You are on page 1of 8

ถิ่นเดิมของชนชาติไทย

แนวคิดถิ่นเดิมของชนชาติไทยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน
แนวคิดว่าด้วยอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของคนไท
อาณาจักรน่านเจ้า คือ?
อาณาจักรน่านเจ้า หรือ เจ้าทางใต้ ( จีน : 南詔 ) หรือจีนเรียกว่า สานสาน
โกวะ ตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1192 โดย พระเจ้าสีนุโล แห่ง เหม่งแซ ต่อมา
พระเจ้าพีล่อโก๊ะได้รวบรวมเมืองต่าง ๆ ที่แยกกันตั้งอยู่เป็นอิสระ 6 แคว้นคือ
เหม่งแซ (Mengshe; 蒙舍 ) ม่งซุย (Mengsui; 蒙嶲 ) ลางเซียง
(Langqiong; 浪穹 ) เต็งตัน (Dengtan; 邆賧 ) ซีล่าง (Shilang;施浪 ) และ
越析
ยู่ซี (Yuexi; ) เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหม่งแซได้สำเร็จ ตั้งเป็น
อาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า ในยุคแรก ๆ นั้น น่านเจ้าก็มี
สัมพันธ์กับรัฐรอบ ๆ ทั้งราชวงศ์ฝ่ายใต้ของจีน และแคว้นเล็กๆใน สุวรรณภูมิ
ในยุครุ่งเรืองนั้นอาณาจักรน่านเจ้า มีอาณาเขตกว้างขวาง คือเขต
มณฑลยูนนานทั้งหมด รวมแคว้นสิบสองปันนาด้วย กล่าวคือ ทิศเหนือจด
มณฑลเสฉวน ทิศใต้ จด พม่า ญวน ทิศตะวันออกจดดินแดน ไกวเจา
กวางสี ตังเกี๋ย ทิศตะวันตก จด พม่า ทิเบต มีกษัตริย์ปกครอง
อย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นกับแคว้นใดได้ยาวนานหลายร้อยปี
บรรพบุรุษคนไทย

นักวิชาการทาง ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และ มานุษยวิทยา ใน


อดีต เคยมี แนวความคิด ว่า คนในอาณาจักรน่านเจ้านั้นน่าจะเป็น คน
ไทย หรือบรรพบุรุษของคนไทยในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากอ้างอิงมาจาก
หลักฐานทาง โบราณคดี ของจีน อาทิ วิลเลียม เจ.เกดนีย์ นักวิชาการ
ชาวอเมริกัน , ดร. บรรจบ พันธุเมธา และ ศ.ดร. ประเสริฐ ณ นคร นัก
วิชาการชาวไทย
ได้ข้อสรุปว่าเป็นถิ่นที่
คนไท อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ซึ่งต่อมาได้มีการผสมผสาน
เพลงระหว่างชาติพันธุ์อื่น และ
อพยพลงมาสู่ ดินแดน
สุวรรณภูมิ อย่างในปัจจุบัน ซึ่ง
แนวความคิดนี้ได้รับการ
สนับสนุนจาก หม่อมราชวงศ์
คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อครั้งดำรง
ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี เมื่อ
คราวไปเยือน สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน ในปี พ.ศ.2518
แต่ก็มีข้อแย้งเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน อาทิ ศ. เฟดเดอริก
โมต หรือ ชาลส์ แบกคัส รวมทั้งนักวิชาการชาวไทย ดร. วินัย พงษ์
ศรีเพียร มีความเห็นว่าไม่น่าจะใช่เป็นคนไทย โดยอ้างว่าภาษาที่ใช้ใน
อาณาจักรน่านเจ้าที่ปรากฏในหนังสือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่
เขียนขึ้นใน พุทธศตวรรษที่ 15 มีลักษณะคล้ายภาษาใน ตระกูล
ทิเบต-พม่า มากกว่า
และวัฒนธรรมการเอาพยางค์สุดท้ายของพ่อมาตั้งเป็นชื่อพยางค์
แรกของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ เป็น โก๊ะล่อฝง ก็เป็นวัฒนธรรมร่วมกับ
วัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ด้วยเช่นกัน
แต่ในประเด็นนี้ ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร ยังเห็นแย้งว่า ข้อพิสูจน์นี้ยัง
ไม่หนักแน่นพอ เพราะระยะเวลาที่ผ่านไปหลายร้อยปี ธรรมเนียมบาง
อย่างอาจแปรเปลี่ยนไป โดย ศ.ดร.ประเสริฐ ยังไม่ยอมรับทั้งหมดว่า
ผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้ามิใช่คนไทย
สมาชิก
น.ส พิมพ์สุภา ลิ้มประจันทร์ เลขที่25
น.ส ศรีปภาวรินทร์ วงศ์คำ เลขที่31
น.ส ศิริกัลยาพร แก้สพิลา เลขที่32
น.ส อุ่นเอื้อ อุ่นทะยา เลขที่37

You might also like