You are on page 1of 36

รายงานแผนการจัดการเรียนรู้

รหัสวิชา 20901-2106 วิชา งานบริการคอมพิวเตอร์และ


เทคโนโลยีสารสนเทศหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ระดับชั้น (ปวช.) พุทธศักราช 2565

ประเภทวิชา พาณิชยกรรม

จัดทำโดย

นาย ศุภกิตติ์ อิทธิฤทธิ์


สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทวิชาเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร

วิทยาลัยเทคนิคหนองคาย

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

ปี การศึกษา 2565

คำนำ

แผนการจัดการเรียนรู้ มุ่งเน้นฐานสมรรถนะและบูรณาการปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง วิชา งานบริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

สารสนเทศ รหัสวิชา 20901-2106 เล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็ นรายงาน


เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็ นสำคัญตามหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.)
พุทธศักราช 2565
การจัดทำได้มีการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน โดยแบ่งเนื้อหาจะ
มาจากความคิดแล้วความเข้าใจของตัวผู้จัดที่ทำการสืบและค้นควาข้อมูล
เกี่ยวกับ การทำธุรกิจและการเป็ นผู้ประกอบการ การจัดทำแผนธุรกิจและ
ความปลอดภัยในด้านการทำงานด้วยตัวของผู้จัดทำเอง
ผู้จัดทำหวังว่าแผนการจัดการเรียนรู้เล่มนี้คงจะเป็ นแนวทางและเป็ น
ประโยชน์ต่อครู-อาจารย์ และผู้เรียน หากมีข้อเสนอแนะประการใด ผู้จัดทำ
ยินดีน้อมรับไว้เพื่อปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป

สารบัญ
เรื่อง
หน้า

คำนำ
ก สารบัญ
ข หลักสูตรรายวิชา
1 เนื้อหาที่
เกี่ยวข้อง
2
-การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
2-8
-ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
9
1

20901-2106 งานบริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
สารสนเทศ 0-4-2
(Computer and Information Technology
Services)

จุดประสงค์รายวิชา เพื่อให้

1. เข้าใจหลักการบริการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

2. สามารถให้บริการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ

3. สามารถจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์

4. มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความเป็ นระเบียบเรียบร้อย ประณีต


รอบคอบ ปลอดภัย และมีคุณธรรม

สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการบริการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี
สารสนเทศ

2. ให้บริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำอธิบายรายวิชา

ปฏิบัติเกี่ยวกับการบริการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ การจัดการธุรกิจคอมพิวเตอร์ การรับ-ส่งงาน
การประมาณราคา และการทดสอบคุณภาพงานให้ได้มาตรฐาน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีและการสื่อสารในปั จจุบันมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นอย่าง
รวดเร็ว และมีบทบาท ต่อชีวิตประจำวันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ
มนุษย์เป็ นอย่างมาก เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน การสืบค้นข้อมูล
ผ่านอินเทอร์เน็ต มีการนำเอาอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทั้ง
ในด้านการศึกษาและการทำธุรกิจต่างๆ หรือรับ–ส่งข้อมูลระหว่างกัน ตลอด
จนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการติดต่อสื่อสารองค์การทั้งภาครัฐและเอกชน

1. ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (Computer) คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินมาจากคำ
ว่า Computare ซึ่ง หมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมาย ของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่อง
อิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับ แก้ปั ญหา
ต่างๆ ที่ง่ายและขับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" หรือ "เป็ นเครื่องมือ
อิเล็กทรอนิกส์ที่ สามารถรับข้อมูลหรือคำสั่ง เพื่อนำไปประมวลผล จัดเก็บ
ข้อมูล และแสดงผลตามชุดคำสั่งนั้นๆ"

1.1 ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งตามหน่วยประมวลผลกลางได้


ดังนี้
1.1.1 คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง ในระหว่างปี พ.ศ.2488 ถึง
พ.ศ.2501 เป็ นคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลอดสุญญากาศ (vacuum tube) ใช้บัตร
เจาะรูในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ ทำงาน ใช้ดรัมแม่
เหล็ก (Magnetic) เป็ นหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำหลักนี้จะเก็บ
ข้อมูลใน ขณะที่มี การประมวลผลเท่านั้น ความเร็วในการทำงานของเครื่อง
คอมพิวเตอร์ยุคนี้มีหน่วยเป็ นหนึ่งใน พันวินาที (millisecond) แต่เนื่องจาก
ใช้กำลังไฟฟ้ าสูงจึงมีปั ญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมี
ระบบระบายความร้อนที่ดีมาก ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์อื่นขึ้นใช้งานแทน
การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องในระยะแรกซึ่งเป็ นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อ
มาได้มีการคิดค้น ภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic language) ขึ้นมาช่วยงาน
โดยใช้ภาษาชนิดเขียนคำสั่งเป็ นภาษาอังกฤษ ก่อนแล้วจึงใช้ตัวแปลภาษา
แปลงเป็ นภาษาเครื่องอีกครั้งหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่
เช่น มาร์ควัน (MARK I) , อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

รูปที่ 1 มาร์ควัน (MARK I)

รูปที่ 2 อีนิแอค (ENIAC)


รูปที่ 3 ยูนิแวค (UNIVAC)

1.1.2 คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2502 ถึง


พ.ศ.2506 จะเป็ นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยทรานซิสเตอร์ที่พัฒนา
ขึ้นครั้งแรกมีขนาด 1 ใน 100 ของหลอด สุญญากาศเท่านั้น นอกจากมี
ขนาดเล็กแล้วยังมีคุณสมบัติที่ดีอีกหลายประการ คือ ไม่เปลือง กระแสไฟฟ้ า
ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องเมื่อเปิ ดเครื่อง ทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและ
ความเร็ว เพิ่มขึ้นจนกระทั่งสามารถบวกจำนวน 2 จำนวนได้ในเวลา
ประมาณหนึ่งในล้านวินาที (microsecond) โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็ นหน่วย
ความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึก แม่เหล็ก เช่น จาน
แม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาภาษาที่ใช้กับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ ใน ยุคนี้มีการใช้ภาษาแอสเซมบลี (Assembly language) ซึ่ง
เป็ นภาษาที่ใช้คำย่อเป็ นคำสั่งแทนรหัส ตัวเลข ทำให้การเขียนโปรแกรม
สะดวกขึ้น และได้มีการพัฒนาภาษาระดับสูง ซึ่งเป็ นภาษาที่เขียนเป็ น
ประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็ นต้น
ภาษระดับสูงนี้ได้มีการ พัฒนาและใช้นานจนถึงปั จจุบันอีกทั้งยังมีเทคโนโลยี
ใหม่ๆ ใช้กับกับคอมพิวเตอร์ยุคนี้ทำให้ค่าใช้จ่าย ในการใช้คอมพิวเตอร์ถูกลง
และทำให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการมากขึ้น
4

1.1.3 คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ.2507 ถึง พ.ศ. 2512


เป็ นคอมพิวเตอร์ที่ ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit: IC) โดยวงจรรวม
แต่ละตัวจะมีการบรรจุวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวน มากลงบนแผ่นซิลิกอน
เล็ก ๆ ไอซีจึงเข้ามาทำหน้าที่แทนทรานซิสเตอร์ เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่น 4
ประการคือ

1. มีความเชื่อถือได้ ไม่ว่าจะใช้งานกี่ครั้งกี่หนก็จะได้ผลออกมาเหมือน
เดิม
2. มีความกระชับ มีความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้น
3. ราคาถูก เนื่องจากมีการผลิตในปริมาณมาก ๆ ทำให้ต้นทุนถูกลง
4. ใช้พลังงานไฟฟ้ าน้อย ทำให้ประหยัด
บริษัทไอบีเอ็มได้ผลิตคอมพิวเตอร์รุ่น 360 ออกสู่ตลาดเป็ นบริษัทแรก
ใช้งานได้ทั้งทาง วิทยาศาสตร์และทางธุรกิจ ด้านซอฟต์แวร์สามารถสร้าง
เป็ นโปรแกรมย่อยๆ ในการกำหนดชุดคำสั่ง ต่างๆ มีระบบควบคุมที่มีความ
สามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลายๆอย่าง

รูปที่ 4 วงจรรวม (Integrated Circuit : IC)

1.1.4 คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปั จจุบันเป็ นยุค


ของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale
Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุ ทรานซิสเตอร์นับหมื่น
นับแสนตัว ทำหน้าที่เป็ นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู ( Central -
Processing Unit : CPU) ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
สามารถตั้งบนโต๊ะใน สำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋ าหิ้วไปในที่ต่างๆ ได้
ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่มีการติดต่อกับผู้ใช้
ในรูปของกราฟิ กที่เรียกว่า จียูไอ (Graphical User Interface :GUI) แทน
การติดต่อแบบรายคำสั่ง ที่เป็ นการ พิมพ์คำสั่งทีละค าสั่งเพื่อสั่งงาน
คอมพิวเตอร์เช่นในอดีต และเริ่มมีการใช้เมาส์ในการการสั่งงาน
คอมพิวเตอร์ มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมาก ทำให้เกิดความ
สะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

รูปที่ 5 ไมโครโปรเซสเซอร์(Microprocessor)

1.1.5 คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็ นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามน ามา


เพื่อช่วยในการ ตัดสินใจและแก้ปั ญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรู้
ต่างๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและ ดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้
เป็ นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็ นผลจากวิชาการด้าน ปั ญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence: AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็ น
สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนา
ทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง

2. ประเภทของคอมพิวเตอร์

2.1 ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็ นคอมพิวเตอร์ที่มี


ความสามารถสูงที่สุดใน กลุ่มมีขนาดใหญ่ ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถ
ประมวลผลข้อมูลในปริมาณมากรวมถึงการประมวลผล งานที่มีรูปแบบอัน
ซับซ้อน มีความรวดเร็วในการคำนวณได้มากกว่าหนึ่งล้านล้านต่อวินาที (1
Trillion calculations per second) ภายในซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถ
รองรับโปรเซสเซอร์ได้ มากกว่า 100 ตัว หน่วยวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์
นี้ คือ หน่วยกิกกะฟลอบ (Gigaflop)
ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็ นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณ
ที่ต้องมีการคำนวณ ตัวเลขจ านวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น
งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้น
ดิน และระดับความชื้นของบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการ
เปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็ นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี
สมรรถนะสูงมาก นอกจากนี้มีงาน อีกเป็ นจำนวนมากที่ต้องใช้ซูเปอร์
คอมพิวเตอร์ เช่น งานการวิจัยนิวเคลียร์ งานควบคุมทางอวกาศ งาน
ประมวลผลภาพทางการแพทย์ ด้านการทหาร วิศวกรรมเคมีภัณฑ์
ปิ โตรเลียม แต่เนื่องจากราคา ของซูเปอร์คอมพิวเตอร์สูงมาก จึงมักมีการใช้
งานเฉพาะด้านเท่านั้น หน่วยงานที่มีกำลังความสามารถ ในการนำไปใช้เพื่อ
งานวิจัยก็คือ หน่วยงานขององค์การรัฐบาล ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มากและ
มหาวิทยาลัย

2.2 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) คือ เครื่อง


คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมากด้วย
โปรแกรมหลายชุด เพื่อให้สามารถบริการผู้ใช้หลายคนได้ พร้อมกัน เช่น
ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม หรือใช้
สำหรับ คำนวณผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เช่น สำมะโนประชากร เป็ นต้น ตัว
เครื่องจะมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ มี ราคาสูง และต้องอยู่ในห้องที่มีการ
ควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็ นอย่างดีหน่วยเมนเฟรมจัด อยู่ใน
ความเร็วของหน่วย เมกะฟลอบ (megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้ง
ในหนึ่งวินาที แต่ปั จจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลงเพราะว่า
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพ และความสามารถดีขึ้น
ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้
งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม
2.3 มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็ นคอมพิวเตอร์ที่มี
สมรรถนะน้อยกว่าเครื่อง เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ คือ ทำงานได้ช้ากว่าและ
ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า ทำให้มีราคาถูก กว่าเมนเฟรม
คอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์เป็ นอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ของ องค์การที่เรียกว่าเครื่องให้บริการ (Server) มีหน้าที่ให้
บริการแก่ผู้ใช้บริการ (Client) เช่น ให้บริการ แฟ้ มข้อมูล ให้บริการข้อมูล
ให้บริการช่วยในการคำนวณ และการสื่อสาร มินิคอมพิวเตอร์เหมาะกับ งาน
หลากหลายประเภท คือ ใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์
อุตสาหกรรมหรือตามหน่วยงาน ราชการระดับกรมส่วนใหญ่
2.4 ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือ พีซี (Personal
Computer หรือ PC) เป็ นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่า
เป็ นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรือเรียกว่า พีซี (Personal
Computer : PC) กล่าวได้ว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่
มีหน่วยประมวลผลกลางเป็ นไมโครโพรเซสเซอร์ ทำงานในลักษณะส่วน
บุคคลได้

3. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย


องค์ประกอบย่อยที่มี หน้าที่เฉพาะ ทำงานประสานสัมพันธ์กัน เพื่อให้งาน
บรรลุตามเป้ าหมาย ในระบบงานคอมพิวเตอร์ การที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์
เพียงอย่างเดียว จะยังไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ซึ่งหากจะให้
คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างเป็ นระบบและมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบ
คอมพิวเตอร์ควรจะต้องมี องค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ ได้แก่

3.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบ โครงสร้าง รวมถึง


อุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ
เหล่านี้มนุษย์สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือ ทำงาน
ตามคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ ที่มนุษย์เป็ นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์
ตามที่ต้องการ
7

3.2 ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง คำสั่ง หรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่


ควบคุมการทำงาน ของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็ นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้
คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) สามารถสื่อสารกันได้ แบ่ง
ได้ดังนี้
3.2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์
คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบ ขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการกับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และ
เพื่อจัดเตรียมและบำรุงรักษาแพลตฟอร์มจากการ ทำงานของโปรแกรม
ประยุกต์ เช่น windows linux os เป็ นต้น
3.2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ
โปรแกรมที่ใช้สำหรับ ทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร
งานกราฟิ ก งานนำเสนอ หรือเป็ น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น
โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้าน
ธนาคาร

3.3 บุคคล (People ware) หรือผู้ใช้ระบบ ในระบบคอมพิวเตอร์ผู้ใช้


ส่วนใหญ่เป็ นส่วน หนึ่งที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์จากการให้เครื่องคอมพิวเตอร์
ทำงาน ด้วยเหตุที่ว่ามนุษย์เป็ นผู้สร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาเพื่อ
ควบคุมการทำงานของเครื่อง
3.3.1 ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการ
ใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็ นไปตามเป้ าหมายของหน่วยงาน
3.3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบ
งานเดิมหรืองาน ใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็ นไปได้ใน
การใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้ โปรแกรมเมอร์เป็ นผู้เขียน
โปรแกรมให้กับระบบงาน
3.3.3 โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่ง
งานเครื่อง คอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียน
ตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้ เขียนไว้
3.3.4 ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้
วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถ
ทำงานได้ตามที่ต้องการ

4. หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์มีขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอน คือ


ขั้นที่ 1 รับข้อมูล (Input) หมายถึง การป้ อนข้อมูลที่เป็ นตัวเลข
ตัวหนังสือเข้าไปใน โปรแกรมเพื่อจะให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล โดย
การป้ อนข้อมูลผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ทัช
8
สกรีน เครื่องอ่านบาร์โค้ด จอยสติ๊ก ฯลฯ

ขั้นที่ 2 การประมวลผล (Process) หมายถึง การจัดระเบียบ


แบบแผนข้อมูล เช่น การ คำนวณ การเปรียบเทียบ การวิเคราะห์ การเรียง
ลำดับ ฯลฯ โดยในสูตรทางคณิตศาสตร์หรือสูตรทาง วิทยาศาสตร์จากคำสั่ง
หรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมา เพื่อให้ได้ซึ่งผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ขั้นที่ 3 การแสดงผลลัพธ์ (Output) คือ เมื่อประมวลผลแล้ว


คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล
เช่น เครื่องพิมพ์ ลำโพง จอภาพ เป็ นต้น โดยแสดงออก ในรูปแบบต่างๆ ที่ผู้
ใช้เข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ได้
ขั้นที่ 4 จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะจัดเก็บข้อมูลลง
ในหน่วยความจำ เพื่อ สามารถนำออกมาใช้อีกครั้งในอนาคต การเก็บข้อมูล
แบ่งออกเป็ น 2 ประเภท ได้แก่
- หน่วยความจำหลัก เป็ นหน่วยความจำที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
แบ่งเป็ น 2 ประเภท คือ รอม (Rom : Read Only Memory) เป็ นหน่วย
ความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร เช่น โปรแกรมในการทำงาน
เครื่อง แม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้ าข้อมูลก็จะยังคงอยู่ ข้อมูลจะเป็ นข้อมูลที่
สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลได้ อีก
ประเภทคือ แรม (Ram : Random Access Memory) ทำหน้าที่เก็บ
โปรแกรมและข้อมูลที่รับเข้ามา เพื่อที่จะน าข้อมูลนั้นไป ประมวลผล โดย
จะเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราวหรือในขณะที่มีกระแสไฟฟ้ าอยู่ แต่หากไฟฟ้ าดับจำ
ทำให้ ข้อมูลหรือโปรแกรมนั้นสูญหายไป
- หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory) เป็ นหน่วยความ
จำที่ช่วยให้ คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นและนานขึ้น โดยอาศัย
อุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ แฟลชไดร์ฟ ซีดี ดีวีดี เป็ นต้น
รูปที่ 6 การทำงานของคอมพิวเตอร์
9

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

1. ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็ นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลให้เป็ น
สารสนเทศ คอมพิวเตอร์มี จุดเด่น คือสามารถจัดการข้อมูล คิดคำนวณ
ตัวเลขจำนวนมากได้รวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ คอมพิวเตอร์ยังสามารถ
เก็บข้อมูลได้มาก เมื่อจัดเก็บแล้วสามารถเรียกค้น หรือคัดแยกได้อย่าง ถูก
ต้องและรวดเร็ว โดยที่การดำเนินการต่างๆ จะเป็ นไปตามเงื่อนไขที่
โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์กำหนดไว้
คอมพิวเตอร์ทำงานตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมตามหลักการที่ จอห์น
วอน นอยแมน (John Von Neumann) เสนอและใช้กันมาจนถึงปั จจุบันคือ
คอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำสำหรับเก็บ ซอฟต์แวร์และข้อมูลการทำงาน
ของคอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า แล้วตัว
เครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เรียกรวมว่า ฮาร์ดแวร์
(hardware)

รูปที่ 6 ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

1.1 ส่วนประกอบภายนอก
1.1.1 จอภาพ (Monitor) เป็ นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ด
แสดงผล มาแสดงเป็ นภาพบนจอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปั จจุบันคงจะ
เป็ นจอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็ น CRT
(moniter ทั่วไป) หรือ LCD
1

รูปที่ 7 จอภาพ
1.1.2 เคส (Case) คือ ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะ
เรียกว่าซีพียู เนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเล็ก
ทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ ข้างใน เช่น CPU เมนบอร์ด การ์ดจอ
ฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่ง
จะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะ
ได้ติดตั้ง อุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์
ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
ในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น

รูปที่ 8 เคส

1.1.3 ลำโพง (Speaker) เป็ นอุปกรณ์ไฟฟ้ าเชิงกลอย่างหนึ่ง ทำหน้าที่


แปลง สัญญาณไฟฟ้ าให้เป็ นเสียง
รูปที่ 9 ลำโพง

1.1.4 คีย์บอร์ด (Keyboard) เป็ นอุปกรณ์พื้นฐานที่คอมพิวเตอร์ทุก


เครื่องจะต้องมี เนื่องจากตัวคีย์บอร์ดใช้สำหรับการพิมพ์หรือป้ อนข้อมูล
ต่างๆ ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ในตัว คีย์บอร์ดจะมีทั้งที่เป็ นตัวอักษรที่เป็ น
ภาษาหลักของแต่ละประเทศรวมทั้งภาษาหลักอย่าง ภาษาอังกฤษอยู่ด้วย
และยังมีข้อมูลทั้งตัวเลขและฟั งก์ชันต่างๆ ที่จำเป็ นสำหรับการใช้งานและ
อื่นๆ อีก เพื่อใช้สำหรับลงข้อมูลในตัวเครื่องของเรา โดยส่วนใหญ่แล้ว
คีย์บอร์ดมีลักษณะที่เป็ น สี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ใน
ปั จจุบันก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
1

แบ่ง ออกเป็ น 5 ประเภท ได้แก่แป้ นพิมพ์มาตรฐาน


-แป้ นพิมพ์ปุ่มพิเศษ
-แป้ นพิมพ์ไร้สาย
-แป้ นพิมพ์ระบบความปลอดภัยสูง
-แป้ นพิมพ์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา
รูปที่ 10 คีย์บอร์ด

1.1.5 เมาส์ (Mouse) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการใช้งานใน


คอมพิวเตอร์ ชิ้นหนึ่ง ซึ่งออกแบบเพื่อให้พอดีกับการใช้งานโดยส่วนโค้งและ
ส่วนเว้าโค้งเข้าตามกับอุ้งมือของผู้ใช้ โดยภายด้านใต้ของเมาส์จะมีอุปกรณ์
ซึ่งตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์ โดยส่งสัญญาณไปที่ คอมพิวเตอร์เพื่อ
แสดงผลของเคอร์เซอร์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์

รูปที่ 11 เมาส์

1.2 ส่วนประกอบภายใน
รูปที่ 12 ส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์

1.2.1 เมนบอร์ด (Mainboard) เป็ นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจาก


ซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการการทำงานของอุปกรณ์
ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียูไปจนถึงหน่วย
ความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิสก์ ระบบบัส

รูปที่ 13 เมนบอร์ด (Mainboard)

1.2.2 พาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็ นอุปกรณ์ที่มีความ


สำคัญอย่างมาก ต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ซัพพลายของ
คอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงานคือ ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้ าจาก
220 โวลต์ เป็ น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความ ต้องการ
ของอุปกรณ์นั้นๆ

รูปที่ 14 พาเวอร์ซัพพลาย
1.2.3 ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูล
แบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็ นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุน
อย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัว คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่าน
การต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน
(PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้า
เครื่องจากภายนอกได้ ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเต
อร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวก
ยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็ นของตนเอง
รูปที่ 15 ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

1.2.4 ออปติคัล ดิสก์ ไดรฟ์ (Optical disk drive) เป็ นอุปกรณ์ที่


ใช้อ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี/ดีวีดีด้วยกระบวนการทำงานของแสง
เลเซอร์

รูปที่ 16 ออปติคัล ดิสก์ ไดรฟ์ (Optical disk drive)

1.2.5 แรม (Ram: Random Access Memory) หน่วยความจำที่


ใช้เป็ นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็ น หน่วยความจำ
ประเภทที่อ่าน/เขียนข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิ ดเครื่อง
ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที
รูปที่ 17 แรม (Ram: Random Access Memory)

1.2.6 ซีพียู (CPU: Central Processing Unit) เป็ นหน่วย


ประมวลผลกลาง ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ในการทำหน้าที่
ตัดสินใจหรือคำนวณจากคำสั่งที่ได้รับมา ถือเป็ นหัวใจหลักในการประมวล
ผลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทาง
คณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะ

รูปที่ 18 ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)

1.2.7 ชุดระบายความร้อน เป็ นชิ้นส่วนซึ่งทำหน้าที่ลดอุณหภูมิ


ขณะทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเพิ่ม
พื้นที่สัมผัสอากาศ ทำให้การพาความร้อนจากตัวอุปกรณ์สู่อากาศโดยรอบ
ทำได้เร็วขึ้น

รูปที่
1.2.8 การ์ดจอ 19 ชุดระบายความร้อน
(Graphic card) แผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจาก
เครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ ในปั จจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อ
หรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port) ซึ่งเป็ นแบบเก่า
ตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ครับ ที่เห็นๆอยู่คงจะเป็ น
มือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อก และอีกระบบหนึ่งคือ PCI
Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

รูปที่ 20 การ์ดจอ (Graphic card)

1.2.9 การ์ดเสียง (Sound Card) คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำ


หน้าที่แปลงข้อมูล ดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่างๆ แปลงเป็ น
สัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้ า
รูปที่ 21 การ์ดเสียง (Sound Card)

1.2.10 การ์ดลีดเดอร์ภายใน (Reader all in one internal) เป็ น


อุปกรณ์ที่ใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลจากอุปกรณ์

1
รูปที่ 21 การ์ดลีดเดอร์ภายใน

วิธีเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

1. การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

เราคงต้องยอมรับกันแล้วว่าคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจ
วันของเรามากขึ้นและ เราสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำหน้าที่
แบ่งเบาภาระหรือมีส่วนช่วยในการพัฒนาศักยภาพ ในแทบจะทุกๆด้าน ทั้ง
การช่วยงานในสำนักงานและสามารถสร้างความบันเทิงอันหลากหลายให้กับ
เราได้อีกด้วยและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ในปั จจุบันราคานั้นถูกลงอย่างมากเมื่อ
เทียบกับอดีต คอมพิวเตอร์จึงกลายเป็ นของที่คนส่วนใหญ่สามารถหาซื้อมา
ใช้งานได้อย่างไม่ยากนัก เมื่อเป็ นเช่นนี้ เราจึงต้องให้ความสนใจในการ
พิจารณาเลือกซื้อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ให้ได้ตรงความต้องการมากที่สุด
โดยพิจารณาว่าเราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจกรรมใดด้วยงบประมาณที่มี
อยู่และจะใช้ให้คุ้มค่าได้อย่างไร แต่ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า คอมพิวเตอร์มี
พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก การแนะนำเลือกซื้ออุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ในที่นี้จึงเพียงแต่เป็ นการแนะนให้เข้าใจพอเป็ นสังเขป สำหรับ
อุปกรณ์ที่สำคัญๆ เท่านั้นและอุปกรณ์เหล่านี้ก็มักมีการเปลี่ยนแปลงไปได้
ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อจะซื้อมาใช้จึงต้องพิจารณารุ่นที่ทันสมัยขึ้น ต่อไปเรา
พิจารณาโดยจะแบ่งตามประเภทของอุปกรณ์ต่างๆ

2. แผงวงจรหลัก (Mainboard)

เมนบอร์ดที่มีให้เลือกใช้มีอยู่หลายตระกูลและหลายระดับเช่นกัน ซึ่ง
การเลือกใช้ต้องขึ้นอยู่ กับสถาปั ตยกรรมของซีพียู สามารถแบ่งเป็ น 4 กลุ่ม
ดังนี้

2.1 กลุ่มที่รองรับซีพียูที่ใช้สถาปั ตยกรรมแบบ socket 370 ได้แก่


เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต intel i810 และ SIS 620 กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพอยู่ใน
เกณฑ์พอใช้ถึงปานกลาง เหมาะสำหรับผู้ที่มี งบประมาณค่อนข้างจ ากัด รุ่น
นี้จะมีอุปกรณ์ที่จ าเป็ น ได้แก่ VGA และ Sound อยู่บนบอร์ดเพื่อให้เพียง
พอต่อการใช้งานทั่วๆไปได้ กล่าวได้ว่าสามารถใช้งานได้อย่างครบเครื่องใน
ระดับการใช้งานภายในบ้าน
2.2 กลุ่มที่รองรับซีพียูที่ใช้สถาปั ตยกรรมแบบ Slot 1 ได้แก่
เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต Intel 440BX, Intel i820, VIA Apollo Pro, VIA
Apollo Pro133 และ VIA Apollo Pro133A ซึ่ง VIA กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพ
อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง ส่วนใหญ่ไม่มี VGA บนบอร์ด แต่บางตัวอาจมี
Sound มาให้ ราคาในกลุ่มนี้จะสูงกว่ากลุ่มแรก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ
เมนบอร์ดที่มีประสิทธิภาพ ที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
1

2.3 กลุ่มที่สามารถรองรับซีพียูที่ใช้ได้ทั้งสถาปั ตยกรรมแบบ Socket


370 และ Slot 1 ใน ตัวเดียวกัน ได้แก่ เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต Intel 440BX,
VIA Apollo Pro133 ลักษณะคล้ายกลุ่มที่ 2 แต่จะมีส่วนของ Socket 370
เพิ่มมาเพื่อความสะดวกในการเลือกใช้เท่านั้นเอง ซึ่งจริงๆแล้วเราก็ ต้อง
เลือกใช้แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่สามารถใช้สถาปั ตยกรรมที่แตก
ต่างกันบนบอร์ดตัวเดียวกันได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเมนบอร์ดที่มี
ประสิทธิภาพที่สูงและเพื่อเพิ่มทางเลือกในการ Upgrade ในอนาคต แต่การ
ที่เป็ นเช่นนี้ย่อมทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย 3.2.4 กลุ่มที่รองรับซีพียูที่ใช้
สถาปั ตยกรรมแบบ Slot-A ได้แก่ เมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ต AMD 750 และ
VIA KX-133 กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง แต่จะไม่มี
VGA มาให้บนบอร์ด บางตัวอาจมี Sound มาให้ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีราคาสูง
กว่าทุกๆกลุ่มข้างต้น เพราะใช้ เทคโนโลยีในการผลิตสูงกว่า แต่ก็ค่อนข้าง
คุ้มค่ากับประสิทธิภาพที่จะได้รับ เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเมนบอร์ดที่มี
ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นไปอีก
ข้อแนะนำในการพิจารณา

เมนบอร์ดยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย การเลือกซื้อ


จากบริษัทใดและราคา เท่าไหร่คงต้องแล้วแต่ความชอบและงบประมาณที่มี
แต่ที่สำคัญต้องเลือกที่สามารถรองรับ สถาปั ตยกรรมให้ตรงกับซีพียูที่จะ
เลือกใช้และระบบบัสที่รองรับการทำงานของซีพียูนั้นได้การจัดกลุ่ม ข้างต้น
เน้นที่ความเหมาะสมในการใช้งานร่วมกันของชิปเซ็ตกับสถาปั ตยกรรมของ
ซีพียู แต่ไม่ได้ หมายความว่าแต่ละชิปเซ็ต นั้นไม่สามารถรองรับกับ
สถาปั ตยกรรมของซีพียูที่ต่างออกไปได้ ยกตัวอย่างเช่น ชิปเซ็ต 440BX ก็มีผู้
ผลิตเมนบอร์ดบางรายออกแบบให้มีเพียง Socket 370 เพียง อย่างเดียว
เป็ นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องดูด้วยว่าถ้าจะใช้สถาปั ตยกรรมที่ต่างออกไปแล้ว
ยังมีความเข้า กันได้หรือไม่ เพราะมีเพียงบางสถาปั ตยกรรมที่เข้ากันได้โดย
ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร แต่บาง สถาปั ตยกรรมต้องใช้ตัวแปลงเพื่อเปลี่ยนไป
ใช้อีกสถาปั ตยกรรมอื่นหรือยิ่งไปกว่านี้นคือบาง สถาปั ตยกรรมไม่สามารถ
จะทำได้ตามทั้ง 2 วิธีข้างต้นเลย ตามปกติ ซีพียู ที่ใช้สถาปั ตยกรรม Socket
370 กับ FC-PGA 370 สามารถใช้งานร่วมกันได้ แต่ก็ไม่เสมอไปต้องขึ้นอยู่
กับบริษัทผู้ผลิตแต่ละราย ด้วยว่ามีการปรับปรุงให้มีความเข้ากันได้หรือไม่ถ้า
เป็ นไปได้ควรเลือกที่มีความเข้ากันได้จะดีกว่าเมนบอร์ดแบบ Built-in (ที่มี
VGA & SOUND มาบนบอร์ด) เช่น กลุ่มที่ 1 และ 2 และกลุ่มที่ 3 (บาง
ตัว) จะมีประสิทธิภาพของชิปเซ็ตต่ำกว่าแบบที่ไม่ใช่แบบ Built-in และถ้า
เราต้องการ Upgrade ก็จะทำได้ไม่ดีนักเพราะได้ถูกออกแบบมาเป็ น
มาตรฐานบนบอร์ดนั้น ๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญ ที่สุดสำหรับเมนบอร์ดลักษณะนี้
คือ ถ้าตัวใดตัวหนึ่งเสียจะส่งผลให้เมนบอร์ดนั้นเสียไปเลย เว้นเสียแต่ว่าจะมี
การอนุญาตให้ปรับแต่ง BIOS ได้ ประสิทธิภาพโดยรวมของเมนบอร์ดขึ้นกับ
ชิปเซ็ตที่ใช้เป็ น หลัก ถ้าต้องการปรับแต่งได้เพื่อความพอใจสูงสุดควรเลือก
เมนบอร์ดที่มีระบบ Flash BIOS เพราะ ระบบนี้ทำให้เพิ่มความสามารถให้
กับเมนบอร์ดได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่อย่างไรก็ดี บริษัทผู้ผลิต เองมี
1
แนวโน้มที่จะผลิตแบบ Built-in ออกมามากขึ้น

3. ซีพียู (CPU)

เมนบอร์ดที่มีให้เลือกใช้มีอยู่หลายตระกูลและหลายระดับเช่นกัน ซึ่ง
การเลือกใช้ต้องขึ้นอยู่ กับสถาปั ตยกรรมของซีพียู สามารถแบ่งเป็ น 3 กลุ่ม
ดังนี้

3.1 กลุ่มระดับล่าง กลุ่มนี้เป็ นซีพียูทีมีประสิทธิภาพพอใช้ได้เหมาะกับ


งานทั่วๆไป เช่น ใช้งานในครอบครัวใช้ในธุรกิจพื้นฐาน ดูหนัง ฟั งเพลงและ
เล่นเกมบ้าง เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ต้องการซีพียูที่คุ้มค่าแต่ราคาไม่
แพง ได้แก่ Pentium MMX ของ Intel และ K6-2 ของ AMD

3.2 กลุ่มระดับกลาง กลุ่มนี้เป็ นซีพียูที่มีประสิทธิภาพปานกลางค่อน


ข้างสูง เหมาะกับงานทั่วๆไป เหมือนกลุ่มแรกเช่นเดียวกันแต่จะมี
ประสิทธิภาพที่สูงกว่าในด้านความเร็ว จึงเหมาะกับงาน มัลติมีเดียมากกว่า
แต่ราคาก็จะสูงกว่าด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นใน
อีก ระดับหนึ่งแต่ราคาปานกลาง ได้แก่ Celelon และ Pentium II ของ
Intel และ Duron ของ AMD
3.3 กลุ่มระดับสูง กลุ่มนี้เป็ นซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เหมาะกับ
มัลติมีเดียเป็ นพิเศษ เพราะให้ผลของอรรถรสอย่างยอดเยี่ยมและที่สำคัญ
ที่สุดคือ เหมาะกับงานออกแบบตกแต่งด้าน กราฟิ กระดับสูงและงาน
ออกแบบด้านวิศวกรรม รวมทั้งการนำมาใช้เป็ นเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของ
ระบบเครือข่าย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซีพียูประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อใช้งาน
ในระดับมืออาชีพแต่ ราคาจะสูงกว่าปกติด้วย ได้แก่ Pentium III, Pentium
IV, ของ Intel และ Athlon ของ AMD

ข้อแนะนำในการพิจารณา

ซีพียู ที่มีวางจำหน่ายมีหลายบริษัทและหลายราคาที่แตกต่างกัน ควร


พิจารณาตามความชอบและงบประมาณที่มี ซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูงราคาก็
จะยิ่งสูงตามไปด้วย จึงควรพิจารณาคุณสสมบัติต่างๆด้วย เช่น ถ้าเน้นเล่น
เกมส์ก็ควรเลือกกลุ่มระดับกลาง เป็ นต้น ประสิทธิภาพของซีพียูขึ้นกับ
ตัวเลขของ MHz เช่น 650 MHz, 733 MHz องค์ประกอบอื่นที่ต้องนำมา
พิจารณา ได้แก่ ชนิดของ สถาปั ตยกรรมที่ใช้ในปั จจุบันมีอยู่ 2 ชนิด คือ
Socket และ Slot ซึ่งชนิด Socket จะเหนือกว่าชนิด Slot เล็กน้อย ขนาด
ของแคช (Cache) ซึ่งเป็ นหน่วยความจำที่ช่วยในการทำงานของซีพียู จะมี
ทั้ง ส่วนที่อยู่ภายในตัวซีพียูและอยู่ภายนอก ที่เราเรียกว่าแคช L1 และ L2 (
ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี) และแบบ ที่อยู่ภายในตัวซีพียูจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่
อยู่ภายนอก, ระบบบัสที่ใช้ เช่น บัส 100, บัส 133 (ตัวเลขยิ่งมากยิ่งดี) และ
ที่น่าคิดคือตัวเลขของ MHz ที่มากกว่าไม่จำเป็ นต้องเร็วกว่าเสมอไป ต้องดู
ปั จจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยเช่นกัน การทำ Overclock ซีพียู นั้นเป็ นการเพิ่ม
ความเร็วให้ ซีพียู โดยทำให้มีค่า MHz สูงขึ้นได้โดยแทบจะไม่ต้องเสียเงิน
2
เพิ่ม แต่จะทำให้อายุการใช้งานของซีพียูลดลงได้ เพราะต้องทำงานหนักขึ้น

4 หน่วยความจำแรม (Random Access Memory : RAM)

หน่วยความจำที่มีขายกันอยู่ในปั จจุบันเราอาจเลือกซื้อโดยดูจากบัสที่
เข้ากันได้และเหมาะสม ในการใช้งานร่วมกับซีพียูและชิปเซ็ต (Chipset) ได้
เป็ น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

4.1 กลุ่มที่ใช้งานร่วมกับซีพียูที่ใช้ความเร็วบัสที่ 66 MHz ได้แก่ EDO


RAM & SDRAM PC-66 กลุ่มนี้มีประสิทธิภาพปานกลาง เหมาะกับผู้ที่
ต้องการแรมที่มีประสิทธิภาพพอประมาณแต่ ประหยัดงบมากที่สุด

4.2 กลุ่มที่ใช้งานร่วมกับซีพียูที่ใช้ความเร็วบัสที่ 100 MHz ได้แก่


SDRAM PC-100 กลุ่มนี้ มีรายละเอียดเหมือนกลุ่มแรกทุกประการ

4.3 กลุ่มที่ใช้งานนร่วมกับซีพียูที่ใช้ความเร็วบัสที่ 133 MHz ได้แก่


SDRAM PC-133 กลุ่ม นี้มีประสิทธิภาพดีที่สุดและเสถียรที่สุดในบรรดาทุก
กลุ่มที่กล่าวถึงและเหมาะกับผู้ที่ต้องการซีพียูที่ ประสิทธิภาพสูงสุดและราคา
ก็สูงที่สุดด้วย

ข้อแนะนำในการพิจารณา

แรมยิ่งมีประสิทธิภาพสูงราคาก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย การเลือกซื้อจาก
ของบริษัทใดและราคาเท่าไร คงต้องแล้วแต่ความชอบและงบประมาณที่มี
สำหรับมาตรฐานปั จจุบันจะอยู่ที่ SDRAM PC133 การจัดกลุ่มนี้เน้นความ
เหมาะสมเป็ นหลักเท่านั้นไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเลือกนอก เหนือ
จากที่จัดเอาไว้ได้ การเลือกซื้อแรมควรเลือกที่ใช้ระบบบัสเท่ากับหรือ
มากกว่าบัสของที่ซีพียูใช้ เพราะจะช่วยลดปั ญหาคอขวด (การคับคั่งติดขัด
ของข้อมูล) หมายความว่าซีพียูต้องการแรมที่มีระบบบัสอย่างน้อยที่สุด
เท่ากับตัวมันเองหรือมากกว่าไม่งั้นจะเป็ นตัวถ่วงให้ซีพียูไม่สามารถแสดง
ประสิทธิภาพของมันได้เต็มที่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเมนบอร์ด
ด้วย ถ้าเป็ นไปได้ควรเลือก ที่สูงที่สุดเท่าที่บอร์ดนั้นๆ จะรับได้ ประสิทธิภาพ
ของแรมขึ้นกับสถาปั ตยกรรมหรือจำนวนขา (PIN) ที่ใช้ (ถ้าจ านวนขายิ่ง
มากยิ่งดี) ระบบบัสที่ใช้ (ถ้าเป็ นบัสที่มีเส้นทางเดินหลายเส้นยิ่งส่งข้อมูลใน
แต่ละ ครั้งได้มาก) และเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล (Seek time) นั่นเอง (ถ้
าใช้เวลาในการค้นหายิ่งน้อยก็ จะทำให้แรมทำงานได้เร็ว) ข้อควรจำคือ ส่วน
ใหญ่แล้วแรมที่มีระบบบัสสูงกว่าระบบบัสสูงสุดที่ชิป เซ็ตของเมนบอร์ด นั้น
รองรับจะสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่อาจใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ (เช่น
ถ้า บอร์ดนั้นรองรับระบบบัสสูงสุดที่ 100 MHz แต่เลือกแรมที่ใช้ระบบบัส
133 MHz ก็อาจใช้ได้แค่ 100 MHz แต่ก็อาจได้รับประโยชน์จาก Seek
time ที่ดีกว่า)

บรรณานุกรม
ลิงค์อ้างอิงแหละที่มาข้อมูล
https://th.wikipedia.org/wiki คอมพิวเตอร์

https://www.dol.go.th/it/Pages/ข่าวสาร%20 บทความ%20IT/ชนิด
ของคอมพิวเตอร์

https://sites.google.com/a/maesuaiwit.ac.th/computero/hlak-
kar-thangan-khxng-khxmphiwtexr

https://plypranee1.weebly.com/
36273621363335853585363436193648362136393629358535953
63936573629362936403611358536193603366035883629361736
143636362336483605362936193660.html

You might also like