You are on page 1of 8

หน่ วยที่ 4 หน่ วยความจา

สาระสาคัญ
หน่ วยความจาในคอมพิ ว เตอร์ สามารถแบ่ งออกเป็ น 2 ประเภท คือ หน่ วยความจาหลัก (Main
Memory) และหน่วยความจาสารอง (Secondary Memory) หน่วยความจาหลักแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ
RAM และ ROM จะแตกต่างกันในลักษณะการทางาน RAM (Random Access Memory) ซึ่ งสามารถเขียน
โปรแกรมหรื อข้อมูลลงไปได้ และสามารถลบข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ได้เช่นกัน โดยต้องมีไฟฟ้าเลี้ยง
ตลอดเวลา ตั ว อย่ า งเช่ น DDR-RAM แคช และรี จิ ส เตอร์ เป็ นต้ น ROM (Read Only Memory) เป็ น
หน่ วยความจาถาวร ที่เก็บข้อ มูลสาคัญไว้โดยข้อ มูลเหล่านี้ จะมาจากผูผ้ ลิตหรื อจากโรงงานได้ทาการลง
ข้อมูลไว้แล้ว โดย ROM ไม่จาเป็ นต้องใช้ไฟฟ้ามาเลี้ยง ข้อมูลจะไม่หายเหมือน RAM ส่ วนมากข้อมูลใน
ROM จะเป็ นข้อมูลประเภท โปรแกรมควบคุม การจัดการพื้นฐานของระบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Bios) เป็ น
ต้น ซึ่ งเป็ นข้อมูลที่สาคัญ สาเหตุหนึ่ งที่ ROM ไม่สามารถที่จะลบข้อมูลได้ คือ การปกป้ องไม่ให้ขอ้ มูลที่
ส าคัญ เหล่ า นี้ เสี ย หายไป ส่ ว นหน่ ว ยความจ าส ารอง ตั้ง อยู่ ไ กลจากหน่ ว ยประมวลผลกลางมากกว่ า
หน่ วยความจาหลัก แต่มีความจาสู งกว่า และความเร็ วต่ ากว่า ตัวอย่างเช่ น หน่ วยความจาจานแม่ เ หล็ ก
(Harddisk) หน่วยความจาจานแสง (Optical Disk) และ เทป (Tape)

หัวข้อการเรียนรู้
1. ความหมายของหน่วยความจา
2. ลาดับชั้นของหน่วยความจา
3. ความจุของหน่วยความจา
4. ประเภทของหน่วยความจา

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. อธิบายความหมายของหน่วยความจาได้
2. อธิบายลาดับชั้นของหน่วยความจาได้
3. เปรี ยบเทียบความจุของหน่วยความจาได้
4. จาแนกประเภทของหน่วยความจาได้
5. บอกความแตกต่างของหน่วยความจาแต่ละประเภทได้
ความหมายของหน่ วยความจา
หน่วยความจา (Memory) คือ อุปกรณ์ที่สามารถบันทึกข้อมูล หรื อโปรแกรมลงไปได้ และสามารถ
อ่ า นข้อ มู ล หรื อ โปรแกรมออกมาได้ เมื่ อ ต้อ งการน าไปใช้ง าน เพื่ อ การประมวลผลของคอมพิ ว เตอร์
หน่วยความจาแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ หน่วยความจาหลัก (Main Memory) และหน่วยความจาสารอง
(Secondary Memory) โดยหน่วยความจาหลักสามารถแบ่งได้เป็ นสองประเภท คือ หน่วยความจาถาวร และ
หน่วยความจาชั่วคราว ตัวอย่างของหน่วยความจาถาวร เช่น DDR-RAM (แรมชนิ ดที่นิยมใช้ในปั จ จุ บัน)
และแคชของหน่วยประมวลผลซึ่งทางานได้เร็วมาก
ลาดับชั้นของหน่ วยความจา
ลาดับชั้นของหน่วยความจา แสดงดังภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่าหน่วยความจาของเครื่ องคอมพิวเตอร์มี
การจัดโครงสร้ า งเป็ นแบบลาดับ ชั้น ซึ่ งชั้นสู งสุ ด และอยู่ใกล้กับหน่ ว ยประมวลผลกลางมากที่ สุด คือ
รี จิสเตอร์ (Register) ที่อยู่ภายในหน่วยประมวลผลกลาง ถัดมาจะเป็ นหน่วยความจาแคช (Cache) หนึ่ งหรื อ
สองระดับ ซึ่ ง ถ้า มี ห ลายระดับ มัก จะเรี ย กว่ าหน่ ว ยความจ าแคช ระดับ L1, L2 หรื อ L3 จากนั้น จึ ง เป็ น
หน่วยความจาหลักซึ่ งมักจะสร้างมาจาก DRAM (Dynamic Random Access Memory) ซึ่ งหน่วยความจ าที่
กล่าวมาทั้งหมดนี้จดั ว่าเป็ นส่วนที่อยูภ่ ายในเครื่ องคอมพิวเตอร์ และเป็ นแบบโวลาไทล์ (Volatile) คือ ข้อมูล
จะหายไปเมื่อ ไม่มีไ ฟเลี้ยง และโครงสร้ างล าดับ ชั้น ยัง ขยายต่อ ออกไปที่หน่ ว ยความจ าภายนอกเครื่ อ ง
คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะหมายถึงอุปกรณ์ไอโอที่มีความเร็ วสูง เช่น ฮาร์ดดิสก์ นอกเหนือจากนี้ได้แก่ อุปกรณ์
ออปติ ก (Optical Disk) และเทปแม่ เ หล็ ก (Magnetic Tape) เป็ นต้ น ต าแหน่ ง การอ้ า งอิ ง ข้ อ มู ล ใน
หน่ วยความจาหลักโดยโปรเซสเซอร์ น้ นั มักจะเป็ นตาแหน่งเดิ ม ดังนั้นหน่ วยความจาแคชมักจะคัดลอก
ข้อมูลในหน่วยความจาหลักที่เคยถูกอ้างอิงไปแล้วเอาไว้ ซึ่ งถ้าการทางานของหน่วยความจาแคชได้รับการ
ออกแบบมาเป็ นอย่ า งดี แ ล้ว ส่ ว นใหญ่ โ ปรเซสเซอร์ ก็จ ะเรี ย กใช้ข้อ มู ลที่อ ยู่ใ นหน่ ว ยความจ าแคชเป็ น
ส่วนมาก

รู ปที่ 1 ลาดับชั้นหน่วยความจา
หน่วยความจาของคอมพิวเตอร์ จะใช้ในการเก็บคาสั่งและข้อมูลขณะที่มีการประมวลผล ภายใน
ระบบคอมพิ ว เตอร์ จ ะมี ห น่ ว ยความจ าอยู่ 2 ระดั บ คื อ ภายใน (Internal) และภายนอก (External)
หน่วยความจาภายในไม่ได้หมายถึงหน่วยความจาหลัก (Main memory) เท่านั้น แต่ยงั หมายถึงหน่วยความจา
ที่อยู่ภายในหน่วยประมวลผลกลาง (Local memory) ด้วย นอกจากนี้ ภายในส่ วนควบคุม (CU) ซึ่ งเป็ นส่ วน
หนึ่งของหน่วยประมวลผลกลางนั้นก็ตอ้ งการที่จะมีหน่วยความจาเป็ นตัวของตัวเองด้วย ส่วนหน่วยความจา
ภายนอกนั้นหมายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น ๆ ที่มกั เรี ยกว่าเป็ น peripheral storage devices เช่น ดิสก์ เทป ซึ่ ง
ติดต่อกับหน่วยประมวลผลกลางด้วย I/O Controller
ความจุของหน่ วยความจา
หน่วยความจาจะเก็บข้อมูลในรู ปแบบของตัวอักขระ (Character) ที่แทนด้วยเลขฐานสองจานวน 8
ตัว หรื อ ขนาด 1 ไบต์ นัน่ เอง โดยหน่วยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในหน่วยความจาที่เล็กที่สุดคือ บิต โดย 1 บิต
หมายถึง เลขฐาน 2 จานวน 1 ตัว โดยสามารถแปลงความจุในหน่วยต่าง ๆ แสดงตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 การเปรี ยบเทียบหน่วยที่ใช้ในการวัดความจุของหน่วยความจา
จานวน เทียบเท่ากับ
8 บิต 1 ไบต์
1024 ไบต์ 1 กิโลไบต์
1024 กิโลไบต์ 1 เมกะไบต์
1024 เมกะไบต์ 1 กิกะไบต์
1024 กิกะไบต์ 1 เทระไบต์

ประเภทของหน่ วยความจา
หน่วยความจา (Memory Unit) ทาหน้าที่เก็บโปรแกรมหรื อข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อ
เตรี ยมส่ งออกหน่ ว ยประมวลผลกลางทาการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ไ ด้จากการประมวลผล ของ
คอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรี ยกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็ น 2 ประเภท
ดังนี้
1) หน่ วยความจาหลัก (Main Memory)
เป็ นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจาข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อ ยู่ระหว่างการประมวลผลของ
คอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรี ยกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็ น 2 ประเภท
ดังนี้
1.1) ROM ย่อมาจาก Read-Only Memory คือหน่วยความจาถาวร ที่เราสามารถเขียนหรื อลบ
โปรแกรมต่ า ง ๆ ได้ แต่ มี ROM บางชนิ ด ที่ ไ ม่ ส ามารถลบข้อ มู ล ในรอมได้เ หมื อ นกัน ซึ่ ง ROM เป็ น
หน่ ว ยความจ าที่ ไ ม่ต้อ งการไฟเลี้ย ง แม้มี ไ ม่ไ ฟเลี้ย งข้อ มูล ที่ อ ยู่ใ นรอมจะไม่ห าย หรื อ ถู ก ลบออกจาก
หน่วยความจาถาวร
รู ปที่ 2 ROM (Read-Only Memory)
1.1.1) ประเภทของ ROM สามารถแบ่งออกเป็ น 4 ประเภท คือ
1.1.1.1) Mark-Programmable Rom (MROM) คือ หน่วยความจาถาวรที่เขียน
ข้อมูลลงไปแล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้อกี เลย
1.1.1.2) Programmable ROM (PROM) คือ หน่วยความจาที่ไม่สามารถแก้ไข
ข้อมูลที่บนั ทึกไว้ได้ โดยส่วนมากแล้วจะเป็ นโปรแกรมที่ถูกบันทึกมาจากโรงงานหรื อมาจากผูผ้ ลิตโดยตรง
นัน่ เอง
1.1.1.3) Erasable Programmable ROM (EPROM) เป็ น หน่ วยค วา ม จ า ที่
สามารถลบข้อมูลหรื อโปรแกรมใหม่ได้ โดยการลบข้อ มูลเดิ ม ที่อ ยู่ใน EPROM ออกก่อ น แล้วค่อ ยใส่
โปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ ทาได้ดว้ ย การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่านทาง
กระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแส ครู่ หนึ่ ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อ มูลที่อ ยู่ภายในก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่ ง
ช่วงเวลาที่ฉายแสงนี้สามารถดูได้จากข้อมูลที่กาหนด (Data sheet) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม
ที่จะใช้เมื่องานของระบบ มีโอกาสที่จะปรับปรุ งแก้ไขข้อมูลใหม่
1.1.1.4) Electrically Alterable ROM (EAROM) หรื อ อีกชื่อหนึ่งว่า Electrical
Erasable EPROM (EEPROM) เป็ นหน่วยความจาอ่าน และลบข้อมูลโปรแกรมได้ดว้ ยการใช้ไฟฟ้าในการ
ลบ ซึ่งแตกต่างจากแบบ EPROM ที่ตอ้ งใช้การฉายแสงอัลตราไวโอเลตในการลบข้อมูล
1.1.2) ประโยชน์ของ ROM
ROM มีประโยชน์ในการเก็บข้อมูลที่สาคัญอย่างโปรแกรมควบคุม การจัดการ
พื้นฐานของระบบไมโครคอมพิวเตอร์ (Bios) ด้วยคุณสมบัติของ ROM ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียวทาให้
ช่วยป้ องกันการถูกเล่นงานจากไวรัสได้ ROM ถือได้ว่าเป็ นหน่วยความจาถาวรที่สาคัญ ซึ่ งเราจะพบได้ใน
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทวั่ ไป ลักษณะของรอมที่พบเจอจะเป็ นชิป (Chip) ต่าง ๆ ที่อยูบ่ นแผงวงจร
1.2) RAM ย่อมาก Random Access Memory คือหน่วยความจาหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็ น
หน่วยความจาแบบชั่วคราว ซึ่ งหมายถึงจะสามารถทางานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการจัด
กระแสไฟฟ้า หรื อปิ ดเครื่ องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM จะหายไป) RAM เป็ นองค์ประกอบที่มีความสาคัญ
อย่างยิ่งยวดต่อประสิ ทธิภาพการทางานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทางานของระบบคอมพิวเตอร์
1.2.1) หน้าที่ของ RAM
RAM ทาหน้าที่รับข้อมูลหรื อชุดคาสั่งจากโปรแกรมสาเร็จรู ปต่าง ๆ ที่กาลังเปิ ด
ใช้งานอยู่ในคอมพิวเตอร์ แล้วส่ งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่ งเป็ นหัวใจหรื อสมองของคอมพิวเตอร์
นั้น ๆ ให้ประมวลผล คานวณ และวิเคราะห์ขอ้ มูลตามต้องการ เมื่อหน่วยประมวลผลกลางคานวณเสร็ จแล้ว
จะส่งผลการคานวณหรื อวิเคราะห์น้ นั ๆ กลับมายัง RAM เพื่อส่งต่อไปยังโปรแกรมเจ้าของชุดคาสั่ง ก่อนจะ
แสดงผลของการคานวณออกมาทาง Out put devices ต่าง ๆ เช่น ทางหน้าจอมอนิเตอร์ หรื อ เครื่ องพิมพ์ เป็ น
ต้น

รู ปที่ 3 RAM ประเภทต่าง ๆ

การทางานของ RAM เป็ นการทางานหรื อการเขียน/บันทึกข้อมูลแบบสุ่ ม ซึ่ ง


หมายถึง หน่วยประมวลผลกลาง สามารถเข้าถึงทุกส่วนของ RAM ได้ สามารถบันทึกข้อมูลลงตรงจุดไหนก็
ได้วตั ถุประสงค์ก็เ พื่อ เพิ่ม ความเร็ ว ในการบัน ทึก และอ่านข้อ มูล นั่นเอง ตรงนี้ เองที่เ ป็ นที่ม าของค าว่ า
Random Access
1.2.2) การแบ่งพื้นที่ของ RAM สามารถแบ่งออกเป็ น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1.2.2.1) Input Storage Area เนื้ อ ที่ RAM ส่ ว นนี้ จะเป็ นส่ ว นที่ รั บ ข้อ มู ลจาก
Input devices เช่ น คี ย์บ อร์ ด เมาส์ เครื่ อ งอ่ า นบาร์ โ ค้ด และอื่ น ๆ โดยจะเก็ บ ไว้ เ พื่ อ ส่ ง ให้ CPU ท าการ
ประมวลผล คานวณหรื อวิเคราะห์ขอ้ มูลเหล่านั้นต่อไป
1.2.2.2) Working Storage Area เนื้ อ ที่ RAM ส่ วนนี้ เป็ นพื้นที่สาหรับจัด เก็ บ
ข้อมูลที่อยูใ่ นระหว่างการประมวลผลของ CPU
1.2.2.3) Output Storage Area เป็ นส่ วนที่ใช้เก็บชุดคาสัง่ หรื อโปรแกรมที่ผูใ้ ช้
ต้องการจะส่ งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ ปฏิบตั ิตามคาสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทาหน้าที่ดึงคาสั่งจาก
ส่ วนนี้ ทีละคาสั่งเพื่อทาการแปลความหมาย ว่าคาสั่งนั้นสั่งให้ทาอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุม
ฮาร์ ดแวร์ ที่ตอ้ งการทางานดังกล่าวให้ทางานตามคาสั่งนั้น ๆ หน่วยความจาจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง
(CAS : Colum Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS : Row Address Strobe) เป็ นโครงสร้ างแบบเมท
ริ กซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่ งเป็ นส่ วนหนึ่ งของวงจรในชิ ปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจร
เหล่ า นี้ จะส่ ง สั ญ ญาณกาหนดแถวแนวตั้ง และสั ญ ญาณแถวแนวนอนไปยัง หน่ ว ยความจ าเพื่ อ ก าหนด
ตาแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจาที่จะใช้งาน
เมื่อพิจารณาจากหน้าที่ของ RAM ในระบบการทางานของคอมพิวเตอร์ จะเห็น
ว่า RAM เป็ นองค์ประกอบที่มีความสาคัญยิง่ และเป็ นที่ทราบกันอยูแ่ ล้วว่า ยิง่ คอมพิวเตอร์เครื่ องใดมี RAM
มาก จะมีประสิ ทธิ ภาพการทางานสู งขึ้นด้วย แต่การจะเพิ่ม RAM ให้กับระบบคอมพิวเตอร์ น้ ันเราต้อ ง
คานึงถึงหลายปัจจัยเช่น งบประมาณ ความต้องการแรมของโปรแกรมที่เราใช้งาน และจานวนช่อง (Slot) ใน
แผงวงจรหลักที่สามารถรองรับ RAM ได้เพิ่มอีกหรื อไม่ เป็ นต้น
1.2.3) ประเภทของ RAM สามารถแบ่งได้เป็ น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.2.3.1) ไ ด น า มิ ค แ ร ม (Dynamic RAM) ห รื อ เ รี ย ก ว่ า DRAM เ ป็ น
หน่วยความจาที่นิยมใช้เป็ นหน่วยความจาหลักในระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีความจุมาก และราคาถูก แต่
หน่วยความจาประเภทนี้ ต้องได้รับการเติมประจุ หรื อรี เฟรช (Refresh) เพื่อป้ องกันไม่ให้ขอ้ มูลที่เ ก็บอยู่
หายไป ดังนั้นเมื่อไม่มีการเติมประจุ หรื อไม่มีไฟเลี้ยง ข้อมูลใน DRAM จะหายไป โดย DRAM ได้รับการ
พัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ดังนี้
1) Page Mode DRAM
2) FPM DRAM (Fast Page Mode DRAM)
3) EDO DRAM (Extended Data Output DRAM)
4) SDRAM (Synchronous DRAM)
5) DDR SDRAM (Doble Data Rate SDRAM)
6) RDRAM (Rambus DRAM)
7) SGRAM (Synchronous Graphic RAM)
1.2.3.2) สแตติกแรม (Static RAM) หรื อเรี ยกว่า SRAM เป็ นหน่วยความจาที่
นิ ยมใช้เป็ นหน่วยความจาแคช (Cache Memory) และรี จิสเตอร์ SRAM เป็ นหน่วยความจาที่มีความเร็ วสู ง
มาก และไม่ตอ้ งมีการเติมประจุเหมือนกับ DRAM
1) รี จิสเตอร์ (Register) คือ หน่ วยเก็บข้อ มูลขนาดเล็กมาก ซึ่ งเป็ น
ส่ วนหนึ่ งของหน่วยประมวลผลกลาง และใช้เป็ นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวสาหรับการส่ งผ่านผลลัพธ์ของคาสั่ง
(Instruction) หนึ่ ง ไปยัง ค าสั่ ง ถัด ไป หรื อโปรแกรมอี ก โปรแกรมหนึ่ ง ซึ่ งอยู่ ภ ายใต้ก ารควบคุ ม ของ
ระบบปฏิ บัติ ก าร รี จิ ส เตอร์ จ าเป็ นต้อ งมี ข นาดใหญ่ เ พี ย งพอที่ จ ะเก็ บ ค าสั่ ง ได้ เช่ น ค าสั่ ง ขนาด 32 บิ ต
รี จิสเตอร์ตอ้ งมีขนาด 32 บิตด้วย
2) แคช (Cache) คือหน่วยความจาที่มีความเร็ วในการเข้าถึงและการ
ถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่ งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อย ๆ เพื่อเวลาที่หน่วยประมวลผล
กลาง ต้องการใช้ขอ้ มูลนั้น ๆ จะได้คน้ หาได้เร็ ว โดยที่ไม่จาเป็ นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมด ซึ่ งทา
ให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้รวดเร็ วยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าคอมพิวเตอร์เครื่ องใดที่มีแคชความเร็ วสู ง
ก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งขนาดใหญ่ก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่การเข้าถึงจะช้ากว่าแคชที่มี
ขนาดเล็ก
1.2.4) Module หรื อ รู ปแบบของ RAM ที่นิยมใช้มีดงั นี้
1.2.4.1) Single in-line Pin Package (SIPP)
1.2.4.2) Dual in-line Package (DIP)
1.2.4.3) Single in-line memory module (SIMM)
1.2.4.4) Dual in-line memory module (DIMM)
1.2.4.5) Small outline DIMM (SO-DIMM) เป็ น DIMM ที่มีขนาดเล็ก

รู ปที่ 4 Module ของ RAM แบบต่าง ๆ


2) หน่ วยความจาสารอง (Secondary Memory)
หน่ ว ยความจ าส ารอง หรื อ หน่ ว ยเก็ บ ข้อ มู ล ส ารอง (Secondary Storage) มี ค วามจุ ม ากกว่า
หน่วยความจาหลักหลายเท่า แต่ชา้ กว่า และราคาถูกกว่า หน่วยความจาสารองมีหลายชนิด ดังนี้
2.1) หน่วยความจาจานแม่เหล็ก
เป็ นอุปกรณ์สารองข้อมูลที่เป็ นลักษณะของจานแม่เหล็กสาหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน
Disk ได้รับความนิ ยมและใช้งานมานานพอสมควร ซึ่ งเป็ นส่ วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลัก ๆ ใน
ปัจจุบนั ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์

รู ปที่ 5 ฮารด์ดิสก์
2.2) หน่วยความจาจานแสง
เป็ นสื่ อเก็บข้อมูลสารองที่ได้รับความนิ ยมมากในปั จจุบนั โดยใช้หลักการทางานของ
แสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็ นรู ปก้นหอย และเริ่ มเก็บบันทึก
ข้อมูลจากส่วนด้านใดออกมาด้านนอก ที่เป็ นที่นิยมและรู้จกั กันดี เช่น CD และ DVD

รู ปที่ 6 CD หรื อ DVD


2.3) เทป
เป็ นสื่ อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็ นจานวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรี ยงลาดับ
ต่อเนื่ องกันไป (Sequential Access) มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC
เป็ นต้น ปัจจุบนั ไม่นิยมนามาใช้เป็ นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

รู ปที่ 7 Tape
2.4) หน่วยความจาแบบอื่น ๆ
เป็ นสื่ อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทวั่ ไปในปัจจุบนั มีชื่อเรี ยกแตกต่างกันไป เช่น Flash
Drive, Thumb Drive, Handy Drive เป็ นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบ
พกพา

รู ปที่ 8 Flash Drive

You might also like