You are on page 1of 36

การซ่อมบารุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในเบื้องต้น
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
๑) Monitor ใช้แสดงผลทั้งข้อความ ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบัน ส่วนมากใช้จอ
แบบหลอดภาพ (CRT) และจอแบบผลึกเหลว
๒) Computer case เก็บอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, Disk Drive, Hard Disk ฯลฯ
๓) Keyboard ใช้พิมพ์คาสั่ง หรือป้อนข้อมูล มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ดีด แต่มีปุ่มพิมพ์มากกว่า
๔) Mouse ใช้ชี้ตาแหน่งบนจอภาพ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทางาน เช่นเดียวกันกับการป้อนคาสั่งทาง
คีย์บอร์ด
๕) Printer อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลออกมาทางกระดาษ
๖) Scanner อุปกรณ์นาเข้าข้อมูลที่เป็นรูปภาพหรือข้อความมาสแกน แล้วจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ภาพ
เพื่อนาไปใช้งานต่อไป
ส่วนประกอบภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
๑) เมนบอร์ด (Matherboard) คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลักของคอมพิวเตอร์อุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ทุกชิ้นของคอมพิวเตอร์ จะต้องเชื่อมเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดจะมี Chipset ที่เป็นตัวควบคุม
การส่งผ่านข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่ง หากอยากรู้ว่าคอมพิวเตอร์หรือเมนบอร์ดที่ใช้อยู่มี
อุปกรณ์ Onboard อะไรแถมมาด้วยให้ดูที่ด้านท้ายเคสซึ่งจะมีพอร์ตสาหรับต่อเมาส์ และคีย์บอร์ด ถ้าหาก
เมนบอร์ดมีอุปกรณ์ Onboard อื่นให้มาด้วยก็จะมีพอร์ตสาหรับอุปกรณ์นั้น เช่น พอร์ต Modem, Lan, VGA,
Sound คือถ้าพบมีพอร์ตดังกล่าวอยู่ท้ายเคสก็ให้เสียบใช้งานได้ทันที
๒) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU-Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์หลักของคอมพิวเตอร์ ทา
หน้าที่คานวณ ประมวลผลและควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบด้วย ๓ หน่วยคือ หน่วยความจาหลัก หน่วย
คณิตศาสตร์หรือหน่วยคานวณ และหน่วยควบคุม
๓) หน่วยความจาแรม (RAM-Random Access Memory) เป็นหน่วยความจาหลักที่ใช้พักข้อมูล
ชั่วคราวระหว่างอุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆกับหน่วยประมวลผลกลาง เมื่อปิดเครื่อง ข้อมูลที่อยู่ในแรมจะ
หายไป
๔) หน่วยความจารอม (ROM-Read Only Memory) เป็นหน่วยความจาถาวรที่ใช้บันทึกข้อมูลของ
อุปกรณ์ที่ตดิ ตั้งบนเมนบอร์ด เช่น ขนาดและประเภทของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ ขนาดของแรม หน่วยประมวลผลที่ใช้
การติดตั้งซีดีรอม เป็นต้น และใช้เก็บคาสั่งที่มักใช้บ่อยๆ เช่น คาสั่งเริ่มต้นการทางานของคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่
บันทึกในรอม จะยังคงอยู่แม้จะปิดเครื่อง มักจะเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
๕) ช่องเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม (Expansion Slot) เรียกกันทั่วไปว่า “สล๊อต” ทาหน้าที่ให้การ์ดขยาย
เสียบเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างการ์ดขยายกับเมนบอร์ด
๖) การ์ดขยาย (Expansion Card) เป็นอุปกรณ์คล้ายบัตร หรือ การ์ดขนาดใหญ่จึงเรียกว่า การ์ด
ขยาย ทาหน้าที่เฉพาะด้าน เช่น การ์ดแสดงผล การ์ดเสียง
๗) จานบันทึกข้อมูลแบบแข็ง (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทา
หน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบปฏิบัติการ (OS), โปรแกรมต่างๆ, ข้อมูลไฟล์ภาพ,
ไฟล์เสียง เป็นต้น มีลักษณะเป็นฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนแม่เหล็ก ชนิดของฮาร์ดดิสก์ ตามการเชื่อมต่อ แบ่ง

ออกเป็น ๔ ชนิด ได้แก่


- แบบ IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด ๔๐ เส้น ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อรูปแบบเก่า
- แบบ E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงขึ้นกว่า IDE เชื่อมต่อด้วยสายแพ
ขนาด ๘๐ เส้น
- แบบ SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการควบคุมการทางานแตกต่างจากรูปแบบอื่น โดยต้องใช้การ์ด SCSI
ควบคุมการทางานโดยเฉพาะ และมีราคาสูง มักใช้กับผู้ทา Server ต่างๆ
- แบบ SATA (Serial ATA) ถือเป็นรูปแบบปัจจุบันที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจาก
ความเร็วในการเชื่อมต่อสูง
สาหรับขั้นตอนในการติดตั้งฮาร์ดดิสก์ เมื่อผ่านขั้นตอนของการเซตจัมเปอร์เรียบร้อย ก็ให้จัดการ
ติดตั้งฮาร์ดดิสก์เข้าไปในเคสได้เลย และสาหรับการต่อสายไฟและสายสัญญาณ ก็มีเคล็ดลับง่ายๆ คือ หันหัว
ด้านทีม่ ีสีแดงเข้าหากัน
๗.๑) เสียบจัมเปอร์ตาแหน่ง Master โดยดูจากสติกเกอร์ที่อยู่บนฮาร์ดดิสก์

๗.๒) สอดฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่อง ขันน็อตยึดทั้ง ๔ ตัว

๗.๓) เสียบสาย IDE และสาย Power โดยหันหัวด้านที่มีสีแดงเข้าหากัน

๘) อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ CD-ROM Drive อุปกรณ์เล่นแผ่นซีดีรอม โดยคอมพิวเตอร์ จะอ่านข้อมูลที่


บันทึกในแผ่นซีดี และแสดงผลออกมาทางจอภาพ มีขั้นตอนการติดตั้งไดรว์ CD-ROM ดังนี้
๘.๑) เสียบจัมเปอร์ในช่อง Master ที่ด้านหลังของซีดีรอม

๘.๒) เลือกช่องแล้วสอดไดรว์ CD-ROM

๘.๓) ไขน็อตยึดไดรว์ CD-ROM เข้ากับเคส

๘.๔) เสียบสาย AUDIO เข้าไปที่ช่อง ANALOG AUDIO โดยหันสายสีแดงไปทางด้านที่มีอักษร R


๘.๕) เสียบสาย IDE โดยหันแถบสีแดงไปทางช่อง Power ซึ่งขา 1 ของ CD-ROM จะอยู่ทางด้านนั้น


พอดี

๘.๖) เสียบสาย Power โดยหันด้านที่มีสายไฟเส้นสีแดงเข้าด้านใน หรือสังเกตที่ด้านหลังของไดรว์


จะเขียนว่า +5 ส่วนสายไฟเส้นสีเหลืองจะต้องอยู่ทาง +12

๘.๗) ต่อสาย AUDIO เข้ากับคอนเน็กเตอร์ CD-ROM บนเมนบอร์ด

๘.๘) ต่อสายเข้าที่ช่อง Secondary IDE (IDE2) โดยหันด้านที่มีแถบสีแดงใส่เข้าที่ Pin1

๙) Power Supply ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้านหลังทาหน้าที่แปลงระดับแรงดันไฟฟ้าที่


ใช้ตามบ้านหรือไฟฟ้าทั่วไปให้เหมาะกับที่ใช้ในคอมพิวเตอร์

รู้จักคาว่า Hardware และ Software


Hardware เป็นส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเห็นและสัมผัสได้ เช่น
ไมโครโปรเซสเซอร์ หน่วยความจา อุปกรณ์เก็บข้อมูล อุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล
Software เป็นชุดคาสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ เพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทางาน ซอฟต์แวร์
จะถูกอ่านจากหน่วยบันทึกข้อมูล ส่งต่อไปยังซีพียูเพื่อควบคุมการประมวลผล และคานวณซอฟต์แวร์ แบ่ง
ออกเป็น ๒ ประเภท คือ
(๑) ซอฟตแวรระบบปฏิบัติการ (System Software) เปนโปรแกรมหรือชุดคาสั่ง ที่เขียนขึ้นมาควบ
คุมการทางานของฮาร์ดแวร์และอานวยความสะดวกใหกับผูใชงานโดยสามารถแบงออกเปน ๓ ประเภทดังนี้
(๑.๑) โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เชน MS-DOS, Microsoft Windows
เวอรชั่นต่างๆ , Unix, Linux เปนตน
(๑.๒) โปรแกรมแปลคาสั่งภาษา (Language Translator Program) เชน ภาษา Basic, Pascal,
Fortran, Cobol, C, C++ เปนตน
(๑.๓) โปรแกรมอานวยความสะดวก (Utility Program) เชน โปรแกรม Norton Utility เป็นต้น
(๒) ซอฟตแวรประยุกต (Application Software) เปนโปรแกรมหรือชุดคาสั่งที่ถูกเขียนขึ้น
มาด้วยโปรแกรมแปลคาสั่งภาษา เพื่อใหคอมพิวเตอรทางานในดานตางๆ ตามที่ผูใชตองการโดยสามารถแบง
ออกเปน ๒ ประเภทดังนี้
(๒.๑) ซอฟตแวรสาหรับงานเฉพาะอยาง เชน โปรแกรมระบบบัญชี, โปรแกรมสินคาคงคลัง เปนตน
(๒.๒) ซอฟตแวรสาหรับงานทั่วไป เชน โปรแกรม Microsoft Office,Adobe PhotoShop,
SPSS, เกมสตางๆ เปนตน

การบารุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
การบารุงรักษาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น แบ่งออกเป็นหลักๆ ได้ ๓ อย่าง คือ
๑) Hardware หรือพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใน และภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
๒) Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคาสั่ง ที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใหเครื่องคอมพิวเตอรทางานตาม
คาสั่งรวมทั้งการสั่งงานและควบคุมการทางานของสวนฮารดแวร ซอฟตแวรสาหรับเครื่องคอมพิวเตอร์
สามารถแบงออกไดเปน ดังนี้
๓) บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรในงานดานคอมพิวเตอรซึ่งมีความรูเกี่ยวกับ
คอมพิวเตอรและสามารถใชงาน หรือสั่งงานคอมพิวเตอรได้
บุคลากร หรือผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ มีส่วนสาคัญในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ให้มีอายุการใช้งานที่
ยาวนาน และมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรอ่านหน้าจอที่ขึ้นแจ้งเตือนมา อ่านก่อนคลิก ว่าจะต้องทาอะไรบ้าง
ภาษาอังกฤษถ้าแปลไม่ได้จริงๆ ปัจจุบันมีโปรแกรมแปลหลายแบบ เมื่อแปลแล้วอาจไม่ตรงแต่ก็พอจะเดาๆ ได้
แต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ควรจะถามจากผู้รู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ และนอกจากนั้นอารมณ์ก็มีส่วนสาคัญ ไม่
ควรมีอารมณ์ประเภทเปิดไม่ทันใจ หรือค้าง ก็เคาะคีย์บอร์ดแรงๆ กระแทกเมาส์แรงๆ ดับเบิ้ลคลิกถี่ๆ มันไม่ได้
ช่วยให้เครื่องทางานได้เร็วขึ้น แต่กลับช้ามากขึ้น ถึงขั้นเครื่องค้างไปเลย และผู้ใช้ควรกระทาการต่างๆกับ
คอมพิวเตอร์โดยมีความรู้ เช่นการเสียบอุปกรณ์ในช่องเสียบ การใช้งานโปรแกรมต่างๆ และพฤติกรรมการใช้
งานเว็บไซต์ที่เหมาะสม ถ้าบุคลากรมีปัญหาไม่เข้าใจความหมายของหน้าจอที่ขึ้นแจ้งเตือนมา สามารถ
สอบถามผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาฯ ได้แก่ นางสาวสุธิดา คงผล และนายสมเกียรติ แซ่โค้ว

การบารุงรักษา Hardware
การบารุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ จาเป็นต้องใช้วัสดุที่มีคุณภาพและได้รับ
การออกแบบมาสาหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ได้แก่ น้ายาทาความสะอาดส่วนภายนอกของเครื่อง
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ น้ายาทาความสะอาดจอภาพ ชุดน้ายาทาความสะอาด DVD Drive ผ้า
นุ่ม/ฟองน้า/ผ้าสักหลาด/คัดตอนบลัด ไม้ปัดฝุ่นชนิดดีสามารถดูดฝุ่นได้ เครื่องดูดฝุ่นสาหรับคอมพิวเตอร์
สเปรย์สาหรับทาความสะอาดส่วนเชื่อมต่างๆ แอลกอฮอล์ น้ามันหล่อลื่น แปรงปัดฝุ่น
๑) การบารุงรักษาตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
๑.๑) ทาความสะอาดภายนอกตัวเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่าเสมอ โดยใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้านุ่ม
สาหรับเช็คฝุ่นละออง ชุบน้ายาทาความสะอาด หรือชุบน้าบิดให้แห้ง
๑.๒) ตรวจดูช่องระบายอากาศ ถ้ามีฝุ่นละอองควรเช็คออกด้วย หรือเป่าฝุ่นออก
๑.๓) ทาความสะอาดภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยด้วยการเป่าฝุ่นออก โดยช่างผู้เชี่ยวชาญได้แก่
นางสาวสุธิดา คงผล และนายสมเกียรติ แซ่โค้ว และควรดาเนินการทุกๆ ๓ เดือน
๑.๔) ไม่ควรเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้นานๆ โดยไม่ได้ใช้ ถึงแม้คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ จะมีระบบ
ประหยัดพลังงานในระหว่างที่เปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้โดยไม่ใช้งานก็ตาม
๑.๕) อย่าปิดเปิดเครื่องบ่อยโดยไม่จาเป็น
๒) การบารุงรักษาจอภาพ
๒.๑) ทาความสะอาดตัวจอภาพโดยใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้านุ่มสาหรับเช็คฝุ่นละออง ใช้น้ายาสาหรับ
ทาความสะอาดจอภาพ ฉีดลงบนผ้านุ่มแล้วนาไปเช็คจอภาพ ห้ามใช้น้าเช็คจอภาพ
๒.๒) เมื่อต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ ให้เปิดสวิตซ์ไฟจอภาพก่อนที่จะเปิดสวิตซ์ไฟที่ตัวเครื่อง
๒.๓) ปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทางาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไป
ย่อมทาให้จอภาพอายุสั้นลง
๒.๔) อย่าเปิดฝาหลัง MONITOR ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
๒.๕) เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen Sever)
ขึ้นมาทางานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ อย่าให้วัตถุหรือน้าไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
๓) การบารุงรักษาเมาส์
๓.๑) ทาความสะอาดตัวเมาส์โดยใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้านุ่มสาหรับเช็ดฝุ่นละออง
๓.๒) การทาความสะอาดภายในตัวเมาส์ มีวิธี ดังนี้
-ถอดสายที่เชื่อมต่อระหว่างเมาส์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออก
-กลับเมาส์ด้านล่างขึ้นมาด้านบนและหมุนสลักที่ปิดแผ่นคลุมลูกกลิ้งออกเพื่อนาลูกกลิ้งสาหรับ
เมาส์ ออกจากกลักลูกกลิ้ง
-ใช้ผ้าเปียกชุบน้าสบู่เพื่อนามาทาความสะอาดลูกกลิ้ง
-เช็ดลูกกลิ้งของเมาส์ให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
-ใช้ผ้านุ่มทาความสะอาดภายในกลักของลูกกลิ้ง กาจัดฝุ่นออกจากภายในกลักลูกกลิ้ง
-ทาความสะอาดลูกเลื่อนของเมาส์ที่อยู่ภายในกลักเมาส์โดยใช้ผ้าสะอาด หลังจากนั้นเช็ดฝุ่น
และคราบน้ามันออกจากลูกเลื่อนดังกล่าว
-นาเอาลูกกลิ้งใส่ลงไปในกลักลูกกลิ้งเหมือนเดิม พร้อมทั้งปิดฝาของกลักลูกกลิ้ง
-ใส่สายที่เชื่อมต่อระหว่างเมาส์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม
-เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และตรวจสอบการทางานของเมาส์

๔) การบารุงรักษาคีย์บอร์ด
๔.๑) ถอดสายที่เชื่อมต่อระหว่างคีย์บอร์ดและเครื่องคอมพิวเตอร์
๔.๒) ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้านุ่มเช็ดฝุ่นละออง เช็ดฝุ่นออกจากตัวคีย์บอร์ด และปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ด
๔.๓) คว่าคีย์บอร์ดบนพื้นที่นุ่มแล้วเคาะเบาๆ เพื่อให้ผงชิ้นเล็กๆ ที่อาจตกลงไปในคีย์บอร์ดหลุด
ออกมา
๔.๔) ใส่สายที่เชื่อมต่อระหว่างคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนเดิม
๔.๕) เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และตรวจสอบการทางานของคีย์บอร์ด
๕) การบารุงรักษา DVD-ROM Drive และแผ่น CD/VCD/DVD
๕.๑) ใช้แผ่น DVD สาหรับล้างหัวอ่าน DVD-ROM Drive ทาความสะอาดหัวอ่าน DVD เป็นประจา
ทุกๆ เดือน โดยใส่แผ่น DVD สาหรับล้างหัวอ่านไปในช่อง DVD-ROM Drive แล้วรอสักครู่ จนไฟที่ DVD-
ROM Drive ติด และดับลง
๕.๒) ใช้ผ้านุ่มเช็ดแผ่น CD/VCD/DVD ในกรณีที่เห็นว่าแผ่นมีฝุ่นจับอยู่ และห้ามขูดขีดแผ่น รวมทั้ง
ไม่ควรติดสติ๊กเกอร์บนแผ่นด้วย
๕.๓) อย่าเก็บแผ่น CD/VCD/DVD หรือใช้งานในสถานที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว
หรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงอาจเป็นสาเหตุให้แผ่นเสียหายได้
๖) การบารุงรักษาเครื่องพิมพ์ชนิด Dot Matrix
๖.๑) ทาความสะอาดเครื่องพิมพ์ โดยดูดฝุ่น เศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือน หรือใช้
แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษกระดาษออกจากเครื่องพิมพ์
๖.๒) ทาความสะอาดภายนอกตัวเครื่องพิมพ์ โดยใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้าชุบน้ายาทาความสะอาด
เช็ดถูส่วนที่เป็นพลาสติก
๖.๓) ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรงของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ
๖.๔) ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ ควรจัดกระดาษที่เหมาะสมกับเครื่องพิมพ์นั้น
๖.๕) อย่าถอด หรือเสียบสายเชื่อมต่อระหว่างเครื่องพิมพ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่
เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กาลังทางานอยู่
๖.๖) ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทาให้หัวอ่านร้อนมากทาให้เครื่องชะงัก
หยุดพิมพ์ได้
๖.๗) เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนากระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องนากระดาษ
๗) การบารุงรักษาเครื่องพิมพ์ชนิด Laser และ InkJet
๗.๑) ทาความสะอาดภายนอกตัวเครื่องพิมพ์ โดยใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้าชุบน้ายาทาความสะอาด
เครื่องใช้สานักงานเช็ดถูส่วนที่เป็นพลาสติก
๗.๒) ใช้กระดาษที่เหมาะสมกับเครื่องพิมพ์ โดยไม่ควรใช้กระดาษที่หนาเกินไปจะทาให้กระดาษติด
เครื่องพิมพ์ได้
๗.๒) ควรกรีดกระดาษทุกครั้งก่อนจะใส่ลงในช่องใส่กระดาษ ระวังอย่าให้กระดาษติดกัน เพราะ
อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้
๘) การทาความสะอาดเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
๘.๑) ใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้านุ่มเช็ดฝุ่นละออง ทาความสะอาด
๘.๒) ส่วนที่เป็นกระจกให้ใช้ผ้าสักหลาดเช็ดทาความสะอาด

๘.๓) การเคลื่อนย้ายสแกนเนอร์ต้องทาอย่างระมัดระวัง โดยทาการล็อกหัวอ่านเครื่องสแกนเนอร์


ก่อนทุกครั้งเมื่อจะทาการเคลื่อนย้าย
๙) การทาความสะอาดเครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ถ้าเครื่องอ่านบาร์โค้ดมีฝุ่นละออง
ควรใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้านุ่มเช็ดฝุ่นละออง ทาความสะอาด
ข้อแนะนาเพิ่มเติมในการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
๑) ควรตั้งเครื่องให้ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า ๑๕ ซ.ม. เพื่อให้อากาศถ่ายเทและลดความร้อนภายใน
เครื่อง
๒) ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ที่มีฝุ่นละอองมาก (วางใต้โต๊ะมีฝุ่นมากกว่าวางบนโต๊ะ), อุณหภูมิไม่
คงที่, มีแสงแดดส่อง, มีความชื้นสูง, มีการสั่นสะเทือนบ่อย, ใกล้กับแหล่งกาเนิดไฟฟ้าแรงสูงสนามแม่เหล็ก
๓) ไม่ควรวางสิ่งของไว้ปิดช่องระบายอากาศของจอภาพและตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
๔) ไม่ควรนาน้า กาแฟ หรือของเหลวอื่นๆ มาตั้งใกล้เครื่อง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทาให้เครื่องเสียหายได้
๕) ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถอดสายใด ๆ ที่ต่อเชื่อมกับเครื่องขณะกาลังเปิดใช้งานอยู่
๖) ควรต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับ UPS หรือ STABILAZER หากกระแสไฟฟ้าไม่คงที่
๗) หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วไม่ควรเปิดเครื่องโดยทันที ให้รอสักประมาณ ๑ นาที จึงเปิดเครื่อง
ใหม่เพราะกระแสไฟฟ้าอาจทาให้เครื่องเสียง่าย
๙) หากมีปัญหาเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ และและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ สามารถสอบถามผู้ดูแลระบบ
คอมพิวเตอร์ของสาขาฯ ได้แก่ นางสาวสุธิดา คงผล และนายสมเกียรติ แซ่โค้ว
การบารุงรักษา Software
การบารุงรักษาโปรแกรมหรือชุดคาสั่ง ควรดาเนินการดังนี้
๑) ควรมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส/สปายแวร์ภายในเครื่อง และต้องอัพเดทฐานข้อมูลไวรัส อยู่
เสมอ
๒) การลงโปรแกรมประยุกต์เพิ่ม ควรลงเฉพาะที่จะใช้งาน ไม่ควรเอาโปรแกรมเข้าออกบ่อยๆ และ
ควรดูพื้นที่เหลือบ้างก่อนจะลงโปรแกรม
๓) รู้จักสังเกตโปรแกรมแปลกๆ ที่เราไม่เคยเห็นในเครื่องเราตั้งแต่แรกๆ ถ้ารู้ว่าเป็นโปรแกรมอะไร
และไม่จาเป็นก็เอาออกไปเลย การเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตนั้นบางทีก็ทาให้เราไปตอบตกลงที่จะลงโปรแกรม ให้
อ่านก่อนว่ามันคืออะไร ถ้าไม่รู้จริงๆ ก็ควร Cancel ดีกว่า
๔) เว็บยอดฮิต เว็บดาวน์โหลด เว็บลามก เว็บแจกของฟรี เว็บโปรแกรมพวกแฮกเกอร์ เป็นต้น ไวรัส
คอมพิวเตอร์มักจะมากับเว็บพวกนี้เยอะ ถ้าเผลอเข้าไปแล้วเวลามีข้อความแสดงให้เราคลิกก็ควรจะอ่านก่อน
เมื่อเราไปคลิกใช่ ตกลง หรือยอมรับ เครื่องอาจติดไวรัส ติดสปายแวร์ ติดโปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ เข้ามา
ในคอมพิวเตอร์เราได้ ให้ตอบปฏิเสธ เช่น No หรือ Cancel เพื่อหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
๕) การเก็บข้อมูล ควรเก็บไฟล์ไว้ในโฟลเดอร์ เป็นเรื่องๆไป ไม่ควรเก็บไฟล์ไว้หน้าจอ อันตรายมากๆ
ที่ไฟล์จะหายไปเวลาเครื่องมีปัญหา ควรเก็บข้อมูลไว้ในไดรฟ์ D จะได้ไม่กินพื้นที่ในไดรฟ์ C มาก เมื่อพื้นที่ใน
ไดรฟ์ C เหลือน้อย ทาให้เกิดปัญหาในการเรียกใช้งานโปรแกรมหรือการติดตั้งโปรแกรมได้ ให้จาไว้ว่าในไดรฟ์
C เป็นไดรฟ์สาหรับลงโปรแกรมเท่านั้น
๖) ควรทาการดูแลและบารุงรักษาระบบขั้นพื้นฐานให้สม่าเสมอ การใช้งานโปรแกรมจะได้ไม่อืด ไม่ช้า
เป็นการบารุงรักษาอุปกรณ์ไปในตัวด้วย สิ่งที่ควรทาในการบารุงรักษาระบบ หรือที่เรียกว่าการทา
Maintenance เช่น Disk Cleanup (เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิสก์), Check disk (ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์)
และ Disk Defragmenter (จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็วในการอ่านข้อมูล)

Disk Cleanup (เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิสก์)


Disk Cleanup (เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิสก์) เป็นโปรแกรมการทางานในระบบปฏิบัติการ Windows
มีขั้นตอนดังนี้
๑) คลิกที่ My computer ที่อยู่หน้า desktop จะปรากฏไอคอน Local Disk (C:) และ Lacal Disk
(D:) (สาหรับเครื่องที่มี ๒ ไดรฟ์)
๒) คลิกขาวที่ Local Disk (C:) แล้วเลือก Properties

สีน้าเงิน คือ พื้นที่ในไดรฟ์ C ที่ใช้ไป ถ้าใช้ไปมากเริ่มทาให้เครื่องช้า เริ่มมีปัญหาในการใช้งาน


สีชมพู คือ พื้นที่ในไดรฟ์ C ที่ยังไม่ได้ใช้ เหลือมากดีกว่า
๓) คลิกที่ Disk Cleanup

โปรแกรมกาลังประมวลผลหาโปรแกรมที่เครื่องสามารถลบได้ เป็นไฟล์ขยะ จากนั้นจะปรากฏ


หน้าต่างแสดงข้อกาหนดที่สามารถลบได้ ให้ลบตามที่โปรแกรมแนะนาได้เลย หรือจะคลิกถูกเพื่อเลือก
ข้อกาหนดอื่นที่ต้องการลบเพิ่มเติม แล้วคลิกปุ่ม OK

๔) จะปรากฏหน้าต่าง Disk Cleanup คลิกที่ปุ่ม Delete Files เครื่องจะทาการลบไฟล์ขยะต่างๆ


เมื่อเสร็จสิ้นก็จะกลับสู่หน้าต่าง Properties ก็ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อออกจากหน้าจอการทางานนี้ เป็นอันเสร็จสิ้น
๑๐

Check disk (ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์)


การทา Check disk (ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิสก์) เป็นโปรแกรมการทางานในระบบปฏิบัติการ
Windows มีขั้นตอนดังนี้
๑) คลิกที่ My computer ที่อยู่หน้า desktop จะปรากฏไอคอน Local Disk (C:) และ Lacal Disk
(D:) (สาหรับเครื่องที่มี ๒ ไดรฟ์)
๒) กรณีที่ต้องการเรียงข้อมูลในไดรฟ์ C ก่อน คลิกขาวที่ Local Disk (C:) แล้วเลือก Properties

๓) ไปที่แท็บ Tools แล้วคลิกที่ Check now

๔) จะปรากฏหน้าต่าง Error Checking จากนั้นคลิกที่ Scan drive


๑๑

๕) จะปรากฏหน้าต่างแสดงโปรแกรมกาลังประมวลผลและปล่อยให้โปรแกรมทางานไปจนกว่าจะ
เสร็จสิ้น เมื่อเสร็จสิ้นก็จะกลับสู่หน้าต่าง Properties ก็ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อออกจากหน้าจอการทางานนี้ เป็นอัน
เสร็จสิ้น

การทา Disk Cleanup โดยใช้โปรแกรม CCleaner มีขั้นตอนดังนี้


๑) ติดตั้งโปรแกรม

๒) เข้าสู่หน้าต่างติดตั้งโปรแกรม ให้คลิก Install


๑๒

๓) เข้าสู่หน้าจอหลักของโปรแกรม CCleaner

ด้านบนสุดจะแสดง สเป็คเครื่องของเรา ด้านซ้ายมือเป็นแท็บการทางานต่างๆ มีดังนี้


-CCleaner คือ เมนูที่ใช้สาหรับกาจัดไฟล์ขยะในเครื่องของเราที่แฝงตัวอยู่ในที่ต่างๆ
-Registry คือ เป็นการทาความสะอาด Registry ในเครื่องของเรา ทาให้เครื่องทางานได้ดีขึ้น เสถียรขึ้น
-Tools คือ การปรับแต่ง Windows ของเรา เช่น การปรับแต่งโปรแกรมที่เปิดขึ้นมาพร้อมกับ
Windows
๔) ทาความสะอาดเครื่องของเรา โดยการกาจัดไฟล์ขยะ ไปที่ Tab Cleaner >> Analyze ขั้นตอนนี้
ควรปิดเว็บเบราร์เซอร์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น IE, FireFox, Chrome ฯลฯ

โปรแกรมจะทาการแสกนไฟล์ขยะที่ซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆในเครื่องของเราทั้งหมดออกมาเป็นรายชื่อไฟล์
รวมถึงแจ้งขนาดของไฟล์ขยะ
๕) จากนั้นคลิก Run Cleaner ปรากฏหน้าต่าง Process เลือกถูกในช่อง แล้วคลิก OK และให้เรารอ
สักครู่ (โปรแกรมกาลังทาการลบข้อมูลขยะอยู่)
๑๓

๖) เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว (ครบ ๑๐๐%) ก็อย่าคิดว่าไฟล์ขยะจะหมดไปจากเครื่องเรา ให้เราทาการ


Analyze อีกครั้ง และทาการ Run Cleaner อีกครั้งเช่นกัน ควรทากลับไป-กลับมา จนกว่าจะแจ้งว่า ๐ byte
to be removed (หรือให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทาได้) ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้
Disk Defragmenter (จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็วในการอ่านข้อมูล)
การทา Disk Defragmenter (จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็วในการอ่านข้อมูล) เป็นโปรแกรมการ
ทางานในระบบปฏิบัติการ Windows มีขั้นตอนดังนี้
๑) คลิกที่ My computer ที่อยู่หน้า desktop จะปรากฏไอคอน Local Disk (C:) และ Lacal Disk
(D:) (สาหรับเครื่องที่มี ๒ ไดรฟ์)
๒) กรณีที่ต้องการเรียงข้อมูลในไดรฟ์ C ก่อน คลิกขาวที่ Local Disk (C:) แล้วเลือก Properties

๓) ไปที่แท็บ Tools แล้วคลิกที่ Defragment now


๑๔

๔) สามารถทาการ Analyze disk ก่อนทาการ Defragment disk โดยคลิกที่ปุ่ม Analyze disk เมื่อ
ประมวลผลเสร็จก็คลิกที่ปุ่ม Defragment disk และปล่อยให้โปรแกรมทางานไปจนกว่าจะเสร็จสิ้น

การทา Disk Defragmenter มีข้อควรรู้ดังนี้


-สามารถกาหนดเวลาได้ แต่ควรไม่ควรตั้งอัตโนมัติ และการเรียงข้อมูลเสร็จแล้วควรปิดเครื่อง แล้ว
เปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง
-ก่อนทา Disk Defragmenter ต้องทาการตรวจสอบดิสก์ก่อนทุกครั้ง เพื่อแก้ไขและซ่อมแซม
ข้อบกพร่องของไฟล์ และ/หรือดิสก์ให้หมดก่อน
-ยกเลิก Screen Saver เพื่อไม่ให้เป็นการขัดจังหวะการทางานของโปรแกรม
-ปิดโปรแกรมต่างๆ ทั้งหมด รวมทั้งโปรแกรมที่อยู่บน Taskbar ด้วย
-ควรทาเดือนละ ๒ ครั้ง วันแรกของเดือน และกลางเดือน อีกครั้ง ควรทาช่วงเช้าหลังเปิดเครื่องควร
ซึ่งควรทาการ Disk Cleanup ก่อน แล้วค่อยทาการ Disk Defragmenter
การ Disk Defragmenter ผ่านโปรแกรม Auslogics Disk Defrag มีขั้นตอนดังนี้
๑) เปิดโปรแกรม Auslogics Disk Defra ดับเบิล้ คลิกทีโ่ ปรแกรมทีต่ ิดตัง้ ไว้หน้าจอแล้ว
๒) แล้วเลือก hdd ไดรฟ์ที่ต้องการทา Disk Defragmenter และมีตัวเลือกว่าหลังจากเสร็จสิ้นจะให้
ทาอะไร โดยเลือกตามที่ต้องการ หรือจะไม่เลือกก็ได้
๑๕

๓) เมื่อพร้อมแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Defrag ได้เลย แล้วก็รอให้โปรแกรมทาการจัดเรียงข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์

มัลแวร์/ไวรัส ในเครื่องคอมพิวเตอร์
มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจากคาว่า Malicious Software สถาบันคอมพิวเตอร์จะอธิบายคา
ว่ามัลแวร์ว่าคือโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประสงค์ร้ายต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และเพื่อมาล้วงข้อมูลสาคัญไป
จากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยมัลแวร์ที่เรารู้จักกันดีก็คือ ไวรัส (Virus) เวิร์ม (Worm) โทรจัน (Trojan Horse)
สปายแวร์ (Spyware) คีย์ล๊อกเกอร์ (Key Logger) คุ้กกี้ (Cookie) และการ Malicious Mobile Code
(MMC) ทีอ่ าศัยช่องโหว่ของโปรแกรมบราวเซอร์ ถ้าเกิดมัลแวร์เหล่านี้ได้เข้ามาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์จะ
เกิดผลกระทบมากมาย สิ่งที่เห็นได้ชัดเมื่อมัลแวร์มาอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็คือการทางานของเครื่อง
คอมพิวเตอร์จะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด และมีการส่งข้อมูลผ่านอีเมล์แบบที่ผู้ใช้งานไม่รู้ โดยมัลแวร์จะพยายาม
ซ่อนตัวอยู่ในรีจิสทรีของระบบปฏิบัติการณ์ (Operating system) เมื่อเราถูกคุกคามโดยมัลแวร์ เราควรที่จะ
หาโปรแกรมป้องกันไวรัสมากาจัดมัลแวร์เหล่านี้ให้ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโปรแกรมป้องกันเหล่านี้จะ
ช่วยป้องกันและกาจัดและตรวจสอบมัลแวร์อยู่ตลอดเวลา
มัลแวร์มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๖ ชนิดด้วยกันคือ
๑) ไวรัส (Virus) เป็นโปรแกรมที่ติดต่อจากไฟล์หนึ่งไปสู่อีกไฟล์หนึ่งได้ และสามารถส่งผ่านไฟล์ด้วย
การแนบไวรัสไปกับไฟล์ที่เราส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งได้ โดยไวรัสจะทาการทาลายทั้งฮาร์แวร์
และซอฟแวร์ในเครื่องพร้อมกับไฟล์ที่ไวรัสแฝงตัวเองเพื่อแพร่กระจายไปสู่เครื่องอื่นๆด้วย
๒) เวิร์ม (Worm) สามารถที่จะแพร่ขยายตัวเองโดยที่ไม่ต้องมีโปรแกรมอื่นในการแพร่กระจายก็ได้
เช่นกัน เป้าหมายของเวิร์มจะจ้องทาลายระบบเครือข่าย และขยายการแพร่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ตัวอื่นๆ
โดยการส่งอีเมล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ
๑๖

๓) โทรจัน (Trojan Horse) เป้าหมายของมัลแวร์ตัวนี้จะค่อยจ้องทาลายระบบและเปิดช่องโหว่ให้กับ


ผู้ไม่หวังดีเข้ามาทาลายระบบและควบคุมจากระยะไกล และไม่แพร่กระจายไปยังไฟล์อื่นๆ
๔) สปายแวร์ (Spyware) จะไม่แพร่กระจายไปยังไฟล์อื่นๆ เหมือนกับโทรจัน โดยเป้าหมายของสปาย
แวร์นั้นจ้องที่จะรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
๕) Hybrid Malware/Blended Threats เป็นมัลแวร์ที่อันตรายมากเพราะรวมความสามารถของ
ไวรัส เวิร์ม โทรจัน สปายแวร์ ไว้ด้วยกัน
๖) Phishing เป็นมัลแวร์ที่จ้องจะขโมยข้อมูลทางการเงินเช่น บัตรเครดิตหรือพวก Online bank
account
อันตรายของมัลแวร์นั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน
๑) มัลแวร์จะทาลายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์แวร์และซอฟแวร์รวมถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่
ติดมัลแวร์ไปแล้ว
๒) มัลแวร์จะพยายามทาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์เป็นตัวกระจายมัลแวร์สู่ผู้ใช้รายอื่นด้วย
การแอบใช้อีเมล์เพื่อส่งไฟล์ไปยังรายชื่อที่มีอยู่ในอีเมล์ของเรา
๓) มัลแวร์พยายามจะล้วงข้อมูลที่เป็นความลับให้กับผู้ไม่ประสงค์ดีด้วยการเปิดช่องโหว่ให้ผู้ไม่
ประสงค์ดีเข้ามาสู่ระบบปฎิบัติการณ์ได้ หรือไม่ก็แอบส่งข้อมูลต่าง ๆเหล่านี้ผ่านอีเมล์ก็เป็นไปได้
๔) มัลแวร์จะก่อความราคาญให้กับผู้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา
การติดมัลแวร์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลยซึ่งวิธีแก้และป้องกันที่ดีที่สุดก็คือไม่โหลดหรือรับอีเมล์ที่เราไม่
แน่ใจเพราะส่วนมากแล้วไวรัสกับเวิร์มจะแฝงตัวมากับอีเมล์ที่ส่งมาให้ และถ้าเป็นโทรจันกับสปายแวร์จะแฝง
มากับโปรแกรมเถื่อนต่างๆ อาทิ Crack โปรแกรมเป็นต้น ทางป้องกันที่ดีที่สุดเราควรติดตั้งโปรแกรม
ป้องกันมัลแวร์และใช้โปรแกรมที่มีความน่าเชื่อถือจากแหล่งที่เชื่อถือได้ด้วยเพียงเท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของ
เราก็จะปราศจากมัลแวร์แล้ว
วิธีการตรวจเช็คและกาจัดมัลแวร์/ไวรัส
โปรแกรมที่สถาบันคอมพิวเตอร์ใช้สาหรับการกาจัดมัลแวร์ หรือ ลบมัลแวร์ คือ โปรแกรม
Malwarebyte โปรแกรมนี้จะมีจุดเด่นในเรื่องการกาจัดโปรแกรมที่แอบแฝงอยู่ในเครื่องที่มักติดมากับ
โปรแกรมต่างๆที่โหลดมา แล้วอินสตอร์เองโดยที่เราไม่รู้ตัว และโปรแกรมนี้จะช่วยในการสแกนกาจัด
โปรแกรมพวกสปายแวร์, แอดแวร์, มัลแวร์, โทจัน, คีย์ล็อกเกอร์
Download ที่นี่ >>> https://www.malwarebytes.org/mwb-download/
เมื่อทาการดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ก็ทาการติดตั้ง และ อัพเดทตัวโปรแกรมให้เรียบร้อย แล้วจึงทา
กานเริ่มการตรวจหาและกาจัด
๑) ให้เราทาการเปิดตัวโปรแกรมMalwarebyte ขึ้นมาในหน้าต่าง desktop

๒) เมื่อมาถึงหน้าต่างขอโปรแกมให้คลิกที่ปุ่ม Scan
๑๗

๓) โปรแกรมก็จะทาการสแกน แล้วรอสักครู่..

๔) เมื่อทาการสแกนเสร็จก็จะมีหน้าต่างแจ้งให้เราว่า การสแกนเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-กรณีไม่พบมัลแวร์หน้าจะแสดงผลตามภาพ แล้วให้คลิกที่ View report > แล้วคลิกที่ Close
๑๘

-กรณีไม่พบมัลแวร์หน้าจะแสดงผลตามภาพ แล้วให้คลิกที่ Quarantine จากนั้นโปรแกรมกาลัง


ดาเนินการกาจัดมัลแวร์ แล้วให้คลิกที่ Done > แล้วคลิกที่ Close
๑๙

๕) เมื่อทาการกาจัดมัลแวร์แล้ว โปรแกรมก็จะให้เราทาการรีสตาร์ทเครื่อง จะรีสตาร์ทเครื่องหรือไม่ก็


ได้ แต่กรณีพบว่าโปรแกรมไม่สามารถกาจัดมัลแวร์ได้ทั้งหมด ไม่ต้องรีสตาร์ทเครื่องให้ทาการสแกนซ้า ให้คลิก
ที่ปุ่ม Scan แล้วทาตามขั้นตอนที่ ๓ และ ๔ อีกครั้ง
ส่วนของการกาจัดไวรัส นั้น ให้ติดตั้งตัว Antivirus ซึ่งจะเป็นของค่ายไหนก็ได้ ที่สามารถทาการ
อัพเดทให้เป็นปัจจุบันได้ แล้วทาการสแกน เพื่อตรวจหาและกาจัดไวรัสออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน
ซึ่งการสแกนไวรัสจากวินโดวส์ในขณะใช้งานปกติในบางครั้งจะกาจัดไวรัสที่ฝังตัว อยู่ในไฟล์ระบบของวินโดวส์
ไม่ได้เพื่อกาจัดไฟล์ที่หลบซ่อนตามส่วนต่างๆของวินโดวส์อาทิเช่นไฟล์สารองสาหรับ การกู้คืน หรือ ไฟล์ที่ถูก
โหลดพร้อมกับวินโดวส์ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสแกนแบบปกติในขณะที่วินโดวส์ถูกโหลดแล้ว ดั้งนั้น
จึงควรทาตามขั้นตอนเหล่านี้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการกาจัดไวรัส ที่ซ่อนตัวอยู่
๑) สารองไฟล์เอกสาร รูปภาพ และแฟ้มข้อมูลจากโปรแกรมที่ใช้งาน เช่น อีเมล์ ไฟล์การตั้งค่าของ
โปรแกรมต่างๆ เป็นต้น
๒) อัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสให้เป็น Build ล่าสุด และอัพเดทฐานข้อมูลรายชื่อไวรัส เปิดฟังกชั่น
การสแกนแบบ โปรแอคทีฟ โค้ดอนาไลซ์
๓) ถอดสาย LAN หรือปิดสวิตซ์การ์ดไวร์เลส หรือถอดแอร์การ์ด ถ้าไม่สามารถถอดหรือปิดทาง
กายภาพได้ ให้ทาการ Disable Network Adaptor ใน Control Panels
๔) ปิดบราวเซอร์และแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานอินเตอร์เน็ต
๕) รีสตาร์ทเเครื่องและล๊อคอินด้วยสิทธิระดับ Administrator
๖) ปิดการทางานของระบบการสารองไฟล์เพื่อกู้คืนระบบ (System Restore) ทั้งหมด
๗) ลบ Temporary Files และ Browser's cache ทั้งหมด
๘) รีสตาร์ทเครื่องอีกครั้งเข้าสู่เซฟโหมด โดยการกด F8 ก่อนขึ้นโลโก้วินโดวส์และโหลดดิ้งบาร์
๙) สั่งสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์
๑๐) เปิด System Restore
๑๑) รีสตาร์ทเครื่องเข้าสู่โหมดการทางานปกติ
๑๒) ใช้แอนตี้ไวรัสสแกนเครื่องอีกครั้ง ว่ายังตรวจพบอยู่อีกหรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ให้ทาซ้าขั้นตอนทั้งหมด
อีกครั้ง
๒๐

ระบบตรวจจับและกาจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ WEBROOT SecureAnywhere

สถาบันคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง ได้ดาเนินการจัดหาระบบตรวจจับและกาจัดไวรัส


คอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์อันสูงสุดและสามารถสนับสนุนการตรวจจับและกาจัดไวรัสให้กับหน่วยงานต่างๆ
ของมหาวิทยาลัย โดยมีขั้นตอนการติดตั้งและใช้งานดังนี้
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม
๑) เครื่องที่จะทาการลง Antivirus Program จะต้องพร้อมใช้งานอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะได้ยืนยัน
Activate Key ของตัวโปรแกรมกับ Sever
๒) ดาวน์โหลดตัวติดตั้ง Antivirus Program “WEBROOT” แล้วทาการกดติดตั้ง ที่
https://computer.ru.ac.th/Network/indexView/28

๓) ใส่ Key License แล้วกด Agree and Install

*key license ทางสถาบันคอมพิวเตอร์ได้แจ้งมายัง ผู้รับผิดชอบ คือ นางสาวสุธิดา คงผล


๔) โปรแกรมจะทาการติดตั้ง และหลังติดตั้งเสร็จจะทาการสแกนเพื่อตรวจจับไวรัสเครื่องคอมพิวเตอร์
ก่อน ๑ ครั้งโดยอัตโนมัติ (ขณะทาการสแกนตรวจจับไวรัส จะเป็นการทางานแบบเบื้องหลัง ซึ่งสามารถใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ตามปกติ)

๕) เสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้ง
* ข้อแนะนา ก่อนทาการติดตั้ง Antivirus Program ให้ทาการ Backup ข้อมูลของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ให้เรียบร้อยก่อน*
๒๑

การซ่อมแซมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
กระบวนการแก้ปัญหาของคอมพิวเตอร์
กระบวนการแก้ปัญหาของคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
๑) ตรวจสอบอาการเสียหรือความผิดปกติของเครื่อง
๒) ตรวจสอบในเบื้องต้น โดยเริ่มจากจุดง่ายๆ ไปหายาก
๓) ตรวจเช็คอุปกรณ์ที่คาดว่าจะเสียทีละอย่าง
๔) ลองซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่สารอง
๕) ตรวจเช็คดูว่าหายหรือไม่ ถ้าไม่หายย้อนกลับไปดาเนินการข้อ ๓
๖) เสร็จสิ้นกระบวนการแก้ปัญหา
ปัญหาคอมพิวเตอร์ สาเหตุและการแก้ปัญหา
ตัวอย่างปัญหา สาเหตุ และการแก้ปัญหาอาการเสียของคอมพิวเตอร์ที่พบบ่อยๆ มีดังนี้
๑) เปิดคอมพิวเตอร์ไม่ได้ อาจเกิดขึ้นได้สาเหตุ ดังนี้
สาเหตุ: ไม่ได้ต่อคอมพิวเตอร์ลงเต้าเสียบที่ด้านหลัง
การแก้ปัญหา: ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟนั้นเสียบอยู่ที่เต้าเสียบไปบนฝาผนัง และไฟ AC บนฝาผนังที่
ลงสายกราวนด์ของคอมพิวเตอร์อย่างแน่นหนา
สาเหตุ: คอมพิวเตอร์อาจอยูในโหมด Sleep
การแก้ปัญหา: ตรวจสอบว่าปุ่ม เปิดเครื่องด่วน นั้นสว่างอยู่ และมีไฟสีเหลืองอาพัน ถ้าเป็นเช่นนั้น ให้
กดปุ่มดังกล่าวเพื่อออกจากโหมด Sleep
สาเหตุ: คอมพิวเตอร์โมดูลหน่วยความจาผิดชนิด
การแก้ปัญหา: การใช้โมดูลหน่วยความจาอื่นอาจมีผลทาให้การเริ่มระบบยากขึ้นเมื่อคุณอัปเกรด
เครื่องคอมพิวเตอร์ คุณจะต้องใช้หน่วยความจา EDO ๖๐ นาโนวินาที
๒) การทางานของฮาร์ดไดรฟ์ช้าลง
สาเหตุ: ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ อาจอยู่กระจัดกระจาย
การแก้ปัญหา: ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter
๓) ไฟแสดงการทางานของฮาร์ดไดรฟ์สว่างแต่ไม่กระพริบ
สาเหตุ: ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ของคุณ อาจจะเสียหาย
การแก้ปัญหา: ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter
๔) คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้
สาเหตุ: ไม่ได้วางซีดีในไดรฟ์ในตาแหน่งที่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา: ถ้าคุณมีซีดีไดรฟ์แบบโหลดด้วยถาด ให้กดปุ่มนาแผ่นซีดีออก แล้วค่อยๆ กดแผ่นซีดีลง
ในตาแหน่ง ที่เหมาะสมจากนั้นโหลดแผ่นเข้าไปใหม่
สาเหตุ: ระบบไม่รู้จักซีดีไดรฟ์
การแก้ปัญหา: ปิดคอมพิวเตอร์ แล้วคอยอย่างน้อย ๓๐ วินาที จากนั้นเปิดคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาใหม่อีก
ครั้ง
สาเหตุ: แผ่นซีดีสกปรก
การแก้ปัญหา: ทาความสะอาดแผ่นซีดีด้วยชุดทาความสะอาด
๕) หน้าจอว่างเปล่า
สาเหตุ: สายเคเบิลที่ต่อเชื่อมจอภาพเข้ากับ คอมพิวเตอร์นั้นหลวมยังหรือไม่ได้เสียบสายจอภาพ
๒๒

การแก้ปัญหา: เสียบสายไป และตรวจดูให้แน่ใจว่าช่องเสียบจอภาพนั้นเชื่อมต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์


อย่างเหมาะสมและแน่นพอ
สาเหตุ: คุณได้ติดตั้งยูทิลิตีที่ทาให้หน้าจอว่างเปล่า
การแก้ปัญหา: กดคีย์ใดๆ หรือเคลื่อนไหวเมาส์ หน้าจอปัจจุบันจะปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุ: คอมพิวเตอร์อยู่ในโหมด Sleep
การแก้ปัญหา: กดปุ่มเปิดเครื่องด่วน หน้าจอปัจจุบันจะปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
๖) จอภาพร้อนเกินไป
สาเหตุ: พื้นที่สาหรับระบายอากาศไม่เพียงพอให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
การแก้ปัญหา: เว้นพื้นที่ให้มีช่องระบายอากาศอย่างน้อย ๓ นิ้ว ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มี อะไรปิดอยู่
ด้านบนของจอภาพที่ขัดขวางการหมุนเวียนของอากาศ
๗) เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว
สาเหตุ: สายเมาส์เสียบไม่แน่นหนาในช่องเสียบที่ถูกต้อง ซึ่งอยู่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์
การแก้ปัญหา: ตรวจสอบและเสียบสายเมาส์ให้แน่น
สาเหตุ: ไม่ได้ตดิ ตั้งไดรเวอร์ของเมาส์ หรือ ติดตัง้ ไดรเวอร์ท่ีไม่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา: ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งไดรเวอร์ของเมาส์ที่ถูกต้อง
๘) เครื่องพิมพ์ไม่ทางาน
สาเหตุ: ไม่ได้เสียบสายไฟของเครื่องพิมพ์ หรือไม่ได้เสียบสายเคเบิลของเครื่องพิมพ์
การแก้ปัญหา: ตรวจสอบปลายทั้งสองด้านของเครื่องพิมพ์ และสายไฟของเครื่องพิมพ์ว่ามีการ
เชื่อมต่ออย่างเหมาะสมหรือไม่ อย่างถูกต้องและแน่นหนา
สาเหตุ: เครื่องพิมพ์ไม่ได้อยู่ในโหมด ออนไลน์
การแก้ปัญหา: ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ให้อยู่ในโหมดออนไลน์ เครื่องพิมพ์บางเครื่องมีปุ่มหรือ ตัวควบคุมอยู่
บนแผงด้านหน้าสาหรับเปลี่ยนไปมาระหว่างโหมดออนไลน์และโหมดออฟไลน์ ถ้าเครื่องพิมพ์มีปุ่มหรือสวิตช์
ออนไลน์/ออฟไลน์ ให้เลือก ออนไลน์
๙) เครื่องพิมพ์พิมพ์ข้อมูลออกมาเป็นขยะ
สาเหตุ: ไม่ได้ติดตั้งหรือเลือกไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา: ตรวจดูให้แน่ใจว่ามีการติดตั้งและเลือกไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง
สาเหตุ: สายไฟของเครื่องพิมพ์ไม่ได้เชื่อมต่ออย่างเหมาะสม
การแก้ปัญหา: ให้อ่านเอกสารที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ แล้วเชื่อมต่อสายไฟใหม่อีกครั้งหนึ่ง
๑๐) คอมพิวเตอร์แสดงข้อความว่า out of memory
สาเหตุ: ค่าคอนฟิเกอเรชันของหน่วยความจาตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง, หน่วยความจาไม่พอในการรัน
การแก้ปัญหา: ปิดโปรแกรมที่คุณกาลังใช้อยู่ อ่านเอกสารที่มาพร้อมกับโปรแกรมเพื่อดูข้อกาหนด
เกี่ยวกับหน่วยความจา อาจต้องซื้อและติดตั้งหน่วยความจาเพิ่มเติม
๑๑) คอมพิวเตอร์แสดงข้อความว่า Insufficient memory
สาเหตุ: หน่วยความจาของคอมพิวเตอร์เหลือไม่เพียงพอที่จะรันโปรแกรม
การแก้ปัญหา: โปรแกรมบางอย่างจะแอกทีฟอยู่ในแบ็กกราวนด์เมื่อเราเปิดขึ้นมา โปรแกรมเหล่านี้ใช้
หน่วยความจาบางส่วนถึงแม้ว่าจะรันอยูในแบ็กกราวด์ก็ตาม
๑๒) คอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง
สาเหตุ: มีการปิดระบบเสียง
๒๓

การแก้ปัญหา : คลิกที่ไอคอน Speaker บนทาสก์บาร์ของวินโดวส์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าเช็คบ็อกซ์ Mute


ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่ ทาการเพิ่มระดับเสียง และควรตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าลาโพงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
แน่นหนาหรือไม่
๑๓) อาการบูตเครื่องขึ้นมาแล้วมีสัญญาณเตือนดัง ปีบ๊ ...........ปีบ๊ ควรตรวจสอบแรมว่าทางานเป็น
ปกติหรือไม่ ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบการติดตั้งการ์ดต่างๆ บนเมนบอร์ดว่า
ติดตั้งดีแล้วหรือยัง วิธีแก้ไขให้ถอดแล้วเสียบใหม่ ตรวจสอบซีพียูและการเซ็ตจัมเปอร์ว่าถูกต้องหรือไม่วิธีแก้ไข
เซ็ตจัมเปอร์ใหม่โดยตรวจเช็คจากคู่มือเมนบอร์ด
สาหรับเมนบอร์ดที่ใช้ไบออสยี่ห้อ Award นี้สัญญาณ เสียง Beep Code จะฟังค่อนข้างง่ายไม่
ซับซ้อนเหมือนไบออสยี่ห้ออื่น โดยเสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียง “ปี๊บ” สั้นและยาวสลับกันซึ่งเราจะสังเกตอาการ
เสียได้จากจานวนครั้งในการส่งเสียงร้องเตือน โดยมีจังหวะดังนี้
เสียงดัง ๑ ครั้ง แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอน Post เป็นปกติ
เสียงดัง ๒ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทาให้บูตเครื่องไม่ผ่าน
ควรตรวจสอบแรม
เสียงดัง ๓ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทาให้บูตเครื่องไม่ผ่าน
ควรตรวจสอบแรม
เสียงดังต่อเนื่อง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแหล่งจ่ายไฟ เช่น เพาเวอร์ซัพพลาย หรือเมนบอร์ดอาจมี
ปัญหา ให้ตรวจสอบ เพาเวอร์ซัพพลาย และเมนบอร์ด
เสียงดังถี่ๆ แสดงว่ามีปัญหาในส่วนเมนบอร์ดให้ตรวจสอบสายสัญญาณต่างๆ และตัวเมนบอร์ด
เสียงดัง ๖ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของคีย์บอร์ด ให้ตรวจสอบคีย์บอร์ด
เสียงดัง ๗ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
เสียงดัง ๘ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล (VGA) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบ
แน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
เสียงดังยาว ๑ สั้น ๒ แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล (VGA) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่า
เสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
เสียงดัง ๙ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
เสียงดัง ๑๐ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
เสียงดัง ๑๑ ครั้ง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของหน่วยความจาแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบน
เมนบอร์ด
ไม่มีเสียง แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของเพาเวอร์ซัพพลาย, เมนบอร์ด หรือซีพียู รวมถึงสายสัญญาณ
และสายไฟต่าง ๆ
๑๔) ปัญหาเมนบอร์ด
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ดนั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขยาก และเกิดจากหลายสาเหตุ เนื่องจาก
มีอุปกรณ์หลายตัวเข้ามาติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ทาให้เมื่อเมนบอร์ดมีปัญหามักหาสาเหตุไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่
จะมองไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นมากกว่า เพราะจะว่าไปแล้วโอกาสที่อาการเสียจะเกิดจากเมนบอร์ดนั้น มีค่อนข้าง
น้อยทาให้อาจนึกไม่ถึง สาหรับอาการเสียของเมนบอร์ดจะคล้ายกับอาการเสียของอุปกรณ์ตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่บน
เมนบอร์ด เช่นเครื่องบูตไม่ขึ้น, จอภาพมืด ส่วนใหญ่จะคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดมาจากจอภาพและฮาร์ดดิสก์
มากกว่า หรืออาการเครื่องแฮงค์บ่อย หลายคนมักวิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากแรม หรือไม่ก็ซีพียู แต่แท้จริงแล้ว
หากเมนบอร์ดเสีย เครื่องก็ไม่สามารถบูตได้ หรือเกิดอาการแฮงค์บ่อยได้เหมือนกัน
๒๔

แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาเกิดจากเมนบอร์ดมีดังนี้
-ตรวจสอบการเชื่อมต่อของขั้วต่อต่างๆ บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่างๆ ให้แน่นและถูกต้อง เช่นขั้วต่อ
สายแพกับฮาร์ดดิสก์, ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายกับกับเมนบอร์ด เป็นต้น
-ตรวจสอบการติดตั้งของอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง เช่น แรม หรือการ์ดต่างๆ บน
เมนบอร์ดให้แน่น
-ตรวจสอบการระบายความร้อนบนอุปกรณ์เมนบอร์ดเช่น พัดลมชิพเซ็ท พัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย
หรือพัดลมเสริมตัวอื่นๆ ว่ายังทางานอยู่ดีหรือไม่
-ตรวจสอบการเซ็ตจัมเปอร์และดิปสวิตซ์บนเมนบอร์ดว่ากาหนดค่าต่างๆ ถูกต้องหรือไม่ ส่วนมาก
มักจะเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ
-ตรวจสอบการกาหนดค่าในไบออสว่ามีการกาหนดค่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
-ตรวจสอบถ่านแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดว่าหมดแล้วหรือยังถ้าหมดให้เปลี่ยนถ่านใหม่ หากเมนบอร์ด
ถามหาพาสเวิร์ดแล้วจาไม่ได้ให้ทาการเคลียร์ไบออสโดยถอดจัมเปอร์ไปเสียบที่ขา Clear Bios (ดูคู่มือ
เมนบอร์ดประกอบ) หรือจะถอดถ่านแบตเตอรี่ออกมาทิ้งไว้สักพักแล้วใส่เข่าไปใหม่ก็ได้
-ตรวจสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นามาติดตั้งว่าเข้ากันได้กับเมนบอร์ดหรือไม่ บางครั้งหากผู้ใช้ซื้อ
อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ มาเมนบอร์ดตัวเดิมจะไม่สามารถรองรับได้ ให้ทาการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดมี
ประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้จักกับอุปกรณ์ ใหม่ๆ ได้
หากได้ทาการตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้แล้วยังไม่พบปัญหาก็อาจเป็นไปได้ว่า เมนบอร์ดเสีย ให้เช็คดูว่า
มีกระแสไฟลัดวงจร หรือเมนบอร์ดช๊อตหรือไม่ โดยตรวจสอบแท่นรองน็อตหรือมีวัตถุแปลกปลอมอย่างอื่นที่
สามารถนาไฟฟ้าได้แอบแฝงอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งเมนบอร์ดแล้ว
ลืมน๊อตตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดเมื่อมีกระแสไฟจ่ายเข้ามาก็อาจทาให้เมนบอร์ดพังได้ เพราะน๊อตตัวเล็ก ๆ จะ
เป็นตัวนากระแสไฟได้เป็นอย่างดี สรุปคือการที่จะรู้ว่าเมนบอร์ดเสียเปล่าต้องมีการทดสอบคือนาเมนบอร์ดตัว
ใหม่มาทดสอบ
๑๕) ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น
จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วน
สาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์เป็นจานวนมาก หรือเกิดแบดเซ็กเต
อร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสาคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทาให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการ
เงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot
failure Please insert system disk and please anykey to continue
สาหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทาการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้
คาสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซม
ดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทา Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกัน
ส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป
บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB (แผ่นวงจรด้านล่างของ
ฮาร์ดดิสก์) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นาฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะ
ทาให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทางานได้เหมือนเดิม
หากต้องการกู้ข้อมูลที่สาคัญกลับมาไม่ควรใช้คาสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทาให้ข้อมูลที่อยู่ภายใน
ฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนาให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสาคัญๆซึ่งโปรแกรมนี้เป็น
โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ
๒๕

๑๖) ปัญหาที่เกิดจากซีพียู
ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมี
ทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทาให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซม
กลับคืนให้เป็นเหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็
ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง ๒ อาการที่พบได้บ่อยๆ อาการ
แรกคือ ทาให้เครื่องแฮงค์เป็นประจา และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัด
ลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึง
จุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าวเลย สาหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
๑๗) RAM
อาการของ RAM หายไปดื้อๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board ที่จริงก็ไม่ได้หายไป
ไหนหรอก เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนาไปใช้กับ VGA และขนาดที่จะโดนนาไปใช้ก็อาจจะเป็น ๒M, ๔
M, ๘M ไปจนถึง ๑๒๘M ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS
๑๘) ปัญหาไดรว์ซีดีรอม
ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดรว์ซีดีรอมตัวใหม่ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดรว์ซีดีรอมที่มีการใช้งานมานาน
แล้ว หรือประมาณ ๑ ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับ
แผ่นซีดี แล้วเราก็นามันเข้าไปอ่านในไดรว์ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมากๆ เข้าก็เลยทาให้เกิด
อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทาความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้
แผ่นซีดีที่ไว้สาหรับทาความสะอาดหัวอ่าน
การสารองข้อมูล (Backup)
การ Backup คือการที่เราได้ Copy ข้อมูลที่สาคัญขึ้นมาอีก ๑ ชุด โดยทาการจัดเก็บแยก
จากชุดแรก เช่น ข้อมูลชุดแรกอยู่ในคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการ Backup ข้อมูลหรือสารองเอาไว้อีก ๑
ชุด โดยทาการจัดเก็บแยกจากชุดแรก

-เราสามารถแบ่ง Harddisk ออกเป็นหลายๆ Partition (ในที่นี้คือ Drive) เช่น Drive C


/Drive D/ Drive E เป็นต้น แต่ไดรฟทุกไดรฟ ยังคงอยู่ใน Harddisk ตัวเดียวกัน
-การแบ่ง Harddisk ออกเป็นหลายๆ Partition (ในที่นี้คือ Drive C /Drive D) การสารอง
ข้อมูลเอาไว้มี่ Drive D ไม่ได้หมายถึงว่าท่านปลอดภัยแล้ว เพราะโดยส่วนมากเวลา Harddisk เสีย
จะเสียทั้งลูก ดังนั้น Drive C/Drive D ก็จะเสียหายไปทั้งหมด
-การ Backup ข้อมูลที่ถูกต้อง จะต้อง Backup เอาไว้ด้านนอก ๑ ชุด
-ในกรณีที่ Harddisk เสียและท่านจาเป็นที่จะต้องกู้ข้อมูลที่เสียออกมา ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก
โดยทั่วไปเขาจะคิดหลักหมื่น เหตุผลเพราะว่าจะต้องทาการกู้ข้อมูลในห้อง Lab เช่นหัวเข็ม
Harddisk หัก หรือจาน Harddisk ไม่หมุน จะต้องทาการซ่อมในห้อง Lab ที่ไม่มีฝุ่น แล้วถึงจะกู้
ข้อมูลออกได้ ดังนั้นหากท่านคิดว่าข้อมูลสาคัญท่านควรจะ Backup เอาไว้ด้านนอก ๑ ชุด
-ควรจะแบ่ง Harddisk เราออกมา ๑ Partition ในที่นี้คือ Drive D แล้วทาการจัดเก็บ
๒๖

ข้อมูลที่เราคิดว่าสาคัญเอาไว้ที่ไดรฟตัวนี้ ในการ Backup จะง่ายสาหรับเราที่เราจะเอาทั้งหมดที่อยู่


ใน Drive D ไป Backup แทนที่เราจะต้องมาจาว่าข้อมูลอยู่ที่ตาแน่งไหน เวลานาเครื่องไปซ่อมเราก็
สามารถบอกเขาได้ว่า ข้อมูลของเราอยู่ที่ Drive D อย่างเดียว
การสารองข้อมูลไว้ด้านนอก
การสารองข้อมูลไว้ด้านนอก มีวิธีต่างๆ ดังนี้
๑) USB Stick

ขนาดเล็กง่ายต่อการพกพาใช้งานง่าย USB เป็นอุปกรณ์ที่มีอยู่ทุกๆที่ และสามารถเก็บข้อมูลได้อย่าง


ปลอดภัย แต่ก็หายง่ายอีกด้วย และมีข้อจากัดการใช้งาน ข้อดีคือ พกพาง่าย ราคาไม่แพง ใช้ได้กับอุปกรณ์ส่วน
ใหญ่ ข้อเสียคือ พกพาง่ายก็เท่ากับหายง่ายด้วย มีปัญหาหากต้องใช้ในระยะยาว
๒) External Hard Drive

External Hard Drive เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องแต่นาออกมาใช้งานด้านนอกและพกพาง่าย ด้วย


สาย USB ทาให้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้แทบทุกชนิด ข้อดีคือ ราคาไม่แพง เก็บข้อมูลได้เป็นจานวนมาก ข้อเสีย
คือ อาจมีปัญหาไฟล์หาย (เกิดจากไวรัสและมัลแวร์)
๓) Time Machine

สาหรับผู้ใช้ Mac เครื่อง Time Machine ของ Apple เป็นตัวเลือกใช้สารองข้อมูลอัตโนมัติของ


Apple ซึ่งเครื่องนี้เป็นแบบไร้สาย แต่คุณสามารถประยุกต์ใช้กับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเครื่องนี้สามารถสารองข้อมูลได้
แบบอัตโนมัติจนกว่าข้อมูลจะเต็มเครื่อง ข้อดีคือ อัตโนมัติ คือคุณแทบไม่ต้องแตะเจ้าเครื่องนี้เลย ความถี่ของ
การสารองข้อมูลมีมากข้อมูลของคุณจะไม่หายไปไหนเลย สารองข้อมูลได้ทั้งไดร์ฟ ข้อเสียคือ ราคาแพง ใช้
สาหรับเครื่อง Mac เท่านั้น
๔) Network Attached Storage (NAS)
๒๗

ระบบนี้เป็นที่นิยมสาหรับองค์กรมากด้วยการเชื่อมต่อเครือข่าย และสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
จานวนมากๆได้ในเวลาเดียวกัน ราคาพอประมาณหากไม่ได้เป็นแบบไร้สาย ข้อดีคือ การสารองอัตโนมัติ แบบ
ไร้สายสามารถใช้ได้บนโทรศัพท์ และแท็บแล็ต ข้อเสียคือ ราคาค่อนข้างสูง การติดตั้งมีความซับซ้อน
๕) Cloud Storage

เมื่อสารองบนเครื่องมันลาบากนัก ก็เลยเก็บไว้บน Cloud เลยละกัน และการเก็บข้อมูลบน Cloud มี


ทุกราคาตั้งแต่ฟรีจนถึงราคาแพง ข้อดีคือ ทางานอัตโนมัติ สาหรับแบบฟรีมีข้อจากัดมาก ข้อเสียคือ ต้องใช้
อินเตอร์เน็ต ต้องเอาบัญชีไปเสี่ยงกับแฮกเกอร์
๖) Printing

วิธีนี้ใช้สาหรับการเก็บงานเอกสารเป็นวิธีดั้งเดิมสุดๆ ราคาไม่แพงและสามารถทาได้โดยไม่ต้องใช้
ผู้เชี่ยวชาญ แต่ถ้าต้องใช้เป็นประจาอาจจะต้องลาบากกันหน่อย ข้อดีคือ ไม่กินเนื้อที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
แฮกเกอร์ไม่มีวันเข้าถึง ข้อเสียคือ ใช้ได้กับเอกสารเท่านั้น จัดการลาบาก ใช้กระดาษเยอะ
การสารองข้อมูลด้วย System Image
การสารองข้อมูลด้วย System Image มีขั้นตอนดังนี้
๑) เปิดหน้าต่าง Control panel ปรับมุมมองเป็นแบบ Category ตามด้วยการเลือกเมนู System
and Security

๒) ลาดับถัดไป คลิกเลือกเมนู File History


๒๘

๓) หลังจากนั้น เลือกเมนู System Image


Backup ที่ ตาแหน่งซ้ายล่างของหน้าต่างโปรแกรม

๔) ต่อมาโปรแกรมจะให้เลือกว่าต้องการเก็บสาเนาของระบบไว้ที่ใด ซึ่งมี ๓ ทางเลือกดังนี้


-On a hard disk ความหมายคือ ต้องการเก็บสาเนาของระบบไว้ที่ External hard disk หรือ
Flash drive (แนะนาทางเลือกนี้)
-On one or more DVDS ต้องการเก็บสาเนาของระบบไว้ที่ แผ่นดีวีดี ซึ่งหากแผ่นเดียวพื้นที่
จัดเก็บไม่เพียงพอ โปรแกรมจะแจ้งให้ท่านใส่แผ่นที่ ๒ โดยอัตโนมัติ
-สุดท้าย On a network location ต้องการเก็บสาเนาของระบบไว้ที่แชร์โฟลเดอร์ บนเครื่อง
คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
๕) หน้าต่างถัดมา โปรแกรมจะสอบถามเพิ่มเติมว่า นอกจากไดร์ฟ C ที่ติดตั้ง Windows กับ
Programs แล้ว หากมีไดร์ฟอื่นๆ เช่น D ,E ,F ก็สามารถเลือกเพิ่มเติมได้ในขั้นตอนนี้ แต่ขอให้ทราบว่ายิ่งเลือก
จานวนไดร์ฟมากเท่าใด ระยะเวลาในการทาสาเนาก็ยิ่งมากขึ้นตามจานวนไดร์ฟและจานวนข้อมูลที่เก็บอยู่ใน
ไดร์ฟ ในตัวอย่างนี้ขอเลือกเฉพาะไดร์ฟ C เสร็จแล้วคลิก Next

๖) หลังจากคลิก Next ในขั้นตอนที่ผ่านมา โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่ได้กาหนดไว้ก่อน


หน้านี้เช่น เก็บข้อมูลไว้ที่ใด , พื้นที่ ๆ ต้องใช้ในการทาสาเนาระบบเท่าใด และท่านเลือกทาสาเนาไดร์ฟใดบ้าง
ตามรูป หากตรวจสอบเสร็จแล้วและไม่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติม คลิก Start backup (ในระหว่างขั้นตอนการ
Backup ไม่ควรใช้งานเครื่องเพื่อลดระยะเวลาในการทาสาเนาระบบ อีกสาเหตุหนึ่งเพื่อป้องกันความเสียหาย
ของข้อมูล)
๒๙

๗) หลังจากกดปุ่ม Start backup แล้ว โปรแกรมจะแสดงความคืบหน้าตามรูป

๘) หลังจากโปรแกรมทาสาเนาระบบของ
ท่านเสร็จ จะ แสดงข้อความ “The backup
completed successfully” ตามรูป ให้ท่านคลิกปุ่ม Close

การสารองข้อมูลด้วย File History


สาหรับคนที่ใช้ Windows 8 วันหนึ่งคุณต้องการไฟล์ที่คุณลบไปแล้วในคอมพิวเตอร์ของเราไปในอดีต
แล้วเราจะทาอย่างไรล่ะจะเอาไฟล์นั้นกลับมาได้หรือไม่ Windows 8 มีคาตอบฟีเจอร์ใหม่ที่ชื่อว่า File History
เป็นคาตอบ
File History เป็นโปรแกรมสารองข้อมูลใน Windows 8 ที่ออกแบบมามีลักษณะการทางาน
เหมือนกับ Windows Backup และ Restore ที่มีใน Windows 7 แต่ไม่ทั้งหมด (Windows Backup และ
Restore ก็ยังมีอยู่ใน Windows 8 โดย File History จะสารองไฟล์ข้อมูลทุก ๆ ช่วงเวลาที่ผู้ใช้กาหนด (ค่า
เริ่มต้นอยู่ที่ ทุกๆ ๑ ชั่วโมง) โดยจะทาการก็อปปี๊และย้ายสาเนาไปเก็บในที่อื่น ดังนั้นทุกๆ ครั้งที่ไฟล์ของผู้ใช้มี
การเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติ File History ก็จะคัดลอกเก็บเอาไว้ในที่ๆ ผู้ใช้เลือกเช่น ในฮาร์ดดิสก์ตัวอื่น,
External ฮาร์ดดิสก์ หรือ USB Flash Drive เป็นต้น ถ้าคนที่เคยใช้ระบบปฏิบัติการ Mac OSX จากค่าย
Apple ก็จะรู้จักดีในคุณลักษณะนี้ก็คือแอพพลีเคชันที่ชื่อ Time Machine มีสิ่งหนึ่งที่สาคัญของ File History
นั้นได้แก่ข้อจากัดของการสารองข้อมูลคือ ข้อมูลที่ระบบสารองให้นั้นต้องเป็นไฟล์และโฟลเดอร์ที่อยู่
ใน Libraries, Desktop, Contacts และ Favorites เท่านั้น
๓๐

วิธีการใช้ File History การสารองข้อมูล


๑) กดคีย์ Windows + R แล้วพิมพ์ control.exe ลงในช่องหน้าต่าง Run แล้ว Enter เมื่อ Control
Panel เปิดออกมาให้คลิกเลือก View by: เป็น Large icons จากนั้นให้คลิกที่ File History

๒) ที่หน้าต่าง File History จะมีคาสั่งหลักๆ ที่ด้านซ้ายอยู่ ๔ คาสั่ง คาสั่งที่จะใช้งานในการสารอง


ข้อมูลจะนาเสนอในที่นี่ก็มีอยู่ ๓ คาสั่ง ได้แก่
- Select drive
- Exclude folders
- Advanced settings

Select drive คลิกที่นี่จะเป็นคาสั่งที่ให้เลือกจุดที่จะสารองข้อมูลซึ่งสามารถเลือกให้ไปเก็บที่อุปกรณ์


เก็บข้อมูลต่างๆ ได้จะเป็นในฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง, ฮาร์ดดิสก์ในระบบเครือข่าย, External Harddisk หรือ USB
Flash Drive โดยให้คลิกที่ Add network location

ตัวอย่างเลือกเก็บข้อมูลในระบบเครือข่าย
๓๑

Exclude folders คาสั่งนี้ให้เราเก็บข้อมูลไว้ตามโฟลเดอร์ต่างๆ ที่อยู่ในเครื่อง ลักษณะจะเป็นตาม


ภาพตัวอย่าง

เมื่อเลือกจุดหรืออุปกรณ์ที่จะสารองข้อมูลได้แล้วจะกลับมาหน้าต่างแรกของ File History พร้อมปุ่ม


คาสั่ง Turn on จะปรากฏเด่นออกมาให้กดเพื่อเปิดการทางานตามที่เราได้เลือกตามขั้นตอนที่ผ่านมา โดย
ระบบจะทางานตามค่าดีฟอลต์ของวินโดวส์คือสารองทุก ๑ ชั่วโมง

ในกรณีที่ต้องการให้ระบบทาการสารองข้อมูลหลักจากตั้งค่าเสร็จไม่ต้องรอเวลาตามค่าดีฟอลต์ของ
วินโดวส์ ก็ทาได้โดยคลิกที่ Run now (คาสั่งนี้จะปรากฏออกมาหลังคลิก Turn on)
๓๒

Advanced settings เป็นคาสั่งที่ระบบเปิดโอกาสให้เราตั้งค่าตามที่เราต้องการได้ โดยสามารถ


เลือกตั้งค่าดังนี้
-สามารถเลือกระยะเวลาที่จะให้ระบบทาการสารองข้อมูลไปเก็บไว้ทุกๆ ๑๐ นาที-๒๐ ชั่วโมง
-ปกติแล้วระบบจะมีการใช้พื้นที่ในเครื่องเราเก็บรายละเอียดของไฟล์ (ไม่ได้เก็บตัวไฟล์) ซึ่งถ้าไม่ได้ต่อ
อุปกรณ์สารองข้อมูลเอาไว้นานๆ ในกรณีใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงเก็บ ระบบก็จะมีการกันพื้นที่ที่ฮาร์ดดิสก์ในเครื่อง
เพื่อเก็บรายละเอียดเอาไว้
-ให้ระบบเก็บไฟล์เอาไว้นานแค่ไหนตั้งแต่ ๑ เดือนหรือตลอดไป
-กรณีที่เครื่องมีการเชื่อมต่อเครือข่ายอยู่สามารถเลือก Recommend this drive เพื่อให้เครื่องอื่น
สามารถใช้อุปกรณ์สารองข้อมูลของเราได้

การ Restore ไฟล์


กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไฟล์หายหรือลบไฟล์ทิ้งไปไม่ได้ตั้งใจ สามารถทาการ Restore ไฟล์ มีขั้นตอนใน
การกู้ไฟล์ต่างๆ ได้ง่ายดังนี้
๑) เปิด Windows Explorer ขึ้นมาแล้วเข้าไปที่โฟลเดอร์ที่ต้องการกู้ไฟล์ ที่ริบบอนเมนู คลิก
คาสั่ง History

๒) จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลที่สารองเอาไว้ โดยแสดงวันเวลา ณ ปัจจุบันพร้อมจานวนครั้งของการ


เปลี่ยนแปลงโดยรวมของโฟลเดอร์นั้นๆ ซึ่งสามารถดูการเปลี่ยนแปลงได้โดยคลิกที่ลูกศรซ้ายขวาด้านล่างของ
หน้าจ่าง เมื่อได้จุดที่ต้องการคืนกลับมาก็ให้คลิกที่ ปุ่มสีเขียว ระบบจะคืนค่า ณ จุดที่เราเลือกออกมา
๓๓

ทั้งนี้ยังสามารถเลือกเป็นไฟล์ย่อยในโฟลเดอร์ เช่น มีไฟล์หลายไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เรา


ต้องการไฟล์เดียว ก็ให้คลิกที่ไฟล์นั้นจะมีการแสดงการเปลี่ยนแปลงเฉพาะของไฟล์นั้นให้เลือกได้อีก

การถอดและประกอบคอมพิวเตอร์
๑) เครื่องมือสาหรับประกอบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
-ไขควง ชนิดต่างๆ แบบแบน/แบบแฉก
-ไฟฉายเล็ก ๆ สาหรับส่องอ่านค่าต่างๆบนบอร์ด
-คีมปากจิ้งจก
-บล็อกตัวเล็กๆ สาหรับ สกรูหกเหลี่ยม

Drive_screw Board_screw
๓๔

Case_screw Jumper
๒) ขั้นตอนของประกอบเครื่อง
ขั้นตอนการประกอบเครื่อง มีดังนี้
๒.๑) กาหนดค่าความเร็วของ CPU (Jumper & Dip-Switch)
DIP-Switch มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมที่ประกอบด้วยสวิทช์ขนาดเล็กที่วางเรียงกันอยู่ในแนว
เดียวกัน เราจะใช้เปิด-ปิด สวิทช์สาหรับกาหนดค่าต่างๆ

๒.๒) ติดตั้ง CPU

๒.๓) ติดตั้ง RAM และสายเคเบิ้ล

๒.๔) ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส

๒.๕) ติดตั้งไดร์ฟซีดีรอม
๓๕

๗) ต่อสายสัญญาณต่างๆ เข้ากับแผงหน้าเครื่องและไดร์ฟต่างๆ

๘) ติดตั้งการ์ดจอ, การ์ดเสียงและการ์ดอื่นๆ

๙) เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก
๓๖

You might also like