You are on page 1of 3

4 รู ปแบบของการ Backup ที่ผดู้ ูแลระบบควรทราบ

September 17, 2018 Backup and DR, IT Knowledge, IT Trends and


Updates, Server and Storage
การ Backup นั้นมีหลายรู ปแบบหากใช้อย่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้เกิดผลกระทบทั้งเวลาที่ตอ้ งใช้เพื่อการ Restore
ข้อมูลและเสี ยพื้นที่เก็บไฟล์ Backup อย่างไม่จ ำเป็ น รวมถึง Bandwidth ที่เราต้องเสี ยให้ในระหว่างการ
Backup ด้วย ดังนั้นเราจึงขอหยิบยกบทความของ Networkworld ที่ได้นำเสนอแนวคิดของการทำ Backup
แบบต่างๆ เพื่อให้เข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุ ด

Archive Bit เป็ นเรื่ องที่ควรรู้ก่อนการทำ Backup คือในระบบของ Windows ใช้ Archive Bit เพื่อ
ติดตามว่าไฟล์น้ นั มีการเปลี่ยนแปลงหรื อไม่หลังจากการ Backup ครั้งล่าสุ ด ซึ่งจะถูกเคลียร์เพื่อจะได้รู้วา่ ถูก
Backup ล่าสุ ดแล้วและจะไม่ถูก Backup ซ้ำจนกระทัง่ การทำ Full Backup ครั้งต่อไป (มีคนเห็นต่างว่าทำไม
ไม่ชื่อ Backup Bit จะตรงกว่าเพราะไม่ใช่การ Archive ซะหน่อย) แต่ปัญหาคือถ้าเรามีแอปพลิเคชัน Backup
มากกว่า 1 ตัวและทำงานเวลาเดียวกันอาจจะมีการแย่งกระทำ Archive Bit กันเองได้ อย่างไรก็ตามสมัยใหม่เราได้มี
การใช้งาน Virtualization ซึ่งกระทำผ่าน API ในระดับ Block แล้ว ดังนั้นค่า Archive ในปัจจุบนั จึงมี
ความสำคัญน้อยลงเพราะเป็ นการมองเฉพาะการ Backup ในระดับโฮสต์เท่านั้น (เครื่ องจริ งๆ ไม่ได้ท ำผ่าน
Hypervisor)

4 วิธีของการ Backup มีดงั นี้


1.Full Backup
เป็ นการ Backup ทุกไฟล์ เช่น Full Backup ของ Windows ก็ท ำสำเนาเอาทุกไฟล์ในทุกไดร์ฟอย่าง C:\ ,
D:\ และอื่นๆ มาทั้งหมด ถ้าใน Unix หรื อ Linux ก็ไล่ต้ งั แต่ /home, /opt และอื่นๆ ข้อแนะนำคือควรยกเว้น
การ Backup เฉพาะไฟล์ที่รู้วา่ ไม่จ ำเป็ นจริ งๆ เท่านั้น เช่น ไฟล์ Config อย่าง C:\Windows\TEMP หรื อ
/tmp ใน Linux ทั้งหมดนี้ กเ็ พื่อหลีกเลี่ยงในกรณี ที่คนอื่นๆ อาจนำไฟล์ที่เราไม่รู้ไปวางไว้ที่อื่นและอาจไม่ได้ถูก
Backup ไปด้วย

2.Incremental Backup
เป็ นการ Backup เอาเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการ Backup ครั้งล่าสุ ด ดูตวั อย่างตามรู ปด้านล่างจะเห็น
ได้วา่ ไฟล์ Backup จะมีขนาดเล็กนี่คือข้อดีของการไม่ไปรบกวนประสิ ทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์มากนักเพราะจะให้
Backup ไฟล์ 10 GB ทั้งๆที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลแค่ 1 MB ก็คงเกินไป แต่หากต้องการได้ขอ้ มูลของวันศุกร์ ก็
ต้องเอาข้อมูลจากชุด Backup จากวันจันทร์ ถึง พฤหัส มาประกอบกันถ้าเสี ยไปอันนึงก็จะมีปัญหา นอกจากนี้ ปัจจุบนั
ซอฟต์แวร์ Backup สมัยใหม่กม็ ีการใช้งาน Backup แบบ Block-based incremental คือการจัดการใน
ระดับ Block นัน่ เอง โดยการใช้ API จาก VMware หรื อ Hyper-V

credit : easeus
3.Differential Backup
การ Backup เฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Full Backup ดูตามรู ปด้านล่าง ซึ่งวิธีการเป็ นที่นิยมกับการใช้
เทป Backup โดยการนำข้อมูลกลับก็ใช้ Full Backup และ ไฟล์ Backup เพิ่มไปยังจุดหมายที่ตอ้ งการซึ่ง
ประหยัดเวลากว่าการทำ Full Backup ได้มาก
credit : easeus
4.Forever-incremental
การมาถึงของดิสก์และ Deduplication ได้ท ำให้การ Backup แบบ Full และ Differential นิยมน้อยลง
เพราะไม่ตอ้ งนัง่ คิดเรื่ องลดจำนวนเทปอีกต่อไป รวมถึงเวลาการ Restore ข้อมูลจาก incremental จำนวนมากกับ
Full Backup แทบไม่ต่างกันเพราะว่าอันที่จริ งแล้วในระบบ Backup เพียงทำการเก็บบันทึกไว้วา่ ไฟล์หรื อ
Block ทั้งหมดนั้นถูกเก็บอยูท่ ี่ไหนใน Storage และก็แค่ยา้ ยจาก Storage กลับไปยังเครื่ อง Client เท่านั้นเอง
ทั้งนี้ข้นั ตอนก็ไม่ได้สมั พันธ์กนั ด้วยในโลกของการ Backup ยุคใหม่ๆ และวิธีการ Backup แบบ Forever
incremental นั้นก็จะช่วยเรื่ องของการได้ขอ้ มูลที่อปั เดตล่าสุ ดอีกด้วย

You might also like