You are on page 1of 28

5

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาโครงการระบบบริหารจัดการหอพักบรุณศักดิ์ ผู้จัดทาได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและ
หลักการต่าง ๆ จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดทาโครงการ ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับระบบ
2. การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ
3. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)
4. ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
5. โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
6. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
7. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับระบบ
2.1.1 ความหมายของระบบ
ระบบ (System) ได้มีผู้ ให้ ความหมายของระบบไว้คล้ ายกัน หลายท่าน ในที่นี้ส ามารถ
รวบรวมมานาเสนอเพียงบางส่วนได้ดังนี้
โกวัฒน์ เทศบุตร (2545 : 3-7) ได้ให้ความหมายของระบบไว้ว่า “ระบบ”หมายถึง กลุ่มของ
องค์ป ระกอบ (Set Elements) ที่ท างานร่ว มกัน เพื่ อบรรลุ เป้ าหมาย ซึ่งมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกั บ
สิ่งแวดล้อมในตัวมันเองและสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ระบบหนึ่ง ๆ ที่เป็นระบบย่อยจะบรรจุอยู่ในอีกระดับ
หนึ่ งที่ใหญ่ กว่า ซึ่งระบบแต่ล ะระบบไม่ส ามารถอยู่ตามล าพั งได้ ระบบรักษาสมดุล ระหว่างระบบ
(System Contain Wholes Within Wholes)
ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์ (2545 : 4-5) ได้ให้ความหมายของระบบไว้ว่า “ระบบ” หมายถึงกระบวนการ
ทางานที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทางานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ปัจจัย
นาเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) เช่นกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนในโรงเรียน
จัน ทรานี สงวนนาม (2545 : 84-85) ให้คาจากัดความของระบบไว้ว่า “ระบบเป็นกลุ่มของ
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันและมีความเกี่ยวข้องกันในลักษณะที่ทาให้เกิดความ
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อกระทากิจกรรมให้ได้ผลสาเร็จตามความต้องการขององค์กร”
จากผู้ ให้ ค วามหมายของระบบ ผู้ จัด ท าสรุป ความหมายของระบบได้ ดั งนี้ ระบบ หมายถึ ง
กระบวนการทางานของสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ส่วนที่ทางานร่วมกันและ
มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน
5

2.1.2 องค์ประกอบของระบบ
อรนุ ช มหฤทัย นนท์ (2545 : 47-49) องค์ ป ระกอบของระบบประกอบด้วยส่ว นต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
2.1.2.1 ปัจจัยนาเข้า (Input) องค์ประกอบเบื้องต้นที่เข้าสู่ระบบเพื่อผ่านกระบวนการ
2.1.2.2 กระบวนการ (Process) เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ในการเปลี่ ยนแปลงซึ่งจะ
เปลี่ยนสิ่งนาเข้า (Input) ให้เป็นสิ่งนาออก (Output)
2.1.2.3 ผลลั พ ธ์ (Output) เป็ น การย้ ายองค์ ป ระกอบที่ เกิ ด จากกระบวนการ ในการ
เปลี่ ย นแปลงสิ่ งน าเข้ า สู่ จุ ด หมายปลายทาง เช่ น อาจเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรือ บริก ารต่ าง ๆ ซึ่ งเป็ น
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
2.1.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสรรถนะ ของระบบเมื่อผ่าน
กระบวนการครบทั้งสามองค์ประกอบแล้วเพื่อนามาประเมินผล
2.1.2.5 การควบคุม (Control) เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ และประเมินผลย้อนกลับเพื่อ
ดูว่าระบบดาเนินไปในทิศทางที่จะบรรลุเป้าหมาย ที่วางไว้หรือไม่จากนั้นหน้าที่ควบคุมจะปรับเปลี่ยน
สิ่งนาเข้าหรือกระบวนการเท่าที่จาเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบผลิตสิ่งนาออกได้อย่างถูกต้อง
ประชุม รอดประเสริฐ (2541 : 66) ระบบประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คือ สิ่งที่ป้อนเข้าไป
หรือข้อมูลนาเข้า กระบวนการ ผลงานหรือผลผลิต ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบนี้จะมีความสัมพันธ์ต่อกัน
และกัน และทางานร่วมกันเป็นวัฏจักรเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหาหรือไม่ทางานส่วนอื่นก็จะหยุดชะงัก
ไป นอกจากนี้ ระบบยั งมีความสัมพันธ์ต่อสภาพแวดล้อม (Environment) อย่างใกล้ชิด ชนิดที่อาจ
กล่ าวได้ ว่ า ระบบจะได้ รั บ ข้ อ มู ล น าเข้ า จากสิ่ งแวดล้ อ มและระบบจะสร้ างหรื อ ผลิ ต งาน ให้ กั บ
สิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน
2.1.3 ประเภทของระบบ
ระบบต่าง ๆ สามารถจาแนกออกได้เป็น 9 ประเภท ดังนี้
2.1.3.1 ระบบธรรมชาติและระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น
1) ระบบธรรมชาติ หมายถึง ระบบทีเ่ ป็นไปตามธรรมชาติ ปล่อยให้เป็นไปตาม
ธรรมชาติ หรือโดยอาศัยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
2) ระบบที่ มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง ระบบที่สร้างขึ้นซึ่งอาจเป็นการสร้างจาก
ระบบธรรมชาติหรืออาจจะไม่ได้อาศัยระบบธรรมชาติเดิมก็ได้
2.1.3.2 ระบบเปิดและระบบปิด
1) ระบบเปิ ด หมายถึง ระบบที่ ไม่ มีการควบคุม การทางานด้ว ยตั วระบบเอง
จะต้องดูแลควบคุมด้วยมนุษย์ เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้าไปปฏิบัติงานได้
2) ระบบปิด หมายถึง ระบบที่มีการควบคุมการทางาน และการแก้ไขด้วยตัว
ของระบบเอง โดยระบบไม่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก เข้าไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
2.1.3.3 ระบบคน ระบบเครื่องจักร และระบบเครื่องจักร-คน
1) ระบบคน หมายถึง ระบบที่มีการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ จะใช้แรงงานของคน
หรือระบบที่ใช้แรงงานของคนในการทางานโดยตรง อาจจะมีเครื่องจักรช่วยในการทางานบ้างก็ได้
แต่จะต้องเป็นเครื่องจักร ที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคนโดยตรง
6

2) ระบบเครื่ อ งจั ก ร หมายถึ ง ระบบการท างานที่ ใช้ เครื่อ งจั ก รโดยตรง คื อ


เครื่องจักรจะเป็นผู้ทางานให้ ซึง่ อาจจะใช้คนบ้างเพื่อควบคุม ให้เครื่องจักรทางานไปได้เท่านั้น
3) ระบบคน-เครื่อ งจั กร หมายถึ ง ระบบที่ มี การท างานร่ว มกั น ของคนและ
เครื่องจักรซึ่งจะต้องมีทั้งสองอย่าง จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้
2.1.3.4 ระบบหลักและระบบรอง
1) ระบบหลั ก หมายถึ ง ระบบที่ ไ ด้ ว างไว้ เ ป็ น หลั ก หรื อ แนวทางส าหรั บ
การกาหนด สาหรับการจัดทาระบบรอง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์บางอย่าง
2) ระบบรอง หมายถึ ง ระบบที่ ช่ ว ยเสริ ม ระบบหลั ก ให้ ส มบู ร ณ์ ห รื อ มี
ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.1.3.5 ระบบใหญ่และระบบย่อย
1) ระบบใหญ่ หมายถึง ระบบรวม หรือระบบที่ รวบระบบย่ อย ๆ ตั้งแต่ ห นึ่ง
ระบบขึ้นไป เพื่อปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเดียวกัน
2) ระบบย่ อ ย หมายถึ ง ระบบย่ อ ยของระบบใหญ่ เพื่ อ ปฏิ บั ติ ง านอย่ างใด
อย่างหนึ่งของระบบใหญ่
2.1.3.6 ระบบธุรกิจและระบบสารสนเทศ
1) ระบบธุร กิจ หมายถึ ง ระบบที่ ท างานเพื่ อ จุด ประสงค์ ด้ านธุรกิ จ หรือ เพื่ อ
จุดประสงค์ด้านการผลิต เช่น ระบบขนส่ง ระบบโรงแรม ระบบการพิมพ์ ระบบธนาคาร เป็นต้น
2) ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบที่ช่วยในการจัดการข้อมูลที่ต้องการใช้ใน
ระบบธุรกิจ ช่วยเก็บตัวเลขหรือข่าวสาร เพือ่ ช่วยในการดาเนินธุรกิจและการตัดสินใจ
2.1.3.7 ระบบการประมวลผลข้ อ มู ล (DS) หมายถึ ง ระบบข้ อ มู ล ของคอมพิ ว เตอร์
ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจ เพื่อใช้ประมวลข้อมูลจานวนมากเป็นประจา
2.1.3.8 ระบบสารสนเทศเพื่ อการบริห าร (MIS) หมายถึง ระบบที่น าข้ อมูล มาท าการ
วิเคราะห์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการสร้าง ข้อมูลให้กับนักบริหาร เพื่อประกอบการตัดสินใจ
2.1.3.9 ระบบช่ ว ยการตั ด สิ น ใจ หมายถึ ง ระบบการท างานที่ มี ลั ก ษณะ โครงสร้ า ง
การทางานคล้ายกับระบบสารสนเทศ เพื่อการบริหาร จะแตกต่างกันตรงที่ ระบบนี้ไม่ได้มีการนาข้อมูล
มาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจเท่านั้น แต่ระบบนี้จะนาข้อมูล มาทาการวิเคราะห์พร้อมกับพิจารณา
ถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งหมดของธุรกิจ
2.1.4 การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) คือ การศึกษาวิธีการดาเนินงานของระบบเพื่อ
ทาความเข้าใจ ตระหนักถึงปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบนั้น ๆ ดังนั้นการวิเคราะห์ระบบ
คือ การศึกษาวิถีทางการดาเนินงาน เพื่อนาไปใช้ในการออกแบบและพัฒ นาระบบสารสนเทศหรือ
อาจจะหมายถึงการวิเคราะห์ระบบ ช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
การวิเคราะห์ระบบ เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุ บัน เพื่ออกแบบระบบ
การท างานใหม่ การวิเคราะห์ ร ะบบต้ อ งการปรับ ปรุงและแก้ ไขระบบงานเดิ ม ให้ มี ทิ ศ ทางที่ ดี ขึ้ น
ระบบงานที่ดาเนินการอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “ระบบปัจจุบัน” แต่หากต่อมาได้มีการพัฒนาระบบใหม่
และมีการนามาใช้งานทดแทนระบบงานเดิม จะเรียกระบบปัจจุบันที่เคยใช้นั้นว่า “ระบบเก่า”
7

2.1.4.1 การวิเคราะห์ความต้องการ
1) ความต้องการรายการข้อมูลของผู้ใช้
2) ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ
3) ความต้องการขององค์การ
2.1.4.2 การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เป็ น ขั้ น ตอนหนึ่ ง ของกระบวนการทางสถิ ติ ที่ มี
ความส าคัญ เพื่ อให้ ได้ ม าซึ่งข้อ มู ล ที่ตอบสนองวั ตถุประสงค์ และสอดคล้ องกับกรอบแนวความคิ ด
สมมุติฐาน เทคนิคการวัด และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายรวมทั้ง การเก็บ ข้อมูล (Data Collection)
คือการเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่และการรวบรวมข้อมูล (Data Compilation) ซึ่งหมายถึง การนาเอาข้อมูล
ที่ผู้อื่นได้เก็บไว้แล้วหรือรายงานไว้ในเอกสารต่าง ๆ มาทาการศึกษาวิเคราะห์ต่อ
2.1.4.3 แหล่งข้อมูล ข้อมูลถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สาคัญสาหรับการประมวลผลด้วย
คอมพิ ว เตอร์ในยุ ค โลกาภิ วั ต น์ (Globalization) ที่ ก ารติ ดต่ อสื่ อสารแบบไร้พ รมแดนเกิด ขึ้น อย่ าง
มากมายทาให้ข้อมูลถูกเผยแพร่และกระจายการใช้งานกันอย่างทั่วถึง โดยปกติแล้ว ข้อมูลสาหรับการ
นามาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้นจะได้มาจากแหล่งที่มา ดังนี้
1) ผู้ใช้ระบบ
2) แบบฟอร์มและเอกสาร
3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์
4) งานของผู้ใช้ระบบ
5) รายงาน
2.1.4.4 วิธี ก ารเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล หมายถึ ง กระบวนการที่ จ ะได้ ข้ อ มู ล ที่ ต อบสนอง
วัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งแบ่งออกได้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล และการรวบรวมข้อมูล การเก็บ
ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิและปฐมภูมิ ดังนี้
1) วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
2) วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
3) วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์
4) วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกต
2.1.5 การพัฒนาระบบ
การพัฒนาระบบ เป็นการเขียนโปรแกรมควบคุมการทางานของเครื่ องคอมพิวเตอร์หรือ
อุปกรณ์ใด ๆ เพื่อสั่งให้อุปกรณ์นั้น ๆ ทางานตามที่ต้องการ ซึ่งโปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมตามที่
นั กวิเคราะห์ ร ะบบออกแบบไว้ หลัง จากที่เขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ ว จะต้องทดสอบโปรแกรม
ตามกระบวนการทางานของระบบทั้งหมด ได้แก่ การใช้งานระบบนาเข้าข้อมูล การแสดงผล ในการ
ทดสอบนั้นต้องทาการทดสอบโดยการใช้ข้อมูลจริงที่ได้เตรียมไว้ ซึ่งจะทาให้ทราบว่าระบบสามารถ
ทางานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ หากระบบทางานได้ดีแล้ว ผู้พัฒนาระบบจะต้องจัดทา
คู่มือการใช้งานระบบและทาการติดตั้งระบบให้ผู้ใช้ได้ใช้งานจริง หลังจากนั้นจะเป็นการประเมินระบบ
จากผู้ใช้ว่าระบบสามารถทางานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ หากยังไม่เป็นที่พึงพอใจของ
ผู้ใช้ ผู้พฒ
ั นาระบบจะต้องทาการปรับปรุงแก้ไข จนสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
8

2.1.5.1 การพั ฒ นาระบบเชิ ง โครงสร้ า ง (Structured System Development) เป็ น


วิธีการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง การออกแบบเชิงโครงสร้าง
และการพัฒนาโปรแกรมเชิงโครงสร้าง โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) เทคนิ ค การพั ฒ นาโปรแกรมเชิ ง โครงสร้ า ง (Structured Programming
Technique) เป็นเทคนิคในการพัฒนาโปรแกรมที่มีหนึ่งจุดเริ่มต้นและหนึ่งจุดสิ้นสุด โดยจะมีรูปแบบ
ชุดคาสั่งที่ใช้ในการประมวลผล 3 รูปแบบคือ
(1) ชุดคาสั่งเรียงเป็นลาดับ (Sequence)
(2) ชุดคาสั่งกาหนดทางเลือกหรือการตัดสินใจ (Decision)
(3) ชุดคาสั่งเพื่อการทาซ้าหรือวนลูป (Repetition/Looping)
2) เทคนิ ค การออกแบบเชิ ง โครงสร้ า ง (Structure Design Technique)
ถู ก พั ฒ นาขึ้ น เมื่ อ ปี ค.ศ.1970 เป็ น เทคนิ ค ในการน าเสนอระบบที่ พั ฒ นาผ่ า นทางผั ง โครงสร้ า ง
(Structure Chart) ซึ่งเป็นแผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงโมดูลภายในโปรแกรม แสดงวิธีการจัดการกับ
โมดูล และการส่งผ่านข้อมูลระหว่างโมดูล ทาให้นักออกแบบทราบถึงกระบวนการทางานของระบบ
ฟังก์ชั นหลักของระบบ ข้อมูลที่ใช้ในระบบ และผลลัพธ์ที่ได้จากการทางานของระบบ ต่อมามีการ
พัฒนาเทคนิคการออกแบบแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลขึ้นมา เพื่อใช้ควบคู่กับการออกแบบเชิงโครงสร้าง
เช่นระบบจัดการฐานข้อมูล ที่สามารถออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้และส่วนที่ใช้โต้ตอบกับฐานข้อมูล
3) การวิเคราะห์ เชิงโครงสร้าง (Structure Analysis Technique) จะท าการ
วิ เคราะห์ ข้ อ มู ล จากเอกสาร รายงาน และขั้ น ตอนการท างานของระบบงานเดิ ม จากนั้ น สร้ า ง
แบบจาลองกระบวนการทางานของระบบสารสนเทศ เพื่อแสดงให้เห็นกระบวนการทางานของระบบ
ข้อมูลที่ระบบต้องการ ข้อมูลที่ได้จากการทางานของระบบ บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ
และแฟ้ มที่ ใช้จัด เก็ บ ข้อมูล ของระบบ มีการแสดงทิศทางการไหลของข้อมูล ในแต่ล ะกระบวนการ
เรียกแผนภาพนี้ว่า แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram)
2.1.5.2 การพั ฒ นาระบบเชิ ง วั ต ถุ (Object-Oriented System Development) เป็ น
วิธีการพัฒนาระบบสารสนเทศที่วิเคราะห์ข้อมูล โดยมองทุกส่วนของระบบเป็นดั่งวัตถุ (Objects) และ
จัดประเภทของวัตถุตามคุณลักษณะทางนามธรรม (Abstract) ออกเป็นกลุ่ม ๆ เรียกว่า คลาส (Class)
ซึ่งจะกาหนดคุณ สมบั ติ ของวัตถุ นั้ น อย่างชัด เจน แต่ล ะคลาสจะมี ส ถานะ (State) และพฤติ กรรม
(Behavior) ตามบทบาทของงาน โดยมี ร ายละเอี ย ดหรื อ คุ ณ สมบั ติ ข องวั ต ถุ (Characteristic)
ที่เก็บซ่อน (Encapsulate) ไว้ในคลาส วัตถุแต่ละวัตถุมีความเป็น อิสระต่อกัน สามารถติดต่อสื่อสาร
กันระหว่างวัตถุด้วยการใช้ข้อความ (Message) การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบ จะทาได้ด้วยการ
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดด้านคุณสมบัติของวัตถุหรือคลาส และฟังก์ชันการทางานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
นั้น ๆ ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อวัตถุอื่น โดยหลัก ในการพัฒนาระบบเชิงวัตถุจะเน้นให้มีการนาระบบที่
เคยพัฒนามาแล้วกลับมาใช้งานได้ใหม่
9

2.2 การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสามารถแบ่งออกเป็นระบบย่อยได้มากมาย เช่น ระบบประมวลผลข้อมูล ระบบ
สารสนเทศเพื่ อการจัดการ ระบบสนับสนุน การตัดสิ นใจ และระบบผู้เชี่ยวชาญ เป็ น ต้ น ซึ่งระบบ
สารสนเทศแต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันในการดาเนินงานและการใช้ฐานข้อมูล จึงต้องได้รั บการ
พัฒนาขึ้นตามคุณสมบัติเฉพาะ อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบสารสนเทศจะมีลักษณะร่วมกันของการ
ดาเนินงานที่เป็นระบบและต้องอาศัยความเข้าใจ ในขั้นตอนการดาเนินงาน การศึกษาเรื่ องการพัฒนา
ระบบ (System Development) จึงเป็นสิ่งสาคัญ ไม่แต่เฉพาะบุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
แต่มีความจาเป็นสาหรับสมาชิกอื่นขององค์กร คือการที่ต้องเกี่ยวข้องในฐานะผู้ใช้ระบบ
การพั ฒ นาระบบสารสนเทศเป็ นกระบวนการที่ใช้เทคนิคการศึกษา การวิเคราะห์ และการ
ออกแบบระบบสารสนเทศขององค์กรให้สามารถดาเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบางครั้งจะเรียก
วิธีการดาเนินงานในลักษณะนี้ว่า การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design)
เนื่ องจากผู้ พั ฒ นาระบบต้อ งศึ ก ษาและวิเคราะห์ กระบวนการ การไหลเวียนของข้อมู ล ตลอดจน
ความสัมพั น ธ์ระหว่ างปั จจั ย น าเข้า ทรัพยากรดาเนิ นงาน และผลลั พธ์ เพื่ อทาการออกแบบระบบ
สารสนเทศใหม่ แต่ในความเป็นจริงการพัฒนาระบบมิได้สิ้นสุดที่การออกแบบ ผู้พัฒนาระบบจะต้อง
ดูแลการจัดหา การติดตั้ง การดาเนินงาน และการประเมินระบบว่าสามารถดาเนินงานได้ตามต้องการ
หรื อไม่ ตลอดจนกาหนดแนวทางในการพัฒ นาระบบในอนาคต อย่ างไรก็ ดีจะใช้ทั้ ง “การพั ฒ นา
ระบบ” และ “การวิเคราะห์ และออกแบบระบบ” ในความหมายที่ท ดแทนกั น การพั ฒ นาระบบ
สารสนเทศเป็นงานที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวข้องกับบุคลากรและส่วนประกอบขององค์การในหลายด้าน
จึงต้องมีแนวทางและแผนดาเนินงานที่เป็น ระบบ เพื่อที่จะให้ระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์ตรง
ตามความต้องการและสร้างความพอใจแก่ผู้ใช้ แต่ถ้าระบบที่พัฒนาขึ้นมีปัญหาหรือขาดความเหมาะสม
ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ธุรกิจ โดยเฉพาะในด้านค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและความ
เชื่อมั่นที่สูญเสียไป
2.2.1 ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนการพัฒ นาระบบสารสนเทศ คือ กระบวนการทางความคิด (Logical Process)
ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดย
ระบบที่จะพัฒนานั้น อาจเริ่มด้วยการพัฒนาระบบใหม่เลยหรือนาระบบเดิมที่มีอยู่ แล้วมาปรับเปลี่ยน
ให้ดียิ่งขึ้น ภายในวงจรนี้จะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นระยะ (Phases) ได้แก่ ระยะการวางแผน
(Planning Phase) ระยะการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ระยะการออกแบบ (Design Phase) และ
ระยะการสร้างและพั ฒ นา (Implementation Phase) โดยแต่ล ะระยะจะประกอบไปด้ วยขั้นตอน
(Steps) ต่าง ๆ แตกต่างกันไปตาม Methodology ที่นักวิเคราะห์นามาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานะ
ทางการเงินและความพร้อมขององค์กรในขณะนั้น ขั้นตอนในวงจรพัฒนาระบบ ช่วยให้นักวิเคราะห์
ระบบสามารถดาเนิ น การได้อย่างมีแนวทางและเป็นขั้นตอน ทาให้ ส ามารถควบคุมระยะเวลาและ
งบประมาณในการปฏิบัติงานของโครงการพัฒนาระบบได้ ขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ นั้นมี
ลักษณะคล้ายกับ การตัด สิน ใจแก้ปั ญ หาตามแนวทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) อัน
ได้แก่ การค้นหาปัญหา การค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา การประเมินผลแนวทางแก้ไขปัญหาที่ค้นพบ
เลือกแนวทางที่ดีที่สุด และพัฒนาทางเลือกนั้นให้ใช้งานได้
10

2.2.1.1 การวางแผนระบบ เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นจัดทาโครงการด้วยการจัดตั้งทีมงาน


กาหนดตาแหน่งหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจน เพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนา
ระบบใหม่ ม าใช้ ง านและเลื อ กทางเลื อ กที่ ดี ที่ สุ ด จากนั้ น จะร่ ว มกั น วางแผนจั ด ท าโครงการ
กาหนดระยะเวลาในการดาเนินโครงการ ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการและประมาณการต้นทุน
และกาไรที่จ ะได้รับ จากการลงทุ นในโครงการพัฒ นาระบบ เพื่ อนาเสนอต่ อผู้ จัดการ เพื่อพิจารณา
อนุ มั ติ ด าเนิ น การในขั้ น ตอนต่ อ ไป ซึ่งใช้เทคนิ ค ในการเก็ บ รวบรวมข้ อเท็ จ จริงด้ว ยการสั ม ภาษณ์
(Interviewing) การกรอกแบบสอบถาม (Questionnaires) รวมทั้งพิจารณาจากเอกสารการทางาน
รายงานและแบบฟอร์มต่าง ๆ ของบริษัทประกอบด้วย
2.2.1.2 การวิ เคราะห์ ร ะบบ เป็ น ขั้ น ตอนในการศึ ก ษาและวิ เคราะห์ ถึ งขั้ น ตอนการ
ดาเนินงานของระบบเดิม หลังจากนั้นจะรวบรวมความต้องการในระบบใหม่ จากผู้ใช้ระบบแล้วนามา
ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการเหล่านั้น ด้วยการใช้เครื่องมือชนิดต่าง ๆ ได้แก่ แบบจาลองขั้นตอน
การทางานของระบบ (Process Modeling) โดยใช้แ ผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram:
DFD) และแบบจาลองข้อมูล (Data Modeling) โดยใช้แผนภาพแสดงความสัมพั นธ์ระหว่าง ข้อมูล
(Entity Relationship Diagram: E-R Diagram)
2.2.1.3 การออกแบบระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบระบบให้ตรงกับความต้องการ
ของระบบใหม่ ตามที่ได้มีการวิเคราะห์ไว้ กาหนดสิ่งที่จาเป็น เช่น ปัจจัยนาเข้าหรือผลลัพธ์ ส่วนติดต่อ
กับผู้ใช้ และการประมวลผล เพื่อรับประกัน ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องแม่นยา การบารุงรักษาได้
และความปลอดภัยของระบบ
2.2.1.4 การปรับใช้ระบบ เป็นขั้นตอนในการนาข้อมูลเฉพาะ ของการออกแบบมาทาการ
เขี ย นโปรแกรมเพื่ อ ให้ เป็ น ไปตามคุ ณ ลั ก ษณะและรูป แบบต่ า ง ๆ ที่ ได้ ก าหนดไว้ หลั งจากเขี ย น
โปรแกรมเรีย บร้อยแล้ ว จะต้องท าการทดสอบโปรแกรม ตรวจสอบหาข้อผิ ดพลาดของโปรแกรม
ที่พัฒนาขึ้นมา และสุดท้ายคือการติดตั้งระบบ โดยทาการติดตั้งตัวโปรแกรม ติดตั้งอุปกรณ์ พร้อมทั้ง
จัดทาคู่มอื และจัดเตรียมหลักสูตรฝึกอบรมผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ระบบใหม่สามารถใช้งานได้
2.2.1.5 การบารุงรักษาระบบ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของพัฒนาระบบสารสนเทศ หลังจาก
ระบบใหม่ได้เริ่มดาเนินการ ผู้ใช้ระบบจะพบกับ ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากความไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่
และค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหานั้น เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้เองได้
2.2.2 รูปแบบการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.2.1.1 รูปแบบน้าตก (Waterfall Model) แต่ละขั้นตอนของการพัฒนาระบบจะเริ่มได้
ก็ต่อเมือ่ ได้ทาขั้นตอนก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยและจะไม่ย้อนกลับไปทาขั้นตอนก่อนหน้านี้อีก
2.2.1.2 รู ป แบบวิ วั ฒ นาการ (Evolutionary) มี แ นวความคิ ด ที่ เกิ ด มาจากทฤษฎี
วิวัฒนาการ โดยจะพัฒนาระบบงานจนเสร็จสิ้นในรุ่นแรกก่อน จากนั้นจึงพิจารณาระบบ ในรุ่นแรก
ที่ได้พัฒนาผ่านมาถึงข้อดีและข้อเสียแล้ว จึงเริ่มกระบวนการพัฒนาระบบงานใหม่จนได้ระบบใน รุ่นที่
2 และรุ่น ต่อไปจนกว่ าจะได้ ระบบที่ส มบูรณ์ ที่สุ ดซึ่งต้องการวางแผนกาหนดจานวนรุ่น ตั้งแต่เริ่ม
โครงการพัฒนาระบบ
2.2.1.3 รูปแบบค่อยเป็นค่อยไป (Increment) มีลักษณะคล้ายคลึงกับแบบ วิวัฒนาการ
แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ตัวระบบ เนื่องจากระบบที่เกิดขึ้นในการพัฒนาครั้งแรกนั้นจะยังไม่ใช่ ระบบ
11

ที่สมบู รณ์ แต่เป็น ระบบส่วนแรกเท่านั้น จนเมื่อมีการพัฒ นาในขั้นตอนที่ 2 จึงได้ ระบบในส่วนที่ 2


เพิ่มเติมเข้าไป และจะมีการเพิ่มส่วนอื่น ๆ เข้าไปอีก จนกลายเป็น ระบบที่สมบูรณ์ที่สุด แต่อย่างไร
ก็ตาม ยังไม่สามารถแน่ใจได้ว่าระบบที่ได้จากการรวมกันของระบบนั้น จะเป็นระบบที่สมบูรณ์ ดังนั้น
ในบางครั้ง SDLC ในรูปแบบวิวัฒ นาการ อาจจะมีบทบาทในการทาให้ ระบบที่พัฒ นาขึ้นโดยใช้การ
พัฒนาในรูปแบบอื่น ๆ ให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จนได้รุ่นใหม่ที่สมบูรณ์ในทีส่ ุด
2.2.1.4 รูปแบบเกลียว (Spiral) มีลักษณะเป็นวงจรการวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา และ
ทดสอบ (Analysis Design Implementation Testing) และจะวนกลั บ มาในแนวทางเดิ ม เช่ น นี้
เรื่อยไป จนกระทั่งได้ระบบที่สมบูรณ์ การพัฒนาระบบงานด้วย SDLC ในรูปแบบนี้มีความยืดหยุ่นมาก
ที่สุด เนื่องจากการทางานใน 1 วงรอบนั้น ไม่จาเป็นต้องได้ระบบหรือส่วนของระบบที่แน่นอน และ
การวิเคราะห์ ออกแบบ พัฒนา และทดสอบ ในแต่ละวงรอบนั้นจะสั้นหรือยาวเท่าใดก็ได้ และถ้าหาก
ไม่มีความจาเป็นใด ๆ บางขั้นตอนอาจจะถูกข้ามไปก็ได้ เมื่อมีกระบวนการทางความคิดในการพัฒนา
ระบบแล้ว จะต้องมีวิธีการหรือแนวทางที่จะนากระบวนการนั้น มาปฏิบัติเพื่อการพัฒ นาระบบนั้น
เป็ น ผลส าเร็ จ จนกลายเป็ น ระบบที่ ส ามารถใช้ ง านได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ วิ ธี ดั งกล่ า วเรี ย กว่ า
“Methodology”
2.2.3 กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
กระบวนการพัฒ นาระบบสารสนเทศมีความแตกต่างกั น ในการกล่ าวถึงกระบวนการ
การพัฒ นาระบบในหนังสือการวิเคราะห์ ออกแบบ และการพัฒนาระบบสารสนเทศแต่ละเล่ม โดย
ความแตกต่างที่เกิดขึ้นมาจากความคิดเห็นหรือมุมมองของผู้เขียนแต่ละท่าน หากสังเกตรายละเอียด
ของทุกขั้นตอนการพัฒนาระบบจะเห็นว่า ผู้เขียนส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากจุ ดเดียวกันคือ การสารวจ
ความต้องการเบื้องต้นและสิ้นสุดด้วยการบารุงรักษา โดยขั้นตอนที่แตกต่างกันจะเป็นการจัดลาดับขั้น
ระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดสุดท้าย ซึ่งจะแบ่งกระบวนการการพัฒนาระบบสารสนเทศออกเป็น 6 ขั้นตอน
ดังต่อไปนี้
2.2.3.1 การส ารวจเบื้ อ งต้ น (Preliminary Investigation) เป็ น ขั้ น ตอนแรกของการ
วิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยผู้พัฒนาระบบจะสารวจหาข้อมูลในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ระบบงาน ได้แก่ ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบที่ต้องการ สิ่ง ที่จะช่วย
เพิม่ ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ในการดาเนินงาน และประมาณการของค่าใช้จ่ายที่ตอ้ งใช้ โดยข้อมูลที่ได้
จะนาเสนอให้กับผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อที่จะตัดสินใจว่าองค์ก รสมควรที่จะมีการพัฒ นาระบบ
สารสนเทศหรือไม่และระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาขึ้น สมควรจะมีลักษณะเป็นเช่นไร
2.2.3.2 การวิเคราะห์ความต้องการของระบบ (Requirement Analysis) เป็นขั้นตอนที่
มุ่งเจาะลึ กลงในรายละเอีย ดที่ม ากกว่าในขั้นส ารวจเบื้องต้ น โดยเฉพาะในประเด็นที่ เกี่ยวข้องกั บ
ความต้องการของผู้ใช้ การใช้งานในแต่ละด้านของระบบใหม่ ข้อเด่นและข้อด้อยของวิธีการทางาน
ในปั จ จุ บั น ตลอดจนการจั ด ท ารายงานสรุ ป เพื่ อ น าเสนอต่ อ ฝ่ า ยจั ด การส าหรับ ท าการตั ด สิ น ใจ
2.2.3.3 การออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) เป็นขั้นตอนในการออกแบบลักษณะ
การทางานของระบบตามทางเลือกที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยการออกแบบในเชิงตรรกะ
นี้ยังไม่ได้มีการระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนามาใช้ เพี ยงแต่กาหนดถึงลักษณะของรูปแบบ
รายงานที่ เกิ ด จากการท างานของระบบ ลั ก ษณะของการน าข้ อ มู ล เข้ าสู่ ระบบ และผลลั พ ธ์ ที่ ได้
12

จากระบบ ซึ่งจะเลือกใช้การนาเสนอรูปแบบของรายงานและลักษณะของจอภาพของระบบจะทาให้
สามารถเข้าใจขั้นตอนการทางานของระบบได้ชัดเจนขึ้น
2.2.3.4 การออกแบบเชิ ง กายภาพ (Physical Design) เป็ น ขั้น ตอนที่ ระบุ ถึ งลั ก ษณะ
การทางานของระบบทางกายภาพหรือทางเทคนิค โดยระบุถึงคุณลักษณะของอุปกรณ์ที่จะนามาใช้
เทคโนโลยีโปรแกรมภาษาที่จ ะน ามาทาการเขียนโปรแกรม ฐานข้อมูล ของการออกแบบเครือข่าย
ที่เหมาะสมกับระบบ สิ่งที่ได้จากขั้นตอนการออกแบบทางกายภาพนี้จะเป็นข้อมูลของการออกแบบ
เพื่อส่งมอบให้กับโปรแกรมเมอร์ เพื่อใช้เขียนโปรแกรมตามลักษณะการทางานของระบบที่ได้ออกแบบ
และกาหนดไว้
2.2.3.5 การปรั บ ใช้ ร ะบบ (System Implementation) เป็ น ขั้ น ตอนในการน าข้ อ มู ล
เฉพาะ ของการออกแบบมาทาการเขียนโปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะและรูป แบบต่าง ๆ
ที่ได้ กาหนดไว้ หลั งจากเขีย นโปรแกรมเรียบร้อยแล้ ว จะต้องท าการทดสอบโปรแกรม ตรวจสอบ
หาข้อผิ ดพลาดของโปรแกรมที่ พั ฒ นาขึ้น มา และสุ ดท้ ายคือ การติด ตั้งระบบ โดยท าการติด ตั้งตั ว
โปรแกรม ติดตั้งอุป กรณ์ พร้อมทั้ งจัดทาคู่มือและจัดเตรียมหลั ก สู ตรฝึ กอบรมผู้ ใช้ งานที่ เกี่ย วข้อง
เพือ่ ให้ระบบใหม่ มีความพร้อมสามารถใช้งานได้
2.2.3.6 การการบ ารุ ง รั ก ษาระบบ (System Maintenance) ที ม งานพั ฒ นาระบบ
จะควบคุ ม และดู แ ลการติ ด ตั้ งอุ ป กรณ์ ต่ าง ๆ ของระบบใหม่ โดยด าเนิ น การด้ ว ยตนเองหรื อ จ้า ง
ผู้รับเหมา ทีมงานพัฒ นาระบบต้องทดสอบการใช้งานว่า ระบบใหม่ สามารถปฏิ บัติ งานได้ตรงตาม
วัตถุประสงค์และรูปแบบที่ได้ทาการออกแบบไว้หรือไม่ การติดตั้งควรที่จะสาเร็จตามตารางที่กาหนด
เพื่ อให้ ระบบสามารถใช้งานแทนที่ระบบเก่าได้ทันเวลา นอกจากนี้ ทีมงานพัฒ นาระบบยั งมีห น้ าที่
กาหนดกฎเกณฑ์ในการประเมินและการบารุงรักษาระบบอย่างสม่าเสมอ เพื่อปรับปรุงและบารุงรักษา
ให้ระบบใหม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนานที่สุดตลอดอายุของระบบ
2.2.4 หลักในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
2.2.4.1 คานึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ
2.2.4.2 เข้ าถึงปั ญ หาให้ ตรงจุ ด ซึ่ งมี แนวทางการแก้ปั ญ หาที่เป็ นระบบมีขั้ นตอนเช่ น
ศึกษาทาความเข้าใจในปั ญหาที่เกิดขึ้น รวบรวมและกาหนดความต้องการ ค้น หาวิธีการแก้ปัญ หา
หลาย ๆ วิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด ออกแบบและทาการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก สังเกตและประเมิ น
ผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นามาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
2.2.4.3 กาหนดขัน้ ตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ
2.2.4.4 กาหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ
2.2.4.5 ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง
2.2.4.6 เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิกหรือทบทวนระบบสารสนเทศทีก่ าลังพัฒนา
2.2.4.7 จาแนกระบบสารสนเทศที่จะพัฒนาออกเป็นระบบย่อย
2.2.4.8 ออกแบบระบบให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต
2.2.5 ปัจจัยในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้ประสบผลสาเร็จ
ในการพัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบหรือเรียกว่า SA มีบทบาทสาคัญเป็นอย่างมากใน
การพัฒ นาระบบ ซึ่งนอกจากบทบาทสาคั ญของนักวิ เคราะห์ระบบ คือ ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ และ
13

ตัวแทนการเปลี่ยนแปลง หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ระบบคือ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ และ


การออกแบบระบบ อี กทั้ งระหว่างการพั ฒ นาระบบสารสนเทศนั ก วิเคราะห์ ระบบมี ห น้ าที่ ส าคั ญ
ที่จะต้องดาเนินการอีกหลายหน้าที่ เช่น ติด ต่อประสานงานกับผู้ใช้ระบบในหน่วยงานต่าง ๆ รวบรวม
ข้อมูลของระบบเดิมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ทาการออกแบบการทางานของระบบใหม่ และ
วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น
2.2.5.1 การมีส่วนร่วมของผู้มีตาแหน่งระดับสูงในกลุ่มผู้ใช้ระบบ
2.2.5.2 การวางแผนระบบงาน
2.2.5.3 การทดสอบ
2.2.5.4 การจัดเก็บเอกสาร
2.2.5.5 การเตรียมความพร้อม
2.2.5.6 การตรวจสอบและประเมินผล
2.2.5.7 การบารุงรักษา
2.2.5.8 การมองอนาคต

2.3 แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)


การจาลองแบบขั้นตอนการทางานของระบบ (Process Modeling) โดยจะนาเสนอรายละเอียด
ของการจาลองขั้นตอนการทางานของระบบด้วย “แผนภาพกระแสข้อมูล ” จากแผนภาพจะแสดงให้
เห็ น ถึงขั้นตอนการทางานของระบบ ข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบ รวมทั้งข้อมูลที่ไหลอยู่ภายใน
ระบบ จากขั้นตอนหนึ่งไปยังอีกขั้นตอนหนึ่ง
2.3.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพกระแสข้อมูล
สัญลักษณ์ที่ใช้เป็นมาตรฐานในการแสดงแผนภาพกระแสข้อมูลมีหลายชนิด แต่ในที่นี้
จะแสดงเพี ย ง 2 ชนิ ด ได้ แ ก่ ชุ ด สั ญ ลั ก ษณ์ ม าตรฐานที่ พั ฒ นาโดย Gane and Sarson และชุ ด
สัญลักษณ์มาตรฐานที่พัฒนาโดย DeMarco and Yourdon โดยมีสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 2.1 สัญลักษณ์แผนภาพกระแสข้อมูล


ความหมาย DeMarco & Yourdon Symbols Gane & Sarson Symbols

การประมวลผล
(Process)
แหล่งเก็บข้อมูล
(Data Store)
สิ่งที่อยู่ภายนอก
(External Entity)
กระแสข้อมูล
(Data Flow)
14

2.3.1.1 การประมวลผล (Process) คือ งานที่ดาเนินการ ตอบสนองข้อมูล ที่รับเข้าหรือ


ดาเนินการ ตอบสนองต่อเงื่อนไข สภาวะใด ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าขั้นตอนการดาเนินงานนั้นจะกระทาโดย
บุคคล หน่วยงาน หุ่นยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม
2.3.1.2 แหล่งเก็บข้อมู ล (Data Store) เป็นแหล่งเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เปรียบเสมือน
คลังข้อมูล (เทียบเท่ากับไฟล์ข้อมูลและฐานข้อมูล) โดยอธิบายรายละเอียดและคุณสมบัติเฉพาะตัวของ
สิ่งที่ต้องการเก็บหรือบันทึก
2.3.1.3 สิ่ ง ที่ อ ยู่ ภ ายนอก (External Entities) หมายถึ ง บุ ค คล หน่ ว ยงานในองค์ ก ร
องค์กรอื่น ๆ หรือระบบงานอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกขอบเขตของระบบ แต่มีความสัมพันธ์กับระบบ โดยมี
การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อดาเนินงานและรับข้อมูลที่ผ่านการดาเนินงานเรียบร้อยแล้ วจากระบบ
2.3.1.4 กระแสข้อมูล (Data Flows) เป็นการสื่อสารระหว่างการการประมวลผล ต่าง ๆ
และสภาพแวดล้อมภายนอกหรือภายในระบบ โดยแสดงถึงข้อมูลที่นาเข้าไปในแต่ละ การประมวลผล
และข้อมูลที่ส่งออกจาก การประมวลผล ใช้ในการแสดงถึงการบันทึกข้อมูล การลบข้อมูล การแก้ไข
ข้อมูลต่าง ๆ
2.3.2 หลักการเขียนสัญลักษณ์แผนภาพกระแสข้อมูล
แผนภาพกระแสข้อมูล เป็นเครื่องมือเชิงโครงสร้างที่ใช้บรรยายภาพรวมของระบบโดย
แสดงขั้นตอนการทางานของระบบ ระบุแหล่งกาเนิดของข้อมูล การไหลของข้อมูล ปลายทางข้อมูล
การเก็บข้อมูล และการประมวลผลข้อมู ล กล่าวคือ แผนผังกระแสข้อมูล จะช่วยแสดงแผนภาพ ว่า
ข้อมูลมาจากไหน จะไปไหน เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน มีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลระหว่างทาง เรียกว่า แผนภาพ
กระแสข้ อ มู ล หรื อ แผนภาพแสดงความเคลื่ อ นไหวของข้ อ มู ล โดยแผนผั งกระแสข้ อ มู ล ในที่ นี้ จ ะ
แสดงเพีย ง ชุดสั ญ ลั กษณ์ มาตรฐานที่พัฒ นาโดย Gane and Sarson โดยมี วิธีการเขียนสั ญ ลั กษณ์
ดังต่อไปนี้
2.3.2.1 การประมวลผล สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบ ายคือ สี่เหลี่ยมมุมมน มีเส้นตัดผ่านด้านบน
ประกอบด้วย หมายเลขและชื่อการประมวลผล

รูปที่ 2.1 การเขียนสัญลักษณ์การประมวลผล

2.3.2.2 แหล่งเก็บข้อมูล สัญลักษณ์ที่ใช้อธิบายคือ สี่เหลี่ยมเปิดหนึ่งข้าง แบ่งออกเป็น


สองส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ทางด้านซ้ายใช้แสดงรหัสของ แหล่งเก็บข้อมูล อาจจะเป็นหมายเลขลาดั บ
หรือตัวอักษรได้เช่น D1, D2 เป็นต้น สาหรับส่วนที่ 2 ทางด้านขวา ใช้แสดงชื่อแหล่งเก็บข้อมูลหรือชื่อ
ไฟล์ โดยสามารถทาการซ้า (Duplicate) ได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย \ (Back Slash) ตรงมุมล่างซ้าย
15

รูปที่ 2.2 การเขียนสัญลักษณ์แหล่งเก็บข้อมูล

2.3.2.3 สิ่งที่อยู่ภ ายนอก สัญ ลักษณ์ ที่ใช้อธิบายคือ สี่ เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ย มผืนผ้ า
ภายในจะต้องแสดงชื่อของ สิ่งที่อยู่ภายนอก โดยสามารถมีการทาการซ้า ได้ด้วยการใช้เครื่องหมาย \
ตรงมุมล่างซ้าย

รูปที่ 2.3 การเขียนสัญลักษณ์สิ่งที่อยู่ภายนอก

2.3.2.4 กระแสข้ อ มู ล สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ใ ช้ อ ธิ บ ายคื อ เส้ น ตรงที่ ป ระกอบด้ ว ยหั ว ลู ก ศร


ตรงปลายเพื่อบอกทิศทางการเดินทางหรือการไหลของข้อมูล กระแสข้อมูล

รูปที่ 2.4 การเขียนสัญลักษณ์กระแสข้อมูล

2.3.3 เงื่อนไขเกี่ยวกับการเขียนสัญลักษณ์แผนภาพกระแสข้อมูล
2.3.3.1 การประมวลผล
1) ต้องไม่มีข้อมูลรับเข้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการส่งข้อมูลออกจากขั้นตอน
การทางาน เรียกข้อผิดพลาดชนิดนี้ว่า "Black Hole" เนื่องจากข้อมูลทีร่ ับเข้ามาแล้วสูญหายไป
2) ต้องไม่มีข้อมูลออกเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีข้อมูลเข้าสู่การประมวลผล
3) ข้อมูลรับเข้าจะต้องเพียงพอในการสร้างข้อมูลส่งออก กรณีที่มีข้อมูลที่รับเข้า
ไม่เพียงพอในการสร้างข้อมูลส่งออกเรียกว่า "Gray Hole" โดยอาจเกิดจากการรวบรวมข้อเท็จจริงและ
ข้อมูลไม่สมบูรณ์ หรือการใช้ชื่อข้อมูลรับเข้าและข้อมูลส่งออกผิด
4) การตั้ งชื่ อ การประมวลผล ต้ อ งใช้ ค ากริ ย า เช่ น Prepare Management
Report Calculate Data ส าหรับ ภาษาไทยใช้เป็นคากริยาเช่นเดียวกัน เช่น บันทึกข้อมูล ใบสั่งซื้ อ
ตรวจสอบข้อมูลลูกค้า คานวณเงินเดือน เป็นต้น
2.3.3.2 แหล่งเก็บข้อมูล
1) ข้อมูลจากแหล่งเก็บ ข้อมูลหนึ่ง จะวิ่งไปสู่อีกแหล่งเก็บ ข้อมูล หนึ่ง โดยตรง
ไม่ได้จะต้องผ่านการประมวลผลก่อน
2) ข้อมูลจากสิ่งที่อยู่ภายนอก จะวิ่งเข้าสู่สิ่งที่อยู่ภายนอกโดยตรงไม่ได้
16

3) การตั้งชื่อแหล่งเก็บข้อมูลจะต้องใช้คานาม เช่น Customer File, Inventory


และ Employee File เป็นต้น
2.3.3.3 สิ่งที่อยู่ภายนอก
1) ข้อมูลจากสิ่งที่อยู่ภายนอก จะวิ่งไปสู่อีกสิ่งที่อยู่ภายนอกหนึ่ง โดยตรงไม่ได้
จะต้องผ่านการประมวลผล ก่อนเพื่อประมวลข้อมูลนั้น จึงได้ข้อมูลออกไปสู่อีกสิ่งที่อยู่ภายนอก
2) การตัง้ ชื่อสิ่งที่อยู่ภายนอก ต้องใช้คานาม เช่น Customer, Bank เป็นต้น
2.3.3.4 กระแสข้อมูล
1) ชื่ อ ของกระแสข้ อ มู ล ควรเป็ น ชื่ อ ของข้ อ มู ล ที่ ส่ งโดยไม่ ต้ อ งอธิ บ ายว่ าส่ ง
อย่างไร ทางานอย่างไร
2) กระแสข้อมูล ต้องมีจุดเริ่มต้นหรือสิ้ นสุ ดที่ การประมวลผล เพราะกระแส
ข้อมูล คือข้อมูลนาเข้าและข้อมูลส่งออกของการประมวลผล
3) กระแสข้อมูลจะเดินทางระหว่าง สิ่งที่อยู่ภายนอกกับสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ได้
4) กระแสข้อมูลจะเดินทางจาก สิ่งที่อยู่ภายนอกไปแหล่งเก็บข้อมูลไม่ได้
5) กระแสข้อมูลจะเดินทางจาก แหล่งเก็บข้อมูลไปสิ่งทีอ่ ยู่ภายนอกไม่ได้
6) กระแสข้อมูลจะเดินทางระหว่าง แหล่งเก็บข้อมูลกับแหล่งเก็บข้อมูลไม่ได้
7) การตั้ งชื่ อ กระแสข้ อ มู ล จะต้ อ งใช้ ค านาม เช่ น Inventory Data, Goods
Sold Data เป็นต้น
2.3.4 ระดับแผนภาพกระแสข้อมูล
ระดับแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram Hierarchy) คือ ระดับขั้นของการ
แสดงแผนภาพ โดยเริ่มจากภาพรวม ของระบบและทาการแยกออกเป็นส่วน ๆ หรือการทาให้ภาพ
ปั จ จุ บั น ละเอี ย ดขึ้ น (Functional Decomposition) ล าดั บ แผนภาพกระแสข้ อ มู ล สามารถแบ่ ง
ออกเป็น 3 ลาดับได้ดังนี้
2.3.4.1 แผนภาพบริบท (Context Diagram) หรือแผนภาพกระแสข้อมูลระดับ 0 (DFD
Level 0) คื อ แผนภาพกระแสข้ อ มู ล ระดั บ บนสุ ด ที่ แ สดงภาพรวมการท างานของระบบที่ มี
ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมภายนอกระบบ
2.3.4.2 แผนภาพกระแสข้อมูลระดับที่ 1 (DFD Level 1) คือ แผนภาพบริบทซึ่งผ่านการ
แยกออกเป็ น ส่ วน ๆ โดยที่ นั กวิเคราะห์ ระบบยังคงวาด บุคคล ระบบภายนอก และการเคลื่ อนที่
ของข้อมูล จากภายนอกเข้าสู่ระบบไว้ แต่จ ะทาการแยกกระบวนการหลัก (ซึ่งอยู่ตรงกลางภาพใน
แผนภาพบริบท) ให้ออกเป็นกระบวนการย่อย ๆ (Sub Processes)
2.3.4.3 แผนภาพกระแสข้อมูล ระดับที่ 2 (DFD Level 2) คือ แผนภาพกระแสข้อมู ล
ระดับที่ 1 ซึ่งผ่านการแยก ออกเป็น ส่วน ๆ โดยนักวิเคราะห์ระบบจะเริ่มจากการเลือกกระบวนการ
ที่อยู่ในแผนภาพกระแส ข้อมูลระดับที่ 1 ทีละ 1 กระบวนการ เช่น เลือกกระบวนการหมายเลข 1.0
หลั งจากเลื อ กกระบวนการที่ ต้ อ งการศึ ก ษาแล้ ว นั ก วิเคราะห์ ร ะบบยั งคงวาด การเคลื่ อ นที่ ข อง
ข้อมูลเข้าและการเคลื่อนที่ของข้อมูลออก ที่มีผลต่อกระบวนการที่เลือกและทาการแยกกระบวนการ
ที่เลือกออกเป็นกระบวนการย่อย
17

2.3.5 หลักเกณฑ์การตรวจสอบแผนผังกระแสข้อมูล
หลักเกณฑ์การตรวจสอบแผนผังกระแสข้อมูล (Balancing DFD) หมายถึงความสมดุล
ของแผนภาพจะต้องมี Input Data Flow ที่เข้าสู่ระบบและมี Output Data Flow ที่ออกจากระบบ
ใน DFD ระดั บ ล่ า ง (Child Diagram) ให้ ค รบทุ ก Input Data Flow และ Output Data Flow
ที่ปรากฏอยู่ใน DFD ระดับบน (Context Diagram)
2.3.5.1 มีความสมบูรณ์
2.3.5.2 มีความสอดคล้อง
2.3.5.3 มีการทาซ้า
2.3.5.4 มีการแบ่งระย่อยและต้องมีจดุ สิ้นสุด
2.3.6 พจนานุกรมข้อมูล
พจนานุ ก รมข้ อ มู ล (Data Dictionary) เป็ น สิ่ งที่ มี ค วามส าคั ญ อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การจั ด เก็ บ
รายละเอียดของข้อมูลไว้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากทุกฐานข้อมูลจะมีการจัดเก็บรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับข้อมูล (Metadata) ภายในฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่ น โครงร่างของฐานข้อมูลระดับภายนอก
(External Schema) โครงร่างของฐานข้อมู ลระดั บแนวคิด (Conceptual Schema) และโครงร่าง
ของฐานข้อมูลระดับ ภายใน (Internal Schema) เป็นต้น ซึ่งส่ วนที่ใช้สาหรับจัดเก็บข้อมูลลักษณะ
ดังกล่าว คือ พจนานุกรมข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า System Catalog
2.3.6.1 ความหมายของพจนานุกรมข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล หมายถึง แฟ้มที่เก็บบันทึก
รายละเอี ย ดต่ า ง ๆ เกี่ ย วกั บ ข้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ อยู่ ภ ายในฐานข้ อ มู ล ตั ว อย่ า งเช่ น โครงสร้ า งข้ อ มู ล
โครงสร้างตาราง โครงสร้างดัชนี กฎที่ใช้เพื่อควบคุ มความบูรณภาพของข้อมูล (Integrity Rule) กฎที่
ใช้เพื่ อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Security Rule) และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
บริหารฐานข้อมูล เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีความสาคัญสาหรับระบบจัดการฐานข้อมูลใน
การตัดสินใจเพื่อดาเนินการเรื่ องต่าง ๆ ในฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับกฎที่ใช้เพื่อรักษา
ความปลอดภัยของข้อมูลจะถูกนามาใช้ในการพิจารณากาหนดสิทธิของผู้ใช้ในระบบฐานข้อมูล เป็นต้น
2.3.6.2 ส่วนประกอบพจนานุกรมข้อมูล
1) ชื่อข้อมูล ในพจนานุกรมข้อมูลจะประกอบด้วยชื่อข้อมูล ซึ่งโดยทั่วไปจะถูก
เรียกใช้ด้วยซอฟต์แวร์ในส่วนต่าง ๆ ของระบบจัดการฐานข้อมูล หากข้อมูลเดียวกันมีชื่อแตกต่างกันไป
ในแต่ละโปรแกรม พจนานุกรมข้อมูลก็จะต้องระบุชื่ อที่ต่างกันของข้อมูลนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถ
อ้างอิงได้ว่าหมายถึงข้อมูลเดียวกัน
2) คาอธิบายชื่อข้อมูล ในแต่ล ะชื่อข้อมูลควรมีคาอธิบายแสดงความหมายเพื่อ
ขยายความชื่ อข้อมู ล นั้ น ๆ เพื่ อให้ ผู้ ใช้ส ามารถท าความเข้าใจได้ง่ายและสะดวก เนื่องจากในบาง
ซอฟต์แวร์ อาจมีข้อจากัดในเรื่องจานวนตัวอักขระที่ ใ ช้ในการกาหนดชื่อข้อมูล ดังนั้ น การอธิบาย
ขยายความชื่อข้อมูลจึงเป็นสิ่งสาคัญยิ่ง สาหรับนักวิเคราะห์ระบบที่จะต้องดาเนินการจัดทาให้ชัดเจน
3) ชนิ ด ของข้ อ มู ล ในพจนานุ ก รมข้ อ มู ล แต่ ล ะชื่ อ ข้ อ มู ล ควรมี ก ารก าหนด
อย่างชัดเจนว่าข้อมูลนั้น ๆ มีรูปแบบชนิดใด ตัวอย่างเช่น เป็นตัว อักขระ ข้อความ ตัวเลข หรือตรรกะ
(Logic/Boolean)
18

4) ขนาดของข้อมูล หมายถึง ขนาดหรือความยาวสูงสุด (Maximum Length)


ทีช่ ื่อข้อมูลนั้นจะสามารถจัดเก็บได้
5) รายละเอียดอื่น ๆ ในพจนานุกรมข้อมูลอาจมีรูปแบบและรายละเอียดอื่น ๆ
ที่เพิ่มเติมแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมและความเห็นของนักวิเคราะห์ระบบ ตัวอย่างเช่น
รายละเอี ย ดของรี เลชั น หรื อ ตาราง อาจประกอบด้ ว ยชื่ อ ตาราง ชื่ อ แอททริ บิ ว ต์ ห รื อ เขตข้ อ มู ล
ชื่อแอททริบิวต์ที่เป็นคีย์หลัก คีย์สารองและคีย์นอก ตลอดจนข้อจากัดต่าง ๆ เป็นต้น
2.3.6.3 ประเภทพจนานุกรมข้อมูล
1) พจนานุกรมข้อมูลแบบ Passive เป็นพจนานุกรมข้อมูลของระบบงานหนึ่ง
ที่มีการสร้างขึ้นโดยบุคคลที่เกีย่ วข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารฐานข้อมูล นักวิเคราะห์
และออกแบบระบบ หรือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป เป็นต้น ดังนั้น พจนานุกรมแบบ Passive จึง
มักจะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นด้วยระบบ Manual หรือจัดทาเป็นแฟ้มข้อมูลหนึ่ง ๆ แทนที่จะถูกสร้างขึ้น
ด้วยซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล
2) พจนานุกรมแบบ Active เป็นพจนานุกรมข้อมูลของระบบงานหนึ่ง ที่ระบบ
จัดการฐานข้อมูลดาเนินการสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ ดังนั้น พจนานุกรมแบบ Active จึงเป็นพจนานุกรม
ที่เก็บบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละระบบ ซึ่งในระบบฐานข้อมูลเชิง
สั ม พั น ธ์ โครงสร้ า งข้ อ มู ล ของพจนานุ กรมแบบ Active จะมี ลั ก ษณะเป็ น ตารางที่ มี ก ารออกแบบ
เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น จึงสามารถนาข้อมูลจากพจนานุกรมแบบ Active ไปใช้ประโยชน์ได้โดยสะดวก
3) พจนานุกรมแบบ Alien เป็นพจนานุกรมข้อมูลของระบบงานทั้ งหมดภายใน
องค์กร เป็นส่วนที่เก็บรวบรวมรายละเอียดเกีย่ วกับข้อมูล ที่เป็นผลมาจากการออกแบบฐานข้อมูลของ
ระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร ทาให้สามารถมองเห็นภาพรวมของการใช้งานระบบฐานข้อมูลภายใน
องค์กรซึ่งสามารถนาไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากมาย
2.3.6.4 ประโยชน์พจนานุกรมข้อมูล
1) การควบคุมการใช้ ฐานข้อมูลพร้อมกันจากผู้ใช้หลายคน เนื่องจากในระบบ
ฐานข้อมูลอาจมีผู้ใช้งานฐานข้อมูลพร้อมกันหลายคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนสามารถค้นหา
และเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน หากทว่าในการปรับปรุง การเพิ่ม หรือการลบข้อมูลใด ๆ จะมีผู้ใช้เ พียง
คนเดียวเท่านั้นที่สามารถดาเนินการได้ เนื่องจากการใช้หลักการ ป้องกันข้อมูลเพื่อป้องกันการแก้ไข
ข้อมูลเดียวกันของผู้ใช้หลายคนในขณะเดียวกัน ซึ่งรายละเอียดจะมีการเก็บอยู่ในพจนานุกรมข้อมูล
2) การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากในระบบฐานข้อมูลจะมีผู้ใช้ งาน
ฐานข้อมูลร่วมกันหลายคน ข้อมูลที่สาคัญบางอย่างจึงควรได้รับการป้องกันเพื่อไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง
เข้ ามาใช้ งานหรื อ ท าการแก้ ไขเปลี่ ย นแปลงได้ ซึ่ งระบบจัด การฐานข้อ มู ล จะจั ด การเก็ บ รวบรวม
รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิของ ผู้ใช้งานแต่ละคนไว้ในฐานข้อมูล ว่าใครบ้างที่มีสิทธิในการค้นหาข้อมูลได้
เพียงอย่างเดียว ใครที่มีสิทธิในการปรับปรุง เพิ่มเติม หรือลบข้อมูล
3) การควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล เนื่องจากรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ
ข้อมูลในฐานข้อมูลจะถูกเก็บรวบรวมไว้ในพจนานุกรมข้อมูล ดังนั้น ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล
พจนานุกรมข้อมูลจะทาการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ทาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นแตกต่างไปจากขอบเขต
ที่ได้มีการกาหนดไว้แล้วหรือไม่ โดยจะยอมรับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเฉพาะข้อมูลที่อยู่ภายในขอบเขต
19

ที่กาหนดไว้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากมีการกาหนดไว้ในพจนานุกรมข้อมูลตั้งแต่แรกว่า รหั สประจาตัว


นิสิตต้องเป็นตัวเลขที่มีค่ามากกว่าศูนย์ ถ้าผู้ใช้ทาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลรหัสประจาตัวนิสิตโดย
ระบุเป็นตัวอักขระหรือช่องว่าง พจนานุกรมข้อมูลจะทาการตรวจสอบและไม่ยอมรับให้มีการแก้ไข
เปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว เป็นต้น

2.4 ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล
ภาษาที่ ใช้ในระบบฐานข้อมูล จะใช้ภ าษา SQL ย่อมาจาก Structure Query Language หรือ
เรียกว่า ซีเควน ภาษา SQL มักจะนามาใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานมี ลักษณะ
คล้ายกับภาษาอังกฤษ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ภาษาสาหรับการนิยามข้อมูล (Data
Definition Language: DDL) ภาษาส าหรั บ การจั ด การข้ อ มู ล (Data Manipulation Language:
DML) ภาษาควบคุ ม (Control Language) ภาษาส าหรั บ การนิ ย ามข้ อ มู ล ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย ค าสั่ ง
สาหรับสร้างโครงสร้างตารางและกาหนดชนิดของข้อมูล ขนาดของข้อมูลที่จะเก็บ ภาษาสาหรับการ
จัดการข้อมูล ประกอบด้วยคาสั่งสาหรับจัดการข้อมูล เช่น เพื่อแทรกข้อมูลเข้าสู่ตาราง เพื่อเรียกข้อมูล
จากตารางมาแสดงผลที่ จ อภาพ เพื่ อ แก้ ไขหรือ ลบข้ อ มู ล ที่ ไม่ ต้ อ งการ ในส่ ว นของภาษาควบคุ ม
จะประกอบด้วยคาสั่งสาหรับการอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนหรือกลุ่มผู้ใ ช้กลุ่มใด มีสิทธิในการใช้คาสั่งใด
ได้บ้าง รวมทั้งคาสั่งสาหรับสารองข้อมูลไม่ให้เสียหายและคาสั่งในการกู้คืนข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลได้รับ
ความเสียหาย เป็นต้น
2.4.1 ฐานข้อมูล
ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง โครงสร้างสารสนเทศที่ประกอบด้วยรายละเอียดของ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันที่จะนามาใช้ในระบบต่าง ๆ ร่วมกัน ระบบฐานข้อมูล จึงนับว่าเป็นการจัดเก็บ
ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการกับข้อมูลได้ในลักษณะต่าง ๆ ทั้งการเพิ่ม การแก้ไข การ
ลบ ตลอดจนการเรียกดูข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการประยุกต์นาเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยใน
การจัดการฐานข้อมูล
2.4.1.1 นิยามและคาศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล
1) บิท (Bit) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด
2) ไบท์ (Byte) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนาบิทมารวมกันเป็นตัว
อักขระ (Character)
3) เขตข้อมูล (Field) หมายถึง หน่วยของข้อมูล ที่ประกอบขึ้นจากตัวอักขระ
ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป มารวมกันแล้วได้ความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ชื่อ ที่อยู่ เป็นต้น
4) ระเบียน (Record) หมายถึง หน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนเอาเขตข้อมูล
หลาย ๆ เขตข้อมูลมารวมกัน เพื่อเกิดเป็นข้อมูลเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ข้อมูลของนักศึกษา 1 ระเบียน
จะประกอบด้วย รหัสประจาตัวนักศึกษา 1 เขตข้อมูล ชื่อนักศึกษา 1 เขตข้อมูล ที่อยู่ 1 เขตข้อมูล
5) แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงหน่วยของข้อมูลที่เกิดจากการนาข้อมูลหลาย ๆ
ระเบียนที่เป็นเรื่องเดียวกันมารวมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลพนักงาน
20

6) เอนทิ ตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่ งใดสิ่ งหนึ่ ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่ งของ
การกระทา ซึ่งต้องการจัดก็บข้อมูล ไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
7) แอททริบิวต์ (Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและ
คุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย แอทริบิวต์รหัสนักศึกษา แอททริบิวต์
ชื่อนักศึกษา และแอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
8) ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ เช่น
ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้นักศึกษาและเอนทิตี้คณะวิชา เป็นลักษณะว่า นักศึกษาแต่ละคนเรียนอยู่
คณะวิชาใดคณะวิชาหนึ่ง
2.4.1.2 ความสาคัญของการประมวลผลแบบระบบฐานข้อมูล
จากการจัดเก็บข้อมูลรวมเป็นฐานข้อมูลจะก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้
1) สามารถลดความซ้าซ้อนของข้อมูลได้ การเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันไว้หลายที่
ทาให้ เกิดความซ้าซ้อ น (Redundancy) ดังนั้ นการน าข้อมู ล มารวมเก็บ ไว้ในฐานข้อมูล จะช่ วยลด
ปัญ หา การเกิดความซ้าซ้อนของข้อมูลได้ โดยระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management
System : DBMS) จะช่ ว ยควบคุ ม ความซ้ าซ้ อ นได้ เนื่ อ งจากระบบจั ด การฐานข้ อ มู ล จะทราบได้
ตลอดเวลาว่ามีข้อมูลซ้าซ้อนกันอยู่ที่ใดบ้าง
2) หลี กเลี่ ย งความขัด แย้งของข้อมู ล ได้ หากมีก ารเก็ บข้ อมู ล ชนิ ด เดีย วกัน ไว้
หลายที่และมีการปรับ ปรุงข้อมูลเดียวกันนี้ แต่ปรั บปรุงไม่ครบทุกที่ที่มีข้อมูล เก็บอยู่ก็จะทาให้เกิด
ปัญหาข้อมูลชนิดเดียวกัน อาจมีค่าไม่เหมือนกันในแต่ละที่ที่เก็บข้อมูลอยู่ จึงก่อใให้เกิดความขัดแย้ง
ของข้อมูลขึ้น (Inconsistency
3) สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ฐานข้อมูลจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลรวมไว้ด้วยกัน
ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มาจากแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ก็จะทาได้โดยง่าย
4) สามารถรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูล บางครั้งพบว่าการจัดเก็บ
ข้อมูลในฐานข้อมูลอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เช่น จากการที่ผู้บันทึกข้อมูล บันทึกข้อมูลผิดพลาดคือ
บันทึกจากตัวเลขหนึ่งไปเป็นอีกตัวเลขหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีที่มีผู้ใช้หลายคนต้องใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล
ร่วมกัน หากผู้ใช้คนใดคนหนึ่งแก้ไขข้อมูลผิดพลาดก็จะทาให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบตามไปด้วย ในระบบ
จัดการฐานข้อมูล จะสามารถกาหนดกฎเกณฑ์เพื่อควบคุมความผิดพลาดที่เกดขึ้น
5) สามารถกาหนดความเป็ น มาตรฐานเดี ยวกันของข้อมู ล ได้ การเก็บ ข้อมู ล
ร่วมกันไว้ในฐานข้อมูลจะทาให้สามารถกาหนดมาตรฐานของข้อมูลได้รวมทั้งมาตรฐานต่าง ๆ ในการ
จัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันได้ เช่นการกาหนดรูป แบบการเขียนวันที่ ในลักษณะ วัน
เดือนปี หรือปี เดือนวัน ทั้งนี้จ ะมีผู้ ที่คอยบริหารฐานข้อมูล เรียกว่า ผู้บริห ารฐานข้อมูล (Database
Administrator : DBA) เป็นผู้กาหนดมาตรฐานต่าง ๆ
6) สามารถกาหนดระบบความปลอดภัยของข้อมูล ได้ ระบบความปลอดภั ย
เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่มีสิทธิมาใช้งานหรือมาเห็นข้อมูลบางอย่างในระบบ ผู้บริหารฐานข้อมูลจะ
สามารถกาหนดระดับการเรียก ใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ตามความเหมาะสม
7) เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล ในระบบฐานข้อมูลจะมีตัวจัดการฐานข้อมูล
ที่ทาหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงกับฐานข้อมู ล โปรแกรมต่าง ๆ อาจไม่จาเป็นต้องมีโครงสร้างข้อมูลทุกครั้ง
21

ดังนั้นการแก้ไขข้อมูลบางครั้ง จึงอาจกระทาเฉพาะกับโปรแกรมที่เรียกใช้ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น
ส่วนโปรแกรมที่ไม่ได้เรียกใช้ข้อมูลดังกล่าว ก็จะเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลง
2.4.2 โครงสร้างข้อมูล
แบบจาลองข้อมูล คือ เครื่องมือในเชิงแนวความคิดที่ใช้ในการอธิบายข้อมูล โครงสร้าง
ข้อมูลความสัมพันธ์ของข้อมูล ความหมายของข้อมูล และเงื่อนไขบังคับความสอดคล้องกันของข้อมูล
2.4.2.1 แบบจ าลองการจั ด ข้ อ มู ล เชิ งล าดั บ ชั้ น (Hierarchical Database) ฐานข้ อ มู ล
แบบล าดั บ ชั้ น เป็ นโครงสร้ า งที่ จั ด เก็ บ ข้ อ มู ล ในลั ก ษณ ะความสั ม พั น ธ์ แ บบ Parent-Child
Relationship Type หรื อ เป็ น โครงสร้างรูป แบบต้ น ไม้ (Tree) ข้ อ มู ล ที่ จัด เก็ บ ในที่ นี้ คื อ ระเบี ย น
(Record) ซึ่งประกอบด้วยค่าของเขตข้อมูล (Field) ของเอนทิตหี้ นึ่งนั่นเอง
2.4.2.2 แบบจาลองการจัดข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database) ฐานข้อมูลแบบ
เครือข่าย จะเป็ นการรวมระเบี ยนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างระเบียน ต่างกับฐานข้อมูลเชิง
สั มพั น ธ์คื อ ในฐานข้ อมูล เชิงสั มพั น ธ์ จ ะแฝงความสั มพั น ธ์เอาไว้ โดยระเบี ยนที่มี ความสั ม พั นธ์กั น
จะต้ อ งมี ค่ า ของข้ อ มู ล ในแอททริ บิ ว ต์ ห นึ่ ง เหมื อ นกั น แต่ ใ นฐานข้ อ มู ล แบบเครื อ ข่ า ยจะแสดง
ความสัมพันธ์อย่างชัดเจน โดยแสดงไว้ในโครงสร้าง
2.4.2.3 แบบจ าลองการจั ด ข้ อ มู ล เชิ ง สั ม พั น ธ์ (Relational Database) เป็ น การเก็ บ
ข้อมูลในรูปแบบที่เป็นตาราง (Table) หรือเรียกว่า รีเลชัน (Relation) มีลักษณะเป็น 2 มิติ คือเป็น
แถว (Row) และเป็ น คอลั ม น์ (Column) การเชื่ อ มโยงข้ อ มู ล ระหว่ า งตาราง จะเชื่ อ มโยงโดยใช้
แอททริบิวต์ (Attribute) หรือคอลัมน์ที่เหมือนกันทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล ฐานข้อมูลเชิง
สัมพันธ์นี้จะเป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2.4.3 ระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจั ด การฐานข้ อ มู ล เปรีย บเสมื อ นสื่ อ กลางระหว่ างผู้ ใช้ แ ละโปรแกรมต่ าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับ การใช้ฐานข้อมูล ซึ่งมีห น้าที่ ช่วยให้ ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล ได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภ าพ
การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูลหรือการตั้งคาถาม เพื่อให้ได้
ข้อมูลมาโดยผู้ใช้ไม่จาเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล เปรียบเสมือน
เป็ น สื่ อ กลางระหว่างผู้ ใช้ แ ละโปรแกรมต่ าง ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การใช้ ฐ านข้ อ มู ล ซึ่ งต่ างจากระบบ
แฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์
2.4.3.1 ภาษาส าหรับ นิยามข้อมูล (Data Definition Language : DDL) เป็นส่ วนหนึ่ง
ของภาษา SQL โดยเป็นภาษาที่ใช้นิยามโครงสร้า งของฐานข้อมูล เพื่อทาการสร้างเปลี่ยนแปลงหรือ
ยกเลิกโครงสร้างของฐานข้อมูลตามที่ได้ออกแบบไว้ โครงสร้างของฐานข้อมูล สามารถเรียกได้อีกอย่าง
ว่า สคี ม า (Sehema) ดั งนั้ น ภาษาส าหรั บ นิ ย ามข้ อ มู ล จึ งเป็ น ภาษาที่ ใช้ ในการสร้ างสคี ม านั้ น เอง
หลังจากที่ได้มีการออกแบบฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้วจะทาให้ทราบว่าฐานข้อมูลนั้นมีสคีมาอย่างไร และ
ประกอบด้วยตารางใดบ้าง แต่ละตารางสัมพันธ์กันอย่างไร คีย์หลักของตารางคืออะไร เมื่ อทราบถึง
รายละเอียดต่าง ๆ ที่ได้จ ากการออกแบบฐานข้อมูล แล้วก็จะทาการสร้างตารางต่าง ๆ ที่จะใช้เป็น
ฐานข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
22

2.4.3.2 ภาษาสาหรับการใช้ข้อมูล (Data Manipulation Language : DML) เป็นภาษา


สาหรับ จั ดการข้อมูล ที่จัดเก็ บ อยู่ใน ตารางฐานข้อมูล ซึ่ งในกลุ่ มภาษา DML นั้นจะครอบคลุมการ
จัดการข้อมูลทั้งหมด เช่น การเพิ่ม (Insert) แก้ไข (Update) ค้นหา (Select) และลบข้อมูล (Delete)
2.4.3.3 พจนานุกรมข้อมูล หมายถึง แฟ้มที่เก็บบันทึกรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับข้อมูล
ที่จัดเก็บอยู่ภายในฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น โครงสร้างข้อมูล โครงสร้างตาราง โครงสร้างดัชนี กฎที่ใช้
เพื่อควบคุมความบูรณภาพของข้อมูล กฎที่ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และรายละเอียด
อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารฐานข้อมูล เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่มีความสาคัญสาหรับ
ระบบจัดการฐานข้อมูลในการตัดสินใจเพื่อดาเนินการเรื่องต่าง ๆ ในฐานข้อมูล
2.4.4 ความสัมพันธ์ของข้อมูล
การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งเอนทิ ตี้ ในฐานข้ อ มู ล เชิ ง สั ม พั น ธ์ ก ระท าได้ โดยการ
กาหนดให้เอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กันมีแอททริบิวต์ที่เหมือนกัน และใช้ค่าของแอททริบิวต์ที่เหมือนกัน
เป็นตัวระบุข้อมูลในเอนทิตี้ที่มีความสัมพันธ์กัน
2.4.4.1 ความสั มพัน ธ์แบบหนึ่ งต่อหนึ่ ง (One-to-one Relationships) เป็ นการแสดง
ความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิตี้หนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลในอีกเอนทิตี้หนึ่ง ในลักษณะหนึ่งต่อ
หนึ่ง (1:1)
2.4.4.2 ความสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-many Relationships) เป็นการแสดง
ความสัมพันธ์ของข้อมูลในเอนทิ ตี้หนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลหลาย ๆ ข้อมูลในอีกเอนทิต้ีหนึ่ง ใน
ลักษณะ (1:M)
2.4.4.3 ความสั ม พั น ธ์ แ บบกลุ่ ม ต่ อ กลุ่ ม (Many-to-many Relationships) เป็ น การ
แสดงความสัมพันธ์ของข้อมูลสองเอนทิต้ีในลักษณะกลุ่มต่อกลุ่ม (M:N)

2.5 โปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
2.5.1 phpMyAdmin Database Manager & MySQL Database 4.6.6
phpMyAdmin Database Manager คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาโดยใช้ภาษา PHP เพื่อใช้
ในการบริห ารจั ดการฐานข้อมู ล MySQL แทนการคีย์ คาสั่ ง เนื่ องจากถ้าเราจะใช้ฐ านข้อมู ล ที่ เป็ น
MySQL บางครั้ ง จะมี ค วามล าบากและยุ่ ง ยากในการใช้ ง าน ดั ง นั้ น จึ ง มี เครื่ อ งมื อ ในการจั ด การ
ฐานข้อมูล MySQL ขึ้นมาเพื่อให้สามารถจัดการ ตัว DBMS ที่เป็น MySQL ได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
โดย phpMyAdmin ก็ ถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ชนิ ด หนึ่ ง ในการจั ด การนั้ น เอง phpMyAdmin เป็ น ส่ ว น
ต่อประสานที่สร้างโดยภาษา PHP ซึ่งใช้จัดการฐานข้อมูล MySQL ผ่าน Web Browser โดยสามารถ
ที่จะทาการสร้างฐานข้อมูลใหม่ หรือทาการสร้าง TABLE ใหม่ และยังมี Function ที่ใช้สาหรับการ
ทดสอบการ Query ข้อมูลด้วยภาษา SQL พร้อมกันนั้ นยังสามารถทาการ Insert Delete Update
หรื อ แม้ ก ระทั่ ง ใช้ ค าสั่ ง ต่ า ง ๆ เหมื อ นกั บ กั น การใช้ ภ าษา SQL ในการสร้ า งตารางข้ อ มู ล และ
phpMyAdmin เป็นโปรแกรมประเภท MySQL Client ตัวหนึ่งที่ใช้ในการจัดการข้อมูล MySQL ผ่าน
Web Browser ได้ โ ดยตรง phpMyAdmin นี้ จ ะท างานบน Web Server เป็ น PHP Application
ที่ใช้ควบคุมจัดการ MySQL Server
23

MySQL Database คือ โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล ที่พัฒ นาโดยบริษัท MySQL AB มี


หน้าที่เก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รองรับคาสั่ง SQL เป็นเครื่องมือสาหรับเก็บข้อมู ล ที่ต้องใช้ร่วมกับ
เครื่องมือหรือโปรแกรมอื่นอย่างบู รณาการ เพื่อให้ได้ระบบงานที่รองรับความต้องการของผู้ ใช้ เช่น
ท างานร่ ว มกับ เครื่ องบริ การเว็บ (Web Server) เพื่ อให้ บ ริการแก่ ภ าษาสคริป ต์ ที่ ท างานฝั่ งเครื่อ ง
บริการ (Server-Side Script) เช่น ภาษา PHP ภาษา aps.net หรือภาษาเจเอสพี เป็นต้น หรือทางาน
ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์ (Application Program) เช่น ภาษาวิชวลเบสิกดอทเน็ต ภาษาจาวา หรือ
ภาษาซีชาร์ป เป็นต้น โปรแกรมถูกออกแบบให้สามารถทางานได้บ นระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย
และเป็นระบบฐานข้อมูลโอเพนทซอร์ท (Open Source) ที่ถูกนาไปใช้งานมากที่สุด MySQL จัดเป็น
ระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (RDBMS : Relational Database Management System) ซึ่ง
เป็ น ที่ นิ ย มใช้ กั น มากในปั จ จุ บั น MySQL แจกจ่ ายให้ ใช้ งานแบบ Open Source นั่ น คื อ ผู้ ใช้ งาน
MySQL ทุกคนสามารถใช้งานและปรับแต่งการทางานได้ตามต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
2.5.1.1 ความสามารถและการทางานของ MySQL
1) MySQL ถื อเป็ น ระบ บ จั ดก ารฐาน ข้ อมู ล (Database Management
System DBMS) ฐานข้อ มู ล มีลั กษณะเป็ น โครงสร้างของการเก็ บ รวบรวมข้ อมู ล การที่ จ ะเพิ่ ม เติ ม
เข้าถึงหรือประมวลผลข้ อมูลที่เก็บในฐานข้อมูล จาเป็นจะต้องอาศัยระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะทา
หน้าที่เป็นตัวกลางในการจัดการกับข้อมูล ในฐานข้อมูลทั้งสาหรับการใช้งานเฉพาะและรองรับการ
ทางานของแอพลิเคชั นอื่น ๆ ที่ต้องการใช้งานข้อมูลในฐานข้อมูล เพื่อให้ได้รับ ความสะดวกในการ
จัดการกับข้อมูลจานวนมาก MySQL ทาหน้าที่เป็นทั้งตัวฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูล
2) MySQL เป็ น ระบบจั ด การฐานข้ อ มู ล แบบ Relational ฐานข้ อ มู ล แบบ
Relational จะทาการเก็บ ข้อมูลทั้งหมดในรูปแบบของตารางแทนการเก็บข้อมูล ทั้งหมดลงในไฟล์
เพี ย งไฟล์ เดีย ว ท าให้ ท างานได้ร วดเร็ว และมี ความยืด หยุ่น นอกจากนั้น แต่ล ะตารางที่ เก็บ ข้อมู ล
สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันทาให้สามารถรวมหรือจัด กลุ่มข้อมูลได้ตามต้องการ โดยอาศัย ภาษา SQL
ที่เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม MySQL ซึ่งเป็นภาษามาตรฐานในการเข้าถึงฐานข้อมูล

รูปที่ 2.5 phpMyAdmin Database Manager


24

2.5.2 NetBeans IDE 8.2


เน็ตบีนส์ เป็นเครื่องมือสาหรับโปรแกรมเมอร์ที่จะใช้พัฒนา Application ด้วยภาษาจาวา
ในปี ค.ศ.1998 ได้มีกลุ่มนักศึกษา "Rock Solid Software" ได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาตัวหนึ่ง ที่จะใช้
ในการพัฒนา Application ด้วยภาษาจาวา เป็น Project นักศึกษา โดยตั้งชื่อว่า NetBeans และได้
เผยแพร่ให้ โปรแกรมเมอร์ แ ละบุ คคลทั่ ว ไปน าไปใช้งานได้ฟ รีในรูป แบบ Open source software
ต่อมาในปี ค.ศ.2000 บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ ผู้พัฒนาภาษาจาวา ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักในการ
พั ฒ นา NetBeans และได้ ท าออกมาในรูป ของ Open Source Software โดยผู้ ใช้ งานไม่ จาเป็ น ที่
จะต้องช าระเงิน เพื่อซื้ อมาใช้ งานและยังได้เปิดเผย Source Code ให้ ผู้ ส นใจและนักพั ฒ นานาไป
ดัดแปลง แก้ไข ตามกฎของ Open Source ปัจ จุบั นมีนักโปรแกรมเมอร์ทั่วโลกต่างช่วยกันพัฒ นา
NetBeans ให้มีความสามารถสูงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน NetBeans IDE ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นและได้รับ
การพัฒ นาให้มีความสามารถสูงยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากจะใช้ในการพัฒ นา Application ด้วยภาษา
จาวาแล้ว ยังสามารถพัฒนาได้อีกหลากหลายโดยติดตั้งโปรแกรมเสริม (Add-on) ได้จากเว็บไซต์หรือ
ผ่ า นตั ว อั ป เดตเซนเตอร์ (Update Center) ของ NetBeans เช่ น ภาษาซี / ซี พ ลั ส พลั ส (C/C++),
Ruby, UML, SOA, Web Application, Java EE, Mobility (Java ME), Java FX, Java Script,
PHP เป็นต้น ในเวอร์ชัน 6.0 เป็นต้นไปมีการรวมโปรแกรมเสริมต่าง ๆ ที่สาคัญเข้าในตัวติดตั้งของ
NetBeans โดยสามารถเลือกติดตั้งได้ภายหลัง

รูปที่ 2.6 NetBeans IDE 8.2

2.6 ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
2.6.1 ความหมายของความพึงพอใจ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (อ้างถึงพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2542)
ได้ให้ความหมาย ความพึงพอใจไว้ว่า พึงพอใจ หมายถึง รัก ชอบใจ และพึงใจ หมายถึง พอใจ ชอบใจ
ดิเรก ฤกษ์ ส าหร่ าย (2428, หน้ า 7) ได้ ให้ ค วามหมายว่า ความพึ งพอใจ หมายถึง ทั ศ นคติ
ทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความรู้สึกหรือทัศนคติที่ดีต่องานที่ทาของบุคคลที่มีต่องาน
ในทางบวก ความสุ ขของบุ คคลอัน เกิดจากการปฏิบัติงานและได้รับผลเป็นที่พึงพอใจ ทาให้บุคคล
25

เกิดความกระตือรือร้น มีความสุข มีความมุ่งมั่นที่จะทางาน มีขวัญกาลังใจ มีความผูกพันกับหน่วยงาน


และมีความภาคภูมิใจในความสาเร็จของงานที่ทา สิ่งเหล่านี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในการทางาน ส่งผลต่อถึงความก้าวหน้าและความสาเร็จขององค์กรอีกด้วย
วิรุฬ พรรณเทวี (2542, หน้า 9) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกภายใน จิตใจ
ของมนุ ษ ย์ ที่ ไม่ เหมือ นกั น ขึ้ น อยู่ กั บ แต่ ล ะบุ ค คลว่ าจะมี ค วามคาดหมายกั บ สิ่ งหนึ่ งสิ่ งใด อย่ างไร
ถ้าคาดหวังหรือมีความตั้งใจมากและได้รับการตอบสนองด้ วยดีจะมีความพึงพอใจมาก แต่ ในทาง
ตรงกันข้ามอาจผิดหวังหรือไม่พึงพอใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามที่ คาดหวังไว้ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตั้งใจไว้ว่าจะมีมากหรือน้อยสอดคล้องกับ
ฉัตรชัย ลิมพรจิตวิไล (2532, หน้า 7) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจหมายถึงความรู้สึกหรือ
ทัศนคติของบุ คคล ที่มีต่อสิ่งหนึ่งหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกพอใจจะเกิ ด ขึ้นเมื่อความ
ต้องการของบุคคลได้รับการตอบสนองหรือบรรลุจุดมุ่งหมายในระดับหนึ่ง ความรู้สึกดังกล่าวจะลดลง
หรือไม่เกิดขึ้น หากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายนั้นไม่ได้รับการตอบสนอง
จรั ส โพธิ์ จั น ทร์ (2553, หน้ า 17) ได้ กล่ าวถึง ความพึ งพอใจว่าเป็น ความรู้สึ กของบุ คคลต่ อ
หน่ ว ยงานซึ่งอาจเป็ น ความรู้สึ กในทางบวก ทางเป็ น กลาง หรื อ ทางลบ ความรู้สึ ก เหล่ านี้ มี ผ ลต่ อ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ กล่าวคือ หากความรู้สึกโน้มเอียงไปในทางบวก การปฏิบัติหน้าที่จะ
มีประสิทธิภาพสูง แต่หากความรู้สึกโน้มเอียงไปในทางลบการปฏิบัติหน้าที่จะมีประสิทธิภาพต่า
กาญจนา อรุณ สุ ขรุจี (2546, หน้า 7) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจของมนุษย์เป็น การ
แสดงออกทางพฤติกรรมที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถมองเห็นเป็นรูปร่างได้ การที่เ ราจะทราบว่าบุคคล
มีความพึงพอใจหรือไม่ สามารถสังเกตโดยการแสดงออกที่ค่อนข้างสลับซับซ้อนและต้องมีสิ่งเร้าที่ตรง
ต่อความต้องการของบุคคล จึงจะทาให้บุคคลเกิดความพึงพอใจ ดังนั้นสิ่งเร้าจึงเป็นแรงจูงใจของบุคคล
นั้นให้เกิดความพึงพอใจในงานนั้น
นภารัตน์ เสือจงพรู (2545, หน้า 9) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจเป็นความรู้สึกทางบวก
ความรู้ สึกทางลบและความสุ ขที่มีความสัมพั นธ์กันอย่างซับ ซ้อ น โดยความพึงพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อ
ความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ
เทพพนมและสวิง (2547, หน้า 9) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจเป็นภาวะของความพึง ใจ
หรือภาวะที่มีอารมณ์ในทางบวกที่เกิดขึ้น เนื่องจากการประเมินประสบการณ์ของคน ๆ หนึ่ง สิ่งที่ขาด
หายไประหว่างการเสนอให้กับสิ่งที่ได้รบั จะเป็นรากฐานของการพอใจและไม่พอใจได้
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร (2551, หน้า 9) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นการให้ค่าความรู้สึกของเราและ
มีความสัมพันธ์กับโลกทัศน์ที่ เกี่ยวกับความหมายของสภาพแวดล้อม ค่ าความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อ
สภาพแวดล้อมจะแตกต่างกัน เช่น ความรู้สึกเลว-ดี พอใจ-ไม่พอใจ สนใจ-ไม่สนใจ เป็นต้น
สง่า ภู่ณรงค์ (2551, หน้า 9) ได้ให้ความหมายว่า ความพึง พอใจ หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้ น
เมื่อได้รับผลสาเร็จตามความมุ่งหมายหรือเป็นความรู้สึกขั้นสุดท้ายที่ได้รับผลสาเร็จตามวัตถุประสงค์
Philip Kotler 2003 (2551, หน้า 7) ได้ให้ความหมายว่า ความพึงพอใจ คือ ระดับความรู้สึก
ของบุคคลว่ารู้สึกพอใจ ถูกใจ หรือผิดหวัง อัน เป็นผลมาจากการเปรียบเทียบระหว่างผลงานที่ได้รับรู้
จากสินค้าหรือบริการกับความคาดหวังของบุคคลนั้น ๆ ดังนั้นระดับความพึงพอใจจะสัมพันธ์กับความ
แตกต่างระหว่างผลงานที่ได้รับรู้ความคาดหวัง
26

Krech และ Richard (2547, หน้า 7) กล่าวว่าความพึงพอใจเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้ นเมื่อความ


ต้องการได้รับการตอบสนองพร้อมบรรลุจุดมุ่งหมาย (Goals) ที่ตั้งไว้ระดับหนึ่ง
Women 1973 (2547, หน้ า 7) ได้ ให้ ค วามหมายว่ า ความพึ ง พอใจ หมายถึ ง ความรู้ สึ ก
(Feeling) มีความสุขเมื่อคนเราได้รับผลสาเร็จตามจุดมุ่งหมาย (Goals) ความต้องการ (Wants) หรือ
แรงจูงใจ (Motivation)
สรุปได้ว่า ความพึ งพอใจในงาน เป็นความรู้สึกหรื อทัศนคติส่วนบุ คคลที่จะทางานด้วยความ
ภูมิใจและเต็มใจ เพื่อให้งานนั้นได้บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายทีว่ างไว้โดยจะเป็นประโยชน์ต่อ
บุคคลและองค์กร
2.6.2 แนวคิดเกี่ยวกับวัดความพึงพอใจ
Shelly (2553, หน้ า 29) ได้ ใ ห้ ค วามหมายว่ า แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ ความพึ ง พอใจเป็ น
ความรู้สึกสองแบบของมนุษย์ คือ ความรู้สึกในทางบวกและความรู้สึกในทางลบ ความรู้สึกในทางบวก
เมื่อเกิดขึน้ แล้วทาให้มีความสุข ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากความรู้ทางบวกอื่น ๆ กล่าวคือ
เป็นความรู้สึกที่มีระบบย้อนกลับ และความรู้สึกนี้ทาให้เกิดความสุขหรือความรู้สึกทางบวกเพิ่มขึ้นได้
อี ก ดั งนั้ น จะเห็ น ได้ ว่ า เป็ น ความรู้ สึ ก ที่ ส ลั บ ซั บ ซ้ อ นและความรู้สึ ก นี้ จะมี ผ ลต่ อ บุ ค คลมากกว่ า
ความรู้ สึ ก ในทางบวกอื่ น ๆ ดั ง นั้ น ความรู้ สึ ก ในทางบวก ความรู้ สึ ก ในทางลบ และความสุ ข มี
ความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อนและระบบความสัมพันธ์ของความรู้สึกทั้งสามนี้ เรียกว่า ระบบความ
พึงพอใจ โดยความพึงพอใจเกิดขึ้นเมื่อระบบความพึงพอใจมีความรู้สึกทางบวกมากกว่าทางลบ
พิทักษ์ ตรุษทิบ (2551, หน้า 5) กล่าวว่า ความพึงพอใจเป็นเพียงปฏิกิริยาด้านความรู้สึกต่อสิ่ ง
เร้าหรือสิ่งกระตุ้นที่แสดงออกมาในลักษณะของผลลัพธ์ สุดท้า ยของกระบวนการประเมินโดยบ่งบอก
ทิศทางของผลการประเมิน ว่าเป็ น ไปในลั กษณะทิ ศทางบวกหรือทิ ศทางลบ หรือไม่มีปฏิ กิริยา คื อ
เฉย ๆ ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มากระตุน้
แน่งน้อย พงษ์สามารถ (2551, หน้า 5) มีความเห็นว่าความพึงพอใจ คือท่าทีทั่ว ๆ ไปที่เป็นผล
มาจากท่าทีที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ 3 ประการ คือ ปัจจัยเกี่ยวกับกิจกรรม ปัจจัยเกี่ยวกับบุคคล และลักษณะ
ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม
สมพร ตั้งสระสม (2551, หน้า 8) ได้ให้คาจากัดความของความพึงพอใจไว้ว่า ความพึงพอใจ
เป็นทัศนคติของผู้รับบริการที่ตอบสนองต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากบริการ
2.6.3 ทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ
ทฤษฎีการจูงใจ ของ MC Celland (2551, หน้า 6) ซึ่งแบ่งความต้องการของมนุษย์เป็น
3 ประเภท คือ ความต้องการความสาเร็จ ความต้องการมีอานาจ และความต้องการความสัมพันธ์ โดย
ความต้องการความสาเร็จหรือเรียกว่า แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์นั้น ถ้าบุคคลใดมีสูงจะมีความปรารถนาที่จะ
ทาสิ่งหนึ่งให้ลุล่วงไปด้วยดี
ทฤษฎี อี อ าร์ จี (ERG Theory) ของ Clayton Alderfer (2554, หน้ า 20) ได้ พั ฒ นามาจาก
ทฤษฎีความต้องการของ Maslow ได้แบ่งความต้องการของคนออกเป็น 3 อย่าง ดังนี้ ความต้องการมี
ชี วิต (Existence Need) ความต้ อ งการมี ค วามเป็ น อยู่ ที่ ดี ทั้ งทางร่างกายและวั ต ถุ ความต้ อ งการ
ความสั ม พั น ธ์ (Relatedness Need) ความต้ อ งการมี ค วามสั ม พั น ธ์ ระหว่างบุ ค คลที่ ดี และความ
ต้องการความเจริญเติบโต (Growth Need)
27

ทฤษฎีความไม่สอดคล้อง ของ Luck (2549, หน้า 17) มองว่าความพอใจต่อการให้ บริการหรือ


ความไม่พอใจต่อการให้บริการด้านใดด้านหนึ่ง ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระว่างสิ่งที่ลูกค้าได้รับกับสิ่งที่
ลูกค้าปรารถนา ซึ่งสิ่งที่ลูกค้าได้รับนั้น คือ ระดับต่าสุดที่ สามารถตอบสนองความต้องการของเขาได้
ลูกค้าจะเกิดความพอใจ ต่อเมื่อไม่มีความแตกต่างระหว่า งความปรารถนากับสภาพความเป็นจริง และ
จะเกิดความไม่พอใจต่อการให้บริการ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้จากการให้บริการหรือผลตอบแทนน้อยกว่าที่
ต้องการและถ้าปริมาณความต้องการแตกต่างนี้มีมากขึ้น ความไม่พอใจก็จะมากขึ้นตามลาดับ
ศิริโสภาคย์ บูรพาเดช (2550, หน้า 9-10) กล่าวถึง ทฤษฎีแสวงหาความพึงพอใจไว้ว่า บุคคล
พอใจจะกระทาสิ่งใด ที่ให้ความสุข และจะหลีกเลี่ยงไม่กระทาสิ่งที่เขาจะได้รับความทุกข์หรือความ
ล าบาก อาจแบ่ ง ประเภทความพึ ง พอใจกรณี นี้ ได้ 3 ประเภท ได้ แ ก่ ความพอใจด้ า นจิ ต วิ ท ยา
(Psychological Hedonism) เป็นทรรศนะของความพอใจ จะพยายามแสวงหาความสุขส่วนตัวหรือ
หลีกเลี่ยงความทุกข์ใด ความพอใจเกี่ยวกับตนเอง (Egoistical Hedonism) เป็นทรรศนะของความ
พอใจว่ามนุษย์ จะพยายามแสวงหาความสุขส่วนตัว แต่ไม่จาเป็นว่าการแสวงหาความสุขจะต้องเป็น
ธรรมชาติของมนุษย์เสมอไป และความพอใจเกี่ยวกับจริยธรรม (Ethical Hedonism) ทรรศนะนี้ถือว่า
มนุ ษย์แสวงหาความสุขเพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ห รือสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ และจะเป็น
ผู้ได้รับประโยชน์นี้ผู้หนึ่งด้วย
ทฤษฎีความคาดหมาย (Expectancy Theory) ของ Mc Cormic Ugen (2549, หน้า 16-17)
ได้อธิบายความพอใจในลักษณะที่ว่า ลูกค้าจะเกิดความพอใจได้ก็ต่อเมื่อเขาประเมินแล้วว่าการบริการ
นั้น ๆ จะนาผลตอบแทนมาให้ ซึ่งลูกค้าได้มีการตัดสินใจล่วงหน้าแล้วว่า คุณค่าของการบริการจากสิ่ง
ที่ลูกค้าได้รับ เช่น ความยิ้มแย้มแจ่มใส ความกระตือรือร้นในการบริการ การให้คาปรึกษาแนะนาที่ดี
ความสะดวกรวดเร็วในการบริการ เครื่องมือบริการที่ทันสมัย ความมีชื่อเสียงของสถาบันที่ใช้บริก าร
เป็นเช่นไรลูกค้าจึงเลือกเอาการบริการที่นาผลลัพธ์เหล่านี้มาให้และในขั้นสุดท้ายเมื่อมีการประเมิน
เปรียบเทียบผลลัพธ์ต่าง ๆ ลูกค้าจะมีความรู้สึกถึงความพอใจที่เกิดขึ้นซึ่ง ทัศนะของแนวคิดนั้นมาจาก
บุคคลหลายคน เช่น Cambell, Bannette, Lawler & Wick และ Vroom แนวความคิดทฤษฎีนี้อยู่ที่
ผลลัพธ์ (Outcomes) ความปรารถนาที่รุนแรง (Violence) และความคาดหมาย (Expectancy)
ทฤษฎีความคาดหมาย จะคาดคะเนว่าโดยทั่วไป ลูกค้าแต่ละคนจะแสดงพฤติกรรมก็ต่อเมื่อเขา
มองเห็ น โอกาส ความน่ าจะเป็ น ไปได้ ค่ อ นข้ างเด่ น ชั ด ว่ าหากความพึ งพอใจของเขาเกิ ด จากการ
ให้บริการที่มีคุณภาพ เขาก็จะใช้บริการนั้นตลอด เพราะเป็นผลลัพธ์ที่เขาปรารถนา ซึ่งหมายความว่า
ความคาดหมายนี้เกิดจากการบริการ จึงสามารถเป็นเหตุนาไปสู่การมาใช้บริการเพราะพฤติกรรมของ
มนุษย์เกิดจากแรงผลักดันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเกิดจากความต้องการและอีกส่วนหนึ่งเกิดจากความหมายที่
จะได้รับจากสิ่งที่จู งใจ ผลตอบแทนหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการบริการที่มีคุณภาพ จะมีความสาคัญและ
จะเป็นตัวทาให้เกิดพฤติกรรมได้ขึ้นอยู่กับความพอใจต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพ
ทฤษฎีลาดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs Theory) อับราฮัม มาสโลว์
(2549, หน้า 14-16) ได้เขียนทฤษฎีจูงใจ (Motivation Theory) หรือที่เรียกว่า ทฤษฎีทั่ วไปเกี่ยวกับ
การจู ง ใจ (Maslow’s General Theory of Human Motivation) เป็ น ทฤษฎี ที่ ม าสโลว์ กล่ า วถึ ง
สิ่งจูงใจจากความต้องการของมนุษย์ไว้ว่า มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอไม่มีที่สิ้นสุด ขณะที่ความ
ต้องการใดได้รับ การตอบสนองแล้วความต้องการอย่างอื่นจะเข้ามาแทนที่ ความต้องการที่ได้รับ การ
28

ตอบสนองแล้ ว ไม่ เ ป็ น สิ่ ง จู ง ใจอยู่ และความต้ อ งการของมนุ ษ ย์ มี ล าดั บ ขั้ น จากต่ าไปหาสู ง
(Hierarchy of Needs) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น ดังนี้
ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiological Needs) ความต้องการทางด้านร่างกายเป็ น
ความต้องการเบื้องต้นเพื่อความอยู่รอด เช่น ความต้องการในเรื่องอาหาร น้า ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม
ยารักษาโรค ความต้องการพักผ่อน และความต้องการทางเพศ ความต้องการทางด้านร่างกาย จะมี
อิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนก็ต่อเมือ่ ความต้องการด้านร่างกายยังไม่ได้รับการตอบสนองเลยในด้านนี้
โดยปกติแล้วองค์กรทุกแห่งมักตอบสนองความต้องการของแต่ล ะคน ด้วยวิธีการทางอ้อมโดยการ
จ่ายเงินค่าจ้าง
ความต้อ งการความปลอดภั ยหรือความมั่ น คง (Security of Needs) ถ้ าหากความต้ องการ
ทางด้านร่างกายได้รับการตอบสนองตามสมควรแล้วมนุษย์ก็จะมีความต้องการในขั้นที่สูงขึ้น คือความ
ต้องการทางด้านความปลอดภัยจะเป็นเรื่องเกีย่ วกับการป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากอันตราย
ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกาย ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ ส่วนความมั่นคงนั้ น หมายถึง ความ
ต้องการความมัน่ คงในการดารงชีวิต เป็นความมั่นคงในด้านหน้าที่การงาน สถานะทางสังคม
ความต้องการด้า นสั งคม (Social of Belongingness Needs) ภายหลั งจากการที่ได้รับ การ
สนองในสองขั้นดังกล่าวแล้ว ก็จะมีความต้องการสูงขึ้น คือ ความต้อ งการด้านสังคม ความต้ องการ
ทางด้านนี้จะเป็นความต้องการเกี่ยวกับการอยู่รวมกั นและการได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น และมี
ความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยู่เสมอ
ความต้องการที่จะมีฐานะเด่นทางสังคม (Esteem or Status Needs) ความต้องการขั้นต่อมา
จะเป็นความต้องการที่ประกอบด้วยสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ คือ ความมั่นใจในตัวเองในเรื่องความสามารถ
ความรู้และความสาคัญในตัวเอง รวมตลอดทั้งความต้องการที่จะมีฐานะเด่น เป็นที่ยอมรับของบุคคล
อื่น หรืออยากที่จะให้บุคคลอื่นยกย่อง สรรเสริญ ในการรับผิดชอบในหน้าที่การงานการดารงตาแหน่ง
ทีส่ าคัญในองค์กร
ความต้องการที่จะได้รับความสาเร็จในชีวิต (Self-actualization or Self-realization Needs)
ลาดับความต้องการที่ สูงสุดของมนุษย์ คือ ความต้องการที่จะได้รับความสาเร็จตามความนึกคิดหรื อ
ความหวัง ทะเยอทะยานใฝ่ฝัน ที่อยากได้รับผลสาเร็จในสิ่งที่อันสูงส่ง

รูปที่ 2.7 แสดงลาดับขั้นความต้องการของ Maslow (Hierarchy of Needs)


29

Maslow มี ข้ อ สั ง เกตเกี่ ย วกั บ ความต้ อ งการของคนที่ มี ผ ลต่ อ พฤติ ก รรมที่ แ สดงออกมา


จะประกอบด้วย 2 หลักการ คือ
หลั ก การแห่ ง ความขาดตกบกพร่ อ ง (The Deficit Principle) ความขาดตกบกพร่ อ งใน
ชีวิตประจาวันของคนที่ได้รับอยู่เสมอ จะทาให้ความต้องการที่เป็นความพอใจของคนไม่เป็นตัวจูงใจให้
เกิดพฤติกรรมในด้านอื่น ๆ อีกต่อไป คนเหล่านี้กลับจะเกิดความพอใจในสภาพที่ตนเป็นอยู่ ยอมรับ
และพอใจ ความขาดแคลนต่าง ๆ ในชีวิต โดยถือเป็นเรื่องธรรมดา
หลักการแห่ งความเจริ ญก้าวหน้า (The Progression Principle) กล่าวคือลาดับขั้น ตอนของ
ความต้ อ งการทั้ ง 5 ระดั บ จะเป็ น ไปตามล าดั บ ที่ ก าหนดไว้ จ ากระดั บ ต่ าไประดั บ สู ง กว่ า และ
ความต้ อ งการของคนในแต่ ล ะระดั บ จะเกิ ด ได้ ก็ ต่ อ เมื่ อ ความต้ อ งการของระดั บ ต่ ากว่ า ได้ รั บ
การตอบสนองจนเกิดความพึงพอใจแล้วนั้ น จะเป็นว่าความต้องการสิ่งที่ไม่ได้รับความรู้สึกขาดแคลน
ของมนุษย์ทุกคน ความรู้สึ กปลงตกในสภาพที่ตนเป็นอยู่ ตัวอย่างเช่น เมื่อคนได้รับการตอบสนอง
ความต้ องการอยู่ ในระดั บ หนึ่ งแล้ วอย่างสมบู รณ์ ก็ อ ยากจะได้ รับ การตอบสนองความต้องการใน
ระดั บ สู ง กว่ า แต่ มี ข้ อ จ ากั ด ที่ เ ป็ น อุ ป สรรคไม่ ไ ด้ รั บ การตอบสนองอย่ า งเต็ ม ที่ ห รื อ ไม่ ส าเร็ จ
ตามความต้องการของสิ่งนั้นจะทาให้คนเราหยุดการแสวงหา ท้อถอย และจะยอมรับสภาพไม่มีการ
ดิ้ น รนอี ก ต่ อ ไปในทิ ศ ทางตรงกั น ข้ าม ถ้ าคนเราต้ อ งการในระดั บ ต่ ากว่ าในแต่ ล ะระดั บ ได้ รับ การ
ตอบสนองอย่างเต็มที่ คนก็จะเกิดความต้ องการในขั้นต่อไปนี้จนกระทั่งบรรลุ ถึงความต้องการระดับ
สูงสุด คือ การได้รับความสาเร็จในชีวิต (Self-actualization)
จากทฤษฎีข้างต้น สรุป ได้ว่า มนุษย์ทุก คนมีความต้ องการไม่สิ้นสุดจากระดับต่าไประดั บสู ง
มีทั้งหมด 5 ระดับ แต่ทั้งนี้จะต้องประกอบกับอีก 2 หลักการ คือ หลักการแห่งความขาดตกบกพร่อง
และหลักแห่งความเจริญก้าวหน้ า ซึ่งทั้งหมดนี้จะครอบคลุมการอธิบายถึงพฤติกรรมความต้องการ
ของมนุษย์ได้

2.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.7.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในประเทศ
นัฎนาถ วัติสุ (2550:บทคัดย่อ) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าหอพัก
ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จากการศึกษาพบว่า นักศึกษาให้ความสาคัญกับ
ปั จ จั ย ด้ านท าเลที่ ใกล้ ม หาวิ ท ยาลั ย ในการเลื อ กเช่ าหอพั ก มากที่ สุ ด ส าหรั บ นั ก ศึ ก ษาหญิ งจะให้
ความสาคัญด้านความปลอดภัยที่มากกว่านักศึกษาชาย และนักศึกษาให้ความสาคัญด้านความสะอาด
ความเป็นระเบียบของหอพักเป็นปัจจัยสาคัญลาดับรองลงมา สาหรับปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด
นั้น กลับพบว่าเป็นปัจจัยที่นักศึกษาที่ให้ความสาคัญน้อยที่สุด โดยการตัดสินใจเลือกเช่าหอพักนั้น
นักศึกษามิได้พิจารณาปัจ จัยด้านราคาเป็นสาคัญ แต่จะพิจารณาปัจจัยโดยรวมของหอพักและเน้น
ความสะดวกสบายของตนเองเป็นที่ตั้ง
ชัชกร ตั้งกอบลาภ นัต พล ก่อเกียรติมานะ และเอกราช นาแหยม (2556:บทคัดย่อ) ภาควิชา
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลั ยสยาม ได้พัฒ นาโปรแกรม
ระบบบริหารจัดการหอพัก วัตถุประสงค์ของการดาเนินงานนี้ เพื่อเป็นการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
30

หอพักให้ สามารถรองรับ การทางานให้ มีความสะดวกมากขึ้นและลดระยะเวลาการทางาน โดยนา


เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาพัฒนาระบบให้เกิดประโยชน์ ซึ่งระบบบริหารจัดการหอพั กที่ได้พัฒนาขึ้นมา
นี้ เป็ น การพั ฒ นาระบบการจั ด การข้ อ มู ล ต่ าง ๆ ภายในระบบหอพั ก เพื่ อ ความสะดวกและความ
ปลอดภัยของข้อมูลมีความจาเป็นในเรื่องของการประมวลผลข้อมูลมาก โดยที่ระบบจะต้องมีความ
ถูกต้องและแม่นยาที่สุดเช่น การจองห้องพัก การทาสัญญาเช่า การบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างเข้าพักหรือ
การค านวณค่ าใช้ จ่ ายต่ าง ๆ ที่ เกิ ด ขึ้ น ในระหว่างการเก็ บ ข้ อ มู ล โดยจะต้ อ งมี ก ารแก้ ไขข้ อ มู ล อยู่
ตลอดเวลาและเป็นจานวนมากจะทาให้ข้อมูลทั้งหมดเกิดความถูกต้องและสะดวกขึ้นในเรื่องของเวลา
และระบบการทางานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
สรัญญา สุขเพิ่ม (2556:บทคัดย่อ) ได้ทาการศึกษาเรื่องการบริการด้านหอพักนิสิตมหาวิทยาลัย
นเรศวร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึ กษาความต้องการของนิสิตต่ อการบริการด้านหอพัก และเปรียบเทียบ
ความต้องการของนิสิตต่อการบริการด้านหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จาแนกตามเพศ และกลุ่ม
สาขาวิชา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร จานวน 400 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวม
ข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมื อในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้
โปรแกรมคอมพิวเตอร์สาเร็จรูปทางสถิติประมวลผลข้อมูลวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบแบบสองกลุ่มเป็นอิสระ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนผล
การศึกษาพบว่านิสิตมีความต้องการต่อบริการด้านหอพักนิสิตโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อ
พิจารณารายด้านพบว่า นิสิตมีความต้องการด้านรั กษาความปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้าน
กายภาพ ด้านกิจกรรมส่วนด้านบริการและสวัส ดิการมีความต้องการน้ อยที่สุดผลการเปรียบเทียบ
ความต้องการของนิ สิตที่มีเพศ และกลุ่มสาขาวิชาต่างกันมี ความต้องการบริการด้ านหอพักนิสิตไม่
แตกต่างกัน
2.7.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ
Manman Peng และXinni Xie The การออกแบบระบบการจั ด การหอพั ก ส าหรั บ
นักศึกษาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์ม Android (2558:บทคัดย่อ) หอพักของนักเรียนเป็นสถานที่
หลักในชีวิตประจาวันของนักเรียนวิทยาลัย ดังนั้นการจัดการหอพักของนักเรียนจึงเป็นส่วนสาคัญของ
การจั ด การโรงเรี ย น การออกแบบระบบการจั ด การหอพั ก ส าหรั บ นั ก ศึ ก ษาวิ ท ยาลั ย ขึ้ น อยู่ กั บ
แพลตฟอร์ม Android หอพักของนักเรียนเป็นสถานที่หลักในชีวิตประจาวันของนักเรียน ดังนั้นการ
จัดการหอพักของนักเรียนเป็นส่วนสาคัญของการจัดการโรงเรียน. ในฐานะที่เป็นการเจริญเติบโตของ
โรงเรียน ขนาดของนักเรียน, จานวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น, ทาให้การจัดการหอพักนักศึกษาต้องเผชิญกับ
สถานการณ์ ที่ซับ ซ้อน. ปั ญ หาของวิธีการถอดรหั ส กลายเป็นจุดมุ่ งหมายมุ่งเน้นไปที่ การเรียนการ
สอนโลจิสติกส์ของโรงเรียน ในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของการพัฒนาของโรงเรียนและเพิ่ม
ประสิทธิภาพของการทางานของการขนส่งทางโรงเรียนแผนกโลจิสติกส์ของโรงเรียนต้องปรับให้เข้ากับ
ระบบซอฟต์แวร์การบริหารจัดการประจาวันของนักเรียนเพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์
ของ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและอินเทอร์เน็ตตระหนักถึงการจัดการเพื่อเปลี่ยนวิธีการจัดการ
คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการหอพัก
Yan Ning และ Jiaojiao Chen การปรับปรุงความพึงพอใจที่อยู่อาศัยของหอพักมหาวิทยาลัย
ผ่านการประเมินผลหลังการเข้า พัก ในประเทศจีน วิธีการทางเทคนิ คระบบสังคม (2559:บทคัดย่อ)
31

หอพั ก อาศั ย ของมหาวิท ยาลั ย นั้ น ท าหน้ า ที่ ห นึ่ งอย่ างมี นั ย ส าคั ญ ในกรอบของความยั่ งยื น ในด้า น
การศึกษาที่สูงขึ้น การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนากรอบงานสาหรับการประเมินผลหลังการลง
ประกาศ (POE) ของหอพักมหาวิทยาลัยในประเทศจีนที่อยู่ในแนวทางการทางานของระบบเทคนิค
และการระบุปัจจัยที่เอื้อต่อความพึงพอใจที่อยู่อาศัยของนักเรียน กลุ่มโฟกัสสองกลุ่มถูกดาเนินการเพื่อ
สร้างกรอบการทางานทางสังคม กรณีศึกษามีการดาเนินการเพื่ อประเมินสถานะหลังการเข้าพักใน
หอพักของมหาวิทยาลัยและมีโครงสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า
หอพักมีการติดตั้งสิ่งอานวยความสะดวกทางกายภาพที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังไม่สามารถ
ให้บริการได้เป็นที่น่าพอใจและสนับสนุนโครงสร้างพื้น ฐาน บ่งชี้ได้ว่า "ฮาร์ดแวร์" โดยทั่วไปสามารถ
ตอบสนองความต้ องการของนักเรียนในขณะที่ "ซอฟต์แวร์" ยังคงมีอานาจน้อย นอกจากนี้ยังพบว่า
ทางสังคม-วิธีการของระบบเทคนิค มีคุณสมบัติของการถูกฝังลงในสังคม, กฎระเบียบและบริบททาง
ภู มิ ศ าสตร์ . เพื่ อ เพิ่ ม ความพึ ง พอใจหลั ง การเข้ า พั ก การเข้ า ร่ว มของผู้ อ ยู่ อ าศั ย จะเป็ น ประโยชน์
การศึ ก ษานี้ มี ส่ ว นช่ ว ยในเนื้ อ หาของความรู้โ ดยการน าเสนอโครงข่ ายทางเทคนิ ค ของ POE และ
คุณลักษณะของมัน นอกจากนี้ยังมีผลกระทบสาหรับการวิจัยและการปฏิบัติ
สรุปจากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทาให้ทราบว่ า ในการจัดทาโครงการ ระบบ
บริหารจัดการหอพัก ผู้จัดทาโครงการได้ศึ กษาเนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบ การ
ออกแบบฐานข้ อ มู ล ตลอดจนการศึ ก ษาวิ ธี ก ารเขี ย นโปรแกรม NetBeans IDE 8.2 โปรแกรม
phpMyAdmin Database Manager & MySQL Database ที่ ใช้ ในการจั ด ท าโครงการ ท าให้ ก าร
จัดทาโครงการสามารถดาเนินการได้สอดคล้องกับการศึกษาของ นัฎนาถ วัติสุ (2550) ได้ศึกษาปัจจัย
ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ การตั ด สิ น ใจเลื อ กเช่ า หอพั ก ของนั ก ศึ ก ษามหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ศู น ย์ รั งสิ ต
สรัญ ญา สุ ขเพิ่ ม (2556) ได้ท าการศึกษาเรื่องการบริการด้ านหอพั กนิ สิ ตมหาวิท ยาลั ยนเรศวร มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของนิสิตต่อการบริการด้านหอพัก และเปรียบเทียบความต้องการ
ของนิสิตต่อการบริการด้านหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร ชัชกร ตั้งกอบลาภ นัตพล ก่อเกียรติมานะ
และเอกราช นาแหยมภาควิ ช าคอมพิ ว เตอร์ ธุ ร กิ จ เทคโนโลยี ส ารสนเทศและนิ เทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสยาม (2556) ได้พัฒนาโปรแกรมระบบบริหารจัดการหอพัก จากการศึกษาทฤษฎีและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดทาได้นาทฤษฎีและแนวคิดในการวิจัยมาจัดทาโครงการระบบบริหารจัดการ
หอพักบรุณศักดิต์ ่อไป

You might also like