You are on page 1of 10

1

ความเป็ นมาของการแพทย์
สมัยอยุธยา
ช่วงก่อนสมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาตอนต้น ไม่มีจารึก ตำรา หรือเอกสารโบราณ เหลือ
ตกทอดมาให้ได้ศก
ึ ษาเรียนรู้การแพทย์แผนไทย ในสมัยนัน
้ อย่างไรก็ดี มีหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่ง
ทีทำ
่ ให้เห็นภาพ ในบางแง่มุมของการแพทย์ในราชสำนักสมัยอยุธยาตอนต้น คือ ทำเนียบศักดินา
ใน "กฎหมายตราสามดวง" ทีต
่ ราขึน
้ ใน พ.ศ. ๑๙๙๘ มีการระบุศักดินาของข้าราชการพลเรือน ที่
ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ในตำแหน่งต่างๆ ตามลำดับ โดยแบ่งเป็ นกรมต่างๆ หลายกรม เช่น กรม
แพทยา กรมหมอยา กรมหมอกุมาร กรมหมอนวด กรมหมอยาตา กรมหมอวรรณโรค โรงพระ
โอสถ แต่ละกรมมีเจ้ากรม และตำแหน่งข้าราชการระดับอื่นๆ ที่มีศักดินาลดหลั่นกันไป

ในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีหลักฐานสำคัญอีกชิน
้ หนึ่ง แสดงให้เห็นภูมิปัญญาทางด้านการ
แพทย์ของบรรพบุรุษไทย คือ "ตำราพระโอสถพระนารายณ์" ตำรานีส
้ ืบทอดมาถึงปั จจุบันได้อย่าง
เกือบสมบูรณ์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระวินิจฉัยว่า ตำรานี ้ น่าจะรวบรวม
ขึน
้ ในราวรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ หรืออย่างช้าก็ในรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
โดยสรุปหลักวิชาการแพทย์แผนไทยในยุคนัน
้ ไว้อย่างสัน
้ ๆ แต่ได้ใจความยิ่ง ภาษาที่ใช้ก็ไพเราะ
สละสลวย ใช้การอุปมาอุปไมยอันทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย
ตำราพระโอสถพระนารายณ์นแ
ี ้ บ่งออกได้เป็ น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ว่าด้วย ความผิดปกติ
ของธาตุทงั ้ ๔ และยาแก้ ส่วนที่ ๒ ว่าด้วย ตำรับยาที่มีช่ อ
ื เรียก และส่วนที่ ๓ ว่าด้วยตำรับยา
น้ำมันและยาขีผ
้ งึ ้ มีตำรับยาบันทึกไว้ทงั ้ หมดไม่น้อยกว่า ๘๑ ตำรับ บางตำรับ ระบุช่ อ
ื แพทย์ผู้
ประกอบยา ตลอดจนวันเดือนปี ที่ปรุงยาถวาย ซึ่งทัง้ หมด เป็ นยาที่ปรุงถวายในช่วงปี ที่ ๓ ถึงปี ที่ ๕
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

สมัยรัตนโกสินทร์
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ได้โปรดเกล้าฯ ให้มี
การรวบรวมตำราต่างๆ ครัง้ ใหญ่ จากหมอหลวง หมอเชลยศักดิ ์ และหมอทีเ่ ป็ นพระภิกษุสงฆ์ ทั่ว
พระราชอาณาจักร โดยให้ พระพงษ์อำมรินทรราชนิกูล พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช เป็ นนายกองผู้รวบรวมตำรายาที่จารึกไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับที่ผนังด้านนอกบน
กำแพงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ จารึกเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย
นี ้ แบ่งออกเป็ นหมวดต่างๆ 4 หมวด ได้แก่
1. หมวดเวชศาสตร์
เป็ นจารึกเกี่ยวกับโรคต่างๆ ว่าด้วยสมุฏฐานของการเกิดโรค พร้อมระบุตำรับยาต่างๆ ทีใ่ ช้
แก้โรคนัน
้ ๆ ซึ่งมีจารึกไว้ถึง 1,128 ขนาน
2

2. หมวดเภสัชศาสตร์
เป็ นจารึกว่าด้วย สรรพคุณของเครื่องยาสมุนไพรแต่ละชนิด ทัง้ ที่เป็ นของไทยและของเทศ
ส่วนทีใ่ ช้ประโยชน์ และวิธีการใช้ประโยชน์ มีจารึกไว้ 113 ชนิด
3. หมวดหัตถศาสตร์ (การนวด)
เป็ นจารึกแผนภาพของโครงสร้างร่างกายมนุษย์ แสดงทีต
่ งั ้ ของเส้นที่ใช้นวด 14 ภาพ และ
จารึกเกี่ยวกับการนวดแก้ขัดยอก แก้ปวดเมื่อย และแก้โรคต่างๆ อีก รวม 60 ภาพ
4. หมวดอนามัย (ฤๅษีดัดตน)
เป็ นวิธีการบริหารร่างกายหรือดัดตนสำหรับแก้ปวดเมื่อย จารึกเป็ นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ มี 80
ท่า
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึน
้ ครองราชย์ใน พ.ศ. 2411 มี
พระราชประสงค์ ที่จะพัฒนาการแพทย์แบบดัง้ เดิมของบรรพบุรุษให้ก้าวหน้าทันสมัย และมี
มาตรฐานที่เชื่อถือได้
จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชำระตำราแพทย์แผนไทยให้ตรงกับของดัง้ เดิม ซึ่งก่อนหน้านี ้ กระจัดกระจาย
และคัดลอกกันมาจนผิดเพีย
้ นไปจากต้นฉบับเดิมมาก และจดเป็ นหลักฐานไว้ในหอพระสมุดหลวง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การแพทย์แผนไทยเจริญก้าวหน้ามาก
ได้โปรดเกล้าฯ ให้จด
ั ตัง้ โรงศิริราชพยาบาล (ปั จจุบัน เรียกกันทั่วไปว่า โรงพยาบาลศิริราช) ใน
พ.ศ. 2430 เพื่อเป็ นสถานพยาบาลและบำบัดโรค ทัง้ แบบแผนเดิม และแบบแผนตะวันตก จัดตัง้
โรงเรียนแพทยากรขึน
้ และจัดพิมพ์ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมพ
ิ ลอดุลยเดช การแพทย์แผนโบราณได้รับการ
ฟื้ นฟูและพัฒนาในทุกๆ ด้าน และเรียกชื่อใหม่ว่า "การแพทย์แผนไทย" แทน "การแพทย์แผน
โบราณ" จนคุน
้ เคยกันในปั จจุบัน ใน พ.ศ. 2542 มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองภูมิปัญญาการ
แพทย์แผนไทย พุทธศักราช 2542 พร้อมทัง้ ได้จด
ั ตัง้ หน่วยงาน เรียกว่า "สถาบันการแพทย์แผน
ไทย"

พัฒนาการด้านการแพทย์ในประเทศไทย

ยุคสุโขทัย
 มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็ นยุคก่อนสมัยสุโขทัย  และได้พบศิลา
จารึกของพ่อชุนรามคำแหงมหาราชที่จารึกไว้ว่าทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บน
เขาหลวงหรือเขาสรรพยา ซึ่งปั จจุบันอยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ  เพื่อให้ประชาชนไป
เก็บสมุนไพรมาใช้รักษาเวลาเจ็บป่ วย
ยุคอยุธยา 
3

การแพทย์แผนไทยในยุคนีไ้ ด้รับอิทธิพลจากการแพทย์ของอินเดียที่เรียกว่า
อายุรเวท ซึ่งเป็ นการแพทย์แผนโบราณของอินเดียเป็ นสำคัญ มีคัมภีร์แพทย์ที่
กล่าวกันว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่เป็ นแพทย์ ประจำตัวของพระ พุทธเจ้าเป็ นผู้
แต่ง  ซึ่งมีเป้ าหมายที่สภาวะสมดุลของธาตุ 4 อันเป็ นองค์ประกอบของชีวิตผู้ที่จะ
เป็ นแพทย์ได้ต้องมีวัตรปฏิบัติที่งดงามในทุกด้าน มีความกตัญญูร้ค
ู ุณครูบาอาจารย์
และนับถือว่าครูดงั ้ เดิมคือพระฤาษี
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 
พบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนจะมีแหล่งจำหน่ายยา
และสมุนไพรหลายแห่งทัง้ ในและนอกกำแพงเมือง  มีตำรับยาซึ่งถือได้ว่าเป็ น
ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย ชื่อว่า “ตำราพระโอสถพระนารายณ์” เป็ นการ
รวบรวมตำรับยาที่หมอในราชสำนักปรุงถวายพระมหากษัตริย์ในยุคนัน
้ มีการ
อธิบายสมุฏฐานแห่งโรคตามหลักทฤษฎีธาตุทงั ้ สี่
ยุครัตนโกสินทร์ 
สมัยรัชกาลที่  1 
ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิเ์ ป็ นพระอารามหลวง ทรงให้รวบรวมและ
จารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำรานวดแผนไทยไว้ตามศาลาราย มีการจัดตัง้ กรม
หมอโรงพระโอสถ ผู้รับราชการเรียกว่า “หมอหลวง” ซึ่งเป็ นผู้ที่มีบทบาทสำคัญใน
การดูแลพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์
สมัยรัชกาลที่ 2
  ทรงให้รวบรวมคัมภีร์แพทย์ที่กระจัดกระจายมารวบรวมไว้ ณ โรงพระ
โอสถ และให้กรมหมอหลวงคัดเลือกจดเป็ นตำราหลวง สำหรับโรงพระ
โอสถเพื่อประโยชน์ของประชาชน ในปี พ.ศ. 2359 มีพระราชโองการ
โปรดเกล้าให้ตรากฎหมาย ชื่อ“กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย” 
สมัยรัชกาลที่ 3
 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาบำเรอราชแพทย์ ที่เป็ นแพทย์ประจำราชสำนัก เป็ น
แม่กองจัดประชุมหมอหลวงแต่งตำราและบันทึกตำรายาแผนโบราณต่างๆ พร้อมทัง้
ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาราม และจารึกตำราไว้ในแผ่นศิลา ตามเสา
4

ระเบียงพระวิหาร นับได้ว่าเป็ นโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ "วิทยาลัย


การแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ"์ ถือว่าเป็ น "มหาวิทยาลัยเปิ ด" แห่งแรกในประเทศไทย
สมัยรัชกาลที่ 4 
การแพทย์ของประเทศไทยในสมัยนี ้ แยกออกอย่างชัดเจนเป็ นสองแผน คือ การ
แพทย์แผนเดิมหรือแผนโบราณ และการแพทย์แผนปั จจุบัน มีการกำหนด
ข้าราชการฝ่ ายวังหน้าที่เกี่ยวกับการแพทย์ ได้แก่ ข้าราชการในกรมหมอ กรมหมอ
ยา กรมหมอนวด กรมหมอกุมาร กรมหมอยาตา หมอฝรั่ง
สมัยรัชกาลที่ 5
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนแพทยากรขึน
้ ที่ศิริราชพยาบาล
ในปี พ.ศ. 2433  เพื่อจัดการสอนเรื่องแพทย์ มีหลักสูตร 3 ปี   การเรียนมีทงั ้ วิชา
แพทย์แผนตะวันตก และแพทย์แผนไทย  มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ใน
โรงเรียนเล่มแรก คือ แพทยศาสตร์-สงเคราะห์ (ฉบับหลวง) ในปี พ.ศ. 2438 เนื้อหามี
ทัง้ การแพทย์แผนตะวันตกและแผนไทย
สมัยรัชกาลที่ 6
ถือว่าเป็ นช่วงตกต่ำของวงการแพทย์ มีการแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของ
แพทย์ มีการยกเลิกการเรียนวิชาการแพทย์ไทย
สมัยรัชกาลที่ 7
 มีประกาศ พ.ร.บ.การแพทย์ พ.ศ.2466 และออกกฎเสนาบดี พ.ศ.2472 แบ่งการ
ประกอบโรคศิลปะ เป็ นแผนปั จจุบันและแผนโบราณ กำหนดว่า ก. ประเภทแผน
ปั จจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยความรู้จากตำราอันเป็ นหลักวิชาโดยสากล
นิยม ซึ่งดำเนินและจำเริญขึน
้ อาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ ในทาง
วิทยาศาสตร์ทั่วโลก ข. ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัย
ความสังเกตความชำนาญ อันได้บอกเล่าสืบต่อกันมาเป็ นที่ตงั ้ หรืออาศัยตำราที่มีมา
แต่โบราณ มิได้ดำเนินไปทางวิทยาศาสตร์ 
สมัยรัชกาลที่  8  
 มีการยกเลิก พ.ร.บ.การแพทย์ พ.ศ.2466 แล้วตรา พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรค
ศิลปะ พ.ศ.2479 ขึน
้ มาใช้แทน
สมัยรัชกาลที่ 9 
5

ในปี พ.ศ. 2498 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช ได้ก่อตัง้ โรงเรียน


แพทย์แผนโบราณขึน
้ เพื่อเป็ นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณ
มีการสอนทัง้ วิชาเภสัชกรรม, เวชกรรม และการผดุงครรภ์ไทย และการนวดแผน
โบราณ ตามกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปี พ.ศ. 2542 มีการประกาศ พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ที่มีการแก้ไข
สาระสำคัญหลายประการที่เอื้อต่อการพัฒนาการแพทย์แผนไทยมากขึน
้ เช่น
เปลี่ยนชื่อการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณเป็ นการแพทย์แผนไทย
ในปี พ.ศ. 2524 ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์ ได้ก่อตัง้ อายุรเวทวิทยาลัยขึน
้ เพื่อผลิตแพทย์
แผนโบราณรุ่นใหม่ โดยสอนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพควบคู่ไปกับ
วิชาการแพทย์แผนโบราณ สอนทัง้ เวชกรรม เภสัชกรรม การผดุงครรภ์ และการ
นวดแบบราชสำนัก ซึ่งหลักสูตรใช้เวลาศึกษา 3 ปี และแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่
เรียนจบหลักสูตรนีส
้ ามารถสอบใบประกอบโรคศิลปะได้
พ.ศ. 2528 ถือได้ว่าเป็ นจุดเปลื่ยนของวงการแพทย์แผนไทย ได้ก่อตัง้ โครงการฟื้ นฟู
การนวดไทย เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่การนวดไทยแก่ประชาชนให้สามารถ
นำไปใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาแก้ปวดเกินจำเป็ น
พ.ศ. 2532 กระทรวงสาธารณสุข โดยมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ได้จัดตัง้ ศูนย์
ประสานงานการพัฒนาการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย สังกัดสำนักงานปลัด
กระทรวงสาธารณสุข เพื่อทำหน้าที่วางนโยบายและแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาการ
แพทย์แผนไทย เอื้ออำนวย ประสานงาน และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ
หน่วยงานและสถาบันต่าง ๆ
ปั จจุบันการแพทย์แผนไทยได้แบ่งออกเป็ น 4 สาขา คือ
สาขาเวชกรรมไทย
 เป็ นการตรวจ การวินิจฉัยโรค เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคตามแนวทางของการ
แพทย์แผนไทย จากนัน
้ จึงทำการบำบัดหรือรักษา หรือป้ องกันด้วยกรรมวิธีการ
แพทย์แผนไทย
สาขาเภสัชกรรมไทย 
เป็ นการเตรียมยา การผลิตยาแผนไทย ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
สาขาผดุงครรภ์ไทย 
6

เป็ นการดูแลสุขภาพของมารดาและเด็กในครรภ์ ตัง้ แต่ก่อนคลอด การทำคลอด


พร้อมทัง้ การดูแลและส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็กในระยะหลังคลอด แต่ใน
ปั จจุบันหน้าที่ในการทำคลอดแบบแผนไทยมีน้อยลง แต่จะเน้นในการดูแลสุขภาพ
ของ มารดาหลังคลอดมากขึน

4. สาขาการนวดไทย 
เกิดขึน
้ จากสัญชาตญาณเบื้องต้นของการอยู่รอด เมื่อมีอาการปวดเมื่อยหรือเจ็บป่ วย
มักจะบีบนวดบริเวณดังกล่าวนัน
้ ทำให้อาการปวดเมื่อยคลายลง  ต่อมาเริ่มสังเกต
เห็นผลของการบีบนวดในบางจุดหรือบางวิธีที่ได้ผล จึงเก็บไว้เป็ นประสบการณ์และ
กลายเป็ นความรู้ที่สืบทอดกันต่อๆ มา การนวดไทยปั จจุบัน มีทงั ้ การนวดเพื่อการ
รักษาอาการเจ็บป่ วย การนวดเพื่อสุขภาพ และการนวดเพื่อเสริมสวย ในบางคนอาจ
จะมีการใช้ยาสมุนไพรควบคู่ไปด้วยก็มี

สมุนไพรไทย

คนสมัยโบราณมีวิธีการรักษาอาการเจ็บป่ วย ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกธาตุผิดปกติ ด้วย


การนำสมุนไพรมาใช้เป็ นยา หรือปรุงอาหารด้วยพืชพรรณที่มีสรรพคุณเป็ น
ประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อป้ องกันโรคภัย เช่น

ฟ้ าทะลายโจร

สรรพคุณทางยา
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้าน
สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวให้จับ
กินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึน
้ อีกด้วย
มีฤทธิช์ ่วยยับยัง้ การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเป็ นยาขมที่ช่วยทำให้เจริญอาหาร
ช่วยแก้ไข้ทั่ว ๆ ไป อาการหวัด คัดจมูก รวมถึงอาการปวดหัวตัวร้อน เช่น ไข้หวัด
ไข้หวัดใหญ่ เป็ นต้น
วิธีการปลูก
7

นำเมล็ดจากฝั กแก่ที่มีสีน้ำตาลแดงโรยในดินแล้วกลบด้วยดินร่วนอีกชัน
้ บาง ๆ หาก
ใช้ต้นกล้า ควรเลือกต้นกล้าฟ้ าทะลายโจรที่มีอายุเกิน 30 วันมาปลูกลงดิน
วางกระถางในที่มีแสงแดดรำไร รดน้ำให้เพียงและสม่ำเสมอ หากปลูกที่มีแดดจัด
ควรรดน้ำเพิ่ม
ทัง้ นีจ
้ ะเริ่มเก็บใบได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3-6 เดือน เป็ นช่วงที่มีสารสำคัญเยอะ
ที่สุด สามารถนำไปตากแห้งและเก็บได้นาน 1 ปี วิธีเก็บคือ ตัดยอดอ่อน 1 ฝ่ ามือ
แล้วเหลือตอไว้ รอประมาณ 1-3 เดือน ก็จะเริ่มออกดอกอีกครัง้ และเมื่อดอกเริ่ม
บานก็สามารถเก็บใบมาใช้ประโยชน์ได้อีกรอบ ฟ้ าทะลายโจร 1 ต้นสามารถเก็บมา
ทำยาได้ 2-4 ครัง้
สะระแหน่
สรรพคุณทางยา
เต็มไปด้วยสรรพคุณต่างๆ มากมาย ทัง้ ช่วยบำรุงสายตา บรรเทาอาการเครียด แก้
หวัด ฯลฯ

วิธีการปลูก
1.เตรียมดินร่วนปนทรายสำหรับการเพาะ โดยนำดินร่วน 2 ส่วน ทราย 1 ส่วน ปุ๋ย
หมัก 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย มาคลุกให้เข้ากัน
2.เลือกกิ่งสะระแหน่ที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป จากนัน
้ นำไปปั กลง
ในภาชนะที่เราเตรียมไว้

การแพทย์ที่ใช้ดินในการรักษา
ดินขุยปู
ดินขุยปู มีรสเย็นฝาดเล็กน้อย สรรพคุณของดิขุยปู แก้พิษกาฬ ถอนพิษกาฬ ละลายผสมยามหา
นิล พาดหัวกาฬ แก้โรคมาลาเรีย
ดินถนำส้วม
ดินถนำส้วม หรือ ดินถนำถาน คือ สมุนไพรแร่ธาตุ ที่เกิดจากดินที่เกิดจากการทำส้วมลงดิน และ
่ มีฤทธิ เ์ ย็น
ปล่อยทิง้ ไว้เป็ นเวลานาน จนดินแข็งตัว และ ร่วน จะมีลักษณะเป็ น สีเหลือง ไม่มีกลิน
รสเค็ม สรรพคุณของดินถนำส้วม คือ แก้ตาแฉะ รักษาตาอักเสบ
ดินรังหมาร่า
8

ดินรังหมาร่า คือ ดินที่เกิดจากการนำมาสร้างรังของแมลงหมาร่า ซึ่งตัวหมาร่าชอบทำรังตามขอบ


ผนัง ตามที่รกร้างต่างๆ สรรพคุณของดินรังหมาร่าง คือ ช่วยแก้อักเสบ แก้กระกายน้ำ ดับพิษร้อน
สรรพคุณ ดินรังหมาร่า เด่นเรื่องความเย็น การดับพิษร้อน ในคนที่เป็ นไข้ แล้วมีต ุ่มผุดขึน
้ มา จาก
การที่ร่างกายขับพิษทางผิวหนัง จากการทานยากระทุ้งพิษไข้เช่น "ยาห้าราก"
หมอแผนโบราณจะผสมสูตร ยาพ่นผิว ดังนี ้
- น้ำซาวข้าว
- ดินรังหมาร่าค้างปี
- หญ้าแพรก
- หญ้าปากควาย
- ใบมะเฟื อง
ดินสอพอง
ดินสอพองได้มาจากดินมาร์ล มีลักษณะสีขาว เป็ นวัตถุเนื้อดินที่มีองค์ประกอบที่แปรผันของ
แคลเซียมคาร์บอเนต, เคลย์ และตะกอนขนาดทรายแป้ ง พบภายใต้สภาพแวดล้อมแบบน้ำจืด
สมัยโบราณใช้เป็ นเครื่องประทินผิว ทาตัวเด็กแก้ผ่ น
ื คัน ดินสอพองที่ใช้ทำยาจะนำไปสะตุ โดยอบ
ในหม้อดินจนแห้ง ดินสอพองสะตุใช้ทำยารักษาแผลกามโรค แผลเรื้อรัง คำว่าสอในดินสอพองนัน

มาจากภาษาเขมรแปลว่า ขาว ดินสอพองจึง หมายถึง ดินสีขาวที่ไม่แข็งตัว
ดินสอพองแหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี
จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

สรรพคุณของดินสอพอง
ดินสอพอง จัดว่าเป็ น สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เป็ นยาสมุนไพร ตามตำรับยาแผนโบราณ การนำ
ดินสอพอง มาใช้เป็ นยา ซึ่งประโยชน์ของดินสอพอง มีดังนี ้
- ดินสอพอง สรรพคุณเป็ นยาเย็น ใช้ลดความร้อนในร่างกาย แก้อักเสบ รักษาผดผื่นคัน และ
ช่วยห้ามเหงื่อ ทำให้ร่างกายเย็นสบาย
- ดินสอพองใช้ป้องกันผิวจากแสงแดด ดินสอพองใช้ทาหน้าป้ องกันแสงแดดได้
- ดินสอพองใช้รักษาผิวหน้า สรรพคุณช่วยขจัดสิวเสีย
้ นได้ ลดอาการปวดบวม แก้อก
ั เสบ ช่วย
ปรับสภาพผิวให้ดีขน
ึ ้ ดินสอพองเหมาะสำหรับคนผิวมัน
- ดินสอพองใช้ขัดผิว เมื่อนำมาผสมกับขมิน
้ และมะขามเปี ยก นำมาขัดหน้า ขัดผิว ช่วยให้ผิว
พรรณสวยสดใส
- ดินสอพองมาผสมกับใบทองพันชั่ง จะมีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
- ดินสองพองนำมาผสมกับขมิน
้ ชัน ไพล เหงือกปลาหมอ จะช่วยบำรุงผิวให้เรียบเนียน
- ดินสอพองใช้ลดอาการแก้ที่ผิวหนัง โดยนำดินสอพองผสมกับใบเสลดพังพอน ใช้ทาผิว
- ดินสอพองช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับสารพิษจากเผ็ดพิษ
9

- ดินสอพองแก้อักเสบ บวมช้ำ โดยนำดินสอพองผสมกับน้ำมะกรูด ทาที่แผลโน


ข้อควรระวังในการใช้ดินสอพอง
- ห้ามใช้ดินสอพองในบริเวณที่มีบาดแผล
- ห้ามใช้ดินสอพองบริเวณตา เพราะอาจทำให้เข้าตา เกิดอาการอักเสบ ระคายเคือง ตาแดง และ
แพ้ได้ 
- หากดินสอพองเกิดการเข้าตาต้องรีบล้างออกด้วยน้ำสะอาด หรือลืมตาในน้ำสะอาด
- หากไม่ระมัดระวังในการใช้ ก็อาจสูดดมผงเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปั ญหาที่ระบบ
ทางเดินหายใจได้

ที่มาของดินสอพอง
ดินสอพอง   ถือเป็ นสมุนไพรที่อยูค
่ ู่เมืองไทยมาช้านาน ซึ่งจัดอยู่ในสมุนไพรจำพวกแร่ธาตุ หรือ
เรียกว่าเครื่องยาธาตุวต
ั ถุ แต่ถ้าสืบค้นไปก็จะพบว่าดินสอพองเป็ นยาสมุนไพรตัง้ แต่สมัยสมเด็จ
พระนารายณ์ มหาราช

การใช้ดินสอพองในอดีต
"แป้ งร่ำ" หรือ "ดินสอพอง" ซึ่งเป็ นภูมิปัญญาของคนโบราณที่สามารถทำเครื่องหอมขึน
้ มาใช้ใน
ชีวิตประจำวัน โดยจะใช้น้ำอบไทยที่มีกลิ่นหอมเย็นอ่อน ๆ ทาตามผิวกายเพื่อคลายร้อน แป้ งที่
ผสมในน้ำอบจะช่วยทำให้ร้ส
ู ก
ึ เนื้อตัวลื่นสบายไม่มเี หงื่อ ชาวบ้านก็จะใช้แป้ งร่ำมาทาช่วยปกป้ อง
ผิวจากแสงแดด บำรุงผิวหน้าไม่ให้หน้าหมองคล้ำและยังช่วยป้ องกันการระคายเคืองจากสิวและ
ผดผื่นได้ด้วย
สูตรพอกหน้าให้ผิวนวลผ่องคือการนำแป้ งร่ำหรือดินสอพองมาผสมกับน้ำเปล่าให้มีลก
ั ษณะข้น
เหนียว ไม่ใสจนเกินไป แล้วทาให้ทั่วใบหน้าลำคอหรือจะพอกที่ลำตัว แขน ขาด้วยก็ได้ ทิง้ ไว้จน
แห้งหรือประมาณ 20 นาที สามารถทำได้สัปดาห์ละ 1-2 ครัง้ เหมาะสำหรับคนที่มีผิวมัน หน้า
หมองคล้ำจากการโดนแดด เพราะจะทำให้ผิวดูกระจ่างใสขึน

ฝั งดินรักษาโรค
การฝั งทรายยังได้รับการบรรจุในประกาศคณะกรรมการหมอพื้นบ้าน เรื่อง ลักษณะ ประเภท หรือ
กรรมวิธีของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2562
          โดยมีข้อมูลว่าการฝั งทรายช่วยบรรเทาและรักษา ช่วยเหลือผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจ ฯลฯ
ต้นกำเนิด
10

          แน่นอนที่ศาสตร์การรักษาแบบทางเลือก จะไม่มีข้อมูลจุดกำเนิดตัง้ ต้นแน่ชด


ั การแช่
โคลน แช่น้ำแร่ ช่วยบำบัดและรักษาโรคได้หลายอย่าง เพราะในน้ำแร่ โคลน มีแร่ธาตุทเี่ หมาะสม
กับร่างกายมนุษย์ผสมอยู่
การฝั งทราย ทรายซึ่งเป็ นสิ่งทีเ่ กิดขึน
้ โดยธรรมชาติ โดยเฉพาะทรายตามชายหาดชายทะเล จะมี
ความเค็มและแร่ธาตุของเกลือทะเล การฝั งทรายจะช่วยปรับสมดุลร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนดี
ขึน
้ ช่วยสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ถก
ู ขับออก และยังดีต่อผู้ป่วยที่เป็ น โรคความดัน โรคเบา
หวาน โรคเหน็บชา มีความเสี่ยงที่จะเป็ นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต กลายเป็ นผู้ป่วยนอนติดเตียง หรือ
คนที่เป็ นภูมิแพ้ ปวดข้อ ข้ออักเสบ หอบหืด เครียด นอนไม่หลับ สามารถฝั งทรายบำบัดเพื่อช่วย
บรรเทาอาการได้
วิธีการบำบัดรักษา
ก่อนอื่นผูท
้ ี่จะลงไปฝั งต้องมีการยืดเส้นยืดสายก่อน การฝั งทรายให้ได้ผลและถูกต้องต้องฝั งในจุดที่
มีทะเล ภูเขา โดยหันศีรษะหาภูเขาปลายเท้าชีล
้ งทะเล จากนัน
้ ขุดหลุมตามขนาดของลำตัว มี
ความลึกพอจมตัว จากนัน
้ ให้ผู้ป่วยนอนลงไปนหลุมและกลบทรายให้เหลือแค่ศีรษะ ขณะฝั งทราย
กระแสโลหิตจะไหลเทไปซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีปัญหานั่นเอง ดังนัน
้ หลังฝั งทราย
เสร็จก็จะต้องดื่มน้ำผลไม้เพื่อเพิ่มพลัง ให้สดชื่นขึน
้ ทัง้ นี ้ การฝั งแต่ละครัง้ จะใช้เวลาประมาณ 30
นาที-1 ชั่วโมง และหากเป็ นไปได้ ให้ทำ 3-4 วัน ต่อสัปดาห์ หรือขึน
้ อยู่กับความสะดวกของผู้ป่วย
และอาการป่ วยของแต่ละคน
     

You might also like