You are on page 1of 336

กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕

กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่
พุทธศักราช ๒๕๖๒
กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕
กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่ พุทธศักราช ๒๕๖๒
จ�ำนวน ๑,๐๐๐ เล่ม
ลิขสิทธิ์ของกรมศิลปากร
ราคา ๑๖๐ บาท
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ
กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕. --กรุงเทพฯ : ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
กรมศิลปากร, ๒๕๖๒
๓๓๖ หน้า. -- (กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕).
๑. กาฬโรค. ๒. ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ ๕,
๒๔๑๑ - ๒๔๕๓. I. ชื่อเรื่อง.
๖๑๖.๙๒๓๒
ISBN 978-616-283-454-7
ที่ปรึกษา
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร
นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร
พลตรี ศาสตราจารย์ ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์
นางสาวอรสรา สายบัว ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์
นางสาวอรวรรณ ทรัพย์พลอย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านอักษรศาสตร์
(ประวัติศาสตร์และจารีตประเพณี)
บรรณาธิการ
นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ช�ำนาญการ
เอกสารต้นฉบับ
ส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร
ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
ภาพประกอบ
ส�ำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
พิมพ์ที่
ห้างหุ้นส่วนสามัญณัฐภรเพลท ๒๐๙/๓๒ หมู่ที่ ๓ ต�ำบลพิมลราช อ�ำเภอบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๑๐ โทร. ๐๘๐-๒๘๗-๔๖๓๒, ๐๖๑-๕๑๖-๓๖๔๕
ค�ำน�ำ
ในประวัติศาสตร์ไทย ปรากฏเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวกับโรคระบาด
ที่คร่าชีวิตผู้คนเป็นจ�ำนวนมากอยู่หลายครั้ง ปัญหาโรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้น
บางครั้งผู้ปกครองถึงกับต้องละทิ้งชุมชน อพยพราษฎรย้ายถิ่นฐานหนีโรคร้าย
ไปตั้งอยู่ชุมชนแห่งใหม่ ตราบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดการระบาดของกาฬโรคในกรุงเทพมหานคร
และตามหัวเมืองหลายแห่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่กาฬโรคระบาดไปทั่วโลก
ด้ ว ยเหตุ นี้ รั ฐ บาลสยามจึ ง พิ จ ารณาถึ ง ความส� ำ คั ญ และจ� ำ เป็ น ที่ จ ะต้ อ งใช้
วิธกี ารตามหลักการแพทย์ตะวันตก เพือ่ ป้องกันและระงับการระบาดของกาฬโรค
ไม่ให้สูญเสียชีวิตราษฎรไปมากกว่านี้ ยังผลให้ปัญหาการระบาดของกาฬโรค
คลี่คลายไปได้ในที่สุด
ส�ำนักวรรณกรรมและประวัตศิ าสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการศึกษา ค้นคว้า อนุรักษ์ เผยแพร่ และส่งเสริมงาน
วิช าการด้ า นประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ ตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และ
ความส�ำคัญของเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับกิจการด้านการแพทย์และ
สาธารณสุ ข ของไทย จึ ง ได้ ด� ำ เนิ น การศึ ก ษา ค้ น คว้ า รวบรวม เรี ย บเรี ย ง
ตรวจสอบช�ำระ และแปลเอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขของไทย
ให้เป็นที่ปรากฏแก่สาธารณชน
(๒)

กรมศิลปากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรื่อง “กาฬโรคสมัยรัชกาล


ที่ ๕” จะเป็นเอกสารประวัตศิ าสตร์ทอี่ ำ� นวยประโยชน์ตอ่ การศึกษาค้นคว้าอ้างอิง
แก่นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจโดยทั่วกัน

(นายอนันต์ ชูโชติ)
อธิบดีกรมศิลปากร

ส�ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์
มิถุนายน ๒๕๖๒
ค�ำชี้แจง
หนังสือเรือ่ ง “กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕” เป็นงานศึกษา ค้นคว้า รวบรวม
เรียบเรียง ตรวจสอบช�ำระ และแปลเอกสารประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการระบาด
ของกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ การจัดพิมพ์ครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการ
ของรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ด�ำเนินการป้องกัน
การแพร่ระบาดของกาฬโรคตามหลักการแพทย์ตะวันตก เพื่อมิให้สูญเสียชีวิต
ราษฎรไปมากกว่านี้
ในการนี้ กรมศิ ล ปากร โดยส� ำ นั ก วรรณกรรมและประวั ติ ศ าสตร์
ได้ ม อบหมายให้ น ายธั น วา วงศ์ เ สงี่ ย ม นั ก อั ก ษรศาสตร์ ช� ำ นาญการ
กลุ่มประวัติศาสตร์ เป็นบรรณาธิการ โดยก�ำหนดแนวทางด�ำเนินการดังนี้
๑. เนื้อหา บรรณาธิการได้ศึกษาค้นคว้าและสอบค้นรวบรวมเอกสาร
ประวัติศาสตร์ จ�ำนวน ๔ รายการ ดังนี้
๑.๑ ต�ำราแพทย์แสดงด้วย
กาฬโรค นายแพทย์ยอร์ช แมกฟาร์แลนด์
เป็นผู้แต่ง พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกใน พ.ศ.
๒๔๕๓ ต้นฉบั บเป็ นภาษาไทย มี เ นื้ อ หา
กล่าวถึงประวัติความเป็นมาและวิธีป้องกัน
กาฬโรค บรรณาธิการได้ตรวจสอบช�ำระ
พร้อมทั้งจัดท�ำเชิงอรรถอธิบายความ

(๔)

๑.๒ ประมวลจดหมายเหตุเกี่ยวกับ
กาฬโรคสมั ย รั ช กาลที่ ๕ เป็ น การรวบรวม
จดหมายเหตุเกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรค
สมั ย รั ช กาลที่ ๕ โดยคั ด เลื อ กเอกสารจาก
แหล่ ง ต่ า งๆ ทั้ ง หอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ
ราชกิจจานุเบกษา และวารสารต่างประเทศ
ที่ มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ การป้ อ งกั น กาฬโรค
ต้ น ฉบั บ มี ทั้ ง ภาษาไทยและภาษาอั ง กฤษ
บรรณาธิ ก ารได้ ต รวจสอบช� ำ ระ และจั ด ท� ำ
เชิงอรรถอธิบายความ กรณีต้นฉบับเป็นภาษา
อังกฤษ จะด�ำเนินการแปลเป็นภาษาไทยและ
ระบุที่มาเอกสารไว้ในเชิงอรรถ
๑.๓ ประกาศป้ อ งกั น กาฬโรคสมั ย รั ช กาลที่ ๕ เป็ น การ
รวบรวมประกาศและกฎหมายป้องกันกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ ตามที่ปรากฏ
ในราชกิ จ จานุ เ บกษาและชุ ด หนั ง สื อ กฎหมาย บรรณาธิ ก ารได้ ต รวจสอบ
ช� ำ ระและจั ด ท� ำ เชิ ง อรรถอธิ บ ายความกฎหมายและประกาศที่ ส� ำ คั ญ
บางรายการพิ ม พ์ ร วมไว้ ด ้ ว ย ส่ ว นรายการที่
ไม่ได้น�ำมาพิมพ์ ผู้อ่านสามารถสืบค้นและอ่าน
ส�ำเนาดิจิทัลได้จากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
(www.ratchakitcha.soc.go.th) หรือหนังสือ
ประชุ ม กฎหมายประจ� ำ ศก ตามที่ ป รากฏใน
บรรณานุกรม
นอกจากนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
แก่ผู้อ่านถึงความเป็นมาของกาฬโรคในสังคม
ไทย บรรณาธิการได้พิจารณาค้นคว้าเรียบเรียง
(๕)

บทความวิชาการเรื่อง “กาฬโรคกับสังคมไทย” รวมทั้ง “ล�ำดับเหตุการณ์ส�ำคัญ


เกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕” และศึกษาวิเคราะห์ “สมมุติฐานเรื่องกาฬโรค
สมัยพระเจ้าอู่ทอง” ไว้ในภาคผนวก เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
๒. วันเดือนปี เอกสารประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้
ใช้วันเดือนปีตามการนับปฏิทินแบบเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ เริ่มปีใหม่ในเดือน
เมษายน และปลายปีเป็นเดือนมีนาคม แล้วจึงเปลี่ยนศักราชใหม่ (ต่อมาใน
พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงเริ่มปีใหม่ในเดือนมกราคมตามแบบสากลนิยม) ศักราชที่ใช้
ส่วนใหญ่เป็นรัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) และคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ซึ่งบรรณาธิการ
เทียบเป็นพุทธศักราช (พ.ศ.) โดยแทรกไว้ในวงเล็บ เช่น ร.ศ. ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
๓. การปริวรรตตัวสะกดการันต์ การตรวจสอบช�ำระเอกสาร
ประวัตศิ าสตร์เรือ่ งนี้ บรรณาธิการใช้วธิ ปี ริวรรตตัวสะกดการันต์เป็นภาษาปัจจุบนั
ตามพจนานุกรม ยกเว้นชื่อเฉพาะต่างๆ ยังคงรักษาอักขรวิธีตามต้นฉบับเดิม
เพื่อประโยชน์และความรู้ทางด้านอักษรศาสตร์ ดังนั้นนามเดียวกันจึงอาจ
สะกดตัวอักษรที่แตกต่างกัน เพราะยึดการออกเสียงเป็นส�ำคัญ เช่น หมอกาทิว
หมอคาร์ทิว เป็นต้น
๔. ภาพประกอบ บรรณาธิการได้พิจารณาค้นคว้าภาพประกอบ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระยิ่งขึ้น
หนังสือเรือ่ ง “กาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕” เป็นส่วนหนึง่ ของการศึกษา
ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขของไทย คุณค่าและประโยชน์ของงาน
วิชาการเรื่องนี้ ขออุทิศให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ผู้พยายาม
รักษาชีวิตของราษฎรอย่างไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
บรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า หนังสือเล่มนีจ้ ะอ�ำนวยประโยชน์แก่ทา่ นผูส้ นใจ
โดยทั่วกัน
บรรณาธิการ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)
สารบัญ

หน้า
ค�ำน�ำ (๑)
ค�ำชี้แจง (๓)
กาฬโรคกับสังคมไทย ๑
ต�ำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค ๑๗
ประมวลจดหมายเหตุเกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ ๕๓
ประกาศป้องกันกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ ๒๗๕
ล�ำดับเหตุการณ์ส�ำคัญเกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕ ๓๐๓
ภาคผนวก สมมุติฐานเรื่องกาฬโรคสมัยพระเจ้าอู่ทอง ๓๐๗
บรรณานุกรม ๓๒๐
การค้าขายทางเรือสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นช่องทางให้กาฬโรคระบาดจากต่างประเทศมาถึงเมืองไทย
กาฬโรคกับสังคมไทย
โรคระบาดในชาวฟิลิสตีน ที่เมืองแอชดอด ตามคัมภีร์ไบเบิล
ที่มา : Wellcome Library no.44642i
Cited in https://wellcomecollection.org/works/cnark4vg
กาฬโรคกับสังคมไทย

ความเป็นมาของกาฬโรคในบริบทโลก
กาฬโรค (Plague) เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ
Yersinia pestis มีหนูและหมัดหนูเป็นพาหะโรค เป็นโรคระบาดที่รุนแรงและ
รวดเร็ว จึงคร่าชีวิตผู้คนจ�ำนวนมาก ผู้ติดเชื้อจะมีไข้สูงอย่างฉับพลัน เจ็บหน้าอก
มีรอยช�้ำสีด�ำอันเกิดจากเลือดออกภายใน (เป็นที่มาของค�ำว่า “Black Death”
ในภาษาอังกฤษ และค�ำว่า “กาฬโรค” ในภาษาไทย) และมีต่อมน�้ำเหลืองบวม
บริเวณขาหนีบหรือรักแร้ ท�ำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่ากาฬโรคมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และ
มีข้อสันนิษฐานว่าถิ่นก�ำเนิดโรคอยู่บริเวณเอเชียกลางหรือจีน แล้วจึงแพร่ระบาด
ไปยั ง บริ เวณอื่ น จากการย้ า ยถิ่ น ของหนู ที่ เ ป็ น พาหะโรค ในคั ม ภี ร ์ ไ บเบิ ล
(ซามูเอล ฉบับที่ ๑ บทที่ ๕ – ๖) กล่าวถึงโรคระบาดที่มีอาการคล้ายกาฬโรค
ในชาวฟิลิสตีนที่เมืองแอชดอด (Ashdod) เมื่อราวสามพันปีก่อน๑ และต่อมา
ราวพุทธศตวรรษที่ ๖ มีหลักฐานแสดงการระบาดของกาฬโรคในลิเบีย อียิปต์
และซีเรีย ซึ่งท�ำให้มีผู้เสียชีวิตจ�ำนวนมาก
การระบาดวงกว้าง (Pandemic) ครั้งแรกของกาฬโรคเกิดขึ้นในสมัย
พระจักรพรรดิจัสติเนียนที่ ๑ แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์)

ในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า ชาวฟิลิสตีนไปยึดเอาหีบแห่งพันธสัญญา (Ark of Covenant)
ของชาวอิสราเอลมาเป็นของตน พระยะโฮวาห์จึงลงโทษชาวฟิลิสตีนให้มีฝีขึ้นในที่ลับ (บางฉบับ
แปลเป็นภาษาไทยว่า ริดสีดวงทวาร) อย่างรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตจ�ำนวนมาก ภายหลังชาวฟิลิสตีน
จึงต้องน�ำหีบแห่งพันธสัญญาไปคืนชาวอิสราเอลพร้อมเครื่องบูชาเป็นรูปฝีและรูปหนู จึงเป็นเครื่อง
บ่งชี้ว่า โรคระบาดในครั้งนั้นอาจเป็นกาฬโรคที่มีหนูเป็นพาหะ

เมื่อ พ.ศ. ๑๐๘๔ – ๑๐๘๕ เริ่มจากเมืองท่าเพลูเซียมในอียิปต์ แล้วระบาดไปทั่ว


ดินแดนบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวง
ของจักรวรรดิโรมันตะวันออก และดินแดนอื่นๆ ในทวีปยุโรป การระบาดเกิดซ�้ำ
หลายครั้งในช่วงเวลา ๕๐ – ๖๐ ปี สันนิษฐานว่าจ�ำนวนผู้เสียชีวิตอาจสูงถึง
๑๐๐ ล้านคน (บางแหล่งข้อมูลสันนิษฐานว่า ๒๕ – ๕๐ ล้านคน) ท�ำให้บ้านเมือง
หลายแห่งถูกทิ้งร้าง
การระบาดวงกว้างครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นในยุโรปและจีนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๙ –
๑๘๙๔ ในช่วงทีก่ องทัพมองโกลยกทัพไปรุกรานเอเชียกลางจนถึงยุโรปตะวันออก
แต่เกิดกาฬโรคระบาดขณะโจมตีเมืองท่าคัฟฟาบริเวณทะเลด�ำ และระบาดต่อไป
ทัว่ ยุโรป ตะวันออกกลาง อินเดีย และจีน การระบาดในยุโรปท�ำให้มผี เู้ สียชีวติ ราว
๒๕ ล้านคน ซึ่งคิดเป็น ๑ ใน ๔ ของจ�ำนวนประชากรในยุโรป ส่วนในเอเชีย
มีผู้เสียชีวิตหลายล้านคน การระบาดของโรคส่งผลต่อสภาพสังคมของยุโรป
เป็นอย่างมาก จนเรียกขานการระบาดครั้งนี้ว่า Black Death หรือความตาย
สีด�ำ และต่อมายังเกิดการระบาดซ�้ำอีกหลายครั้งในประเทศต่างๆ เป็นเวลา
หลายร้อยปี แล้วจึงค่อยๆ ลดลงในพุทธศตวรรษที่ ๒๓๑
การระบาดวงกว้างครั้งที่ ๓ เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ - ๒๕
เริ่มต้นจากมณฑลยูนนานในจีน และรุนแรงขึ้นจากการปราบกบฏชาวมุสลิมใน
พ.ศ. ๒๓๙๘ ผู้อพยพจากภัยสงครามและทหารที่กลับบ้านท�ำให้กาฬโรคค่อยๆ
แพร่ระบาดไปยังเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะเมืองกว่างโจวและฮ่องกงที่เป็นเมืองท่า
ส�ำคัญ เกิดการระบาดขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๗ จนเป็นจุดแพร่กระจายการระบาดไป
ยังประเทศต่างๆ เป็นเวลานานกว่า ๖๐ ปี การระบาดครัง้ นี้ ยุโรปได้รบั ผลกระทบ
ไม่มากนัก เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข แต่ภูมิภาค


Robert Pollitzer, Plague (Geneva : World Health Organization, 1954), 11 – 14.

ชาวเมืองตูร์แนในฝรั่งเศสก�ำลังฝังศพผู้เสียชีวิตด้วยกาฬโรคจ�ำนวนมาก เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๒


ที่มา : BLACK DEATH AT TOURNAI, 1349, LE MUISIT, GILLES (1272–1352) /BIBLIOTHÈQUE
ROYALE DE BELGIQUE, BRUSSELS/BRIDGEMAN IMAGES
Cited in https://www.sciencemag.org/news/2016/04/how-europe-exported-black-death

ที่ได้รับความเสียหากอย่างมากคือ เอเชีย โดยเฉพาะจีนและอินเดีย มีผู้เสียชีวิต


ราว ๑๓ ล้านคน๑
จากการระบาดวงกว้างทัง้ สามครัง้ จะเห็นได้วา่ กาฬโรคระบาดไปกับการ
เดินทางติดต่อค้าขายระหว่างดินแดนต่างๆ เมื่อเกิดการระบาดขึ้นในเมืองท่า
ส�ำคัญๆ ของสมัยนั้น ท�ำให้กาฬโรคระบาดไปเป็นวงกว้างผ่านทางผู้คนและ
หนูที่ไปกับเรือสินค้า ประเทศต่างๆ จึงมีมาตรการป้องกันโดยการกักกันเรือจาก
บริเวณที่มีโรคระบาดไม่ให้เข้าประเทศ ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาเรือกลไฟและทาง
รถไฟก็ยิ่งท�ำให้กาฬโรคระบาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นานาประเทศจึงต้องร่วมมือกัน
หยุดยั้งการระบาดของโรค


Mark Harrison, Disease and the Modern World : 1500 to the Present Day
(Cambridge : Polity Press, 2005), p. 128 – 130.

กาฬโรคในประวัติศาสตร์ไทย
กาฬโรคเริ่มเข้ามาระบาดในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน
แน่ชัด แต่มีนักวิชาการวิเคราะห์ว่า โรคระบาดที่ท�ำให้พระเจ้าอู่ทองทรงอพยพ
ผูค้ นมาสร้างเมืองใหม่ทกี่ รุงศรีอยุธยาเมือ่ พ.ศ. ๑๘๙๓ อาจเป็นกาฬโรค เนือ่ งจาก
ตรงกับช่วงเวลาการระบาดเป็นวงกว้างครั้งที่ ๒ ในยุโรปและเอเชีย หรือที่เรียก
ว่า Black Death โดยสันนิษฐานว่าไทยอาจรับกาฬโรคผ่านการค้าส�ำเภากับจีน
ซึ่งมีมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว การระบาดของกาฬโรคมีส่วน
ในการขจัดอิทธิพลของขอมในบริเวณลุ่มแม่น�้ำเจ้าพระยา และท�ำให้พระเจ้า
อู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาได้๑
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวยังมีประเด็นที่น่าสงสัย ทั้งการ
หายไปของกาฬโรคหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยา ซึ่งต่างจากในยุโรปที่มีการ
ระบาดซ�้ำหลายครั้งเป็นเวลาหลายร้อยปี ข้อสงสัยเรื่องกาฬโรคในจีนและอินเดีย
การขาดหลักฐานเกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตลอดจนการคงอยู่ของโรคระบาดอื่นๆ ที่มีมากในสมัยนั้น และอาจเป็นสาเหตุ
ของการอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน๒
กาฬโรคปรากฏชั ด เจนที่ เ มื อ งไทยในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓)
ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่กาฬโรคระบาดเป็นวงกว้างครั้งที่ ๓ โดยมีจุดเริ่มต้นที่
ประเทศจีน โดยเฉพาะการระบาดอย่างรุนแรงในเมืองท่าส�ำคัญ คือเมืองฮ่องกง
เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ และเป็นจุดแพร่กระจายการระบาดไปยัง
ประเทศอื่นๆ


สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, Black Death โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง ฝังโลกเก่า
ฟื้นโลกใหม่ ได้ “ราชอาณาจักรสยาม” (กรุงเทพฯ : บางกอกน้อย, ๒๕๕๓), หน้า ๖ – ๑๕.

โปรดดูบทวิเคราะห์ที่ภาคผนวก : สมมุติฐานเรื่องกาฬโรคสมัยพระเจ้าอู่ทอง

ในเดือนเดียวกันนัน้ รัฐบาลไทยได้รบั แจ้งจากสถานกงสุลอังกฤษว่าเกิด


กาฬโรคระบาดทีเ่ มืองฮ่องกง ทูตและกงสุลประเทศต่างๆ จึงร่วมประชุมและเสนอ
ให้รัฐบาลใช้มาตรการกักกันเรือ (Quarantine)๑ โดยการตรวจเรือทุกล�ำที่มาจาก
บริเวณทีม่ กี ารระบาด ถ้าไม่มผี ใู้ ดเป็นกาฬโรคก็อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร
ได้ แต่ถ้าตรวจพบผู้ป่วยหรือผู้ตายด้วยกาฬโรคให้กักเรือนั้นไว้จนกว่าแพทย์
จะเห็นว่าปลอดภัย๒ รัฐบาลไทยจึงเริม่ ตัง้ ด่านกักกันเรือทีเ่ กาะไผ่๓ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๓๗
เรียกว่า “ด่านป้องกันโรคภยันตราย” โดยให้อยู่ในความดูแลของกรมพยาบาล๔
พร้อมทั้งร่างกฎหมายกักกันเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้กาฬโรคระบาดมาถึงเมืองไทย
กฎหมายกักกันเรือมีการแก้ไขเพิม่ เติมหลายครัง้ จนพัฒนาเป็นประกาศ
จัดการป้องกันกาฬโรค ซึ่งมีรายละเอียดในการควบคุมมากขึ้น และประกาศใช้
ทุกครั้งที่มีกาฬโรคระบาดในเมืองท่าส�ำคัญ เช่น ซัวเถา๕ ฮ่องกง ไต้หวัน มะนิลา
สิงคโปร์ ฯลฯ โดยจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นคราวๆ ไป เพื่อให้ครอบคลุม


ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๔ โรคระบาดกลายเป็นปัญหาระดับโลก เนื่องจากโรคระบาด
หลายโรคสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงข้ามทวีป เช่น อหิวาตกโรคและกาฬโรค น�ำไปสู่
ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะการประชุมด้านสุขอนามัยระหว่าง
ประเทศ (International Sanitary Conference) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ที่กรุงปารีส
จากปัญหาการระบาดของอหิวาตกโรคในยุโรป ต่อมามีการตกลงใช้ “ระเบียบการอนามัยระหว่าง
ประเทศ” (International Sanitary Convention) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ เพื่อบังคับใช้มาตรการต่างๆ
ในการป้องกันโรคระบาดระหว่างประเทศ เช่น การกักกันเรือ และมาตรการอื่นๆ

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรือ่ งจัดการป้องกัน
โรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗).

อยู่ในอ่าวไทย บริเวณอ่าวรูปตัว ก. ทางใต้ของปากแม่น�้ำเจ้าพระยา

กรมพยาบาล สังกัดกระทรวงธรรมการ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ เพื่อดูแลกิจการของ
โรงศิริราชพยาบาล ตลอดจนกิจการด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักร

ซัวเถา หรือซ่านโถว (Swatow, Shantou) เป็นเมืองท่าแห่งหนึ่งในมณฑลกวางตุ้ง
ประเทศจีน ชาวเมืองส่วนใหญ่ใช้ภาษาจีนแต้จวิ๋ และเป็นแหล่งต้นทางของชาวจีนจ�ำนวนมากทีอ่ พยพ
มาเมืองไทยในสมัยรัตนโกสินทร์

เมืองต่างๆ ที่มีกาฬโรคระบาด๑ เมื่อการระบาดสงบลงก็จะมีประกาศเลิกถอน


เป็นคราวๆ ไปเช่นกัน โดยยกเลิกการตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ และเปลี่ยนมา
ท�ำการตรวจเรือที่ต�ำบลปากน�้ำ เมืองสมุทรปราการแทน จนกว่าจะมีกาฬโรค
ระบาดที่ต่างประเทศอีกครั้ง จึงจะย้ายกลับไปตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ ต่อมา
ใน พ.ศ. ๒๔๔๗ จึงมีการเปลี่ยนสถานที่กักกันเรือจากเกาะไผ่เป็นเกาะพระ๒
โดยเฉลี่ยแล้วระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๐ - ๒๔๔๘ มีประกาศจัดการป้องกัน
กาฬโรคและประกาศแก้ไขเพิ่มเติมปีละ ๓ – ๔ ฉบับ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไทย
รู้เท่าทันข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคระบาดในต่างประเทศ และพยายามจัดการ
ป้ อ งกั น โดยเร็ ว เพื่ อ ให้ ทั น ต่ อ เหตุ ก ารณ์ ๓ ทั้ ง ยั ง มี ก ารจ้ า งแพทย์ ต ะวั น ตก
เพื่อท�ำหน้าที่ตรวจกักกันเรือที่เกาะไผ่อีกด้วย๔

การกักกันเรือที่มาจากเมืองต่างๆ มีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาดใน
เมืองนั้น หากมีการระบาดรุนแรง เรือที่มาจากเมืองนั้นก็อาจถูกห้ามมิให้ส่งคนหรือสิ่งของขึ้นบกใน
พระราชอาณาเขตเลย และต้องออกจากน่านน�ำ้ ของไทยในเวลาทีก่ ำ� หนด หากมีการระบาดปานกลาง
เรือที่มาจากเมืองนั้นจะถูกกักกันที่เกาะไผ่เป็นเวลา ๙ วัน แล้วถึงจะเดินทางเข้ามาได้ ส่วนเมือง
ที่มีการระบาดน้อย หรือแค่สงสัยว่าอาจมีการระบาด เรือที่มาจากเมืองนั้นจะต้องทอดสมอที่
เกาะไผ่เช่นกัน แต่จะไม่ถูกกักกันตามก�ำหนด ๙ วัน เพียงแต่รอให้แพทย์ตรวจยืนยันว่าไม่มีผู้ป่วย
กาฬโรค ก็เดินทางเข้ามาได้เลย

อยู่ในอ่าวไทย บริเวณอ�ำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

แหล่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ ส� ำ คั ญ ของรั ฐ บาลไทยคื อ ทู ต กงสุ ล ต่ า งประเทศ ตลอดจน
แพทย์ชาวตะวันตก ซึ่งมีเครือข่ายข่าวสารกับประเทศต่างๆ และคอยแจ้งข่าวเกี่ยวกับกาฬโรค
เพื่อให้รฐั บาลหาทางป้องกันไม่ให้เข้ามาระบาดในเมืองไทย นอกจากนีย้ ังมีหนังสือพิมพ์และวารสาร
ต่างประเทศที่เผยแพร่ข่าวการระบาดของกาฬโรค เช่น วารสาร Public Health Reports
หรือรายงานการสาธารณสุข ซึ่งเป็นวารสารฉบับทางการของศัลยแพทย์ใหญ่ (Surgeon General)
และส�ำนักการสาธารณสุข (Public Health Service) แห่งสหรัฐอเมริกา พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๔๒๑ ถึงปัจจุบัน แพทย์และกงสุลชาวตะวันตกหลายคนเคยส่งรายงานเกี่ยวกับการ
สาธารณสุขและโรคระบาดในเมืองไทยไปตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นว่าโรคระบาด
เป็นปัญหาระดับนานาชาติซึ่งต้องมีการร่วมมือ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหรือวิธีการป้องกันโรค
เพื่อยับยั้งการระบาดไม่ให้ลุกลามออกไป

แพทย์ที่รัฐบาลจ้างให้ท�ำหน้าที่ตรวจกักกันเรือที่เกาะไผ่คือ นายแพทย์ฮานส์ อดัมเซน
(Hans Adamsen) หรือพระบ�ำบัดสรรพโรค แพทย์ลูกครึ่งชาวเดนมาร์ก-มอญ ซึ่งเกิดและเติบโตใน
เมืองไทย ต่อมาไปศึกษาวิชาแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา

นอกจากมาตรการกักกันเรือแล้ว ยังมีมาตรการรักษาความสะอาด
โดยการตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ และตั้งแพทย์สุขาภิบาล
เพื่อจัดการรักษาความสะอาดและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บแก่ราษฎรในกรุงเทพฯ๑
ตลอดจนดูแลการตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ด้วย แพทย์สุขาภิบาลคนแรกคือ
นายแพทย์ ปี. เอ. ไนติงเกล (P.A. Nightingale) ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๔
นายแพทย์ ไ นติ ง เกลลาออกจากต� ำ แหน่ ง จึ ง มี ก ารแต่ ง ตั้ ง นายแพทย์ ฮิ ว จ์
แคมป์เบล ไฮเอต (Hugh Campbell Highet)๒ เป็นแพทย์สุขาภิบาลแทน
และกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทส�ำคัญยิ่งในการป้องกันกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕
ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๔ กาฬโรคระบาดมาถึง
เมืองไทยเป็นครัง้ แรกทีภ่ เู ก็ต ท�ำให้มผี เู้ สียชีวติ ราว ๔๐ – ๕๐ คน และมีการระบาด
ต่อไปทุกปี นายแพทย์ไฮเอตจึงยืน่ รายงานถึงเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์ววิ ฒ ั น์๓ อธิบดี
กรมสุขาภิบาล เพื่อให้จัดการป้องกันกาฬโรคด้วยวิธีการต่างๆ โดยอ้างอิงจาก
มาตรการป้องกันกาฬโรคของเมืองกลาสโกว์ตามที่ตนเคยเห็นมา มาตรการ
ป้องกันทีน่ ายแพทย์ไฮเอตเสนอ เช่น การตัง้ ด่านกักกันเรือ การปรับปรุงสุขาภิบาล
ในพระนคร และการเฝ้าสังเกตหนู ทั้งยังเสนอให้ออกประกาศเตือนราษฎรให้


“พระราชก�ำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖,” ราชกิจจานุเบกษา,
เล่ม ๑๔, วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๖, หน้า ๕๑๗ – ๕๒๕.

นายแพทย์ฮิวจ์ แคมป์เบล ไฮเอต (Hugh Campbell Highet) แพทย์ชาวอังกฤษ ส�ำเร็จ
การศึกษาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ เดินทางมาเมืองไทยเพือ่ ปฏิบตั หิ น้าทีแ่ พทย์ประจ�ำ
สถานทูตอังกฤษใน พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมารัฐบาลไทยแต่งตั้งเป็นแพทย์สุขาภิบาลใน พ.ศ. ๒๔๔๔
ทั้งยังด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลคนเสียจริตคนแรก (ปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์
สมเด็จเจ้าพระยา) ต่อมายังได้เป็นรองประธานสมาคมเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งตะวันออกไกล
(Far Eastern Association of Tropical Medicine) และนายกสยามสมาคม เดินทางกลับอังกฤษ
ใน พ.ศ. ๒๔๖๓ รวมระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในเมืองไทยราว ๒๓ ปี

เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ด�ำรง
ต�ำแหน่งอธิบดีกรมสุขาภิบาล เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
๑๐

เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์
อธิบดีกรมสุขาภิบาล

นายแพทย์ฮิวจ์ แคมป์เบล ไฮเอต


แพทย์สุขาภิบาล
๑๑

ทราบถึงลักษณะอาการของกาฬโรค และให้เจ้าพนักงานคอยสังเกตการเสียชีวิต
ที่อาจเกิดจากกาฬโรค ตลอดจนจัดตั้งโรงพยาบาลส�ำหรับกาฬโรคโดยเฉพาะ
นายแพทย์ไฮเอตมีความเห็นว่ากาฬโรคจะระบาดมาถึงกรุงเทพฯ อย่างแน่นอน
ในเวลาไม่ช้า จึงควรปรับปรุงความสะอาดทั้งในก�ำแพงพระนครและนอกก�ำแพง
พระนคร เพื่อป้องกันและลดความรุนแรงของกาฬโรคเมื่อเกิดการระบาดขึ้น๑
นายแพทย์ไฮเอตได้ย�้ำเตือนเรื่องนี้อีกหลายครั้งในรายงานประจ�ำปี
ของแพทย์สุขาภิบาล ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๔๖ ในที่สุดก็เกิดการระบาด
ของกาฬโรคขึ้นในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ พบผู้ป่วยและ
ผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคที่ต�ำบลตึกแดง ทางฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา
ซึ่ ง เป็ น ชุ ม ชนของชาวอิ น เดี ย ในกรุ ง เทพฯ นายแพทย์ ไ ฮเอตจึ ง สั่ ง การให้
พลตระเวน (ต�ำรวจ) ปิดล้อมบริเวณที่เกิดการระบาดในทันที ทั้งยังรื้อถอนและ
เผาบ้านเรือนที่สกปรกหลายหลัง ตลอดจนตั้งกลุ่มจับหนู และท�ำความสะอาด
ในบริเวณนั้นอย่างถ้วนทั่ว ส่วนผู้ป่วยกาฬโรคก็ให้น�ำตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล
กาฬโรค ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ที่คลองสาน๒


“Report on an Outbreak of Bubonic Plague in Glasgow with special
reference to the possibility of such an outbreak in Bangkok,” หอจดหมายเหตุแห่งชาติ,
ร.๕ น. ๕.๗/๑๐ การป้องกันกาฬโรค (๒๒ – ๒๔ ส.ค. ๑๒๐).

เปิ ด ท� ำ การในเดือนกุม ภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ ต่อ มาใช้เป็น ที่รักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ
อื่นๆ ด้วย เช่น อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ รองรับผู้ป่วยประมาณ ๑๐๐ - ๒๐๐ คน ปัจจุบันคือ
โรงพยาบาลตากสิน เขตคลองสาน กรุงเทพฯ
๑๒

การแพร่ระบาดของกาฬโรค ตลอดจนมาตรการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่


ทั้งการเผาบ้านเรือนและการกักกันผู้ป่วย ท�ำให้ราษฎรตระหนกตกใจ เกิดข่าวลือ
ว่ากรมสุขาภิบาลลักพาตัวผู้ป่วยกาฬโรคไปกักไว้ที่โรงพยาบาล แล้ววางยา
ให้ตาย ราษฎรจึงพากันปกปิดและไม่แจ้งเหตุเมื่อมีผู้ป่วยหรือตายด้วยกาฬโรค
ทั้งยังข่มขู่คุกคามต่อชีวิตของเจ้าพนักงานแพทย์ ท�ำให้กาฬโรคเกิดการระบาด
หลายแห่ ง ในพระนคร โดยเฉพาะในย่ า นส� ำ เพ็ ง ซึ่ ง มี ป ระชากรหนาแน่ น
ท� ำ ให้ เ กิ ด ความหวาดวิ ต กว่ า กาฬโรคจะระบาดอย่ า งร้ า ยแรงในกรุ ง เทพฯ
เหมือนกับในฮ่องกง
รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของปัญหานี้ ในเดือนกุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๔๔๗ (ตามการนับปฏิทนิ แบบเก่า) จึงออกประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค๑
และประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค๒ ซึ่งมีลักษณะแตกต่าง
จากประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคแบบเดิมที่มุ่งเน้นการกักกันเรือ เปลี่ยนเป็น
มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจแก่ราษฎรเกี่ยวกับกาฬโรค และวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิด
การระบาด ท� ำ ให้ ร าษฎรคลายความตระหนกลง และให้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ
เจ้าพนักงานแพทย์มากขึ้น
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๘ - ๒๔๔๙ กาฬโรคระบาดไปถึงหัวเมืองต่างๆ
โดยเฉพาะเมื อ งที่ ตั้ ง อยู ่ ต ามเส้ น ทางรถไฟและเป็ น ชุ ม ทางการคมนาคมที่
ส�ำคัญ เช่น สระบุรี ราชบุรี ไชยา นครชัยศรี อยุธยา เพชรบุรี และนครราชสีมา
จึงต้องมีการตรวจกักกันผู้ป่วยตามสถานีรถไฟในกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ


“ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๑, วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
ร.ศ. ๑๒๓, หน้า ๘๗๑ – ๘๗๓.

“ประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒,
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓, หน้า ๘๗๕.
๑๓

และออกประกาศบังคับให้เจ้าของบ้านต้องแจ้งความเมื่อมีคนป่วยเป็นกาฬโรค๑
แต่ก็ไม่สามารถระงับการระบาดได้ ดังข้อมูลจากรายงานของนายแพทย์ไฮเอต
ใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ระบุว่า จ�ำนวนผู้ป่วยทั้งในกรุงเทพและหัวเมืองประจ�ำปีนั้น
มีทั้งหมด ๓๙๐ คน เสียชีวิต ๓๒๘ คน๒
การป้องกันกาฬโรคในหัวเมืองประสบปัญหาหลายประการ เนื่องจาก
การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ และการขาดประสิทธิภาพของหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยขอให้กรมสุขาภิบาลจัดส่งแพทย์ไปช่วย
ป้องกันกาฬโรคในหัวเมืองเป็นครั้งคราว แต่ไม่สามารถท�ำได้ เนื่องจากแพทย์
สุขาภิบาลมีหน้าทีจ่ ดั การป้องกันกาฬโรคในกรุงเทพฯ เป็นหลัก ส่วนกรมพยาบาล
ก็ไม่มีงบประมาณและบุคลากรเพียงพอ กระทรวงมหาดไทยจึงเสนอให้ยุบ
กรมพยาบาล เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๔๘๓ และเริ่ ม จั ด หาแพทย์ ไ ปป้ อ งกั น กาฬโรค
ในหัวเมืองเอง ถึง พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงมีการตั้งกรมพยาบาลขึ้นใหม่ในกระทรวง
มหาดไทย เพื่อจัดการป้องกันโรคระบาดในหัวเมืองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งยังมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระงับโรคระบาด พ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อป้องกัน
โรคระบาดร้ายแรง ๓ โรค คือ กาฬโรค อหิวาตกโรค และไข้ทรพิษ๔ จนเป็น
ต้นแบบของกฎหมายป้องกันโรคระบาดในเวลาต่อมา


“ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ก�ำหนดให้แจ้งข่าวคนป่วย,” ราชกิจจานุเบกษา,
เล่ม ๒๓, วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๕, หน้า ๓๑๕ – ๓๑๖ และ “ประกาศให้แจ้งความ
กาฬโรค,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๓, วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕, หน้า ๑,๑๔๔ – ๑,๑๔๕.

“รายงานคนป่วยเป็นไข้กาฬโรค รัตนโกสินทรศก ๑๒๕,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๔,
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖, หน้า ๑๙๒ – ๑๙๔.

“รายงานเสนาบดีสภา วันที่ ๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔,” หอจดหมายเหตุ
แห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร (๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗),
หน้า ๔๙ – ๕๔.

“พระราชบัญญัตริ ะงับโรคระบาทว์,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๓๐, วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน
พ.ศ. ๒๔๕๖, หน้า ๓๗๒ – ๓๗๘.
๑๔

กาฬโรคยังคงระบาดเกือบทุกปี มีกรุงเทพฯ เป็นแหล่งเพาะโรคทีส่ ำ� คัญ


และระบาดต่อไปยังหัวเมืองต่างๆ การระบาดระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๗๗
มักเกิดขึ้นในตลาดใหญ่ๆ หรือในเขตเทศบาล และมีอัตราการตายที่สูง ท�ำให้มี
ผู้เสียชีวิตรวม ๓,๑๖๗ คน ต่อมาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒๔๙๕ การระบาด
มักเกิดตามหมู่บ้านหรือท้องนา และมีอาการไม่รุนแรงนัก อัตราการตายต�่ำ
มีผู้เสียชีวิตรวม ๓๗๒ คน ถึง พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยโดยความช่วยเหลือของ
สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งหน่วยควบคุมกาฬโรคในท้องที่ ๓ จังหวัด คือ ราชบุรี
นครราชสี ม า และนครสวรรค์ เพื่ อ ป้ อ งกั น กาฬโรคในพื้ น ที่ ภ าคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามล�ำดับ พร้อมทั้งท�ำการค้นคว้า
วิจัยเพื่อป้องกันโรค ส่งผลให้กาฬโรคไม่ปรากฏในประเทศไทยอีกนับแต่นั้นมา
จนถึงปัจจุบัน๑
บทสรุป
กาฬโรคเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง มีอัตราการตายสูง ทั้งยังสามารถ
แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ
ชนชั้นน�ำของไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ทูต และแพทย์
ล้วนตระหนักถึงความส�ำคัญของโรคร้ายนี้ จึงหาทางจัดการป้องกันกาฬโรค
มิให้แพร่ระบาดเข้ามาถึงเมืองไทย ครั้นเกิดการระบาดขึ้นแล้วก็จัดการควบคุม
อย่างรวดเร็วมิให้ลกุ ลามไปมากขึน้ แม้ตอ้ งใช้มาตรการทีเ่ ข้มงวดกวดขันต่อราษฎร
เช่น การเผาบ้านเรือน การกักกันผู้ป่วย การบังคับให้แจ้งความเมื่อมีอาการป่วย
ฯลฯ ก็จ�ำเป็นต้องท�ำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม


อาทร จันทวิมล, “ประวัติการควบคุมโรคติดต่ออันตรายในประเทศไทย,” อนุสรณ์
กระทรวงสาธารณสุข ครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๕๐๕ (พระนคร : กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๐๕),
หน้า ๖๐๔ – ๖๐๗.
๑๕

อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้มาตรการต่างๆ ก็เป็นไปตามหลักสากล


โดยอยู ่ ใ นความดู แ ลของแพทย์ ผู ้ เชี่ ย วชาญ มี ก ารเยี ย วยา หรื อ อนุ โ ลมตาม
สมควร เช่น การให้ค่าชดเชยเมื่อเผาบ้านเรือน การอนุญาตให้ญาติพี่น้องเข้าไป
ช่วยพยาบาลผู้ป่วยในโรงพยาบาล ประกอบกับการให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง
กาฬโรคแก่ราษฎรอย่างเหมาะสม ท�ำให้การระบาดของกาฬโรคในประเทศไทย
ไม่รุนแรงนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคใกล้เคียง เช่น จีน อินเดีย ชวา
พม่า และเวียดนาม๑
การระบาดของกาฬโรคในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่งผลให้รัฐบาลไทยขยาย
ความร่วมมือกับนานาประเทศ เพือ่ ป้องกันโรคระบาดต่างๆ ในฐานะเป็นส่วนหนึง่
ของประชาคมโลก ทั้งยังสนับสนุนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขสมัยใหม่
มีการตั้งกรมสุขาภิบาล สังกัดกระทรวงนครบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อดูแล
ความสะอาดในกรุงเทพฯ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๘ เริ่มมีการตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมือง
สุขศาลา (สถานีอนามัย) และตัง้ กรมพยาบาลขึน้ ใหม่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ เพื่อดูแลงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วราชอาณาจักร
จนพัฒนาเป็นกระทรวงสาธารณสุขสืบมาจนถึงปัจจุบัน


R. Pollitzer, Plague, pp. 16 - 28.
กระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕
ต�ำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค
ต�ำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค
ต�ำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค

หมอย๊อช แมกฟาแลนด์๑ เป็นผู้เรียบเรียง


พิมพ์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓๐๐๐ ฉบับ
เป็นการสนองพระเดชพระคุณ
ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

รัตนโกสินทรศก ๑๒๙ [พ.ศ. ๒๔๕๓]

พิมพ์ที่โรงพิมพ์หมออเมริกัน


นายแพทย์ยอร์ช แบรดลีย์ แมกฟาร์แลนด์ (Dr. George Bradley McFarland) หรือ
ที่คนไทยเรียกว่า หมอฟ้าลั่น เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันที่มาเผยแผ่ศาสนาในเมืองไทย
เมือ่ เติบโตได้เดินทางไปศึกษาแพทยศาสตร์ทสี่ หรัฐอเมริกา หลังจากส�ำเร็จการศึกษาจึงเดินทางกลับ
ถึงเมืองไทยใน พ.ศ. ๒๔๓๔ และได้รับแต่งตั้งเป็นแพทย์ใหญ่โรงศิริราชพยาบาลในปีต่อมา นับเป็น
ผู้วางรากฐานการศึกษาวิชาแพทย์สมัยใหม่ในเมืองไทย จนได้รับยกย่องว่าเป็นอิฐก้อนแรกของ
โรงเรียนแพทย์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระอาจวิทยาคม
นายแพทย์ยอร์ช แมกฟาร์แลนด์
ค�ำน�ำ
ความประสงค์แห่งการแต่งต�ำรานี้ จะชีช้ กั น�ำบุคคลให้เห็นคุณประโยชน์
ในการป้องกันแก้กาฬโรค ตามวิธีแนะน�ำต่างๆ ซึ่งกล่าวในต�ำรานี้มีอยู่ข้างหน้า
ให้เปรียบดุจดังกระโจมไฟหมายที่ดอนน�้ำตื้น หรือหลักศิลาอันหมายแก่งโสโครก
ใต้น�้ำ หรือไม้ป้ายชี้หนทางตรงแพร่งถนน ซึ่งมีประโยชน์แก่ผู้เดินเรือ และบุคคล
เดินถนนฉันใด ต�ำรานี้ก็ชี้ความอันตราย และผลปลายมือแห่งพยาธิอันร้ายแรง
บอกวิธีปราบ แก้ กัน ก็ย่อมมีประโยชน์มากเหมือนกันฉันนั้น จึ่งส�ำเร็จความ
ประสงค์แห่งการแต่งต�ำราเล็กเล่มนี้ คือเพื่อจะชี้วิธีระวังชีวิตของตน กระท�ำให้
ยืดยาวนานไปได้ โดยถือว่าโรคดุอย่างนี้ปราบ กัน ได้ ห้ามมิให้แพร่หลายได้
ครั้นว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดรู้ในวิธีปรนนิบัติ และจงใจปรนนิบัติโดยเคร่งครัด
ก็ป้องกันหมู่ญาติทั้งครัวเรือนของตนได้โดยแน่แท้ ดุจดังนายเรือเมื่อเห็นแสง
สว่ า งของกระโจมไฟในเวลากลางคื น อั น มี พ ายุ ก็ ย ่ อ มหลี ก เลี่ ย งไปให้ พ ้ น
เห็นว่าความฉิบหายแห่งชีวิตจะมีแก่ตน และผู้โดยสาร และราคาเรือคงจะถึง
ความวินาศใหญ่ ด้วยพุ่งเรือเข้าหาที่อันตรายฉันใด บุคคลผู้เลินเล่อเข้าไปในที่
มี อั น ตราย หรื อ ปล่ อ ยให้ เชื้ อ แห่ ง พยาธิ อั น นี้ แล่ น โดยพลุ ่ ม พล่ า มเข้ า มาใน
เรือนของตน ก็ย่อมเกิดความวินาศอันใหญ่ฉันนั้น ดุจเดียวกัน
เพราะเช่นนี้ไม่เป็นการเสียเปล่าเลย โดย ๑. ได้แนะน�ำชี้แจงทั้งปฐม
ต้นเหตุเริม่ เกิด ๒. เหตุอนั เป็นเชือ้ อณูปลิวเคลือ่ นคลาด ๓. ฤดูอนั โรคนีแ้ พร่หลาย
๔. อาการแรกเกิดส�ำเหนียกโรค ๕. อาการแรกชีว้ า่ เป็นจ�ำเพาะโรคนี้ ๖. วิธรี กั ษา
๗. การควรประพฤติแห่งจ�ำเพาะคน ในเมื่อมีกาฬโรคเกิดขึ้นในที่อันใกล้เคียง
เป็นภาคๆ ไป เมื่อรู้ในข้อเหล่านี้โดยถ้วนถี่แล้ว สามารถรักษาชีวิตของตน และ
หมู่ญาติในบ้านเรือนอันใกล้เคียง ให้มีความสุขสบาย และเจริญชีวิตไปได้อีกนาน
เมื่อบรรลุยังความประสงค์อันนี้แล้ว ก็เป็นการส�ำเร็จความปรารถนาอันใหญ่ยิ่ง
แห่งข้าพเจ้าผู้แต่งต�ำราเล่มนี้
หมอยอช แมกฟาร์แลนด์
๒๒

แสดงด้วยกาฬโรคเพลก๑
ตามนามของโรคนี้สมมุติเรียกกันคือ
“โรคห่าด�ำ” “ความร้อนแห่งกายเซบติก”๒ “โรคต่อมเป็นพิษ” หรือ
“ไข้พิษ” เป็นต้น
โรคนี้นับเข้าในจ�ำพวกหรือชนิดของโรคดุที่สุด ซึ่งเกิดขึ้นด้วยเชื้อพิเศษ
อย่างหนึ่ง แพร่หลายขึ้นด้วยเชื้ออณูติดค้างในพื้นดิน ในซุ้มซอกแซกของเรือน
ในภาชนะและผ้าห่มฟูกหมอนและผ้าปูที่นอน ปรากฏเป็นโรคห่า และท�ำลาย
ชีวิต ๒ ใน ๓ คนที่เป็นโรคนี้ขึ้น ส�ำแดงความดุร้ายแรงแห่งโรคอันนี้ นับว่าเป็นโรค
อันรวดเร็วฉับพลัน ด้วยว่ามีความร้อนแห่งกายแล้ว ความร้อนนั้นคงอยู่สูง
ตลอดเวลานานของโรค ด้วยผลของเชื้อพิเศษอย่างนี้ มีอาการคือ
๑. อักเสบแห่งต่อม เช่น ต่อมน�้ำเหลือง ทั้งชนิดตื้นตามผิวหนัง และ
ชนิดลึก
๒. ความอักเสบจัดตามเนื้อกล้ามหยาดมัน และพังผืดต่างๆ กระท�ำให้
เกิดฝีหัวใหญ่หรือฝีฝักบัว ในที่เกิดฝีเหล่านี้ปรากฏอักเสบจัด ความร้อนสูง ก�ำลัง
กายพับเพียบเร็ว
๓. มี อ าการโลหิ ต รั่ ว เป็ น แผลช�้ ำ ตามผิ ว หนั ง ด้ ว ยเส้ น โลหิ ต ขาด
ด้วยความอักเสบจัด ให้พงึ เข้าใจว่า อาการเหล่านีร้ วดเร็วยิง่ นัก เป็นทีน่ า่ หวาดเสียว
เหลือเกิน


Plague แปลว่า กาฬโรค

Septic แปลว่า การติดเชื้อ
๒๓

พงศาวดารส�ำแดงความดุร้ายของโรคนี้
เรื่ อ งพงศาวดารแรกเดิ ม ของโรคนี้ อั น เป็ น ที่ เชื่ อ ได้ นั้ น ว่ า โรคนี้ มี
ปรากฏขึ้นในราวคริสต์ศักราชปีที่ ๒๐๐ บางแห่งกล่าวว่าสามารถมีก่อนนี้อีก
แต่พงศาวดารเช่นนั้นบกพร่องไม่เป็นที่เชื่อได้
ต่อมาในราวปีที่ ๑๔๐๐ โรคนีเ้ กิดปรากฏขึน้ โดยรุนแรงในประเทศยุโรป๑
ท�ำลายชีวิตพลเมืองในประเทศนั้นๆ เกือบคน ๑ ใน ๔ คน เกิดทิ้งบ้าน ทิ้งเมือง
ทิ้งธุระการหาเลี้ยงชีพกันใหญ่ ต่อมาในคริสต์ศักราชปีที่ ๑๖๖๕ เกิดโรคห่าใหญ่นี้
ในกรุ ง ลอนดอน ๒ ทราบได้ ต ามพงศาวดารที่ จ ารึ ก ไว้ ว ่ า ในระยะ ๗ วั น
หรือสิ้นอาทิตย์ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายนปีนั้น มีรายชื่อผู้ตายอันจดทะเบียนไว้นั้น
ประมาณ ๕,๐๐๐ คน ต่อมาอีก ๗ วัน ตอนปลายของเดือนกันยายนนี้ รายชื่อของ
ผู้ตายที่จดทะเบียนไว้นั้นเกือบ ๑๐,๐๐๐ คน ถ้าจะสรุปรวมทั้งหมดที่สิ้นชีพ
เพราะโรคนี้ในปีนั้น ราวประมาณ ๗๐,๐๐๐ คน จึ่งต้องนับว่าความดุร้ายแรง
แห่งโรคนี้เป็นที่ยิ่ง ควรหมายเป็นที่หนึ่งในความดุท�ำลายชีวิต ด้วยเพาะเชื้อลง
ให้เกิดลุกลามมากขึ้นได้


หมายถึง การระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคในทวีปยุโรประหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๐ – ๑๘๙๔
หรือที่เรียกกันว่า “Black Death” และมีการระบาดลุกลามไปทั้งในเอเชียและแอฟริกาต่อมาอีก
หลายศตวรรษ ถือเป็นการระบาดวงกว้างครั้งที่ ๒ ของกาฬโรค (Second Plague Pandemic)
๒ หมายถึง การระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคในกรุงลอนดอนระหว่าง พ.ศ. ๒๒๐๘ – ๒๒๐๙
หรือที่เรียกกันว่า “Great Plague of London” ถือเป็นการระบาดใหญ่ครั้งสุดท้ายของกาฬโรคใน
ประเทศอังกฤษ
๒๔

ต่อนั้นมาตั้งแต่คริสต์ศักราช ๑๖๖๕ จนถึงปี ๑๘๙๔ นับได้ ๓๕๙ ปี


ดูเหมือนโรคนีจ้ ะสงบเงียบลงมาก ด้วยว่าไม่ได้ปรากฏ แต่มาระเบิดขึน้ ในประเทศ
อินเดีย๑ หัวเมืองทางทิศตะวันตก จนในต�ำบลหนึ่งคือเมืองบอมเบ๒ นับตั้งแต่แรก
ปรากฏจนครบ ๙ เดือน มีคนตายเพราะโรคนีป้ ระมาณ ๒๐,๐๐๐ คน ตัง้ แต่นนั้ มา
ก็ปรากฏในประเทศอินเดียเนืองๆ จนถึงในสมัยนี้ รัฐบาลต้องบริจาคพระราชทรัพย์
เพื่อป้องกันรักษาและช�ำระบ้านเมืองจนสิ้นเงินหลายแสนปอนด์ เกือบก�ำหนด
ไม่ถ้วนเช่นนี้ เป็นผลของโรคชนิดเดียว
โรคนี้ปราบได้โดยง่ายๆ แต่ไม่ควรคอยเมื่อเกิดขึ้นแล้ว สมควรป้องกัน
รักษาเสียก่อนเกิดขึ้นในที่ใดที่หนึ่งเป็นดีกว่า
ในเรื่องโรคนี้ มีข้ออัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เมื่อสงบไปนานๆ แล้ว
กลับระเบิดขึ้นได้โดยง่ายๆ เป็นต้นว่า ในประเทศยุโรปสงบไปได้ถึง ๒๐๐ ปี
ยังปรากฏขึน้ อีกได้ ด้วยดูเหมือนระเบิดออกมาจากดิน คือเมือ่ คริสต์ศกั ราช ๑๙๐๐
มีขึ้นในต�ำบลที่เรียกว่า แกลซโก๓


หมายถึง การระบาดวงกว้างครั้งที่ ๓ ของกาฬโรค (Third Plague Pandemic)
ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในมณฑลยูนนานของจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ แล้วลุกลามไประบาดอย่างรุนแรงใน
เมืองกว่างโจว และฮ่องกง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ จากนั้นจึงระบาดต่อไปตามการค้าขายทางเรือ
โดยระบาดไปถึงอินเดียเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ และระบาดมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗

เมืองบอมเบย์ (Bombay) ปัจจุบันคือ เมืองบุมไบ (Mumbai) ประเทศอินเดีย

เมืองกลาสโกว์ (Glasgow) ประเทศสกอตแลนด์

๒๕

มีระเบิดขึ้นในประเทศแอฟริกาก็ได้ ในประเทศอียิปต์ก็ได้ จึ่งส�ำแดง


ความร้ายแรงแห่งเชื้อ และความยากที่จะท�ำลายเชื้อนั้นโดยแน่ เพาะปลูกลงไว้
ต�ำบลไหน ดูเหมือนติดอยู่ในพื้นที่ดินในต�ำบลนั้นนาน

ในคริสต์ศักราช ๑๘๙๙ เชื้อแห่งโรคนี้เดินไปยังท่าเรือแห่งประเทศ



อเมริกา โดยความไหวพริบเร็ว และความประกวดประขันแห่งเจ้าพนักงาน
กรมเจ้าท่า อาจกักขังตัดเชื้อระงับไม่ให้เกิดลามไปได้มาก เป็นบ้างแต่ไม่สู้ร้ายแรง
เหตุเกิดของโรค
เหตุจ�ำเพาะเกิดแห่งโรคนี้ ท่านนักปราชญ์แพทย์ชื่อ คีตาซาโต๒ ได้
ค้นคว้าสืบเสาะหาที่เกิดจนพบ เป็นเชื้ออณู๓ ไม่ผิดกันเลยกับเชื้อซึ่งให้เกิด
อหิวาตกโรคประจ�ำตัวไก่๔ เชื้อ ๒ อย่างนี้เกิดในที่อันเดียวกัน ถิ่นฐานที่ดิน
ต�ำบลใดสามารถให้เกิดเชื้อสองอย่างนี้ได้ จึ่งนับว่าเป็นเชื้อเพื่อที่ดินโสโครก



สันนิษฐานว่าหมายถึงการระบาดของกาฬโรคในเมืองซานฟรานซิสโก ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๓ –
๒๔๔๗ ซึ่งเป็นการระบาดของกาฬโรคครั้งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา แต่มีการ
ปิดข่าวการระบาดเพื่อประโยชน์ทางการค้า การระบาดครั้งนั้นท�ำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๑๙ คน

คิตาซาโตะ ชิบาซาบูโร (Kitasato Shibasaburo) แพทย์ชาวญี่ปุ่นที่เป็นผู้ค้นพบ
_
เชื้อแบคทีเรียที่ท�ำให้เกิดกาฬโรค ระหว่างการระบาดในฮ่องกงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ในช่วงเวลา
เดียวกันนั้น อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน (Alexandre Yersin) แพทย์ชาวสวิส-ฝรั่งเศส ก็ได้ค้นพบ
เชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกัน แต่รายงานของอเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน มีความน่าเชื่อถือมากกว่า
ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ว่า Yersinia pestis เพื่อเป็นเกียรติแด่อเล็กซานเดอร์
เยอร์ซิน
๓๔ หมายถึง เชื้อแบคทีเรีย
เชื้อแบคทีเรียที่ท�ำให้เกิดอหิวาตกโรคในสัตว์ปีก (Fowl Cholera) คือ Pasteurella
multocida ซึ่งเดิมจัดอยู่ในสกุลเดียวกับแบคทีเรียที่ท�ำให้เกิดกาฬโรค คือสกุล Pasteurella
แต่ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๔๔ (พ.ศ. ๒๔๘๗) เชื้อแบคทีเรียที่ท�ำให้เกิดกาฬโรคย้ายไปอยู่ในสกุลใหม่
คือสกุล Yersinia
๒๖

นายแพทย์คิตาซาโตะ ชิบาซาบูโร

นายแพทย์อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน
๒๗

เมื่อเชื้อนี้สู่สิงเส้นน�้ำเหลือง สามารถกระจายไปอยู่ในอวัยวะต่างๆ ได้


ดูเหมือนเป็นเชือ้ อย่างหนึง่ ซึง่ เจริญสืบพืชแผ่พษิ ในน�ำ้ เหลือง ตามต�ำบลทีม่ กี าฬโรค
นี้เกิดขึ้น เชื้อนั้นอยู่ในฝุ่นละอองดินที่บ้านอันนั้นตั้งอยู่ เช่นนี้จึ่งนับว่าเป็นเชื้อ
เพื่อดิน
ครั้นนับเข้าว่าเป็นเชื้อเพื่อถิ่นฐานที่ดินฝุ่นละออง ก็นับว่าลูกหนู สุนัข
ขนยาวขนสัน้ แมลงวัน แมลงหวี่ หรือตัวหมัด ซึง่ สามารถตายได้โดยอักเสบเพราะ
โทษเชือ้ อันนี้ จึง่ เป็นวิถสี ามัญซึง่ แพร่หลายโดยการวิง่ พลุม่ พล่ามของสัตว์ทงั้ หลาย
เหล่านี้
กล่าวด้วยฤดูที่กาฬโรคมักเกิดเร็ว
ฤดูทโี่ รคนีม้ กั เกิดชุกชุมนัน้ คือ ในฤดูรอ้ นแพร่หลายโดยมาก ถึงกระนัน้
สามารถระเบิดมีขนึ้ ในฤดูใดๆ ไม่มกี ำ� หนด เป็นต้นว่าในฤดูหนาวชุม่ ชืน้ ก็เป็นขึน้ ได้
ไม่มีก�ำหนดว่าบุคคลใดจะเว้นได้จากโทษเชื้อนี้ คนทุกอายุ ทุกภาษา
ทุกตระกูล สามารถล้มเจ็บได้ด้วยโรคนี้
พื้นที่ ที่ดนิ อันดูเหมือนเชื้อนีพ้ อใจเกิดพืชแผ่พิษ คือในที่ประชุมชนมาก
กลางเมืองใหญ่ๆ ตามตลาดที่คนชุลมุนเบียดกันอยู่แน่นๆ ตามที่อาศัยส�ำนัก
แห่งพลเมืองชั้นอนาถา ทั้งในที่ซึ่งปราศจากความสะอาดอันพอสมควร หรือ
ซึ่งปราศจากอากาศธาตุสะอาดและแดดพอสมควร เช่น ที่อบ ที่ชื้น ที่มีกลิ่น
ของเปื่อยเน่า ที่ทิ้งขยะหรือเทอุจจาระ หรือที่ฐานซึ่งเป็นที่ประชุมแห่งความ
โสโครกเหล่านี้ เป็นสวนที่ดินอันชอบเพื่อเชื้อกาฬโรคจะเกิดได้ง่าย
ความแพร่หลายของโรคนี้โดยทางกลิ่นละอองปลิวก็เกือบจะรุนแรง
เท่ากับไข้ทรพิษ และโรคหัด ฝ่ายละอองหรือเชื้อของฝีดาษนั้นดูเหมือนเลื่อนลอย
โดยวิถีอากาศธาตุ แต่เชื้อของกาฬโรคดูเหมือนจะเกาะตามเสื้อผ้าของผู้ที่ป่วย
เช่น ฟูก เบาะ หมอน มุ้ง เป็นต้น
๒๘

ถ้าจะน�ำเครือ่ งใช้เหล่านีไ้ ปให้ผอู้ น่ื ใช้กส็ ามารถเป็นวิถใี ห้เชือ้ เดิน และเป็น


การไม่สมควรเลย แต่ผู้ปราศจากปัญญามักจะน�ำผ้าผ่อน เบาะ หมอน มุ้ง ม่าน
ของผูท้ เี่ ป็นฝีดาษมาแจกจ่ายให้ผอู้ นื่ ใช้ การทีท่ ำ� ดังนีก้ ไ็ ม่สมควรเลย ถ้าเป็นเช่นนัน้
ด้วยฝีดาษ ก็จะต้องเป็นเช่นนัน้ ด้วยเครือ่ งใช้ของคนป่วยเช่นเป็นกาฬโรคเหมือนกัน
ถ้าจะตัง้ ปัญหาถามว่า อะไรเป็นเหตุให้ถนิ่ ฐานทีด่ นิ เป็นทีส่ มเชือ้ กาฬโรค
จะวัฒนาขึ้นได้
แก้ปัญหาว่า เหตุที่ชวนให้โรคนี้เกิดขึ้น คือ ความโสโครก ๑ และมีคน
เบียดยัดเยียดกันมาก เช่น ทีใ่ นตลาด หรือตามห้องแถวทีม่ คี นอยูแ่ น่นกัน ๑ ทีเ่ หล่านี้
ชวนให้โรคที่มีเชื้อมาแล้วเป็นที่เกิดขึ้นรวดเร็วมาก และส�ำแดงพิษจัด
รู้กันโดยสืบเสาะสังเกตในต�ำบลอื่นๆ ว่า ในที่สะอาดแห่งใดซึ่งแสงแดด
ส่องถึงได้ อากาศพัดได้โดยสะดวกโปร่ง ในทีเ่ ช่นนี้ แม้จะมีเชือ้ กาฬโรคมาก็ไม่สำ� แดง
พิษร้ายแรงเลย แต่ถา้ เป็นทีไ่ ม่สะอาด ทีอ่ บอ้าว คลุมครึม้ ไปด้วยหลังคา กลิน่ ดินจัด
ชื้นด้วยความฉ�ำแฉะ ในที่เช่นนี้ โดยมีเชื้อมาย่อมเกิดลุกลามเร็ว ดุจดังอัคคีภัย
อธิบายในค�ำที่ว่า บุคคลที่อยู่ยัดเยียดกัน
ในต�ำบลใดทีม่ คี นหนา ผูป้ รกติอยูช่ ดิ กับคนป่วย ในทีซ่ งึ่ อากาศอบไปด้วย
กลิน่ กายของผูเ้ จ็บ ในทีซ่ งึ่ ชุม่ ชืน้ โดยหมัน่ ราดน�ำ้ โสโครก ในทีซ่ งึ่ ชาวเรือนทีเ่ ช่าห้อง
อยู่ชิดดิน หรือในที่ซึ่งก�ำลังกายอ่อนพับเพียบลง อดหลับอดนอนกินอยู่ไม่สะดวก
หรือมีคน ๓ วันดี ๔ วันไข้ ในที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนี้ ส�ำแดงว่าเป็นอุทยานอันสมเพื่อ
เชื้อโรคเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้เร็ว
เหตุทชี่ ว่ ยให้โรคนีแ้ พร่หลาย คือสรรพโรคแห่งผิวหนัง ตามเท้า ขา และ
มือ ความชุมแห่งหนูใหญ่เล็ก ต้องนับว่าเป็นเหตุบำ� รุงความแพร่หลาย มิใช่แต่เพียงนี้
ความละเมิดในการรักษากายตนให้สะอาด ความละเมิดในการรักษาเสื้อผ้า
เครื่องนุ่งห่ม ภาชนะใช้สอยต่างๆ เหล่านี้ และแผลตามเท้า เช่น แผลเปื่อย
๒๙

หนังก�ำพร้าแตกระแหง เป็นต้น อาจเป็นประตูให้เชื้อเข้าได้ หรือย่อมเป็นที่บ�ำรุง


ให้โรคนี้เกิดแพร่หลายโดยมาก
ส�ำแดงความยกเว้นแห่งโรคนี้ น่าจะเป็นปัญหาอันประหลาดว่า แพทย์กด็ ี
ผูพ้ ยาบาลก็ดี ไฉนจึง่ ไม่มผี ลู้ ม้ ป่วยด้วยโรคนีเ้ นืองๆ เล่า เห็นจะเป็นโดยบุคคลพวกนี้
ย่อมอาศัยอยู่ในที่โปร่งสูงจากพื้นดิน ระวังไม่ให้มีแผลเปื่อยหรือหนังก�ำพร้าขาด
ได้เลย และไม่ได้อยู่ใกล้ชิดนานๆ กับผู้ป่วย เหล่านี้ส�ำแดงเหตุยกเว้นของโรคนี้ได้
จึ่งมีพงศาวดารรับรองในข้อนี้ว่า ในเมืองฮ่องกง และต�ำบลอื่นแห่งประเทศจีน
ในส่วนใดแห่งเมืองไหนๆ ที่หมั่นเก็บช�ำระของโสโครก รักษาความสะอาดโดย
หมดจด เปิดให้อากาศพัดได้สะดวก แดดส่องได้ดี ในต�ำบลเช่นนี้รับรองเป็นแน่ได้
ว่าไม่มีกาฬโรคเกิดเลย แต่จะข้ามถนนไปเข้าสู่หลังคาเรือนหนาทึบ ที่ชาวเมือง
อยู่กันยัดเยียด ประกอบไปด้วยความชุ่มชื้นอากาศอ้าว ที่เช่นนี้เป็นที่ให้เกิดผล
ของโรคนี้ ย่อมส�ำแดงชนิดแห่งถิ่นฐานที่ซึ่งเลี้ยงเชื้อเหล่านี้ไว้
ย่อมจะมีปัญหาถามว่า เชื้อนี้เจืออาหารและเครื่องบริโภคเข้าสู่ล�ำไส้
ได้หรือไม่ ในสมัยนี้รู้กันโดยแน่ว่า เชื้อโรคนี้เจืออาหารและเครื่องบริโภคได้
ข้อนี้รับรองโดยการชันสูตร คือเนื้อของสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้ น�ำมาป้อนสัตว์อื่น
ตัวอืน่ นัน้ พอได้เวลาสมควรก็สำ� แดงสรรพอาการแห่งกาฬโรค แล้วตายเพราะโรคนี้
ข้อนี้พอเป็นพยาน ถึงกระนั้นมหานักปราชญ์แพทย์ “คีตาซาโต” ตรวจหา และ
พบเชือ้ แห่งโรคนี้ ในทางเดินแห่งอาหาร ซึง่ แห่งของผูท้ ถี่ งึ แก่กรรมโรคนี้ จึง่ ให้เป็น
ที่เตือนใจว่า ดื่มน�้ำเจือเชื้อหรือบริโภคอาหารระคนไปด้วยเชื้อ หรือใช้เนื้อของ
สัตว์ที่ตายเพราะโรคนี้มารับประทานเป็นอาหาร ย่อมต้องเกรงว่าโรคจะระเบิด
ขึ้นแก่บุคคลผู้นั้น จึ่งส�ำแดงวิถีแพร่หลายแห่งนี้อีกอย่างหนึ่ง ให้พึงเป็นที่สังเกตรู้
โดยถ้วนถี่
๓๐

กล่าวด้วยแผลเป็นประตูที่เชื้อนี้จะเข้ามาเกาะได้
ตั้งเป็นบัญญัติได้ว่า ผิวหนังก�ำพร้าอันปรกติ ซึ่งปราศจากแผลระแหง
หรือรอยขาด ย่อมเป็นเครื่องป้องกันอันดีที่สุด มิให้ศัตรูอันเป็นชนิดเชื้อปรมาณู
เหล่านี้เข้าเกาะได้
ข้อนี้รับรองได้โดยที่พลิกศพผู้ที่ตายเพราะโรคนี้ หรือผู้ที่ตรวจชันสูตร
และเพาะเลี้ยงเชื้อปรมาณูเหล่านี้ หยิบจับได้ ถ่ายเทได้ โดยไม่เป็นอันตรายเลย
จึ่งตั้งเป็นบัญญัติได้อีกข้อหนึ่งว่า ประมาณ ๖๐ – ๗๐ คน ใน ๑๐๐ คน ที่ตายด้วย
โรคนี้ ได้รับเชื้อเข้าทางแผลตามเท้า จะเป็นแผลใหญ่หรือเล็ก ไม่ว่าแผลข่วน
หรือเกา หรือถลอกไม่มีก�ำหนด ถ้าเช่นนี้จริงก็สันนิษฐานได้อีกชั้นหนึ่งว่า สัตว์อณู
เหล่านี้อยู่ชิดดินเจือดินโสโครก โดยผู้ป่วยถ่ายออกมา หรือที่เคลื่อนจากสัตว์อัน
เปื่อยเน่าตายด้วยโรคนี้ เพาะปลูกหว่านลงไว้อีกชั้น ๑ แล้ว มีผู้เดินมาพักอยู่นาน
พอสมควร เชื้ออณูเหล่านี้กระโดด หรือวิ่งไต่ขึ้นตามเท้า เข้าอู่อันสมควรคือแผล
แล้วจึง่ ส�ำแดงอาการปัจจุบนั ประจ�ำโรคนี้ หรือเชือ้ อณูเหล่านีโ้ ดยได้เพาะปลูกลงไว้
ในที่อันโสโครก ย่อมทวีแผ่พืชพันธุ์ตามแบบธรรมดาแห่งสิ่งเหล่านี้ แล้วมีผู้มา
พักตามเวลาอันสมควร ก็ย่อมได้รับเชื้อเหล่านี้กระโดดขึ้นหา ไต่ปีนขึ้นตามเท้า
และเข้าอู่อันเป็นแผล
เพื่อจะรับรองว่าเชื้ออณูเข้าโดยแผลตามเท้า ให้พึงเข้าใจว่าประมาณ
๗๐ คน ใน ๑๐๐ คน ที่ป่วยด้วยโรคนี้ ส�ำแดงอาการว่า ต่อมขาหนีบแรกโตบวม
โดยอักเสบและมีหนอง ข้อนีน้ ำ� มาเป็นเครือ่ งรับรองได้วา่ ต้นเหตุอยูใ่ นกายเบือ้ งล่าง
เชือ้ ไม่ได้เข้าทางอาหาร ถ้าปนกับอาหารแล้ว ไฉนเล่าต่อมตืน้ ตามขาหนีบจะส�ำแดง
อาการอักเสบได้โดยเร็ว ถ้าเชื้ออณูเข้าโดยทวารอื่น นอกจากแผลตามเท้าแล้ว
เหตุไฉนต่อมตื้นๆ ใกล้เคียงที่นั้นจึ่งไม่บวมโดยมาก มาเฉพาะบวมที่ต่อมขาหนีบ
จึ่งใช้เป็นพยานได้ว่า สรรพสัตว์ละเอียดต่างๆ เช่น ตัวเหา ตัวไร ตัวเรือด แมลงวัน
ตัวหมัด ตัวเห็บ อาจเป็นเครือ่ งน�ำพาเชือ้ เหล่านี้ โดยเชือ้ เกาะแล้วจึง่ ข้ามจากสัตว์นี้
๓๑

สู ่ สั ต ว์ อื่ น จากบุ ค คลนี้ สู ่ บุ ค คลอื่ น หรื อ จากสุ นั ข สู ่ แ มว จากแมวสู ่ ห นู


ครั้นว่าสู่บุคคลใด หรือสัตว์ใดมีแผลก็ดี หนังก�ำพร้าขาดก็ดี เชื้ออณูเหล่านี้เข้าได้
ครั้นเข้าแล้วได้เกิดอาการ สมเป็นผลปลายมือเหมือนกันทุกที
เชื้อกาฬโรคตามตัวแมลงวัน
มีอยู่หลายเรื่องน�ำมาเป็นพยานได้ว่า แมลงวันเป็นวิถีอันสะดวกเพื่อจะ
ให้เชื้อโรคนี้แพร่หลายไปได้ ซึ่งกล่าวได้เช่นนี้ก็เพราะแมลงวันตายกันมากๆ มีทิ้ง
ออกเกลื่อนไป ตามต�ำบลที่เชื้อกาฬโรคมีอยู่ และรู้ในข้อนี้ได้โดยการทดลองว่า
น�ำแมลงวันทีต่ ายในต�ำบลมีกาฬโรคนัน้ มาเพาะเลีย้ ง และเจือน�ำ้ ยาตามวิธสี มควร
แล้วฉีดน�ำ้ ยาทีค่ นั้ จากกายของแมลงวันเข้าสูก่ ายของหนูพกุ ไม่ชา้ ไม่นานตามเวลา
สมควร หนูตวั นัน้ ส�ำแดงอาการกาฬโรค และนานไปตายด้วยโทษของเชือ้ กาฬโรค
นัน้ แน่ ข้อนีค้ วรเป็นทีเ่ ตือนให้ระวังรักษาอาหารให้พน้ จากการไต่ตอมของสัตว์บนิ
ละเอียดจ�ำพวกนี้
เชื้อกาฬโรคในจ�ำพวกหนู สัตว์บ้านจ�ำพวกนี้เป็นวิถีอันสามัญให้เชื้อ
แพร่หลาย จึ่งควรเป็นที่น่ากลัวเท่ากันกับผู้ที่ทิ้งเชื้อเพลิง ซึ่งจะนอนใจให้สัตว์
จตุบาทจ�ำพวกนี้ วิ่งเข้าออกพลุ่มพล่ามจากบ้านนี้สู่บ้านอื่น จากบ้านอื่นเข้า
บ้านเรา ก็เป็นเหมือนเปิดประตูให้ศัตรูอณูโรคเข้าสู่บ้านเราได้
ในต�ำบลทีม่ กี าฬโรค หรือก่อนผูใ้ ดจะตายในต�ำบลใดเพราะโรคนี้ เขาได้
สังเกตกันมา ครัน้ ว่าหนูตายกันมากๆ ในต�ำบลเหล่านัน้ ทัง้ ในต�ำบลใดทีม่ กี าฬโรค
หนา หนูในต�ำบลนั้นไม่มีเลย เพราะตายเสียหมดแล้ว แต่หนูนั้นตายมากๆ ใน
ต�ำบลอืน่ ซึง่ ต่อทีหลังคนป่วยด้วยกาฬโรค ซึง่ เขาสังเกตได้เช่นนี้ ควรเป็นทีผ่ อู้ นื่ จะ
พิเคราะห์ และรับเอาเป็นค�ำเตือนสติ กิรยิ าความประพฤติของหนูอนั บ้าคลัง่ ก็เป็น
ที่น่าประหลาด น่าเป็นที่สังเกตได้ เพราะว่าหนูย่อมวิ่งออกมาจากที่ซ่อนในเวลา
๓๒

แจ้งๆ ปราศจากความกลัวมนุษย์๑ ประเดีย๋ วนอนหงายท้องชักตาย เช่นนีม้ กี นั ชุกชุม


เพียงว่าในเมืองกวางตุง้ (แคนตอน)๒ ในคราวทีช่ าวเมืองนัน้ สูก้ บั โรคห่านี้ มีขนุ นาง
จีนคนหนึง่ รวบรวมซากศพหนูทตี่ ายนัน้ ได้ถงึ ๒๒,๐๐๐ ตัวในไม่กวี่ นั ฝ่ายในต�ำบล
ต่างๆ ของประเทศอินเดีย ชาวเมืองและชาวบ้านในต�ำบลเหล่านัน้ คอยสังเกตความ
ประพฤติของหนูเป็นเครือ่ งหมาย เพราะหนูหนีจากทีเ่ หล่านัน้ ก่อนหน้าทีช่ าวเมือง
ชาวบ้านคนใดปรากฏเป็นโรคนี้ เพราะเช่นนั้น เมื่อสังเกตเห็นความประพฤติ
อันประหลาดของหนูอย่างนี้แล้ว ใช้เป็นเครื่องหมายเปิดบ้าน เลิกหลังคาเรือนให้
เป็นช่องลมและแดดเข้า สุมเครือ่ งท�ำลายเชือ้ และใช้นำ�้ ยาราดประพรม เพือ่ จะได้
ป้องกันต่อความลุกลามแห่งเชื้อนั้น ซึ่งเขาเชื่อว่าเพราะหนูนั้นหนี ข้อเหล่านี้และ
อื่นๆ อีกหลายเรื่อง อาจจะน�ำมาเป็นพยานและรับรองในกิริยาแพร่หลายแห่ง
โรคนี้ ทั้งส�ำแดงวิธีหนึ่งซึ่งควรมาใช้เป็นแบบในเวลาข้างหน้า เพื่อจะตัดท�ำลาย
เชื้ออณูเหล่านี้ให้หมดไปได้ เพราะเช่นนั้นข้อความที่เขาเห็นกันมาในเวลาอดีต
ควรไว้เพื่อแนะน�ำเราในเวลาอนาคต และข้อส�ำคัญที่สุดในการปราบเชื้อโรคคือ
ความจ�ำเป็นแห่งการฆ่าจ�ำพวกสัตว์นี้ทั้งสิ้น เขากล่าวว่าการหยิบจับหรือสัมผัส
หนูซึ่งตายใหม่ๆ โดยโรคอันนี้เป็นการน่ากลัวที่สุด แต่ว่าหนูที่ตายไว้นานแล้ว
ตัวเย็น ชาแข็ง สามารถหยิบจับสัมผัสได้โดยง่าย ปราศจากอันตราย
ซึ่งเป็นเช่นนี้อธิบายได้ว่า เชื้ออณูยังมีอยู่ในขนอ่อนแห่งหนูตายใหม่ๆ
เชือ้ นัน้ เกาะตามตัวไร ซึง่ มีอยูใ่ นขนหนู ครัน้ ว่าใครไปกระทบ หรือเขีย่ หนูทตี่ ายนัน้
เชื้ออณูเหล่านี้อาจกระโดดเคลื่อนที่ ติดตามตัวไรที่กระโดดจากหนู ไต่ขึ้นขาหรือ
เกาะตามเท้า หรือไต่ตามมือของผู้ที่สะดุดหรือกระทบหนูนั้น ครั้นว่าหมัดจากหนู


ปัจจุบันมีการค้นพบว่า เชื้อโรคหรือปรสิตบางชนิดสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมของสัตว์
พาหะ เช่น ท�ำให้สัตว์พาหะนั้นสูญสิ้นความกลัวตามสัญชาตญาณ และวิ่งเข้าหาสัตว์ที่มีขนาดใหญ่
กว่า เพือ่ ให้ตนเองถูกกินหรือสัมผัส จะได้สบื ทอดวงจรชีวติ ของเชือ้ โรคหรือปรสิตในร่างกายของสัตว์
พาหะนั้นต่อไป
๒ แคนตัน (Canton) ปัจจุบันคือเมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
๓๓

เคลื่อนไปแล้ว น�ำเชื้ออณูเกาะตามปากของหมัดนั้น เมื่อเกาะตามหนังที่ใดแล้ว


หมัดนั้นท�ำธุระกัด ถ่ายเชื้อเข้าตามแผล เชื้อจึ่งสู่ภายในหนังก�ำพร้าได้โดยแผล
ละเอียด อันเป็นรอยกัดของหมัดนัน้ เช่นนีย้ อ่ มส�ำแดงความอันตรายมากแห่งการ
หยิบ จับต้อง กระทบหนูตายใหม่ๆ ในต�ำบลมีกาฬโรค แม้นว่าหนูตายมานานแล้ว
ตัวเย็น ชาแข็ง หมัดอันมีอยู่ในขนอ่อนย่อมกระโดดจากหนูสู่สัตว์อื่น คงกระโดด
ต่อไปอีกนานกว่าจะพบสัตว์อื่น จะเกาะและดูดเลือดบ�ำรุงชีวิตของตนต่อไปได้
เช่นนี้หนูตายนาน ตัวเย็น ชาแข็ง ใครจะหยิบจับหรือสัมผัสก็ได้ โดยปราศจาก
ความอันตราย
ความสังเกตต่อมที่อักเสบในผู้ที่ป่วยด้วยกาฬโรคนั้น โดยมากเป็นต่อม
แห่งขาทีแ่ รกบวม๑ จึง่ เป็นพยานสมทบรับรองในความเห็นอันนีว้ า่ ผูท้ สี่ ะดุดหนูตาย
หรือเหยียบย�ำ่ เดินตามพืน้ ดินอันมีหมัดเหล่านีก้ ระโดดไปมาอยู่ ไม่ชา้ ไม่นานจ�ำเป็น
ต้องถูกหมัดเหล่านีก้ ระโดดเกาะแน่ ดุจดังเศษเหล็กกระโดดเกาะกับแม่เหล็กท่อน
ได้ แม้นว่าแม่แรงเหล็กนั้นอยู่ห่างไกล เศษเหล็กยังกระโดดถึง และเกาะอยู่ได้
ฉันใด หมัดอันมีเชื้ออยู่ ย่อมกระโดดได้ไกลๆ มากระทบและเกาะตามขาเท้า
ของสัตว์ชนิดใด ซึ่งหมัดนั้นจะดูดเลือดเป็นอาหารได้ฉันนั้น เช่นนี้จึ่งส�ำแดง
วิถีอันใหญ่ และสามัญที่สุดซึ่งเชื้อกาฬโรคแพร่หลายได้
ย่อมจะมีปัญหาถามได้ว่า คนอายุเท่าใด คนเพศใด หรือประกอบการ
ชนิดใด อาจจะเป็นเครื่องป้องกัน และยกเว้นจากโรคนี้ได้หรือไม่
ทั้งอายุและการหาเลี้ยงชีพ ไม่มีอ�ำนาจเลยซึ่งจะป้องกันบุคคลนั้น
เด็กเล็กที่สุดก็อาจเป็นได้ แต่บุคคลอายุเกิน ๕๐ ปีแล้ว ดูเหมือนอาจยกเว้นได้
ผู้หญิงโดยมากป่วยเพราะโรคนี้ เหตุว่าเป็นธรรมดาที่จะประจ�ำบ้าน มีธุระ
รักษาบ้าน อยูแ่ ต่ในทีอ่ บ ทีช่ นื้ วันยังค�ำ่ ไป จะออกได้กค็ รูห่ นึง่ ยามหนึง่ เพราะเช่นนี้


คือ ต่อมน�้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ (Inguinal lymph nodes) จะมีอาการบวมโต และเจ็บ
๓๔

หญิงเป็นผู้ที่ป่วยบ่อยกว่าผู้ชาย แต่ในประเทศนี้อาจจะเจ็บได้จ�ำนวนเท่าๆ กัน


เพราะเช่นนั้นอายุ เพศ หรือการหาเลี้ยงชีพ ไม่เป็นที่ป้องกันเลย
มีปัญหาถามว่า อากาศร้อนหรือหนาว ชุ่มหรือแล้ง จึ่งจะเป็นที่ปราบ
เชื้อนี้ได้ ก็ต้องตอบว่าไม่มีก�ำหนด ในต�ำบลต่างๆ ผิดกันคือดังนี้ ในประเทศอียิปต์
จ�ำนวนของคนตายด้วยโรคนี้ ในฤดูแล้งน้อยลง ฤดูยิ่งแล้ง โรคยิ่งซาลงทุกที
ฝ่ายในประเทศยุโรป จ�ำนวนคนทีต่ ายด้วยโรคนีใ้ นฤดูหนาวน้อยลง แต่ในประเทศ
รูเซีย๑ จ�ำนวนของคนตายด้วยโรคนี้ทวีมากในเมื่อฤดูหนาว หรือในเมืองฮองกง๒
จ�ำนวนคนทีต่ ายด้วยโรคนีม้ ากหรือทวีในฤดูแล้ง จึง่ ก�ำหนดไม่ได้วา่ ฤดูใดอากาศใด
ปราบเชื้ออณูเหล่านี้ได้ รู้ได้จากค�ำให้การรายงานต่างๆ ของผู้ตรวจว่า ต�ำบลไหน
ที่มีอากาศสุขุม ประกอบด้วยความชื้น ย่อมบ�ำรุงความแพร่หลายแห่งกาฬโรค
ซึ่งจะก�ำหนดว่าอากาศใดหรือฤดูใดปราบเชื้อเหล่านี้ให้น้อยลงก็ไม่มีเลย
ตามเรื่องรายงานต่างๆ ที่ให้การด้วยโรคนี้ รู้ว่าลามตามหนทางสินค้า
เดิน ลามจากบ้านนี้สู่บ้านอื่น อันอยู่ตามหนทางเดียวกัน หรือลามจากบ้านนี้
สู่บ้านอื่น อันอยู่แถบถนนเดียวกัน หรืออาจยกเว้นบ้านนี้ไว้ชั่วคราว แล้วกลับมา
ระเบิดส�ำแดงพิษตรงนั้นอีกทีหนึ่งก็ได้ เพราะเช่นนี้ต้องสรุปพยาน ตามรายงาน
ต่างๆ กล่าวว่า ความแพร่หลายเกี่ยวกับเชื้ออันอยู่กับดิน ถิ่นฐานที่ชุ่มอบคือสวน
บ�ำรุงเชื้อ เชื้อโรคได้เดินข้ามจากคนนี้สู่คนอื่น จึ่งเป็นเชื้ออันอยู่ตามดินเปียกชุ่ม
อาจบังอยู่ใต้หลังคาอันครึ้ม และอยู่ตามอากาศชิดพื้นดิน แต่อาจกระโดดจาก
ที่ดินเหล่านี้สู่เครื่องภาชนะ เสื้อผ้า เบาะ หมอน ฟูก แล้วเคลื่อนไปอยู่ที่อื่นได้
โดยขนสิ่งเหล่านี้ไป


รัสเซีย

ฮ่องกง
๓๕

กล่าวด้วยอาการระยะแรกของโรคเพลก
อาการในระหว่างเวลาที่เชื้อเข้าจะส�ำแดง คือในระหว่าง ๒ หรือ ๘ วัน
หรือบางทีชา้ จนครบ ๑๕ วัน แต่ในชนิดดุของเชือ้ เพียง ๓ - ๔ ชัว่ โมงเท่านัน้ กว่าจะ
ส�ำแดงอาการ จึ่งต้องสันนิษฐานว่า ๘ หรือ ๑๐ วัน เป็นเวลาพอที่จะเกิดอาการ
ภายหลังเมือ่ ได้รบั เชือ้ เพราะเช่นนีก้ ารกักเรือ กักพลเมืองราว ๘ วัน ๑๐ วัน ก็เป็นอัน
พอสมควร ถ้าเลย ๑๒ วันไปแล้ว ไม่จำ� เป็นต้องเกรงว่าโรคนัน้ จะเกิดขึน้ ในคนผูน้ นั้
กล่าวด้วยอาการป่วยปรากฏแต่แรก
ในผู้ป่วยน้อยคน ซึ่งจะก�ำหนดอาการป่วยปรากฏแต่แรกเช่นจะกล่าว
ต่อไปนี้ได้ แต่มีว่าความร้อนแห่งกายก�ำเริบ๑ เมื่อยขบ ปวดตามข้อ ความคิด
ไม่สู้แจ่มแจ้งสว่างอย่างธรรมดา ให้หนักศีรษะ ปวดร้าวตามขา หนาวสะท้านสั่น
และให้วิงเวียนศีรษะ ทั้งให้ปวดตึงตามขาหนีบ ซึ่งต่อไปข้างหน้าเป็นถิ่นฐานแห่ง
ความอักเสบ คือต่อมน�้ำเหลืองในที่นี้บวม เหล่านี้เป็นอาการปรากฏน�ำหน้า
แต่ ช นิ ด โดยมากส� ำ แดงความฉั บ พลั น ยิ่ ง ที่ สุ ด สั ง เกตอาการจ� ำ พวกนี้ ไ ม่ ไ ด้
แต่ธรรมดาล้มเจ็บด้วยความร้อนแห่งกายก่อน ความร้อนอย่างสูงอย่างคง
แล้ ว ให้ เ หนื่ อ ยเพลี ย เปลี้ ย ลงเร็ ว ปวดศี ร ษะตามหน้ า ผากหรื อ ท้ า ยทอย
ให้ง่วงเหงาเชื่อมซึม ดุจดังว่าถูกยาเบื่อ เวลากลางคืนน่าจะนอนหลับได้ก็ไม่หลับ
ให้กระสับกระส่ายดิ้นรน ละเมอหยิบจับสิ่งของในอากาศ ตามที่ฝันเห็นว่ามี
ภายหลังการสั่นสะท้านหนาว ให้จับเนื้อเหี่ยวหน้าซีดตาขุ่น ขอบขาวของลูกตา
ให้มีเลือดแดง ประตูตาโต๒ ตาโหลลึก สังเกตหน้าดุจดังว่าผู้ตกใจกลัว หน้ามองดู
ว่าเป็นห่วงเหลียวพลิกอยูเ่ สมอ บางคนอุจจาระให้รว่ ง บางคนให้มอี าการอาเจียน
ไม่ผิดกับอาการโรคปัจจุบันกี่มากน้อย ถ้าจะพยุงให้เดิน ขาเพลีย เหมือนคนป่วย
หนัก ถ้าขาแข้งพอจะเดินได้ ให้โซเซเอนไปเอียงมา อาการเหล่านี้สามารถปรากฏ
พร้อมกัน และอาการเกิดขึ้นเกือบเร็วกว่าที่จะกล่าวพรรณนาล�ำดับมาได้

หมายถึง มีไข้สูง

หมายถึง รูม่านตา (Pupil) ขยาย
๓๖

ระยะเวลาอาการร้อนแห่งกาย
ในเวลาแรกๆ ของโรค อาการร้อนดังกล่าวมาแล้วนั้น ปรากฏและ
อาจจะสังเกตมาได้สักวันหนึ่งแล้ว ให้มีความร้อนแห่งกายก�ำเริบ ร้อนดุจดังไฟ
เกิดขึ้นเร็ว ตรวจด้วยปรอทเพียง ๑๐๓ – ๑๐๔ – ๑๐๗ ดีกรี๑ ทั้งให้ชีพจรก�ำเริบ
และหายใจก�ำเริบด้วย ถ้าจะสัมผัสผิวหนังก็แห้งร้อน หน้าบวมฉุๆ ตาขุ่นโหลลึก
หู ไ ม่ ไ ด้ ยิ น ถนั ด ลิ้ น บวม มี ฝ ้ า ละอองเหลื อ งติ ด ซึ่ ง เกิ ด ด้ ว ยความร้ อ นจั ด
ไม่กชี่ วั่ โมงลิน้ แห้งแข็ง ละอองเหลืองกลายเป็นสีดำ� สีนำ�้ ตาล ความกระหายน�ำ้ จัด
ความอ่อนพับเพียบลงเร็ว ชั้นจะพูดก็ไม่อยากพูดเพราะเหนื่อย ความฟั่นเฟือน
แห่งสติก�ำเริบขึ้นทุกที สังเกตอาการว่าบางคนบ่นพึมพ�ำ พูดอือๆ อาๆ บางคนดู
กระสับกระส่ายดิ้นรน บางคนนอนละเมอเพ้อ ก�ำลังตาขุ่นอยู่ ให้หยิบของ
ที่ฝันเห็นว่าลอย หรือหยิบตามผ้าปูที่นอน ให้ขัดเบา ทั้งมีอาเจียนบ้าง บางคน
อุจจาระให้ผูกหรือท้องร่วงไม่มีก�ำหนด ครั้นจะสวนน�้ำปัสสาวะ หรือถ่ายออกมา
ได้ก็น้อย ฝ่ายชีพจรในชั้นแรก แรงเร็ว สัมผัสได้ง่าย ครั้นต่อไปอีกไม่ช้า อ่อนลง
เบาลึก เร็วไม่เสมอ จนจะสัมผัสไม่ได้เลย ในอาการต่างๆ อย่างที่กล่าวมานี้
สันนิษฐานได้ว่า โรคนี้ผิดกับโรคอื่น ก�ำหนดคือมี
๑. ความร้อน
๒. ความวิปลาสแห่งสมอง ผิดกับสารพัดโรคปัจจุบันอื่น
อธิบายในแผนกความร้อนแห่งกาย
คือ :- ขึ้นท่าเดียว เป็นความร้อนชนิดแรงทวีขึ้นเร็วทันตา
อธิบายในแผนกความวิปริตแห่งสมอง
คือ :- ความเชื่อมซึมมีมาเร็วเกินกว่าสมควร อาจวิปริตจัดได้ในวันที่ ๒
หรือที่ ๓ และส�ำแดงอาการ ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น

องศาฟาเรนไฮต์
๓๗

กล่าวด้วยอาการแห่งระยะต่อมอักเสบ
โดยธรรมดา ๒ ใน ๓ คน หรือ ๙ ใน ๑๐ คน ที่ป่วยด้วยโรคนี้
เกิดอาการประจ�ำโรคนี้ คืออักเสบแห่งต่อมขาหนีบ เกิดขึ้นราวภายใน ๒๔ ชั่วโมง
หรื อ จะก� ำ หนดได้ เ ที่ ย งลงอี ก ว่ า เกิ ด ขึ้ น ในระหว่ า งชั่ ว โมงที่ ๓ หรื อ ที่ ๔
ภายหลังมีความร้อนแห่งกาย จนภายในวันที่ ๕ แต่จะค�ำนวณให้เที่ยงก็คือ
ต่อมอักเสบภายใน ๒๔ ชั่วโมง ส�ำแดงอาการประจ�ำโรคนี้
ต�ำบลที่ต่อมอักเสบ
ในผู้ป่วย ๑๐๐ คน ประมาณ ๗๐ คน เป็นต่อมตามขาหนีบแรกบวม
อักเสบ โดยมากต่อมข้างขวาอักเสบบ่อยกว่าข้างซ้าย จะเป็น ๑ เม็ดหรือหลายเม็ด
ในจ�ำพวกนี้ก็ได้ ใน ๑๐๐ คน ต่อมในช่องรักแร้แรกบวมไม่ถึง ๒๐ คน แต่ต่อม
ขากรรไกรแรกบวมน้อยกว่า ๑๐๐ ละ ๑๐ คน ถ้าเป็นเด็กๆ ที่ป่วย โดยมากเป็น
ต่อมใต้ขากรรไกรที่แรกบวม นานๆ ถึงจะพบสักครั้งหนึ่งว่าต่อมท้องข้อเข่าบวม
หรือต่อมท้องข้อศอกบวม เพราะเช่นนัน้ ต่อมขาหนีบเป็นถิน่ ฐานแห่งความอักเสบ
เพราะโรคนี้ บางทีบวมแต่เม็ดเดียว โดยมากผูกกันเป็นสาย อักเสบกันทั้งพวง
บวมจนตัง้ แต่ขนาดเท่าผลหมากสด หรือเท่าไข่หา่ น จนเท่าก�ำปัน้ โดยมากให้ปวดจัด
ให้เบ่งตึง เหยียดขยับขาก็ไม่ได้ หรือบางทีตอ่ มเหล่านัน้ บวมเฉย ไม่ได้รวู้ า่ ขัดขวาง
ประการใดในการงอเหยียดพับขา เพราะเช่นนัน้ ต้องก�ำหนดว่า ความบวมแห่งต่อม
จ�ำพวกนี้ อาจเป็นเครื่องสังเกตครั้งแรก ซึ่งจะเป็นที่ก�ำหนดได้ ครั้นว่าแรกบวม
ในช่องขาหนีบแล้ว อาจบวมได้ในที่อื่นๆ ด้วย จึ่งต้องสันนิษฐานในความแรกบวม
กล่าวด้วยขนาดของฝีที่ขาหนีบ
โดยธรรมดาความอักเสบแห่งต่อมจ�ำพวกนี้ ด�ำเนินจากเม็ดนี้สู่เม็ดอื่น
จนต่อมทั้งพวงโตน่วมเป็นฝีใหญ่ขนาดก�ำปั้น หรือบางทีโตเพียงเท่าฟองไข่ห่าน
หรือบางทีลามอักเสบกว้างจนดูเหมือนว่า เป็นฝีฝกั บัวมีหนองพรุน มีเนือ้ เปือ่ ยยุย่
๓๘

อาการต่อมน�้ำเหลืองที่ขาหนีบบวมโตในผู้ป่วยกาฬโรค
ที่มา : Public Health Image Library (PHIL), Centers for Disease
Control and Prevention, USGov.
Cited in https://en.wikipedia.org/wiki/Bubonic_plague

มาก เศษเนื้อขาดหลุดร่วงเป็นยวงเหนียวออกมา ซึ่งว่ามีลักษณะเช่นฝีฝักบัวนั้น


อาจเป็นขึ้นโดยฉับพลัน ผิดกับนิสัยของฝีฝักบัวในที่อื่นๆ ความลามของฝีฝักบัว
เช่นนี้ เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก เลยบวมสู่อันอยู่ใกล้เคียง จนมีเป็นฐานใหญ่
แข็งหนา ร้อนปวดตึงมาก เพียงจะเหยียดหรือขยับขาก็ไม่ได้
กล่าวด้วยแผลช�้ำเลือด
ในการที่มีโลหิตตก เป็นอาการสามัญแห่งโรคนี้ มีทั้งเลือดก�ำเดาออก
จากปาก จากกระเพาะอาหาร หรือจากปอด มีเจืออุจจาระและปัสสาวะออก
มา แต่โดยมากที่สุด มีแผลห้อเลือดเป็นสีน�้ำเงินบ้าง น�้ำเงินแก่บ้าง สีแดงๆ ด�ำๆ
บ้าง ชนิดนีม้ กี ระจายได้ทวั่ กาย บางแห่งขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร บางแห่งเท่าเม็ดงา
หรือบางแห่งโตเท่าฝ่ามือ เป็นจุดแห่งๆ เรี่ยรายไป หรือเป็นแผลแห่งละแห่งไป
โตเท่าฝ่ามือ มีตามส่วนเปิดเผยแห่งกายโดยมาก มีน้อยในร่มเสื้อผ้า แต่มักจะ
มีถี่ตามขอบแผลเปื่อยที่มีอยู่แต่เดิม หรือรอยกัดแห่งสัตว์อณู หรือเป็นแผล
เริ่มแรกแห่งเชื้อเข้า ในที่เหล่านี้เป็นสามัญ มีห้อเลือดหรือแผลช�้ำเลือดปรากฏ
๓๙

เป็นจุดแห่งๆ ไป จุดบางแห่งเล็กและโตต่างกัน ถ้าปรากฏโลหิตช�้ำเป็นแผลใหญ่


ทั้งโลหิตออกจากอวัยวะภายใน เช่น ปอด หรือกระเพาะอาหาร ก็ให้พึงก�ำหนดไว้
ล่วงหน้าว่า เชื้อนั้นส�ำแดงอาการดุ หรือบางทีมีจ�ำเพาะแต่อาการเลือดก�ำเดา
เท่านี้ก็พอส่อเตือนใจว่าจงระวังให้ดี ศัตรูอณู “ซิกแนล”๑ ส�ำแดงความดุรุนแรง
ให้เราเห็นแล้ว จึ่งควรคิดป้องกันตามวิธีอันสมควร
ก�ำหนดอาการความทุเลา
ในความรุนแรงฉับพลันของโรคนี้ ย่อมมีเกิดขึ้นเร็ว ฝ่ายอาการส�ำแดง
ความทุเลาก็ปรากฏเร็วฉับพลันเหมือนกัน
อาการที่แรกจะก�ำหนดความทุเลานั้น คือ ความร้อนแห่งกายลด
มีเหงื่อโซมกาย อาการคู่นี้ปรากฏก่อนที่ต่อมขาหนีบบวมก็ได้หรือ
ทีหลังก็ได้ ต่อนัน้ มาสังเกตความชุม่ แห่งปากคอ ลิน้ อ่อนลง ความเร็วแห่งชีพจรลด
ก� ำ ลั ง ของความเต้ น แห่ ง ชี พ จรสั ม ผั ส ว่ า ดี ขึ้ น ความฟั ่ น เฟื อ นแห่ ง สติ ทุ เ ลา
ถึงกระนั้น แผลบวมแห่งขาหนีบคงทวีขึ้น แผลบวมนั้นโตเร็ว สุกเร็ว น่วมลงมาก
จนใน ๒ – ๓ วัน โดยไม่ได้ผ่าก็แตกเอง มีหนองมาก กลิ่นจัด เศษเนื้อหลุดเป็นยวง
ก้อนเหนียวไหลออกมาก ส�ำแดงลักษณะแห่งฝีใหญ่อันแปลกธรรมดา โดยห่างๆ
การเกิดเป็นหนองในฝีนั้น ล่าชั่ว ๒๐ – ๒๕ วันก็ได้ บางทีฐานฝีในขาหนีบเลย
เกลื่อนยุบเรียบหายกลายเป็นปรกติ ไม่ได้เกิดหนองขึ้น จึ่งส�ำแดง ๒ กิริยาที่ต่อม
ชนิดนี้ด�ำเนิน แต่ชนิดที่ว่าไม่แตกหนองนั้น มีอยู่แต่น้อยครั้งที่สุด เพราะเช่นนั้น
ควรก�ำหนดได้ว่า ฝีแตก หนองออก ได้เร็วยิ่งดี
อาการก�ำหนดความหายทุเลา มีขึ้นในระหว่างวันที่ ๖ – ๘ หรือที่ ๑๐
นานๆ จะมีสักครั้ง ๑ ที่โรคคงอยู่ได้จนวันที่ ๑๔ หรือวันที่ ๒๐ ถ้าโดยจะทน
อยู่ได้นานถึงเพียงนี้ ควรที่จะก�ำหนดว่าหายสนิทได้ แม้นอาการอื่นๆ จะทุเลา

Signal แปลว่า ส่งสัญญาณ หรือแสดงสัญญาณ
๔๐

แผลอันเป็นผลของความอักเสบแห่งโรคนี้ กว่าจะหายได้ยากทีส่ ดุ ช้าทีส่ ดุ ตัง้ เดือน


กว่าจะหาย จึ่งเป็นพยานอีกประการหนึ่งว่า แผลฝีแห่งโรคนี้เป็นฝีผิดธรรมดา
ธรรมดาของโรคนี้หายช้าและยาก กลายเป็นเรื้อรังไป
แม้นว่าโดยได้ปรนนิบัติ ประคับประคองเต็มก�ำลัง ผู้ป่วยนั้นย่างเข้า
ในความทุเลาได้แล้ว บางครั้งหายได้เร็ว แต่โดยมากเรื้อรังช้านานยืดยาวมาก
ประกอบไปด้วยแผลเปือ่ ยอันไม่รจู้ กั หาย และสรรพโรคแทรกซ้อนขึน้ ต่อภายหลัง
และกว่ากายจะเข้าในหลักสูตรแห่งความปรกติได้ก็นาน
ก�ำหนดกาลมรณะ
โดยโรคนี้ มี พิ ษ จั ด ผู ้ ป ่ ว ยอาจสิ้ น ชี วิ ต ได้ ไม่ มี ก� ำ หนดว่ า เวลาไหน
แต่โดยมากมักถึงแก่กรรมในระหว่างวันที่ ๓ – ๕ ส�ำแดงอาการละเหี่ยเพลียที่ยิ่ง
พับเพียบหนักลง หัวใจอ่อนลง ความฟั่นเฟือนแห่งสติก�ำเริบ โลหิตออกจาก
อวั ย วะก็ ไ ด้ เหล่ า นี้ เ ป็ น อาการส� ำ แดงความมรณะปั จ จุ บั น ถ้ า เรื้ อ รั ง ไปได้
อาจตายเพราะความเปื่อยเน่าจัดแห่งเนื้อหนัง หรือความร้อนแห่งกายมีเรื้อรัง
อ่อนลงเปลี้ยเพลียลง ทั้งมีโลหิตตกด้วย เหล่านี้เป็นอาการก�ำหนดความมรณะ
ก�ำหนดจ�ำนวนผู้ตาย
จ�ำนวนผู้ตายในต�ำบลต่างๆ เพราะโรคนี้ผิดกันมาก แต่โดยมากตาย
๑๐๐ ละ ๖๐ คน ทวีขึ้นจน ๑๐๐ ละ ๙๕ คน ซึ่งก�ำหนดเช่นนี้จะเคลื่อนคลาดบ้าง
เพราะบางทีอาจจะมีโรคชนิดไม่รนุ แรงหายได้มาก หรือทีอ่ าศัยและกิรยิ าประพฤติ
ของผูป้ ว่ ยช่วยให้หายได้มากกว่าทีต่ าย เป็นต้นว่าความปรนนิบตั ขิ องผูป้ ว่ ยแข็งแรง
อากาศและทีอ่ ยูข่ องผูป้ ว่ ยนัน้ สะอาด และผูน้ นั้ ได้รบั เชือ้ แต่นอ้ ย เหล่านีย้ อ่ มเป็นเหตุ
ช่วยให้หายมากและตายน้อย
ในการก�ำหนดจ�ำนวนผูต้ ายด้วยโรคนีใ้ นเมืองฮองกง พอเป็นอุทาหรณ์ได้
คือในชนิดต่างๆ ของพลเมืองนั้น พวกจีนอันเป็นชนิดคนที่ไม่ใคร่จะได้ประกอบ
๔๑

การอาบน�้ำ มักจะสวมเสื้อโสมม มักจะอยู่เบียดยัดเยียดกันในเรือนอบอ้าว


อาหารที่รับประทานไม่ใช่ของสมควรจะกิน ดิบ ห่าม แข็ง และเมื่อเจ็บไม่ใคร่จะมี
ผู้พยาบาลในพลเมืองที่เจ็บจ�ำพวกนี้ ตายประมาณ ๑๐๐ ละ ๙๓ คน
ในพลเมืองจ�ำพวกแขกชาวประเทศอินเดีย ตายประมาณ ๑๐๐ ละ
๗๗ คน
ในพลเมืองที่เป็นชาวยี่ปุ่น๑ ตายประมาณ ๑๐๐ ละ ๖๐ คน
ฝ่ายชาวต่างประเทศชนิดเลว ยากจน ตายประมาณ ๑๐๐ ละ ๑๘ –
๑๙ คน ถ้าเป็นคนมีอันจะกินใช้พอสมควรเพื่อตอบแทนค่ายาและผู้พยาบาลได้
จ�ำนวนที่ตายนั้นน้อยกว่า ๑๐๐ ละ ๑๐ คน จึ่งส�ำแดงชนิดพลเมืองที่ตายมาก
และที่ตายน้อยเช่นนี้ พึงให้เป็นที่ก�ำหนดในปัจจุบันนี้ได้เหมือนกัน และส�ำแดงว่า
พลเมืองประเภทใดที่ตายกันมากๆ
ก�ำหนดอาการที่ชี้ถึงโรคนี้
ในเมื่อใดที่มีโรคนี้ใกล้เคียง และใครจะป่วยปรากฏความร้อนแห่งกาย
ไม่ลด ทัง้ ปวดๆ เจ็บๆ ตามต�ำบลข้อพับต่างๆ ควรรูส้ กึ คร้ามใจว่า ขยับจะเป็นโรคนี้
และความร้อนขึ้นสูง เจืออาการคลั่งบ้า สติฟั่นเฟือน ก็ให้ก�ำหนดได้แน่ลงอีก
ถ้ า จะให้ แ น่ ที่ สุ ด ต้ อ งเก็ บ เชื้ อ จากผู ้ นั้ น มาเพาะปลู ก ด้ ว ยใช้ น�้ ำ มั น มะพร้ า ว
เลี้ยงตามวิธีอันสมควร แล้วชันสูตรตามแบบอย่างของเขา หรือจะส่องด้วย
กล้องขยายรูป๒ เมือ่ เห็นได้แล้วรูส้ กึ เทีย่ งมัน่ คงได้ จึง่ ล�ำดับวิธสี นั นิษฐานเป็น ๓ ชัน้
ได้ดังนี้ โดยมากก�ำหนดตามวิธีความร้อนแห่งกายอย่างคง ซึ่งผิดกับความร้อน
ชนิดอืน่ เป็นอาการไข้ผดิ ธรรมดา ถ้าเช่นนีม้ เี มือ่ ใด พึงสังเกตและพิเคราะห์ดโู ดยดี
ปฏิบัติโดยเร็ว และห้ามกันมิให้คนอื่นปะปนเลย

ญี่ปุ่น

กล้องจุลทรรศน์
๔๒

วิธีรักษา
วิธีรักษาโรคนี้แบ่งได้เป็น ๒ แผนก
แผนกที่ ๑ คือรักษาเมื่อเกิดขึ้นแล้วปรากฏอาการ
แผนกที่ ๒ คือรักษาไม่ให้แพร่หลาย
ในล�ำดับนี้จะอธิบายแผนกที่ ๑ คือวิธีรักษาเมื่อเกิดขึ้นแล้วซึ่งกล่าวมา
แล้ว เรื่องอาการอันปรากฏนั้น มีปรากฏว่าละเหี่ยเพลียเร็ว ก�ำลังกายพับเพียบ
เร็ว เพราะเช่นนั้น ในเมื่อรักษาควรใช้สรรพวิธีบ�ำรุงก�ำลัง ห้ามในยาชนิดที่ระงับ
ก�ำลังแห่งหัวใจ เป็นต้น มีแอกโกไนท์๑ แอนติไพริน๒ เป็นต้น ใช้ยาอื่นๆ บ�ำรุง
ทั้งได้อธิบายแล้วในลักษณะของโรคนี้ว่า เป็นโรคฝ่ายน�้ำเหลือง คือน�้ำเหลืองเจือ
เชื้ออณู เพราะเช่นนี้ควรใช้สรรพยาขับน�้ำเหลือง บ�ำรุงต่อมต่างๆ เพื่อจะได้ถ่าย
น�้ำเหลืองโสโครกออกเร็ว เพราะเช่นนั้นมีบัญญัติไว้ว่าควรใช้ยาเบื้องต้นดังนี้ คือ
๑. ดีเกลือ๓
๒. แคลโลแมล๔ ให้ซ�้ำบ่อยๆ มื้อละมากๆ
๓. เซลอล์ เป็นยาระงับเชื้อโสโครกในอาหาร
๔. ขี้ผึ้งปรอทอ๊อกไซด์เหลือง๕ ทาเกลื่อนฝีตามขาหนีบ
นอกจากค�ำแนะน�ำยาเบือ้ งต้นเหล่านี้ ต้องปรุงยาระงับเฉพาะแต่อาการ
ทีเ่ กิดขึน้ มีอาการความร้อนแห่งกายเป็นส�ำคัญทีส่ ดุ โดยใช้นำ�้ แข็งใส่ถงุ ประคบตาม


อะโคไนต์ (Aconite) เป็นพืชมีพิษชนิดหนึ่ง ท�ำให้เกิดอาการชา คลื่นไส้อาเจียน หายใจ
ล�ำบาก อัตราการเต้นของหัวใจลดลง ในอดีตใช้เป็นยา เนื่องจากมีฤทธิ์ในการลดไข้ฉับพลัน

แอนติไพรีน (Antipyrine) เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ลดการอักเสบ

คือสารประกอบเกลือซัลเฟต ใช้เป็นยาระบาย ถ่ายพิษ

แคโลเมล (Calomel) เป็นสารประกอบเมอร์คิวรีคลอไรด์ (Mercury Chloride) ในอดีต
ใช้เป็นยาระบาย ถ่ายพิษ

หรือ เมอร์คิวริกออกไซด์ (Mercuric Oxide) ใช้เป็นยาทาฆ่าเชื้อ
๔๓

ศีรษะและต้นคอ หรือจะใช้น�้ำอุ่นๆ ชุบผ้าถูทา หรือประพรมตามกาย ใช้ควีนิน๑


มื้อละ ๑๐ – ๑๕ เกรน๒ ทิงเจอร์วอร์เบิค๓ มื้อละครึ่งแดรม๔ โดยตวงทุก ๑ ชั่วโมง
โดยความร้อนจัดที่สุด เห็นควรจะใช้ได้ก็ให้ใช้ฟีนาซีตีน ๕ หรือ แอกโคไนท์
แต่โดยบรรจงระวังที่สุด
ในการระบายท้ อ งใช้ ดี เ กลื อ มื้ อ ละมากๆ โดยละลายอิ่ ม น�้ ำ แล้ ว
ให้รับประทานเป็นมื้อๆ ไป ประสงค์จะให้ขับน�้ำเหลือง แต่บางทีผู้ป่วยอาจมี
ท้องร่วงจัด ถึงกระนั้น ต้องทั้งคุมทั้งระบาย ใช้มอร์ฟีนชนิดเม็ดและกรดไฮโดร
ซิแอนิก๖ ปนกันปั้นเป็นเม็ดมีจ�ำหน่ายขาย ใช้เม็ดพันธุ์ผักกาดเป็นยาพอกนาภี๗
หรือยาพอกเจือทิงเจอร์ฝิ่น แล้วปิดตามหน้าท้อง เป็นยาคุมอุจจาระร่วง
ยาบ�ำรุงก�ำลัง
๑. สตริกนีน๘ gr. 1/60 กิน หรือจะใช้ฉีดด้วยเข็มกลวง ประสงค์จะได้
ออกฤทธิ์เร็ว
๒. แอทโทรปีน๙ gr. 1/50 ฉีดด้วยเข็มกลวง หรือจะใช้เม็ดชนิดที่เจือ
มอร์ฟีนปนกันฉีดก็ได้


ควินิน (Quinine) ยาแก้ไข้

เกรน (Grain) เป็นหน่วยวัดมวลในอดีต นิยมใช้ในทางการแพทย์

ทิงเจอร์วอร์เบิร์ก (Warburg’s Tincture) ในอดีตใช้เป็นยาแก้ไข้

แดรม (Dram) เป็นหน่วยวัดปริมาตรในอดีต นิยมใช้ในทางการแพทย์

ฟีนาซีตีน (Phenacetin) ในอดีตใช้เป็นยาแก้ปวด ลดไข้

กรดไฮโดรไซยานิก (Hydrocyanic Acid) เป็นสารที่มีพิษร้ายแรง ในอดีตใช้เป็นยาระงับ
ประสาท

คือท้อง สะดือ
สตริกนีน (Strychnine) เป็นสารที่มีพิษร้ายแรง ในอดีตใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ หรือบ�ำรุง

ก�ำลัง สกัดได้จากเมล็ดของต้นแสลงใจ

อะโทรปีน (Atropine) เป็นสารสกัดจากพืช ใช้เป็นยากระตุ้นหัวใจ
๔๔

๓. สปิริตแอมโมเนียหอม๑ มื้อละ m x x x – 60
๔. สปิริตอีเทอร์ไนโทรต๒ ครึ่งแดรม ทวีจนได้ ๑ แดรม
๕. ดิยิทาลิซ๓ รับประทาน m x x และดิยิทาลิน gr. 1/20 ฉีด
แพทย์บางคนนิยมว่า ควรบัญญัติให้รับประทานสตริกนินตามมื้อและ
เวลาสมควร ตลอดเวลาทีป่ ว่ ยเป็นโรค “เพลก” นับถือกันว่าทุน่ ก�ำลังและชูอวัยวะ
ต่างๆ ให้สู้กับผลของเชื้อนั้น จนกว่าเวลาจะขับถ่ายออกได้
ยาระงับเชื้อปรมาณูตามล�ำไส้
ใช้เซลอล์เจือยาสมานท้อง มื้อละ ๑๐ เกรน ทุก ๔ ชั่วโมงไป เพื่อระงับ
กระสับกระส่าย มีมอร์ฟีน เป็นต้น ในชั้นแรกฉีดครั้งละเกรน 1/6 – ค่อยทวีตาม
ความประสงค์จนฉีดครั้งละครึ่งเกรน ครั้นได้ฤทธิ์ของมอร์ฟีนนั้นแล้ว ก็ให้ฉีดแต่
ครั้งละเศษ ๑ ในส่วน ๘ ของเกรน
หรือใช้ ไฮโอซีน Hyoscine๔ gr 1/120 – ทวีจนได้ gr 1/80
โคลแรลไฮเดรต๕ มื้อละ gr 20
ด่างโบรไมด์๖ รับประทาน gr 30 ทุก ๓ ชั่วโมง


หรือ อะโรมาติกแอมโมเนียสปิริต (Aromatic Ammonia Spirit) เป็นยาดมที่ใช้ป้องกัน
และบ�ำบัดอาการหน้ามืด เป็นลม

หรือ สปิรติ ออฟไนตรัสอีเทอร์ (Spirit of Nitrous Ether) เป็นส่วนผสมของกรดไนตริกกับ
แอลกอฮอล์ ใช้เป็นยากระตุ้นประสาท

ดิจิทาลิส (Digitalis) เป็นพืชสมุนไพรสกุลหนึ่ง เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ถุงมือจิ้งจอก”
(Foxgloves) สามารถสกัดสารที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มแรงบีบของหัวใจ น�ำมาใช้เป็นยา เรียกว่า
“ดิจิทาลิน” (Digitalin)

ไฮออสซีน (Hyoscine) เป็นสารสกัดจากพืช ใช้เป็นยาลดการปวดเกร็งในท้องและล�ำไส้

คลอรัลไฮเดรต (Chloral Hydrate) เป็นสารประกอบที่ใช้เป็นยาระงับประสาท

หรื อ เรี ย กว่ า เกลื อ โบรไมด์ เช่ น โพแทสเซี ย มโบรไมด์ (Potassium Bromide)
เป็นสารประกอบที่ใช้เป็นยาระงับประสาท
๔๕

ในเมื่อผู้ป่วยทรุดหนักลง ใช้สรรพยาฉีดบ�ำรุงก�ำลัง ทั้งสวนทวารหนัก


ทั้งให้ดม ประสงค์จะให้บ�ำรุงไว้ กว่าโทษของเชื้อจะได้ขับออก และผู้ป่วยทุเลา
ขึ้นได้ แม้นว่าอาหารไม่ได้รับประทานเลยก็อย่าเป็นห่วงหนักใจ ใช้ล้วนแต่
ยาบ�ำรุงพอจะได้พ้นระยะเอกพิษ กว่าจะได้ใช้อาหารต่อทีหลัง
ยาปิดตามแผลต่อมอักเสบ
๑. เอกซแตรก แบลาดอนนา๑ กลีเซอรีนพอสมควร ประสมเป็นขี้ผึ้ง
ทา ผ้าปิด
๒. ขี้ผึ้งปรอท ทา ผ้าปิด
๓. อุเกนตัม๒ แอกโกไนท์ ทา ผ้าปิด
ในเมื่อสังเกตว่าบวมเร็ว ร้อนจัด ควรเปลี่ยนวิธี
ใช้ยาพอกเจือฝิ่น เจือแอกโกไนท์ หรือแบลาดอนนา ผ่าได้ยิ่งเร็วยิ่งดี
ระเบิดเอาน�้ำเหลืองเจือเชื้อออกให้ได้เร็วๆ แล้วปรนนิบัติแผลตามวิธีอันสมควร
โดยใช้ล้าง และใส่ผ้าส�ำลี ให้หมั่นล้างช�ำระแผล ซึ่งวิถี ๑ ให้น�้ำเหลืองออก
เพราะเช่ น นั้ น ผ่ า ได้ ยิ่ ง เร็ ว เห็ น ว่ า ยิ่ ง ดี ฝ่ า ยเวลาสมควรให้ อ าหารชู ก็ ค วรใช้
ทั้ ง บ� ำ รุ ง ก� ำ ลั ง พอให้ พ ้ น ระยะเอกพิ ษ นั้ น ได้ แ ล้ ว คงจะทุ เ ลาได้ เ ป็ น แน่
เช่นนี้เป็นยาและวิถีรักษาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว
กล่าวด้วยวิธีรักษากาฬโรคเพลกโดยใช้น�้ำเหลืองโลหิตฉีด
โดยความจ�ำเริญแห่งการบ�ำบัดโรค มีวิธีฉีดน�้ำเหลืองแห่งโลหิตอันเจือ
ของซึ่งอาจระงับผลแห่งเชื้ออณูในกายของผู้นั้นได้๓ เช่นนี้วิธีใช้ฉีดน�้ำเหลืองระงับ

เบลลาดอนนา (Belladonna) เป็นพืชมีพิษชนิดหนึ่ง สามารถสกัดมาใช้เป็นยาแก้ปวด
แก้อักเสบ ระงับประสาท

Unguentum แปลว่า ยาขี้ผึ้ง ยาทาแผล

หมายถึง การฉีดซีรัม หรือเซรุ่ม (Serum) คล้ายกับการท�ำเซรุ่มแก้พิษงู โดยการฉีดเชื้อ
กาฬโรคเข้าไปในสัตว์ เช่น ม้า เพื่อให้ร่างกายม้าสร้างภูมิต้านทาน (Antibody) ต่อเชื้อกาฬโรค
จากนั้นจึงน�ำเลือดม้าสกัดเป็นเซรุ่ม แล้วฉีดให้คนที่เป็นกาฬโรคเพื่อรักษาโรค
๔๖

กาฬโรคก็ได้ มีแบบอยูห่ ลายอย่าง ตามแพทย์นกั ปราชญ์ผเู้ ป็นคนคิดสืบเสาะและ


ทดลอง ความประสงค์ในการใช้น�้ำเหลืองฉีดเช่นนี้ คือให้เอาเชื้ออณูของกาฬโรค
มาปลูกลงไว้กบั วุน้ แข็งไว้ทอี่ นุ่ เจือของสมควรเพือ่ จะเลีย้ งเชือ้ นัน้ กว่าจะครบเวลา
สมควร ให้งอกเจริญแข็งแรงพอสมควร แล้วเอามาอังความร้อนเพียง ๕๘ ดีกรี
“เซนติเกรต”๑ ให้ได้ชวั่ โมง ๑ แล้วเอามาฉีดตามขนาดสมควร เข้ากายของกระต่าย
ใน ๑๕ วัน ฉีด ๓ – ๔ ครั้ง โดยวิธีเช่นนี้อาจป้องกันให้โลหิตของกระต่ายนั้น
ไม่ให้แพ้แก่เชื้ออณูของกาฬโรค ในการที่ใช้น�้ำเหลืองฉีดเช่นนี้ ประสงค์จะทดลอง
ต่อไปว่า น�้ำเชื้ออณูอย่างดุของกาฬโรคฉีดเข้าในสัตว์ตัวหนึ่ง แล้วต่อไปอีก ๑๒
ชั่วโมง ฉีดน�้ำยาถอนพิษของเชื้อกาฬโรคนั้น ตามเวลาและตามมื้ออันสมควร
ก็รู้โดยผลว่าสัตว์ตัวนั้นไม่ปรากฏอาการว่ากาฬโรค แต่พอได้เวลาสมควรก็หาย
ปรกติ จากการทดลองด้วยกระต่าย เขาใช้ม้าและหนูใหญ่หนูเล็ก เอามาเพื่อเป็น
เครื่องชันสูตรทดลองเห็นว่า การฉีดน�้ำเหลืองแห่งโลหิตอาจส�ำเร็จประโยชน์
ทั้งกลบผลเชื้อกาฬโรค และช่วยรักษาในวิธีอื่นๆ ให้สัตว์นั้นหาย จากการทดลอง
ด้วยสัตว์ชั้นต�่ำๆ สู่มนุษย์อันเป็นสัตว์ตระกูลสูง ก็ได้ผลดีหลายอย่างในการใช้
น�้ำเหลืองโลหิตฉีดกันกาฬโรค เช่นในเมื่อเกิดโรคห่านี้ในประเทศจีน ใน ๒๖ คน
ที่ใช้น�้ำเหลืองฉีด มีรายงานรับรองว่า ๒๔ คน หายเป็นปรกติ แต่ครั้นมาใช้วิธีฉีด
อย่ า งนี้ ใ นประเทศอิ น เดี ย ผลอั น ดี ใ นจ�ำ นวนผู ้ ห ายไม่ ป รากฏว่ า มากเท่ า ใน
ประเทศอื่นๆ เพราะเช่นนี้การฉีดน�้ำเหลืองกันกาฬโรคยังท�ำกันอยู่โดยแพร่หลาย
ช่วยชีวิตคนไว้ได้เป็นอันมาก แม้นว่ายังไม่ศักดิ์สิทธิ์สมความปรารถนา แต่ก็ยัง
ดีกว่าและแน่กว่าวิธีรักษาในทางอื่น จึ่งหวังว่าในอีกไม่ช้า จะได้ใช้ฉีดน�ำ้ เหลือง
ปราบกันกาฬโรคในอาณาเขตสยาม เพราะเป็นวิธีแน่โดยได้ทดลองกันในที่อื่นๆ
มาแล้ว


องศาเซลเซียส
๔๗

ล�ำดับวิธีรักษากาฬโรคแผนกที่ ๒
คือรักษามิให้แพร่หลาย โดยการกักคุมผู้ป่วยและล้อมต�ำบลที่มีโรคนี้
เกิดขึ้น
กว่าการเหล่านี้จะส�ำเร็จไปได้ ต้องการสิ่ง ๒ อย่าง ที่ ๑ อ�ำนาจความ
ปกครองพอที่จะสั่งอย่างไร ให้ส�ำเร็จอย่างนั้น ที่ ๒ ว่าทรัพย์สมบัติพอที่จะใช้สอย
ในหน้าที่ต่างๆ ในวิธีห้ามกันความแพร่หลาย ต้องแบ่งวิธีนี้ออกเป็น ๒ แผนก
แผนกที่ ๑ คือ การกักหรือล้อมหมู่บ้าน หรือประชุมชน
แผนกที่ ๒ คือ ข้อระวังและความประพฤติแห่งเฉพาะบุคคล ถ้า ๒ แผนก
นี้ส�ำเร็จไปได้ ก็อาจรับรองว่าห้ามกันความแพร่หลายได้
ในแผนกที่ ๑ คือวิธีห้ามกันความแพร่หลายแห่งเชื้ออณูในหมู่บ้าน
หรือที่ประชุมชน ทั้งปฏิบัติวิธีท�ำลายเชื้ออันมีอยู่ในหมู่บ้านประชุมชนเหล่านั้น
กว่าความประสงค์ในข้อนี้จะส�ำเร็จไปได้ จ�ำเป็นต้องมีอ�ำนาจบงการให้ส�ำเร็จไป
ตามความประสงค์ เพราะเช่นนี้ควรตรวจตราถ้วนถี่ สารพัดคนอันจะออกจาก
ที่มีโรคอย่างนี้ก็ดี ทั้งกักห้ามผู้อื่นไม่ให้เข้าไปมั่วสุมอยู่กับผู้ป่วยในต�ำบลนั้นๆ
เพราะเช่นนี้ตามสถานีก็ดี ในรถไฟก็ดี หรือตามด่านเจ้าภาษีต่างๆ ตามที่พัก
พลตระเวนต่างๆ ควรมีเจ้าพนักงานส�ำหรับตรวจ ทั้งบุคคลและห่อหรือหีบแห่ง
ผู้เดินทางนั้นๆ ถ้ามีสิ่งซึ่งสงสัยว่าป่วย หรือข้าวของเสื้อผ้า อันมาจากต�ำบล
ทีม่ โี รคอย่างนีแ้ ล้ว ควรกักไว้ไม่ตำ�่ กว่า ๗ วัน หรือ ๘ วัน ได้กด็ ี ต้องล่วงไปเสียก่อน
กว่าจะปล่อยไป นับตั้งแต่วันที่มีผู้ตายโดยส�ำแดงอาการของโรคนี้ นับตั้งแต่นั้น
ไปให้ ไ ด้ ๘ วั น เป็ น ดี แ ล้ ว จึ่ ง ปล่ อ ย ในเวลาซึ่ ง กั ก เช่ น นี้ จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ที่ พั ก
จ�ำเป็นต้องมีเสบียงอาหารเลีย้ ง และยาส�ำหรับบ�ำบัด โดยจะมีผปู้ ว่ ยเกิดขึน้ ในเวลา
ควบคุมนั้น เหล่านี้ควรมีเงินกองกลางเพื่อรับรองเป็นค่าใช้สอย
๔๘

ในการกักควบคุมเฉพาะแต่พลเมืองชาวบ้านก็ไม่พอ เชื้ออณูเหล่านี้
เคลื่ อ นที่ ไ ด้ ใ นเสื้ อ ผ้ า เครื่ อ งใช้ ส อย ทั้ ง ตามขนแห่ ง สั ต ว์ เ ลี้ ย ง แมว สุ นั ข
มิใช่แต่เท่านี้ มีพยานรับรองว่า ผ้า ขนฟูก เบาะ ที่หลับที่นอน อาจเป็นที่ซุ่มซ่อน
ของเชื้ออณูเหล่านี้ได้นาน เพราะเช่นนี้สารพัดเครื่องนุ่งห่มผ้าอันมาจากผู้ป่วย
หรืออันโสโครกโดยกระทบกับของถ่ายทิ้งจากผู้ป่วย หรือเป็นเครื่องผ้าม่าน มุ้ง
พรม เสื่อ อันมาจากห้องของผู้ป่วย และผู้ที่ถึงแก่กรรมด้วยโรคนี้ สิ่งเหล่านี้
จ�ำเป็นต้องไม่เผาไฟ ก็ให้ใส่ในหม้อเหล็กนึง่ ด้วยความร้อนอันสมควร กว่าเชือ้ เหล่านี้
จะตายหมด เช่นนี้เป็นการสมควรประพฤติและส�ำเร็จไปได้ในที่อื่นๆ ถ้าและ
เป็นเรือก�ำปั่นหรือเรือเดินตามคลอง แม่น�้ำ ซึ่งออกจากต�ำบลมีโรคนี้ เกิดคนเจ็บ
ในนั้ น หรื อ มี ผู ้ ถึ ง แก่ ก รรมในนั้ น เรื อ เหล่ า นี้ ค วรต้ อ งค้ า งในระหว่ า งคุ ม ขั ง
กว่าจะครบวันและเวลาที่ก�ำหนดไว้นั้น สารพัดหนู แมลงสาบ ควรจะฆ่าหมด
เครื่องใช้สอยในกระบวนผ้าควรเข้าในหม้อนึ่ง ให้อบความร้อนจนเวลาสมควร
ฝ่ายบุคคลผูโ้ ดยสารบรรดาทีส่ บายทุกอย่าง ให้คมุ อยูก่ อ่ น แต่ผปู้ ว่ ยต้องแยกเอาไว้
ทีอ่ นื่ อันห่างไกล ถ้าผูป้ ว่ ยนัน้ ถึงแก่กรรม ปรากฏอาการโรคนี้ ต้องกักทัง้ เรือทัง้ คน
กว่าจะครบไม่ต�่ำกว่า ๘ วัน
ครั้นโรคนี้ปรากฏขึ้นในหมู่บ้านใด ต้องตั้งเจ้าพนักงานเป็นทหารหรือ
พลเรือนล้อมบ้านนัน้ ห้ามทุกคนทีจ่ ะเข้าหรือออกจากบ้านหรือต�ำบลนัน้ จัดเฉพาะ
บ้านนัน้ เหมือนทีพ่ กั ผูป้ ว่ ยชัว่ คราว จะตายหรือหายก็ดี ต้องช�ำระกวาดล้างประพรม
ด้วยน�ำ้ ยากลบกลิน่ ทีล่ มุ่ ฉ�ำแฉะใต้ถนุ ใช้ปนู ขาวโรย เครือ่ งใช้สอยผ้านุง่ ห่ม มุง้ ฟูก
โดยจะกระทบผูป้ ว่ ย หรือโสโครกด้วยอุจจาระเหล่านี้ ลงกระทะเหล็ก ราดน�ำ้ มันก๊าด
แล้วเผาไฟ ตามเรือนร้านพื้นฟากฝา ใช้ผ้าชุบน�้ำยาถูพรมพ่นโดยโชก เปิดช่องใน
หลังคาให้แดดส่อง หรือรื้อหลังคาแถบหนึ่ง ย้ายครอบครัวไปอยู่ชั่วคราวในที่อื่น
หรือยกพื้นให้สูงจากดิน ฝ่ายศพควรฝังไม่ตื้นกว่า ๔ ศอก หรือเผา ฝ่ายผู้พยาบาล
ผูท้ นี่ า่ จะสงสัยว่าจะน�ำเชือ้ โรค ควรตรวจชันสูตรอยูห่ ลายวันอีกชัน้ หนึง่ เหมือนกัน
๔๙

เจ้าหน้าที่รัฐบาลอาณานิคมอังกฤษในฮ่องกงก�ำลังท�ำความสะอาดบ้านที่มีผู้ป่วยกาฬโรค
ในการระบาดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗
ที่มา : https://zolimacitymag.com/a-plague-a-cure-and-some-art-the-museum-of-
medical-sciences/

ฝ่ายหนูแมลงต่างๆ ย่อมหนีตามคน เพราะเช่นนั้นอุบายหลายอย่าง ทั้งดัก ทั้งขึง


รั้วลวด ซึ่งมีตาถี่ๆ มีหลักตอกลวดให้อยู่ชิดดิน หรือใช้สังกะสีปักเป็นรั้วรอบบ้าน
ถ้าตกลงเผากระท่อมทัง้ หลัง ควรเผาหนูดว้ ย โดยล้อมไม่ให้หนีได้กอ่ น ถ้าและกักคุม
คนได้ แต่หนูปล่อยให้วงิ่ พลุม่ พล่านขึน้ ท�ำรังบนเพดานมากัดกินของในครัว หรือตาย
ตามรังในซอกเรือน หมัดจากตัวหนูตายเข้าขนแมว ทั้งจะปล่อยให้สัตว์เหล่านี้วิ่ง
กระจุยกระจายไปทัว่ หมูท่ วั่ บ้าน และจะกักเฉพาะแต่คนก็ไม่มปี ระโยชน์กมี่ ากน้อย
เพราะเช่นนั้นการต่อสู้กับโรคนี้ ต้องก�ำจัดหนูกับแมวก่อน ท�ำลายสัตว์พวกนี้
ทั้งกักคุมผู้ป่วย และห้ามไม่ให้ผู้ปฏิบัติไปเที่ยวเยี่ยมเยียนสู่หากับผู้เจ็บผู้ป่วยเลย
นอกจากจ�ำเป็น
๕๐

ควรถือว่าการฆ่าสัตว์เหล่านีเ้ ป็นการจ�ำเป็น เพราะไม่ใช่สตั ว์เหล่านีท้ ตี่ าย


ฝ่ายเดียว แต่เป็นบุตรหลานของเจ้าของบ้าน ที่น่ากลัวจะตายด้วย เพราะเช่นนั้น
ต้องตัดสินว่าจะควรท�ำอย่างไร ยอมให้สัตว์เหล่านี้น�ำพาเชื้อเข้าเสื่อ พรม ฟูก
หรือจะประพฤติการป้องกัน การปราบแห่งความพลุ่มพล่ามของสัตว์เหล่านี้
จึ่งตั้งเป็นบัญญัติที่ ๑ ว่าการท�ำลายสรรพหนู กระรอก ตัวไร หมัด ตามสุนัข
ตามไก่ เป็นบัญญัติใหญ่ส�ำคัญที่สุด
บัญญัติที่ ๒ คือ ห้ามการเทถ่ายของลงใต้ถุน ในที่เหล่านี้ปูนขาว
หมั่นโรย
บัญญัติที่ ๓ สารพัดอุจจาระถ้าเจือหนองจากฝี เสื้อผ้าที่ใช้ต่างๆ
ควรหมักลงกระทะเหล็ก น�้ำมันก๊าดโรยแล้วเผา เอาผ้าอื่นใหม่มาใช้
บัญญัติที่ ๔ สังเกตเร็วๆ ว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ เมื่อเป็นแน่แล้ว
ห้ามคนอื่นไม่ให้เข้าใกล้คบค้า หรือสมาคมกับหมู่นั้นบ้านนั้น หรือคนนั้น
บัญญัติที่ ๕ เรือนทุกหลังที่มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ ควรผู้อื่นจะไปที่อื่น
เว้ น แต่ ผู ้ ป ฏิ บั ติ จ� ำ กั ด คนให้ น ้ อ ยที่ สุ ด เป็ น ต้ น ว่ า ในบ้ า นใดเกิ ด โรคนี้ ขึ้ น
จ�ำกัดผู้ปฏิบัติแต่ ๓ คน ลูก เด็ก ญาติพี่น้อง ไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น ทั้งให้ปฏิบัติและ
ประพฤติตามแบบดังจะกล่าวต่อไปข้างหน้า
เมื่อปฏิบัติตามบัญญัติทั้ง ๕ ข้อนี้ อาจส�ำเร็จความป้องกันแห่งหมู่บ้าน
หรือประชุมชน ต่อความแพร่หลายของโรคนี้ได้ ซึ่งรู้กันเช่นนี้ก็โดยผลที่เกิดขึ้น
ในต�ำบลอื่นๆ ซึ่งเขาประพฤติในข้ออันนี้
๕๑

ล�ำดับข้อและการควรประพฤติแห่งเฉพาะคน ในเมื่อกาฬโรคเกิดขึ้น
๑. ควรยกเว้นจากการเยี่ยมเยียนสมาคม หรือเข้าในต�ำบล หรือสนิท
กับผู้ที่สงสัยว่าอยู่ชิดโรคนี้
๒. ห้องผูป้ ว่ ยควรเปิดเผย ทัง้ ลมอากาศพัดได้สะดวก ทัง้ สว่างและโปร่ง
และรักษาความสะอาดในทุกแผนกแห่งการหลับนอน กิน และถ่ายเท
๓. ผู ้ เป็ นแพทย์ก็ดี ผู้พ ยาบาลก็ดี ไม่ ควรอุ ้ ม หรื อ ก้ ม คร่ อ มผู ้ ป่ วย
ยกเว้นแต่เมื่อจ�ำเป็นต้องครั้งละประเดี๋ยวๆ แล้วออกไปผึ่งแดด กระพือผ้า
เปลี่ยนเสื้อ
๔. ระวังที่สุดในสรรพแผลเปื่อย แผลเกา โรคผิวหนัง แผลหนังถลอก
ตามมือ ในสารพัดแผลเหล่านี้ ใช้น�้ำยาปิดกันอากาศเข้า เช่น ทิงเจอร์ก�ำยาน
คอมเปานด์๑ แตะจิ้มแผลใหญ่เล็กทุกแห่งไป
๕. หมั่ น ออกตากแดด หมั่ น นั่ ง ในที่ อ ากาศพั ด โปร่ ง หมั่ น อาบน�้ ำ
ถูฟอกสบู่ หมั่นเปลี่ยนเสื้อ ผลัดผ้านุ่ง เสื้อและผ้าที่ผลัดนั้นให้ผึ่งแดดไปพลาง
๖. โดยจ�ำเป็นเข้าห้องผู้เจ็บ อยู่แต่ประเดี๋ยวหนึ่ง ไม่ควรนั่งนอนพักพิง
อยู่นานนัก
๗. การถูฟอกตัว ทั้งผม หนวด ด้วยสบู่คาร์บอลิก๒ และสรรพน�้ำยา
ต่างๆ เป็นการควร
๘. สารพัดผ้าเจือหนอง ผ้ารองอุจจาระ ผ้าห่ม ผ้ารองเบาะ ผ้าน�้ำมัน
ควรเผาทั้งนั้น แล้วหาใหม่มาเปลี่ยน

Compound แปลว่า สารประกอบ

ท�ำจากกรดคาร์บอลิก (Carbolic Acid) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ
๕๒

๙. เมื่อจะรับประทานอาหาร ล้างมือ แคะเล็บ ล้างหน้าเสียก่อน


๑๐. ห มั่ น ระลึ ก ว่ า เชื้ อ ระคนอาหารเข้ า สู ่ ร ่ า งกายได้ โ ดยวิ ถี นั้ น
จึ่งหมั่นใช้น�้ำยาบ้วนปาก หมั่นถูฟัน
๑๑. ในห้องที่ผู้ป่วยอยู่ ควรห้ามเป็นอันขาดการหุงต้มปรุงอาหาร
และนั่งรับประทานอาหาร ควรตัดห้ามเด็ดขาด
๑๒. ควรสวมรองเท้าเสมอ ใช้ฟอร์มทหารสนับแข้ง หรือใช้ผ้าพันแข้ง
อย่างพลตระเวน พันให้เรียบสนิท จะพันชั่วคราวเวลาที่เยี่ยมผู้ป่วยก็ได้ หรือ
ชั่วคราวตรวจเรือน หรือเข้าห้องของผู้ป่วยก็ได้ โดยเครื่องใช้เหล่านี้มีไว้ ๒ – ๓
ส�ำรับ ใช้ผลัดเปลี่ยน หมั่นตาก หรือใช้ถุงเท้ายาวชนิดสักหลาด สวมรองเท้าบู๊ต
โดยแต่งกายเช่นนี้เข้าออกจากเรือนผู้ป่วย ก็ปราศจากอันตราย
๑๓. ห ้ า มการตกตะลึ ง ความเสี ย สมอง สติ ฟ ั ่ น เฟื อ นตกตะลึ ง ไป
ควรห้ามเด็ดขาด รู้วิธีป้องกันควรประพฤติตลอดหนทาง
๑๔. ระวังสรรพแผลใหญ่เล็ก ยกเว้นจากการสะดุดเท้า การเดินเท้าเปล่า
การเข้าออกสมาคมกับผู้ป่วย ควรยกเว้นทั้งสิ้น
ข้อประพฤติและความระวังในวิธีต่างๆ เหล่านี้ สามารถห้ามกันได้
และปราบเชื้ออณูเหล่านี้ให้ระงับสิ้นสุดได้เป็นแน่
ประมวลจดหมายเหตุเกี่ยวกับกาฬโรค
สมัยรัชกาลที่ ๕
สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
๕๕

ที่ ๒/๒๘๐๑ ศาลาว่าการต่างประเทศ๑


๒๗
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]
พระยาพิพัฒโกษา แจ้งความมายังพระยาวุฒิการบดี๒
ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ๓ มีรับสั่งว่า
ผู้แทนกงสุลอังกฤษแจ้งความว่าที่เมืองฮ่องกงเวลานี้มีโรคอันร้ายแรงอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น และโรคนั้นเป็นโรคติดกันได้ และเห็นว่าถ้าคนที่เป็นโรคอย่างที่กล่าวแล้ว
มากับเรือล�ำหนึ่งล�ำใดแล้ว ก็น่าจะเกิดการโรคอันนั้นได้ในประเทศสยาม และว่า
ถ้าไทยช่วยเป็นธุระ เอาหมายของเขาไปยื่นให้แก่เรือทั้งหลายนั้นแล้ว เขาจะมี
ความยินดีเป็นอันมาก ถ้าเรือนั้นเข้ามาแล้วต้องให้หมอตรวจก่อน ถ้าหมอเห็น
ว่าคนในเรือนั้นเรียบร้อยดีก็ให้ปล่อยเรือนั้นเข้ามา ณ กรุงเทพฯ ถ้าเห็นว่ามี
โรคติดมาแล้ว ต้องให้เรือล�ำนั้นพักอยู่กว่าหมอจะเห็นควรให้เข้ามา จึงมาได้
การที่กล่าวมานี้ ทรงเห็นว่ามีคุณและประโยชน์มาก เพราะเพื่อจะ
ป้องกันเสียซึ่งโรคอันร้ายเห็นสภาวะดังนี้ ไม่ให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมืองของเราได้
จึงได้ทรงรับโดยเต็มพระทัย และได้ทรงขอให้กรมทหารเรือและกระทรวงโยธา
เจ้าท่าให้ช่วยอุดหนุน กับได้มีท้องตราถึงเมืองสมุทปราการให้เป็นธุระอยู่แล้ว
และมาทรงปรารภต่อไปว่า ความเจ็บไข้เช่นนี้ก็เป็นหน้าที่ของกรมพยาบาลแท้
ที่จ�ำเป็นจะต้องเป็นผู้ตรวจตราโดยทางฉันทสาตร

คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่อง
จัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๔๒ – ๔๓.

พระยาวุฒิการบดี (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ ต่อมา
เลื่อนเป็นเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดี
กระทรวงการต่างประเทศ
๕๖

เหตุฉะนัน้ จึงมีรบั สัง่ ให้แจ้งความมายังท่านว่า ขอให้จดั หมอตามสมควร


ไปคอยตรวจตามทีก่ ล่าวแล้วนัน้ และขอให้ไปหารือกับกรมทหารเรือ และกระทรวง
โยธาเจ้าท่า เพื่อจะได้ช่วยกันคิดจัดการป้องกันตามสมควรที่จะเป็นไปได้
ฝ่ายกรมทหารเรือและกระทรวงโยธาเจ้าท่านั้นก็เต็มใจที่จะจัดการ
และก�ำลังคอยพนักงานในกระทรวงของท่านอยู่แล้ว แต่หมายนั้นถ้าจะต้องการ
หมายกงสุลชาติใด ก็จะขอส่งไปให้ และทรงหวังพระทัยว่าการที่กล่าวมานี้
ท่านคงจะเห็นชอบด้วย ตามการที่จ�ำเป็นจะป้องกันอยู่เอง
ขอท่านได้น�ำความกราบเรียนท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์๑ เสนาบดี
กระทรวงธรรมการและศึกษาธิการทราบ เพื่อจะได้ด�ำริและสั่งเจ้าพนักงานให้รีบ
จัดการไปตามควร แล้วแต่จะโปรด

พระยาพิพัฒโกษา ไปราชการ
(เซ็น) หลวงพิพิธวิรัชการ แทน


เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) บุตรชายคนเล็กของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา
ประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ต่อมาด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และเสนาบดี
กระทรวงธรรมการ
๕๗

ที่ ๗/๑๔๓๗ ศาลาว่าการกระทรวงพระธรรมการ๑


๒๗
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]
กราบทูลในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทววงษวโรประการ เสนาบดี
กระทรวงว่าการต่างประเทศ ทราบฝ่าพระบาท
ด้วยการที่หมู่คนยุโรปตื่นตกใจ ด้วยเรื่องเปลกคือกาฬโรค ซึ่งเกิดขึ้นที่
เมืองจีนและเมืองฮ่องกง ทูตอังกฤษได้ออกหมาย และได้มาขอเรือกรมทหารเรือ
ให้หมอไปคอยตรวจเรือค้าขายที่จะมาจากเมืองจีนเข้ามาในกรุงเทพฯ ถ้ามี
โรคเปลกคนเจ็บในเรือแล้ว ให้เรือหยุดและส่งคนขึ้น ไม่ให้เข้ามาในกรุงเทพฯ
ซึ่งหมอแอดด�ำซัน๒ ได้ออกไปตรวจคราว ๑ แล้วนั้น ก็เป็นการควัวรันตีน ๓
เพื่ อ ป้ อ งกั น ชี วิ ต ประชุ ม ชนไม่ ใ ห้ โรคภั ย ที่ น ่ า กลั ว ซึ่ ง ติ ด กั น อั น จะท� ำ ลาย
ชีวิตมนุษย์ ติดเรือมาเกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ได้ เป็นโอกาสอันดีที่ราชาธิปไตย
จะได้ตั้งกฎหมายควัวรันตีน และกฎหมายส�ำหรับความส�ำราญของประชากร
สืบไป เป็นการสะดวกง่ายขึ้น เพราะหมู่คนยุโรปได้มาขอเอง เพราะฉะนั้น
เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ควรราชาธิปไตยจะจัดการให้สมประสงค์ของผู้ที่ตื่นตกใจ
กลัว ซึ่งยังเชื่อการควัวรันตีน ห้ามงดเรือไว้จนสิ้นเขตอันจะป้องกันโรคที่จะ
ติ ด มาในเรื อ นั้ น ได้ ดุ จ ดั ง ประชุ ม ชนที่ ยั ง เชื่ อ ในการพิ ธี จ รดพระนั ง คั ล และ
พิรุณสารทอยู่ปานใด ราชาธิปไตยก็ต้องจัดการให้สมประสงค์ของผู้ที่มีความเชื่อ
ถืออยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าจะโปรดเกล้าฯ ให้กรมพยาบาลเป็นธุระในการนี้ ก็จะได้


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่อง
จัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๔๖ – ๔๗.

นายแพทย์ฮานส์ อดัมเซน หรือพระบ�ำบัดสรรพโรค

Quarantine แปลว่า การกักกันโรค กักกันผู้ป่วย
๕๘

เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)


เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
๕๙

รับฉลองพระเดชพระคุณจัดการให้มีเจ้าพนักงานส�ำหรับตรวจเรือที่จะเข้ามา
และรับฎีกาความส�ำราญ และต้องจัดการให้มีโรงที่พักแห่งหนึ่งแห่งใด ในที่เกาะ
หรือที่ฝั่งตามสมควร มีพนักงานคอยรักษา และขอผู้ว่าราชการเมือง กรมการ
ในจังหวัดนั้นช่วยเป็นธุระด้วย ถ้าในเรือนั้นมีคนเป็นโรคเปลกอยู่ในเรือ จะได้เอา
ขึ้นรักษาที่โรงพักนั้น กับจะต้องขอเรือกรมทหารเรือล�ำ ๑ เป็นเรือตระเวนตรวจ
รักษาทอดประจ�ำอยู่ กรมพยาบาลจะจัดแพทย์หมอเป็นเจ้าพนักงานส�ำหรับ
ความส�ำราญ ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ที่เรือนั้น เพื่อที่จะได้ตรวจเรือทุกล�ำจัดการ
ตามกฎหมายควั ว รั น ตี น และข้ อ บั ง คั บ คราว ๑ ได้ ร ่ า งข้ อ บั ง คั บ ค� ำ สั่ ง พิ เ ศษ
ส�ำหรับเจ้าพนักงานและเรือค้าขายที่จะเข้ามาต้องประพฤติ เป็นภาษาอังกฤษ
ถวายมาในนี้ก่อน ถ้าโปรดแล้วจะได้แต่งลงราชกิจจาสืบไป เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า
ทูตและกงสุลส�ำหรับชาติของเรือค้าขายได้ยอมให้หมอตรวจแล้ว คงจะไม่เป็น
การขัดข้องแต่ขอ้ บังคับนี้ จะควรแก้ไขประการใด และจัดการเพียงใด ขอประทาน
พระด�ำริชอบ การจะควรประการใดสุดแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ

ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(เซ็น) ภาสกรวงศ
๖๐

พระยาวุฒิการบดี (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)


ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ
๖๑

ที่ ๘/๑๔๕๙ ศาลาว่าการกระทรวงพระธรรมการ๑


๒๗
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]
พระยาวุฒิการบดี แจ้งความมายังพระยาพิพัฒโกษา ราชปลัดทูลฉลอง
กระทรวงว่าการต่างประเทศ
ด้วยได้รับหนังสือของท่านที่ ๒/๒๘๐๑ ว่าที่ฮ่องกงเวลานี้มีโรคอัน
ร้ายแรงอย่าง ๑ เกิดขึ้น และโรคนั้นเป็นโรคติดกันได้ ถ้าคนเป็นโรคมากับเรือ
ล�ำหนึ่งล�ำใดก็น่าจะเกิดโรคอันนั้นได้ในประเทศสยาม ผู้แทนกงสุลอังกฤษจึงได้
ขอให้ช่วยเป็นธุระเอาหมายของเขาไปยื่นให้แก่เรือทั้งหลายนั้น ถ้าเรือนั้นเข้ามา
แล้วต้องให้หมอตรวจก่อน ถ้าหมอเห็นว่าคนในเรือนั้นเรียบร้อยดี ก็ให้ปล่อย
เรือนั้นเข้ามาในกรุงเทพฯ ถ้าเห็นว่ามีโรคติดมาแล้ว ต้องให้เรือล�ำนั้นพักอยู่
แต่หมอเห็นควรว่าจะให้เรือล�ำนั้นเข้ามาจึงเข้ามาได้ กระทรวงท่านเห็นว่า
มีคุณและประโยชน์มาก เพราะเพื่อจะป้องกันเสียซึ่งโรคอันร้ายไม่ให้เกิดขึ้น
แก่บ้านเมืองของเราได้ กระทรวงของท่านได้ขอให้กรมทหารเรือและกระทรวง
โยธาเจ้าท่า ให้ช่วยอุดหนุน กับได้มีท้องตราถึงสมุทปราการให้เป็นธุระอยู่แล้ว
พระเดชพระคุณเสนาบดีว่าการต่างประเทศทรงพระปรารภว่า ความไข้เจ็บเช่นนี้
ก็เป็นหน้าทีข่ องกรมพยาบาลแท้ ทีจ่ ะต้องตรวจตราโดยฉันทสาตร จึงโปรดเกล้าฯ
ให้แจ้งความมายังกระทรวงนี้ ขอให้จัดหมอตามสมควรไปคอยตรวจตามที่กล่าว
แล้วนั้น และให้ไปหารือกับกรมทหารเรือและกระทรวงโยธาเจ้าท่า เพื่อจะได้
ช่วยกันคิดจัดการตามสมควรที่จะเป็นไปได้นั้น ได้น�ำความขึ้นกราบเรียนท่าน
เสนาบดีกระทรวงพระธรรมการทราบแล้ว


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่อง
จัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๔๔ – ๔๕.
๖๒

มีปญ
ั หาว่า การเรือ่ งนีเ้ มือ่ ได้ทราบเหตุ ก็ได้ปรารภและด�ำริการทีเ่ ห็นว่า
เป็นหน้าที่สมควรจะจัดการปกครอง จึงได้มีจดหมายที่ ๗/๑๔๓๗ กราบทูลหารือ
ไปยังพระเดชพระคุณเสนาบดีว่าการต่างประเทศแล้ว ถ้าทรงพระด�ำริเห็นชอบ
ก็จะได้รีบจัดการตามควร ครั้นได้รับหนังสือของท่านว่า ให้สั่งเจ้าพนักงานให้รีบ
จัดการไปตามควรนั้น ก็ได้มีค�ำสั่งยังกรมพยาบาลให้จัดหมอที่สมควรผลัดเปลี่ยน
กันไปคอยตรวจ ถ้าหมอไม่พอก็ให้จดั จ้างเป็นการพิเศษขึน้ แต่หมายของกงสุลนัน้
ต้องขอทุกชาติตามที่จะเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ
ในส่วนการที่จะตรวจนั้น ไม่สู้จะส�ำคัญ เมื่อไม่มีคนป่วยไข้ในเรือ
ก็ เ ป็ น การดี ถ้ า มี ขึ้ น แล้ ว ต้ อ งจั ด การผ่ อ นคนไข้ ขึ้ น รั ก ษาที่ แ ห่ ง ใดแห่ ง หนึ่ ง
และตรวจเรือบังคับเรือให้ท�ำตามกฎหมายควัวรันตีน จึงจะสิ้นสงสัยในการเรื่องนี้
เพราะฉะนั้นจะต้องจัดที่แห่งหนึ่งแห่งใดปลูกเป็นโรงพักขึ้นไว้ และมีหมอและ
คนพยาบาลส�ำหรับด้วย ที่จะได้รักษาคนเจ็บนั้น และต้องมีผู้ตรวจผู้รักษา
ตามสมควร เพราะฉะนั้น ถ้าจะเป็นการขัดข้องสิ่งใด ต้องขอกระทรวงของท่าน
ช่วยอุดหนุนให้การส�ำเร็จไปด้วย เพราะเป็นโอกาสอันดีที่จะได้จัดการนี้ให้เป็น
แบบแผนสืบไป
ขอท่านได้น�ำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ เสนาบดีกระทรวง
ว่ า การต่ า งประเทศทราบใต้ ฝ ่ า พระบาท จะควรประการใดสุ ด แล้ ว แต่ จ ะ
โปรดเกล้าฯ
ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(เซน) พระยาวุฒิการบดี
ราชปลัดทูลฉลอง
๖๓

ออฟฟิศกรมพยาบาล๑
๒๗
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]
เรียนมายังท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการทราบ
ด้วยได้รับค�ำสั่งที่ ๔๙/๑๘๔๑ ลงวันที่ ๒๕ เดือนนี้ว่า กระทรวง
ต่ า งประเทศมี จ ดหมายมาด้ ว ยเรื่ อ ง เกิ ด ไข้ ป ั จ จุ บั น ซึ่ ง เป็ น โรคติ ด กั น ได้
ให้กรมพยาบาลจัดหมอที่สมควรไปตรวจตราเรือลูกค้าที่จะเข้ามากรุงเทพฯ
ถ้ามีคนเป็นโรคอยู่ในเรือก็ต้องท�ำตามหนังสือกระทรวงว่าการต่างประเทศ
ถ้ า เห็ น ว่ า การตรวจไม่ พ อ จะควรจั ด ให้ มี ที่ พั ก แห่ ง หนึ่ ง ตามแต่ จ ะเห็ น ควร
พร้ อ มด้ ว ยพนั ก งานที่ ป ระจ� ำ เรื อ ควรจะจั ด การอย่ า งไรอี ก บ้ า งนั้ น ได้ ท ราบ
ตลอดแล้ว
ข้าพเจ้าเรียกหมอมาที่ออฟฟิศกรมพยาบาล ปรึกษาเห็นพร้อมกันว่า
ควรจะไปตั้งโรงพยาบาลที่เกาะไผ่ ขอให้เจ้าเมืองกรมการปลูกโรงพยาบาลให้
ถ้าในเวลานี้จะมีคนไข้มาก็ต้องเช่าบ้านราษฎรในเกาะไผ่อาศัยอยู่ไปพลางก่อน
หรือมิฉะนั้นต้องมีเรือล�ำหนึ่งไปทอดไว้เป็นโรงพยาบาล กับจะต้องมีเรือกลไฟ
ล�ำหนึ่งพอจะไปเกาะไผ่ ได้มอบสิทธิ์ขาดอยู่ในอ�ำนาจหมอส�ำหรับตรวจเรือ
ตรวจโรงพยาบาล ขอให้เจ้าเมืองกรมการเมืองสมุทปราการช่วยดูแลอย่างที่ได้
ช่วยมาแล้วด้วย
กับอนึ่ง ต้องขอหนังสือห้ามเรือจากกงสุลต่างประเทศไว้ส�ำหรับเป็น
คู่มือหมอที่จะตรวจเรือนั้นด้วยอย่างหนึ่ง หรืออีกอย่างหนึ่งถ้าจะจัดการให้
เบาความล�ำบากลง ต้องขออนุญาตกงสุลต่างประเทศให้มีค�ำสั่งถึงบรรดาเรือที่


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ค/๑ จดหมายไปมาในระหว่างกรมพยาบาล
กับกระทรวงธรรมการ ในเรื่องป้องกันโรคร้าย (๑๕ พ.ค. – ๑๐ ส.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๕.
๖๔

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา


อธิบดีกรมพยาบาล
๖๕

จะเข้ามา ให้ไปแวะที่เกาะไผ่ ซึ่งเป็นที่หมอจะไปประจ�ำอยู่ก่อน หมอจะได้ตรวจ


ในเรื อ นั้ น เมื่ อ มี ค นไข้ ใ นเรื อ แล้ ว จะได้ ใ ห้ พั ก อยู ่ ที่ เ กาะไผ่ นั้ น ที เ ดี ย ว ได้ ก ะ
งบประมาณเงินเดือนเบี้ยเลี้ยง และค่าใช้สอยอย่างสังเขป เฉพาะเดือนหนึ่ง
สอดมาในนี้ด้วยแล้ว

การจะควรประการใดแล้วแต่จะโปรด
(เซ็นพระนาม) จันทรทัดจุธาธาร๑


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา พระราช
โอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาโหมด ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่ง
อธิบดีกรมพยาบาล สังกัดกระทรวงธรรมการ
๖๖

ที่ ๕/๒๙๔๐ ศาลาว่าการต่างประเทศ๑


๒๗
วันที่ ๒๘ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]
เรียนมายังท่านเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการและ
ศึกษาธิการทราบ
ด้วยได้รับจดหมายของเจ้าคุณที่ ๗/๑๔๓๗ ลงวันที่ ๒๕ เดือนนี้
แสดงความคิดป้องกันโรคที่เกิดในประเทศจีนไม่ให้ติดต่อมาในประเทศสยามได้
และได้ส่งข้อบังคับส�ำหรับการนี้ที่จะบังเกิดต่อไปนั้น ได้ทราบทุกประการแล้ว
ข้าพเจ้าก็เห็นชอบตามจดหมายของเจ้าคุณและข้อบังคับนั้น พวกทูตและกงสุล
ก็ดูเหมือนจะไม่มีใครขัดขวาง เพราะของต้องการของฝ่ายท่านเหล่านี้อยู่ด้วย
แต่การเรื่องนี้พระยาพิพัฒโกษาได้มีจดหมายที่ ๒/๒๘๐๑ ลงวันที่ ๒๕
เดือนนี้ ถึงพระยาวุฒิการบดี ชี้แจงถึงการเรื่องนี้ และขอให้ไปปรึกษาหารือกับ
กรมทหารเรือ และกระทรวงโยธาเจ้าท่า เพื่อจะได้ช่วยกันรีบจัดการตามสมควร
ความแจ้งอยู่ในจดหมายฉบับนั้นแล้ว
ภายหลั ง ได้ รั บ จดหมายพระยาวุ ฒิ ก ารบดี ถึ ง พระยาพิ พั ฒ โกษา
ที่ ๘/๑๔๕๙ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ว่าได้สั่งกรมพยาบาลให้จัดหมอที่สมควร
ผลั ด เปลี่ ย นกั น ไปคอยตรวจ ถ้ า ไม่ พ อก็ ต ้ อ งจั ด จ้ า งเป็ น การพิ เ ศษขึ้ น และ
ขอหมายกงสุลทุกชาติเพื่อจะได้ยื่นแก่เรือที่มานั้น และปรารภถึงที่พักของหมอ
และคนไข้นั้น



คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่อง
จัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๔๘ – ๔๙.
๖๗

ข้าพเจ้าเห็นว่า (๑) การที่จะตั้งโรงพักนั้นเป็นหน้าที่ของกระทรวง


โยธาธิการจะต้องท�ำในที่ใดที่หนึ่งตามแต่จะเห็นควรพร้อมกัน
(๒) เจ้าท่านั้นก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องดูแลเรือที่จะเข้ามา และเป็นผู้ยื่น
หมายให้แก่เรือนั้นๆ ด้วย
(๓) เรือที่จะใช้ตรวจตรานั้น เป็นหน้าที่ของกรมทหารเรือที่จะต้อง
จัดการ
(๔) การตรวจคนไข้และดูก ารในโรงพั ก เหมื อ นกั บโรงพยาบาลนั้ น
เป็นหน้าที่ของกรมพยาบาลโดยแท้
การทีก่ ล่าวมานี้ กระทรวงโยธาธิการเจ้าท่า ทหารเรือ ก็ปรากฏว่าปลงใจ
ลงในราชการอยู่แล้ว
แต่ ก ารที่ จ ะปลู ก โรงพั ก นั้ น ในกรมหมื่ น พิ ท ยลาภพฤฒิ ธ าดา ๑
ทรงเห็นว่า ควรจะตั้งที่เกาะไผ่ที่มีคนอยู่น้อยหรือไม่มี และเป็นที่บังลมด้วย
แต่ถึงอย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าก็ยังตั้งใจอยู่ว่าเจ้าคุณคงจะมีค�ำสั่งให้กรมพยาบาล
หารือกับกระทรวงและกรมที่กล่าวแล้วข้างต้นนี้ โดยรีบเร่งให้เร็ววันนั้นด้วย
หมายนั้นข้าพเจ้าก็จะรีบส่งตรงไปยังเจ้าท่าทีเดียว และฝ่ายหัวเมือง
นั้นเล่า ถ้าตกลงคงท�ำในที่ใดก็จะได้รีบมีตราให้เมืองนั้นช่วยอุดหนุนตามสมควร
ขอเจ้าคุณจงรับค�ำแสดงความนับถืออย่างสูงของข้าพเจ้าด้วย
(เซ็นพระนาม) เทวะวงษวโรประการ


พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาวาด ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงรับราชการในไปรเวต
สิเกรตารีออฟฟิศหลวง ฝ่ายต่างประเทศ ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่งข้าหลวงใหญ่ประจ�ำมณฑล
พายัพ เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงวัง
๖๘

ที่ ๖๑/๑๖๗๖
๒๗
วันที่ ๓ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]๑
กราบทูลในพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรทัดจุธาธาร ทรงทราบ
ฝ่าพระบาท
ด้วยหมออาดัมซันกับหลวงด�ำรงมาบอกเกล้ากระหม่อมว่า เรือขงเบ้ง
มาจากฮ่องกงมีคนป่วยในเรือคน ๑ เป็นจีนคนใส่ไฟ ป่วยเป็นไข้ ไข่ดันบวม เดินเซ
ซึ่งเข้าแบบโรคร้ายนั้น แต่ยังไม่ออกดอก และอาการแน่ทีเดียว เป็นที่สงสัย
จึงได้ห้ามเรือนั้นไม่ให้เข้ามากรุงเทพฯ ได้กลับลงไปตรวจใหม่ และจะแวะบอก
กงสุลอังกฤษด้วย เมื่อมีคนเจ็บขึ้นดังนี้ ขอให้ทรงพระด�ำริจัดคนพยาบาลการ
รักษาทั้งปวงได้ หมอลงไปตรวจบอกอาการเป็นแน่ จะต้องเอาคนไข้ขึ้น เรือก็จะ
ต้องควัวรันตีนไว้ตามธรรมเนียม ได้ถามไปที่กระทรวงโยธาธิการว่าที่จะไปปลูก
โรงพักที่เกาะไผ่นั้นแล้วหรือยัง บอกมาว่าได้ให้เรือบรรทุกของไปแต่วันที่ ๓๑
เดือนก่อนแล้ว แต่จะไปถึงหรือยังไม่ทราบ เพราะเรือโป๊ะใช้ใบไป ไปขอเรือไฟ
ที่ทหารเรือไม่ได้ เมื่อเกิดมีคนไข้ขึ้นแล้วจะเอาขึ้นไว้ที่ไหนดี ขอให้ทรงพระด�ำริ
ปรึกษากับหมอดู อย่าให้เป็นทีห่ มูฝ่ รัง่ ตืน่ ตกใจและติโทษในหน้าทีก่ รมพยาบาลได้
ถึงเวลาจ�ำเป็นแล้วเรือไม่ได้จากกรมทหารเรือ ก็ต้องจ้างเรืออื่นเขาบรรทุกคน
และของไปให้ทันการจงได้ เรือเล็กส�ำหรับตรวจที่ปากน�้ำนั้น ถ้าทหารเรือไม่ให้
ต้องจ้างเขา ได้จัดไว้ล�ำหนึ่งแล้ว หมอจะต้องการเอาไปไว้ที่ปากน�้ำก็ได้



คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๑ จดหมายไปมาในระหว่างกรมพยาบาล
กับกระทรวงธรรมการ ในเรื่องป้องกันโรคร้าย (๑๕ พ.ค. - ๑๐ ส.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๑๑ - ๑๓.
๖๙

นายแพทย์ฮานส์ อดัมเซน
หรือพระบ�ำบัดสรรพโรค
๗๐

ในเวลาที่ยังปลูกโรงเกาะไผ่ไม่แล้ว ถ้าจะเอาคนไข้ขึ้นพักไว้สมุทเจดีย์๑
กลัวจะเป็นปัญหาและเป็นที่ติเตียนที่จะป้องกันโรคร้ายในกรุงเทพฯ ไม่ได้
ถ้าอย่างไร ให้เรือไปควัวรันตีนไปพักที่เกาะไผ่ คนไข้นั้นก็เอาขึ้นอาศัยไว้ที่ใดก่อน
จะได้กระมัง ขอให้ทรงปรึกษาหมอให้ตกลงกันจะเอาอย่างไรแน่ จะได้บอกไป
ตามกระทรวงและกรมที่เกี่ยวหน้าที่ให้ทราบ การเช่นนี้ต้องเป็นการด่วน จะทิ้ง
เฉื่อยช้าไม่ได้ เรือใหญ่ยังให้ไปเที่ยวว่าจ้างอยู่ ตกลงประการใดโปรดมีรับสั่ง
มาให้ทราบ
ควรมิควรสุดแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
[ไม่มีผู้ลงนาม]๒


พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ
สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ หรือพระยา

วุฒิการบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ
๗๑

ที่ ๖๒/๑๖๗๗
๒๗
วันที่ ๓ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]๑
ถึงหลวงด�ำรง หรือหมออาดัมซัน ปากน�้ำ
ด้วยมีโทรเลขบอกมาว่า สงสัยว่าจะมีคนเจ็บโรคร้ายในเรือขงเบ้ง
ต้องให้เรือหยุด และถามมาว่าคนเจ็บจะเอาขึ้นไว้ที่ไหน กับทูตอังกฤษยอมตาม
ความเห็นควรของหมอนั้น ได้ทราบแล้ว
คนไข้ที่จะเอาขึ้นนั้น จะเอาขึ้นพักที่สมุทเจดีย์ไม่ได้ ขัดข้อง ถ้าเป็นโรค
จริงจะติดมาถึงกรุงเทพฯ ครั้นจะไปฝากไว้ที่เรือนตะเกียง๒ ก่อน ฝรั่งที่รักษาอยู่
ที่นั่นจะไม่ยอม ซึ่งเห็นว่าขัดข้องอยู่เหมือนกัน จึงเห็นว่าการที่พักรักษาและ
ห้ามเรือ ตกลงกันทีเ่ กาะไผ่ กระทรวงโยธาก็ได้ให้เรือบรรทุกของไปปลูกโรงอยูแ่ ล้ว
ควรให้เรือขงเบ้งที่มีคนเจ็บบนเรือที่ต้องควัวรันตีน ไปพักอยู่ที่เกาะไผ่ จะก�ำหนด
กี่วันแล้วแต่หมอจะเห็นควร คนเจ็บก็จะต้องเอาขึ้นรักษาที่เกาะไผ่ แม้ว่าท�ำ
โรงพักแล้ว จึงได้ให้เรือไฟเล็กลงมากับหมอและคนพยาบาลด้วย ถ้าหมอเห็น
สมควรจะให้ก�ำกับไปในเรือก็ตาม หรือไม่ต้องก�ำกับไป รอไว้ตามไปแต่ภายหลัง
แล้วแต่หมอจะเห็นควร เครื่องพยาบาลหมอฝรั่งควรรักษาพยาบาล จะได้จ้างเรือ
จัดส่งตามออกไปทันที เมื่อได้พบกันแล้ว จะได้ปรึกษามีค�ำสั่งต่อไป



คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๑ จดหมายไปมาในระหว่างกรมพยาบาล
กับกระทรวงธรรมการ ในเรื่องป้องกันโรคร้าย (๑๕ พ.ค. - ๑๐ ส.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๘ - ๙.
๒ คือ ประภาคารแห่งแรกของไทย ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น�ํ้ำเจ้าพระยา สมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔
๗๒

อนึ่ง หมอต้องเข้าใจแล้วว่า ที่สิงขโปร์๑ เรือมาแต่เมืองจีนฮ่องกงต้อง


หยุดนอกเขต ๙ วัน ที่ไส้ง่อน๒ ให้หยุด ๑๐ วัน เพราะฉะนั้นที่จะห้ามให้เรือหยุด
กี่วัน หมอต้องพิจารณาดูตามควร
[ไม่มีผู้ลงนาม]๓


สิงคโปร์

เมืองไซ่ง่อน ปัจจุบันคือ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม

สันนิษฐานว่า เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณ
ปรีชา อธิบดีกรมพยาบาล
๗๓
๒๗
วันที่ ๓ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]๑

เรียนเจ้าคุณได้ทราบ
ด้วยข้าพเจ้าได้รับหนังสือของเจ้าคุณ ได้ทราบความแล้ว การเรื่องนี้
ข้าพเจ้าได้สั่งหลวงด�ำรงค์และหมอผู้ตรวจแล้วว่า ถ้าพบเรือล�ำใดมีคนไข้ที่เป็น
โรคร้ายนั้นแล้ว ก็ให้ห้ามเรือ อย่าให้เข้ามาในกรุงเทพฯ ให้ไปจอดอยู่ที่เกาะไผ่
แล้ ว กรมพยาบาลจึ ง จะได้ จั ด การพยาบาลต่ อ ไป เมื่ อ มี เ หตุ เ กิ ด ขึ้ น ดั ง นี้ แ ล้ ว
หมอก็จะต้องท�ำตามค�ำสัง่ นัน้ ทีจ่ ะเอาคนไข้ขนึ้ ไว้ทสี่ มุทเจดียห์ รือทีใ่ ดๆ นอกจาก
เกาะไผ่นั้น ไม่ได้เป็นอันขาด
ส่วนการพยาบาลคนไข้ทเี่ กาะไผ่นนั้ เป็นการล�ำบาก เพราะต้องเกีย่ วกับ
กรมอืน่ กรมโยธาไปปลูกโรงพยาบาลก็ยงั ไม่แล้ว กรมทหารเรือก็ไม่ยอมให้เรือ จึงต้อง
เป็นการเนิน่ ช้าอยู่ ถ้ามีเรือส�ำหรับบรรทุกคนและของไปได้เมือ่ ใดแล้ว กรมพยาบาล
ก็จะรีบออกไปจัดการพยาบาลที่เกาะไผ่นั้นให้ทันการจงได้ ขอเจ้าคุณอย่าได้วิตก
ในส่วนกรมพยาบาลเลย ถ้ามีเรือแล้วเมื่อใดเป็นจัดการตลอดเมื่อนั้น ของก็มีอยู่
พร้อมแล้ว ไม่ตอ้ งซือ้ หาอันใด เพียงแต่จะขนไปจัดเท่านัน้ แต่โรงพยาบาลนัน้ ควรจะ
เตือนไปที่กรมโยธาให้รีบท�ำ แม้ที่สุดให้คนไข้อาศัยได้ ๑ คน ๒ คน ก่อน ส่วนเรือ
ทีม่ คี นไข้นนั้ ต้องให้ถอยไปจอดอยูเ่ กาะไผ่กอ่ น ทีจ่ ะให้อยูท่ อี่ นื่ นัน้ ไม่ได้เป็นอันขาด
การที่บอกกงสุลให้ทราบนั้น ก็เป็นการดีแล้ว จะได้ห้ามเรือได้เป็นการสิทธิ์ขาด
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(เซ็นพระนาม) จันทรทัดจุธาธาร



คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๑ จดหมายไปมาในระหว่างกรมพยาบาล
กับกระทรวงธรรมการ ในเรื่องป้องกันโรคร้าย (๑๕ พ.ค. - ๑๐ ส.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๑๐.
๗๔

กรุงเทพฯ
๒๗
วันที่ ๑๔ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]๑
มิสเตอร์แคมเปอแมน มินศิ เตอเรซิเดนราชทูตและกงสุลเยเนราลเยอรมัน
ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ เสนาบดีวา่ การต่างประเทศ
ด้ ว ยในคราวประชุ ม พวกผู ้ แ ทนราชาธิ ป ไตยแห่ ง นานาประเทศ
เมื่อวันที่ ๗ เดือนนี้ การที่ได้ปรึกษาตกลงนั้นจึงได้รับรองดังจะว่าต่อไปนี้
และตามค�ำขอของผู้ที่ได้มาประชุมนั้น ข้าพเจ้าขอรับพระราชทาน
ถวายมายังพระเดชพระคุณ เพื่อที่จะได้ทรงพระกรุณาด�ำริ
๑. ในการที่ราชาธิปไตยสยามเป็นธุระเพื่อที่จะห้ามโรคกาฬะชักน�ำ
เข้ามานั้น ก็สมควรอยู่แล้วตามเหตุที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
๒. ควรจะต้องร้องขอต่อท่านราชาธิปไตยฝ่ายสยามในธุระอันร้อนนี้
อันทีจ่ ะท�ำต่อไปภายหน้า ให้จดั หาทีเ่ กาะอันสมควรเป็นทีก่ วาเรนตินสเตชันเฉพาะ
ให้อยู่ห่างฝั่ง ส�ำหรับรักษาโรคที่จะติดกันได้นั้นแห่งหนึ่ง และจะต้องจัดการให้มี
เต้น๒ หรือที่พัก กับน�้ำทีก็ให้พอใช้ และเสบียงอาหาร ทั้งหมอผู้ที่จะปฏิบัติรักษา
นั้นให้พร้อมบริบูรณ์ เมื่อต้องการเมื่อใดจะมิได้ขัดขวาง
๓. ในความทุ ก เรื่ อ งที่ เจ้ า พนั ก งานรั ก ษาความสุ ข จะยึ ด เรื อ ไว้ ใ น
กวาเรนติน จะต้องบอกให้กงสุลที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว กงสุลผู้นั้นจะได้ให้หมอ
ไปที่เรือ และจะได้เป็นที่พอใจของเขาว่า ที่ห้ามเรือไว้นั้นเป็นการอันควร


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่อง
จัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๕๓ – ๕๖.

เต็นท์ (Tent)
๗๕

๔. กัปตันและคนโดยสารที่หนึ่งนั้น ขอได้อนุญาตให้ขึ้นไปอยู่ที่เกาะ
ที่เมืองสมุทปราการ และให้รอฟังค�ำสั่งอยู่ที่นั้นต่อไป
ความที่ตั้งใจมั่นคงดังนี้ ได้โวต ๑ และได้ยอมตกลงกันตามบรรดา
ผู้แทนราชาธิปไตยนานาประเทศทั้งปวงแล้ว คือราชทูตกรุงยุไนเตศเตด๒ ๑
จากเยดาแฟร์๓ กรุงเกรตบริตเตน๔ ๑ กรุงฝรั่งเศส ๑ กงสุลต่างๆ แอตติง
กงสุลต่างๆ และแอตติงกงสุลเยเนราล ส�ำหรับกรุงออศเตรีย๕ สวิเดนแอนนอเว๖
เดนมารค๗ โปรตุคอล๘ อิแตลี๙ และตัวข้าพเจ้า
กงสุลเยเนราลฮอลันดา๑๐ ได้ขอเพิม่ เติมรายงานในทีป่ ระชุมส่วนตัวของ
เขาดังนี้
ผู้ได้เซนชื่อข้างท้ายขอแสดงความเห็นว่า เพราะยังมีการจัดขึ้นเพื่อ
ความสุขอย่างใด ซึ่งได้แจ้งความไปยังผู้แทนประเทศอันมีไมตรี หรือถึงตัวเขา
ยังไม่สามารถเห็นการที่จะใช้ได้ เพราะตามที่เคยใช้ในประเทศทั้งปวงที่มีหนังสือ
สัญญา ควรจะได้หารือการที่จัดขึ้นนั้น และตั้งขึ้นโดยประชุมผู้แทนของประเทศ
และผู้แทนอ�ำนาจของต่างประเทศด้วย

Vote แปลว่าออกเสียงลงมติ

สหรัฐอเมริกา

`
Chargé daffaires แปลว่าอุปทูต

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ประกอบด้วยประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์
เวลส์ และไอร์แลนด์ ภายหลัง พ.ศ. ๒๔๖๕ ประเทศไอร์แลนด์แยกตัวออกไป เหลือเพียง
ไอร์แลนด์เหนือที่ยังอยู่กับสหราชอาณาจักรต่อมาจนถึงปัจจุบัน
๕ ออสเตรีย
๖ สหราชอาณาจักรสวีเดนและนอร์เวย์ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๘ จึงแยกออกเป็นประเทศสวีเดน
และประเทศนอร์เวย์

เดนมาร์ก

โปรตุเกส

อิตาลี
๑๐ ฮอลแลนด์ หรือเนเธอร์แลนด์
๗๖

ตามที่ได้แนะน�ำไว้ก็ได้เลือกจัดตั้งโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่เกาะไผ่แล้ว
ถ้ า ได้ จั ด ตามสมควรขึ้ น แล้ ว การที่ ต กลงในข้ อ ๓ ก็ เ กิ น ความไป
เพราะข้ อ นี้ ผู ้ แ ทนราชาธิ ป ไตยต่ า งๆ ต้ อ งตกลงกั น และความที่ ไ ม่ มี ห มอ
พอใช้ในกรุงเทพฯ ก็เป็นการท�ำให้เสียเวลาหมอคนหนึ่งหรือสองคนที่เป็นหมอ
ที่เมืองนี้ จะเป็นที่ห้ามไม่ให้เข้าออกไปได้
ว่าในความเห็นของเขาเป็นความล�ำบากมากที่จะท�ำให้เป็นที่ยกเว้น
อย่างใดแก่กัปตันและผู้โดยสารชั้นที่หนึ่ง เพราะในเรือที่มีโรคอันนี้ติดอยู่แล้ว
เขาก็เป็นที่น่ากลัวจะติดโรคนั้น ทั้งคนเรือและผู้โดยสารอื่นๆ
เหมือนประเทศอื่นๆ บางที่จะได้ขอให้ท�ำที่อาศัยจ�ำเพาะเขาในเกาะ
เดียวกัน และห่างกับโรงพยาบาลซึ่งจะได้เป็นที่อาศัยของพวกกุลีและอื่นๆ
ข้าพเจ้าขอแสดงความนับถืออย่างสูงของข้าพเจ้าด้วย
(เซน) มิสเตอร์แคมเปอแมน
มินิศเตอเรซิเดนและกงสุลเยเนอราลเยอรมัน
๗๗

ศาลาว่าการต่างประเทศ
๒๗
วันที่ ๕ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]๑
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ เสนาบดีว่าการ
ต่างประเทศ แจ้งความมายังมิสเตอร์แกมเปอแมน มินิสเตอเรสิเดนและกงสุล
เยเนราลเยอรมัน
ด้วยข้าพเจ้าได้รับหนังสือของท่านลงวันที่ ๗ เดือนก่อนนี้ฉบับหนึ่ง
ทีท่ า่ นได้โปรดชีแ้ จงให้ขา้ พเจ้าทราบในข้อต่างๆ ซึง่ ท่านราชทูตและกงสุลทัง้ หลาย
ได้ประชุมกันเห็นชอบด้วยในการที่ราชาธิปไตยสยามได้จัดไว้ให้เป็นที่ป้องกัน
ไม่ให้กาฬโรคเข้ามาในกรุงสยาม
ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบใจของราชาธิปไตยในการที่ท่านและทูตกับ
กงสุลทั้งหลายได้เห็นชอบในการที่ได้กระท�ำไว้จนบัดนี้ และข้าพเจ้ามีความยินดี
ที่ได้กล่าวว่า ราชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเห็นชอบในข้อต่างๆ
ซึ่งได้ยินมาเป็นต้น และเหตุฉะนี้ก็ได้ร่างข้อบังคับส�ำหรับเจ้าพนักงานพยาบาล
ซึ่งข้าพเจ้าขอสอดผนึกส่งข้อบังคับมาฉบับหนึ่ง๒ ให้ท่านกับทูตและกงสุลทั้งปวง
ทราบด้ ว ย ท่ า นคงจะเห็ น ได้ ว ่ า ได้ อ นุ ญ าตให้ เ รื อ เข้ า มาจนถึ ง ปากน�้ ำ
แต่ถ้าหากว่า ได้เห็นมีกาฬโรคเกิดขึ้นในเรือ จึ่งให้ถอยออกไปที่เกาะไผ่ พักอยู่


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่อง
จัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๗๒ – ๗๓.

คือ “ข้อบังคับและค�ำสัง่ พิเศษของกรมพยาบาล ในเรือ่ งเรือทีม่ โี รคร้ายติดมาด้วย” แต่เมือ่
ส่งให้คณะทูตต่างประเทศพิจารณาแล้ว ก็ต้องมีการแก้ไขอีกหลายครั้ง ประกอบกับการระบาดใน
ฮ่องกงสงบลงใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ข้อบังคับนี้จึงยังไม่ได้ประกาศใช้ แต่ต่อมา พ.ศ. ๒๔๓๙ เกิดกาฬโรค
ระบาดในฮ่องกงอีกครัง้ และลุกลามไปถึงเมืองซัวเถาใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัฐบาลไทยจึงต้องออกประกาศ
ห้ามเรือมาจากซัวเถา และพัฒนาเป็นประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคในเวลาต่อมา
๗๘

จนกว่าเจ้าพนักงานจะมีค�ำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไป ข้อที่ ๓ มีว่า จะมีจดหมาย


ไปยังกงสุลที่เรือล�ำนั้นอยู่ในบังคับในทันที และเหตุฉะนั้น ข้อนี้สมกับค�ำขอ
ที่รวมไว้ในข้อที่ ๓ แห่งข้อความซึ่งได้ส่งมาให้ข้าพเจ้าเป็นต้น
อ้ า งถึ ง ข้อที่ ๔ อันมีว่า จะยอมให้กัป ตั นเรื อ และพวกคนโดยสาร
ชัน้ ทีห่ นึง่ ขึน้ ไปทีเ่ กาะปากน�ำ้ คอยพักอยูจ่ นกว่าจะมีคำ� สัง่ ต่อไปนัน้ กรมพยาบาล
ก็มคี วามเห็นว่า ถ้ามีกาฬโรคเกิดขึน้ ก็จะไม่ลำ� บากแก่เขาทีจ่ ะไปเกาะไผ่เหมือนกัน
ตามที่กงสุลเยเนราลฮอลันดาได้ขอมานั้น คือว่า จะให้จัดที่อาศัยอันวิเศษอยู่
ส� ำ หรั บ ตั ว เขาในเกาะนั้ น และห่ า งจากโรงพยาบาลซึ่ ง พวกกุ ลี อ ยู ่ นั้ น บ้ า ง
และกรมพยาบาลจึ่งมีใจให้กระท�ำดังนั้น
ข้าพเจ้าขอท่านได้โปรดชี้แจงกับทูตและกงสุลทั้งหลายทราบในเรื่อง
ความหนังสือนี้ และขอท่านได้ชี้แจงความชอบของเขาให้ข้าพเจ้าทราบตามเวลา
สมควร
ขอท่านจงรับค�ำแสดงความนับถืออย่างสูงของข้าพเจ้าด้วย
(เซ็นพระนาม) เทววงษวโรประการ
๗๙

รายงานประจ�ำปีชั้นแรก
ของเจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาลแห่งกรุงเทพฯ
คริสต์ศักราช ๑๘๙๗ [พ.ศ. ๒๔๔๐]๑

ข้อบัญญัติตั้งส�ำหรับกรมสุขาภิบาล
กรมสุขาภิบาลชั้นในนั้นอยู่ในบัญชาของเสนาบดีกระทรวงนครบาล
ได้ตั้งขึ้น ณ วันที่ ๑ เดือนธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๖ [พ.ศ. ๒๔๔๐]
โดยพระราชเสาวนียใ์ นสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินนี าถ ซึง่ ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน
ต่างพระองค์๒ ได้ทรงพระราชทานพระราชานุญาตเมื่อ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน
ร.ศ. ๑๑๖ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ พ ระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหมื่ น
นเรศรวรฤทธิ๓์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ๑ กัปตันเย. คาร์ตอง นายช่างใหญ่ ๑
และหมอปี. เอ. ไนติงเกล เจ้าพนักงานแพทย์ ๑ โดยเจ้าพนักงานและอ�ำนาจ
ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้จัดการสุขาภิบาลในอาณาเขต
กรุงเทพฯ๔


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๖/๒ หมอไนติงเกลส่งรายงานประจ�ำปีของ
กองแพทย์สุขาภิบาล (๒๑ ม.ค. ๑๑๖), หน้า ๑๕ – ๒๓, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๒ ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑
ระหว่างเดือนเมษายน - ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงมีพระบรมราชโองการให้สมเด็จพระศรีพัชรินทรา
บรมราชินีนาถ เป็นผู้ส�ำเร็จราชการแผ่นดิน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดากลิ่น ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงนครบาล เสนาบดี
กระทรวงโยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร

ตามพระราชก�ำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ รัตนโกสินทรศก ๑๑๖
๘๐

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล


๘๑

จ�ำนวนเดือนธันวาคมนี้ ได้จัดเจ้าพนักงานและออฟฟิซต่างๆ กับได้คิด


จ�ำนวนมูลฝอยซึ่งจะย้ายจากก�ำแพงพระนคร จัดหาที่ไว้มูลฝอย และสร้างที่เหล็ก
ส�ำหรับใส่มูลฝอย และข้อการต่างๆ โดยส�ำคัญที่จะใช้ในวิธีจัดการซึ่งได้แจ้งอยู่ใน
พระราชบัญญัติลงวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๖ ด้วยการจ�ำเป็นตกลงจะต้อง
จัดการนั้นโดยช้าก่อน เพราะจะให้ประชาชนเข้าใจวิธีของสุขาภิบาลและไม่ให้จัด
โดยวิธีอันรวดเร็ว เพราะหวังไม่ให้ประชาชนซึ่งไร้ทรัพย์ได้ความเดือดร้อน
…(เนื้อความเรื่องอื่น)...
ความป้องกันกาฬโรค
ด้วยเหตุซึ่งบังเกิดกาฬโรค ณ เมืองซัวเถา ซึ่งพวกจีน ณ เมืองนั้น
ได้เข้ามาท�ำกินในประเทศสยามเป็นอันมาก เมื่อเดือนเมษายนได้คิดเห็นว่าควร
จะจัดการห้ามปรามอันตรายโรคนี้ ไม่ให้มีเข้ามาในประเทศสยาม ถ้าแม้นโรคนั้น
บั ง เกิ ด ขึ้ น แล้ ว การค้ า ขายในประเทศนี้ ก็ จ ะเป็ น อั น ตรายทรุ ด โทรมลงมาก
และการห้ามปรามโรคนั้นก็ยากล�ำบากที่สุด คือ ณ ต�ำบลส�ำเพ็ง ซึ่งเป็นที่ส�ำคัญ
เป็นท�ำเลพวกจีนอยู่ เพราะฉะนั้นจึ่งได้มีโรงพยาบาลต�ำบลสะประทุมวันส�ำหรับ
รักษาสรรพโรค และหาสิ่งของซึ่งจะป้องกันโรคนั้นไว้ และจัดวิธีส�ำหรับเอาคน
ซึ่งเป็นโรคติดเนื่องมาแต่ผู้อื่น มาไว้ ณ โรงพยาบาลนั้น เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน
และวันที่ ๑ พฤษภาคม ราชาธิปไตยได้ประกาศพระราชบัญญัติห้ามเรือพ่อค้า
จากเมื อ งซั ว เถา ๑ จะต้ อ งอยู ่ ใ นทะเลระหว่ า ง ๙ วั น และจะต้ อ งตรวจ
ณ ที่เกาะไผ่ ต่อภายหลังจึ่งจะเข้ามาปากน�้ำได้ และ ณ ที่ปากน�้ำนั้นจะต้อง
ตรวจอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งที่ ๒ และข้อบังคับนี้เมื่อ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม
กงสุลอังกฤษได้ออกประกาศด้วย แต่เรือซึ่งมาจากเมืองฮ่องกงและหัวเมืองอื่นๆ


หมายถึง “ประกาศห้ามเรือมาจากซัวเถา” ลงวันที่ ๒๖ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖ และ “ประกาศ
แก้ไขและเพิ่มเติมเรื่องห้ามเรือมาจากซัวเถา” ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๖
๘๒

ของประเทศจีนจะต้องตรวจ ณ ที่ ๒ ต�ำบลเหมือนกัน แต่ไม่ต้องพักอยู่ ๙ วัน


ที่พักตรวจกาฬโรคเกาะไผ่นั้น หมอแอสด�ำซัน เป็นผู้ก�ำกับ โดยบัญชาของ
กระทรวงธรรมการ แต่หมอไนยติงเกลนั้นตรวจที่ปากน�้ำโดยรับอนุญาตของ
กระทรวงนครบาล โรงตรวจที่ เ กาะไผ่ นั้ น เห็ น ว่ า ไม่ ค ่ อ ยจะสมควรกั บ การ
โดยเหตุที่ไกลจากกรุงเทพฯ ประการหนึ่ง และความล�ำบากที่ส่งอาหารและน�้ำ
เมื่อกาฬโรคที่เมืองซัวเถาได้หยุดแล้ว ข้อพระราชบัญญัติของเดือน
เมษายนและพฤษภาคมได้เลิกถอน และโรงพยาบาล ณ เกาะไผ่ก็ได้เลิกถอน
และเรื อ พ่ อ ค้ า ต่ า งๆ ซึ่ ง บรรทุ ก คนโดยสารไม่ ต�่ ำ กว่ า ๒๐ คนจะต้ อ งให้
เจ้าพนักงานแพทย์ตรวจ ณ ที่ปากน�้ำ โดยข้อพระราชบัญญัติใหม่ลงวันที่ ๑๔
สิงหาคม และข้อบังคับของกงสุลอังกฤษลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม
การที่ จั ด พระราชบั ญ ญั ติ นี้ ใ ห้ ด� ำ เนิ น โดยความล� ำ บากอย่ า งยิ่ ง
เพราะเรือบางล�ำซึ่งเป็นของบริษัทสก๊อดติศออรีแอนเติล คิดอุบายหนีข้อบังคับ
และพระราชบั ญ ญั ติ นั้ น และกั ป ตั น เรื อ บางล� ำ ก็ มี นิ สั ย ยื่ น บั ญ ชี สิ น ค้ า เท็ จ
โดยจ�ำนวนคนโดยสารมาในเรือ และมีกัปตันเรืออยู่ ๑ นาย ซึ่งพูดจาหยาบช้า
ต่อเจ้าพนักงานแพทย์ (คือในเวลานั้นหมอไฮตเอต เป็นผู้ตรวจ)
ได้ฟ้องต่อกงสุลอังกฤษในเรื่องที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ ๓ ครั้ง และได้
ตัดสินชนะ ๒ ครั้ง แต่ได้เงินค่าปรับไหม ๕ บาท
เมื่อวันที่ ๔ และวันที่ ๑๑ ธันวาคม ข้อบังคับและพระราชบัญญัติ
ห้ามปรามเรือพ่อค้าได้เลิกถอน
เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๑ ธันวาคม มีจ�ำนวนเรือ ๕๓ ล�ำ
บรรทุกกุลีมีจ�ำนวนคน ๑๒,๐๕๓ คน ซึ่งได้ตรวจแล้ว แต่หามีกาฬโรคไม่ มีแต่
โรคอหิวาตกโรคอยู่ ๑ คน แต่โรคเรื้อนกุฏฐังนั้นมีอยู่มาก
(ลงชื่อ) ปี. เอ. ไนยติงเกล
๘๓

รายงานประจ�ำปีของกรมสุขาภิบาลกรุงเทพฯ
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๑๘๙๙ [พ.ศ. ๒๔๔๒]
ถึงวันที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๐ [พ.ศ. ๒๔๔๓]๑

ในการจัดการกับสุขาภิบาลกรุงเทพฯ นั้น จะต้องค�ำนึงอยู่เสมอว่า


ราชธานีของสยามแห่งนี้เป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยกว่า ๓๕๐,๐๐๐ คน เมืองนี้ตั้งอยู่
บริเวณเส้นละติจูดที่ ๑๓ องศาเหนือ และลองจิจูดที่ ๑๐๐ องศาตะวันออก
อยู่เหนือขึ้นไปจากปากแม่น�้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๕ ไมล์ และเกือบจะอยู่
ตรงกลางของพื้นที่ปลูกข้าวขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถผลิตข้าวได้เป็นจ�ำนวนมาก
แต่มีข้อจ�ำกัดในการขนส่งไปยังโรงสี และการขนลงเรือไปยังกรุงเทพฯ
ทั้ ง ยั ง ต้ อ งจ� ำ ไว้ ว ่ า สภาพเดิ ม ของกรุ ง เทพฯ เมื่ อ ๑๒๐ ปี ที่ แ ล้ ว
เป็ น เมื อ งที่ มี ก� ำ แพงล้ อ มรอบ มี ค ลองกระจายอยู ่ ทั่ ว ไปแทนที่ จ ะเป็ น ถนน
และบริเวณนอกก�ำแพงเมืองเป็นที่ราบต�่ำ ซึ่งในเวลาน�้ำขึ้นนั้น พื้นจะอยู่สูงกว่า
ระดับน�้ำเพียงไม่กี่นิ้ว ส่วนบริเวณที่ไม่ใช่พื้นที่นาหรือสวนผลไม้ก็จะเป็นป่าทึบ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่อยู่ระหว่างการเติบโตระยะที่สอง๒
นอกจากนี้ยังต้องเสริมด้วยว่า ประชากรในกรุงเทพฯ มีอยู่รวมกัน
แทบทุกเชื้อชาติในโลก แต่มีจ�ำนวนมากที่เป็นชาวจีน ซึ่งอพยพเข้ามาปีละ
หลายพันคน เพื่อรับจ้างท�ำงานหนักต่างๆ เช่น ท�ำงานในโรงสีข้าว โรงเลื่อยไม้
งานต่อเรือ และงานก่อสร้าง


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๓ ราชทูตเยอรมันขอรายงานกรมสุขาภิบาล
(๑ เม.ย. – ๒๒ มิ.ย. ๑๑๙), หน้า ๕ – ๑๓, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๒ พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเจริญเติบโต ๒ ระยะ ระยะแรกคือการเติบโตในแนวความยาว
หรือความสูง ส่วนระยะที่สองคือการเติบโตในแนวความหนา หรือความกว้างของล�ำต้น
๘๔

ท้ายที่สุดต้องจ�ำไว้ว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าสนธิสัญญา๑ พลเมือง


หลายพันคนอยู่ภายใต้เขตอ�ำนาจของกงสุลประเทศต่างๆ การบังคับใช้กฎหมาย
จึ ง มี อุ ป สรรคอย่ า งมากส� ำ หรั บ ผู ้ ที่ ไ ม่ มี ป ระสบการณ์ เรื่ อ งสิ ท ธิ ส ภาพนอก
อาณาเขตมาก่อน และท�ำให้การขับเคลื่อนประเทศเป็นไปด้วยความยากล�ำบาก
…(เนื้อความเรื่องอื่น)...
นับแต่ ค.ศ. ๑๘๙๖ [พ.ศ. ๒๔๓๙] ทุกๆ ปีจะมีกาฬโรคระบาด
เป็นเวลาหลายเดือนในฮ่องกงและเมืองท่าหลายแห่งของจีน ซึ่งมีการติดต่อ
ค้าขายและขนส่งพวกกุลีไปมากับกรุงเทพฯ มาก จึงมีความจ�ำเป็นที่จะต้อง
ออกกฎหมายกักกันเรือที่เข้มงวด แม้ว่าการเดินเรือค้าขายทั้งหมดจะอยู่ภายใต้
ร่มธงของต่างประเทศก็ตาม
หลั ง จากมี ค วามพยายามที่ ค ่ อ นข้ า งจะไร้ ผ ลหลายครั้ ง ในเรื่ อ งนี้
ถึงช่วงต้นปี ค.ศ. ๑๘๙๘ [พ.ศ. ๒๔๔๑] ก็มีการตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่
ซึ่งอยู่ในอ่าวสยาม ห่างจากปากแม่น�้ำเจ้าพระยาราว ๒๐ ไมล์ มีเจ้าพนักงาน
กักกันเรือคอยประจ�ำอยู่ และมีการใช้ระเบียบข้อบังคับตามค�ำแนะน�ำของ
อนุสัญญาเวนิซ ค.ศ. ๑๘๙๗ [พ.ศ. ๒๔๔๐]๒ อย่างเคร่งครัด
ความยากล�ำบากที่กรมสุขาภิบาลต้องเผชิญมีมากมาย ไม่เพียงเพราะ
ความห่ า งไกลของด่ า นกั ก กั น เรื อ และปั ญ หาทั่ ว ไปเกี่ ย วกั บ คลื่ น ลมเท่ า นั้ น
แต่ ยั ง รวมถึ ง ความไม่ เ ต็ ม ใจที่ ป รากฏชั ด ทั้ ง ของนายเรื อ และบริ ษั ท เดิ น เรื อ


Treaty Port หมายถึง เมืองท่าที่เปิดให้ค้าขายได้ตามที่ก�ำหนดไว้ในสนธิสัญญากับ
ต่างประเทศ ในกรณีของกรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าตามสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์
ที่ไทยท�ำกับอังกฤษ พ.ศ. ๒๓๙๘ เรียกสั้นๆ ว่า สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ต่อมามีการท�ำสนธิสัญญาแบบ
เดียวกันนี้กับประเทศอื่นๆ ด้วย
๒ เป็นอนุสัญญาที่เกิดขึ้นในการประชุมด้านสุขอนามัยระหว่างประเทศ (International
Sanitary Conference) ที่เมืองเวนิซ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๙ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการ
ป้องกันกาฬโรคโดยเฉพาะ
๘๕

ซึ่ ง ไม่ ย อมเข้ า ใจความจ� ำ เป็ น อย่ า งที่ สุ ด ของการบั ง คั บ ใช้ ก ฎระเบี ย บต่ า งๆ
มีหลายกรณีที่ด�ำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนได้ส�ำเร็จ แต่บทลงโทษนั้นเล็กน้อยมาก
จนเกิดค�ำถามขึ้นว่าในสถานการณ์เช่นนี้จะบังคับใช้กฎหมายต่อไปได้หรือไม่
ในสภาพปัจจุบันของกรุงเทพฯ การตรวจกักกันเรือซึ่งมาจากเมืองท่า
ที่มีการระบาดนั้น แทบจะเป็นแนวป้องกันเพียงอย่างเดียวของสยามในการ
ป้องกันกาฬโรค และถ้าแนวป้องกันนี้ล้มเหลวเพราะไม่ได้รับความร่วมมือจาก
พวกที่มีผลประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าพวกเขาจะมีนโยบายที่คิดสั้นอันเป็น
อุ ป สรรคอย่ า งไรก็ ต าม หายนะก็ จ ะบั ง เกิ ด ขึ้ น กั บ ประเทศนี้ อ ย่ า งแน่ น อน
และพวกนักเดินเรือเหล่านั้นก็จะเป็นผู้ที่สูญเสียมากที่สุดนั่นเอง
คุณประโยชน์ของกฎหมายกักกันเรือนั้นชัดเจน ซึ่งเห็นได้หลังจาก
บังคับใช้ใน ค.ศ. ๑๘๙๘ [พ.ศ. ๒๔๔๑] แล้ว มีการพบผู้ป่วยกาฬโรคหลายราย
ในพวกกุลีที่โดยสารเรือมาจากซัวเถา และพิสูจน์ชัดว่าเป็นอันตรายถึงชีวิต
หลังจากน�ำไปกักตัวไว้ที่ด่านกักกันเรือ
นับแต่นั้นก็ไม่พบผู้ป่วยในเรือที่เดินทางเข้ามาอีก แต่ใน ค.ศ. ๑๘๙๙
[พ.ศ. ๒๔๔๒] กาฬโรคระบาดจากเมืองอามอย๑ ไปถึงเมืองปีนัง และพบผู้ป่วย
หลายราย ที่ด่านกักกันเรือ ณ เกาะเซนต์จอห์นของสิงคโปร์
ในเวลานีม้ คี วามพยายามจะให้เรือทีม่ าจากสิงคโปร์ตอ้ งได้รบั การตรวจ
(เพี ย งแค่ ต รวจเท่ า นั้ น ) ที่ เ กาะไผ่ แต่ ก็ ท� ำ ให้ เ กิ ด การคั ด ค้ า นจากนายเรื อ
และบริ ษั ท เดิ น เรื อ ว่ า การกั ก กั น เรื อ แม้ เ พี ย งช่ ว งเวลาสั้ น ๆ ตามที่ จ� ำ เป็ น
ก็จะส่งผลเสียต่อการค้าขาย ท�ำให้ความพยายามนี้ต้องล้มเลิกไป


เมืองอามอย (Amoy) คนไทยโบราณอ่านว่า อ้ายมุ่ย ภาษาจีนฮกเกี้ยนอ่านว่า เอ้หมึง
ปัจจุบันคือเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน
๘๖

ถ้าในที่สุดกาฬโรคระบาดมาถึงประเทศนี้ ก็ควรจะบันทึกเป็นหลักฐาน
ไว้ว่ารัฐบาลได้พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อป้องกันโรคแล้ว ท่ามกลางเสียงคัดค้าน
เช่นนั้น
ขณะนี้มีโรงพยาบาลสองแห่งที่สามารถใช้เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยกาฬโรค
ได้ทุกเมื่อ และมีการเตรียมงานด้านอื่นๆ อย่างรอบคอบส�ำหรับห้ามปรามการ
ระบาดของโรค
ในเวลาเดียวกันนี้ กรุงเทพฯ ไม่มีอาคารที่คนแออัดและสกปรกโสมม
เหมื อ นกั บ แหล่ ง เพาะกาฬโรคในฮ่ อ งกง บอมเบย์ และกั ล กั ต ตา ยกเว้ น
บางบริเวณในส�ำเพ็งซึ่งเป็นย่านชาวจีน ดังนั้นจึงอาจพอมีหวังได้บ้างว่ากาฬโรค
จะไม่ลงหลักปักฐานมากนักในราชธานีของสยามแห่งนี้
กรุงเทพฯ ยังไม่มีการประปาหรือระบบระบายน�้ำทิ้งที่เหมาะสม แต่ก็
สามารถเทียบเคียงกับเมืองอื่นๆ ในโลกตะวันออกซึ่งมีข้อได้เปรียบเหล่านี้
เพราะการออกกฎหมายบั ง คั บ ใช้ ใ นเมื อ งท่ า สนธิ สั ญ ญาเหล่ า นั้ น เป็ น ไปได้
อย่างเชื่องช้ามาก
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
(ลงชื่อ) ปี. เอ. ไนติงเกล
๘๗

ส�ำเนาที่ ๒๗/๖๓๐ กรมสุขาภิบาล๑


๒๖ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๐๑ [พ.ศ. ๒๔๔๔]
กราบเรียน เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ อธิบดีกรมสุขาภิบาล
ข้าพเจ้าขอประทานกราบทูล “รายงานการระบาดของกาฬโรคใน
กลาสโกว์พร้อมด้วยข้อคิดเห็นพิเศษเกี่ยวกับโอกาสเกิดการระบาดในกรุงเทพฯ”
มาให้ท่านพิจารณา
เมื่อพิจารณาจากความส�ำคัญอย่างมากของเรื่องนี้ และข้อเท็จจริง
ที่ว่ากาฬโรคได้ระบาดในภูเก็ตแล้ว และมีผู้ป่วยกาฬโรคปรากฏขึ้นในสิงคโปร์
และบริเวณรอบๆ อยู่บ่อยครั้ง มิพักต้องกล่าวถึงสภาพการณ์ทางสาธารณสุข
ที่ อั น ตรายยิ่ ง ในฮ่ อ งกง ข้ า พเจ้ า ขอวิ ง วอนให้ ท ่ า นถื อ ว่ า รายงานฉบั บ นี้ เ ป็ น
“รายงานพิ เ ศษ” และควรจะกราบบั ง คมทู ล ทราบฝ่ า ละอองธุ ลี พ ระบาท
ให้ครบถ้วนโดยไม่ล่าช้า
รายงานฉบับนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อเตือนผู้มีอ�ำนาจเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวัง
ทีจ่ ะช่วยเหลือในการเตรียมรับมือกับการระบาดของกาฬโรค ซึง่ ข้าพเจ้าเชือ่ แน่วา่
จะเป็นชะตากรรมของกรุงเทพฯ ในอนาคตอันใกล้นี้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
ผู้แทนแพทย์สุขาภิบาล


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๐ การป้องกันกาฬโรค (๒๒ – ๒๔ ส.ค.
๑๒๐), หน้า ๑๑ – ๑๙.
๘๘

รายงานการระบาดของ “กาฬโรค” ในกลาสโกว์


พร้อมด้วยข้อคิดเห็นพิเศษเกี่ยวกับโอกาสเกิดการระบาดในกรุงเทพฯ

ต้นก�ำเนิดของการระบาด
เด็กทารกคนหนึ่งอาศัยอยู่กับยายในบ้านหลังเดียวกัน ทั้งคู่เกิดอาการ
ป่วยขึ้นอย่างฉับพลันในตอนเย็นวันที่ ๓ สิงหาคม [พ.ศ. ๒๔๔๓] เด็กคนนั้นตาย
ในวันที่ ๗ สิงหาคม ส่วนยายของเขาตายในวันที่ ๙ สิงหาคม แพทย์ระบุสาเหตุ
การตายของเด็กว่า “Zymotic Enteritis” หรือ “โรคท้องร่วงฤดูรอ้ น” ส่วนสาเหตุ
การตายของยายคือ “Acute Gastro-enteritis” หรือโรคกระเพาะและล�ำไส้
อักเสบฉับพลัน
หมายเหตุ ทั้งสองคนมีอาการทางล�ำไส้ และไม่ได้สงสัยว่าเป็นกาฬโรคเลย
หลังจากมีพิธี “Wake” หรือการชุมนุมเพื่อให้เกียรติผู้ตาย และ
งานรื่นเริงตามปกติในหมู่ผองเพื่อนซึ่งเป็นกลุ่มชนในระดับเดียวกับผู้ตายแล้ว
ก็ มี ก ารจั ด พิ ธี ศ พในวั น ที่ ๑๑ สิ ง หาคม ในตอนนี้ เริ่ ม มี ผู ้ ป ่ ว ยด้ ว ยอาการ
ที่น่าสงสัยจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มคนที่เคยไปยังบ้านของผู้ตาย ทั้งระหว่าง
ที่ เขาทั้ ง สองคนยั ง มี ชี วิ ต อยู ่ และระหว่ า งพิ ธี ชุ ม นุ ม ต่ อ มาในวั น ที่ ๑๒
สิงหาคม สามีของหญิงผู้ตายก็มีอาการป่วย และในตอนเย็นวันที่ ๑๙ สิงหาคม
เด็กหญิงอายุ ๑๐ ปีคนหนึ่งก็มีอาการป่วย และตายใน ๒ วัน โดยมีอาการ
ปอดอักเสบอย่างเห็นได้ชัด ในวันถัดจากที่เด็กคนนั้นมีอาการป่วย มารดาของ
เขาก็มีอาการป่วยด้วย (๒๐ สิงหาคม) บุตรชาย (อีกคนหนึ่ง) มีอาการป่วย
ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม และน้องชายต่างมารดาซึ่งเป็นเด็กอายุ ๓ ปี มีอาการป่วย
ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม
๘๙

ทุ ก คนที่ ก ล่ า วมาได้ รั บ การตรวจโดยแพทย์ ส องคน ซึ่ ง วิ นิ จ ฉั ย ว่ า


พวกเขาเป็นโรคติดเชื้อบางอย่างที่ไม่รู้จัก และแจ้งต่อเจ้าพนักงานสุขาภิบาล
เจ้าพนักงานสุขาภิบาลจึงให้ย้ายผู้ป่วยทุกคนไปยังโรงพยาบาลรักษาไข้ในวันที่
๒๕ สิงหาคม ในวันเดียวกันนี้มีผู้ป่วยรายอื่นที่ต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาไข้
โดยได้ รั บ การบอกว่ า เป็ น ไข้ ไ ทฟอยด์ แต่ เ มื่ อ ท� ำ การตรวจเชื้ อ แบคที เรี ย ใน
เลือดที่เจาะออกมาจากต่อมน�้ำเหลืองที่บวมโตของพวกเขาก็พบว่า ผู้ป่วยทุกคน
เป็ น กาฬโรค เจ้ า พนั ก งานสุ ข าภิ บ าลจึ ง ตรวจทุ ก คนที่ เ คยไปร่ ว มพิ ธี ชุ ม นุ ม
ทั้งของผู้ที่ตายในคราวแรก และเด็กหญิงที่ตายเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ปรากฏว่า
พบผู้ป่วยรายใหม่อีกสองราย เจ้าพนักงานสุขาภิบาลจึงให้ทุกคนที่เคยไปยัง
บ้านของผู ้ ติด เชื้ อย้ายไปอยู่ร วมกันในบ้านเฝ้าระวั ง เพื่ อ คอยสั ง เกตอาการ
แม้ จ ะยั ง มี สุ ข ภาพดี ก็ ต าม จากนั้ น ก็ พ บผู ้ ป ่ ว ยรายใหม่ ๆ เพิ่ ม ขึ้ น ในหมู ่ ผู ้ ที่
เคยติดต่อกับผู้ป่วยรายก่อนๆ โดยที่เจ้าพนักงานสุขาภิบาลไม่ทราบเรื่อง
ผู้ป่วยทุกรายติดโรคมาจากศูนย์กลางเดียวกัน คือบ้านของเด็กทารก
และยายที่ตายในคราวแรก
ถึงวันที่ ๒๐ กันยายน มีการตรวจพบผู้ป่วยกาฬโรคจ�ำนวน ๒๘ ราย
นับจนถึงวันที่ ๑๓ ตุลาคม จ�ำนวนการเจ็บป่วยเป็นดังนี้

จ�ำนวนผู้ป่วย ๒๘ ราย
จ�ำนวนผู้ตาย ๘ ราย
จ�ำนวนผู้ที่อยู่ในการดูแลรักษา ๒๐ ราย
อัตราการตาย ร้อยละ ๒๘.๕
๙๐

ต้นก�ำเนิดของโรค
ยังไม่แน่ชัด สามีของหญิงที่ตายในคราวแรกท�ำงานนั่งโต๊ะ ในที่ซึ่ง
ห่างไปสองไมล์ และไม่ได้เป็นโรคจนกระทั่งสมาชิกคนอื่นในครอบครัวมีอาการ
ป่วยกันหมดแล้ว นอกจากนี้ เขายังได้รับว่าจ้างให้ท�ำงานเฉพาะด้านบนเรือ
ที่ค้าขายระหว่างท่าเรือต่างๆ ในละแวกบ้าน ไม่พบว่ามีผู้โดยสารเรือล�ำใดๆ
ที่เดินทางไปเยือนบ้านของเขา และไม่มีหลักฐานของกาฬโรคปรากฏกับพวกหนู
ในละแวกบ้านของเขา
ขั้นตอนที่เจ้าพนักงานสุขาภิบาลได้ด�ำเนินการมีดังนี้
๑. ก�ำหนดให้บริเวณบ้านที่ติดเชื้อเป็น “บริเวณติดเชื้อ”
๒. ภายในบริเวณนี้จะมีการท�ำความสะอาดเป็นพิเศษ (ก) ถังขยะจะ
เททิ้งสัปดาห์ละสามครั้ง และล้างด้วยสารละลายคลอไรด์ปูนขาว๑ ทุกสัปดาห์
(เติมคลอไรด์ปูนขาวลงในสารละลาย ๑๒ แกลลอน จนมีความข้นเหมือนนม)
(ข) ลานหลังบ้านที่มีสภาพสกปรกจะล้างทุกคืนด้วยสารละลายคลอไรด์ปูนขาว
๑ ใน ๑๐๐
๓. ตรวจตราเขตพื้ น ที่ นั้ น เป็ น พิ เ ศษเพื่ อ ค้ น หาบ้ า นและเสื้ อ ผ้ า
ที่สกปรก ฯลฯ และบ้านที่มีผู้อยู่อาศัยแออัด
๔. บ้านที่ติดเชื้อ รวมถึงสถานที่ที่มี “ผู้สัมผัสกับผู้ป่วย” หากจ�ำเป็น
ก็จะต้องจัดการตามข้อ ๘.


แคลเซียมไฮโปคลอไรต์ (Calcium Hypochlorite)
๙๑

๕. จัดการตรวจทางการแพทย์ในเขตพื้นที่นั้น ผู้อยู่อาศัยในบ้านที่
ติดเชื้อและ “ผู้สัมผัสกับผู้ป่วย” ทั้งหมดจะได้รับการฉีดซีรัมป้องกันกาฬโรคของ
เยอร์ซิน๑ ส่วนคนอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียงจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันกาฬโรค
ของฮาฟไคน์๒ ผู้ที่สงสัยว่าเป็นกาฬโรคจะได้รับการดูแลโดยแพทย์ที่รับหน้าที่
ในด้านนี้
๖. เพิ่ ม กาฬโรคไว้ ใ นกฎหมายควบคุ ม โรคติ ด เชื้ อ (การแจ้ ง เหตุ )
ค.ศ. ๑๘๘๙ [พ.ศ. ๒๔๓๒]
๗. แจกใบปลิวเสนอให้บริการโดยเจ้าพนักงานแพทย์ทุกเวลา เมื่อไป
ขอรับบริการ ณ สถานีพลตระเวนที่ใกล้ที่สุด
๘. รายละเอี ย ดการย้ า ยผู ้ ป ่ ว ยและการฆ่ า เชื้ อ ในบ้ า นที่ ติ ด เชื้ อ
ดังต่อไปนี้ อยู่ภายใต้การก�ำกับดูแลของเจ้าพนักงานแพทย์เป็นการเฉพาะ
(ก) การย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล
(ข) การย้าย “ผู้สัมผัสกับผู้ป่วย” ไปยังบ้านเฝ้าระวัง
(ค) การฆ่าเชือ้ ในบ้านทีต่ ดิ เชือ้ โดยใช้ซลั เฟอร์ไดออกไซด์ชนิดเหลว
เป็นเวลา ๑๒ ถึง ๒๔ ชั่วโมง ปริมาณน�้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้คิดเป็นสัดส่วนโดยเทียบ
กับขนาดพื้นที่
(ง) หลังจากฆ่าเชื้อในบ้านแล้ว เจ้าพนักงานจะเข้าไปในบ้าน
เพื่ อ น� ำ เสื้ อ ผ้ า และสิ่ ง ของอื่ น ๆ ทั้ ง หมดออกมา แล้ ว น� ำ ไปแช่ ใ นสารละลาย


อเล็กซานเดอร์ เยอร์ซิน (Alexandre Yersin) แพทย์ผู้ค้นพบเชื้อกาฬโรค

วาลเดอมาร์ ฮาฟไคน์ (Waldemar Haffkine) นักจุลชีววิทยาผูค้ ดิ ค้นวัคซีนป้องกันกาฬโรค
๙๒

ฟอร์มาลีน ๒ เปอร์เซ็นต์ คือฟอร์มาลีน ๑ แกลลอน (สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์


๔๐ เปอร์เซ็นต์) ต่อน�้ำ ๕๐ แกลลอน แล้วน�ำมาห่อรวมกันในผ้าที่แช่สารละลาย
ชนิดเดียวกัน และน�ำไปยังบ้านซักล้าง เสื้อผ้าชิ้นใดที่ไม่สามารถต้มในน�้ำเดือด
อบไอน�้ำ หรือแช่สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ได้ จะถูกน�ำไปเผา
(จ) ฝาผนัง เพดาน พื้น เครื่องเรือน ฯลฯ ในบ้านที่ติดเชื้อ จะฉีด
พ่นสารละลายฟอร์มาลีน ๑ แกลลอน ต่อน�้ำ ๕๐ แกลลอน เช่นกัน
(ฉ) บ้านทุกหลังในบริเวณทีอ่ ยูอ่ าศัยทีต่ ดิ เชือ้ จะได้รบั การท�ำความ
สะอาดโดยเจ้าพนักงานสุขาภิบาล ซึ่งจะท�ำความสะอาดห้องโถง บันได และ
ตู้ต่างๆ ด้วยสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ หรือสารละลายคลอไรด์ปูนขาว
(ช) ลานบ้านที่ติดเชื้อจะล้างด้วยสารละลายคลอไรด์ปูนขาว
(ซ) ถังขยะจะล้างด้วยสารละลายชนิดเดียวกัน แล้วน�ำขยะออกไป
เผาในเตาเผาของเทศบาล
๙. แพทย์และเจ้าพนักงานทีต่ อ้ งท�ำงานกับผูป้ ว่ ยกาฬโรคจะได้รบั วัคซีน
ป้องกันกาฬโรคของฮาฟไคน์หรือซีรัมป้องกันกาฬโรคของเยอร์ซินไว้ล่วงหน้า
๙๓

ข้อคิดเห็นส่วนตนเกี่ยวกับการระบาดในกลาสโกว์
และค�ำแนะน�ำเรื่องวิธีป้องกัน ฯลฯ ในกรุงเทพฯ

๑. ผู้ป่วยกาฬโรคและโรงพยาบาลรักษาไข้
เมื่อได้ทราบข่าวการระบาดของกาฬโรค ข้าพเจ้า [นายแพทย์ไฮเอต]
ก็เดินทางไปกลาสโกว์ในทันที และโชคดีที่ได้พบผู้ป่วยรายแรกๆ ในโรงพยาบาล
รักษาไข้ หลังจากพวกเขาเข้าโรงพยาบาลเพียงสองวัน ข้าพเจ้าสามารถยืนยัน
ได้ว่าผู้ป่วยเหล่านั้นเป็นกาฬโรคที่แท้จริง จากประสบการณ์ที่ข้าพเจ้าเคยพบ
ผู้ป่วยโรคนี้มาก่อน ข้าพเจ้ามีข้อคิดเห็นว่าการระบาดของกาฬโรคที่กลาสโกว์
ไม่ค่อยจะร้ายแรงนัก และได้รับการยืนยันด้วยอัตราการตายเพียงร้อยละ ๒๘.๕
ซึ่งถือว่าต�่ำมากเมื่อเทียบกับในอินเดียและจีนที่มีอัตราการตายถึงร้อยละ ๖๐
ขึ้ น ไป นี่ อ าจเป็ น เพราะสภาพการดู แ ลรั ก ษาผู ้ ป ่ ว ยอย่ า งดี เ ยี่ ย ม หอผู ้ ป ่ ว ย
มี ข นาดใหญ่ แ ละระบายอากาศดี ม าก ทั้ ง ยั ง ได้ รั บ การดู แ ลจากแพทย์ แ ละ
พยาบาลเป็นอย่างดี
๒. แผนกสุขาภิบาล
ในเรื่องนี้แทบจะไร้ที่ติทีเดียว สมแล้วที่เป็นเมืองชั้นน�ำที่ก้าวหน้า
เรื่องการจัดเทศบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นายแพทย์ เอ. เค. ชาลเมอร์ส
(A. K. Chalmers) แพทย์สุขาภิบาลพยายามควบคุมป้องกันโรคอย่างไม่รู้จัก
เหน็ดเหนื่อยจนกว่าจะประสบความส�ำเร็จ ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือจาก
ผู้ช่วยแพทย์ นักจุลวิทยา และผู้ตรวจการสุขาภิบาลจ�ำนวนมากที่ได้รับการ
ฝึกฝนมาอย่างดีและมีประสิทธิภาพสูง ประสบการณ์ของข้าพเจ้าขณะอยู่ใน
กลาสโกว์ท�ำให้ข้าพเจ้าใฝ่ฝันถึงช่วงเวลาที่กรุงเทพฯ จะมีเจ้าพนักงานเช่นนี้บ้าง
๙๔

หาใช่มีแต่แพทย์สุขาภิบาลเพียงคนเดียว และกุลีที่ไม่รู้เรื่องอีกหลายคนซึ่งได้รับ
ค่าจ้างเพียงน้อยนิด ส�ำหรับท�ำตามค�ำสั่งของแพทย์สุขาภิบาล
๓. ต้นก�ำเนิดของการระบาดในกลาสโกว์
มีความส�ำคัญเป็นอย่างมากส�ำหรับสยาม เมื่อเราพิจารณาว่าผู้ป่วย
รายแรกๆ บางรายได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ชาวอังกฤษที่ได้รับการศึกษา
มาอย่างดี แต่ก็ยังไม่ทราบว่าเป็นกาฬโรคจนกระทั่งหลายวันผ่านไป ท�ำให้เรา
สามารถคาดได้ถึงความยากล�ำบากในการต่อสู้กับโรคนี้ในกรุงเทพฯ
หากกาฬโรคปรากฏขึ้นในกรุงเทพฯ ในหมู่ชนชั้นล่างชาวจีน สิ่งใด
ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้มีผู้ตายรายแรกๆ ราว ๕๐ รายหรือมากกว่านั้น ซึ่งเกิด
อาการโดยไม่ได้สงสัยว่าเป็นกาฬโรคเลย เพราะโรคไข้ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ
และโรคบิด มีการระบาดบ่อยครั้งในกรุงเทพฯ ดังนั้นหากไม่มีข้อมูลที่ชี้ชัด
ลงไปได้ กาฬโรคก็อาจถูกมองข้ามไป แม้จะมีนายอ�ำเภอและก�ำนันที่ชาญฉลาด
แต่ข้อเท็จจริงก็คือ บ่อยครั้งที่มีผู้พบคนก�ำลังจะตายด้วยโรคร้ายแรงบางชนิด
อย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ได้แจ้งต่อแพทย์สุขาภิบาล ดังเช่นในกลาสโกว์ ผู้ป่วย
สองรายแรกที่ เ กิ ด ขึ้ น ในบ้ า นหลั ง หนึ่ ง น� ำ ไปสู ่ ผู ้ ป ่ ว ยรายอื่ น ๆ อี ก ๒๘ คน
ที่กระจายกันอยู่ในบ้านหลังอื่นๆ เราจึงคาดได้ว่าเหตุการณ์เช่นนั้นก็อาจเกิดขึ้น
ในกรุงเทพฯ เหมือนกัน ในบ้านของชาวจีนที่มีผู้อยู่อาศัยอย่างแออัด
๔. ต้นก�ำเนิดของโรค
มีความส�ำคัญในหลายแง่มุม กาฬโรคระบาดมาถึงท่าเรือของกลาสโกว์
ได้ อ ย่ า งไรยั ง เป็ น ปริ ศ นาอยู ่ บริ เวณที่ เ กิ ด กาฬโรคนั้ น ห่ า งจากท่ า เรื อ มาก
เกินกว่าที่พวกหนูจะน�ำพาโรคไปได้ หรือมิเช่นนั้นก็ควรจะมีผู้ป่วยกาฬโรค
๙๕

ในละแวกใกล้เคียงท่าเรือด้วย ดังที่เราทราบแล้วว่าสามีของผู้ป่วยรายแรกท�ำงาน
บนเรือท้องถิ่นเท่านั้น ไม่ได้ท�ำงานบนเรือซึ่งมาจากเมืองอื่นที่มีกาฬโรคระบาด
การตรวจเรือที่เข้ามายังท่าเรือของกลาสโกว์ เห็นได้ชัดว่าไม่สามารถ
ป้องกันการระบาดเข้ามาของกาฬโรค ดังนั้นการตั้งด่านกักกันเรือในน่านน�้ำ
สยามโดยถือว่าเป็นวิธีที่แน่นอนในการป้องกันไม่ให้กาฬโรคระบาดมาถึงสยาม
นั้น เป็นการตั้งความหวังมากเกินไป ข้อเท็จจริงที่ว่ามีการตั้งด่านกักกันเรือ
อย่างระมัดระวังไม่ควรจะไปลดความจ�ำเป็นของการดูแลสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ
อย่างต่อเนื่อง บางครั้งอาจเป็นไปได้ที่คนผู้มีสุขภาพดีอาจน�ำพาเชื้อกาฬโรคไป
ระบาดได้ โดยที่ตนเองไม่มีอาการป่วยเลย
อีกประเด็นหนึ่งเป็นดังที่ข้าพเจ้าระบุไว้ในกรณีผู้ป่วยบางรายของ
กลาสโกว์ กล่าวคือโรคนี้อาจมีข้อบ่งชี้น้อยจนสามารถหลุดรอดจากการตรวจ
วิ นิ จ ฉั ย ไปได้ เว้ น แต่ ว ่ า ผู ้ ต รวจจะมี ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ กาฬโรคและคอยระวั ง
สอดส่องไว้ แต่ถึงแม้ผู้ป่วยจะมีอาการน้อยก็ยังสามารถแพร่โรคได้เหมือนผู้ป่วย
ที่ มี อ าการมาก ควรจ� ำ ไว้ ว ่ า ผู ้ ป ่ ว ยสองรายแรกตายจากอาการทางล� ำ ไส้
ส่ ว นผู ้ ป ่ ว ยรายที่ ส ามตายจากอาการปอดอั ก เสบ ทั้ ง สองรู ป แบบนี้ ถื อ เป็ น
ลักษณะการป่วยที่อันตรายและร้ายแรง ในแง่มุมของการระบาด

๕. สิ่งใดที่ควรท�ำในกรุงเทพฯ เพื่อป้องกันการระบาดของกาฬโรค

(๑) เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าเกาะทุ่งคา๑ ในพระราชอาณาเขต


เกิดกาฬโรคระบาดแล้ว จึงควรก�ำหนดให้เรือทุกล�ำที่เดินทางมายังกรุงเทพฯ
จะต้องจอดที่ด่านกักกันเรือเพื่อรับการตรวจโรค ไม่ว่าจะเคยผ่านการตรวจจาก
ด่านกักกันเรือที่สิงคโปร์มาแล้วหรือไม่ก็ตาม


เกาะทุ่งคา (Tongkah) หมายถึง เกาะภูเก็ต
๙๖

(๒) ข้าพเจ้าคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องด�ำเนินมาตรการอย่างเข้มแข็ง
ที่ภูเก็ตเพื่อระงับกาฬโรค มิเช่นนั้นจะระบาดไปยังบริเวณอื่นอย่างแน่นอน
(๓) ควรเร่งด�ำเนินงานด้านความสะอาดและสุขาภิบาลทั้งหมดใน
กรุงเทพฯ งานของกรมสุขาภิบาลไม่ควรจ�ำกัดอยู่แต่เฉพาะในก�ำแพงพระนคร
อีกต่อไป ขณะนี้กรุงเทพฯ ชั้นในสะอาดขึ้นกว่าเมื่อสามปีก่อนเป็นอย่างมากแล้ว
และข้าพเจ้าเห็นว่าหากกรมสุขาภิบาลได้รับอนุญาตให้ด�ำเนินงานอย่างเต็มที่
บริเวณอื่นๆ ของกรุงเทพฯ ก็จะสะอาดขึ้นเช่นเดียวกัน มีหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
ตีพิมพ์จดหมายจ�ำนวนมากซึ่งบอกเล่าเกี่ยวกับสถานที่สกปรกภายนอกก�ำแพง
พระนคร ตลอดจนความอันตรายในการเป็นแหล่งเพาะเชื้อกาฬโรค และข้าพเจ้า
ไม่สงสัยเลยว่าพวกทูตต่างชาติจะเป็นผู้ร้องเรียนเป็นรายต่อไป
ส่วนเรื่องเว็จ๑ ของราษฎร ข้าพเจ้าขอแนะน�ำอย่างยิ่งว่าควรล้างด้วย
น�้ำปูนทุกๆ สามเดือน และควรเพิ่มกุลีส�ำหรับท�ำการนี้โดยเฉพาะ
การก�ำจัดขยะมูลฝอยของครัวเรือนในปัจจุบันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ
มาก มีผู้ร้องเรียนมายังแพทย์สุขาภิบาลบ่อยครั้งเกี่ยวกับกลิ่นเหม็นซึ่งเกิดจาก
กองขยะมูลฝอย โดยเฉพาะที่หลังวัดเทพศิรินทร์ ข้าพเจ้าได้พยายามอย่างดีที่สุด
เพื่อระงับกลิ่นเหม็น แต่หากเราไม่มีเครื่องเผาขยะมูลฝอยอย่างเหมาะสมก็จะมี
ผู้ร้องเรียนอีกแน่นอน และการสุขาภิบาลก็จะตกอยู่ในอันตรายจากขยะมูลฝอย
เหล่านี้
หากท่านต้องการ ข้าพเจ้าจะขอเสนอแผนการติดตั้งเครื่องเผาขยะ
ที่ถนนตก บริเวณโรงฆ่าสัตว์ ประโยชน์ของการตั้งเครื่องเผาขยะในบริเวณนั้น
มีมากมาย เช่น (๑) สถานที่นั้นอยู่ห่างจากชุมชนบ้านเรือนที่ส�ำคัญ (๒) อยู่ใกล้
กับแม่น�้ำ จึงสามารถขนถ่ายขยะไปทางเรือได้ (๓) อยู่ใกล้โรงฆ่าสัตว์ จึงสามารถ

คือ ส้วม
๙๗

เผาขยะมูลฝอยและเครื่องในสัตว์จากโรงฆ่าสัตว์นั้นได้ทันที และไม่ท�ำให้เกิด
กลิ่นเหม็น
เครื่องเผาขยะเช่นนี้มีความจ�ำเป็นหากเกิดกาฬโรคระบาดในพวกหนู
ดังที่มักจะเกิดขึ้นก่อนการระบาดในคน บรรดาซากหนูที่ตายสามารถน�ำไปเผา
รวมกับขยะเพื่อท�ำลายเชื้อให้หมดไป
(๔) ควรแจกจ่ายบันทึก ในภาษาสยามให้ แ ก่ นายอ� ำ เภอ สารวั ต ร
พลตระเวน และเจ้าพนักงานที่ต้องท�ำงานใกล้ชิดกับราษฎร โดยระบุค�ำเตือน
ให้รายงานต่อกรมสุขาภิบาลทันทีเมื่อสังเกตเห็นพวกหนูมีอาการเจ็บป่วยหรือ
ตายจ�ำนวนมากผิดปกติ หรือในหมู่ราษฎรมีอาการเจ็บป่วยหรือตายจ�ำนวนมาก
ผิดปกติ หากท่านต้องการ ข้าพเจ้าสามารถเขียนค�ำอธิบายลักษณะอาการของ
กาฬโรคแบบง่ายๆ ส�ำหรับแจกจ่าย เพื่อช่วยเหลือนายอ�ำเภอ พลตระเวน ฯลฯ
(๕) หากมีบันทึกการเกิดและตายรายสัปดาห์ในกรุงเทพฯ ก็คงจะ
ช่ ว ยงานของแพทย์ สุ ข าภิ บ าลได้ อ ย่ า งมาก แน่ น อนว่ า นายอ� ำ เภอสามารถ
รวบรวมข้อมูลเหล่านี้ในเมืองอื่นๆ ที่ส�ำคัญ มาให้แพทย์สุขาภิบาลด้วย
(๖) ควรจั ด เตรี ย มน�้ ำ ยาฆ่ า เชื้ อ ที่ พึ่ ง พาได้ แ ละอุ ป กรณ์ ที่ จ� ำ เป็ น
ให้เพียงพอและพร้อมใช้งานในทันทีอยู่เสมอ น�้ำยาฆ่าเชื้อสองชนิดที่กล่าวถึง
ไปแล้ว คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฟอร์มาลดีไฮด์ จะต้องจัดเตรียมให้สามารถ
เก็บรักษาได้ดีในสภาพอากาศของกรุงเทพฯ น�้ำยาฆ่าเชื้อเหล่านี้ระเหยเป็นไอ
ได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ และมีประโยชน์มากในพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้ของเหลว
ได้โดยสะดวก ส�ำหรับการฆ่าเชื้อบนเรือนั้น ฟอร์มาลดีไฮด์มีประโยชน์มาก
เนื่องจากไม่กัดเซาะพื้นผิวที่เป็นโลหะ ควรจัดหาน�้ำยาฆ่าเชื้อเหล่านี้โดยไม่ล่าช้า
นอกจากนี้ยังควรอนุญาตให้แพทย์สุขาภิบาลจัดหาวัคซีนป้องกันกาฬโรคของ
ฮาฟไคน์ หรืออุปกรณ์ป้องกันต่างๆ จากห้องปฏิบัติการด้านกาฬโรคที่บอมเบย์
๙๘

ในทันที เพื่อใช้ส�ำหรับหมอ พยาบาล และบุคคลอื่นๆ ที่อาจต้องสัมผัสกับ


ผู้ติดเชื้อกาฬโรคเป็นเวลานาน
(๗) โรงพยาบาลกักกันกาฬโรค
โรงพยาบาลซึ่งตั้งขึ้นที่สระปทุมเมื่อหลายปีก่อนนั้น ปัจจุบันเกินจะ
ซ่อมแซมได้แล้ว และควรจะละทิ้งไป เพราะจะเป็นงานที่สิ้นเปลืองและยาก
ล�ำบากมากหากต้องสร้างก�ำแพงล้อมรอบเพื่อป้องกันผู้ป่วยหลบหนีออกจาก
โรงพยาบาล ส่วนการที่มีแหล่งน�้ำอยู่โดยรอบและในบริเวณโรงพยาบาลก็ไม่เป็น
เรื่องดี เนื่องจากแหล่งน�้ำนั้นจะติดเชื้อในเร็ววัน ประการสุดท้าย โรงพยาบาลนั้น
อยู่ห่างไกลจากส�ำเพ็ง ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อกาฬโรคขึ้นมาได้
ข้ า พเจ้ า ขอให้ ตั้ ง โรงพยาบาลกั ก กั น กาฬโรคในที่ ใ กล้ กั บ ส� ำ เพ็ ง ให้
มากที่สุด เพื่อคอยเฝ้าระวังและจัดการป้องกันในทันที และเตรียมพร้อมที่จะ
ตัง้ เพิงชัว่ คราวได้ตลอดเวลา ข้าพเจ้ายินดีทจี่ ะให้ความเห็นและค�ำแนะน�ำเกีย่ วกับ
เรื่องนี้ ...(ต้นฉบับไม่ชัด)...
(๘) ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา
ด้ ว ยสายพระเนตรอั น ยาวไกลของพระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหลวง
นเรศรวรฤทธิ์ ที่ทรงอนุญาตให้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา และทรง
ส่งเงินมาให้ข้าพเจ้าขณะอยู่ในประเทศอังกฤษเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ข้าพเจ้า
จึงได้จัดซื้ออุปกรณ์ ซึ่งคาดว่าจะส่งมาถึงกรุงเทพฯ ในเร็วๆ นี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า
ภายในหนึ่งเดือน ห้องปฏิบัติการนี้จะสามารถด�ำเนินงานได้เต็มที่ และหากมี
การตายที่น่าสงสัยเกิดขึ้นกับคนหรือหนู ข้าพเจ้าก็จะวินิจฉัยได้ว่าสาเหตุการตาย
นั้นคือกาฬโรคหรือไม่ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาอันมีค่า และสามารถวินิจฉัยผู้ป่วย
กาฬโรคได้โดยไม่ล่าช้า ท�ำให้อันตรายในการแพร่ระบาดลดน้อยลง
๙๙

(๙) ท้ายที่สุด ข้าพเจ้าขอเร่งเร้าอย่างยิ่งว่า ไม่ควรปล่อยให้สิ่งใด


มาขวางกั้นการปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลของท่าเรือ และคอยช่วยเหลือแพทย์
สุขาภิบาลในทุกๆ ทาง เพื่อให้กาฬโรคไม่ระบาดมาถึงกรุงเทพฯ แต่ข้าพเจ้าแน่ใจ
ว่ากาฬโรคจะระบาดมาถึงกรุงเทพฯ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง อันที่จริงข้าพเจ้ามอง
ไม่เห็นเลยว่าท�ำไมจะไม่เกิดการระบาดในกรุงเทพฯ ในเมื่อเกิดการระบาดแล้ว
ในฮ่องกง สิงคโปร์ ภูเก็ต หรือแม้แต่ตามแนวชายฝั่งมลายู ไม่ว่าเราจะมีความ
ระมัดระวังในการตรวจเรือที่ด่านกักกันเรือมากเพียงใด แต่กาฬโรคก็อาจเกิด
การระบาดได้ทุกเวลา เหมือนกับที่เกิดขึ้นในกลาสโกว์ ซึ่งมีแผนกสุขาภิบาลที่มี
ประสิทธิภาพมาก แต่ถ้าเราปฏิบัติตามแผนการที่ระบุไว้ในรายงานฉบับนี้ และ
ท�ำความสะอาดสถานที่สกปรกทั้งหมด ก็จะช่วยลดโอกาสที่กาฬโรคจะลุกลาม
และกลายเป็นสาเหตุการตายที่ถาวรในประเทศนี้
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
ผู้แทนแพทย์สุขาภิบาล
๒๕ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๐๑ [พ.ศ. ๒๔๔๔]
๑๐๐

ที่ ๑๒/๖๒๙ กรมสุขาภิบาล๑


๓๔
วันที่ ๒๑ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ [พ.ศ. ๒๔๔๔]
ขอเดชะฝ่าละอองธุลพี ระบาทปกเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน
กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยหมอแคมเบล ไฮเอต ผู้แทนแพทย์สุขาภิบาล มีหนังสือน�ำส่ง
รายงานพิเศษมายังข้าพระพุทธเจ้าฉบับ ๑ ว่าด้วยต้นเหตุที่เกิดกาฬโรคขึ้นใน
เมืองแกลศโก๒ เทียบเคียงเหตุผลที่เป็นการน่ากลัวจะเกิดได้ในกรุงเทพฯ จึ่งมี
ความเห็นแนะน�ำเพื่อจัดการป้องกันในกรุงเทพฯ และขอให้ข้าพระพุทธเจ้า
น�ำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ในรายงาน
ของหมอแคมเบล ไฮเอต หมวดแรกกล่าวถึงการที่เกิดมีคนป่วยโดยไม่สงสัยว่า
จะเป็นกาฬโรค และภายหลังรู้ได้ว่าเป็นกาฬโรค และกรมสุขาภิบาลในเมืองนั้น
ได้จัดการอย่างไรเมื่อได้ปรากฏว่าเกิดโรคแล้ว หมวดที่สองกล่าวถึงที่ตัวหมอ
ได้ไปตรวจตราด้วยตนเอง จึงเห็นว่าตามเหตุผลที่มีในเมืองแกลศโกนั้นก็จะเป็น
เหตุให้เกิดได้ในกรุงเทพฯ โดยไม่ทันรู้สึกอย่างเดียวกัน และจะไม่รู้ได้โดยแน่นอน
จะคิดแต่ว่าการตรวจเรือจะป้องกันพอก็รู้ไม่ได้แน่ หมวดที่สามเมื่อเป็นเช่นนั้น
จึงแนะน�ำให้จัดการส�ำหรับป้องกัน คือ
(ก) ตรวจกาฬโรคในเมืองภูเกตให้แข็งแรง อย่าให้ลุกลามมากมาใน
พระราชอาณาเขตได้
(ข) จัดการสุขาภิบาลให้แข็งแรงขึ้นในกรุงเทพฯ คือ


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๐ การป้องกันกาฬโรค (๒๒ – ๒๔ ส.ค.
๑๒๐), หน้า ๒๐ – ๒๗.

เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
๑๐๑

(๑) ไม่ควรจัดแต่เฉพาะในพระนคร
(๒) ตามเว็จที่ได้จัดแล้ว ควรล้างด้วยน�้ำปูนทุกสามเดือน และเพิ่ม
กุลีส�ำหรับท�ำการตามเว็จให้มากขึ้น
(๓) ควรมีเครื่องเผาขยะมูลฝอยขึ้นในที่ไกลๆ อย่างบางฅอแหลม
แล้วขนไปเผา โดยอ้างว่า เป็นการจ�ำเป็น เพราะหนูที่ตาย
ด้วยกาฬโรคซึ่งจะมีคนเอามาทิ้งจะได้เลยเผาเสีย
(๔) ควรสั่ ง ผู ้ มี ห น้ า ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและปกครองราษฎรในจั ง หวั ด
กรุงเทพฯ เช่น อ�ำเภอและกองตระเวน เป็นต้น ให้สังเกตโรค
ที่ราษฎรจะป่วยจะตายโดยอาการอันประหลาด และบอก
ข่าวให้แพทย์ทราบอย่างประเทศอื่น
(๕) ควรมียาทุกอย่างซึ่งเป็นเครื่องป้องกันการเช่นนี้ไว้ให้พร้อม
เพื่อที่จะใช้ได้ในเวลาต้องการโดยทันที
(๖) ควรมีโรงพยาบาลตามวิธีที่เมืองสิงคโปร์ได้ท�ำไว้ส�ำหรับรักษา
คนป่วยโรคเช่นนี้ ในที่ใกล้ส�ำเพ็งแห่งใดแห่งหนึ่งที่จะท�ำได้
ตามรายงานที่ แ พทย์ สุ ข าภิ บ าลได้ ก ล่ า วแล้ ว นี้ ก็ เ ป็ น การที่ ค วรจั ด
การที่เกี่ยวแก่หน้าที่ของการสุขาภิบาลที่ได้ท�ำอยู่แล้วบางอย่างนั้น ไม่สู้เป็นข้อ
ส�ำคัญนักในการที่จะเพิ่มเติมขึ้น ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้สั่งให้จัดการไปตามสมควร
แล้ว ดังเช่น หายาไว้ให้พร้อม เพิ่มการล้างเว็จและเติมคนท�ำการนั้น เหล่านี้เป็น
ของจะท�ำได้โดยทันที เพราะการในจังหวัดพระนครมีส่ิงของและทุนรอนพอท�ำ
ที่ที่จะขนขยะมูลฝอยไปเผานั้น ถ้าจะว่าก็เป็นของควรมี แต่ว่าตั้งแต่จัดการ
สุขาภิบาลมาในจังหวัดพระนคร ได้หารือกันในชัน้ ต้นว่าขยะมูลฝอยนัน้ จะควรจัด
๑๐๒

ประการใด ได้ตกลงโดยการทดลองเอาไปถมที่ลุ่มเพื่อจะให้เปลืองเงินน้อย
และคอยตรวจตราดูว่าจะเป็นอันตรายอย่างใดบ้าง ก็เรียบร้อยดีอยู่ หาได้มีเหตุ
แปลกประหลาดอย่างใดไม่ ดังมีปรากฏอยู่ในรายงานแพทย์ว่าเป็นประโยชน์ดี
และเปลืองค่าใช้สอยน้อยด้วย ภายหลังได้ขยายการขนขยะออกไปนอกพระนคร
แต่ทำ� เฉพาะริมถนนหนทาง คือมีเกวียนเทีย่ วรับ ดังทีไ่ ด้กราบบังคมทูลพระกรุณา
อยู่ในรายงานประจ�ำปีนั้นแล้ว การเททิ้งได้เอาอย่างไปจากพระนคร คือเลือก
หาที่ลุ่มถม ก็เป็นการตลอดมาได้ และการเรื่องเผาขยะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้เคย
หารือกับหมอไนติงเกลและมิสเตอร์อาเลกรี๑ อยู่ว่า ถ้าที่ที่ถมในพระนครเต็ม
และนอกพระนครก็กันดารเข้าแล้ว จะท�ำประการใด ก็ตกกันว่าจะต้องเผา
แต่ได้คิดเห็นพร้อมกันว่า ยังอีกหลายปีกว่าที่ลุ่มเหล่านั้นจะเต็ม จึงยังไม่ได้คิดว่า
จะเผาโดยวิธีอย่างไร เป็นแต่มิสเตอร์อาเลกรีบอกว่า ได้ข่าวว่าที่เมืองมิลัน๒
ประเทศอิตาลี ได้คดิ เตาเผาขยะอย่างง่ายขึน้ ด้วยวิธที จี่ ะยกไปเผาทีใ่ ดก็ได้โดยง่าย
ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้สั่งให้สืบหาแปลนและสอบสวนดูราคาเมื่อมิสเตอร์อาเลกรี
จะออกไปยุโรปครั้งนี้ ยังหาได้รับข่าวมาประการใดไม่ แต่บัดนี้แพทย์สุขาภิบาล
มาแนะน�ำให้ทำ� โดยเกีย่ วถึงกาฬโรคอันเป็นทีน่ า่ พึงกลัวทัว่ กัน ฉะนีข้ า้ พระพุทธเจ้า
ก็ยังหาได้วินิจฉัยสั่งไปประการใดไม่
ตามความเห็ น ของข้ า พระพุ ท ธเจ้ า เองยั ง เห็ น ด้ ว ยเกล้ า ฯ อยู ่ ว ่ า
พอป้องกันได้โดยจะยังคงใช้ถมที่อยู่อย่างเดิม แต่หาดินหรือเถ้ากลบเสียข้างบน
หรือจะโรยปูนขาวก็พอจะใช้ได้ เพราะที่ที่ทิ้งอยู่ทุกวันนี้ที่ใกล้ทางจะท�ำให้
มีปากเสียงก็แต่เพียงที่วัดพลับพลาไชยแห่งเดียว ด้วยพวกที่สั่นกาฬโรคมีอยู่ใน
แถบนัน้ บ้าง โดยทีส่ ดุ ถ้าจ�ำเป็นจะต้องเผาก็ยงั ไม่เป็นข้อส�ำคัญอันใด แต่ความเห็น


คาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) วิศวกรชาวอิตาลี ซึง่ เดินทางเข้ามารับราชการในเมืองไทย
สมัยรัชกาลที่ ๕
๒ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
๑๐๓

แพทย์ที่ให้ขยายการสุขาภิบาลออกนอกพระนครนั้น ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
วิตกเป็นล้นเกล้าฯ ด้วยเมื่อได้ทราบข่าวกาฬโรคในเมืองภูเกต เมื่อเวลาเสด็จ
พระราชด�ำเนินประพาสประเทศชวา๑ ก็ออกรู้สึกหนักอยู่หน่อยๆ จึงได้สั่งให้
เจ้าพนักงานให้ไปตรวจพอให้ทราบต้นเค้าของการโสโครกไว้ในต�ำบลส�ำเพ็งบ้าง
ได้ความว่าอุดมไปด้วยสิ่งโสโครกอันไม่ควรทูลพระกรุณามิได้ ด้วยเว็จเป็นต้น
ออกรู ้ สึ ก ท้ อ ถอยถึ ง ทุ น ที่ จ ะจั ด ก็ เ ลยยั ง ไม่ มี ค วามคิ ด ที่ จ ะจั ด อย่ า งใดต่ อ ไป
เพราะจะจั ด แต่ บ างอย่ า งบางสิ่ ง ก็ ไ ม่ ไ ด้ คลองก็ ตื้ น ท่ อ ก็ ไ ม่ มี การที่ จ ะท� ำ
ของเหล่ า นี้ พ อให้ ใช้ ไ ด้ สั ก คราวหนึ่ ง ไม่ ต ้ อ งถึ ง พร้ อ มบริ บู ร ณ์ ก็ จ ะเปลื อ งทุ น
ที่ไม่มีใครแลเห็น ยิ่งกว่าในพระนครหลายเท่า แพทย์สุขาภิบาลได้เคยปรารภ
อยู่แก่ข้าพระพุทธเจ้าในเวลาปรึกษาราชการเนืองๆ ถึงการที่จะจัดสุขาภิบาล
นอกพระนคร มีต�ำบลส�ำเพ็งเป็นต้น จะเปลืองทุนสักเพียงใด และไม่มีทาง
ที่ ค วรได้ อ ย่ า งเมื อ งอื่ น มาอุ ด หนุ น อย่ า งไร นอกจากภาษี โรงร้ า นที่ เ ก็ บ แต่
คนในบังคับสยาม ข้อนี้เป็นเหตุให้ระงับด้วยการหนักหน้าเรื่องทุน และเมื่อ
ได้รับรายงานแพทย์กล่าวขึ้นอีกฉะนี้ก็เป็นข้อบังคับที่ต้องคิดถึงการสุขาภิบาล
นอกพระนครว่าจะควรอย่างไร ข้าพระพุทธเจ้าได้ลองที่จะหาทางอีกอย่างหนึ่ง
ถ้าเมื่อจะต้องท�ำ คือ
(๑) กล่าวแนะน�ำชักชวนหาบริษัทให้รับตั้งเว็จในต�ำบลต่างๆ นอก
พระนครตามเขตที่ จ ะกะ รั ฐ บาลออกข้ อ บั ง คั บ ช่ ว ยเพี ย งให้
ชนทั้งปวงตั้งเว็จในบ้านของตนทุกๆ บ้าน ถ้าไม่ตั้ง ไปถ่ายที่เว็จ
บริษัทก็จะต้องเสียตามราคาที่จะคิดเก็บอย่างถูก ถ้าได้อย่างนี้
ก็เป็นการตัดข้อที่จะตั้งเว็จเป็นสาธารณะและทุนที่จะลงส่วนเว็จ
ไปอย่างหนึ่ง


หมายถึง การเสด็จประพาสชวาครั้งที่ ๓ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๔
๑๐๔

(๒) ขยะมูลฝอยก็เป็นท�ำนองเดียวอย่างเว็จ ถ้าจะมีบริษัทจัดถังไปตั้ง


และรับเหมา จะทุ่นทุนในเรื่องนี้ไปได้อีกอย่างหนึ่ง
(๓) ท่อน�ำ้ นัน้ ก็จำ� เป็นจะต้องบังคับตามแต่จะท�ำได้ ทุกๆ บ้านให้ทำ� เอง
และโดยความแนะน�ำของกรมสุขาภิบาล
(๔) คลองทุกแห่งจ�ำเป็นจะต้องออกทุนขุดให้ลกึ ด้วยทุนของรัฐบาลเอง
นี่เป็นของที่จะหาทางช่วยไม่ได้
แต่การที่จะจัดตามทางในข้อ ๑ และข้อ ๒ นั้น ถ้าไม่มีบริษัทใด
รับเหมาก็คงต้องท�ำเอง แต่คงต้องจัดอย่างวิธีเก็บเงิน อนึ่ง เกวียนที่เดินรับอยู่
ตามริมถนน หรือการทั้งปวงที่จัดให้ใช้โดยไม่มีผู้ใดต้องเสียเงินอยู่ในพระนคร
แต่เดิมนั้น ก็จะต้องเปลี่ยนไปตามวิธีภายนอกด้วยตามเวลาสมควร การทั้งปวงนี้
เป็ น ความคิ ด ชั้ น ต้ น ที่ เ พิ่ ง นึ ก หาทาง ยั ง หาได้ ห ารื อ ความเห็ น อื่ น ด้ ว ยไม่
แต่ข้าพระพุทธเจ้ารีบจะน�ำรายงานแพทย์ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบ
ฝ่าละอองธุลพี ระบาทก่อน ก็เลยตลอดมาตามความคิดทีเ่ ห็นด้วยเกล้าฯ ไว้ในชัน้ นี้
ด้วย จะควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ส่งส�ำเนารายงานผู้แทนแพทย์สุขาภิบาล และส�ำเนารายงานเจ้าพนักงาน
ไปตรวจต�ำบลส�ำเพ็งทูลเกล้าฯ ถวายเข้ามาด้วยแล้ว และข้าพระพุทธเจ้าได้ส่ง
รายงานนี้ไปถวายเสนาบดีกระทรวงนครบาลฉบับ ๑ ด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า เทเวศรวงษ์วิวัฒน์
๑๐๕

กองแพทย์สุขาภิบาล๑
กรุงเทพฯ
ในการที่จะยื่นรายงานประจ�ำปี [พ.ศ. ๒๔๔๔] ของแพทย์สุขาภิบาล
กรุงเทพฯ ครั้งที่ ๕ นี้ ข้าพเจ้ามีความเสียใจมากที่หมอไนติงเกล แพทย์เดิม
นั้นไม่อยู่ เพื่อจะได้ยื่นเอง โดยได้ออกไปเสียจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
ร.ศ. ๑๒๐ [พ.ศ. ๒๔๔๔] ข้าพเจ้าจึงได้ว่าที่แทนต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน
หมอไนติงเกลได้ส่งใบลาโดยคิดจะไม่กลับเข้ามากรุงเทพฯ และกระทรวงก็ได้
อนุญาตให้ออกตามประสงค์ ในเดือนธันวาคม ข้าพเจ้าจึงได้รับหน้าที่แพทย์
สุขาภิบาลมาจนทุกวันนี้
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
เมื่อหมอไนติงเกลได้มาเป็นเจ้าพนักงานตรวจโรงฆ่าสัตว์พาหนะและ
ความโสโครกที่มีอยู่ในนั้น จึงได้นึกถึงการที่จะขอให้มีกรมสุขาภิบาลขึ้นเพื่อจะ
ได้รักษาความสะอาดแห่งพระนคร และได้มีหนังสือแมมโมรันดัม๒ ยื่นต่อรัฐบาล
เป็นหลายครั้งหลายหน ต่อมาเมื่อต้นปี ๑๘๙๗ [พ.ศ. ๒๔๔๐] ได้เกิดกาฬโรค
อันร้ายแรงขึ้นที่เมืองฮองกง ที่เรียกว่า บิบูนิกเปลก๓ รัฐบาลจึงได้จัดแจงตามค�ำ
ที่หมออธิบายมานั้น แต่เดิมกรุงสยามหาได้ครั่นคร้ามหวั่นหวาดต่อโรคนี้ไม่ และ
ตัง้ แต่นนั้ มารัฐบาลจึงได้หารือหมอไนติงเกลในการทีจ่ ะป้องกันกาฬโรคมิให้เข้ามา
ในกรุงสยามได้ ใช่แต่เท่านั้น แม้เข้ามาได้ก็มิให้ลุกลามติดต่อกันไปได้ ตาม
ค�ำชีแ้ จงทีห่ มอมีมานัน้ หมอได้เตือน เป็นต้นในการทีจ่ ะให้ตงั้ โรงพักตรวจกาฬโรค


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๗ รายงานประจ�ำเดือนสุขาภิบาล ศก ๑๒๐
(ร.ศ. ๑๒๐ – ๙ ก.ย. ๑๒๑), หน้า ๑๐๐ – ๑๐๘, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.

Memorandum แปลว่า บันทึกข้อความ

Bubonic Plague แปลว่า กาฬโรคต่อมนํ้าเหลือง หรือเรียกโดยย่อว่า กาฬโรค
๑๐๖

ควอรันตีน และมีแพทย์ที่จะตรวจเรือ สิ่งของต่างๆ สัตว์พาหนะ และคนทั้งสิ้นที่


มีอยู่ในเรือที่มาจากหัวเมืองอันเกิดกาฬโรคนั้น และเป็นต้นในการที่จะรักษาบ้าน
ช่องของเราไว้ให้สะอาดด้วย เขายังได้กล่าวความโสโครกและเครื่องปฏิกูลต่างๆ
ตามที่มีอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งการที่ไม่มีเว็จส�ำหรับราษฎร ขยะมูลฝอย และอุจจาระ
ตามทีไ่ ด้เห็นทัว่ ไปในพระนคร และวิธที จี่ ะขนเครือ่ งปฏิกลู มูลฝอยทีม่ ตี ามบ้านและ
ตลาด ทั้งการที่ไม่มีท่อน�้ำเลย อันที่จริงแล้วในพระนครนี้มีเครื่องปฏิกูลมูลฝอยที่
อยูเ่ ป็นกองๆ โดยมาก มีหล่มทีข่ งั น�ำ้ เหม็นได้อยูห่ ลายแห่ง และเมือ่ ฤดูฝนก็ได้ไหล
ทั่วไปตามบ้าน ทั้งท�ำให้เกิดกลิ่นอันร้ายแรง และเมื่อแห้งกลับร้ายกว่านั้นเสียอีก
เมือ่ เสนาบดีกระทรวงนครบาลได้รบั หนังสือชีแ้ จงของหมอแล้ว ก็ได้นำ�
ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกพระราชบัญญัติ แล้ว
ให้จัดเกาะไผ่เป็นที่ส�ำหรับท�ำการด่านป้องกันโรคภัยอันตราย และเป็นที่ท�ำการ
ตรวจโรค และได้จัดเอาหมอเอดด�ำซันประจ�ำอยู่ที่นั่นเมื่อเกิดกาฬโรค เพื่อจะได้
คอยตรวจตรา เรือซึ่งออกจากเมืองฮองกงถึงน่านน�้ำสยามต้องรอพักอยู่กว่าจะ
ครบก�ำหนด ๙ วันเต็ม นับตั้งแต่วันที่ได้ออกมาจากท่า เมื่อแพทย์ตรวจแล้วและ
เห็นว่าไม่มีโรคจึงได้ให้ใบอนุญาตของด่านป้องกันโรคภัยอันตราย ให้เลยเข้ามาได้
ส่วนในกรุงเทพฯ นั้นได้ซ่อมแซมศาลาและได้ปลูกโรงขึ้นส�ำหรับใช้
ชัว่ คราวหนึง่ ทีป่ ระทุมวัน ทัง้ ได้จดั ให้มโี รงพยาบาลส�ำหรับพักคนทีป่ ว่ ยโดยโรคนัน้
ต่อมาไม่ช้าก็ได้จัดแจงการต่างๆ เพื่อเป็นทางบ�ำรุงความสะอาดแห่งกรุงเทพฯ ในปี
๑๘๙๗ [พ.ศ. ๒๔๔๐] ตามพระราชบัญญัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ และให้อยู่ในความปกครองของ
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยา
เทเวศรฯ เป็นผู้บัญชาการ และกัปตันการตองเป็นนายช่างซีตีอินเยอเนีย๑


City Engineer คือ ช่างใหญ่สุขาภิบาล
๑๐๗

ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงการทีก่ รุงเทพฯ เมือ่ ครัง้ นัน้ แล้ว แต่ควรจะกล่าวเป็น


สังเขปอีกเพื่อจะให้เห็นชัดว่าการเจริญขึ้นอย่างไรตั้งแต่มีกรมสุขาภิบาลขึ้น
โดยแต่เดิมไม่มีวิธีที่จะขนอุจจาระไปเท และไม่รู้จะไปเทในที่ต�ำบลใด
และวิธีที่จะท�ำลายขยะมูลฝอยซึ่งชาวบ้านเอามาเทไว้ใกล้ๆ บ้าน ทั้งถังส�ำหรับ
รองก็ไม่มี รางน�้ำข้างๆ ถนนและเว็จส�ำหรับราษฎรก็ไม่มี โรงฆ่าสัตว์และพัก
สัตว์พาหนะก็ไม่มี ที่ตามพระนครก็มีแต่กองขยะมูลฝอยและเครื่องปฏิกูลต่างๆ
ทั้งหล่มใหญ่ๆ ที่ขังน�้ำซึ่งมีกลิ่นอันร้ายแรงที่ไหลมาแต่บ้านหลายแห่ง ที่ข้างๆ
ถนนนั้นมีแต่บ้านและโรงแถวซึ่งไม่เป็นที่สะอาดแก่ตา
คนทีเ่ คยรูแ้ ละเห็นกรุงเทพฯ ในเวลานัน้ ก็จะเห็นได้วา่ เจริญขึน้ มากแล้ว
แม้เป็นแต่การที่เพิ่งเริ่มขึ้นเท่านั้นเอง ถึงอย่างไรก็ดี ถ้าจะได้ตรวจดูตามรายงาน
ปีนแี้ ล้วก็จะเห็นได้วา่ เจริญขึน้ มากและควรทีจ่ ะชมหมอไนติงเกล แพทย์สขุ าภิบาล
คนเก่าโดยมาก และการที่เขาลาออกจากราชการนั้นเป็นที่เสียหายแก่กรุงสยาม
มาก
กรมป้องกันกาฬโรค
มีหลายครั้งหลายคราวราชทูตแห่งรัฐบาลต่างประเทศได้ขอให้อธิบาย
วิธีการป้องกันกาฬโรคที่ใช้ในกรุงเทพฯ ในปัจจุบันนี้ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าเห็นว่า
ควรจะกล่าวพอเป็นสังเขป
คือการป้องกันกาฬโรคที่กรุงเทพฯ นี้ขึ้นอยู่ในกระทรวงนครบาลและ
เจ้าพนักงานในกองตรวจ มีแพทย์ใหญ่สุขาภิบาล ๑ แพทย์รองอีก ๒ คน มีทั้ง
คนใช้พร้อมทั้งคนเรือ กุลีและพลตระเวนพอแก่การด้วย ด่านป้องกันและตรวจ
กาฬโรคมี ๒ ต�ำบล ต�ำบลหนึ่งที่เกาะไผ่ ระยะทางจากสันดอนประมาณ ๓๐ ไมล์
และอีกต�ำบลหนึ่งที่โรงพักศุลการักษ์ที่เมืองสมุทปราการ ที่เกาะไผ่เป็นที่พัก
๑๐๘

คนป่วยหรือคนที่อยู่ในระหว่างสงสัยขึ้นพัก บนเกาะนี้มีบ้านอันสมควรส�ำหรับ
แพทย์พักอาศัยเมื่อเกิดกาฬโรค ทั้งมีที่พักพอให้คนต่างประเทศพักอาศัยอยู่ได้
๒ - ๓ คน มีทั้งโรงพยาบาลส�ำหรับคนต่างประเทศที่ป่วยเป็นไข้อยู่ได้ตั้งแต่
๑๒ ถึง ๒๐ คน โรงนี้เป็นโรงที่สร้างขึ้นใหม่ๆ และอย่างถาวรด้วย ในเกาะนี้ยังมี
โรงใหญ่ที่จะพักพวกจีนที่อยู่ในระหว่างสงสัยได้ประมาณ ๑,๕๐๐ คน พร้อมทั้ง
โรงพยาบาลที่จะพักคนไข้ที่เป็นคนในประเทศนี้ได้ ๓๐ คน มีพร้อมทั้งโรงพัก
พลตระเวน ปลูกด้วยไม้สกั หลังคามุงกระเบือ้ งเช่นแบบเรือนฝรัง่ และมีหอ้ งส�ำหรับ
พลตระเวนอาศัยได้ ๒๐ คน กับนายยาม ๑ คน
ห้องเอาไว้ของ
ในห้องนีม้ ถี งั น�ำ้ และเครือ่ งกลัน่ น�ำ้ เครือ่ งกลัน่ นีส้ ำ� หรับกลัน่ น�ำ้ เค็ม และ
พอแก่ความต้องการแห่งคนที่อยู่ในเกาะนั้น แม้เครื่องนี้จะได้เสียลงก็มีน�้ำจืดที่ได้
ขังไว้ส�ำรอง วิธีที่จะจัดการป้องกันกาฬโรคที่เกาะไผ่มีดังแจ้งต่อลงไปนี้
คือเมือ่ กาฬโรคได้เกิดขึน้ ในเมืองฮองกงหรือเมืองอืน่ ๆ พระเจ้าน้องยาเธอ
เสนาบดี ก ระทรวงนครบาล จึ ง ได้ น� ำ ความขึ้ น กราบบั ง คมทู ล พระกรุ ณ า
เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว แพทย์รองก็ได้ตระเตรียมคนเรือ กุลี และ
พลตระเวนไว้พรักพร้อมที่เมืองสมุทปราการ แต่พอได้รับค�ำสั่งก็ได้ออกไปพร้อม
ที่เกาะไผ่ ซึ่งเป็นที่ส�ำหรับท�ำการด่านป้องกันโรคภยันตราย และเป็นที่ท�ำการ
ตรวจโรคตามข้อบังคับในพระราชบัญญัติ และเรือล�ำหนึ่งล�ำใดซึ่งจะออกจาก
เมืองทีเ่ กิดกาฬโรคมาถึงทีเ่ กาะไผ่ตอ้ งแวะจอด เพือ่ แพทย์จะได้ลงไปตรวจ ต่อเมือ่
ตรวจแล้วเห็นว่าไม่มีคนป่วย หรือไม่มีความสงสัยว่ามีคนป่วยในเรือนั้นแล้ว
ก็จะให้ใบอนุญาต เพื่อเรือนั้นจะเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ต้องรอ
พักอยู่กว่าจะครบก�ำหนดเวลา ๙ วันเต็ม นับตั้งแต่วันซึ่งได้ออกมาจากท่า
ในระหว่างที่พักอยู่นั้น แพทย์จะลงไปตรวจอีกด้วย เมื่อเห็นว่าไม่มีโรคจริง
แล้วจึงจะอนุญาตให้เข้ามา
๑๐๙

ถ้าเจ้าพนักงานแพทย์จะได้มคี วามสงสัยว่ามีคนหนึง่ คนใดในเรือนัน้ ป่วย


เป็นโรค ก็จะส่งคนนั้นขึ้นมาพักบนเกาะ และจะอยู่ในความตรวจตราของแพทย์
ต่อเมื่อชันสูตรโดยวิธีที่เรียกว่า “แบกเตอรีออลอยิเกอล์”๑ และเห็นชัดว่าคนนั้น
เป็นโรคเปลกจริง ผู้โดยสารทั้งสิ้น ทั้งเครื่องพาหนะใช้สอยต่างๆ ที่มีอยู่ในล�ำเรือ
นั้นจะต้องส่งขึ้นบนเกาะ และแพทย์จะตรวจเรือ ลูกเรือ และเครื่องพาหนะของ
ลูกเรือ และเมื่อเห็นว่าไม่เป็นที่กันดารแล้วก็จะสั่งให้ฆ่าหนูเสีย แล้วจึงอนุญาตให้
เรือนั้นเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้ เมื่อเรือมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว ตัวข้าพเจ้าเองได้ลงไป
ตรวจทุกๆ วัน
ในการที่คนโดยสารขึ้นพักบนเกาะนั้น แพทย์ได้แยกเอาคนที่ป่วยไป
ไว้เสียในทีแ่ ห่งหนึง่ และคนทีอ่ ยูใ่ นระหว่างสงสัยก็อยูใ่ นทีแ่ ห่งอืน่ หาได้รวมกันไม่
ถ้าในก�ำหนด ๙ วันไม่มโี รคเกิดขึน้ ในหมูค่ นทีอ่ ยูใ่ นระหว่างสงสัย แพทย์จงึ ได้ตรวจ
เครื่องพาหนะใช้สอย เมื่อเห็นว่าไม่มีโรคจริงแล้วก็ได้ส่งคนเหล่านั้นไปยังต�ำบล
ที่เขาจะไป เพราะฉะนั้นเกาะไผ่นี้ใช้เป็นด่านตรวจกาฬโรคต่อเมื่อเกิดกาฬโรค
ที่เมืองใกล้เคียงกับกรุงสยาม เมื่อเวลาไม่มีกาฬโรคเกิดขึ้นก็มีพลตระเวนประจ�ำ
รักษาอยู่เสมอ เมื่อไม่มีกาฬโรคเกิดขึ้นในเมืองหนึ่งเมืองใดก็ใช้ด่านในเมือง
สมุทปราการเป็นที่ตรวจ เรือที่มาจากฮองกงหรือเมืองหนึ่งเมืองใดในประเทศจีน
เข้ามาถึงเมืองสมุทปราการก็มีแพทย์ลงไปตรวจเสมอ
มีบางครั้งบางคราวเมื่อเรือจ�ำเป็นจะทอดสมอที่เกาะสีชังหรืออ่างศิลา
เพือ่ จะได้ลำ� เลียงของออก นายเรือจ�ำจะต้องมีจดหมายมาชีแ้ จงว่า ตัง้ แต่เรือได้ออก
จากหัวเมืองนัน้ ๆ ถ้าไม่มผี ใู้ ดผูห้ นึง่ ในเรือทีจ่ ะถึงแก่กรรม หรือป่วยด้วยโรคบิวบูนกิ
เปลกก่อน จึงจะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานกรมศุลกากรที่จะล�ำเลียงของนั้น
ออกในที่ ๒ ต�ำบลนัน้ ได้ ใช่แต่เท่านัน้ ยังต้องมีจดหมายไปแจ้งต่อแพทย์สขุ าภิบาล


Bacteriological แปลว่า การตรวจเชื้อแบคทีเรีย
๑๑๐

ก่อนจะได้ล�ำเลียงของในเรือนั้นออก การที่จะบรรทุกหรือล�ำเลียงของออกจาก
เรือนั้น ต้องให้ถูกด้วยพระราชบัญญัติ และเรือนั้นหาจ�ำเป็นจะต้องมาจอดรอ
คอยแพทย์ตรวจที่เมืองสมุทปราการไม่ การที่ได้จัดแจงมานี้ไม่ให้ต้องเสียเวลา
แก่เรือ ทั้งไม่เป็นที่เสียแก่การป้องกันกาฬโรคด้วย บรรดาเรือทั้งสิ้นที่ได้รับ
ใบอนุญาตเข้ามายังกรุงเทพฯ แล้ว ก็ยังคงต้องอยู่ในความปกครองของแพทย์
สุขาภิบาลตามพระราชบัญญัติที่กล่าวชัดว่า แพทย์สุขาภิบาลมีอ�ำนาจที่จะตรวจ
ได้ตามสมควร
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๑๑๑

รายงานประจ�ำปีของแพทย์สุขาภิบาล
ร.ศ. ๑๒๑ (๑ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๒ – ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๓)๑
[ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๕]

รายงานประจ�ำปีที่ ๖ ของแพทย์สุขาภิบาลฉบับนี้ไม่มีเรื่องการพัฒนา
อันใหญ่โตแต่อย่างใด มีเพียงบันทึกการปรับปรุงสภาพสุขาภิบาลของกรุงเทพฯ
อย่างช้าๆ แต่มั่นคง
ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียด มีบางเรื่องที่ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะใส่ใจ
มากขึ้นในอนาคต
พระราชก�ำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ในปัจจุบันมีผลเฉพาะภายใน
ก�ำแพงพระนครเท่านั้น จึงควรขยายออกไปให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด
ข้า พเจ้ า แน่ ใจว่ า คงไม่เ ป็นการยากอันใดที่จะเจรจากั บพวกทู ตต่ า งประเทศ
เพื่ อ ให้ ค นในบั ง คั บ และพลเมื อ งของประเทศเหล่ า นั้ น ปฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย
ฉบับนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้รับจดหมายจ�ำนวนมากที่ขอให้ข้าพเจ้า
ช่วยแก้ไขสภาพสุขาภิบาลนอกก�ำแพงพระนคร ข้าพเจ้าได้ท�ำทุกทางที่ท�ำได้
เพื่อช่วยระงับความเดือดร้อนเหล่านั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วข้าพเจ้าเหมือนถูกมัดมือ
มัดเท้าไว้ เนื่องจากไม่มีอ�ำนาจส�ำหรับจัดการกับเรื่องเหล่านั้น ความจ�ำเป็นที่
จะต้องเพิ่มจ�ำนวนเจ้าพนักงานถือเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเทียบกับประโยชน์อัน
มหาศาลอันจะได้จากการขยายกิจการของกรมสุขาภิบาล
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๑๑ รายงานประจำ�ปีกรมสุขาภิบาล
(๒๕ ก.ย. ๑๒๒ – ๒ ม.ค. ๑๒๒), หน้า ๔๒ – ๔๖, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๑๑๒

การสุขาภิบาลท่าเรือ หรือแผนกป้องกันโรคร้าย
การตรวจเรือทุกล�ำที่มาจากฮ่องกงหรือเมืองท่าต่างๆ ของจีน ด�ำเนิน
ไปตามปกติที่ต�ำบลปากน�้ำ จนกระทั่งวันที่ ๑๖ มิถุนายน [พ.ศ. ๒๔๔๕] มีการ
ประกาศกั ก กั น เรื อ ที่ ม าจากฮ่ อ งกง เนื่ อ งจากเกิ ด กาฬโรคระบาดที่ เ มื อ งนั้ น
จึงต้องเปิดด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ และท�ำการตรวจเรือต่อไปจนกระทั่งวันที่ ๒๓
กันยายน จึงย้ายด่านตรวจเรือกลับไปที่ต�ำบลปากน�้ำ ในปีนี้มีเรือและผู้โดยสาร
ที่ได้รับการตรวจเพิ่มขึ้นพอสมควรดังตัวเลขต่อไปนี้
จ�ำนวนเรือที่ตรวจ จ�ำนวนผู้โดยสารที่ตรวจ
ร.ศ. ๑๒๐ [พ.ศ. ๒๔๔๔] ๒๑๐ ๒๗,๔๙๒
ร.ศ. ๑๒๑ [พ.ศ. ๒๔๔๕] ๒๖๒ ๓๕,๐๒๘
เพิ่มขึ้น ๕๒ ๗,๕๓๖

ในปีนี้ไม่พบผู้ป่วยกาฬโรคบนเรือเหล่านี้ แต่ถึงแม้ขณะนี้กาฬโรคจะยัง
ระบาดมาไม่ถึงกรุงเทพฯ ดังที่เราทราบกัน และถึงแม้ที่ซัวเถาซึ่งเป็นแหล่งที่มา
ของผู้โดยสารส่วนใหญ่ จะมีการตรวจโรคพวกกุลีก่อนที่จะลงเรือ แต่ก็ไม่อาจลด
ความจ�ำเป็นทีเ่ ราจะต้องตรวจเรือทุกล�ำทีม่ าจากฮ่องกงและเมืองท่าต่างๆ ของจีน
อย่างระมัดระวังที่สุด
ข้าพเจ้ามักจะได้ยินผู้กล่าวว่ากาฬโรคจะไม่มีวันระบาดในกรุงเทพฯ
ข้าพเจ้าหวังว่าค�ำปลอบใจเช่นนั้นจะเป็นจริง แต่เนื่องจากกาฬโรคเกิดการ
ระบาดเป็นประจ�ำในเกาะทุ่งคา ซึ่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากกว่ากรุงเทพฯ ราว
แปดองศา ทั้งยังเกิดการระบาดที่บอมเบย์ ซึ่งอยู่เหนือจากกรุงเทพฯ ราว
สี่องศา ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงมองไม่เห็นว่าท�ำไมกาฬโรคจะไม่ระบาดในกรุงเทพฯ
กาฬโรคจะไม่ระบาดอย่างฉับพลันในสถานที่หนึ่งๆ แต่ดูเหมือนจะอาศัยปัจจัย
๑๑๓

สี่อย่างที่ท�ำให้เกิดการระบาดอย่างร้ายแรง คือ (๑) การมีผู้ป่วยกาฬโรคเดินทาง


เข้าสถานที่นั้นซ�้ำๆ อยู่ร�่ำไป (๒) การติดเชื้อที่ผืนดิน บ้าน และพวกหนู ซึ่งติดเชื้อ
จากผู ้ ป ่ ว ยกาฬโรค (๓) มี ก ารแพร่ ก ระจายการติ ด เชื้ อ เป็ น ระยะเวลาหนึ่ ง
(๔) ผื น ดิ น ที่ เ หมาะส� ำ หรั บ การแพร่ ก ระจายเชื้ อ ผื น ดิ น เหล่ า นี้ ไ ด้ แ ก่ เ มื อ ง
ที่ไม่มีสุขาภิบาล บ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกันเกินไป และมีผู้อยู่อาศัยแออัด ทั้งยังมี
สิ่งโสโครกต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นพบได้ในส�ำเพ็ง
ดังนั้น สิ่งส�ำคัญที่ต้องท�ำเพื่อป้องกันกาฬโรคคือ (๑) ป้องกันไม่ให้
กาฬโรคระบาดมาถึง (๒) ถ้ากาฬโรคระบาดมาถึงแล้ว ก็ต้องท�ำให้การระบาด
ต่อไปเกิดขึ้นได้ยากหรือเกิดไม่ได้เลย โดยการปรับปรุงสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ
หากกาฬโรคระบาดอย่างมัน่ คงและทัว่ ไปในสถานทีห่ นึง่ แล้ว ดูเหมือนจะเป็นการ
ยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะขจัดการระบาดนั้น ในเรื่องนี้ข้าพเจ้าได้เห็นมา
ด้วยตนเองเมือ่ เดินทางไปยังฮ่องกงเมือ่ เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา ด้วยความกรุณาของ
แพทย์สุขาภิบาลที่นั่น ข้าพเจ้าจึงได้ตรวจสอบและติดตามการท�ำงานทั้งหมดของ
กรมสุขาภิบาลฮ่องกง และเห็นสิ่งที่พวกเขาท�ำเพื่อต่อสู้กับกาฬโรค ซึ่งแม้จะมี
เจ้าพนักงานและโรงพยาบาลจ�ำนวนมาก ทัง้ ยังมีการใช้จา่ ยเงินเป็นจ�ำนวนมหาศาล
แต่การระบาดในปีนกี้ ย็ งั เลวร้ายกว่าเมือ่ สองปีทผี่ า่ นมา และชาวยุโรปทีอ่ ยูใ่ นสภาพ
ดีจ�ำนวนมากก็ได้รับการระบาดด้วย
ความยากล�ำบากในการต่อสู้กับกาฬโรคนั้นมีมากมายหลายประการ
ทั้งความแออัดของชาวจีนและนิสัยที่สกปรก การติดเชื้อของพวกหนู และการที่
ทุกๆ วัน จะมีชาวจีนหลายร้อยคนเดินทางไปถึงฮ่องกง โดยมาจากเมืองท่า
ใกล้เคียงของจีนซึ่งมีกาฬโรคระบาดเป็นประจ�ำมานานแล้ว
๑๑๔

สิง่ ทีผ่ มู้ อี ำ� นาจในฮ่องกงหวังว่าจะท�ำได้กม็ เี พียงการบรรเทาให้กาฬโรค


อยู่ในการควบคุม และไม่ปล่อยให้เกิดการระบาดที่ร้ายแรงยิ่งกว่านี้
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๑๑๕

รายงานประจ�ำปีที่ ๗ ของแพทย์สุขาภิบาล
ร.ศ. ๑๒๒ (เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๓ – มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๔)๑
[ตรงกับเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๖ – มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖]

ดังที่ข้าพเจ้าเอ่ยถึงในจดหมายน�ำส่งแล้ว การแต่งตั้งแพทย์สุขาภิบาล
ซึง่ อุทศิ เวลาทัง้ หมดไปในการท�ำหน้าที่ และมีสำ� นักงานประจ�ำ จะช่วยให้สามารถ
วางแผนการที่เหมาะสมส�ำหรับสุขาภิบาลของกรุงเทพฯ ด้วยความหวังว่าจะ
ได้เห็นกิจการส่วนใหญ่ด�ำเนินไปในระหว่างที่ปฏิบัติงานอยู่ ดังนั้นข้าพเจ้าจะ
ขอกล่าวโดยสรุปถึงสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าควรจะเป็นเป้าหมายที่ต้องท�ำให้ส�ำเร็จ
หากจะจัดการสุขาภิบาลอย่างจริงจังในกรุงเทพฯ
ข้าพเจ้ามีหน้าที่ท�ำให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ ซึ่งข้าพเจ้าไม่คาดหวังให้
ด�ำเนินการทั้งหมดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเรายังไม่พร้อมจะด�ำเนินการทั้งหมด
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ข้าพเจ้าหวังว่าจะได้เห็นเราก้าวไปข้างหน้าทีละก้าว สองก้าว
จนกระทั่งเราบรรลุผลในบางสิ่ง เช่น การจัดสุขาภิบาลหัวเมืองที่ส�ำคัญต่างๆ
ในภาคตะวันออก และอาจรวมถึงภาคตะวันตกด้วย
เป้าหมายที่ควรบรรลุเพื่อด�ำเนินงานของกรมสุขาภิบาล
ตามแนวทางของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
(๑) การก�ำหนดขอบเขตที่กรมสุขาภิบาลจะด�ำเนินงาน
ในปัจจุบันไม่มีการก�ำหนดขอบเขตดังกล่าวอย่างเหมาะสม เนื่องจาก
แม้ว่ากรมสุขาภิบาลกรุงเทพฯ มีหน้าที่ด�ำเนินงานภายในเขตก�ำแพงพระนคร


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๑๕ ส่งรายงานกรมสุขาภิบาล ประจำ�ศก
๑๒๖ (๒๒ มี.ค. ๑๒๓), หน้า ๖๒ – ๗๐, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๑๑๖

และทางเหนือของพระนครบริเวณสวนดุสิต แต่ด้วยสถานการณ์บังคับให้ต้อง
ขยายการด�ำเนินงานไปทั่วทั้งกรุงเทพฯ บนฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำเจ้าพระยา
การดูแลรักษาถนน พร้อมทั้งการระบายน�้ำบนถนน และการเก็บขยะจากบ้าน
เรือนทีอ่ ยูร่ มิ ถนนสายหลัก ตกเป็นหน้าทีข่ องกรมสุขาภิบาล แต่การขาดกฎหมาย
ที่เหมาะสมก็ท�ำให้ไม่สามารถด�ำเนินการให้ก้าวหน้าไปได้ ยิ่งมีการก�ำหนด
ขอบเขตที่เหมาะสมและขยายกิจการตามนั้นได้เร็วเท่าใด ก็จะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย
มากขึ้นเท่านั้น
ข้าพเจ้าขอแนะน�ำให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตัดสินใจในเรื่องนี้ และ
ขอเสนอว่าสมาชิกของคณะกรรมการควรจะประกอบด้วย เสนาบดีกระทรวง
นครบาล รองเสนาบดีและอธิบดีกรมสุขาภิบาล ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล
ช่างใหญ่สุขาภิบาล แพทย์สุขาภิบาล และอธิบดีกรมแผนที่
งานของคณะกรรมการดังกล่าวไม่เพียงจะต้องก�ำหนดขอบเขตการ
ด�ำเนินงานนอกพระนครเท่านั้น แต่ยังต้องแบ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตสุขาภิบาล
ต่างๆ การแบ่งเขตด�ำเนินงานเช่นนัน้ จะช่วยในการก�ำกับดูแลสุขาภิบาลอย่างมาก
(๒) เมื่อได้ก�ำหนดขอบเขตการด�ำเนินงานในกรุงเทพฯ แล้ว สิ่งที่ควร
จะมีเป็นล�ำดับต่อไปคือส�ำมะโนประชากรที่อาศัยอยู่ในขอบเขตนั้น
การแจกแจงส�ำมะโนประชากรดังกล่าวมีประโยชน์หลายประการ
หากไม่มีส�ำมะโนประชากรก็ไม่สามารถค�ำนวณอัตราการเกิดและตาย และไม่
สามารถเปรียบเทียบกับเมืองอืน่ ๆ หรือเปรียบเทียบอัตราการตายภายในกรุงเทพฯ
ระหว่างช่วงเวลาต่างๆ ของปี หรือระหว่างเกิดโรคระบาด
๑๑๗

หากมีการท�ำส�ำมะโนประชากร ก็จะเป็นการง่ายขึ้นอย่างมากส�ำหรับ
ช่างใหญ่สุขาภิบาลที่จะค�ำนวณปริมาณน�้ำที่ต้องใช้ในการบริโภคประจ�ำวัน
ซึ่งในปัจจุบันท�ำได้เพียงประมาณการเท่านั้น และอาจสูงเกินไปหรือต�่ำเกินไปได้
โดยง่าย
การท�ำส�ำมะโนประชากรไม่จ�ำเป็นต้องละเอียดมากนัก แต่ควรแสดง
ถึงลักษณะของประชากรอันได้แก่ สัญชาติ เพศ อายุ อาชีพ สถานะโสดหรือ
สมรส จ�ำนวนสมาชิกในครอบครัว พร้อมทั้งจ�ำนวนการเกิดและจ�ำนวนการตาย
ตลอดจนที่อยู่อาศัย คือ ถนน ซอย หรือต�ำบล ในเขตสุขาภิบาล
(๓) ควรมีการประกาศใช้กฎหมายจดทะเบียนคนเกิดและคนตาย
กฎหมายดังกล่าว หากมีการบังคับใช้และด�ำเนินการอย่างเหมาะสม
ก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเหลือการสุขาภิบาลได้ดีที่สุดอย่างหนึ่ง
เมือ่ ทราบจ�ำนวนประชากรแล้วก็สามารถค�ำนวณอัตราการเกิดและตาย
เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับเมืองใหญ่อื่นๆ การบังคับให้แจ้งเมื่อมีการตาย
นอกจากจะเป็นประโยชน์ในทางตรวจจับอาชญากรรมแล้ว ยังเป็นประโยชน์
ต่อแพทย์สุขาภิบาลอย่างมหาศาล เนื่องจากท�ำให้แพทย์สุขาภิบาลทราบถึง
สภาพสุขาภิบาลที่แท้จริงของราษฎรที่อยู่ในความดูแลอยู่เสมอ
เมื่อพบว่าอัตราการตายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แพทย์สุขาภิบาลก็มี
หน้าที่สืบหาสาเหตุในทันที และบ่อยครั้งที่สามารถตรวจพบการเกิดโรคระบาด
ในชั้นเริ่มต้น หากไม่มีข้อมูลที่แน่นอนดังกล่าว โรคนั้นก็อาจระบาดอย่างมั่นคง
ในสถานที่นั้นไปแล้ว กว่าที่ผู้มีอ�ำนาจจะรับรู้ก็เป็นการสายเกินไปที่จะป้องกัน
มิให้โรคนั้นคร่าชีวิตคนเป็นจ�ำนวนมาก และท�ำความเสียหายต่อการค้าขาย
ของสยาม
๑๑๘

หากมีมาตรการดังกล่าว ก็อาจเป็นไปได้ที่จะตรวจพบผู้ป่วยกาฬโรค
รายแรก และสามารถป้องกันการระบาดเอาไว้ได้ ด้วยมาตรการเช่นนี้เองที่ท�ำให้
กลาสโกว์ เคปทาวน์๑ พอร์ตเอลิซาเบ็ธ๒ อเล็กซานเดรีย๓ ปีนัง และสิงคโปร์ ฯลฯ
สามารถระงับการระบาดของกาฬโรคได้ตั้งแต่ในชั้นเริ่มต้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กาฬโรคเป็นโรคที่สมควรจะจัดการรับมืออย่าง
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากต้องการป้องกันมิให้เกิดการระบาด จะต้อง
ด�ำเนินการอย่างเร่งด่วน มิเช่นนั้นจะเกิดการระบาดอย่างมั่นคงในสถานที่นั้น
เป็นเวลานาน ดังเช่นที่เกิดในจีน ฮ่องกง และอินเดีย ตลอดจนเกาะทุ่งคาใน
อาณาเขตของสยามเอง
(๔) ควรมี ก ารประกาศใช้ ก ฎหมายที่ บั ง คั บ ให้ แจ้ ง ความต่ อ กรม
สุขาภิบาล เมื่อพบผู้ป่วยโรคติดต่อทุกราย กฎหมายนี้ไม่ควรบังคับใช้เฉพาะ
ผู้ที่อยู่ภายใต้เขตอ�ำนาจของสยามเท่านั้น ข้าพเจ้าแน่ใจว่าสามารถขอความ
ร่วมมือจากพวกทูตต่างประเทศ ในการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ และกฎหมาย
สุขาภิบาลฉบับอื่นๆ โดยไม่ได้รับความล�ำบากมากนัก
ในการร่างกฎหมายพิเศษฉบับนี้ จะมีการก�ำหนดรายชือ่ โรคติดต่อทัว่ ไป
ที่ จ ะต้ อ งแจ้ ง ความ ส� ำ หรั บ สยาม ได้ แ ก่ ไข้ ท รพิ ษ อี สุ ก อี ใ ส อหิ ว าตกโรค
กาฬโรค ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์) และโรคหัด
โดยมากแล้ว โรคเหล่านี้เป็นที่รู้จักดีในหมู่ราษฎร และทุกโรคนั้นก็เป็น
ที่รู้จักของแพทย์ทั้งชาวสยามและชาวต่างชาติ ซึ่งรักษาพยาบาลโรคเหล่านี้อยู่


เคปทาวน์ (Capetown) เมืองท่าในประเทศแอฟริกาใต้

พอร์ตเอลิซาเบ็ธ (Port Elizabeth) เมืองท่าในประเทศแอฟริกาใต้

อเล็กซานเดรีย (Alexandria) เมืองท่าในประเทศอียิปต์
๑๑๙

ส่วนในหัวเมืองอื่นๆ แพทย์สุขาภิบาลต้องพึ่งความช่วยเหลือจาก
แพทย์ ค นอื่ น ๆ อย่ า งมาก ที่ จ ะต้ อ งคอยแจ้ ง เมื่ อ มี โรคติ ด ต่ อ ปรากฏขึ้ น ใน
หั ว เมื อ งเหล่ า นี้ ทุ ก คนที่ ป ฏิ บั ติ อ าชี พ ในทางแพทย์ และตรวจรั ก ษาผู ้ ป ่ ว ย
เป็นประจ�ำ จะต้องรายงานเมื่อพบผู้ป่วยโรคติดต่อ หากไม่รายงานจะต้อง
รับโทษปรับสถานหนัก
กฎหมายดังกล่าวสามารถร่างขึ้นอย่างง่ายดาย โดยดัดแปลงจาก
กฎหมายที่บังคับใช้ในสิงคโปร์
(๕) ควรร่างประกาศกรมสุขาภิบาลฉบับใหม่ซงึ่ เรียบง่าย และครอบคลุม
กิจการทั้งหมดของกรมสุขาภิบาล เพื่อใช้แทนประกาศกรมสุขาภิบาลในปัจจุบัน
ซึ่งใช้กับกรุงเทพฯ เท่านั้น หากประกาศกรมสุขาภิบาลฉบับใหม่เรียบง่ายและ
เข้าใจได้ ข้าพเจ้ามั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือจากทูตประเทศต่างๆ แน่นอน
ขณะนี้ข้าพเจ้าก�ำลังร่างประกาศดังกล่าว และจะเสนอให้ท่านพิจารณาในเร็ววัน
(๖) หากกฎหมายที่บังคับให้แจ้งความเมื่อพบผู้ป่วยโรคติดต่อมีผล
บังคับใช้ จะต้องจัดเตรียมโรงพยาบาลไว้รองรับผู้ป่วยโรคติดต่อเหล่านั้นด้วย
ในปัจจุบันไม่มีโรงพยาบาลดังกล่าว จึงล�ำบากอย่างยิ่งในการรับมือกับผู้ป่วย
โรคติดต่อ ข้าพเจ้าจ�ำเป็นต้องจัดเตรียมอาคารโดยแยกหลังหนึ่งในโรงพยาบาล
กรมพลตระเวน๑ ใช้ส�ำหรับผู้ป่วยโรคติดต่อ และก็มีแต่พลตระเวนเข้ามาเป็น
ผู้ป่วย เป็นเรื่องธรรมดาที่จะคาดได้ว่า มีผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษอีกจ�ำนวนมากในหมู่
ราษฎรทั่วไป ซึ่งควรส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลที่เหมาะสมจะเป็นการดีกว่า
รักษาเองที่บ้าน เพราะมีโอกาสจะแพร่เชื้อให้ผู้อ่ืนได้มาก เมื่อน�ำตัวผู้ป่วยไปไว้
ยังโรงพยาบาลแล้ว บ้านหลังนั้นก็สามารถท�ำการขจัดเชื้อได้อย่างถ้วนทั่ว ท�ำให้
โอกาสแพร่เชื้อมีน้อยลง


ปัจจุบันคือโรงพยาบาลกลาง ตั้งอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
๑๒๐

(๗) ในการรับมือกับผู้ป่วยโรคติดต่ออย่างเหมาะสม ควรมีเครื่องมือ


พ่นยาฆ่าเชื้อเตรียมไว้ ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงพยาบาลส�ำหรับโรคติดต่อ
เพื่อฆ่าเชื้อในผ้าปูที่นอน เสื้อผ้า และสิ่งของอื่นๆ ของผู้ป่วย
(๘) วิธีก�ำจัดขยะจากบ้านเรือนในปัจจุบันไม่สามารถท�ำต่อไปได้แล้ว
จึงควรจัดตั้งเตาเผาขยะส�ำหรับก�ำจัดขยะเหล่านี้อย่างเหมาะสม ทั้งยังสามารถ
ใช้เผาซากม้า วัว สุนัข หนู ฯลฯ อีกด้วย
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
การด�ำเนินงานในช่วงปีที่ผ่านมา
แผนกป้องกันโรคร้าย
ในปีที่ผ่านมามีการตรวจเรือทั้งสิ้น ๒๐๘ ล�ำ บรรทุกผู้โดยสารรวม
๓๙,๔๘๓ คน ซึ่งมาจากซัวเถา ๓๒,๐๔๙ คน มาจากไหโข่ว๑ ๔,๖๓๔ คน มาจาก
ฮ่องกง ๒,๗๐๖ คน และส่วนที่เหลือมาจากเมืองท่าอื่นๆ
เมื่อสองวันก่อนสิ้นปีงบประมาณที่แล้ว มีการประกาศกักกันเรือที่มา
จากฮ่องกง ก่อนหน้านั้นในขณะที่ข้าพเจ้าโดยสารเรือกลับมาจากการไปดูกิจการ
สุขาภิบาลที่ฮ่องกง เมื่อเดินทางมาถึงสันดอนปากแม่น�้ำก็มีผู้มาแจ้งข้าพเจ้าว่า
ชายคนหนึ่งมีอาการป่วย ข้าพเจ้าจึงตรวจอาการและประกาศว่าเขาเป็นกาฬโรค
หลังจากนั้นสามชั่วโมง ชายผู้นั้นก็ตายและได้รับการฝังศพในทะเล เรือล�ำนั้น
ได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาที่ต�ำบลปากน�้ำเพื่อจัดหาเสบียง เมื่อได้รับเสบียงแล้วจึง


ไหโข่ว (Haikou) เมืองหลวงของมณฑลไหหลำ� หรือไห่หนาน ในประเทศจีน
๑๒๑

กลับลงไปยังเกาะไผ่โดยติดธงกักกันเรือ เหตุการณ์นี้น�ำไปสู่การกักกันเรือที่มา
จากฮ่องกง และการย้ายด่านตรวจเรือไปตั้งที่เกาะไผ่ เมื่อถึงวันที่ ๑๖ พฤษภาคม
[พ.ศ. ๒๔๔๖] ก็มีประกาศว่าเมืองมะนิลาและอามอยเกิดกาฬโรคขึ้น และต้อง
กักกันเรือทุกล�ำที่มาจากเมืองท่าเหล่านี้เป็นเวลาเก้าวัน
หลังจากนั้นไม่พบผู้ป่วยกาฬโรครายอื่นๆ จึงได้ยกเลิกการกักกันเรือ
ในวันที่ ๓ กันยายน [พ.ศ. ๒๔๔๖] ส่วนแพทย์ประจ�ำด่านกักกันเรือและ
เจ้าพนักงานอื่นๆ ก็ได้ย้ายกลับไปยังต�ำบลปากน�้ำ เจ้าพนักงานที่เกาะไผ่นั้น
ประกอบด้วยแพทย์ ผู้รับใช้ คนเรือ กุลี ช่างที่รับผิดชอบเครื่องมือฉีดพ่นน�้ำ
และพลตระเวนอีกสิบสองคน ซึ่งมีนายสิบคนหนึ่ง พลตระเวนเหล่านี้มีหน้าที่
คอยช่วยรักษาความสงบเมื่อพวกกุลีลงจากเรือ ซึ่งไม่ใช่งานง่ายเลยเมื่อมีกุลี
กว่า ๗๐๐ คนอยู่บนเกาะในคราวหนึ่งๆ ทุกครั้งจะมีความยากล�ำบากในการ
น�ำพวกกุลีลงจากเรือเสมอ แต่เมื่ออยู่บนเกาะแล้ว พวกเขาดูจะมีความสุขกับการ
ได้พักอาศัยเป็นเวลาเก้าวัน เจ้าพนักงานได้จัดเตรียมข้าว น�้ำปลา ฯลฯ ไว้ในคลัง
อยู่เสมอ ส�ำหรับกรณีที่ต้องรับพวกกุลีขึ้นมาบนเกาะเป็นจ�ำนวนมาก
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๑๒๒

รายงานตรวจการพยาบาล๑
กรมพยาบาล โรง ต�ำบลตึกแดง (ฝั่งตะวันตกแม่น�้ำเจ้าพระยา)
๓๗
วันที่ ๒๒ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]

รายการที่ได้ตรวจเห็น รายการที่ผู้ตรวจได้สั่ง ความเห็นกรมพยาบาล


(ก) ตรวจบ�ำบัดโรคภัย (ก) ในการสืบโรคร้ายนี้ ควรบอกไปยังกระทรวง
ในเมือง วันนี้ได้ไปตรวจ เมื่อข้ามไปสืบถาม เมือง๒ ให้กรมสุขาภิบาล
ที่ต�ำบลบ้านแขกตึกแดง พวกแขกพากันปิดบัง จัดการป้องกันโรคร้าย
เพราะได้ทราบความว่า ไม่ใคร่จะบอก นี้เสีย และถ้าได้น�ำ
ได้เกิดโรคไข้แปลก โดยตรงเลย ปกๆ ปิดๆ ความกราบบังคมทูล
ประหลาดขึ้นอย่างหนึ่ง ด้วยพูดกันว่าที่เมือง พระกรุณาด้วยจะเป็น
ในชั่ว ๒ วันตายถึง บอมเบ รัฐบาลเคยซื้อ การดี เพราะเรื่องนี้
๔ คน ตามความที่ ที่บ้านตึกเผาเสียหมด อยูข่ า้ งเป็นการใหญ่มาก

สืบได้ดังมีแจ้งต่อไป ทั้งๆ หมู่ที่เกิดโรคเปล๊ก
วิวิธวรรณปรีชา๓
ในรายงานนี้ คือ ขึ้นนั้น สืบได้ความ
๒๒/๙/๑๒๓
อ�ำแดงเหลี่ยมอายุ แต่เท่านี้
ประมาณ ๓๕ ปี
ภริยานายแขกอ้วน
เป็นไข้ตัวร้อนจัด มีเป็น
เมล็ดกาฬผุดขึ้นตามตัว
อยู่ได้ ๓ วันก็ตาย

คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ ค/๙ แขกตึกแดงเป็นกาฬโรค (๒๓ ธ.ค. ๒๔๔๗).

คือกระทรวงนครบาล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจันทรทัตจุฑาธาร กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา อธิบดี
กรมพยาบาล
๑๒๓

รายการที่ได้ตรวจเห็น รายการที่ผู้ตรวจได้สั่ง ความเห็นกรมพยาบาล


เมื่ออ�ำแดงเหลี่ยมเป็น
ได้ ๒ วัน มามุตบุตรชาย
ก็เป็นขึ้นบ้าง อยู่ได้
๒ วันก็ตาย ในเวลาที่
ไปฝังมามุต บุตรหญิง
ของอ�ำแดงเหลี่ยมอายุ
ได้ ๕ ขวบก็ตายอีก
คนหนึ่ง พอรุ่งขึ้นแขก
คนใช้อีกคนหนึ่งก็ตาย
รวม ๒ วัน ตาย ๔ คน
ในครัวนี้ อาการที่เป็น
ขึ้นมีลักษณะเหมือนๆ
กันทั้ง ๔ คน และใน
วันนี้ ยังมีแขกเป็นไข้
อยู่อีกคนหนึ่ง
แล้วได้ความเพิ่มเติม
จากหมอแบล๊ดด๊อก๑
ในเรื่องนี้ว่า วันนี้ได้มี
แขกผู้หนึ่งชื่อแอกกุเรีย
มาจากตึกแดง มาซื้อยา
จากหมอแบล๊ดด๊อก



นายแพทย์ชาร์ลส์ ชรีฟ แบรดด๊อก (Charles Shreve Braddock) แพทย์ชาวอเมริกัน
ที่เดินทางเข้ามาในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการแพทย์ใหญ่
ของกระทรวงธรรมการ คนไทยเรียกว่า “หมอปลาดัก”
๑๒๔

รายการที่ได้ตรวจเห็น รายการที่ผู้ตรวจได้สั่ง ความเห็นกรมพยาบาล


บอกว่าต้องการ
ยาต่ า งๆ ส� ำ หรั บ ใช้
กันโรคเปล๊ก ด้วยโรค
เปล๊ก ได้เกิดขึ้นที่ตึก
แดงแล้ว อาการที่เป็น
เหมือนกับที่ได้เห็น
ที่เมืองบอมเบ

(ผู้ตรวจลงนาม) หลวงวิฆเนศประสิทธิวิทย์๑

หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์



พันตรี หลวงวิฆเนศร์ประสิทธิ์วิทย์ หรือนายแพทย์อัทย์ หะสิตะเวช นักเรียนแพทย์
รุ่นที่ ๑ ของโรงเรียนแพทยากร (โรงศิริราชพยาบาล) เมื่อสำ�เร็จการศึกษาแล้วรับราชการเป็นแพทย์
ในกรมพยาบาล สังกัดกระทรวงธรรมการ
๑๒๕

กรมสุขาภิบาล๑
กองแพทย์สุขาภิบาล
วันที่ ๒๒ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง
นครบาล ทราบฝ่าพระบาท
ข้าพเจ้ามีความเสียใจที่ต้องรายงานว่า มีผู้ป่วยที่อาการคล้ายกาฬโรค
เป็นอย่างมาก ปรากฏในกรุงเทพฯ แล้ว เมื่อวานนี้ข้าพเจ้าได้รับจดหมายจาก
รองเอดิเตอร์ของหนังสือพิมพ์สยามออบเซอร์เวอร์ [Siam Observer] ที่แจ้ง
ข้าพเจ้าว่า มีแขกอินเดียผู้หนึ่งบอกเขาเรื่องแขกอินเดียที่เป็นคนในบังคับของ
อังกฤษจ�ำนวนหลายคนตายที่ตึกใหม่ บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา
และสงสัยว่าน่าจะเป็นกาฬโรค ข้าพเจ้าจึงรีบไปขอหมายตรวจค้นจากกงสุล
อังกฤษและไปตรวจสถานที่นั้นในทันที ข้าพเจ้าพบว่าเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม
มีหญิงคนหนึ่งที่เป็นภรรยาของอิสไมล์อาลิไบห์นานา และบุตรชายอายุ ๑๑ ปี
ตายเพราะ “ความไข้” หลังจากมีอาการป่วยอยู่ ๘ วัน และเมื่อวานตอนเช้า
วันที่ ๒๑ ธันวาคม บุตรชายอีกคนที่อายุ ๘ ปีก็ตายด้วย ผู้ตายทุกคนถูกฝัง
แล้ว มิตรสหายของพวกเขาให้การว่าผู้ตายไม่มีอาการของกาฬโรคเลย และยัง
ว่าพวกเขารู้จักอาการของกาฬโรคเป็นอย่างดี หลังจากสอบถามแล้วข้าพเจ้าได้
ทราบว่ามีชายอีกสองคนที่มีไข้ จึงไปตรวจร่างกายของพวกเขาทันที ชายที่ชื่อ
อาเมดอิสไมล์ฮาสมีไข้ ๑๐๐.๘ องศา [ฟาเรนไฮต์] ลิ้นเปื้อนเป็นละออง และมี
รอยบวมบริเวณไข่ดันข้างขวา เขาเป็นชายแก่อายุประมาณ ๖๐ ปี รอยบวมนั้น



แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๓ – ๔.
๑๒๖

คล้ายกาฬโรคอย่างมาก ส่วนชายอีกคนหนึ่งมีไข้มาก่อนหน้านี้ แต่อาการ


ดีขึ้นมากแล้ว เช้าวันนี้ข้าพเจ้ากลับไปยังตึกใหม่อีกครั้ง และพบว่ามีคนตาย
เพิ่มอีกสองคน คนหนึ่งเป็นเด็กชายอายุ ๑๓ ปี เป็นบุตรของฮูเซน และถูกฝัง
แล้ว ส่วนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กชายอายุ ๑๔ ปี เป็นบุตรของโมฮามัดเองคาเรีย
และยังไม่ถูกฝัง ข้าพเจ้าต้องใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อขอให้ญาติเปิดรักแร้
ของผู้ตายให้ดู และพบว่าไม่มีรอยบวม ญาติทุกคนยังสาบานด้วยว่าผู้ตายไม่มี
รอยบวมในที่อื่นๆ
ข้าพเจ้าเห็นว่าโรคระบาดนี้น่าสงสัยมาก เพราะภายในเวลาสามวัน
มีคนตายแล้วห้าคน หลังจากมีอาการไข้เพียงระยะสั้นๆ และชายผู้หนึ่งที่ยัง
ไม่ตายก็มีอาการคล้ายกาฬโรค
ดังนั้น เราต้องใช้มาตรการที่จ�ำเป็นในทันที เพื่อหยุดยั้งการระบาด
มิให้ลุกลามออกไป และข้าพเจ้าขอแนะน�ำให้ด�ำเนินการต่อไปนี้ในทันที
(๑) สร้างโรงพยาบาลกักกันกาฬโรคในทันที ข้าพเจ้าจะเสนอแผนการ
สร้างและประมาณการค่าใช้จ่าย
(๒) จัดเตรียมเจ้าพนักงานและกุลเี พือ่ ท�ำงานป้องกันกาฬโรคโดยเฉพาะ
ข้าพเจ้าจะเสนอประมาณการค่าใช้จ่าย
(๓) อนุญาตให้ขา้ พเจ้าส่งโทรเลขเรียกตัวผูช้ ว่ ยแพทย์สขุ าภิบาลในทันที
เพราะข้าพเจ้าไม่สามารถท�ำงานธรรมดาและงานป้องกันกาฬโรคเป็นพิเศษได้ดว้ ย
ตัวคนเดียว
(๔) ประกาศใช้กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนคนตายในทันที
(๕) อนุมัติงบประมาณจ�ำนวนหนึ่งให้เพียงพอส�ำหรับค่าใช้จ่ายในการ
ด�ำเนินงานที่จ�ำเป็น
๑๒๗

การเรือ่ งนีจ้ ะล่าช้าไม่ได้ กงสุลอังกฤษก�ำลังเตรียมออกหมายให้ขา้ พเจ้า


มีอ�ำนาจพอส�ำหรับจัดการกับคนในบังคับของอังกฤษ ข้าพเจ้ายังจะขอให้กงสุล
ประเทศอื่นๆ ออกหมายแบบเดียวกันให้ข้าพเจ้าด้วย
วันนี้ข้าพเจ้าจะส่งโทรเลขไปยังบอมเบย์เพื่อขอซีรัมป้องกันกาฬโรค
จ�ำนวนมาก ในขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าจะคอยเฝ้าระวังย่านตึกใหม่อย่างใกล้ชิด
และเมื่อข้าพเจ้าได้รับหมายดังกล่าวแล้ว ข้าพเจ้าจะออกตรวจไปทีละบ้าน
ข้าพเจ้าได้สั่งพวกพลตระเวนให้รายงานการตายที่น่าสงสัยทุกรายในย่านนั้นแล้ว
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๑๒๘

ที่ ๒๖/๑๔๒๓๘ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๒๓ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยเมื่อวานนี้เวลาบ่าย หมอไฮเอตแพทย์สุขาภิบาลยื่นรายงานซึ่งได้
ตรวจโรคในกรุงเทพฯ เหมือนจะเป็นไข้กาฬโรคต่อข้าพระพุทธเจ้า มีใจความว่า
เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม เวลาเช้า หมอได้รับหนังสือจากรองเอดิเตอร์หนังสือพิมพ์
สยามออบเซอร์เวอร์แจ้งความให้ทราบว่า มีชาวอินเดียนคนหนึง่ บอกข่าวแก่เขาว่า
พวกแขกสัปเยกต์อังกฤษ๒ ที่ตึกใหม่ (หรือต�ำบลตึกแดง) ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตก
ล�ำน�้ำเจ้าพระยา ป่วยเป็นโรคน่าสงสัยว่าจะเป็นกาฬโรค ตายเป็นหลายคน หมอ
จึ่งได้ไปขอหมายตรวจค้นในบ้านแต่กงสุลอังกฤษ ไปตรวจยังที่ต�ำบลนั้นในทันที
จึ่งไต่สวนได้ความว่า เมื่อวันที่ ๒๐ เดือนนี้ อ�ำแดงเหลี่ยมภรรยาแขกอิสไมล์
อาลิไบห์นานา กับมหมุดบุตรชายอายุ ๑๑ ขวบ ป่วยเป็นไข้มาได้ ๔ วัน ตายใน
วันนั้นทั้ง ๒ คน และในเวลาเช้าวันที่ ๒๑ บุตรชายอ�ำแดงเหลี่ยมอายุ ๘ ขวบ
ที่ป่วยในหมู่เดียวกันด้วย ตายอีกคน ๑ แต่ศพนั้นเอาไปฝังเสียแล้วทั้ง ๓ ศพ
หมอไม่ได้ตรวจ หมอไล่เลียงสอบสวนเพื่อนฝูงที่พยาบาลก็แจ้งว่าไม่มีอาการ
เป็นไข้กาฬโรค ครั้นสอบสวนถึงคนป่วยต่อไป จึ่งได้ความว่ามีแขกป่วยอยู่อีก
๒ คน หมอได้ไปตรวจเห็นว่า แขกอาเมดอิสไมล์ฮาสอายุได้ ๖๐ ปี มีอาการ
ตัวร้อน ปรอท ๑๐๐ ดีกรี มีเศษส่วน ๘ ลิ้นเปื้อนเป็นละออง และไข่ดันข้างขวา
บวมเป็นอาการปรากฏคล้ายกาฬโรค แขกอีกคนหนึ่งก็เป็นไข้แต่อาการทุเลาแล้ว


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๕ – ๑๐.

หมายถึง คนในบังคับอังกฤษ
๑๒๙

ครั้นวันที่ ๒๒ ธันวาคม เวลาเช้า แพทย์สุขาภิบาลไปตรวจที่ตึกใหม่อีก


ได้ความว่า มีเด็กแขกตายอีก ๒ คน คือ บุตรชายแขกฮูเซน อายุได้ ๑๓ ขวบ
หนึ่งศพฝังเสียแล้ว กับบุตรชายแขกโมฮามัดเองคาเรียคน ๑ อายุได้ ๑๔ ขวบ
หมอได้ตรวจศพ เปิดรักแร้ดูก็ไม่บวม และญาติของเด็กสาบานว่าเด็กนั้นไม่ได้
บวมในที่แห่งใดๆ
หมอจึ่งเห็นว่า เมื่อมีอาการโรคซึ่งเป็นที่สงสัยโดยเป็นไข้ขึ้นเพียงน้อย
เวลา ในชัว่ ๓ วันตายถึง ๕ คน และยังป่วยอยูอ่ กี คนหนึง่ มีอาการเป็นกาฬโรคเช่นนี้
จึ่งเป็นความจ�ำเป็นที่จะต้องลงมือจัดการป้องกันโรคแพร่หลายในทันที หมอคิด
ด้วยเกล้าฯ ว่าจะต้องจัดการดังข้อความต่อไปนี้
(๑) ตั้งโรงพยาบาลส�ำหรับแยกคัดไข้กาฬโรคให้อยู่ต่างหากในทันที
แพทย์จะได้น�ำแบบอย่างและท�ำงบประมาณยื่นให้ทราบ
(๒) ตัง้ กองเจ้าพนักงานและคนงานส�ำหรับจัดการเฉพาะเรือ่ งไข้กาฬโรค
แพทย์จะได้ท�ำรายงานงบประมาณยื่นให้ทราบ
(๓) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งต�ำแหน่งผู้ช่วยแพทย์
สุขาภิบาลนายหนึง่ และโทรเลขเรียกเข้ามาในทันที เพราะแพทย์สขุ าภิบาลผูเ้ ดียว
จะท�ำการทั้งการธรรมดาและการพิเศษในส่วนกาฬโรคด้วยอีกไม่ไหว
(๔) ขอให้มีพระราชบัญญัติบังคับให้จดทะเบียนคนตายในทันที
(๕) ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มเี งินส�ำหรับใช้การป้องกัน
กาฬโรคนี้ ให้พอแก่การที่จะต้องจัดท�ำ
และหมอรายงานต่อไปว่า กงสุลอังกฤษได้รับแล้วว่า จะออกหมาย
ยอมให้แพทย์สขุ าภิบาลมีอำ� นาจเต็มทีจ่ ะบังคับแก่คนสัปเยกต์องั กฤษประการใดๆ
๑๓๐

ในเรื่องที่เกี่ยวการป้องกันกาฬโรคนั้นได้หมด หมอจึ่งจะขอให้ว่ากล่าวแก่กงสุล
ประเทศอื่นๆ ให้ออกหมายให้แก่แพทย์สุขาภิบาลอย่างเดียวกันด้วย
กับหมอจะขอโทรเลขไปในวันยื่นรายงานนี้ ซื้อซีรัมส�ำหรับป้องกัน
กาฬโรคที่เมืองบอมเบให้ส่งเข้ามามากๆ และหมอจะได้ไปตรวจโรคที่ต�ำบล
ตึกใหม่โดยกวดขัน กับขอให้มีค�ำสั่งแก่กรมกองตระเวนให้รายงานการที่ตาย
ซึ่ ง เป็ น โรคที่ น ่ า สงสั ย ในต� ำ บลถิ่ น ที่ นั้ น ด้ ว ย แจ้ ง อยู ่ ใ นส� ำ เนารายงาน
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
อนึ่ง เมื่อเวลา ๕ โมงเช้าวานนี้ ก่อนที่ข้าพระพุทธเจ้าได้รับรายงาน
หมอไฮเอตได้มาหาข้าพระพุทธเจ้าทีบ่ า้ น แจ้งข่าวก่อนส่งรายงานนี้ ข้าพระพุทธเจ้า
ได้ให้หามิสเตอร์ลอซัน๑ ผู้บังคับการกรมกองตระเวนมาพร้อมกันในทันที ปรึกษา
การที่จะระงับโรคและป้องกันไม่ให้โรคแพร่หลายออกไปได้ คือ จ�ำเป็นจะต้องกัก
บรรดาคนที่อยู่ในหมู่บ้านที่เกิดกาฬโรคนั้น ไม่ให้ออกจากบ้านน�ำโรคไปติดคน
ในต�ำบลอืน่ และห้ามไม่ให้คนในต�ำบลอืน่ เข้าไปในบ้านทีเ่ กิดโรคนัน้ จนสิน้ ก�ำหนด
อายุของไข้กาฬโรค ซึ่งนับวันแต่คนป่วยตายเป็นที่สุด แต่บ้านผู้ที่จะต้องกักขัง
ซึง่ เกิดโรคขึน้ นีเ้ ป็นสัปเยกต์องั กฤษ ข้าพระพุทธเจ้าจึง่ ให้มสิ เตอร์ลอซันไปด้วยกัน
กับหมอไฮเอต ชี้แจงข้อความที่จ�ำเป็นแก่มิสเตอร์แปตยิต๒ อัครราชทูตอังกฤษ
ขอหมายให้กรมกองตระเวนจัดการกักคนในบ้านแขกต�ำบลนั้น และขอหมาย
อ�ำนาจให้แก่หมอว่า ถ้าทรัพย์สมบัติ หรือที่บ้านเรือนหลังใด ซึ่งเป็นทรัพย์ปะปน
อยูแ่ ก่คนตาย หรือห้องและเรือนทีเ่ กิดกาฬโรคคนตาย จ�ำเป็นจะต้องช�ำระล้าง หรือ
ที่สุดต้องรื้อเผาเสีย ก็ให้มีอ�ำนาจที่จะบังคับและกระท�ำได้ หากว่าเป็นบ้านเรือน


อีรกิ เซ็นต์ เย. ลอซัน (Eric St. J. Lawson) ชาวอังกฤษทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นผูบ้ งั คับการ
กรมกองตระเวนในสมัยรัชกาลที่ ๕

เซอร์ ราล์ฟ แพเจต (Sir Ralph Paget) อัครราชทูตอังกฤษประจำ�สยามระหว่าง
พ.ศ. ๒๔๔๗ – ๒๔๕๒
๑๓๑

ที่ต้องท�ำลาย รัฐบาลก็จะยอมใช้ราคาให้ตามเรือนที่มีราคาอยู่ในเวลาท�ำลาย
เช่นรัฐบาลประเทศอื่นได้จัดการป้องกันโรคมานั้น
หมอไฮเอตกับมิสเตอร์ลอซันได้ไปหามิสเตอร์แปตยิตในเวลาบ่าย
มิสเตอร์แปตยิตก็ยอมอนุญาตให้ตามที่ขอ และให้มิสเตอร์วูดไปด้วยกันกับหมอ
และมิสเตอร์ลอซันจัดการกักคนในบ้านแขกนั้น มิสเตอร์ลอซันกับหมอกลับมา
รายงานเรื่องที่ได้จัดการป้องกันโรคต่อข้าพระพุทธเจ้าเมื่อเวลาย�่ำค�่ำวานนี้ว่า
เมื่อหมอไปถึงตึกใหม่ได้ความว่า แขกอาเมดอิสไมล์ฮาส แขกชราที่ป่วยอยู่นั้น
ตายเสี ย แล้ ว และได้ ค วามว่ า เม้ ย เชยภรรยาแขกคนนี้ ไ ด้ พ ยาบาลผั ว อยู ่
แล้วป่วย ญาติรับมารักษาตัวอยู่ปากคลองตลาด ข่าวว่าตายด้วยเหมือนกัน
และคนไทยลูกจ้างแขกคนหนึ่งก็ป่วย ออกไปรักษาตัวอยู่ที่โรงแถวข้างเรือน
เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ซึ่งตกเป็นของแขกที่ตายในวันนั้นอีกคนหนึ่ง หมอได้ตรวจ
ศพแขกกับไทยลูกจ้างก็มีอาการบวมเป็นกาฬโรคทั้ง ๒ ศพ หมอได้บังคับให้ฝัง
เสียแล้ว แต่ศพเม้ยเชยอีกศพหนึ่งนั้นเป็นข้อส�ำคัญที่ข้ามฟากมารักษาตัวฝั่งนี้
แม้ ค นพยาบาลติ ด ต่ อ กั น เกิ ด เป็ น โรคขึ้ น จะน� ำ โรคแพร่ ห ลายเกิ ด ขึ้ น ในฝั ่ ง
ตะวันออกนี้ได้ มิสเตอร์ลอซันจึ่งจัดให้พระภักดีพิรัชภาคย์ตามไปสืบหาต�ำบล
ที่ รั ก ษาพยาบาล และสื บ เอาศพเม้ ย เชยให้ ไ ด้ พระภั ก ดี ฯ กลั บ มารายงาน
เมื่อเวลาทุ่มครึ่งว่า หญิงคนนี้ได้รักษาตัวอยู่ที่โรงแถวถนนตรีเพชร์ มีอาการ
บวมอย่างกาฬโรค ตายวันที่ ๒๑ ในคืนวันนั้นญาติได้เอาศพไว้ที่ห้องคืนหนึ่ง
รุ่งขึ้ น เอาไปไว้ ที่ วั ดตึก คอยญาติที่จะได้มาเผาต่ อ ไป ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า จึ่ ง ให้
พระภักดีฯ กลับไปเผาศพเสียในทันทีเวลา ๒ ทุ่มนั้น และให้มิสเตอร์ลอซัน
วางพลตระเวนกักคนในห้องนั้น ๑๐ วัน ชั่วก�ำหนดอายุไข้กาฬโรค และให้หมอ
ช�ำระล้างห้องที่คนป่วยตายจนสิ้นเชิงนั้นด้วย จึ่งรวมคนที่ป่วยตายสงสัยว่า
เป็นกาฬโรคใน ๓ วัน ชายไทย ๑ แขก ๕ รวม ๖ คน หญิงไทย ๒ รวม ๘ คน
๑๓๒

ผูบ้ งั คับการกรมกองตระเวนได้จดั ให้หลวงฤทธิเรืองบ�ำราบโจร มิสเตอร์


ฟอเลต ปลัดกรมกองตระเวน ๒ นาย กับนายยาดสารวัตรใหญ่กองตระเวน
อีกนาย ๑ รวม ๓ นาย ผลัดกันประจ�ำก�ำกับกองตระเวนวางรักษาทางเข้าออก
พลตระเวนยามละ ๒๐ คน ๓ ผลัด ๖๐ คน บรรดาพลตระเวนจัดซื้อรองเท้า
ให้ ส วมทุ ก คน เพื่ อ กั น โรคติ ด ห้ า มไม่ ใ ห้ แขกและคนในหมู ่ บ ้ า นตึ ก ใหม่ นั้ น
ออกจากบ้าน และทัง้ ห้ามไม่ให้ผใู้ ดผูห้ นึง่ นอกจากหมออนุญาตเข้าในบ้านนัน้ ด้วย
และคนทีอ่ ยูใ่ นโรงแถวซึง่ ห้องหนึง่ มีคนตาย จะกักรักษาชัว่ ห้องไม่ได้ เพราะเป็นโรง
ริมถนนและที่โสโครกต่อเนื่องกัน ก็ต้องกักทั้งแถว ย้ายเอาคนเหล่านั้นให้เข้าอยู่
ในหมู่บ้านแขก แต่คนเหล่านั้นต้องหากินชั่ววันหนึ่งๆ จึ่งจ�ำเป็นกองตระเวนต้อง
จัดอาหารส่งให้กินด้วย แต่โรงแถวนี้ หมอจะช�ำระล้างในวันรุ่งขึ้นแล้วตรวจต่อไป
ถ้าคนในโรงนั้นเกิดโรคอีก บางทีจะต้องรื้อลงเผาเสีย
และตามข้อความที่หมอขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดการ
ป้องกันโรคแพร่หลายนั้น ในความ
ข้อ ๑ เรื่องตั้งโรงพยาบาลส�ำหรับแยกไข้กาฬโรค ที่ในคลองสานก็ได้
จัดซื้อเป็นของรัฐบาลเตรียมไว้พร้อมแล้ว ยังหมอจะเขียนแบบวางโรงพยาบาล
จ้างเหมาท�ำขึน้ เมือ่ ได้แบบทูลเกล้าฯ ถวายโปรดเกล้าฯ แล้ว ก็จะได้จา้ งท�ำในทันที
แต่ ใ นระหว่ า งนี้ ถ้ า จะมี โ รคเป็ น ขึ้ น โดยปั จ จุ บั น มากคน โรงยั ง ไม่ แ ล้ ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้พบท่านเจ้าพระยาภาณุวงษฯ๑ ขออนุญาตยืมที่สวนของท่าน
ใช้ชั่วคราว ท่านก็มีความยินดีเต็มใจรับช่วยอุดหนุน ยอมอนุญาตที่สวนให้ใช้
เพื่อการปัจจุบันทันด่วนนั้นแล้ว


เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นบุตรชายของสมเด็จเจ้าพระยา
บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดำ�รงตำ�แหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง
เสนาบดีกรมท่า และเสนาบดีว่าการต่างประเทศ
๑๓๓

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)


๑๓๔

ข้อ ๒ เรื่องตั้งกองเจ้าพนักงานและคนงานส�ำหรับจัดพยาบาลกาฬโรค
พนักงานพยาบาลคงจัดหาจ้างขึ้นได้ เพราะการป้องกันโรคติดกัน มียาซีรัม
ฉี ด ป้ อ งกั น พนั ก งานจ� ำ พวกนี้ จ ะต้ อ งจั ด ตามเวลาที่ มี ค นป่ ว ยมากและน้ อ ย
ข้าพระพุทธเจ้ายังรองบประมาณที่แพทย์กะการจะยื่นนั้นอยู่
ข้อ ๓ เรื่องขออนุญาตตั้งต�ำแหน่งผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาลนั้น ต�ำแหน่ง
นี้เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าสมควรต้องมี เหมือนเช่นเมื่อเดือนที่ล่วงแล้วมานี้ กระทรวง
มหาดไทยจะขอแพทย์สุขาภิบาลให้ไปตรวจคิดการป้องกันกาฬโรคที่เมืองภูเกต
ก็ให้ออกไปไม่ได้ เพราะไม่มีตัวรองที่ทราบการ หมอไฮเอตตรวจการสุขาภิบาล
อยู่ผู้เดียวห่วงด้วยการกาฬโรคในประเทศที่ใกล้เคียงกรุงสยาม ซึ่งมีข่าวว่ามีขึ้น
ผิดกว่าปรกติธรรมดา แม้ถ้ามีกาฬโรคเกิดขึ้นในกรุงนี้ ก็น่าที่จะต้องใช้หมอที่
ช�ำนิช�ำนาญด้วยโรคนี้มากคนขึ้น แต่เมื่อคิดถึงเวลาปัจจุบันเช่นนี้จะโทรเลข
เรียกหมอก็ไม่ทัน จ�ำเป็นจะต้องมีผู้ช่วยในทันทีเวลานี้คนหนึ่ง คือ ผู้ช่วยนั้นให้ดู
การสุขาภิบาลส่วนการประจ�ำทัว่ ไป ให้หมอไฮเอตผูเ้ ข้าใจการไข้กาฬโรคได้ทำ� การ
เฉพาะส่วนกาฬโรคนี้ ในระหว่างทีจ่ ะโทรเลขเรียกหมอรองผูช้ ำ� นาญการพยาบาล
ไข้กาฬโรคนั้น หมอไฮเอตขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจ้างหมอสมิท๑
มาท�ำการผู้ช่วยชั่วคราวก่อน จนกว่าจะได้หมอรองเข้ามาถึง
ข้อ ๔ พระราชบัญญัติบังคับจดทะเบียนคนตายนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
ได้หารือกับมิสเตอร์ลอซัน ผู้บังคับการกรมกองตระเวน ร่างขึ้นไว้ตั้งจดทะเบียน
คนเกิดและคนตายนั้นแล้ว จะได้น�ำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในอาทิตย์เมื่อสิ้นงาน
วัดเบญจมบพิตรแล้วนี้


นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ (Malcolm Smith) แพทย์ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาเมืองไทย
สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นแพทย์ประจ�ำกงสุลอังกฤษ และต่อมายังได้เป็นแพทย์ประจ�ำพระองค์
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
๑๓๕

ข้อ ๕ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีเงินส�ำหรับจัดการ
ป้องกันกาฬโรคให้เพียงพอนัน้ เงินประจ�ำปีแต่กอ่ นเคยมีกำ� หนดอยูป่ ลี ะ ๔๐,๐๐๐
บาท แต่ปีนี้คลังเห็นว่าใช้ไม่หมดทุกปี จึ่งกะไว้เพียง ๒๐,๐๐๐ บาท และปีนี้
ต้องท�ำการซ่อมของเก่ามาก เงินใช้ถึงทุกวันนี้สิ้นไปแล้ว ๑๙,๔๗๑ บาท ๔๓ อัฐ
ยังคงเหลืออยู่เพียง ๕๒๘ บาท ๒๑ อัฐ เท่านั้น เงินที่กะไว้ปีนี้ แม้แต่การประจ�ำ
ก็ไม่พออยู่แล้ว บัดนี้จะมีการป้องกันโรคเป็นพิเศษขึ้นอีก มีสร้างโรงพยาบาล
หรือต้องใช้คา่ ท�ำลายสิง่ ทีป่ ลูกสร้าง เป็นต้น หมอเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ควรประมาณ
เงินส่วนนี้ไว้อีก ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นเมื่อใดให้จ่ายได้ จะต้องลงมือท�ำการ
ทั้งปวงในทันทีปัจจุบันตามความที่ต้องการ
และส่วนที่หมอขออนุญาตสั่งซื้อซีรัมนั้น ข้าพระพุทธเจ้าอนุญาตให้
โทรเลขไปแล้ว ส่วนขอหมายอ�ำนาจแต่กงสุลต่างประเทศนั้น เมื่อมีสัปเยกต์ใด
เกี่ยวข้องด้วยกาฬโรค ก็คงจะขอได้อย่างอังกฤษ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ทูลพระเจ้า
น้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ ให้ทรงช่วยว่ากล่าวกันไว้
อนึง่ เวลาวันนี้ หมอกับมิสเตอร์ลอซันได้มารายงานแก่ขา้ พระพุทธเจ้าว่า
สอบสวนได้ความว่า พีห่ ญิงของพระยาจักรปาณี๑ ป่วยมีอาการคล้ายเป็นกาฬโรค
ถึงแก่กรรมวันที่ ๑๕ ธันวาคม ที่บ้านพระยาจักรปาณีกับที่ตึกแขกที่เกิดกาฬโรค
ไต่สวนได้ความว่า มีหนูตายมากก่อนเกิดโรคทุกแห่ง จึ่งได้วางกองตระเวนกักคน
ในบ้านพระยาจักรปาณีเหมือนที่ตึกใหม่ ตั้งแต่เวลาเช้าวันนี้แล้ว ก�ำหนดจะกักไว้
จนวันที่ ๒๕ ธันวาคม ให้ครบ ๑๐ วัน แม้ไม่มีโรคเช่นนี้เกิดขึ้นในบ้านอีกแล้ว
จึ่งจะยอมเปิดบ้านนี้ และหมอจะขอให้ประกาศ[สิน]บนจับหนูตายตัวละไพ
ท�ำเตาที่ท�ำลายหนูทุกโรงพักกองตระเวนเพื่อป้องกันโรคในคราวนี้


พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ ไกรฤกษ์) ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนเป็น
เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ
๑๓๖

ในเวลาวันนี้ได้ตรวจโรคที่ตึกใหม่ ไม่มีคนป่วยเป็นการกาฬโรคอีก
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า และพระยาอิ น ทราธิ บ ดี สี ห ราชรองเมื อ ง ได้ ไ ปตรวจการ
วางกองตระเวนในต�ำบลที่เกิดโรค และที่ท�ำโรงพยาบาลคลองสาน พร้อมกัน
กับหมอและมิสเตอร์ลอซันในเวลาบ่ายวันนี้ด้วย๑
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช
หัตถเลขาตอบพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ความตอนหนึ่งว่า “เรื่องมีคนเป็นไข้
กาฬโรคขึ้นที่ตึกแขกหมู่ตึกแดง จะคิดจัดการป้องกันรักษานั้นได้ตรวจดูแล้ว เห็นว่าเป็นการจ�ำเป็น
ให้เธอจัดการตามที่ว่า เงินที่ขออนุญาตนั้นได้สั่งกระทรวงพระคลังให้อนุญาตเป็นการจรแสนบาท
แล้ว การตรวจคนตายเป็นส�ำคัญ ถึงพระราชบัญญัตจิ ะได้ออก ถ้าไม่ทำ� การได้จริง จะไม่เป็นประโยชน์
อันใด,” อ้างจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๑๒.
๑๓๗

ที่ ๒๗/๑๔๒๙๑ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๒๔ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคม
ทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยเวลาบ่ายวันนี้ หมอไฮเอตมารายงานต่อข้าพระพุทธเจ้าว่า ทีต่ กึ ใหม่
ต�ำบลทีเ่ กิดกาฬโรคในวันนี้ ไม่มคี นป่วยอีก แต่ทถี่ นนตรีเพ็ชร์มคี นป่วยต่อกับห้อง
ที่เม้ยเชยมาตายอยู่คนหนึ่ง หมอตรวจเห็นว่าจะเป็นทรพิษ แต่ยังเป็นที่สงสัยอยู่
จึ่งให้พลตระเวนคุมรักษาห้องนั้นไว้ ไม่ยอมให้คนเข้าออก และคนพยาบาล
กับญาติเม้ยเชยที่อยู่ด้วยกันจนเม้ยเชยตายนั้น ได้ย้ายเอาไปคุมไว้ยังสวนท่าน
เจ้าพระยาภาณุวงษฯ
และข้าพระพุทธเจ้าได้หารือกับแพทย์สุขาภิบาลให้จัดการป้องกันเพื่อ
การที่จะเกิดโรคแพร่หลายขึ้นในต�ำบลอื่นๆ อีก ให้ได้ป้องกันในทันที เพราะใน
ระหว่ า ง ๑๕ วั น หรื อ เดื อ นหนึ่ ง นี้ ต้ อ งนั บ ว่ า เป็ น เวลาที่ ต ้ อ งระวั ง กาฬโรค
โดยกวดขัน ซึ่งเผื่อว่าคนไปมาติดต่ออยู่กับต�ำบลที่เกิดโรคก่อนหมอตรวจกักนั้น
จะติดต่อกันขึ้นได้ จึ่งได้ปรึกษาตกลงกับหมอทั้งปวงในกรุงเทพฯ ให้รับหน้าที่
ตรวจระวังป้องกันโรคติดต่อตามท้องแขวงดังนี้
๑. หมอเดอไกเซอร์ เป็นผู้มีหน้าที่ตรวจโรคในแขวงอ�ำเภอพระนคร
และอ�ำเภอดุสิต


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๑๖ – ๑๗.
๑๓๘

๒. หมอเฮ๑ เป็นผู้มีหน้าที่ตรวจโรคในอ�ำเภอส�ำเพ็ง
๓. หมอบัว เป็นผู้มีหน้าที่ตรวจโรคในอ�ำเภอบางรัก
๔. หมอตรั ม ป์ ๒ เป็ น ผู ้ มี ห น้ า ที่ ต รวจโรคในอ� ำ เภอบางกอกน้ อ ย
บางกอกใหญ่ และบางน�้ำชล
๕. หมอไมเยอร์ เป็นผู้มีหน้าที่ตรวจโรคในเรือในท้องน�้ำ
การที่จะตรวจและสืบสวนนั้น กองตระเวนและปลัดอ�ำเภอทุกต�ำบล
เป็นผู้ตรวจและสืบ แม้ได้ทราบว่าบ้านใดในท้องแขวงมีคนป่วยและตายโดยเป็น
ที่สงสัยว่าจะเป็นกาฬโรคแล้ว ให้แจ้งความตรงยังหมอประจ�ำท้องแขวงทุกคน
หมอทัง้ นีแ้ ม้ได้ทำ� การตรวจโรค ก�ำหนดให้เงินรางวัลเป็นพิเศษเดือนละ ๓๐๐ บาท
เว้นแต่หมอไมเยอร์ผู้ตรวจเรือ ก�ำหนดให้ชั่วคราวตรวจ คือ คราวละ ๑๐ เหรียญ
และได้จ้างหมอสมิทให้เป็นผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาลชั่วคราว เงินเดือน
เดือนละ ๓๐๐ บาท ให้ท�ำการตรวจโรงพยาบาล และข้าราชการตามกระทรวง
ในหน้าที่หมอไฮเอตตรวจ เปิดเวลาให้หมอไฮเอตตรวจโรคในต�ำบลคุมคนกักไว้
และช�ำระล้างที่เกิดกาฬโรคนั้นให้พอแก่ความสามารถที่จะกระท�ำได้ทุกประการ
อนึ่ง เมื่อวานนี้เวลาค�่ำ เรือกลไฟชื่อ “สิงโครา” เข้ามาแต่เมืองสิงคโปร์
หมอที่เมืองสมุทปราการตรวจพบจีนที่โดยสารมา ๒๐ คน ป่วยเป็นไข้คน ๑
จึ่งได้โทรเลขแจ้งเหตุมายังแพทย์สุขาภิบาล แพทย์สุขาภิบาลโทรเลขให้ปล่อย


นายแพทย์โธมัส เฮย์เวิรด์ เฮย์ส (Thomas Heyward Hays) แพทย์ชาวอเมริกนั ทีเ่ ดินทาง
เข้ า มาในเมื อ งไทยสมั ย รั ช กาลที่ ๕ และได้ รั บ ราชการเป็ น แพทย์ ใ หญ่ โรงพยาบาลทหารเรื อ
ทั้งยังเป็นอาจารย์แพทย์คนแรกของโรงเรียนแพทยากร (โรงศิริราชพยาบาล)
๒ นายแพทย์ทรัมป์ (T. Trumpp) แพทย์ชาวเยอรมันที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายแพทย์
ใหญ่ทหารบกในสมัยรัชกาลที่ ๕
๑๓๙

เรื อ เข้ า มาทอดที่ บ างคอแหลมเวลาเช้ า วั น นี้ หมอไฮเอตได้ ล งไปตรวจเอง


เห็นว่าไม่ใช่กาฬโรค แต่ยังเป็นที่สงสัย จึ่งให้เอาจีนคนป่วยนั้นไปรักษาไว้ที่
โรงพยาบาลกรมกองตระเวน แต่ให้อยู่ในที่แยกต่างหากส�ำหรับพยาบาลไข้
ที่ ติ ด ต่ อ กั น กั บ มี ค นยู โรเปี ย น ๑ โดยสารมา ๓ คน หมออนุ ญ าตให้ ขึ้ น บก
แต่เวลาเช้าต้องมาให้หมอตรวจอาการทุกวันจนครบ ๑๐ วัน และจีนโดยสาร
นอกจากคนป่วยให้คงอยู่ในเรือ ให้ลอยลงไปจอดใต้บางคอแหลม กว่าจะได้ตรวจ
จีนที่ป่วยเป็นไข้ว่าไม่ใช่กาฬโรคแล้ว จึ่งจะอนุญาตให้เรือสิงโคราเข้ามาจอดในท่า
กรุงเทพฯ
กับเวลาวันนี้ได้จ้างเหมาจีนลงมือถางที่สร้างโรงพยาบาลคลองสาร
และข้าพระพุทธเจ้าได้ขอไปยังเจ้าพระยาเทเวศรวงษวิวัฒน์ เสนาบดีกระทรวง
เกษตราธิการ ให้อนุญาตมิสเตอร์สไมท์ เอนยินเนียกรมแผนที่ ซึ่งทราบอยู่ว่า
เวลานี้ไม่สู้มีการในหน้าที่มาก มาช่วยท�ำแผนที่ต�ำบลนั้น และช่วยหมอไฮเอตคิด
แบบอย่ า ง และเป็ น นายงานตรวจการสร้ า งโรงพยาบาลตามที่ ห มอไฮเอต
ขอให้ช่วยนั้น
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


คือชาวยุโรป
๑๔๐

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ


๑๔๑

ที่ ๘๔/๘๐๓๑ กระทรวงโยธาธิการ๑


๓๗
วันที่ ๒๔ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
เวลาวานนี้ พระยาศักดิ์เสนี๒ กับมิสเตอร์โคลมัน๓ พากันมาปรึกษา
ข้าพระพุทธเจ้าด้วยความร้อนรน ด้วยเรื่องว่าบัดนี้มีกาฬโรคเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ
ฝั่งตะวันตก พวกฝรั่งพากันตื่นตกใจ การไปรษณีย์ย่อมมีหนังสืออันเป็นสิ่ง
ซึ่งอาจจะเป็นสายชนวนน�ำให้โรคแล่นติดได้อยู่ ถ้าหากไม่คิดจัดการป้องกัน
เหตุ นั้ น แล้ ว ก็ น ่ า จะเป็ น เหตุ ใ ห้ ร ้ อ งโทษเอาได้ อ ยู ่ พระยาศั ก ดิ์ เ สนี จึ ง เรี ย ก
หมอปลาดักมาปรึกษา หมอได้จัดความเห็นที่ควรจัดการป้องกันให้ แต่การจัด
ป้องกันนั้นเป็นการใหญ่ จึงได้น�ำมาปรึกษาข้าพระพุทธเจ้าว่าจะควรท�ำอย่างใด
ข้าพระพุทธเจ้าได้ออกเนื้อเห็นว่า กรมไปรษณีย์โทรเลขไม่ได้ตรวจ
และไม่มีความรู้ที่จะตรวจให้รู้แน่ว่าเป็นกาฬโรคกันจริงหรือไม่ ที่จะยึดค�ำกล่าว
เล่าลือมาจัดการป้องกันในทางราชการอย่างเปิดเผย เหมือนหนึ่งรับรองว่า
โรคนั้นเป็นอันมีแน่แท้แล้ว ก่อนเจ้าหน้าที่ส�ำหรับการสิ่งนั้นจะได้กล่าวก่อนนั้น
ไม่ชอบ ต้องรอฟังเจ้าพนักงานฝ่ายสุขาภิบาลจะได้มีรายงานกราบบังคมทูล
พระกรุณาในการนั้นว่าเป็นประการใดก่อน แล้วจึงจัดภายหลัง แต่ว่าการนี้


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๘ จัดการป้องกันกาฬโรคในกรมไปรษณีย์
และโทรเลข (๒๔ ธ.ค. – ๒๔ ม.ค. ๑๒๓), หน้า ๓ – ๔.

พระยาศักดิ์เสนี (หนา บุนนาค) ผู้บัญชาการกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่อมาได้เลื่อนเป็น
สมุหเทศาภิบาลมณฑลปัตตานี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเดชานุชิต

นายธีโอดอร์ คอลมันน์ (Theodor Collmann) ชาวเยอรมันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการ
ไปรษณีย์โทรเลขคนแรกของไทย ต่อมายังด�ำรงต�ำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการกรมไปรษณีย์โทรเลข
ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๔๕๒
๑๔๒

ก็เป็นการส�ำคัญอยู่ที่เกี่ยวแก่คนเป็นอันมาก ข้าพระพุทธเจ้าจึงน�ำความวิตก
ทั้งนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาให้ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทโดยเร็ว
แต่ในระหว่างซึ่งยังไม่ได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยประการใดนั้น จะท�ำการ
แก้กันบ้างเล็กน้อยเพราะความสงสัย เพียงชั้นรมหนังสืออย่างเงียบๆ นั้นท�ำได้
ไม่เป็นการขัดขวาง
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทลู เกล้าฯ ถวายส�ำเนาความเห็นหมอในการจัดป้องกัน
นั้นมาให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทนี้ด้วยแล้ว
การจะควรประการใดแล้ ว แต่ จ ะทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า โปรด
กระหม่อม

ข้าพระพุทธเจ้า นริศ๑ ขอเดชะ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พระราชโอรสในพระบาท
สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั กับพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่ง
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และเสนาบดี
กระทรวงวัง ตามล�ำดับ
๑๔๓

(ส�ำเนาความเห็นหมอ)๑
ห้ามมิให้มีการรับส่งจดหมายกับบ้านที่มีกาฬโรค หรือสงสัยว่าจะมี
กาฬโรคโดยเด็ดขาด แม้แต่ในกรณีที่เพียงสงสัยก็ไม่ได้
เรื่ อ งนี้ ค วรปฏิ บั ติ ต ามอย่ า งเคร่ ง ครั ด จนกว่ า การระบาดจะสงบ
พนักงานของกรมไปรษณีย์โทรเลขไม่ควรมีการติดต่อหรือจับต้องกับสิ่งใดที่มา
จากบ้านที่มีกาฬโรค มิเช่นนั้นอาจเกิดการระบาดในหมู่พนักงาน เพื่อความ
ปลอดภัย จดหมายทุกฉบับที่ออกจากท่าเรือควรเจาะให้เป็นรูด้วยตราประทับ
เหล็กแหลม เหมือนกับที่ท�ำในสหรัฐอเมริกา แล้วฆ่าเชื้อให้ทั่วด้วยฟอร์มาลีน
หรือซัลเฟอร์ ถ้าจะให้ดีคือไอฟอร์มาลีน เป็นไปไม่ได้ที่กรมไปรษณีย์โทรเลข
จะคั ด แยกและฆ่ า เชื้ อ เฉพาะจดหมายที่ ส ่ ง มาจากฝั ่ ง ตะวั น ตกของแม่ น้� ำ
เพราะกาฬโรคเกิ ด ขึ้ น ที่ ฝ ั ่ ง ตะวั น ออกด้ ว ย และไม่ มี สิ่ ง ใดที่ จ ะป้ อ งกั น มิ ใ ห้
จดหมายที่ เขี ย นขึ้ น ในบ้ า นที่ มี ก าฬโรค ถู ก ส่ ง มายั ง ฝั ่ ง ตะวั น ออกของแม่ น�้ ำ
และท�ำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในการส่งจดหมายติดโรคไปทั้งหมด
ไม่มีสิ่งใดที่จะหยุดยั้งกาฬโรคได้นอกจากการกักกันโรคโดยสิ้นเชิง
และการเผาบ้านพร้อมทั้งสิ่งของที่ติดเชื้อทั้งหมด หากไม่ท�ำเช่นนั้น กาฬโรคจะ
ระบาดอย่างมั่นคง และจะไม่งดเว้นผู้ใดทั้งสิ้น ตั้งแต่กุลีไปจนถึงพระมหากษัตริย์
ควรมีการรวบรวมจดหมาย ณ สถานที่กลางแห่งใดแห่งหนึ่งที่ฝั่ง
ตะวันตกของแม่น้�ำ และฆ่าเชื้อจดหมายที่นั่นในทันที ก่อนจะน�ำไปยังที่ท�ำการ
ไปรษณีย์ ประการสุดท้ายคือ ไม่มีข้อบังคับใดที่ถือว่าเข้มงวดเกินไปหรือรุนแรง
เกินไป เพราะชีวิตของคนนับพันอาจสูญสิ้นไปด้วยการติดเชื้อเพียงครั้งเดียว


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๘ จัดการป้องกันกาฬโรคในกรมไปรษณีย์
และโทรเลข (๒๔ ธ.ค. – ๒๔ ม.ค. ๑๒๓), หน้า ๕.
๑๔๔

กรมสุขาภิบาล๑

กองแพทย์สุขาภิบาล
วันที่ ๓๑ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง
นครบาล ทราบฝ่าพระบาท
ข้าพเจ้าขอประทานกราบทูลรายงานในเรือ่ งทีม่ ผี ทู้ ำ� หนังสือกราบทูลไป
ถึงเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ ดังต่อไปนี้
(๑) ข้อความที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดที่จะป้องกันมิให้จดหมายที่เขียนขึ้น
ในบ้านที่มีกาฬโรค ถูกส่งมายังฝั่งตะวันออกของแม่น�้ำ” นอกจากจะไม่เป็นความ
จริงแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนไม่ล่วงรู้ขั้นตอนที่ได้ด�ำเนินการไปเพื่อป้องกัน
มิให้กาฬโรคลุกลามเลย
ทีผ่ า่ นมาไม่อนุญาตให้นำ� จดหมายออกจากบ้านทีม่ กี าฬโรค และจะเป็น
เช่นนั้นต่อไปตราบเท่าที่พลตระเวนยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนเช่นเดิมอย่างที่ได้
ท�ำมา
ส่วนเรือ่ งจดหมายทีม่ าจากบ้านทีไ่ ม่มกี าฬโรค ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่มเี หตุผล
ใดที่จะต้องฆ่าเชื้อบนจดหมายเหล่านั้น ถ้าหากจะป้องกันมิให้กาฬโรคลุกลาม
โดยการฆ่าเชื้อบนจดหมาย ก็ควรจะต้องฆ่าเชื้อกับทุกสิ่งและทุกคนที่มาจากย่าน
ที่มีกาฬโรคด้วย การท�ำเช่นนั้นเป็นไปไม่ได้ ส่วนเรื่องจดหมายที่ออกจากท่าเรือ
จดหมายเหล่านั้นจะได้รับการฆ่าเชื้อเมื่อไปถึงท่าเรือปลายทาง หากเจ้าพนักงาน


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๘ จัดการป้องกันกาฬโรคในกรมไปรษณีย์
และโทรเลข (๒๔ ธ.ค. – ๒๔ ม.ค. ๑๒๓), หน้า ๒๗ – ๒๙.
๑๔๕

ที่นั้นเห็นว่าเป็นการจ�ำเป็น แม้ว่าเราจะฆ่าเชื้อไปแล้วในที่นี้ก็ไม่อาจหยุดยั้ง
ขั้นตอนดังกล่าวได้
โดยสรุปแล้ว เนื่องจากไม่อนุญาตให้น�ำจดหมายออกจากบ้านที่มี
กาฬโรค ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าการฆ่าเชื้อบนจดหมายนั้นไม่จ�ำเป็นและไม่สามารถ
ท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานของกรมไปรษณีย์โทรเลขมิได้มีความเสี่ยง
ที่จะติดเชื้อกาฬโรคมากไปกว่าคนอื่นๆ ในกรุงเทพฯ
(๒) ส่วนค�ำถามเรือ่ งการกักกันโรคโดยสิน้ เชิงและการเผาบ้านพร้อมทัง้
สิ่งของที่ติดเชื้อให้หมดนั้น ข้าพเจ้าขอตอบว่า การกักกันผู้ที่สงสัยว่าเป็นกาฬโรค
ทุกรายนั้น ข้าพเจ้าเป็นผู้ก�ำหนดเอง ดังที่ทราบกันดีอยู่แล้ว และข้าพเจ้าจะ
ด�ำเนินการดังกล่าวในกรณีที่เห็นสมควร เช่น การรื้อถอนและเผาบ้านสี่หลังใน
ต�ำบล “โรงเตา” ส่วนกรณีอื่นๆ นั้น การฆ่าเชื้อให้ถ้วนทั่ว และการเผาผ้าปูที่นอน
เสื้อผ้า ฯลฯ ทั้งหมด ก็ถือเป็นการเพียงพอแล้ว
ผลก็คือไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ปรากฏขึ้นในต�ำบลตึกใหม่เป็นเวลา ๙ วัน
และในตึกแดงเป็นเวลา ๕ วันแล้ว ทั้งยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ป่วยรายอื่นในที่
แห่งใด เว้นแต่หญิงที่ออกจากตึกใหม่ไปก่อนที่จะเริ่มการกักกัน และตายใน
บริเวณถนนจักรเพชร
ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนี้ยังไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่หากข้าพเจ้าสั่งให้
เผาบริเวณทีต่ ดิ เชือ้ ทัง้ หมด ค่าใช้จา่ ยคงจะสูงถึงสิบล้านบาทเป็นแน่ ส่วนผูท้ อี่ าศัย
อยูใ่ นย่านนัน้ ก็ตอ้ งกระจัดกระจายกันไป อีกทัง้ พวกหนูกจ็ ะกระจายไปสูต่ ำ� บลอืน่ ๆ
และท้ายทีส่ ดุ หากมีผปู้ ว่ ยกาฬโรคปรากฏขึน้ นอกบริเวณทีเ่ ผาไปแม้เพียงรายเดียว
ก็จะต้องเผาบริเวณนั้นให้สิ้นไปอีกแห่งหนึ่ง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอีกจ�ำนวนมาก
๑๔๖

ด้วยท�ำเลที่ตั้งของต�ำบลตึกใหม่และตึกแดงยังปรากฏว่า หากมีการเผา
ที่ต�ำบลนี้ ไฟก็จะลุกลามไปเผาบริเวณส่วนใหญ่ของเมืองทางฝั่งตะวันตกของ
แม่น�้ำเจ้าพระยาด้วยเป็นแน่
หากรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวพร้อมที่จะรับภาระค่าใช้จ่ายเช่นนั้น
ก็อาจถือเป็นแผนการทีด่ เี ยีย่ ม แต่ขา้ พเจ้าก็ยงั คงไม่แนะน�ำให้ทำ� ตามแผนการนัน้
โดยสรุปแล้ว ข้าพเจ้าขอให้ฝ่าพระบาททรงให้อิสระแก่ข้าพเจ้าอย่าง
ชาญฉลาด เพื่อรับมือกับการระบาดนี้ ซึ่งตัวข้าพเจ้านั้นได้ด�ำเนินการไปอย่าง
ดีที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าทราบจากประสบการณ์และการศึกษาวิธีป้องกันกาฬโรค
ในกลาสโกว์ สิงคโปร์ และฮ่องกง และทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้ท�ำไป และที่จะท�ำ
ต่อไปนั้น ก็เพื่อป้องกันมิให้กาฬโรคลุกลามออกไป ข้าพเจ้าเชื่อว่าข้าพเจ้า
จะมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของตนต่อไป ตามที่ข้าพเจ้าได้รับการฝึกฝนมา
โดยเฉพาะ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๑๔๗

ที่ ๒๘/๑๕๑๗๓ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๑๐ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคม
ทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้ ว ยเมื่ อ วั น ที่ ๒๙ ธั น วาคม ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ รั บ พระราชทาน
พระราชหัตถเลขาที่ ๒๙/๑๔๒๔ ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม พระราชทานส�ำเนาหนังสือ
เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เรื่องกรมไปรษณีย์ปรึกษากับหมอแบรดโดก ซึ่งมี
ความเห็นจะต้องจัดการป้องกันกาฬโรคในหนังสือไปรษณีย์ ในเวลาที่เกิดมีโรค
ฉุกเฉินขึ้น ให้ข้าพระพุทธเจ้าด�ำริจัดการป้องกันนั้น พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้
เรื่องจัดการป้องกันโรคติดกันในหนังสือไปรษณีย์นี้ พระเจ้าน้องยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวติวงษ ก็ได้รับสั่งหารือกับข้าพระพุทธเจ้าในเมื่อก�ำลัง
มีโรคฉุกเฉินนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งได้ทูลว่า ยังไม่เป็นการจ�ำเป็นที่จะต้องจัด
เรื่องหนังสือเมล์ออกไปนอก เพราะหนังสือในบริเวณที่กักคน กองตระเวนได้
ห้ามแล้วไม่ให้เอาออก แม้ถ้าพวกที่ต้องกักจะมีกิจที่ต้องมีหนังสือ เช่น จะเขียน
เมล์ไปนอก เป็นต้น ก็ยอมให้พูดสั่งกับญาติหรือพวกพ้องผู้อยู่นอกที่กักขัง
เขียนแทนได้ แต่หนังสือเข้าไปในที่กักขังไม่ได้ห้าม เพราะในที่ต�ำบลอื่นๆ ยังไม่มี
เหตุสงสัยว่าจะมีกาฬโรค และในสมัยนั้น แพทย์ยังไม่ยอมแสดงว่ากรุงเทพฯ
เป็นที่มีกาฬโรคถึงโรคติดต่อกันได้ จึ่งยังไม่จ�ำเป็นจะกระท�ำการป้องกันเป็น
การใหญ่ โ ต เมื่ อ มี เ หตุ ส มควรจะต้ อ งป้ อ งกั น ในกรมไปรษณี ย ์ ป ระการใด
ข้าพระพุทธเจ้าจะให้แพทย์สุขาภิบาลผู้รับผิดชอบแห่งการป้องกันโรคแจ้งแก่
กรมไปรษณีย์ในทันที


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๘ จัดการป้องกันกาฬโรคในกรมไปรษณีย์
และโทรเลข (๒๔ ธ.ค. – ๒๔ ม.ค. ๑๒๓), หน้า ๑๑ – ๑๒.
๑๔๘

และตามข้อความในความเห็นหมอแบรดโดกแสดงแก่กรมไปรษณียน์ นั้
ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ส่งให้แพทย์สุขาภิบาลพิเคราะห์แล้วยื่นรายงานแจ้งการ
ที่จัดห้ามหนังสือในที่กักคน และแจ้งความด�ำริที่ยังไม่กระท�ำการรื้อเผาเรือน
ที่มีโรค โดยยังไม่เห็นความจ�ำเป็นจะต้องเสียเงินมาก เพราะมีโรคเพิ่งเกิดขึ้น
เล็กน้อย ช�ำระล้างและเผาแต่ที่จ�ำเป็นก็เห็นว่าพอ มีความพิสดารแจ้งอยู่ใน
ส�ำเนารายงานหมอไฮเอตลงวันที่ ๓๑ ธันวาคม นั้นแล้ว
อนึ่ ง ตามข้ อ ความในรายงานข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ฉบั บ แรก ซึ่ ง กราบ
บังคมทูลพระกรุณาว่า ในข้อซึ่งหมอขอให้ว่ากล่าวกับผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ
ให้ยอมให้หมอและกองตระเวนมีอ�ำนาจจัดการป้องกันกาฬโรคในคนสัปเยกต์
ต่างประเทศได้เต็มอ�ำนาจ เหมือนกงสุลอังกฤษยอมรับและอนุญาตให้จัดใน
คนสัปเยกต์อังกฤษมาแล้ว ทูลไปยังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงษ
วโรประการ ให้ทรงช่วยว่ากล่าวนั้น ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานทูลเกล้าฯ
ถวายส�ำเนาหนังสือไปมาในเรื่องนี้ รวมกัน ๑๖ ฉบับ ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ผู ้ แ ทนรั ฐ บาลต่ า งประเทศทุ ก ชาติ รั บ รองจะช่ ว ยอุ ด หนุ น หมด และในวั น ที่
๗ มกราคมนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งส�ำเนารายงานย่อของแพทย์ที่แจ้งข่าว
โรคต่อในต�ำบลนั้นอีก ๒ คน คือ เด็กหญิงอายุ ๖ ขวบ ป่วยเมื่อวันที่ ๒๗ ตายวันที่
๒๘ ธันวาคม ๑ ชายผู้ใหญ่อายุ ๒๓ ป่วยวันที่ ๑ เวลาย�่ำค�่ำ ตายวันที่ ๒ มกราคม
เวลา ๑ ทุ่ม อีก ๑ รวมกันเป็นคนป่วยกาฬโรคตายตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม
ถึงวันที่ ๒ มกราคม เพียง ๑๑ คน และคนทั้งปวงที่กักไว้จนสิ้นเขตอายุโรค
แพทย์ได้ตรวจทัว่ ทุกคน ได้เปิดไม่กกั ขังแล้ว ตัง้ แต่วนั ที่ ๒ มกราคม มาจนทุกวันนี้
ไม่มีคนป่วยอีกแล้ว เพื่อให้กระทรวงต่างประเทศแจ้งผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ
ให้ทราบ
๑๔๙

อนึ่ง ตามที่หมอขอให้กรมกองตระเวนประกาศจับหนู เพื่อป้องกันโรค


ให้ค่าจ้างตัวละไพนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้รับรายงานรวมจ�ำนวนหนู จับตั้งแต่วันที่
๒๗ ธั น วาคม จนวั น ที่ ๙ มกราคม ๑๔ รายวั น รวมหนู ๕๑,๘๓๖ ตั ว
เงิน ๑,๖๓๕ บาท ๓๒ อัฐ ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายส�ำเนารายงานทราบ
ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ
๑๕๐

ที่ ๓๗/๑๓๙๓๖ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยแพทย์สุขาภิบาลยื่นรายงานเรื่องกาฬโรคในวันนี้ว่า หลวงทุรการ
ก�ำจัด สารวัตรใหญ่กองตระเวนต�ำบลส�ำเพ็ง น�ำเหตุสงสัยเรื่องคนตายและ
ป่วยที่ต�ำบลตรอกอาม้าเกงไปแจ้งความแก่หมอไฮเอตเมื่อเวลาเช้า หมอจึ่งได้ไป
ตรวจไข้ที่บ้านนายสุก พบหญิงป่วยผู้หนึ่งเป็นกาฬโรค และไล่เลียงสอบสวนได้
ความว่า เมื่อวานนี้มีหญิงป่วยไข้ตายคนหนึ่ง และผัวของหญิงที่ตายนั้นก็ป่วยเป็น
ไข้ตายในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ หมอไต่สวนอาการของผัวเมียคู่นี้ ปรากฏเหมือน
ว่าเป็นไข้กาฬโรค หมอจึ่งให้ย้ายหญิงผู้ป่วยอยู่อีกคนหนึ่ง กับคนที่อยู่ด้วยกัน
ในบ้านที่เกิดกาฬโรคมีอยู่ ๑๖ คน ไปโรงพยาบาลที่คลองสารในทันที และได้
ตรวจก�ำกับให้ช�ำระล้างบ้านเรือนในเวลากลางวันวันนี้แล้ว โรคที่เกิดใหม่ในวันนี้
ไม่มี


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๑ รายงานเรื่องไข้กาฬโรค (๘ ก.พ.
๑๒๓ – ๒๗ พ.ค. ๑๒๔), หน้า ๖.
๑๕๑

ข้าพระพุทธเจ้ามีความร้อนรนใจมากที่โรคมาเกิดขึ้นที่ต�ำบลส�ำเพ็ง
เสียแน่แล้ว ทั้งปรากฏเหมือนว่าเป็นมาโดยหลายวัน เพิ่งทราบแน่วันนี้ จึ่งได้
ก�ำชับสั่งมิสเตอร์ลอซันให้กวดขันกองตระเวนตรวจตราคนป่วยและตายที่ต�ำบล
ส�ำเพ็งโดยแข็งแรง เพื่อได้ทราบทุกไข้และจัดการป้องกันโรคแพร่หลายโดยที่สุด
ที่สามารถจะจัดป้องกันได้ต่อไป๑

ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช
หัตถเลขาตอบพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ความตอนหนึ่งว่า “เรื่องกาฬโรคเกิดขึ้น
ทีต่ ำ� บลส�ำเพ็งนัน้ ทราบแล้ว การทีเ่ กิดขึน้ ทีส่ ำ� เพ็งนีร้ า้ ยกาจมาก ฉันเกิดความสงสัยในความประมาท
ของหมอเสียแล้ว คือโรงเรียนราชินที วี่ า่ ย้ายคนแล้วไม่ตอ้ งกวารันตีน เดีย๋ วนีก้ ท็ ราบว่าเป็นอีก จะเป็น
จะตายเท่ากัน ครูกักไว้ในโรงเรียน ทั้งสงสัยกองตระเวนว่าจะรู้ไม่ได้ หรือรู้ไม่ได้ทันที เช่นที่โรงเรียน
ราชินีเป็นก็ไม่รู้ ที่ส�ำเพ็งเป็นก็เพิ่งรู้ ถ้าเช่นนี้เห็นจะเอาไว้ไม่อยู่,” อ้างจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ,
ร.๕ น.๕.๗ก/๑๑ รายงานเรื่องไข้กาฬโรค (๘ ก.พ. ๑๒๓ – ๒๗ พ.ค. ๑๒๔), หน้า ๓๗.
๑๕๒

ที่ ๓๘/๑๘๐๒๑ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
รายงานแพทย์ ต รวจกาฬโรคในระหว่ า งตั้ ง แต่ เวลาเที่ ย งวั น ที่ ๘
จนเที่ยงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ไม่มีคนป่วย แต่รายงานตั้งแต่เที่ยงวันที่ ๙ จนเวลา
เที่ยงวันนี้ มีคนป่วยกาฬโรค ๓ คน คือ (๑) บุตรจีนอยู่ใกล้บ้านพระยาจักรปาณี
ป่วยในเวลาบ่ายวันที่ ๙ ได้รับเอาไปโรงพยาบาลในเย็นวันนั้น (๒) คนไทยส�ำหรับ
เดินหนังสือกรมกองตระเวนโรงพักบ้านทวาย วันที่ ๙ ยังท�ำการเดินหนังสืออยู่
ครั้นค�่ำกลับไปบ้านอยู่ที่คลองตลาดสมเด็จ ป่วยเป็นกาฬโรค วันนี้เวลาเช้า
ได้เอาไปรักษายังโรงพยาบาล (๓) และเช้าวันนี้มีจีนที่ตลาดสมเด็จตายคน ๑
หมอผ่าตรวจได้ความว่าเป็นกาฬโรค และคนที่ป่วยกาฬโรคแต่ก่อนพยาบาลอยู่
ที่โรงพยาบาลคลองสาน ๔ คนนั้น มีอาการยังชั่วเกือบหาย ๒ คน และที่ต�ำบล
ส�ำเพ็งไม่มีคนป่วยเป็นกาฬโรคอีก
อนึ่ง ตามข้อความในพระราชหัตถเลขาที่ ๔๑/๑๖๘๑ ลงวันวานนี้
มีพระกระแสทรงสงสัยในความประมาทของหมอ ซึ่งไม่ได้ควอรันตีนที่โรงเรียน
ราชินี บัดนี้ทรงทราบข่าวว่า มีคนป่วยอีก จะเป็นจะตายเท่ากัน ครูกักไว้ใน
โรงเรียนนัน้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปถึงโรงเรียนไต่สวนเอง ก็หาได้ความว่ามีคนป่วยไม่


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๑ รายงานเรื่องไข้กาฬโรค (๘ ก.พ.
๑๒๓ – ๒๗ พ.ค. ๑๒๔), หน้า ๔๐ – ๔๑.
๑๕๓

โรงเรี ย นได้ ป ิ ด แต่ วันพุธที่ ๘ กุมภาพันธ์นั้นแล้ ว แต่ เ มื่ อ ปิ ด โรงเรี ย นมี บุต รี
พระยารักษาสมบัติป่วยอยู่คนหนึ่ง หมอก็ได้ตรวจแล้วว่าไม่ใช่เป็นกาฬโรค
และหมอได้ตรวจเด็กทุกคนแล้วว่าไม่มีอาการป่วย ครูโรงเรียนจึ่งส่งกลับไปยัง
บ้าน บัดนี้ก็ไม่มีเด็กอยู่ในโรงเรียน
ข้าพระพุทธเจ้าได้สอบสวนหมอว่า เหตุใดจึ่งไม่ควอรันตีนโรงเรียน
หมอชี้แจงว่า บุตรีพระยามนตรีฯ ป่วยเป็นหวัดปวดศีรษะเล็กน้อยแต่บ้านพระยา
มนตรีฯ มายังโรงเรียนวันจันทร์ที่ ๓๐ มกราคม เป็นไข้จับในวันอังคารรุ่งขึ้น
ครูโรงเรียนเห็นว่าไข้แรงจึ่งได้แยกจากห้องเด็กให้มาอยู่ห้องต่างหากผู้เดียวใน
วันนั้น และแจ้งข่าวไปยังบ้าน รุ่งขึ้นวันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พระยามนตรีฯ ให้มา
รับเด็กไปบ้าน ครูโรงเรียนก็ได้เลิกผ้าผ่อน หมอนมุ้ง ที่นอนของเด็กไว้ต่างหาก
และได้ช�ำระล้างห้อง แต่เมื่อเด็กไปบ้านนั้นแล้ว เด็กป่วยอยู่ที่บ้านพระยามนตรีฯ
ต่อไปจนวันจันทร์ที่ ๖ กุมภาพันธ์ จึ่งถึงแก่กรรม หมอได้มาตรวจโรงเรียนในวัน
อังคารที่ ๗ กุมภาพันธ์ ได้บงั คับให้ครูเผาผ้าผ่อน หมอนมุง้ ทีน่ อนซึง่ เด็กใช้นน้ั แล้ว
และตรวจโรงเรียนเห็นว่าครูช�ำระล้างพอแก่ความป้องกันโรคแล้ว โดยเด็กนั้น
ป่วยอยู่โรงเรียนเมื่อแรกโรคจับเพียงวันเดียว และทั้งล่วงวันไปแล้วถึง ๗ วัน
ได้ตรวจเด็กทั้งโรงเรียนก็มีอาการเป็นปรกติ เว้นแต่บุตรีพระยารักษาสมบัติ
ป่ ว ยอยู ่ ผู ้ ห นึ่ ง ก็ ต รวจ เห็ น ว่ า ไม่ ใช่ ก าฬโรค หมอจึ่ ง คิ ด ว่ า ไม่ ส มควรจะกั ก
โรงเรียนซึ่งคนป่วยอยู่ล่วงได้ถึง ๗ วันแล้ว และทั้งจะกักก็ไม่เป็นประโยชน์ได้
เพราะเด็กในโรงเรียนนั้น มาเรียนกลางวันแล้วกลับไปบ้านก็มีอยู่ จึ่งได้ก�ำชับ
สัง่ ครูวา่ ถ้ามีเด็กป่วยใหม่ในโรงเรียนอีก ให้ครูเรียกหมอทรัมป์ ซึง่ อยูท่ โี่ รงพยาบาล
ทหารข้างหลังโรงเรียนใกล้กันนั้น ไปตรวจในทันที และจนวันนี้ก็ได้ ๑๑ วัน
สิ้นเขตก�ำหนดไข้กาฬโรคที่ติดกันได้ในส่วนโรงเรียนนั้นแล้ว หมอก็ไม่ได้รับ
รายงานจากหมอทรัมป์ว่าได้ตรวจคนป่วยในโรงเรียนนั้น หมออธิบายเหตุที่ไม่ได้
ควอรันตีนดังนี้
๑๕๔

อนึ่ง หมอขอแนะน�ำการป้องกันกาฬโรคในวันนี้อีกอย่างหนึ่ง คือ


งานนักขัตฤกษ์นมัสการพระบาทที่วัดจักรวรรดิราชาวาศ ซึ่งก�ำหนดเคยมีใน
กลางเดือนสาม จะตั้งต้นมีงานแต่วันที่ ๑๗ ถึงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์นั้น หมอเห็น
ด้วยเกล้าฯ ว่า วัดจักรวรรดิฯ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับต�ำบลตึกแดง และอยู่ในส�ำเพ็ง
ใกล้กนั กับต�ำบลตรอกอาม้าเกงทีไ่ ด้มกี าฬโรคบ้านหนึง่ แล้ว แม้ถา้ มีการนักขัตฤกษ์
ผู้ที่จะไปชุมนุมเบียดเสียดกันในงานนี้ ถ้าคนอยู่ฟากข้างโน้นคงต้องเดินผ่านมา
ในต� ำ บลที่ เ กิ ด โรคอยู ่ แล้ ว ข้ า มเรื อ จ้ า งท่ า ตึ ก แดง และที่ ชุ ม นุ ม เบี ย ดเสี ย ด
กั น มากอย่ า งนั ก ขั ต ฤกษ์ ย่ อ มเป็ น ที่ น ่ า กลั ว แก่ ค วามไข้ ที่ จ ะติ ด เนื่ อ งกั น
แม้โรคเกิดขึ้นในหมู่ชนที่มาในงานนักขัตฤกษ์เช่นนั้นแล้ว ก็จะแพร่หลายมากไป
เอาไว้ไม่อยู่ เพราะฉะนั้นหมอขอห้ามงานนักขัตฤกษ์ที่วัดจักรวรรดิราชาวาศ
ในเดื อ นนี้ ค ราวหนึ่ ง เพื่ อ ป้ อ งกั น โรค ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า คิ ด ด้ ว ยเกล้ า ฯ ว่ า
ตามความที่หมอขอห้ามนั้น เป็นการสมควรจะต้องกระท�ำตาม เพราะกาฬโรค
ในต�ำบลตึกแดง และตลาดสมเด็จ ซึ่งเป็นต�ำบลที่ตรงกันข้ามกับวัดจักรวรรดิฯ
นั้นมากนัก ไม่สมควรจะประมาทแก่โรคอันตรายอันพึงกลัวนั้น จึ่งได้มีหนังสือ
แจ้งยังกระทรวงธรรมการ ขอให้บอกเหตุห้ามการนักขัตฤกษ์ที่วัดจักรวรรดิ
ราชาวาศ ซึ่งจะมีในเดือนนี้นั้นแล้ว
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ
๑๕๕

ที่ ๔๒/๑๘๗๙๒ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยไข้กาฬโรคนั้น ราษฎรเป็นอันมากยังไม่ทราบว่าเป็นโรคร้ายแรง
เพียงไร และการที่เจ้าพนักงานจัดป้องกันอยู่ทุกวันนี้ก็ยังไม่ทราบแน่ว่าจัด
ประการใด และจะเป็นคุณประโยชน์เพียงไร ยิ่งเจ้าพนักงานกักคนไว้ในบ้านเรือน
หรือย้ายคนซึ่งอยู่ในบ้านเรือนคนป่วยไปกักไว้ยังโรงพยาบาล ก็ยิ่งท�ำให้คน
ทั้งหลายซึ่งไม่ทราบความประสงค์ป้องกันนั้น ไม่เห็นเป็นคุณประโยชน์มากขึ้น
กลับจะเห็นไปว่ากระท�ำให้ได้ความล�ำบาก หรือกระท�ำให้เกิดความอันตราย
ยิ่งจะปกปิดคนป่วยไข้มากขึ้นไป ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งได้หารือแพทย์สุขาภิบาล
ให้เรียบเรียงแจ้งอาการไข้กาฬโรค และแนะน�ำให้ปฏิบัติในเวลามีไข้ที่สงสัย
เพื่อจะร่างประกาศให้มหาชนทราบคุณประโยชน์ ซึ่งจะได้ช่วยน�ำข่าวคนป่วยไข้
มาแจ้งแก่เจ้าพนักงานให้ทราบนั้น พอหมอร่างข้อความมายื่นแล้ว ก็พอประจวบ
มีเหตุมหาชนพากันตื่นตกใจ เล่าลือกันทั่วพระนครในเวลาวันนี้ว่า หมอฝรั่งเที่ยว
ตรวจไข้กาฬโรคนั้น จะจับคนเดินถนนทั้งพระนคร คือ คนอ้วนเกินไปหรือผอม
เกินไป ก็ว่าเจ็บ จะจับตัวไปกักขัง ถ้าเป็นคนเจ็บก็เอาตัวไป เอาน�้ำแข็งทับท้องให้
ตายบ้าง หรือทายาให้ตายบ้าง จะแหวะเอาหัวใจไปท�ำอะไรต่างๆ ทั่วทั้งพระนคร
บางร้านบางรายเห็นหมอและเจ้าพนักงานเดินไป ก็พากันปิดร้านโรงและวิ่งหนี
และมีพวกจีนบางต�ำบลบางรายถึงหารือกันและกล่าวเป็นค�ำขู่ว่า ถ้าหมอฝรั่งไป
เอาตัวบุตรหรือญาติทปี่ ว่ ยไปโรงพยาบาลเมือ่ ใด จะพร้อมกันต่อสูข้ ดั ขวางดังนีก้ ม็ ี


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๒๕ – ๒๖.
๑๕๖

ข้าพระพุทธเจ้ายังให้เจ้าพนักงานกองตระเวนสืบสวนต้นเหตุอยู่ว่า จะเป็นมาด้วย
เหตุอันใด เพราะคิดด้วยเกล้าฯ ว่า คงจะเกิดมีผู้ถือเอาโอกาสลักลอบขู่กรรโชก
ตรวจลงเอาเงินทองกันในหมู่นี้ ว่าจะเอาไปกักขังและอะไรต่างๆ นั้น
การที่จะให้ราษฎรสงบความตื่นตกใจครั้งนี้ จะต้องประกาศให้ทราบ
วิธีการที่จัดป้องกันให้เห็นคุณประโยชน์ ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งได้ร่างประกาศแจ้ง
การที่จัดป้องกันกาฬโรคแพร่หลาย น�ำข้อความที่หมอแจ้งอาการโรคและแนะน�ำ
ให้ปฏิบัตินั้น เพื่อให้มหาชนทราบ ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย ข้อใจความ
แจ้งอาการโรคที่หมอเรียบเรียงฉบับ ๑ ร่างประกาศฉบับ ๑ ทราบฝ่าละอองธุลี
พระบาท ถ้าต้องด้วยกระแสพระราชด�ำริ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว
จะได้รีบพิมพ์ประกาศในทันใด๑

ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


วันต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ออก “ประกาศ
จัดการป้องกันกาฬโรค” ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) และ “ประกาศห้ามคน
ตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค” ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๗) เพื่อสร้าง
ความเข้าใจแก่ราษฎร
๑๕๗

ที่ ๔๕/๑๙๕๗๒ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๗
วันที่ ๔ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคม
ทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยแพทย์สุขาภิบาลยื่นรายงานแจ้งรายการที่ได้ตรวจจัดป้องกัน
กาฬโรค ซึ่งได้เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม จนสิ้นปราศจาก
โรคในวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ฉบับ ๑ รวมโรคที่เกิดมี ๒๙ คน ตาย ๒๓ คน
รอด ๖ คน คิดเฉลี่ยตามจ�ำนวนร้อย เป็นตายร้อยละ ๗๙ คน ราวกันกับโรคที่เกิด
ในเมืองฮ่องกง และน้อยกว่าในประเทศอินเดีย กับแจ้งรายการที่ได้จัดต�ำบล
เกาะพระเป็นด่านตรวจป้องกันกาฬโรคแทนเกาะไผ่ แจ้งอยู่ในส�ำเนารายงาน
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ส� ำ เนารายงานนี้ แจ้ ง ยั ง กระทรวงต่ า งประเทศ
เพือ่ ส่งผูแ้ ทนรัฐบาลต่างประเทศแล้ว และคิดด้วยเกล้าฯ ว่า ควรลงพิมพ์ในหนังสือ
ราชกิจจานุเบกษาและหนังสือพิมพ์ในพระนคร เพื่อให้มหาชนทราบจ�ำนวนไข้
ที่เกิดขึ้น และมีจ�ำนวนคนตายและหาย กับทั้งที่ได้จัดการป้องกันกาฬโรคนั้น
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๑ รายงานเรื่องไข้กาฬโรค (๘ ก.พ.
๑๒๓ – ๒๗ พ.ค. ๑๒๔), หน้า ๑๒๓.
๑๕๘

รายงานประจ�ำปีที่ ๘ ของเจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาล
ร.ศ. ๑๒๓ (๑ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๕)๑
[ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๗]

นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวยุโรปคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า “ประเทศที่มี
ความสุ ข คื อ ประเทศที่ ไ ม่ มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ” ๒ ค� ำ กล่ า วนี้ ใช้ ไ ด้ กั บ กิ จ การของ
กรมสุขาภิบาลนับแต่ก่อตั้งขึ้นมาจนถึงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว รายงานประจ�ำปี
แต่ละฉบับเป็นการบันทึกความก้าวหน้าอย่างช้าๆ แต่มั่นคง โดยไม่มีช่วงเวลา
วิกฤตหรือเหตุการณ์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของกรมสุขาภิบาล จนกระทั่ง
ในปีนี้ เมื่อกาฬโรคระบาดมาถึงพวกเราในที่สุด ข้าพเจ้าได้ท�ำนายเรื่องนี้ไว้
บ่อยครั้งในรายงานประจ�ำปีฉบับก่อนๆ และในเอกสารอื่น แต่ข้าพเจ้าเกรงว่า
การที่ค�ำท�ำนายของข้าพเจ้าบางส่วนไม่เป็นจริงนั้น ท�ำให้ข้าพเจ้าถูกถือว่า
เป็นพวกตื่นตูม
ดังที่ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้ในรายงานประจ�ำปีของแพทย์สุขาภิบาล ร.ศ.
๑๒๑ [พ.ศ. ๒๔๔๕] ความว่า “ข้าพเจ้ามักจะได้ยินผู้กล่าวว่ากาฬโรคจะไม่มีวัน
ระบาดในกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าหวังว่าค�ำปลอบใจเช่นนั้นจะเป็นจริง แต่เนื่องจาก
กาฬโรคเกิ ด การระบาดเป็ น ประจ� ำ ในเกาะทุ ่ ง คา ซึ่ ง อยู ่ ใ กล้ เ ส้ น ศู น ย์ สู ต ร
มากกว่ากรุงเทพฯ ราวแปดองศา ทั้งยังเกิดการระบาดที่บอมเบย์ ซึ่งอยู่เหนือ
จากกรุงเทพฯ ราวสี่องศา ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงมองไม่เห็นว่าท�ำไมกาฬโรค


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๑๔ รายงานประจ�ำปีกรมสุขาภิบาล
(๑ เม.ย. ๑๒๓ – ๓๑ มี.ค. ๑๒๔), หน้า ๓๐ – ๔๕, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๒ ค�ำกล่าวนี้หมายความว่า ประวัติศาสตร์มักจะบันทึกเรื่องราวของความวุ่นวาย ความโหด
ร้าย สงคราม ความทุกข์ยากต่างๆ ดังนั้นประเทศที่ไม่มีประวัติศาสตร์จึงเป็นประเทศที่มีความสุข
เพราะไม่มีเรื่องราวเหล่านี้ให้บันทึก
๑๕๙

จะไม่ระบาดในกรุงเทพฯ กาฬโรคจะไม่ระบาดอย่างฉับพลันในสถานที่หนึ่งๆ
แต่ ดู เ หมื อ นจะอาศั ย ปั จ จั ย สี่ อ ย่ า งที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด การระบาดอย่ า งร้ า ยแรง คื อ
(๑) การมีผู้ป่วยกาฬโรคเดินทางเข้าสถานที่นั้นซ�้ำๆ อยู่ร�่ำไป (๒) การติดเชื้อ
ที่ผืนดิน บ้าน และพวกหนู ซึ่งติดเชื้อจากผู้ป่วยกาฬโรค (๓) มีการแพร่กระจาย
การติดเชื้อเป็นระยะเวลาหนึ่ง (๔) ผืนดินที่เหมาะส�ำหรับการแพร่กระจายเชื้อ
ผืนดินเหล่านี้ได้แก่เมืองที่ไม่มีสุขาภิบาล บ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกันเกินไป และมี
ผู้อยู่อาศัยแออัด ทั้งยังมีสิ่งโสโครกต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นพบได้ในส�ำเพ็ง”
ไม่มีใครจะปฏิเสธข้อเท็จจริงที่ว่า ผืนดินในกรุงเทพฯ เอื้อต่อการ
แพร่ระบาดของกาฬโรค แม้ว่าปัจจัยข้อ (๑) และข้อ (๒) ที่ข้าพเจ้ากล่าวถึง
ในรายงานฉบับนั้นจะได้รับความตระหนักในระดับหนึ่ง แต่น�้ำหนักของมันก็ถูก
ลดทอนลงไปมาก เนือ่ งจากกาฬโรคเริม่ ระบาดในฝัง่ ตะวันตกของแม่นำ�้ เจ้าพระยา
ไม่ใช่ในส�ำเพ็งตามที่ข้าพเจ้าคาดการณ์ไว้
ในฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา นอกจากบ้านเรือนจะอยู่ห่างกัน
มากกว่าที่ฝั่งตะวันออกแล้ว ผู้อยู่อาศัยโดยทั่วไปก็มีความแออัดน้อยกว่า ทั้งยัง
มีคลองขนาดใหญ่และแม่น�้ำเจ้าพระยาช่วยขวางกั้นบริเวณที่ติดเชื้อ จนไม่น่า
เป็นไปได้ที่กาฬโรคจะระบาดมาถึงฝั่งตะวันออก
เราจึงสามารถหยุดยั้งการระบาดขนาดเล็กได้ในขณะนี้ แต่เนื่องจากมี
หนูตดิ เชือ้ กาฬโรคจ�ำนวนมาก และในฮ่องกงก็ได้รบั การพิสจู น์แล้วว่ากาฬโรคอาจ
กลายเป็นโรคเรื้อรังในสัตว์จ�ำพวกนี้ และเพาะเชื้อในเมืองต่อไปได้เป็นเวลา
หลายเดือน มีเพียงกาลเวลาเท่านั้นที่จะพิสูจน์ว่าการขจัดกาฬโรคเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าความพยายามของเราประสบผลส�ำเร็จ เราต้องไม่เหลิงตัว
และคลายใจไปกับความคิดว่ากาฬโรคจะไม่ระบาดอย่างร้ายแรงในกรุงเทพฯ
๑๖๐

ที่สิงคโปร์มีรายงานผู้ป่วยกาฬโรคเป็นช่วงๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
แต่ไม่นานมานี้ ช่วงเวลาที่ปรากฏผู้ป่วยกระชั้นสั้นลงมาก ข้าพเจ้าจะไม่แปลกใจ
เลยถ้าเกิดกาฬโรคระบาดอย่างร้ายแรงที่สิงคโปร์ในอีกไม่นานนี้
ดั ง ที่ ข ้ า พเจ้ า กล่ า วไว้ ใ นรายงานประจ� ำ ปี ฉ บั บ ที่ อ ้ า งถึ ง ก่ อ นหน้ า นี้
ความว่า “สิ่งส�ำคัญที่ต้องท�ำเพื่อป้องกันกาฬโรคคือ (๑) ป้องกันไม่ให้กาฬโรค
ระบาดมาถึง (๒) ถ้ากาฬโรคระบาดมาถึงแล้ว ก็ต้องท�ำให้การแพร่ระบาด
ต่อไปเกิดขึ้นได้ยากหรือเกิดไม่ได้เลย โดยการปรับปรุงสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ
หากกาฬโรคระบาดอย่างมั่นคงและทั่วไปในสถานที่หนึ่งแล้ว ดูเหมือนจะเป็น
การยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะขจัดการระบาดนั้น”
ตอนนีข้ า้ พเจ้ายังไม่เห็นเหตุผลทีจ่ ะต้องแก้ไขข้อเสนอดังกล่าวทีเ่ ขียนไว้
เมื่อสองปีที่แล้ว
เนื่องจากปริมาณงานอันมหาศาลที่ต้องท�ำในการต่อสู้กับกาฬโรค
จึงมีการแต่งตั้งผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล คือนายแพทย์คาร์ทิว๑ ซึ่งเคยดูแลรักษา
ผู้ป่วยกาฬโรคเป็นจ�ำนวนมากที่อินเดีย ผลที่สืบเนื่องจากการระบาดของกาฬโรค
อีกอย่างหนึ่งคือ การอนุมัติเงินจ�ำนวนหนึ่งส�ำหรับการตั้งโรงพยาบาลส�ำหรับ
โรคติ ด ต่ อ ซึ่ ง ข้ า พเจ้ า จะกล่ า วถึ ง เรื่ อ งนี้ แ ละเรื่ อ งที่ เ กี่ ย วกั บ กาฬโรคต่ อ ไป
ในส่วนหลังๆ ของรายงานฉบับนี้
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...


นายแพทย์มอร์เดน คาร์ทิว (Morden Carthew) แพทย์ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้ามาใน
เมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์
เป็นพระยาอายุรเวชวิจกั ษ์ มีบทบาทในการสร้างและด�ำเนินงานโรงพยาบาลคนเสียจริตทีค่ ลองสาน
(ปัจจุบันคือสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา)
๑๖๑

นายแพทย์มอร์เดน คาร์ทิว
ผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล

แผนกสุขาภิบาลท่าเรือ
ข้ อ เท็ จ จริงที่ส�ำคัญที่สุดซึ่งต้องเอ่ยถึง เกี่ ย วกั บงานของแผนกนี้ คือ
การเปลี่ยนที่ตั้งด่านกักกันเรือจากเกาะไผ่เป็นเกาะพระ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับสัตหีบ
เหตุผลของการย้ายเป็นเพราะผู้ที่เลือกเกาะไผ่เป็นที่ตั้งด่านกักกัน
เรือนั้นพิจารณาเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเรือต่างๆ สามารถทอดสมอ
ได้สะดวกทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ ไม่เคยมีผู้ใดคาดคิดว่าจะต้อง
กักกันเรือในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือด้วย แต่ในที่สุดก็เกิดความจ�ำเป็นขึ้น
เมื่อกาฬโรคระบาดที่สิงคโปร์ในเดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
เมื่ อ เกรงว่ า จะไม่ มี จุ ด ทอดสมอที่ เ หมาะสมและปลอดภั ย ทางตะวั น ตกของ
เกาะ จึงส่งที่ปรึกษาของนายท่าไปตรวจสอบ โดยได้รับค�ำสั่งว่า หากเกาะไผ่
ไม่มีจุดทอดสมอที่เหมาะสม ก็ให้หาสถานที่อื่นที่เหมาะสม ซึ่งใช้งานได้ทุก
ฤดูมรสุม ที่ปรึกษากลับมารายงานว่า เกาะไผ่ไม่สามารถใช้งานได้ในฤดูมรสุม
ตะวันออกเฉียงเหนือ และหลังจากไปตรวจสอบสถานที่หลายแห่งแล้วพบว่า
๑๖๒

เกาะพระเหมาะส�ำหรับการนี้ที่สุด ข้าพเจ้าจึงได้ไปตรวจสอบที่เกาะพระและ
ที่อื่นๆ จนตัดสินใจว่าไม่มีที่ใดเหมาะสมกว่าเกาะพระอีกแล้ว แม้จะอยู่ค่อนข้าง
ไกลจากกรุงเทพฯ ก็ตาม รัฐบาลจึงส่งพวกกุลีไปถางป่าและตั้งกระท่อมชั่วคราว
ส�ำหรับแพทย์และพนักงานในทันที เมื่อถึงต้นเดือนมกราคมก็ได้ตั้งด่านกักกัน
เรือที่นั่น มีการถางป่าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ และตั้งอาคารต่างๆ ที่ย้ายมาจาก
เกาะไผ่ คนของเราจัดสร้างกระท่อมของพวกกุลีและท่าเรือ มีการท�ำสัญญา
จัดสร้างเครื่องสูบน�้ำซึ่งสามารถจ่ายน�้ำจืดปริมาณ ๓,๐๐๐ แกลลอนในเวลา
๒๔ ชั่วโมง เครื่องสูบน�้ำนี้สร้างเสร็จและจ่ายน�้ำได้มากกว่าที่ท�ำสัญญาไว้เสียอีก
ด่านกักกันเรือเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างรวดเร็ว แต่ก็เกิดโรคไข้จับสั่นที่ร้ายแรง
ระบาดอย่างชุกชุมตามปกติของสถานที่ ซึ่งเป็นป่ามาแต่เดิมและเพิ่งจะถูกถาง
ไป ที่เกาะไผ่เดิมก็เป็นเช่นนี้อยู่หลายปี กว่าที่หนองบึงชื้นแฉะทั้งหมดจะแห้งไป
หรือถูกถมไป เราก�ำลังพยายามท�ำทุกอย่างให้เกาะพระมีการสาธารณสุขที่ดีขึ้น
เพราะพวกกุลีนั้นหายากยิ่งในเวลาที่ไข้จับสั่นระบาดเช่นนี้
อาจกล่าวได้ว่าเกาะพระจะกลายเป็นด่านกักกันโรคถาวร ก่อนหน้านี้
เมื่อมีการประกาศกักกันเรือที่มาจากเมืองท่าต่างประเทศ ก็จะไปตั้งด่านกักกัน
เรือที่เกาะไผ่ แต่ในช่วงเวลาที่เป็นเพียงการตรวจโรคบนเรือที่มาจากเมืองท่าที่
สงสัย แพทย์ผู้ตรวจของด่านกักกันเรือจะประจ�ำอยู่ที่ต�ำบลปากน�้ำ การนี้ท�ำให้
เกิดปัญหาอย่างมากส�ำหรับเรือที่ต้องการขนของลงที่จุดทอดสมอภายนอก
แต่ตอนนี้จะไม่เป็นปัญหาแล้ว เนื่องจากด่านกักกันเรือไปตั้งอยู่ภายนอกขอบเขต
ของท่าเรือตามที่มันควรจะเป็น
ข้าพเจ้าคาดว่าอาจจะมีปัญหากับพวกทูตต่างประเทศและกัปตันเรือ
ต่างๆ ข้าพเจ้าจึงขอให้กรมแผนที่พิมพ์แผนผังของเกาะพระและบริเวณโดยรอบ
และวางจ�ำหน่ายไว้ที่ส�ำนักงานของนายท่า
๑๖๓

แผนผังนี้เป็นที่ต้องการพอสมควร แต่พวกกัปตันเรือมีความเห็นกัน
โดยทั่วไปว่า ควรจะมีแผนผังที่ละเอียดกว่านี้เพื่อให้เดินเรือระหว่างเกาะได้อย่าง
ปลอดภัย ข้าพเจ้าหวังว่ากรมทหารเรือจะท�ำการส�ำรวจเพื่อเขียนแผนผังเช่นนี้ได้
นอกจากนี้ ควรวางสายโทรเลขจากจันทบุรีไปยังสัตหีบ เนื่องจากใน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการสื่อสารกับกรุงเทพฯ ต้องอาศัยการส่งข่าวไปกับเรือเท่านั้น
ในปี นี้ ไ ด้ ต รวจเรื อ ๓๐๕ ล� ำ และตรวจผู ้ โ ดยสาร ๓๘,๒๖๕ คน
ในภาคผนวก ๑ มีรายละเอียดของเมืองท่าที่เรือเหล่านี้เดินทางมา ตลอดจน
จ�ำนวนเรือและผู้โดยสารจากท่าเรือต่างๆ ผู้โดยสารส่วนใหญ่มาจากซัวเถา
อีกเช่นเคย จ�ำนวนทั้งสิ้น ๒๖,๔๙๕ คน
ไม่พบผู้ป่วยกาฬโรคในเรือล�ำใดที่ตรวจ แต่มีผู้ตายอย่างน่าสงสัย
บนเรือล�ำหนึ่งที่มาจากซัวเถา จึงให้ผู้โดยสารเรือทั้งหมด ๖๒๕ คน ลงมาพัก
ที่ด่านกักกันเรือเพื่อสังเกตอาการเป็นเวลา ๙ วัน ปรากฏว่าไม่มีโรคอันใด
นอกจากโรคหัดที่ระบาดในหมู่เด็ก หลังจากข้าพเจ้าตรวจโรคแก่ผู้โดยสารทุกคน
แล้วจึงส่งพวกเขาขึ้นเรือไปกรุงเทพฯ ต่อไป
โรคที่ พ บมากที่สุดในหมู่ผู้โดยสารคือโรคผิ วหนั ง และซิ ฟ ิ ลิ ส มี โรค
เหน็บชาหนึ่งราย และอีสุกอีใสสองราย ที่พบในบรรดาลูกเรือ
กฎหมายกักกันเรือที่ประกาศใช้ในรอบปีที่ผ่านมามีดังนี้
๒๐ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗] – กักกันเรือทีม่ าจากฮ่องกง
และซัวเถา
๑ กันยายน ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗] – ยกเลิกการกักกันเรือที่มา
จากฮ่องกงและซัวเถา
๑๕ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗] – กักกันเรือที่มาจากสิงคโปร์
๑๖๔

๒๒ มกราคม ค.ศ. ๑๙๐๕ [พ.ศ. ๒๔๔๗] – ย้ายด่านกักกันเรือมาเป็น


เกาะพระ
๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๐๕ [พ.ศ. ๒๔๔๗] – ยกเลิกการกักกันเรือที่มา
จากสิงคโปร์
๑๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๕ [พ.ศ. ๒๔๔๘] – กักกันเรือที่มาจากสิงคโปร์
๒๘ เมษายน ค.ศ. ๑๙๐๕ [พ.ศ. ๒๔๔๘] – ยกเลิกการกักกันเรือที่มา
จากสิงคโปร์
ข้าพเจ้าได้แนบส�ำเนาของกฎหมายเหล่านี้มาด้วยแล้ว
การประกาศใช้พระราชบัญญัติการเดินเรือฉบับใหม่ ๑ มีอยู่หมวด
หนึ่งที่เป็นข้อบังคับถาวรส�ำหรับการป้องกันโรคภยันตราย ซึ่งข้าพเจ้าร่างขึ้นเอง
และจะช่วยให้เกิดความสะดวกในการด�ำเนินงานอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้มี
ความล่าช้าในการที่จะต้องออกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันกาฬโรคทุกคราว
ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับในการกักกันเรือ ซึ่งเป็นการไม่สะดวกอย่างยิ่ง
ส�ำหรับทุกฝ่าย ทั้งยังล่าช้าในการขออ�ำนาจกักกันเรือทันทีที่ทราบว่าเกิดการ
ระบาดในเมืองท่าอื่น นับเป็นเรื่องที่อันตรายมาก แต่ภายใต้ข้อบังคับฉบับใหม่
ซึ่งถาวรนี้ สามารถด�ำเนินการได้ทันทีที่ทราบว่าเกิดการระบาดในเมืองท่าอื่น
และข้าพเจ้าก็ได้เจรจากับเจ้าหน้าที่สุขาภิบาลในสิงคโปร์และฮ่องกงแล้วว่า
ให้แจ้งข่าวในทันทีเมื่อพบผู้ป่วยกาฬโรคในเมืองท่าเหล่านั้น เราจึงอยู่ในสภาพ
ที่พร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินทุกประการ
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...


คื อ พระราชบั ญ ญั ติ ว ่ า ด้ ว ยการเดิ น เรื อ ในน่ า นน�้ ำ สยาม รั ต นโกสิ น ทรศก ๑๒๔
[พ.ศ. ๒๔๔๘]
๑๖๕

กาฬโรค
ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในตอนต้นของรายงานฉบับนี้แล้วว่า การที่
กาฬโรคระบาดมาถึงสยามเป็นเรื่องส�ำคัญที่สุดในการทบทวนเรื่องราวของปีนี้
เมื่ อ หลายปี ที่ แ ล้ ว ในเดื อ นสิ ง หาคม ค.ศ. ๑๙๐๑ [พ.ศ. ๒๔๔๔]
ข้าพเจ้าได้เสนอรายงานพิเศษเกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรคในกลาสโกว์
ซึ่งข้าพเจ้าได้ไปเห็นมาด้วยตนเอง และแนะน�ำให้ด�ำเนินมาตรการพิเศษต่างๆ
ในกรุงเทพฯ โดยค�ำนึงถึงอันตรายทีก่ าฬโรคจะระบาดเข้ามาจากเมืองท่าใกล้เคียง
สิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าแนะน�ำให้ด�ำเนินการคือ ให้ซื้อที่ดินส�ำหรับตั้งโรงพยาบาล
กักกันกาฬโรคที่ฝั่งตะวันตกของแม่น�้ำเจ้าพระยา ใกล้กับส�ำเพ็ง โชคดีอย่างยิ่ง
ที่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรวรฤทธิ์ ได้ซื้อที่ดินส�ำหรับการนี้บริเวณ
ริมคลองสานไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อกาฬโรคระบาดขึ้นจริงในกรุงเทพฯ งานก่อสร้าง
โรงพยาบาลนี้จึงไม่ต้องล่าช้าไปกับการเจรจาซื้อที่ดินอย่างยาวนาน
ข้าพเจ้าคงไม่ต้องรายงานเรื่องราวของการระบาดซ�้ำอีกครั้ง เนื่องจาก
มีการส่งรายงานเป็นพิเศษหลายฉบับมาโดยตลอด นับตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธันวาคม
ค.ศ. ๑๙๐๔ [พ.ศ. ๒๔๔๗] ถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๐๕ [พ.ศ. ๒๔๔๗]
มีผู้ป่วยกาฬโรค ๓๒ ราย ซึ่งในจ�ำนวนนี้ตาย ๒๕ ราย คิดเป็นอัตราการตาย
ร้อยละ ๗๘
ด้วยความกรุณาของท่านเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เราจึง
สามารถใช้บ้านหลังใหญ่ในสวนอันกว้างขวางของท่าน บริเวณริมคลองสาน
ซึ่งอยู่ใกล้กับตึกแดงที่มีกาฬโรคระบาด เราได้ตั้งรั้วสังกะสีพร้อมลวดหนาม
ไว้รอบบ้าน กั้นเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ภายในสวน และสร้างบ้านไม้มุงจากขนาดเล็ก
ไว้หกหลัง แต่ละหลังรองรับผู้ป่วยได้หกคน
๑๖๖

โรงพยาบาลกาฬโรคที่คลองสาน ปัจจุบันคือโรงพยาบาลตากสิน กรุงเทพฯ


ที่มา : Arnold Wright (Editor), Twentieth Century Impressions of Siam :
its history, people, commerce, industries and resources (London : Lloyds
Greater Britain Publishing Company Ltd., 1908), p.130.

มีการแต่งตั้งผู้ตรวจการเพิ่มขึ้นอีกสองคนเพื่อป้องกันกาฬโรคโดย
เฉพาะ ทั้งยังขอความช่วยเหลือจากหมอเอกชนอีกหลายคน ในช่วงที่การระบาด
สงบลงนั้น ปรากฏว่ากรมสุขาภิบาลสามารถต่อสู้กับกาฬโรคได้อย่างเข้มแข็ง
มากขึ้น ตอนนี้พนักงานทุกคนคุ้นเคยกับงานที่ท�ำ ส่วนผู้ตรวจการก็ไม่ได้เขลา
เรื่องลักษณะอาการของผู้ป่วยกาฬโรคอย่างเดิมแล้ว และราษฎรก็เริ่มคิดว่าหมอ
และพวกที่ท�ำการฆ่าเชื้อนั้น แม้จะเป็นปัญหาแต่ก็มีความจ�ำเป็นไม่มากก็น้อย
ไม่ใช่คนร้ายที่ลากตัวราษฎรผู้น่าสงสารไปฆ่าทิ้งในโรงพยาบาล อย่างที่เคย
เชื่อกัน แม้ข้าพเจ้าจะเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งเมืองว่าเป็น “หมอ” แต่ตอนนี้ข้าพเจ้า
สามารถเดิ น ไปทุ ก หนทุ ก แห่ ง โดยไม่ มี ผู ้ ใ ดกลั ว หรื อ ข่ ม ขู ่ เ อาชี วิ ต ข้ า พเจ้ า
เหมือนที่เคยเกิดขึ้นบ่อยครั้งก่อนหน้านี้ พวกพลตระเวนโดยเฉพาะพวกที่อยู่
๑๖๗

ฝัง่ ตะวันตกของแม่นำ�้ เจ้าพระยา ซึง่ มีประสบการณ์ในการป้องกันกาฬโรคมาแล้ว


นับเป็นผู้ช่วยที่มีค่ามากในการตรวจหาผู้ที่สงสัยว่ามีอาการป่วย
อีกสิ่งหนึ่งที่ส�ำคัญมากในการต่อสู้กับกาฬโรคคือ การตั้งโรงพยาบาล
ส�ำหรับโรคติดต่อต่างๆ โรงพยาบาลเช่นนี้เป็นส่วนประกอบส�ำคัญขององค์กร
จัดการสุขาภิบาลทุกแห่ง และเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้หลายครั้งในรายงาน
ฉบับก่อนๆ ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงโรงพยาบาลนี้ต่อไปในหัวข้อ “สิ่งก่อสร้าง”
วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้กาฬโรคระบาดลุกลามออกไปใน
สยามนั้น ข้าพเจ้าเขียนอธิบายไว้ในรายงานพิเศษฉบับต่างๆ แล้ว แต่อาจสรุปได้
ด้วยค�ำว่า “การปรับปรุงสุขาภิบาล” หากพิจารณาจากประวัติการเกิดกาฬโรค
ในประเทศต่างๆ แล้วจะพบว่า กาฬโรคจะกลับมาระบาดอีกอย่างแน่นอน
ตราบใดที่สภาพสุขาภิบาลของเมืองนั้นยังเหมาะแก่การเพาะเชื้อและการระบาด
ของโรค
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงชื่อ) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๑๖๘

สยาม
รายงานจากกรุงเทพฯ – ประวัติการระบาดของกาฬโรค๑

นายแพทย์โธมัส เฮย์เวิร์ด เฮย์ส

ข้อมูลต่อไปนี้ได้รับจากนายแพทย์ โธมัส เฮย์เวิร์ด เฮย์ส (Thomas


Hayward Hays) ศัลยแพทย์โรงพยาบาลทหารเรือแห่งสยาม ลงวันที่ ๒๒
พฤษภาคม [พ.ศ. ๒๔๔๘] ความว่า
นับเป็นครั้งแรกเท่าที่ปรากฏว่า เมืองหลวงของสยามเกิดการระบาด
เล็กๆ ของกาฬโรค
เมื่ อ วั น ที่ ๒๐ ธั น วาคมปี ที่ แ ล้ ว [พ.ศ. ๒๔๔๗] กรมสุ ข าภิ บ าล
กรุงเทพฯ ได้รับแจ้งว่า มีผู้ตายอย่างน่าสงสัยหลายรายบริเวณฝั่งตะวันตก


แปลจาก “Siam: Report from Bangkok. History of Plague Outbreak,” Public
Health Reports, Vol. 20, No. 28 (Jul. 14, 1905), pp. 1,442 – 1,444. ดาวน์โหลดต้นฉบับ
ดิจิทัลจากเว็บไซต์ http://www.jstor.org/stable/4555559
๑๖๙

ของแม่น�้ำเจ้าพระยา แพทย์สุขาภิบาลจึงรีบไปตรวจสอบ และพบว่ามีผู้ตาย


๔ คน ซึ่งมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน และตายภายใน ๓๖ ชั่วโมงเป็นอย่างช้า
ไม่พบต่อมน�้ำเหลืองโตหรือรอยบวมในบริเวณอื่นๆ แต่ในบ้านหลังที่อยู่ติดกับ
บ้ า นที่ มี ผู ้ ต าย ๓ คน มี ช ายคนหนึ่ ง ที่ ต รวจร่ า งกายแล้ ว พบว่ า ก� ำ ลั ง ป่ ว ย
ด้วยกาฬโรคอย่างชัดเจน
ทั้ ง ผู ้ ป ่ ว ยและผู ้ ต ายเหล่ า นี้ อยู ่ เ ฉพาะในชุ ม ชนของแขกอิ น เดี ย ใน
บั ง คั บ ของอั ง กฤษ แต่ เ มื่ อ ตรวจสอบเพิ่ ม เติ ม แพทย์ ก็ ไ ด้ ท ราบว่ า มี ผู ้ ต าย
อีกคนหนึ่ง ที่มีอาการไข้สูงมากและมีต่อมน�้ำเหลืองโตด้วย อาศัยอยู่ในบ้าน
ของขุนนางชาวสยามใกล้กับชุมชนแขกอินเดียนั้น นอกจากนี้ยังมีประวัติว่า
มีหนูตายจ�ำนวนมากในช่วง ๑ – ๒ สัปดาห์ก่อนที่จะเกิดการระบาดครั้งนี้
ส่วนหนูที่ไม่ตายก็ย้ายถิ่นไปยังบริเวณอื่น
พลตระเวนจัดการปิดล้อมบริเวณที่เกิดการระบาดในทันที มีการรื้อ
และเผาบ้านไม้ที่สกปรกหลายหลัง ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ก็อพยพคนออก และ
น�ำไปอาศัยรวมกันในเพิงชั่วคราวหลายหลังภายในบริเวณปิดล้อมนั้น มีการตั้ง
กลุ่มจับหนู ตลอดจนท�ำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในบริเวณนั้นอย่างถ้วนทั่ว
ใช้ เวลาหลายวั น ในการเผาขยะ สิ่ ง สกปรก และสิ่ ง ของอื่ น ๆ เมื่ อ มี ผู ้ ต ายที่
บ้านหลังใด บ้านหลังนั้นจะต้องอพยพคนออก และเผาสิ่งของที่อยู่ภายในบ้าน
แล้ ว มอบเงิ น ชดเชยความเสี ย หายที่ เ กิ ด ขึ้ น ทั น ที ศพของผู ้ ต ายจะถู ก เผา
และฆ่าเชื้อโรคในบ้านหลังนั้น
พลตระเวนจะมอบรางวัลแก่ทุกคนที่จับหนูมาให้ ไม่ว่าจะจับเป็น
หรือจับตาย ผลก็คือภายในเวลา ๒ เดือน ฆ่าหนูมากกว่า ๑๕๐,๐๐๐ ตัว
๑๗๐

มีการตั้งโรงพยาบาลกักกันโรคชั่วคราวและน�ำผู้ป่วยไปรักษาในนั้น
โดยรวมแล้ ว มี ผู ้ ต ายทั้งหมด ๑๑ คนภายในบริ เวณปิ ด ล้ อ ม ก่ อ นหน้ า ที่ จะ
มีการกักกันโรค มีหญิงคนหนึ่งได้พบปะกับผู้ป่วย และหลบหนีไปยังฝั่งตะวันออก
ของแม่น�้ำเจ้าพระยาด้วยความหวาดกลัว นางล้มป่วยและตายที่ฝั่งตะวันออก
เจ้าพนักงานเพิ่งจะทราบข่าวหลังจากนางตาย ทุกคนที่ติดต่อกับนางจึงถูกน�ำไป
ไว้ที่โรงพยาบาลกักกันโรค และฆ่าเชื้อโรคในบ้านของนาง
หลังจากไม่พบผู้ป่วยรายอื่นเพิ่มแล้ว ๑๐ วัน พลตระเวนก็ถอนการ
ปิดล้อม แต่ในวันต่อมาก็มผี ตู้ ายจากกาฬโรคอย่างฉับพลันอีกรายหนึง่ ในบริเวณทีม่ ี
การระบาด เป็นชายหนุ่มชาวสยาม อายุ ๒๑ ปี เริ่มมีไข้ในเวลา ๖ โมงเย็น และ
ต้องทุกข์ทรมานจากการท้องเสียอย่างรุนแรงตลอดคืน จนตายในเวลา ๗ โมงเช้า
ในระหว่างนั้นมีต่อมน�้ำเหลืองโตบริเวณขาหนีบข้างซ้าย นี่เป็นผู้ป่วยรายสุดท้าย
ที่พบในชุมชนแขกอินเดีย ไม่มีการเริ่มปิดล้อมใหม่และไม่พบผู้ป่วยรายอื่น
จนเวลาผ่านไป ๒๑ วัน เมื่อถึงวันที่ ๒๒ มกราคม [พ.ศ. ๒๔๔๗] กาฬโรคระบาด
ขึน้ ในบริเวณใหม่ทอี่ ยูใ่ กล้กบั ชุมชนแขกอินเดีย ตัง้ แต่วนั นัน้ ถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์
พบผู้ป่วยรายใหม่ ๑๗ ราย ซึ่งทุกรายเกิดในบริเวณต่างๆ ที่ใกล้กับชุมชนแขก
อินเดีย และในบริเวณดังกล่าวมีหนูตายจ�ำนวนมากก่อนหน้านั้น
มีข้อสังเกตบางอย่างเกี่ยวกับการระบาดของกาฬโรคครั้งนี้
ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะแกะรอยเส้นทางการระบาดเข้าสู่กรุงเทพฯ
ไม่พบหลักฐานอันใดที่จะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้
ลักษณะของผู้ป่วย – ผู้ป่วยรายแรกๆ มีอาการฉับพลันอย่างมาก
ร่ ว มกั บ อาการติ ด เชื้ อ ในกระแสเลื อ ดฉั บ พลั น และตายภายใน ๒๔ ชั่ ว โมง
ถึง ๓๖ ชั่วโมง โดยไม่มีเวลาให้ต่อมน�้ำเหลืองโตจนสังเกตได้ ส่วนผู้ป่วยรายหลังๆ
มีลักษณะเป็นกาฬโรคอย่างที่คุ้นเคยกัน ผู้ป่วยรายหนึ่งมีอาการรวดเร็วมาก
๑๗๑

ทั้งยังท้องเสียรุนแรงเป็นอาการส�ำคัญดังที่กล่าวไว้แล้ว พบต่อมน�้ำเหลืองโต
บริเวณขาหนีบ สะโพก ขากรรไกรล่าง ท้ายทอย และรักแร้ ถ้าเราไม่ทราบว่า
ผู้ป่วยรายแรกๆ เป็นกาฬโรค เราอาจมองข้ามผู้ป่วยที่ต่อมน�้ำเหลืองโตบริเวณ
ขากรรไกรล่างไป เพราะในเวลาเดียวกันนั้นที่กรุงเทพฯ มีโรคคางทูมระบาด
อย่างกว้างขวาง
เจ้าพนักงานเพิ่งจะได้รับยารักษากาฬโรคในช่วงท้ายๆ ของการระบาด
นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยรายหนึ่งที่เป็นกาฬโรคปอดด้วย
อัตราการตาย – จากจ�ำนวนผู้ป่วยทั้งหมด ๒๙ ราย มีผู้ตาย ๒๓ ราย
คิดเป็นอัตราการตายร้อยละ ๗๙ ซึ่งสอดคล้องกับการระบาดบริเวณอื่นใน
โลกตะวันออก
การตรวจวินจิ ฉัยเชือ้ โรค – ผูป้ ว่ ยทุกรายไม่ได้รบั การตรวจวินจิ ฉัยเชือ้ โรค
เพื่อยืนยัน แต่มีการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรคหลายครั้งจากต่อมน�้ำเหลืองที่ตัดออกมา
หลังจากผู้ป่วยตายแล้ว ทุกครั้งพบเชื้อกาฬโรคเป็นจ�ำนวนมาก
ความยากล�ำบากในการจัดการ – ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลสยาม
เป็นไปด้วยดี พระเจ้าแผ่นดินทรงตระหนักว่ามาตรการที่ทันท่วงทีเป็นสิ่งที่
จ�ำเป็น และทรงให้อ�ำนาจแก่แพทย์สุขาภิบาลอย่างเต็มที่ ทั้งยังทรงมอบอ�ำนาจ
บังคับบัญชาพลตระเวนทั้งหมดด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้คนเกิดความหวาดกลัวกันตามปกติ มีข่าวลือสะพัด
ไปทั่วทั้งเมืองว่ากรมสุขาภิบาลลักพาตัวผู้หญิงและเด็กไปไว้ที่โรงพยาบาลกักกัน
กาฬโรค และวางน�้ำแข็งทับบนหน้าอกพวกเขาจนเสียชีวิต จากนั้นก็จะผ่าร่าง
และดึงถุงน�้ำดีออกมา เพื่อน�ำมาท�ำยาพิษสดๆ ส�ำหรับใช้ฆ่าเหยื่อรายใหม่ๆ
แพทย์สุขาภิบาลและผู้ช่วยจึงถูกคุกคามชีวิตอย่างต่อเนื่อง จนพลตระเวนต้อง
๑๗๒

จัดก�ำลังคุ้มครอง กระทั่งมีประกาศพระบรมราชโองการออกมาเพื่ออธิบาย
ลั ก ษณะของโรค และขั้ น ตอนที่ ก� ำ ลั ง ท� ำ เพื่ อ ขจั ด โรค ๑ ประกาศฉบั บ นี้ มี ผ ล
อย่างดีเยีย่ ม ทัง้ ยังจับผูท้ เี่ ผยแพร่ขา่ วลือผิดๆ มาลงโทษได้ ท�ำให้ความตืน่ ตระหนก
ทั้งหมดคลายลงในเวลา ๒ สัปดาห์


หมายถึง “ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค” ลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓ และ
“ประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค” ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓
๑๗๓

กองแพทย์สุขาภิบาล๑
วันที่ ๒๒ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
หมอ เอช. แคมแบล ไฮเอต เจ้ากรมกองแพทย์ ขอประทานกราบทูล
พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดี ก ระทรวงนครบาล
ทราบฝ่าพระบาท
ด้วยข้าพระพุทธเจ้ามีความเสียใจที่ต้องกราบทูลว่า เมื่อวานนี้ได้รับ
รายงานว่า มีข่าวตายสองรายดูทีเหมือนจะตายด้วยไข้กาฬโรค กอมปะโด ๒
ของบริษัทอิสเอเชียติกได้แจ้งต่อมิสเตอร์กูลเบิก กรรมการจัดการของบริษัท
นั้นว่า มีคนเจ็บสองคนที่อาการคล้ายกาฬโรคได้ตายใกล้บ้านเขา มิสเตอร์
กูลเบิกก็ได้รีบแจ้งความมายังข้าพระพุทธเจ้าโดยทันที และข้าพระพุทธเจ้าก็ได้
ไปที่บ้านกอมปะโดผู้นั้นที่ชื่อซีอองลิมโดยทันทีเหมือนกัน บ้านของซีอองลิมนี้
อยู่ในตรอกเล็กๆ ระหว่างกรมโยธาและวัดโรมันกาทอลิกที่ต�ำบลตลาดน้อย
ไปตกแม่น�้ำ ตรอกนั้นเป็นเหมือนทางส�ำหรับน�้ำไหลเข้าออก และมีสะพานปิด
บ้านนั้นเป็นแบบบ้านจีนอย่างเก่ามีห้องมาก พื้นชั้นบนสะอาด แต่พื้นชั้นล่าง
มีห้องมืดมาก และโสโครกในบ้านนั้นทิ้งลงไปอยู่ในห้องเหล่านั้น โสโครกเหล่านี้
ได้ทิ้งมาแต่ตาตะรางที่พื้นชั้นบน และหาได้กวาดเอาออกไปทิ้งที่อื่นเลย
เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๗ เดือนนี้ มีคนอยู่ในบ้านนั้น ๑๔ คน เป็นชาย ๘ หญิง
๖ เมื่อเวลาเย็นวันเสาร์ หญิงอายุ ๑๕ ปีได้เจ็บลง อาการเจ็บนั้นคือเป็นไข้แรง
อาเจียน และบวมที่รักแร้ขวา ในวันอาทิตย์และวันจันทร์อาการก็หนักลง และที่


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕. น.๕.๗ก/๑๕ มีกาฬโรคเกิดขึ้นในที่ต�ำบล
ตลาดน้อย ตาย ๒ คน แพทย์สุขาภิบาลมีความเห็นขอจ้างคนตรวจโรคตามบ้าน ๒ คน และออก
ประกาศจ้างราษฎรจับหนูอีกด้วย (๒๒ มิ.ย. ๑๒๔ – ๑ ก.ค. ๑๒๔), หน้า ๔ – ๖.

Comprador แปลว่า นายหน้า หรือตัวแทน
๑๗๔

ตรงบวมนั้น กลับเป็นสีแดงและสีน�้ำเงิน แล้วหญิงนั้นได้ตาย ณ วันอังคารที่ ๒๐


เวลา ๓ โมงเช้า ในห้องที่หญิงนั้นอยู่ มีเด็กชายอายุ ๑๐ ขวบอยู่ด้วยอีกคนหนึ่ง
และเด็กนัน้ ได้ปว่ ยมีอาการเหมือนหญิงนัน้ เมือ่ วันที่ ๑๘ เวลาเช้า แต่เด็กนีม้ อี าการ
บวมที่ไข่ดันซ้าย และได้ตายเมื่อวันที่ ๒๑ เวลา ๗ ทุ่ม เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไปถึง
ศพทั้งสองนี้เขาได้เผาเสียแล้ว หมอจีนได้บอกซีอองลิมว่า อาการตายนั้นมาแต่
ไข้กาฬโรค และไม่ใช่แต่ว่าได้เผาเสื้อผ้าและที่นอนเท่านั้น ยังได้ล้างพื้นเรือนด้วย
น�้ำยาฆ่าโสโครกด้วย ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งผู้ที่อยู่ในบ้านนั้นอีก ๑๒ คนไม่ให้
ออกนอกบ้าน และวันนี้ได้ล้างบ้านด้วยยาแล้ว และข้าพระพุทธเจ้าจะไปตรวจ
คนเหล่านี้ทุกๆ วันจนครบ ๑๐ วันเต็ม ตั้งแต่วันที่คนไข้ได้ตายครั้งที่สุด ที่จริง
ก็ เ สี ย ที ที่ ไ ม่ มี โ อกาสที่ จ ะได้ เ ห็ น ศพสองรายนั้ น แต่ ข ้ า พระพุ ท ธเจ้ า เชื่ อ ด้ ว ย
เกล้าฯ ว่า แน่ที่สุดว่าได้ตายโดยไข้กาฬโรค
ผูท้ อี่ ยูใ่ นบ้านรายนีห้ าได้เป็นผูซ้ งึ่ ได้เพิง่ มาจากเมืองจีนหรือเมืองสิงคโปร์
เลย และทั้งไม่ได้มีเพื่อนที่ได้อยู่ในต�ำบลที่ได้เกิดไข้กาฬโรคขึ้นเมื่อครั้งก่อน
ไม่มีผู้ใดได้พบหนูตายในบ้านนี้หรือในบ้านที่ใกล้เคียงเลย และข้าพระพุทธเจ้าจะ
หาคนเจ็บในท้องที่นี้ก็ไม่ได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้แจ้งความต่อเจ้ากรมกองตระเวนชั้นในโดยทันทีแล้ว
และได้สั่งให้คนสอดแนมอย่างดีลงไปตรวจคนเจ็บในท้องที่นี้ให้ทั่ว ณ ทันใดนั้น
ถ้ า ไม่ มี ผู ้ ซึ่ ง รู ้ อ าการของไข้ ก าฬโรคไปด้ ว ยแล้ ว คนสอดแนมเช่ น นี้ ก็ ไ ม่ สู ้
มี ป ระโยชน์ นั ก เพราะฉะนั้ น จึ ง เป็ น การจ� ำ เป็ น ที่ สุ ด ที่ ค วรจะจ้ า งคนตรวจ
๖ คนที่ ข ้ า พระพุ ท ธเจ้ า ขอไว้ ใ นงบประมาณนั้ น อย่ า งน้ อ ยที่ สุ ด สั ก สองคน
ข้าพระพุทธเจ้าต้องการให้คนเช่นนี้ ไปเที่ยวตรวจทุกๆ บ้าน และสืบว่าจะมี
ความไข้เจ็บหรือไม่ เพราะฝ่าพระบาทจะต้องทรงเห็นได้ว่า การที่จะมีไข้กาฬโรค
เกิดขึ้นในส�ำเพ็งแล้ว ก็จะเป็นที่น่ากลัวที่สุด ถ้าลงได้เกิดที่นั่นแล้วก็จะไม่สามารถ
๑๗๕

ที่จะป้องกันได้ดังที่ได้ท�ำมาที่ฝั่งฟากข้างโน้นที่ไม่สู้มีคนมากนัก และทั้งท้องที่
นั้นก็มีคลองใหญ่และแม่น�้ำขวางอยู่ด้วย
จะเป็นการจ�ำเป็นทีจ่ ะออกประกาศจ้างจับหนูอกี ซึง่ ควรจะท�ำโดยทันที
แต่โดยที่ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้เห็นศพนั้นเอง ข้าพระพุทธเจ้าไม่ขอกราบทูล
แนะน�ำให้ประกาศให้ราษฎรทราบอย่างเดิม แต่ขา้ พระพุทธเจ้าจะคอยระวังสืบไข้
ที่จะเป็นขึ้นอีกต่อไปให้ดีที่สุด และเมื่อเห็นว่าเป็นกาฬโรคจริง จะแจ้งความต่อ
กระทรวงต่างประเทศเหมือนอย่างเดิมก็ได้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(ลงนาม) เอช. แคมแบล ไฮเอต
เจ้ากรมกองแพทย์
๑๗๖

กองแพทย์กรมสุขาภิบาล๑
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
หมอ เอช. แคมแบล ไฮเอต เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ขอประทาน
กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล
ทราบฝ่าพระบาท
ด้วยข้าพระพุทธเจ้าขอประทานรายงานว่า เมื่อวานนี้หมอคาร์ติว
ผู้ช่วยของข้าพระพุทธเจ้าได้ขึ้นไปตรวจเยี่ยมที่ปากเพรียว๒ เป็นครั้งที่ ๒ ตาม
ค�ำขอร้องของกระทรวงมหาดไทย และได้ตรวจดูเด็กหญิงคนหนึ่งอายุ ๑๕ ปี
ป่วยเป็นไข้กาฬโรคแท้ เหตุฉะนั้นหมอคาร์ติวจึงได้สั่งโดยกวดขันให้คัดเอาคน
ทั้งหลายที่อยู่ใกล้เคียงเด็กหญิงนั้นออกไปกักไว้เสียต่างหาก แล้วหมอคาร์ติว
จึงได้กลับลงมากรุงเทพฯ ภายหลังเมื่อหมอกลับลงมาแล้ว เด็กหญิงนั้นก็ตาย
ข้าพระพุทธเจ้าจึง่ ได้กำ� ชับแนะน�ำท่านปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยโดยทันที
ด้วยการเรื่องนี้ กับได้ก�ำชับแนะน�ำด้วยว่า ให้มีโทรเลขไปยังปากเพรียว ให้สั่ง
เอาผีนั้นไปเผาเสียโดยทันที กับให้ปิดบ้านเรือนนั้นไว้เสีย และให้กักคนที่ไปร่วม
อยู่ใกล้เคียงกับเด็กนั้นไว้เสียต่างหาก ๑๐ วันโดยแข็งแรงกวดขันด้วย
มาวันนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปหาท่านพระยาศรีสหเทพ๓ และได้เห็นว่า
การทั้งหลายในเรื่องนี้ก็เป็นอันได้จัดส�ำเร็จไปโดยเรียบร้อยแล้ว


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๗ กาฬโรคเกิดขึ้นที่สระบุรีกับที่
สเตชั่นรถไฟบ้านโป่ง และต�ำบลพระปฐมเจดีย์ แพทย์ได้จัดการตรวจ (๒๓ มิ.ย. – ๑๕ ม.ค. ๑๒๔),
หน้า ๒๗ – ๓๑.
๒ ปัจจุบันคือ ต�ำบลปากเพรียว อ�ำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ต่อมาเลื่อนเป็น
พระยามหาอ�ำมาตยาธิบดี ราชปลัดทูลฉลอง
๑๗๗

พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยศิริ) ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย


๑๗๘

เหตุเรื่องนี้ที่ปากเพรียวบอกลงมาว่า ในเวลา ๒ – ๓ อาทิตย์ที่แล้วนี้


ยังมีผู้ที่ป่วยตายด้วยไข้ชนิดนี้ถึง ๘ ราย ดังนั้นจึ่งเห็นเป็นหลักฐานแน่ชัดว่า
ไข้กาฬโรคนั้นได้ก�ำเริบเกิดชุกชุมขึ้นในที่ต�ำบลนั้น เพราะเหตุฉะนั้นจะต้อง
คิดอ่านจัดการให้กวดขันแข็งแรงในการที่จะบ�ำราบเสียให้สิ้น ตามความเห็น
ของข้าพระพุทธเจ้านั้นจะต้องให้หมอซึ่งเป็นคนอย่างช�ำนาญ ส่งขึ้นไประวัง
รักษาจัดการดูแลความสะอาดสุขส�ำราญทุกอย่างที่ต�ำบลนั้นด้วย
ส่วนข้าพระพุทธเจ้ากับหมอคาร์ติวนั้นจะแบ่งไปท�ำธุระในการนี้เป็น
ไปไม่ได้เป็นอันขาด เพราะว่าข้าพระพุทธเจ้าทั้งนี้ได้เข้ามาเป็นผู้รับราชการอยู่ใน
กระทรวงนครบาลเท่านั้น และเป็นผู้ดูแลระวังจัดการสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ
ทั้ ง การที่ จ ะกระท� ำ ในกรุ ง เทพฯ เวลานี้ ก็ มี เ ป็ น อั น มาก คนใดคนหนึ่ ง ใน
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองนี้จะเลินเล่อละเว้นการเสียบ้างนั้นไม่ได้ นอกจากนั้น
ทั้งการประจ�ำของข้าพระพุทธเจ้าทั้งสองก็มีอยู่ด้วย เว้นวันสองวันบ้างก็ยังต้อง
ไต่สวนในการที่สงสัยว่าจะเกิดไข้กาฬโรคขึ้น แล้วส่วนข้าพระพุทธเจ้าคนหนึ่ง
ถ้าเขาบอกมาไม่ว่าเวลาใด ก็ต้องลงไปตรวจด่านป้องกันกาฬโรคที่เกาะพระ
อยู่เสมอด้วย
เหตุ ฉ ะนั้ น ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า จึ ง ได้ แ นะน� ำ ท่ า นพระยาศรี ส หเทพ
ขอให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมอนุญาตส่งหมอเบรมริดย์ขึ้นไปอยู่ปากเพรียว
สักสองสามอาทิตย์ แพทย์ผู้นี้ได้เข้ามารับราชการหน้าที่เป็นผู้ดูแลคุกใหญ่
แล้วเป็นผู้ช�ำนาญอยู่ในการไข้กาฬโรคที่เมืองอินเดียด้วย
ในการทีเ่ กีย่ วข้องเกิดไข้กาฬโรคขึน้ ทีป่ ากเพรียวครัง้ นี้ จะต้องหาแพทย์
ให้ขึ้นไปช่วยดับเสียให้เสร็จ ข้าพระพุทธเจ้านั้นจ�ำจะต้องเร่งรีบโดยแข็งแรง
ในการที่ จ ะจั ด แบบแผนแพทย์ ขึ้ น ไว้ ใ ห้ เรี ย บร้ อ ยส� ำ หรั บ ประเทศสยามนี้
ให้ทันด้วยเวลาสมัยกาลที่จะเป็นมา
๑๗๙

จะต้องรู้สึกได้ดีทีเดียวว่าประเทศสยามนี้ได้มีราษฎรเกิดทวีมั่งคั่งขึ้น
แต่เหล่าทารกที่ตายและเสียหายด้วยไข้ทรพิษแพร่หลายไป และโรคมาลาเรีย
และโรคอื่นต่างๆ นั้นมีขึ้นอยู่บ่อยๆ มากเหลือประมาณ ทั่วไปทั้งเมือง บัดนี้เล่า
มามีไข้กาฬโรคมาผสมเข้าอีกอย่างหนึ่ง นี้เป็นเหตุให้เห็นชัดให้ราษฎรพลเมือง
ยุบน้อยไปได้ ที่ประเทศทั้งหลายฝ่ายทิศตะวันออกไม่มีความคุ้นเคยช�ำนาญใน
การโรคที่ติดต่อแพร่หลายได้ ปล่อยให้เป็นอยู่ฉะนี้โดยที่มิได้ใช้ค�ำแนะน�ำและ
การอุดหนุนของแพทย์แล้ว เห็นว่าเป็นการหาชอบไม่ เหตุฉะนั้นความคิดเห็น
ของข้าพระพุทธเจ้านั้น ควรต้องคิดจัดตั้งกระท�ำการแพทย์ที่เกี่ยวกับการโอสถ
ทุกอย่างขึ้นในอาณาจักรประเทศสยามนี้ออกแผนกหนึ่งต่างหาก นอกจาก
การแพทย์ ก รมทหารบกทหารเรื อ และให้ อ ยู ่ ใ นใต้ บั ง คั บ บั ญ ชาในกรมหนึ่ ง
ให้ตั้งมีโรงพยาบาลขึ้น มีการกักป้องกันกาฬโรค การสุขาภิบาลในกรุงและ
หัวเมืองและต�ำบลบ้านทั้งหลายในฝ่ายมณฑลมหาดไทย การปลูกไข้ทรพิษ
และไม่ว่าการสิ่งใดที่เกี่ยว จะให้ราษฎรได้รับความสุขส�ำราญนั้นทั่วไป
ในมณฑลหนึ่งนั้น ควรจะต้องมีคนที่มีคุณวุฒิช�ำนาญในทางแพทย์
ยาแก้โรคต่างๆ ให้เป็นแพทย์ของข้าหลวงเทศาภิบาล ให้เขาตั้งดูแลก�ำกับการ
อยู่ที่เมืองใหญ่ท�ำเลประชุมมหาชนส่วนใหญ่และน้อยในมณฑลนั้นๆ และให้มี
แพทย์ที่มีวุฒิหรือเป็นคนเข้าใจในการปรุงยา เช่นเขาจ้างในการอย่างนี้ท่ีในเมือง
อินเดีย เมืองสะเตรตเซตเติลเมนต์๑ และตามเมืองแขกมลายูทั้งหลายต่างๆ นั้น
ในสมัยนี้แพทย์ชาวต่างประเทศซึ่งมีคุณวุฒิก็ได้มีขึ้นที่เชียงใหม่และภูเก็จแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าหวังด้วยเกล้าฯ ว่า การนีพ้ อจะคิดจัดกระท�ำตัง้ ขึน้ ได้นนั้ เป็นต้นว่า
กรุงเก่า นครราชสิมา เพ็ชบูรี ลพบูรี พิศนุโลก ฯลฯ นั้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า
ควรลงมื อ จั ด ตั้ ง ขึ้ น ให้ ไ ด้ เ สี ย ที เ ดี ย ว การที่ จ ะตั้ ง ต้ น ขึ้ น นี้ เ ห็ น ว่ า ไม่ สู ้ ย ากนั ก


Straits Settlements หรือนิคมช่องแคบ คือส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
ในปัจจุบัน
๑๘๐

ใช้แต่แพทย์หนุ่มๆ ตั้งขึ้นก่อนก็ได้ แพทย์เหล่านี้ควรที่สอบไล่ของโรงเรียน


ตรอปิแคลที่กรุงลอนดอนและเมืองลิเวอร์พูล๑ นั้นได้แล้ว เมื่อเวลาเข้ามาถึง
กรุงเทพฯ ควรจะต้องมาเปลืองเวลาอยู่อีกสัก ๖ เดือนหรือกว่าๆ ในการใช้แต่ให้
เรียนภาษาเท่านัน้ เมือ่ ไร ทัง้ ให้ได้รบั ความรูใ้ นวิธกี ารโรคไข้และการกรมสุขาภิบาล
ของพื้นบ้านเมืองประเทศสยามด้วย การที่จะให้รับความรู้ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการ
กรมสุขาภิบาลในพื้นบ้านเมืองนี้นั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้จัดแนะน�ำสั่งสอน
และโรงงานการต่างๆ และโรงรักษาพยาบาลนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้รับธุระ
ควบคุมเอง
กองการแผนกการหยูกยานี้เป็นการมีประโยชน์ให้เจริญแก่บ้านเมือง
ให้ได้รับความสุขส�ำราญทั่วไปนั้น ให้อยู่ในบังคับอีกพนักงานหนึ่ง ก็จะเป็นการ
ป้องกันต่อสู้โรคภัยต่างๆ ซึ่งมีอยู่เวลานี้ได้อีกเป็นอันมาก การโรงพยาบาล การ
ปลูกไข้ทรพิษนั้น การเหล่านี้เป็นการที่เข้าใจว่าต้องเปลืองใช้จ่ายเงินเพิ่มเติมขึ้น
เป็นอันมากด้วยก็จริงอยู่ ในการที่ตั้งแพทย์มากขึ้นส�ำหรับทั้งต�ำบลทั้งหลายใน
หัวเมืองนั้นๆ ก็เป็นการน�ำหนทางที่จะช่วยชีวิตของราษฎรให้รอดได้ ชีวิตใดชีวิต
หนึ่งที่ช่วยรอดไว้จากอันตรายได้นั้น ก็เหมือนกับการที่ได้กระท�ำไปนั้นได้ก�ำไรขึ้น
เหมือนกัน เพราะประหนึ่งกระท�ำให้บ้านเมืองมีผู้คนมั่งคั่งขึ้น
ที่สุดข้าพระพุทธเจ้าอาจชี้ให้เห็นได้เช่นในสมัยนี้ซึ่งมีโรคที่ติดต่อกัน
ถ้ามาเข้าตั้งมั่นประจ�ำอยู่ในพื้นบ้านเมืองได้แล้วก็อาจชักน�ำเอาผลประโยชน์
ของแผ่นดินร่วงโรยลงได้ แล้วนานาประเทศทัง้ หลายก็จะกล่าวความอันชอบธรรม
ขัดขวางกับผลประโยชน์ของบ้านเมืองเสีย ในการที่ห้ามไม่ให้ส่งข้าวปลาอาหาร
และสรรพสิ่งของทั้งหลายออกไป เพราะเหตุกลัวโรคจะติดต่อไปเกิดแพร่หลาย


หมายถึง วิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งลอนดอน (London School of Tropical
Medicine) และวิทยาลัยเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งลิเวอร์พูล (Liverpool School of Tropical
Medicine) ซึ่งเปิดสอนนักศึกษาแพทย์มาจนถึงปัจจุบัน
๑๘๑

ขึน้ เรือ่ งนีถ้ า้ เขาจะคิดขัดขวางขึน้ แล้วเขาก็คดิ ได้ เพราะว่าในประเทศสยามสมัยนี้


ยังหามีกรมกองโอสถไม่ ที่จะจัดการควบคุม หรือพยายามที่จะควบคุมไม่ให้โรค
ที่ติดต่อกันแพร่หลายไปได้
ในท้ายนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีความ
เต็ ม ใจที่ จ ะฉลองพระเดชพระคุ ณ รั ฐ บาลของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว
ในการวุฒิคุ้นเคยช�ำนาญของข้าพระพุทธเจ้า ที่จะประกอบจัดการของพื้นบ้าน
เมือง และแนะน�ำบังคับบัญชากรมกองการนี้ให้เป็นหลักรากเหง้าตามความ
ตกลงที่จะตั้งขึ้นนั้นได้ บัดนี้เล่ายังมีความจ�ำเป็นอยู่โดยแท้ที่จะได้แพทย์ผู้ช่วย
มาไว้ส�ำหรับใช้ในพระราชอาณาจักรนี้อีก แล้วข้าพระพุทธเจ้ามาพึงพิเคราะห์
ต่ อ ไปแล้ ว เห็ น ด้ ว ยเกล้ า ฯ ว่ า ยั ง ไม่ ป รากฏว่ า ผู ้ ใ ดผู ้ ห นึ่ ง ที่ จ ะช่ ว ยอุ ด หนุ น
ช่ ว ยพิ จ ารณาดู เ หตุ ก ารณ์ เรื่ อ งนี้ ใ ห้ แข็ ง แรงขึ้ น เลย ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ยั ง มี
ความเสี ย ดายอยู ่ เห็ น ว่ า โรงเรี ย นแพทย์ นั้ น ยั ง ไม่ มี แ พทย์ เ พี ย งพอที่ จ ะมา
รับหน้าที่การเหล่านี้ได้ตามที่ข้าพระพุทธเจ้าคิดแนะน�ำให้จัดตั้งขึ้นในครั้งนี้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(ลงนาม) เอช. แคมแบล ไฮเอต
เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล
๑๘๒

ที่ ๑๕/๕๙๗๘ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๘
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
วันนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้รับรายงานแพทย์สุขาภิบาลยื่นว่าเจ้าพนักงาน
ตรวจโรคในแถวบ้านขมิ้นหลังวัดระฆัง รายงานเมื่อวานนี้ว่า ชายตายซึ่งน่าสงสัย
ว่าจะเป็นกาฬโรครายหนึ่ง หมอคาทิว รองแพทย์สุขาภิบาลได้ไปตรวจในทันที
แล้วได้ผ่าศพนั้น ได้ความชัดว่าตายด้วยเป็นไข้กาฬโรคอย่างแรง
ในเวลาเช้ า วั น นี้ ไ ด้ ค วามว่ า คนป่ ว ยที่ ริ ม บ้ า นนั้ น ตายอี ก คน ๑
แพทย์ได้ตรวจก็ได้ความว่าเป็นกาฬโรค
ศพทั้ ง ๒ หมอได้ จั ด ให้ เ ผาในทั น ที และได้ ย ้ า ยคนพยาบาลไข้
ทั้ง ๒ บ้านนั้น ไปไว้โรงพยาบาลชั่วคราวที่คลองสาน แยกไว้มิให้โรคติดต่อกันแล้ว
หมอมีความวิตกอยูว่ า่ กาฬโรคทีเ่ กิดมีรายๆ เช่นนี้ เป็นอาการทีค่ ล้ายกัน
กับเมืองฮ่องกงและเมืองอินเดียที่มีกาฬโรคเมื่อตั้งต้น ครั้นนานต่อไปก็เกิดชุกขึ้น
เป็นคราวๆ อย่างที่เป็นกันอยู่ และในหมู่นี้ก�ำลังมีกาฬโรคเป็นรายๆ อยู่ในเมือง
ที่ใกล้เคียงกรุงสยาม คือที่เมืองสิงคโปร์ ปีนัง และย่างกุ้ง ก็เป็นอย่างเดียวกัน
กับกรุงเทพฯ หมอกลัวว่า นานต่อไปน่าจะเกิดกาฬโรคชุกชุมขึ้นเหมือนอาการ
เมืองอื่นๆ เป็น ก็อาจมีได้ จึ่งได้เร่งรีบที่จะท�ำโรงพยาบาลให้แล้วพร้อมในเร็วๆ นี้
คือยังขาดเงิน อยู่อีก ๒๐,๕๐๐ บาทที่จะท�ำให้แล้ว เพื่อได้เตรียมรับรองคราว
มีโรคชุกต่อไป


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๓๖ – ๓๗.
๑๘๓

อนึ่ง เงินส�ำหรับป้องกันกาฬโรคนั้น กระทรวงพระคลังก�ำหนดใน


งบประมาณอนุญาตไว้ปีนี้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่หมอกะประมาณการประจ�ำอยู่ใน
ทุกวันนี้รวม ๕๕,๐๐๐ บาท กะการจะท�ำที่เกาะพระกับโรงพยาบาลที่คลองสาน
เพื่อให้แล้วในคราวเดียว เงิน ๑๒๕,๐๐๐ บาท หักเงินอนุญาตแล้ว ๑๐๐,๐๐๐
บาท ยังคงขาดอยู่เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท ข้าพระพุทธเจ้าได้น�ำรายการนี้ทูล
กรมหมืน่ มหิศรราชหฤทัย๑ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง เสนาบดีกระทรวงพระคลัง
เห็นว่าเงินรายนี้จ�ำเป็นจะต้องจ่าย แต่เวลานั้นได้งบยอดงบประมาณพิมพ์เสีย
แล้ว จะยอมเพิ่มเงินพิเศษอีก ๗๐,๐๐๐ บาทให้ในกลางปีนี้ ตั้งแต่เมษายนมาจน
บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเบิกเงินมาใช้ทำ� โรงพยาบาลและทีเ่ กาะพระส่วนการจรสิน้ ไป
๘๐,๐๐๐ บาทแล้ว คงเหลือใช้สำ� หรับการประจ�ำ ๒๐,๐๐๐ บาทเท่านัน้ บัดนีห้ มอ
จะรีบท�ำโรงพยาบาลให้แล้วในทันที จะต้องจ่ายเงินอีก ๒๐,๕๐๐ บาท ตัวเงินที่
อนุญาตไว้ในงบประมาณก็พอหมด จ�ำเป็นต้องเพิ่มเงินกลางปีอีก ๗๐,๐๐๐ บาท
ตามเสนาบดีกระทรวงพระคลังรับสัญญา แต่เวลานีก้ รมหมืน่ มหิศรฯ ก็ประชวรอยู่
จะว่ากล่าวไปยังกระทรวงพระคลังกว่าจะตกลงได้ตามที่พูดกันไว้ ก็เกรงจะยังช้า
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเพิ่มเงินส�ำหรับจัดป้องกัน
กาฬโรค ตามรายประมาณที่หมอยื่นไว้ ซึ่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังฯ สัญญาว่า
จะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเงินใช้รายนี้ในกลางปีอีก ๗๐,๐๐๐ บาท
นั้น เพื่อได้จัดการป้องกันกาฬโรคที่น่ากลัวจะมีในหน้าหนาวหน้านั้นต่อไป
พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ ขอพระบารมีปกเกล้าฯ เป็นที่พึ่ง
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมหมื่ น มหิ ศ รราชหฤทั ย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็ จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาห่วง ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง และ
เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๑๘๔

กองแพทย์สุขาภิบาล๑
วันที่ ๓๑ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
หมอเอช. แคมแบล ไฮเอต เจ้ากรมกองแพทย์ ขอประทานกราบทูล
พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดี ก ระทรวงนครบาล
ทราบฝ่าพระบาท
ด้วยตามที่ได้ทรงทราบอยู่แล้วว่าไข้กาฬโรคได้เกิดขึ้นอีกในกรุงเทพฯ
แต่ครั้งนี้หาได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในต�ำบลเดียว ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม หาได้
มีรายงานคนเจ็บที่สงสัยว่าเป็นไข้กาฬโรคยื่นต่อข้าพระพุทธเจ้า จนเมื่อวันที่
๒๐ มิถุนายน ได้มามีคนตายสองคนที่ตลาดน้อย โดยเป็นไข้กาฬโรคแท้ เรื่องนี้
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ร ายงานถวายแล้ ว ต่ อ มาได้ ท ราบว่ า พระสราภั ย ที่ อ ยู ่ ใ น
ต�ำบลวัดระฆังได้ตายเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน และมาเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน
หญิ ง ในบ้ า นพระสราภั ย ได้ ต ายอี ก คนหนึ่ ง อาการตายทั้ ง สองรายนี้ เ ป็ น ไข้
กาฬโรค เมื่ อวั น ที่ ๑ กรกฎาคม หญิงในบ้านอ� ำ แดงน้ อ ย ในต� ำ บลส� ำ เพ็ ง
ได้เป็นไข้กาฬโรคตายตามรายงานของการตรวจศพ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม
ข้าพระพุทธเจ้าได้กลับไปที่วัดระฆังอีก ที่บ้านใกล้บ้านพระสราภัย หญิงชื่อ
อ� ำ แดงอ่ อ นได้ เ ป็ น ไข้ ก าฬโรคแท้ ต าย ตั้ ง แต่ วั ด ระฆั ง ไปถึ ง ต� ำ บลบ้ า นทวาย
กองตระเวนได้รายงานแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อวันที่ ๑๕ ว่ามีคนตายในโรงสี
กลไฟโปจินสู ซึ่งสงสัยว่าเป็นไข้กาฬโรค ข้าพระพุทธเจ้าได้ไป ณ ที่นั้น ได้เห็นศพ
และมีความพอใจว่าเป็นไข้กาฬโรคแท้ นอกนั้นข้าพระพุทธเจ้ายังได้ทราบว่า
ในชั่วอาทิตย์หนึ่งได้มีคนตายถึงเจ็ดคนนอกจากรายนี้ ซึ่งมีอาการเหมือนกัน
ทั้งนั้น เจ็บอยู่ในชั่ว ๒๔ ถึง ๓๖ ชั่วโมง

คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๖ พระสราภัยกับราษฎรบ้านหลัง
วั ด ระฆั ง เป็ น กาฬโรค และขอพระบรมราชานุ ญ าตเพิ่ ม เงิ น ส� ำ หรั บ ท� ำ โรงพยาบาลไข้ ก าฬโรค
ที่คลองสานด้วย (๒๑ ก.ค. ๑๒๔ – ๑๓ ต.ค. ๑๒๕), หน้า ๖๕ – ๗๒.
๑๘๕

ต่อมาได้ไปเกิดขึน้ ทีค่ ลองสาร ในต�ำบลคลองสารนีใ้ นบ้านพระยาง�ำเมือง


เมื่อวันที่ ๒๑ เด็กคนหนึ่ง ได้เป็นไข้กาฬโรคตาย และเมื่อได้ทราบเหตุและได้ไป
ตรวจที่บ้านเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ เดือนนี้ ได้ทราบว่ามีอีก ๔ คนที่มีอาการอย่าง
เดียวกัน แต่บัดนี้ค่อยยังชั่วแล้ว ในวันเดียวนั้นชายคนหนึ่งที่อยู่หลังบ้านพระยา
อภัยรณฤทธิ์ที่คลองมอญ ได้เป็นไข้กาฬโรคตายเหมือนกัน
บรรดาคนที่ตายดังที่กล่าวแล้วนั้น เจ้าพนักงานแพทย์หาได้เห็นศพเลย
เว้นแต่รายเดียวคือหญิงในบ้านอ�ำแดงน้อย นอกนั้นได้จัดการฝังเผาเสียแล้ว
หรือเน่าเกินไปที่ไม่สามารถจะตรวจหาตัวโรคโดยละเอียดได้ แต่เมื่อวันที่ ๒๗
เดือนนี้ ได้รับรายงานคนตายในต�ำบลวัดระฆังอีกคนหนึ่ง หมอการ์ติวผู้ช่วย
ของข้าพระพุทธเจ้าได้สามารถตรวจศพได้ และตามที่ข้าพระพุทธเจ้าได้รายงาน
แล้วนั้น อาการตายเป็นไข้กาฬโรคแท้ และเป็นอย่างที่ร้ายแรงและน่ากลัวที่สุด
รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่งได้ตรวจศพหญิงที่ตายในบ้านใกล้เคียงกันก็ได้ความเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าไข้กาฬโรคหาได้เกิดขึ้นเฉพาะแต่ในก�ำแพง
พระนครเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปทั่วตั้งแต่บ้านทวายถึงส�ำเพ็ง คลองสาร และ
ข้ามไปฟากข้างโน้นที่วัดระฆัง นี้เป็นอาการอันน่ากลัวที่สุด และจะมีแต่ข้อบังคับ
อันแข็งแรงเท่านั้นที่จะเป็นคุณประโยชน์ในการที่จะป้องกันไข้นี้ได้
ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยรายงานและกราบทูลอยู่เสมอว่า ถ้ามีไข้กาฬโรค
เกิดขึ้นในบ้านเมืองใด ก็เป็นเครื่องแสดงอันชัดว่า การสุขาภิบาลในเมืองนั้นไม่
เรียบร้อย และถ้าไม่ได้จัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยทันทีให้ดีขึ้นแล้ว โรคนั้นจะ
อยู่ประจ�ำและแพร่หลายมากขึ้น แน่ทีเดียวไม่เป็นการจ�ำเป็นที่ข้าพระพุทธเจ้า
จะพยายามแสดงให้ทรงทราบว่า กรุงเทพพระมหานครเป็นเมืองที่โสโครกที่สุด
ในบรรดาพระนครในประเทศตะวั น ออก ข้ อ นี้ ก็ ไ ด้ ท ราบกั น อยู ่ ทุ ก คนแล้ ว
ถึ ง กระนั้ น จะท� ำ อย่ า งไรที่ จ ะจั ด การให้ ดี ขึ้ น เพื่ อ จะป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ โรคนั้ น เกิ ด
มากขึ้นและแพร่หลาย ค�ำตอบมีแต่ว่า การสุขาภิบาลตามที่ทราบกันอยู่ทั่ว
๑๘๖

กรมสุขาภิบาลได้ตั้งขึ้นและได้ท�ำการมาได้ ๘ ปี และไม่ต้องสงสัยในระหว่าง
เวลานี้ได้ท�ำการดีๆ แต่ส�ำหรับการสุขาภิบาลอย่างแท้ใหญ่โต เช่น การท�ำน�้ำ
จ�ำหน่าย การไขน�้ำออก การท�ำลายบ้านเรือนที่สกปรก และเปิดที่ที่ราษฎรอยู่
กันแน่นหนา กรมสุขาภิบาลหาได้มีโอกาสที่จะท�ำไปได้ เมื่อสิ่งส�ำคัญเหล่านี้
จะได้เป็นไปได้ การอื่นๆ ในเรื่องสุขาภิบาลก็จะได้แยกออกไป และง่ายที่จะท�ำ
ถึงอย่างไรก็ดี ในสมัยนี้ก็มีสิ่งซึ่งจะท�ำ ถ้าไม่ดังนั้นก็ต้องเป็นอันตกลง
ยอมว่าไข้กาฬโรคจะเกิดขึ้นได้ในกรุงเทพฯ ตามเวลาที่จะชอบเกิด โดยสิ่งเหล่านี้
คือ
๑. บรรดาบ้านเรือนที่โสโครกทั้งสิ้นที่ไข้กาฬโรคได้เกิดขึ้น หรือตาม
ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าว่าจะเกิดขึ้นได้ หรือที่โสโครกซึ่งจะเป็นอันตราย
แก่ความสุข ควรจะรื้อและเผาเสีย หรือมิฉะนั้นจะล้างด้วยน�้ำยาให้สะอาดได้
และเปลี่ยนแก้ให้ดีขึ้น ข้อนี้ควรใช้ทั่วไปส�ำหรับกรุงเทพพระมหานคร มีข้อที่
ย่อมจะเกิดขึน้ ว่า ควรจะให้มเี บีย้ ท�ำขวัญหรือไม่ ตามความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า
ไม่ควรจะให้มีเบี้ยท�ำขวัญ เพราะคนเหล่านั้นได้ปล่อยให้สถานที่ของตนโสโครก
เช่นนั้น ถึงกับจะเป็นอันตรายต่อความสุขในร่างกายของตนเองและเพื่อนบ้าน
ควรจะท�ำให้ผู้เจ้าของบ้านเรือนยอมให้รื้อเรือนที่โสโครกของตนและท�ำลายเสีย
และส่วนเงินค่าปลูกสร้างบ้านเรือนใหม่อันสะอาดเรียบร้อยนั้น ควรจะถือว่าเป็น
ภาษี สุ ข าภิ บ าล ถ้ า จะตกลงให้ มี เ บี้ ย ท� ำ ขวั ญ เฉพาะส� ำ หรั บ คนต่ า งประเทศ
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานแนะน�ำว่า ควรจะตั้งกรรมการตีราคาทรัพย์สมบัติ
ที่ จ ะได้ ตี ร าคาทรั พ ย์ ส มบั ติ ที่ ก รมสุ ข าภิ บ าลสั่ ง ให้ รื้ อ และให้ ยื่ น บั ญ ชี ต ่ อ
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติตามราคาที่ได้ตีไว้ การเช่นนี้ไม่เกี่ยวในหน้าที่ของ
ข้าพระพุทธเจ้า และทั้งข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่มีเวลาที่จะกระท�ำด้วยได้
๑๘๗

ถึงอย่างไรก็ดี บรรดาบ้านที่จะล้างด้วยน�้ำยาและแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้
ดีขึ้นไม่ได้ ก็ควรจะรื้อลงเสีย และเครื่องเหล่านั้นเผาไฟเสีย ที่ดินให้ว่างไว้ได้ตาก
แดดและตากอากาศอยู่สามเดือนแล้วขุดกลับดิน และแต่พอเมื่อได้ท�ำเช่นนี้เสร็จ
แล้ว ถ้าจะอนุญาตให้ปลูกเรือนใหม่ จะต้องได้รบั ความเห็นชอบของเจ้ากรมแพทย์
และนายช่างสุขาภิบาลจึงจะปลูกได้
เป็นการยากที่จะประมาณเงินเช่นนี้ ถ้าจะยอมให้ท�ำขวัญแก่ผู้เจ้าของ
แต่ควรจะอนุญาตเงินไว้ให้มากๆ โดยทันทีตามที่จะเป็นได้ และเงินเช่นนี้จะต้อง
ให้ทุกๆ ปีจนกว่าการจะได้แล้วบริบูรณ์ ในชั้นต้นจะเห็นว่าเป็นการที่เปลืองเงิน
มาก แต่ในที่สุดการนั้นจะแสดงความที่ช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความตาย และตัด
เงินค่าใช้สอยอื่นออก
๒. ควรจะต้องเพิ่มเจ้าพนักงานกรมสุขาภิบาล เพื่อจะได้สามารถ
จัดการซึ่งจะต้องท�ำให้แล้วได้เต็มก�ำลัง ในเวลานี้มีแต่เจ้ากรมแพทย์คนเดียว
ในกรมสุขาภิบาล และตั้งแต่ได้เกิดไข้กาฬโรคขึ้นครั้งก่อนจึงได้ให้มีผู้ช่วยขึ้น
อีกคนหนึ่ง มีหน้าที่เฉพาะส�ำหรับไข้กาฬโรค ที่จะท�ำการให้เรียบร้อยจะต้องมี
หมอกาฬโรคสองคน และผู้ช่วยเจ้ากรมแพทย์คนหนึ่งส�ำหรับการสุขาภิบาล
หมอกาฬโรคนัน้ จะจ้างเฉพาะชัว่ คราวสามปีเช่นอย่างทีท่ ำ� ในอินเดียก็ได้
ผู้ช่วยเจ้ากรมแพทย์ควรจะต้องเป็นพนักงานประจ�ำหน้าที่
ส่วนสารวัตรสุขาภิบาล ยากที่จะเชื่อได้ว่าทั้งพระนครยอมให้มีสารวัตร
แต่คนเดียวทีข่ า้ พระพุทธเจ้าได้ฝกึ หัดเอง และได้รบั พระราชทานเงินเดือน เดือนละ
๒๑๐ บาท เป็นคราวเคราะห์ดีที่ฝ่าพระบาทได้ทรงอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าจ้าง
ผูช้ ว่ ยสารวัตรกาฬโรคสองคน ทีไ่ ด้จา้ งครัง้ เกิดไข้กาฬโรคคราวก่อนไว้ตอ่ มาจนบัดนี้
ถ้าข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้มีคนเช่นนี้ ในครั้งนี้ก็จะเป็นที่เดือดร้อนล�ำบาก และการ
ก็จะเนิ่นช้าอีกมาก ถ้าจะได้อนุญาตจ�ำนวนสารวัตรที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ขอใน
๑๘๘

งบประมาณปีนี้แล้ว จ�ำนวนคนตายในเดือนมิถุนายนและเป็นอันมากในเดือนนี้
คงจะไม่ได้พ้นความสืบสวนของเจ้าพนักงานไปได้มาก ไม่ต้องสงสัยเลย ตั้งแต่
ได้เกิดไข้กาฬโรคครั้งแรกมาจนบัดนี้ คงจะได้มีคนเป็นไข้กาฬโรคตายตั้งแต่
เวลานั้นมามากกว่าเจ้าพนักงานได้ทราบตามรายวัน และรายอาทิตย์
ข้าพระพุทธเจ้ายังคงยืนตามความคิดเดิมของข้าพระพุทธเจ้าที่ว่า
ควรจะมีสารวัตรสุขาภิบาลอยู่ประจ�ำเป็นท้องที่ และสารวัตรนั้นควรจะต้องไป
ตรวจท้องที่ของตนให้ท่ัวทุกวัน และควรจะต้องรับผิดชอบในการรายงานการ
สุขาภิบาลทั้งสิ้น ที่สารวัตรใหญ่สุขาภิบาลที่เป็นผู้มีหน้าที่ในการนี้จะไต่ถามและ
รายงานให้ข้าพระพุทธเจ้าทราบตามเวลาที่จ�ำเป็น ที่จะท�ำเช่นนี้จะต้องให้มี
ผู้ช่วยสารวัตรสุขาภิบาล ๘ คน เพื่อจะได้ตรวจท้องที่ให้ละเอียดได้ทุกวัน
๓. ควรจะต้องมีพ ระราชบัญญัติสุขาภิ บาลอย่ า งสั้ นๆ ส� ำ หรั บทั้ ง
พระนครโดยทันที อย่าให้เป็นอันใช้ได้เฉพาะชั่วในก�ำแพงพระนครเช่นในเวลา
นี้ ไม่มีคุณอันใดที่จะพยายามปลอบราษฎรให้ประพฤติตามค�ำแนะน�ำของกรม
สุขาภิบาล เพราะการสุขาภิบาลที่ได้ท�ำมาในกรุงเทพฯ ในชั่ว ๗ ปี ก็กระท�ำให้
ข้าพระพุทธเจ้ามีความรู้ได้ว่า มีแต่อ�ำนาจกฎหมายที่ลงโทษปรับเป็นเงิน หรือทั้ง
จ�ำคุก จึงจะบังคับให้ราษฎรสะอาดได้ เพราะราษฎรชอบสกปรก พระราชบัญญัติ
สั้นๆ เช่นที่ข้าพระพุทธเจ้ากล่าวนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ร่างแล้ว และเมื่อวันเสาร์
ก่อน ข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายฉบับหนึง่ ถ้าทรงเห็นด้วยก็ควรจะประกาศให้ใช้โดย
ทันที และไม่ควรจะต้องให้เสียเวลาคอยความตกลงของผูแ้ ทนรัฐบาลต่างประเทศ
พระราชบัญญัตินั้นจะใช้ได้ส�ำหรับราษฎรในกรุงเทพฯ เป็นอันมาก และจะเห็น
เป็นคุณประเสริฐที่สุดแก่พระนคร เมื่อได้ใช้ไปไม่สู้นานนัก ไม่ต้องสงสัยผู้แทน
รัฐบาลต่างประเทศคงจะเห็นคุณประโยชน์ของพระราชบัญญัตินั้น และจะช่วย
กรมสุขาภิบาลในการที่ท�ำ โดยให้เป็นอันใช้ได้ในคนจ�ำพวกที่อยู่ในความปกครอง
ของเขา
๑๘๙

๔. ความอุดหนุนอันใหญ่ส�ำหรับการสืบคนตายโดยไข้กาฬโรคนั้น คือ
พระราชบัญญัติจดทะเบียนคนตายโดยต้องด้วยบังคับ พระราชบัญญัติเช่นนี้
ที่ บั ง คั บ ให้ จ ดทะเบี ย นคนเกิ ด และคนตาย ผู ้ บั ง คั บ การกรมกองตระเวนได้
ร่างและได้รับความเห็นชอบของข้าพระพุทธเจ้าแล้ว และได้ส่งไปยังผู้แนะน�ำ
ราชการแผ่นดิน แต่หลายเวลามาแล้ว เพราะพระราชบัญญัตนิ แี้ ละพระราชบัญญัติ
สุขาภิบาลไม่ควรจะต้องรอรับความตกลงของผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ ขอให้
กรมสุขาภิบาลจัดการก่อน และต่อมาคงจะได้รับความอุดหนุนจากผู้แทนรัฐบาล
ต่างประเทศ
๕. ความอุดหนุนซึ่งใหญ่ยิ่งกว่านี้ในการที่จะสืบคนตายโดยไข้กาฬโรค
ให้รู้โดยเร็วนั้นคือ พระราชบัญญัติบังคับให้แจ้งความเมื่อมีคนเจ็บเป็นโรคที่
ติดต่อกันได้ บัดนี้พวกแพทย์และราษฎรทั่วไปก็รู้จักอาการของไข้กาฬโรคดีแล้ว
และในเมืองฮ่องกงและเมืองสิงคโปร์ก็ต้องด้วยบังคับโดยพระราชบัญญัติให้
รายงานความไข้เจ็บอย่างหนึ่งอย่างใดที่ตนรู้เห็น แพทย์ใหญ่ก็จะได้เห็นโรคนั้น
โดยทันที และถ้าเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ แพทย์จะย้ายคนไข้ไปไว้โรงพยาบาลได้
และล้างบ้านเรือนด้วยน�ำ้ ยา ถ้าท�ำดังนีค้ วามแพร่หลายของโรคก็จะน้อยลงได้มาก
เพราะมีงานด่วนมากนัก ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่สามารถที่จะร่างพระราชบัญญัตินี้
แต่หวังด้วยเกล้าฯ ว่าในไม่ช้าคงจะได้ร่างขึ้น
๖. เรื่องงบประมาณเงินส�ำหรับที่จะได้ใช้ในเวลานี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้
ขอ ๒๖,๕๐๐ บาท เพื่อจะได้ท�ำโรงพยาบาลให้แล้วบริบูรณ์ และจ่ายให้ผู้รับเหมา
ค่าการที่ได้ท�ำแล้วที่เกาะพระ ถ้าเป็นอันตกลงว่าบรรดาบ้านที่โสโครกทั้งสิ้น
ซึ่งไม่สามารถจะล้างด้วยน�้ำยาได้ หรือท�ำให้สะอาดได้ จะต้องรื้อลงและเผาไฟ
และถ้าจะให้มีเบี้ยท�ำขวัญแก่เจ้าของ ก็ควรจะต้องจัดหาเงินไว้ให้มากที่สุด
โดยทันทีที่จะหาได้ส�ำหรับจ่ายในการนี้
๑๙๐

อนึ่ง ถ้าจะจัดการสุขาภิบาลให้ทั่วเมืองก็ต้องยื่นงบประมาณพิเศษ
ที่จะปราบไข้กาฬโรคโดยทันทีก็เป็นการจ�ำเป็นที่จะได้รับอนุญาตจ้าง
ผู้ช่วยสารวัตรสุขาภิบาล ๘ คน ทั้งมีคนงานพร้อม สารวัตรทุกคนจะมีที่ท�ำการใน
ท้องที่ของตน เพื่อพลตระเวนท้องที่จะได้ยื่นรายงานได้ และทั้งจะได้เก็บค่ายา
ฆ่ า โสโครกและเครื่ อ งมื อ ไว้ ใ นที่ ท� ำ การได้ นอกจากแพทย์ ที่ มี อ ยู ่ ใ นเวลานี้
กรมสุขาภิบาลควรจะมีแพทย์กาฬโรคที่ได้มีความช�ำนาญในไข้กาฬโรคเพิ่มขึ้น
อีกสองคน คนหนึ่งมีหน้าที่ในโรงพยาบาลกาฬโรค ทั้งการผ่าตรวจศพ และ
ท�ำการตรวจแยกธาตุหาตัวโรคในเวลาที่จ�ำเป็น อีกคนหนึ่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจ
นอกออฟฟิศ และเที่ยวตรวจบ้านเรือนที่มีไข้กาฬโรค และจัดการล้างบ้านเรือน
กักผู้คน และส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลเงินค่าใช้จ่ายในการนี้คือ
เงินค่าใช้สอยประจ�ำ
เจ้าพนักงานกาฬโรคชาวยุโรป ๒ คน คนละเดือนละ ๘๐๐ บาท ๑๙,๒๐๐
ค่าเช่าบ้านส�ำหรับคนหนึ่ง ๙๖๐
ค่าพาหนะไปมาส�ำหรับคนหนึ่งในหน้าที่ราชการ ๔๘๐
ผู้ช่วยสารวัตร ๘ คน คนละเดือนละ ๑๕๐ บาท ๑๔,๔๐๐
นายงาน ๘ คน คนละเดือนละ ๔๐ บาท ๓,๘๔๐
คนงาน ๑๐๐ คน คนละเดือนละ ๒๐ บาท ๒๔,๐๐๐
ค่าเช่าที่ท�ำการ ๘ ต�ำบล ต�ำบลละเดือนละ ๑๕ บาท ๑,๔๔๐
ค่ายาฆ่าโสโครก เครื่องมือและต่างๆ เดือนละ ๒๐๐ บาท ๒,๔๐๐
ค่าใช้สอยทั่วไป (ที่ยังไม่รู้จะเกิดขึ้น) ๕,๐๐๐
ค่าบ�ำรุงโรงพยาบาล เดือนละ ๕๐๐ บาท ๖,๐๐๐
บาท ๗๗,๗๒๐
๑๙๑

ค่าใช้สอยพิเศษ
ค่าเครื่องใช้ในโรงพยาบาลกาฬโรค ๒,๐๐๐
ค่าโคมไฟ ๕๐๐
ค่าน�้ำ ๓,๐๐๐
ค่าเครื่องส�ำหรับบ้านคนตายและที่ส�ำหรับแยกธาตุ
ที่โรงพยาบาลกาฬโรค ๒,๐๐๐
บาท ๗,๕๐๐
เงิ น ในงบประมาณข้ า งต้ น นี้ ห ารวมอยู ่ ใ นเงิ น ส� ำ หรั บ ด่ า นป้ อ งกั น
กาฬโรคซึ่งได้อนุญาตแล้วนั้น แต่เป็นเงินเพิ่มเติมส�ำหรับใช้ท�ำการชั่วปีหนึ่ง
หรือถัวเดือนเป็นเดือนละ ๖,๕๐๐ บาท และข้าพระพุทธเจ้าหาได้รวมเข้าใน
เงินส�ำหรับเป็นเบี้ยท�ำขวัญเจ้าของบ้านที่ต้องถูกท�ำลายบ้าน
ในทีส่ ดุ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานกราบทูลโดยแข็งแรงว่า ต้องพยายาม
อย่างที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้กาฬโรคแพร่หลาย และอย่าได้คอยจนไข้นี้ตั้งมั่นคง
ได้ การป้องกันเป็นความมุ่งหมายในการสุขาภิบาลอันแท้ อนึ่ง วิธีที่กล่าวไว้
ในข้างต้นนี้ เป็นเรื่องที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรึกตรองคิดมานานแล้วโดยละเอียด
และเป็นสิ่งซึ่งอยู่ในความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นสิ่งอันเล็กอันน้อยที่สุด
ที่จะท�ำส�ำหรับการสุขาภิบาลในกรุงเทพฯ
ข้าพระพุทธเจ้าหวังด้วยเกล้าฯว่า ฝ่าพระบาทคงจะทรงน�ำรายงานนีข้ นึ้
กราบบังคมทูลพระมหากรุณา เพื่อจะได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(ลงนาม) เอช. แคมแบล ไฮแอต
เจ้ากรมกองแพทย์
๑๙๒

ที่ ๑๘๖/๑๒๖๔๑ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๘
วันที่ ๑๙ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์๒ ราชเลขานุการได้
ทรงทราบ
ด้วยแพทย์สุขาภิบาลยื่นรายงานว่า เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม มิสเตอร์เรย์
เจ้ากรมกองตระเวนรักษาทางรถไฟส่งนายเพียน นายยามกองตระเวนสเตชั่น
รถไฟบ้านโป่ง๓ ผู้ป่วยเป็นไข้อย่างเรี่ยวแรง มารักษาที่กรุงเทพฯ แพทย์ตรวจ
อาการได้ความว่าเป็นกาฬโรค นายเพียนตายเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม และแพทย์
ได้ความในวันที่ ๑๘ ธันวาคมอีกว่า ข่าวว่ามีคนในบริเวณบ้านโป่งป่วยตาย
เว็จเร็ว๔ เป็นอันมาก และในคืนวันที่ ๑๗ นัน้ พลตระเวนคน ๑ ชาวบ้าน ๓ คนป่วย
ตายวันเดียวกัน มีอาการไข้อย่างกาฬโรคทั้งสี่คน แพทย์จึ่งเห็นว่า ท่วงทีกาฬโรค
อย่างติดกันง่ายจะเกิดขึ้นที่บ้านโป่งแล้ว บ้านโป่งมีทางรถไฟลงมาถึงกรุงเทพฯ
ได้โดยง่าย สมควรจะจัดการป้องกันโรคแพร่หลายจากต�ำบลนั้นจงแข็งแรง
ไม่ฉะนั้นจะพาโรคมาติดคนในกรุงเทพฯ และหมอเห็นว่า โรงพักกองตระเวน
ต�ำบลบ้านโป่งนั้น มีคนป่วยตายถึงสองคนแล้ว สมควรน�ำพลตระเวนที่อยู่ด้วยกัน
มากักตรวจโรคที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ โรงพักนั้นควรเผาเสีย หรือไม่ฉะนั้น


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๗ กาฬโรคเกิดขึ้นที่สระบุรีกับที่
สเตชั่นรถไฟบ้านโป่ง และต�ำบลพระปฐมเจดีย์ แพทย์ได้จัดการตรวจ (๒๓ มิ.ย. – ๑๕ ม. ค. ๑๒๔),
หน้า ๔๘ – ๔๙.

พระเจ้ า บรมวงศ์ เ ธอ กรมพระสมมตอมรพั น ธุ ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็ จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั กับท้าวทรงกันดาล ต่อมาทรงให้ดำ� รงต�ำแหน่งราชเลขานุการ และอธิบดี
กรมพระคลังข้างที่

ปัจจุบันคือ ต�ำบลบ้านโป่ง อ�ำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

หมายถึง อาการท้องร่วง
๑๙๓

ก็ ใ ห้ ช� ำ ระล้ า งแล้ ว อย่ า ให้ ค นอยู ่ สั ก ๓ เดื อ น เพื่ อ ป้ อ งกั น โรคมิ ใ ห้ มี ขึ้ น แก่
กองตระเวนต่อไป
หม่อมฉันได้ส่งรายงานแพทย์สุขาภิบาลไปยังกระทรวงมหาดไทย
ให้ทราบ เพื่อจัดการป้องกันแล้ว แต่ส่วนกองตระเวน หม่อมฉันได้สั่งเจ้ากรม
กองตระเวนแล้วว่า ให้จัดคนส�ำรับใหม่ขึ้นไปรักษาการรถไฟที่สเตชั่นบ้านโป่ง
ให้น�ำพลตระเวนที่อยู่ด้วยกันกับคนป่วยมากักตรวจโรคที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ
โรงพักกองตระเวนนั้น ยังเป็นโรงที่ท�ำขึ้นใช้ชั่วคราว ราคาไม่มากนัก หม่อมฉันจึ่ง
สั่งให้เจ้ากรมกองตระเวนเผาเสียตามความแนะน�ำหมอแล้ว
ถ้าท่านมีโอกาสสมควร ขอได้โปรดน�ำข้อความกราบบังคมทูลพระกรุณา
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
(พระนาม) นเรศรวรฤทธิ์
๑๙๔

ที่ ๑๙๕/๑๓๑๑๑ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๘
วันที่ ๓๐ ธันวาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการ ได้ทรง
ทราบ
ด้วยตามข้อความในรายงานหม่อมฉันฉบับที่ ๑๘๖/๑๒๖๔๑ ลงวันที่
๑๙ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๔ เรื่องมีไข้กาฬโรคเกิดขึ้นที่บ้านโป่ง คนตระเวนกองรักษา
ทางรถไฟได้ป่วยตาย ๒ คน กับข่าวว่าชาวบ้านตายอีก ๓ คน หม่อมฉันได้สั่งให้
จัดพลตระเวนส�ำรับใหม่ข้ึนไปรักษาการที่สเตชั่นบ้านโป่ง ให้น�ำพลตระเวนที่อยู่
ด้วยกันกับคนป่วยมากักตรวจโรคที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และให้เผาโรงพักกอง
ตระเวนเสียตามความแนะน�ำหมอนั้น
บัดนี้หมอไฮเอตแพทย์สุขาภิบาลยื่นรายงานว่า จีนปวย คนงานท�ำการ
อยูใ่ นห้องผ่าศพทีโ่ รงพยาบาลกองตระเวน ซึง่ ได้เป็นผูช้ ว่ ยหมอกาทิวท�ำการตรวจ
ผ่าศพนายยามกองตระเวนผู้ป่วยเป็นไข้กาฬโรคที่ย้ายมาจากบ้านโป่งเมื่อวันที่
๑๗ ธันวาคมนั้น จีนปวยล้มเจ็บเป็นไข้กาฬโรคเมื่อวันที่ผ่าศพล่วงแล้วได้ ๕ วัน
คือวันที่ ๒๓ ธันวาคม เวลาเช้า ได้ส่งจีนปวยไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล
กาฬโรค ครั้นวันที่ ๒๔ ธันวาคม จีนปวยตาย หมอได้ตรวจศพจีนปวยผู้ตาย
ก็ได้ความชัดว่าเป็นไข้กาฬโรคเพราะติดต่อกับโรคที่นายยามกองตระเวนตายนั้น
จึ่งได้น�ำศพไปเผาเสียในทันที หมอได้ส่งคนไข้ในโรงพยาบาล ซึ่งนอนอยู่ด้วยกัน
กับจีนปวย ให้ไปกักไว้ตรวจโรคที่โรงพยาบาลกาฬโรคแล้ว และโรงอาศัยของ
คนงานที่โรงพยาบาลกองตระเวนนั้นก็ได้ช�ำระล้างโดยเรียบร้อยแล้ว


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๕๖.
๑๙๕

อนึง่ ในท้ายรายงานหมอนัน้ แพทย์กล่าวปรารภด้วยการทีม่ ผี ไู้ ม่ใคร่เชือ่


ในการที่ป้องกันโรคแพร่หลาย หมอมีความวิตกด้วยกาฬโรคซึ่งเกิดขึ้นที่บ้านโป่ง
เป็นอันมาก เกรงว่าถ้าไม่จัดป้องกันให้ดีจะพาโรคเข้ามายังกรุงเทพฯ แจ้งอยู่ใน
รายงานหมอที่ได้ส�ำเนาถวายมาด้วยแล้ว
หม่อมฉันได้ส่งส�ำเนารายงานแพทย์สุขาภิบาลฉบับนี้เพิ่มเติมรายงาน
ฉบับก่อนไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ด�ำริจัดการป้องกันโรคแพร่หลายนั้น
ด้วยแล้ว
ถ้าท่านมีโอกาสสมควร ขอได้น�ำข้อความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วย๑
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
(พระนาม) นเรศรวรฤทธิ์


วั น ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ได้ ส ่ ง
รายงานของนายแพทย์ไฮเอต ไปถึงสมเด็จฯ กรมหลวงด�ำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
พร้อมทั้งมีพระราชหัตถเลขาความตอนหนึ่งว่า “เป็นอันแน่นอนว่าเปลกนั้น ถึงพันแข้งก็ไม่พ้น
เป็นคนในโรงพยาบาลก็ไม่พ้น หมอไฮเอตมีความแค้นในข้อที่คนไม่เชื่อ และว่าที่บ้านโป่งยังไม่ได้จัด
อันใด เธอเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มาก จึงส่งรายงานมาให้ดู,” อ้างจาก หอจดหมายเหตุ
แห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร (๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗),
หน้า ๕๙.
๑๙๖

สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
๑๙๗

ที่ ๒๓๘/๘๗๖๘ ศาลาว่าการมหาดไทย๑


วันที่ ๗ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ด้วยเมื่อวันที่ ๕ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับข่าวจากพระยาสุนทรบุรี๒ ว่า
มีคนเป็นไข้ตายที่โรงแถวเครื่องผูก ถนนซ้ายพระ ที่ตลาดพระปฐมเจดีย์คน ๑
มีอาการสงสัยว่าจะเป็นกาฬโรค และสืบได้ความว่าก่อนนั้นสองสามวัน หนูที่
หมู่โรงแถวนั้นตายหลายตัว พระยาสุนทรบุรีได้จัดการรื้อโรงแถวเฉพาะห้องที่
เกิดไข้นั้นเผาไฟ และได้แยกคนที่อยู่ที่นั้นไปอยู่ต่างหาก และจัดการป้องกัน
ที่จะไม่ให้โรคเกิดขึ้นอีก ตามก�ำลังที่จะท�ำได้ แต่พระยาสุนทรบุรีมีความวิตก
ว่าความรู้ที่จะจัดการนี้จะไม่พอ ขอหมอที่รู้วิธีป้องกันกาฬโรคออกไปช่วย
มาเมื่ อ วั น ที่ ๗ นี้ ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ รั บ ข่ า วจากเมื อ งเพ็ ช รบุ รี ว ่ า
เกิดกาฬโรคขึ้นที่ในตลาดเมืองเพ็ชรบุรี คนตายแล้วคน ๑ ยังป่วยอยู่คน ๑
ขอหมอออกไปช่วยจัดการป้องกัน
เรื่องกาฬโรคที่เกิดขึ้นตามหัวเมือง ปรากฏแล้วถึง ๖ แห่ง คือ เมืองภูเก็จ
แห่ง ๑ ปากเพรียวเมืองสระบุรีแห่ง ๑ บ้านโป่ง เมืองราชบุรีแห่ง ๑ ที่อ�ำเภอ
ภุมเรียง๓ เมืองไชยาแห่ง ๑ ทีต่ ลาดพระปฐมและเมืองเพ็ชรบุรมี าเกิดขึน้ อีก ๒ แห่ง
เป็นที่วิตกว่าจะไม่สงบและจะลุกลามต่อไปได้ถึงที่อื่นอื่นด้วย กาฬโรคนี้สังเกตดู


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๖๒ – ๖๔.

พระยาสุนทรบุรี (ชม สุนทรารชุน) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรีระหว่าง พ.ศ.
๒๔๔๑ – ๒๔๕๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เลื่อนเป็นเจ้าพระยาศรีวิไชยชนินทร์
๓ ปัจจุบันคือต�ำบลพุมเรียง อ�ำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๙๘

เกิดขึ้นในต�ำบลใด หายสงบไปชั่วครั้งหนึ่งคราวหนึ่งแล้ว กลับเป็นอีกในต�ำบลนั้น


ดังเช่นที่ตลาดบ้านโป่งเป็นตัวอย่าง กาฬโรคเกิดขึ้นครั้งหลังนี้ก็เกิดในตลาดหมู่ที่
เป็นแล้วเมื่อคราวก่อน เพราะฉะนั้นดูท่าทางน่าจะจัดการป้องกันได้อยู่บ้าง
แต่อย่างไรก็ดี เมื่อความจริงปรากฏว่ามีกาฬโรคเกิดขึ้นตามหัวเมืองหลายแห่ง
อย่างนี้แล้ว ก็เห็นเป็นการจ�ำเป็นที่รัฐบาลจะต้องพากเพียรจัดการป้องกันให้
ปรากฏว่ามิได้เพิกเฉย จึงจะเป็นการสมควร
แต่ก่อนมาข้าพระพุทธเจ้าได้เคยขอแรงหมอกรมสุขาภิบาลออกไป
ตรวจเป็นครัง้ เป็นคราว ก็ไม่เป็นการสะดวก หมอร้องอยูว่ า่ มีธรุ ะส่วนในกรุงเทพฯ
นี้เป็นอันมาก คราวนี้เองได้ให้ไปตามหมอไฮเอ็ตก็ยังไม่ได้พบกันจนบัดนี้ บางที
ข้าพระพุทธเจ้าต้องจ้างหมอเชลยศักดิ์ออกไปเป็นครั้งเป็นคราว ก็เรียกเอา
ค่ า จ้ า งคราวละมากๆ ถึ ง ร้ อ ยสองร้ อ ยบาท คิ ด ดู ที่ ใ ห้ ห มอส� ำ หรั บ การอื่ น
ไปดู เ ป็ น ครั้ ง เป็ น คราวไม่ ส� ำ เร็ จ ประโยชน์ คุ ้ ม กั บ พระราชทรั พ ย์ ที่ ต ้ อ งเสี ย
ความขัดข้องมีอยู่ดังนี้ จะควรจัดการฉันใด ข้าพระพุทธเจ้าขอเรียนพระราช
ปฏิบัติ
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า ด�ำรงราชานุภาพ๑ ขอเดชะ


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
๑๙๙

รายงานเสนาบดีสภา๑
วันที่ ๘ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔
๑๔
(ตรงกับวันที่ ๒ ฯ ๒ ค�่ำ ปีมะเส็งสัปตศก จุลศักราช ๑๒๖๗)๒
ก�ำหนดเวลาชุมนุมทุ่มหนึ่ง
รายพระนามและนาม
ผู้มาชุมนุม
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงษวรเดช๓ [เสนาบดีกระทรวงกลาโหม]
กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ [เสนาบดีกระทรวงนครบาล]
กรมหลวงเทวะวงษวโรประการ [เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ]
กรมหลวงด�ำรงราชานุภาพ [เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย]
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงษ [เสนาบดีกระทรวงวัง]
กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย [เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัต]ิ
เจ้าพระยาวิชิตวงษวุฒิไกร [เสนาบดีกระทรวงธรรมการ]
เจ้าพระยาเทเวศรวงษวิวัฒน์ [เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ]
พระยาสุริยานุวัตร๔ [เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ]


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕. น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๔๙ – ๕๒, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๒ ตรงกับวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘
๓ สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุพันธุวงศ์วรเดช พระราชโอรสใน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี ต่อมาทรงด�ำรง
ต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม
๔ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวง
โยธาธิการ และเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
๒๐๐

มีราชการในระเบียบวาระคือ
ระเบียบวาระ ๑. เรื่องไข้กาฬโรค
ผู้เป็นประธาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับเป็นประธานในที่ชุมนุม
ปรึกษาราชการในระเบียบวาระ
พระยาศรีสุนทรอ่านหนังสือราชการในระเบียบวาระเสนอที่ประชุม คือ
๑. เรื่องไข้กาฬโรค
หนังสือกระทรวงมหาดไทยทูลเกล้าฯ ถวายความว่า เมื่อวันที่ ๕
ได้รบั ข่าวจากพระยาสุนทรบุรวี า่ มีคนเป็นไข้ตายทีโ่ รงแถวเครือ่ งผูก ถนนซ้ายพระ
ที่ตลาดพระปฐมเจดีย์คนหนึ่ง มีอาการสงสัยว่าจะเป็นกาฬโรค พระยาสุนทรบุรี
ได้จัดการป้องกันที่จะไม่ให้โรคเกิดขึ้นอีกตามก�ำลังที่จะท�ำได้ แต่มีความวิตกว่า
ความรู้จะไม่พอ ขอหมอที่รู้วิธีป้องกันกาฬโรคออกไปช่วย
ครั้นเมื่อวันที่ ๗ นี้ ได้รับข่าวจากเมืองเพชร์บุรีว่า เกิดกาฬโรคขึ้น
ที่ในตลาด คนตายแล้วคนหนึ่ง ยังป่วยอยู่คนหนึ่ง ขอหมอออกไปช่วยจัดการ
ป้องกัน
เรื่องกาฬโรคที่เกิดขึ้นตามหัวเมืองปรากฏแล้วถึง ๖ แห่ง เป็นที่วิตกว่า
จะไม่สงบและจะลุกลามต่อไปได้ถึงที่อื่นๆ ด้วย และเห็นเป็นการจ�ำเป็นที่รัฐบาล
จะต้องพากเพียรจัดการป้องกันให้ปรากฏว่ามิได้เพิกเฉย จึงจะเป็นการสมควร
แต่ก่อนมากรมหลวงด�ำรงได้เคยขอแรงหมอกรมสุขาภิบาลออกไป
ตรวจเป็นครั้งเป็นคราว ก็ไม่เป็นการสะดวก หมอร้องอยู่ว่ามีธุระอยู่ในกรุงเทพฯ
นี้มาก คราวนี้ได้ให้ไปตามหมอไฮเอตก็ยังไม่ได้พบกันจนบัดนี้
๒๐๑

บางทีตอ้ งจ้างหมอเชลยศักดิอ์ อกไปเป็นครัง้ เป็นคราว ก็เรียกเอาค่าจ้าง


คราวละมากๆ และก็ไม่ส�ำเร็จประโยชน์คุ้มกับพระราชทรัพย์ที่ต้องเสีย
ความขัดข้องมีอยู่ดังนี้ จะควรจัดการฉันใด ขอเรียนพระราชปฏิบัติ
มีพระราชด�ำรัสว่า การป้องกันกาฬโรคนี้จะอยู่ในกรมสุขาภิบาลตลอด
จนหัวเมืองหรืออย่างไร ขอให้ที่ประชุมคิดดูว่าจะควรอย่างไร
กรมหมื่ น มหิ ศ รเห็ น ว่ า การหน้ า ที่ นี้ ในเวลานี้ ยั ง ปะปนกั น อยู ่
คือที่กรมพยาบาลก็มี กรมสุขาภิบาลก็มี ส่วนวิธีที่จัดการแม้แต่ในกรุงเทพฯ
ก็ต่างคนต่างจัดตามความเห็นต่างๆ กัน ไม่ลงแบบได้ ส่วนรัฐบาลก็ต้องเสียเงิน
อยู่มาก แต่ไม่ได้ผลอันใด ถ้าจะจัดการให้ลงรูปเรียบร้อย ควรต้องจัดแบ่งหน้าที่
ให้เป็นระเบียบ คือการศึกษาต้องขึ้นแก่กระทรวงธรรมการ การรักษาหรือ
ป้องกันไข้เจ็บ ส่วนในกรุงต้องขึ้นแก่กระทรวงนครบาล ส่วนหัวเมืองต้องขึ้นแก่
กระทรวงมหาดไทย และการที่จัดนี้ไม่เฉพาะแต่กาฬโรค ต้องตลอดถึงโรคอื่นๆ
และโรคสัตว์ด้วย
มี พ ระราชด� ำ รั ส ว่ า ต้ อ งคิ ด ที่ จ ะปุ ย าในครั้ ง นี้ ชั่ ว คราวชั้ น หนึ่ ง
และต้องคิดที่จะจัดการให้ลงระเบียบต่อไปด้วยอีกชั้นหนึ่ง
กรมหลวงด�ำรงกราบบังคมทูลว่า การที่จะปุยาในครั้งนี้ ส่วนที่พระ
ปฐม หมอไฮเอตรับจะไปจัดการ ส่วนที่เมืองเพชร์นั้น กรมหลวงด�ำรงจะชวนพวก
มิชชันนารีในที่นั้นช่วยจัดการ เห็นจะพอแล้วไปได้คราวหนึ่ง แต่การต่อไปนั้น
ควรคิดเสียให้ตกลงในงบประมาณศกหน้า
มี พ ระราชด� ำ รั ส ว่ า ถ้ า รอไว้ ต กลงในคราวว่ า งบประมาณศกหน้ า
เงินจะไปหนักในงบประมาณศกนั้นนัก ควรคิดให้ตกลงเสีย
๒๐๒

กรมหลวงด�ำรงเห็นว่า ถ้าจะว่าโดยหน้าที่กรมพยาบาล ไม่ใช่แต่จะ


ป้องกันกาฬโรคอย่างเดียว ต้องจัดทุกอย่างทีจ่ ะท�ำให้คนในพระราชอาณาเขตตาย
น้อยลง แต่ที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ หาได้เป็นไปตามหน้าที่ไม่ เป็นต้นว่าในกรุงเทพฯ
โรงพยาบาลทีข่ นึ้ อยูใ่ นกรมพยาบาลก็มี ทีข่ นึ้ อยูใ่ นกรมกองตระเวนก็มี ส่วนหัวเมือง
ไม่ได้จัดอะไรเลย เพราะฉะนั้นทางที่จะจัดใหม่ต้องจัดหน้าที่ในกรมพยาบาล
แต่จะจัดแต่เพียงในกรมพยาบาลเท่านั้นคงไม่ส�ำเร็จได้ ถ้าจะให้ได้ผลอย่างดีที่สุด
ต้องเลิกกรมพยาบาลเสีย ส่วนโรงพยาบาลที่มีอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยกไปขึ้นอยู่ใน
กระทรวงนครบาล ต่อไปถ้าจะตัง้ โรงพยาบาลขึน้ ในหัวเมืองใด ให้ขนึ้ อยูใ่ นเมืองนัน้
เว้นแต่โรงศิริราชพยาบาลต้องให้ขึ้นแก่กรมศึกษา เพราะเป็นโรงเรียน ส่วนการ
ที่ จ ะท� ำ นั้ น เห็ น ว่ า ต้ อ งการคนที่ ดี แ ต่ สี่ ค น คื อ ต้ อ งมี ห มอให้ เ ดิ น ตรวจตลอด
พระราชอาณาเขตเพื่อท�ำรายงานยื่นคนหนึ่ง คนประสมยาคนหนึ่ง และต้อง
จัดการจ�ำหน่ายยาให้ทั่วถึงตลอดไป คนส�ำหรับท�ำหนองฝีและซีรัมต่างๆ คนหนึ่ง
กับไดเรกเตอร์ต้องเป็นผู้ที่ดี และท�ำการเพื่อประโยชน์จริงอีกคนหนึ่ง เท่านั้นก็จะ
พอแก่การ แต่เหตุใดจึงต้องเลิกกรมพยาบาล เพราะเหตุวา่ ถ้าไม่เลิกกรมพยาบาล
แล้วจัดการใหม่ไม่ได้ คือที่จะเอาใครไว้เอาใครออกนั้นเป็นการจัดยาก จึงควร
ตั้งต้นจัดใหม่ทีเดียว
ที่ประชุมเห็นชอบด้วย
มี พ ระราชด� ำ รั ส ว่ า ตามที่ ไ ด้ ป รึ ก ษาในที่ ป ระชุ ม เช่ น นี้ เห็ น ว่ า
จะเข้ารูปดีแล้ว ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาล เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
เสนาบดีกระทรวงพระคลัง และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ปรึกษากันต่อไป
ให้ตกลงทันเวลาว่างบประมาณ
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
๒๐๓

ที่ ๒๔๒/๘๘๗๐ ศาลาว่าการมหาดไทย๑


วันที่ ๑๐ มกราคม ร.ศ. ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]
ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบ
ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รบั พระราชทานพระราชหัตถเลขาที่ ๒๗๘/๑๔๑๓
ลงวันที่ ๖ เดือนนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรายงานของหมอ
ไฮเอต ซึ่งกล่าวด้วยไข้กาฬโรคที่บ้านโป่งไปนั้น พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ
หาที่สุดมิได้
ในเรื่ อ งนี้ ก่ อ นที่ ข ้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ รั บ พระราชทานลายพระราช
หัตถเลขาฉบับนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับลายพระหัตถ์พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง
นเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาลว่า จีนปวย ผู้ช่วยผ่าศพที่โรงพยาบาล
กองตระเวนบ้านโป่งเป็นกาฬโรคตาย ข้าพระพุทธเจ้าได้มีจดหมายกราบทูล
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ ขอความเห็นของแพทย์ว่าจะควร
จัดการป้องกันรักษาอย่างไร โรคนี้จึงจะสงบลงได้ เพื่อจะได้จัดการป้องกันต่อไป
ครั้นวันที่ ๘ เดือนนี้ หมอไฮเอตได้มาพบปรึกษากันด้วยเรื่องที่จะจัดการป้องกัน
กาฬโรคที่พระปฐมเจดีย์และบ้านโป่ง หมอไฮเอตว่า การที่จะระงับกาฬโรคที่
พระปฐมเจดีย์นั้น หมอไฮเอตจะรับช่วยเป็นธุระโดยเต็มก�ำลัง คือ จะออกไป
พระปฐมเจดีย์เช้าวันที่ ๑๑ นี้ ไปตรวจตราแนะน�ำการด้วยตนเอง และจะให้หมอ
ที่ เ ป็ น ศิ ษ ย์ ซึ่ ง เคยท� ำ การตรวจตรารั ก ษากาฬโรคที่ ใ นกรุ ง เทพฯ ออกไปอยู ่
ช่ ว ยท� ำ การเรื่ อ งนี้ ที่ พ ระปฐมเจดี ย ์ ชั่ ว คราวหนึ่ ง และหมอไฮเอตได้ แ นะน� ำ


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า ๖๗ – ๗๐.
๒๐๔

พระยาสุนทรบุรี (ชม สุนทรารชุน) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี


๒๐๕

การซึง่ ควรจะจัดในเวลานีค้ อื ให้ประกาศแก่ราษฎรซึง่ อยูใ่ นท้องทีเ่ หล่านัน้ ให้ทราบ


ลักษณะอาการของกาฬโรค และให้รู้ว่ากาฬโรคนี้อาจให้เป็นอันตรายอันร้ายแรง
แก่มหาชน จึงจ�ำเป็นจะต้องจัดการป้องกันรักษาอย่าให้เกิดอันตรายต่อเนือ่ งไปแก่
คนทั้งหลายอีก ข้อความตามประกาศมีความประสงค์ขอให้ราษฎรช่วยเป็นธุระ
๓ ประการ คือ (๑) ให้ช่วยกันจับหนูมาส่งต่อเจ้าพนักงาน จะรับซื้อราคาตัวละ
๒ อัฐ ด้วยเหตุว่ากาฬโรคนี้ตรวจตราได้ความว่าหนูเป็นสัตว์ที่พาให้โรคติดต่อ
ไปตามบ้านเรือนราษฎรได้ จึงจะต้องจับหนูเสีย เพื่อป้องกันเหตุทางที่จะพา
ให้ โรคนี้ แ พร่ ห ลายประการหนึ่ ง (๒) ถ้ า มี ใ ครป่ ว ยเป็ น ไข้ จั บ อย่ า งร้ า ยแรง
ให้ผู้รักษาพยาบาลหรือผู้ที่อยู่ใกล้รีบมาแจ้งแก่หมอให้ทราบโดยเร็ว หมอจะได้
ไปตรวจตรา ถ้ า เป็ น กาฬโรคจะได้ จั ด การรั ก ษาให้ ทั น ท่ ว งที ป ระการหนึ่ ง
(๓) ถ้าผู้ใดเป็นอันตรายตายลงด้วยกาฬโรค ณ แห่งใด ให้ญาติพี่น้องหรือ
ผู้อยู่ใกล้รีบมาแจ้งความให้หมอไปตรวจชันสูตรศพเสียก่อนที่เอาไปฝังหรือเผา
หมอจะได้ป้องกันมิให้กาฬโรคนั้นแพร่หลาย
อนึ่ง หมอได้แนะน�ำให้จัดหาที่ท�ำโรงพยาบาลท�ำด้วยเครื่องผูกใช้
ชั่วคราว ส�ำหรับรักษาไข้กาฬโรคสักแห่งหนึ่ง ณ ที่ใกล้ แต่ให้อยู่เป็นเอกเทศ
ส่วนหนึ่งอันห่างจากบ้านเรือนผู้คน และโรงเรือนแห่งใดซึ่งเกิดกาฬโรค ถ้าเป็น
โรงเครื่องผูกไม่เป็นของมีราคา ควรรื้อเผาเสีย และที่ดินซึ่งเคยปลูกโรงนั้น
ควรเปิดปล่อยไว้ให้แห้ง อย่าให้ปลูกบ้านเรือนลงไปจนพ้นก�ำหนด ๓ เดือน
ถ้าเป็นเรือนมีราคาจะรื้อเผายาก แต่พอจะเปิดหลังคาได้ ให้เปิดหลังคาล้าง
และรมภายในเรื อ นด้ ว ยเครื่ อ งยาล้ า งความโสโครกให้ ห มดจด ก� ำ หนดราว
เดือนหนึ่งจึงให้มุงใหม่ ถ้าเป็นตึกหรือเป็นเรือนซึ่งจะเปิดหลังคาไม่ได้ ให้ล้าง
และรมทิ้งไว้เดือน ๑ จึงให้คนอยู่ ส่วนที่นอนหมอนมุ้งเสื้อผ้าซึ่งอยู่ใกล้เกี่ยวแก่
คนที่เป็นกาฬโรค ให้เก็บรวบรวมไว้ส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเป็นของไม่มีราคา ควรเผาได้
ให้เผาเสีย ที่เป็นของมีราคาไม่ควรเผาก็ให้อบรมด้วยยาให้หมดความโสโครก
๒๐๖

ข้อความตามทีห่ มอแนะน�ำมีดงั นี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้มตี ราสัง่ ไปยังพระยาสุนทรบุรี


ให้จัดการตามค�ำน�ำแนะน�ำของหมอทุกประการแล้ว๑
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า ด�ำรงราชานุภาพ ขอเดชะ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย


พระยาสุนทรบุรีพยายามจัดการตามค�ำแนะน�ำของนายแพทย์ไฮเอตเป็นเวลา ๒ เดือน
ก็ไม่ได้ผล เพราะราษฎรมีความหวาดกลัว เกรงว่าจะถูกกักตัวไว้ในโรงพยาบาล เมื่อมีหนูตายที่ใด
ก็ปกปิดไม่ให้เจ้าพนักงานทราบ หรือถ้าผู้ใดมีอาการเป็นไข้ สงสัยว่าจะเป็นกาฬโรค ก็อพยพหลบหนี
ไปซ่อนเร้นทีอ่ นื่ คนตัง้ ร้านค้าในตลาดก็กลัวจะถูกกักขังและเผาทรัพย์สมบัติ ถึงกับจะอพยพไปทีอ่ นื่
พระยาสุนทรบุรีจึงน�ำความวิตกในเรื่องนี้ไปกราบทูลสมเด็จฯ กรมหลวงด�ำรงราชานุภาพ มีรับสั่ง
ว่า “การที่จะจัดการป้องกันโรคภัยเช่นนี้เป็นการใหญ่ เกี่ยวกับราษฎรเป็นอันมาก และเกี่ยวไป
ถึงการค้าขายซึ่งเป็นมาหาเลี้ยงชีพของราษฎร รัฐบาลมีทุนและมีอ�ำนาจจะท�ำอย่างไรก็ท�ำได้จริงอยู่
แต่ถ้าราษฎรไม่ปลงใจช่วยรัฐบาลด้วยแล้ว จะมีผลดีได้โดยยาก การที่จัดการป้องกันกาฬโรคอย่าง
กวดขันที่รัฐบาลอื่น คือประเทศอินเดียเป็นต้น เขาได้จัดท�ำไปถูกราษฎรอักอ่วนรวนเรเช่นนี้ก็ไม่ได้
ผลดี ต้องผ่อนผันเอาใจราษฎร การที่จัดจึงมีผลดี” และมีพระด�ำริให้ผ่อนผันการกวดขันลง โดยจัด
โรงจ�ำหน่ายยาเป็นทาน ให้หมอคอยแนะน�ำราษฎร และงดเว้นการแยกคนป่วยไปกักไว้ทโี่ รงพยาบาล
ตลอดจนงดการกักกันคนในบริเวณที่เกิดกาฬโรค ราษฎรจึงคลายความหวาดกลัว ท�ำให้การป้องกัน
กาฬโรคทีต่ ำ� บลพระปฐมเจดียไ์ ด้ผลดีขนึ้ ดูรายละเอียดใน กระทรวงสาธารณสุข, สมเด็จกรมพระยา
ด�ำรงราชานุภาพกับการสาธารณสุข (พระนคร: กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๐๕), หน้า ๓๑ – ๓๒.
๒๐๗

ข้อความคัดจากรายงานประชุมเสนาบดี
๓๘
วันที่ ๗ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ [พ.ศ. ๒๔๔๘]๑

๓. เรื่องกาฬโรคที่เมืองเพชรบุรี
ลายพระหัตถ์กรมหลวงด�ำรงทูลเกล้าฯ ถวายความว่า ตามที่มีพระบรม
ราชประสงค์จะทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถึงเรื่องกาฬโรคที่เกิดขึ้นที่เมือง
เพชรบุรี ว่าใครไปตรวจว่ากระไรบ้างนั้น ต่อมากรมหลวงด�ำรงได้รับโทรเลขผู้ว่า
ราชการเมืองเพชรบุรีอีก ๕ ฉบับ ได้ความว่ามีคนตายด้วยไข้กาฬโรคอีก ๔ คน
การครั้งนี้กรมหลวงด�ำรงมีความร้อนใจเป็นล้นเกล้าฯ แต่เป็นการเหลือก�ำลัง
ด้วยไม่มีหมอส�ำหรับกระทรวง ได้ตริตรองแก้ไขมานักแล้วก็ไม่ส�ำเร็จ เป็นอัน
พ้นก�ำลังและสติปัญญาแล้ว ขอพระบารมีปกเกล้าฯ เป็นที่พึ่ง
มีพระราชด�ำรัสว่า เรือ่ งนีจ้ ะต้องปรึกษาไว้ให้เป็นหลักส�ำหรับทีจ่ ะจัดการ
ป้องกันโรคทั้งปวงในหัวเมืองต่อไปว่าจะจัดอย่างไร ที่จัดอยู่เดี๋ยวนี้แต่เฉพาะ
ป้องกันกาฬโรคในกรุงเทพฯ เท่านั้น
กรมหลวงด�ำรงกราบบังคมทูลว่า เรื่องที่จะจัดป้องกันโรคในหัวเมือง
นั้น ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงด�ำรง กรมหลวงนเรศร
กรมหมืน่ มหิศร กับเจ้าพระยาวิชติ ปรึกษากันนัน้ ได้ตกลงกันว่า ต้องเลิกกรมพยาบาล
ส่วนโรงพยาบาลนั้นให้จัดเป็นมณฑลๆ แต่ในกระทรวงธรรมการต้องมีหมอ
ส�ำหรับตรวจการโรงพยาบาลทั่วไปนายหนึ่ง มีหมอส�ำหรับประสมยาจ�ำหน่าย


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕. น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗), หน้า๕๓ – ๕๔, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.
๒๐๘

ให้ทั่วถึงนายหนึ่ง มีหมอส�ำหรับท�ำหนองฝีและซีรัมส�ำหรับป้องกันโรคโคกระบือ
นายหนึ่ง และจะได้ลงมือจัดตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
เป็นต้นไป ส่วนตัวบุคคลนั้น หน้าที่หมอตรวจการนั้น หมอไปรด๊อก๑ รับจะฉลอง
พระเดชพระคุณ หมอผสมยานั้น หมอวิลเลียมได้ท�ำการอยู่แล้ว และหมอท�ำ
หนองฝี แ ละซี รั ม นั้ น จะเรี ย กหมอวุ ล ลี ม าจากมนิ ล า ๒ ในเวลานี้ ยั ง ติ ด อยู ่ ใ น
ระหว่างเวลายังไม่ขึ้นปีใหม่ แต่ว่าจะโปรดเกล้าฯ ให้หมอไปรด๊อกเข้าท�ำการเสีย
แต่ในเดือนนี้ก็ได้ จะได้ไปตรวจการที่เมืองเพชรบุรีเป็นต้น มีเงินอะไรเหลืออยู่
ก็ให้เสียเดือนหนึ่ง
เจ้าพระยาวิชิตกราบบังคมทูลว่า หมอไปรด๊อกจะรับพระราชทาน
เงินเดือน เดือนละ ๑,๐๐๐ บาท ได้ตั้งในงบประมาณศก ๑๒๕ แล้ว
มีพระราชด�ำรัสว่าในเดือนมีนาคมนี้ก็ล่วงมาหลายวันแล้ว มีเงินอะไร
เหลือก็จ่ายให้ ให้เข้าท�ำการเสีย และให้เจ้าพระยาวิชิตตั้งรูปมาว่าจะวางการ
อย่างไร ข้อส�ำคัญก็คือกระทรวงธรรมการต้องรู้สึกรับผิดชอบในการเรื่องนี้
ตลอดไป๓


หมอแบรดด๊อก หรือหมอปลาดัก

เมืองมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ จึงมีการยุบกรมพยาบาลในสังกัดกระทรวงธรรมการ และโอน
โรงพยาบาลในกรุ ง เทพฯ ไปขึ้นกับ กระทรวงนครบาล ยกเว้น โรงศิริร าชพยาบาลที่ยังขึ้น กับ
กระทรวงธรรมการ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๕ จึงมีการตั้งกรมพยาบาลขึ้นใหม่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
เพื่อดูแลการสาธารณสุขในหัวเมือง
๒๐๙

ที่ ๑๖/๕๐๑๑ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๙
วันที่ ๖ กรกฎาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ข้าพระพุทธเจ้า กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ขอพระราชทานกราบบังคมทูล
พระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชหัตถเลขาที่
๑๕/๕๘๓ ลงวันที่ ๑ เดือนนี้ มีพระกระแสในเรื่องการตรวจไข้กาฬโรคที่ทราบ
ได้ช้าเกินไป ถ้าเป็นอยู่เช่นนี้จะกลายเป็นท�ำพิธีไป พิธีอ่ืนๆ ใช้เงินน้อย พิธีนี้
ใช้เงินมาก โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพระพุทธเจ้าคิดจัดการกวดขันขึ้น เพื่อให้การ
ที่จัดเป็นประโยชน์ป้องกันโรคันตรายได้จริงนั้น พระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้
พระราชอาญาไม่พน้ เกล้าฯ การทีต่ รวจไข้กาฬโรคตามทีจ่ ดั อยูใ่ นทุกวัน
นี้ เป็นแต่ให้กองตระเวนและอ�ำเภอท้องที่ฟังและตรวจสืบสวนตามชาวบ้าน และ
ป่าช้าในท้องแขวง เมื่อสงสัยว่าคนใดเป็นไข้กาฬโรคให้น�ำเหตุมาแจ้งต่อแพทย์
สุขาภิบาล จึ่งได้ไปตรวจจัดการระงับโรค ยังหาได้มีกฎหมายอันใดที่บังคับให้
บ้านที่มีคนป่วยเป็นกาฬโรคแจ้งต่อเจ้าพนักงานในทันทีเหมือนประเทศอื่นนั้นไม่
ข้าพระพุทธเจ้าได้หารือกับหมอไฮเอตให้ร่างพระราชบัญญัติตรวจป้องกันโรค
ทีต่ ดิ กันได้อย่างเมืองอืน่ ๆ ขึน้ ฉบับ ๑ ในร่างนัน้ บังคับกวดขันเหลือเกิน เป็นต้นว่า
มี ค นป่ ว ยที่ บ ้ า นใดแล้ ว จะให้ ย ้ า ยไปโรงพยาบาล เป็ น ต้ น ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า
เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า จะเป็นความเดือดร้อนในครอบครัวที่มีวงศ์ญาติมาก จะบังคับ
ไปไม่ตลอดได้ ข้าพระพุทธเจ้าจึ่งตัดทอนแก้ไข หมอก็เห็นไปว่าถ้าไม่จัดการแยก
รักษากันจริง ก็คงไม่เป็นผลดีอันใด ความที่แก้ไขกันยังไม่เป็นความตกลงกันได้



คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๒ กาฬโรคตึกขาว ออกประกาศจัดการ
ป้องกันกาฬโรค ก�ำหนดให้แจ้งข่าวคนป่วย (๒๐ มิ.ย. ๑๒๕ – ๒๖ ต.ค. ๑๒๕), หน้า ๔๘ – ๔๙.
๒๑๐

ข้อความที่ยังค้างอยู่ กับสิ่งที่จะได้ประกอบการตรวจโรคนั้น การจดทะเบียน


คนตายอีกอย่าง ๑ ข้าพระพุทธเจ้าได้รา่ งพระราชบัญญัตขิ นึ้ ทัง้ จดทะเบียนคนเกิด
และคนตายในฉบั บ เดี ย วกั น ส่ ง ให้ มิ ส เตอร์ ส โตรเบล ๑ หารื อ ผู ้ แ ทนรั ฐ บาล
ต่างประเทศแต่เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗] นั้นแล้ว แต่ผู้แทน
รัฐบาลต่างประเทศยังไม่ยินยอมในเรื่องจดทะเบียนคนเกิด ว่าไม่เกี่ยวข้องแก่
การที่ตรวจป้องกันโรค จะยอมแต่การจดทะเบียนคนตาย ข้อความนั้นจึ่งเป็นอัน
อยู่ในระหว่างว่ากล่าว
แต่บดั นีข้ า้ พระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ถ้าจะไม่ออกข้อบังคับอันเป็น
สิ่งที่ประกอบการตรวจโรค การตรวจระงับป้องกันโรคก็คงไม่เป็นประโยชน์ได้
ข้าพระพุทธเจ้าจึง่ ได้หารือกับมิสเตอร์เวสเตนการด๒ คิดตัดเอาแต่ใจความทีจ่ ำ� เป็น
ต้องการจากร่างข้อบังคับที่หมอไฮเอตยื่น คือ ข้อที่ให้ผู้เป็นเจ้าของบ้านแจ้งข่าว
คนป่วยกาฬโรคในทันทีอย่างเดียว ร่างขึ้นเป็นประกาศข้อบังคับเพื่อป้องกันการ
ปิดบังคนป่วยอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ ส�ำหรับจะได้ให้เจ้าพนักงานทราบข่าว
จัดการตรวจระงับโรคป้องกันความแพร่หลายในทันที ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ
ถวายร่างประกาศทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
อนึ่ง เครื่องที่จะประกอบตรวจความแจ้งข่าวโรคที่จะให้เป็นไปได้จริง
จ�ำเป็นต้องตรวจบัญชีคนตาย ข้าพระพุทธเจ้าจึง่ ขอให้มสิ เตอร์เวสเตนการดหารือ
มองซิเออร์ ยี ปาดู๓ ตัดข้อความในร่างพระราชบัญญัติคนเกิดและคนตายที่


เอ็ดเวิร์ด เฮนรี สโตรเบล (Edward Henry Strobel) ชาวอเมริกันผู้ได้รับการแต่งตั้ง
เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของสยาม ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๖ – ๒๔๕๑

เจนส์ ไอเวอร์สัน เวสเตนการ์ด (Jens Iverson Westengard) ชาวอเมริกันผู้ได้รับการ
แต่งตั้งเป็นผู้ช่วยของนายสโตรเบล และต่อมาเมื่อนายสโตรเบลเสียชีวิตก็ได้ด�ำรงต�ำแหน่งที่ปรึกษา
ราชการแผ่นดินแทน ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๑ – ๒๔๕๖ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น
พระยากัลยาณไมตรี
๓ ยอร์ช ปาดูซ์ (Georges Padoux) ชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้าน
กฎหมายของรัฐบาลสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕
๒๑๑

ข้าพระพุทธเจ้าได้รา่ งขึน้ แล้ว คัดเอาแต่เฉพาะเกีย่ วด้วยจดทะเบียนคนตายเท่านัน้


ร่างขึ้นเป็นพระราชบัญญัติจดทะเบียนคนตายฉบับ ๑ ตามความที่ผู้แทนรัฐบาล
ต่ า งประเทศยิ น ยอมแล้ ว เพื่ อ ได้ อ อกพระราชบั ญ ญั ติ นี้ ไ ปเสี ย ชั้ น หนึ่ ง ก่ อ น
ขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวายร่างทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ตามความที่ร่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้าหมายจะจดทะเบียนคนตายแต่ใน
ท้ อ งแขวงอ� ำ เภอชั้ น ในก่ อ น เมื่ อ การที่ จั ด เป็ น ไปได้ เรี ย บแล้ ว จึ่ ง จะได้ รั บ
พระราชทานท� ำ กฎเพิ่ ม เติ ม ก� ำ หนดหน้ า ที่ ก� ำ นั น และผู ้ ใ หญ่ บ ้ า นประกอบ
ขอพระราชทานพระบรมราชานุ ญ าตขยายใช้ ใ นแขวงอ� ำ เภอชั้ น นอกกั บ
ในหัวเมืองตลอดมณฑลต่อไป๑
ต�ำแหน่งเจ้ากรมทะเบียน (Registrar General) นั้น ข้าพระพุทธเจ้า
คิดด้วยเกล้าฯ ว่า จะให้เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาลเป็นเจ้าหน้าที่ ไม่จ�ำเป็นต้อง
มีตัวผู้รับราชการแยกต่างหากไป อันจะต้องตั้งเงินเดือนขึ้นอีก แต่จ�ำต้องมีผู้ช่วย
เพิ่มให้นาย ๑ ไม่ต้องตั้งเงินเดือนสูง เพื่อได้เป็นธุระเฉพาะการตรวจจัดและเก็บ
รักษาทะเบียนในส่วนนี้ และต�ำแหน่งสมุห์บัญชีแขวง (Registrar) ผู้จดทะเบียน
ตามท้องแขวงนั้น ไม่ได้ตั้งให้มีตัวขึ้นใหม่ ซึ่งจะเปลืองเงินเดือน ให้นายอ�ำเภอ
และสารวัตรแขวง หรือนายหมวดประจ�ำโรงพักกองตระเวนทุกต�ำบลท�ำการใน
หน้าที่ต�ำแหน่งนี้ คงเงินที่จะต้องใช้ในการจดทะเบียนคนตายนี้ เพียงตั้งต�ำแหน่ง
ผู้ช่วยเจ้ากรมทะเบียนนาย ๑ เงินเดือน ๑๕๐ บาท ๘ เดือน เงิน ๑,๒๐๐ บาท
ค่าสมุดทะเบียนและแบบต่างๆ ประมาณปีหนึ่งราว ๘,๐๐๐ บาท รวมกันเป็นเงิน
๙,๒๐๐ บาท

ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๒ ประกาศใช้พระราชบัญญัติท�ำบัญชีคนในราชอาณาจักร ร.ศ. ๑๒๙



และกฎเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยการจดทะเบียนคนเกิดคนตาย จากนั้นจึงพัฒนาเป็น
พระราชบั ญ ญั ติ ก ารตรวจสอบส� ำ มะโนครั ว และการจดทะเบี ย นคนเกิ ด คนตายคนย้ า ยต� ำ บล
พระพุทธศักราช ๒๔๖๐
๒๑๒

ถ้ า ข้ อ ความตามร่ า งประกาศและร่ า งพระราชบั ญ ญั ติ ต ้ อ งด้ ว ย


กระแสพระราชด�ำริ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออกประกาศแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเบิกจ่ายเงินที่จะได้ใช้การนี้
ในทันที เพื่อจะได้จัดสมุดและพิมพ์แบบแผนล่วงหน้าให้ทันในก�ำหนดเดือนหนึ่ง
ซึ่งจะได้ใช้พระราชบัญญัตินั้น๑
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า (ลงพระนาม) นเรศรวรฤทธิ์ ขอเดชะ


อีกไม่กี่วันต่อมาก็มีการประกาศกฎหมายที่ก�ำหนดให้แจ้งความเมื่อมีผู้ป่วยกาฬโรค คือ
“ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ก�ำหนดให้แจ้งข่าวคนป่วย” ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙
ซึ่งบังคับใช้ในเขตกรุงเทพฯ เป็นหลัก
๒๑๓

ที่ ๖๘/๓๐๙๖ กระทรวงโยธาธิการ๑


๓๙
วันที่ ๑๕ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ด้ ว ยมี เรื่ อ งประหลาดเกิ ด ขึ้ น ที่ ก ระทรวงโยธาธิ ก ารเรื่ อ งหนึ่ ง คื อ
เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนนี้ เวลาประมาณเช้า ๕ โมง ข้าพระพุทธเจ้าออกจากพระที่นั่ง
อัมพรไปกระทรวง ไปแวะพูดอยู่กับมิสเตอร์กิตตินด์ครู่หนึ่ง มีคนวิ่งมาบอกว่า
นายเล็ก พนักงานพัสดุเป็นลมล้มนิ่งแน่อยู่ในห้องพัสดุ ข้าพระพุทธเจ้าก็เข้าไปดู
เห็นพวกเสมียนพนักงานช่วยกันนวดเฟ้นอยู่หลายคน ที่ยืนดูอยู่ก็ประมาณ
สัก ๒๐ คน ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้ออกเสียบ้างแล้ว ได้สั่งให้ไปตามหมอและ
ขอยามาให้รับประทาน แล้วก็เลยไปนั่งเขียนหนังสืออยู่ในห้องเสนาบดี
ประมาณอีกสัก ๒ ชั่วโมง พระยาเสถียรมาแจ้งว่า นายเล็กที่เป็นลมนั้น
ทีไ่ ข่ดนั บวมและตัวร้อนด้วย ควรไปตามหมอสุขาภิบาลมาตรวจ เผือ่ ว่าจะเป็นโรค
เปลก เขาจะได้จัดการรักษาพยาบาล ข้าพระพุทธเจ้าก็ให้พระยาเสถียรจัดการ
ตามนั้น อีกสักครู่ ๑ พระยาเสถียรมาแจ้งว่า หมอคาทิวได้มาตรวจแล้ว เขาสงสัย
ว่าจะเป็นเปลก จะขอรับนายเล็กกับพวกที่ได้นั่งอยู่ในห้องพัสดุไปโรงพยาบาล
ด้วย ข้าพระพุทธเจ้าเห็นอาการหนัก ถ้าจะวินิจฉัยกันให้ยุติธรรมแล้ว ผู้แทน
เสนาบดีและปลัดทูลฉลองก็ควรจะไปโรงพยาบาลด้วยเหมือนกัน เพราะได้ไปใน
ห้องนัน้ ด้วย ข้าพระพุทธเจ้าจึง่ ได้ให้ไปบอกหมอให้มาพบกับข้าพระพุทธเจ้าทีห่ อ้ ง
หมอมาถึงได้ไล่เลียงดูก็ยังยืนยันอยู่ว่าน่ากลัวจะเป็นเปลก เพราะมีไข้และที่ไข่ดัน
ก็บวม ข้าพระพุทธเจ้าทักขึน้ ว่าจะเป็นโรคส�ำหรับบุรษุ กระมัง หมอว่าเห็นจะไม่ใช่


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๕ แพทย์สุขาภิบาลตรวจอาการป่วย
นายเล็ก พนักงานพัสดุกระทรวงโยธาธิการ ว่าเป็นกาฬโรค (๒๙ ต.ค. ๑๒๕ – ๖ เม.ย. ๑๒๕),
หน้า ๖ – ๗.
๒๑๔

จึ่งเลยถามว่าเขาจะต้องการใครไปตรวจที่โรงพยาบาลบ้าง ก็ว่าจะให้ไปเฉพาะ
แต่พวกที่นั่งอยู่ใกล้ๆ กัน ๓ หรือ ๔ คนเท่านั้น เมื่อตรวจแล้วเขาจะต้องให้อยู่ที่
โรงพยาบาลสัก ๗ วัน ข้าพระพุทธเจ้าก็ได้สั่งให้พระยาเสถียรจัดการตามที่
หมอว่า พูดกันเท่านั้นแล้ว หมอก็ลามาจากห้องเสนาบดี สักประเดี๋ยวหนึ่งหมอ
เดินกระหืดกระหอบมาบอกว่า เวลาที่เขาพูดอยู่กับข้าพระพุทธเจ้า คนไข้วิ่งหนี
ไปเสียแล้ว ไม่ทราบว่าจะไปทางไหน หมอต้องเรียกพลตระเวนเที่ยวติดตาม
พระยาเสถียรให้นักการน�ำไปถึงบ้านบางล�ำภู จึ่งได้พบเอาตัวมาได้ แล้วพาไป
โรงพยาบาล และได้สงั่ ไว้วา่ พวกทีน่ งั่ อยูด่ ว้ ย ๓ – ๔ คนนัน้ จะไม่ตอ้ งไปโรงพยาบาล
ในวันเสาร์ก็ได้ ให้ไปเอาวันจันทร์ทีเดียว และห้องพัสดุนั้นก็ให้ปิดไว้ ห้ามมิให้
คนเข้าออก
เมื่อได้ตัวกันมาแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้ไล่เลียงพระยาเสถียรว่า อาการ
ป่วยดูก็มากอยู่ ท�ำไมจึ่งวิ่งหนีไปได้ พระยาเสถียรแจ้งว่า ราษฎรเวลานี้กลัวกันนัก
ในเรื่องที่ต้องไปอยู่โรงพยาบาลโดยสงสัยว่าเป็นเปลก นายเล็กพอทราบเข้าว่าตัว
จะต้องไปอยู่โรงพยาบาล ความกลัวมากกว่าความเจ็บจึ่งได้วิ่งหนีไป
ส่วนอาการของนายเล็กนั้น บ่ายวันนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้รับรายงานของ
หมอคาทิวว่า เขาได้ตรวจแล้วไม่ใช่เปลก เป็นไข้ธรรมดา เขาได้ส่งให้กลับมาบ้าน
แล้ว ส่วนห้องที่ปิดไว้นั้นก็อนุญาตให้เปิดได้ดังนี้
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
(ลงนาม) ข้าพระพุทธเจ้า สุขุมนัยวินิต๑ ขอเดชะ


พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ด�ำรงต�ำแหน่งเสนาบดีกระทรวง
โยธาธิการ ต่อมาได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล และเสนาบดีกระทรวง
มหาดไทย
๒๑๕

ห้องเช่าโรงแถววัดชนะสงครามฝั่งเหนือ๑
๓๙
วันที่ ๑๙ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ข้าพเจ้านายเล็ก ขอให้ถ้อยค�ำไว้ต่อท่านขุนประพิธจะยาการว่า เมื่อ
วันที่ ๑๓ เดือนนี้ เวลา ๕ โมงเช้า ซึ่งข้าพเจ้าได้ป่วยอยู่ในห้องพัสดุกระทรวง
โยธาธิการนั้น เวลาหมอฝรั่งกรมสุขาภิบาลมาถึงได้เอามือกดหน้าขา ๒ ข้าง
ซึ่งเวลานั้นข้าพเจ้าเป็นโรคกระษัยกล่อน๒ บวมตลอดถึงหน้าขา และทนไม่ได้
ร้องว่าโอย หมอซ�้ำเอากล้องเข้าจับเหนือราวนมทั้ง ๒ ข้างและเงี่ยหูฟัง ข้าพเจ้า
ถามว่า ฉันเป็นโรคอะไร หมอตอบว่าเห็นจะเป็นโรคเปลก ข้าพเจ้าบอกกับหมอว่า
ไม่ใช่เปลก ฉันเคยเป็นโรคกระษัยกล่อน ซึ่งได้เคยเป็นติดตัวมาเสมอ บางทีเป็น
๓ วันหายบ้าง ๗ วันหายบ้าง หมอตอบว่าไม่ใช่ ต้องเอาไปโรงพยาบาล แล้วหมอ
ก็ออกจากห้องไป
ทันใดนัน้ ข้าพเจ้านึกว่าหมอคงจะไปตามพลตระเวนมาเอาตัวไปเป็นแน่
เมื่อเอาตัวไปก็คงตายไม่ได้กลับ การที่นึกเช่นนี้ด้วยได้ทราบความเล่าลือกันมาว่า
ถ้าหมอฝรัง่ ตรวจว่าใครเป็นโรคเปลก เอาไปโรงพยาบาลแล้ว ได้ยนิ ว่าไม่ได้กลับมา
บ้านเลย เมือ่ นึกเช่นนีข้ า้ พเจ้าก็รบี ออกจากห้องพัสดุ มาลงเรือหน้ากระทรวง และ
เดินต่อมาถึงบ้าน พอสักครู่หนึ่งหมอก็น�ำนายหมวดพร้อมด้วยพลตระเวนไปถึง
ห้องข้าพเจ้า ในเวลานั้นอาการโรคของข้าพเจ้าค่อยทุเลาขึ้นมาก และได้บอกกับ
หมอว่าฉันไม่ใช่โรคเปลก หมอว่าไม่ได้ ต้องเอาตัวไปโรงพยาบาล ข้าพเจ้าจึ่งได้


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๕ แพทย์สุขาภิบาลตรวจอาการป่วย
นายเล็ก พนักงานพัสดุกระทรวงโยธาธิการ ว่าเป็นกาฬโรค (๒๙ ต.ค. ๑๒๕ – ๖ เม.ย. ๑๒๕),
หน้า ๔ – ๕.
๒ กระษัยกล่อน คือ โรคชนิดหนึ่งที่ท�ำให้ร่างกายทรุดโทรม ผอมแห้ง เกิดจากลูกอัณฑะ
ผิดปกติ
๒๑๖

บอกกับนายหมวดว่า เครือ่ งกฐินของข้าพเจ้าก็ได้เตรียมไว้แล้วว่าจะทอดวันขึน้ ๕ ค�ำ่


เดือน ๑๒ ขออย่าให้ต้องไปเลย นายหมวดบอกว่าไม่ได้ ต้องให้ไปโรงพยาบาล
อย่าว่าแต่เครื่องกฐินเลย ถึงเครื่องอะไรๆ ก็เอาออกจากห้องไม่ได้ และได้ก�ำชับ
สั่งพลตระเวนที่เฝ้าประตูห้องของข้าพเจ้าว่า ห้ามไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเอาของสิ่งใด
ออกจากห้องข้าพเจ้าเป็นอันขาด ที่สุดพวกพลตระเวนเห็นมีช่องแห่งใดที่พอคน
จะออกเข้าได้ก็เอาไม้เข้าตอกตะปูอุดเสีย และประกาศกับภรรยาข้าพเจ้าว่า
ถ้าคนไหนออกจากห้องจะต้องปรับ ๑๐๐ บาท
เมื่อข้าพเจ้าได้ยินค�ำสั่งและค�ำประกาศเช่นนี้ ข้าพเจ้ามีความเสียใจ
มากถึงน�้ำตาตก เพราะเกรงจะไปตายลงที่โรงพยาบาล และทั้งการกุศลที่กะไว้
ก็ไม่ได้ท�ำ กับเป็นห่วงถึงบุตรภรรยาและห้องพัสดุ ในทันใดนั้นพลตระเวนก็คุม
เอาตัวข้าพเจ้าไป พอถึงโรงพยาบาลต�ำบลคลองสารแล้ว ไม่ทราบว่าหมอฝรั่ง
คนนั้นไปทางไหน ได้เห็นหมอไทยคนหนึ่งส�ำหรับโรงพยาบาล ชื่อมูล เอาปรอท
มาตรวจตามตัวข้าพเจ้า ๔ ครั้ง แล้วบอกว่าไม่เป็นไร เห็นจะไม่ใช่โรคเปลก
ข้ า พเจ้ า บอกว่ า โรคชนิ ด นี้ ฉั น ได้ เ คยเป็ น มาหลายครั้ ง แล้ ว หมอมู ล ตอบว่ า
เห็นจะจริง ในเวลานั้นข้าพเจ้าเวียนศีรษะเต็มที ถึงกับจะอาเจียนออก และได้ขอ
ยาหอมหมอมูลรับประทานก็ไม่ได้ หมอตอบว่าหมอฝรั่งเขาไม่ได้สั่ง จะให้ไม่ได้
เมื่ อ ลมวิ ง เวี ย นก� ำ เริ บ ขึ้ น มาคราวใดก็ อ าศั ย พิ ม เสนที่ อ ยู ่ ใ นกระเป๋ า เสื้ อ ของ
ข้าพเจ้าเท่านั้น และเวลาเขาเอาอาหารมาให้รับประทาน ก็ต้องตรวจแล้ว
ตรวจเล่า เกรงว่าหมอฝรั่งจะเอายาตายให้กิน ด้วยเหตุเขาได้เดาแต่แรกแล้วว่า
เห็นจะเป็นโรคเปลก ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ ๑๔ จะเป็นเวลากี่โมงจ�ำไม่ได้ ได้เห็นหน้า
หมอฝรั่งคนที่ว่าเห็นจะเป็นโรคเปลกไปตรวจข้าพเจ้าอีกครั้งหนึ่ง และบอกว่า
ไม่ เ ป็ น ไร พรุ ่ ง นี้ ๔ โมงเช้ า จะไปบ้ า นได้ ครั้ น วั น ที่ ๑๕ เวลา ๔ โมงเช้ า
หมอฝรั่ ง ก็ มาตรวจอีก และท�ำหนังสือให้ข้าพเจ้า ฉบั บหนึ่ ง ว่ า เองไปบ้ า นได้
ข้าพเจ้าก็อุตส่าห์เดินมาลงเรือจ้างแต่ล�ำพังจนถึงบ้าน เมื่อถึงบ้านแล้วได้เห็น
๒๑๗

พลตระเวนนั่งคุมหน้าห้องข้าพเจ้าอยู่ ห้ามไม่ให้ข้าพเจ้าเข้าห้อง ต่อข้าพเจ้า


ได้ส่งหนังสือของหมอให้น�ำไปให้นายหมวดแล้ว จึ่งยอมให้ข้าพเจ้าเข้าห้องได้
อนึ่ง ข้าพเจ้าขอให้ถ้อยค�ำเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่วันเวลาหมอส่งข้าพเจ้า
ไปถึงโรงพยาบาลจนถึงวันกลับ จะได้รับทานยาของหมอสักถ้วยหนึ่งก็หามิได้
รับอยู่แต่น�้ำหรืออาหารตามเวลาเท่านั้น ถ้าหากไม่ได้พิมเสนที่ติดเป๋าเสื้อของ
ข้าพเจ้าไปแล้วก็คงได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างยิ่ง สิ้นค�ำให้การของข้าพเจ้า
แต่เท่านี้ เป็นความสัตย์จริง๑

ข้าพเจ้าได้เซ็นชื่อไว้เป็นส�ำคัญ
นายเล็ก


วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้
ส่งค�ำให้การของนายเล็ก ไปให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง
นครบาลพิจารณา พร้อมทั้งทรงแนะน�ำว่า “ขอให้เอาใจเธอลงเป็นคนไข้นั้นบ้าง คิดดูจะมีความ
เดือดร้อนประการใด เมื่อเป็นเช่นนี้ ที่จะป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเจ็บปิดบังเห็นจะยากนัก โรงพยาบาล
ทีจ่ ะจัดขึน้ เพือ่ จะให้เป็นคุณประโยชน์ กลับเป็นทีส่ ะทกสะท้านของคนไปเช่นนี้ จะแก้ไขได้ประการใด
ขอให้ตริตรองดูให้รอบคอบ อย่าให้เป็นแต่เสียเงินเปล่า ไม่ปอ้ งกันอันใดได้,” อ้างจาก หอจดหมายเหตุ
แห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๕ แพทย์สุขาภิบาลตรวจอาการป่วยนายเล็ก พนักงานพัสดุกระทรวง
โยธาธิการ ว่าเป็นกาฬโรค (๒๙ ต.ค. ๑๒๕ – ๖ เม.ย. ๑๒๕), หน้า ๘.
๒๑๘

กองแพทย์สุขาภิบาล๑
วันที่ ๓ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
หมอมอเดน คาร์ทวิ แทนเจ้ากรมกองแพทย์กรมสุขาภิบาล ขอประทาน
กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล
ทราบฝ่าพระบาท
ด้ ว ยข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ขอประทานรายงานตอบลายพระหั ต ถ์ ฉ บั บ
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕ เรื่องโรงพยาบาลไข้กาฬโรค และค�ำร้องทุกข์ของ
นายเล็ก ที่หนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานรายงานตอบรายงานของท่านพระยา
สุขุมนัยวินิจ ด้วยเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๕ เวลาพอเที่ยงแล้วได้มีผู้มา
ตามข้าพระพุทธเจ้าให้ไปตรวจคนเจ็บที่กระทรวงโยธาที่สงสัยว่าเป็นไข้กาฬโรค
เมื่อข้าพระพุทธเจ้าไปถึงกระทรวงโยธาก็ได้เห็นชายมีอายุกลางคนนอนจับไข้
อยู่ในห้อง และบอกว่ามีความเจ็บมากเหลือเกินที่ไข่ดันทั้ง ๒ ข้าง และทั้งบวม
บ้างเล็กน้อยด้วย เมื่อข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจชายผู้นั้นแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้
รูส้ กึ แน่ทจี่ ะบอกว่าเป็นไข้อนั ควรพึงสงสัย และมาวินจิ ฉัยดูวา่ คนเจ็บนีท้ ำ� ราชการ
อยู่ในออฟฟิซของรัฐบาลพร้อมด้วยเสมียนทั้งหลาย ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้ตกลง
ที่จะเอาคนคนนี้ไปกักไว้ต่างหาก เพื่อบางทีโรคนั้นจะเป็นไข้กาฬโรค แต่โดยที่
ท่านพระยาสุขุมบอกโดยความจริงว่านายเล็กมีความกลัวมากกว่าความเจ็บ และ
เมื่อล่วงไปอีก ๒ ชั่วโมงได้ตรวจนายเล็กอีกครั้งหนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นว่า
ไข้ของนายเล็กก็ได้หายไปเกือบหมด และนายเล็กได้รู้สึกมีความสบายมากขึ้น
และได้กล่าวว่าไม่ได้มีความเจ็บเลยทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าเกรงด้วยเกล้าฯ


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๕ แพทย์สุขาภิบาลตรวจอาการป่วย
นายเล็ก พนักงานพัสดุกระทรวงโยธาธิการ ว่าเป็นกาฬโรค (๒๙ ต.ค. ๑๒๕ – ๖ เม.ย. ๑๒๕),
หน้า ๔๑ – ๔๔.
๒๑๙

ว่าความเจ็บของนายเล็กในชั้นต้นคงจะไม่ได้เป็นมากเหลือเกินได้ และโดยที่
นายเล็กได้รู้สึกอาการต่างๆ เป็นอันมาก นายเล็กได้แจ้งต่อข้าพระพุทธเจ้า
แต่ถึงกระนั้นข้าพระพุทธเจ้าได้ตกลงที่จะกักนายเล็กไว้ตรวจอย่างน้อยที่สุดเพียง
๔๘ ชั่ ว โมง ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ได้ ต รวจนายเล็ ก เมื่ อ วั น ที่ ๑๔ และวั น ที่ ๑๕
ที่โรงพยาบาล ได้เห็นว่านายเล็กสบายดีแล้ว ไม่ต้องการความพยาบาลอันใด
เพราะดังนั้นข้าพระพุทธเจ้าก็ได้ปล่อยตัวนายเล็กออกจากโรงพยาบาล และได้
มีหนังสือเรียนท่านพระยาสุขุมนัยวินิจว่าข้าพระพุทธเจ้าได้กระท�ำเช่นนั้น
ที่ ส อง เรื่ อ งรายงานของนายเล็ ก ลั ก ษณะอาการไข้ ข องนายเล็ ก
เองนั้น เป็นโรคกระษัย และในระหว่างเวลาที่ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ในกรุงสยาม
ข้าพระพุทธเจ้ายังหาได้สามารถพบอาการไข้ของโรคกระษัยร้ายแรงเหลือเกิน
ดังที่นายเล็กได้อธิบายความเจ็บของโรคนี้แก่ข้าพระพุทธเจ้า โดยที่ตัวของเขา
รู้สึกว่าเจ็บเมื่อไม่มีอาการผิดพิรุธอันใด การที่ข้าพระพุทธเจ้าบอกนายเล็กว่า
บางทีนายเล็กจะเป็นไข้กาฬโรคนั้น ท�ำให้นายเล็กมีความกลัวมาก และเพราะ
ดังนั้นแล้ว นายเล็กหมดความรู้สึกว่าตัวเจ็บ นายเล็กได้จับไข้จริง แต่เป็น
ไข้ธรรมดา จับอยู่ ๒ – ๓ ชั่วโมงเท่านั้น เพราะเมื่อพ้น ๒ ชั่วโมงไปแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจนายเล็กอีกครั้งหนึ่ง ไข้ก็เกือบหมดพิษแล้ว
ส่วนเรื่องที่นายเล็กกลัวโรงพยาบาลนั้น ในจ�ำพวกมหาชนที่ไม่ได้ศึกษา
วิชาความรูก้ ม็ คี วามกลัวอย่างเดียวกันทัง้ ทัว่ โลกในเรือ่ งทีจ่ ะให้ไปอยูใ่ นโรงพยาบาล
เพราะต้องจากเพื่อน ต้องอยู่ในข้อบังคับ และจะกระท�ำสิ่งอันใดไม่ได้ตามความ
ปรารถนาในเรื่องอาหารและเข้าออก เพื่อนเป็นอันมากจะนั่งอยู่รอบและแสดง
ความสงสารด้วยไม่ได้ แต่จะมาเยีย่ มได้เฉพาะชัว่ เวลาทีก่ ำ� หนดให้ และในส่วนเรือ่ ง
โรงพยาบาลส�ำหรับพยาบาลโรคซึง่ ติดเนือ่ งกันได้นนั้ เพือ่ นจะไปเยีย่ มไม่ได้จนกว่า
คนนั้นจะได้ออกจากโรงพยาบาล และเพราะข้อบังคับอันเข้มงวดเช่นนี้ มหาชน
เหล่านี้ก็กล่าวความเท็จเสียแต่ล่วงหน้า และเหมาะที่จะกล่าวโทษเมื่อยังไม่มี
๒๒๐

สิ่ ง อั น จ� ำ เป็ น ตามค� ำ ร้ อ งทุ ก ข์ ข องนายเล็ ก เรื่ อ งที่ ไ ม่ ย อมให้ ไ ปทอดกฐิ น นั้ น
ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานรายงานว่า ส�ำหรับเหตุผลอันเช่นนีก้ ค็ งจะเป็นการยาก
ที่จะยกเว้นคนที่สงสัยว่าเป็นไข้กาฬโรคเสียไม่ต้องกัก
หมอมูนที่โรงพยาบาลไข้กาฬโรคได้เป็นผู้พยาบาลไข้กาฬโรคทั้งสิ้นมา
สองปีแล้ว เป็นผู้มีความช�ำนาญมาก เมื่อก่อนได้เป็นหมออยู่ที่คุกและได้รับ
ความฝึกหัดจากโรงพยาบาลกองตระเวน และมาจนบัดนี้หมอมูนก็ได้ท�ำการ
เป็นที่พอใจเสมอ ทั้งต่อหัวหน้าและคนไข้ที่อยู่ในความรักษาพยาบาลของเขา
เมื่อไต่สวนหมอมูนเรื่องนายเล็ก หมอมูนได้ตอบว่านายเล็กได้ถามหมอ
มูนว่าโรงพยาบาลนี้ใช้ยาอะไร หมอมูนได้ตอบว่ายาฝรั่ง นายเล็กได้บอกว่ารู้สึก
เวียนศีรษะและขอยาไทยรับประทานบ้าง หมอมูนได้ตอบว่า ไม่มี แต่มียาฝรั่ง
นายเล็กได้บอกว่านายเล็กไม่ต้องการยาฝรั่ง หมอมูนกล่าวว่าโดยที่นายเล็ก
ไม่มีอาการป่วยอย่างใด เพราะฉะนั้นไม่จ�ำเป็นที่จะต้องควรรับประทานยาชนิด
ใด ฝ่าพระบาทคงจะทรงเห็นได้ตามค�ำให้การของนายเล็กเป็นมหาชนชนิดหนึ่ง
ที่มหาชนอีกชนิดหนึ่งจะต้องเกี่ยวข้องด้วย และจะเป็นการยากเพียงใดที่จะเอา
ความรู้สึกและความกลัวอันมิชอบธรรมออกจากมหาชนเช่นนี้ได้ ถึงอย่างไรก็ดี
ข้าพระพุทธเจ้าได้พยายามที่สุดที่จะต่อสู้ความรู้สึกเช่นนี้โดยอธิบายแก่คนเหล่า
นั้นเฉพาะตัว ถึงเหตุที่ท�ำไมตัวจึ่งต้องถูกกักพรากจากที่อยู่ และทั้งได้กระท�ำให้
มีความสุขอย่างมากที่สุดที่จะท�ำได้ แต่ข้อขัดข้องอันใหญ่ของชนจ�ำพวกนี้ก็คือ
เพื่อนฝูงมาเยี่ยมเยียนไม่ได้ และทั้งจะออกไปนอกโรงพยาบาลตามล�ำพังใจ
ก็ไม่ได้ และมีความกลัวที่จะตายในโรงพยาบาล เพราะเขาได้ทราบข่าวว่า
คนได้ตายที่โรงพยาบาลเป็นอันมาก ซึ่งเป็นความจริง เพราะคนที่ป่วยเป็นไข้
อหิวาตกโรคและไข้กาฬโรคก็ต้องรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล และไข้สองชนิดนี้
ก็มีตายมากที่สุด
๒๒๑

ในโรงพยาบาลนี้มีคนที่ป่วยเป็นโรคเหน็บชา ๑๘ คน และคนเหล่านี้
ดูเป็นที่พอใจที่สุด ไม่ได้แสดงความกลัวโรงพยาบาลเลย เมื่อผู้ใดได้เข้าไปอยู่เสีย
สักวันสองวันแล้วความกลัวก็หายไป แต่เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้เข้าไปก็มีความกลัว
และความกลัวนี้ก็เป็นเพราะความเล่าลืออันเท็จที่แพร่หลายทั่วไปในกรุงเทพฯ
เมื่อไข้กาฬโรคเพิ่งเกิดขึ้นและในจ�ำพวกมหาชนที่ไม่ได้ศึกษาวิชาความรู้อันใด
ความเล่าลือนี้ก็ยังไม่สูญหาย และเพราะดังนั้นจึ่งมีความกลัวโรงพยาบาลอยู่
จนกว่าตนจะได้เข้าไปอยู่ที่นั่นเอง
ข้าพระพุทธเจ้าเกรงด้วยเกล้าฯ ว่า ความกลัวนี้คงจะอยู่อีกนานจนกว่า
มหาชนจะได้ฟังเรื่องโรงพยาบาลจนชินหูในการที่เอาคนไข้ไปกักไว้ และไม่มี
อันตรายพิเศษอย่างใดจะเกิดขึ้นแก่ตนในเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลนั้น
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(ลงนาม) มอร์เด็น คาทิว
แทนเจ้ากรมแพทย์กรมสุขาภิบาล
๒๒๒

ที่ ๔๒/๓๑๘๙๙ ศาลาว่าการมหาดไทย๑


วันที่ ๓ เดือนพฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เรียนมายังพระยาอินทราธิบดี
สีหราชรองเมือง๒ ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล
ด้วยมีรับสั่งพระเจ้าน้องยาเธอฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้แจ้ง
ความมาว่า เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคมศกนี้ ได้ทรงรับโทรเลขข้าหลวงเทศาภิบาล
มณฑลนครราชสิ ม า ว่ า ราษฎรที่ บ ้ า นริ ม สเตชั่ น รถไฟเมื อ งนครราชสิ ม า
เกิดเป็นกาฬโรค ๓ คน ขอให้รีบส่งแพทย์ขึ้นไปช่วยป้องกันโดยเร็ว
กระทรวงมหาดไทยจึงได้ขอให้กระทรวงธรรมการจัดแพทย์สง่ ขึน้ ไปยัง
เมืองนครราชสิมา กระทรวงธรรมการก็ได้จัดให้หมอแบร๊ดด๊อกขึ้นไปตามที่ขอ
นั้นแล้ว
ต่อมาได้รับโทรเลขมณฑลนครราชสิมาอีก ๓ ฉบับ รวมใจความว่า
ในวันที่ ๒๙ ตุลาคมศกนี้ มีคนเป็นกาฬโรคอยู่อีก ๒ คน ตายแล้ว ๑ คน ต่อมา
มีคนเป็นกาฬโรคอีก ๖ คน ตาย ๔ คน รวมกาฬโรคเกิดขึ้น ๓ แห่ง ๙ คน
ตายแล้ว ๕ คน ยังป่วยอยู่อีก ๔ คน ทุเลาขึ้น ๒ คน เจ้าพนักงานได้จัดการ
ป้องกันกาฬโรคตามค�ำแนะน�ำของแพทย์ประจ�ำมณฑลนั้นแล้ว


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๔๔.๒/๗ ราษฎรเมืองภูเก็ตเป็นกาฬโรคตาย
(๑๔ ก.ค. ๑๒๕ – ๖ พ.ย. ๑๒๕), หน้า ๓ – ๖.
๒ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ทองย้อย เศวตศิลา) บุตรชายคนที่ ๒ ของนายเฮนรี
อาลาบาสเตอร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ต่อมาด�ำรงต�ำแหน่งสมุหเทศภิบาลมณฑล
ปราจีนบุรี และปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล
๒๒๓

ครั้นวันที่ ๓๑ ตุลาคม ได้รับใบบอกของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล


นครราชสิมาที่ ๓๗๐/๘๙๙๔ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคมศกนี้ ชีแ้ จงมาว่า กาฬโรคคราวนี้
ได้ เ กิ ด ขึ้ น ในหมู ่ บ ้ า นคนที่ อ ยู ่ ริ ม สะเตชั่ น รถไฟเมื อ งนครราชสิ ม า ข้ า หลวง
เทศาภิบาลได้ให้ข้าราชการ ๔ นาย กับมิสเตอร์มายเกอล แพทย์ส�ำหรับมณฑล
ไปตรวจจัดการป้องกันกาฬโรค ได้ความว่า ที่ที่เกิดกาฬโรคนี้มีจีนได้เลี้ยงสุกร
ไว้ถึง ๒๖๐ สุกร มีกลิ่นเหม็นเป็นปฏิกูลมาก และก่อนที่จะเกิดกาฬโรคนั้น
หนูตายหลายสิบตัว อาการของคนที่ป่วยให้บวมที่คางและที่รักแร้ โตเท่าผล
หมากดิบ ปวดศีรษะ ตัวร้อน เป็นอยู่ ๕ วันก็ตาย มิสเตอร์มายเกอลแพทย์
ได้แนะน�ำให้ย้ายสุกรไปเสียจากที่ และได้จัดที่นั้นให้สะอาด ข้าหลวงเทศาภิบาล
จึงได้สั่งเจ้าของสุกรให้น�ำสุกรไปไว้กลางป่าแห่งหนึ่ง และได้ห้ามไม่ให้คนใน
บริ เวณที่ เ กิ ด กาฬโรคออกไปจากที่ กั บ ได้ จั ด โรงพยาบาลชั่ ว คราวเตรี ย มไว้
แห่งหนึ่งแล้ว
ในวันนั้นเองได้รับโทรเลขพระยาก�ำแหงสงคราม๑ มณฑลนครราชสิมา
อีก ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ว่าหมอแบร๊ดด๊อกได้ไปตรวจแนะน�ำว่า
ต้องเผาโรงแถวทีเ่ กิดกาฬโรคเสียประมาณ ๒๐ ห้อง พระยาก�ำแหงสงครามเห็นว่า
ถ้าเผาแล้วจะต้องเสียพระราชทรัพย์ไม่ต�่ำกว่าสามหมื่นบาท ซึ่งจะต้องจ่ายใช้
เป็นค่าเสียหายให้แก่ราษฎร
อีกฉบับหนึ่งลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ว่าคนที่เป็นกาฬโรคอยู่ ๔ คนนั้น
ได้ตายไป ๑ คนแล้ว ยังคงป่วยอยู่ ๓ คน และค่อยทุเลาขึ้น ๑ คน
ครั้นวันที่ ๑ เดือนนี้ได้รับโทรเลขมณฑลนครราชสิมา ลงวันที่ ๓๑
อีกฉบับหนึ่งว่า หมอแบร๊ดด๊อกได้แนะน�ำว่า ถ้ากาฬโรคที่มณฑลนครราชสิมา
ติดต่อมากไปแล้ว จะต้องห้ามรถไฟไม่ให้บรรทุกคนและสัตว์ลงมากรุงเทพฯ


พระยาก�ำแหงสงคราม (จัน ณ ราชสีมา) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา
๒๒๔

แต่ ใ นเวลานี้ สั ต ว์ ที่ มี ชี วิ ต เช่ น สุ ก รและไก่ เ ป็ น ต้ น ไม่ ค วรให้ ล งมากรุ ง เทพฯ


ข้าหลวงเทศาภิบาลได้สั่งให้ห้ามรถไฟไม่ให้บรรทุกไก่และสุกรลงมากรุงเทพฯ
ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนนี้
ส่วนหมอแบร๊ดด๊อกนั้น เมื่อได้ขึ้นไปถึงแล้วได้มีโทรเลขลงวันที่ ๓๐
ตุลาคมศกนี้ มายังกระทรวงมหาดไทยว่า กาฬโรคคราวนี้ไม่น่าไว้ใจเลย หนูตาย
ในเรือนคนที่เจ็บประมาณ ๒๐๐ ตัว ขออนุญาตเผาเรือน ๓ หลัง
พระเจ้าน้องยาเธอฯ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงมีโทรเลข
ตอบไปยังหมอแบร๊ดด๊อกว่า บ้านเรือนซึ่งจะขออนุญาตเผานั้น จะต้องเสีย
ทรัพย์สมบัติมาก ถ้าเผากาฬโรคสงบได้เพียงนั้นแล้วก็เป็นการดี อย่าว่าแต่จะ
ต้องเสียเท่านั้นเลย ถึงจะต้องเสียทรัพย์มากกว่านั้นก็ต้องยอมให้เผาเพื่อช่วย
ชีวิตมนุษย์ แต่ถ้าเผากาฬโรคไม่สงบได้แล้ว การที่จะต้องเสียเงินในการเผาเรือน
โรงนั้นก็เป็นอันเสียเปล่าหาประโยชน์มิได้เลย เพราะฉะนั้นการที่จะป้องกันใน
ชั้นนี้ ถ้าใช้สังกะสีแผ่นกรุล้อมบริเวณเรือนที่เกิดกาฬโรคให้รอบเพื่อมิให้หนู
ออกไปที่อื่นได้ จะดีกระมัง ขอให้ตรึกตรองดู
กระทรวงมหาดไทยได้รับโทรเลขหมอแบร๊ดด๊อกลงวันที่ ๑ เดือนนี้
ตอบมาว่า หมอแบร๊ดด๊อกจะได้จัดการป้องกันกาฬโรคโดยความใคร่ครวญ
ให้แน่นอนก่อน เมื่อจ�ำเป็นจะต้องเผาจริงๆ จึงจะเผา ถ้าไม่จ�ำเป็นก็จะไม่เผา
ต่อมาหมอแบร๊ดด๊อกมีโทรเลขมาอีกว่า กาฬโรคได้เกิดขึ้นใหม่อีก ๓ รายใน
เรือนเดียวกันที่ได้ตายแล้วแต่ก่อน ๔ คน หมอเห็นว่าจ�ำเป็นแล้วที่จะต้อง
เผาเรื อนนั้ น เสี ย กระทรวงมหาดไทยจึงได้มีโทรเลขตอบอนุ ญ าตไปยั ง หมอ
แบร๊ดด๊อกให้เผาเรือนนั้นเสีย
๒๒๕

คงเป็นจ�ำนวนคนที่เป็นกาฬโรค ๙ คน ตาย ๖ คน ยังป่วยอยู่ ๓ คน


และที่ป่วยลงใหม่อีก ๓ คน
ขอได้นำ� ความกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอฯ เสนาบดีกระทรวงนครบาล
ทราบฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ราชปลัดทูลฉลองไปราชการ
พระยาจ่าแสนบดี เซ็นแทน
๒๒๖

ที่ ๕๑/๓๒๒๖๐ ศาลาว่าการมหาดไทย๑


วันที่ ๑๒ เดือนพฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย เรียนมายังพระยาอินทราธิบดี
สีหราชรองเมือง ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล
ด้วยตามจดหมายกระทรวงมหาดไทยที่ ๔๗/๑๒๑๔๒ ลงวันที่ ๙
เดือนนี้ เรื่องกาฬโรคที่เมืองนครราชสิมานั้น ความแจ้งอยู่แล้ว
บัดนี้กระทรวงมหาดไทยได้รับโทรเลขพระยาก�ำแหงสงคราม ข้าหลวง
เทศาภิบาลมณฑลนครราชสิมา ๒ ฉบับ ฉบับที่ ๘๓ ลงวันที่ ๑๐ เดือนนี้ ว่าคนที่
ป่วยอยู่ด้วยกาฬโรค ๖ คนนั้น อาการยังทรงอยู่ หนูที่จับได้แล้ว ๑๖,๕๐๐ ตัว
ฉบั บ ที่ ๘๔ ลงวั น ที่ ๑๑ เดื อ นนี้ ว่ า คนที่ ต ้ อ งกั ก ไว้ ด ้ ว ยเรื่ อ งกาฬโรคนั้ น
เมื่อวันที่ ๑๐ เดือนนี้ป่วยเป็นกาฬโรค ๒ คน ตายเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนนี้ ๑ คน
กั บ ได้ รั บ โทรเลขหมอแบร๊ ด ด๊ อ ก ๑ ฉบั บ ลงวั น ที่ ๑๒ เดื อ นนี้
บอกจ�ำนวนคนที่เป็นกาฬโรคตาย ต้องกันกับโทรเลขพระยาก�ำแหงสงคราม
และมีความต่อไปว่า ในระหว่าง ๘ วันมานี้ได้ฆ่าหนู ๑๙,๐๐๐ ตัว และว่าการ
เฉลิมรัชพรรษาที่นครราชสิมา ปีนี้จัดการครึกครื้นเป็นการใหญ่ หมอเห็นว่า
ควรคิดถึงเรื่องคนซึ่งจะมาแต่ที่อื่นๆ มาชุมนุมดูงาน ถ้าแม้ติดเป็นกาฬโรค
ขึ้นแล้ว จะท�ำให้แพร่หลายไปในที่ต่างๆ กับว่า เกิดโรคร้ายขึ้นที่บ้านพาชี๒
เป็ น เทื อ กไข้ ก าฬ คนที่ เ ป็ น โรคนั้ น มี อ าการให้ อ าเจี ย นเป็ น โลหิ ต และว่ า
ที่ ต ลาดเก่ า โสโครกมาก ต้ อ งจั ด การสะอาด ได้ ใ ห้ ห มอแฟรงเฟิ ต กั บ หมอ
อีกคนหนึ่งอยู่ที่นั่นด้วย มีความตามโทรเลขดังนี้

คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๔๔.๒/๗ ราษฎรเมืองภูเก็ตเป็นกาฬโรคตาย
(๑๔ ก.ค. ๑๒๕ – ๖ พ.ย. ๑๒๕), หน้า ๙ – ๑๐.

ปัจจุบันคือ ต�ำบลภาชี อ�ำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๒๗

ตามความเห็นของหมอแบร๊ดด๊อกที่แนะน�ำมาว่า ควรคิดถึงเรื่องคน
ที่จะมาชุมนุมดูงานเฉลิมที่นครราชสิมา เกรงจะเกิดเป็นกาฬโรคติดกันขึ้นนั้น
กระทรวงมหาดไทยได้มีโทรเลขสั่งไปยังพระยาก�ำแหงสงครามว่า ตามที่พระยา
ก�ำแหงสงครามและข้าราชการพร้อมเพรียงช่วยกันจัดการฉลองพระเดชพระคุณ
เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ก็เป็นความดี
ควรชมเชย แต่เห็นว่าเวลานี้ที่นครราชสิมาก�ำลังเกิดโรคร้ายแรงที่ติดต่อกันได้
ถ้าผู้คนที่มาแต่ที่อื่นมาดูงานเกิดกาฬโรคติดต่อกันขึ้นแล้ว จะพาให้โรคแพร่
หลายถึงเสียชีวิตไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เพราะการที่เนื่องต่อความตั้งใจอันดีเช่นนั้น
หาควรไม่ เพราะฉะนั้นให้จัดการแต่พอสมควร อย่าให้ใหญ่โตเอิกเกริกไป
จะดีกว่า
ส่วนที่หมอบอกมาในเรื่องเกิดโรคร้ายที่บ้านพาชี และขอให้ช�ำระ
ความโสโครกที่ตลาดเก่านั้น กระทรวงมหาดไทยได้มีโทรเลขสั่งไปยังมณฑล
กรุงเก่าว่า การที่เกิดโรคร้ายขึ้นเช่นนี้เป็นการส�ำคัญเกี่ยวแก่ชีวิตมนุษย์เป็น
อั น มาก จ� ำ เป็ น ต้ อ งรี บ ระงั บ และป้ อ งกั น โดยกวดขั น เพราะฉะนั้ น ให้ จั ด
ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มณฑลสักนายหนึ่ง ให้ไปตรวจดูว่าควรจัดการอย่างไร
ที่จะให้ตลาดเก่าสะอาดขึ้นให้จงได้ และให้จัดการตามทางที่เห็นว่าเป็นอย่างดี
ที่สุด เมื่อจ�ำเป็นจะต้องใช้เงินบ้าง ก็ให้จ่ายเงินส�ำหรับทดรองในการส�ำคัญ
ไปก่อน ดังนี้
ขอได้นำ� ความกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอฯ เสนาบดีกระทรวงนครบาล
ทราบฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ราชปลัดทูลฉลองไปราชการ
พระยาจ่าแสนบดี เซ็นแทน
๒๒๘

กรมสุขาภิบาล๑
กองแพทย์สุขาภิบาล
วันที่ ๑๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๐๗ [พ.ศ.๒๔๔๙]
กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ทราบฝ่าพระบาท
ข้าพเจ้าขอประทานกราบทูลรายงานที่ได้รับจากนายแพทย์คาร์ทิว
ผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล ซึ่งขณะนี้อยู่ที่เพชรบุรีเพื่อจัดการป้องกันกาฬโรค
จากรายงานฉบับนีจ้ ะเห็นได้วา่ การระบาดครัง้ นีร้ า้ ยแรง และต้องอาศัย
การดูแลจากเจ้าพนักงานแพทย์ผู้หนึ่งอย่างเต็มที่ เป็นระยะเวลาไม่แน่นอน
เนื่องด้วยเรามีพนักงานพอส�ำหรับปฏิบัติหน้าที่ของกรมสุขาภิบาล
เท่านั้น ข้าพเจ้าจึงคิดว่ากระทรวงมหาดไทยควรจะจัดหาแพทย์ของตนเองเพื่อ
ปฏิบัติหน้าที่ประจ�ำในกระทรวงมหาดไทย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
(ลงนาม) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับ
กาฬโรคที่เมืองเพชรบุรียื่นความเห็นว่าไข้นั้นร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดหาแพทย์
ประจ�ำ เพราะถ้าในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน แพทย์สขุ าภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่
ไปท�ำการนอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๗ – ๑๑.
๒๒๙

(ส�ำเนารายงาน)
เรียนนายแพทย์เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
๘/๑/๐๗
ข้ า พเจ้ า ได้ รั บ ค� ำ สั่ ง ให้ เ ดิ น ทางมายั ง เพชรบุ รี เ มื่ อ วั น ที่ ๖ เดื อ นนี้
เพื่อสืบสวนเรื่องการระบาดของกาฬโรคที่เมืองนี้
การระบาดเริ่มขึ้นเมื่อราวหนึ่งเดือนที่แล้ว และในเวลานั้นทราบว่า
มีผู้ตายราว ๓๐ ราย แต่ยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการ และไม่มีความพยายาม
ที่จะค้นหาผู้ป่วยหรือศพผู้ตายอย่างเป็นระเบียบ จึงเป็นไปได้อย่างยิ่งว่าจ�ำนวน
ผู้ตายอาจสูงกว่า ๓๐ รายอย่างมาก ส่วนตัวข้าพเจ้าเองได้เห็นผู้ป่วย ๑๐ ราย
ในช่วง ๓ วันที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นจ�ำนวนเฉลี่ยที่มากกว่า ๑๐๐ รายต่อเดือนแล้ว
เมื่อข้าพเจ้าเดินทางมาถึงเพชรบุรี ข้าพเจ้าได้พบกับนายแพทย์แมคแดเนียลส์๑
มิชชันนารีชาวอเมริกันซึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟังถึงสิ่งที่ได้จัดการไปทั้งหมด และสิ่ง
ต่างๆ ที่ไม่ได้ท�ำอีกมากมาย จากนั้นข้าพเจ้าได้ไปตรวจดูบ้านหลายหลังที่มีผู้ตาย
ด้วยกาฬโรค บ้านหลังแรกๆ ที่ข้าพเจ้าไปตรวจอยู่บนถนนสายหลัก ใกล้กับ
ตลาดใหญ่ บ้านหลังแรกเป็นของหมอต้อย ซึ่งเป็นผู้จ�ำหน่ายยาชาวจีน ภรรยา
ของเขาตายด้วยกาฬโรคเมือ่ ๑๐ วันทีแ่ ล้ว และบุตรคนหนึง่ ก็กำ� ลังป่วยเป็นกาฬโรค
บ้านหลังนี้เป็นบ้านอิฐที่เก่ามาก มีหลังคาปูกระเบื้องอยู่สูง บ้านทั้งหลังอยู่ใน
สภาพที่แย่มาก และมีเพิงมุงจากอยู่ด้านหน้า ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนในบ้าน


นายแพทย์เอ็ดวิน บี. แมคแดเนียลส์ (Edwin B. McDaniels) มิชชันนารีชาวอเมริกัน
ที่เดินทางมาเผยแผ่ศาสนาในเมืองไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขในหัวเมืองหลายแห่ง เช่น เพชรบุรี นครศรีธรรมราช และเชียงราย
๒๓๐

ภายในบ้านเต็มไปด้วยขยะและสิ่งของทุกชนิด ไม่มีทางที่จะฆ่าเชื้อบนสิ่งของ
เหล่านี้ในขณะที่มีคนอยู่ในบ้านได้ อีกทั้งพื้นบ้านก็เป็นดินชื้นแฉะ ส่วนหลังคาก็
เต็มไปด้วยหยากไย่ ด้านหน้าเพิงที่อยู่อาศัยมีประตูบานหนึ่ง และที่ด้านหลัง
ก็มีช่องเปิดเล็กๆ มิเช่นนั้นบ้านทั้งหลังจะมืดสนิท บ้านส่วนใหญ่ที่อยู่ริมถนน
เส้นนั้นก็มีลักษณะอย่างเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างคือบ้านหลังนี้มีสิ่งของมากกว่า
บ้านอื่นๆ การจะฆ่าเชื้อในบ้านหลังนี้จ�ำเป็นต้องรื้อเพิงมุงจากที่อยู่ด้านหน้า
และถอดกระเบื้องบางส่วนหรือทั้งหมดออก เพื่อล้างผนังอิฐด้วยน�้ำปูนขาวให้ทั่ว
ตลอดจนฆ่าเชื้อบนพื้นดินให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ แล้วจึงค่อยมุงจากที่หลังคา
แทนกระเบื้อง จากนั้นถึงจะให้คนในบ้านที่ไม่ได้ป่วยกลับมาอยู่อาศัยได้
มีบา้ นหนึง่ หลังหรือสองหลังทีเ่ ป็นเพียงการน�ำเอาไม้ไผ่มาตัง้ พิงกันและ
โสโครกอย่างมาก บ้านเหล่านี้จะต้องเผาทิ้งพร้อมทุกสิ่งที่อยู่ภายใน โดยมีราคา
ไม่เกินหลังละ ๕๐ บาท บริเวณที่ห่างออกไปรอบถนนสายหลักและที่ฝั่งตรงข้าม
ของแม่น�้ำยังมีบ้านผู้ป่วยอีกหลายหลัง เกือบทุกหลังเป็นที่อยู่อาศัยของช่าง
ปั้นหม้อ บ้านเหล่านี้เป็นบ้านไม้สักขนาดใหญ่ หลังคามุงจากตามแบบที่พบโดย
ทั่วไป มีห้องโถงกลาง ห้องต่างๆ เปิดเข้าสู่ห้องโถงนี้ ไม่มีห้องย่อย การระบาย
อากาศดี บ้านทุกหลังค่อนข้างสะอาด บ้านเหล่านี้สามารถฆ่าเชื้อได้ง่ายๆ
โดยไม่ต้องย้ายคนออก ข้าพเจ้าเห็นว่าหากตรวจโรคคนในบ้านทุกวันก็ไม่จ�ำเป็น
ต้องแยกกักกันพวกเขา ข้าพเจ้าจะมีคณะผู้ฆ่าเชื้อ ๖๐ คนซึ่งเป็นนักโทษในเมือง
แต่ขา้ พเจ้าต้องใช้ความระมัดระวังกับพวกเขา และคอยตรวจโรคให้พวกเขาทุกคน
ด้วยตนเองทุกวัน และข้าพเจ้าได้แนะน�ำไปว่าคณะผู้ฆ่าเชื้อนี้ควรได้รับอาหารที่ดี
กว่าปกติสักหน่อย ท่านรองผู้ว่าราชการเมืองได้จัดหาสถานที่ให้ข้าพเจ้าตั้งเพิง
พยาบาล และค่ายกักกันเล็กๆ ซึ่งอยู่ไกลกว่าที่ข้าพเจ้าหวังไว้ แต่ข้าพเจ้า
ต้อ งเผชิ ญ กั บ อุ ป สรรคมากมายกว่าจะได้สถานที่ นี้ม า สถานที่ อื่ นที่ ข ้ า พเจ้ า
ต้องการนั้นมีผู้คัดค้านด้วยเหตุผลต่างๆ มากเสียจนข้าพเจ้าต้องยอมรับสถานที่นี้
การสร้างเพิงพยาบาลมีความล่าช้า แต่ขณะนี้สร้างเพิงเสร็จแล้ว ๖ หลัง ไว้ส�ำหรับ
๒๓๑

พยาบาลผู้ป่วย ๓ หลัง และส�ำหรับกักกันผู้สงสัยว่าจะเป็นโรคอีก ๓ หลัง ทั้งยัง


มีวัสดุเตรียมพร้อมที่จะสร้างเพิงอีก ๑๐ หลังหากจ�ำเป็น และมีรั้วลวดหนาม
ล้อมรอบตลอดทั้งบริเวณ
หมอชาวสยามคนหนึ่ ง และกุ ลี อี ก ๒ คน ยิ น ดี รั บ หน้ า ที่ ดู แ ลค่ า ย
พยาบาลนี้ ในเวลาบ่ายนี้ข้าพเจ้าจะเริ่มการฆ่าเชื้อโดยย้ายผู้ป่วยกาฬโรคไปไว้
ในค่ายพยาบาล รวมทั้งย้ายผู้อยู่อาศัยในบ้านที่มีผู้ป่วยกาฬโรคในช่วง ๑๐ วัน
ที่ผ่านมาด้วย หากข้าพเจ้าไม่สามารถท�ำความสะอาดบ้านดังกล่าวโดยที่ยังมีคน
อยู่ในนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจว่าจะเริ่มฆ่าเชื้อในบ้านที่มีผู้ป่วยเป็นเวลานานที่สุดก่อน
เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการฆ่าเชื้ออย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพราะไม่มีอุปกรณ์
มีชายสี่คนที่ได้รับค�ำสั่งให้เผาศพผู้ตายด้วยกาฬโรคทุกรายในทันที แต่ข้าพเจ้า
พบว่ามีผู้ตายด้วยกาฬโรครายหนึ่งที่ยอมให้ฝัง ดังนั้นจึงอาจมีผู้ตายรายอื่นๆ
ที่ได้รับการฝังเช่นเดียวกัน ทางการจะมีเงินรางวัล ๒ บาทให้คนที่มาแจ้งข่าว
ผู้ป่วยหรือผู้ตายด้วยกาฬโรค หากข้าพเจ้าหรือผู้ช่วยได้ตรวจแล้วยืนยันว่าเป็น
กาฬโรคจริงๆ ส่วนเรื่องหนูนั้น มีการเสนอเงินรางวัลจ�ำนวน ๘ อัฐส�ำหรับหนู
แต่ละตัวที่จับมาได้ แต่ก็ไม่มีผู้จับหนูมาส่งเลยแม้แต่ตัวเดียว ดูเหมือนบริเวณนี้
จะไม่ มี ห นู เ ลยหรื อ มี น ้ อ ยมาก ข้ อ มู ล เกื อ บทั้ ง หมดนี้ ไ ด้ ม าจากหมอต้ อ ยซึ่ ง
ข้าพเจ้าเอ่ยถึงไปแล้ว หมอต้อยได้ตรวจผู้ป่วยทุกรายที่เขาทราบข่าว เขากับ
หมอแมคแดเนียลส์ได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อยับยั้งการระบาดของกาฬโรค
หลวงศรีสุนทรเทพ รองผู้ว่าราชการเมืองคอยช่วยเหลือข้าพเจ้าทุกอย่างเท่าที่
จะท�ำได้ ทั้งยังมีหลวงพิษณุสารซึ่งพระยาศรีสหเทพส่งมายังเพชรบุรีพร้อมกับ
ข้าพเจ้าด้วย
โดยสรุปแล้ว ข้าพเจ้าต้องการชี้ให้เห็นว่า แม้ข้าพเจ้าจะพยายาม
อย่างที่สุดเพื่อมิให้ต้องย้ายคนออกจากบ้าน และพยายามไม่เผาหรือท�ำลาย
บ้านเรือนและทรัพย์สิน แต่ก็ยังมีบางกรณีที่จ�ำเป็นต้องท�ำจริงๆ ก่อนที่ข้าพเจ้า
๒๓๒

จะเดินทางไปถึงเพชรบุรีนั้น ท่านรองผู้ว่าราชการเมืองมีความพยายามที่ดี
ในการหยุดยั้งการระบาด แต่เขามีผู้ช่วยเหลือน้อย และมีความรู้น้อยว่าจะต้อง
เริ่มท� ำ สิ่ ง ต่ า งๆ อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังจ�ำเป็ นที่ เขาควรได้ รั บอ� ำ นาจให้
ด�ำเนินการโดยอิสระภายใต้ขอบเขตบางประการ และจะต้องก�ำหนดขอบเขต
เหล่ า นี้ ใ ห้ ชั ด เจน คงจะเป็ น การเสี ย เวลามากถ้ า เขาจะต้ อ งคอยส่ ง โทรเลข
มายังกรุงเทพฯ เพื่อขออนุญาตเผาบ้านเรือน หรือเพื่อบังคับกักกักผู้ป่วยตามที่
ข้าพเจ้าก�ำหนด
หากท่านต้องการให้ข้าพเจ้ากลับไปยังกรุงเทพฯ และรายงานต่อท่าน
เป็ น การส่ ว นตั ว ข้ า พเจ้ า จะรี บ ไปทั น ที เพราะในความเห็ น ของข้ า พเจ้ า
การระบาดที่เพชรบุรีนั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการระบาดที่ลพบุรี แต่ข้าพเจ้าก็คิดว่า
จ�ำเป็นจะต้องมีแพทย์ชาวยุโรปคนหนึ่งอยู่ที่นี่เพื่อก�ำกับดูแลและสั่งการในเรื่อง
ต่างๆ
ขอแสดงความนับถือ
ลงนาม มอร์เดน คาร์ทิว
ผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล
๒๓๓

ที่ ๓๗/๑๔๒๙๒ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๙
วันที่ ๑๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
พระยาอินทราธิบดีสีห ราชรองเมือง เรี ย นมายั ง พระยาศรี ส หเทพ
ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย
ด้วยหมอไฮเอต แพทย์สุขาภิบาล ยื่นความเห็นน�ำรายงานหมอคาร์ทิว
ผูไ้ ปช่วยจัดการระงับกาฬโรคทีเ่ มืองเพ็ชร์บรู นี นั้ ถวายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวง
นเรศรวรฤทธิ์ มีความว่า ไข้กาฬโรคที่เกิดอยู่ในเมืองเพ็ชร์บุรีนั้นอยู่ข้างร้ายกาจ
น่าที่จะต้องมีแพทย์อยู่ประจ�ำตรวจป้องกันโรคตลอดไปชั่วคราว กรมสุขาภิบาลมี
เจ้าพนักงานเฉพาะเพียงแต่พอที่จะท�ำการประจ�ำหน้าที่ราชการในกรมได้เท่านั้น
หมอจึงคิดว่าสมควรกระทรวงมหาดไทยจะจ้างแพทย์ขึ้นไว้ให้ประจ�ำการหน้าที่
ในมหาดไทยนั้น
จึงมีรับสั่งให้ข้าพเจ้าแจ้งความมาให้ท่านทราบว่า ตามที่หมอไฮเอต
ยืน่ รายงานเช่นนี้ ก็เพราะมีความวิตกอยูว่ า่ ถ้าในกรุงเทพฯ มีไข้กาฬโรคหรือโรคภัย
อันใดฉุกเฉินหนาขึน้ เจ้าพนักงานในกองแพทย์สขุ าภิบาลก็จะต้องกระท�ำการเต็ม
ตามหน้าที่ จะให้ไปท�ำการนอกหน้าที่หรือนอกกรมไม่ได้ เพราะไม่มีเจ้าพนักงาน
เพียงพอที่จะผ่อนผัน
จึงทรงพระด�ำริเห็นว่า ตามความทีห่ มอกล่าวนีส้ มควร เพราะเป็นการซึง่
ไม่ตงั้ อยูใ่ นความประมาท ไข้กาฬโรคในกรุงเทพฯ ก็มอี ยูบ่ างเมือ่ บางคราว จะมีฉกุ ขึน้


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับ
กาฬโรคที่เมืองเพชรบุรีย่ืนความเห็นว่าไข้นั้นร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดหาแพทย์
ประจ�ำ เพราะถ้าในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน แพทย์สขุ าภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่
ไปท�ำการนอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๑๒ – ๑๓.
๒๓๔

เมือ่ ใดก็อาจเป็นได้ และไข้อหิวาตกโรคในปีนกี้ น็ า่ กลัวจะมีฉกุ มาก เหตุวา่ น�ำ้ เหนือ


น้อย น�ำ้ ท่าก็จะเค็มจัด เมือ่ เกิดโรคอันใดอันหนึง่ ขึน้ ในกรุงเทพฯ เจ้าพนักงานแพทย์
ก็มีหน้าที่จะต้องท�ำการระงับทั่วกัน เพราะฉะนั้นหมอคาร์ทิวที่จะกะให้อยู่ท�ำการ
ทีเ่ มืองเพ็ชร์บรุ ปี ระจ�ำไม่ได้ จะต้องเรียกกลับมารับราชการในหน้าทีเ่ มือ่ ใดเมือ่ หนึง่
ก็เป็นได้โดยไม่มกี ำ� หนด จึงทรงเห็นว่าสมควรทีท่ า่ นจะคิดการเรือ่ งจัดแพทย์ประจ�ำ
ตรวจกาฬโรคที่เมืองเพ็ชร์บุรี อันจะยาวเวลานั้นเสียให้ตลอด วิธีการจัดแพทย์
โดยปัจจุบนั เช่นนี้ กระทรวงนครบาลก็ได้เคยจัดมาคราวหนึง่ คือเมือ่ เกิดไข้กาฬโรค
ครั้งแรก ได้ว่าจ้างแพทย์ที่มีในกรุงเทพฯ ให้ท�ำการตรวจโรคในท้องแขวงประจ�ำ
เป็นแขวงๆ ชั่วคราว แม้ท่านจะจัดโดยวิธีนี้ก็น่าจะส�ำเร็จได้
โปรดให้ขา้ พเจ้าส�ำเนารายงานหมอไฮเอตส่งมาให้ทา่ นทราบ แต่รายงาน
หมอคาร์ทิวนั้นรับสั่งว่าหมอไฮเอตได้ส่งมายังกระทรวงมหาดไทยแล้ว จึงไม่ได้
ส�ำเนาส่งมา
ขอได้ น� ำ กราบทู ล พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมหลวงด� ำ รงราชานุ ภ าพ
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทราบฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(เซ็น) พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง
ปลัดทูลฉลองกระทรวงนครบาล
๒๓๕

กรมสุขาภิบาล๑
กองแพทย์สุขาภิบาล
วันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ. ๑๙๐๗ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
เรียนนายแพทย์เอช. แคมป์เบล ไฮเอต แพทย์สุขาภิบาลกรุงเทพฯ
ต่อเนื่องจากรายงานฉบับที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้น ณ เมืองเพชรบุรี เมื่อ
วันที่ ๘ มกราคม ข้าพเจ้าขอรายงานเพิ่มเติมว่า ข้าพเจ้าได้ตรวจผู้ป่วยกาฬโรค
อีก ๑๐ รายที่เมืองเพชรบุรี ก่อนที่จะเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ เมื่อบ่ายวันนี้
ท�ำให้ตั้งแต่วันที่ ๖ ถึงวันที่ ๑๒ มกราคม มีจ�ำนวนผู้ป่วยกาฬโรครวม ๑๗ ราย
ส่วนใหญ่แล้วผูป้ ว่ ยเหล่านีอ้ ยูใ่ นบริเวณถนนสายหลักใกล้กบั ตลาดใหญ่
ผู้ป่วย ๓ รายอาศัยอยู่ในบ้านที่เปิดในตัวตลาดเลย ผู้ป่วยสองรายในคราวล่าสุดนี้
เป็ น กาฬโรคชนิ ด ติ ด เชื้ อ ในกระแสเลื อ ดฉั บ พลั น ทั้ ง สองรายมี อ าการป่ ว ย
เพียง ๒๐ ชั่วโมงก่อนที่จะตาย และไม่มีต่อมน�้ำเหลืองบวม นอกจากนี้ยังมี
ผู ้ ป ่ ว ยอี ก รายหนึ่ ง ที่ ต ายอย่ า งรวดเร็ ว มาก ผู ้ ป ่ ว ยรายนี้ อ าศั ย อยู ่ ใ นบ้ า นที่
ห่างจากตลาดราว ๕๐ หลา และมีอาการป่วยเพียง ๑๐ ชั่วโมงก่อนที่จะตาย
มีผู้ป่วยอีกหลายรายที่อยู่ห่างออกไปนอกเมือง และทุกรายนั้นเป็นกาฬโรค
ต่อมน�้ำเหลืองธรรมดา ซึ่งมีอาการป่วยโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ ๖ วัน


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับ
กาฬโรคที่เมืองเพชรบุรียื่นความเห็นว่าไข้นั้นร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดหาแพทย์
ประจ�ำ เพราะถ้าในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน แพทย์สขุ าภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่
ไปท�ำการนอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๒๕ – ๒๘.
๒๓๖

ข้าพเจ้าได้ย้ายหมอต้อยและบุตรที่ป่วยไปไว้ในค่ายพยาบาลกักกัน
โรคเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ที่จริงแล้วมีการออกค�ำสั่งให้ย้ายพวกเขาในทันที
ตั้งแต่เวลาที่สร้างค่ายพยาบาลเสร็จ คือตอนบ่ายวันพุธ แต่ก็มีความล่าช้ากัน
ตามปกติ และเพื่อเป็นการประหยัดเวลา ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่
ผู้ป่วยกาฬโรครายอื่นๆ หมอต้อยจึงเดินทางไปยังค่ายพยาบาลด้วยตนเองและ
ออกค่าใช้จ่ายเอง ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้จัดเตรียมเรือไว้เป็นพิเศษส�ำหรับการงาน
ที่ยังไม่พร้อมดี
ข้าพเจ้าเสียใจที่ต้องกล่าวย�้ำถ้อยค�ำที่เขียนไว้ในรายงานฉบับก่อนที่ว่า
ไม่มีทางใดที่จะท�ำความสะอาดและฆ่าเชื้อในบ้านที่มีผู้ป่วยเหล่านี้ได้ หากยังมี
คนและสิ่งของอยู่ในบ้าน ข้าพเจ้าเดินทางกลับมายังกรุงเทพฯ เพื่ออธิบายเรื่องนี้
ให้ท่านทราบ เพราะเมื่อข้าพเจ้าแนะน�ำให้รองผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรีย้ายคน
ออกจากบ้านเหล่านี้ เพื่อไปอยู่ในเพิงที่จัดไว้ให้โดยเฉพาะ เขาก็บอกว่าตนไม่มี
อ� ำ นาจที่ จ ะท� ำ เช่ น นั้ น และต้ อ งส่ ง โทรเลขมายั ง กรุ ง เทพฯ เพื่ อ ขออนุ ญ าต
ก่อน ซึ่งตลอดเวลาที่ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองเพชรบุรีนั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบข่าวว่า
เขาได้รับค�ำตอบอย่างใดในเรื่องนี้เลย หรือเขาอาจได้รับค�ำตอบแล้วแต่ไม่ได้แจ้ง
ต่อข้าพเจ้าก็เป็นได้ ข้าพเจ้าเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้เผาบ้าน ๒ หลังเท่านั้น
แต่ค�ำตอบที่ข้าพเจ้าได้รับจากเขาอยู่เสมอคือ เขาไม่มีอ�ำนาจที่จะท�ำในสิ่งที่
ข้าพเจ้าแนะน�ำ ข้าพเจ้าขอกล่าวให้ชัดเจนกับท่านว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ต้องการให้
กักกันผู้คนเหล่านั้นเป็นเวลา ๑๐ วัน และไม่ได้ต้องการบังคับให้พวกเขามาอยู่
ในค่ายพยาบาลเลย ข้าพเจ้าเพียงแค่ต้องการให้ย้ายพวกเขาออกจากบ้านเท่านั้น
ข้าพเจ้าได้เจรจาให้ขนย้ายสิ่งของของพวกเขาไปเก็บไว้ในศาลาวัดที่อยู่ใกล้กัน
แล้ว แต่รองผู้ว่าราชการเมืองไม่ยอมรับผิดชอบสิ่งของเหล่านั้น และไม่สัญญา
ว่าจะชดเชยให้หากมีสิ่งของสูญหาย จึงไม่มีผู้ใดยอมย้ายออกจากบ้าน และ
ข้าพเจ้าก็เห็นว่าไม่ควรจะบังคับพวกเขา เหตุการณ์จึงหยุดนิ่ง จนกระทั่งวันพุธที่
๙ มกราคม เมื่อยาฆ่าเชื้อและอุปกรณ์จากกรุงเทพฯ ส่งมาถึง ข้าพเจ้าได้ขอให้
๒๓๗

เมืองเพชรบุรีจัดหาเรือบรรทุกปูนขาวให้เต็มล�ำ แต่ปูนขาวที่ได้รับมานั้นกลับมี
สภาพแย่จนไม่สามารถใช้ได้ และจนถึงตอนเช้าวันเสาร์ก็ยังไม่ได้รับปูนขาว
เพิ่มเติมเลย
ในวันพุธ วันพฤหัสบดี และวันศุกร์ นายทิดและคณะกุลีผู้ท�ำหน้าที่
ฆ่าเชื้อ ได้ไปฆ่าเชื้อตามบ้านต่างๆ พร้อมทั้งขนย้ายสิ่งของเท่าที่พวกเขาจะท�ำได้
แต่ข้าพเจ้าแน่ใจว่าวิธีการนี้ไม่เพียงพอ เพราะมีหลายแห่งที่จ�ำเป็นต้องถอด
หลั ง คาและเปิ ด ให้ ภ ายในบ้ า นทั้ ง หลั ง ได้ สั ม ผั ส แสงแดดเป็ น เวลาอย่ า งน้ อ ย
๑ สัปดาห์ หรือมิเช่นนั้นก็ต้องรื้อท�ำลายบ้านทั้งหลัง
เฉพาะการที่ มี ผู ้ ป ่ ว ยกาฬโรคชนิ ด ติ ด เชื้ อ ในกระแสเลื อ ดฉั บ พลั น
ในตลาดซึ่งมีผู้คนหลายร้อยคนมารวมตัวกันทุกวัน ก็แสดงให้เห็นอย่างแน่นอน
แล้วว่า การช�ำระล้างบ้านเรือนด้วยน�้ำยาเจส์ (Jeyes Fluid)๑ นั้นไม่เพียงพอ
และต้องใช้วิธีการอื่นด้วย
ข้าพเจ้าจึงขอให้ท่านพยายามช่วยให้ข้าพเจ้าได้รับมอบอ�ำนาจตามที่
ร้องขอ เพื่อให้ข้าพเจ้าสามารถด�ำเนินการในเรื่องนี้ได้อย่างเหมาะสม หรือมอบ
อ�ำนาจแก่รองผู้ว่าราชการเมือง เพื่อให้เขาสามารถด�ำเนินการตามค�ำแนะน�ำ
ของข้าพเจ้าได้
อ�ำนาจที่ข้าพเจ้าร้องขอมีดังนี้
๑. เมื่อข้าพเจ้าแนะน�ำให้ราษฎรย้ายออกจากบ้านที่มีผู้ป่วยหรือตาย
ด้วยกาฬโรค ราษฎรต้องปฏิบัติตามนั้น จะมีการฆ่าเชื้อที่สิ่งของของพวกเขาก่อน
แล้วจึงให้พวกเขาย้ายสิ่งของออกไป ถ้าพวกเขาต้องการไปอยู่ที่เพิงกักกันในค่าย
พยาบาลก็สามารถท�ำได้ หรือมิเช่นนั้นก็ย้ายไปยังสถานที่อื่นที่ได้รับอนุญาต


น�้ำยาฆ่าเชื้อ
๒๓๘

๒. ขอให้ข้าพเจ้ามีอ�ำนาจรื้อท�ำลายบ้านเรือนหรือทรัพย์สินในมูลค่า
สูงสุด ๕๐๐ บาท โดยไม่ต้องส่งโทรเลขมายังกรุงเทพฯ เพื่อขออนุญาตก่อน
ส่วนการจะจ่ายเงินชดเชยหรือไม่นั้นไว้ตัดสินใจในภายหลัง
๓. หากข้าพเจ้าเห็นว่าจ�ำเป็นก็สามารถกักกันครอบครัวใดครอบครัว
หนึ่งไว้ในบ้านของพวกเขา หรือไว้ในค่ายพยาบาล หรือในสถานที่อื่นที่ข้าพเจ้า
อนุญาตเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่งซึ่งไม่เกิน ๑๐ วัน โดยอยู่ในดุลยพินิจของข้าพเจ้า
แต่เพียงผู้เดียว และหากราษฎรไม่ยอมย้ายไปโดยสันติ แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าจ�ำเป็น
ต้องย้าย และได้รับการเห็นพ้องจากผู้ว่าราชการเมือง ก็สามารถใช้ก�ำลังบังคับ
พาตัวราษฎรนั้นไปได้ ข้าพเจ้าจะใช้วิธีการทุกอย่างที่อยู่ในอ�ำนาจเพื่อให้การ
ป้องกันกาฬโรคส�ำเร็จลงได้โดยสันติ และไม่ท�ำให้ราษฎรเกิดความไม่พอใจ
แต่หากได้รับอ�ำนาจสนับสนุนเช่นนี้ก็จะเป็นประโยชน์มาก และข้าพเจ้าจะ
ใช้อ�ำนาจเท่าที่จ�ำเป็นจริงๆ เท่านั้น
โดยสรุปแล้ว ข้าพเจ้าร้องขอว่า หากข้าพเจ้าต้องเดินทางกลับไปยัง
เพชรบุรี และหากข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้จัดการป้องกันกาฬโรคในที่นั้น
ข้าพเจ้าจ�ำเป็นต้องได้รับมอบอ�ำนาจให้ด�ำเนินการไปตามดุลยพินิจของข้าพเจ้า
และไม่ควรจะมีความล่าช้าเช่นเดิมอีกต่อไปในการปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำของ
ข้าพเจ้า ซึ่งได้แนะน�ำไปโดยเหมาะสมกับความร้ายแรงของการระบาดเสมอ
ขอแสดงความนับถือ
ลงนาม มอร์เดน คาร์ทิว
ผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล
๒๓๙

กรมสุขาภิบาล๑
กองแพทย์สุขาภิบาล
วันที่ ๑๔ มกราคม ค.ศ. ๑๙๐๗ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล
ข้าพเจ้าขอประทานกราบทูลรายงานจากหมอคาร์ทิว ซึ่งเป็นการ
สรุ ป สิ่ ง ที่ เขาได้ ก ราบทู ล ต่ อ พระองค์ เ มื่ อ บ่ า ยวั น เสาร์ ที่ ผ ่ า นมา หลั ง จาก
ทู ล ลาพระองค์ แ ล้ ว หมอคาร์ ทิ ว กั บ ข้ า พเจ้ า ได้ เข้ า พบพระยาศรี ส หเทพ
ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย และหมอคาร์ทิวก็ได้ร้องเรียนเรื่องเดิม
ว่ า ต้ อ งการได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากข้ า ราชการเมื อ งเพชรบุ รี พวกเราทั้ ง
สามคนเห็นพ้องกันว่า การส่งแพทย์ชาวยุโรปไปจัดการป้องกันการระบาด
ของกาฬโรคอย่ า งร้ า ยแรงดั ง ที่ เ ป็ น อยู ่ นั้ น จะไม่ เ กิ ด ประโยชน์ อั น ใดหาก
ค�ำสั่งของแพทย์ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม เราต้องการมีอ�ำนาจเช่นเดียวกับที่เรา
ด�ำเนินการอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อจัดการตามที่เราเห็นสมควร และในท้ายที่สุด
พระยาศรีสหเทพก็รับรองว่าเราจะได้รับการสนับสนุนทุกประการ
ก่อนที่จะอนุญาตให้หมอคาร์ทิวกลับไปยังเพชรบุรี ข้าพเจ้าต้องการ
ให้เขาได้รับหมายค�ำสั่งของกรมสุขาภิบาล ซึ่งมอบอ�ำนาจตามที่จ�ำเป็นเพื่อให้
ด�ำเนินการตามที่เห็นสมควร หากไม่มีค�ำสั่งเช่นนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์


แปลจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับ
กาฬโรคที่เมืองเพชรบุรียื่นความเห็นว่าไข้นั้นร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดหาแพทย์
ประจ�ำ เพราะถ้าในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน แพทย์สขุ าภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่
ไปท�ำการนอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๒๐ – ๒๑.
๒๔๐

อันใดที่จะส่งเขาออกไปเสียเวลาอยู่ต่างเมือง ในขณะที่กรุงเทพฯ ต้องการตัว


เขาเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากกาฬโรคได้ระบาดขึ้นที่กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่งแล้ว
นอกจากนี้ หากพระองค์จะทรงให้หมอคาร์ทวิ ปฏิบตั งิ านภายใต้อำ� นาจ
ของกระทรวงมหาดไทยอี ก เช่ น เดิ ม ข้ า พเจ้ า ขอให้ เ ป็ น ไปด้ ว ยความเข้ า ใจ
ที่เคร่งครัดว่า เขาสามารถจะถูกเรียกตัวกลับได้ทุกเมื่อ หากในกรุงเทพฯ จ�ำเป็น
ต้องใช้การปฏิบัติงานของเขา
ในส่วนของข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้าเห็นว่าการด�ำเนินงานป้องกันกาฬโรค
ที่กรุงเทพฯ ไม่อาจเป็นไปได้โดยไม่มีหมอคาร์ทิว การด�ำเนินงานป้องกันกาฬโรค
ที่ ก รุ ง เทพฯ ต้ อ งอาศั ย การทุ ่ ม เทเวลาทั้ ง หมดของแพทย์ และในระหว่ า งที่
หมอคาร์ทิวไม่อยู่ ข้าพเจ้าแน่ใจว่ามีผู้ป่วยกาฬโรคหลายรายที่ปรากฏขึ้นใน
กรุงเทพฯ โดยที่ตรวจไม่พบ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ลงนาม เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๒๔๑

ที่ ๒๓๘/๑๔๖๓๒ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๙
วันที่ ๒๐ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธ์ ราชเลขานุการ ได้ทรง
ทราบ
หมอไฮเอต แพทย์สุขาภิบาลยื่นรายงานในเวลาวันนี้ว่า เมื่อเวลาวานนี้
กองตระเวนได้แจ้งให้แพทย์ไปตรวจคนที่สงสัยว่าเป็นไข้กาฬโรค พบคนป่วยเป็น
กาฬโรค ๔ คน คือ
๑. ที่ วั ง พระเจ้ า น้ อ งยาเธอ กรมขุ น พิ ท ยลาภพฤฒิ ธ าดา ชาย ๑
ได้ย้ายไปรักษาที่โรงพยาบาลแล้ว
๒. ที่โรงม้าหลวง ริมบ้านเจ้าพระยาเทเวศรวงษวิวัฒน ชายอีก ๑
ได้ย้ายไปโรงพยาบาลแล้ว ตายในเวลาดึกแต่คืนนี้
๓. ที่ตึกแถวถนนตรีเพ็ชร์ท้องที่ ๓๗ เด็กหญิง ๑ เมื่อหมอไปถึง
เด็กตายเสียแล้ว
๔. มีเด็กชายในห้องเดียวกันนัน้ ป่วยอยูอ่ กี คน ๑ ได้ยา้ ยไปโรงพยาบาล
แล้ว ตายเมื่อคืนนี้เวลาดึก


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับ
กาฬโรคที่เมืองเพชรบุรีย่ืนความเห็นว่าไข้นั้นร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดหาแพทย์
ประจ�ำ เพราะถ้าในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน แพทย์สขุ าภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่
ไปท�ำการนอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๓๕ – ๓๖.
๒๔๒

หมอได้จัดการช�ำระล้างห้องคนป่วยไข้กาฬโรคทั่วแล้ว จะได้จัดการ
ตรวจคนเกี่ยวข้องกับคนไข้ทุกวัน เวลาเช้าและเย็น ตลอดไปจนสิ้นเขตอายุ
ไข้กาฬโรค
และหมอมีความวิตกอยู่ว่า ไข้กาฬโรคในกรุงเทพฯ จะมีมากขึ้นด้วยใน
หมู่นี้ มีคนป่วยเนืองๆ กระชั้นวันกัน เมื่อวานนี้วันเดียวก็มีถึง ๔ คน และไข้เกิดขึ้น
ในทีซ่ งึ่ เคยมีมาแต่กอ่ น คือในทีโ่ รงม้าหลวง และแถวบ้านหม้อนัน้ หมอจึง่ ขออนุญาต
โทรเลขเรียกหมอคาร์ทิวซึ่งไปช่วยจัดการป้องกันไข้กาฬโรคที่เมืองเพ็ชร์บุรีนั้น
ให้กลับมา ตามความที่ได้ตกลงกันกับกระทรวงมหาดไทยไว้แต่ก่อนแล้วว่า
ถ้าในกรุงเทพฯ มีไข้กาฬโรคมากขึ้น กระทรวงมหาดไทยจะต้องหาแพทย์เป็น
การจรไปประจ�ำการ ต้องให้หมอคาร์ทวิ กลับเข้ามาท�ำการตามหน้าทีใ่ นกรุงเทพฯ
บั ด นี้ มี ไข้ ก าฬโรคมากรายและแยกต� ำ บลกั น แพทย์ สุ ข าภิ บ าลจึ่ ง ต้ อ งการ
หมอคาร์ทิวให้เข้ามาช่วยตรวจคนที่เกี่ยวข้องแก่คนป่วยเป็นกาฬโรค
อนึง่ ในเรือ่ งทีใ่ ห้หมอคาร์ทวิ ไปช่วยกระทรวงมหาดไทยระงับไข้กาฬโรค
ทีเ่ มืองเพ็ชร์บรุ นี นั้ ได้มรี ายงานหมอ และหม่อมฉันได้วา่ กล่าวกับพระยาศรีสหเทพ
เป็นความเข้าใจกันแล้วว่า ถ้ามีไข้กาฬโรคมากในกรุงเทพฯ เมื่อใด ถ้าเป็นความ
จ�ำเป็น จะต้องให้หมอคาร์ทิวกลับเข้ามา แจ้งอยู่ในรายงานและหนังสือในเรื่องนี้
หม่อมฉันได้ส�ำเนามาถวายให้ทรงทราบด้วย
หม่อมฉันจึง่ ได้สงั่ หมอให้ไปพบพระยาศรีสหเทพ แจ้งเหตุทจี่ ะต้องเรียก
หมอคาร์ทิวกลับเข้ามา และให้โทรเลขไปยังหมอคาร์ทิวว่า ถ้ามีโอกาสจะจัดวาง
การฝ่ายโน้นได้ ก็ให้รีบจัดการแล้วเข้ามากรุงเทพฯ
๒๔๓

ถ้าท่านมีโอกาสสมควร ขอได้โปรดน�ำข้อความกราบบังคมทูลพระกรุณา
ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ควรมิควรสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ๑
(พระนาม) นเรศรวรฤทธิ์


วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช
หัตถเลขาตอบพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ ความตอนหนึ่งว่า “การที่ได้จัดไป
ดีแล้ว หมอคาร์ทิวนั้นเรียกกลับได้ แต่ตามรายงานที่บอกมานี้ปรากฏว่า พอรู้ว่าเจ็บก็ตายเช่นนี้ ต้อง
เข้าใจว่าเจ็บข้ามวันมาแล้ว ไม่ใช่พอเป็นขึ้นมาก็ตาย เพราะฉะนั้นจึ่งต้องเห็นว่า การสืบสวนเรื่องไข้
กาฬโรคยังห่างอยู่มาก ขอให้ระวังเรื่องประกาศออกไปแล้วจะไม่ได้จริงตามประกาศเป็นส�ำคัญ”
อ้างจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับกาฬโรคที่
เมืองเพชรบุรยี นื่ ความเห็นว่าไข้นนั้ ร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดจัดหาแพทย์ประจ�ำ เพราะถ้า
ในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน แพทย์สุขาภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่ ไปท�ำการ
นอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๓๗.
๒๔๔

ที่ ๒๘๕/๓๕๔๔๒ ศาลาว่าการมหาดไทย๑


วันที่ ๒๓ เดือนมกราคม ร.ศ. ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า ขอพระราชทานกราบบั ง คมทู ล พระกรุ ณ าทราบ
ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ด้วยเวลาวันนีข้ า้ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้า
กรมขุนลพบุรีราเมศร์๒ ได้จัดการประชุมในเรื่องวิธีจัดการรักษาป้องกันและจัด
โรงพยาบาลกาฬโรคตามหัวเมือง ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการนั้น
ผูท้ มี่ าในประชุมมีพระยาวิสทุ ธสุรยิ ศักดิ๓์ กระทรวงธรรมการ ข้าหลวงเทศาภิบาล
มณฑลราชบุรี มณฑลนครราชสิมา พระพิศณุประสาทเวช๔ และหมอเชลยศักดิ์
ตามหัวเมืองซึ่งเคยรักษากาฬโรค ได้ปรึกษาหารือตกลงกันเป็นข้อความตาม
รายงานซึ่งได้ส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายพร้อมกับจดหมายฉบับนี้ พร้อมด้วยบัญชี
จ�ำนวนแพทย์ประจ�ำการในที่ซึ่งมีกาฬโรคทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถ้าทรง
พระราชด�ำริเห็นชอบด้วยแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระบรมราชา
นุญาตให้จัดการตามรายงานนั้นสืบไป และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต



คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๒๓ จัดการป้องกันกาฬโรคหัวเมือง
(๒๓ ม.ค. – ๑๐ ก.พ. ๑๒๕), หน้า ๓ – ๔.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆมั พร กรมหลวงลพบุรรี าเมศวร์ พระราชโอรสใน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราช
ปดิวรัดา ต่อมาทรงด�ำรงต�ำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราช (พ.ศ. ๒๔๕๓ – ๒๔๖๘)

พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงธรรมการ ต่อมาใน
สมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ

พระพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) รองแพทย์ใหญ่ฝ่ายการแพทย์แผนไทยที่โรง
ศิริราชพยาบาลในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งยังเป็นผู้รวบรวมและจัดพิมพ์ต�ำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยาพิศณุประสาทเวช
๒๔๕

ออกประกาศให้แจ้งความกาฬโรคตามร่างที่ส่งมาทูลเกล้าฯ ถวายพร้อมกับ
จดหมายฉบับนี้ด้วย๑
โรงพยาบาลนั้น ในเวลานี้มีโรงพยาบาลท�ำขึ้นชั่วคราวอยู่ทุกแห่งแล้ว
และข้าพระพุทธเจ้าจะได้จดั ประมาณจ�ำนวนเงินและรายการทีจ่ ะปลูกโรงพยาบาล
ประจ�ำเมืองทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป
อนึ่ง ข้าพระพุทธเจ้าได้ปรึกษาถึงข้อที่จะให้มีหมอฝรั่งเป็นผู้ตรวจตรา
โรงพยาบาล และการรักษาความสะอาด ทีป่ ระชุมเห็นพร้อมกันว่าควรมีสกั คนหนึง่
แต่เห็นว่าเวลานีร้ าษฎรยังหวาดเสียวหมอฝรัง่ มาก ถ้าจัดให้ไปเทีย่ วตรวจในเวลานี้
เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าจะพาให้การที่จัดใหม่เสียไปด้วย จึงเห็นพร้อมกันว่า ควรให้
รอหมอฝรั่งผู้ตรวจนั้นไว้สักหน่อยก่อนก็ได้ เพราะเวลานี้แพทย์ไทยที่กะไว้ประจ�ำ
ทุกเมืองนั้นมีแพทย์ที่สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรของโรงเรียนแพทย์กรุงเทพฯ
และได้เคยท�ำการกับหมอฝรั่งอยู่ทุกแห่งแล้ว
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า พระยาศรีสหเทพ ขอเดชะ
ราชปลัดทูลฉลอง



อีกไม่กี่วันต่อมาได้ประกาศใช้กฎหมายที่ก�ำหนดให้แจ้งความเมื่อมีผู้ป่วยกาฬโรคใน
เขตหัวเมือง คือ “ประกาศให้แจ้งความกาฬโรค” ลงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙
๒๔๖

รายงานประชุมที่กระทรวงมหาดไทย
วันที่ ๒๓ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]๑

วิธีจัดการโรงพยาบาล
๑. ให้จัดตั้งโรงพยาบาลหลวงในเมืองที่เกิดกาฬโรค ๕ เมือง คือ
พระปฐมเจดีย์ ๑ เพ็ชร์บุรี ๑ ลพบุรี ๑ สระบุรี ๑ นครราชสิมา ๑
๒. โรงพยาบาลนี้ส�ำหรับเป็นที่รักษาพยาบาลกาฬโรค ให้มีห้องพอรับ
คนป่วยได้ไม่น้อยกว่า ๑๒ คน และมีโอสถศาลาส�ำหรับจ�ำหน่ายยาด้วย
๓. ให้มีแพทย์ประจ�ำโรงพยาบาลเหล่านี้ในเวลาปรกติไม่น้อยกว่า
โรงละ ๒ คน ถ้าเวลาเกิดโรคมาก ก็ให้จัดแพทย์เพิ่มขึ้นให้พอแก่การ และให้มี
คนพยาบาลอยู่ประจ�ำให้เพียงพอ
๔. ให้มีโอสถศาลาเป็นที่จ�ำหน่ายยาของหลวงในโรงพยาบาลนี้ และ
ในเวลามีโรคมาก ดังเช่นกาฬโรคที่เป็นอยู่บัดนี้ ให้แจกยาของหลวงให้เป็นทาน
ถ้าเวลาเป็นปรกติ ควรเรียกค่ายาบ้างโดยราคาถูกๆ
๕. ถ้าผู้ใดป่วยและสมัครจะมาอยู่รักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหลวง
ก็ให้รับไว้


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๒๓ จัดการป้องกันกาฬโรคหัวเมือง
(๒๓ ม.ค. – ๑๐ ก.พ. ๑๒๕), หน้า ๕ – ๗.
๒๔๗

ว่าด้วยจัดการป้องกันกาฬโรคที่เกิดขึ้นใหม่ในชั้นแรก
๑. ถ้าเกิดมีกาฬโรคขึ้นใหม่ที่ใดในชั้นแรก ให้ผู้ว่าราชการเมืองจัดการ
กักคนที่ป่วยและผู้ที่พยาบาลไว้ไม่ให้ไปให้มา จนถึง ๑๕ วัน ไม่มีคนใดที่กักไว้ป่วย
ลงอีกจึงปล่อยไป
๒. ในเรือนที่มีคนเจ็บป่วยนั้น ถ้าเรือนที่จะต้องใช้เงินให้ไม่เกินกว่า
๑๐ ชั่ง ให้เอาสังกะสีมาล้อมให้รอบแล้วเผาเสียทีเดียว ถ้าเป็นเรือนราคามาก
ที่ เ ผาไม่ ไ ด้ ก็ ใ ห้ บั ง คั บ ให้ ข นสิ่ ง ของออกมาจั ด การรมยาตามวิ ธี ข องแพทย์
แล้วจัดการบ้านนั้นให้สะอาด และอบรมโรยยาตามวิธีของแพทย์
๓. ถ้าเกิดกาฬโรคขึ้นใหม่เช่นนี้ก็ดี หรือที่เป็นอยู่แล้วดังจะว่าต่อไปนี้
ก็ดี ให้ผู้ว่าราชการเมืองมีรายงานมายังกรุงเทพฯ โดยเร็ว และให้บอกหัวเมือง
ที่ใกล้เคียงให้ทราบทั่วกันด้วย เพื่อจะได้จัดการระวังให้ทันท่วงที
ว่าด้วยการรักษาและป้องกันกาฬโรคที่เป็นอยู่แล้วบัดนี้
๑. ให้ผวู้ า่ ราชการเมืองจัดการรักษาความสะอาดในเขตเมืองหรือบ้านที่
เป็นกาฬโรคนั้นทั่วไป มีการกวาดช�ำระให้เตียน ล้างโรยปูนขาว รมยา ที่ใดซึ่งเป็น
ที่ชื้นฉ�ำแฉะต้องท�ำเสียให้แห้ง ที่ใดอับ อากาศเดินไม่ได้ ต้องแก้ไขให้มีทางลม
และแสงสว่างเข้าได้ เป็นต้น ตามค�ำแนะน�ำของแพทย์
๒. ให้ขยายกฎหมายบังคับให้แจ้งความกาฬโรคทีใ่ ช้มาแล้วในกรุงเทพฯ
ส�ำหรับใช้ในเขตเมืองที่เป็นกาฬโรค
๓. ให้วางการตรวจตราคนทีจ่ ะออกไปจากเขตเมืองทีเ่ ป็นกาฬโรคเท่าที่
จะตรวจได้ ถ้าพบคนป่วยไข้ที่แพทย์สงสัยว่าเป็นกาฬโรค ให้ห้ามไว้ อย่าให้ไป
๒๔๘

๔. ให้มีแพทย์ออกตรวจแนะน�ำชี้แจงรักษาคนป่วยไข้ และเฉพาะคนที่
ป่วยไข้เล็กน้อยตั้งแต่ชั้นปวดศีรษะ ตัวร้อน ให้ได้รักษาเสียแต่แรก ให้ประกาศให้
ราษฎรทราบทั่วกันว่า ถ้าใครเจ็บไข้ไม่สบายเล็กน้อยให้รีบมาขอยารับประทาน
อย่าให้ทันเจ็บไข้ได้มากมาย
๕. คนตายด้วยไข้กาฬโรค ให้เจ้าพนักงานจัดการเผาศพเสียทันที
๖. ในบ้านที่มีคนป่วยหรือตายด้วยกาฬโรค ให้กักคนป่วยและคน
พยาบาลให้อยู่ที่บ้านของตนนั้น มีก�ำหนดไม่น้อยกว่า ๑๐ วัน ในเวลาที่กักไว้นี้
ให้เจ้าพนักงานเป็นธุระดูแลอย่าให้คนที่ถูกกักอดอยาก และให้เจ้าพนักงาน
ช่วยเหลือเกื้อหนุนตามสมควรจงทุกประการ
๒๔๙

ที่ ๕/๑๕๗๒๗ ศาลาว่าการนครบาล๑


๓๙
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
แจ้งความมายังพระยาสุขุมนัยวินิจ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ด้วยแพทย์สขุ าภิบาลยืน่ รายงานว่า เมือ่ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ เจ้าพนักงาน
แพทย์ ต รวจโรค ซึ่งได้จัดให้ตรวจคนโดยสารรถไฟมาแต่ เ มื อ งนครราชสิ ม า
พบจีนหยินป่วยเป็นกาฬโรคคน ๑ โดยสารรถไฟมาแต่เมืองนครราชสิมา ลงมา
กรุงเทพฯ ในวันนั้น ข้าพเจ้าจึ่งให้ไต่สวนเหตุ คงได้ความว่า
จี น หยิ น เป็ น คนเก็ บ เงิ น ของจี น หยง ซึ่ ง เป็ น พ่ อ ค้ า อยู ่ ใ นกรุ ง เทพฯ
ต�ำบลสพานหัน ใกล้วัดจักรวรรดิ์ จีนหยินขึ้นไปเก็บเงินที่เมืองนครราชสิมา
เมื่อ ๖ วันล่วงแล้วมา อาศัยอยู่ที่ร้านยี่ห้อฮะฮัวหลง เมืองนครราชสิมา จีนหยิน
ป่วยเป็นไข้ได้ ๔ วันแล้ว จึ่งโดยสารรถไฟลงมากรุงเทพฯ มาโดยรถชั้นที่ ๑
มิสเตอร์มินโตผู้ท�ำการเจาะน�้ำ กลับมาจากเมืองนครราชสิมาในรถเดียวกัน
ได้เห็นจีนหยินนอนอยู่บนเก้าอี้ในรถแต่เมื่อขึ้นรถ ก็เข้าใจว่าป่วย แต่บอกกล่าว
ไม่ทนั เพราะพอขึน้ รถ รถไฟก็ออก แล้วมิสเตอร์มนิ โตได้แจ้งแก่พนักงานตรวจเก็บ
ตั๋วในรถไฟเวลาเมื่อหยุดที่สะเตชั่นต่อมา ครั้นรถไฟถึงแก่งคอย มิสเตอร์เออวิน
เจ้าพนักงานกรมแผนที่โดยสารขึ้นรถมาอีกนาย ๑ ก็ได้เห็นและทราบได้ชัดว่า
จีนหยินป่วย พอถึงสะเตชั่นรถไฟกรุงเก่า เจ้าพนักงานตรวจโรคในกรุงเทพฯ
ที่ไปคอยอยู่จึ่งได้ขึ้นรถเข้าตรวจโรค พบถึงที่ไข่ดันซ้ายบวม แล้วก็เข้าใจได้ชัดว่า
เป็นกาฬโรค จึ่งได้ก�ำกับคุมตัวมารอไว้ที่สะเตชั่นกรุงเทพฯ ให้กองตระเวน
มาแจ้งความให้หมอคาร์ทิวไปตรวจ แล้วพาตัวไปรักษายังโรงพยาบาลกาฬโรค


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๓ คนเป็นไข้กาฬโรคในกรุงเทพฯ
จ�ำนวนปีรัตนโกสินทรศก ๑๒๔ (๑๓ ส.ค. ๑๒๕ – ๔ ม.ค. ๑๒๕), หน้า ๒๑๓ – ๒๑๕.
๒๕๐

ในเวลาวั น นี้ อ าการจี น หยิ น มี บ วมขึ้ น ที่ ค ออี ก และตั ว ร้ อ นปรอตถึ ง ๑๐๔
ก�ำลังอาการหนักมาก
ตามข้อความที่ไต่สวนได้ความดังนี้ ท่านคงจะเห็นได้ว่า การที่พระยา
ศรีสหเทพแจ้งว่า ได้มีแพทย์คอยตรวจคนป่วยเป็นไข้ กันไม่ให้ขึ้นรถไฟอยู่แล้ว
ทุกเมืองที่มีไข้กาฬโรคนั้น เป็นการจัดยังไม่เป็นไปได้จริง เพราะจีนหยินผู้ป่วย
เป็นไข้จนหลายวันแล้วยังโดยสารรถมาได้ ใช่แต่เท่านั้น ข้าพเจ้าจ�ำต้องตีโทษ
พนักงานตรวจการเดินรถไฟอีกด้วย เหตุว่าจีนหยินเป็นคนมีอาการป่วยถึง
นั่งไม่ไหว ขึ้นรถแล้วต้องนอนอยู่บนเก้าอี้แต่รถยังไม่ออกเช่นนี้ ก็เป็นอาการ
เห็นได้ว่าป่วยอยู่แล้ว ไม่สมควรที่เจ้าพนักงานผู้ตรวจการเดินรถไฟจะยอมให้
โดยสารมาเลย
เมื่อมีเหตุไม่สมควรเกิดขึ้นฉะนี้ ข้าพเจ้าจึ่งคิดว่า สมควรที่เจ้าคุณจะมี
ค�ำสั่งก�ำชับก�ำชาเจ้ากรมรถไฟให้ช่วยอุดหนุนการระมัดระวังโรคติดต่อกัน ให้สั่ง
เจ้าพนักงานเดินรถทุกสายว่า ที่สะเตชั่นเมืองใดซึ่งมีไข้กาฬโรค แม้ได้เห็นคน
จะโดยสารรถมี อ าการป่ ว ยเป็ น ไข้ แ ล้ ว ต้ อ งห้ า มเสี ย อย่ า เพิ่ ง ให้ โ ดยสารมา
ให้นายสะเตชั่นแจ้งเหตุแก่ประชาบาลในต�ำบลนั้น ให้จัดการตรวจโรคที่ป่วย
ว่ า เป็ น กาฬโรคหรื อ มิ ใช่ ถ้ า เป็ น ไข้ ก าฬโรคก็ จ ะได้ จั ด การรั ก ษามิ ใ ห้ โรค
แพร่หลายติดต่อกัน ขอให้เจ้าพนักงานตรวจการเดินรถเอาใจใส่ช่วยป้องกัน
คนป่วยเป็นกาฬโรค อย่าให้โดยสารลงมากรุงเทพฯ นั้น จงกวดขันด้วย
ข้าพเจ้าได้โอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือมายังเจ้าคุณในสมัยนี้ด้วย
(พระนาม) นเรศรวรฤทธิ์
เสนาบดีกระทรวงนครบาล
๒๕๑

รายงานคนป่วยเป็นไข้กาฬโรค
รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]๑

กองแพทย์สุขาภิบาล
วันที่ ๑๖ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ [พ.ศ. ๒๔๕๐]
หมอ เอช. แคมป์แบล ไฮเอต เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล ขอกราบทูล
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล ทราบ
ฝ่าพระบาท
ด้วยข้าพระพุทธเจ้าขอถวายรายงานอันมีต่อไปนี้ ในเรื่องไข้กาฬโรค
ในกรุงเทพฯ คราวปี ร.ศ. ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙]
ในคราวเดือนเมษายน และพฤษภาคม ไม่ได้มีผู้แจ้งความด้วยอาการ
คนป่วยไข้กาฬโรคแท้จริง แต่ถึงกระนั้นก็ได้ตรวจคนที่ป่วยซึ่งสงสัยว่าเป็น
ไข้กาฬโรคนั้นเป็นหลายคน
ในเดือนมิถุนายนได้มีไข้กาฬโรคจริงแท้รายหนึ่ง และตั้งแต่เดือนนั้นมา
ก็ได้มีอยู่เสมอทุกๆ เดือน ตลอดปี เว้นแต่เดือนกรกฎาคมเดือนเดียวที่ไม่มีเลย
บัญชีต่อไปนี้เป็นจ�ำนวนประจ�ำเดือนทุกๆ เดือน


คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๔, วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖, หน้า ๑๙๒ – ๑๙๔.
๒๕๒

จ�ำนวนคนไข้ จ�ำนวนคนตาย จ�ำนวนรักษา จ�ำนวนคนที่ยัง รวม



เดือน หาย พยาบาลอยู่
ทั้งสิ้น
ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง
มิถุนายน ๑ - ๑ - - - - - ๑
สิงหาคม ๔ ๒ ๓ ๒ ๑ - - - ๖
กันยายน ๓ - ๓ - - - - - ๓
ตุลาคม ๔ - ๔ - - - - - ๔
พฤศจิกายน ๑ - ๑ - - - - - ๑
ธันวาคม ๒ - ๒ - - - - - ๒
มกราคม ๑๐ ๘ ๘ ๗ ๒ ๑ - - ๑๘
กุมภาพันธ์ ๑๓ ๕ ๑๒ ๔ ๑ ๑ - - ๑๘
มีนาคม ๒๑ ๑๔ ๒๑ ๑๓ - - - ๑ ๓๕
๕๙ ๒๙ ๕๕ ๒๖ ๔ ๒ - - -
๘๘ ๘๑ ๖ - ๑ ๘๘

ตามจ� ำ นวนนี้ รวมทั้ ง จ� ำ นวนไข้ ก าฬโรคที่ ไ ด้ สื บ รู ้ ทั้ ง เป็ น หรื อ ตาย


เพราะฉะนั้ น จะคิ ด เฉลี่ ย จ� ำ นวนอาการตายในจ� ำ นวนคนที่ รั บ เข้ า รั ก ษาใน
โรงพยาบาลแสดงให้เห็นไม่ได้
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า เห็ น ด้ ว ยเกล้ า ฯ ว่ า ในจ� ำ นวนคนไข้ ๘๘ คนนั้ น
มีจ�ำนวนถึง ๖๒ คนที่ได้ทราบเมื่อตายแล้ว หรือมาตายในโรงพยาบาลภายใน
๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ได้รับเข้าในโรงพยาบาล จ�ำนวนคนไข้ที่อยู่ในโรงพยาบาล
เกินกว่า ๒๔ ชั่วโมง ได้มีอยู่เพียง ๒๖ คนเท่านั้น ใน ๒๖ คนนี้ได้ตาย ๒๐ คน
จึงคิดเฉลี่ยอาการตายในจ�ำนวนร้อยเป็นร้อยละ ๗๗ คน จ�ำนวนคนป่วยนั้น
มีน้อย จึงเห็นว่าไม่มีประโยชน์เลยที่จะเอาจ�ำนวนนี้ไปเปรียบเทียบกับจ�ำนวน
ของเมืองอื่นๆ เพราะเมื่อมีคนตายมากกว่ากันหรือหายมากกว่ากันสักคนหนึ่ง
๒๕๓

หรือสองสามคน ก็จะท�ำให้จ�ำนวนผิดกันเป็นอันมาก แต่ถึงฉะนั้นก็ดี ส�ำหรับการ


ที่จะเปรียบเทียบกัน ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายจ�ำนวนที่เจ้าพนักงานได้คิดเฉลี่ย
ดังมีถัดไปนี้

โรงพยาบาล จ�ำนวนตาย
เมืองบอมเบจัดการพยาบาลนับว่าเป็นอย่างดีที่สุด ๖๑.๕ เปอร์เซ็นต์
เมืองฮ่องกง ๙๓ เปอร์เซ็นต์
เมืองยี่ปุ่น ๖๒ เปอร์เซ็นต์
กรุงเทพฯ ถึงปลายเดือนมีนาคม ร.ศ. ๑๒๕ ๗๗ เปอร์เซ็นต์

ข้อความที่คิดด้วยจ�ำนวนตายจะต้องละไว้เพื่อพิจารณาในภายหน้า
เมื่อมีจ�ำนวนทวีมากขึ้นพอสมควรที่จะเทียบวินิจฉัยได้แน่นอน ความเอาใจใส่
อันเนื่องมาแต่ความจริงที่ไข้กาฬโรคก�ำลังจับทวียิ่งขึ้นในกรุงเทพฯ นั้น จะต้อง
มีความรู้สึกดังที่จะเห็นได้ว่าจ�ำนวนไข้ในเดือนมีนาคมเป็นจ�ำนวนอันมากที่ยัง
ไม่เคยมีในเดือนอื่นๆ และต�ำบลที่พบไข้ได้มีขึ้นนั้น ก็แต่ฝั่งตะวันตกแม่น�้ำ
เจ้าพระยา ตั้งแต่โรงเตาสุราจนถึงวัดอรุณราชวราราม และที่ฝั่งตะวันออกนั้น
ก็ตั้งแต่สามเสนตลอดส�ำเพ็ง และตลาดน้อยถึงบ้านทวาย บางต�ำบลดูเหมือน
จะมีไข้ติดกันมาก เช่น ต�ำบลรอบสะพานด�ำรงสถิตย์ และในเขตแขวงบ้านหม้อ
และบางตอนในส�ำเพ็งและตลาดน้อยเป็นต�ำบลที่โรคชุกชุม การที่มีไข้กาฬโรค
เกิดขึ้นติดต่อทั่วไปในพระนครเช่นนี้ก็ไม่สู้ดีอยู่แล้ว แต่ยังมีต�ำบลที่ไข้กาฬโรค
เกิดแพร่หลายขึ้นใหม่ทั่วไปในหัวเมืองอีก ก็ยิ่งกระท�ำความร้ายให้ปราศจาก
ความสุขส�ำราญของบ้านเมืองนั้นด้วย ตามหัวเมืองนั้น ดูเหมือนไข้จะได้มีไป
โดยทางรถไฟผ่านไป
๒๕๔

ในคราวปี ๑๒๕ นั้น บัญชีที่ได้รับจากกระทรวงมหาดไทยแสดงว่า


ในระหว่างเดือนตุลาคม ไข้ได้เกิดขึ้นโดยติดเนื่องกันไปในเมืองนครราชสีมาและ
เมื อ งสระบุ รี และในเดื อ นพฤศจิ ก ายน ไข้ ไ ด้ ตั้ ง ต้ น เกิ ด ขึ้ น ที่ เ มื อ งลพบุ รี
ในเดือนธันวาคม ที่เมืองเพ็ชร์บุรีได้เกิดมีไข้กาฬโรคขึ้น และได้แพร่หลายมาถึง
พระปฐม ในเดื อนมกราคม ในหัวเมืองเหล่านี้ทั่ วไป ไข้ ก าฬโรคได้ มี ต ่ อ มา
จนถึงทุกวันนี้
จ�ำนวนไข้ในหัวเมืองต่างๆ ตัง้ แต่เกิดขึน้ จนถึงปลายเดือนมีนาคมนัน้ ดังนี้

เมือง เวลาที่ จ�ำนวน จ�ำนวน จ�ำนวน จ�ำนวนคน จ�ำนวนส่วน


มีไข้ คนไข้ คนตาย รักษาหาย ที่ยัง คนตายเป็น
พยาบาลอยู่ เรือนร้อย
นครราชสีมา ๖ เดือน ๑๐๖ ๗๑ ๒๙ ๖ ๖๗ เปอร์เซ็นต์
ลพบุรี ๕ เดือน ๙๕ ๗๕ ๑๙ ๑ ๗๙ เปอร์เซ็นต์
เพ็ชร์บุรี ๔ เดือน ๖๓ ๖๓ ๐ ๐ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
พระปฐม ๓ เดือน ๓๘ ๓๘ ๐ ๐ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
กรุงเทพฯ ๙ เดือน ๘๘ ๘๑ ๖ ๑ ๙๒ เปอร์เซ็นต์

การเปรียบเทียบจ�ำนวนเหล่านี้ในส่วนหัวเมืองกับจ�ำนวนในกรุงเทพฯ
นั้น ไม่สมควรจะเทียบกัน เพราะที่จริงบรรดาคนป่วยทั้งปวงในกรุงเทพฯ ก็ได้รับ
ความตรวจตราพยาบาลของแพทย์ชาวยุโรปที่มีความรู้ แต่ส่วนหัวเมืองมีจ�ำนวน
เป็นอันมากที่ไม่ได้ตรวจตราเหมือนเช่นนี้ ตามความจริงอันนี้ จึงเป็นเหตุให้
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า มี ค วามเห็ น ในข้ อ ที่ จ� ำ นวนยอดคนตายผิ ด กั น มากในตาม
หัวเมืองต่างๆ นั้น ถึงอย่างไรก็ดีย่อมเป็นความจริงอยู่ว่า เมื่อได้ตรวจตรา
คนป่ ว ยไข้ ใ ห้ ไ ด้ ท ราบแต่ เ นิ่ น ๆ แล้ ว ได้ ย ้ า ยไปไว้ ใ นต� ำ บลที่ มี อ ากาศดี ก ว่ า
๒๕๕

ฉะนี้แล้ว ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้จ�ำนวนอาการตายนั้นน้อยลง เมื่อประกอบด้วย


แพทย์ท่ีดีเอาใจใส่รักษา พร้อมทั้งการพยาบาลที่ดีด้วย จ�ำนวนตายจากไข้
กาฬโรคนั้นก็จะลดน้อยลงได้อีกมาก แต่ไข้กาฬโรคนี้เป็นไข้ที่ตายมากที่สุดเสมอ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
(ลงนาม) เอช. แคมป์เบล ไฮเอต
เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาล
กระทรวงนครบาลได้นำ� ความกราบบังคมทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
มกุฎราชกุมาร ผู้ส�ำเร็จราชการรักษาพระนคร๑ ทราบฝ่าละอองพระบาทแล้ว
กระทรวงนครบาล
แจ้ ง ความมา ณ วั น ที่ ๑๗ พฤษภาคม รั ต นโกสิ น ทรศก ๑๒๖
[พ.ศ. ๒๔๕๐]
(ลงพระนาม) นเรศรวรฤทธิ์
เสนาบดีกระทรวงนครบาล


ขณะนั้ น พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว เสด็ จ ประพาสยุ โรปครั้ ง ที่ ๒
ระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ – พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๐
๒๕๖

ที่ ๒๕๘/๗๓๒ ที่ว่าการอ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว๑


วันที่ ๒๓ สิงหาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ [พ.ศ. ๒๔๕๐]
ข้ า พระพุ ท ธเจ้ า หลวงชิ ลั ม ภิ ล ารั ก ษ์ นายอ� ำ เภอบางน�้ ำ เปรี้ ย ว ๒
ขอประทานรายงานกราบทูลหม่อมเจ้าธ�ำรงค์ศิริปลัดมณฑล ได้น�ำขึ้นกราบทูล
พระเดชพระคุ ณ พระเจ้ า น้ อ งยาเธอฯ ข้ า หลวงพิ เ ศษจั ด ราชการต� ำ แหน่ ง
ข้าหลวงเทศาภิบาลส�ำเร็จราชการมณฑลปาจิณ๓ ทราบฝ่าพระบาท
๑. ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รบั โทรศัพท์วา่ กระทรวงส่งหมอบุญมีออกมา
ตรวจกาฬโรค ให้ขา้ พระพุทธเจ้าไปพักและพาหมอไปตรวจแล้วรับรองตามสมควร
ถ้าหมอชี้แจงและแนะน�ำอย่างไรต่อไปอีก ถ้าไม่เป็นการเสียหาย ให้ท�ำตามแล้ว
รายงานบอกไปให้ทราบนั้น พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ
๒. ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปถึงท้องที่คลอง ๑๔ ซึ่งเป็นที่เกิดไข้กาฬโรค
ได้ความจากราษฎรว่า กาฬโรคที่เกิดขึ้นในระหว่างคลอง ๑๔ ฝั่งตะวันออก
และคลอง ๖ วา ท้องที่ต�ำบลบึงน�้ำรักษ์ อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว ซึ่งเป็นพรมแดน
ติดต่อกันกับเมืองมินทร์๔ เมืองธัญญ๕ เมืองนครนายก เพราะท้องที่ตรงนั้น
เป็นสี่แยกอยู่ คือแยก ๑ คลอง ๑๔ ฝั่งตะวันออก และคลอง ๖ วาฝั่งใต้
เป็นเขตต�ำบลบึงน�้ำรักษ์ ท้องที่อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว เมืองฉะเชิงเทรา แยกหนึ่ง
คลอง ๑๔ ฝั่งตะวันออก และคลอง ๖ วาฝั่งเหนือ เป็นเขตต�ำบลคลอง ๖ วา
อ�ำเภอองครักษ์ เมืองนครนายก แยกหนึ่งคลอง ๑๔ ฝั่งตะวันตก และคลอง ๖ วา


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ ๘.๔ค/๑๗ กาฬโรคมณฑลปราจีน (๑๔ – ๒๓ ก.ย.
๒๔๕๐), หน้า ๔ – ๑๐.

ปัจจุบันคือ อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

มณฑลปราจีนบุรี
๕ ปัจจุบันคือ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ

ปัจจุบันคือ อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
๒๕๗

ฝั ่ ง เหนื อ เป็ น เขตเมื อ งธั ญ ญะ แยกหนึ่ ง คลอง ๑๔ ฝั ่ ง ตะวั น ตก เป็ น เขต


เมืองมินทร์
๓. ไข้กาฬโรคที่เกิดขึ้นในท้องที่อ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยวได้เริ่มมีคนป่วย
แต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ศก ๑๒๖ แต่เมื่อเป็นขึ้นชั้นแรกราษฎรมักปิดความเสีย
บอกแต่ว่าเป็นไข้ปวดศีรษะตัวร้อน โดยที่กลัวตามข่าวที่ลือกันแต่ก่อนว่า ถ้าเป็น
โรคนี้ขึ้นแล้วต้องถูกกักตัวไว้โรงพยาบาล จะไปมาเยี่ยมเยียนหรือรักษาพยาบาล
กันไม่ได้ ในข้อนีข้ า้ พระพุทธเจ้าได้ชแี้ จงแก่ราษฎรให้เป็นทีเ่ ข้าใจในความประสงค์
ของรัฐบาลแล้ว อีกประการหนึ่งข้าพระพุทธเจ้าได้สังเกตเห็นราษฎรแทบทุกคน
ไม่อยากออกชื่อโรคนี้เลย ถ้าบ้านไหนเป็นกาฬโรคขึ้นก็ใช้ภาษาบอกกันแต่ว่าโรค
(โรคนั้น) ก็เป็นอันเข้าใจกันได้
๔. มู ล เหตุ ที่ จ ะเกิ ด ไข้ ก าฬโรคขึ้ น ในท้ อ งที่ อ� ำ เภอบางน�้ ำ เปรี้ ย วได้
ความว่า เดิมเป็นขึ้นในเขตเมืองมินทร์และเมืองธัญญก่อน แล้วจึงติดกันต่อๆ มา
การที่ โรคติ ด เข้ า มาในท้ อ งที่ นี้ ก็ โ ดยเหตุ ท่ี ร าษฎรซึ่ ง เป็ น ชาติ แขกอยู ่ ใ นเขต
เมืองมินทร์ เมืองธัญญ ตายลงด้วยไข้กาฬโรค ราษฎรที่เป็นพวกแขกอันเป็น
ญาติอยู่ในเขตจังหวัดอ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยวไปเยี่ยมเยียนและช่วยฝังศพ จึงน�ำเอา
เชื้ อ โรคนี้ ติ ด มา เพราะตามความนิ ย มของพวกเหล่ า นี้ มี อ ยู ่ ว ่ า ถ้ า พวกแขก
ทราบว่าบ้านใดซึ่งเป็นแขกชาติเดียวกันตายลง ต้องไปช่วยกันจัดการฝังศพเสมอ
ถ้าไม่ไปเป็นบาปตามศาสนาของเขา
๕. อาการโรคที่เป็นขึ้น เดิมให้ปวดศีรษะตัวร้อนเป็นไข้ก่อนในวันหนึ่ง
หรือสองวัน พอค่อยคลายปวดศีรษะและตัวร้อนขึ้นก็มีเม็ดคล้ายจะเป็นฝีหัวขาด
ขึน้ ตามหน้าอก บางคนก็บวมขึน้ ทีข่ ากรรไกร บางทีกบ็ วมทีไ่ ข่ดนั ถ้าเป็นบวมขึน้ ที่
ขากรรไกรและไข่ดันแล้ว เป็นฐานโตนูนขึ้นประมาณเท่าฟองไก่ผ่าซีก เมื่อแรกขึ้น
ตามฐานมีสเี ขียวเหมือนฟกช�ำ้ แล้วกลับแดง มีอาการให้ปวดแสบปวดร้อนในทีบ่ วม
หรือเป็นเม็ดเหมือนหนึง่ ถูกไฟ และร้อนภายในแต่ทอ้ งตลอดล�ำคอ กระหายแต่นำ�้
๒๕๘

และท�ำให้คนไข้เพ้อไม่ได้สติ ในที่สุดชักหาวและหอบขึ้นมาก็สิ้นลมหายใจในทันที
ซึ่งยังไม่ทันถึงที่บวมและเป็นเม็ดขึ้นนั้นตั้งหนอง เมื่อตายแล้วประมาณ ๒ ชั่วโมง
เท่านั้น หนังก�ำพร้าตามร่างกายลอกเป็นแผ่นๆ และทั้งมีโลหิตไหลออกจากทาง
ปากจมูกเป็นโลหิตสดๆ ก�ำหนดเวลาที่เป็นกาฬโรคนับแต่เวลาป่วยลง อย่างเร็ว
ตายใน ๑ วัน อย่างช้าตายใน ๖ วัน
๖. การรักษาพยาบาลของราษฎรในเวลานี้ ถ้าผู้ใดเป็นไข้กาฬโรคขึ้น
ไม่มีหมอใดรักษา เป็นแต่บ้านของใครมียาอย่างไรที่เป็นยาแก้ไข้ก็ให้กินไป
ตามบุญตามกรรม บางบ้านที่ไม่มียาก็ไม่ได้ขวนขวายหา และจะไปขอยาที่ตาม
บ้านใกล้เคียงก็ไม่มีใครให้ นอกจากที่เป็นญาติสนิทแท้ ตกลงเหมือนไม่รักษา
ถึงจะมีผู้พยาบาลก็เป็นแต่ให้ข้าวให้น�้ำและนั่งดูใจอยู่เท่านั้น การที่ไม่มีหมอ
รักษาคนในหมู่นั้นก็ดี หรือไปขอยาไม่ให้กันก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าได้ความว่าเมื่อ
เวลาก่อนที่ไข้กาฬโรคก�ำลังชุกอยู่ในเขตเมืองธัญญ ซึ่งเป็นพรมแดนใกล้เคียง
กับเขตอ�ำเภอบางน�้ำเปรี้ยว ได้เคยมีหมอแขกรักษาคนไข้โดยทางใช้ยา ๒ คน
และรักษาทางคุณไสย ๑ คน หมอทั้ง ๓ คนนี้อวดอ้างตามวิชาว่ารักษาหายได้
แต่ เ มื่ อ ไปรั ก ษาคนไข้ ก าฬโรคไม่ มี ใ ครหายเลย ในที่ สุ ด บุ ต รของหมอและ
หมอทั้ง ๓ คนก็เลยป่วยเป็นไข้กาฬโรคตายด้วย และใช่แต่เท่านั้น ผู้ที่มียา
ขนานหนึ่ง สองขนาน ให้ยาไปแก้กาฬโรค ในวันเดียวที่ให้ยาไปนั้น กาฬโรค
กลับมาเป็นแก่ผู้ที่ให้ยาถึงตายอีก จึงกระท�ำให้เป็นเหตุไม่ให้ยารักษาแก่กัน
ข้าพระพุทธเจ้า เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การที่ราษฎรเชื่ อถือเหตุดังกราบทูลมา
แล้ ว นี้ ไม่ เ ป็ น สาระประโยชน์ อั น ใดเลย ที ห มอกลั บ เป็ น กาฬโรคตายนั้ น
ก็เป็นโดยหมอเลินเล่อไม่ระวังรักษาตัวของตน เชื้อโรคนั้นติดมาจึงตาย
๗. ตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ศก ๑๒๖ ซึ่งเกิดไข้กาฬโรค มาจนถึง
วันที่ ๑๓ สิงหาคม ศก ๑๒๖ รวม ๑๘ วัน พลเมืองในท้องทีอ่ ำ� เภอบางน�ำ้ เปรีย้ วได้
ป่วยตายโดยไข้กาฬโรค คือ ชาย ๒๐ คน หญิง ๗ คน รวม ๒๗ คน แจ้งอยู่ในบัญชี
๒๕๙

ซึง่ ติดท้ายรายงานนีด้ ว้ ยแล้ว คนทีต่ ายโดยมากเป็นชาติแขกตานี และในบ้านหนึง่


มักตายตั้งแต่ ๒ – ๓ คน ซึ่งท�ำให้เห็นได้ว่า โรคนี้เป็นโรคที่มีเชื้อโรคติดกันได้แน่
๘. ในที่ซึ่งคนเป็นไข้กาฬโรคนี้มีหนูตายมาก โต๊ะหะยีหวาดได้ชี้แจง
แก่ข้าพระพุทธเจ้าว่า ได้ไปเยี่ยมหลานและญาติที่เป็นไข้กาฬโรค เห็นหนูวิ่งมา
หลายๆ ตัว และบางตัววิ่งผ่านไปมาตามริมคนป่วย โต๊ะหะยีหวาดได้สังเกต
เห็นหนูนั้นตัวโก่งๆ และร้องแล้ว และตายในทันที ที่โต๊ะหะยีหวาดเห็นดังนี้
เห็นหลายบ้าน และได้ความตามราษฎรที่ไปซ่อมข้าวในนาว่า เห็นหนูตายอยู่
กลางทุ่งนามาก ในที่เกิดไข้กาฬโรคนี้แต่ก่อนเป็นที่หนูชุม เพราะหนูได้เคยกัดกิน
ต้นข้าวในนาเป็นอาหารเสมอๆ เวลานี้รู้สึกว่าหนูน้อยลง เพราะข้าวในนาไม่ค่อย
เป็นอันตรายเพราะหนูกัดกินมากเหมือนแต่ก่อน
๙. ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนโรงอยู่ในคลอง ๑๔ ฝั่งตะวันออก และคลอง
๖ วา ระหว่างปากคลอง ๑๔ ถึงปากคลอง ๑๕ พากันตืน่ เต้นเกรงต่อโรคภัยชนิดนี้
ต่างคนหนีเข้าไปอยูห่ นองจอก แขวงเมืองมินทร์บรุ ี และเข้ากรุงเทพฯ เป็นอันมาก
ส่วนบ้านเรือนบางบ้านมีลาวลูกจ้างอยู่เฝ้าบ้านละคน ๒ คนบ้าง บางบ้านก็ไม่มี
คนเฝ้าเลย แต่บางบ้านอพยพไปทีเดียว ประมาณราษฎรในหมู่ซึ่งเกิดไข้กาฬโรค
ที่อพยพและหนีไข้กาฬโรคไปประมาณ ๓ ในส่วน ๔ ส่วนสัตว์พาหนะของราษฎร
ในหมู่นั้นได้ไล่ไปรวมเลี้ยงอยู่ต�ำบลหนองจอกแขวงเมืองมินทร์ทั้งหมด ราษฎร
ที่อพยพรื้อบ้านไปทีเดียวนั้น โดยมากเป็นที่ไม่มีหลักฐาน อาศัยปลูกโรงเล็กๆ
ขายสินค้าแลกข้าวเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ตั้งท�ำนา แต่ราษฎรที่อพยพไปชั่วคราวนั้น
เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า เมื่อไข้กาฬโรคไม่มีชุกชุมแล้วก็คงกลับมาอีก เพราะบ้านเรือน
ยังอยู่ และได้ลงทุนลงแรงท�ำนาไว้ ทั้งต้นข้าวที่ปลูกไว้ในปีนี้ก็ขึ้นงามด้วย
๑๐. ในการที่ข้าพระพุทธเจ้าออกไปตรวจและจัดเรื่องไข้กาฬโรคนี้
ได้ตั้งใจรอคอยหมอบุญมีอยู่ ๕ วัน เพื่อขอรับค�ำแนะน�ำจัดการป้องกันให้
๒๖๐

ไข้ ก าฬโรคสงบ เผอิ ญ หาได้ พ บหมอบุ ญ มี ไ ม่ โดยไม่ เ ห็ น หมอบุ ญ มี อ อกมา


ข้าพระพุทธเจ้าจึงน�ำหนังสือวิธปี อ้ งกันและรักษาพยาบาลไข้กาฬโรค ซึง่ กระทรวง
ธรรมการพิมพ์จ�ำหน่าย เล่มละ ๒ อัฐนั้น อ่านให้ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรใน
หมู่นั้นฟัง และชี้แจงให้จัดการป้องกันตามค�ำอธิบายในสิ่งที่ควรท�ำได้ และได้
แจกหนั ง สื อวิ ธี ป ้ อ งกันและรัก ษาพยาบาลไข้ก าฬโรคให้ ไว้ ด ้ วยเป็ นบางแห่ ง
และบ้านใดที่มีขยะมูลฝอยมาก ได้บังคับให้ช�ำระเผาไฟ และล้างบ้านเรือนด้วย
๑๑. เมื่อข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ทราบเกล้าฯ ว่าวิธีอย่างใดนอกจาก
ค�ำอธิบายในหนังสือวิธีป้องกันและรักษาพยาบาลไข้กาฬโรคจะเป็นทางที่ดี
ที่จะจัดการป้องกันกาฬโรคนี้ให้สงบได้ดังนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ประกาศชี้แจง
และห้ามราษฎรไว้ดังนี้ คือ
๑. ถ้าบ้านไหนมีคนป่วยเป็นไข้กาฬโรคขึ้น ห้ามไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใด
ไปมาเยี่ยมเยียนในบ้านนั้น ๑๕ วัน
๒. ห้ามไม่ให้ราษฎรคนใดน�ำเอาสิง่ ของซึง่ เป็นทีร่ อง และส�ำหรับ
รักษาพยาบาลคนที่ป่วยเป็นไข้กาฬโรค หรือตายด้วยไข้กาฬโรค มีเสื้อ มุ้ง ผ้า
เป็นต้น ไปทิ้งขว้างในล�ำน�้ำล�ำคลองเป็นอันขาด
๓. ห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคน�้ำในล�ำคลอง หรือผักสดซึ่งเกิดแต่
ล�ำคลองนั้น
และได้ ชี้ แจงต่ อ ไปว่ า การบริ โ ภคไม่ ค วรบริ โ ภคน�้ ำ ดิ บ หรื อ ผั ก ดิ บ
ควรต้มให้สุกเสียก่อน
๑๒. ข้าพระพุทธเจ้าได้มีค�ำสั่งก�ำนันผู้ใหญ่บ้านไว้ว่า ถ้าผู้ใหญ่บ้าน
ได้ทราบว่าบ้านใด ซึ่งลูกบ้านป่วยเป็นไข้กาฬโรค ให้คอยก�ำกับตรวจตราห้าม
ไม่ให้ผู้ใดไปมาเยี่ยมเยียน และห้ามไม่ให้คนในบ้านที่มีคนป่วยเป็นไข้กาฬโรค
๒๖๑

เข้าออกไปมานอกบ้าน ๑๕ วัน เมื่อมีผู้ใดจะออกไปนอกบ้านก็ดี หรือจะเข้าไป


เยี่ยมเยียนก็ดี ให้ผู้ใหญ่บ้านห้ามปรามไว้ ถ้าขัดขืนไม่ฟัง ให้เอาตัวส่งก�ำนัน
ก�ำนันส่งอ�ำเภอ อีกประการหนึ่ง ให้ผู้ใหญ่บ้านคอยเป็นธุระดูแลว่า ถ้าคนใน
บ้านซึง่ มีคนป่วยเป็นไข้กาฬโรคจะต้องการซือ้ สิง่ ใด มีอาหารเป็นต้น ให้ผใู้ หญ่บา้ น
จัดให้คนไปซื้อหามาให้ เพื่อมิให้เชื้อโรคนั้นติดไปผู้อื่น และได้สั่งต่อไปว่า ถ้าผู้ใด
ป่วยเป็นกาฬโรคตาย ให้รายงานบอกชื่อในวันป่วยวันตายไปโดยเร็ว เพื่อได้บอก
มณฑลตามหน้าที่ราชการ
๑๓. ในเวลาที่ ข ้ า พระพุ ท ธเจ้ า ไปตรวจและพั ก อยู ่ ใ นหมู ่ ที่ เ กิ ด ไข้
กาฬโรค มี ค นหลายคนมาหาและแจ้ ง ว่ า เขาปวดศี ร ษะเหมื อ นจะเป็ น ไข้
ข้าพระพุทธเจ้ามียาสะเติน ๒ หีบ และดีเกลือฝรั่งติดไปด้วย จึงให้ยาสะเตินกับ
ดีเกลือฝรั่ง ชี้แจงวิธีใช้ยาให้ไป รุ่งขึ้นคนที่ป่วยปวดศีรษะนั้นกลับมาบอกว่าหาย
ในภายหลังมีราษฎรมาขอยาอีกหลายคน ข้าพระพุทธเจ้าได้แบ่งให้จนหมดยา
๑๔. ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปราชการครั้งนี้ ได้ไปแต่วันที่ ๘ สิงหาคม
กลับถึงที่ว่าการอ�ำเภอวันที่ ๑๓ สิงหาคม ศก ๑๒๖ รวม ๖ วัน ได้จ�ำหน่าย
ค่าพาหนะไปคือ จ้างนายเดช นายยา แจวเรือวันหนึ่งคนละ ๑ บาท รวม ๖ วัน
๑๒ บาท ค่าเช่าเรือเก๋ง ๒ แจว ๖ วัน ๖ บาท ค่าเบี้ยเลี้ยงในระหว่างทางที่ได้
จ่ายไปจริง คิดถัวกันวันละ ๑ บาท ๓๒ อัฐ ๕ วัน ๗ บาท ๓๒ อัฐ รวมได้จ่าย
ค่าพาหนะเดินทางไปในราชการครั้งนี้ทั้งสิ้น ๒๕ บาท ๓๒ อัฐ ข้าพระพุทธเจ้า
ขอประทานอนุ ญ าตเบิ ก เงิ น รายนี้ ด ้ ว ย การที่ ผิ ด ชอบเหลื อ เกิ น ประการใด
ขอพระบารมีเป็นที่พึ่ง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า หลวงชลัมพิลารักษ์
ประทับตราประจ�ำต�ำแหน่งมาเป็นส�ำคัญ
๒๖๒

รายงานประจ�ำปี ครั้งที่ ๑๑
ของแพทย์สุขาภิบาล ประจ�ำปี ๑๒๖ [พ.ศ. ๒๔๕๐]
แผนกป้องกันโรคร้าย๑

ในระหว่างปีทลี่ ว่ งแล้ว ได้ตรวจเรือทุกล�ำทีม่ าจากเมืองฮ่องกง หรือจาก


เมืองหนึ่งเมืองใดในประเทศจีน ที่เกาะพระ และได้ตรวจเรือที่มาจากเมืองไซ่ง่อน
ตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ถึงวันที่ ๑๐ สิงหาคม เพราะในเมืองไซ่ง่อนและ
ในต�ำบลอื่นในประเทศอินดูไชนา๒ ได้เกิดเป็นกาฬโรคขึ้นในระหว่างเวลานั้น
ตลอดทั้งปีได้ตรวจเรือที่เกาะพระ รวม ๑๙๔ ล�ำ คนโดยสาร ๗๘,๗๔๒ คน
ดังแจ้งอยู่ในบัญชีหมายเลขที่ ๑ ข้างท้ายรายงานนี้
ในปี ๑๒๖ ได้ตรวจเรือ ๒๓๑ ล�ำ คนโดยสาร ๖๐,๖๘๔ คน จ�ำนวนเรือ
น้อยกว่าปี ๑๒๕ อยู่ ๓๗ ล�ำ จ�ำนวนคนโดยสารมากกว่า ๑๘,๐๕๘ คน
ในจ�ำนวนคนโดยสารนี้ ได้เอาขึ้นบกกักไว้ที่ด่านตรวจโรค ๗๓ คน
เหตุที่ได้ตรวจกักนั้นก็เพราะเป็นไข้ มีรายละเอียดแจ้งอยู่ในบัญชีหมายเลข ๒
ที่เกาะพระไม่ได้ตรวจพบกาฬโรคเลย แต่ได้ตรวจพบคนตายรายหนึ่งโดยเป็น
กาฬโรค ในเรือกลไฟชื่อ ฟรียา เมื่อเรือล�ำนั้นได้มาถึงกรุงเทพฯ จากเมืองสิงคโปร์
คนที่ตายนั้นเป็นพ่อค้ามาแต่เมืองบอมเบ บางทีกาฬโรคจะติดมาแต่เมืองบอมเบ
เพราะในเวลานั้นที่เมืองสิงคโปร์ไม่มีกาฬโรค เป็นเหตุน่าประหลาดเพราะว่าได้
มีหมอตรวจคนนี้ที่เมืองกอลอมโบ๓ เมืองปีนัง และเมืองสิงคโปร์ ก็ไม่เห็นว่ามี
โรคอะไร และตามบรรดาเพื่อนฝูงก็ไม่ได้ทราบเลยว่าคนนั้นได้เคยบ่นว่าไม่สบาย

คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, น. ร.๕. น. ๕ – ๗๙ Local Sanitary Department,
Health Officer’s Report, Year 126, คัดเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวกับกาฬโรค.

อินโดจีน คือ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม

เมืองโคลัมโบ (Colombo) ประเทศศรีลังกา
๒๖๓

จนกว่าใกล้จะถึงกรุงเทพฯ ได้รบั รายงานจากเรือทีอ่ ยูใ่ นท่าว่ามีผเู้ ป็นอหิวาตกโรค


หลายราย
โดยความเอื้อเฟื้อของพนักงานเจ้าท่า ข้าพเจ้าได้ท�ำค�ำสั่งแจกพนักงาน
ตรวจเรือ ชี้แจงการในหน้าที่ซึ่งเกี่ยวกับการตรวจโรคความเจ็บป่วยต่างๆ และ
ความตาย ซึ่งจะมีหรือเกิดเป็นขึ้นตามเรือซึ่งเข้ามาในท่า หรือเรือที่อยู่ในท่า
แล้วเจ้าพนักงานกรมศุลกากรก็ได้ช่วยเอื้อเฟื้อมากในการนี้
ความสุขส�ำราญของเจ้าพนักงานที่ด่านตรวจป้องกันโรคร้ายก็เจริญ
ดี ม าก โรคไข้ ๑ ก็ ส งบลงมาก เพราะได้ จั ด การตั ด ถางพงและถมที่ ขั ง น�้ ำ ซึ่ ง
ตั ว ยุ ง อาศั ย อยู ่ นั้ น ได้ อี ก มาก เพื่ อ จะให้ โรคไข้ ส งบสู ญ ไปก็ ยั ง ต้ อ งตั ด ถางพง
และปราบถมพื้นดินอีกมาก เช่นอย่างได้ท�ำแล้วที่ด่านเก่าคือ เกาะไผ่
ออฟฟิศโทรเลขที่ต�ำบลสะตะหีบ๒ นั้น ยังคงเป็นประโยชน์มากแก่การ
ของด่านตรวจโรค
การรั ง วั ด ท� ำ แผนที่ ท ะเลในอ่ า วด่ า นตรวจโรคและที่ ใ กล้ เ คี ย งนั้ น
กรมทหารเรือได้ท�ำแล้วเสร็จ ยังแต่จะรอคอยพิมพ์แผนที่อยู่เท่านั้น
ประภาคารไฟสีแดง ซึ่งได้สร้างขึ้นที่ปากอ่าวทางเข้าด่าน ก็ส�ำเร็จ
เรียบร้อย ใช้ติดไฟได้แล้ว คงจะมีประโยชน์และสะดวกมากแก่พวกเดินเรือ
ตลอดทัง้ ปีไม่ได้ฟอ้ งร้องผูใ้ ด เรือ่ งฝ่าฝืนข้อบังคับในการกักตรวจป้องกัน
โรคร้าย
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...


หมายถึง โรคไข้จับสั่น หรือมาลาเรีย

สัตหีบ
๒๖๔

แผนกโรคร้ายต่างๆ
กาฬโรค
ตามบัญชีหมายเลข ๑๐ ข้างท้ายรายงานนี้จะเห็นได้ว่าในปีนี้มีคน
เป็นกาฬโรคแต่ ๓๙ ราย ในปีก่อนมีถึง ๘๘ ราย ตามจ�ำนวนที่เป็นนี้ได้ทราบ
เมื่อตายแล้วโดยมาก ได้รับรักษาในโรงพยาบาลแต่ ๑๗ ราย เมื่อได้รับมา
พยาบาลนั้น โดยมากมีอาการหนักอยู่แล้ว อยู่ไม่เกินกว่า ๒๔ หรือ ๔๘ ชั่วโมง
ก็ตาย มีห้ารายที่อยู่ได้เกินกว่า ๒ วัน ในจ�ำนวนนี้หายสี่ ตายหนึ่ง รวมจ�ำนวน
ที่ได้รักษาในโรงพยาบาล ตายเทียบส่วนร้อย ๔๗.๓% กาฬโรคนั้นโดยมาก
เกิ ด เป็ น ขึ้ น ในฤดู แ ล้ ง เป็ น ต้ น ในฤดู ห นาวในเดื อ นธั น วาคมและมกราคม
ในฤดูฝนเป็นกันแต่น้อยรายเช่นเดียวกับปีก่อน
ต�ำบลซึ่งเกิดเป็นกาฬโรคมากนั้น เห็นได้ตามบัญชีหมายเลขที่ ๑๑
ข้างท้ายรายงานนี้ คือ คลองสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เป็นมากกว่าต�ำบลอื่น
รวมเป็นถึง ๑๑ ราย ท้องที่ในต�ำบลนี้โสโครกมาก ข้าพเจ้าก�ำลังเรียบเรียง
รายงานกล่ า วถึ ง ต� ำ บลนี้ เ ป็ น ส่ ว นพิ เ ศษ ตามพระบรมราชโองการรั บ สั่ ง ว่ า
ที่ต�ำบลนี้เป็นรังของกาฬโรคได้แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
ถัดต�ำบลนี้มาก็ต�ำบลวัดชะนะสงคราม มี ๖ ราย แต่ที่ได้เป็นในต�ำบลนี้
ก็เป็นในคราวเดียวกัน รายที่แรกเป็นขึ้นนั้น มีผู้ปิดบังไม่ได้แจ้งความ จึงได้เป็น
ติดต่อกันขึ้นอีก เจ้าพนักงานจึงได้ทราบเหตุ ที่บ้านหม่อมจัน ที่ต�ำบลท่าช้าง
วั ง หลวงก็ เ ป็ น อย่ า งเดี ย วกั น ถึ ง แม้ ว ่ า มี ป ระกาศบั ง คั บ ให้ แ จ้ ง ความต่ อ
เจ้าพนักงานเมื่อมีผู้ทราบหรือสงสัยว่าเป็นกาฬโรคก็ดี ยังมีผู้ปิดบังอยู่เสมอ
๒๖๕

เมื่อได้จัดการฟ้องร้องผู้ที่ได้ปิดบังบ้างแล้ว ดูเหมือนจะค่อยยังชั่วขึ้น
ถึงดังนั้นก็ดี ที่ได้มาแจ้งความนั้น ก็ได้มาแจ้งความมีอาการมากแล้ว หรือเมื่อ
ตายแล้ว เพราะเหตุนี้ตามจ�ำนวนที่ทราบนั้นก็ตายโดยมาก
...(เนื้อความเรื่องอื่น)...
(ลงนาม) เอ็ช. แกมเบล ไฮเอต
แพทย์สุขาภิบาล
๒๖๖

พระยาจ่าแสนยบดี (อวบ เปาโรหิตย์)


สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา
๒๖๗

ที่ ๒๓๓/๕๑๗๒ ศาลารัฐบาลมณฑลนครราชสิมา๑


แผนกมหาดไทย วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘ [พ.ศ. ๒๔๕๒]
ข้าหลวงเทศาภิบาล ส�ำเร็จราชการมณฑลนครราชสิมา ขอพระราชทาน
กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงด�ำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวง
มหาดไทย ทราบฝ่าพระบาท
ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้รับตราพระราชสีห์น้อยที่ ๓๗/๒๐๓๗ ลงวันที่
๒๙ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๘ ประทานพระด�ำริในเรื่องป้องกันและรักษาไข้กาฬโรค
อันเกิดขึ้นที่เมืองนครราชสิมาว่า มีทางที่จะจัดได้ ๒ อย่าง คือ สร้างโรงพยาบาล
ให้คนเจ็บไปอยู่ แต่เกรงราษฎรจะหวาดเสียวแตกตื่น อีกอย่างหนึ่งนั้น ในหมู่ ๑
ให้ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรพร้อมกันเลือกเรือนหลังใดหลังหนึ่ง จัดไว้เป็นที่ส�ำหรับ
รักษาคนเจ็บ ส่วนเงินค่าใช้จา่ ยให้ลองคิดเรีย่ ไรดู รัฐบาลจะให้คา่ หมอ และถ้าขาด
เหลือจะอุดหนุนทุกอย่างนั้น ได้ทราบเกล้าฯ แล้ว พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าฯ
หาที่สุดมิได้
เรื่องนี้ข้าพระพุทธเจ้าได้ประชุมกรรมการสุขาภิบาล พร้อมด้วยก�ำนัน
ผูใ้ หญ่บา้ นต�ำบลไชยณรงค์ (ในเมือง) และต�ำบลโพธิก์ ลาง ได้ชแี้ จงเหตุทจี่ ะให้เกิด
ไข้บวม รวมใจความโดยย่อก็เป็นด้วยความสกปรกโสโครก เมือ่ เกิดขึน้ แล้วเป็นโรค
ร้ายแรงและติดกันได้ จริงอยู่โรคนี้ไม่ใช่ติดคนทั่วไป แต่ถ้าผู้ใดร่างกายไม่ปรกติ
อยู่ แ ล้ ว เช่ น ธาตุเ สีย โลหิตเสีย หรือมีบาดแผล เป็ นต้ น โรคอาจติ ดได้ ดี
ทั้งเสียงที่ประชุมออกจะเลื่อมใสว่าน่าจะเป็นเช่นนั้นจริ ง ไม่มีเสียงคัดค้าน
จึงได้ปรึกษาถึงการที่จะจัดป้องกันและพิทักษ์รักษาเมื่อเวลามีโรคเกิดขึ้นต่อไป


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๓๓ ไข้บวม เมืองนครราชสีมา (๑ พ.ค. –
๑๐ ก.ค. ๑๒๘), หน้า ๒๔ – ๒๙.
๒๖๘

ทีป่ ระชุมได้ปรึกษามีความเห็นยุตริ ว่ มกันว่า เวลามีคนป่วยไข้เกิดขึน้ แล้ว


ชาวบ้านปกปิดไม่ใคร่บอกให้เจ้าพนักงานทราบนั้น ด้วยมีความกลัวเกรงในเหตุ
๒ อย่างนี้ คือ
๑. ไม่อยากไปรักษาตัวที่อื่น เห็นเป็นความล�ำบาก อยากอยู่แต่กับ
บ้านเรือน เวลาไข้ชกุ คนทีไ่ ม่เจ็บพากันหนี ทิง้ คนเจ็บไว้กบั คนพยาบาล ๑ – ๒ คน
๒. กลัวเจ้าพนักงานไปปิดบ้าน ไปมาไม่ได้ตามชอบใจ
การที่ จ ะจั ด ป้ อ งกั น ไข้ บ วมนี้ จ ะต้ อ งผ่ อ นผั น เหตุ ที่ ร าษฎรรั ง เกี ย จ
๒ ประการนั้นบ้างตามสมควร เพราะถ้าจัดเคร่งครัดนักก็จะพากันแตกตื่นหนี
ดังเช่นเมื่อศก ๑๒๕ [พ.ศ. ๒๔๔๙] สินค้าแทบจะหยุดทั้งเมือง การที่จะ
ผ่อนผันนั้น ที่ประชุมเห็นว่า
๑. ควรจัดให้มีโรงพยาบาลแห่งเดียวเป็นพอ เพราะเหตุว่าท้องที่
ที่ ไข้ บ วมเกิ ด นั้ น อยู ่ ใ นหมู ่ ต ลาดในเมื อ งและนอกเมื อ ง บ้ า นเรื อ นยั ด เยี ย ด
ใกล้ ชิ ด กั น ถ้ า จะจั ด ให้ มี ที่ ส� ำ หรั บ พยาบาลทุ ก หมู ่ บ ้ า นไปก็ ค งใกล้ เ คี ย งกั น
ทั้งจะต้องเช่าตึกโรงเขาหลายแห่งหลายต�ำบล เปลืองเงิน ข้อรังเกียจของราษฎร
อยู ่ ที่ ไ ม่ อ ยากไปจากบ้ า น ก็ ถ ้ า จ� ำ เป็ น จะต้ อ งไปแล้ ว ถึ ง ใกล้ นิ ด ไกลหน่ อ ย
ก็เหมือนกัน จึงเห็นว่าสู้ให้มีแห่งเดียวไม่ได้
๒. เมื่อได้จัดที่ส�ำหรับพยาบาลขึ้นแล้ว ถ้าจะปล่อยตามชอบใจแล้วแต่
ใครจะสมัครหรือไม่สมัครไปอยู่ ก็คงไม่มใี ครไป จึงเห็นว่าควรจะจัดเกีย่ วเนือ่ งด้วย
การปิดบ้าน ออกประกาศให้ราษฎรทราบทั่วกันดังนี้
(ก) ถ้าบ้านใดมีไข้บวมหรือกาฬโรคเกิดขึ้นก็ดี หรือพอแรกจับไข้ มีปวด
หัวตัวร้อน เป็นต้น ยังไม่รวู้ า่ จะเป็นไข้ชนิดไรก็ดี ให้เจ้าของบ้านน�ำความมาแจ้งต่อ
แพทย์รัฐบาลอันประจ�ำอยู่ที่โรงพยาบาล เพื่อจะได้ไปตรวจดู และจะได้แนะน�ำ
ตามความรู้เห็น และจะได้จัดช�ำระล้างสิ่งโสโครกให้ ส่วนการรักษานั้นไม่บังคับ
๒๖๙

จะหาหมอคนใดทีต่ นนับถือมารักษาก็ได้ แต่ถา้ ไม่มใี ครรักษา แพทย์รฐั บาลจะเป็น


ผู้รักษาให้ ถ้าบ้านใดเกิดเจ็บตายกันขึ้นโดยที่เจ้าของบ้านมิได้น�ำความมาแจ้งต่อ
แพทย์รฐั บาล ถ้าปรากฏว่าผูท้ ตี่ ายเป็นไข้บวมหรือกาฬโรคแล้ว เจ้าพนักงานจะไป
ช�ำระล้างรักษาความสะอาด และจะต้องปิดบ้านนัน้ ตามทีเ่ ห็นสมควร ไม่นอ้ ยกว่า
๑๐ วัน ถ้าได้น�ำความมาแจ้งต่อแพทย์รัฐบาลแล้วไม่ปิด เพราะแพทย์รัฐบาลได้รู้
เหตุแต่เมื่อแรกเป็น และได้ไปตรวจช�ำระล้างรักษาความสะอาดแล้ว
(ข) โรคไข้บวมนั้นเป็นโรคมีพิษจัด ติดกันได้ เพื่อเหตุที่จะไม่ให้โรค
ติดต่อกันเป็นอันตรายแก่ชวี ติ มนุษย์ไพร่ฟา้ ข้าแผ่นดิน รัฐบาลจึงได้จดั ทีไ่ ว้สำ� หรับ
รักษาพยาบาล เพราะฉะนั้นเมื่อมีโรคไข้บวมเกิดขึ้นที่ใด รัฐบาลจะรับคนเจ็บไป
พิทักษ์รักษายังที่ที่ได้จัดไว้นั้น เมื่อโรคหายหรือตายก็จะได้ไม่ติดผู้อื่น ถ้าผู้เจ็บ
เป็นเจ้าของบ้านเอง หรือเป็นบิดา มารดา บุตร ภรรยา สายโลหิตอันใกล้ชิดกัน
เจ้าของบ้านรับจะพิทักษ์รักษาโดยเต็มสติก�ำลัง แล้วจะขอให้อยู่รักษาที่บ้านตน
ไม่ไปโรงพยาบาล ก็จะผ่อนผันให้บ้างตามสมควร ถ้าผู้เจ็บเป็นลูกจ้างหรือ
คนอาศั ย หรื อ ญาติห ่างๆ ของเจ้าของบ้านแล้ว จ� ำ เป็ นต้ อ งให้ ไ ปรั ก ษาตั ว
ที่โรงพยาบาล ส่วนหมอที่จะรักษานั้น แล้วแต่เจ้าไข้ หรือผู้ที่เจ็บจะสมัคร
ไม่ห้ามปราม แต่ถ้าผู้เจ็บไม่มีหมออื่นจะรักษา แพทย์รัฐบาลจะรักษาให้
ข้อความในประกาศนี้วางไว้แต่พอเป็นบรรทัดทางที่จะได้วินิจฉัยและ
จัดการให้เป็นไป ถ้าหากว่ามีเหตุอันจ�ำเป็นและสมควรที่ต้องผ่อนผันเพิ่มขึ้นจาก
ข้อความในประกาศนัน้ บ้างประการใด ก็จะต้องผ่อนผันให้ สุดแต่ให้เป็นประโยชน์
แก่การป้องกันไข้เจ็บ และไม่ให้ราษฎรเดือดร้อนด้วยทั้ง ๒ ทาง
๓. ที่ประชุมได้ตกลงต่อไปอีกข้อ ๑ ว่า ราษฎรในท้องที่ผู้อนาถาไร้ญาติ
เจ็บไข้ลงด้วยโรคใดๆ ก็ตาม อีกอย่างหนึง่ ราษฎรมณฑลอิสาณ ซึง่ ลงมาหาการจ้าง
ทางมณฑลกรุงเทพฯ เกิดป่วยไข้ขึ้นด้วยโรคใดๆ ในระหว่างเดินทางก็ตาม แต่เดิม
มานัน้ คนทัง้ ๒ จ�ำพวกนีไ้ ม่ใคร่มผี ดู้ แู ลและรักษาพยาบาล ต้องตายเสียเพราะไม่มี
๒๗๐

หยูกยารับประทานมีอยูเ่ นืองๆ เมือ่ ได้จดั การเปิดเป็นโรงพยาบาลขึน้ แล้วควรเก็บ


คนทั้ง ๒ จ�ำพวกนี้มารักษาด้วย แต่กันให้อยู่คนละตอนกับผู้ที่เป็นโรคติดกันได้
มีไข้บวมเป็นต้น ให้ห่าง อย่าให้ไปมาถึงกัน เมื่อคนเหล่านี้ตายลงที่โรงพยาบาล
ก็ดี หรือที่บ้านเรือนก็ดี เมื่อปรากฏว่าเป็นผู้ไร้ญาติแล้วต้องเก็บศพมาฝังหรือเผา
เสียยังป่าช้าหลวงดังนี้
ตามข้อความที่ตกลงนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าฯ ว่าเป็นรูป
เป็นร่าง น่าจะจัดลองดูจะได้ประโยชน์เพียงไร แต่เชื่อด้วยเกล้าฯ ว่าในข้อที่จะ
เก็บคนเดินทางและคนไร้ญาติอนาถาที่ป่วยไข้ มารักษาพยาบาล และเก็บศพ
เผาฝังไม่ให้เป็นการทุเรศอุจาดดังที่เป็นอยู่นั้น มีเสียงพอใจกันมาก น่าจะส�ำเร็จ
ได้ และพวกที่มาประชุมนั้นเต็มอกเต็มใจรับไปเป็นหัวหน้าเรี่ยไร การประชุม
เป็นอันยุติเพียงเท่านี้
การเรี่ยไรนั้น ภายหลังแต่วันประชุมมาจนบัดนี้มีผู้ลงชื่อที่จะเก็บเงินได้
๒,๔๕๘ บาท ๒๕ สตางค์ แต่ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ได้สั่งให้เก็บ เพราะเหตุที่จะ
กราบทูลขอพระอนุญาตเสียก่อน เมื่อทรงเห็นชอบแล้ว จึงจะได้เก็บเงินลงมือ
จัดการต่อไป แต่ในการเรีย่ ไรนีเ้ ห็นพร้อมกันว่าควรเปิดเรีย่ ไรเสมอไป ผูใ้ ดมีศรัทธา
เห็นประโยชน์จะออกเงินเข้าเรี่ยไรมากน้อยเท่าใด เฉพาะคราวหรือทุกปีก็ตามแต่
อัธยาศัย ข้าพระพุทธเจ้าได้ถวายงบประมาณรายจ่ายเฉพาะเงินที่มีผู้ลงชื่อแล้ว
จะเก็บได้ผลนั้น มาพร้อมด้วยใบบอกนี้
ส่วนตัวโรงพยาบาลนั้น เมื่อศก ๑๒๖ [ พ.ศ. ๒๔๕๐] ได้รับอนุญาตเงิน
การจรรายป้องกันกาฬโรค ปลูกสร้างไว้เป็นเครือ่ งถาวรไม้จริง มุงกระเบือ้ งสิเมนต์๑
เสร็จแล้ว ๔ หลัง คือ โรงส�ำหรับพยาบาล ๑ โรงเก็บยา ๑ ที่อยู่หมอ ๑ ครัว ๑


ซีเมนต์
๒๗๑

แต่ทยี่ งั ไม่ได้เปิดนัน้ ก็เพราะไม่มเี งินส�ำหรับจ่ายประจ�ำ เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าควรเปิด


โรงพยาบาลนี้ใช้ส�ำหรับรักษาโรคไข้บวม และโรคอื่นๆ ด้วย แต่กันเสียเป็นคนละ
ตอนตามที่ตกลงในที่ประชุม เพราะที่ตอนข้างหลังโรงพยาบาลนั้นยังมีว่างอยู่
พอแยกได้ และแต่เดิมเขาก็เคยปลูกโรงในที่ตอนหลังนี้ส�ำหรับใช้เป็นที่รักษา
ไข้ บ วมมาแต่ ก ่ อ นแล้ ว แต่ ถ ้ า จะให้ ดี ที่ สุ ด แล้ ว ควรเป็ น คนละแห่ ง ที เ ดี ย ว
เพราะโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้วนั้นใกล้ตลาด ควรใช้เป็นร้านขายยาและรับคนไข้
รักษาแต่ผู้ที่เป็นโรคอื่นๆ ซึ่งไม่ติดกัน ส่วนโรคที่ติดกันได้ เช่น ไข้บวม หรือ
อหิวาตกโรคนั้น ควรสร้างที่อื่นไม่ให้อยู่ในหมู่ประชุมชน จึงจะพ้นความรังเกียจ
ทั้งปวง และที่ๆ ควรจะสร้างก็มีอยู่แล้วที่ถนนซอยที่ ๑ ห่างจากโรงพยาบาลเดิม
ราว ๑๐ เส้น พอก�ำลังแพทย์จะไปมาตรวจตราได้สะดวก แต่การที่จะปลูกสร้างนี้
รัฐบาลจะต้องให้เงินสัก ๕๐๐ บาท และควรท�ำเป็นโรงหลังเล็กๆ ใช้เครื่องไม้จริง
หลังคามุงจาก เพือ่ เปิดล้างท�ำได้งา่ ย การจะควรประการใดขอพระบารมีเป็นทีพ่ งึ่
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ
ข้าพระพุทธเจ้า (เซ็นนาม) พระยาจ่าแสนบดี๑
ประทับตราต�ำแหน่งมาเป็นส�ำคัญ


พระยาจ่าแสนยบดี (อวบ เปาโรหิตย์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา ต่อมาในสมัย
รัชกาลที่ ๗ เลื่อนเป็นเจ้าพระยามุขมนตรี
๒๗๒

ที่ ๘๗๕/๘๗๔๔ ศาลาว่าการมหาดไทย๑


วันที่ ๖ เดือนสิงหาคม ร.ศ. ๑๒๘ [พ.ศ. ๒๔๕๒]
กราบทูล พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ราชเลขานุการ
ทรงทราบ
ด้วยเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๘ เกล้าฯ ได้รับใบบอกพระยา
จ่าแสนบดี ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสิมาที่ ๘๔/๒๑๘๔ ลงวันที่ ๑๗
พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๘ ว่า โรคไข้บวมหรือกาฬโรคที่เกิดขึ้นในเมืองนครราชสิมานี้
สังเกตดูออกจะเป็นไข้ประจ�ำปีมีอยู่ทุกฤดูเสียแล้ว การป้องกันซึ่งจะจัดเป็นแต่
ชั่วคราวดังที่เคยมาก็ไม่มีที่สิ้นสุด ทั้งเป็นความล�ำบากหลายอย่าง และแพทย์
ประจ�ำเมืองก็มอี ยูค่ นเดียว การทีท่ ำ� ก็ได้แต่เพียงรักษานักโทษและข้าราชการเป็นพืน้
เวลามีไข้แปลกประหลาด ต้องให้แพทย์ประจ�ำเมืองไปตรวจเสีย ทางเมืองก็ขาด
ไม่มีใครจะดูแลความป่วยไข้ของนักโทษ เพราะเหตุที่เมืองนครราชสิมาเป็นเมือง
กันดาร และฤดูผิดเปลี่ยนกันมากๆ มีไข้ที่อาการร้ายแรงรวดเร็วเกิดขึ้นบ่อยๆ
อีกประการหนึ่งเวลาถึงฤดูที่จะปลูกไข้ทรพิษ แพทย์ที่จะออกไปปลูกก็ได้แต่
ใกล้ๆ เมือง เสียประโยชน์ในการนี้โดยมาก จึงเห็นว่าควรจะจัดตั้งโรงพยาบาล
ให้ เ ป็ น การประจ� ำ ส� ำ หรั บ บ้ า นเมื อ งเสี ย ที เ ดี ย ว ถ้ า หากว่ า มี โรคภั ย เกิ ด ขึ้ น
เช่ น กาฬโรค ก็ จ ะได้ จั ด การป้ อ งกั น ได้ ทั น ท่ ว งที และให้ แ พทย์ ที่ ป ระจ� ำ
โรงพยาบาลนั้นดูแลความป่วยไข้ในบริเวณตัวเมืองด้วย ส่วนแพทย์ประจ�ำเมือง
ก็จะได้ออกเดินทางตรวจการพยาบาลตามท้องที่ต่างๆ ดังนี้


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๓๓ ไข้บวม เมืองนครราชสีมา (๑ พ.ค. –
๑๐ ก.ค. ๑๒๘), หน้า ๒๐ – ๒๓.
๒๗๓

เกล้าฯ จึงได้มีตราที่ ๓๗/๒๐๓๗ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๘


ตอบไปว่า ในเรื่องป้องกันและรักษากาฬโรคนี้ เห็นมีทางที่จะท�ำอยู่ ๒ อย่าง คือ
สร้างโรงพยาบาลขึ้นตามความคิดของพระยาจ่าแสนบดี และบังคับให้คนเจ็บไป
อยู่ที่นั้น แต่ถ้าท�ำอย่างนี้ยังนึกเกรงว่าราษฎรจะมีความหวาดเสียว เมื่อป่วยเจ็บ
แล้วจะแตกตื่นหนีกันอย่างเช่นที่เป็นมาแล้วในกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นจึงมี
ความคิดอีกอย่างหนึ่ง คือ ในหมู่บ้านหนึ่งให้ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรพร้อมกัน
เลือกเรือนหลังใดหลังหนึ่ง จัดไว้เป็นที่ส�ำหรับคนป่วยพัก ถ้าผู้ใดเป็นกาฬโรค
แล้วให้พาไปรักษาที่นั้น และให้แพทย์รัฐบาลไปดูแลให้ยาถึงที่ ก�ำนันผู้ใหญ่บ้าน
มีหน้าที่บังคับและดูแลรักษาคนป่วย ส่วนเงินที่จะใช้จ่ายในการโรงพยาบาลก็ดี
หรือในการจัดที่พักส�ำหรับหมู่บ้านก็ดี ให้ลองคิดเรี่ยไรดู รัฐบาลจะเสียค่าหมอ
และถ้าขาดเหลือจะอุดหนุนทุกอย่าง ให้พระยาจ่าแสนบดีประชุมกรรมการ
สุขาภิบาลและก�ำนันผู้ใหญ่บ้านชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจว่า โรคไข้บวมนี้เป็นโรค
ร้ า ยแรงและติ ด กั น ได้ เมื่ อ เกิ ด ขึ้ น ในบ้ า นใดแล้ ว จ� ำ จะต้ อ งแยกผู ้ ที่ ป ่ ว ยไว้
ไกลผู้อื่น และช�ำระล้างบ้านเรือนให้สะอาด โรคนี้จึงจะหายขาดได้ ถ้าหารือ
ผู้ที่มาประชุมดูและได้ความว่าอย่างไรจะสะดวกที่สุด ให้ชี้แจงมาให้ทราบ
บัดนี้เกล้าฯ ได้รับใบบอกพระยาจ่าแสนบดีที่ ๒๓๓/๕๑๗๒ ลงวันที่
๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๘ ว่า ได้ประชุมกรรมการสุขาภิบาลและก�ำนันผูใ้ หญ่บา้ น
ต�ำบลไชยณรงค์และต�ำบลโพกลาง ชี้แจงถึงการที่จะรักษาพยาบาลผู้ที่เจ็บป่วย
ด้วยโรคไข้บวม ที่ประชุมเห็นพร้อมกันว่า ควรจะมีโรงพยาบาล ๒ แห่ง คือ
รักษาผู้ ที่ป่ วยเจ็ บด้วยโรคไข้บวมอย่างหนึ่ง รักษาผู้ที่ ป่วยเจ็บด้วยโรคอื่นๆ
อย่างหนึ่ง เวลานี้มีผู้ออกเงินช่วยถึง ๒,๔๕๘ บาท ๒๕ สตางค์ เมื่อเกล้าฯ
เห็นชอบด้วยแล้ว จะได้ลงมือเก็บเงินและจัดการต่อไป ได้ถวายส�ำเนาใบบอก
พระยาจ่าแสนบดีมาพร้อมกับจดหมายฉบับนี้แล้ว
๒๗๔

เกล้าฯ ได้มตี ราที่ ๙๕/๘๕๘๙ ลงวันที่ ๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๘ ตอบไปว่า


ซึ่งที่ประชุมเห็นควรจะตั้งโรงพยาบาลส�ำหรับรักษาโรคไข้บวมและโรคอื่นๆ
เป็น ๒ แห่งนั้น เป็นการดีแล้ว ให้ลองจัดดูตามที่ได้ประชุมตกลงกันนั้น๑
ขอได้ทรงน�ำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลพี ระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ด�ำรง
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย


ต่ อ มาวั น ที่ ๒๘ กั น ยายน พ.ศ. ๒๔๕๒ จึ ง จั ด ตั้ ง โรงพยาบาลสุ ข าภิ บ าล ๒ แห่ ง
ในเมืองนครราชสีมา เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปแห่งหนึ่ง และรักษาผู้ป่วยโรคติดต่ออีกแห่งหนึ่ง
ภายหลังจึงรวมเป็นแห่งเดียว และพัฒนาเป็นโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาในปัจจุบัน
ประกาศป้องกันกาฬโรค
สมัยรัชกาลที่ ๕
๒๗๖

ประกาศป้องกันกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕

ล�ำดับที่ ชื่อประกาศ วันที่ประกาศ


๑ (ร่าง) ข้อบังคับและค�ำสั่งพิเศษของกรมพยาบาล ไม่ปรากฏ
ในเรือ่ งเรือที่มีโรคร้ายติดมาด้วย
๒ ประกาศห้ามเรือมาจากซัวเถา ๒๖ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖
๓ ประกาศแก้ไขและเพิ่มเติม เรื่องห้ามเรือมาจากซัวเถา ๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๖
๔ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคเพิ่มเติม ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๖
๕ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคเพิ่มเติม ๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๖
๖ ประกาศเลิกพระราชบัญญัติจัดการป้องกันกาฬโรค ๔ ธันวาคม ร.ศ. ๑๑๖
๗ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๗
๘ ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดการป้องกัน ๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๗
กาฬโรค ลงวันที่ ๗ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
๙ ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดการป้องกัน ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๗
กาฬโรค ลงวันที่ ๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
๑๐ ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติจัดการป้องกันกาฬโรค ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๗
วันที่ ๗ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
๑๑ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๑๘
๑๒ ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดการป้องกัน ๓๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๘
กาฬโรค ลงวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘
๑๓ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๑๘
จัดการป้องกันกาฬโรค วันที่ ๑ เมษายน และวันที่
๓๐ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๘
๒๗๗

ล�ำดับที่ ชื่อประกาศ วันที่ประกาศ


๑๔ ประกาศว่าด้วยยกเลิกการแพทย์ตรวจเรือทั้งปวง ๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๑๘
อันมาจากเมืองสิงคโปร์ถึงเกาะไผ่
๑๕ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ๒๕ กันยายน ร.ศ. ๑๑๘
ที่ได้เลิกถอนประกาศพระราชบัญญัติลงวันที่
๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๘
๑๖ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๒๔ เมษายน ร.ศ. ๑๑๙
๑๗ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๙ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๑๙
๑๘ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ที่ให้เลิก ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๑๙
ถอนประกาศพระราชบัญญัติลงวันที่ ๒๔ เมษายน
กับวันที่ ๙ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๙
๑๙ ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดการป้องกัน ๑๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๙
กาฬโรค ลงวันที่ ๒๓ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙
๒๐ ประกาศเลิกถอนประกาศแก้ไขเพิ่มเติม ๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐
พระราชบัญญัติจัดการป้องกันกาฬโรค
วันที่ ๒๓ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๙
๒๑ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๑๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๐
๒๒ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ๑๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๐
ที่ให้เลิกถอนประกาศพระราชบัญญัติลงวันที่
๑๖ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐
๒๓ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๑๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๑
๒๔ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๑
ที่ให้เลิกถอนประกาศพระราชบัญญัติลงวันที่
๑๑ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๑
๒๗๘

ล�ำดับที่ ชื่อประกาศ วันที่ประกาศ


๒๕ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๒๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๑
๒๖ ประกาศแก้ไขเพิ่มเติมประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๑๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๒
วันที่ ๒๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๑
๒๗ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ๒๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๒
ที่ให้เลิกถอนประกาศพระราชบัญญัติลงวันที่
๒๘ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๑ และวันที่ ๑๖ พฤษภาคม
รัตนโกสินทรศก ๑๒๒
๒๘ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๒๐ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๓
๒๙ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ๑ กันยายน ร.ศ. ๑๒๓
ที่ให้เลิกถอนประกาศพระราชบัญญัติลงวันที่
๒๐ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓
๓๐ ประกาศเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเรื่องป้องกันกาฬโรค ๑๕ ธันวาคม ร.ศ. ๑๒๓
ฉบับลงวันที่ ๑ กันยายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๓
๓๑ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓
๓๒ ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันกาฬโรค ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓
ลงวันที่ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๓
๓๓ ประกาศกรมสุขาภิบาลเรื่องจัดการบ้านเรือนให้สะอาด ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓
๓๔ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ๑๕ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓
๓๕ ประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค ๑๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓
๓๖ ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันกาฬโรค ๑๘ เมษายน ร.ศ. ๑๒๔
ลงวันที่ ๒๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓
๒๗๙

ล�ำดับที่ ชื่อประกาศ วันที่ประกาศ


๓๗ ประกาศแก้ไขพระราชบัญญัติป้องกันกาฬโรค ๒๘ เมษายน ร.ศ. ๑๒๔
ลงวันที่ ๒๒ มกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๓
๓๘ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเดินเรือในน่านน�้ำสยาม ๒๕ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๔
[มีหมวดที่ ๕ ว่าด้วยข้อบังคับส�ำหรับการป้องกัน
โรคภยันตราย]
๓๙ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๑ ๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๔
[ประกาศเลิกตรวจป้องกันกาฬโรค เมืองฮ่องกง]
๔๐ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๒ ๙ กันยายน ร.ศ. ๑๒๔
[ประกาศตรวจป้องกันกาฬโรค เมืองฮ่องกง]
๔๑ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๓ ๒๒ มกราคม ร.ศ. ๑๒๔
[เรือที่ถึงในน่านน�้ำสยามจากสิงคโปร์ต้องหยุด
ที่เกาะพระ]
๔๒ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๔ ๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๔
[ยกเลิกการตรวจเรือและโรคภัยอันตรายที่เกาะพระ]
๔๓ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ก�ำหนดให้แจ้งข่าว ๑๒ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๕
คนป่วย
๔๔ ประกาศให้แจ้งความกาฬโรค ๒๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕
๔๕ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๕ ๒๙ เมษายน ร.ศ. ๑๒๕
[ป้องกันไข้กาฬโรค]
๒๘๐

ล�ำดับที่ ชื่อประกาศ วันที่ประกาศ


๔๖ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๖ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๕
[งดเลิกกักตรวจป้องกันโรคภยันตรายในเรือมาจาก
เมืองท่านั้นๆ ๙ วัน และให้แวะที่ด่านตรวจโรค
ภยันตรายที่เกาะพระเพื่อตรวจโรคในเรือเท่านั้น]
๔๗ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๗ ๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๕
[กักด่านป้องกันกาฬโรค]
๔๘ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๘ ๑๗ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
[ตรวจป้องกันกาฬโรคเรือที่มาในน่านน�้ำสยาม]
๔๙ ประกาศกระทรวงนครบาล ฉบับที่ ๙ ๑๐ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
[งดเลิกประกาศ ฉบับที่ ๘ ซึ่งว่าด้วยการตรวจเรือ
มาจากเมืองไซ่ง่อน]
๒๘๑

(ร่าง)
ข้อบังคับและค�ำสั่งพิเศษของกรมพยาบาล
ในเรื่องเรือที่มีโรคร้ายติดมาด้วย
ตามที่รับความเห็นชอบของทูตและกงสุลต่างประเทศแล้ว๑

ข้อ ๑ บรรดาเรือทุกล�ำทีม่ คี นป่วยโรคร้ายซึง่ ติดกันได้ (เรียกตามภาษา


อังกฤษว่าเปลค) จะต้องประพฤติตามข้อบังคับที่ได้ก�ำหนดไว้ ดังแจ้งต่อไปนี้
ข้อ ๒ บรรดาเรือและคนโดยสารมาในเรือนั้น จะต้องห้ามให้ทอดอยู่
๒๑ วัน หรือเร็วกว่านั้น ตามแต่เจ้าพนักงานสราญรักษ์๒ ของกรมพยาบาลจะคิด
เห็นสมควร
ข้อ ๓ ก�ำหนดที่ห้ามเรือให้หยุดพักนั้น จะได้นับเป็นต้นตั้งแต่คนไข้
ที่เป็นโรคโดยสารมาในเรือนั้น ถ้ามีอยู่ ได้ขึ้นจากเรือแล้ว
ข้อ ๔ ก�ำหนดห้ามคนโดยสารมาในเรือ ที่เป็นผู้ไม่อยากจะให้เอายา
อบรมสิ่งของของตนนั้น ต้องนับเป็นต้นตั้งแต่วันเจ้าของได้เอาเสื้อผ้าของตนออก
ผึ่งลมไว้ และได้ผึ่งไว้เช่นนั้นตลอดเวลาที่ต้องห้าม และเจ้าของเองต้องกระพือ
ทุกๆ วัน ส่วนสิ่งของที่โรคจะติดได้นั้น ต้องนับวันห้ามตั้งแต่เอาออกตากลมและ
รมยาแล้วเป็นต้นไป
ข้อ ๕ บรรดาผู้ที่เป็นโรคร้ายซึ่งติดกันได้นั้น จะต้องอยู่ในที่แห่ง ๑
ต่างหากจากคนอื่นที่โดยสารเรือมาด้วยกัน และจะต้องอยู่ในที่นั้น มีพนักงาน
ก�ำกับรักษาอยู่คน ๑ หรือหลายคน ตามจ�ำนวนคนไข้มากและน้อย


คัดจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาล
เรื่องจัดการป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗), หน้า ๑๓ – ๒๑.

ฉบับภาษาอังกฤษใช้ค�ำว่า Health Officer
๒๘๒

พนักงานเหล่านี้จะต้องไม่ละทิ้งหน้าที่ของตน หรือยอมให้ผู้หนึ่งผู้ใด
เข้าไปใกล้คนไข้ที่ป่วยอยู่นั้นเลยเป็นอันขาด
ข้อ ๖ เสื้อผ้า เปลนอน หรือผ้าปูที่นอน หรือสิ่งของอื่นๆ ที่เป็นของ
คนไข้ตายด้วยโรคร้ายนี้ เคยใช้อยู่ทุกวันในเวลาเดินทางมาในเรือ หรือเมื่อมาถึง
ท่าแล้วก็ดี ควรต้องเผาไฟเสียให้สิ้น
ข้อ ๗ พนักงานผูพ้ ยาบาลคนไข้ทปี่ ว่ ยเป็นโรคร้ายอันติดกันนัน้ จะต้อง
อยู่คอยพิทักษ์รักษาในที่ใกล้คนไข้ ตามค�ำสั่งของหมอ
ข้อ ๘ เรือและคนโดยสารเรือ หรือสินค้าที่บรรทุกมาในเรือก็ดี ถ้าถูก
ต้องร่างกายผู้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายลงใหม่ๆ นั้น จะต้องถูกห้ามใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ข้อ ๙ คนโดยสารเรือทีม่ าในเรือเป็นโรคร้ายอันติดกันนัน้ จะต้องให้แยก
เสียจากคนไข้ และภายในเวลาที่ต้องห้ามอยู่นั้น จะไปมาหาผู้ใดไม่ได้
ข้อ ๑๐ ถ ้ า มี ไข้ ร ้ า ยซึ่ ง ติ ด กั น ปรากฏเป็ น ขึ้ น แก่ ผู ้ ใ ดผู ้ ห นึ่ ง ที่ อ ยู ่ ใ น
ที่ต้องห้าม ในเรือที่มีโรคร้ายเช่นนั้น ผู้อื่นที่ไม่ได้ไปมาถึงคนไข้ที่มาใหม่นั้น
พ้นก�ำหนดต้องห้ามแล้ว ก็จะได้รับอนุญาตให้ไปได้โดยสะดวก
ข้อ ๑๑ บรรดาคนที่ต้องถูกห้ามอยู่นั้น จะมีหมอเป็นเจ้าพนักงานไป
เยี่ยมทุกวัน และหมอนั้นจะระวังโดยแข็งแรงไม่ให้ผู้ใดล่อลวงว่าหายป่วยแล้วได้
ถ้ามีผู้ใดบรรดาที่อยู่ในระหว่างห้ามป่วยลง หมอต้องแยกผู้น้ันเสียจากพวกพ้อง
ของเขา ไม่ให้อยู่ด้วยกัน จนกว่าจะทราบแน่ว่าผู้นั้นป่วยเป็นโรคอันใด
๒๘๓

ข้อ ๑๒ วิธีที่จะรักษาป้องกันไม่ให้มีโรคร้ายติดอยู่ในเรือได้นั้น มีแจ้ง


ต่อไปนี้
(ก) เมื่อกัปตันนายเรือได้ให้คนไข้อยู่โรงพยาบาล หรือต�ำบลที่แห่งใด
แห่งหนึ่งแล้ว จะต้องรื้อเรือโดยขนของทุกอย่างที่บรรทุกมาในระวางหรือในห้อง
เรื อ นั้ น ขึ้ น เสี ย สิ่ ง ของทั้ ง นี้ ต ้ อ งให้ ผึ่ ง ลมไว้ ต ลอดเวลาที่ เรื อ ต้ อ งห้ า มอยู ่ นั้ น
และต้องเป็นธุระเปิด หรือกระจายออก หรือเขย่า หรือเปลี่ยน ที่ตามควรแก่
ชนิดสิ่งของ
(ข) ใบเรือและสิง่ ของใช้สอยทัง้ ปวงของพวกลูกเรือ เป็นต้นว่าผ้าขนแกะ
ส�ำหรับที่นอนและเบาะต่างๆ และสิ่งอื่นๆ เหมือนกันเช่นนี้ ซึ่งเป็นของเปียกน�้ำ
จะไม่เสียได้นั้น จะต้องแช่น�้ำเค็มและผึ่งไว้ให้แห้ง และตากลมไว้บนตะพานในเรือ
(ค) เสื้ อ ผ้ า และสิ่ ง อื่ น ๆ ของพวกลู ก เรื อ ซึ่ ง จะเป็ น ของเสี ย ได้ ด ้ ว ย
เปียกน�้ำนั้น ต้องบรรจุไว้ในห้องที่มีอยู่ในเรือ อบรมด้วยยา ครั้นแล้วภายหลังจึง
ตากอากาศไว้บนตะพานในเรือตลอดเวลาที่เรือต้องห้ามอยู่
(ง) เมื่อถ่ายของออกจากเรือหมดแล้วครั้งหนึ่งในชั้นแรก ต้องกวาดเรือ
ให้สะอาด ผงและละอองที่กวาดได้นั้น ต้องทิ้งเสียในทะเล แล้วต้องเปิดให้น�้ำ
เข้าไปในเรือพอที่จะล้างในล�ำเรือได้ทั่วไปทุกแห่ง ภายหลังจึงทาสีห้องระวาง
และระหว่างชั้นดาดฟ้า และห้องในเรือเสียใหม่ด้วย
(จ) เรือนั้นจะต้องรมยา บรรดาหน้าต่างและช่องเล็กน้อยในเรือต้อง
ปิดให้หมดในเวลานั้น แล้วภายหลังจึงเปิดให้ลมอากาศเข้าภายในเรือให้มาก
ตามสามารถที่จะเป็นได้ ด้วยใช้ใบดักลมที่มีอยู่ส�ำหรับเรือแล้ว การที่รมยานั้น
ครั้งหนึ่งต้องมีก�ำหนดชั่วโมง และจะต้องรมกี่ครั้งแล้วแต่ค�ำสั่งของพนักงาน
กรมพยาบาลจะสั่ง
๒๘๔

(ฉ) หมอนั้นจะต้องเยี่ยมพวกลูกเรือทุกๆ วันเสมอไป และต้องคอยเป็น


ธุระจัดการให้คนไข้และสิ่งของของคนไข้ขึ้นเสียบนฝั่ง ถ้าโดยว่ามีลูกเรือคนใด
ป่วยลง หมอนั้นจะต้องแยกคนที่ป่วยให้อยู่เสียต่างหาก กว่าจะทราบอาการ
ของโรคที่ป่วยเป็นแน่ได้ ถ้าว่าลูกเรือผู้นั้นป่วยเป็นโรคร้ายซึ่งติดกันได้นั้นแล้ว
ก็ต้องให้ไปอยู่รักษาตัวในโรงพยาบาลส�ำหรับโรคนั้น
(ช) ถ้าภายในเวลาก�ำหนดที่ห้ามเรือล�ำใดล�ำหนึ่งอยู่ตามข้อบังคับนี้
จะมีคนป่วยเป็นโรคร้ายอันติดกันได้นั้นขึ้นใหม่อีกในเรือนั้นแล้ว เรือนั้นก็ต้อง
ห้ามให้ทอดรออยู่อีก และต้องนับก�ำหนดวันห้ามเป็นต้นไปใหม่ และการที่ล้าง
และรมเรือเพื่อมิให้มีโรคติดเรืออยู่นั้น ก็ต้องกลับท�ำใหม่อีกครั้ง ๑
(ซ) การก�ำหนดห้ามเรือนั้น จะยังไม่นับเป็นอันห้ามได้จนกว่าจะได้ล้าง
ระวาง และทาสีใหม่ และใบเรือและสิ่งของของลูกเรือตามที่กล่าวไว้แล้วในข้อ ๓
นั้น จะได้แช่น�้ำเค็มและผึ่งลมอากาศแล้วก่อน
ข้อ ๑๓ ก�ำหนดห้ามคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายที่ติดกันได้นั้น ต้องนับ
เป็นต้นไปตั้งแต่หมอได้ตรวจแล้ว และแสดงว่าคนนั้นหายป่วยสนิทแล้ว และแผล
นั้นก็หายแล้ว เพราะว่าเฉพาะถึงเวลานั้น คนไข้นั้นจึงจะให้หมอรมยาและช�ำระ
ร่างกายได้ และการช�ำระร่างกายและรมยานั้น เมื่อเป็นไข้เช่นนี้ก็จ�ำเป็นต้องท�ำ
จะงดเว้นเสียนั้นไม่ได้ ก�ำหนดห้ามนั้นต้องถึง ๒๑ วัน หรือเร็วกว่านั้นก็ได้
ข้อ ๑๔ ศพคนไข้ที่ตายด้วยโรคร้ายที่ติดกันได้นั้น จะได้น�ำไปฝังไว้
ตามสมควร
ข้อ ๑๕ บรรดาสิ่งของอันจะติดโรคร้ายได้ ที่เป็นของคนไข้ซึ่งป่วยเป็น
โรคร้ายนั้น หรือเป็นของผู้ที่ตายในโรงพยาบาลก็ดี หรือของผู้พยาบาลคนไข้นั้น
ก็ดี จะต้องเผาไฟเสียให้สิ้น
๒๘๕

ข้อ ๑๖ ถ้าผู้ใดถูกต้องตัวคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคร้ายนั้นแล้ว จะต้องช�ำระ


กายและรมยา และสิ่งของของผู้นั้น จะยังไม่คืนให้แก่ผู้นั้นจนถึงพ้นก�ำหนดห้าม
และได้รมยาตามธรรมเนียมแล้ว แต่ในข้อนี้มีอาการว่า ส่วนตัวผู้นั้นจะต้องห้าม
และท�ำตามที่หมอเห็นควร แล้วก็จะยอมปล่อยให้ไปโดยสะดวก
ข้อ ๑๗ ต้องระวังไม่ให้คนโดยสารมาในเรือเก็บหนังสือหรือกระดาษ
อย่างอื่น หรือห่อที่ผนึกตราอย่างใดๆ ไว้ในตัวเองหรือในเสื้อผ้า ซึ่งเป็นของที่ยัง
ไม่ได้ท�ำให้บริสุทธิ์และตากลมอากาศเสียก่อน ถ้าผู้ที่ต้องอยู่ในก�ำหนดห้าม
ซึ่งเป็นผู้จะต้องรู้ล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้ว ไม่ประพฤติตามข้อบังคับนี้ ก็จะต้องถูก
บังคับให้อยู่ในที่ห้ามเป็นต้นไปใหม่ พนักงานสราญรักษ์ของกรมพยาบาลผู้ตรวจ
ความไข้นั้น จ�ำเป็นต้องเที่ยวตรวจไปในเรือโดยละเอียด เพื่อว่าสิ่งของอันจะติด
โรคร้ายนั้นจะซ่อนอยู่ในท้องเรือ หรือในตู้ไว้ของ หรือในถัง หรือแห่งใดแห่งหนึ่ง
ถ้าพบสิ่งของที่ว่ามานั้นแล้ว ต้องบังคับให้เรือและคนในเรือนั้นอยู่ในที่ห้าม
ตามข้อบังคับทั้งปวงไปใหม่
ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานต้องเป็นธุระจัดให้เรือที่มีโรคร้ายแรงติดมานั้น
ทอดอยู่ในที่แผนกหนึ่งต่างหาก ให้ไกลจากฝั่งและเรืออื่นๆ ที่อนุญาตให้ถอย
ออกไปแล้ ว นั้ น พอสมควร เพื่ อ ที่ จ ะป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ไ ปมาถึ ง กั น ได้ และเรื อ ที่
ต้องห้ามนั้นก็ควรจะทอดอยู่ในที่แห่งหนึ่งต่างหากนั้น จนถึงเวลาอนุญาตให้ถอย
ออกไป
อนึ่ง ต้องมีพนักงานส�ำหรับรักษาหน้าที่คอยตรวจเรือเล็กเมื่อเวลา
จะไปหาอาหารหรือสิ่งของอื่นๆ บนฝั่ง พนักงานเหล่านี้จะต้องอยู่ในบังคับ
โดยแข็งแรง เมื่อท�ำความผิดลงต้องลงโทษไล่เสีย และต้องเป็นผู้รักษามิให้ผู้หนึ่ง
ผู้ใดเข้าไปใกล้เรือได้เลยเป็นอันขาด
๒๘๖

ข้อ ๑๙ เมื่อเวลาพระอาทิตย์ตกแล้วนั้น บรรดาเรือเล็กทั้งปวงต้องยก


ขึ้นแขวนไว้ข้างเรือใหญ่เสมอเป็นนิจ จะใช้แล่นไปข้างไหนไม่ได้อีก จนเวลา
พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว
ข้อ ๒๐ คนไข้ทุกคนที่ป่วยเป็นโรคร้ายที่ติดกันได้นั้น เมื่อหายเป็น
ปรกติแล้ว ต้องจ�ำเป็นเสียเงินค่าใช้สอยในการพยาบาลไข้ของตนที่ป่วย ให้แก่
กรมพยาบาล การที่จะไม่เสียเงินค่าใช้สอยเช่นนี้ ก็เฉพาะได้แต่คนเจ็บเท่านั้น
กัปตันนายเรือล�ำที่มีโรคร้ายแรงอยู่ในเรือนั้น ก็ต้องจ�ำเป็นเสียเงินค่าใช้สอย
ในการช�ำระอบรมเรือให้บริสุทธิ์นั้น ให้แก่กรมพยาบาลด้วยเหมือนกัน
ข้อ ๒๑ การที่จะให้ยาอย่าง ๑ อย่างใดแก่คนโดยสารเรือ หรือลูกเรือ
ล�ำที่มีโรคร้ายแรงติดมานั้น ไม่ได้เป็นอันขาด จ�ำเป็นต้องให้หมอผู้เป็นพนักงาน
อนุญาตก่อน
ข้อ ๒๒ พนักงานผู้ตรวจนั้นต้องรับบังคับอย่างแข็งแรง ถ้าผิดลงก็ต้อง
ปรับโทษอย่างหนัก เมื่อคนโดยสารเรือหรือลูกเรือคนใดเจ็บลง ต้องรีบน�ำความ
ไปแจ้งความแก่หมอหรือผู้ดูการโดยเร็ว
กรมพยาบาล กรุงเทพฯ
วันที่ .................... ร.ศ. ๑๑๓ [พ.ศ. ๒๔๓๗]๑


ไม่ปรากฏว่ามีการประกาศใช้ข้อบังคับฉบับนี้หรือไม่ แต่ในทางปฏิบัตินั้นเริ่มมีการ
ตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ เพื่อตรวจโรคบนเรือที่มาจากฮ่องกงและเมืองท่าอื่นๆ ของจีน ตั้งแต่
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ แล้ว
๒๘๗

ประกาศห้ามเรือมาจากซัวเถา๑

ด้วยเจ้าพระยาภาสกรวงษ์ รับพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้า
พระบรมราชินีนาถ ซึ่งส�ำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ ใส่เกล้าฯ ทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า
กาฬโรค (คื อ โรคห่ า ) ได้ เ กิ ด ขึ้ น ที่ เ มื อ งซั ว เถานั้ น ตั้ ง แต่ วั น ที่ ไ ด้
แจ้งความนี้ไปแล้ว
ก�ำปั่นล�ำหนึ่งล�ำใดออกจากเมืองซัวเถา และจะเข้ามาในกรุงนี้ ต้อง
หยุดทอดสมออยู่ที่เกาะไผ่ ในก�ำหนดเก้าวันเต็มแล้ว และถ้าแพทย์ได้ตรวจ
แจ้งว่า กาฬโรคดังที่ว่ามาแล้ว ไม่ได้มีและได้เกิดในเรือนั้นแล้ว จึงจะยอมให้
ก�ำปั่นล�ำนั้นเดินต่อไป จนถึงที่จอดในกรุงนี้ได้
ประกาศ ณ วั น ที่ ๒๖ เดื อ นเมษายน รั ต นโกสิ น ทรศก ๑๑๖
[พ.ศ. ๒๔๔๐]๒
(ลงชื่อ) เจ้าพระยาภาสกรวงษ์
ผู้รับพระราชเสาวนีย์ในที่ประชุม


คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๔, วันที่ ๒๘ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖, หน้า ๕๕. ประกาศ
ฉบับนี้เป็นประกาศกักกันเรือฉบับแรกที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา

ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศฉบับนี้อีกหลายครั้ง เพื่อขยายขอบเขตในการควบคุมโรค
และพัฒนาเป็นประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคในเวลาต่อมา
๒๘๘

ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค๑

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์
พระจุ ลจอมเกล้ า เจ้าอยู่หัว ด�ำรัสเหนือเกล้าฯ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ
ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า
ด้วยบัดนี้ไข้กาฬโรคอันเป็นโรคติดต่อกันได้ เกิดขึ้นแล้วในเมืองฮ่องกง
จึ่งมีพระราชประสงค์ที่จะจัดการป้องกันไม่ให้โรคเช่นนั้นแพร่หลายลามมาถึง
พระราชอาณาจักรนี้ได้
จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ประกาศให้
ทราบทั่วกันดังนี้
ข้อ ๑ ให้จัดเกาะไผ่เป็นที่ส�ำหรับท�ำการด่านป้องกันโรคภยันตราย
และเป็นที่ท�ำการตรวจโรค ตามข้อบังคับในพระราชบัญญัตินี้
ข้อ ๒ เรือล�ำหนึ่งล�ำใดซึ่งออกจากเมืองฮ่องกงมาถึงน่านน�้ำสยาม
ในวันหรือในภายหลังวันที่ได้ประกาศพระราชบัญญัตินี้ ต้องแวะจอดที่เกาะไผ่
และก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตของด่านป้องกันโรคภยันตรายให้เลยเข้ามาได้นั้น
ต้องรอพักอยู่กว่าจะครบก�ำหนดเวลา ๙ วันเต็ม นับตั้งแต่วันที่ได้ออกมาจาก
เมืองฮ่องกง
ข้อ ๓ เรือล�ำหนึ่งล�ำใดที่ออกจากเมืองท่าใดๆ ในประเทศจีนมาถึง
น่านน�้ำสยาม ในวันหรือในภายหลังวันที่ได้ประกาศพระราชบัญญัตินี้ ต้องแวะ
จอดที่เกาะไผ่ และต้องรอพักอยู่ที่นั้นจนถึงเวลาที่เจ้าพนักงานแพทย์จะได้ขึ้นไป
ตรวจบนเรือ และออกใบอนุญาตของด่านป้องกันโรคภยันตรายให้เลยเข้ามาได้


คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๑๕, วันที่ ๗ เมษายน ร.ศ. ๑๑๗, หน้า ๙ – ๑๑.
๒๘๙

ข้อ ๔ ก่อนเวลาที่เรือล�ำหนึ่งล�ำใดซึ่งมาจากเมืองฮ่องกง หรือจาก


เมืองท่าใดๆ ในประเทศจีน จะได้รับใบอนุญาตของด่านป้องกันโรคภยันตราย
ให้เลยเข้ามาได้นั้น ห้ามไม่ให้คนผู้หนึ่งผู้ใดนอกจากเจ้าพนักงานแพทย์หรือผู้ช่วย
ของเจ้าพนักงานนั้น ท�ำการติดต่อไปมาในระหว่างเรือนั้นกับฝั่ง หรือในระหว่าง
เรือนั้นกับเรือล�ำอื่นๆ เป็นอันขาด
ข้อ ๕ ผู้เป็นนายเรือหรือคนผู้ใดซึ่งเป็นผู้บังคับการในเรือล�ำหนึ่งล�ำใด
ทีต่ อ้ งจอดพักอยูต่ ามก�ำหนดกักด่านป้องกันโรคภยันตรายนัน้ ต้องแจ้งกิจการด้วย
ส่วนเรือและส่วนเวลาทีไ่ ด้เดินเรือมาตามทาง และส่วนการมีไข้เจ็บหรือไม่มอี ย่างไร
ในบรรดาลูกเรือและคนโดยสาร และทั้งเหตุการณ์อื่นๆ แก่เจ้าพนักงานแพทย์
ตามทีเ่ จ้าพนักงานผูน้ นั้ จะต้องการ และต้องตอบค�ำถามต่างๆ ทีเ่ จ้าพนักงานแพทย์
จะถามนั้นโดยความจริงและโดยถี่ถ้วน และถ้าเจ้าพนักงานแพทย์จะต้องการให้
จัดเรือและเครื่องใช้อันสมควร ส�ำหรับส่งคนโดยสารและคนลูกเรือขึ้นบก ที่ด่าน
ป้องกันโรคภยันตรายนั้น ก็ต้องจัดให้ และทั้งต้องช่วยเจ้าพนักงานแพทย์ตาม
สมควร ในทางอื่นๆ ทั่วไป เพื่อให้เจ้าพนักงานผู้นั้นได้จัดการออกใบอนุญาตของ
ด่านป้องกันโรคภยันตรายส�ำหรับเรือล�ำนั้นด้วย
ข้อ ๖ เจ้าพนักงานแพทย์มอี ำ� นาจทีจ่ ะขึน้ ไปบนเรือทีม่ าถึงน่านน�ำ้ สยาม
ได้ทุกล�ำ และตรวจบรรดาคนที่อยู่ในเรือนั้นได้ทั่วหน้า และถ้าเห็นสมควรจะเรียก
ตรวจใบส�ำคัญแจ้งด้วยการไข้เจ็บส�ำหรับเรือ หนังสือแจ้งจ�ำนวนคนอพยพ หรือ
หนังสืออืน่ ๆ ซึง่ เจ้าพนักงานแพทย์จะต้องการตรวจ เพือ่ ให้จดั การออกใบอนุญาต
ของด่านป้องกันโรคภยันตรายนั้นด้วยก็ได้ และเจ้าพนักงานแพทย์จะต้องท�ำการ
โดยทางทีถ่ กู ต้องด้วยกฎหมาย ตามทีเ่ ห็นสมควรต้องท�ำ เพือ่ ให้รไู้ ด้วา่ ความสะอาด
เรียบร้อยในเรือ และในบรรดาคนในเรือนั้นๆ มีอยู่เป็นอย่างไร
๒๙๐

ข้อ ๗ ห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานศุลกากรซึ่งท�ำการในหน้าที่อยู่เกาะสีชัง
หรือเมืองสมุทปราการ อนุญาตให้เรือล�ำหนึ่งล�ำใดที่มาจากเมืองฮ่องกง หรือจาก
เมืองท่าใดๆ ในประเทศจีน ที่ไม่ได้แสดงใบอนุญาตบอกความบริสุทธิ์จากโรค
อันที่ควรจะได้รับจากเกาะไผ่นั้น ล�ำเลียงถ่ายสินค้าที่เกาะสีชัง หรือแล่นเลย
เข้ามากรุงเทพฯ เป็นอันขาด แต่บรรดาเรือที่จะได้แสดงใบอนุญาตเช่นนั้น
ให้ตรวจดูแล้วจึ่งยอมให้ล�ำเลียงถ่ายสินค้าที่เกาะสีชัง และเลยเข้ามายังกรุงเทพฯ
หรือต�ำบลอื่นๆ ได้ ไม่ต้องมีการตรวจอีก
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานแพทย์มีอ�ำนาจตามพระราชบัญญัตินี้ จัดการ
ตามที่จะเห็นสมควรในบรรดาเรือหรือคนทั้งหลายอันมีโรคติดมานั้น เพื่อป้องกัน
ไม่ให้โรคแพร่หลายได้ต่อไป
ข้อ ๙ ผู้หนึ่งผู้ใดที่กระท�ำความละเมิด หรือช่วยกระท�ำความละเมิด
อย่างหนึ่งอย่างใดต่อพระราชบัญญัตินี้ และทั้งผู้เป็นนายเรือ หรือกัปตัน หรือ
ผู้ใดๆ ซึ่งมีอ�ำนาจบังคับการของเรือใหญ่ หรือเรือเล็กล�ำใดๆ ที่ได้มีความละเมิด
นั้นเกิดขึ้นก็ดี หรือเป็นเรือที่ได้ใช้อย่างหนึ่งอย่างใดในการอันเป็นความละเมิด
นั้นก็ดี ผู้นั้นๆ จะต้องต่างคนมีโทษปรับเป็นเงินไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือโทษ
จ�ำขังไม่เกินก�ำหนดเวลา ๖ เดือน หรือต้องรับโทษทั้งสองสถานนั้น
ข้อ ๑๐ บรรดาเงินค่าใช้จ่ายอันมีขึ้น ที่รัฐบาลได้ออกไปเท่าใดในการ
รั ก ษาเลี้ ย งดู ค นที่ ไ ด้ เ อาขึ้ น จากเรื อ ไปพั ก อยู ่ ที่ ด ่ า นป้ อ งกั น โรคภยั น ตราย
ที่เกาะไผ่นั้น ผู้ที่เป็นเอเยนต์ของเรือล�ำนั้นต้องใช้คืนให้แก่รัฐบาลทั้งสิ้น
๒๙๑

ข้อ ๑๑ พระราชบัญญัตินี้ ให้เสนาบดีกระทรวงนครบาลเป็นเจ้าหน้าที่


จัดการ พร้อมด้วยความช่วยอุดหนุนของกรมทหารเรือ ให้เป็นอันใช้ได้ตลอด
ทุกประการ
ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดีที่ ๗ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๗
[พ.ศ. ๒๔๔๑] เป็นวันที่ ๑๐,๗๔๐ ในรัชกาลปัจจุบันนี๑้


คือ สมัยรัชกาลที่ ๕ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๔๘ มีประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค
มุ่งเน้นการกักกันเรือซึ่งมาจากเมืองที่มีการระบาดเป็นคราวๆ ไป ในแต่ละปีจึงมีประกาศจัดการ
ป้องกันกาฬโรค และประกาศแก้ไขเพิ่มเติม หรือประกาศเลิกถอนจ�ำนวนหลายฉบับ แต่เนื้อหา
ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน แตกต่างเพียงรายละเอียดบางประการ เช่น การระบุเมืองต้นทางของเรือ
ที่จะกักกัน การเปลี่ยนสถานที่กักกันเรือ การเพิ่มมาตรการป้องกันและบทลงโทษ ตลอดจน
การแก้ไขข้อความบางส่วนให้มีความครอบคลุมยิ่งขึ้น จนกระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการเดินเรือในน่านน�้ำสยาม รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ (พ.ศ. ๒๔๔๘) ซึ่งมีหมวดที่ ๕ ว่าด้วย
ข้อบังคับส�ำหรับการป้องกันโรคภยันตราย และให้อ�ำนาจเสนาบดีกระทรวงนครบาลประกาศ
ตั้งด่านกักกันเรือได้ตามที่จ�ำเป็น จึงไม่ต้องออกประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคเป็นคราวๆ ไปอีก
๒๙๒

ประกาศกรมสุขาภิบาล
เรื่องจัดการบ้านเรือนให้สะอาด๑

เจ้าพระยาเทเวศรวงษ์วิวัฒน์ ผู้บัญชาการกรมสุขาภิบาล รับพระบรม


ราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า ในเวลานี้มีกาฬโรคเกิดขึ้น
ในกรุงเทพฯ อยู่บ้าง และโรคชนิดนี้ตามต�ำราแพทย์ชาวยุโรปเขาสันนิษฐานว่า
เป็นโรคทีม่ ตี วั สัตว์อนั เกิดขึน้ จากของโสโครก เป็นโรคทีม่ พี ษิ ร้ายแรงและติดต่อกัน
ได้ด้วย เพราะฉะนั้นผู้ที่อยู่บ้านเรือนอันมีของโสโครกอยู่ใกล้เคียง ย่อมเป็นที่น่า
กลัวอันตรายแก่ชีวิตอยู่ ทรงพระราชด�ำริเห็นว่าตามต�ำราแพทย์ของชาวยุโรปนั้น
ถึงแม้ว่าความจริงจะเพียงใดก็ดี แต่ความสกปรกโสโครกเป็นสิ่งที่ให้เกิดความ
ร�ำคาญ ไม่เป็นสุขกาย ไม่สบายจิต และความสะอาดเป็นสิ่งที่ให้บังเกิดความ
ส�ำราญกาย สบายจิต แก่มนุษย์ได้อยู่เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นความสะอาด
เป็นสิ่งสมควรที่มนุษย์จะท�ำให้มีขึ้น และรักษาไว้เสมอเป็นปรกติอยู่แล้ว มาบัดนี้
มาเกิดมีกาฬโรคขึ้น ทั้งต้องด้วยต�ำราแพทย์ชาวยุโรปว่าเกิดขึ้นด้วยความโสโครก
และการที่จะป้องกันไม่ให้โรคนี้มีขึ้นก็ด้วยความสะอาดดังนี้
โดยทรงพระมหากรุ ณ าแก่ พ ระบรมวงศานุ ว งศ์ ข้ า ทู ล ละอองธุ ลี
พระบาท และราษฎรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เพื่อให้พ้นอกาลมรณภัยคือไข้กาฬโรคนี้
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลออกประกาศตักเตือนบรรดาผู้ที่
เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของเรือนทั้งปวงว่า ให้คิดรื้อถอนเช็ดล้างสิ่งโสโครกอันมีอยู่
ณ ที่บ้านเรือนของตนๆ เสียให้สิ้นเชิง แล้วจัดให้เป็นความสะอาด ส่วนขยะ
เยื่ อ มู ล ฝอยหรื อ สิ่ ง ของที่ ไ ม่ ค วรเก็ บ สะสมไว้ ใ ห้ เ ป็ น เครื่ อ งโสโครกรุ ง รั ง นั้ น
ถ้าที่บ้านกว้างขวางพอจะฝังหรือจะเผาเสียก็ได้ ถ้าที่ทางคับแคบจะน�ำไปทิ้งเสีย


คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๑, วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓, หน้า ๘๓๗.
๒๙๓

ณ ที่ที่ กรมสุขาภิบาลจะได้บอกไว้ให้ทราบ ณ ต�ำบลที่อนุญาตให้ทิ้ง เมื่อได้


เก็ บ กวาดบ้ า นเรื อ นสะอาดเรี ย บร้ อ ยดี แ ล้ ว ก็ ค วรจะจั ด ดั ง นี้ ถ้ า ที่ บ ้ า นเรื อ น
ชั้นล่างเป็นพื้นดินเปล่าหรือปูพื้นกระเบื้อง หรือพื้นอย่างอื่นนอกจากพื้นกระดาน
ควรให้โรยปูนขาวเสียให้ทวั่ ถ้าเป็นพืน้ กระดานควรใช้ยาอย่างทีเ่ รียกว่า เยสฟลูด๑
คือเอายาชนิดนั้น ๑ ส่วน ประสมกับน�้ำ ๓๐ ส่วน คือประมาณยาครึ่งทะนาน
ใช้น�้ำปี๊ปน�้ำมัน ๑ ผสมกัน เทราดให้ทั่วไป เพื่อจะได้ก�ำจัดกลิ่นของโสโครกนั้น
ให้หาย
อนึง่ ถ้าผูใ้ ดปรารถนาจะให้แพทย์ในกรมสุขาภิบาลไปตรวจทีบ่ า้ นเรือน
ของตนว่ามีความสะอาดพอแล้วหรือยัง หรือเพื่อจะขอความแนะน�ำของหมอ
ด้วยบ้าง กรมสุขาภิบาลก็จะจัดให้แพทย์ไปตรวจ และให้ความแนะน�ำตาม
สมควร
ประกาศมา ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ [พ.ศ. ๒๔๔๗]


Jeyes fluid น�้ำยาฆ่าเชื้อ
๒๙๔

ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค๑

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล


รั บ พระบรมราชโองการใส่ เ กล้ า ฯ ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ป ระกาศ
แก่มหาชนให้ทราบทั่วกันว่า
ด้ ว ยไข้ ก าฬโรค ซึ่ ง เป็ น โรคอั น พึ ง กลั ว โดยเป็ น โรคอย่ า งร้ า ยแรง
ถ้ามนุษย์หรือสัตว์เป็นขึ้นแล้วก็ตายรวดเร็วมากกว่ารักษาหาย และทั้งเป็นโรค
ที่ติดกันโดยง่าย โรคนี้เป็นอยู่ในเมืองต่างประเทศ คือ เมืองจีนและอินเดียร์
มาหลายปีแล้ว จึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์สุขาภิบาลจัดการตั้ง
ด่านตรวจเรือกลไฟที่ค้าขายมาจากเมืองที่เกิดโรค ป้องกันไม่ให้โรคแพร่หลาย
เข้ามาในพระราชอาณาเขตได้เป็นหลายปี แต่โรคนี้ตามต�ำราแพทย์ชาวยุโรป
สันนิษฐานว่า เป็นโรคที่มีตัวสัตว์เกิดจากของโสโครก และหนูเป็นสัตว์ต้นเหตุที่
น�ำตัวโรคไปจากต�ำบลหนึ่ง ถึงยังต�ำบลหนึ่งยิ่งกว่าสัตว์อย่างอื่น ครั้นเมื่อเดือน
ธันวาคมเกิดมีหนูตายมากขึ้นที่ต�ำบลตึกแดง และในกลางเดือนนั้นเองก็เกิด
มีกาฬโรคขึ้นในต�ำบลนั้น วิธีการพยาบาลรักษาไข้ ถ้าไม่ได้จัดการป้องกันให้
ถูกต้อง รักษาพยาบาลตามไข้ธรรมดา ไข้นั้นก็อาจติดกันต่อๆ เป็นอันตรายทั้ง
ครัวเรือน เป็นโรคันตรายอันพึงกลัวเพราะติดต่อกันได้ง่ายเช่นนี้ โดยทรงพระ
มหากรุณาแก่อาณาประชาราษฎร์ เพื่อจะให้พ้นอกาลมรณภัย จึ่งทรงพระกรุณา


คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๑, วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓, หน้า ๘๗๑ – ๘๗๓.
ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคฉบับนี้ มีลักษณะแตกต่างจากประกาศป้องกันกาฬโรคฉบับก่อนๆ
ซึ่งเป็นมาตรการกักกันเรือเพื่อป้องกันไม่ให้กาฬโรคระบาดมาถึงกรุงเทพฯ แต่ประกาศฉบับนี้และ
ฉบับต่อๆ ไป มีขึ้นหลังจากกาฬโรคระบาดมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว จึงต้องมุ่งเน้นการป้องกันโรค
ในหมู่ราษฎร เพื่อไม่ให้กาฬโรคลุกลามออกไป
๒๙๕

โปรดเกล้าฯ ให้แพทย์สุขาภิบาล พร้อมด้วยเจ้าพนักงานกองตระเวนจัดการ


ป้องกันโรคแพร่หลายโดยประการดังนี้ คือ
๑. ให้ตงั้ โรงพยาบาลส�ำหรับพยาบาลโรคทีต่ ดิ กันได้ขนึ้ ทีต่ ำ� บลคลองสาน
เพื่อจะได้แยกคนที่ป่วยเป็นกาฬโรครักษาพยาบาลต่างหาก ไม่ให้โรคแพร่หลาย
มากออกไป ในโรงพยาบาลนี้ให้มีแพทย์ไทยและพนักงานส�ำหรับพยาบาลไข้
อยู่ประจ�ำพร้อม
๒. ในบริเวณที่โรงพยาบาล ให้แยกจัดที่คนอยู่อาศัยเป็นสองแผนก
แผนกหนึ่งเป็นส่วนโรงส�ำหรับพยาบาลคนที่ป่วยไข้กาฬโรค อีกแผนกหนึ่งเป็น
ส่วนส�ำหรับคนที่ได้เกี่ยวข้องเนื่องกับผู้ที่ป่วยเป็นกาฬโรคอาศัย คือ ผู้ที่พยาบาล
คนผู้เป็นไข้กาฬโรคโดยไม่ได้ป่วย แต่เป็นที่สงสัยอยู่ว่ายังไม่สิ้นเขตอายุไข้ที่
อาจติดต่อกันได้ กล่าวคือ ก�ำหนดภายใน ๑๐ วัน เพื่อให้อาศัยอยู่ต่างหาก
จนสิ้นเขตอายุไข้อันจะติดกันได้นั้นแล้ว จึ่งควรกลับยังบ้านเรือนปะปนกันกับ
มหาชนที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ผู้ที่ป่วยไข้
๓. ในโรงพยาบาลคนป่วยเป็นไข้กาฬโรค แม้ถ้าญาติพี่น้องคนป่วยจะ
ไม่รังเกียจ เต็มใจสมัครเข้าไปพยาบาลคนไข้เอง แพทย์ก็จะยอมให้ไปอยู่รักษา
พยาบาล แต่ผู้พยาบาลนั้นจะไปจากโรงพยาบาลไม่ได้ จนกว่าแพทย์จะตรวจ
เห็นว่าสิ้นเขตอายุไข้ติดต่อกันนั้นก่อน
๔. ให้มีแพทย์ที่ทราบอาการไข้กาฬโรคเป็นเจ้าหน้าที่ประจ�ำท้องแขวง
แม้เกิดมีไข้ที่สงสัยว่าจะเป็นกาฬโรคขึ้นในต�ำบลใด ให้ผู้ปกครองคนไข้รีบน�ำข่าว
แจ้งยังโรงพักกองตระเวนทีต่ งั้ อยูใ่ กล้ เพือ่ กองตระเวนจะได้รบี แจ้งความให้แพทย์
ประจ�ำท้องแขวงไปตรวจ ถ้าอาการเป็นกาฬโรคแน่แล้ว ก็จะได้รับคนไข้ไปรักษา
พยาบาลในทันที เพื่อไม่ให้โรคนั้นติดต่อเป็นอันตรายตลอดครอบครัว หรือว่า
ญาติผู้ใดจะสมัครไปพยาบาลไข้ตามความข้อ ๓ ก็จะได้พาไปด้วยกันกับคนไข้
๒๙๖

จัดให้รักษาพยาบาลให้ถูกต้องวิธีพยาบาลไข้ ถ้าหากว่ามีผู้พยาบาลคนไข้อยู่ก่อน
เจ้าพนักงานตรวจในบ้านเรือน เจ้าพนักงานก็จะได้พาไปตรวจรักษา แม้มีไข้
ติ ด ต่ อ กั น ขึ้ น ก็ จ ะได้ รั ก ษาพยาบาลในทั น ที ไม่ ใ ห้ โรคก� ำ เริ บ ร้ า ยแรงมากไป
ถ้าไม่มีอาการป่วยไข้ก็จะได้ให้กลับคืนมายังบ้านเรือนในก�ำหนด ๑๐ วัน ซึ่งเป็น
เขตสิ้นอายุไข้ที่ติดต่อกันได้นั้น
๕. ให้มีกองเจ้าพนักงานส�ำหรับช�ำระล้างบ้านเรือนต�ำบลที่เกิดไข้
กาฬโรค เพื่อให้สิ้นตัวสัตว์ที่เกิดโรคในต�ำบลนั้น
๖. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์สุขาภิบาลเรียบเรียงแจ้ง
อาการของไข้กาฬโรคโดยสังเขป และแนะน�ำให้มหาชนปฏิบัติ เพื่อได้ป้องกัน
โรคันตรายแห่งตน ดังมีข้อความต่อไปนี้ คือ
(๑) อาการของไข้กาฬโรค
เมื่อตั้งต้นจับ มักเป็นไข้ใหญ่เกิดขึ้นในทันที ชีพจรเดินเร็ว ปวดศีรษะ
ร้อนผิวหนัง และกระหายน�้ำ ตาแดงจัด หน้าในชั้นต้นดูเหมือนคนตื่นตกใจ
แต่ไม่สู้นานนักก็กลับซีดและมัวมึน ส�ำเนียงพูดไม่ชัด เดินไม่ตรงเหมือนดังคน
เมาสุรา ที่ลิ้นในชั้นต้นเป็นฝ้าขาว แต่ในไม่สู้นานนักกลับแห้งและเป็นสีด�ำแดง
และอาการที่ชัดทีเดียวนั้น คือ บวมขึ้นที่ไข่ดัน ที่รักแร้ หรือที่คอ
อาการเช่นนี้มักจะมีขึ้นในวันที่ ๒ หรือวันที่ ๓ นับตั้งแต่วันที่ไข้เกิดขึ้น และถูก
ต้องที่บวมไม่ได้ มีความปวดเป็นก�ำลัง ขนาดที่บวมนั้นต่างๆ กัน ตั้งแต่เมล็ดถั่ว
จนเท่าผลส้มก็มี บางทีจะมีจุดผุดขึ้นที่ตามตัวเป็นสีม่วง หรือบางทีเป็นสีแดง
บางไข้ ม ากรายที่ ต ายแต่ ยั ง ไม่ บ วมก็ มี แต่ อ าการที่ เ ป็ น เช่ น นี้ บ างที ค นเจ็ บ
มี อ าการหอบมากและไอด้ ว ย ในบางไข้ ค นเจ็ บ อาเจี ย นและท้ อ งร่ ว งก็ มี
เมื่ออาการไข้ที่เป็นมีอยู่เช่นนี้ จึ่งยากที่จะรู้ได้ ด้วยเป็นสมัยที่มีไข้กาฬโรคเกิด
๒๙๗

อยู ่ เ นื อ งๆ ดั ง นี้ แม้ มี อ าการเจ็ บ โดยทั น ที อ ย่ า งใดๆ หรื อ อย่ า งร้ า ยแรง
หรืออาการหนักจะถึงอันตราย ผิดกับโรคธรรมดาฉะนั้นแล้ว ก็ควรต้องเข้าใจว่า
เป็นไข้อันสงสัยว่าไข้กาฬโรค สมควรจะต้องแจ้งความต่อกองตระเวนให้ทราบ
ในทันที ด้วยไข้กาฬโรคนี้บางทีก็เกิดขึ้นอย่างไม่สู้ร้ายแรงแก่ผู้ที่เป็น โดยมีอาการ
บวมแต่ยังสามารถเดินไปมาได้ก็มีอยู่
(๒) การที่จะป้องกันไข้กาฬโรค
ไข้กาฬโรคนี้ เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจ�ำเพาะในต�ำบลที่โสโครก
ต� ำ บลที่ อ ยู ่ เ บี ย ดเสี ย ดกั น และต� ำ บลที่ ไ ม่ มี ช ่ อ งอากาศโปร่ ง ข้ อ ต้ น ที่ ค วร
พึงกระท�ำคือ ให้กวาดล้างบ้านเรือนและบริเวณที่อยู่ให้สะอาด บรรดาขยะนั้น
ควรจะกวาดรวมกั น แล้ ว เผาเสี ย พื้ น เรื อ นและบั น ไดควรจะล้ า งให้ ส ะอาด
และฝาเรือนควรทาปูนขาว ควรจะระวังท่อน�้ำอย่าให้ตัน ให้น�้ำโสโครกไหลไป
จากบ้านเรือนได้สะดวก
อาหารที่รับประทาน อย่าให้มีตัวแมลงต่างๆ ตอมได้ และทั้งหนูด้วย
อย่าให้ไปถูกต้องได้ เพราะสัตว์เหล่านี้สามารถจะน�ำตัวโรค (เยิมร์)๑ จากคนเจ็บ
มาที่อาหาร ท�ำให้ต่อเนื่องกันได้ และเมื่อรับประทานเข้าไปก็เกิดเป็นโรคขึ้นแก่
คนดี
อนึ่ง เป็นอันได้ทราบกันอยู่ทั่วกันแล้วว่า หนูเป็นสัตว์ต้นเหตุที่น�ำ
ตัวโรค (เยิมร์) ไปจากต�ำบลหนึ่ง ยังต�ำบลอื่น เพราะฉะนั้นคนทั้งปวงควรจะ
อุตสาหะจนเต็มความสามารถที่จะจับหนูหรือฆ่าเสีย หรือจะไปขอยาเบื่อหนู
ที่ โรงพั ก กองตระเวนซึ่ ง ใกล้ เ คี ย งบ้ า นก็ ไ ด้ เจ้ า พนั ก งานจะเอายาไปเบื่ อ ให้
และจะเอาซากหนูที่ตายนั้นไปเผาให้ด้วย


Germ แปลว่า เชื้อโรค
๒๙๘

(๓) มีไข้กาฬโรคขึ้นแล้วให้กระท�ำอย่างนี้
เมื่อมีคนป่วยที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นไข้กาฬโรคเกิดขึ้นในบ้านหนึ่ง
บ้านใด ควรจะไปแจ้งต่อโรงพักกองตระเวนที่ใกล้เคียงในทันที และในระหว่าง
ที่แจ้งความนี้ ผู้ใดที่ได้ใกล้เคียงคนเจ็บ ควรจะต้องอยู่ในบ้านทุกคน เมื่อกอง
ตระเวนได้ทราบความแล้วจะได้รีบแจ้งให้เจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาลทราบ
เจ้ า พนั ก งานแพทย์ จ ะได้ ล งมื อ จั ด การที่ จ� ำ เป็ น ทั้ ง สิ้ น ในทั น ที ซึ่ ง จะป้ อ งกั น
ไม่ให้ไข้กาฬโรคนั้นติดต่อกันในหมู่ครอบครัวในบ้านเรือน และแพร่หลายไปใน
บ้านเรือนใกล้เคียงและต�ำบลอื่นๆ
๗. ให้ ร าษฎรทั้ ง หลายปฏิ บั ติ ต ามข้ อ ความแนะน� ำ ในประกาศนี้
เพือ่ จะได้พน้ โรคันตรายอันน่ากลัวดังได้แสดงมาข้างต้นประกาศนีแ้ ล้ว อย่าพากัน
ตื่นตกใจเชื่อถือถ้อยค�ำบอกเล่าที่ผิดๆ ซึ่งเป็นต้นว่า หมอฝรั่งตรวจจะจับตัวคน
อ้วนหรือคนผอมเกินไปโดยไม่ป่วยไข้เลย ว่าเป็นคนป่วย หรือจับเอาตัวคนป่วย
ไปโรงพยาบาลทายาให้ตายเสีย หรืออันใดอื่นๆ อันไม่เข้าทางรักษาพยาบาล
นั้ น เลย หากว่ า จะมี ฝ รั่ ง ผู ้ ใ ดไปขู ่ ก รรโชกตรวจและจั บ ตั ว จะลงเอาเงิ น ทอง
ไม่ได้กระท�ำการป้องกันโรคอย่างข้อความในประกาศนี้แล้ว ก็ให้รีบน�ำความ
มาแจ้ ง ยั ง กระทรวงนครบาล หรื อ กองตระเวนในต� ำ บลที่ ใ กล้ บ ้ า นในทั น ที
เจ้าพนักงานจะได้สอบสวนเอาตัวผู้ผิดฟ้องร้องเอาโทษให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป
๓๗
ประกาศมา ณ วั น พุ ธ ที่ ๑๕ กุ ม ภาพั น ธ์ รั ต นโกสิ น ทรศก ๑๒๓
[พ.ศ. ๒๔๔๗]
๒๙๙

ประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค๑

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล


ขอประกาศให้มหาชนทราบทั่วกันว่า
ในการที่เกิดมีไข้กาฬโรคขึ้นที่ต�ำบลตึกแดง ทรงพระราชด�ำริเห็นว่า
ไข้ชนิดนี้เป็นโรคอย่างร้ายแรง ตายรวดเร็วมากกว่ารักษาหาย และทั้งเป็นโรค
ที่ติดต่อกันง่ายด้วย แม้บ้านเรือนใดมีคนเป็นไข้กาฬโรคขึ้นแล้ว ครอบครัวคนใน
บ้านเรือนนั้นก็ย่อมจะเป็นติดต่อกันไป มีอันตรายถึงแก่ชีวิตมากขึ้น และไข้นั้น
อาจแพร่หลายถึงคนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงต่อๆ กันไปอีกด้วย โดยทรงพระ
มหากรุณาแก่อาณาประชาราษฎร เพื่อจะให้พ้นอกาลมรณภัย จึงทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้แพทย์สุขาภิบาล พร้อมด้วยเจ้าพนักงานกองตระเวน ตรวจตรา
คนป่วยเป็นไข้กาฬโรค แม้มีขึ้นที่แห่งใดต�ำบลใด ก็ให้รีบรับไปช่วยรักษาพยาบาล
เพื่อจะไม่ให้ไข้นั้นติดลุกลามเป็นอันตรายทั้งครอบครัว และแพร่หลายถึงเพื่อน
บ้านใกล้เคียงต่อๆ กันไป แต่ราษฎรบางคนบางหมู่ไม่ทราบความประสงค์ และ
ความช่วยป้องกันโรคแพร่หลาย ซึง่ เจ้าพนักงานแพทย์ตรวจตราจัดการนัน้ พากัน
บอกกล่ า วหรื อ เล่ า ลื อ กั น ต่ อ ๆ ไปว่ า หมอฝรั่ ง ตรวจจะจั บ ตั ว คนอ้ ว นหรื อ
คนผอมเกิ น ไปโดยไม่ ป ่ ว ยไข้ เ ลย ว่ า เป็ น คนป่ ว ย หรื อ จั บ เอาตั ว คนป่ ว ยไป
โรงพยาบาลเอาน�้ำแข็งทับ หรือเอายาทาเสียให้ตาย หรืออันใดอื่นๆ อันไม่เข้า
ทางรักษาพยาบาลเลย จนพากันตื่นตกใจทั่วทั้งพระนครนั้น เป็นความหาจริง
ตามค� ำ กล่ า วหรื อ ค� ำ เล่ า ลื อ กั น ผิ ด ๆ นั้ น ไม่ ความจริ ง ที่ เจ้ า พนั ก งานแพทย์
ตรวจตราจั ด การป้ อ งกั น กาฬโรคมี อ ยู ่ ใ นกระแสพระบรมราชโองการที่ ท รง


คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๑, วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓, หน้า ๘๗๕.
๓๐๐

พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ป ระกาศจั ด การป้ อ งกั น กาฬโรค ลงวั น ที่ ๑๕


กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ นั้นแล้ว อย่าให้ราษฎรพากันตื่นตกใจเชื่อถือ
ถ้อยค�ำเล่าลือหรือบอกเล่ากันผิดๆ นั้นเลย ให้พร้อมกันปฏิบัติตามกระแส
พระบรมราชโองการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานจัดการ
ช่วยพยาบาลไข้กาฬโรค มีข้อความบรรยายไว้ในประกาศนั้นโดยพิสดารอยู่แล้ว
๓๗
ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๒๓
[พ.ศ. ๒๔๔๐]
๓๐๑

ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค
ก�ำหนดให้แจ้งข่าวคนป่วย๑

พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศรวรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาล


รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่า ไข้กาฬโรคมีขึ้น
ในกรุงเทพฯ เป็นครั้งเป็นคราวอยู่เนืองๆ เป็นการจ�ำเป็นจะต้องจัดการระงับ
มิ ใ ห้ โรคร้ า ยอั น นี้ แ พร่ ห ลายมากไป จึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ตั้ ง
ข้อบังคับขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในประกาศนี้ ค�ำว่า “เจ้าของบ้าน” นั้น หมายความว่า ผู้ที่เป็น
หัวหน้าในครอบครัว หรือหมู่คนที่พ�ำนักอยู่ในบ้านเรือน หรือเฉพาะห้องเรือน
โรงแถวใดๆ หรือในแพในเรือล�ำใดๆ ซึ่งผู้นั้นเป็นเจ้าของเองก็ตาม หรือเป็นแต่
ผู้เช่าอยู่ก็ตาม
ถ้าวัดให้ถือว่า เจ้าวัดเป็น “เจ้าของบ้าน” ทั่วอาราม แต่ผู้ที่เป็นหัวหน้า
คนที่อยู่ในกุฎีต้องเป็น “เจ้าของบ้าน” ชั่วเฉพาะกุฎี
ถ้าโรงพยาบาลหรือโรงทหาร หรือโรงเรียน หรือสถานที่ตั้งส�ำหรับ
การกุศล หรือคุก ตาราง เรือนจ�ำก็ดี ให้ถือว่าผู้ที่เป็นหัวหน้าปกปักรักษา
สถานเหล่านั้นเป็น “เจ้าของบ้าน” ตามประกาศนี้
ข้อ ๒ ถ้าคนป่วยอาการปรากฏเหมือนไข้กาฬโรค มีขึ้นในบ้านเรือน
หรือสถานทีแ่ ห่งหนึง่ แห่งใด ผูเ้ ป็นเจ้าของบ้านต้องแจ้งความยังโรงพักกองตระเวน
ที่ตั้งอยู่ใกล้นั้นในทันที
ข้อ ๓ เมื่อมีผู้มาแจ้งความดังนั้น ให้เจ้าพนักงานผู้เป็นหัวหน้ารักษา
การในโรงพักท�ำหนังสือคู่มือว่าได้มาแจ้งความไว้เช่นนั้น ให้แก่ผู้มาแจ้งความไป

คัดจาก ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๒๓, วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๕, หน้า ๓๑๕ – ๓๑๖.
๓๐๒

เป็นส�ำคัญ แล้วให้รีบน�ำข่าวอันนั้นไปโดยพาหนะอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะหาได้
เร็วที่สุด แจ้งความให้เจ้ากรมแพทย์สุขาภิบาลทราบ
ข้อ ๔ ถ้าคนผู้ใดป่วยมีอาการเป็นไข้ตัวร้อนจัด และมีบวมขึ้นที่รักแร้
หรือที่ไข่ดัน ให้ถือว่าผู้นั้นป่วยมีอาการปรากฏเหมือนเป็นไข้กาฬโรค
ข้อ ๕ ถ้าผู้ใดที่ท�ำมาหากินทางวิชาแพทย์ก็ดี หรือผู้ใดผู้หนึ่งได้ไปรักษา
พยาบาลคนป่วยด้วยมีหน้าที่อย่างใดๆ ก็ดี เมื่อเห็นว่าคนที่ป่วยมีอาการปรากฏ
เหมือนไข้กาฬโรค ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้นั้นที่จะสอบถามเจ้าของบ้านว่า ได้น�ำ
ข่าวที่ป่วยนั้นไปแจ้งต่อกองตระเวนแล้วหรือไม่ และจะต้องขอดูหนังสือคู่มือ
ที่ควรได้รับจากกองตระเวนตามความในข้อ ๓ เป็นส�ำคัญนั้นด้วย
ถ้ายังไม่ได้น�ำข่าวคนที่ป่วยไปแจ้งต่อกองตระเวน ก็ต้องเป็นหน้าที่ของ
แพทย์ผู้นั้นที่จะต้องแจ้งข่าวต่อกองตระเวนในทันที
ข้อ ๖ ถ้าเจ้าของบ้านคนใดละเลยเสีย ไม่นำ� ข่าวคนป่วยมีอาการปรากฏ
เหมือนเป็นไข้กาฬโรคไปแจ้งแก่กองตระเวนตามที่บังคับไว้ในข้อ ๒ ในทันทีก็ดี
ถ้าคนผู้ใดที่ท�ำมาหากินทางวิชาแพทย์ หรือผู้ใดที่ได้ไปรักษาพยาบาล
คนป่วยด้วยหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเห็นว่าคนที่ป่วยนั้นมีอาการปรากฏ
เหมือนไข้กาฬโรค และได้ทราบแล้วว่าเจ้าของบ้านยังไม่ได้น�ำข่าวไปแจ้งต่อ
กองตระเวน ผู ้ นั้ น ยั ง ละเลยเสี ย ไม่ แ จ้ ง ข่ า วในทั น ที ก็ ดี ผู ้ นั้ น มี ค วามผิ ด
ต้องด้วยโทษปรับเป็นเงินไม่เกินกว่าร้อยบาท
ประกาศมา ณ วั น ที่ ๑๒ กรกฎาคม รั ต นโกสิ น ทรศก ๑๒๕
[พ.ศ. ๒๔๔๙]๑

ประกาศฉบับนีบ้ งั คับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาอีก ๖ เดือนจึงมี “ประกาศให้แจ้งความกาฬโรค”
ลงวันที่ ๒๙ มกราคม ร.ศ. ๑๒๕ เพื่อบังคับใช้ในหัวเมือง
๓๐๓

ล�ำดับเหตุการณ์ส�ำคัญเกี่ยวกับกาฬโรคสมัยรัชกาลที่ ๕
วัน เดือน ปี เหตุการณ์
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ กาฬโรคระบาดในฮ่องกง
พฤษภาคม – มิถุนายน ทูตและกงสุลประเทศต่างๆ เสนอให้รัฐบาลไทยใช้มาตรการ
พ.ศ. ๒๔๓๗ กักกันเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้กาฬโรคระบาดมาถึงเมืองไทย
รัฐบาลจึงเริ่มตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะไผ่ และร่างกฎหมายกักกันเรือ
ตามค�ำแนะน�ำของทูตต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๓๘ – ๒๔๔๐ กาฬโรคที่ฮ่องกงสงบลงใน พ.ศ. ๒๔๓๘ แต่เกิดการระบาดขึ้นอีกครั้ง
ใน พ.ศ. ๒๔๓๙ และระบาดไปถึงเมืองซัวเถาใน พ.ศ. ๒๔๔๐
๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัฐบาลไทยประกาศห้ามเรือมาจากซัวเถา เป็นกฎหมายกักกันเรือ
ฉบับแรกที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนพัฒนาเป็นประกาศ
จัดการป้องกันกาฬโรคในเวลาต่อมา
๑๖ พฤศจิกายน จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๔๐
๒๑ พฤศจิกายน แต่งตั้งนายแพทย์ไนติงเกล เป็นแพทย์สุขาภิบาล และได้ด�ำเนินการ
พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่างๆ เพื่อป้องกันกาฬโรคระบาดในกรุงเทพฯ
สิงหาคม – กันยายน กาฬโรคระบาดที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์
พ.ศ. ๒๔๔๓ นายแพทย์ไฮเอตเดินทางไปศึกษาเรื่องการระบาดและวิธีป้องกัน
พฤษภาคม – มิถุนายน กาฬโรคระบาดที่ภูเก็ต และต่อมาก็ระบาดเกือบทุกปี
พ.ศ. ๒๔๔๔
๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ นายแพทย์ไฮเอตส่งรายงานการระบาดของกาฬโรคในกลาสโกว์
พร้อมด้วยข้อคิดเห็นพิเศษเกีย่ วกับโอกาสเกิดการระบาดในกรุงเทพฯ
๓๐๔

วัน เดือน ปี เหตุการณ์


ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ นายแพทย์ไฮเอตได้รับต�ำแหน่งแพทย์สุขาภิบาล แทนนายแพทย์
ไนติงเกลที่ลากลับประเทศ
๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ พบผู้ป่วยกาฬโรครายแรกในกรุงเทพฯ บริเวณตึกแดง ฝั่งตะวันตก
ของแม่น�้ำเจ้าพระยา นายแพทย์ไฮเอตเสนอให้ด�ำเนินการต่างๆ
ในทันที เช่น กักบริเวณการระบาด สร้างโรงพยาบาลกักกันโรค
ที่คลองสาน แต่งตั้งผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล ประกาศจับหนู ประกาศ
กฎหมายจดทะเบียนคนตาย และสั่งซื้อซีรัมป้องกันกาฬโรค
๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ กระทรวงนครบาลจ้างแพทย์ชาวตะวันตกหลายคนเป็นกรณีพิเศษ
เพื่อให้คอยระวังป้องกันกาฬโรคในท้องที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ
๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๗ ประกาศตั้งด่านกักกันเรือที่เกาะพระ เพื่อใช้แทนด่านเดิมที่เกาะไผ่
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ ตั้งโรงพยาบาลกาฬโรคที่คลองสาน
๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ กรมสุขาภิบาลประกาศให้ราษฎรจัดการบ้านเรือนให้สะอาด
เพื่อป้องกันกาฬโรค
๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ พบผู้ป่วยกาฬโรคบริเวณส�ำเพ็ง
๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ การระบาดของกาฬโรคในกรุงเทพฯ สงบลงชั่วคราว
๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ มีข่าวลือแพร่สะพัดในกรุงเทพฯ ว่า แพทย์สุขาภิบาลเที่ยวจับ
คนเป็นกาฬโรคไปกักไว้ในโรงพยาบาลกาฬโรค แล้วฆ่าทิ้ง
๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๗ ประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค
เพื่อไม่ให้ราษฎรหลงเชื่อข่าวลือต่างๆ อันเป็นเท็จ
๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๘ กาฬโรคเริ่มระบาดขึ้นอีกครั้งในกรุงเทพฯ ที่ต�ำบลตลาดน้อย
และลุกลามไปยังต�ำบลอื่นๆ
๓๐๕

วัน เดือน ปี เหตุการณ์


กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ กาฬโรคระบาดที่สระบุรี
๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ กาฬโรคระบาดในหลายต�ำบลของกรุงเทพฯ นายแพทย์ไฮเอต
จึงเสนอย�้ำอีกครั้งว่าต้องมีกฎหมายจดทะเบียนคนตาย
และกฎหมายบังคับให้แจ้งความเมื่อมีผู้ป่วยกาฬโรค
ธันวาคม – มกราคม กาฬโรคระบาดที่ราชบุรี ไชยา นครชัยศรี และเพชรบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๘
๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ ที่ประชุมเสนาบดีสภามีมติให้ยุบกรมพยาบาล และย้ายงานรักษา
พยาบาลในกรุงเทพฯ และหัวเมือง ไปไว้กับกระทรวงนครบาล
และกระทรวงมหาดไทยตามล�ำดับ เพื่อให้จัดการป้องกันกาฬโรค
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคในกรุงเทพฯ ก�ำหนดให้แจ้งความ
เมื่อมีผู้ป่วยเป็นกาฬโรค
ตุลาคม – พฤศจิกายน กาฬโรคระบาดที่นครราชสีมา
พ.ศ. ๒๔๔๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙ กาฬโรคระบาดที่อยุธยา
ธันวาคม – มกราคม กาฬโรคระบาดที่เพชรบุรี นายแพทย์คาร์ทิว ผู้ช่วยแพทย์สุขาภิบาล
พ.ศ. ๒๔๔๙ ไปช่วยจัดการป้องกันโรค
๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กาฬโรคระบาดในหลายต�ำบลของกรุงเทพฯ จึงต้องเรียกตัวนายแพทย์
คาร์ทิวกลับจากเพชรบุรี
๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ กระทรวงมหาดไทยจัดการประชุมเรื่องวิธีป้องกันและตั้งโรงพยาบาล
กาฬโรคตามหัวเมือง
๓๐๖

วัน เดือน ปี เหตุการณ์


๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรคในหัวเมือง ก�ำหนดให้แจ้งความ
เมื่อมีผู้ป่วยเป็นกาฬโรค
กรกฎาคม – สิงหาคม กาฬโรคระบาดที่มีนบุรี ธัญบุรี และฉะเชิงเทรา
พ.ศ. ๒๔๕๐ และต่อมาก็มีการระบาดในหัวเมืองเกือบทุกปี
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ นายแพทย์ยอร์ช แมกฟาร์แลนด์ พิมพ์เผยแพร่ต�ำราแพทย์
แสดงด้วยกาฬโรค
ภาคผนวก
สมมุติฐานเรื่องกาฬโรคสมัยพระเจ้าอู่ทอง
การระบาดของกาฬโรคที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
พ.ศ. ๑๘๙๑ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ที่มา : Wellcome Library no10124i
Cited in https://wellcomecollection.org/works/awnp6vyq
สมมุติฐานเรื่องกาฬโรคสมัยพระเจ้าอู่ทอง

สมเด็ จ พระรามาธิ บ ดี ที่ ๑ หรื อ พระเจ้ า อู ่ ท อง ปฐมกษั ต ริ ย ์


แห่งราชวงศ์อู่ทองผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓
ปรากฏหลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ เช่ น พงศาวดารเหนื อ จดหมายเหตุ
วันวลิต และพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ล้วนกล่าวถึงการเกิดโรคระบาด
ร้ายแรงในช่วงเวลานัน้ หรือทีเ่ รียกว่า “โรคห่า” จนท�ำให้ผคู้ นเสียชีวติ จ�ำนวนมาก
และเป็นสาเหตุของการอพยพย้ายเมืองมาตั้งกรุงศรีอยุธยา
แม้วา่ ในหลักฐานประวัตศิ าสตร์จะไม่ระบุชอื่ และอาการของโรคระบาด
ดังกล่าว แต่หากพิจารณาจากช่วงเวลาแล้ว การสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.
๑๘๙๓ ตรงกับช่วงเวลาที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคทั่วยุโรปและจีน
ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๘๙ – ๑๘๙๔ หรือที่เรียกว่า “Black Death” ซึ่งถือเป็น
การระบาดวงกว้ า งของกาฬโรคเป็ น ครั้ ง ที่ ๒ ในประวั ติ ศ าสตร์ โ ลก จึ ง มี
นักวิชาการตั้งสมมุติฐานว่า โรคระบาดที่เป็นสาเหตุของการอพยพย้ายเมือง
มาตั้งกรุงศรีอยุธยาคือ กาฬโรค ซึ่งระบาดมาจากจีนผ่านการติดต่อค้าขาย
ทางเรือส�ำเภา โดยมีหนูเป็นพาหะของโรค๑


สุจิตต์ วงศ์เทศ และคณะ, Black Death โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง : ฝังโลกเก่า
ฟื้นโลกใหม่ ได้ “ราชอาณาจักรสยาม” (กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๓), หน้า ๖ - ๑๕.
๓๑๐

เอกสารที่กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ จัดพิมพ์เผยแพร่
ในงานเสวนาเกี่ยวกับกาฬโรคสมัยพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
๓๑๑

สมมุติฐานดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล ทั้งด้านบริบทและช่วงเวลา
เนื่องจากไทยมีการติดต่อค้าขายกับจีนมาตั้งแต่ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เมื่อมีกาฬโรคระบาดอย่างรุนแรงในจีน จึงมีโอกาสที่จะระบาดมาถึงไทยด้วย
แต่หากพิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลของประเทศอื่นๆ ตลอดจนงานศึกษาของ
ต่างประเทศ ก็ท�ำให้เกิดข้อสงสัยหรือข้อถกเถียงบางประการต่อสมมุติฐานนี้
ประการที่หนึ่ง กาฬโรคเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรงและรวดเร็ว ทั้งยังมี
หนูเป็นพาหะเพาะโรคซุกซ่อนอยู่ในธรรมชาติ และสะสมเชื้อไว้ในสิ่งแวดล้อม
เมื่อเกิดการระบาดในพื้นที่ใดแล้ว จึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดการระบาดซ�้ำอีก เช่น
การระบาดของกาฬโรคที่ยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๙ – ๑๘๙๔ นั้ น ภายหลั ง
การระบาดสงบลงแล้ ว ก็ เ กิ ด การระบาดซ�้ ำ อี ก หลายครั้ ง ในประเทศต่ า งๆ
เป็นเวลาหลายร้อยปี แล้วจึงค่อยๆ ลดลงในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ตรงกันข้าม
กับกรณีของไทย ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงในช่วงเวลาเดียวกัน กลับไม่พบการระบาด
อีกเลย กล่าวคือภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ หลักฐาน
ประวัติศาสตร์ของไทยไม่ปรากฏชื่อกาฬโรค หรือเหตุการณ์ที่อาจเป็นการระบาด
ของกาฬโรคเลย เป็นเวลา ๕๐๐ ปีเศษ จนกระทั่งเกิดการระบาดของกาฬโรค
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งยังแตกต่างจากโรคระบาดอื่นๆ เช่น อหิวาตกโรคและ
ไข้ ท รพิ ษ ซึ่ ง ปรากฏชื่ อ ในหลั ก ฐานประวั ติ ศ าสตร์ ส มั ย อยุ ธ ยาหลายครั้ ง
โดยเฉพาะไข้ทรพิษ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่ส�ำคัญมากในสมัยอยุธยาตราบจนถึง
ต้นรัตนโกสินทร์๑


ดู ธันวา วงศ์เสงีย่ ม (บรรณาธิการ), หมอบรัดเลกับการปลูกฝีในสยาม (กรุงเทพฯ : ส�ำนัก
วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๐).
๓๑๒

ประการที่สอง แม้กาฬโรคจะระบาดไปทั่วยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๙ –


๑๘๙๔ แต่ ก็ มี บ างเมื อ งหรื อ บางประเทศในยุ โรปที่ ไ ม่ มี ก ารระบาด หรื อ มี
การระบาดค่อนข้างน้อย แม้จะอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีการระบาดรุนแรง เช่น
เมืองมิลานในอิตาลี และราชอาณาจักรโปแลนด์ เป็นต้น นอกจากนี้ กาฬโรค
ยั ง ระบาดไปเกื อ บทั่ ว ประเทศจี น แต่ ไ ม่ พ บหลั ก ฐานว่ า มี ก ารระบาด
อย่ า งร้ า ยแรงในญี่ปุ่น ทั้งที่อยู่ใกล้และมีก ารติด ต่ อ ค้ า ขายกั บจี นโดยตลอด
หากสั น นิ ษ ฐานว่ า กาฬโรคระบาดมาจากจี น จนเป็ น สาเหตุ ข องการ
อพยพมาตั้งกรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ถ้าเช่นนั้นก็น่าจะมีกาฬโรคระบาด
ภายหลังการตั้งกรุงศรีอยุธยาด้วย เพราะกาฬโรคยังคงระบาดในหลายมณฑล
ของจีนจนถึงราว พ.ศ. ๑๙๐๕ เป็นอย่างน้อย๑ ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยามี
สภาพเป็นเมืองที่มีผู้คนหนาแน่นขึ้น และมีการติดต่อค้าขายกับจีน จึงมีโอกาส
สูงที่จะเกิดกาฬโรคระบาด แต่กลับไม่ปรากฏหลักฐานการระบาดภายหลัง
การก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเลย
นอกจากนี้ หากโรคระบาดที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งสถาปนากรุงศรีอยุธยา
เป็นกาฬโรคที่ระบาดมาจากจีนจริง ก็ควรปรากฏหลักฐานการระบาดในเมืองท่า
อื่นๆ ที่มีการติดต่อค้าขายกับจีนด้วย เช่น นครศรีธรรมราช ปัตตานี ชวา ฯลฯ
แต่ไม่พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงว่า บริเวณดังกล่าวมีโรคระบาด
อย่างร้ายแรงในช่วงเวลานั้น อีกทั้งงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์การแพทย์
และโรคภัยไข้เจ็บในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ไม่ปรากฏข้อมูลเรื่อง


George D. Sussman, “Was the Black Death in India and China?,” Bulletin of
the History of Medicine, Vol. 85, No. 3, Fall 2011, p. 348.
๓๑๓

การระบาดของกาฬโรคในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งตรงกันข้ามกับโรคอื่นๆ เช่น


ไข้ทรพิษ ที่มีข้อมูลการระบาดมากมาย โดยเฉพาะในชวา๑ ส่วนกาฬโรคนั้น
ปรากฏการระบาดในสมัยหลังๆ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๕ และสอดคล้อง
กับการระบาดวงกว้างครั้งที่ ๓ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕
ประการสุ ด ท้ า ย งานวิ ช าการหลายเรื่ อ งได้ ตั้ ง ค� ำ ถามเกี่ ย วกั บ
การเกิดกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ ทั้งในยุโรป อินเดีย และจีน เช่น บทความ
เรื่อง “The Black Death: End of a Paradigm” (2002) ของ Samuel K.
Cohn, Jr. ๒ ซึ่งเสนอว่าโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในยุโรปยุคกลาง หรือ
ที่เรียกว่า Black Death นั้น อาจไม่ใช่กาฬโรคอย่างที่เข้าใจกัน เนื่องจาก
มี ลั ก ษณะหลายประการที่ แ ตกต่ า งจากการระบาดของกาฬโรคที่ ท ราบจาก
การศึกษาทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทั้งอาการของโรค การลุกลามของโรค
ตลอดจนผลกระทบทางสั ง คมที่ เ กิ ด ขึ้ น ในขณะเดี ย วกั น บทความเรื่ อ ง
“Was the Black Death in India and China?” (2011) ของ George
D. Sussman ๓ ก็ ตั้ ง ข้ อ สงสั ย เรื่ อ งโรคระบาดที่ เ กิ ด ขึ้ น ในอิ น เดี ย และจี น
ในช่วงเวลาเดียวกัน Sussman ใช้เอกสารชั้นต้นของอินเดียและจีนน�ำเสนอ
ว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอินเดียและจีนสมัยนั้นอาจไม่ใช่กาฬโรค ด้วยเหตุผล
หลายประการ เช่น การไม่ปรากฏค�ำอธิบายอาการของโรคระบาดในเอกสาร


Norman G. Oven (Editor), Death and Disease in Southeast Asia :
Explorations in Social, Medical and Demographic History (Singapore : Oxford
University Press, 1987).

Samuel K. Cohn, Jr., “The Black Death: End of a Paradigm,” The American
Historical Review, Vol. 107, No. 3 (June 2002), pp. 703 – 738.

George D. Sussman, “Was the Black Death in India and China?,” pp. 319 -
355.
๓๑๔

ประวั ติ ศ าสตร์ ข องอิ น เดี ย และจี น ทั้ ง ที่ ก าฬโรคเป็ น โรคที่ มี อ าการเด่ น ชั ด
การกล่าวถึงชือ่ โรคโดยใช้คำ� กล่าวกว้างๆ อาจหมายถึงโรคระบาดชนิดอืน่ ทีเ่ กิดขึน้
เนืองๆ เช่น ไข้ทรพิษ อีกทัง้ ชุมชนเมืองของอินเดียและจีนก็อยูห่ า่ งไกลกันมากกว่า
ในยุโรป ไม่เอื้อต่อการแพร่ระบาดของกาฬโรค ตลอดจนระยะทางและความเร็ว
ของการระบาดก็ ไ ม่ น ่ า เป็ น ไปได้ เมื่ อ เที ย บกั บ การระบาดในยุ โรป ดั ง นั้ น
จึงอาจยังสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่า โรคระบาดในอินเดียและจีนเวลานั้น เป็นกาฬโรค
จริงหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อสมมุติฐานที่ว่าโรคระบาดเมื่อครั้งสถาปนากรุงศรี
อยุธยาเป็นกาฬโรคทีร่ ะบาดมาจากจีนด้วย จึงเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งศึกษาค้นคว้ากันต่อไป
การศึกษาวิเคราะห์โรคระบาดอื่นๆ ที่อาจเป็นไปได้
จากการตรวจสอบหลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ส มั ย อยุ ธ ยาพบว่ า
โรคระบาดที่ปรากฏชื่อในเอกสารประวัติศาสตร์ และอาจเป็นสาเหตุของการที่
พระเจ้าอู่ทองทรงอพยพราษฎรมาตั้งราชธานีที่กรุงศรีอยุธยา มีดังนี้
อหิวาตกโรค
อหิวาตกโรค (Cholera) เป็นโรคทีเ่ กิดจากเชือ้ แบคทีเรีย ติดต่อผ่านทาง
อาหารและน�้ำดื่ม ท�ำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
เกิดการระบาดได้เป็นวงกว้างผ่านแหล่งน�้ำที่ใช้ร่วมกัน เป็นโรคเก่าแก่ที่ปรากฏ
ในหลั ก ฐานประวั ติ ศ าสตร์ ตั้ ง แต่ ส มั ย อยุ ธ ยา และอาจเป็ น สาเหตุ ใ นการ
อพยพย้ายเมืองมาตั้งกรุงศรีอยุธยา ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ
มีพระวินิจฉัยไว้ว่า สาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา
นั้น เป็นเพราะล�ำน�้ำจระเข้สามพันตื้นเขินด้วยสายน�้ำเปลี่ยนทาง เมืองอู่ทองจึง
กันดารน�้ ำ จนเกิ ด โรคห่าขึ้น ซึ่งอาจเป็นอหิวาตกโรค พระเจ้ า อู ่ ท องจึ ง ต้ อ ง
๓๑๕

ทรงอพยพย้ายเมืองมาตั้งกรุงศรีอยุธยา๑ นอกจากนี้ ราว ๑๓ ปี หลังจากที่


พระเจ้ า อู ่ ท องทรงสถาปนากรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาแล้ ว ยั ง ปรากฏหลั ก ฐานการเกิ ด
อหิวาตกโรคในหมู่ชนชั้นสูง ดังความในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ
ว่า “เจ้าแก้วเจ้าไทออกอหิวาต์ตกโรคตาย ให้ขุดขึ้นเผาเสีย”๒ แสดงให้เห็นว่า
ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีความรู้เกี่ยวกับความร้ายแรงของอหิวาตกโรคแล้ว และมี
วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้โรคระบาดลุกลามออกไป
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษามีข้อสังเกตว่าเมืองอู่ทองร้างไปก่อนการ
สถาปนากรุงศรีอยุธยามานานแล้ว โรคห่าในเมืองอู่ทองจึงไม่เกี่ยวข้องกับการ
สถาปนากรุงศรีอยุธยา๓ สอดคล้องกับพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จประพาสล�ำน�้ำมะขามเฒ่า เมืองสุพรรณบุรี
พ.ศ. ๒๔๕๑ ความว่า “อู่ทองที่หนีห่าไม่ใช่อู่ทองที่ไปเป็นเจ้าแผ่นดินที่กรุงเก่า
เป็นอู่ทององค์อื่น อู่ทองมีหลายองค์เป็นต�ำแหน่งเจ้า”๔
ส่วนประเด็นเรื่องโรคระบาดนั้น B. J. Terwiel วิเคราะห์ไว้ว่า ค�ำว่า
อหิวาต์ หรืออหิวาตกโรค ในเอกสารเก่ามาจากชื่อโรคติดต่อโบราณในภาษาบาลี


สมเด็จฯ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ, นิทานโบราณคดี (พระนคร : เขษมบรรณกิจ,
๒๕๐๓), หน้า ๔๖๐.

กรมศิลปากร, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓ (กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒), หน้า ๒๑๔. สันนิษฐานว่า เจ้าแก้ว เจ้าไท เป็นเชื้อ
พระวงศ์ของเขมรที่ส่งมาเป็นตัวประกันในกรุงศรีอยุธยา.
๓ สุจิตต์ วงศ์เทศ และคณะ, Black Death โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง :
ฝังโลกเก่า ฟื้นโลกใหม่ ได้ “ราชอาณาจักรสยาม”, หน้า ๘.
๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระราชหัตถเลขาเรือ่ ง เสด็จประพาสล�ำน�ำ้
มะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๖๑), หน้า ๖๖.
๓๑๖

ซึ่งอาจไม่ได้หมายถึงอหิวาตกโรค (Cholera) ที่ท�ำให้เกิดอาการท้องร่วง


ตามความหมายในปัจจุบันก็ได้๑ จึงต้องศึกษาข้อถกเถียงกันต่อไป
ไข้ทรพิษ
ไข้ทรพิษ (Smallpox) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อผ่านการ
สัมผัสและการหายใจ ท�ำให้เกิดหนองฝีอย่างรุนแรงทั่วทั้งตัวและเสียชีวิตอย่าง
รวดเร็ว มีการระบาดเป็นประจ�ำในจีนและอินเดียมานานกว่าสองพันปีแล้ว
เมื่ อ ชาวจี น เดิ น ทางติ ด ต่ อ ค้ า ขายหรื อ อพยพมาสู ่ เ อเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้
ก็ น� ำ โรคไข้ ท รพิ ษ มาด้ ว ยและส่ ง ผลกระทบต่ อ ชาวเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้
อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในระยะแรกๆ ของการระบาดมาถึง จนกลายเป็น
โรคประจ� ำ ถิ่ น ในที่ สุ ด ผู ้ ที่ เ คยป่ ว ยเป็ น โรคนี้ แ ล้ ว หากรอดชี วิ ต มาได้ ก็ จ ะมี
ภูมิคุ้มกัน การระบาดจึงมักเกิดเป็นวัฏจักรทุกๆ ๗ – ๑๐ ปี เมื่อประชากร
รุ่นใหม่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเติบโตขึ้นมา๒
ไข้ ท รพิ ษ ปรากฏในเอกสารประวั ติ ศ าสตร์ ห ลายครั้ ง นั บ แต่ ส มั ย
อยุธยา เรียกชื่อต่างกันไป เช่น ทรพิษ ไข้ทรพิษ ออกหัดทรพิษ ออกฝี ฝีดาษ
เป็นต้น ส่วนใหญ่จะเกิดเมื่อยามมีสงคราม พระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์
หลายพระองค์ที่ประชวร หรือสวรรคตด้วยไข้ทรพิษ เช่น สมเด็จพระบรมราชา
หน่อพุทธางกูร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ เป็นต้น
ชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาในสยามสมัยอยุธยา เช่น ลาลูแบร์และตุรแปง


B. J. Terwiel, “Asiatic Cholera in Siam: Its First Occurrence and the 1820
Epidemic,” Death and Disease in Southeast Asia : Explorations in Social, Medical
and Demographic History, pp. 143 – 144.

Anthony Reid and Jiang Na, “The Battle of the Microbes: Smallpox, Malaria
and Cholera in Southeast Asia,” Asia Research Institute Working Paper Series,
No. 62, April 2006, pp. 10 - 12.
๓๑๗

ก็ระบุว่าไข้ทรพิษเป็นโรคที่ท�ำให้คนตายมากที่สุด และโรคห่าที่แท้จริงของสยาม
ก็คือไข้ทรพิษ๑
ส่วนต�ำนานเรื่องท้าวแสนปม ซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าอู่ทองนั้น
ปรากฏหลักฐานในจุลยุทธการวงศ์ สันนิษฐานว่าแต่งโดยสมเด็จพระพนรัตน (แก้ว)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ระบุว่าท้าวแสนปมมีหูดต่อมขึ้นทั่วร่างกาย๒
ซึ่งคล้ายกับอาการของผู้เป็นโรคไข้ทรพิษที่มีตุ่มฝีขึ้นทั่วทั้งตัว ส่วนพระราช
พงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียมระบุว่า โรคระบาดที่ท�ำให้พระเจ้า
อู ่ ท องทรงอพยพย้ า ยเมื อ งมาตั้ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาคื อ ไข้ ท รพิ ษ ๓ อย่ า งไรก็ ต าม
เนื้อความดังกล่าวไม่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับอื่นๆ
ไข้จับสั่น
ไข้จับสั่น หรือมาลาเรีย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อปรสิตชนิดโปรโตซัว
มียงุ เป็นพาหะ ยุงชนิดนีม้ ชี กุ ชุมในป่าและแพร่พนั ธุโ์ ดยวางไข่ตามแหล่งน�ำ้ ล�ำธาร
จึงเป็นโรคที่พบมากในเขตร้อนชื้น (Tropical) ที่มีภูมิประเทศเป็นป่าฝน ผู้ป่วย
ที่ได้รับเชื้อจะมีไข้สูงเป็นช่วงๆ หนาวสั่น ตับและม้ามโต ปอดบวม เพ้อ ชัก
และเสียชีวิตในที่สุด ผู้ที่รอดชีวิตมาได้ก็จะยังมีเชื้ออยู่ในร่างกายจนเป็นโรค
ไข้จับสั่นเรื้อรัง และพร้อมจะมีอาการก�ำเริบขึ้นมาได้ทุกเมื่อ


ธันวา วงศ์เสงี่ยม (บรรณาธิการ), หมอบรัดเลกับการปลูกฝีในสยาม, หน้า ๕ – ๖.

ปัจจุบันค�ำว่าท้าวแสนปมเป็นชื่อโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่มีอาการเป็นตุ่มเนื้องอก
ทั่วทั้งตัว

กรมศิลปากร, ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๒ (กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรม
และประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒), หน้า ๑๐.
๓๑๘

หากพิจารณาสภาพภูมิประเทศในสมัยอยุธยา ที่ยังคงมีป่าเขาล�ำธาร
มี ยุ ง ชุ ก ชุ ม ชุ ม ชนเมื อ งอยู ่ ห ่ า งกั น การแพทย์ แ ละสาธารณสุ ข ยั ง ไม่ เจริ ญ
จึงสันนิษฐานว่า มีจ�ำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคไข้จับสั่นสูงมาก๑
ต�ำนานเรื่องพระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงศรีอยุธยา ปรากฏในพงศาวดาร
กรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต เขียนขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง กล่าวถึง
หนองน�้ำที่มีพญานาคคอยพ่นพิษออกมา ท�ำให้ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นเกิดโรค
ระบาดเสียชีวิต พระเจ้าอู่ทองจึงทรงท�ำพิธี ๓ ประการ คือ การยิงธนูให้กลับมา
เข้ากระบอกเดิม การใช้ข้าวชโลมพระวรกาย การมวนใบพลูเสวยเป็นหมากพลู
จากนั้นจึงทรงถมหนองน�้ำ ท�ำให้โรคระบาดหมดไป และทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา
ขึ้นในบริเวณนั้น๒ โรคระบาดในต�ำนานเรื่องนี้มักจะมีผู้ตีความว่า คือไข้ทรพิษ
เนื่องจากมีลักษณะเป็นพิษ ซึ่งสอดคล้องกับพิษของพญานาค แต่ Anthony
Reid และ Jiang Na ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ต�ำนานเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับอภินิหาร
และสิ่งเหนือธรรมชาติ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับการถมหนองน�้ำและการใช้ข้าว


ในสมัยที่การแพทย์และสาธารณสุขยังไม่เจริญ ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้จับสั่น
จ�ำนวนมาก จากสถิติของกรมอนามัยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๙๐ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไข้จับสั่น
ปีละ ๓๐,๐๐๐ – ๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๕ – ๒๐ ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด และ
เป็นอัตราส่วนทีส่ งู ทีส่ ดุ ในจ�ำนวนโรคระบาดต่างๆ, อ้างจาก กระทรวงสาธารณสุข, อนุสรณ์กระทรวง
สาธารณสุขครบ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๕๐๐ (พระนคร : โรงพิมพ์อุดม, ๒๕๐๐), หน้า ๒๕๙.
๒ กรมศิลปากร, รวมบันทึกประวัติศาสตร์อยุธยาของฟาน ฟลีต (วัน วลิต) (กรุงเทพฯ :
หจก. โชติวงศ์ ปริ้นติ้ง, ๒๕๔๖), หน้า ๑๗๗ – ๑๗๙.
๓๑๙

มาท�ำพิธี อาจสะท้อนถึงความทรงจ�ำเกี่ยวกับการถมแหล่งน�้ำ และการหักร้าง


ถางพงมาเป็นพื้นที่ปลูกข้าวในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีผลในการขจัดโรคไข้จับสั่น๑
เพราะไปลดที่อยู่อาศัยของยุง และท�ำให้ยุงอยู่ห่างไกลจากชุมชนเมือง จนไม่
เป็นภัยต่อความมั่นคงอีกต่อไป ไข้จับสั่นจึงเป็นอีกโรคหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นในสมัย
อยุธยา

กล่าวโดยสรุป แม้ว่าการสถาปนากรุงศรีอยุธยาจะตรงกับช่วงเวลาที่มี
โรคระบาดครั้งใหญ่ในยุโรปและบางส่วนในเอเชีย ที่เรียกว่า Black Death
แต่ ใ นดิ น แดนเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ ไม่ ป รากฏข้ อ มู ล ชั ด เจนว่ า
มี โรคระบาดร้ า ยแรงในช่ ว งเวลาดั ง กล่ า ว ถึ ง แม้ จ ะมี ร ่ อ งรอยของการเกิ ด
โรคระบาดในช่ ว งเวลาที่ มี ก ารสถาปนากรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาเป็ น ราชธานี แต่ ไ ม่
ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า โรคระบาดนั้นคือโรคอะไร ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายให้
มีการศึกษาค้นคว้าอย่างลุ่มลึกต่อไปในอนาคต


Anthony Reid and Jiang Na, “The Battle of the Microbes: Smallpox, Malaria
and Cholera in Southeast Asia,” pp. 7 - 8.
บรรณานุกรม
เอกสารจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, น. ร.๕. น.๕ – ๗๙ Local Sanitary Department,
Health Officer’s Report, Year 126.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๔๔.๒/๗ ราษฎรเมืองภูเก็ตเป็นกาฬโรคตาย
(๑๔ ก.ค. ๑๒๕ – ๖ พ.ย. ๑๒๕).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๓ ราชทูตเยอรมันขอรายงานกรมสุขาภิบาล
(๑ เม.ย. – ๒๒ มิ.ย. ๑๑๙).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๗ รายงานประจ�ำเดือนสุขาภิบาล ศก ๑๒๐
(ร.ศ. ๑๒๐ – ๙ ก.ย. ๑๒๑).
หอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ , ร.๕ น.๕.๕/๑๑ รายงานประจ� ำ ปี ก รมสุ ข าภิ บ าล
(๒๕ ก.ย. ๑๒๒ – ๒ ม.ค. ๑๒๒).
หอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ , ร.๕ น.๕.๕/๑๔ รายงานประจ� ำ ปี ก รมสุ ข าภิ บ าล
(๑ เม.ย. ๑๒๓ – ๓๑ มี.ค. ๑๒๔).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๕/๑๕ ส่งรายงานกรมสุขาภิบาล ประจ�ำศก ๑๒๖
(๒๒ มี.ค. ๑๒๓).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๖/๒ หมอไนติงเกลส่งรายงานประจ�ำปีของกอง
แพทย์สุขาภิบาล (๒๑ ม.ค. ๑๑๖).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๐ การป้องกันกาฬโรค (๒๒ –๒๔ ส.ค. ๑๒๐).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๗ จัดการป้องกันกาฬโรคในโรงทหาร
(๒๗ ม.ค. ๑๒๓ – ๒๙ ส.ค. ๑๒๗).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๑๘ จัดการป้องกันกาฬโรคในกรมไปรษณีย์
และโทรเลข (๒๔ ธ.ค. – ๒๔ ม.ค. ๑๒๓).
หอจดหมายเหตุ แ ห่ ง ชาติ , ร.๕ น.๕.๗/๒๓ จั ด การป้ อ งกั น กาฬโรคหั ว เมื อ ง
(๒๓ ม.ค. – ๑๐ ก.พ. ๑๒๕).
๓๒๑

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗/๓๓ ไข้บวม เมืองนครราชสีมา (๑ พ.ค. –


๑๐ ก.ค. ๑๒๘).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๑ รายงานเรื่องไข้กาฬโรค (๘ ก.พ. ๑๒๓ –
๒๗ พ.ค. ๑๒๔).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕. น.๕.๗ก/๑๕ มีกาฬโรคเกิดขึ้นในที่ต�ำบลตลาดน้อย
ตาย ๒ คน แพทย์สุขาภิบาลมีความเห็นขอจ้างคนตรวจโรคตามบ้าน ๒ คน
และออกประกาศจ้างราษฎรจับหนูอีกด้วย (๒๒ มิ.ย. ๑๒๔ – ๑ ก.ค. ๑๒๔).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๖ พระสราภัยกับราษฎรบ้านหลังวัดระฆังเป็น
กาฬโรค และขอพระบรมราชานุญาตเพิม่ เงินส�ำหรับท�ำโรงพยาบาลไข้กาฬโรค
ที่คลองสานด้วย (๒๑ ก.ค. ๑๒๔ – ๑๓ ต.ค. ๑๒๕).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๑๗ กาฬโรคเกิดขึ้นที่สระบุรีกับที่สเตชั่น
รถไฟบ้านโป่ง และต�ำบลพระปฐมเจดีย์ แพทย์ได้จัดการตรวจ (๒๓ มิ.ย. –
๑๕ ม.ค. ๑๒๔).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๒ กาฬโรคตึกขาว ออกประกาศจัดการป้องกัน
กาฬโรค ก�ำหนดให้แจ้งข่าวคนป่วย (๒๐ มิ.ย. ๑๒๕ – ๒๖ ต.ค. ๑๒๕).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๓ คนเป็นไข้กาฬโรคในกรุงเทพฯ จ�ำนวนปี
รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ (๑๓ ส.ค. ๑๒๕ – ๔ ม.ค. ๑๒๕).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๕ แพทย์สุขาภิบาลตรวจอาการป่วย
นายเล็ก พนักงานพัสดุกระทรวงโยธาธิการ ว่าเป็นกาฬโรค (๒๙ ต.ค.
๑๒๕ – ๖ เม.ย. ๑๒๕).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ร.๕ น.๕.๗ก/๓๖ หมอคาร์ทิวผู้ไปช่วยจัดการระงับกาฬโรค
ที่เมืองเพชรบุรียื่นความเห็นว่าไข้นั้นร้ายกาจ ขอให้กระทรวงมหาดไทยคิด
จัดหาแพทย์ประจ�ำ เพราะถ้าในกรุงเทพมีไข้กาฬโรคหรือโรคอันใดฉุกเฉิน
แพทย์สุขาภิบาลต้องท�ำการเต็มหน้าที่ ไปท�ำการนอกกรมไม่ได้ (๑๑ – ๒๑
ม.ค. ๑๒๕).
๓๒๒

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ค/๑ จดหมายไปมาในระหว่างกรมพยาบาลกับ


กระทรวงธรรมการ ในเรื่องป้องกันโรคร้าย (๑๕ พ.ค. – ๑๐ ส.ค. ๒๔๓๗).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ค/๒ ข้อบังคับพิเศษของกรมพยาบาลเรื่องจัดการ
ป้องกันโรคร้าย (๒๘ พ.ค. – ๓ ต.ค. ๒๔๓๗).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ค/๙ แขกตึกแดงเป็นกาฬโรค (๒๓ ธ.ค. ๒๔๔๗).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, ศธ. ๘.๔ค/๑๗ กาฬโรคมณฑลปราจีน (๑๔ – ๒๓ ก.ย.
๒๔๕๐).

ราชกิจจานุเบกษา
“ประกาศกรมสุขาภิบาล เรื่องจัดการบ้านเรือนให้สะอาด.” ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม ๒๑, วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓.
“ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค ก�ำหนดให้แจ้งข่าวคนป่วย.” ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม ๒๓, วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๕.
“ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๕, วันที่ ๗ เมษายน
ร.ศ. ๑๑๗.
“ประกาศจัดการป้องกันกาฬโรค.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๑, วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์
ร.ศ. ๑๒๓.
“ประกาศห้ามคนตื่นเรื่องแพทย์ตรวจป้องกันกาฬโรค.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๑,
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๓.
“ประกาศห้ามเรือมาจากซัวเถา.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๑๔, วันที่ ๒๘ เมษายน
ร.ศ. ๑๑๖.
“พระราชก�ำหนดศุขาภิบาลกรุงเทพฯ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๖.” ราชกิจจานุเบกษา.
เล่ม ๑๔, วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๖.
๓๒๓

“พระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๓๐, วันที่ ๒๓


พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๖.
“รายงานคนป่วยเป็นไข้กาฬโรค รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕.” ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๒๔,
วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖.

หนังสือและวารสาร
ภาษาไทย
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชหัตถเลขาเรื่อง เสด็จประพาส
ล�ำน�้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๖๑.
ด�ำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. นิทานโบราณคดี. พระนคร : เขษมบรรณกิจ,
๒๕๐๓.
ทวีศักดิ์ เผือกสม. เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม : ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัย
ใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
๒๕๕๐.
ธันวา วงศ์เสงีย่ ม (บรรณาธิการ). หมอบรัดเลกับการปลูกฝีในสยาม. กรุงเทพฯ : ส�ำนัก
วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๖๐.
นภนาท อนุพงศ์พฒั น์ และคณะ. รอยเวลา : เส้นทางประวัตศิ าสตร์สขุ ภาพ. กรุงเทพฯ:
ส�ำนักพิมพ์สุขศาลา ส�ำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, ๒๕๕๖.
แมกฟาแลนด์, ย๊อช. ต�ำราแพทย์แสดงด้วยกาฬโรค. พระนคร: โรงพิมพ์หมออเมริกัน,
๒๔๕๓.
วรนารถ แก้วคีรี. “โรคระบาดในชุมชนภาคกลางของไทย พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๗๕ :
การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕
ศิลปากร, กรม. ประชุม พงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๒. กรุงเทพฯ :
กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
๓๒๔

ศิลปากร, กรม. ประชุม พงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. กรุงเทพฯ :


กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
. พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม ๑. กรุงเทพฯ :
กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.
. รวมบั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ อ ยุ ธ ยาของฟาน ฟลี ต (วั น วลิ ต ).
กรุงเทพฯ : หจก. โชติวงศ์ ปริ้นติ้ง, ๒๕๔๖.
. ราชสกุ ล วงศ์ . กรุ ง เทพฯ : ส� ำ นั ก วรรณกรรมและประวั ติ ศ าสตร์
กรมศิลปากร, ๒๕๕๔.
สมมตอมรพันธ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรือ่ งตัง้ เจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์.
กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๔๕.
สาธารณสุข, กระทรวง. สมเด็จกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพกับการสาธารณสุข.
พระนคร: กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๐๕.
. อนุสรณ์กระทรวงสาธารณสุข ครบ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๕๐๐.
พระนคร : โรงพิมพ์อุดม, ๒๕๐๐.
. อนุสรณ์กระทรวงสาธารณสุข ครบ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๕๐๕.
พระนคร : กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๐๕.
สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ. Black Death โรคห่า กาฬโรค ยุคพระเจ้าอู่ทอง ฝังโลก
เก่า ฟืน้ โลกใหม่ ได้ “ราชอาณาจักรสยาม” กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม,
๒๕๕๓.
เสถียร ลายลักษณ์. ประชุมกฎหมายประจ�ำศก เล่ม ๑๔ – ๒๓. พระนคร : โรงพิมพ์
เดลิเมล์, นิติเวชช์, ๒๔๗๗ – ๒๔๙๙.
๓๒๕

ภาษาต่างประเทศ
Cohn, Jr., Samuel K. “The Black Death : End of a Paradigm.” The American
Historical Review. Vol. 107, No.3 (June 2002).
Harrison, Mark. Disease and the Modern World : 1500 to the Present
Day. Cambridge : Polity Press, 2005.
Miller, Max J. “Plague: History and Epidemiology.” Canadian Journal of
Comparative Medicine. Vol. IV, No. 7 (July 1940).
Oven, Norman G. (Editor). Death and Disease in Southeast Asia :
Explorations in Social, Medical and Demographic History.
Singapore : Oxford University Press, 1987.
Pollitzer, Robert. Plague. Geneva : World Health Organization, 1954.
Reid, Anthony and Jiang Na. “The Battle of the Microbes: Smallpox,
Malaria and Cholera in Southeast Asia.” Asia Research Institute
Working Paper Series. No. 62. (April 2006).
“Siam: Report from Bangkok. History of Plague Outbreak.” Public Health
Reports. Vol. 20, No. 28 (Jul. 14, 1905).
Sussman, George D. “Was the Black Death in India and China?” Bulletin
of the History of Medicine. Vol. 85, No. 3, (Fall 2011).
Velimirovic, B. “Plague in South-East Asia: A brief historical summary and
present geographical distribution.” Transactions of the Royal
Society of Tropical Medicine and Hygiene. Vol. 66, No. 3, 1972.
Wright, Arnold (Editor). Twentieth Century Impressions of Siam :
its history, people, commerce, industries and resources.
London : Lloyds Greater Britain Publishing Company, Ltd., 1908

You might also like