดิ ม ๆ ที่ผ่ านมา 4) สร้ างความสัมพันธ์ ระหว่างโครงสร้ างของแฟ้ มข้อมูลและ
อุปกรณ์ที่ใช้จดั เก็บ ข้อมูลชนิดต่าง ๆ และ 5) การจัดเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในอุปกรณ์บนั ทึกข้อมูลแบบถาวร
4. การจัดการอุปกรณ์ (Device management)
ระบบปฏิบตั ิมีหน้าที่ในการควบคุมการรับข้อมูล และแสดงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่ น
เมาส์ คียบ์ อร์ด ฮาร์ดดิสก์ เครื่ องพิมพ์ เป็ นต้น โดยข้อมูลที่ส่งไปยังอุปกรณ์เหล่านี้ จะผ่านสายส่ งข้อมูล ซึ่งมี
หลายชนิดตามลักษณะของงานและอุปกรณ์ เช่น พอร์ต (Port) บัส (Bus) และดีไวซ์ไดร์เวอร์ (Device Driver)
โดยปกติแล้วคอมพิวเตอร์ จะรู้จกั อุปกรณ์ทวั่ ๆ ไป แต่ในกรณี ที่มีอุปกรณ์ใหม่ ๆ ถูกผลิตขึ้นมาหลักจากที่
ระบบปฏิบตั ิการถูกนาออกมาใช้งาน และคอมพิวเตอร์ไม่รู้จกั อุปกรณ์น้ นั จาเป็ นต้องมีดีไวซ์ไดร์เวอร์สาหรับ
อุปกรณ์น้ นั ๆ โดยเฉพาะ เพื่อทาให้คอมพิวเตอร์ สามารถใช้อุปกรณ์น้ นั ได้ซ่ ึ งหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
เกี่ ยวกับระบบอินพุ ต/เอาต์ พุต มีดังนี้ 1) การจัดการหน่ ว ยความจ า ที่รวมทัง่ บัฟ เฟอร์ (Buffering) แคช
(Caching) และ สพูลลิ่ง (Spooling) 2) อินเตอร์เฟสระหว่างโปรแกรมและอุปกรณ์ทวั่ ๆ ไป (General Device
Driver) และ 3) ดีไวซ์ไดร์เวอร์สาหรับอุปกรณ์ที่มีลกั ษณะเฉพาะ
5. ระบบเครื อข่าย (Networking)
ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ หลาย ๆ เครื่ องเข้าด้วยกับระบบปฏิบตั ิการจะเป็ นผูจ้ ดั การใน
การติดต่อสื่ อสารโดยผ่านสายสัญญาณ ซึ่ งหน้าที่ของระบบปฏิบตั ิการเกี่ยวกับระบบเครื อข่ ายมีดงั นี้ 1) เพิ่ม
ความเร็ วในการประมวลผล 2) จัดการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ และ 3) เพิ่มความ
น่าเชื่อถือของระบบ
6. ระบบป้องกัน (Protection system Security)
ในระบบการทางานที่อนุ ญาตให้ ผูใ้ ช้งานหลายคนสามารถเข้าถึงข้อ มูล และมีโปรเซสหลาย ๆ
โปรเซสทางานพร้ อมกัน จาเป็ นต้องมีระบบป้ องกันที่ดีเพื่อป้ องกันไม่ให้ผูท้ ี่ไม่ได้รับอนุญาตแอบเข้ามาใช้
ข้อมูล เช่น ระบบธนาคารที่ต้องมีการออนไลน์ทวั่ ประเทศ จาเป็ นต้องมีการป้ องกันบุคคลภายนอกเข้ามา
แก้ไ ขข้อ มูล รวมถึงการควบคุมการใช้ ทรัพยากรในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อ ป้ อ งกันความผิดพลาดที่อาจ
เกิ ด ขึ้ นด้ ว ย เนื่ อ งจากระบบที่ มี ก ารป้ อ งกัน ที่ ดี จ ะเป็ นระบบที่ มี ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ สู ง ซึ่ งหน้ า ที่ ข อง
ระบบปฏิบัติการเกี่ ยวกับระบบป้ อ งกัน มีดังนี้ 1) สามารถแยกความแตกต่ างระหว่างการใช้งานที่ได้รับ
อนุญาต และการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต และ 2) สามารถกาหนดวิธีการควบคุมการใช้งานได้

You might also like