You are on page 1of 3

ทบทวนความรู้ประวัติศาสตร์ ม.

4 (กลางภาคเทอม 2)

1. พ่อขุนศรีอินทราทิตย์อยู่ในยุคอาณาจักรใด
2. สมเด็จพระนเรศวรอยู่ในยุคอาณาจักรใด
3. หัวหน้าคณะทูตโกษาธิบดีปานอยู่ในยุคอาณาจักรใด
4. สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์อยู่ในยุคสมัยอาณาจักรใด
5. วิกฤตการณ์ รศ.112 เกิดข้อพิพาทระหว่างไทยกับประเทศอะไร
6. ซิมง เดอ ลาลูแบร์ เป็นคณะทูตจากประเทศใด
7. กรมพระยาดำรงราชานุภาพบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทยอยู่ในยุคอาณาจักร
8. ขุนนางที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนในหลวงรัชการที่ 5 เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์คือใคร
9. ขุนนางชาวต่างชาติได้รับการยกย่องด้านศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์คือใคร
10. อาจารย์ศิลป์ พีระศรี มีการก่อตั้งโรงเรียนศิลปากรแผนกช่างซึ่งปัจจุบันคือสถานที่ใด

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เป็นพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงพระราชนิพนธ์ประวัติศาสตร์หมายเรื่อง เช่น พงศาวดาร
สยาม ซึ่งมีส่ววช่วยรวมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัยของคนในชาติ
ทรงเป็นพี่น้องกับในหลวงรัชกาลที่ 5 เป็นลูกชายของรัชกาลที่ 4

พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท
ได้รับการยกย่องจาก UNESCO ในด้านการแพทย์และการต่างประเทศ มีความสามารถด้านการแพทย์แผนไทย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
ทรงเป็นหัวหน้าคณะทูตของไทยในการเจรจาเรื่องข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ รศ.112

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
พัฒนาด้านการศึกษามีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงทั่วประเทศเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษา
ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
เป็นผู้ที่บริหารจัดการการปกครองหัวเมืองตามแบบมณฑลเทศาภิบาล ตามความต้องการของรัชกาล
ที่ 5 จนเป็นผลสำเร็จ

เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์
ได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ว่าเป็นผู้ที่ทรงคุณค่าในด้านวัฒนธรรมระดับโลก
มีความสามารถด้านดนตรีไทย เล่นเครื่องดนตรีได้หลายประเภท และมีความสามารถด้านการวาดภาพสีน้ำมันท
รวมถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ทรงเริ่มหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้ประชาชนที่ห่างไกลได้เข้าถึงการรักษา
สละเงินส่วนตัวให้นักศึกษาได้ไปเรียนหมอที่ต่างประเทศเพื่อให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เพิ่มขึ้น

ออกญาโกษาธิบดี (ปาน)
เป็นผู้นำทูตของอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ฝรั่งเศส
ได้รับการยอมรับจากชาวฝรั่งเศสว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามธรรมเนียมการเข้าเฝ้าแบบฝรั่งเศสได้ถูกต้อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค)
เป็นผู้สำเร็จราชการแทนรัชกาลที่ 5
ซิมง เดอ ลาลูแบร์
เป็นหนึ่งในคณะทูตฝรั่งเศสที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นนักจดบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับอยุธยาได้ละเอียดมาก
บาทหลวงปาลเดอกัวซ์
มีการพิมพ์ผลงานต่าง ๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเป็นหลากหลายภาษา เช่น เรื่องเล่ากรุงสยาม มีการแปลเป็นภาษา
ไทย ฝรั่งเศส อังกฤษ และภาษาละติน เนื่องจากมีความสนใจเรียนรู้ขนบธรรมเนียมไทย

หมอบรัดเลย์ (ดร.แดน บีช บรัดเลย์)


มีการนำวิทยาการด้านการพิมพ์เข้ามา เช่น การสร้างโรงพิมพ์แห่งแรก หนังสือพิมพ์ฉบับแรกชื่อว่า บางกอกรีคอร์
เดอร์
ด้านการแพทย์มีการรักษาโรคแผนใหม่โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษในประเทศไทย
การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากชาติตะวันตกเข้ามาทำให้สังคมไทยมีความเจริญก้าวหน้า

พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)


พัฒนาด้านการคมนาคมในแถบภาคใต้ให้เจริญ
มีการนำเมล็ดพันธุ์ยางพารามาจากต่างประเทศเพื่อให้ประชาชนมีอาชีพและได้ประโยชน์จากการทำสวนยาง

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี


มีผลงานและความสามารถทางศิลปะที่โดดเด่นในด้านประติมากรรม มีผลงานมากมาย เช่น อนุสาวรีย์สมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าฯ รัชกาลที่ 1 , อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย , อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน (วงเวียนใหญ่) เป็นต้น
มีการสร้างโรงเรียนประณีตศิลปกรรม จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง และปัจจุบันคือ
มหาวิทยาลัยศิลปากร
พระยากัลยาณไมตรี (ดร.ฟรานซิส บี. แซร์)
มีผลงานด้านการเป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจากับต่างชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบยุโรป เป็นต้น
ด้านการปกครอง เป็นที่ปรึกษาในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย

หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูล)


ผลงานที่โดดเด่นคือด้านการทูต ได้เป็นล่ามให้แก่คณะราชทูตของไทยไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับอังกฤษในสมัย
รัชกาลที่ 4
ด้านศาล เป็นล่ามในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับชาวต่างชาติ ดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลต่างประเทศ
ด้านวรรณกรรม แต่งหนังสือเรื่อง จดหมายเหตุเรื่อง ราชทูตไทยไปลอนดอน

You might also like