You are on page 1of 11

1

การออกแบบระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การออกแบบระบบ
เมื่อผูอ้ อกแบบระบบเครือข่ายมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนั้นก็สามารถลงมือทํา การออกแบบระบบ
เครือข่ายได้ โดยในการออกแบบเครือข่ายนั้นอาจทําโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดและออกแบบได้
เช่น Microsoft Visio

รูปแสดงตัวอย่างการออกแบบระบบเครือข่าย

การติดตั้งและพัฒนาระบบ
ในขั้นตอนนีผ้ อู้ อกแบบระบบเครือข่ายอาจมอบหมายให้ช่างผู้ชํานาญการ ทําการ ติดตั้งได้หรือมอบหมาย
ให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเขามาดําเนินการ โดยจะต้องเขาควบคุม ตรวจสอบให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความ
เรียบร้อยและใช้งานได้อย่างดีตามที่ได้ออกแบบไว้
การวิเคราะห์ความต้องการของระบบเครือข่าย
1. การศึกษาระบบเครือข่ายเดิม คือ ในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้น ผูอ้ อกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงข้อมูล
ต่างๆ ขององค์กร อาทิเช่น ลักษณะโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ลักษณะการทํางาน เป็นต้น
2. การวิเคราะห์ความต้องการจากผู้ใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานหรือ ความต้องการส่วนบุคคล
3. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร เพื่อเก็บข้อมูลว่าองค์กรมีความต้องการใช้งานระบบ
เครือข่ายอย่างไร
2

4. การวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยี เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานในเทคโนโลยีอย่างไร มี
ความทันสมัยมากน้อยเพียงใด

ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ
หลังจากเก็บข้อมูลความต้องการของระบบเครือข่ายได้แล้วนั้น ก็จําเป็นต้อง ศึกษาถึงความเป็นไปได้
สําหรับการออกแบบระบบเครือข่ายตามความต้องการที่ได้รับ เนือ่ งด้วยความต้องการที่ได้เก็บรวบรวมมาอาจทําได้
ไม่ครบหรือทําได้ไม่ครบถ้วนสมบรูณ์

เลือกประเภทของเครือข่าย

LAN (Local Area Network ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น)


3

เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณทีไ่ ม่กว้างนักอาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารทีอ่ ยู่ใกล้กันเช่น


ภายในมหาวิทยาลัยอาคารสํานักงานคลังสินค้าหรือโรงงานเป็นต้นการส่งข้อมูลสามารถทําได้ด้วยความเร็วสูง และ
มีข้อผิดพลาดน้อย
MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง

เป็นระบบเครือข่ายที่มขี นาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น


การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและ
ต้องการเชื่อมสาขา เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร

WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง


4

เป็น ระบบเครือข่ายทีต่ ดิ ตั้งใช้งานอยูใ่ นบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ตดิ ตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่


เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ทอี่ ยู่ห่างไกลกันเข้าด้วย กัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสือ่ สารกันใน
ระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้

แบ่งตามลักษณะ การไหลของข้อมูล มีดังนี้


โครงข่ายแบบรวมอํานาจ (Centralized Networks)

โครงข่ายแบบรวมอํานาจนีป้ ระกอบด้วยรูปแบบย่อย 3 รูปแบบด้วยกัน คือ


- โครงข่ายแบบล้อ (Wheel Network) เป็นรูปแบบที่รวมอํานาจมากที่สุด ข่าวสารทุกอย่างจะต้อง
ไหลผ่านบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของล้อ
- โครงข่ายแบบลูกโซ่ (Chain Network) เป็นรูปแบบที่สมาชิกบางคนสามารถติดต่อสือ่ สารกับ
สมาชิกคนอื่น ๆได้มากกว่า 1 คน อย่างไรก็ตามบุคคลที่เป็นศูนย์กลางของลูกโซ่ยังคงเป็นผู้ควบคุมข่าวสารทั้งหมด
- โครงข่ายแบบ Y (Y Network) เป็นรูปแบบผสมระหว่างแบบล้อกับแบบลูกโซ่
โครงข่ายแบบกระจายอํานาจ (Decentralized Network)

- โครงข่ายแบบวงกลม (Circle Network) เป็นรูปแบบทีอ่ นุญาตให้สมาชิกแต่ละคนสามารถ


ติดต่อสือ่ สารกับบุคคลอื่นที่ อยูต่ ิดกันได้ทั้ง 2 ข้าง
- โครงข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นรูปแบบที่มีการกระจายอํานาจมากที่สดุ รูปแบบนี้จะเปิด
โอกาสให้สมาชิกแต่ละคนทีจ่ ะติดต่อสือ่ สารกับสมาชิกคนใดก็ได้ โดยไม่จํากัดเสรีภาพ
5

แบ่งตามลักษณะหน้าที่การทํางานของคอมพิวเตอร์ มีดงั นี้

ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

งานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้


เช่นการใช้เครือ่ งพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย ในขณะเดียวกันเครื่องแต่ละสถานีงานก็จะมีขีด
ความสามารถในการทํางานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone)

ข้อดีและข้อด้อยของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer

Ò ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตัง้ ระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ดังนัน้ ระบบนี้จึง


เหมาะสมสําหรับสํานักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน

Ò ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรือ่ งการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ


บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ

ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
6

รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแบบ

Client/Server

เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มใี น
ปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครือ่ งลูกข่ายได้เป็นจํานวนมาก และสามารถเชือ่ มต่อกับ
เครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทํางานโดยมีเครือ่ งServer ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่าง
น้อย 1 เครื่อง

เลือกเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบเครือข่าย

เทคโนโลยีระบบเครือข่าย LAN
7

LAN (Local Area Network) คือเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงและทนทานต่อการเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการรับส่ง


ข้อมูล เครือข่าย LAN นั้นจะครอบคลุมพื้นที่ขนาดเล็ก โดยปกติจะเป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เครือ่ งพิมพ์ และ
อุปกรณ์อื่นๆทีอ่ ยู่ไม่ห่างกันมากนัก

อีเทอร์เน็ต (Ethernet)
อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่
เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)เป็นตัวเชือ่ ม สําหรับ
ระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครือ่ งเชือ่ มโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้
ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์
ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครือ่ งใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทําให้เกิดการชนกันขึน้ และเกิดการสูญหายของ
ข้อมูล จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)

วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ทฮี่ ับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อนื่ ๆ จุดเด่น


ของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะ
มีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมือ่ มีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจดุ อ่อนได้คอื ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา
อุปกรณ์ตอ่ พ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชือ่ มต่อกันได้อกี
ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชือ่ มสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูล
แบบ เดียวกัน และความเร็วในการส่งกําหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกําลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่ง
สัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที

โทเก็นริง (Token Ring)


8

โทเก็นริง เป็นเครือข่ายที่บริษทั ไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น รูปแบบการเชื่อมโยงจะเป็น วงแหวน โดยด้านหนึง่ เป็นตัวรับ


สัญญาณและอีกด้านหนึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณ การเชือ่ มต่อแบบนี้ทําให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถส่งข้อมูลถึงกัน
ได้ โดยผ่านเส้นทางวงแหวนนี้ การติดต่อสือ่ สารแบบนี้จะมีการจัดลําดับให้ผลัดกันส่งเพื่อว่าจะได้ไม่เกิดการสูญ
หายของข้อมูล

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)

การส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สาย นั้นมีอยู่ 2 เทคโนโลยี คือ แบบใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Radio


frequency) และแบบใช้สญ ั ญาณอินฟราเรด (Infrared) ซึ่งแบบใช้คลื่นความวิทยุยังแบ่งการส่งออก
เป็น 2 ประเภท คือ Narrowband และ Spread-Spectrum ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แบบคลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency) ใช้ลกั ษณะการแปลงข้อมูลไปเป็นคลื่นทําให้สามารถส่งไปได้


ระยะทางที่ไกล สามารถผ่านสิ่งกีดขวางได้ดี ร่วมทั้งเป็นการส่งแบบทุกทิศทาง

การรับส่งโดยใช้คลื่นวิทยุนั้นมี 2 ประเภท
9

1.แบบคลื่นความถี่แคบ (narrowband) จะรับส่งข้อมูลโดยแปลงเป็นบางช่วงสเปกตรัมของคลืน่


แม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า ISM ( Industrial / Scientific / Medical ) ที่มคี วามถี่แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 902-928
MHz, 2.14 - 2.484 MHz และ 5.725 - 5.850 MHz โดยการใช้งานต้องมีการขออนุญาตก่อนจาก FCC (Federal
Communication Committee)

2. คลื่นความถี่วิทยุแบบ Spread-Spectrum เป็นการวิธีการเปลี่ยนแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุม


พื้นที่ความถี่วิทยุ มากกว่าความต้องการเพือ่ ป้องกันคลื่นรบกวนและการดักฟัง ที่มคี วามถี่แบ่งเป็น 2 ช่วง
ได้แก่ 902 - 928 MHz และ 2.4 - 2.484 MHz ซึ่งไม่ตอ้ งได้รับอนุญาตจาก FCC

แบบสัญญาณอินฟราเรด (Infrared)

โดยอินฟราเรดเป็นส่วนหนึ่งของสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่เหนือคลื่นวิทยุ และต่ํากว่าแสงที่มองเห็น โดยแสง


อินฟราเรดสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงแม้ว่าการส่งจะถูกจํากัดให้เป็นแนว เส้นตรง และที่จะต่อเครือ่ งพีซีเข้ากับ
เครื่องพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพือ่ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยไร้สาย
รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย

รูปแสดงการส่งสัญญาณเครือข่ายไร้สาย
10

เลือกระบบปฏิบัติการที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบัน
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายในปัจจุบันมีอยู่หลายตัวให้เลือกใช้ ทั้งที่สามารถใช้งานได้ ฟรี และต้องเสีย
ค่าใช้จ่าย จําเป็นที่ผู้ออกแบบต้องพิจารณาเลือกให้มีความเหมาะสมมากที่สดุ กับ ระบบเครือข่ายทีอ่ อกแบบไว้

- Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษทั


ไมโครซอฟต์ จํากัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนําไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้น
ไมโครซอฟต์ตอ้ งการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชัน่ เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็น
ดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์
11

- Linux เป็นระบบปฏิบัติการสําหรับระบบเครือข่าย ทีอ่ ยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และ


ประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยงั เป็นนักศึกษาของ
มหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดย
ข้อดีของ Linux สามารถทํางานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทําให้
เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือ
สามารถทํางาน ได้บนเครือ่ งคอมพิวเตอร์สว่ นบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆไป

- NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทํางานได้


รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายทีม่ ีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนือ่ งจากไม่สามารถค้นหา
เส้นทางได้

- OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนําเสนอสําหรับ


การค้าขายในยุคดิจติ อลซึ่งไม่ค่อยประสบความสําเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชือ่ มต่ออินเตอร์เน็ต

You might also like